ผู้เขียน หัวข้อ: สำนักวัดเขาอ้อ... ตักศิลาทางไสยเวทย์ภาคใต้ จ.พัทลุง  (อ่าน 49715 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด


พวกพราหมณ์ที่เมืองพัทลุงถือตัวเองว่าเป็นชนชั้นสูง เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพรามหณ์ในอินเดีย พวกพราหมณ์จึงมักเลือกตั้งบ้านเรือนไว้ในที่สูงที่ถือว่าเป็นมงคล และเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกตนมีฐานะชนชั้นสูงกว่าคนทั่วไปสถานที่ที่พวกพราหมณ์เมืองพัทลุงได้เคยตั้งบ้านเรือน ได้แก่ บ้านดอนเค็ด บ้านดอนรุม บ้านดอนยอ บ้านลำป่า บ้านไสไฟ อำเภอเมืองพัทลุง บ้านควนปิง บ้านดอนนูด อำเภอควนขนุน บ้านดอนจาย บ้านจองถนน อำเภอเขาชัยสน เป็นต้น พรามณ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพัทลุงมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ผิดแปลกไปกว่าเมืองนครศรีธรรมราช

ประเพณีของพราหมณ์เมืองพัทลุงเท่าที่ได้ถือปฏิบัติกันในปัจจุบันมีดังนี้

การเกิด เดิมจะถือปฏิบัติกันอย่างไรไม่สามรถสืบทราบได้ ปัจจุบันได้ถือปฏิบัติแบบเดียวกับคนไทยทั่วไป
การตาย ผู้ที่เป็นพราหมณ์หรือที่มีเชื้อสายพราหมณ์จะนั่งตาย สาเหตุที่พราหมณ์นั่งต่าย

มีเรื่องเล่าทำนองนิทานว่า ในสมัยพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่นั้น พระอิศวรกับพระพุทธเจ้าทรงเล่นซ่อนหาโดยพระอิศวรเป็นผู้ซ่อนพระองค์ก่อน โดยลงไปซ่อนที่สะดือทะเล พระพุทธเจ้าทรงหาพบ เมื่อถึงคราวพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงเสด็จขึ้นไปซ่อนอยู่ในมวยผมของพระอิศวร พระอิศวรทรงหาเท่าไรก็ไม่พบ จึงทรงเรียกพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าทรงขานรับทำให้เสียงดังไปทั้ง ๔ ทวีป พระอิศวรก็เลยแยกสำเนียงไม่ออกว่าจะมาจากทิศใด จึงทรงยอมแพ้ต่อพระพุทธองค์และขอเพียงที่สำหรับพอให้พวกพราหมณ์นั่งตายเท่านั้นนอกจากนั้นไม่ต้องการอะไรอีก พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต

เมื่อพราหมณ์คนหนึ่งคนใดตาย การบรรจุโลงต้องทำเป็นรูปโกศรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยอดแหลมพอให้ผู้ตายนั่งได้ ก่อนบรรจุศพต้องอาบน้ำให้สะอาด ศพต้องนั่งท่าสมาธิ แล้วบรรจุเข้าในโกศ
ให้หันหน้าไปทางทิศอีสานพิธีฝังต้องไปทางทิศอีสาน เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วพวกพราหมณ์ทั้งหมดจะกลับไปบ้านเจ้าภาพ แล้วรับประทานข้าวต้มบนครก เป็นอันเสร็จพิธีศพ

สำหรับป่าช้าเมืองพัทลุง เท่าที่ได้ค้นพบในเวลานี้มีอยู่ ๒ แห่ง คือที่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดเขียนบางแก้ว ตำบลจองถนน อำเภอเขาสนชัย ชาวบ้านเรียกว่า ?ป่าช้าแขกชี?
และป่าช้าที่หน้าวัดดอนกรวด ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมืองพัทลุงซึ่งเป็นป่าช้าที่ใช้อยู่จนทุกวันนี้ เดิมทีป่าช้านี้มีเสาหงส์ขนาดใหญ่ ๑ เสา ต่อมาทางวัดดอนกรวดได้รื้อนำไปทำเป็นเสากุฏิภายในวัด ส่วนตัวหงส์ก็สูญหายไป

การบวช ผู้ที่จะบวชเป็นพราหมณ์ต้องเป็นผู้ชาย และเป็นบุตรคนแรกของตระกูล อายุ ๔๐ ปี (บางแห่งว่า ๔๒ ปี) จึงจะบวชได้ เพราะถือว่าเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้วและส่วนใหญ่จะผ่านชีวิตครอบครัวมาแล้วเมื่อบวชก็สามารถอยู่กินกับภรรยาได้ในวันบวชพวกญาติพี่น้องจะมานั่งรวมกันในพิธีแล้วพราหมณ์ผู้ทำหน้าที่บวชก็ให้ญาติพี่น้องนำผ้าขาวมาคลุมศรีษะผู้บวช ปลายผ้าทั้งสองให้ผู้ร่วมพิธีจับไว้
แล้วโยกศรีษะผู้บวชสลับไปมา พราหมณ์ผู้ทำพิธีก็จะเป็นผู้ให้ศีลให้พร ก็เป็นอันเสร็จพิธีถือว่าเป็นพราหมณ์ได้ เรียกพราหมณ์แบบบวชนี้ว่า ?พราหมณ์ญัติ? หรือ ?พราหมณ์บัญญัติ?

การแต่งงาน สมัยเดิมจะเป็นอย่างไรไม่สามารถสืบทราบได้ปัจจุบันการแต่งงานของพราหมณ์ก็เช่นเดียวกับการแต่งงานของคนไทยทั่ว ๆ ไปแต่ถ้าหญิงพราหมณ์แต่งงานกับชายไทยถือว่าผู้นั้นจะขาดความเป็นพราหมณ์บุตรชายที่เกิดขึ้นจะเป็นพรตเป็นพราหมณ์ไม่ได้

การแต่งกาย โดยทั่วไปแล้ว พราหมณ์จะนุ่งห่มด้วยผ้าขาว คือ เสื้อขาวธรรมดา ๑ ตัว ผ้าโจงกระเบน ๑ ผืนแต่ถ้าทำพิธีพราหมณ์จะใส่เสื้อยาวแบบราชปะแตนสีขาวคลุมทับเสื้อใน สวมหมวกแบบถุงแป้ง ห้อยคอด้วยลูกประคำ

ข้อห้ามเกี่ยวกับอาหาร พราหมณ์เมืองพัทลุงจะไม่กินเนื้อวัวและปลาไหลเพราะพราหมณ์ถือว่าวัวเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพาหนะของพระอิศวรซึ่งเป็นเทพเจ้าของพราหมณ์
ส่วนเนื้อปลาไหล ที่พราหมณ์ไม่รับประทาน เพราะมีเรื่องเล่าทำนองนินทาว่า ในสมัยหนึ่งพระอิศวรเสด็จประพาสปป่า ทรงพบกวางคู่หนึ่งกำลังร่วมสังวาสกันอยู่ พระอิศวรเกิดความกำหนัดขึ้นมา
จึงแปลงกายเป็นกวางตัวผู้ร่วมสังวาสกับกวางตัวเมียต่อมาพระอิศวรเกิดความละอายใจจึงตัดอวัยวะสืบพันธ์ทิ้งไป ก็เกิดเป็นปลาไหล ด้วยความเชื่อนี้เอง พราหมณ์จึงไม่กินปลาไหล

รูปเคารพของพราหมณ์พัทลุง เท่าที่เหลือในปัจจุบัน คือ รูปพระอิศวรหล่อสำริดปางนาฏราชศิลปะอินเดียพระพิฆเนศวร พระอุมา และยังมีรูปพระโพธิสัตว์มัญชุศรีของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานร่วมอยู่ด้วย โดยพราหมณ์เข้าใจว่าเป็นรูปพระอิศวร?

จากตำนานพราหมณ์เมืองพัทลุงที่ยกมาอ้างดังกล่าว พอจะโยงใยไปถึงการก่อตั้งสำนักเขาอ้อได้เนื่องจากตามหลักฐานพบว่าพราหมณ์เคยไปอยู่ละแวกอำเภอควนขนุน คือ ในเขตใกล้เคียงกับเขาอ้อและที่ว่าพราหมณ์ชอบตั้งที่พำนักสูง ๆ เพราะถือว่าตัวเองเป็นชนชั้นสูงโดยเฉพาะพราหมณ์ผู้เรืองเวทย์ด้วยแล้ว ยิ่งต้องการที่สูงอาศัยอยู่และต้องการสถานที่สงบเงียบเพื่อการบำเพ็ญพรต

ในละแวกอำเภอควนขนุน เขาอ้อถือเป็นชัยภูมิที่ดีมากแห่งหนึ่ง เส้นทางคมนาคมในอดีต คือ ลำคลองผ่านหน้าเขาภายในเขามีถ้ำกว้างใหญ่ เย็น สบาย รอบ ๆ เขาเป็นที่อยู่ของชาวบ้าน
และที่สำคัญอยู่ไม่ห่างตัวเมืองพัทลุงเก่ามากนักด้วยเหตุนี้อาจจะมีพราหมณ์ผู้เรืองเวทสักกลุ่มได้ตั้งสำนักขึ้นเพื่อถ่ายทอดวิทยาการของพราหมณ์สู่ลูกหลาน
พราหมณ์รวมทั้งลูกหลานกษัตริย์ซึ่งเป็นหน้าที่ของพราหมณ์โดยตรงที่จะต้องทำหน้าที่ราชครูให้เหล่าพระวงศ์และองค์รัชทายาทในเมืองต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้วัดเขาอ้อ แม้ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัด มีพระเป็นเจ้าอาวาสแล้วเจ้าเมืองต่าง ๆ ก็นิยมส่งลูกหลานไปเรียนวัดเขาอ้อ เป็นวัดเก่าแก่มาก มีชื่อเสียงทางด้านไสยศาสตร์ อยู่ยงคงกระพัน มีเกจิอาจารย์ชื่อ ทองเฒ่า
เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการทำวัตถุมงคลเพื่อแจกให้กับทหารที่ไปสู้รบในสมรภูมิเพื่อเป็นสิริมงคลป้องกันอันตรายจากศัตรู และอาวุธ และมีการแช่ยาให้อยู่ยงคงกระพันอีกด้วย
ทำให้เป็นที่กล่าวขานมาจนทุกวันนี้ตำบลตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

สำนักวัดเขาอ้อ ตักศิลาทางไสยเวทย์ภาคใต้
วัดเขาอ้อ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง



วัดเขาอ้อ เป็นแหล่งวิทยาคมทางไสยศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณพระเกจิอาจารย์ผู้สืบต่อวิชาทางไสยศาสตร์ ต่างก็เป็นที่พึ่งที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป เช่น
พระอาจารย์ทองเฒ่า พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา พระครูพิพัฒน์สิริธร (อาจารย์คง) วัดบ้านสวน พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ และ


ที่เป็นฆราวาสที่คนทั่วไปรู้จักกันดีได้แก่ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นต้น  ชื่อเสียงของวัดเขาอ้อที่ผู้คนทั่วไปรู้จักมักจะเน้นไปในทางไสยเวทเสียมากกว่า
ทั้งที่วัดเขาอ้อยังมีดีมากกว่านั้น โดยเฉพาะวิชาการแพทย์แผนโบราณพูดได้ว่าไม่มีสำนักใหนทางภาคใต้ที่จะชัดเจนและได้ผลชะงัดเท่ากับสำนักนี้ แม้ปัจจุบันจะคลายลงไปบ้าง แต่ก็หาได้สูญหายไปอย่างใดไม่ อย่างน้อยที่สุดยังมีพระอาจารย์หลายรูปที่สืบทอดกันมา

ตำนานสำนักเขาอ้อ
เล่ากันว่า จุดกำเนิดของสำนักวัดเขาอ้อนั้น แต่เดิมเป็นที่บำเพ็ญพรตของพราหมณ์มาหลายรุ่นเนื่องจากภายในถ้ำบนเขาอ้อนั้นเป็นทำเลที่ดีมาก ตัวเขาอ้อเองก็ตั้งอยุ่บนเส้นทางสัญจรของชุมชนในอดีตเมืองที่เจริญในละแวกนั้น ซึ่งได้แก่สทิงปุระ หรือสะทิงพาราณสี ซึ่งก็คืออำเภอ สทิงพระในปัจจุบันประวัติของเมืองสทิงปุระนั้นเกี่ยวข้องกับพราหมณ์อยู่มาก
แม้กระทั่งในสมัยศรีวิชัยที่ศาสนาพุทธแผ่อิทธิพลทั่วแหลมาลายู ในบริเวณสว่นนั้น(เขตเมืองพัทลุงในปัจจุบัน) ยังเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของพราหมณ์ หลักฐานทางประวัติศาตร์บอกว่าเป็นเมืองที่มีชุมชนหนาแน่นที่สุด

ในขณะนั้นมีพราหมณ์ผู้ทรงวิทยาคุณ (ฤาษี) คณะหนึ่งได้ไปบำเพ็ญพรตอยู่ที่ถ้ำบนเขาอ้อบำเพ็ญพรตจนเกิดอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ตามตำราอาถรรพเวท (พระเวทอันดับสี่ของคัมภีร์พราหมณ์)
แล้วได้ถ่ายทอดวิชานั้นต่อ ๆ กันมา พร้อมกันนั้นก็ได้จัดตั้งสำนักถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ผู้สนใจซึ่งตามวรรณะแล้วพราหมณ์มีหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เชื้อพระวงศ์หรือวรรณะกษัตริย์และลูกหลานผู้นำเพื่อจะให้นำไปเป็นความรู้ในการปกครองคนต่อไป สำนักเขาอ้อสมัยนั้น จึงมีฐานะคล้าย ๆสำนักทิศาปาโมกข์ของพราหมณ์ผู้ทรงคุณ

พราหมณ์ผู้ทรงคุณดังกล่าวได้ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ให้พราหมณาจารย์สืบทอดต่อ ๆ กันมาซึ่งเท่าที่สืบค้นรากฐานก็พบว่า วิชาที่ถ่ายทอดให้คณาศิษย์นอกจากวิชาในเรื่องการปกครองตามตำราธรรมศาตร์แล้วก็ยังมีเรื่องพิธีกรรม ฤกษ์ยามการจัดทัพตามตำราพิชัยสงคราม ตลอดจนไปถึงไสยเวทและการแพทย์ตามตำนานบอกวิชาสองสายสืบทอดโดยพราหมณาจารย์ผู้เฒ่าสองคน ซึ่งสืบทอดกันคนละสายสำนักเขาอ้อในสมัยนั้นเป็นสำนักทิศาปาโมกข์จึงมีพราหมณ์อยู่สองท่านเสมอ

การสืบทอดวิชาของสำนักเขาอ้อได้ดำเนินเช่นนั้นจนกระทั้งมาถึงพราหมณ์รุ่นสุดท้ายเห็นว่าไม่มีผู้รับสืบทอดต่อแล้ว ประกอบกับเล็งเห็นว่าเมื่อสิ้นท่านแล้ว
สถานที่แห่งนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์พราหมณ์ผู้บรรลุพระเวทหลายคนได้ฝังร่างไว้ที่นั้นสถานที่นั้นจึงสำคัญเกินที่จะปล่อยให้รกร้างไปได้พราหมณ์ผู้เฒาท่านนั้นจึงได้เล็งหาผู้ที่จะมาสืบทอดและรักษา
สถานที่สำคัญนั้นไว้ ประกอบกับขณะนั้นอิทธิพลทางพุทธศาสนาได้แผ่เข้ารายล้อมเขตเมืองพัทลุงแล้วบริเวณข้าง ๆ เขาอ้อมีวัดอยู่หลายวัด วัดที่ใกล้ที่สุดคือ ?วัดน้ำเลี้ยว?
มหาพราหมณ์ทั้งสองท่านเล็งเห็นว่าต่อไปภายภาคหน้าพุทธศาสนาจะยั่งยืนและแผ่อิทธิพลในดินแดนแถบนั้นการที่จะฝากอะไรไว้กับผู้ที่ยั่งยืนและมีอิทธิพลน่าจะเป็นการดีท่านเลยตัดสินใจไปนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่งมาจากวัดน้ำเลี้ยวให้มาอยู่ในถ้ำแทนท่าน แล้วมอบคำภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของบูรพาจารย์พราหมณ์ให้พร้อมทั้งถ่ายทอดวิชาทางไสยเวทให้ รวมทั้งวิชาทางแพทย์แผนโบราณ

พระภิกษุรูแรกที่พราหมณ์ผู้เฒ่าไปนิมนต์มา ทราบแต่เพียงว่ามีนามว่า ?ทอง? ส่วนจะทองอะไรนั้นสุดจะเดาได้ เพราะวัดแห่งนี้ช่างอาถรรพ์เหลือเกิน มีเจ้าอาวาสที่ชื่อทองติดต่อกันมาหลายสิบรูป

ด้วยเหตุผลดังกล่าว วัดเขาอ้อจึงมีชื่อเสียงในทางไสยเวทและการแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับว่านภายหลังจึงมีพิธีแช่ว่าน พิธีกรรมทางไสยเวทหลายอย่างขึ้นที่นั่นจนลือเลื่องไปทั่ว

 

 

ตามตำนานเบื้องต้น ฟังดูออกจะเหลือเชื่อ แต่เมื่อวิเคราะกันด้วยเหตุผลแล้ว มีส่วนเป็นไปได้มากมีข้อให้สังเกตอยู่ ๓ จุด คือ
๑. ความสวยงามเรื่องสถานที่
วัดเขาอ้อคงเป็นอารามในถ้ำอารามแรกในละแวกนั้นไม่ค่อยปรากฏว่าเป็นที่นิยมของพระภิกษุในสมัยนั้นส่วนทำเลนั้นเล่าก็สวยงามน่าอยู่ ภายในถ้ำมีทางเดินทะลุภูเขาได้ ลมโกรกเย็นสบาย ด้านหนึ่งติดทุ่งนาอีกด้านเป็นคลองใหญ่ อันเป็นทางสัญจรสายสำคัญในสมัยนั้น ทำเลที่ดีอย่างนี้พวกพราหมณ์ที่นิยมในทางวิเวกชอบใช้เป็นที่บำเพ็ญพรต

๒. วิชาเด่นของวัด วิชาเด่นของวัดเขาอ้อคือ ?ไสยเวท?
เป็นที่ทราบกันว่าในคัมภีร์ทางพุทธศาสนานั้นไม่มีวิชาใดที่สอนเกี่ยวกับไสยเวทแต่ในคัมภีร์ของพราหมณ์นั้นมีเด่นชัดถึงขนาดเป็นคัมภีร์หนึ่งต่างหากต่อจากไตรเวทคือคำภีร์สำคัญของพราหมณ์ มี ๓ ส่วน คือ

๑) ฤคเวท เป็นคำภีร์ที่รวบรวมบทสรรเสริญเทพเจ้า
๒) ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ส่วนรวมบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่าง ๆ
๓) สามเวท เป็นส่วนที่รวบรวมบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ
นอกจากคัมภีร์สามส่วนนี้ ต่อมาพราหมณ์ได้เพิ่มคำภีร์สำคัญเข้ามาอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการรวบรวมวิชาเกี่ยวกับไสยเวทและอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ เรียกว่า ?อาถรรพเวท?

๓. วัตถุมงคลของสำนัก วัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังของสำนักเขาอ้อแตกต่างไปจากสำนักอื่น ๆ กล่าวคือสมัยก่อนไม่มีการทำรูปพระเครื่องหมายถึงการทำรูปพระ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์หากแต่ทำเป็นของขลังอย่างอื่นแทน เป็นต้นว่า ตะกุด คต ฯลฯ
อาจจะเป็นพระเครื่องรางนั้นสืบทอดต่อมาจากพราหมณ์ พราหมณ์ผู้เคร่งครัดจริงๆ จะไม่ทำเป็นรูปพระ ในขณะที่สำนักอื่น ๆ ในยุคเดียวกันหรือใกล้เคียง ล้วนมีหลักฐานพระเครื่องเป็นรูปพระทั้งนั้น
ไม่ว่าจะเป็นพระร่วง, พระซุ้มกอ, พระคง, พระนางพญา,พระชินเขียวต่าง ๆ ฯลฯ ที่มีการขุดค้นพบแต่ต่อมาพระภิกษุรุ่นหลัง ๆ ในสำนักเขาอ้อได้เริ่มทำเป็นพระบ้างแล้ว
โดยทำเป็นรูปบูรพาจารย์ของสำนักแห่งนี้ เช่น พระอาจารย์ทองเฒ่า พระอาจารย์ทองหูยาน พระอาจารย์ปาลเป็นต้นและได้ทำมาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยจุดน่าสังเกตดังกล่าวข้างต้น ตำนานดังกล่าวข้างต้น ตำนานดังกล่าวจึงมีส่วนน่าเชื่อถืออยู่ไม่น้อย

พระปิดตาสายเขาอ้อ

ประวัติเขาอ้อ


ได้เกริ่นถึงส่วนของตำนานไปแล้ว ทีนี้มาดูหลักฐานที่ปรากฏเป็นประวัติของวัดเขาอ้อบ้างอาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์เอกทางไสยเวทสำคัญคนหนึ่งของสำนักวัดเขาอ้อ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงประวัติวัดเขาอ้อไว้ในหนังสือ ?พระสังฆวิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า)อาจารย์ผู้เฒ่าวัดเขาอ้อ? ตอนหนึ่งว่า

อาจารย์ทองเฒ่า

เท่าที่ค้นพบจากพงศาวดาร และจากคำบันทึกของพระเจ้าของตำรา พระอาจารย์ทุกองค์ในสำนักวัดเขาอ้อมีความรู้ความสามารถในทางไสยศาตร์ให้แก่ทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นเจ้าเมืองและนักรบามแต่ครั้งโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์ที่ ๑ ชื่อพระอาจารย์ทอง ในสมัยนั้น ทางฟาดตะวันตกของทะเลสาบตรงกับที่วัดพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปากพยูนปัจจุบันนี้

ครั้งนั้น ตามพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวว่า ยังมีตายาย ๒ คน ตาชื่อสามโม ยายชื่อยายเพ็ชร์ตายายมีบุตรและหลานบุญธรรมอยู่สองคน ผู้ชายชื่อ กุมาร ผู้หญิงชื่อ เลือดขาว
นางเลือดขาวกล่าวกันว่าเป็นอัจฉริยะมนุษย์คือเลือดในตัวนางมีสีขาว ผิวขาวผิดกับมนุษย์ธรรมดาสามัญตาสามโมเป็นนายกองช้างหน้าที่จับช้าง เลี้ยงช้างถวายพระยากรงทอง ปีละ ๑ เชือก

เมื่อบุตรธิดาทั้งสองเจริญวัยพอสมควรแล้ว ตายายจึงนำไปฝากให้พระอาจารย์ทอง วัดเขาอ้อสอนวิชาความรู้ให้พบบันทึกในตำราว่าเริ่มนำตัวไปถวายพระอาจารย์ทองเมื่อวันพฤหัสบดี ปีกุน เดือน ๘ ขึ้น
๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๓๐๑ (พ.ศ.๑๔๘๒) จะศึกษาอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฏทราบแต่ว่าเป็นผู้มีความรู้ทางอยู่ยงคงกระพัน กำบังกายหายตัว และอื่น ๆ เป็นอย่างดียิ่ง ต่อมา
ตายายให้บุตรบุญธรรมทั้งสองแต่งงานเป็นสามีภรรยากัน พระยากรงทองโปรดให้ได้เป็นเจ้าเมืองชื่อพระกุมารและนางเลือดขาว ตั้งเมืองอยู่ที่บางแก้วฝั่งทะเลสาบตะวันตก ชื่อเมืองตะลุง

วัดเขียนบางแก้ว ตั้งอยู่ในเขตตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน  เป็นวัดโบราณ มีตำนานพื้นเมืองกล่าวว่า เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาวเป็นผู้สร้าง มีพระมหาธาตุเจดีย์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระพุทธรูปและกุฏิสงฆ์ เสร็จแล้วให้จารึกเรื่องราวการก่อสร้างลงบนแผ่นทองคำเรียกว่า เพลาวัด  สร้างเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๔๙๒ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๔๙๓ เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาว ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากเกาะลังกา มาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์
ได้สร้างวัดและเจดีย์วัดตะเขียน (วัดบางแก้ว ต. เขาชัยสน จ. พัทลุง เดี๋ยวนี้)การที่ให้ชื่อเมืองว่าเมืองตะลุง อาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นที่หลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง
พระกุมารและนางเลือดขาวเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างวัดอาราม, พระพุทธรูป, พระเจดีย์ในเขตเมืองพัทลุง เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองตรังหลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดบางแก้ว วัดสทังใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๙๓ สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง ๑ วัด (ในพงศาวดารฉบับหนึ่งกล่าวว่า สร้างครั้งสมัยพระเจ้าไสยณรงค์ เป็นเจ้ากรุงสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๐๐ (ผิดพลาดขออภัยด้วย)สร้างพระพุทธรูปปางไสยสน์ ๑ องค์ พอจะจับเค้ามูลได้ว่าวัดเขาอ้อมีมาก่อนเมืองพัทลุง เพราะพระกุมารมาศึกษาวิชาความรู้ก่อนเป็นเจ้าเมือง?
อีกตอนหนึ่ง ?เมื่อจุลศักราช ๙๙๑ (พ.ศ. ๒๑๗๑) พระสามีรามวัดพะโค๊ะ หรือที่เราทราบกันเดี๋ยวนี้ว่าหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ ซึ่งประชาชนในสมัยนั้นยกยอ่งถวายนามว่าสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ
ท่านได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นผู้แตกฉานในอรรถธรรม ครั้งนั้นยังมีพราหมณ์เป็นนักปราชญ์มาจากประเทศสิงหล (ลังกา)
มาตั้งปริศนาปัญหาธรรมที่แสนยากพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระสามีรามเถระแก้ปัญหาธรรมนั้น ๆจนชนะพราหมณ์ชาวสิงหล จึงพระราชทานยศเป็นพระราชมุนี
เมื่อกลับมาเมืองพัทลุงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระรัตนมหาธาตุไว้บนเขาพะโค๊ะ สูง ๑ เส้น ๕ วามีระเบียงลอ้มรอบพระเจดีย์(แต่ตามตำนานของวัดพะโค๊ะเองบอกว่าหลวงปู่ทวดมาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นั้นมาก่อนนั้นแล้วแต่ถูกทำลายเมื่อคราวอุชุตนะ จอมโจรสลัดมาลายู เข้าปล้นบ้านปล้นเมืองและทำลายวัดวาอารามชายฝั่งทะเลแถบภาาคใต้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ?
ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งฉลองพระเจดีย์นั้น ท่านพระอาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่งชื่อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นชื่อที่ยกย่องเช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ
นำพุทธบริษัทไปในงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบแสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไปถึงเขาพะโค๊ะซึ่งไกลจากทะเลมาก ทำให้ประชาชนที่เห็นอภินิหารเคารพนับถือและปัจจุบัน สถานที่ตรงนั้นเรียกกันว่า ?ที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ?

ต่อมา ท่านสมเด็จเจ้าพะโค๊ะให้คนกวนข้าวเหนียวด้วยน้ำตาลโตนดภาษาภาคใต้เรียกว่า เหนียวกวนทำเป็นก้อนยาวประมาณ ๒ ศอก โตเท่าขา ให้พระนำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทอง วัดเขาอ้อ ครั้นถึงเวลาฉันท่านสมเด็จเจ้าจอมทองสั่งให้แบ่งถวายพระทุกองค์ศิษย์วัดตลอดถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้า ทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทองท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านจึงเอามือลูบ แล้วส่งให้ศิษย์ตัดแบ่งถวายพระอย่างข้าวเหนียวธรรมดา อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแตงโมใบใหญ่ ๒ ลูกไปถวายสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ
พอถึงเวลาฉันก็ไม่มีใครผ่าออก สมเด็จพะโค๊ทราบเข้าก็หัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่าสหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเรา ท่านรับแตงโมแล้วผ่าด้วยมือของท่านเองออกเป็นชิ้น ๆ ถวายพระ
การแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณเป็นกีฬาประเภทหนึ่งซึ่งมีมากอาจารย์ดว้ยกันต่อจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุก ๆ องค์ ได้แสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอดมา
จึงเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทุกชั้น เจ้าเมืองพัทลุงทุกคนตอ้งไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อ ปัจจุบันก็มีการศึกษากันอยู่

ลำดับพระอาจารย์เท่าที่ทราบชื่อมี ๑๐ ท่าน คือ๑. พระอาจารย์ทอง
๒. พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง
๓. พระอาจารย์พรมทอง
๔. พระอาจารย์ไชยทอง
๕. พระอาจารย์ทองจันทร์
๖. พระอาจารย์ทองในถ้ำ
๗. พระอาจารย์ทองนอกถ้ำ
๘. พระอาจารย์สมภารทอง
๙. พระอาจารย์พระครูสังฆวิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า)
๑๐. พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม
พระอาจารย์ปาลพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุก ๆ องค์ มีความรู้ความสามารถคล้ายคลึงกัน เพราะได้ศึกษากันมาไม่ขาดระยะตำราและวิชาความรู้ที่เป็นหลัก คือพระอาจารย์สำนักวัดเขาอ้อทุกองค์สอนเวทมนต์คาถาเป็นหลัก
เรียนตั้งแต่ธาตุ ๔ ธาตุทั้ง ๕ แม่ธาตุ การตั้งธาตุ หนุนธาตุ แปลงธาตุ และตรวจธาตุ วิชาคงกระพันชาตรีแคล้วคลาด มหาอุด สอนให้รู้กำเนิดที่มาของเลขยันต์อักขระต่าง ๆ
ซึ่งใช้ความพยายามและจะต้องอยู่ปฏิบัติอาจารย์ จนอาจารย์เห็นความพยายามที่รักวิชาของศิษย์จึงจะสอนให้ศิษย์ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนจนทำให้ตามตำราก็มีจำนวนมากนอกจากสอนวิชาความรู้ทางไสยศาสตร์แล้วยังสอนวิชาความรู้เกี่ยวกับยารักษาโรคจนกระทั้งตำรายาของสำนักเขาอ้อมีทั่วไป ทั้งภาคใต้ ตลอดไปถึงมาเลเซีย
วิชาไสยศาสตร์ที่เป็นหลักเดิมเป็นคุณวิเศษประจำอาจารย์ทุกองค์ คือ

๑. เสกน้ำมันงาให้เดือด ให้แข็ง แล้วทำพิธีป้อนให้ศิษย์เป็นคงกะพัน
๒.วิธีอาบว่านแช่ยา เป็นคงกะพันกันโรค
๓. พิธีหุงข้าวเหนียวดำกิน เป็นคงกะพัน กันเจ็บเอว เจ็บหลังเป็นอายุวัฒนะ
๔. พิธีสอนให้สักยันต์ที่ตัวด้วยดินสอหรือมือ เป็นคงกะพันชาตรีเป็นมหาอุด แคล้วคลาด เป็น เมตตามหานิยม
๕. พิธีลงตะกรุด ๑ ดอก ๔ ดอก ๕ดอก ๑๖ ดอก
๖. พิธีลงตะกรุด ๑ ดอก ๔ ดอก ๑๖ ดอก
๗.วิชาความรู้เกี่ยวกับฤกษ์ยาม ตามตำราพิชัยสงคราม
๘.วิชาความรู้ทางยารักษาโรค รักษาคนเป็นบ้า รักษาคนกระดูกหัก กระดูกแตก ต่อกระดูก รักษาโรค ตามตำราเขาอ้อ ต้องรักษาเพื่อการกุศลหายแล้วนำอาหารคาวหนาวไปถวายพระ
๙. พิธีพิเศษและสูงสุดระดับชาติ ระดับศาสนา คือ ทำไม้เท้ากายสิทธิ์ชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็น ช่วย

ชาติในคราวคับขัน เป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธพิจารณาแก้ช่วยกัน แก้ได้ โลกจะกลับคืนเข้า
สู่สันติตัวจริง สันติตัวปลอมจะหมดไปจากโลก คือ ให้เจริญภาวนาให้เห็นว่าชี้ต้นนาย ชี้เป็น
ปลายเป็น เป็นตัวโลกุตรธรรม
ในพงศาวดารยังพูดถึงวัดเขาอ้ออีกครั้ง โดยปรากฏในประวัติศาสตร์เมืองพัทลุง ดังที่อาจารย์ชุม ไชยศีรี
ได้เขียนไว้โดยสังเขปในหนังสือเล่มเดียวกับที่อ้างถึงข้างต้น ความว่า

?... ในพงศาวดารกล่าวว่า ครั้งสมัยศรีวิชัย ตอนกลางของแหลมมาลายูปรากฏว่ามีเมืองโบราณเก่าแก่อยู่ ๓
เมือง คือ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองหลวง มีเจ้าผู้ครองนคร
ตกอยู่ในอำนาจของศรีวิชัยตั้งแต่ พ.ศ. ๑๔๐๐ ถึง พ.ศ. ๑๘๒๓
ต่อจากนั้นเข้ารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยครั้งพ่อขุนรามคำแหง
เมืองพัทลุงกับเมืองไชยาเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองนครฯ
เมืองพัทลุงมีอาณาเขตติดต่อกับทะเลตะวันตกและทะเลตะวันออก ในสมัยนั้นมีเมืองขึ้นเล็กๆ หลายเมือง เช่น
เมืองปะเหลียน เมืองจะนะ เมืองชะรัด เมืองเทพา เมืองกำแพงเพชร (อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา) เมืองสงขลา
เมืองสทิง เมืองสิงห์ (กิ่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน) เมืองระโนด เมืองปราน
เมืองสีชะนา (ที่ตั้งเมืองพัทลุงปัจจุบัน) ตัวเมืองพัทลุงสมัยนั้นตั้งอยู่ที่บางแก้ว (เขตอำเภอเขาชัยสน
จังหวัดพัทลุง เดี๋ยวนี้)

(ตามหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๕ จดหมายเหตุของหลวงอุดมสมบัติ จดหมายเหตุเรื่อง?สยามกับสุวรรณภูมิ? ของหลวงวิจิตรวามการ, และจาการค้นคว้าจากที่อื่นหลายแห่ง)
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ครั้งที่พม่ายกมาตีเมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชได้เป็นผลสำเร็จแล้วยกทัพตีมาเรื่อย พระยาพัทลุง (ขุน) กับพระมหาช่วย วัดป่าเลไลย์ ชาวบ้านน้ำเลือด
ซึ่งเป็นศิษย์อาจารย์วัดเขาอ้อ มีความรู้เชี่ยวชาญในทางไสยศาสตร์ ได้ลงตะกรุดเลขยันต์ผ้าประเจียดให้ไพร่พล แล้วแต่งเป็นกองทัพยกไปคอยรับทัพพม่าอยู่ที่ตำบลท่าเสม็ด(อำเภอชะอวด
จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน-ผู้เขียน) ทัพพม่ายามาถึงเห็นกองทัพไทยจากพัทลุงมีกำลังมากว่าตนแต่ที่จริงมีกำลังน้อยกว่ากองทัพพม่าหลายเท่า
แต่ด้วยอำนาจเวทมนตร์คาถาที่พระมหาช่วยซึ่งนั่งบริกรรมภาวนาอยู่เบื้องหลังทำให้ข้าศึกมองเห็นเป็นจำนวนมาก และมีกำลังร่างกายสูงใหญ่ผิดปกติ กองทัพพม่าไม่กล้ารุกเข้าเขตเมืองพัทลุงจึงหยุดอยู่เพียงคนละฝั่งแม่น้ำเป็นหลายวันจนกองทัพหลวงก็ยกมาถึง พม่าจึงยกทัพกลับไปพระมหาช่วยมีความชอบ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ลาสิกขาแล้วโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระยาช่วยทุกข์ราษฏร์ เป็นผู้ช่วยราชการเมืองพัทลุง..

ปัจจุบัน พระยาช่วยทุกข์ราษฏร์ผู้นี้ถูกชาวจังหวัดพัทลุงยกขึ้นเป็นวีรบุรุษประจำเมืองโดยร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ประดิษฐานไว้เป็นที่เคารพบูชาและตั้งเด่นเป็นสง่าราศีแก่เมืองพัทลุงอยู่ที่ สามแยกท่ามิหรำ อำเภอเมืองซึ่งถนนสายสำคัญที่เข้าเมืองพัทลุงต้องผ่านทางนั้น

ประวัติวัดเขาอ้อปรากฏหลักฐานในเอกสารทางราชการอีกแห่งคือ ในสารานุกรมวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่จัดโดยสถาบันทักษิณคดีศึกษาซึ่งได้เขียนประวัติวัดเขาอ้อไว้ย่อๆ ในส่วนของจังหวัดพัทลุง ความว่า ?...วัดเขาอ้อเป็นตั้งอยู่หมู่ ๓ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุนวัดเขาอ้อเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยอยุธยา เดิมเป็นวัดร้างมาก่อน ต่อมา พ.ศ.๒๒๘๔
พระมหาอินทราชมาจากเมืองปัตตานีได้เป็นเจ้าอาวาส จึงทำการบูรณะสิ่งปรักหักพัง เช่น บูรณะพระพุทธรูปในถ้ำ ๑๐ องค์ สร้างอุโบสถ ๑
หลังเสร็จแล้วมีหนังสือถวายพระราชกุศลเข้าไปกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรูปหล่อสำริด ๑ องค์หล่อด้วยเงิน ๑ องค์ แก่วัดเขาอ้อ ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า?เจ้าฟ้าอิ่ม เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ?
ต่อมาพระมหาอินทราชได้สร้างพระพุทธบาทจำลองด้วยมณฑปไว้บนเขาอ้อ สร้างพระพุทธไสยาสน์ ๑ องค์ และสร้างเจดีย์ไว้บนเขา ๓ องค์ เสร็จแล้วพระมหาอินทราชไปเสียจากวัด จึงทำให้วัดเสื่อมโทรมลงอีก ปะขาวขุนแก้วเสนา และขุนศรีสมบัติ พร้อมด้วยชาวบ้านใกล้เคียงได้ไปนิมนต์พระมหาคงจากวัดพนางตุงมาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่นั้นมาวัดก็เจริญขึ้นเรื่อย มีเจ้าอาวาสปกครองวัดต่อ ๆ
กันมากมายหลายสิบรูป ล้วนแต่มีความเชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์มีชื่อเสียงโดงดังไปทั่วภาคใต้ตราบเท่าทุกวันนี้?

พระพุทธรูปเจ้าฟ้ามะเดื่อที่ว่านี้ยังมีผู้เล่าประวัติปลีกย่อยออกไปว่าที่เชื่อเช่นนั้นก็เพราะอดีตนายมะเดื่อหรือพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมัยเมื่อยังเป็นนายมะเดื่อที่เชื่อกันว่าเป็นราชโอรสลับ ๆ ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เดินทางไปศึกษาวิทยากรในสำนักเขาอ้อ โดยยกกันไปทั้งครอบครัว หนึ่งในจำนวนนั้นมีเชื้อพระวงศ์ แต่ไม่แน่ว่าเป็นสายใด ชื่ออิ่มอยู่ด้วย ครั้นศึกษาได้พอสมควรแล้ว ก็เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาเข้ารับราชการจนกระทั้งเสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นพระเจ้าเสือขณะที่อยู่ที่วัดเขาอ้อก็ได้สร้างปูชนีวัตถุไว้เป็นอนุสรณ์อย่างหนึ่ง คือ พระพุทธรูปที่ว่านั่นเอง

ต่อมาเมื่อชาวบ้านทราบว่าผู้ที่เดินทางไปศึกษาวิทยาคุณในครั้งนั้นถึงเป็นถึงเจ้าฟ้า จึงได้ถวายนามพระพุทธรูปองค์นั้นตามชื่อผู้สร้าง คือ ?เจ้าฟ้ามะเดื่อ? เพื่อเป็นอนุสรณ์ เพราะสร้างตั้งแต่เป็นเจ้าฟ้ามะเดื่อ ส่วนเจ้าฟ้าอิ่มนั้นก็เช่นกัน สร้างขึ้นโดยราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งมีนามเดิมว่า ?อิ่ม?ซึ่งต่อมาได้เป็นใครก็ไม่อาจจะทราบได้ ผลแต่การศึกษาของเจ้าฟ้ามะเดื่อ หรือพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา
ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในทางวิทยาการแต่ในอดีตของสำนักแห่งนี้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานบันผู้นำเพียงใดซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาแต่สำนักทิศาปาโมกข์แต่เดิม สาเหตุที่ทำให้ข้อสันนิษฐานที่ว่า
วัดเขาอ้อเคยเป็นสำนักทิศาปาโมกข์ของพราหมณาจารย์ในอดีต ส่วนหนึ่งก็เพราะความที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้นำ เพราะสำนัทิศาปาโมกข์ที่สีบถอดมาแต่ตักศิลา
ประเทศอินเดีย ส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่ถวายวิทยาการให้กับเชื้อพระวงศ์และลูกหลานผู้นำ เข้าใจกันว่าสำนักเขาอ้อแต่เดิม สมัยที่ยังเป็นสำนักทิศาปาโมกข์นั้น ผู้ที่เป็นศิษย์ของสำนักแห่งนี้
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชนระดับผู้นำ ดังที่ปรากฏรายนามตามประวัติของวัด วัดเขาอ้อที่ปรากฏในหนังสือดังกล่าวคงจะเป็นการพูดถึงเขาอ้อเพียงสมัยหนึ่ง คือสมัยกรุงศรีอยุธยา
แต่วัดเขาอ้อสร้างมานานกว่านั้นมาก ร้างและเจริญสลับกันเรื่อยมาตราบปัจจุบัน.

 
ขอขอบคุณข้อมูล...http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=421.5
                      - ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
 
 

ออฟไลน์ เด็กวัดหนัง

  • ของดีมาอยู่กับตัว จงรักษาไว้ ตามเท่าชั่วชีวิต.
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 453
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
    • MSN Messenger - P_1_P_2_880@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
สุดยอดมากๆครับ ขอบคุณสำหรับเนื้อหาสาระดีๆนี้น่ะครับ...
พระภาวนาโกศลเถระ (หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร)

ออฟไลน์ schoolbus

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 153
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
 :001:สวัสดีครับ :001:

พอดีมีเก็บอยู่ 1 เหรียญ เป็นเหรียญหลวงพ่อศรีเงิน วัดดอนศาลา จ.พัทลุง ท่านเป็น 1 ในเกจิสายเขาอ้อที่เสกน้ำมันงาให้แข็งได้ เหรียญรุ่นนี้ท่านออกมาประมาณปี 2541 วรรณะของเหรียญเนื้อทองแดงจะออกสีคล้ำกว่าเหรียญทองแดงทั่วไปเนื่องจากตอนนั้นท่านได้ผสม ชนวนตะกรุดเก่าของเกจิสายเขาอ้อ(โดยเฉพาะของอาจารย์นำ)ลงไปเยอะมาก เหรียญนี้ราคาเช่าหาในตลาดพระไม่แพงมากแต่เรื่องพุทธคุณถือเป็นเหรียญที่ดีเหรียญ 1 ในสายเขาอ้อ

 :090:ขอบคุณครับ
:090:

อดีตรองประธานมูลนิธิปิยสีโล...ผู้ได้ฉายา สืบ ปืนแตก หรือ สืบ ปืนเสีย
พระครูพิทักษ์วีรธรรม (สืบ ปริมุตโต) เจ้าคณะตำบลท่าพระยา
พระอุปปัชฌาย์และเจ้าอาวาส วัดสิงห์ ต.บางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณประวัติข้อมูลสำนักวัดเขาอ้อนะครับ  ประสพการณ์มากมายครับสายเขาอ้อ  :015:  :053:

ออฟไลน์ A_hatyai

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 338
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
เคยไปมาแล้วทั้งวัดเขาอ้อ วัดดอนศาลา และ วัดบ้านสวน...มีวัตถุมงคลของทั้ง 3 วัดเก็บไว้พอสมควร
แต่ในปัจจุบันหากเป็นวัตถุมงคลที่ออกในวัดทางภาคใต้แม้จะไม่ใช่วัดที่เกี่ยวข้องกับสายเขาอ้อ..
ก็มักจะนิมนต์เกจิอาจารย์สายเขาอ้อไปร่วมปลุกเสกทั้งนั้นครับ

ออฟไลน์ Tinnakon

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ได้ข้อคิดที่ดี