ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับการตามดูจิต ..  (อ่าน 2354 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
เกี่ยวกับการตามดูจิต ..
« เมื่อ: 27 พ.ค. 2553, 03:47:31 »


พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
ถาม - ดูจิตอย่างไรจึงจะเป็นวิปัสสนาคะ

ถ้ามีสติจริงๆ นะ สมาธิจะเกิดอัตโนมัติได้ด้วย
เพราะเมื่อไรจิตเราฟุ้งซ่าน เรามีสติรู้ทันนะ
ความฟุ้งซ่านจะดับ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมา ได้สมาธินะ
เพราะฉะนั้นดูจิต ดูจิต ไป ได้สมาธิ
ทีนี้บางทีครูบาอาจารย์บางท่านก็บอก เอ๊ย ดูจิตเป็นสมถะนะ
ถูกของท่านนะ ดูจิตเป็นสมถะ ถูกของท่าน
แต่ถ้าดูเป็น ก็เป็นวิปัสสนาได้
ดูกายก็เป็นสมถะได้นะ ไม่ใช่ดูกายเป็นวิปัสสนา
ถ้าดูกายแล้วเห็นแต่กายเนี่ย ไม่เห็นไตรลักษณ์แล้วนะ สมถะละ
ดูจิตนะ พอเห็นจิตเราฟุ้งซ่าน เรารู้ทันนะ
จิตมันก็สงบเข้ามา ตรงนี้เป็นสมถะ

เพราะฉะนั้นมันเป็นวิปัสสนา จะขึ้นวิปัสสนาด้วยการดูจิตทำยังไง
พูดมาแล้วนะเรื่องศีล ใช่ไหม
มีสติรู้จิตเนี่ยศีลเกิด มีสติรู้จิตสมาธิเกิด
มีสติรู้จิตแล้วทำยังไงปัญญาจะเกิด
การจะเกิดปัญญาได้เนี่ย เราต้องค่อยๆ ฝึกแยกธาตุ แยกขันธ์ไป
แยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ
เพราะฉะนั้นพอเรารู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว
อย่างเราดูจิตดูใจ เราเห็นจิตมีความโกรธเกิดขึ้น
เราค่อยๆ ดูไป เราจะเห็นเลยความโกรธเป็นสิ่งหนึ่งนะ
จิตที่เป็นคนรู้ความโกรธเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เนี่ยเป็นการแยกขันธ์ออกไปนะ
ความสุขเกิดขึ้น เรารู้ทันนะ มีสติรู้ทันนะ จิตตั้งมั่นอยู่ จิตตั้งมั่น
แต่ถ้ามีสติรู้ทันแต่จิตไม่ตั้งมั่น มันจะไปเพ่ง
ถ้ามีสติรู้ทันนะ จิตตั้งมั่น เป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูอยู่
จิตมีสัมมาสมาธิหนุนหลังอยู่ มันถึงจะเดินปัญญา
มันจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้
ความสุขเกิดขึ้น จิตตั้งมั่นอยู่ สติรู้ความสุขที่เกิดขึ้น ในขณะที่จิตตั้งมั่นอยู่เนี่ย
มันจะเห็นทันทีว่าความสุขกับจิตเนี่ยเป็นคนละอันกัน
ความสุขกับจิตก็คนละอันกัน
ถ้าสติระลึกรู้ร่างกาย แล้วจิตตั้งมั่นอยู่นะ
มันจะเห็นว่าร่างกายก็อยู่ส่วนหนึ่ง จิตก็อยู่ส่วนหนึ่ง เป็นคนละอันกัน
เนี่ยมันจะค่อยๆ แยกนะ ร่างกายก็ส่วนหนึ่ง จิตก็ส่วนหนึ่ง
เวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉยๆ ก็ส่วนหนึ่ง
จิตก็อยู่อีกส่วนหนึ่งนะ
กุศลอกุศลทั้งหลาย เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง
หรือสภาวะธรรมที่เป็นกลางๆ ทั้งหลาย
ความปรุงแต่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นมา ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
จิตที่เป็นคนรู้เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
มันจะแยกจิตออกจากสิ่งอื่นๆ แยกจิตออกจากกาย แยกจิตออกจากเวทนา
แยกจิตออกจากจิตสังขารที่เป็นกุศลอกุศล หรือเป็นกลางๆ
จิตจะแยกตัวออกมา

พอขันธ์มันแยกตัวออกไปแล้วเนี่ย สิ่งที่จะเห็นได้ชัดก็คือ
ขันธ์แต่ละขันธ์แต่ละกองที่แยกออกไปนั้น ไม่ใช่ตัวเรา
จะเห็นทันทีนะ ไม่ใช่ตัวเรา
อย่างพอเรามีสติขึ้นมา รู้ร่างกายอยู่ในขณะนั้นจิตตั้งมั่นอยู่
มันจะเห็นว่าจิตอยู่ส่วนหนึ่ง กายอยู่ส่วนหนึ่ง
ปัญญามันจะเกิด มันจะเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา
ถ้าสติระลึกรู้เวทนา เช่น ความสุขเกิดขึ้น จิตมันตั้งมั่นขึ้นมา
จิตตั้งมั่นขึ้นมา มันจะเห็นว่าเวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง
จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาไม่ใช่ตัวเรา
ถ้าโทสะเกิดขึ้นมา สติระลึกรู้โทสะที่เกิดขึ้น
จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูอยู่ มันจะเห็นว่าโทสะอยู่ส่วนหนึ่ง
จิตอยู่อีกส่วนหนึ่ง โทสะไม่ใช่ตัวเรา
นี่มันจะเห็นลงไปเรื่อย แล้วเห็นว่าไม่มีเราในขันธ์ทั้งหลาย
เนี่ยคือการเจริญปัญญานะ






ถาม - หัดเจริญปัญญาอย่างไรจึงจะแยกขันธ์ได้ครับ

การหัดเจริญปัญญา ขั้นแรกก็แยกขันธ์ออกไปก่อน
อย่างโทสะกะจิตนี่คนละอันกัน
โทสะนี่เรียกว่าสังขารขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์นะ
ร่างกายก็ส่วนหนึ่ง ร่างกายเป็นรูปขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์
เวทนาก็เป็นอีกขันธ์หนึ่ง เรียกเวทนาขันธ์นะ จิตเป็นวิญญาณขันธ์
ถ้าแยกออกไปแล้วเนี่ย มันจะเริ่มเห็นความจริง
ว่าขันธ์แต่ละขันธ์ที่แยกออกไปแล้ว ไม่ใช่ตัวเราหรอก
พวกเราที่หัดภาวนากับหลวงพ่อนะ สังเกตไหมไม่นานก็แยกขันธ์ได้
ถ้าไม่มีการแยกขันธ์ อย่าพูดเรื่องเจริญปัญญา อย่าพูดเรื่องวิปัสสนา
วิปัสสนาคือการเห็นความเกิดดับ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์นั้นเอง
ถ้าขันธ์ยังไม่แยกตัวออกไป ยังเป็นก้อนเดียวกันอยู่นะ
มันจะไม่เกิดวิปัสสนาตัวจริงหรอก

ทำไมต้องแยกออกไป
เพราะวิธีศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่าวิภัชวิธี
ว.แหวน สระอิ ภ.สำเภา ไม้หันอากาศ ช.ช้าง "วิภัช"
วิภัช แปลว่า แยก
แยกอะไร แยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ
แยกออกได้ ๕ ส่วน ก็เรียกว่าขันธ์ ๕
บางทีแยกอีก อีกอะไร อีกแบบหนึ่ง แยกเป็น ๖ ส่วน เรียกอายตนะ ๖
ความจริงก็คือขันธ์ ๕ เหมือนกันแหละ แต่แยกไปอีกสไตล์หนึ่ง
หรือแยกอีกแง่มุมหนึ่ง อีกมิติหนึ่ง แยกเป็นธาตุ ธาตุ ๑๘ ธาตุ
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เนี่ยคือวิปัสสนาภูมินะ
คือสิ่งที่จะใช้เรียนทำวิปัสสนา
เพราะฉะนั้นบางคนเรียนเรื่องขันธ์ บางคนเรียนเรื่องธาตุ
บางคนเรียนเรื่องอายตนะ แต่ใจความก็อันเดียวกัน
คือการแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ
เพื่อจะได้เห็นว่าแต่ละส่วนนั้นก็ไม่ใช่ตัวเรา
สิ่งที่เรียกว่าตัวเรานั้นคือกายกับใจ คือขันธ์ ๕ ที่มารวมกัน
แล้วเราก็มีการเข้าไปหมายรู้ผิดๆ มีสัญญาเข้าไปหมายรู้ผิดๆ
เรียก "สัญญาวิปลาส" หมายรู้ผิดๆ ว่านี่คือก้อนนี่คือตัวเรา
วิธีที่จะทำลายความวิปลาสนี้คือหัดแยกขันธ์ไป
สติระลึกรู้กาย จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นคนดู กายกับจิตก็แยกกัน
สติระลึกรู้เวทนา จิตตั้งมั่นเป็นคนดู เวทนากับจิตก็แยกกัน
สติระลึกรู้สังขาร จิตตั้งมั่น สังขารกับจิตก็แยกกัน คนละอันกัน
เนี่ยจะแยกอย่างนี้ พอมันแยกไปนานๆ แล้วแต่ละอันจะไม่ใช่เรา
ยกตัวอย่างเปรียบเทียบนะ มีรถยนต์หนึ่งคัน
เราเห็นว่ารถยนต์นั้นมีจริงๆ รถยนต์มีจริงๆ
ถ้าเรียนแบบชาวพุทธนะ เราจะถอดรถยนต์ออกเป็นชิ้นๆ
นี่พวงมาลัยนะ นี่เกียร์ นี่เบรค นี่คันเร่ง นี่กันชน
นี่ตัวถัง นี่ช่วงล่าง นี่คลัชนะ นี่แยกๆ แยกๆ ไป
คลัชไม่ใช่รถยนต์ใช่ไหม ตัวถังไม่ใช่รถยนต์
เบาะไม่ใช่รถยนต์ โช้คไม่ใช่รถยนต์ กันชนไม่ใช่รถยนต์
วิทยุก็ไม่ใช่รถยนต์ เบาะก็ไม่ใช่รถยนต์นะ

เนี่ย พอแยกๆ แยกออก ไปนะ ก็จะพบว่ารถยนต์ไม่มีจริง
รถยนต์เป็นสิ่งซึ่งหลายอย่างๆ มาประกอบกันขึ้นมา
แล้วเราก็หมายเอาว่านี่คือรถยนต์
ตัวเราจริงๆ ก็ไม่มี มันคือขันธ์ที่มาประกอบกันขึ้นมา
คืออายตนะที่มาประกอบกันขึ้นมา คือธาตุที่ประกอบกันขึ้นมา
เรียนอันใดอันหนึ่งก็พอแล้ว ไม่ต้องเรียนหมดหรอก
เพราะฉะนั้นเรามาคอยดูไป ทำยังไงมันจะแยกออกไป
มันจะแยกออกไปได้ด้วยเครื่องมือสองอัน
อันหนึ่งฝึกมีสติขึ้นมา
อันหนึ่งฝึกให้มีสัมมาสมาธิ มีใจตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา
การฝึกสติเนี่ยฝึกยังไง คอยหัดรู้สภาวะไปเรื่อย
ความโลภเกิดขึ้นรู้ทัน ความโกรธเกิดขึ้นรู้ทัน ความหลงเกิดขึ้นรู้ทัน
ความสุขความทุกข์เกิดขึ้นรู้ทัน ใจเฉยๆ ความเฉยๆ เกิดขึ้นก็รู้ทัน
ร่างกายหายใจออกก็รู้ ร่างกายหายใจเข้าก็รู้
ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ก็รู้ นี่หัดรู้บ่อยๆ

หัดรู้บ่อยๆ นะ ต่อไปมันจะรู้โดยไม่ได้เจตนาจะรู้
นี้เรียกว่ามันมีสติขึ้นมา อย่างเราหัดรู้ความรู้สึกของตัวเองเรื่อยๆ นะ
คอยดูความรู้สึกตัวเองไปเรื่อย
เดี๋ยวโลภ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหลง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์นะ
ต่อมาพอใครมาพูดขัดใจเรานิดเดียว ความโกรธเกิดนะ
สติจะเห็นเองเลยว่า โอ้ ใจนี้มันมีความโกรธผุดขึ้นมา
นี่วิธีฝึกให้มีสตินะ คือหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ
ถ้าจิตมันจำสภาวะได้แม่นเมื่อไหร่ สติจะเกิดอัตโนมัติ
สติที่เกิดอัตโนมัติเป็นสติที่มีกำลังกล้า
สติที่ต้องจงใจให้เกิดนี่มีกำลังอ่อนนะ
เพราะฉะนั้นเราฝึกจนสติมันอัตโนมัติขึ้นมา
อีกอันหนึ่งเราเรียนเรื่องจิตสิกขา
บทเรียนเรื่องจิตสิกขาเรียนเพื่อให้จิตมีสัมมาสมาธิ จิตมีความตั้งมั่นนั่นเอง
ทีนี้เราชอบมั่ว บางทีได้ยินคำว่าจิตสิกขา คิดว่าเป็นเรื่องเข้าฌานอย่างเดียว
นั่งจะทำฌานอย่างเดียว วัตถุประสงค์ไม่ได้มุ่งทำฌาน
วัตถุประสงค์จริงๆ จะให้จิตเกิดสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นขึ้นมา
ส่วนจะตั้งมั่นถึงระดับฌานหรือไม่
เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ แต่จิตต้องตั้งมั่น

ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.dharmamag.com/ หากมีคนเคยนำมาลงแล้วก็ขออภัยดว้ยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พ.ค. 2553, 03:55:01 โดย เอ็มเมืองไร่ขิง »

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เกี่ยวกับการตามดูจิต ..
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 27 พ.ค. 2553, 04:07:02 »
ขอขอบคุณน้องเอ็มมี่มากครับ

สำหรับความรู้ดีๆอย่างนี้...

กราบนมัสการพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ด้วยครับ

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เกี่ยวกับการตามดูจิต ..
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 27 พ.ค. 2553, 07:35:48 »
กราบนมัสการพระอาจารย์ปราโมทย์ครับ

ขอบคุณเอ็มสำหรับเรื่องการตามดูจิตครับ.. :001:

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: เกี่ยวกับการตามดูจิต ..
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 28 พ.ค. 2553, 09:34:27 »
ฝึกจิตต้องใช้เวลา ต้องฝึกฝน เหมือนนักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อม ลองมาทำตามคำสอน มาฝึกตามดูจิตตัวเราเองกันดีไหมครับ
ปล.กราบนมัสการพระอาจารย์ปราโมทย์ ขอบคุณเอ็มสำหรับคำสอนน่ะครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ อภิรัตน์

  • เห็นรอยเท้าพ่อก้มลงดู เห็นรอยเท้าครูก้มลงกราบ
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 692
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: เกี่ยวกับการตามดูจิต ..
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 28 พ.ค. 2553, 10:25:51 »
ขอบคุณมากครับ เป็นข้อมูลการปฏิบัติที่มีค่ามากเลยครับ อ่านแล้วเข้าใจง่ายตามที่ พระอาจารย์ท่านอธิบายไว้  :001:



ออฟไลน์ สุวรรณปักษี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 541
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เกี่ยวกับการตามดูจิต ..
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 28 พ.ค. 2553, 11:11:56 »


            ขอบคุณครับ    :054:

                     ผมฟัง MP3 ของท่านอยู่ครับ น้ำเสียงท่านฟังดูแล้วเพลินดีครับ