ผู้เขียน หัวข้อ: ชุดรับมือภัยพิบัติ  (อ่าน 1648 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Gearmour

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1204
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • ลานพิศวง
ชุดรับมือภัยพิบัติ
« เมื่อ: 28 มี.ค. 2554, 07:51:52 »
ด้วยความเคารพครับ
   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (แต่ขอให้เชื่ออย่างหนึ่งนะครับ
โลกเบี้ยวๆใบนี้ยังไม่แตกหรอกครับ เรามาแค่ครึ่งทางเองครับ)
รวมถึงภัยพิบัติที่เกิดทำให้ผมนึกถึงบทความในเวปคนรักมีดขึ้นมา
ขออนุญาตมาโพสในที่นี้ครับ
ชุดรับมือภัยพิบัติ

ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง

แผ่นดินไหว น้ำท่วม และภัยพิบัติอื่นๆ สามารถสร้างความเสียหายแก่ชีวิตได้ การช่วยเหลืออาจเข้าไม่ถึง การขนส่งถูกตัดขาด และถนนอาจถูกกีดขวาง ในบางกรณี คุณอาจถูกบังคับให้อพยพ จงพร้อมที่จะรับมือสถานการ์แบบนี้ด้วย ชุดรับมือภัยพิบัติ

น้ำ
เตรียมน้ำประมาณ 4 ลิตรต่อคนต่อวัน (1 US gallon = 3.7854118 liter/ผู้แปล) เก็บน้ำไว้ในภาชนะพลาสติกเช่น ขวดน้ำเปล่า ขวดน้ำอัดลมขนาด 1.5 -2 ลิตร หลีกเลี่ยงการการใช้ภาชนะจะบุบสลายหรือแตกได้ - ขวดแก้ว กระปุก...
ใช้น้ำเพื่อสุขลักษณะ เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ เราไม่ควรที่จะอดน้ำ ดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน (1 US quart = 0.946353 liter/ผู้แปล) จนกว่าน้ำจะหมด แล้วจึงมองหาแหล่งน้ำอื่นต่อไป

อาหาร
สำรองอาหารที่เน่าเสียยากในปริมาณที่รับประทานได้อย่างน้อยสามวัน (อาหารกระป๋อง อาหารแห้ง ฯลฯ/ผู้แปล) เลือกอาหารที่ไม่จำเป็นต้องแช่เย็น ปรุงให้สุก หรือต้องมีการเตรียม และเลือกอาหารที่มีขนาดเล็กและเบา ถ้าอาหารนั้นจำเป็นต้องปรุงให้สุก อย่าลืมแอลกอฮอล์กระป๋อง (Sterno เป็นเครื่องหมายการค้า ของแอลกอฮอล์แบบกระป๋องที่ใช้อุ่นอาหาร แบบเดียวกับตามงานเลี้ยงบุฟเฟ หรือ ร้านอาหาร/ผู้แปล)

ข้อเสนอแนะ
• อาหารกระป๋องพร้อมรับประทาน เช่นเนื้อ ผลไม้และผัก
• อาหารกระป๋องจำพวก น้ำผลไม้ นม ซุป(ถ้าเป็นซุปผง อย่าลืมสำรองน้ำเพิ่มเติม) เครื่องปรุงหลัก น้ำตาล เกลือ พริกไทย
• อาหารให้พลังงานสูงพวก เนยถั่ว เยลลี่ แครกเกอร์ ถั่วต่างๆ ธัญพืชอัดแท่ง เอนเนอจีบาร์(แบบที่นักกีฬาใช้/ผู้แปล)
• อาหารลดความเครียด เช่น คุ๊กกี้ ขนมหวาน ซีเรียลหวาน
• วิตามินต่างๆ
• ขวด โหล กล่องเก็บอาหาร
• เก็บอาหารเหล่านี้ในภาชนะที่หยิบฉวยได้ง่าย เช่น เป้สนาม กระเป๋ากีฬา หรือถังแบบมีฝาปิด

ชุดปฐมพยาบาล
เตรียมไว้สองชุด ชุดหนึ่งในรถและอีกชุดที่บ้าน
หนึ่งชุดประกอบด้วย
• พลาสเตอร์ปิดแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วคละขนาด
• ผ้าก๊อซขนาด 2 นิ้ว (4-6 ชิ้น)
• ผ้าก๊อซขนาด 4 นิ้ว
• เทปยึดแผลสำหรับคนแพ้ง่าย
• ผ้าสามเหลี่ยม (3 ผืน)
• ผ้าพันแผลขนาด 2 นิ้ว (3 ม้วน)
• ผ้าพันแผลขนาด 3 นิ้ว
• กรรไกร
• ปากคีบ
• เข็มเย็บแผล
• กระดาษทำความสะอาดแบบเปียก (แบบที่เป็นซองหรือกระป๋องสำเร็จ/ผู้แปล)
• ยาฆ่าเชื้อ/ ยาปฏิชีวนะ
• ปรอทวัดไข้
• ไม้กดลิ้น (2 อัน)
• วาสลีนหรือสารหล่อลื่นอื่นๆ
• เข็มกลัดซ่อนปลายคละขนาด
• สบู่ก้อน/เหลวสำหรับทำความสะอาด
• ถุงมือยาง (2 คู่)
• ครีมกันแดด
• แอสไพริน หรือยาแก้ปวด
• ยาแก้ท้องเสีย
• ยาลดกรด
• ยากระตุ้นให้อาเจียน (Ipecac syrup เป็นยาที่นิยมใช้ในเด็ก โดยยามีส่วนประกอบเป็น alkaloid ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นให้เกิดการอาเจียนคือ cephalin และ emetine โดยอาจมียานี้ที่บ้านและควรให้เด็กกินยานี้ภายใน 1 ชั่วโมงหลังกินสารพิษ

Doses
เด็ก 6-12 เดือน : 10 ml ตามด้วยน้ำหรือน้ำผลไม้ ประมาณ 15 ml/Kg
เด็ก 1ปี -12 ปี : 15-30 ml ตามด้วยน้ำหรือน้ำผลไม้ ประมาณ150-240 ml
เด็ก >12 ปี : 30-60 ml ตามด้วยน้ำหรือน้ำผลไม้ ประมาณ 240-480 ml
เมื่อกินยาแล้วเด็กจะอาเจียนภายใน 15 นาที ถ้าไม่อาเจียนให้ซ้ำอีก 1 ครั้งในขนาดเท่าเดิมภายใน 20 นาที

Indication
1. ในเด็กที่รู้ตัวดี
2. เด็กที่ อายุ เกิน 6 เดือน
3. กินสารพิษไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงและแนะนำให้เป็น first aid treatmentขณะอยู่ที่บ้าน ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

Contraindication
1. มีโอกาสเสี่ยงต่อการสำลักสูง
2. กินสารที่เป็นกรด ด่าง (corrosive agents), hydrocarbon หรือ กินยาที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการชักเช่น tricyclic antidepressant
3. มีอาการ Upper GI hemorrhage หรือปัญหาเลือดออกง่าย
4. มีปัญหาความดันโลหิตสูง หรือ มี Malignant cardiac arrhythmias
5. อายุต่ำกว่า 6 เดือน / คำแนะนำเพิ่มเติม http://www.rcped-thai.org/act26.html /ผู้แปล)

• ยาถ่าย/ยาระบาย
• คาร์บอนต์เม็ด ใช้ดูดซับพิษในระบบทางเดินอาหาร (ให้ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์)
ติดต่อกาชาด โรงพยาบาล หรือสาธารณสุข ใกล้บ้านท่านเพื่อรับหนังสือคำแนะนำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

(สำหรับคาร์บอนเม็ดและยากระตุ้นให้อาเจียน ให้ใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะการกลืนสารพิษแต่ละชนิดมีการปฏิบัติต่างกัน บางชนิดต้องให้อาเจียนออกมา บางชนิดถ้าอาเจียนจะเป็นอันตรายต่อทางเดินอาหาร ฯลฯ/ผู้แปล)

อุปกรณ์และเครื่องมือ
• คู่มือเตรียมตัวรับเหตุฉุกเฉิน (SAS Survival Handbook: How to Survive in the Wild, in Any Climate, on Land or at Sea/ผู้แปลใช้เล่มนี้)
• วิทยุแบบใช้ถ่าน และถ่านสำรอง
• ที่เปิดกระป๋องแบบไม่ใช้ไฟฟ้า, มีดสารพัดประโยชน์ (Victorinox, Leatherman, etc../ผู้แปล)
• เครื่องดับเพลิงขนาดเล็ก ใช้ได้กับไฟคลาส A-B-C
( Class A rating: ใช้กับไฟขนาดเล็ก ไม้ กระดาษ ผ้า ยาง
Class B rating: ใช้กับไฟขนาดเล็ก น้ำมัน ของเหลวติดไฟ
Class C rating: ใช้กับไฟขนาดเล็ก อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังจ่ายไฟอยู่ / ผู้แปล)
• เต๊นท์สามเหลี่ยม (ลักษณะเดียวกับที่ใช้เวลาไปร.ด./ผู้แปล)
• คีม
• เทปติดของ
• เข็มทิศ
• ไม้ขีดไฟในกล่องกันน้ำ
• ฟอยล์อลูมิเนียม
• พลุสัญญาณ
• กระดาษและดินสอ
• เข็มและด้าย
• หลอดหยดยา
• ประแจ ใช้ขันปิดวาลว์ก๊าซ วาล์วน้ำ
• นกหวีด
• ผ้าพลาสติก

เสื้อผ้าและอุปกรณ์รองนอน
สำรองเสื้อผ้าและรองเท้าสำหรับผลัดเปลี่ยนอย่างน้อยหนึ่งชุดต่อหนึ่งคน
• รองเท้าบูทลุยน้ำ
• อุปกรณ์กันฝน ร่ม เสื้อฝน (ผ้าปันโจของทหาร ถือเป็นอุปกรณ์ที่ควรมี /ผู้แปล)
• ผ้าห่มหรือถุงนอน คนละหนึ่งชุด
• หมวกและถุงมือ
• ชุดชั้นในแบบเก็บความอบอุ่นได้ดี (ผ้าฝ้ายหรือขนสัตว์ แบบแนบตัว/ผู้แปล)
• แว่นกันแดด

อุปกรณ์รักษาความสะอาด
• กระดาษชำระ
• สบู่ สารทำความสะอาด
• เครื่องใช้ส่วนตัวของผู้หญิง /ผ้าอนามัย
• เครื่องใช้ส่วนตัว แชมพู สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาดับกลิ่นตัว หวี แปรง ลิปมัน
• เสียม พลั่ว จอบ ขนาดเล็ก เพื่อขุดหลุมถ่าย
• ถุงดำ และเชือดรัด
• ถังพลาสติกแบบมีฝา
• ยาฆ่าเชื้อโรค
• สารฟอกผ้าขาวชนิดคลอรีน

สิ่งของพิเศษ
อย่าลืมสิ่งของจำเป็นสำหรับสมาชิกในครอบครัว เช่น ทารก สตรีมีครรถ์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ
• ทารก
• อาหารสำหรับทารก
• ผ้าอ้อม
• ขวดนม
• นมผง
• ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น
• ผู้สูงอายุ
• ยารักษาโรคหัวใจและความดัน
• อินซูลิน
• ยาประจำตัว
• ฟันปลอม
• เครื่องหย่อนใจอื่นๆ
• หนังสือสีและสีเทียนสำหรับเด็ก
• เกมส์
• หนังสือ

เอกสารสำคัญ
เก็บเอกสารเหล่านี้ในภาชนะกันน้ำ
• พินัยกรรม กรมธรรม์ประกันภัย สัญญา โฉนด ใบหุ้นและตราสารหนี้
• หนังสือเดินทาง บัตรประกันสังคม ประวัติการฉีดวัคซีน (ประวัติการรักษาพยาบาล ถ้ามี/ผู้แปล)
• สมุดบัญชี สมุดเช็ค เลขที่บัญชีธนาคารต่างๆ
• เลขบัญชีบัตรเครดิตต่างๆ
• บัญชีทรัพย์สิน หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
• เอกสารของครอบครัว สูติบัตร ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส มรณะบัตร

คำแนะนำในการเก็บรักษา
เก็บชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินนี้ไว้ในที่สะดวกและปลอดภัย ทุกคนในบ้านรู้ที่เก็บ ถ้าเป็นไปได้เก็บในที่เย็น แห้ง และไม่ถูกแสงแดด เก็บชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินขนาดย่อมไว้ในรถ เก็บรายการต่างๆเหล่านี้ หรือกลุ่มของสิ่งของไว้ในภาชนะกันน้ำ กันอากาศเข้า เปลี่ยนน้ำและอาหารที่สำรองไว้ทุกๆ 6 เดือนเพื่อให้ใหม่อยู่เสมอ เปลี่ยนถ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าสม่ำเสมอ และสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรถึงวิธีการเก็บรักษายาและเครื่องมือแพทย์ที่ถูกต้อง

ถ้ามีตรงไหนที่แปลผิดพลาด เขียนตกหล่น หรือพิมพ์ผิด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

ผมนำมาจากที่นี้ครับ
 http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=167


ขอแสดงความนับถือ

Gearmour

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ชุดรับมือภัยพิบัติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 29 มี.ค. 2554, 09:47:04 »
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ arada

  • เรียนๆ รักๆ ปากกาถูกลัก ไม่พักเรียน
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1111
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - nuk_b@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ชุดรับมือภัยพิบัติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 29 มี.ค. 2554, 11:35:09 »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากครับผม
ธรณีนี่นี้             เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์    หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร     เราชอบ

เรา บ่ ผิดท่านมล้าง    ดาบนั้นคืนสนอง