ผู้เขียน หัวข้อ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ  (อ่าน 3682 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 04:09:24 »
ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ

         ลักษณะที่จิตเข้าสงบจดจ่ออยู่ในจุดใดจุดหนึ่งในกายเป็นเอกัคคตารมณ์อยู่ในเฉพาะจุดเดียว เรียกว่า สมถะ อันจิตของคนเรานี้ย่อมมีอารมณ์มาก เที่ยวไปตามอารมณ์ต่างๆ ไม่อยู่คงที่ จิตของผู้ไม่ได้อบรมสมถะจะไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่รู้รสของความสุขที่เกิดแต่ความสงบ สมถะนี้ไม่เกิดเฉพาะแก่ผู้ฝึกหัดสมถะเท่านั้น แต่เกิดแก่คนทั่วไปก็ได้ในบางกรณี พึงเห็นเช่นเมื่อเราได้ประสบอารมณ์อะไรเข้า ซึ่งพอจะกระตุ้นเตือนใจที่กำลังฟุ้งซ่านให้หดตัวเข้ามาจดจ่ออยู่ในอารมณ์เดียว มีได้เห็นคนตายเป็นตัวอย่าง ซึ่งถ้าไม่มีความกลัวแล้ว จิตในขณะนั้นจะเลิกถอนจากอารมณ์ต่างๆ ที่กำลังคิดสอดส่ายอยู่นั้น เข้ามารวมอยู่ในเรื่องตายอันเดียวด้วยความงงงันแล้วจะน้อมเข้ามาหาตน ปลงธรรมสังเวชสงบอยู่ นี่คือสมถะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ

         ส่วนสมถะที่เกิดขึ้นด้วยการฝึกหัด หมายถึงการปรารภกรรมฐานบทใดบทหนึ่งเป็นอารมณ์ จนจิตได้เข้าประสบกับอารมณ์ของกรรมฐานนั้นๆ และนำให้จิตรู้สึกนึกคิดพิศวงงงงันอยู่ในอารมณ์อันเดียว มีอุปมาเหมือนคนเดินทาง ขณะเมื่อสะดุดก้อนหินหรือท่อนไม้ถึงกับแตกเจ็บปวดเป็นกำลัง จิตก็จะถอนจากความเพลินและสอดส่ายไปในอารมณ์อื่น กลับเข้ามารวมจดจ่ออยู่ที่ความเจ็บปวดเท่านั้น รวมความว่า ลักษณะที่จิตถอนจากอารมณ์ภายนอกเข้ามารวมเป็นเอกัคคตาอยู่ภายในจุดเดียว จะโดยบังเอิญก็ดี โดยฝึกหัดให้เกิดขึ้นก็ดี เรียกว่า สมถะ

ที่มา
http://buddhist.freehomepage.com/chan.htm
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 04:21:23 »
แยก ฌาน และ สมาธิ ให้ต่างกัน

         สมถะ เป็นได้ทั้งฌานและสมาธิ อารมณ์ของฌานและสมาธิเหมือนกัน การฝึกเบื้องต้นก็เหมือนกัน แต่การละต่างกัน การเข้าถึงภูมิของตนก็ผิดกัน แต่ขณะเดียวกันต่างสนับสนุนเป็นทุนให้กำลังแก่กันและกันไปในตัว เรื่องนี้ผู้เข้าถึงแล้วจะรู้แจ้งได้ด้วยตนเอง จะขอนำท่านผู้สนใจเข้าไปพิสูจน์ตามมติและหลักฐานเป็นเครื่องอ้างเพื่อท่านจะได้พิจารณาเลือกถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป

         ฌาน ได้แก่ การเพ่ง และเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว จะเป็นกสิณ หรืออะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่ข้อสำคัญจะต้องให้จิตจับจ้องอยู่ในเฉพาะอารมณ์อันนั้นเป็นใช้ได้ เบื้องต้นจะต้องตั้งสติควบคุมจิตให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างแน่นแฟ้น เมื่อจิตถอนออกจากอารมณ์อื่นมารวมอยู่ในอารมณ์อันเดียวเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เสวยความสุขอันไม่เคยได้รับมาแต่ก่อน จิตก็จะยินดีและน้อมเข้าไปสู่เอกัคคตารมณ์อย่างยิ่ง เรียกว่าเพ่งเอาความสุขอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์เป็นอารมณ์ของฌานต่อไป จนเป็นเหตุให้เผลอตัวลืมสติไปยึดมั่นเอาเอกัคคตาว่าเป็นของบริสุทธิ์และดีเลิศ จิตตอนนี้จะรวมวูบเข้าภวังค์ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับเผลอสติ หรือลืมสติไปเสียเลยอยู่พักหนึ่ง แล้วจึงรู้สึกตัวขึ้นมา แต่ผู้ที่เคยเป็นบ่อยและชำนาญแล้ว จะมีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกันแต่เป็นไม่แรง และนิมิตหรือความรู้อะไรจะเกิดก็มักเกิดในระยะนี้ เมื่อนิมิตและความรู้เกิดขึ้นแล้ว จิตที่อยู่ในเอกัคคตานั้นจะวิ่งตามไปอย่างง่ายดาย เพราะจิตที่อยู่ในเอกัคคตารมณ์เป็นของเบาและไวต่ออารมณ์มาก ที่เรียกว่าจิตส่งในเป็นภัยต่อผู้เจริญฌานอย่างยิ่ง บางทีอาจทำให้เสียผู้เสียคนไปก็มี ฌานมีเอกัคคตารมณ์เป็นเครื่องวัดในที่สุด แต่ไม่มีปัญญาจะพิจารณาสังขารให้เห็นเป็นพระไตรลักษณญาณได้ กิเลสของผู้ได้ฌานก็คือ มานะแข็งกระด้างทิฐิถือรั้นเอาความเห็นของตัวว่าเป็นถูกทั้งหมด คนอื่นสู้ไม่ได้ เรื่องนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของฌานหรือทิฐินิสัยเดิมของแต่ละบุคคลอีกด้วย ผู้ที่ผ่านเรื่องนั้นมาด้วยกันแล้วหรือมีจิตใจสูงกว่าเท่านั้น จึงจะแก้และแสดงให้เขาเห็นจริงตามได้ ถ้าแก้ไม่ตกก็เสียคนไปเลย

         ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์หรือกำหนดยึดเอาอารมณ์มาไว้กับจิต หรือเอาจิตไปตั้งไว้กับอารมณ์ของกรรมฐานที่ตนเจริญอยู่นั้นจนแนบสนิทติดเป็นอันเดียวกัน วิจารค้นคว้าตริตรองอยู่ในอารมณ์นั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นวิจารอยู่ในอสุภเป็นต้น ปีติ เมื่อจิตเห็นชัดในอารมณ์นั้นแล้วก็เกิดปีติ สุข เมื่อเกิดปีติแล้วก็เกิดสุข และเอกัคคตา เมื่อจิตมีสุขแล้วก็แช่มชื่น มีอารมณ์เป็นเอกัคคตาแน่วแน่อยู่ในสุขนั้น
         ทุติยฌาน มีองค์ ๓ ด้วยอาศัยปฐมฌานเป็นรากฐานหนักแน่นอยู่แล้ว กิจอันจะต้องใช้วิตก วิจาร ไม่มี จึงยังเหลืออยู่แต่ ปีติ สุข เอกัคคตา (พึงเข้าใจว่า ถ้าไม่ได้ปฐมฌานเป็นรากก่อนแล้ว จะก้าวขึ้นสู่ทุติยฌานไม่ได้เด็ดขาด)
         ตติยฌาน มีองค์ ๒ เพราะอาศัยฌานทั้งสองเบื้องต้นขัดเกลาฟอกจิตให้ค่อยละเอียดโดยลำดับ จนปีติหมดไปไม่ต้องการใช้ จึงยังคงเหลืออยู่แต่สุขกับเอกัคคตา
         จตุตถฌาน มีองค์ ๒ จิตในตอนนี้ละเอียดมาก การเพ่งในรูปกรรมฐานยึดรูปเป็นอารมณ์ ซึ่งรูปนั้นเกือบจะไม่ปรากฏ ถึงจะเพ่งรูปเป็นอารมณ์จนจิตเป็นเอกัคคตาอยู่ในรูปนั้นแล้วก็ตาม แต่ด้วยอำนาจความละเอียดของรูปกรรมฐาน จิตก็ยังปล่อยวางไม่ได้ ต้องเข้าไปตั้งอุเบกขาอยู่ในรูปกรรมฐานนั้นอีกอาการหนึ่ง ซึ่งจัดว่าเป็นความยึดถืออันละเอียดในรูป จตุตถฌานจึงยังเหลือองค์ ๑ คือ เอกัคคตา และเพิ่มอุเบกขาซึ่งเป็นองค์พิเศษเข้าอีก ๑ จึงมีองค์ ๒ เมื่อรวมแล้วรูปฌาน ๔ นี้ มีองค์ ๖ ส่วนอรูปฌานจะไม่กล่าวในที่นี้ เพราะรูปฌานก็เป็นบาทให้เดินมรรคเข้าถึงโลกุตตระได้แล้ว

ที่มา
http://buddhist.freehomepage.com/chan.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 04:24:34 »
อำนาจการละของฌาน

         ฌาน ละกิเลสที่เป็นวิสัยของกามาพจรได้ ๕ คือ กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ ๕ พยาบาท ความปองร้ายคนอื่น ถีนมิทธะ ความง่วงงุนซบเซาหาวนอนอันเกิดแต่จิตใจไม่ปลอดโปร่ง ไม่มีเครื่องอยู่ อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านของใจที่สอดส่ายไปในอารมณ์ภายนอกจนเป็นเหตุให้รำคาญ และ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในคุณของพระรัตนตรัย เมื่อพูดให้ตรงตามความเป็นจริงแล้วไม่น่าเรียกว่าละได้ ควรเรียกว่าสงบอยู่ได้ด้วยอำนาจแห่งฌาน ท่านอุปมาเหมือนศิลาทับหญ้า เพราะเมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสทั้ง ๕ ก็จะเข้ามาประจำที่เช่นเคย และองค์ฌานทั้งหมดนี้ก็อยู่ในภูมิแห่งโลกิยะด้วย

ตัวฌานแท้คือภวังค์

         ภวังค์ เกิดขึ้นในขณะที่จิตเข้าถึงฌาน มีอยู่ ๓ คือ
         ภวังคบาต จิตรวมเข้าสู่ภวังค์ขณะแวบเดียวแล้วถอนออกมาเสีย
         ภวังคจลนะ จิตที่ไหวตัวเข้าไปรวมเป็นภวังค์แล้วไม่ยอมออกมารับอารมณ์ภายนอก เสวยอารมณ์อยู่ภายในใจเอง ซึ่งมีอาการคล้ายๆ กับอารมณ์ภายนอก ต่างแต่มีรสชาติที่พิเศษกว่า หรือจิตที่กำลังจะปล่อยวางรวมเข้าเป็นภวังคุปัจเฉทะ แต่ยังไม่สนิทพอจะวางได้ ก็เรียกว่าภวังคจลนะเหมือนกัน
         ภวังคุปัจเฉทะ จิตที่รวมเข้าเป็นก้อนเดียวไม่มีอาการแตกแยกแม้แต่นิดเดียว ถ้าจะพูดอีกนัยหนึ่งว่า ในขณะที่จิตยังอาศัยกายอยู่ แต่แยกภพออกจากกายไปตั้งอิสระอยู่ตามลำพังผู้เดียว แล้วเสวยอารมณ์ตามลำพังของตนเองอยู่ต่างหาก


ที่มา
http://buddhist.freehomepage.com/chan.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 04:27:55 »
เรื่องของสมาธิ

         อาการที่ตั้งสติคุมจิตให้เพ่งพินิจอยู่ในกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งให้รวมอยู่ในจุดเดียวกันจนจิตแน่วแน่แน่นแฟ้น โดยมีสติรู้อยู่ว่า นี่สติ นี่สมาธิ นี่อารมณ์เหลืออยู่หมดไป มีไตรลักษณญาณควบคุมอยู่ตลอดเวลา นี่คือลักษณะของสมาธิ ซึ่งผิดแผกจากฌานดังกล่าวแล้ว สมาธิมี ๓ อย่าง คือ
         ๑. ขณิกสมาธิ อาการที่จิตเข้ารวมอยู่ในจุดเดียว แต่รวมเป็นครู่เป็นขณะมีลักษณะวับๆ แวบๆ แล้วก็หายไปจนจับอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้
         ๒. อุปจารสมาธิ อาการที่จิตจวนจะรวมเข้าสู่อัปปนา ซึ่งจะรวมแหล่มิรวมแหล่ แต่ไม่ฟุ้งซ่านสอดส่ายออกไปภายนอก ยึดเอาอารมณ์เป็นอุปาทานเครื่องถือมั่น จะละก็ไม่ใช่ จะเอาก็ไม่เชิง มีความลังเลเป็นสมุฏฐาน
         ๓. อัปปนาสมาธิ อาการที่จิตถอนสละออกจากอุปาทานทั้งปวงแล้วเข้ารวมกำลังสติ สมาธิ และปัญญา ให้มีกำลังสมบูรณ์เต็มที่ เกือบจะกล่าวได้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะนี้ แม้จะเป็นโลกอยู่ในโลกตามสมมตินิยมก็ดี แต่ใจในขณะนั้นไม่มีโลกติดอยู่เลย จะเรียกว่าโลกก็มิใช่ จะเรียกว่าธรรมก็ไม่เชิง เพราะอัปปนาไม่มีสมมติในที่นั้น
         ขณะนั้นสิ่งอันสังเกตได้ง่ายก็คือ ลมหายใจไม่มี หากจะมีปัญหาสอดเข้ามาว่า เมื่อลมหายใจไม่มี ไฉนจึงไม่ตาย เพราะคนเราอยู่ได้ด้วยลมหายใจมิใช่หรือ พึงเฉลยว่า ลมหายใจไม่ระบายเข้าออกได้เฉพาะแต่ทางจมูกอย่างเดียว ย่อมระบายเข้าออกได้ทั่วไป แม้ชั้นแต่ขุมขนทุกขุมขนก็ระบายเข้าออกได้ พึงเห็นท่านผู้อบรมใจให้ละเอียดจนปล่อยวางอุปาทานในรูปได้แล้ว ท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธเป็นตัวอย่าง ซึ่งสัญญาและเวทนาได้ดับหมด แม้ลมหายใจก็ไม่มีตั้ง ๗ วันก็อยู่ได้ เรายังทำไม่ถึงตรงนั้น ไม่ควรจะเอามติของเราไปวัด

อำนาจการละกิเลสของสมาธิ

         สมาธิเป็นมรรคละกิเลสที่เป็นของปุถุชน ทำคนให้เป็นพระอริยเจ้าได้ตามภูมิของมรรคนั้นๆ มรรคมี ๔ คือ
         ปฐมมรรค ละกิเลสได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตน โดยถือรั้นในกายก้อนนี้ว่าเป็นสาระจริงจัง มิได้ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นด้วยไตรลักษณญาณ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัย อันเป็นเหตุให้ถือพระศาสนาไม่สนิท ถือด้วยศรัทธาคลอนแคลน สีลัพพตปรามาส ลูบคลำการรักษาศีลและข้อวัตร คือ รักษาศีลและประพฤติวัตรด้วยอาศัยเหตุอย่างอื่น ไม่เป็นอริยกันตศีล อริยกันตวัตร
         มรรคที่สอง ละกิเลสได้ ๓ เหมือนปฐมมรรค และทำ ราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม โทสะ ความที่จิตคิดประทุษร้าย และ โมหะ ความหลงงมงายปราศจากเหตุผล ให้เบาบางลง
         มรรคที่สาม ละกิเลสที่เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาศ กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม ปฏิฆะ ความหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ
         มรรคที่สี่ ละกิเลสที่เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ นั้น และละกิเลสที่เป็นสังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้เด็ดขาด ซึ่งสังโยชน์เบื้องสูงนั้น คือ รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม มานะ ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ อุทธัจจะ ความคิดฟุ้งซ่านไปในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ อวิชชา ความหลงเป็นเหตุให้ไม่รู้จริงในอริยสัจ ๔


ที่มา
http://buddhist.freehomepage.com/chan.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 04:37:14 »
ฌานและสมาธิมีที่สุดต่างกัน

         ฌานมีภวังค์เป็นที่สุด สมาธิมีสมาธิเป็นที่สุด ภวังค์มี ๓ คือ ภวังคบาต ภวังคจลนะ และ ภวังคุปัจเฉทะ อาการที่จิตตกเข้าสู่ภวังค์ มีลักษณะวูบวาบหรือแวบเดียวแล้วถอนออกมาเรียก ภวังคบาต อาการที่จิตไหวตัวตกเข้าสู่ภวังค์แล้วไม่ยอมออกมารับอารมณ์ภายนอก แต่เสวยอารมณ์อยู่ภายในใจเอง ซึ่งมีอาการคล้ายๆ กับอารมณ์ภายนอก ต่างแต่มีรสชาติพิเศษกว่า หรือที่จิตกำลังจะปล่อยวางอารมณ์รวมเข้าเป็นภวังคุปัจเฉทะ แต่ยังไม่สนิทพอที่จะวางได้ ก็เรียกว่า ภวังคจลนะ อาการที่จิตตัดอารมณ์ทั้งภายในและภายนอกขาดหมด รวมเข้าเป็นก้อนเดียว ไม่มีอาการแตกแยกแม้แต่นิดเดียว เรียกว่า ภวังคุปัจเฉทะ

         ภวังค์เป็นชื่อภพของจิต เมื่อจิตมาถือปฏิสนธิในกายนี้ และกายนี้ยังมีอยู่ จิตที่ถูกอบรมให้ละถอนอุปาทานได้แล้ว ก็จะเข้าไปรวมเป็นภวังค์ตั้งอยู่ในภูมิของตนโดยเฉพาะ ถ้ากายนี้แตกดับ อาศัยไม่ได้แล้ว จิตดวงนั้นก็จะเป็นภพของตนเอง ไม่ต้องรับสัมผัสที่เกี่ยวเนื่องด้วยกายประสาท เมื่อจิตเดินอยู่ในภวังค์ทั้งสามนี้ เรียกว่าจิตเดินในสายของตน ส่วนอรูปฌาน ๔ จิตได้เข้าถึงภวังคุปัจเฉทะแล้วโดยประการทั้งปวง ยึดเอาอรูปธรรมเป็นอารมณ์ สำหรับภูมิของฌานนี้ ไม่มีปัญญาพอจะยกไตรลักษณะขึ้นพิจารณาให้เห็นชัดแจ้งในอริยสัจ ๔ ได้ จึงไม่เป็นทางที่จะให้สิ้นภพสิ้นชาติได้

         สมาธิมี ๓ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ อาการที่ทำสมาธิจิตมีสติรวมเข้าไปตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่รวมชั่วครู่ชั่วขณะวับๆ แวบๆ แล้วหายไป จนจับอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้ เรียก ขณิกสมาธิ อาการที่จิตจวนจะรวมเข้าสู่อัปปนา ซึ่งรวมเข้าไปถึงกับตัดอารมณ์ขาดทีเดียว จะรวมแหล่มิรวมแหล่ แต่ไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอก ยึดเอาอารมณ์มาเป็นอุปาทานเครื่องถือมั่น เรียกว่า อุปจารสมาธิ อาการที่จิตรวมเข้าสนิทสนม ตัดอารมณ์ทั้งปวดขาดสิ้น และถอนสละออกจากอุปาทาน แล้วเข้ารวมกำลังสติ สมาธิและปัญญาให้มีกำลังสมบูรณ์ผ่องใส สว่างแจ่มจ้าอยู่โดยลำพังดวงเดียว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอุปาทานใดๆ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ จิตที่ถอนออกมาจากอัปปนาแล้วมาเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ ไม่ถึงกับถอนออกไปเป็น ขณิกะหรือฟุ้งซ่าน ก็เรียกว่า อุปจารสมาธิ เหมือนที่เรียกว่าอุปจาระถอนออกมาจากอัปปนา เบื้องต้นเรียกว่าอุปจาระเข้าถึงอัปปนา


ที่มา
http://buddhist.freehomepage.com/chan.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 04:40:47 »
ฌานและสมาธิเป็นปัจจัยแก่กันและกัน

         ฌานกับสมาธิต่างเป็นปัจจัยสนับสนุนให้กำลังแก่กันและกันไปในตัว บางครั้งจิตเข้าฌาน (คือภวังค์) ขาดจากอารมณ์ภายนอกที่หยาบๆ เพ่งอยู่เฉพาะแต่ในอารมณ์ของฌานพอประมาณ แล้วออกมามีสติพิจารณาอารมณ์ของฌานหรืออารมณ์อื่นๆ ทำให้สติกล้าพิจารณาไตรลักษณะชัดเจนขึ้นกว่าเดิม จิตจะเข้าสมาธิได้รวดเร็วและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น บางครั้งจิตเข้าถึงสมาธิ มีสติ มีปัญญาผ่องใส เบิกบาน ดำเนินอยู่ในไตรลักษณญาณตามวิถี ถ้าสติอ่อน ปัญญาก็ซบเซาลง สมาธิก็ซึม แล้วจิตจะเข้าฌาน (ภวังค์) เงียบไป หรือไม่ก็น้อมไปหาความสุขของฌาน (คือเอกัคคตารมณ์) แล้วเสวยสุขอยู่

        สรุปแล้ว ฌานและสมาธิของผู้ฝึกหัดยังไม่ชำนาญย่อมผลัดเปลี่ยนกันเกิดขึ้นในอารมณ์กรรมฐานอันเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ จะห้ามมิให้เกิดเป็นเช่นนั้นหาได้ไม่ แม้ผู้ได้ฝึกหัดให้ชำนาญแล้วก็จำจะอยู่ด้วยวิหารธรรมอันนั้น หรือนำมาใช้ในบางกรณี เว้นแต่ผู้ที่ติดอยู่ในฌานโดยส่วนเดียว จึงจะไม่ยอมออกและเปลี่ยนไปรับเสวยอารมณ์อื่น
ความรู้พิเศษที่เกิดแต่ฌาน


         อภิญญา ๖ คือ อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ ทิพพโสต มีหูทิพย์ เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจของผู้อื่น บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติหนหลังได้ ทิพพจักขุ มีตาทิพย์ และ อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น ๕ ข้อเบื้องต้นเกิดขึ้นด้วยอำนาจของฌาน และเกิดขึ้นเฉพาะแก่ผู้มีอุปนิสัยวาสนาเท่านั้น ส่วนข้อสุดท้ายผู้อาศัยฌานและสมาธิทั้งสองมีกำลังเพียงพอ สนับสนุนเป็นปัจจัยแก่กันและกัน ไม่ติดไม่หลงอยู่ในฌาน จึงจะทำอาสวะให้สิ้นได้ (เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ)

         พึงทราบว่าอาสวักขยญาณมิใช่อภิญญาโดยตรง และมิใช่วิปัสสนาโดยเฉพาะ หากเกิดแต่กำลังทั้งสองรวมกัน ฌานเป็นโลกิยะไม่สามารถทำอาสวะให้สิ้นได้ แม้สมาธิอย่างเดียวก็ไม่สามารถให้เกิดอภิญญาได้ เพราะอภิญญาเกิดได้ด้วยอำนาจฌานเท่านั้น เพื่อให้เข้าใจง่าย ผู้มีสมาธิตั้งอยู่ในโลกุตตรภูมิแล้ว ใช้ฌานอันเป็นโลกิยภูมิ (โลกุตตรฌานไม่มี) เป็นเครื่องมือเพื่อให้รู้ในอภิญญา ฌานนั้นก็เป็นโลกุตตรฌานไปตามกัน เหมือนรองเท้าเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงก็เรียกว่าฉลองพระบาทฉะนั้น หาได้เรียกรองเท้าอย่างเดิมไม่


ที่มา
http://buddhist.freehomepage.com/chan.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มิ.ย. 2554, 04:45:26 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 04:51:16 »
ความรู้พิเศษที่เกิดแต่สมาธิ

๑. จกฺขุ อุทปาทิ
ดวงตาคือความรู้แจ้งในสัจธรรม ซึ่งมองเห็นชัดด้วยตาใน (ปัญญาจักษุ)
๒. ญาณํ อุทปาทิ
ญาณวิถีภายใน ซึ่งมิใช่เฉพาะตาเท่านั้น แม้อายตนะทั้งหกก็เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน
๓. ปญฺญา อุทปาทิ
ความรู้แจ้งในไตรลักษณะได้เกิดขึ้นจนหายสงสัย ไม่มีคำว่าอะไรหนอๆ อยู่ในใจ
๔. วิชฺชา อุทปาทิ
ความรู้พิเศษอันเป็นเหตุให้สิ้นอาสวะได้เกิดขึ้นแล้ว
๕. อาโลโก อุทปาทิ
แสงสว่างความรู้ทั้งปวงได้ฉายส่องทั่วทั้งโลก ไม่มีอะไรปิดดวงใจ ซึ่งเป็นเหตุให้มืดหลงได้อีกต่อไปแล้ว
 
         ความรู้พิเศษทั้ง ๕ นี้ ได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยสมาธิอย่างเดียว พึงเห็นตัวอย่างคือ เมื่อพระสาวกนั่งฟังธรรมเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธองค์ เช่น พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นต้น ความรู้เหล่านี้ได้เกิดขึ้นเฉพาะในที่นั่งนั่นเอง แสดงว่าท่านไม่ได้ฌานมาก่อน แต่ได้สมาธิในขณะที่ตั้งใจน้อมลงฟังธรรมนั้น สมาธิและความรู้ที่เกิดแต่สมาธิจึงจัดเป็นโลกุตตระและเป็นสัมมามรรคด้วย

วิปัสสนาญาณ ๙ เกิดแต่ฌาน
๑. อุทยัพพยญาณ   ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับ
๒. ภังคญาณ   ปรีชาคำนึงเห็นแต่ความดับของสังขาร
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ   ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
๔. อาทีนวญาณ   ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขาร
๕. นิพพิทาญาณ   ปรีชาคำนึงถึงด้วยเบื่อหน่ายในสังขาร
๖. มุญจิตุกัมยตาญาณ    ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะพ้นเสียจากสังขาร
๗. ปฏิสังขาญาณ   ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง
๘. สังขารุเปกขาญาณ   ปรีชาคำนึงด้วยวางเฉยในสังขาร
๙. สัจจานุโลมิกญาณ   ปรีชาหยั่งรู้โดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ

         ในวิปัสสนาญาณ ๙ นี้ ๘ ข้อเบื้องต้นมิได้เกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรทั้งหมด และเมื่อเกิดก็ไม่เกิดขึ้นตามลำดับดังตัวเลขที่เรียงไว้นั้น อาจเกิดขึ้นเฉพาะญาณใดญาณหนึ่งก็ได้ และแล้วก็เข้าถึงญาณที่ ๙ เลย เพราะญาณทั้ง ๙ นี้เกิดแต่ฌานโดยตรง ๘ ข้อเบื้องต้นมิได้มีคุณพิเศษยิ่งหย่อนกว่ากัน ต่างก็มีฌานเป็นภูมิฐาน ไม่ได้ใช้ไตรลักษณญาณเป็นเครื่องพิจารณา เพ่งเห็นแต่หน้าเดียวตามวิสัยของฌานโดยเฉพาะ

         อนึ่ง ของมากอย่างจะนับอะไรเป็นต้นขึ้นหนึ่งก่อนก็ได้ไม่มีปัญหา ส่วนข้อสุดท้ายเป็นเพียงมีคุณพิเศษสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจเท่านั้น แต่วิปัสสนาญาณนี้ ถ้าฌานที่เป็นรากฐานกล้ามากก็อาจให้เกิดวิปลาสไปได้ง่ายด้วย พึงเข้าใจว่าถ้าเป็นปัญญาวิปัสสนาเกิดแต่สมาธิแล้ว ก็ต้องขึ้นสู่ไตรลักษณะ เอาไตรลักษณะเป็นอารมณ์ทีเดียว


ที่มา
http://buddhist.freehomepage.com/chan.htm

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 04:59:30 »
ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ 36; 36;
                                                     
ขอขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความธรรมะดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:
 
ติดตามอยู่ครับ อ่านแล้วเพลินดีมากๆครับ และ ได้สาระความรู้มากๆครับผม :016: :015:
 
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณครับผม) :054: :054:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ Nick_Charansarom

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 204
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - charansarom_tect@hotmail.com
    • Yahoo Instant Messenger - charansarom.tect@yahoo.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 05:16:21 »
ขอบคุณมากมายนะครับ

ขออนุญาตเข้ามาตอบนะครับ ผิดถูกประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
อิติสุคคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
ฐิตคุโณ อาจาริโย จะมหาเถโร มหาลาโภ
สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะนัง ภะวันตุเม.

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 08:06:31 »
วิสุทธิ ๗ เกิดแต่สมาธิ

๑. สีลวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งศีล
๒. จิตตวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งจิต
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณหยั่งเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณหยั่งเห็นทางปฏิบัติ
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ    ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ

 
         วิสุทธิ ๗ นี้จะเกิดได้ต้องอาศัยสมาธิเป็นหลักก่อน ถ้าหาไม่ก็จะไม่เกิดเลย วิสุทธิข้อต้น คือ ศีล ถ้าสมาธิไม่เป็นหลักยืนตัวอยู่แล้ว จะเป็นศีลวิสุทธิไม่ได้ วิสุทธิ ๗ นี้เหมือนกับวิปัสสนาญาณ ๙ เมื่อจะเกิดหาได้เกิดขึ้นตามลำดับไม่ อาจเกิดวิสุทธิข้อใดข้อหนึ่งก่อนก็ได้ และแล้วจะเกี่ยวเนื่องกันไปทั้ง ๗ เหมือนลูกโซ่ เพราะวิสุทธิทั้ง ๗ จัดเข้าขั้นมรรค เป็นโลกุตตระ แต่ถ้าสมาธิอ่อน จิตก็จะน้อมเข้าไปหาฌาน ซึ่งเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนา ๑๐ อาจเกิดขึ้นในระหว่างวิสุทธิใดวิสุทธิหนึ่งได้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ปัญญาวิปัสสนาก็จะพิจารณาไตรลักษณะไม่ได้ และจิตก็จะเข้ายึดเอาอารมณ์ของอุปกิเลสนั้นต่อไป

         อุปกิเลส ๑๐ คือ โอภาส แสงสว่าง ญาณ ความรู้สิ่งต่างๆ ปีติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความสงบสงัดจากอารมณ์ภายนอก สุข ความสุข อธิโมกข์ น้อมใจเชื่อในนิมิตและเหตุนั้นๆ ปัคคาหะ เพียรกล้า อุปัฏฐาน มีสติแข็งแกร่ง อุเบกขา จิตเป็นกลางวางเฉย และ นิกันติ ยินดีชอบใจ อุปกิเลสทั้ง ๑๐ นี้ย่อมเป็นอุปสรรคของพระโยคาวจร ผู้กำลังเดินมรรคอยู่

ที่มา
http://buddhist.freehomepage.com/chan.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 08:54:32 »
โทษของอุปกิเลส ๑๐

         ลักษณะอาการและการละกิเลส เป็นต้น ของฌานและสมาธิ ผิดกันดังแสดงมา ฌานมีความน้อมเชื่อมาก วิริยะและปีติแรง กำลังใจกล้า โลดโผนทุกๆ อย่าง สรุปแล้ว เมื่อจิตน้อมไปตามอารมณ์ของฌาน ถ้าผู้ติดฌานหลงฌานอย่างหนักหน่วงแล้ว จิตของตนแทบจะไม่เป็นตัวของตัวเองเสียเลยก็ว่าได้ ที่จริงฌานเมื่อเกิดขึ้นเป็นของน่าตื่นเต้น ผู้ฝึกหัดใหม่จึงชอบนัก แต่ฌานเป็นของได้ง่ายพลันหาย เพราะตกอยู่ใต้อำนาจของโลกธรรม ๘ ส่วนสมาธิเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นไปอย่างเรียบๆ เพราะมีสติรอบคอบตามภูมิของตน และยึดเอาไตรลักษณะเป็นอารมณ์ ไม่หลงลืมตัว ค่อยได้ค่อยเป็นไปละเอียดลงโดยลำดับ ได้แล้วไม่ค่อยเสื่อมเป็นโลกุตตรธรรม บางคนจะไม่รู้สึกตื่นเต้นในเมื่อตนได้สมาธิ เพราะไม่ได้คำนึงถึงอาการที่ตนได้มี แต่ตั้งหน้าจะทำสมาธินั้นให้มั่นและละเอียดถ่ายเดียว ฌานเป็นของน่าสนุกสนาน มีเครื่องเล่นมาก มีเรื่องแปลกๆ ทำให้ผู้ไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงหลงติดจมอยู่ในฌาน อาการที่จิตหลงติดจมอยู่นั้นคือโทษ ของอุปกิเลส ๑๐ พึงสังเกตต่อไป

         โอภาส แสงสว่างย่อมปรากฏในมโนทวารวิถี ขณะเมื่อจิตเข้าถึงฌาน (ภวังค์) เมื่อจิตน้อมเชื่อไปตามแสงสว่าง และแสงสว่างนั้นก็ขยายวงกว้างออกไป มีอาการแปลกๆ ต่างๆ เหลือที่จะพรรณา

         ญาณ ความรู้สิ่งต่างๆ บางทีจนกำหนดตามไม่ทัน ไม่ทราบว่ารู้อะไรบ้าง ทั้งสิ่งที่เคยรู้เคยเห็น ทั้งสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น มิใช่รู้อยู่กับสิ่งที่รู้ ยังสอดส่ายไปตามอาการตลอดถึงคนอื่น สัตว์อื่น ทีแรกจริงบ้างไม่จริงบ้าง นานๆ เข้าก็เหลว
         ปีติ ทำให้อิ่มใจจนลืมตัว
         ปัสสัทธิ ทำให้สงบจากอารมณ์ภายนอก กลับเข้ามายุ่งอยู่กับอารมณ์ภายในจนไม่เป็นอันกินอันนอน เมื่อเป็นอย่างนี้นานเข้า ธาตุย่อมกำเริบ จิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ
         สุข ทำให้สบายอยู่ด้วยอาการทั้งหลายดังกล่าวมา ถึงกับไม่ต้องรับประทานข้าวน้ำก็มี
         อธิโมกข์ ทำให้เกิดจิตน้อมเชื่อไปในนิมิตและแสงสว่าง ความรู้มีมากเท่าไร อุปกิเลสทั้ง ๑๐ ก็ยิ่งมีกำลังรุนแรงทวีขึ้น
         ปัคคาหะ ทำให้เพียรกล้าไม่หยุดหย่อนท้อถอย มีญาณความรู้คอยกระซิบตักเตือนให้ทำอยู่เสมอ
         อุปัฏฐาน ช่วยให้สติแข็งแกร่งอยู่เฉพาะในอารมณ์นั้น แต่ขาดสัมปชัญญะ ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร
         ถ้าอุปกิเลสทั้ง ๘ ตัวดังกล่าวมาหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งยังเกิดมีอยู่ อุเบกขาก็จะไม่เกิด ถ้าทั้ง ๘ นั้นสงบลงแม้ชั่วขณะหนึ่ง อุเบกขา และ นิกันติ จึงจะเกิดขึ้น

         อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจ มุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้วก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก เมื่อมีเรื่องวิปลาสเกิดขึ้นเช่นนั้น ผู้รู้เท่าและเคยผ่านมาแล้วจึงจะแก้ได้


ที่มา
http://buddhist.freehomepage.com/chan.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 09:17:25 »
วิธีแก้วิปลาส

         อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมดก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้นสำหรับนิสัยของบางคน แต่บางคนก็ไม่มีเลย ถ้ามันเกิดขึ้นเราควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

         ๑. เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงทำความรู้เท่าว่า นี่เป็นอุปกิเลสเป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาปัญญา และอุปกิเลสนี้เกิดจากฌานหาใช่อริยมรรคไม่ ถึงแม้วิปัสสนาญาณ ๙ แปดข้อเบื้องต้นก็เช่นเดียวกัน อย่าได้น้อมจิตส่งไปตามด้วยเข้าใจว่าเป็นของจริงของแท้ พึงเข้าใจว่านั่นเป็นแต่เพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร คือจิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของฌานเท่านั้น พึงหยิบยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสินว่า อุปกิเลสทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฌาน ฌานก็เป็นโลกิยะ อุปกิเลสก็เป็นโลกิยะ โลกิยะทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนั้นแหละเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้ แล้วก็แตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง ซึ่งไม่มีใครจะมีอำนาจห้ามปรามไม่ให้มันเป็นเช่นนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า อนัตตา เมื่อยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสิน ถ้าจิตเกิดปัญญาน้อมลงเห็นตามพระไตรลักษณะแล้ว จิตก็จะถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดอุปกิเลสนั้น แล้วจะเกิดปัญญาญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าแก้อย่างนั้นด้วยตนเองไม่ได้ผล คนอื่นช่วยแก้ก็ไม่สำเร็จ เพราะผู้เป็นหลงเข้าไปยึดมั่นสำคัญเอาเป็นจริงเป็นจังเสียแล้ว บางทีจนทำให้ซึมเซ่อมึนงงไปหมดก็ดี จึงควรใช้วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย

         ๒. เมื่อรู้เท่าทันและเห็นโทษอย่างนั้นแล้ว จงคอยระวังจิตอย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดเอาอารมณ์ใดๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ แล้วจงเปลี่ยนอิริยาบถ ๔ ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม แต่ให้มีการงานทำเพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นแล้ว จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆ นานา มีทิฐิถือรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ ทั้งหมด เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ ถึงแม้อาจารย์หากไม่ชำนาญรู้จักปมด้อยของศิษย์ หรือไม่เคยผ่านเช่นนั้นมาก่อนแล้ว ก็ยากที่จะแก้เขาได้ ฉะนั้น จึงควรใช้ ...

         วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย คือใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีดเอาจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี แต่ให้ระวังอย่าให้หนีได้ ถ้าหนีไปแล้วจะไม่มีหนทางแก้ไขเลย เมื่อหายจากวิปลาสแล้วจึงทำความเข้าใจกันใหม่ วิธีสุดท้ายนี้ โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตได้ผลดีเลิศ

         ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส ฉะนั้น วิธีแก้จึงไม่ค่อยผิดแผกกันนัก


ที่มา
http://buddhist.freehomepage.com/chan.htm

==จบ==

ออฟไลน์ Gearmour

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1204
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • ลานพิศวง
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 09:54:35 »
อยากเรียนถามผู้รู้ครับ
 
   ถ้านั่งสมาธิไปแล้ว
เกิดไม่อยากออกจากสมาธิ คือไม่ได้กำหนดจุดสิ้นสุดไว้
นั่งไปเรื่อยๆ แบบว่าติดความสงบที่ไม่มีอะไรมารบกวน
ประมาณว่า
นั่งเย็นวันศุกร์  ลุกเย็นวันอาทิตย์แบบนี้เป็นต้น
   ถึงขนาดถ้าตายตายไปนี้
มันปกติหรือเปล่า?ครับ
แต่ไม่ได้มีจินตนาการอะไร ไม่ได้ไปไหน
อยู่กับจิต แต่สงบมากๆ นิ่งมากๆ เท่านั้น
  รบกวนด้วยครับ
 

ออฟไลน์ jidarsarika

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 93
  • เพศ: หญิง
  • อาจาริโย วันทามิ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 10:29:31 »
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆของคุณทรงกลดค่ะ
ถ้าว่างได้มีโอกาสเข้าเว๊ปนี้ มักชอบได้เข้ามาเปิด อ่านบทความประเภทนี้ค่ะ
และก็จะติดตามอ่านบทความคุณทรงกลดไปเรื่อยๆค่ะ ขอคุณพระคุ้มครองคุณทรงกลดนะคะ
พุทธัง ธรรมมัง สังฆัง มาตาปิตุโร อาจาริโย

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 08 มิ.ย. 2554, 06:59:53 »
อยากเรียนถามผู้รู้ครับ
 
   ถ้านั่งสมาธิไปแล้ว
เกิดไม่อยากออกจากสมาธิ คือไม่ได้กำหนดจุดสิ้นสุดไว้
นั่งไปเรื่อยๆ แบบว่าติดความสงบที่ไม่มีอะไรมารบกวน
ประมาณว่า
นั่งเย็นวันศุกร์  ลุกเย็นวันอาทิตย์แบบนี้เป็นต้น
   ถึงขนาดถ้าตายตายไปนี้
มันปกติหรือเปล่า?ครับ
แต่ไม่ได้มีจินตนาการอะไร ไม่ได้ไปไหน
อยู่กับจิต แต่สงบมากๆ นิ่งมากๆ เท่านั้น
  รบกวนด้วยครับ
ระหว่างที่รอผู้รู้มาตอบ..........

แต่เท่าที่ทราบมีผู้ปฏิบัติหลายๆท่านเสวยสุขในฌานได้นานเกิน 7 วัน ก็ไม่ตายครับ
ขอนำบทความหนึ่งมาให้ท่านอ่าน อาจจะไม่ตรงนักแต่คงพอเข้าใจนะครับ.........
===================
 มีพระอาจารย์เซ็นมาจากเมืองจีน ๓ องค์ ยังค้นชื่อที่แน่ชัดไม่พบ แต่พอจะได้หลักฐานเค้ามูลบ้างแล้ว พวกนี้มาถึงก็ปลงสังขารตกว่า ถ้าสอนได้ก็สอน สอนไม่ได้ก็เอาตัวรอดดับขันธ์ไป ไม่กลับเมืองจีน นี่รุ่นเก่าๆ บอกต่อๆ มาว่า อาจารย์ ๓ องค์หายไปในเมืองไทยได้อย่างไร

          ๑. รูปหนึ่งไปนั่งดับแห้งตายอยู่ในถ้ำเขาน้อย ท่าม่วง (กาญจนบุรี) พี่สาวผมทันเห็นองค์นี้ตอนอายุ ๙ ขวบ ช่วงนั้นฝนไม่ตกมา ๓-๔ ปี ชาวบ้านหาว่าหลวงพ่อแห้งที่อยู่บนถ้ำ ทำให้ฝนไม่ตก จึงอัญเชิญมาเข้ากองฟืนซะ แต่ศพไม่เน่า เพราะเซ็นเก่งเรื่องนี้ เขามีสูตรวิธีทำได้ แต่พวกฉันไม่กล้าแปล เพราะกลัวคนฆ่าตัวตาย

          ๒. หลวงพ่อกวงโพธิ์ อยู่ในถ้ำเมืองกาญจน์ มีพระธุดงค์มาเล่าให้ฟังว่า ธุดงค์เข้าไปในแดนกะเหรี่ยง มีกะเหรี่ยงที่พูดภาษาไทยได้บอกว่า มีถ้ำแปลก เขาบอกว่าคนนั่งตาย นอนตาย ตัวแห้งแข็ง พระท่านก็สงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร เข้าไปแล้วไม่ออก (เรื่องนี้ ในฝ่ายเซ็นมีคำว่า "ป่าช้าเซ็น" เข้าไปแล้วไม่ออก หมายถึงตั้งใจเข้าไปตาย) ท่านก็เลยให้กะเหรี่ยงคนนั้นพาไป และถ่ายรูปหลวงพ่อกวงโพธิ์ออกมาได้ ศพนั่งแห้งจนนึกว่าปั้น แทบไม่น่าเชื่อ เรื่องนี้ทำให้พอจะจับเค้าได้ว่า สมัยก่อนพระมหายานมาเมืองไทย ก็จะเข้าเมืองกาญจน์หมด

          ๓. อีกองค์หนึ่ง มีเชื้อพระวงศ์ชื่ออะไรก็จำไม่ได้ บอกว่า ปู่ของเขาแล่นเรือออกไปทางสมุทรปราการ ยิงนก ตกปลาเล่น พอ ลองเอากล้องส่องทางไกล ไปเจอพระนั่งนิ่งอยู่ไกลๆ อีก ๕ วันกลับมา ก็ยังเห็นพระนั่งอยู่อย่างนั้น จึงแวะไปดู สืบรู้ว่าเป็นพระมาจากเมืองจีน ท่านบอกว่าตั้งใจจะลาโลกแล้ว เพราะเจตนาจะมาสอนธรรมในเมืองไทย แต่ไปไม่รอด เพราะติดเรื่องภาษา เจ้าองค์นั้นจึงนิมนต์หลวงพ่อไปอยู่กรุงเทพฯ แล้วบอกว่าจะหาช่วยวิธีถ่ายทอดธรรมะให้ แต่อยู่ได้ไม่ถึง ๒ อาทิตย์ ท่านก็บอกว่าอยากจะกลับที่เดิม ไม่ช้าพระรูปนั้นก็มรณภาพไปนี่เป็น ๓ องค์ที่ได้เค้าว่าเป็นพระเซ็นแน่ๆ
ที่มา
http://www.buddhadasa.org/html/articles/1_bdb/bdb-zen001.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ลักษณะจิตเข้าถึงสมถะ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: 08 มิ.ย. 2554, 10:54:23 »


ที่มา http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=20647
ที่มา:http://www.dek-d.com/board/view.php?id=807065