ผู้เขียน หัวข้อ: การสร้างพระเนื้อโลหะ  (อ่าน 15360 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ คนรักษ์พระ

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 1272
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
การสร้างพระเนื้อโลหะ
« เมื่อ: 09 ก.ย. 2552, 04:58:50 »
  การสร้างพระเนื้อโลหะ

                การสร้างพระเนื้อโลหะนี้จะประกอบด้วยการสร้าง 3 ประเภท คือ พระหล่อ พระปั๊ม และ พระฉีด โดยก่อนอื่นผู้เขียนขอทำความเข้าใจแก่ผู้สนใจศึกษา ระหว่างพระเครื่องเนื้อชิน และพระเครื่องโลหะประเภทอื่นๆ ก่อนว่าเหตุใดจึงแยกพระทั้งสองประเภทนี้ออกจากหมวดเดียวกัน

                พระเครื่องเนื้อชิน ถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่ง แต่สาเหตุที่บูรพาจารย์ที่เป็นนักสะสมยุคแรกๆ ไม่นำมารวมอยู่ในพระเนื้อโลหะอื่นๆ เพราะเนื่องจากเหตุผลสำคัญดังนี้

                1.) พระเครื่องเนื้อชิน ล้วนเป็นพระกรุ พระเก่า  ที่มีอายุการสร้างนานเป็นร้อยๆปีขึ้นไปอันถือเป็นพระเครื่องยุคโบราณปัจจุบันไม่นิยมสร้างพระเครื่องเนื้อนี้อีกแล้ว

                2.) ส่วนผสมหลักของพระเครื่องเนื้อชินคือ ดีบุกและตะกั่ว มากน้อยตามแต่ผู้สร้างมีความประสงค์ ซึ่งปัจจุบันผู้สร้างได้ค้นพบโลหะอื่นๆที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า สะดวกกว่า และคงทนกว่า มาใช้ในการสร้างพระเครื่องแทนพระเครื่องเนื้อชิน

                3.) ผู้ที่นิยมมีความคิดว่าพระเครื่องประเภทเนื้อชินจะต้องเป็นพระยุคเก่า เท่านั้น จึงได้รับความนิยมในการสะสม หากเป็นพระยุคหลังที่สร้างขึ้นใหม่ จะแลดูขาดธรรมชาติ ไม่เป็นที่สนใจของประชาชน เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นพระเครื่องเนื้อชินต้องแลดูเก่ามีธรรมชาติคราบไข ถ้าดูใหม่จะคาดคะเนให้เป็นพระปลอมก่อนเลยเป็นอันดับแรก

พระเครื่องเนื้อโลหะต่างๆที่ปรากฎอยู่ในวงการพระ ประกอบด้วย

         1. พระเนื้อทองคำ

         2. พระเนื้อเงิน

         3. พระเนื้อทองแดง

         4. พระโลหะผสม

                สำหรับพระ 3 ประเภทแรกนั้น ผู้สนใจศึกษาคงทราบและเข้าใจอย่างชัดเจนถึงส่วนผสมหลัก หรือส่วนผสมนำ ในพระเครื่องนั้นๆ คือทองคำ เงิน และทองแดง ส่วนพระโลหะผสมนั้น มีมากมายหลายเนื้อมวลสาร ซึ่งบางประเภทมีสูตรจากตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสม และบางประเภทก็ไม่ชี้ชัดเพียงใส่มวลแร่ธาตุเดิมให้ครบตามจำนวนธาตุที่ต้องการผสมเท่านั้น จึบเป็นที่มาของความไม่แน่นอน ในโลหะผสมของแต่ละเบ้า แต่ละครั้งในการหลอมละลาย โลหะผสมที่ได้รับความนิยมในการสร้างพระเครื่องได้แก่

                 1) นวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่างๆ 9 ชนิด มาหลอมรวมกัน นวโลหะที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสมได้แก่ พระในกลุ่ม พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มีสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศน์ ประกอบไปด้วย

                                     ชิน                        น้ำหนัก 1 บาท (1บาท = 15.2 กรัม)

                                     จ้าวน้ำเงิน                น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)

                                     เหล็กละลายตัว          น้ำหนัก 3 บาท

                                     บริสุทธิ์                   น้ำหนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)

                                     ปรอท                     น้ำหนัก 5 บาท

                                     สังกะสี                    น้ำหนัก 6 บาท

                                     ทองแดง                  น้ำหนัก 7 บาท

                                     เงิน                        น้ำหนัก 8 บาท

                                     ทองคำ                    น้ำหนัก 9 บาท

                นำโลหะทั้ง 9 นี้ มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง

                2) สัตตะโลหะ หมายถึง โลหะผสม 7 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, จ้าวน้ำเงิน, บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตะโลหะก็จะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่นๆ เป็นต้น

                3) เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม 5 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, และทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากก็จะเป็นเหล็ก

                4) ทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆซึ่งเนโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น

                5) บรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสมระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่น โดยยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่บรอนซ์

                6) เมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆหลายชนิด อาทิเช่น เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน

                7) เมษสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสม เมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า “การเล่นแร่แปรธาตุ” นับเป็นโลหะที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวมจะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆไปด้วย สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ประกอบด้วยแร่ธาตุ 4 ชนิดคือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท

                 สัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ

                9) ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้น

         โลหะผสมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และพระเครื่อง อาจจะมีนอกเหนือจากนี้บ้างตามความสะดวกและความเชื่อในการสร้าง แต่ไม่เป็นที่รู้จักนิยมแพร่หลายเช่นที่กล่าวมา

        นอกจากนี้ก็จะมีพระที่สร้างจากเนื้อโลหะหลักที่มีส่วนผสมอื่นเจือปนอยู่บบ้างแต่เป็นส่วนน้อย เพื่อความสะดวกในการขึ้นรูป ทำให้สวยงาม และคงทนยิ่งขึ้น เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว เป็นต้น

วิธีการสร้างพระ

         เมื่อทราบถึงส่วนผสมของโลหะเจือ (โลหะผสม) ต่างๆ พอสังเขปแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการสร้างพระหล่อ-พระปั๊ม-และพระฉีด การสร้างพระที่กล่าวมานี้ นับเป็นการสร้างตั้งแต่ยุคกลางๆคือประมาณร้อยกว่าปี แล้ววิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน โดยเราจะแบ่งวิธีการสร้างออกเป็น การหล่อแบบโบราณและการหล่อแบบสมัยใหม่ ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้

การหล่อแบบโบราณ

         เป็นวิธีการที่ใช้ในการสร้างรูปหล่อ และเหรียญหล่อโบราณ มากมายในพระเครื่องต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศ เช่น รูปหล่อ-เหรียญหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตา รุ่นแรก, รูปหล่อหลวงพ่อเดิม เป็นต้น

ขั้นตอนการหล่อแบบโบราณ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้

         1) การขึ้นดินหุ่น คือการแกะหุ่นดินตามรูปพรรณสัณฐานที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาหล่อเป็นองค์พระต้องการ พระที่ได้ครั้งแรกนี้เรียกว่า “แกนหุ่นดิน”

         2) เข้ารูปขี้ผึ้ง เมื่อได้แกนหุ่นที่หล่อเรียบร้อยแล้ว จะนำขี้ผึ้งมาพอกองค์พระ แกะตกแต่งรายละเอียดด้วยเสนียด (ไม้ทองเหลืองปลายแบน) จนเป็นที่พอใจก็จะได้รูปขี้ผึ้งองค์พระที่ต้องการจะให้เป็นในลักษณะอากัปกิริยาต่างๆ ตลอดจนลวดลายตามความประสงค์ของผู้แกะแบบ

         3) พอกดินขี้วัว เมื่อได้รูปขี้ผึ้งแล้วก็นำดินขี้วัว (นำขี้วัวมาคั้นน้ำผสมกับดินเหนียวและทรายให้ข้นจับตัวกันเหนี่ยวแน่น) พอกให้ทั่วองค์พระหุ่นขี้ผึ้ง แล้วเจาะรูตรงปลายเพื่อให้ขี้ผึ้งไหลออกมาเมื่อถูกความร้อนสูง

         4) เทสารละลาย นำโลหะผสมที่หลอมละลายรวมกันเข้าที่แล้ว เทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ความร้อนจะทำให้ขี้ผึ้งละลายออกมาจากรูที่เจาะไว้เรียกว่า “การสำรอกขี้ผึ้ง” โลหะผสมจะเข้าแทนที่ขี้ผึ้งได้รูปองค์พระที่ต้องการ

         5) การทุบเบ้าทิ้ง เมื่อกระบวนการต่างๆที่ผ่านมาสำเร็จด้วยดีแล้ว พอโลหะจับกันแข็งตัวและเย็นดีแล้ว ก็จะมีการทุบเบ้าดินที่หุ้มองค์พระไว้ออกให้หมด ดังนั้น จึงมีการเรียกพระหล่อโบราณว่า “พระพิมพ์เบ้าทุบ”

         พระหล่อโบราณที่ได้ ส่วนมากจะขาดความละเอียดของเส้นรูปพรรณเค้าหน้า และร่างกายเนื่องด้วยเครื่องมือแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโบราณ ขาดศักยภาพกระทำการ อีกทั้งโลหะผสมขาดการชั่งตวงวัด และควบคุม รวมถึงความร้อนที่สม่ำเสมอทั่วถึง ทำให้องค์พระขาดความคมชัด หากแต่ธรรมชาติของดินพอกหุ่นและความไม่พอดีของอัตราส่วนโลหะผสม ก็นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระหล่อโบราณ ที่ยากแก่การปลอมแปลง ดินขี้เบ้าที่ติดอยู่กับเนื้อโลหะเมื่อได้รับความร้อน เกิดการหลอมรวมกินตัว ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของวรรณะตามซอกองค์พระ ก็ถือเป็นไม้ตายในการพิจารณาพระเก่า ให้ต่างจากพระใหม่ได้อีกประการหนึ่ง

การหล่อแบบสมัยใหม่

         นับเป็นวิวัฒนาการต่อเนื่อง โดยมีเครื่องอำนวยความสะดวก และสามารถสร้างพระได้ปริมาณมากๆในเวลาเดียว ซึ่งหักการของขั้นตอนก็จะคล้ายคลึงกับการหล่อโบราณคือ

         1) แกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ใช้ปูนปาสเตอร์พอกหุ่นแทนดินขี้วัว แล้วจึงสำรอกขี้ผึ้งออกต่อจากขั้นตอนนี้ เดิมทีจะต้องกระทำต่อเนื่องกันในขณะที่แม่พิมพ์ยังร้อนอยู่ แต่ในสมัยใหม่จะเป็นการ “เทพิมพ์เย็น” หมายถึงให้พิมพ์ที่ผ่านการหลอมและสำรอกขี้ผึ้งออกแล้วปล่อยให้เย็นตัวก่อน แล้วจึงเทโลหะผสมลงไป ซึ่งวิธีการนี้สามารถสร้างพระได้เป็นช่อทีละหลายองค์ในครั้งเดียว

         2) การฉีดพระ นับเป็นเทคนิคใหม่ที่ทำให้พระออกมาสวยมีรายละเอียดคมชัดทุกสัดส่วน ตามความปรารถนา อันเกิดจากการเหวี่ยงโลหะอย่างเร็วและแรงหลายรอบ ให้กินรายละเอียดของแม่พิมพ์ได้ทุกอณู สำหรับขั้นตอนการฉีดพระประกอบด้วย การแกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ถอดพิมพ์ด้วยยางทำฟัน ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีมากในการเก็บรายละเอียดต่างๆได้อย่างครบถ้วน  จากนั้นจึงใช้ปูนทำฟันฉีดเข้าพิมพ์ยาง แล้วนำใส่เข้ากระบอกเหวี่ยงเพื่อไล่โลหะให้เข้าไปตามกระบอกโดยผ่านท่อ แรงเหวี่ยงจะอัดมวลสารไปยังทุกส่วนของแม่พิมพ์ จะได้พระที่งดงามตามปรารถนาเป็นช่อๆละหลายองค์

         3) การปั๊มพระ นับเป็นกรรมวิธีแบบใหม่ในการสร้างพระที่มีขั้นตอนคล้ายการฉีด หากแต่ในขั้นตอนการแกะแม่พิมพ์ จะมี 2 ด้านประกบกัน เรียกว่า “แม่พิมพ์ตัวผู้ และแม่พิมพ์ตัวเมีย” นอกจากนี้ จะต้องทำตัวตัดขึ้นอีกตัว (ในกรณีทำเหรียญ) ซึ่งจะมีขนาดพอเหมาะกับแม่พิมพ์

         การสร้างแม่พิมพ์ในพระปั๊มนี้สามารถ “ถอดพิมพ์ใหม่” เกิดเป็นบล็อคแม่พิมพ์ได้จำนวนมากมายตามความต้องการ ด้วยยางทำฟัน ซึ่งทำให้แม่พิมพ์ที่ถอดขึ้นมา ไม่ผิดเพี้ยนจากแม่พิมพ์ตัวแรกเลย จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากกับการสร้างพระในปัจจุบันที่มีปริมาณการสร้างคราวละมากๆ

         ส่วนโลหะผสม ก่อนที่จะมาทำการปั๊มพระ จะเป็นโลหะผสมที่เย็นตัวแล้ว นำเข้าเครื่องปั๊มพระ ออกมาได้เหรียญ หรือรูปหล่อปั๊ม ตามความต้องการ และมีความเหมือนกันทุกองค์

                ฝากไว้ให้พี่น้องได้ศึกษากันครับ

                                                                                    

                                                                                                    ขอบคุณครับ

  ปล.ถ้ามีลงไว้แล้วแล้วขออภัยมาณ.ที่นี้ด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ก.ย. 2552, 05:02:00 โดย คนรักษ์พระ »
ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน

ออฟไลน์ yout

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1742
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การสร้างพระเนื้อโลหะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 09 ก.ย. 2552, 06:28:38 »
ขอบคุณครับที่ให้ความรู้.............. :114: :090: :114:..............

ออฟไลน์ ยอดรัก..บางแค

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 587
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - yodrak-bo@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การสร้างพระเนื้อโลหะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 09 ก.ย. 2552, 09:18:25 »
ขอบคุณ สำหรับ ความรู้ คร้าบ :054:

ออฟไลน์ tum72

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 2246
  • ณ ตลาดพลู
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การสร้างพระเนื้อโลหะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 10 ก.ย. 2552, 01:30:25 »
ขอบคุณครับพี่ เคยได้ดูการหล่อพระมาจากรายการ กบนอกกะลา สุดยอดมากครับ กว่าจะได้พระพุทธรูปมาแต่ละองค์ มาจากแรงศรัทธาจริงๆครับ
โอม ราศีกูเอ๋ย  จงมาเป็นอาสน์  สีธาวาส  มาเป็นเกียรติ  ศรีชายมาเป็นช่วง
หญิงชายทั้งปวง รักกูมิรู้วาย  ด้วยราศีกูงามคือฟ้า  หน้ากูงามคือพรหม
หญิงเห็นหญิงรัก  ชายเห็นชายทัก  กูอยู่ทุกเมื่อ  ไม่เบื่อแต่สักวัน
โอม หญิงชายทั้งหลายเอ๋ย  มา

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การสร้างพระเนื้อโลหะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 10 ก.ย. 2552, 09:56:56 »
ขอบพระคุณพี่เจมส์มากครับ ได้ความรู้เยอะเลยครับ
เกี่ยวกับพระเนื้อโลหะและวิธีการสร้าง  :015:

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การสร้างพระเนื้อโลหะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 10 ก.ย. 2552, 01:56:37 »
รายละเอียดชัดเจนมากครับพี่ เป็นข้อมูลที่มีความรู้มากมาย   ยิ่งถ้าใครเคยจัดสร้างหรือไปร่วมพิธี ละก็  จะเห็นภาพเลยครับว่า

แบบไหน สร้างอย่างไร

ขอบคุณมากครับพี่

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การสร้างพระเนื้อโลหะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 10 ก.ย. 2552, 11:46:28 »
ขอบคุณพี่เจมส์ครับ ข้อมูลแน่นจริงๆ..

...ได้ความรุ้อีกมากมายเลย....

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การสร้างพระเนื้อโลหะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 11 ก.ย. 2552, 07:17:08 »
ขอบคุณพี่คนรักษ์พระครับ ความรู้นี้ดีจริงๆ ครับ.. :054: