กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด มิตรไมตรี => บทความ บทกวี => ข้อความที่เริ่มโดย: ทรงกลด ที่ 08 ธ.ค. 2554, 12:12:20

หัวข้อ: กิจวัตร ๑๐ อย่างของพระสงฆ์
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 08 ธ.ค. 2554, 12:12:20
พอดีได้อ่านเรื่อง...เล่าสู่กันฟัง...การอยู่ปริวาสกรรม
โดยพระอาจารย์ รวี สัจจะ...
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=14047.msg127959#msg127959
ซึ่งมีการกล่าวถึง....กิจวัตร 10 ประการของพระสงฆ์
อยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง จึงมาแบ่งกันกันครับ
=======================
กิจวัตร ๑๐ อย่างของพระสงฆ์ ที่ควรอ่านและปฏิบัติ

ของฝากสำหรับตัวข้าพเจ้าเองและเพื่อนพระภิกษุ
ประโยชน์ของกิจวัตร ๑๐ อย่าง

        1.   ลงอุโบสถ  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง   อุ
1.       ได้ส่งเสริมพระธรรมวินัย
2.       ทำให้เกิดความสามัคคี
3.       มีความบริสุทธิ์
4.       มุตตกนิสัย
5.       คนเลื่อมใสศรัทธา
6.       พาให้เป็นแบบอย่างที่ดี

       2.   บิณฑบาต  เลี้ยงชีพ  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง   บิณ
1.       ได้เจริญรอยตามยุคลบาท
2.       ได้โอกาสออกกำลังกายตอนเช้า
3.       ได้เข้าถึงความสำนึกในพระคุณแม่
4.       ได้เห็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร
5.       ได้เห็นความต้องการของประชาชน
6.       ได้ทำตนให้เป็นเนื้อนาบุญยิ่งขึ้น

        3.   สวดมนต์ไหว้พระ  ,  ได้ประโยชน์   6   สวด
1.       ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า
2.       เข้าใจศาสนพิธี
3.       มีจิตเป็นกุศล
4.       ทำตนให้แกล้วกล้า
5.       ชาวบ้านศรัทธา
6.       รักษาสัทธรรม

        4.   กวาดวิหารลานเจดีย์  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง  กวาด
1.       ได้ออกกำลังกาย
2.       ทำให้สถานที่สะอาด
3.       ปราศจากโรคภัย
4.       จิตใจคลายเครียด
5.       เสนียดจัญไรลดลง
6.       คงไว้ซึ่งศรัทธา

        5.   รักษาผ้าครอง  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง   รัก
1.       ได้ตื่นแต่เช้า
2.       เอาใจใส่ในกิจวัตร
3.       ฝึกหัดจิตใจ
4.       ทำให้สุขภาพดี
5.       มีความจำเยี่ยม
6.       เตรียมตารางชีวิต

เขียนโดย ชัยวัฒน์ ทองพริก
ที่มา
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011/03/blog-post_5876.html
หัวข้อ: ตอบ: กิจวัตร ๑๐ อย่างของพระสงฆ์
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 08 ธ.ค. 2554, 12:15:19
       6.   อยู่ปริวาสกรรม  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง  อยู่
1.       ได้ปฏิบัติตามกิจวัตร
2.       ได้กำจัดอาบัติโทษ
3.       ได้โปรดญาติโยม
4.       ได้ข่มมานะและทฏิฐิ
5.       ปิติปราโมทย์
6.       ได้ประโยชน์ในการแพร่ศาสนา

        7.   โกนผม   โกนหนวด   ตัดเล็บ  ,  ได้ประโยชน์   3   อย่าง  โกน
1.       เป็นการประหยัด
2.       ขจัดความสกปรก
3.       ยกย่องธรรมเนียม

       8.   ศึกษาและปฏิบัติครูอาจารย์  ,   ได้ประโยชน์   6   อย่าง   ศึก
1.       เข้าใจในหลักของตน
2.       พ้นความสงสัย
3.       ป้องกันภัยจากอาบัติ
4.       ยืนหยัดกตัญญู
5.       เคารพครูอาจารย์
6.       สืบสานวัฒนธรรม

       9.   เทศนาบัติ  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง  เท
1.       เป็นผู้ไม่ประมาท
2.       ปราศจากมลทิน
3.       มีศีลบริสุทธิ์
4.       หยุดความวิปฏิสาร
5.       ทำการบอกอาบัติ
6.       กำจัดความรังเกียจ

     10. พิจารณาปัจจเวกขณะ  ,  ได้ประโยชน์   3   อย่าง  พิ
1.       ไม่เป็นหนี้ชาวบ้าน
2.       ฉันอาหารไม่เป็นโทษ
3.       เป็นประโยชน์แก่กัมมัฏฐาน

ต้องขอยอมรับตัวเองว่าบางข้อต้องใช้พลังกายและใจฝึกจริงๆ แต่ก็ต้องพยายามฝึก เพื่อความเป็นพระในหน้าที่ กิจวัตรสิบข้อนี้ คือ รูปแบบของคนที่จะเป็นพระที่ดี ถึงบางข้อจะห่างเหินการปฏิบัติ แต่เราก็ต้องพยายามรักษากิจวัตร ข้ออื่นๆที่มีโอกาสกระทำให้ได้ เพื่อความเป็นพระที่คนอื่นๆจะกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ และไมเป็นบาปกับตัวเรา บวชพระเพื่อสละลดกิเลศ และเรา คือพระเสขะ ที่ ขจัดขัดถูกิเลศที่กัดใจอยู่เรื่อยไป เพื่อ สุดท้าย เป็นพระอเสขะ
ปัญหา พระอริยสาวกเช่นไรเรียกว่าพระเสขะ พระอริยสาวกเช่นใดเรียกว่าพระอเสขะ ?

พระอนุรุทธะตอบ “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้เป็นส่วน ๆ ...บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้บริบูรณ์...”  สติปัฏฐานสี่ คือการกระทำ ที่มีสติ รู้ตัว ทั่วพร้อม อยู่กับปัจจุบัน
 การทำกิจวัตรของพระเป็นการฝึกอยู่กับปัจจุบัน ในทางที่ขจัดขัดเกลากิเลศ นี้คือ หนทาง สู่สิ่งสูงสุดหรับชีวิตที่เราควรจะได้รับ.

เขียนโดย ชัยวัฒน์ ทองพริก
ที่มา
http://chaiwat201149.blogspot.com/2011/03/blog-post_5876.html
หัวข้อ: ตอบ: กิจวัตร ๑๐ อย่างของพระสงฆ์
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 08 ธ.ค. 2554, 02:05:12
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ปริวาส :

การอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่าอยู่กรรม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธี (ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ) อย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติ ก่อนที่จะประพฤติมานัตอันเป็นขั้นตอนปกติของการออกจากอาบัติต่อไป, ระหว่างอยู่ปริวาส ต้องประพฤติวัตรต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิบางอย่าง ลดฐานะของตนและประจานตัวเป็นต้น ;

ปริวาส มี ๓ อย่าง คือ ปฏิจฉันนปริวาส สโมธานปริวาส และ สุทธันตปริวาส ; มีปริวาสอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักบวชนออกศาสนา จะต้องประพฤติก่อนที่จะบวชในพระธรรมวินัย เรียกว่า ติตถิยปริวาส ซึ่งท่านจัดเป็น อปฏิจฉันนปริวาส

ที่มา
http://www.dhammathai.org/newspr/parivas.php