ผู้เขียน หัวข้อ: หลวง ปู่จันทาเตชธัมโม ศิษย์สายพระครูสีหราช  (อ่าน 3743 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด




"หลวงปู่ จันทา เตชธัมโม" อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าชัยศรี ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมรุ่นเก่าอีกรูปหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคอีสานเมื่อกว่าร้อยปีที่ผ่านมา

เป็น พระที่มีเมตตาธรรมสูงวิทยาคมแก่กล้าสืบทอดปฏิปทาอันงดงามและไสยเวทสายเขมรมา จากพระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว เป็นบูรพาจารย์รุ่นเก่า ผู้มีชื่อเสียงขจรไกลมาตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาลที่ 5

อัตโนประวัติหลวง ปู่จันทา เกิดในสกุลทรภีสิงห์ ในปี พ.ศ.2422 ณ บ้านเม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหา สารคาม โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายทองดำ-นางดา ทรภีสิงห์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

ช่วงวัยเด็ก เป็นผู้มีจิตใจเอนเอียงเข้าหาพระธรรมชมชอบไปช่วยกิจการต่างๆ ที่วัดในหมู่บ้านเป็นประจำ จนอายุครบบวช 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบ้านแก่นท้าว โดยมีพระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการน้อย วัดบ้านเหล่า เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลังอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ณ สำนักเรียนวัดบ้านแก่นท้าว ได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์เรียนไสยเวทกับพระครูสีหราช ควบคู่กับการศึกษามูลกัจจายน์ บาลี อักษรขอม ไทยน้อย อักษรลาว ทำให้ ท่านมีความรู้ทางด้านอักขระโบราณอีกแขนงหนึ่ง

หลังจำพรรษาอยู่วัด บ้านแก่นท้าวได้ 7 พรรษา ได้กราบลาพระครูสีหราช ออกธุดงควัตรไปหลายแห่ง

หลัง หลวงปู่จันทา จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านเม็กดำ ระยะหนึ่งท่านเห็นทำเลที่ดินริมหนองน้ำ ที่ตั้งวัดท่าชัยศรีในปัจจุบันสงบเงียบ เหมาะกับการปฏิบัติธรรม และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับญาติโยมคุ้มน้อยบ้านเม็กดำ จะได้ไม่ต้องลำบากเดินทางไปทำบุญที่วัดเม็กดำ ซึ่งตั้งอยู่ที่คุ้มใหญ่ ระยะทางไกล จึงขอบริจาคที่ดินจากญาติโยมสร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ.2456 ครั้งแรกตั้งชื่อวัดว่า วัดหัวหนอง เพราะตั้งอยู่ริมหนองน้ำต่อมาในปี พ.ศ.2467 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดท่าชัยศรี และหลวงปู่ก็จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้มาโดยตลอด

ด้านการ ปกครองคณะสงฆ์ หลวงปู่จันทา ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าชัยศรี เป็นพระอุปัชฌาย์ และในปี พ.ศ.2482 เป็นเจ้าคณะตำบลเม็กดำ

นอกจาก หลวงปู่จะเป็นพระเกจิแล้วยังได้ชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนา นักการศึกษา เนื่องเพราะท่านทราบดีว่าพระภิกษุสามเณรที่มาบวชเรียนล้วนมาจากครอบครัวที่ ยากจน ท่านจึงเปิดสำนักเรียนปริยัติธรรมขึ้น นำปัจจัยที่ได้จากการบริจาคมาสนับสนุนการเรียนของพระภิกษุ สามเณร หากรูปใดเรียนเก่ง มุมานะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนท่านจะมีทุนการศึกษาให้ทุกปี ยุคนั้นสำนักเรียนวัดท่าชัยศรี มีชื่อเสียงโด่งดังมากแต่ละปีมีพระภิกษุ สามเณร มาจำพรรษาอยู่นับร้อยรูป หลวงปู่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมากหากพระเณรรูปใดไม่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจะ ไม่ให้อยู่วัดโดยเด็ดขาด

นอกจากนี้ หลวงปู่จันทา ยังได้นำปัจจัยส่วนหนึ่งไปพัฒนาสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับวัดแห่งนี้ไม่ ว่าจะเป็นศาลาการเปรียญ อุโบสถ เป็นต้น ทำให้วัดท่าชัยศรีแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว รวมทั้งพัฒนาบรรยากาศภายในบริเวณวัดมีแต่ความสงบวิเวกเหมาะสมสำหรับการ ปฏิบัติธรรม

ในช่วงบั้นปลายของชีวิตหลวงปู่อาพาธบ่อยครั้งด้วยโรค ชรา แต่ท่านไม่เคยปริปากให้ศิษยานุศิษย์รวมทั้งญาติโยมทราบเพราะท่านเห็นว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นเป็นเรื่องปกติของสรรพสัตว์ในโลก หลายครั้งที่ญาติโยมจะนำท่านส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแต่ท่านก็ปฏิเสธ สุดท้ายถึงแก่มรณภาพอย่างสงบในปี พ.ศ. 2505 สิริอายุ 83 พรรษา 61

ณ วันนี้ถึงแม้หลวงปู่จะละสังขารไปนานเกือบห้าสิบปีแล้ว แต่คุณงามความดีของท่านยังคงปรากฏอยู่ในใจของชาวอีสานไปตลอดกาลนาน




ที่มา คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

เชิด ขันตี ณ พล
ขอบคุณครับ  :054:

ออฟไลน์ underlovely

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 15
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
สาธุ ขอบคุณครับท่าน