ผู้เขียน หัวข้อ: รำลึก 4 ปี หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม  (อ่าน 5256 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
รำลึก 4 ปี หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม

พระจริงนิ่งใบ้...พระผู้ให้จนสิ้นลม





            วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2548  พุทธศาสนิกชนต่างหลั่งไหลมาสู่วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม  เพื่อร่วมทำบุญตักบาตรเนื่องในวันวิสาขบูชา  พร้อมร่วมพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์ประจำปี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต  และวันเดียวกันนี้ วงการสงฆ์และชาวเมืองนครปฐมได้สูญเสีย พระเกจิอาจารย์ดังไปอย่างน่าเสียดายคือ พระมงคลสิทธิการ” หรือ “หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข” ศิษย์พุทธาคมของหลวงพ่อพร้อม, หลวงปู่สุข วัดห้วยจระเข้, และหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม

4 ปีแล้วกับการจากไปของท่าน ต่สานุศิษย์ทั้งหลายไม่เคยลืมเลือนหลวงพ่ออันเป็นที่รักยิ่ง เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านได้อุทิศตนแด่บวรพระพุทธศาสนา ทุ่มเทด้วยแรงกาย แรงใจ แรงสติปัญญา ช่วยเหลือผู้ยากไร้มิเคยขาด ที่สำคัญท่านพ้นวังวนของกิเลสและตัณหาทั้งปวง มุ่งแผ่เมตตาธรรมโดยถ้วนหน้าแก่ทุกชีวิตที่เข้ามาพึ่งใบบุญ โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ สายตาของท่านมองทุกคนด้วยความเท่าเทียม ทุกคนจึงได้รับการปฏิบัติจากหลวงพ่ออย่างดีมาโดยตลอด

                หลวงพ่อพูลเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดพระธรรมวินัย ด้วยความสมถะท่านจะนิ่ง พูดน้อย จนได้รับสมญา “พระจริงต้องนิ่งใบ้”   เป็นสัญลักษณ์แห่งเมตตามหานิยม ที่ชาวนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียงนับถือเลื่อมใส เป็นหนึ่งในพระครูสี่ทิศผู้พิทักษ์องค์พระปฐมเจดีย์ ในสมณศักดิ์ “พระครูปุริมานุรักษ์” (ประจำทิศตะวันออก) ร่วมกับ พระครูทักษิณานุกิจ (ประจำทิศใต้) คือ หลวงพ่อเสงี่ยม วัดห้วยจระเข้, พระครูปัจฉิมทิศบริหาร (ประจำทิศตะวันตก) คือ หลวงพ่อชิด วัดม่วงตารส และพระครูอุตรการบดี (ประจำทิศเหนือ) คือ หลวงพ่อศรีสุข วัดปฐมเจดีย์ฯ

            ท่านมีนามเดิมว่า พูล ปิ่นทอง เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2455 ตรงกับปีชวด ร.ศ.131 เป็นปีที่ 3 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 6 ณ บ้านเลขที่ 75 หมู่ 3 ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 10 คน บิดาชื่อ นายจู   มารดาชื่อ นางสำเนียง   วัยเด็กเป็นผู้มีจิตใจเมตตาโอบอ้อมอารี จริงใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อทั้งเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่ต้องรอให้ร้องขอ และอุปนิสัยที่เด่นชัดที่สุด คือ เป็นคนเงียบๆ พูดน้อย   โดยเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม   ด้วยความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร จึงสามารถอ่านออกเขียนได้


แตกฉานกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน

                เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ.2471 ก็ไม่ได้ศึกษาต่อเพราะต้องออกมาช่วยงานทางบ้าน แต่เพราะเป็นคนสนใจใฝ่รู้ จึงได้ฝึกการอ่านและเขียนอักขระขอม และวิชาแพทย์แผนโบราณจนมีความเชี่ยวชาญ จากปู่แย้ม ปิ่นทอง (ผู้เป็นปู่แท้ๆ) ฆราวาสผู้มีภูมิรู้ในเรื่องไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ และการแพทย์แผนโบราณ  กระทั่งเติบใหญ่วัยหนุ่มฉกรรจ์  ได้ฝึกฝนและศึกษาศิลปะแม่ไม้มวยไทย จนมีความชำนาญและเป็นนักมวยฝีมือดีคนหนึ่ง เมื่อว่างจากซ้อมเชิงมวย และว่างจากทำไร่ไถนา ก็จะไปหัดเล่นลิเกกับครูจันทร์ คณะแสงทอง แต่ใจไม่รักลิเก ฝึกได้ระยะหนึ่งก็เบื่อ
                กระทั่งอายุครบเกณฑ์ได้เข้ารับราชการเป็นทหาร สังกัดทหารม้ารักษาพระองค์ เมื่อปี พ.ศ.2477 (กองบัญชาการเดิมอยู่ที่สะพานมัฆวาน กรุงเทพฯ ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7) หลังครบกำหนด 1 ปี 6 เดือนจึงปลดประจำการ โดยได้รับยศเป็นนายสิบตรี มีเงินเดือนขณะนั้นเดือนละ 2 บาท สร้างความภูมิใจให้ท่านเป็นอย่างมาก

หลังปลดประจำการแล้ว ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2480 ณ พัทธสีมาวัดพระงาม อ.เมือง จ.นครปฐม โดยมีพระครูอุตรการบดี (หลวงปู่สุข  ปทุมสุวณฺโณ) เจ้าคณะอำเภอเมืองนครปฐม เจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดมณี เจ้าอาวาสวัดพระงาม อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์ปุ่น เจ้าอาวาสวัดลาดปลาเค้า อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อตฺตรกฺโข”  จากนั้นได้พำนักอยู่ที่วัดพระงาม ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยด้วยความพากเพียร จนสอบไล่ได้นักธรรมตรี เมื่อ ปีพ.ศ.2482 โดยมีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์พระเถระชื่อดังหลายรูปด้วยกัน อาทิ หลวงพ่อพร้อม, หลวงปู่สุข วัดห้วยจระเข้, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ฯลฯ
                ในระหว่างนี้ท่านได้ให้ความสนใจการศึกษาด้านการเจริญสมาธิจิต ฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ควบคู่กับการศึกษาวิชาจากคัมภีร์ต่างๆ อย่างคร่ำเคร่ง โดยฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อพร้อม พระเถระชื่อดังแห่งวัดพระงาม พระเกจิอาจารย์ยุคสงครามอินโดจีน ผู้ทรงคุณในด้านการสร้างพระปิดตาเนื้อทอง ด้วยพื้นฐานวิชาคาถาอาคมซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากปู่แย้ม ตั้งแต่สมัยเยาว์วัย จึงทำให้ท่านสามารถเจริญพุทธาคมได้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว

                ในปี พ.ศ.2486 วัดไผ่ล้อมขาดผู้ปกครองวัด เนื่องจากเจ้าอาวาสแต่ละรูปไม่อยู่ในศีลในธรรมแห่งเพศบรรพชิต อยู่ปกครองวัดได้ไม่นานก็ต้องลาสิกขาไป สร้างความเอือมระอาจนชาวบ้านหมดศรัทธาไม่ใส่บาตรทำบุญ ทำให้กลายสภาพเป็นวัดร้าง สมัยนั้นวัดไผ่ล้อมมีสภาพเป็นเพียงวัดเก่ารกร้าง เดิมทีเป็นป่าไผ่ ซึ่งชาวมอญ ที่รัชกาลที่ 4 เกณฑ์เป็นแรงงานบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ ใช้เป็นที่พัก บรรยากาศของวัดร่มรื่นเหมาะแก่สมณะปฏิบัติธรรม  ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจึงพากันไปนมัสการหลวงพ่อพูล ให้ย้ายมาประจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่ล้อม เพื่อกอบกู้วัดพลิกฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง โดยเข้ารับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2492
                สมัยท่านรักษาการเจ้าอาวาส ได้ปรึกษากับพระเถระผู้ใหญ่และญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ดำเนินการสร้างอุโบสถ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2490 กระทั่งเสร็จสมบูรณ์เป็นอุโบสถหลังแรก ในปี พ.ศ.2492 หลังจากนั้นท่านก็พัฒนาวัดต่อไป บุกเบิกถางป่าไผ่ จนได้สร้างศาลาการเปรียญในปี พ.ศ.2535 จากนั้นวัดไผ่ล้อมมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าตามลำดับ   มีโบสถ์มีศาลาการเปรียญ ตามมาด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม ญาติโยมหลั่งไหลเข้ามาทำบุญ บำเพ็ญศีลสมาธิ และศึกษาปฏิบัติธรรม จำนวนพระภิกษุสามเณรเข้ามาจำพรรษาก็มากขึ้น
                ต้นปี พ.ศ.2539 อุโบสถหลังเก่าเริ่มทรุดโทรมมาก ประกอบกับน้ำก็ท่วมบ่อยๆ จึงได้สร้างอุโบสถเฉลิมพระเกียรติหลังใหม่ ปลายปีก็สร้างศาลากลางน้ำ ศาลากลางน้ำเป็นบ่อน้ำ ญาติโยมใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ท่านเลยปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ต่อมาดำเนินการสร้างฌาปนสถานไร้มลพิษ พร้อมศาลาอเนกประสงค์ไว้ใช้ในพิธีต่างๆ ในวัด ซึ่งดำเนินการรุดหน้าไปมาก นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้อุปถัมภ์สร้างโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์) เพื่อเป็นสถานศึกษาสำหรับเยาวชนด้วย
                วัตรปฏิบัติอย่างหนึ่งที่ศิษยานุศิษย์ได้สัมผัสหลวงพ่อพูล มากว่าครึ่งศตวรรษ คือท่านเป็นพระสงฆ์ที่ไม่สะสมกิเลส ไม่สนใจชื่อเสียงเงินทอง และลาภยศสรรเสริญ จตุปัจจัยไทยทานที่สาธุชนบริจาคมา ท่านไม่เคยสะสม มีเท่าไหร่ก็นำไปบริจาคสร้างวัตถุสร้างความเจริญไว้แก่วัด  จนเกิดความเจริญรุ่งเรือง แลดูสวยงามสบายตา เหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา นอกจากนี้ยังขจรขจายไปถึงชุมชนรอบๆ วัด ทั้งสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ เรียกว่าใครที่มาขอให้ท่านช่วย หลวงพ่อไม่เคยขัด รวมทั้งกิจนิมนต์ต่างๆ ไม่ว่าใกล้-ไกลท่านก็เมตตาไปให้ แม้สุขภาพร่างกายจะไม่ค่อยเอื้ออำนวยนักก็ตาม

                ด้วยคุณงามความดีที่มีมาอย่างต่อเนื่อง  ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 12 ส.ค. พ.ศ.2547 พระครูปุริมานุรักษ์ (หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข) วัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระมงคลสิทธิการ” ในฐานะพระสงฆ์ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนาและประเทศชาติเป็นกรณีพิเศษ



                บั้นปลายชีวิตแม้อายุขัยเพิ่มมากขึ้น แต่หลวงพ่อพูลไม่เคยว่างเว้นการปฏิบัติศาสนกิจ กลางวันจะฝึกสมาธิ ภาวนาจิต แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง  เวลาเช้าจรดบ่าย จะแบ่งเวลาให้ญาติโยมที่มาหาได้พูดคุยปรับทุกข์ สนทนาข้อธรรมะ รวมทั้งการรักษาผู้เจ็บป่วยด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณ  โดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะแต่อย่างใด  ด้วยเหตุนี้ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน จนสังขารล่วงโรยมีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยครั้ง ต้องวนเวียนเข้าออกแต่โรงพยาบาล เพื่อตรวจเช็คร่างกายอยู่เป็นนิจ แต่ไม่มีใครได้ยินท่านบ่นว่าเหนื่อยล้าสักคำ

                วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2547 ท่านได้ล้มป่วยลงอีกครั้ง  คณะศิษย์ได้นำท่านเข้าตรวจเช็คร่างกาย ณ โรงพยาบาลนครปฐม คณะแพทย์ได้ลงความเห็นว่าท่านควรพักรักษาตัวที่ตึกสงฆ์  จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม คณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ได้จัดพิธีฉลองสมณศักดิ์พัดยศ “พระมงคลสิทธิการ” ถวายหลวงพ่อ ณ วัดไผ่ล้อม ซึ่งขณะนั้นอาการของท่านยังไม่ดีขึ้น ศิษยานุศิษย์จึงได้พาไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าmท่านมีอาการลิ้นหัวใจรั่ว และน้ำท่วมปอด  ต่อมาวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2548 ได้ย้ายท่านไปยังโรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพฯ ซึ่งขณะนั้นท่านยังมีอาการระบบลิ้นหัวใจรั่ว และน้ำท่วมปอด ต้องเข้ารักษาตัวในห้องไอซียู และทำการฟอกไต เพื่อให้ระบบต่างๆกลับมาดังเดิม

                กว่า 4 เดือนที่หลวงพ่อต้องนอนอยู่บนเตียงคนป่วย โดยไม่มีวี่แววว่าอาการจะดีขึ้น คณะศิษยานุศิษย์ได้แต่หวังว่าสักวันหนึ่งจะเกิดปาฏิหาริย์ให้หลวงพ่อหายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วย แต่รอแล้วรอเล่าทุกคนแทบหมดกำลังใจ  กระทั่งวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2548 ก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้น เมื่อจู่ๆอาการของท่านกลับกระเตื้องขึ้น จนแพทย์อนุญาตให้กลับวัดได้  ต่อมาในวันที่ 17 พฤษภาคม ท่านได้ร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระขุนแผน-กุมารทอง ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นสุดท้าย โดยทางวัดได้จัดสร้างห้องผู้ป่วยไอซียู พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ทันสมัยไว้ในกุฏิของท่านเป็นการเฉพาะ โดยทางคณะศิษยานุศิษย์ได้โยงสายสิญจน์จากปะรำพิธีที่อยู่กลางแจ้งหน้าอุโบสถ ไปยังกุฎิของหลวงพ่อ และให้ท่านถือไว้จนเสร็จพิธี
                กระทั่งวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม เวลา 6 โมงเช้า ก่อนหน้าพิธีไว้ครูบูรพาจารย์ 1 วัน ท่านเกิดอาการหน้ามืดและขับถ่ายเป็นมูกเลือด อาการได้ทรุดลงอีกครั้ง จนต้องรีบนำท่านส่งโรงพยาบาลสมิติเวช แพทย์ตรวจพบว่าท่านเกิดอาการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร มีเลือดออกอย่างมาก และไม่สามารถผ่าตัดได้ รุ่งขึ้นวันที่ 22 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ในขณะที่ศิษยานุศิษย์หลั่งไหลมาร่วมงานไหว้ครูบูรพาจารย์ประจำปี  หลวงพ่อพูลได้กำหนดจิตเจริญสมาธิภาวนา สวดมนต์อยู่บนเตียงผู้ป่วยอย่างเงียบๆ โดยไม่แสดงอาการเจ็บปวดใดๆ ให้เห็น จนกระทั่งเวลา 14.55 น. หลวงพ่อพูลก็ละสังขารไปด้วยอาการสงบในวัย 93 ปี 68 พรรษา ปิดฉากชีวิต “พระจริง..นิ่งใบ้” ได้อย่างงดงาม

ในวาระครบรอบ 4 ปีแห่งการละสังขาร วันที่ 22 พ.ค. 52  ทางวัดไผ่ล้อมโดยพระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพี่น้ำฝน) ทายาทพุทธาคมของหลวงพ่อ ได้จัดสร้างมงคลวัตถุที่ระลึก 4ปี หลวงพ่อพูลละสังขาร เป็นพระสีวลีมหาลาภโภคทรัพย์ สุดยอดเทพเจ้าแห่งโชคลาภ มีขนาดบูชา และห้อยคอเนื้อโลหะชุบเงินพ่นทรายขัดเงา ชุบทองพ่นทรายขัดเงา ชุบนาก เนื้อโลหะพ่นทรายสามกษัตริยืขัดเงา ทุกเหรียญยิงโคดเลเซอร์ คำว่า “พูล 4 ปี” ประกอบพิธีปลุกเสกวันที่ 6 พ.ค. โดย5พระคณาจารย์ร่วมอธิษฐานจิตคือ หลวงพ่อวาส วัดสะพานสูง หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อสิริ วัดตาล นนทบุรี หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม และหลวงพี่น้ำฝน ปัจจัยทั้งหมดร่วมสร้างกุฏิสงฆ์ทรงไทยประดิษฐานสังขารหลวงพ่อพูล 

                กล่าวสำหรับพระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงพ่อพูล ท่านสร้างไว้หลายแบบพิมพ์และหลายปีด้วยกัน  โดยเฉพาะพระเครื่องยุคต้นๆปัจจุบันเริ่มหายากและมีราคาเช่าหาสูง เช่น เหรียญเสมารุ่นแรก (พระอธิการพูน)  ปี 2493 , พระกริ่งไผ่ล้อม ปี 2512,พระสมเด็จใบไผ่ เนื้อผงรุ่นแรก ปี2512, กริ่งหนุมานรุ่นแรก ปี2513,พระพิมพ์ขุนแผน ปี2500, รูปหล่อรุ่นแรก ปี2536,กุมา$
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ธ.ค. 2552, 07:40:26 โดย ขุนแผน »

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: รำลึก 4 ปี หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 17 ธ.ค. 2552, 07:47:28 »
ขอบคุณประวัติ และข้อมูลนะครับ

กราบมนัสการหลวงพ่อพูน วัดไผ่ล้อม ครับ

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: รำลึก 4 ปี หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 17 ธ.ค. 2552, 08:25:06 »
กราบนมัสการหลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อมครับ... :054:ศิษย์ขอร่วมรำลึกถึงพระคุณ...ที่หลวงพ่อได้ทำบุญต่ออายุให้เมื่อปี 2529 ที่ศาลาการเปรียญไม้หลังเก่าและได้มีอายุยืนมาถึงปัจจุบันนี้ :090:            เมื่อปี 2529 พ่อของผมได้ย้ายมาประจำที่ด่านป่าไม้นครปฐม และได้เช่าบ้านอยู่หน้าวัดไผ่ล้อม ส่วนผมนั้นได้เข้าเรียนที ร.ร สารสิทธิ์พิทยาลัย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และได้เดินทางไปกลับ บ้านโป่ง-นครปฐมทุกวันเว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์  และช่วงวันหยุดนี้เองได้สังเกตเห็นว่าชาวบ้านรอบๆบริเวณวัดรู้สึกเฉยๆกับหลวงพ่อพูลและวัดไผ่ล้อม เห็นแต่คนมาจากต่างถิ่นมากราบนมัสการ..หลวงพ่อพูล เข้าออกๆ กัน ไม่ขาดสาย มีทั้งรถเก๋ง,รถกระบะ,และเดินเท้า ดังสุภาษิตที่ว่า"ใกล้เกลือกินด่าง"                                                                 แสดงว่าสมัยนั้นหลวงพ่อท่านดังเงียบๆจริงๆ จนชาวบ้านระแวกนั้นมองข้าม...

ออฟไลน์ be_ning

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 183
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: รำลึก 4 ปี หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 18 ธ.ค. 2552, 12:48:31 »
แป๊บเดียวท่านจากไป 4 ปีแล้วหรือครับ

ออฟไลน์ ยอดรัก..บางแค

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 587
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - yodrak-bo@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: รำลึก 4 ปี หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 18 ธ.ค. 2552, 06:34:40 »
ขอบคุณมากครับ สำหรับประวัติและความรู้ดีๆ

ออฟไลน์ เด็กวัดหนัง

  • ของดีมาอยู่กับตัว จงรักษาไว้ ตามเท่าชั่วชีวิต.
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 453
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
    • MSN Messenger - P_1_P_2_880@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: รำลึก 4 ปี หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 18 ธ.ค. 2552, 08:08:01 »
ขอกราบนมัสการหลวงพ่อพูลด้วยครับ. :054:
พระภาวนาโกศลเถระ (หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร)

ออฟไลน์ to

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 639
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: รำลึก 4 ปี หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 18 ธ.ค. 2552, 08:31:40 »
กราบนมัสการหลวงพ่อพูลครับ

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: รำลึก 4 ปี หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 18 ธ.ค. 2552, 08:54:22 »
กราบนมัสการหลวงพ่อพูล ด้วยอาลัยครับ...

...ขอบคุณสำหรับบทความครับ...

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ chatchaiood

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 44
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: รำลึก 4 ปี หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 18 ธ.ค. 2552, 09:10:37 »
กราบนมัสการหลวงพ่อพูลครับ  :054:
เมื่อมีศรัทธา ปฏิหาริย์ย่อมบังเกิด