ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับเรื่อง...การรับขันธ์-คืนขันธ์  (อ่าน 3920 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
แม่ชีทศพร 018 - ฟังไว้ใครรับขันธ์ ๑

[youtube=425,350]dds7c-SRS1Q[/youtube]
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
แม่ชีทศพร 019 - ฟังไว้ใครรับขันธ์  ๒

[youtube=425,350]fXC_SdzUMvs[/youtube]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ก.พ. 2554, 01:04:55 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
แม่ชีทศพร 023 - คำอธิษฐานคืนขันธ์

[youtube=425,350]siGRLoz6_Ps[/youtube]

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
แม่ชีทศพร 020 - กรรมของร่างทรง

[youtube=425,350]eQdfexnSGzc[/youtube]

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
แถม...........

แม่ชีิทศพร 005-วิธีการปลดหนี้

[youtube=425,350]MaLse7stuk0[/youtube]

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เกี่ยวกับเรื่อง...การรับขันธ์-คืนขันธ์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 13 มี.ค. 2554, 09:16:16 »
ขันธ์ 5 เป็นภาระหนัก

"การปฏิบัติในทาง จิตเป็นการขุดโค่นเอารากเง่าของกิเลสทั้งหลาย ด้วยปัญญาวิปัสสนาค้นคิดติดตามลงไป
เพราะเราทุกข์มาแล้วกี่ภพกี่ชาติ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารนี้ เกิดแล้ว เกิดอีก แล้วก็หลงเพลิดเพลินอีก
ก่อกรรมทำเวรแก่ตัวของเราอยู่อย่างนั้น ไม่มีทางสิ้นสุด เกิดมาแล้วก็ยังสงสัยในภพในชาติ ก็อย่างโลกเขาสงสัยกันอยู่
ค้นอย่างนั้น ค้นอย่างนี้ ตลอดค้นไปถึงดวงดาวอยู่บนท้องฟ้า ก็เพราะสงสัยอยู่นั้นเอง ทั้งที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายรู้มาก่อนแล้ว
แต่พวกเกิดมาที่ยังมีกิเลสอยู่ก็มาสงสัยอีก ตายแล้วเกิด ตายแล้วสูญ ก็มาคิดสงสัยกันอยู่อย่างนี้แหละ เลยไม่มีทางสิ้นสุด
เมื่อจิตนี้ยังมีกิเลสอยู่ทำให้มีความเวียนว่ายตายเกิด เกิดแล้วก็มีความสงสัย สงสัยในภพชาติของตน
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนว่า ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันวิจิตรตระการตา ซึ่งพวกคนเขลาหมกอยู่
แต่ท่านผู้รู้หาข้องไม่ที่เราติดข้องอยู่ก็คือเป็นคนเขลา เป็นคนที่ไม่เฉลียวฉลาดนั้นเอง ไปหลงไหลสิ่งที่ไม่ควรหลง
หาสุขแต่ก็ไปยึดเอาความทุกข์ อยากได้สุขแต่ไปสร้างกรรมที่ให้เกิดความทุกข์แก่ตัวของเราเอง
เราแสวงหาแต่สิ่งที่เป็นทุกข์แก่ตัวของเรา หาแต่สิ่งที่เป็นกังวลแก่จิตใจของเรา หาแต่สิ่งที่เดือดร้อนจิตใจของเรา
เราจึงเป็นผู้ที่เดือดร้อน เดี๋ยวก็เดือดร้อนอย่างนี้ ร้อยแปดพันอย่างที่เราจะต้องเดือดร้อน
เดือดร้อนเพราะอำนาจของกิเลสแผดเผาจิตใจของเรา เดือดร้อนเพราะกองทุกข์ที่มีอยู่ในรูปกายของเราแผดเผา
เราก็เลยมีความทุกข์ความร้อนอยู่อย่างนั้น แต่ละวันแต่ละคืนเราก็ทุกข์ เย็นมาเราก็ทุกข์ ร้อนมาเราก็ทุกข์
มีความทุกข์เป็นประจำอยู่ ทั้งที่เรามีความทุกข์ เราก็ยังหลงอยู่ในความทุกข์
สำคัญทุกข์ว่าเป็นสุข สำคัญชั่วว่าเป็นดี ก็เนื่องจากเราเป็นผู้ที่หลง

ฉะนั้นให้เรามาพิจารณาใคร่ครวญโดยปัญญาที่รอบคอบหาเหตุผล ค้นคิดติดตาม
เพื่อจะได้แก้ความหลงความเมาในภพในชาติของเรานี้ เพราะเราเมามาแล้วไม่ทราบว่ากี่ภพกี่ชาติ
หลงมาแล้วเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น ตัณหาจึงได้ชื่อว่าเป็นต้นเหตุที่ให้ก่อภพก่อชาติ
ท่านจึงว่า ยายัง ตณฺหา โปโนพฺกวิกา จิตใดที่ยังมีตัณหาอยู่จะต้องให้เกิดในภพในชาติ
ต่อๆ ไป เพราะอำนาจของตัณหานี้เอง เป็นผู้สร้างภพสร้างชาติให้แก่เรา จึงว่าเป็นตัวการที่สำคัญ
เราจะต้องกำจัดตัณหานี้ เพราะตัณหาเป็นตัวร้ายที่ทำลายความสุขของสัตว์ทั้งหลายอยู่"

จากพระธรรมเทศนาตอนหนึ่งซึ่งพระอาจารย์วัน อุตตโม
ได้แสดงแก่พระเณร เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2521

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เกี่ยวกับเรื่อง...การรับขันธ์-คืนขันธ์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 17 มี.ค. 2554, 12:25:11 »
ขันธ์ 5 คืออะไร

สรรพสิ่งทั้งหลายในอนันตจักรวาลนั้น แยกประเภทได้เป็น 3 ส่วน (ดูแผนผังด้านล่างประกอบ) คือ

1.) ส่วนที่เป็นวัตถุทั้งหลาย ได้แก่ สสารทั้งหลาย แสง สีทั้งหลาย เสียง กลิ่น รส ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง อาการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ช่องว่างต่างๆ อากาศ ดิน น้ำ ไฟ ลม สภาพแห่งความเป็นหญิง เป็นชาย เนื้อสมองและระบบของเส้นประสาททั้งหลาย อันเป็นฐานให้จิตเกิด รวมทั้งอาการแห่งความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ดับไปของวัตถุทั้งหลายด้วย
ซึ่งรวมเรียกว่ารูปขันธ์ (ขันธ์ = กอง หมวด หมู่)

2.) ส่วนที่เป็นความรู้สึกนึกคิด และความคิดทั้งหลาย รวมเรียกว่านามขันธ์ แยกได้ 4 ชนิดคือ

2.1) เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกเป็นสุขทางกาย ทุกข์ทางกาย โสมนัส(สุขทางใจ) โทมนัส(ทุกข์ทางใจ) อุเบกขาหรืออทุกขมสุขเวทนา(เป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์)

2.2) สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ คือส่วนที่ทำหน้าที่ในการจำนั่นเอง (ไม่ใช่เนื้อสมอง แต่เป็นส่วนของความรู้สึกนึกคิด เนื้อสมองนั้นจัดเป็นรูปขันธ์ เนื้อสมองเป็นเหมือนสำนักงาน ส่วนนามขันธ์ทั้งหลายเหมือนผู้ที่ทำงานในสำนักงานนั้น)

2.3) สังขารขันธ์ คือส่วนที่ปรุงแต่งจิต คือสภาพที่ปรากฎของจิตนั่นเอง เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทาน(สภาพของจิตที่สละสิ่งต่างๆ ออกไป) ความเมตตา กรุณา มุทิตา สมาธิ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ท้อถอย ความง่วง ความละอาย ความเกรงกลัว ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว เจตนาในการทำสิ่งต่างๆ ความลังเลสงสัย ความมั่นใจ ความเย่อหยิ่งถือตัว ความเพียร ปิติ ความยินดีพอใจ ความอิจฉา ความตระหนี่ ศรัทธา สติ ปัญญา การคิด การตรึกตรอง

2.4) วิญญาณขันธ์ หรือจิต คือผู้ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง คือรับรู้ความรู้สึกต่างๆ
ตั้งแต่ ข้อ 2.1 จนถึงข้อ 2.3 และเป็นผู้รับรู้ถึงส่วนที่เป็นรูปขันธ์ทั้งหลายด้วย อันได้แก่เป็นผู้รับรู้สิ่งทั้งหลาย ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง รวมถึงเป็นผู้รับรู้ในสภาวะแห่งนิพพานด้วย

3.) นิพพาน คือสภาวะที่พ้นจากรูปขันธ์และนามขันธ์ทั้งปวง
หรือสภาวะจิตที่พ้นจากความยึดมั่นผูกพันธ์ในสิ่งทั้งปวง รวมถึงไม่ยึดมั่นในนิพพานด้วย
นิพพาน = นิ + วาน (ในภาษาบาลีนั้น ว. กับ พ. ใช้แทนกันได้ วาน จึงเท่ากับ พาน)
นิ = พ้น
วาน = สิ่งที่เกี่ยวโยงไว้ ได้แก่ ตัณหาคือความทะยานอยาก และอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
นิวาน หรือนิพพาน แปลตามตัวจึงหมายถึงความพ้นจากเครื่องเกี่ยวโยง(ตัณหาและอุปาทาน) นั่นเอง

สรุปแล้วขันธ์ 5 ประกอบด้วย

1.) รูปขันธ์
2.) เวทนาขันธ์
3.) สัญญาขันธ์
4.) สังขารขันธ์
5.) วิญญาณขันธ์

โดยที่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์รวมเรียกว่าเจตสิก ซึ่งแปลว่าเป็นสิ่งที่เกิดร่วมกับจิตเสมอ (ในภาษาบาลีนั้นสระ อิ กับสระ เอ ใช้แทนกันได้ เจต จึงเท่ากับ จิต นั่นเอง) คือจิตและเจตสิกจะเกิดและดับพร้อมกันเสมอ จะแยกกันเกิดไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ เพียงแต่ว่าตอนนั้นนามขันธ์ตัวไหนจะแสดงตัวเด่นกว่าตัวอื่นเท่านั้นเอง

ที่มา http://www.geocities.com/TMCHOTE/Thumma/General/gn001.htm