ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุให้เกิดในภพ  (อ่าน 1259 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด
เหตุให้เกิดในภพ
« เมื่อ: 23 มี.ค. 2554, 10:36:55 »

      พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

ปัญหา อะไรเป็นเหตุให้สัตว์เกิดในภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ?

พุทธดำรัส ตอบ “..... ดูก่อนอานนท์ เมื่อกรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุ.... ในรูปธาตุ.... ในอรูปธาตุจักไม่มีแล้ว กามภพ... รูปภพ.... อรูปภพ พึงปรากฏบ้างหรือหนอ (เมื่อพระอานนท์ทูลตอบว่า ไม่พึงปรากฏเลย ได้ตรัสต่อไปว่า) ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณ.... เจตนา ความปรารถนาประดิษฐานแล้วเพราะธาตุอย่างเลว... อย่างกลาง... อย่างประณีต... ของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดใหม่ในภพต่อไปอีก.

นวสูตร ติ. อํ. (๕๑๖)
ตบ. ๒๐ : ๒๘๗-๒๘๘ ตท. ๒๐ : ๒๕๒-๒๕๓
ตอ. G.S. I : ๒๐๓-๒๐๔



ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เหตุให้เกิดในภพ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 23 มี.ค. 2554, 02:02:40 »
กามภพ ได้แก่ ภพอันเป็นที่เกิดอยู่ของหมู่สัตว์ผู้มีใจยังติดข้องเกาะเกี่ยวอยู่กับกามคุณ ๕ คือ ยังมีจิตเพลิดเพลินยินดีกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งกระทบกาย) ที่น่ารักใคร่น่าพอใจ หมู่สัตว์ที่เกิดอยู่ในกามภพมีทั้งที่อยู่ในสุคติภูมิและทุคติภูมิ ที่เกิดอยู่ในทุกคติภูมิได้แก่สัตว์ผู้เข้าถึงคติ ๓ คือ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน และเปตวิสัย ที่เกิดอยู่ในกามสุคติได้แก่สัตว์ที่เกิดในกำเนิดของมนุษย์ และเกิดเป็นเทวดาในกามวจรสวรรค์ ๖ ชั้น คือสวรรค์ชั้นจาตุมมหาริชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี

รูปภพ ได้แก่ ภพอันเป็นที่เกิดและอาศัยอยู่แห่งรูปพรหมในภูมิทั้ง ๔ คือ รูปพรหมในพรหมโลกหรือสวรรค์ชั้นปฐมฌานภูมิ (ภูมิของผู้ได้รูปฌานที่ ๑) ชั้นทุติยภูมิ (ภูมิของผู้ได้รูปฌานที่ ๒) ชั้นตติยภูมิ (ภูมิของผู้ได้รูปฌานที่ ๓) และชั้นจตุตถฌานภูมิ (ภูมิของผู้ได้รูปฌานที่ ๔ ) รูปภพนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ารูปาวจรสวรรค์ รูปภพหรือรูปาวจรสวรรค์นี้จัดเป็นสุคติภพ ผู้เกิดอยู่ในรูปภพรวมอยู่ในสิ่งมีชีวิตประเภทเทวดาของคติ ๕

อรูปภพ ได้แก่ ภพอันเป็นที่เกิดและอาศัยอยู่แห่งอรูปพรหม ๔ ประเภท คือ อรูปพรหมที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ อรูปพรหมทั้ง ๔ ประเภทดังกล่าวนี้ เกิดและอาศัยอยู่ในอรูปาวจรสวรรค์ที่มีชื่ออย่างเดียวกับชื่อของพรหม อรูปาวจรสวรรค์ทั้ง ๔ บางทีก็เรียกว่าอรูปโลก แปลว่าโลกอันเป็นที่เกิดและอาศัยอยู่ของหมู่สัตว์ผู้ไม่มีรูปร่าง รายละเอียดในเรื่องนี้จะได้กล่าวถึงในอันดับต่อไป หมู่สัตว์ผู้เกิดอยู่ในอรูปภพก็รวมอยู่ในสิ่งมีชีวิตประเภทเทวดาของคติ ๕ เช่นกัน และภพนี้ก็จัดเป็นสุคติภพ

ที่มา อ่านเพิ่มเติม
http://www.thailandlet.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=35&Category=thailandletcom&thispage=1&No=329766
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มี.ค. 2554, 02:03:41 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เหตุให้เกิดในภพ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 23 มี.ค. 2554, 02:43:41 »
เรามาเตรียมตัวตายกันเถอะ


เมื่อเราจะสิ้นใจ เราเตรียมอะไรไม่ได้หรอก
ต้องเตรียมกันตั้งแต่ยังตื่นๆอยู่นี่
ส่วนใหญ่ถามเรื่องเทคนิคการเตรียมสิ้นใจ
แต่ไม่เข้าใจว่ากระบวนการสิ้นใจแท้ๆนั้น

ขณะหัวเลี้ยวหัวต่อจะมีกรรมที่นำไปเกิด เรียกว่า ชนกกรรม
โดยมากชนกกรรมเป็นกรรมที่ทำมาเป็นประจำ
ทำจนเคยชินเป็นนิสัย อย่างที่เรียกว่า อาจิณณกรรม
พูดง่ายๆว่าเคยทำดีมาเป็นนิตย์ ก็ได้ชนกกรรมฝ่ายดีเป็นตัวนำไปเกิด
แต่ถ้าเคยทำชั่วมาเป็นนิตย์ ก็ได้ชนกกรรมฝ่ายชั่วเป็นตัวนำไปเกิดแทน
ท่านถึงเรียกอาจิณณกรรมอีกอย่างหนึ่งว่า พหุลกรรม
โดยที่ พหุล แปลว่าหนาหรือมากนั่นเอง

อาจิณณกรรมของแต่ละคน โดยมากไล่ลำดับความสำคัญลงมา
นับแต่อาชีพที่ทำ สิ่งที่ครุ่นคิดเป็นประจำ คำที่พูดอยู่ทุกวัน กิริยาที่แสดงเป็นปกติ
รวมแล้วอาจมีหลายหลาก แต่ประมวลแล้ว จะได้ภาพออกมาภาพหนึ่ง
คือดีหรือเลว
มีน้ำหนักชัดอยู่ ต้องเอียงไปทางใดทางหนึ่ง ที่ช้ำเลือดช้ำหนอง ตรงกลางเป๊ะนั้นไม่มี
ฉะนั้น จะเตรียมตาย ไม่ใช่เตรียมตัวจะตั้งท่าตายยังไง
แต่ทำตัวเป็นปกติอย่างไรต่างหาก
คือที่ทำๆอยู่ทุกวันนี้แหละ คิดยังไง พูดยังไง ทำยังไง
เป็นการเตรียมตัวเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ เปลี่ยนชีวิตทั้งสิ้น

ส่วนการเตรียมการสำทับเข้าไป
เช่นระลึกถึงว่า วันหนึ่งเราจะต้องตาย
ตอนนอนก็ได้ ทอดกายไปนิ่งๆ รู้สึกว่าตอนเข้าโลง มันก็อยู่ในอาการนี้
แล้วระลึกให้ออก ว่าเราใช้กายนี้สร้างทำอะไรดีๆมาบ้าง
ถ้าระลึกอย่างนี้ก่อนนอนทุกคืน ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท มีการเตรียมตัวตายไว้ล่วงหน้า
เพราะจิตที่สั่งสมอาการอย่างนี้ไว้ชินแล้ว เมื่อถึงเวลา ก็จะนึกอย่างนี้เองโดยอัตโนมัติ

มีบ้าง ที่ชนกกรรมอาจเป็นการลงมือทำ หรือพูด หรือคิดขณะจวนเจียนตาย
อย่างที่เรียกว่า อาสันนกรรม คืออาจทำครั้งเดียวในชีวิต
แต่ไปทำขณะตาย ก็กลายเป็นชนกกรรมไปได้เหมือนกัน
เช่นเห็นพระตอนกำลังจะสิ้นใจ เกิดโสมนัสขึ้นมา ด้วยคิดว่าเป็นที่พึ่ง สรณะของเรา...
แค่นี้ก็ให้ผลได้เหมือนกัน แต่น้อยราย
คนเราไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงตัวเมื่อไหร่
เพราะฉะนั้นหมั่นคิดดีไว้ทุกๆขณะจิต คิดดีให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เผื่อแจ็คพ็อต เผอิญต้องพบกับมัจจุราชโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว
จะได้เป็นประกันให้อุ่นใจว่ากรรมก่อนตายมีโอกาสเป็นอกุศลน้อยลง

แล้วก็มีบ้าง ที่ชนกกรรมอาจเป็นกรรมหนัก คือทำครั้งเดียวในชีวิต
แต่จะส่งผลแน่นอน อย่างที่เรียกว่า ครุกรรม
โดยมากจะเป็นที่รู้กันว่าเอียงไปทางกรรมด้านอกุศล
อย่างเช่นอนันตริยกรรม ซึ่งเป็นกรรมประเภทตัดทางสวรรค์นิพพาน
เมื่อลงมือทำไปแล้ว แม้จะเพียงครั้งเดียวในชีวิต
ต่อให้ทำดีแค่ไหน ก็ไปดีไม่ได้ รับวิบากดีไม่ได้ ต้องไปนรกก่อน
แถมเป็นนรกชั้นที่ให้ผลเดือดร้อนไม่เว้นระยะ

อนันตริยกรรมได้แก่ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำพระพุทธเจ้าห้อเลือด และทำให้สงฆ์แตกแยก
กรรมหนักที่ให้ผลใกล้เคียงกับอนันตริยกรรม
ก็เช่นเห็นใครคุยกันเรื่องมรรคผลนิพพาน ก็เกิดความรุ่มร้อนริษยา
พูดจาบั่นทอนกำลังใจ ว่ายังไงก็ไปไม่ถึง
เขาทำถูกทางอยู่แล้ว ก็เกิดอยากจะทำให้เขาเขวจากทาง ทำให้เขาไม่เชื่อว่าเขาจะถึงได้
ทำนองว่าตูยังดูทีวี ยังละกิเลสไม่ได้
ก็คิดว่าคนทั้งโลกคงยังต้องดูทีวี ยังละกิเลสไม่ได้ในชาตินี้เหมือนตูนั่นเอง
เมื่อพูดจาให้เขาเขว หรือแสดงทางที่หลงจนเขาเชื่อ
ก็ได้ชื่อว่าฆ่าว่าที่อริยเจ้า พรากเขาจากมรรคผลนิพพาน
ฉะนั้นใครเข้ามาสังสรรค์เสวนาในลานธรรมฯ จะระวังๆตัวไว้บ้างก็ดี
ไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเงียบไว้
ยังไม่แน่ใจอะไร ยังไม่รู้คำตอบแจ้งชัดด้วยประสบการณ์ตรง
ก็อย่าเพิ่งค้าน หรือให้คะแนนคนโน้นคนนี้เหมือนตรวจข้อสอบวิชาทางโลก
เพราะพูดไปแล้วเอาคืนไม่ได้
คนอ่านไปแล้ว เขวไปแล้ว บางทีอาจลื่นหลุดออกจากมรรคไปเลย
ทั้งที่เขาก็อยู่ต้นทางแล้ว

 

วาระสุดท้ายของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ทุกชั้นวรรณะ ทุกระดับชั้น ทุกตำแหน่งหน้าที่การงาน ต่างตกอยู่ภายใต้กฏแห่งกรรมที่เหมือนกัน คือ การสิ้นสลายของรูปร่างกาย หรือ “การตาย” นั่นเอง มนุษย์แทบทุกคนจะกลัวตาย และไม่มีใครอยากตาย

ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วย ได้มีโอกาสศึกษาถึงเรื่อง กิเลส และการตายบ้าง จะรู้ว่า กิเลสและการตายยังผูกโยงไปถึงการเกิดใหม่อีกด้วย เนื่องจากถ้าเราเสียชีวิตลง แต่ยังมีกิเลสเหลืออยู่ กิเลสเหล่านั้นคือเชื้อหรือสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดใหม่ตามกระแสของบุญหรือบาปที่แต่ละบุคคลได้เคยทำไว้ ดังนั้น การตายสำหรับบางคน จึงเป็นเพียงการถอดเสื้อผ้าชุดเก่าที่ขาด เปื่อยยุ่ย ไม่สามารถปะชุนได้อีก ด้วยความชราภาพ หรือถูกโรคร้ายกัดกินทำลาย แล้วหาเสื้อผ้าชุดใหม่ หรือร่างใหม่ ดำเนินชีวิตต่อไปตามกระแสของกรรม

การพิจารณาความตาย การมีสติรู้เท่าทันความตาย เป็นอุบายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญ ไว้มากยิ่งนัก หากผู้ฝึก ผู้ป่วยได้ฝึกปฏิบัติทดลองตายก่อนตายจริง จะเป็นการช่วยให้ผู้นั้นไม่กลัวตาย กล้าเผชิญหน้ากับความตายที่มาถึงได้อย่างกล้าหาญ

วิธีปฏิบัติ
ก่อนอื่น ผู้ฝึก ผู้ป่วย ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่าอุบายวิธีนี้เป็นการทดลองฝึก “ตาย” ก่อนตายจริง ไม่ใช่การฆ่าตัวตาย เนื่องจากสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ฝึก คือการตายหลอกที่จะให้ความรู้สึกเหมือนกับการตายจริง

8.1 ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย คลายอารมณ์ปล่อยความรู้สึกนึกและคิดที่เป็นอนาคต อดีต ปัจจุบัน รวมทั้งความดี ความชั่ว ฯลฯ ให้ออกไปพร้อมกับลมหายใจออกเป็นความว่างสักระยะหนึ่ง

8.2 ลำดับต่อมา ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย นึกมาที่ฐานอารมณ์ในโพรงจมูก  จะเห็นว่าจุดฐานอารมณ์ จะอยู่ประมาณกึ่งกลางในโพรงจมูก หรืออยู่ระหว่างกลางของต่อมไซนัสทั้ง 2 ข้างหรือจุดที่ผู้ฝึกเคยรู้สึกคัดจมูกในเวลาที่เป็นหวัด

8.3 ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย วางหรือจี้ความรู้สึก (จิต) ลงที่ฐานอารมณ์ซึ่งหาไว้ได้แล้ว กำหนดจี้ลงไปที่ฐานเดียว ไม่เคลื่อนความรู้สึก (จิต) แส่ส่ายออกไปที่อื่นๆ พร้อมทั้งกำหนดว่า ตาย ตาย ตาย และสร้างความรู้สึกว่าพร้อมแล้วที่ตาย ไม่เสียหายชีวิตเพราะทุกคนหนี “ความตาย” ไม่พ้น

8.4 หลังจากกำหนด ตาย ตาย ตาย ไปสักระยะหนึ่ง ผู้ฝึกและรู้สึกว่าลมหายใจเข้า-ออก ได้ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนรู้

สึกอึดอัด หูอื้อ จมูกจะห่อ ตาถูกบีบเหมือนจะถลนออกมา รู้สึกชา และเจ็บปวดไปทั่วร่างกาย ผู้ฝึกจะรู้สึกกลัวตาย ครองสติให้มั่นคง และยอมตาย ลมหายใจจะค่อยๆ อ่อนลงๆ ความดำมืดจะแผ่คลุมไปทั่วไป จนผู้ฝึกหมดความรู้สึกไปในที่สุด เหมือนกับการตายจริง

8.5 สำหรับผู้ฝึก ผู้ป่วย บางท่านที่มีความเจ็บปวดมากเพราะโรคร้ายกำลังลุกลาม ให้ผู้ฝึกให้จุดเจ็บปวดเหล่านั้น เป็นฐานกำหนดมรณานุสสติ แทนฐานอารมณ์ โดยการจี้ความรู้สึก (จิต) ลงไปที่ความเจ็บปวดนั้นๆ และกำหนด ตาย ตาย ตาย ความรู้สึก (จิต) ตั้งมั่นอยู่ที่ฐานเดียว ไม่หนีไปที่อื่นๆ ความเจ็บปวดทรมานจะเพิ่มมากขึ้นๆ จนรู้สึกหูอื้อ ตาลาย หายใจอึดอัด ฯลฯ ความดำมืดแผ่ซ่านเข้าไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย ให้ยอมตาย อย่าแอบสืบลมหายใจเข้า จนกระทั่งความรู้สึกจะดับวูบไป

8.6 ผู้ฝึก ผู้ป่วย จะผ่านการดับของเวทนา ซึ่งไม่ใช่การตายที่เกิดเพราะหมดลมหายใจ คือไม่มีก๊าซออกซิเจนไหลเข้าสู่ร่างกายอีกต่อไป และหัวใจหยุดทำงาน การดับในครั้งแรกๆ ผู้ฝึกจะรู้สึกว่าทรมานมากและแต่ละบุคคลให้เวลาของการดับมากน้อยแตกต่างหัน เมื่อผู้ฝึก ผู้ป่วย เริ่มรู้สึกตัว ฟื้นคืนกลับมา จะรู้สึกเย็น โล่ง สบาย แสงสว่างปรากฏอยู่ทั่วร่างกาย และในขณะนั้น ผู้ฝึก ผู้ป่วยจะยังคงไม่มีลมหายใจ เข้า-ออก เช่นเดียวกับก่อนจะเกิดการดับแต่ไม่ตายหลับมีแต่ความสดชื่น ความเจ็บปวดทรมานหมดสิ้นไป

คุณประโยชน์
1. ผู้ฝึก ผู้ป่วย มีโอกาสได้สัมผัส และเห็นขั้นตอนของการดับซึ่งเหมือนกับการตายได้อย่างละเอียดชัดเจน ในชีวิตประจำวันร่างกายของทุกคนจะมีการเกิดและดับอยู่ ทุกๆ 1 วินาที นับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเร็วมาก จนจิตมนุษย์ทั่วๆ ไปตามไม่ทัน ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วยได้รู้ซึ้งถึงความไม่เที่ยงของร่างกาย ไม่ยึดติดในขันธ์ 5 ได้แก่ รูป คือร่างกาย, เวทนาคือความรู้สึกทุกข์ สุข เฉย, สัญญาคือความจำได้ และวิญญาณคือ ตัวรู้ สภาพรู้ เกิดการปล่อยวาง ผู้นั้นมีโอกาสที่จะเข้าถึงธรรมได้

2. ผู้ฝึกที่มีความเจ็บปวดมาก หรือเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ยาก ถ้าสามารถกำหนด ตาย ตาย ตาย ให้ผ่านจุดดับไปได้ โรคภัยทุกชนิดจะหายหมดไปด้วยเช่นกัน นับได้ว่าเป็นยาขนานเอกเลยทีเดียว

3. ถ้าผู้ฝึก สามารถผ่านจุดดับไปได้ ผู้ฝึกจะไม่กลัว “ความตาย” เพราะสามารถเอาชนะความตายมาได้แล้วด้วยการทดลองตายก่อนตายจริง และเมื่อถึงคราวสิ้นอายุขัย ผู้นั้นจะสามารถเผชิญกับความตายอย่างกล้าหาญและมีสติ จะไม่มีพญามัจจุราชหรือยมทูตมาปรากฏให้เห็น

ข้อเสนอแนะ
ความเจ็บ ความปวด หรือภาวะที่รู้สึกอึดอัดเหมือนหายใจไม่เข้า เป็นการลวงหลอกของขันธ์ 5 ชักจูง ดึงจิตของผู้ฝึกให้ไขว้เขวไม่ตั้งมั่น เช่น จะถูกดึง ชักนำให้เลิกฝึกบ้าง ให้แอบสืบลมหายใจสักนิดเดียว ผู้ฝึกต้องตั้งสติให้มั่นคง สร้างความรู้สึกที่ถูกต้องก่อนว่า ขณะนี้ตนเองยังมีลมหายใจเข้า-ออกเป็นปกติ ไม่ได้เอามืออุดจมูก บีบจมูก หรือใช้วัสดุใดๆมาปิดจมูกไม่ให้ก๊าซออกซิเจนไหลเข้าสู่ร่างกาย สิ่งที่ผู้ฝึกได้กระทำคือ เพียงแต่จี้ความรู้สึก (จิต) ลงที่ฐานอารมณ์ ซึ่งเป็นทางผ่านของลมหายใจเข้าและหายใจออกเท่านั้น เมื่อจิตอยู่ในอารมณ์สมาธิ คือ ตั้งมั่น ตั้งใจทำ จะส่งผลให้ลมหายใจเข้า-ออกตามปกติ ค่อยๆ ช้าๆ ลงจนสัมผัสไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ไม่มีลมหายใจเข้า-ออกอีกเลย สิ่งที่หมดไปหรือหยุดไปหรือดับไป คือความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉย ที่อาศัยการเกิดขึ้นหรือปรุงแต่งจากการมีลมหายใจเข้า-ออกต่างหาก

อุปสรรค
1. ความกลัวตาย ที่จะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ตลอดเวลา

2. ถ้ากดหรือจี้ความรู้สึก (จิต) ลงไปที่ฐานอารมณ์ เป็นจังหวะๆๆ จะเป็นการส่งความรู้สึก (จิต) เข้าไปชนที่ฐาน ไม่ใช่การจี้หรือการนิ่งที่ฐาน ซึ่งเป็นการส่งความรู้สึก (จิต) ไปชนที่ฐานเป็นจังหวะๆๆ นั้น จะทำให้เกิดพลังงาน คือแสงสว่างปรากฏขึ้นในโพรงจมูก หรือที่ฐานอารมณ์ หรือกล่าวได้ว่า ผู้ฝึกทำผิดวิธีนี้ จะไม่เห็นการดับ
 
ที่มา http://www.oknation.net/blog/doyourbest/2009/12/18/entry-1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มี.ค. 2554, 02:44:12 โดย ทรงกลด »