ผู้เขียน หัวข้อ: ท้าวจตุโลกบาล 4  (อ่าน 47241 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ท้าวจตุโลกบาล 4
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 02:55:11 »
สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามีท้าวมหาราชทั้ง ๔ เป็นผู้ปกครองดูแล คอยแบ่งกันครอบครองดังนี้

ด้านทิศตะวันออก เป็นที่อยู่ของ ท้าวธตรฐ มีพวกคนธรรพ์ เป็นบริวาร คนธรรพ์ นี้เป็นเทวดาพวกหนึ่งซึ่งที่มีความถนัดในการดนตรีศิลปะระบำรำฟ้อนและชำนาญในการขับกล่อมเพลงยิ่งนัก เมื่อใดที่เทวดาทั้งหลายชุมนุมกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน เมื่อนั้นพวกคนธรรพ์ ก็จะไปทำหน้าที่ขับกล่อมเพลงและรำบำรำฟ้อนเพื่อความสำราญของเหล่าเทวดา

ด้านทิศใต้ เป็นที่อยู่ของท้าววิรูปักษ์ มีพวกนาคเป็นบริวาร นาคนี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีฤทธิ์เดชมาก เพราะเพียงแค่พิษของนาคถูกต้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็สามารถตัดเอาผิวหนังของบุคคลนั้นและทำให้ถึงแก่ความตายได้ในพริบตา พวกนาครู้จักเนรมิตตนเป็น มนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา เพื่อท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ตามอัธยาศัยอย่างสุขสำราญ
หากบุคคลใดได้ยินได้ฟังมาว่าพวกนาคมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก ทำให้ชอบใจ แล้วทำคุณงามความดีด้วยกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งปรารถนาไปเกิดเป็นนาค บุคคลนั้นเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปเกิดเป็นนาคในชาติต่อไปสมความปรารถนา
ด้านทิศเหนือ เป็นที่อยู่ของท้าวเวสวัณหรือ ท้าวเวสสุวัณ มีพวกยักษ์ เป็นบริวาร ยักษ์ นี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีสันดานแตกต่างกัน บางตนก็มีสันดานดีประกอบด้วยศีลธรรม บางตนก็มีสันดานร้ายมีจิตใจเต็มไปด้วยโทสะโมหะ เป็นอันธพาลที่มีใจกล้าหาญดุดัน

ท้าวเวสวัณมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ท้าวกุเวร เพราะในสมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งนามว่า กุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อยตัดใส่ลงไปในหีบยนต์แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตนและบุตรภรรยา ต่อมากิจการเจริญขึ้นจนเป็นเจ้าของหีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง ๗ เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับคนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อยจากหีบยนต์เครื่องหนึ่งซึ่งมีประมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่นๆ ให้เป็นทานแก่คนเดินผ่านไปมาจนตลอดอายุขัย

ด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า"กุเวรเทพบุตร"ต่อมากุเวรเทพบุตรได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแลพระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า "ท้าวเวสวัณ"


ท้าวมหาราชทั้ง ๔

๑. ท้าวธตรัฏฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุเป็นผู้ปกครองคันธัพพ เทวดาทั้งหมด
๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองกุมภัณฑเทวดา ทั้งหมด
๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคะ เทวดาทั้งหมด
๔. ท้าวกุเวระ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยักขะเทวดาทั้งหมด เทวดาที่อยู่ภายใต้การปกครองของท้าวจาตุมมหาราช คือ
๑. ปัพพัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยภูเขาอยู่
๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยอยู่ในอากาศ
๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่ มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมบริโภคอาหารแล้วตาย
๔. มโนปโทสิกเทวดา เทวดาที่ ตายเพราะความโกรธ
๕. สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น
๖. อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น
๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระจันทร์
๘. สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระอาทิตย์

จตุโลกบาล
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ยังมีหน้าที่เป็นจตุโลกบาล คือเป็นผู้คุ้มครองและตรวจดูโลกซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ทั้ง ๔ ทิศ โดย
วัน ๘ ค่ำ อำมาตย์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลก
วัน ๑๕ ค่ำ บุตรทั้งหลายของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลก
ส่วนในวัน ๑๕ ค่ำ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลกเองว่า พวกมนุษย์พากันบำรุงบิดามารดา และสมณพราหมณ์ เคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถศีลและทำบุญกุศลเป็นจำนวนมากหรือไม่
ครั้นตรวจดูแล้วก็จะไปบอกพวกเทพชั้น ดาวดึงส์ ซึ่งมาประชุมกันในสุธรรมาเทวสภา ถ้าได้ฟังว่าพวกมนุษย์ทำดีกันน้อย พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจหดหู่ เพราะทิพยกายจะลดถอย อสุรกายจะเพิ่มพูน แต่ถ้าได้ฟังว่าพวกมนุษย์ทำดีกันมาก พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจชื่นบาน เพราะทิพยกายจะเพิ่มพูน อสุรกายจะลดถอย


ตำนานอาฏานาฏิยปริตร
อาฏานาฏิยสูตร กล่าวไว้ว่า
ในสมัยหนึ่ง เมื่อพุทธเจ้าประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ท้าวจาตุมหาราช คือ ท้าวธตรฏฐ์ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวกุเวร พร้อมด้วยบริวารอันได้แก่ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
ท้าวมหาราชเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า จตุโลกบาล ( ผู้รักษาโลกทั้ง ๔) ซึ่งเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา เมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ท้าวกุเวรกราบทูลว่า อมนุษย์ที่เป็นบริวารของจตุโลกบาล บางพวกก็เลื่อมใสพระพุทธเจ้า บางพวกก็ไม่เลื่อมใส เพราะพระองค์ทรงแสดงธรรมให้ถือศีล ๕ คือให้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ และการเสพสุรา แต่มนุษย์และยักษ์ยังชอบทำบาปเหล่านี้ จึงขัดใจไม่ค่อยเลื่อมใส สาวกของพระองค์ที่ประกอบวิปัสสนาธุระ ไปบำเพ็ญสมณธรรมในเสนาสนะป่าเปลี่ยว เมื่อไม่มีสิ่งป้องกัน อมนุษย์ก็จะรบกวนเบียดเบียนให้ลำบาก ขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องป้องกันรักษา คือ อาฏานาฏิยปริตรไว้ จะได้ประทานให้สาวกสวด จะทำให้อมนุษย์เลื่อมใส ไม่เบียดเบียนภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และกลับจะช่วยคุ้มครองรักษาให้อยู่ผาสุข แล้วจึงกล่าว อาฏานาฏิยปริตร ขึ้นในเวลานั้นว่า วัปัสสิสสะ นะมัตถุ เป็นต้น
เมื่อพระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ ท้าวกุเวรจึงกราบทูลต่อไปอีกว่า ผู้ที่เจริญอาฏานาฏิยปริตรนี้ดีแล้ว อมนุษย์จะไม่ทำร้าย ถ้าอมนุษย์ยังผืนกระทำจะแพ้ภัยตัวเองจากนั้น พระพุทธเจ้าจึงนำมาตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายในภายหลัง

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ท้าวจตุโลกบาล 4
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 02:58:01 »
ซื่อ เทียน หวาง หรือ ซี้ เทียง อ้วง ?ท้าวจตุโลกบาล?
เทพทั้งสี่ผู้เป็นใหญ่ในแดนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิก เป็นแดนเทวโลก ซึ่งเชื่อว่าเป็นดินแดนอันมีอาณาเขตติดกับโลกมนุษย์ เทพทั้งสี่ปกครองสวรรค์แบ่งเป็นเขตต่างกัน ทำหน้าที่เป็นโลกบาลประจำทิศทั้งสี่ โดยมี

1. เทพ ฉือ กว๋อ เทียน อ้วง หรือ ฉือ กว๋อ เทียน หวาง
เป็นราชาแห่งฝูงคนธรรพ์ ประจำอยู่ทิศตะวันออก มีชื่อเรียกว่า ท้าวธตรัฐ มีลักษณะ คือ ผิวกายสีเขียว มือซ้ายถือพิณ มือขวาดีดพิณ บางตำราอ้างว่าท้าวธตรัฐ เป็นผู้ดีดพิณถวายเตือนพระสติพระโพธิสัตว์ในคราวบำเพ็ญทุกขกิริยา ให้หันมาตั้งมั่นในมัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งในคติเบตท้าวธตรฐเป็นเทพเจ้าแห่งความร่าเริง เพราะมีของวิเศษเป็นพิณที่ดีด และเพลงที่เล่นนั้นเป็นเพลงแห่งความสุขกล่อมปวงประชา ท้าวธตรัฐนี้มีเทพองครักษ์เป็น ?ค้วงกุ้ย? (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) หรือผีบ้าสติแตกกับยมทูตตัวเขียว

2. เจง เจีย เทียง อ้วง หรือ เจิง ฉาง เทียง หวาง
ซึ่งก็คือ ท้าววิรุฬหก เป็นราชาแห่งกุมภัณฑ์ (ยักษ์) เป็นเทพแห่งเหล่ายักษ์มีรูปกายสีขาว มือถือเกาทัณฑ์ บางตำรากล่าวว่าถือร่ม อยู่ประจำทิศทักษิณ มีผีที่เป็นองค์ชื่อ ?อุ๊งหิ่ง เท้งฉู่?(ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ผีเหม็น กระโดกกระเดก ในคติเบตท้าววิรุฬหกทรงเป็นเทพแห่งความสุข และความมั่งคั่งของปวงประชาหรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภนั่นเอง

3. ควง บัก เทียง อ้วง หรือ กว่าง มุ เทียน หวาง
ซึ่งก็คือท้าววิรูปักษ์, ท้าววิรุณ, ท้าวพิรุณ ผู้เป็นราชาแห่งนาค มือซ้ายมีงูเลื้อยพันฝ่ามือจับคองูไว้ มือขวาถือดาบ อยู่ประจำทิศตะวันตก กล่าวว่า เกิดจากกัสสปเทพบิดรกับนางทิติมเหสี ฝ่ายซ้าย มีกายขาวเพราะทำหน้าที่เกี่ยวกับน้ำ และยังมีคนกล่าวไว้อีกว่าท้าวเธอเกลียดความเท็จมากที่สุด หากผู้ใดกล่าวเท็จ ผิดสัญญา ก็จะบันดาล ให้ป่วยไข้ต่างๆ นานา แต่หากผู้ใดมีศีลสัตย์เกรงกลัวต่อบาปก็ย่อมบำเหน็จให้พบความสุขสวัสดี ทั้งอาจช่วยให้พ้นมฤตยู(ความตาย) ได้ในบางคราว ด้วยความเมตตากรุณาในหทัยของท้าวเธอนั่นเอง ด้วยเหตุที่มีชื่อเรียกวิรุณหรือพิรุณจึงเป็ฯเทพแห่งฝนเรียกปัชชุนะพุทธโฆษาจารย์ว่าชื่อ วสสาวลาหก บ้างก็ว่าเป็นใหญ่เหนือมนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่าปัชชุนะอาจต้องทำให้ฝนตกเมื่อเปี่ยมบุญญาธิการ ประกาศสัจจกริยาเช่นครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นปลา ปัชชุนะต้องทำให้ฝนตกเพื่อพระโพธิสัตว์และญาติมิตรทั้งปวง ทั้งพระอานนท์ก็เคยเกิดเป็นเทพปัชชุนะมาแล้วในอดีตชาติ
ท้าววิรูปยักษ์ หรือพระวรุณ นามเต็มว่า พระวรุณาทิตย์ เป็นเชษฐาองค์แรกในพวกอาทิตย์ ทั้ง 8 เป็นโอรสนางทิติกับกัศยปเทพพิดร แต่ในมหาภารตะว่าเป็นโอรสพระฤษีกรรทมพรหมบุตร ส่วนในรามเกียรติ์ว่าเป็นบิดาสุเสน (นายทหารของพระราม) มีเทพองครักษ์เป็น ?เอี่ยวเฮ้งกุ้ย? (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) หรือแปลง่ายๆว่า ผีเมตตาอ่อนโยน และอีกตัวหนึ่งคื ?หง่อกุ้ย? (ภาษจีนแต้จิ๋ว) หรือผีออดอยาก

4. โต เหวิน เทีวน หวาง
หรือเรียกว่า ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร หรือไตรภูมิพระร่วงเรียกว่า ท้าวไพสพมราช เป็นราชาแห่งยักษ์ ประจำอยู่ทางทิศเหนือ มีกายดำถือเจดีย์ กล่าวว่าเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ถือเป็นยักษ์ที่ดำรงในสัตย์ธรรม เป็นที่ปรึกษาคนสนิทของพระอินทร์ สมมติกันว่าเป็นโอรสพระวิศรวสมุนีกับนางอิฑวิฑา แต่ในมหาภารตะว่าเป็นดอรสพระปุลัสตยะ (เป็นบิดาของพระวิศรวัสมุนี อีกชั้นหนึ่งในคัมภีร์มหาภารตะ อ้าวว่าพระปุลัสตยะเป็นเทพองค์ที่ 4 ของดาวจระเข้) ท้าวเวสสุวรรณได้รับพรจากพรหมให้เป็นอมฤต
ท้าวเวสสุวรรณนั้น มีองครักษ์เป็น ?เฉ่าเง่อกุ้ย? (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) แปลตรงตัวว่ามีอดอยาก และเหม็น
ในทางพระพุทธสาสนา ท้าวจตุโลกบาลถือเป็นเอตทัคคะอุปัฎฐากโดยเป็นผู้ถวายอารักขาพระพุทธองค์ครั้งอยู่ในครรภ์ของพระราชนนี ในครั้งที่ตปุสสะและภัลลิกะถวายข้าวยาคู และรวงผึ้งนั้น พระพุทธองค์ ทรงปริวิตกว่า หากจะทรงรับด้วยพระหัตถ์ ก็จะเป็นการไม่เหมาะสม ครั้นท้าวจตุโลกบาททราบความในพระทัย ต่างก็ทูลเกล้าถวายบาตรแก้ว แล้วโดยพุทธานุภาพทรงรวมบาตรทั้งสี่เข้าด้วยกันแล้วจึงทรงรับบิณฑบาตดังกล่าว ท้าวเธอทั้งสี่ยังเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่พุทธสาวกในการค้ำจุนหระพุทธสาสนาอีกด้วย
ท้าวจตุโลกบาลมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อผดุงเหล่าธรรมิกชนทั้งในโลกมนุษย์ และเทวโลกโดยวันขึ้น หรือแรม 15 ค่ำ (วันอุโบสถ) ท้าวทั้งสี่จะมาตรวจโลก เพื่อสำรวจดูผู้ดำเนินในศีลจารวัตร ด้วยคตินี้ในพิธีกินผักจะมีประเพณีป้ายฐาน เพื่อรอรับท้าวเธอที่จะเสด็จมาตรวจดูคืนวันที่ 29 หรือ 30 ของ เดือน 8 ตามปฏิทิน จันทรคติจีน (ไทย แรม 15 ค่ำ เดือน 10)
เมื่อท่านได้ทราบถึงประวัติของเทพจตุโลกบาลแล้ว เชิญท่านเลือกชมบารมีเทพองค์อื่นได้ในทุกศาลเจ้าที่กล่าวมาแล้ว
ทุกศาลเจ้าในเมืองตรังย่อมมีผู้ศรัธทาที่สร้างให้ก่อเกิด หากเมื่อศรัทธาเคารพก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลอย่างคำที่มีผู้กล่าวไว้ตลอดว่า พระใครใครก็นับถือย่อมเป็นสัจจธรรม แต่ทุกศาลเจ้าที่กล่าวมาข้างต้นจะมีที่สำรับกราบไหว้เทวดาในภาษาจีน เรียกกันว่า ที่ตี้เปบ้อ หรือเทียนตี้ฟู่หมู่เป็นด่านแรก เนื่องจากเป็นการการบไหว้เทพบิดา เทพมารดา เชื่อกันว่า เป็นเทพแห่งการกำเนิดสรรพชีวิตในโลกมนุษย์ สำหรับท่านที่ตั้งใจจะถือปฏิบัติตนในช่วงประเพณีถือศีลกินผัก หรือหากท่ามีญาติมิตรมาร่วมพิธีก็ขอให้พำนักอยู่ในเมืองตรังด้วยความสวัสดิภาพ และขอให้ทุกคนเที่ยวเมืองตรังให้สนุก ได้บุญกุศลกับการเที่ยวชมสักการะให้ครบ 9 ศาลเจ้าจะถือเป็ฯมงคลแห่งชีวิตอย่างยิ่ง

ออฟไลน์ konthai2008

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 3
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ท้าวจตุโลกบาล 4
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 08 ธ.ค. 2550, 05:01:42 »
ข้อความ "มิยอมให้ธงชาติใด ปลิวไสวบนทัพฐาน แม้ร่างจะแหลกราญ แต่ไตรรงค์คงยั่งยืน" กับ กูจะกลับมากู้แผ่นดินให้พ้นภัยศัตรู
มีที่มาไหมคะ อยากทราบค่า เพราะชอบมักมัก เท่ดี รบกวนหน่อยนะคะ konthai2008@yahoo.co.th

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ท้าวจตุโลกบาล 4
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 10 ธ.ค. 2550, 09:30:22 »
ข้อความ "มิยอมให้ธงชาติใด ปลิวไสวบนทัพฐาน แม้ร่างจะแหลกราญ แต่ไตรรงค์คงยั่งยืน" กับ กูจะกลับมากู้แผ่นดินให้พ้นภัยศัตรู
มีที่มาไหมคะ อยากทราบค่า เพราะชอบมักมัก เท่ดี รบกวนหน่อยนะคะ konthai2008@yahoo.co.th

ขอตอบในนี้แล้วกัน พอดีเมล์มันส่งไม่ได้อ่ะ

"มิยอมให้ธงชาติใด ปลิวไสวบนทัพฐาน แม้ร่างจะแหลกราญ แต่ไตรรงค์คงยั่งยืน"
อันนีเอามาจากกองทัพบกอ่ะ

ส่วน กูจะกลับมากูแผ่นดินให้พ้นภัยศัตรู เป็น พระราชปณิทานของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
? เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุทธยา ครั้ง ที่2 ครับ ตอนที่ ตีฝ่าวงล้อมจากพม่าแล้ว ทรงพูดว่า"กูจะกลับมากูแผ่นดินให้พ้นภัยศัตรู"

ก็มีด้วยประการฉะนี้
นักรบ คือนักรบ นักสู้แห่งกรุงศรี ตีทัพกองอู ตายหรืออยู่ไม่สำคัญ