ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบคำแปลของ บทสวดพระสะหัสสะนัย  (อ่าน 26796 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Gearmour

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1204
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • ลานพิศวง
ด้วยความเคารพครับ
   อยากทราบคำแปลของ บทสวดพระสะหัสสะนัย
อยากทราบว่า
   

TUM

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: อยากทราบคำแปลของ บทสวดพระสะหัสสะนัย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 30 ก.ค. 2552, 04:35:13 »
ด้วยความเคารพครับ
   อยากทราบคำแปลของ บทสวดพระสะหัสสะนัย
อยากทราบว่า
   

นายเอาหามาได้แค่นี้ครับ
พระสะหัสสะนัย
สุทธิกะปะฏิปะทา
(กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา)
..........กะตะเม ธัมเม กุสะมา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภัญญัง ทุกขาปะฏิปะทัง
ขิปปาภิกญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภัญญัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
..........กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุขาปะ-
ฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป
โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
สุญญะตะมูละกะปะฏิมา
..........กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุญญะตัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธา-
ภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภัญญัง สุญญะตัง ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
..........กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
สุญญะตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
อัปปะณิหิตะปะฏิปะทา
..........กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะ-
ณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
..........กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหายนายะ ปะฐะ-
มายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง ฌานัง
ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิ-
ปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ
อิเม ธัมมา กุสะลา
อะธิปะติ
..........กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหา-
นายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะหัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิตเตยยัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ
อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
..........กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารนัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง (อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง
วิมังสาธิปัตเตยยัง อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิ-
ปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง) ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา

ออฟไลน์ ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1560
  • เพศ: ชาย
  • ไม่สู้ ไม่หนี ทําดีเรื่อยไป
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: อยากทราบคำแปลของ บทสวดพระสะหัสสะนัย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 30 ก.ค. 2552, 11:41:11 »
ไม่มีคำแปลเหมือนกันครับ  แต่ทราบมาว่าเป็นการอธิบายเรื่องการบรรลุธรรม  ต้องมีเหตุมีปัจจัยอะไรเกื้อหนุนบ้างครับ  

ผมเคยฟังหลวงพ่อท่านหนึ่ง ที่ท่านเป็นพระปฏิบัติ ท่านเคยเทศน์ให้ฟังครับ จำได้นิดหน่อย อย่าว่ากันนะครับ

ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง - ปฏิบัติลำบาก เข้าถึงได้ช้า (บุคคลผู้จะปฏิบัติธรรมแต่เหตุต่างๆไม่เกื้อหนุนให้ปฏิบัติธรรม  พอปฏิบัติก็ยังเข้าถึงธรรมได้ช้า ต้องให้ความเพียรเป็นเวลานาน แปลว่าในอดีตไม่สนับสนุนให้คนปฏิบัติธรรม  ไม่สร้างศาสนสถาน  แล้วยังสะสมปัญญาบารมีคือการปฏิบัติธรรมมาน้อยด้วย)

ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง - ปฏิบัติลำบาก แต่เข้าถึงได้เร็ว (บุคคลผู้จะปฏิบัติธรรมแต่เหตุต่างๆไม่เกื้อหนุนให้ปฏิบัติธรรม    แต่พอปฏิบัติก็สามารถเข้าถึงได้ไว  แปลว่าอดีตชาติสะสมปัญญาบารมีคือการปฏิบัติในอดีตมาดี  แต่ไม่ค่อยสนับสนุนให้คนปฏิบัติธรรม ไม่สร้างศาสนาสถาน สร้างทานบารมีมาน้อย)

สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง  - ปฏิบัติสะดวก  แต่เข้าถึงได้ช้า (บุคคลผู้จะปฏิบัติธรรม มีเหตุอันเหมาะสม เกื้อกูลแก่การประพฤติธรรม มีที่สัปปายะอย่างยิ่ง  แต่พอปฏิบัติธรรมก็เข้าถึงได้ช้า ต้องใช้ความเพียรอยู่นาน แปลว่าในอดีตสนับสนุนให้คนปฏิบัติธรรม  ทำบุญสร้างศาสนสถานไว้มาก แต่สะสมปัญญาบารมี คือการปฏิบัติธรรมมาน้อยครับ)

สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง - ปฏิบัติสะดวก เข้าถึงได้เร็ว (บุคคลผู้ที่ปฏิบัติธรรม  มีเหตุอันเหมาะสม เกื้อกูลแก่การประพฤติธรรม  มีที่สัปปายะอย่างยิ่ง  และเวลาปฏิบัติธรรมก็สามารถเข้าถึงได้เร็ว แปลว่าในอดีตสะสมทานบารมี คือการสนับสนุนการปฏิบัติธรรม  สร้างศาสนสถาน อยู่บ่อยครั้ง และยังสะสมปัญญาบารมีมามาก คือทำความเพียร ปฏิบัติธรรมอยู่เนืองนิจ)

ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ก.ค. 2552, 11:41:49 โดย ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞ »
ครูผู้บริสุทธิ์ ครูผู้หมดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ครูผู้มี"พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ" อย่างประมาณมิได้
บรมครูผู้นั้นคือ "สมเด็จพระพุทธเจ้า"
ขอนอบน้อมกราบกรานพระบรมศาสดา

ออฟไลน์ Gearmour

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1204
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • ลานพิศวง
ตอบ: อยากทราบคำแปลของ บทสวดพระสะหัสสะนัย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 31 ก.ค. 2552, 12:58:04 »
ด้วยความเคารพครับ
   ขอบคุณทุกๆท่านครับ
ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour