ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความร่วมมือสุภาพสตรีแต่งกายสุภาพเข้าวัด  (อ่าน 3399 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ibabynew

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 16
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
อยากเห็นสุภาพสตรีที่แต่งกายสุภาพ รู้จักกาลเทศะ อย่างน้อยก็เคารพสถานที่สักนิด ว่า....นี่คือ วัด

ออฟไลน์ mechanic

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 111
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
โดยส่วนตัวผมเห็นด้วยนะครับ แต่ในความคิดผม ผมว่าคุณผู้หญิงที่มาวัด เขาตั้งใจจะมาทำบุญกัน และคงไม่คิดว่าการแต่งตัวที่เขามองดูแล้วว่าดี(ในความคิดของคุณผู้หญิง)จะเป็นการไม่เคารพสถานที่(วัด) แต่ผมว่าวัยรุ่นสมัยนี้บางคนเขาไม่รู้จริงจริงว่าแต่ตัวแบบนี้(แบบไหน)มาวัดมันไม่สมควร
คนดีเท่านั้นที่พระท่านจะคุ้มครอง

ออฟไลน์ ibabynew

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 16
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
ก็จริงค่ะ แต่บางคนไม่นุ่งสั้นก็สายเดี่ยว การมาทำบุญถือเป็นเรื่องอันดี แต่อยากจะให้ได้บุญกลับบ้านมากกว่าบาป

ออฟไลน์ nut@coffee

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 132
    • ดูรายละเอียด
ก็จริงค่ะ แต่บางคนไม่นุ่งสั้นก็สายเดี่ยว การมาทำบุญถือเป็นเรื่องอันดี แต่อยากจะให้ได้บุญกลับบ้านมากกว่าบาป

มันเกี่ยวกันยังไงคับ การทำดีไม่จำเป้นจะต้องแต่งตัวสวยคับ แต่ขอแค่ให้รู้จักว่าอะไรควรหรือไม่ควร คงไม่มีใครจะใส่ไปโชว์ในวัดหรอกคับ

การแต่งตัวไม่เกี่ยวกับ บาปบุญ เลย

ออฟไลน์ SIC

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 938
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - diasberm@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • Marlboro Photographer
    • อีเมล
เอาว่าการแต่งกายก็ให้ดูกาลเทศะก็ดีนะครับ

บางคนมาสัก ก็ใส่สายเดี่ยวเพื่อเปิดหลังง่ายๆ ก็แนะว่าเสื้อคลุมมาหน่อยก็ดีครับผม

กายสะอาด ใจสะอาด ทำบุญได้บุญแน่ครับ

ออฟไลน์ อุณาโลม

  • คนกินสัตว์สัตว์กินพีชยืดชีวิตพีชมีสิทธิ์กินดินสิ้นสงสัยวัฎจักรเวียมมาน่าสมใจผลสุดท้ายพื้นดินก็กินคน
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 183
  • เพศ: ชาย
  • ทำอะไรไม่ผิดเลย คือไม่เคยทำอะไรเลย
    • MSN Messenger - bonbigbike@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
ถ่ายมาจากภายในวัดพระธาตุลําปางหลวง ตอนวันแม่ พอดี เลยครับ

คาถาบูชาหลวงพ่อเปิ่น
ตั้งนะโม ๓ จบ
นะมัตถุ รัตตะนัตตะยัสสะ สัทธัมเม ฐิตะคุณาภิปะยุตตัง เสฎฐัง สิสสานัง คะรุฎฐานิยัง
อุตตะมะปะชานาถะ วิสสุตัญจะ มะหาเถรัง นะมามิหัง ตัสสะ ตัสสานุภาเวนะ สัพะโสตถี
ภะวันตุเมฯ

ออฟไลน์ เผ่าพงษ์พระกฤษณะ

  • วัดทุ่งเซียด-อุโบสถกลางน้ำศิลปศรีวิชัยแห่งแรก
  • ผู้ดูแล
  • *****
  • กระทู้: 712
  • เพศ: ชาย
  • วัดทุ่งเซียด-อุโบสถกลางน้ำศิลปศรีวิชัยแห่งแรก
    • MSN Messenger - jamataveelongboat@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • วัดทุ่งเซียด-อุโบสถกลางน้ำศิลปศรีวิชัยแห่งแรก
    • อีเมล
เห็นด้วย และ สนับสนุนอย่างเต็มที่สำหรับแนวความคิดนี้

ไปอ่านเจอมา และ อยากนำมาเสนอ เพื่อให้ได้อ่านกัน

เพราะเห็นว่า ดี และ มีประโยชน์กับสังคมไทยในยุคปัจจุบัน

ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ(พุทธทาสภิกขุ)
-------------------------------------------------------------------------------


ข้อควรปฏิบัติเมื่อไปวัด

๑. การแต่งกายไปวัด

ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อนๆ ถ้ามีลายก็เป็นลายเรียบๆ เนื้อผ้าไม่ควรโปร่งบางจนเกินไป ไม่หรูหราจนเกินไป เสื้อผ้าไม่ควรหลวมหรือรัดรูปจนเกินไป เพื่อความสะดวกในการกราบไหว้พระและนั่งสมาธิสำหรับผู้หญิงควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และไม่ควรตกแต่งด้วยเครื่องประดับและเครื่องสำอาง ตลอดจนใส่น้ำหอมมากจนเกินไป ไม่ควรแต่งหน้า เขียนคิ้ว ทาปาก ทาเล็บจนเกินงาม เหตุที่ควรปฏิบัติเช่นนี้เพราะวัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม คนไปวัดเพื่อทำบุญ ทำจิตใจให้สงบ จึงควรตัดเรื่องปรุงแต่งกิเลสเหล่านี้ออกไปเสียก

๒. การนำเด็กหรือบุคคลอื่นๆ ไปวัด

เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีแก่เด็ก เพราะทำให้เด็กได้ใกล้ชิดพระศาสนา ตั้งแต่อยู่ในวัยอันสมควร แต่มีข้อระวังคือ อย่านำเด็กอ่อนไปวัดโดยไม่จำเป็น เพราะอาจก่อให้เกิดความรำคาญ หรือในกรณีที่เด็กซุกซน อาจจะส่งเสียงดังรบกวนสมาธิของผู้อื่นที่ต้องการความสงบในกรณีที่มีความจำเป็นต้องนำบุคคลอื่นๆ เช่น พนักงานขับรถหรือคนรับใช้ไปวัดด้วย ก็ควรเปิดโอกาวให้เขาได้ร่วมทำบุญด้วย และกวดขันเรื่องกิริยามารยาทและการแต่งกาย การขับรถเข้าไปในบริเวณวัด ควรระมัดระวังในเรื่องการใช้แตร การเร่งเครื่องยนต์เสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่พระกำลังสวด และการจอดรถก็ควรจอดให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่ทางวัดได้กำหนดไว้

๓. การเตรียมอาหารไปวัด

อาหารที่เหมาะสมสำหรับการนำไปถวายพระภิกษุนั้น ควรเป็นอาหารที่เรารับประทานกันทั่วไป คือ ปรุงจากพืช ผัก หรือเนื้อสัตว์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด แต่ควรระมัดระวังอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ที่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับพระภิกษุ อันได้แก่
    1.เนื้อมนุษย์
    2.เนื้อช้าง
    3.เนื้อม้า
    5.เนื้องู
    7.เนื้อเสือโคร่ง
    9.เนื้อเสือดาว
    4.เนื้อสุนัข
    6.เนื้อราชสีห์
    8.เนื้อเสือเหลือง
    10.เนื้อหมี

อย่านำอาหารที่ปรุงจากเนื้อดิบๆ เลือดดิบๆ ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ เช่น ปลาดิบ กุ้งดิบ ฯลฯ จนกว่าจะทำให้สุกด้วยไฟ นอกจากนั้น ไม่ควรนำอาหารที่ปรุงด้วยสุราที่มีสีหรือกลิ่นหรือรสปรากฏชัดไปถวายพระภิกษุสงฆ์ และอย่าฆ่าสัตว์โดยจำเพาะเจาะจงว่าจะนำเนื้อนั้นไปทำอาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์

๔. การเตรียมตัวก่อนไปวัด อาจจะทำได้ดังนี้ คือ
    ๑. จัดทำภารกิจของตนให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นที่กังวล
    ๒. ทำจิตใจให้แจ่มใส โดยการระลึกถึงบุญกุศลและคุณงามความดีที่เคยได้ทำมาแล้ว
    ๓. รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเพื่อทำใจให้บริสุทธิ์

๕. การปฏิบัติตนโดยทั่วไปภายในวัด

วัดเป็นที่รวมของคนหลายประเภทซึ่งแตกต่างกันมาก ทั้งอายุ ฐานะ และความเป็นอยู่ การศึกษา อาชีพ ตลอดจนนิสัยใจคอ โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจำเป็นต้องระมัดระวังสำรวมตน โดยปฏิบัติดังนี้
    ๑. สำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย งดอาการคะนองด้วยประการทั้งปวง ทั้งนี้เพื่อให้กาย วาจา ใจ ของเราเหมาะสมที่จะบำเพ็ญบุญกุศล
    ๒. งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
    ๓. ควรนั่งให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่กำหนดไว้
    ๔. ในการประกอบศาสนพิธี เช่น สวดมนต์ สมาทานศีล ถวายสังฆทาน ฯลฯ ควรเปล่งเสียงอย่างชัดเจนโดยพร้อมเพรียงกัน
    ๕. เมื่อมีสิ่งใดทำให้ขุ่นข้องหมองใจ เช่น อากาศร้อน กระหายน้ำ เห็นหรือได้ยินกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมของคนอื่น หรือการไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องต่างๆ ขอให้อดทนและแผ่เมตตา ให้ความเห็นอกเห็นใจทุกสิ่งทุกอย่าง อย่าให้เกิดโทสะขึ้นได้
    ๖. การสนทนากับพระ ในการสนทนากับพระนั้น หากเป็นผู้ชายไม่ค่อยมีระเบียบปฏิบัติที่เคร่งครัดนัก เพียงแต่ให้ตระหนักว่าเป็นการสนทนากับพระ ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลของสังคม มีเพศ คือ สถานะทางสังคมเหนือกว่าตน

เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของท่าน ควรจะกราบพระพุทธปฏิมาที่ประดิษฐานอยู่ในนั้นก่อน แล้วจึงกราบพระสงฆ์ ซึ่งนิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับคนที่ต้องแสดงความเคารพอย่างสูง

ทุกครั้งที่พูดกับท่านควรพนมมือไหว้ ใช้สรรพนามที่ใช้เรียกตนเอง เช่น "กระผม" "ดิฉัน" โดยมองที่สถานะของพระเป็นตัวกำหนด หากท่านเป็นพระธรรมดา สรรพนามที่เรียกท่านมักนิยมคำว่า "ท่าน" "พระคุณเจ้า" หากเป็นพระที่มีสมณศักดิ์สูงก็อาจจะใช้คำว่า "ใต้เท้า" "พระเดชพระคุณ" "พระคุณ" "เจ้าพระคุณ" สำหรับสมเด็จพระสังฆราชใช้คำว่า "ฝ่าบาท" สรรพนามแทนตนเองใช้คำว่า "กระหม่อม"

ในกรณีที่เป็นสตรีนั้น ควรมีผู้ชายไปด้วยจะเป็นการดี เพราะพระท่านอาจจะมีปัญหาทางพระวินัย ต้องอาบัติได้ง่ายเมื่ออยู่กับสตรีสองต่อสอง

ที่มา : หนังสือวิถีธรรมวิถีไทย(พระพุทธศาสนา) โดย สุชาดา วราหพันธ์

ออฟไลน์ touch_navara

  • "นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา"
  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 557
  • เพศ: ชาย
  • "ก่อนที่จะตัดสินผู้อื่น ให้ดูตัวท่านเองเสียก่อน"
    • MSN Messenger - touch_navara_175@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
เห็นด้วย และ สนับสนุนอย่างเต็มที่สำหรับแนวความคิดนี้

ไปอ่านเจอมา และ อยากนำมาเสนอ เพื่อให้ได้อ่านกัน

เพราะเห็นว่า ดี และ มีประโยชน์กับสังคมไทยในยุคปัจจุบัน

ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ(พุทธทาสภิกขุ)
-------------------------------------------------------------------------------


ข้อควรปฏิบัติเมื่อไปวัด

๑. การแต่งกายไปวัด

ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อนๆ ถ้ามีลายก็เป็นลายเรียบๆ เนื้อผ้าไม่ควรโปร่งบางจนเกินไป ไม่หรูหราจนเกินไป เสื้อผ้าไม่ควรหลวมหรือรัดรูปจนเกินไป เพื่อความสะดวกในการกราบไหว้พระและนั่งสมาธิสำหรับผู้หญิงควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และไม่ควรตกแต่งด้วยเครื่องประดับและเครื่องสำอาง ตลอดจนใส่น้ำหอมมากจนเกินไป ไม่ควรแต่งหน้า เขียนคิ้ว ทาปาก ทาเล็บจนเกินงาม เหตุที่ควรปฏิบัติเช่นนี้เพราะวัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม คนไปวัดเพื่อทำบุญ ทำจิตใจให้สงบ จึงควรตัดเรื่องปรุงแต่งกิเลสเหล่านี้ออกไปเสียก

๒. การนำเด็กหรือบุคคลอื่นๆ ไปวัด

เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีแก่เด็ก เพราะทำให้เด็กได้ใกล้ชิดพระศาสนา ตั้งแต่อยู่ในวัยอันสมควร แต่มีข้อระวังคือ อย่านำเด็กอ่อนไปวัดโดยไม่จำเป็น เพราะอาจก่อให้เกิดความรำคาญ หรือในกรณีที่เด็กซุกซน อาจจะส่งเสียงดังรบกวนสมาธิของผู้อื่นที่ต้องการความสงบในกรณีที่มีความจำเป็นต้องนำบุคคลอื่นๆ เช่น พนักงานขับรถหรือคนรับใช้ไปวัดด้วย ก็ควรเปิดโอกาวให้เขาได้ร่วมทำบุญด้วย และกวดขันเรื่องกิริยามารยาทและการแต่งกาย การขับรถเข้าไปในบริเวณวัด ควรระมัดระวังในเรื่องการใช้แตร การเร่งเครื่องยนต์เสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่พระกำลังสวด และการจอดรถก็ควรจอดให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่ทางวัดได้กำหนดไว้

๓. การเตรียมอาหารไปวัด

อาหารที่เหมาะสมสำหรับการนำไปถวายพระภิกษุนั้น ควรเป็นอาหารที่เรารับประทานกันทั่วไป คือ ปรุงจากพืช ผัก หรือเนื้อสัตว์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด แต่ควรระมัดระวังอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ที่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับพระภิกษุ อันได้แก่
    1.เนื้อมนุษย์
    2.เนื้อช้าง
    3.เนื้อม้า
    5.เนื้องู
    7.เนื้อเสือโคร่ง
    9.เนื้อเสือดาว
    4.เนื้อสุนัข
    6.เนื้อราชสีห์
    8.เนื้อเสือเหลือง
    10.เนื้อหมี

อย่านำอาหารที่ปรุงจากเนื้อดิบๆ เลือดดิบๆ ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ เช่น ปลาดิบ กุ้งดิบ ฯลฯ จนกว่าจะทำให้สุกด้วยไฟ นอกจากนั้น ไม่ควรนำอาหารที่ปรุงด้วยสุราที่มีสีหรือกลิ่นหรือรสปรากฏชัดไปถวายพระภิกษุสงฆ์ และอย่าฆ่าสัตว์โดยจำเพาะเจาะจงว่าจะนำเนื้อนั้นไปทำอาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์

๔. การเตรียมตัวก่อนไปวัด อาจจะทำได้ดังนี้ คือ
    ๑. จัดทำภารกิจของตนให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นที่กังวล
    ๒. ทำจิตใจให้แจ่มใส โดยการระลึกถึงบุญกุศลและคุณงามความดีที่เคยได้ทำมาแล้ว
    ๓. รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเพื่อทำใจให้บริสุทธิ์

๕. การปฏิบัติตนโดยทั่วไปภายในวัด

วัดเป็นที่รวมของคนหลายประเภทซึ่งแตกต่างกันมาก ทั้งอายุ ฐานะ และความเป็นอยู่ การศึกษา อาชีพ ตลอดจนนิสัยใจคอ โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจำเป็นต้องระมัดระวังสำรวมตน โดยปฏิบัติดังนี้
    ๑. สำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย งดอาการคะนองด้วยประการทั้งปวง ทั้งนี้เพื่อให้กาย วาจา ใจ ของเราเหมาะสมที่จะบำเพ็ญบุญกุศล
    ๒. งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
    ๓. ควรนั่งให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่กำหนดไว้
    ๔. ในการประกอบศาสนพิธี เช่น สวดมนต์ สมาทานศีล ถวายสังฆทาน ฯลฯ ควรเปล่งเสียงอย่างชัดเจนโดยพร้อมเพรียงกัน
    ๕. เมื่อมีสิ่งใดทำให้ขุ่นข้องหมองใจ เช่น อากาศร้อน กระหายน้ำ เห็นหรือได้ยินกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมของคนอื่น หรือการไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องต่างๆ ขอให้อดทนและแผ่เมตตา ให้ความเห็นอกเห็นใจทุกสิ่งทุกอย่าง อย่าให้เกิดโทสะขึ้นได้
    ๖. การสนทนากับพระ ในการสนทนากับพระนั้น หากเป็นผู้ชายไม่ค่อยมีระเบียบปฏิบัติที่เคร่งครัดนัก เพียงแต่ให้ตระหนักว่าเป็นการสนทนากับพระ ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลของสังคม มีเพศ คือ สถานะทางสังคมเหนือกว่าตน

เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของท่าน ควรจะกราบพระพุทธปฏิมาที่ประดิษฐานอยู่ในนั้นก่อน แล้วจึงกราบพระสงฆ์ ซึ่งนิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับคนที่ต้องแสดงความเคารพอย่างสูง

ทุกครั้งที่พูดกับท่านควรพนมมือไหว้ ใช้สรรพนามที่ใช้เรียกตนเอง เช่น "กระผม" "ดิฉัน" โดยมองที่สถานะของพระเป็นตัวกำหนด หากท่านเป็นพระธรรมดา สรรพนามที่เรียกท่านมักนิยมคำว่า "ท่าน" "พระคุณเจ้า" หากเป็นพระที่มีสมณศักดิ์สูงก็อาจจะใช้คำว่า "ใต้เท้า" "พระเดชพระคุณ" "พระคุณ" "เจ้าพระคุณ" สำหรับสมเด็จพระสังฆราชใช้คำว่า "ฝ่าบาท" สรรพนามแทนตนเองใช้คำว่า "กระหม่อม"

ในกรณีที่เป็นสตรีนั้น ควรมีผู้ชายไปด้วยจะเป็นการดี เพราะพระท่านอาจจะมีปัญหาทางพระวินัย ต้องอาบัติได้ง่ายเมื่ออยู่กับสตรีสองต่อสอง

ที่มา : หนังสือวิถีธรรมวิถีไทย(พระพุทธศาสนา) โดย สุชาดา วราหพันธ์
เห็นด้วยครับ
[shake]ศิษย์วัดบางพระครับ[/shake]

คำขวัญจังหวัดนครสวรรค์ "เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ"

ออฟไลน์ Jojo Swiss

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 40
  • เพศ: หญิง
    • MSN Messenger - jojo1081009@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
เมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนามาช้านาน  วัดคือสถานที่ใด พระสงฆ์คือบุคคลใด
คนไทยสมัยนี้เค้าไม่รู้เรื่องกันแล้วเหรอค่ะว่าต้องวางตัวอย่างไรเวลาไปวัด หรือการไปพบพระสงฆ์
โรงเรียนทางเมืองไทยยังคงมีวิชาพุทธศาสนาสอนกันอยู่หรือป่าวค่ะ แล้วเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ พ่อแม่ไม่ค่อยพาไปวัดกันแล้วเหรอค่ะ..คือว่า อ่านเจอกระทู้ประมาณนี้น่าจะ 2-3 กระทู้ได้แล้วนะคะ ก็เลยอดสงสัยไม่ได้ เพราะตัวเองจากเมืองไทยไปเกือบ 2 ปีได้แล้วนะคะ :062: :062:  :062:

ออฟไลน์ ibabynew

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 16
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
ขอขอบคุณ  :114: อุณาโลม กับ เผ่าพงษ์พระกฤษณะ มากๆเลยนะคะสำหรับคำคมและข้อควรปฏิบัติ เป็นประโยชน์จริงๆเลย อยากทำป้ายแบบนั้นบ้างจัง เสียดายที่ไม่มีคนใส่ใจกับเรื่องนี้ซักเท่าไร เราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีอยู่กับวัดนี้มาตลอดพบเห็นสุภาพสตรีที่แต่งกายทั้งสุภาพเหมาะสมและไม่เหมาะสม บางคนใส่เสื้อผ้าเพื่อที่จะสะดวกในการสัก แต่ก็ใช้ผ้าคลุมหรือใส่เสื้อแขนยาวคลุมอีกที อันนี้ขอชื่นชมค่ะ  :090: คุณสวยทั้งกายและจิตใจจริงๆ  ต่างจากบางคนที่ไม่รู้จักกาลเทศะ ซึ่งจริงๆแล้วเรารู้แก่ใจว่าการมาวัดควรแต่งกายอย่างไร อย่างน้อยก็ต้องคำนึงถึงพระภิกษุ เอาเป็นว่าคนทุกคนย่อมมีจิตใต้สำนึกที่แตกต่างกันไป ใครจะประพฤติปฏิบัติอย่างไรก็ตามแต่ สุดท้ายแล้วก็คงจะสำนึกได้เองในสักวันหนึ่ง

ออฟไลน์ ag

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 42
    • ดูรายละเอียด
อยากให้เข้ามาอ่านกระทู้นี้กันเยอะๆ
ขอบคุณเจ้าของกระทู้

ออฟไลน์ ~เสน่ห์กวาง~

  • ไม่ใช่คนแรกของหัวใจ..แต่ก็เป็นคนสุดท้ายของชีวิต ^^โฮ๊ะๆ^^
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1314
  • เพศ: หญิง
  • เพื่อนกัน..ตลอดกาล..
    • ดูรายละเอียด
คราวก่อนไปที่วัด ก็แวะเข้ากุฏิใหญ่
เห็นมีเด็กวัยรุ่นไปลงนะกับหลวงพ่อสำอางค์

แต่ภาพที่เห็น..เธอกลับ..ใ่สกางเกงขาสั้น..สั้นมาก แล้วยืนค้ำหัวหลวงพ่อ

เด็กๆเดี๋ยวนี้ ห่างไกลการเข้าวัดและอบรมกริยาที่เหมาะสม นะคะ
หากปัญหาเช่นนี้ยืดเยื้อ ประเทศไทยเมืองแห่งมารยาทและวัฒนธรรม จะเป็นอย่างไร ในอนาคต :062:

..ที่โลกนี้ไม่มี..ก็คือดวงตะวัน..
..ไม่เคยมีให้ฉันในวันที่มองไม่เห็นใคร..
.ที่โลกนี้ไม่มี..ก็คือความรักยิ่งใหญ่..
..ไม่มีคนห่วงใย..หวังดีและผูกพันธ์..

ออฟไลน์ leaflet

  • ARS LONGA VITA BREVIS.
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 42
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ขอขอบคุณ  :114: อุณาโลม กับ เผ่าพงษ์พระกฤษณะ มากๆเลยนะคะสำหรับคำคมและข้อควรปฏิบัติ เป็นประโยชน์จริงๆเลย อยากทำป้ายแบบนั้นบ้างจัง เสียดายที่ไม่มีคนใส่ใจกับเรื่องนี้ซักเท่าไร เราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีอยู่กับวัดนี้มาตลอดพบเห็นสุภาพสตรีที่แต่งกายทั้งสุภาพเหมาะสมและไม่เหมาะสม บางคนใส่เสื้อผ้าเพื่อที่จะสะดวกในการสัก แต่ก็ใช้ผ้าคลุมหรือใส่เสื้อแขนยาวคลุมอีกที อันนี้ขอชื่นชมค่ะ  :090: คุณสวยทั้งกายและจิตใจจริงๆ  ต่างจากบางคนที่ไม่รู้จักกาลเทศะ ซึ่งจริงๆแล้วเรารู้แก่ใจว่าการมาวัดควรแต่งกายอย่างไร อย่างน้อยก็ต้องคำนึงถึงพระภิกษุ เอาเป็นว่าคนทุกคนย่อมมีจิตใต้สำนึกที่แตกต่างกันไป ใครจะประพฤติปฏิบัติอย่างไรก็ตามแต่ สุดท้ายแล้วก็คงจะสำนึกได้เองในสักวันหนึ่ง

ผมว่าการทำป้ายข้อปฏิบัติต่างๆ หรือคำเตือนต่างๆ ติดไว้ในวัดก็เป็นทางเลือกที่ดีนะครับ พี่น้องวัดบางพระของเรา คิดว่าไงครับ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ก.ย. 2553, 08:05:26 โดย leaflet »

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ทอม~

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 196
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
                    12;  เราว่า...มันอยู่ที่จิตใต้สำนึกมากกว่า  19;

.........   คนเราถ้ารู้ว่าจะเข้าวัดแล้วไม่รู้จักคำว่าสำรวมก็น่าจะคิดได้นิดนึงนะ  ........

     

ออฟไลน์ ~>uาJวัuทoJ<~

  • AlwaYs Miss Ya !! ><* คนที่คุณก็รู้ว่าใคร **
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 212
  • เพศ: หญิง
  • Twitter@MinzLadyMaFiAz
    • Yahoo Instant Messenger - KawisaraMinz@yahoo.com
    • ดูรายละเอียด
เห็นด้วยกับท่านSICค่ะ เพราะว่าบางทีมาสักต้องเปิดหลัง หนูมินเป็นคนนึงแหละค่ะ ที่ใส่เสื้อกล้ามสายเดี่ยวมาเพราะจำเป็น
ตอนมาครั้งแรกใส่เสื้อยืดมาค่ะ สักลำบาก แต่ครั้งต่อมาก็ใส่เสื้อกล้ามสายเดี่ยวมา แต่คลุมเสื้อมาทุกครั้งค่ะ
ให้เกียรติสถานที่ค่ะ
[shake]เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว ไม่ค่อยเข้าใจสภาพความเป็นไป...โลกร้อนมากไปคนก็กลายเป็นหมาบ้า --*[/shake]