ผู้เขียน หัวข้อ: อกุศลเจตสิก / กุศลเจตสิก  (อ่าน 2853 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
อกุศลเจตสิก / กุศลเจตสิก
« เมื่อ: 24 ก.ย. 2553, 09:53:30 »
เจตสิก (อ่านว่า เจตะสิก) แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ

เจตสิก หมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต
อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ

            1. เกิดพร้อมกับจิต   2. ดับพร้อมกับจิต    3. มีอารมณ์เดียวกับจิต    4. อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น  สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้

 

1.  ลักษณะของเจตสิกคือ                   มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
2.  กิจการงานของเจตสิกคือ              เกิดร่วมกับจิต
3.  ผลงานของเจตสิกคือ                     รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต 
4.  เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ  การเกิดขึ้นของจิต 
 
อกุศลเจตสิก 14 1.โลภะ ความต้องการในสิ่งยั่วยุไม่รู้จักเต็ม 2.อิสสา ความริษยาในใจอยากได้เหมือนของผู้อื่น 3. มัจฉริยะ ตระหนี่หวงแหนยึดไว้แต่ผู้เดียวจนไม่เกิดคุณ 4. โทสะ ความหงุดหงิดโมโหร้ายพยาบาทหรืออาฆาต 5. อหิริกะ ความหน้าด้าน ไม่ละอายต่อการทำชั่ว 6. อโนตตัปปะ การกระทำความชั่วโดยไม่หวั่นกลัวต่อบาปกรรม 7. อุทธัจจะ ความคิดมากฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ 8. กุกกุจจะ ความกลุ้มใจ กังวลใจ กระวนกระวายใจ ร้อนใจ 9. ถีนะ ความหดหู่ เศร้าซึม ง่วงซึม จิตตก หมดกำลังทำงาน 10. มิทธะ ความท้อแท้ ถอดใจ หมดกำลังใจ 11. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในคำสอนที่จะปฏิบัติตาม 12. โมหะ ความโง่เขลา ความเข้าใจผิด เชื่อตามข้อมูลที่ผิดๆ 13. ทิฏฐิ ความเห็นที่ทำให้ตนหลงยึดติดอย่างเหนียวแน่น 14. มานะ ความหยิ่งทะนงตนจนไม่ยอมรับคำแนะนำจากใคร

กุศลเจตสิก 25 1. สัทธา มีความมั่นใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างมั่นคง 2. สติ มีสติสัมปชัญญะอยู่อย่างไม่ประมาททั้งในเวลาจุติ 3. หิริ ละอายต่อการทำชั่ว ไม่หน้าด้าน 4. โอตัปปะ เกรงกลัวต่อบาปที่จะตามมาจากการกระทำของดัว 5. อโลภะ ความโลภลดลง ไม่ต้องการตามสิ่งยั่วยุ 6. อโทสะ ความโกรธลดลง ไม่หงุดหงิดโมโหร้าย 7. ตัตรมัชณัตตตา จิตนิ่งเฝ้าสังเกตอยู่กับสิ่งที่ทำโดยไม่วอกแวก 8. กายปัสสัทธิ ผิวพรรณผ่องใส มีราศีดี ร่างกายไม่เกร็งตัว 9. จิตตปัสสัทธิ จิตใจผ่องใส สุขภาพจิตดี สบายใจ 10. กายลหุตา ตัวเบา กายเบา ร่างกายผ่อนคลายทุกสัดส่วน 11. จิตตลหุตา สบายใจ มีจิตร่าเริงเบิกบาน ไม่เคร่งเครียดในใจ 12. กายมุทุตา ร่างกายอากัปกิริยานุ่มนวลอ่อนโยน ไม่แข็งกระด้าง 13. จิตตมุทุตา จิตใจดีนุ่มนวลมีอัธยาสัยดี มีเมตตาจิต 14. กายกัมมัญญตา ร่างกายเหมาะกับงานทุกอย่าง 15. จิตตกัมมัญญตา จิตใจเหมาะกับการใช้งานทางสมอง 16. กายปาคุญญตา ร่างกายทำงานได้คล่องแคล่วว่องไว 17. จิตตปาคุญญตา มีความคิดรวดเร็วลึกซึ้งละเอียดในทุกเรื่อง 18. กายุซุกตา คล่องแคล่ว มั่นคงอยู่กับการฝึกนั้นๆได้ 19. จิตตุซุกตา จิตมุ่งตรงไปกับสิ่งที่คิดอย่างมุ่งมั่น ไม่เสียสมาธิ 20. สัมมาวาจา การพูดมีความสุภาพนุ่มนวล ไม่ไร้สาระ 21.สัมมากัมมันตะ พฤติกรรมดี ไม่ก่อโทษให้ใครๆ 22. สัมมาอาชีวะ มีการประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ทุจริตฉ้อโกง 23. กรุณา มีความสงสารและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความลำบาก 24. มุฑิตา พลอยมีใจยินดีด้วยกับผู้อื่นที่ได้ดี ไม่ริษยา 25. ปัญญา ปัญญาที่รู้ความจริงของชีวิตได้อย่างถูกต้อง

ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.abhidhamonline.org/thesis/cetasika/cetasika.htm
และเวปพลังจิต ขอบคุณครับ
หากมีคนเคยนำมาลงแล้ว ต้องขออภัยด้วย