ผู้เขียน หัวข้อ: การยกจิตขึ้นสู่การพิจาณาธรรม  (อ่าน 2331 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
ตถตาอาศรม  ริมฝั่งโขง
 ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓
      การยกจิตขึ้นสู่การพิจารณาธรรมนั้น เป็นขั้นตอนในการปฏิบัติหลังจากจิตนั้นนิ่งสงบแล้ว
เมื่อจิตเข้าสู่สภาวะความโปร่ง โล่ง เบา สว่าง สงบ สบาย และทรงไว้ในอารมณ์นั้นจนเต็มที่
จึงถอนจิตกลับมาสู่การพิจารณาธรรม การพิจารณาธรรมนั้นให้เริ่มจากการพิจารณาร่างกาย
เป็นลำดับแรก โดยการกำหนดรู้ไปทั่วกาย กำหนดภาพร่างกายภายนอกของเราให้เห็นชัด
วิธีการนี้เรียกว่าเอาจิตมาคุมกาย เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งจิตออกไปนอกกาย เอาจิตมาไว้กับกาย
ดูกายด้วยตาใน คือความรู้สึกของเรา จนเห็นรูปกายนั้นเด่นชัด เมื่อเห็นรูปกายภายนอกเด่นชัดแล้ว
ให้กำหนดระลึกรู้เข้าไปสู่ภายในกายของเรา กำหนดรู้ในอาการ ๓๒ ของกายเรา จนเห็นซึ่งอาการ ๓๒นั้น
     เมื่อเห็นอาการ ๓๒ ของกายเด่นชัดแล้ว จึงพิจารณาอาการ ๓๒ นั้นไปสู่การเป็นธาตุ คือ ดินน้ำลมไฟ
แยกธาตุที่ประกอบเป็นกายนั้นแล้วคืนสู่ธรรมชาติ  เพราะธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ในร่างกายเรานั้น
เป็นธาตุเหมือนกันกับธาตุในธรรมชาติทั้งหลาย แต่แตกต่างกันไปเพียงสภาวะการตั้งอยู่เท่านั้น เป็นธาตุตัวเดียวกัน
พิจารณาจนธาตุนั้นสลายไป แยกจิตแยกกายออกจากกัน เหลือเพียงจิตรู้คือวิญญาณธาตุ ที่มาอาศัยกายนี้เท่านั้น
พิจารณาอย่างนั้นกลับไปกลับมา จนมีความชำนาญเข้าใจในกาย สามารถกำหนดรู้ได้ทุกครั้งเมื่อจิตผ่านความสงบ
     การพิจารณาธรรมในเรื่องกายนี้ คืออารมณ์ธรรมในองค์ฌาน คือองค์แห่งวิตกวิจาร การตริตรองใคร่ครวญในธรรม
ยังเป็นอารมณ์ของสมถะกรรมฐาน เพราะยังอยู่ในอารมณ์ฌาน มีสมาธิควบคุมอยู่ อย่าหลงคิดว่าเป็นวิปัสสนาเป็นปัญญา
เพราะว่ายังอยู่ในองค์แห่งฌาน ยังอยู่ในอารมณ์สมาธิอยู่ เป็นการทำความรู้ความเข้าใจในกายของเรา ให้เห็นในกายทั้งหลาย
ทั้งภายนอกและภายใน " ดูกายภายนอก ดูกายภายใน " จนเข้าใจกายว่ามันเป็นอย่างไร มันประกอบด้วยอะไร ไม่มีความสงสัย
เพราะเข้าใจในกายนี้ ซึ่งการพิจารณาอย่างนี้ผลที่ตามมาคือจะทำให้การยึดถือในกาย ในตัวตนของเรานั้นเบาบางลง ลดลง
มานะทิฐิและอัตตานั้นจะลดลงเมื่อเราเข้าใจในกายและไม่เข้าไปยึดถือ
    เพียรพิจารณากายของเราอยู่อย่างสม่ำเสมอ จนมีความชำนาญในกาย ซึ่งการพิจารณาอย่างนี้จะมีผลเมื่อเรายกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา
ในสติปัฏฐาน ๔ ในฐานกาย ซึ่งเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ให้พิจารณากายให้ชำนาญเสียก่อน อย่าใจร้อนรีบไปพิจารณา
เวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม เพราะเราต้องสร้างฐานให้มั่นคงเสียก่อน เพราะฐานของจิตของธรรมทั้งหลายนั้นก็คือกายของเรา
ซึ่งการพิจารณาธรรมขั้นต่อไปนั้นจะอธิบายในลำดับชั้นต่อไป หลังจากเรารู้เราเข้าใจในฐานกายชัดเจนชำนาญแล้ว
                 ด้วยความปรารถดีและไมตรีจิตแด่มิตรผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลาย
                          รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๖.๒๐ น. ณ ศาลาน้อย ริมฝั่งโขง ชายขอบประเทศไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มิ.ย. 2553, 06:22:47 โดย รวี สัจจะ... »
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การยกจิตขึ้นสู่การพิจาณาธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2553, 08:06:14 »
" ดูกายภายนอก ดูกายภายใน "

กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ขอบพระคุณที่เมตตาสอน

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ Tiger Number NINE

  • ส.กล้าแดง
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 544
  • เพศ: ชาย
  • ผองธุลีดิน จักพลิกชะตา
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: การยกจิตขึ้นสู่การพิจาณาธรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2553, 10:26:53 »
กราบนมัสการพระอาจารย์ ช่วงนี้ฝนตกบ่อยครั้งสลับกับความร้อนชื้น ขอให้พระอาจารย์รักษาสุขภาพด้วยนะครับ
สุราไม่ได้สร้างวีรบุรุษ......แต่วีรบุรุษก็ขาดสุราไม่ได้

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การยกจิตขึ้นสู่การพิจาณาธรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2553, 11:17:47 »
กราบมนัสการพระอาจารย์  :054:
กราบขอบพระคุณพระอาจารย์ที่ชี้แนะแนวทางการสั่งสอน  ความรู้นี้จะยึดเป็นแนวทางต่อไป
ผมจะค่อยๆเป็นค่อยไป จะขอตั้งฐานให้ดีก่อน ไม่รีบร้อนอีกต่อไป 

ขอบคุณครับ  :054: :054:

ออฟไลน์ ตามพรลิงค์

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 314
  • เพศ: ชาย
  • ชาวนคร ก่อกรรมดี มีมานะภาคเพียร ไม่เบียดเบียนผู้ใด
    • MSN Messenger - minivet27@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: การยกจิตขึ้นสู่การพิจาณาธรรม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2553, 11:30:48 »
กราบมนัสการพระอาจารย์ ครับ

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: การยกจิตขึ้นสู่การพิจาณาธรรม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2553, 07:12:44 »
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ได้อ่านบทความคำสอนของพระอาจารย์ทุกครั้ง ได้ความรู้และแนวปฎิบัติครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การยกจิตขึ้นสู่การพิจาณาธรรม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 24 มี.ค. 2554, 12:41:10 »
สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม

คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็น​เจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​ ​มหาสติปัฏฐานสูตร​ ​และ​ ​สติปัฏฐานสูตร​ ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ