ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพุทธวิหารแอสตัน ประเทศอังกฤษ  (อ่าน 6103 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด
วัดพุทธวิหารคิงส์บรอมลี่
The Buddhavihara Temple or Thai Temple in the United Kingdom
Thai Monastery in the United Kingdom
*********
 
๑. ชื่อวัด วัดพุทธวิหารแอสตัน (The Buddhavihara Temple)
 
The Buddhavihara Temple,Alrewas Road,
Kings Bromley,Burton on Trent,
Staffordshire, DE13 7HR
Tel : 01543 472315
http://www.watthaiuk.com  E-mail: Ajahn@watthaiuk.com , watthaiuk@hotmail.com
 
๒. ประวัติวัด
        ๒.๑ ความเป็นมา
                วัดพุทธวิหารแอสตัน ตั้งขึ้นเมื่อปี ๑๙๙๔(๒๕๓๗) โดยคณะกรรมการของสมาคมชาวพุทธอินเดีย (Dr.Ambedkar Buddhist Society) ซึ่งได้ซื้อบ้านสมัยวิคทอเรีย ขนาดสามชั้น ด้วยเงินสดประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปอนด์ และได้นิมนต์พระสงฆ์ไทย คือ พระมหาสมบุญ สิทฺธิญาโณ อดีตพระธรรมทูต อดีตรักษาการเจ้าอาวาสวัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน และเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธวิหาร เมืองวูลเวอร์แฮมตัน ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเบอร์มิงแฮมไปทางเหนือประมาณ ๑๕ ไมล์ มาเป็นประธานในการเปิดวัด                 
        ๒.๒ เนื้อที่และตัวอาคาร
                วัดพุทธวิหารแอสตัน มีเนื้อที่ประมาณ ๑๔๐๐ ตารางเมตร ตัวอาคาร เป็นตึกสมัยวิคทอเรีย (Victoria Style) สามชั้น มีโรงรถ 2 แห่ง ด้านหลังมีสวนและอาคารหลังเล็ก (ถูกดัดแปลงเป็นห้องเรียนและห้องพักสำหรับฆราวาส)
        ๒.๓ การนิมนต์พระสงฆ์
                คณะกรรมการวัดซึ่งเป็นชาวพุทธที่นับถือ ดร.เอมเบดคาร์ ได้เดินทางไปนิมนต์พระสงฆ์จากวัดพุทธปทีปให้มาปฏิบัติศาสนกิจที่วัดนี้ถึง ๒ ครั้ง ซึ่งในขณะนั้น พระมหาเหลา ปญฺญาสิริ ได้ลาออกจากตำแหน่งพระธรรมทูตที่วัด พุทธปทีป เพื่อไปศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยลอนดอน จึงได้รับนิมนต์มาปฏิบัติศาสนกิจที่วัดพุทธวิหารแอสตัน
        ๒.๔ การยกสถานะให้เป็นวัดไทย
                หลังจากที่ได้นิมนต์พระสงฆ์ไทย คือ พระมหาเหลา ปัญญาสิริ และคณะสงฆ์ มาปฏิบัติศาสนกิจที่วัดพุทธวิหารแอสตัน การบริหารวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปตามนโยบายที่วางไว้ทุกประการ จนระยะเวลาผ่านไป ๕ ปี คณะกรรมการสมาคมชาวพุทธดร.เอมเบดคาร์ ได้มีความประสงค์จะย้ายวัดไป ณ สถานที่แห่งใหม่ ส่วนพระมหาเหลาได้พิจารณาเห็นว่า วัดนี้ก็เป็นศาสนสถานที่รู้จักกันดีของชาวไทยพุทธและควรจัดตั้งให้เป็นวัดไทย จึงได้นัดประชุมกับชาวไทยที่ได้มาร่วมงานของวัดเป็นประจำว่า มีความประสงค์จะซื้อวัดแห่งนี้จากคณะกรรมการชาวพุทธอินเดียให้เป็นวัดไทยโดยสมบูรณ์ ซึ่งชาวไทยทั้งหลายก็เห็นด้วย จึงได้ดำเนินการติดต่อซื้อในราคา ๙๐,๐๐๐.๐๐ปอนด์ (เก้าหมื่นปอนด์ถ้วน) โดยได้รับการเห็นชอบและสนับสนุนจากพระเดชพระคุณพระภาวนากิจโกศล เจ้าอาวาสวัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน และพระเดชพระคุณพระราชกิตติโมลี เจ้าอาวาสวัดศรีนครินทรวราราม ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ และต่อมาก็ได้จัดตั้งมูลนิธิพระพุทธศาสนาไทย-อังกฤษ เพื่อรับรองสถานะวัดให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศอังกฤษ
                การทำงานของพระมหาเหลา ปัญญาสิริ เป็นที่รู้จักของคนไทยและคนอังกฤษเป็นอย่างดี จึงสามารถรวบรวมสมาชิกและผู้สนับสนุนการจัดซื้อวัดได้โดยไม่มีหนี้กับทางธนาคารแต่อย่างใด คณะกรรมการมูลนิธิวัดพุทธศาสนาไทย–อังกฤษได้ลงมติว่า ควรจะให้เป็นวัดมีสังกัดอย่างเป็นทางการ โดยเห็นว่าพระมหาเหลา ปัญญาสิริ เป็นพระสงฆ์จากสำนักวัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานคร จึงได้ทำหนังสือขอขึ้นเป็นสาขาของวัดมหาธาตุฯ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๓ และอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุฯได้ประชุมคณะกรรมการสงฆ์ เพื่อพิจารณารับไว้เป็นสาขาของวัดมหาธาตุฯ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นมา
        ๒.๕วัตถุประสงค์ในการสร้างวัด
                ๑.เพื่อเป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาในด้านปริยัติและปฏิบัติ
                ๒.เพื่อเป็นศูนย์รวมของชาวไทยในประเทศอังกฤษ
                ๓.เพื่อประสานงานระหว่างกลุ่มชาวพุทธในอังกฤษและยุโรป
                ๔.เพื่อเผยแพร่และส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีไทยในประเทศอังกฤษ
 
สถานภาพวัดในปัจจุบัน
วัดพุทธวิหารแอสตัน  ได้ย้ายจาก 5 Hampton Road Aston Birmingham B6 6AN เข้ามาอยู่ ณ หมู่บ้าน Kings Bromley. Eastfields House, Alrewas Road, Burton on Trent, Staffordshire DE13 7HR อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์  2550. เนื่องจากวัดแห่งเดิมนั้น ไม่มีสถานที่เพียงพอแก่การปฏิบัติศาสนกิจ เช่น สถานที่จอดรถ ห้องนอนของผู้เข้ามาพักและปฏิบัติธรรม ห้องสวดมนต์ และลานวัดในการจัดงานพิธีต่างๆ เป็นต้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวเหล่านี้  พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ(ดร.พระมหาเหลา  ปัญญาสิริ) พร้อมคณะกรรมการ และญาติโยมที่ปรึกษาหลายท่าน จึงได้ตัดสินใจซื้อบ้านพร้อมที่ดิน ณ หมู่บ้านKings Bromley แห่งนี้ ด้วยราคาที่ค่อนข้างแพงแต่ก็อยู่ในสภาพที่ดี และหลายคนพอใจในบ้านแห่งนี้ เพราะเป็นสถานที่สงบ

๓.พระธรรมทูตจำพรรษาปี ๒๕๔๗ จำนวน ๘ รูป คือ
        ๑. พระมหาเหลา ปญฺญาสิริ (ประชาราษฎร์ ) อายุ ๔๖ พรรษา ๒๕ วุฒิการศึกษา ป.ธ.๔., พม., พธ.บ.,    M.A. (London)
            สังกัดเดิมมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จ.กรุงเทพมหานคร
        ๒. พระทัพ กาบแก้ว อายุ ๓๗ พรรษา ๑๗ วุฒิการศึกษา น.ธ เอก, ศน.บ. สังกัดเดิม วัดหมื่นล้าน อ. เมือง จ.เชียงใหม่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์
        ๓. พระมหาจำเริญ เขมวีโร พรรษา ๑๖ วุฒิการศึกษา น.ธ. เอก, ป.ธ. ๗, พธ.บ. สังกัดเดิม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขต พระนคร จ. กรุงเทพมหานคร
        ๔. พระมหาสฤษฎ์พล รติวฑฺฒโน วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก, ป.ธ. ๗, พธ.บ. (ครุศาสตร์), ศศ.น. (มหิดล) สังกัดเดิม วัดวิมุตยาราม เขต บางพลัด จ. กรุงเทพมหานคร
        ๕. พระมหาจันทดิษฐ์ จนฺทปฺโญ พรรษา ๑๒ วุฒิการศึกษา น.ธ. เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ. พระธรรมทูตรุ่นที่   ๔ วัดเบญจมบพิตร จ. กรุงเทพมหานคร ฝ่ายบัญชี
        ๖. พระมหาปกานนท์ พุทธิเมธี (พิลาพันธุ์) อายุ ๓๒ พรรษา ๑๒ วุฒิการศึกษา นธ.เอก,ปธ.๖,พธ.บ.,พธ.ม.พระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ ๗
            สังกัดเดิม วัดพายัพ ต.ในเมืองอ.เมือง จ.นครราชสีมา ฝ่ายเผยแผ่
        ๗. พระมหาพิณโย อภิปัญโญ (ศรีคำมี) อายุ ๓๐ พรรษา ๑๐ วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก,ปธ.๓,พธ.บ.พธ.ม. สังกัดเดิม วัดพิกุลทอง
        ๘. พระมหาเสกสรรค์ ปญฺญาสิริ (พินุยรัมย์) อายุ ๓๐ พรรษา ๑๐ วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก, ป.ธ.๓ สังกัดเดิม วัดทัศนารุณสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร

๔. คณะกรรมการมูลนิธิพระพุทธศาสนาไทย-อังกฤษ
        ๑.พระมหาเหลา ปัญญาสิริ ที่ปรึกษา
        ๒.นายมงคล พันธา ประธานมูลนิธิ
        ๓. มิสเตอร์วิลสัน ยัง เลขานุการฯ
        ๔. มิสเตอร์ฟิลลิป เฮนรี่ กรรมการ
        ๕. นางอร่ามรัตน์ ทราวตัน กรรมการ
        ๖. นางปิยวรรณ มาร์ช กรรมการ
        ๗. นางกาญจนา ศรีมหาพรหม กรรมการ
        ๗. นายกิตติพจน์ หงษ์สมบัติ เหรัญญิก

๕. ศาสนสมบัติของวัดประกอบด้วย
       ๕.๑ ที่ดินมีเนื้อที่ประมาณ ๑,๔๐๐ ตารางเมตร
       ๕.๒ ตัวอาคาร เป็นตึกสมัยวิคทอเรีย (Victoria Style) สามชั้น โดยแบ่งเป็นห้องจำนวน ๒๗ ห้อง ประกอบด้วย ห้องสวดมนต์ ๑ ห้อง ห้องเรียน ๒ ห้อง ห้องสำนักงาน ๑ ห้อง ห้องสมุด(ห้องเรียน) ๑ ห้อง ห้องครัว ๑ ห้อง ห้องทานอาหาร ๑ ห้อง ห้องเก็บครุภัณฑ์ ๔ ห้อง ห้องนอน ๖ ห้อง ห้องสรงน้ำ ๑ ห้อง ห้องสรงน้ำ/สุขา ๖ ห้อง (สำหรับพระสงฆ์ ๒ ห้อง สำหรับอุบาสก ๒ ห้อง อุบาสิกา ๒ ห้อง) และมีสวนสนามหญ้าอยู่ด้านหลัง และมีกุฏิขนาดเล็กสำหรับรับรองผู้มาผู้ปฏิบัติธรรมอีก ๑ หลัง (๓ห้อง) คือ ห้องนอน ๑ ห้อง ห้อง เรียน ๑ ห้อง และห้องเก็บครุภัณฑ์ ๑ ห้อง
       โดยเฉพาะสวนหลังวัด มีศาลาเล็ก ๙ หลัง และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากเมืองไทยประจำอยู่ ๙ องค์ ได้แก่ พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธชินราช หลวงพ่อสุโขทัย หลวงพ่อวัดเขาตะเครา หลวงพ่อวัดบ้านแหลม เป็นต้น
๖. กิจกรรมของวัด
        ๖.๑ การเผยแผ่
                ๖.๑.๑ บรรยายธรรม ตามโรงเรียน บริษัท วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา
และที่วัดในโอกาสวันสำคัญทางศาสนาและกิจกรรมพิเศษ จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม ในแต่ละครั้งประมาณ ๓๐๐ - ๕๐๐ คน นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และโรงเรียนในประเทศอังกฤษ ได้นิมนต์พระสงฆ์จากวัดพุทธวิหาร แอสตันไปบรรยายภาควิชาพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ ส่วนที่วัดพุทธวิหารแอสตันก็จะมีกลุ่มชาวพุทธในประเทศอังกฤษที่รวมกลุ่มกันมาปฏิบัติธรรม (Samatha Group)และเรียนวิธีสวดมนต์ในสูตรต่างๆอยู่เสมอ ขณะเดียวกันก็ยังนิมนต์พระสงฆ์ไปสอนตามศูนย์รวมของกลุ่มในเมืองใหญ่ ๆ เช่น แมนเชสเตอร์ แคมบริจด์ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่อันหนึ่งในการประสานงานกับกลุ่มปฏิบัติธรรมชาวอังกฤษทั้งหมด
                ๖.๑.๒ จัดพิมพ์วารสารธรรม “เพื่อนธรรม” (Friends in Dhamma) เผยแผ่ธรรมะและกิจกรรมต่างๆของวัดให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งในยุโรป อเมริกาและเอเชีย ทุก ๒ เดือน มีทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
จัดส่งไปให้สมาชิกซึ่งมีจำนวน ๑,๕๐๐ คน
            ๖.๒ การศึกษา
                ๖.๒.๑ เป็นศูนย์การศึกษาภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยให้แก่ชาวต่างชาติ
                        (Thai Language and Culture Centre )
                ๖.๒.๒ ศูนย์การศึกษาภาษาอังกฤษ โดยการรับรองจากรัฐบาลอังกฤษ ( City College)
                ๖.๒.๓ ศูนย์ฝึกอบรมวิปัสสนากัมมัฎฐาน (The Buddhist Meditation centre)
                ๖.๒.๔ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ (The Buddhist studies)
                ๖.๒.๕ ศูนย์การศึกษาการนวดแผนไทยโบราณ (The Traditional Thai Massage centre)
                ๖.๒.๖ ศูนย์การแปลภาษา (ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ) สำหรับคนทั่วไป ( Translation Centre)
            ๖.๓ การสงเคราะห์และสาธารณูปการ
                ๖.๓.๑ เป็นผู้ประสานงานมูลนิธิแองโกล-ไทย ที่มีวัตถุประสงค์มอบทุนการศึกษาช่วยเด็กยากจนในชนบทไทยทุกปี (งานต่อเนื่องของพระมหาเหลา ปัญญาสิริ ขณะปฏิบัติงานอยู่ที่วัดพุทธปทีป )
               ๖.๓.๒ เป็นผู้ร่วมจัดตั้งมูลนิธิพระพุทธศาสนา ที่มีวัตถุประสงค์ช่วยสงเคราะห์พระสงฆ์เพื่อการศึกษา และเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษและยุโรป
              ๖.๓.๓ เป็นศูนย์รรับบริจาคทุนทรัพย์เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยในประเทศไทย เมื่อเกิดภัยต่างๆ เช่น ภัยน้ำท่วม ภัยหนาว เป็นต้น ผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน ๓,๐๐๐คน (นักเรียนผู้รับทุนการศึกษาปีละ ๓๐๐ คนๆ ละ ๒,๖๐๐ บาท คิดเป็นเงิน ทั้งสิ้น ๗๘๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ )
            ๖.๔ กิจกรรมอื่น ๆ
                    กิจวัตรของพระสงฆ์
                    ๖.๔.๑. ทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิภาวนา เวลา ๐๖.๐๐-๐๗.๐๐ น. ทุกวัน
                    ๖.๔.๒. ทำวัตรสวดมนต์เย็น เวลา ๑๙.๐๐–๒๐.๐๐ น. ทุกวัน
                    ๖.๔.๓. สอนกรรมฐานที่วัด เวลา ๑๙.๐๐–๒๐.๐๐ น. ทุกวันพฤหัสบดี
                               สอนกรรมฐานที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิ่งแฮม เวลา ๑๘.๐๐–๒๐.๐๐ ทุกวันศุกร์
                    ๖.๔.๔. ทำงานประจำที่สำนักงาน เช่น ตอบรับเอกสาร ทำวารสาร จัดทำหนังสือเพื่อนธรรม เป็นต้น
                    ๖.๔.๕. ปฏิสันฐานต้อนรับแขกชาวไทยและอังกฤษ สนทนาธรรม สอนนักเรียน และเรียนหนังสือ
                    ๖.๔.๖. ประชุมประจำเดือนทุกวันที่ ๑, ๑๕, ๒๐ ของทุกเดือน
                    ๖.๔.๗. รับกิจนิมนต์ไปบรรยายธรรมตามโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัยต่างๆ
                    ๖.๔.๘. รับกิจนิมนต์ไปในพิธีทางราชการ ในส่วนศาสนสัมพันธ์กับศาสนาต่างๆ
                    ๖.๔.๙. รับกิจนิมนต์ไป ในงานมงคล,อวมงคลสำหรับชาวไทยและชาวอังกฤษ
๗. กิจกรรมสำคัญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
                วันมาฆบูชา
                วันวิสาขบูชา
                วันอาสาฬหบูชา
                วันทำบุญเข้าพรรษา
                วันออกพรรษา
                วันทอดกฐินและลอยกระทง
๘. กิจกรรมในวันเทศกาลสำคัญต่าง ๆ
                วันขึ้นปีใหม่
                วันสงกรานต์
                งานพิเศษวันมูลนิธิแองโกล-ไทยเพื่อหารายได้เป็นทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๙. กิจกรรมสำคัญประจำวัน
               
                วันศุกร์ เวลา ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. สอนกรรมฐานแก่นักศึกษาที่มหาลัยเบอร์มิงแฮม
        กิจกรรมเหล่านี้ได้รับความสนใจและการสนับสนุนจากชาวไทย ชาวอังกฤษ และชาวยุโรปเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเรียน การสอนภาษาไทย ได้ถูกจัดไว้ในโครงการหลักสูตรภาษาต่างชาติของวิทยาลัย City College หนึ่งในวิทยาลัยของเมืองเบอร์มิงแฮม


พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ(ดร.พระมหาเหลา ปัญญาสิริ)
เจ้าอาวาส
 
ประวัติ   พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ
(ดร. พระมหาเหลา  ปัญญาสิริ - ประชาราษฎร์)
กับงานผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ   ประเทศอังกฤษ
 
ชื่อ          พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ (ดร. พระมหาเหลา  ปัญญาสิริ นามสกุลเดิม ประชาราษฎร์)
อายุ                         ๕๐ ปี  พรรษา  ๓๐
วุฒิการศึกษา        ป.ธ. ๔  น.ธ.เอก พม. พธ.บ.  MA (London), Ph.D. (Birmingham)
วัน/เดือน/ปีเกิด    วันที่  ๗  เดือนสิงหาคม  พุทธศักราช  ๒๕๐๓
เชื้อชาติ                 ไทย
สัญชาติ                  ไทย 
ศาสนา                   พุทธ 
ภูมิลำเนาเดิม        บ้านหนองรัง  หมู่ ๔  ตำบลพยุห์  อำเภอพยุห์  จังหวัดศรีสะเกษ    (สังกัดเดิม วัดมหาธาตุ กรุงเทพ)
ตำแหน่ง     เจ้าอาวาสวัดพุทธวิหาร คิงส์บรอมลี่ (วัดพุทธวิหาร แอสตันเก่า)  ตั้งแต่ปี  ๒๕๓๘(1995) —ปัจจุบัน )
 
งานเผยแผ่ประจำ
1.       อาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐาน 
2.       อนุศาสนาจารย์ฝ่ายพระพุทธศาสนา  ประจำเซนต์ ฟรานซิส ฮอล มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ
3.       อนุศาสนาจารย์ฝ่ายพระพุทธศาสนา ประจำโรงพยาบาล ควีน อลิทซาเบธ  เบอร์มิงแฮม
4.       ผู้ก่อตั้งมูลนิธิแองโกล -ไทย (ฝ่ายไทย)   เพื่อนำทุนไปช่วยเหลือ หมู่บ้าน  และเด็กที่ยากจนในประเทศไทย  (๒๕๓๓ ถึงปัจจุบัน)   
5.        เป็นประธานมูลนิธิแองโกล-ไทย  (๒๕๕๑)
6.       การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ  (ประเทศอังกฤษ)
 
 
 
 
 
ประวัติการทำงานในอดีต และปัจจุบัน
                พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ (ดร.พระมหาเหลา ปัญญาสิริ) เป็นพระสงฆ์จากวัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร หลังจากจบปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิตในปี ๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูต ปฏิบัติงาน ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ จนถึงปี ๒๕๓๗  และได้ย้ายไปเป็นพระธรรมทูต  ประจำวัดพุทธวิหารแอสตัน เมืองเบอร์มิงแฮม ตั้งแต่กลางปี ๒๕๓๗ จนถึงปัจจุบัน รวมเวลาการปฏิบัติศาสนกิจในประเทศอังกฤษ จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา ๒๐ ปี
   
หน้าที่การงานที่สำคัญในด้านการเผยแผ่พระศาสนา
                ขณะที่ทำงานในฐานะพระธรรมทูต ณ วัดพุทธปทีป  ได้ทำหน้าที่ครูใหญ่โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์  สำหรับเยาวชนไทยที่อยู่ในประเทศอังกฤษ และเริ่มโครงการสอนภาษาไทยสำหรับเด็กๆไทย สอนหนังสือแก่ชาวต่างชาติและติดต่อประสานงานกับชาวอังกฤษ ขณะเดียวกันได้เข้าร่วมประชุมระหว่างศาสนาต่างๆในฐานะตัวแทนฝ่ายพระพุทธศาสนา  ในปี ๒๕๓๘ เป็นต้นมาได้เป็นอาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐาน แก่ชาวไทย  จัดอบรมศีลจารณีและจัดสอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน
 
 
 
                ปี  ๒๕๓๗ จนถึงปัจจุบัน  สอนบรรยายและสาธิตการนั่งวิปัสสนา  แก่นักเรียนตามสถานศึกษาต่าง ๆ  ตามที่ได้นิมนต์มา  และมีจำนวนมากที่ขอนำนักเรียนมาเยี่ยมวัดและเรียนพระพุทธศาสนาเบื้องต้น 
 
 
 
(ภาพประกอบ)
 
                ปี ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบัน ได้รับแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยเบอร์เบอร์มิงแฮมให้เป็นอนุศาสนาจารย์ ฝ่ายพระพุทธศาสนา (Buddhist Chaplain) หน้าที่สำคัญคือให้คำแนะนำนักศึกษาชาวพุทธ ตลอดจนคณาจารย์ชาวพุทธ นอกจากนี้ยังได้จัดสอนวิปัสสนากรรมฐานที่มหาวิทยาลัย อาทิตย์ละ ๑ วันเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่สนใจเข้าปฏับติธรรม และสนทนาธรรมด้วย
                หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการเข้าร่วมเดินเข้าในพิธีในการประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัยทุกปี ในฐานะอาจารย์และอนุศาสนาจารย์ฝ่ายพระพุทธศาสนา
                นอกจากนี้ยังได้จัดสอนวิชาพระพุทธศาสนาระดับพื้นฐานแก่ชาวอังกฤษที่สนใจซึ่งได้รับการบรรจุการเรียนพระพุทธศาสนาในระดับ AS level โดยผู้สอบจะได้รับประกาศนิยบัตรจากทางวิทยาลัย City College
                ปี ๒๕๔๐ เป็นอนุศาสนาจารย์ประจำโรงพยาบาล ควีนอลิซาเบธ ในการเข้าให้คำปรึกษา แนะนำ ให้กำลังใจผู้ป่วยที่เป็นชาวพุทธ ประจำโรงพยาบาล ตลอดถึงการแนะนำเรื่องการจัดพิธีศพให้กับชาวพุทธด้วย
               
ในปี ๒๕๔๗ ได้จัดทำสารคดีเกี่ยวกับ กรรมฐานช่วยคนที่มีปัญหาได้อย่างไร  ได้ส่งนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงมาเข้ารับการฝึกวิปัสสนากรรมฐานที่วัดเป็นเวลา ๒ วัน ตามโปรแกรมการเข้าวิปัสสนาสุดสัปดาห์ โดยถ่ายทำเป็นสารคดี ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ บีบีซี ประเทศอังกฤษ (ภาพประกอบ)
 
 
ส่งเสริมการศึกษา
ทุนจากอังกฤษ ส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย
ในปี ๒๕๓๐  ได้ร่วมกับชาวอังกฤษ จัดตั้งมูลนิธิแองโกล ไทย  จดทะเบียนตามกฎหมายอังกฤษเลขที่ ๑๐๐๐๐๙   จุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ยากจนในถิ่นกันดารในประเทศไทย  และมอบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนยากจนทุกปี ปีละประมาณ ๓๐๐ คน ในอำเภอต่างๆในจังหวัดศรีสะเกษ การมอบทุนการศึกษาได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน  เป็นเวลา ๒๐ ปี  คิดเป็นเงินบริจาคประมาณ  ๑๐ ล้านบาท  และปัจจุบันมูลนิธิยังมีการขยายทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ไปยังจังหวัดบุรีรัมย์  และจังหวัด ขอนแก่น  อีกด้วย โดยมอบทุนการศึกษาปีละ ๑ ครั้งในวงเงินประมาณ ๑ ล้านบาท  (ภาพประกอบ)   
 
ปี ๒๕๓๗ ชาวพุทธอินเดีย นิมนต์ให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธวิหารแอสตัน ซึ่งเป็นวัดพุทธของชาวอินเดียในเมืองเบอร์มิงแฮม ต่อมาในปี  ๒๕๔๓  ได้รวบรวมญาติโยมชาวพุทธทั้งไทย และอังกฤษ ซื้ออาคารซึ่งเป็นวัดพุทธของชาวอินเดีย ซึ่งประสงค์จะย้ายไปที่อื่นโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไทยโดยสมบูรณ์ มาจนถึงปัจจุบัน  โดยซื้อเป็นเงินสดรวมทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐ ปอนด์ (คิดเงินไทยประมาณ ๗,๕๐๐,๐๐๐ บาท เจ็ดล้านห้าแสนบาท) 
 
 
                 ตั้งแต่ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดพุทธวิหารแอสตัน ทั้งในส่วนที่อยู่ในอุปถัมภ์ของชาวพุทธอินเดีย จนกลายมาเป็นวัดไทยโดยสมบูรณ์ ได้เปิดสอนหลักสูตร วิชาต่าง ๆ ดังนี้
                - เปิดสอนพุทธศาสนา วิชาพุทธประวัติ ธรรมวิภาคและศีลธรรม แก่ผู้สนใจทั่วไป โดยใช้หลักสูตร ธรรมศึกษาตรี โท เอก มา ปรับปรุงเป็นภาษาอังกฤษ บรรยายเกี่ยวกับหลักพุทธศาสนาเบื้องต้นแก่นักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ  ในแต่ละภาคเรียน ตามคำนิมนต์ของสถานศึกษานั้นๆ   
                - บรรยายเกี่ยวกับหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา การสวดมนต์ ประเพณี ให้แก่นักศึกษาชมรมพุทธในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น ชมรมพุทธมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด  ชมรมพุทธมหาวิทยาลัยแมนแชสเตอร์   และชมรมพุทธเมืองเคมบริด
 

 
                - ปี ๑๙๙๙ ขณะเข้าศึกษาต่อปริญญาเอก ได้รับอาราธนาและแต่งตั้งให้เป็นอนุศาสนาจารย์ฝ่ายพระพุทธศาสนา ประจำมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม จนถึงปัจจุบัน โดยเปิดสอนวิปัสสนากรรมฐานที่ห้องศาสนพิธี ทุกวันศุกร์ เวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๐.๐๐ นาฬิกา นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการอภิปรายและปาฐกถาธรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม เพื่อการเรียนรู้ เผยแพร่พระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งด้วย
- ปี ๒๐๐๒ ขณะศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสอนปริญญาโท บรรยายวิชาด้านพระพุทธศาสนากับชาวตะวันตก 
- ปี ๒๕๔๖   และ ๒๕๔๗   เริ่มนโยบายจัดนิทรรศการพระพุทธศาสนาเคลื่อนที่ตามเมือง ต่าง ๆ ที่มีการจัดงานเทศกาลเกี่ยวกับประเทศไทย   เช่น จัดพิธีแห่พระพุทธสิหิงห์  และนิทรรศการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในเมืองเบอร์มิงแฮม  จัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่ เมือง   Guildford เป็นเวลาสามวัน มีชาวอังกฤษให้ความสนใจ มากกว่า ๒,๐๐๐ คน
- ปี ๒๕๔๗ จัดนิทรรศการพระพุทธศาสนาและแจกเอกสาร หนังสือธรรมะ พร้อมให้คำแนะนำด้านพระพุทธศาสนาเบื้องต้นแก่ผู้สนใจเทศกาล Thai Summer Fair เมือง Bournemouth มีผู้ให้ความสนใจประมาณ ๓,๐๐๐คน
                ปี ๒๕๔๖ และ ๒๕๔๘ เป็นผู้กำหนดงาน มอบรางวัล   พระพุทธรูปทองคำ แก่ผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนา ในประเทศอังกฤษ ในปี ๒๕๔๖   และปี ๒๕๔๗   โดยมีผู้เข้ารับรางวัลดังกล่าว ปีละ ๑๕ ท่าน  ประกอบด้วยชาวอังกฤษ ไทย และ อินเดีย 
                ปี ๑๙๙๖ เป็นต้นมา เป็นอาจารย์สอนบทสวดมนต์พิเศษ เช่น ธรรมจักรกัปวัตนสูตร อภิธรรม ๗ คัมภีร์ และมหาสมัยสูตรแก่ชาวพุทธอังกฤษ และในปี ๒๕๔๘ ได้ริเริ่มโครงการ การสวดมนต์บทมหาสมัยสูตร ในโครงการคุณค่าแห่งพระพุทธศาสนา โดยชาวพุทธอังกฤษ โดยกำหนดสวดมนต์บทพิเศษนี้ในประเทศไทย ในเดือน กรกฎาคม ๒๕๔๘ และเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐
                ผลงานที่เด่นชัดที่สมควรได้รับรางวัลเพราะได้ปฏิบัติศาสนกิจ ในประเทศอังกฤษมาเป็นระยะเวลานาน จนเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวอังกฤษ ในประเทศไทย ประเทศอังกฤษ และประเทศอื่น ๆในยุโรปและอเมริกา  เป็นผู้มีความคิดริเริ่มในการสร้างงานใหม่ๆในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ และ เป็นผู้ช่วยเหลือ และอนุเคราะห์คนไทย ในประเทศไทย และประเทศอังกฤษ  รวมทั้งได้พัฒนาวัด จากวัดชาวพุทธอินเดีย และได้เป็นกรรมสิทธิ์เป็นวัดไทยที่ถูกต้อง และได้รับให้เป็นสาขาในความดูแลของวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
                พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ (ดร.พระมหาเหลา ปัญญาสิริ) ได้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ โดยมีประสบการณ์ในการทำงานในประเทศอังกฤษถึง ๒๐ ปี ได้เป็นอาจารย์สอนกรรมฐาน ชาวอังกฤษ และชาวไทย สอนหนังสือเด็ก ๆ ในโรงเรียนต่าง ๆในประเทศอังกฤษที่นิมนต์ไป และ ร่วมสัมมนาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ เป็นตัวแทนพระสงฆ์เข้าร่วมกิจกรรมกับศาสนาอื่นๆ ทุกปี เป็นอาจารย์พิเศษสอนพระพุทธศาสนามหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ด้วย
 
                เป็นอนุศาสนาจารย์ฝ่ายพระพุทธศาสนา ปฏิบัติหน้าที่โดยการเข้าร่วมงานประสาทปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ในฐานะอนุศาสนาจารย์ปีละ ๒ ภาคเรียน โดยภาคฤดูร้อนมีผู้นิสิตเข้ารับปริญญาและแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงานตลอด ๕ วัน รวม ๑๕,๐๐๐ คน และในฤดูหนาวรวม ๓ วัน รวม ประมาณ ๙,๐๐๐ คน นับว่าเป็นการประกาศพระพุทธศาสนาให้ชาวอังกฤษเห็นความสำคัญของพระสงฆ์ในฐานะคณาจารย์ และอนุศาสนาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย
                เปิดสอนพระพุทธศาสนาเบื้องต้นและภาษาไทย ในความดูแลของ ซิตี้ คอลเลจ และเปิดสอนภาษาอังกฤษ ระดับพื้นฐานให้กับคนไทย โดยคณาจารย์ชาวอังกฤษ
 
ส่งเสริมการศึกษาเด็กไทยที่ยากจน
                ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิ แองโกลไทย  ร่วมกับชาวอังกฤษ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐  พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ ได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการช่วยเหลือ เด็กยากจนในถิ่นกันดารในภาคอีสาน 
                มูลนิธิแองโกลไทย ได้มอบทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน ในจังหวัดศรีสะเกษ  และจังหวัดบุรีรัมย์  และทุนระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น รวมทั้งสิ้นปีละมากกว่า ๓๐๐ คน โดยมอบทุนการศึกษาทุนละ ๒,๕๐๐ บาท สำหรับในระดับประถมศึกษา ทุนละ  ๓,๕๐๐  บาทสำหรับทุนระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ทุนละ ๑๐,๐๐๐ บาท โดยสรุปได้มอบทุนการศึกษา เป็นเวลา ๑๒ ปี ปีละ ประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นเงินมากกว่า ๑๐ ล้านบาท
                นับได้ว่าพระครูปัญญาสุธรรมวิเทศได้ทำหน้าที่เป็นพระนักพัฒนา นักการศึกษา และนักสังคมสงเคาระห์ในขณะเดียวกัน ทั้งนี้ได้ทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้ยังเป็นพระสงฆ์ไทยที่สนใจต่อการศึกษาเล่าเรียนด้วย โดยท่านสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยลอนดอน และสำเร็จปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม  นับเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่สำเร็จปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ  ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของพระนักเผยแผ่ในประเทศอังกฤษ
 
การย้ายวัดจากแอสตัน ไปสถานที่แห่งใหม่ คิงส์บรอมลี่  Kings Bromley Staffordshire UK
                ในปลายปี ๒๕๔๘ (2006)  พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศโดยความเห็นชอบของคระกรรมการมูลนิธิ ได้ตกลงที่จะหาสถานที่แห่งใหม่ เพื่อสร้างวัดให้ถาวร ขึ้น โดยมีหลักในการหาสถานที่แห่งใหม่ ดังนี้
                                มีเนื้อที่ ที่เหมาะสม มากกว่า ๒ ไร่
                                มีอาคารสำหรับพระสงฆ์พักปฎิบัติศาสนกิจ
                                การไปมาสะดวก
                                ไม่เป็นที่พลุกพล่าน ให้เหมาะแก่การปฎิบัติ
                                ราคาที่เหมาะสม
ในปี ๒๕๔๙ ได้ตกลงซื้อบ้านขนาด ๘ ห้องนอน มีเนื้อที่ ๕ ไร่ (๒ เอเคอร์) ซึ่งเป็นบ้านของอดีตผู้จัดการธนาคาร Lloyd Bank ในประเทศอังกฤษ ซึ่งเกษียณอายุแล้ว ได้ตกลงขายให้วัดในราคา ๘๐๐,๐๐๐ ปอนด์ (รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งหมด) บ้านหลังนี้เป็นบ้านเก่าแก่ มีประวัติอันยาวนาน เป็นของคหบดีในอดีต สืบ ๆ มา มีสวนที่สวยงาม และบริเวณที่กว้างขวาง เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม เพราะอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ชานเมือง การเดินทางโดยรถยนต์สะดวกมาก อยู่ระหว่างเมืองใหญ่ ๆ ๓ เมือง ที่สามารถมาถึงได้ภายในครึ่งชั่วโมง คือเมืองเบอร์มิงแฮม  เมืองดาร์บี และเมืองนอททิ้งแฮม  นับว่าเป็นศูนย์กลางให้กับชาวไทยที่อยู่ในเมืองดังกล่าว มีความสะดวกขึ้นอีก (ดูภาพประกอบ)
 
 
 
ในปี ๒๕๔๙   เจ้าอาวาสวัดพุทธวิหาร ได้รับเสนอแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษที่ พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ 
ในปี ๒๕๕๐  วัดพุทธวิหาร คิงส์บรอมลี่ ได้รับพระราชทาน ผ้าพระกฐินพระราชทาน ทอดถวายโดย ฯพณฯ เอกอัคคราชทูตไทย กรุงลดอน โดยมีนายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ อดีตผู้ว่าราชการและอดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสุรินทร์เป็นประธานคณะผู้อัญเชิญผ้าพระกฐินจากประเทศไทย
โดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมโมลี  เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานสงฆ์ ถวายอดิเรก
ในปี ๒๕๕๑  ได้รับพระราชทาน ผ้าพระกฐินพระราชทาน นำโดย นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  เป็นประธานอัญเชิญผ้าพระกฐิน ทอดถวาย   โดยมีพระราชภาวนาวิมล  เจ้าอาวาสวัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน  เป็นประธานสงฆ์ถวายอดิเรก
 
กิจกรรมวัดพุทธวิหาร คิงส์บรอมลี่ หลังจากได้ย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ มีกิจกรรมเพื่อเกื้อกูลพระพุทธศาสนาและประชาชนดังนี้
 
- จัดงานวันสำคัญตามปฏิทินของวัดดังนี้
วันขึ้นปีใหม่
วันมาฆบูชา 
วันสงกรานต์
วันวิสาขบูชา
วันเข้าพรรษา
                                เทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก
วันเปิดวัดอย่างเป็นทางการ
วันทอดกฐิน
วันลอยกระทง
- กิจกรรมพิเศษ
 
บวชสามเณรภาคฤดูร้อน ชาวอังกฤษ และชาวไทย ๑๒ รูป เนื่องในวันเทศกาลวันแม่ และถวายเป็นพระราชกุศล ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บวชศีลจาริณีในโอกาสอันเหมาะสม และตามความสมัครใจของผู้บวช
- กิจกรรมประจำสัปดาห์
สอนกรรมฐานทุกวันจันทร์ ตอนเย็น
สอนกรรมฐาน และสนทนาพระสูตร วันพฤหัสบดี ตอนเย็น
และจัดปฎิบัติกรรมฐาน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ให้กับคนอังกฤษ ที่สนใจเข้าปฎิบัติธรรม
ในปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒    วัดพุทธวิหาร จัดอบรมศีลจาริณี เป็นครั้งแรก  มีผู้สนใจเข้าปฎิบัติธรรม ระหว่างวันที่  ๑ ถึง ๑๑ สิงหาคม   เป็นจำนวน  ๖๐ และ ๓๐   คน ตามลำดับ
 
   
            บวชชีพราหมณ์ปี ๒๕๕๑
 
 
                                                                              บวชชีพราหมณ์ปี ๒๕๕๒
 
 
การจัดบวชศีลจาริณี เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวไทยในสหราชอาณาจักร มีโอกาสปฏิบัติธรรม โดยมีพระสงฆ์ ให้การอบรมตลอดโครงการ ๑๐ วัน
 
หลังจากการจัดอบมศีลจารณีสิ้นสุดลง  วัดพุทธวิหาร เปิดโอกาสให้ชาวอังกฤษ ที่สนใจพระพุทธศาสนา สมัครบวชสามเณรภาคฤดูเป็นเวลา  ๑๐ วัน   โดยเริ่มจากวันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๑  สิงหาคม ทุกปี   โดยกำหนดให้ผู้จะเข้าบวชมาฝึกอบรมก่อนวันบวช ๒ วัน หลังจากนั้นจะมีการทำพิธีบรรพชาในวันเสาร์ต้นเดือนสิงหาคมเวลา ประมาณ ๑๔.๐๐ น  และ ลาสิกขาในวันอาทิตย์ถัดไป ในเวลา  ๑๔.๐๐ นาฬิกา
ในปี ๒๕๕๑ มีชาวอังกฤษ  และชาวไทย บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน จำนวน ๑๑ รูป 
 
 
 
 
 
 
                                                                                ฉันอาหารในบาตร
 
 
และในปี ๒๕๕๒  มีสามเณรภาคฤดูร้อนทั้งหมด ๑๐ รูป   
 
 
 
 
สามเณรได้รับการฝึกสอน อบรมจากพระอาจารย์อย่าง เข้มข้นตลอด ๑๐ วัน และได้รับวุฒิบัตรภาษาอังกฤษ ผ่านการอบรมสามเณรภาคฤดูร้อน
 
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีพระสงฆ์จำพรรษาทั้งหมด ๖ รูปและในปี ๒๕๕๑  มีพระสงฆ์จำพรรษา จำนวน ๘ รูป
พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ   เจ้าอาวาส
พระทัพ  คุณาทโร
พระมหาประนอม  ธมฺมวิริโย
พระมหาจันทดิษฐ์ จนฺทปญฺโญ
พระมหาภาสกรณ์ ปิโยภาโส
พระมหาอุดร  อุตฺตมวํโส
พระสุชน สุชโน
พระมหาอภิเดช ญาณสิริ
 
ในปี ๒๕๕๒  มีพระสงฆ์จำพรรษาทั้งหมด  ๙  รูป
พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ    น.ธ.เอก  ปธ ๔  พม.  พธ.บ.   MA (London) PhD (Birmingham)
พระมหาบุญช่วย  ปญฺญาวชิโร       น.ธ.เอก  ป.ธ. ๔   อภิธรรมบัณฑิต
                                พระมหาธีรยุทธ  เขมธมฺโม             ป.ธ.  ๗        อภิธรรมบัณฑิต
                พระมหาประนอม  ธมฺมวิริโย       น.ธ.เอก  ป.ธ. ๔  พธ.บ.  ศศ.ม.
                พระ วรพงศ์ ธมฺมวํโส                   น.ธ.เอก นิติศาสตรมหาบัณฑิต(จุฬาฯ) เนติบัณฑิตไทย
                พระมหาภาสกรณ์  ปิโยภาโส        ป.ธ. ๙   อภิธรรมบัณฑิต พธ.บ. ศศ.ม.   
                พระมหาอุดร อุตตมวัโส                 ป.ธ. ๗ พธ. บ. 
                พระมหาอริยะ  ปญฺญาทีโป           ป.ธ. ๙  ศศ.บ.  ศศ.ม.
                พระสุชน สุชาโน                         พธ.บ. MA
                พระมหาอภิเดช  ญาณสิริ                ป.ธ. ๗   พธ.บ. ศศ.ม.
 
วัดพุทธวิหาร คิงส์บรอมลี่  ได้รับพระราชทานกฐินพระราชทาน อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ย้ายมา ณ สถานที่แห่งใหม่ โดยได้รับในปี ๒๕๕๐ และ ปี ๒๕๕๑ ตามลำดับ