ผู้เขียน หัวข้อ: *** ความหมายของจุด...ในการเจิม ของพระเกจิอาจารย์ ***  (อ่าน 6294 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ณัฐ

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 152
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ความหมายของ...จุดในการเจิม

 "เพื่อก่อให้เกิด ความเป็นสิริมงคล ซึ่งจะนำไป สู่ความสำเร็จ" คือจุดประสงค์ และจุดมุ่งหมายของการเจิม เมื่อแต่งงานเราก็ให้ญาติผู้ใหญ่ เจิมหน้าผาก ครั้นไปซื้อรถคันใหม่ เราก็ให้พระเกจิอาจารย์เจิมรถให้ เมื่อทำบุญ ขึ้นบ้านใหม่พระ ก็จะเจิมประตูหน้าบ้านให้ ในขณะที่การเปิด บริษัทห้างร้าน เราก็ยังนิมนต์พระไปเจิม

คนส่วนใหญ่จะรู้ว่าพระเกจิแต่ละท่าน เมื่อเจิม แล้วมีพุทธคุณ เด่นด้านใด ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระบางรูป อาจจะได้รับนิมนต์ให้ไปเจิมป้ายเปิดร้านค้ามากเป็นพิเศษ ในขณะที่บางท่านคนจะนิยมนำรถไปเจิมถึงวัด

แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้เลยว่า จุดแต่ละจุด ซึ่งเกิดจากการเจิมนั้น มีความหมายอย่างไร ?

ก่อนจะเข้าเรื่องความหมายของจุดในการเจิม ขออธิบายกรรมวิธี การทำดินสอพองเพื่อการเจิมของโบราณจารย์เป็นอันดับแรก คือ ให้เตรียม ดินสอพอง มาพอสมควรตามความต้องการ ละลายน้ำ แล้วเอาผ้าขาวบาง ที่สะอาดกรองทิ้งไว้จนแป้งนั้นนอนดีแล้ว รินน้ำออกให้หมด จึงเอาผ้าขาวที่สะอาดหนากว่า ผ้ากรองสักหน่อยห่อแล้วบิด และเอาของหนักทับไว้จนหมดน้ำ แล้วเอา น้ำข้าวเช็ด มาเคล้าให้พอดี ที่จะปั้นเป็นก้อนได้

อีกวิธีหนึ่งเอา แป้งนวล ผสมกับ น้ำ ให้พอปั้นได้ แล้วปั้นให้กลม ขนาดเท่าหัวแม่มือ ยาวประมาณ ๓-๔ นิ้วฟุต เสร็จแล้วเอาผึ่งแดดให้แห้ง จากนั้นเอา ใบตำลึง มาคั้นเอาน้ำ (ไม่ต้องเติมน้ำ) เอาดินสอพองที่ตากแดดแล้ว ย้อมให้ทั่ว แล้วเอาผึ่งแดดอีกครั้ง การย้อมด้วยน้ำใบตำลึง นี้ก็เพื่อทำไม่ให้ดินสอพองนั้นติดมือเท่านั้น

การทำดินสอพองเจิม โบราณเขาต้องเลือก วัน ฤกษ์ ยาม ที่จะลงมือทำ เพื่อความศักดิ์สิทธิ์จริงๆ (กำลังใจ, ความศรัทธา เชื่อมั่น ที่เราทำแบบนี้ ขั้นตอน และ มีครู ซึ่งได้มอบให้ (ถ้า ครอบครู หรือเลือกวันครูวันพฤหัสบดีเรียนวิชา การเจิม ด้วยยิ่งดีมาก) ฤกษ์ วัน สำคัญ ควรทำให้ถูกต้อง เพื่อความมั่นใจ (ปัจจุบันเอาฤกษ์ความ สะดวก เป็นสำคัญ)

ส่วนพระคาถาสำหรับเสกดินสอ สำหรับเจิมคือ "พุทธัง ยาวะชีวัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง ยาวะชีวัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง ยาวะชีวัง สะระณัง คัจฉามิ"

กรรมวิธีการทำดินสอเจิม และการภาวนา คาถา ระหว่างเจิมนั้น อาจารย์แต่ละท่านเรียนมาไม่เหมือนกัน ความละเอียด และขั้นตอนจึงมีความแตกต่างกัน (ดูความสะดวก เหมาะสม) ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมใช้แป้งดินสอพอง ผสมกับน้ำให้พอดี ข้นพอที่จะเจิมได้โดยไม่ต้องทำ ดินสอสำหรับเจิมอย่างเช่นในอดีต

นอกจากนี้แล้วในอดีตทั้งพระ และฆราวาสหากประสงค์ จะเป็นเจ้าพิธีในการเจิม ต้องมีการครอบครู โดยอาจารย์ท่าน ให้ชำระกายให้บริสุทธิ์ รักษาพระไตรรัตน์สรณาคม นั่นอยู่ในศีลวัตร (ศีลห้า) พึงตั้งเครื่องบูชา มีบายศรีปากชาม สำรับหนึ่ง เงิน ๖ บาท ผ้าขาวผืนหนึ่ง ขันล้างหน้าใบหนึ่ง เมี่ยงหมาก ดอกบัว สิ่งละ ๕ กรวย ธูปเงิน ธูปทอง เทียนเงิน เทียนทอง สิ่งละ ๕ เล่ม แป้งหอม น้ำมันหอม สำหรับเจิม

จากการรวบรวมข้อมูลการเจิมของพระเกจิต่างๆ ที่มีลูกศิษย์ลูกหามักจะให้เจิมบ้าน รถ รวมทั้งป้ายร้านค้า ในยุคปัจจุบัน แต่ละรูปจะมีวิธีการเจิม จำนวนจุด รวมทั้ง อักขระเลขยันต์ในการเจิมที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เช่น

หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ท่านจะเจิมด้วยจุดทั้งหมด ๖ จุด คือฐานด้านล่าง ๓ จุด ตรงกลาง ๒ จุด ส่วนยอดอีก ๑ จุด แล้วเขียนอุณาโลมไว้ด้านบน นอกจากนี้แล้วด้านล่างยังเขียนคาถาว่า ยา นะ ยา ซึ่งเป็นคาถาป้องกันคุ้มภัย

ส่วน หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม ท่าน มีความชำนาญเรื่องการเขียนอักขระเลขยันต์ เวลาเจิมท่านจะเขียนยันต์ลงไปเลย โดยจะเขียนยันต์พุฒซ้อน ซึ่งมีพุทธคุณครอบคลุมทุกด้าน ทั้งคุ้มภัย เมตตา และค้าขาย ยกเว้นบางโอกาสเท่านั้นที่ท่านจะเจิมเป็นจุด

ในขณะที่ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม ท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม การเจิมของท่านมีทั้งเขียนเป็นอักขระเลขยันต์ และเจิมเป็นจุด

สำหรับอำนาจพุทธคุณของแต่ละจุดนั้นส่วนใหญ่จะครบทุกด้าน ทั้งแคล้วคลาด ปลอดภัย ค้าขาย และเมตตามหานิยม ส่วนความหมายของจุดแต่ละจุดในการเจิมนั้น มีความหมายดังนี้

อุณาโลม หมายถึง องค์พระ ระหว่างเขียนจะมีการภาวนาว่า มา ปะ นะ ชา ยะ เต

๑ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า เอกะอะมิ หมายถึง คุณแห่ง พระนิพพานอันยิ่งใหญ่

๒ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า พุท โธ หมายถึง นามพระพุทธเจ้า

๓ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า มะ อะ อุ หมายถึง คุณแห่งแก้ว ๓ ประการ (พระรัตนตรัย) และอีกความหมายคือ พระไตรปิฎก

๔ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า ทุ สะ นิ มะ (หัวใจอริยสัจสี่) , นะ ชา ลิ ติ (พระสิวลี), อุ อา กา สะ (หัวใจเศรษฐี), นะ มะ อะ อุ (พระไตรปิฎก), นะ มะ พะ ทะ (ธาตทั้งสี่)

๕ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า นะ โม พุท ธา ยะ หมายถึง พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ หรือคุณแห่งศีล ๕ มีพุทธคุณ

๖ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า อิ สฺวา สุ สุ สฺวา อิ หมายถึง คุณแห่งไฟ หรือพระเพลิง รวมทั้งหมายถึงคุณแห่งพระอาทิตย์

๗ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า สะ ธะ วิ ปิ ปะ สะ อุ หมายถึง คุณแห่งลม หรือพระพาย

๘ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ หมายถึงคุณแห่งพระกรรมฐาน คุณแห่งศีล ๘ คุณแห่งพระอังคาร

๙ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ หมายถึง คุณแห่งมรรค ๔ ผล ๔ และพระนิพพาน ๑

๑๐ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว หมายถึง คุณแห่งครูบาอาจารย์ คุณแห่งอากาศ หมายถึงคุณแห่งศีล ๑๐ หมายถึงคุณแห่งพระเสาร์ ๓๐ ทัศ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนจุดในการเจิม ของพระเกจิอาจารย์ จะไม่เท่ากัน แต่การลงจุดนั้นจะเขียนเป็น รูปสามเหลี่ยมเหมือนกัน โดยส่วนยอดของสามเหลี่ยมนั้นจะเป็นอุณาโลม ในขณะที่บางท่าน อาจจะเพิ่มอักขระบางตัวไว้เข้าไป ส่วนการบริกรรมพระคาถา ระหว่างการเจิมนั้น สุดแล้วแต่จะได้รับการถ่ายทอดมาจากอาจารย์อย่างไร เช่น ถ้า เจิม ๓ จุด อาจจะบริกรรมคาถา มะ อะ อุ หรือ แยกเป็น ๒ จุด ก่อน คือ พุท โธ ส่วนอีกจุดนั้นบริกรรมพระคาถา เอกะอะมิ

เจิม ๑๐ จุด อาจจะ บริกรรมคาถา เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว ครั้งเดียวเลยก็ได้ หรืออาจจะแยกเขียนเป็น ๔ แถว คือ ๔ จุด ล่างบริกรรมคาถาว่า ทุ สะ นิ มะ แถวถัดมา ๓ จุด บริกรรมว่า มะ อะ อุ แถวที่มี ๒ จุดบริกรรมว่า พุท โธ ส่วนแถวบนสุด ๑ จุด บริกรรมว่า เอกะอะมิ
ศิษย์บ่มีครู อยู่มิจีรัง
ครูบาอาจารย์อยู่เหนือหัว