ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ  (อ่าน 151189 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ประวัติแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม

ฆราวาสผู้เปี่ยมด้วยธรรม


         คุณแม่บุญเรือน กลิ่นผกา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 4 ปีมะเมียขึ้น 15 ค่ำเวลา 11.20 น. หรือตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2437 ท่านได้กำเนิดในครอบครัว ที่มีฐานะค่อนข้างยากจน มีนายยิ้ม กลิ่นผกา เป็นบิดา และมี นางสวน กลิ่นผกา เป็นมารดา สถานที่เกิดอยู่ที่คลองสามวา อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร

         ต่อมาบิดามารดาของท่านได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี อยู่ในละแวกบ้านชาวสวน และมีฐานะเป็นชาวสวนในเวลาต่อมา คุณแม่บุญเรือน ท่านก็ได้เติบโตมาในละแวกบ้านชาวสวน ที่ตำบลบางปะกอกใหญ่นั่นเอง

         นายยิ้ม บิดาของคุณแม่บุญเรือน มีภรรยาทั้งสิ้น 3 คน คนแรกก็ได้แก่ นางสวน มีบุตรด้วยกันสองคน คนโตคือ นางทองอยู่ ได้เสียชีวิตไปนานแล้ว คนที่สองก็ได้แก่ คุณแม่บุญเรือน กลิ่นผกานั่นเอง

         ภรรยาคนที่สอง ชื่อนางเทศ มีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่ นายเนื่อง นางทองคำ และนางทิพย์ ซึ่งทั้งสามคนนี้ ถือเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน
ภรรยาคนที่สาม ไม่มีใครจำชื่อได้ และไม่มีใครยืนยันว่า นายยิ้ม ได้มีบุตรกับภรรยาคนนี้หรือไม่

         การศึกษาเล่าเรียนและชีวิตในครอบครัว

         ชีวิตในวัยเยาว์ คุณแม่บุญเรือน เป็นผู้ได้รับความรักความทะนุถนอมจากบิดามารดา เป็นอันมาก พอเหมาะสมกับฐานะของครอบครัว ท่านได้รับการศึกษาให้รู้ภาษาไทย พออ่านออกเขียนได้ และเชื่อว่าท่านได้รับการฝึกสอน จากบิดามารดา ให้มีความรอบรู้ และ สามารถทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแม่เรือนเป็นอย่างดี พอเหมาะสมกับสมัย เนื่องจากปรากฏต่อมาในภายหลังว่า คุณแม่บุญเรือน มีความสามารถในการทำกับข้าวมีรสอร่อยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริก อาหารจำพวกแกง และ ต้ม ท่านก็สามารถทำได้อย่างดี นอกจากนี้ก็ยังมีความสามารถในการเย็บจักร ตัดเสื้อผ้าได้

         เหล่านี้เป็นความสามารถที่เป็นที่ประจักษ์แก่คนที่รู้จักทุกคน

         ฝึกหัดเป็นหมอนวดและสนใจในงานบุญ

         เมื่ออายุราว ๆ 15 ปี ท่านได้รับการฝึกสอนจากในครอบครัว ให้รู้จักการนวด ซึ่งท่านได้ให้ความสนใจอยู่เป็นอันมาก จนในที่สุด ท่านได้รับครอบวิชาหมอนวด และ ตำราหมอนวด จากปู่ของท่าน คืออาจารย์กลิ่น ซึ่งในขณะนั้นถือว่า เป็นหมอนวดผู้มีชื่อเสียง

         จากการได้รับมอบตำราหมอนวด ทำให้ท่านได้ศึกษาวิธีการนวด จากตำราดังกล่าวจนเกิดความชำนาญ และกลายเป็นแม่หมอผู้มีชื่อเสียงในการนวดต่อมาในภายหลัง

         ขณะเป็นวัยรุ่น ท่านได้รู้จักกับคุณลุงของท่าน คือหลวงตาพริ้ง ซึ่งเป็นพระภิกษุ อยู่ที่วัดบางปะกอก ด้วยความคุ้นเคยกับหลวงตาพริ้ง ผู้เป็นลุงนั่นเอง ท่านได้เริ่มนำอาหารไปถวายอยู่บ่อย ๆ ทำให้ท่านได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้จักธรรมะ และ คุณธรรมในการดำเนินชีวิต ตามแนวคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้เริ่มเลื่อมใสศรัทธา และมีใจรัก ในงานบุญงานกุศลมากขึ้นอันน่าจะถือได้ว่า นี่เป็นปฐมเหตุสำคัญที่ทำให้ท่านบำเพ็ญกรณียกิจเป็นนักบุญในพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา หลวงตาพริ้ง จึงเป็นพระภิกษุที่คุณแม่บุญเรือนมีความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก และวัดบางปะกอกนี้ก็น่าจะเป็นวัดที่ทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จนนำไปสู่การบำเพ็ญภาวนาในเวลาต่อมา


         ชีวิตสมรสและบุตรธิดา

         เมื่อมีอายุพอสมควร ก็ได้ทำการสมรสกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม ซึ่งขณะนั้นเป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลสัมพันธวงศ์ ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาที่ดีตลอดมา แต่ก็ไม่มิบุตรธิดาด้วยกัน และเนื่องจากไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ทำให้คุณแม่ บุญเรือน โตงบุญเติมได้รับอุปการะเด็กหญิงชายอื่นบ้าง แต่มีผู้ที่ท่านรับอุปการะแต่มีอายุได้ 6 เดือนจนเติบใหญ่เป็นเวลายาวนานคนหนึ่งในฐานะบุตรบุญธรรมคือ นางอุไร คำวิเทียน จนกระทั่ง นางอุไร มีอายุ ได้ 19 ปีจึงได้สมรสกับ ร.ต.ท.เต็ม คำวิเทียน นางอุไร กับ ร.ต.อ.เต็ม อยู่กินกันมาจนมีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อว่า นิดา คำวิเทียน นับว่าเป็นหลานยายที่คุณแม่บุญเรือนให้ความเมตตาเป็นอย่างยิ่ง

         ชีวิตสมรสระหว่างคุณแม่บุญเรือน และ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม อยู่กินกันมา จนกระทั่งในปี 2479 ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 42 ปี ส.ต.ท.จ้อย ได้ถึงแก่กรรมลง เนื่องจากได้เข้าไปช่วยดับเพลิง เมื่อครั้งเพลิงไหม้ใหญ่ตลาดน้อย อำเภอบางรัก ต่อจากนั้นมา คุรแม่บุญเรือนก็ได้ครองความเป็นโสด บำเพ็ญงานบุญ และได้ใช้นามสกุล โตงบุญเติม ของสามีตลอดมา และได้อุปการะเลี้ยงดูนางอุไร คำวิเทียน จนกระทั่งอายุ 19 ปี และได้สมรสกับ ร.ต.ท.เต็ม คำวิเทียน ซึ่งขณะนั้นเป็นตำรวจประจำอยู่ที่โรงพักกลาง ดังนั้นจึงมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ที่คุณแม่บุญเรือน ได้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านพักของทางราชการ ที่โรงพักกลาง

         ในระหว่างครองชิวิตร่วมกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม คุณแม่บุญเรือน ได้ประกอบอาชีพตัดเย็บผ้า เป็นการช่วยสามีอีกแรงหนึ่ง และรับรักษาโรคโดยเป็นหมอนวด ซึ่งการเป็นหมอนวดเพื่อรักษาโรคนั้น ท่านทำเป็นการกุศลไม่มีสินจ้าง นอกจากนั้นท่านยังมีความสามารถในการทำคลอด หรือเป็นหมอตำแยแผนโบราณด้วย ซึ่งทำให้ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากในขณะนั้น

         ด้านการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยจักรท่านก็ทำได้อย่างดี จนทำให้ครอบครัวท่านมีฐานะที่มั่นคงพอสมควร ในระหว่างนี้ท่านก็ใช้เวลาในการบำเพ็ญบุญ ถือศีล สวดมนต์ ฟังธรรม ด้วยความเคารพเลื่อมใสอย่างแท้จริง ท่านได้ไปประกอบการบุญที วัดสัมพันธวงศ์ เป็นประจำ และได้เริ่มฝึกหัดวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตั้งแต่มีอายุประมาณ 30 ปี หลัง ส.ต.ท.จ้อย ถึงแก่กรรม ท่านได้ไปพักอยู่ที่โรงเรียนช่างกลสมบุญดี มักกะสันอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่ง นางอุไร คำวิเทียน บุตรบุญธรรม ได้ทำการสมรสแล้ว ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่ บ้านพักของทางราชการ ที่โรงพักกลางต่อไป

         ขณะที่ยังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ ส.ต.ท.จ้อย ด้วยความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้ไปฟังพระสวดมนต์ ฟังธรรมที่วัดสัมพันธวงศ์อยู่บ่อย ๆ ทั้งได้ฝึกหัดทำวิปัสสนากัมมัฐานที่วัดนี้ด้วย ต่อมา ส.ต.ท.จ้อย ผู้เป็นสามี ได้ลาอุปสมบท ที่วัดสัมพันธวงศ์ เป็นเวลา 1 พรรษา ทำให้คุณแม่บุญเรือน ได้มีความใกล้ชิดและผูกพันในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เมื่อสามีสึกออกมาแล้ว คุณแม่บุญเรือน ก็ได้ลาสามีบวชเป็นชีและอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัด สัมพันธวงศ์ ได้พากเพียรพยายามฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้อยู่ปฏิบัติที่ศาลาวัดสัมพันธวงศ์ จนทำให้เกิดความเข้าใจ และ ปลอดโปร่งในธรรมะ รักความสงบประกอบการกุศลต่าง ๆ ช่วยปักหมอนสำหรับธรรมาสน์พระสวดปาฏิโมกข์เป็นต้น

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ผลสำเร็จของงานบุญ

         ในระหว่างที่บวชเป็นชีนี่เอง ด้วยความตั้งใจจริง ในการบำเพ็ญเพียร หัดวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทำใจให้สงบระงับ ฝึกใจให้แข็งแกร่งแก่กล้า มองเห็นธรรมอันวิเศษของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังผลให้เป็นที่ทราบในหมู่ผู้ร่วมวิปัสสนาด้วยกัน ว่าคุณแม่บุญเรือนได้สำเร็จแล้วอย่างแท้จริง คือสำเร็จใน จตุตถฌาน หรือ ฌาน4 อันประกอบด้วย

         ปฐมฌาน หมายถึง ฌาน ขั้นแรก มีองค์ 5 คือ ยังมีตรึก เรียกว่า วิตก และ ตรอง เรียกว่า วิจารณ์ เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ ซ้ำยังมีปิติ คือ ความอิ่มใจ มีความสุข คือความสบายใจ เกิดแต่ความวิเวก คือ ความเงียบสงบ ประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปได้ เรียกว่า “ เอกัคตา”

         ทุติยฌาน หมายถึง ฌาน ชั้นสอง ซึ่งละวิตกและวิจารณ์ ในปฐมฌานลงไปได้ คงเหลือแต่ ปิติ และ สุขอันเกิดแก่สมาธิกับเอกัคตา

         ตติยฌาน เป็น ฌาน ชั้นสาม คงเหลือแต่องค์สอง คือละปิติเสียได้ คงเหลือแต่สุขและเอกัคตา

         จตุตถฌาน เป็น ฌานสำคัญชั้น 4 มีองค์ 2 คือละสุขเสียได้กลายเป็น อุเบกขาคือวางเฉย คู่กับเอกัคตา ฌาน 4 จัดเป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าไปในรุปาวจรภูมิ

         ฌานทั้ง 4 นี่แหละที่เชื่อกันว่า แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม ได้บำเพ็ญเพียรฝึกปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ และด้วยเหตุที่ปรากฏต่อมาว่า แม่ชีบุญเรือน มีความเชี่ยวชาญในวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนสามารถจะเข้าวิปัสสนาเมื่อใดก็ได้ และไม่จำเป็นต้องยึดสิ่งมีรูปเป็นอารมณ์ ทั้งอาจเข้าวิปัสสนาโดยลืมตาก็ได้โดยเร็วพลันด้วยเหตุนี้ ทางด้านอรูปฌาน ก็เชื่อว่าท่านสันทัดและบรรลุโดยลักษณะเดียวกัน

         ด้วยความสำเร็จใน จตุตถานนั่นเอง เป็นเหตุให้แม่ชีบุญเรือน เป็นนักเสียสละชั้นยอด มีอารมณ์วางเฉย เป็น อุเบกขา สละความโลภ ความอยากได้ในทรัพย์สินต่าง ๆ อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นคนที่รู้จักแม่ชีบุญเรือนมาก่อนก็ดี หรือเพิ่งจะมารู้จักก็ดี จะทราบคติธรรมข้อหนึ่งว่า “ คนที่จะไปหาท่าน จงไปหาด้วยการเป็นผู้รับ ส่วนท่านเป็นผู้ให้ เป็นผู้เสียสละ เป็นผู้บริการ” ท่านไม่ต้องการสิ่งใดของใคร แม้แต่ดอกไม้ ธูปเทียน ทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทั้งสิ้น

         บรรลุอภิญญา 6

         นอกเหนือจากการสำเร็จใน ฌาน ทั้ง4 แล้ว แม่ชีบุญเรือน ได้เพียรพยายามฝึกจิต และสมาธิอย่างแรงกล้า ทั้งได้ประกอบการบุญอันเป็นอานิสงศ์แห่งชีวิตอย่างสูงส่ง จนกล่าวว่าท่านสำเร็จรอบรู้ใน อภิญญา 6 กล่าวคือ

         1. อิทธิวิธี คือแสดงฤทธิ์ได้ ปรากฏว่าแม่ชีบุญเรือนได้กระทำมาแล้วหลายวิธี เช่น อธิษฐานต้นมะม่วง ต้นเล็ก ๆ ให้ออกดอกได้ภายในคืนเดียว ย่นหนทางยาวให้สั้น เดินตากกลางฝนไม่เปียก เรียกฝนให้ตกได้ ขอให้ฝนหยุดตกได้ เป็นต้น

         2. ทิพโสต หรือที่เรียกว่าหูทิพ แม่ชีบุญเรือน สามารถบอกเล่าเรื่องราวที่คนอยู่ใกล ๆ พูดกัน ให้คนใกล้ชิดท่านฟังได้อย่างถูกต้อง

         3. เจโตปริยญาณ อันได้แก่การกำหนดจิตให้แก่ผู้อื่น ในเวลาที่แม่ชีบุญเรือน สนทนากับใคร ไม่ว่าใครจะคิดหรือจะพูดอะไรกับแม่ชี ท่านก็สามารถทราบได้ด้วย ฌานวิเศษของท่าน

         4. บุพเพนิวาสานุสสติ ได้แก่การระลึกชาติได้ เรื่องนี้แม่ชีบุญเรือนได้เคยเล่าเรื่องราว ชาติภพก่อน ๆ ของท่าน ให้ลูก ๆ และคณะศิษย์ ได้ฟัง รวม 3 ชาติ หากจะว่าไปแล้วเรื่องระลึกชาติ เป็นเรื่องที่พิสูจน์ยาก แต่เห็นว่า แม่ชีบุญเรือนเป็นผู้ยึดมั่นในศีล 5 ละปฏิบัติธรรม เป็นอาจินต์ ก็ทำให้เชื่ออย่างมั่นคงว่าสิ่งที่ท่านพูดนั้นเป็นความจริง

         5. ทิพจักษุ หรือตาทิพย์ การมองเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่พึงประสงค์ แม้ว่าวิ่งนั้นจะอยู่ห่างใกล ต่างบ้านต่างเมืองก็ตาม แต่เรื่องตาทิพย์นี้ แม่ชีบุญเรือน ได้บอกเล่าให้ลูก ๆ ละคณะศิษย์ฟังว่าแม้นว่าท่านจะได้ไว้ แต่ท่านก็คืนให้ไป มิได้นำมาใช้ ทั้งนี้เพราะหากใช้ตาทิพย์แล้ว จะมองเห็นสิ่งปฏิกูลมากมาย ท่านจึงงดเว้นเสีย โดยถือว่าคืนให้ทางธรรม จะมีการนำมาใช้บ้างในยามจำเป็นเท่านั้น
6. อาสวักขยญาณ คือ ทำให้พ้นจาก ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำให้ตนพ้นจากสิ่งอันไม่เป็นมงคลทั้งปวง ผู้พ้นจากอาสวะ ย่อมหมายถึงปราศจาก รัก โลภ โกรธ หลง แม่ชีบุญเรือนได้สำเร็จในข้อนี้ จะเห็นได้จากผู้ที่เดินทางมาหาท่านไม่ว่าจะใกล้หรือไกล จะยากดีมีหรือจน ก็จะได้รับความปรานีเสมอเท่าเทียมกัน


         ความสำเร็จในการบำเพ็ญเพียรครั้งแรก

         การบำเพ็ญเพียร ในพระพุทธศาสนา จนสำเร็จ จตุตถฌาน และ อภิญญาฌาน ปรากฏว่าท่านได้ทำสำเร็จครั้งแรก ตั้งแต่ยังบวชเป็นแม่ชีอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ และ ได้ผลเป็นอิทธฤทธิ์อันเกิดจากการอธิษฐานเป็นครั้งแรกเมื่อราววันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2470 โดยในวันดังกล่าว แม่ชีบุญเรือน ได้กลับไปที่บ้านพักข้าราชการ ที่สถานีตำรวจสัมพันธวงศ์ คืนนั้นเข้านอนไม่หลับจนดึก สามีและบุตรบุญธรรมหลับมีอาการกัดฟันและกรน รู้สึกเกิดธรรมสังเวช และนึกเบื่อ จึงตั้งสัตย์อธิษฐานเข้าไปในศาลา พอสิ้นคำอธิษฐาน ตัวแม่ชีบุญเรือนก็เข้าไปอยู่ในศาลา ดังคำอธิษฐาน โดยที่ตัวท่านเองก็ไม่ทราบว่า ได้ออกจากห้องทางไหน และ เข้าศาลาทางไหน ในครั้งนั้นเพื่อนแม่ชีด้วยกัน ไม่ค่อยจะเชื่อกันนัก จนต่อมา อุบาสิกาฟัก ขอให้อธิษฐานใหม่ และได้ให้นางเล็ก นางคำ นางเทียบ ซึ่งดูเหมือนเป็นเพื่อนแม่ชีดูเป็นพยาน ได้ใส่กลอนประตูหน้าต่างศาลาเสียในคืนวันแรม 1 ค่ำเดือน 6 เวลาดึกสงัดปีเดียวกันนั้นเอง แม่ชีบุญเรือนก็ได้อธิษฐานจากสถานีตำรวจสัมพันธวงศ์เข้าไปศาลาได้เช่นเดียวกับคราวก่อน พวกที่คอยดูก็พากันแปลกใจไปตาม ๆ กัน

         ต่อมา แม่ชีบุญเรือน ได้อธิษฐาน ไปเขาวงพระจันทร์ พบพระผู้วิเศษ ขอพระธาตุท่าน ๆ ก็ให้มา 1 องค์ แล้วได้กลับมาที่เดิมตามคำอธิษฐานพร้อมพระธาตุ การสามารถทำปากิหารย์ดังกล่าวที่ปรากฏขึ้นได้เป็นผลแห่งความสำเร็จครั้งแรก ทำให้ท่านอฺธิษฐานเมื่อเข้าสมาธิ ผ่านที่ปิดล้อม หรือไปที่ ไกล ๆ ได้ชั่วระยะเวลาลัดนิ้วมือเดียว ในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 33 เท่านั้น

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
การอธิษฐานของคุณแม่บุญเรือน

         1. การอธิษฐานด้วยสัจจวาจา ด้วยความที่แม่ชีเป็นผู้บรรลุ ฌาน 4 และอภิญญา 6 ทำให้วาจาของท่านมีอิทธฤทธิ์ ที่จะพูดหรือสั่งการสิ่งใดในทางที่ชอบเกิดผงได้ เช่น อธิษฐานให้หายโรค ให้ร่ำรวยในทางที่ชอบ ให้ปลอดภัยจากอันตราย หรืออาจอธิษฐานให้เป็นไปตามคำอธิษฐานของท่านได้ เช่น ให้ฝนตก หรือให้ฝนหยุด อธิษฐานถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

         2. อธิษฐานสิ่งของทั่วไป ได้แก่การนำสิ่งของต่าง ๆ มาให้ท่านอธิษฐาน เช่น น้ำ ปูน ไพลเกลือ พริกไทย การอธิษฐานต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่นำไปใช้ได้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น อธิษฐานปูนกินหมาก ให้เป็นยาทิพย์ รักษาโรคให้หาย แก้โรคนา ๆ ชนิด เช่น มะเร็ง วัณโรค โรคไต เป็นต้น

         3. อธิษฐานของพิเศษเป็นครั้งคราว เช่น อธิษฐาน กรวด ทราย กันไฟไหม้ อธิษฐานก้อนหิน ศิลาน้ำ เพื่อใช้ป้องกันภัยบางประการ โดยเฉพาะศิลาน้ำ ใช้แทนของอธิษฐานของท่าน เวลาวายชนม์ไปแล้ว เมื่อใช้ศิลาน้ำใส่ในน้ำ ก็กลายเป็นน้ำอธิษฐาน ไว้รับประทานแก้และป้องกันโรค ทั้งใช้ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ได้ด้วย

         ณ โรงพักกลางนี่เอง ท่านได้ปวารณาตัวในทำนอง ขอช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้พ้นจากโรคร้าย และท่านได้เริ่มแนะนำ สั่งสอนธรรม แก่ผู้เลื่อมใสศรัทธา ท่านได้แสดงความปรารถนาที่จะไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ ราว พ.ศ. 2472 ท่านได้ไปอยู่เชียงใหม่ชั่วคราว

         การไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านไปพำนักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง ท่านได้ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญการบุญ และช่วยเหลือผู้ทุกข์ร้อนของผู้มาขอร้อง และได้ช่วยรักษาโรคด้วยการอธิษฐาน ปูนและน้ำ พริกไทย และสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย เช่นมีอยู่คนหนึ่ง อุจจาระผูกมาเป็นแรมปี ถ่ายอุจจาระไม่ออก รักษาแผนปัจจุบันและแผนโบราณเป็นเวลานานก็ไม่หาย ได้มาหาท่าน คุณแม่บุญเรือนได้อธิษฐานพริกไทยให้รับประทาน 3 เม็ดรุ่งขึ้นปรากฏว่า อุจจาระถ่ายคล่อง หายเป็นปกติ ด้วยการบำเพ็ญตัวที่จังหวัดเชียงใหม่นี่เอง ส่งผลให้ชื่อเสียง และเกียรติคุณของคุณแม่โด่งดังเป็นอันมาก จนมีหนังสือพิมพ์นำท่านไปลงข่าวอยู่หลายครั้ง


        กลับกรุงเทพฯ และย้ายไปอยู่บ้านวิสุทธิกษัตริย์

         ด้วยเหตุที่คุณแม่บุญเรือน ต้องทำการบุญ และอธิษฐานจิตอยู่บ่อยครั้ง ทำให้บรรดาสานุศิษย์เห็นว่าเมื่อกลับจากเชียงใหม่แล้ว จะไปอยุ่ที่โรงพักกลางอีกคงไม่เหมาะสม ทั้งไม่สะดวก เมื่อเวลามีผู้ไปหาบำเพ็ญการบุญกับท่าน เป็นการสมควรที่จะอยู่อย่างเอกเทศ ในที่สุด คุณนายพัธนี ได้ร่วมกับศิษย์ที่ใกล้ชิดช่วยกันเป็นผู้สร้างอาคารหลังเล็กขึ้นมาหลังหนึ่ง ในที่ดินคุณนายพัธนีเอง ณ ถนนวิสุทธิกษัตริย์ อยู่ใกล้กับโรงพิมพ์วิบูลย์กิจ บ้านอยู่ลึกจากถนนไป 2 ถึง 3 เส้น เป็นที่สงัดเงียบ และมีบริเวณกว้างขวางเพียงพอ

         อาคารที่สร้างขึ้นนี้เป็นเรือนไม้มีขนาดพอสมควร มีห้องนอน ห้องพระ ห้องครัว ห้องโถงสำหรับผู้บำเพ็ญการบุญ จะร่วมสวดมนต์จำนวนราว 50 คนได้
เมื่อสร้างเสร็จได้เชิญคุณแม่ให้มาอยู่หลังจากท่านกลับมาจากเชียงใหม่ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านวิสุทธิกษัตริย์ เมื่อราวต้นปี พ.ศ. 2492

        ก่อตั้งสามัคคีวิสุทธิ

         เนื่องจากผู้มาร่วมการบุญกับท่านที่บ้านนี้มากมาย มีผู้เจ็บป่วยที่มาขอให้ท่านรักษา จนหายจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นจำนวนมาก คนจำนวนมาก จึงมายอมตัวเป็นศิษย์ เป็นลูก เป็นหลาน ฟังธรรมคำสั่งสอนจากท่าน เมื่อปฏิบัติตามก็ปรากฏว่า ได้รับความสุขทางใจอย่างประหลาด ผู้คนที่มาหาจึงคับคั่งขึ้นตามลำดับ และเพื่อให้ผู้ร่วมการบุและสานุศิษย์ มีความเป็นปึกแผ่น มีชื่อเรียกที่เหมาะสม คุณแม่บุญเรือนจึงขนานนามคณะของท่านว่า “ สามัคคีสุทธิ” และเรียกบ้านที่ท่านอยู่ว่า บ้านสามัคคีวิสุทธิ แต่คนที่คุ้นเคยบางคนจะเรียกว่า”บ้านวิสุทธิกษัตริย์” ก็มี

         วัตรปฏิบัติทั่วไปที่บ้านสามัคคีวิสุทธิ วันธรรมดา คุณแม่ จะสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ทำกัมมัฏฐาน และรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ผู้ป่วยที่มาหา

         วันเสาร์ จะอธิษฐานด้วยสัจจวาจา และสิ่งของให้ผู้ป่วย เช่น ปูน ไพล ผลไม้ พริกไทย หลังจากนั้น 14.00 น.ท่านจะนำสานุศิษย์สวดมนต์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นทำ กัมมัฏฐานเป็นเวลา 15 นาที กว่าจะเสร็จก้ประมาณ 15.00 น. เป็นเช่นนี้ทุกวันเสาร์ ตลอดช่วงเวลาที่คุณแม่มีชีวิตอยู่

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
แบ่งชมก่อนนอนครับ ที่ระลึกถึงบุญปัญญาบารมี "พระชัยวัฒน์พุทโธ ๑๑" (เพิ่งถ่ายสดแสงน้อยอาจจะไม่ค่อยชัดนะครับ) นำบุญมาฝากทุกท่านนะครับ สาธุๆ คืนนี้ฝันดีราตรีสวัสดิ์หลับในอู่ทะเลบุญนะครับทุกท่าน :061:

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
งานบุญสำคัญที่บ้านสามัคคีวิสุทธิ

         คุณแม่อยู่ที่บ้านสามัคคีวืสุทธิ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ.2489 เป็นเวลา 7 ปี นอกจากการบำเพ็ญการบุญธรรมดาแล้ว ท่านยังได้อธิษฐานธรรมประกอบงานบุญสำคัญ ๆ อีกมากมายหลายครั้ง เช่น

         1.ก่อนวันขึ้นปีใหม่ทุกปี คุณแม่จะอธิษฐานธรรมอวยพรให้บรรดา สานุศิษย์ ผู้ร่วมประกอบการบุญกับท่าน

         2. ท่านได้อธิษฐานธรรมประจุพระพุทธรูป และ พระเครื่องสำคัญรวมทั้งร่วมสร้างด้วย คือ

         ก. พระพุทโธองค์ใหญ่ ซึ่งได้จัดทำพิธีหล่อสร้างที่วัดสัมพันธวงศ์ จนถวายพระประธานสำเร็จ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 แล้วสมโภช ต่อมาได้สมโภชที่วัดสัมพันธวงศ์อีก เมื่อวันที่ 4 ถึง 13 มีนาคม พ.ศ. 2499 อัญเชิญไปวัดสารนาถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พงศ. 2499 เคลื่อนกระบวนเวลา 06.09 น. ถึงวัดสารนาถธรรมารามเวลา 16.00 น.ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดสารนาถธรรมารามจนถึงปัจจุบัน คุณแม่ได้อธิษฐานธรรมในการก่อสร้างรวมทั้งการนำไปประดิษฐานโดยตลอด

         ข.พระพุทโธองค์เล็ก ซึ่งได้แก่พระเครื่องที่สร้างขึ้นที่วัดอาวุธกสิตาราม บางพลัดนอก ธนบุรี คุณแม่ได้ร่วมสร้าง และทำพิธีอธิษฐาน เมื่อ 11-12-13 กันยายน พ.ศ. 2494 รวมจำนวน 100,000.องค์

         พระทั้งสองอย่างนี้ปรากฏว่าได้กลายเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ในระยะต่อมาเป็นอันมาก ทั้งด้านเมตตามหานิยม ป้องกันภัย แคล้วคลาด เจริญโภคสมบัติ กำจัดโรคร้าย ( นอกจากโรคกรรมโรคเวร )

         3. อธิษฐานถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์ แก่ลูก ๆ และ สานุศิษย์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2498
นอกจากนี้ก็ยังมีการสรงน้ำพระพุทโธที่บ้านในวันสงกรานต์ทุกปี

         การช่วยรักษาโรคร้ายสำคัญ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ แผลปวดบวมต่าง ๆ อัมพาต ในทุกภาคของประเทศไทย จนชื่อเสียงของท่านกระจายไปอย่างกว้างขวาง

        ไปอยู่บ้านนาซาจังหวัดระยอง

         ราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2498 คุรแม่ได้พาพวกลูก ๆ ไปพักอยู่ที่บ้านพักของนางสาววาย วิทยานุกรณ์ ตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อปฏิบัติธรรมและอธิษฐานธรรมบางประการ ได้ห้ามสานุศิษย์จากกรุงเทพฯตามไปจนกว่าจะครบเวลา 1 ปี

         และเมื่อวันที่ 8 มียาคม พ.ศ. 2499ลูกหลานและศิษย์ได้ไปรับท่านกลับ โดยไปที่วัดสารนาถธรรมาราม ได้เช่ารถยนต์โดยสารขนาดใหญ่จำนวน 2 คันไปกันประมาณ 80 คน ได้ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์ที่นั่น ค้างที่วัด 1 คืน รุ่งเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2499 เวลา 06.00 น . จึงได้เดินทางกลับกรุงเทพฯ

         อยู่บ้านพระโขนง

         หลวงแจ่มวิชาสอน เจ้าของบริษัทยาสีฟันวิเศษนิยม ได้สร้างบ้านใหม่ เป็นอาคารไม้หลังใหญ่ มีบริเวณกว้างขวาง เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมให้คุณแม่ที่บ้านพระโขนง หลังกลับจากบ้านนาซา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง คุณแม่ก็ได้เข้าอยู่ที่บ้านหลังใหม่ในวันที่ 10 มีนาคม และทำพิธีเปิดป้ายเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2499 หลังจากนั้น คุณแม่ท่านก็ได้อาศัยอยู่ที่บ้านหลังนี้จนกระทั่งถึงวันวายชนม์

         ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญอย่างมากมายที่บ้านหลังนี้ เช่น อธิษฐานธรรมบรรจุที่พระพุทโธองค์กลาง ให้ลูก ๆ และศิษย์ร่วมกันสร้าง พระพุทธรูปทองเหลืองหน้าตักกว้าง 6 นิ้ว

         และยังมีพิธีเก็บศิลาน้ำ เมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2499 อธิษฐานศิลาน้ำศักดิ์สิทธืเพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ซึ่งในวันดังกล่าวมีผู้ไปร่วมงานประมาณ 400 คน
กิจกรรมต่าง ๆ เช่นการอธิษฐาน การรักษาโรค ท่านทำให้โดยที่ไม่เคยเรียกร้องใด ๆ และกระทำอย่างนี้เรื่อยมาเป็นเวลา 20 กว่าปี บรรดาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ก็ได้บรรดาเหล่าสานุศิษย์และลูก ๆ ช่วยกันถวายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ช่วงท้ายของชีวิต

         ในปี พ.ศ. 2501 ท่านเริ่มปฏิญาณไม่รับรักษาโรคด้วยวิธีการนวดให้แก่ผู้ชาย เว้นไว้แต่ธรรมจะบันดาล การรักษาโรคในระยะนี้จะเป็นการรักษาโดยอธิษฐานเพียงอย่างเดียว ส่วนการสั่งสอนและอบรมธรรมะยังคงปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันก่อนที่ท่านวายชนม์ 1 วัน

         ประมาณปี พ.ศ. 2506 ท่านเริ่มมีอาการป่วยบ้าง หายบ้าง แต่ก็ยังคงบำเพ็ญการบุญอย่างต่อเนื่อง


         การวางสังขารทิ้งร่างวายชนม์

         นับแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา คุณแม่มีอาการป่วยเป็นโรคไต หัวใจอ่อน โลหิตจาง และความดันโลหิตสูง ติดต่อกันมาเป็นลำดับ อาการมีแต่ทรงกับทรุด ท่านไม่ยอมรับการรักษาจากแพทย์ แม้ว่านายแพทย์ปรีดา ล้วนปรีดา กับ แพทย์หญิงวัฒนา ดวงจันทร์ ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดได้อ้อนวอนขอให้รับการรักษาจากแพทย์ โดยวีฉีดยา ให้น้ำเกลือ และกลูโคส และให้รับประทานยาแผนปัจจุบันบ้างเป็นครั้งคราว ท่านก็ไม่ยอม จะพาไปโรงพยาบาลท่านก็ไม่ไป ท่านต้องนอนป่วยลุกนั่งไม่ได้เป็นเวลา 9 เดือน

         บรรดาศิษย์ได้พากันอ้อนวอนว่า “ คุณแม่ได้อธิษฐานธรรมด้วยสัจจวาจา รักษาโรคร้ายของลูก ๆ หลาน ๆ และคนอื่นให้หายได้ ทำไมเล่าคุณแม่จึงไม่อธิษฐานเพื่อตนเองบ้าง”

         ท่านตอบว่า “ ถ้าแม่อธิษฐานเพื่อตนเอง ก็เท่ากับว่าแม่ยากมีชีวิตอยู่ อยากมีความสุข อยากพบสิ่งใหม่ ๆ บนพื้นพิภพล้วนเป็นกิเลส แม่ทำเช่นนั้นไม่ได้”
บรรดาบุคคลในคณะสามัคคีวิสุทธิ์ เมื่อได้ยินคำพูดของท่านแล้ว เต็มไปด้วยความเศร้าใจ สะเทือนใจอย่างคาดไม่ถึง นี่ละคือผู้สิ้นอาสวะกิเลศ ผู้บรรลุ อาขยญาณโดยแท้ สมแล้วที่ท่านเป็นนักบุญ เป็นผู้นำในงานบุญของชาวคณะ สามัคคีวิสุทธิ์ที่ท่านก่อตั้งขึ้นมา

         เมื่อวันที่ 3-4-5 กันยายน พ.ศ. 2507 ท่านมีอาการอ่อนเพลียมาก เหนื่อยในเวลาพูด เบื่ออาหาร มีเสมหะเหนียว ๆ ในลำคอ รับประทานอาหารได้เพียง 2-3 คำเท่านั้น

         ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2507 คุณแม่ก็ยังคงทักทายทุกคนอย่างแจ่มใส การสวดมนต์ก็ยังคงปฏิบัติกันเป็นปกติ ไม่เคยมีใครรู้สึกสงสัย และเอะใจเลย ก่อนหน้านี้ประมาณ 1 สัปดาห์คุณแม่ได้สั่งให้หยุดนาฬิกาเรือนใหญ่ไว้ในเวลา 11 นาฬิกาเศษทั้งสองเรือน โดยท่านให้เหตุผลว่า “หนวกหู”

         แล้ววันสำคัญที่ชาวคณะสามัคคีสุทธิ ได้ประสบความเศร้าโศกรันทดใจ อย่างใหญ่หลวงก็มาถึง เพราะในเวลา 11.20 นาฬิกา ของวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2507 คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ได้วางสังขารทิ้งร่างจากไปอย่างไม่มีวันกลับ

         คุณบุญเนื่อง ชิตะโสภณ ได้บันทึกเหตุการณ์ดังกล่าว ไว้ด้วยความเศร้าสลดดังนี้

         “ เช้าวันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2507 ก่อนเวลา 11.00 น.คุณแม่ยังพูดคุยกับคุณอุไรและหลานนิดาอย่างเคย แต่อาหารไม่ยอมรับประทาน เวลาประมาณ 10.00 น.พี่ละมัย มาเยี่ยมพบว่าอาการอ่อนเพลียมาก หายใจตื้น ไม่คุยหลับตา เอามือขวากุมศีรษะ หายใจช้าลง ชีพจรอ่อนคลำไม่พบ หายใจออกกว่าเข้าระยะสั้น หยุดหายใจสนิทเมื่อเวลา 11.20 นาฬิกา โดยปราศจากอาการทุรนทุรายแต่ประการใด นับว่าท่านไปอย่างสงบจิง ๆ ไม่มีการสั่งเสียใด ๆ”

         เมื่อคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม วายชนม์แล้ว บรรดาคณะสามัคคีวิสุทธิรับแจ้งข่าว ทราบข่าว ต่างหลั่งไหลมากราบศพ เคารพศพ สวดอภิธรรมบำเพ็ญกุศลที่บ้านพระโขนงทุกคืน ได้ร่วมแห่ขบวนศพไปวัดธาตุทอง วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2507 เวลา 13.00 น. และร่วมบำเพ็ญกุศลศพถึงวันที่ 13 กันยายน และต่อมาทุกวันอาทิตย์อย่างคับคั่งตลอดมาจนกระทั่ง วันที่ 23-24และวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2507 อันเป็นวันประชุมเพลิง

         ที่มา อนุสรณ์ คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม หน้า 105-132 หจก.เกษมการพิมพ์ พระนคร
ที่มา http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด

ประสบการณ์ลี้ลับคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม อุบาสิกาผู้มีพลังจิตมหัศจรรย์

ตอนที่ 1
“อิทธิปาฏิหาริย์” เป็นเรื่องที่ดูเหนือธรรมชาติ ชวนพิศวงสำหรับผู้ที่ยังอยู่ในวังวนของกิเลส สำหรับผู้ปฏิบัติทางจิตที่กำลังจะล่วงพ้นบ่วงกิเลส “ปาฏิหาริย์” ดูจะเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ปฏิบัติสามารถทำได้ทุกคนในอดีตหลายสิบปีผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไปคงจะเคยคุ้นชื่อของอุบาสิกาท่านหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก สำหรับสานุศิษย์ท่านคือ “อุบาสิกาบุญเรือน โตงบุญเติม” ผู้สำเร็จจตุตถฌาณ (ฌานที่ 4) จึงมี “อภิญญา” ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์จนเลื่องลือในทางปาฏิหาริย์ตาทิพย์ รู้วาระจิตผู้อื่น ล่องหนหายตัว และใช้พลังจิตรักษาโรคให้คนทั่วไปจนหายอุบาสิกาบุญเรือน โดยทั่วไปคนที่เคารพท่านมักเรียกท่านว่า “คุณแม่บุญเรือน” เพราะความเมตตากรุณา ที่ท่านมีให้กับทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะ พื้นเพเดิมของคุณแม่บุญเรือนท่านเป็นชาวอำเภอมีนบุรี กรุงเทพฯ มีฐานะค่อนข้างยากจน พ่อแม่เป็นชาวสวน ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปอยู่แถวบางปะกอก ธนบุรี ในวัยเด็กคุณแม่บุญเรือนได้รับการศึกษาพออ่านออกเขียนได้ และมีนิสัยฝักใฝ่ในทางธรรมมาแต่เด็ก โดยได้รับการสั่งสอนให้รู้จักธรรมะ ในพระพุทธองค์จาก “หลวงตาพริ้ง” วัดบางปะกอก พระสายวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น จนทำให้คุณแม่บุญเรือนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ฝักใฝ่ในบุญกุศล หมั่นเพียรในทางธรรมตลอดมา

เมื่อมีอายุในวัยครองเรือนคุณแม่บุญเรือนได้สมรสกับ สิบตำรวจโท จ้อย โตงบุญเติม แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ภายหลังจึงรับเด็กหญิงมาอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมคนหนึ่ง ขณะเดียวกันคุณแม่บุญเรือน ก็ยังมีโอกาสได้ปฏิบัติและศึกษาธรรมมากขึ้น โดยมีท่านพระมหารัชชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสสัมพันธวงศ์สมัยนั้นเป็นอาจารย์สอนสมถะวิปัสสนากรรมฐานให้ จนกระทั่งปี 2470 คุณแม่บุญเรือนจึงลาสามี เพื่อมาบวชที่วัดสัมพันธวงศ์อยู่ระยะหนึ่งแล้วจึงลาสึกไป และเมื่อสามีถึงแก่กรรมแล้ว จึงมีศรัทธากลับมาบวชอีกในปี 2482ความเพียรในการฝึกจิตและเรียนรู้ทางธรรมของคุณแม่บุญเรือน ปรากฏเรื่องราวอันเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ ที่จะสำเร็จได้ก็ด้วยอำนาจสามาธิซึ่งเป็น “พลังจิต” อันมหัศจรรย์ จึงมีเรื่องเล่ามากมายจากคนเก่าแก่ และผู้ประสบเหตุเรื่องราวพิศวง อันเกิดจากอำนาจทิพย์ของอุบาสิกาท่านนี้...

ล่องหนหายตัว
การล่องหนหายตัวจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง เป็นผลจากการปฏิบัติทางจิตจนได้ “อภิญญา” ซึ่งคุณแม่บุญเรือนสามารถอธิษฐานจิตให้หายตัวได้ เรื่องนี้ “เจ้าคุณพระรัชชมงคลมุนี” วัดสัมพันธวงศ์ ท่านได้บันทึกไว้ว่า เมื่อเดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ พ.ศ. 2470 คุณแม่บุญเรือนท่านอยู่ที่บ้านพักตำรวจกับครอบครัว ในคืนดังกล่าวคุณแม่นอนไม่หลับจนดึก สามีและบุตรบุญธรรมหลับกรน และกัดฟันกรอดๆ รู้สึกเกิดธรรมสังเวชเบื่อหน่ายต่อสภาพอย่างนั้น ท่านอยากหลีกหนีเสียชั่วคราว จึงตั้งจิตอธิษฐาน เข้าไปในศาลาที่วัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งศาลานี้เป็นที่อยู่ของแม่ชีนักปฏิบัติธรรม คุณแม่เองก็เคยอาศัยบำเพ็ญธรรมที่ศาลานี้ พอสิ้นอธิษฐานก็ปรากฏตัวเองอยู่ที่ศาลานี้แล้ว ไม่ทราบว่าเข้าศาลาทางไหน และที่บ้านพักตำรวจกับศาลาวัดสัมพันธวงศ์ก็ไกลกันพอสมควรแม่ชีฟักเพื่อนปฏิบัติธรรม พักอยู่เป็นประจำที่ศาลานี้ ขอให้คุณแม่บุญเรือนอธิษฐานมาเข้าศาลาอีกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 โดยให้แม่ชีผู้อยู่ศาลาอีก 3 คนดูแลปิดประตูหน้าต่างลงกลอนให้เรียบร้อย และดูให้รู้เห็นเป็นพยานด้วยคุณแม่บุญเรือนก็อธิษฐานให้หายวับจากบ้านพัก เข้าไปปรากฏตัวในศาลาได้เช่นเดียวกับคราวก่อน พวกที่คอยอยู่ก็แปลกใจและแน่ใจว่า หายตัวผ่านเข้ามาได้จริงๆ และมองเห็นผลสำเร็จทางสมาธิ ที่มีแก่ผู้ปฏิบัติด้วยวิริยอุตสาหะ ต่อมาคุณแม่บุญเรือน ท่านได้อธิษฐานหายตัวจากศาลา ไปเขาวงพระจันทร์ ท่านได้พบพระผู้วิเศษที่นั่น และได้รับพระธาตุ 1 องค์ จากพระองค์นั้น กลับมาพระธาตุยังกำอยู่ในมือ เป็นพยานแก่ตัวท่านเองว่ามิได้ฝันไป


ทิพพโสตญาณ (หูทิพย์)
อภิญญาในด้านหูทิพย์ของคุณแม่บุญเรือนนี้ มีบันทึกของคุณหญิงเงียบ บุนนาค เขียนไว้ว่า ครั้งหนึ่งคุณแม่บุญเรือน ไปรักษาโรคขาบวมให้น้องสาวคุณหญิงเงียบ บุนนาค ข้างวัดอนงคาราม ธนบุรี ตอนขา
กลับ น้องสาวคุณหญิงเงียบมอบค่ารถให้ 20 บาท คืนวันนั้นสามีของน้องสาวคุณหญิงกลับบ้าน ทราบว่าภรรยาจ่ายเงินค่ารถให้คุณแม่บุญเรือน 20 บาท (สมัยเงินแพง) เขาเอะอะว่า คุณแม่บุญเรือนเป็นหมอไม่จริง หลอกเอาสตางค์พอรุ่งเช้า 6 โมงเศษ คุณแม่บุญเรือนไปถึงบ้านน้องสาวคุณหญิงข้างวัดอนงค์ นำเงิน 20 บาท ไปคืนให้บอกว่า “เป็นเงินของคุณผู้ชายเขา ดิฉันคืนให้ ดิฉันไม่โกรธคุณหรอก คุณต้องรับเงินนี้ไว้”นี่แสดงว่าคุณแม่บุญเรือนหูทิพย์ ได้ยินคำพูดของสามีน้องสาวคุณหญิงเงียบ พร้อมทั้งรู้วาระจิต ของคนพูด ว่าหมายถึงตัวคุณแม่บุญเรือนที่ไปรักษาขาบวม คุณแม่จึงรีบนำเงินไปคืนให้ เพื่อรักษาน้ำใจของน้องสาวคุณหญิง และสามีมิให้ขุ่นข้องหมองใจ

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอนจบ

คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ท่านเป็นผู้มีจิตอันเป็นกุศลอย่างยิ่ง นอกจากนั้นท่านยังใช้จิตอันมหัศจรรย์ของท่าน ในการอธิษฐานเพื่อช่วยคนในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรักษาโรคภัยต่าง ๆ จนหายขาด ดังเรื่องราวที่มีผู้บันทึกไว้ในหนังสือ “คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม อนุสรณ์”

รักษาด้วยวาจาสิทธิ์

เป็นบันทึกของ นายจำรัส สุขประเสริฐ อยู่ จ.อุดรธานี มีใจความว่า "อุบาสิกาบุญเรือน โตงบุญเติม เดินทางโดยขบวนรถไฟด่วนถึง จ. อุดรธานี เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2496 เวลา 7.15 น. ก่อนหน้ารถไฟด่วนจะเทียบเข้าชานสถานีประมาณ 20 นาที ได้มีหมอกลงที่สถานีรถไฟและบริเวณตัวเมืองอุดรธานีหนามืดไปหมด อยู่ห่างกันประมาณ 10 วา ยังแลไม่เห็นกันเลย รถยนต์แล่นตามถนนต้องเปิดไฟหมอกหนามืดเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนเลย พอรถไฟถึงสถานีประมาณ 10 นาที หมอกก็ค่อยๆจากหายไป ชาวอุดรธานีต่างพิศวงงงงวย ต่างโจษจันกันต่างๆนานา

เมื่ออุบาสิกาบุญเรือน ลงรถไฟแล้ว มีผู้คนไปรับเป็นจำนวนมากอุบาสิกาบุญเรือนได้พักที่บ้านผมค่ำของวันนี้ได้มีผู้มาหาเป็นจำนวนมาก นายครรชิต สกลคลัง พนักงานธนาคารกสิกรไทยได้มาหา และบอกกับอุบาสิกาบุญเรือนว่า ตัวเขาป่วยเป็นโรคปวดท้องมาเป็นเวลานาน เวลานี้ก็ยังปวดอยู่ได้รักษาตัวหมดเงินมากมายแล้ว อุบาสิกาบุญเรือนได้ฟังจึงสั่งในขณะนั้นว่า "อย่าปวด ให้หายปวดเดี๋ยวนี้" แล้วอุบาสิกาบุญเรือนก็ถามนายครรชิตว่า “หายปวดหรือยัง?” นายครรชิตตอบว่า “หายปวดแล้ว” อุบาสิกาบุญเรือนจึงสั่งว่า “คืนวันนี้อย่าปวด” (เพราะนายครรชิตบอกว่ากลางคืนปวดแทบไม่ได้นอนทุกคืน)

ครั้นรุ่งเช้านายครรชิตมาบอกอุบาสิกาบุญเรือนว่า เมื่อคืนนี้ไม่ปวดเลย นอนได้สบายตลอดคืน และในระหว่างที่อุบาสิกาบุญเรือนพักอยู่ที่ จ.อุดรธานีนี้ ตอนเช้าอุบาสิกาบุญเรือนได้ไปอธิษฐานจิต ให้พลังจิตแก่ประชาชนที่วัดโพธิสมภรณ์ทุกวัน มีประชาชนนำน้ำ ปูน ไพล พริกไทย สาคู มาให้อุบาสิกาบุญเรือนอธิษฐานจิตอย่างคับคั่งทุกวันมีคนหลังโกงคนหนึ่ง เวลาเดินต้องใช้ไม้เท้าค้ำได้มาหาอุบาสิกาบุญเรือนขอให้รักษา อุบาสิกาบุญเรือนได้ออกคำสั่งต่อหน้าประชาชนจำนวนมากว่า “ให้ทิ้งไม้เท้า!” ชายหลังโกงคนนั้นก็ขว้างไม้เท้าทิ้ง อุบาสิกาบุญเรือนจึงสั่งต่อไปให้ยืนตรง ๆ ชายหลังโกงก็ค่อย ๆ ยืดตัวและยืนตัวตรงได้ แล้วอุบาสิกาบุญเรือนก็สั่งให้ออกเดินและเด่น ชายคนนั้นก็เดินได้ เลยหายเป็นปรกติ เดินกลับบ้านได้เช่นคนดี ๆ นับเป็น
เรื่องอัศจรรย์นิ่วในถุงน้ำดี

ม.ร.ว.ไกรเทพ เทวกุล บันทึกไว้ดังนี้เมื่อปี พ.ศ. 2494 ข้าพเจ้าป่วยมีอาการแน่นจุกเสียดทุกเดือน บางที 2 ถึง 3 เดือนต่อครั้ง ครั้นถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2495 รู้สึกว่าอาการเช่นนี้มีมากขึ้นจนทนแทบไม่ได้เช่น หายใจไม่ออก ข้าพเจ้าจึงได้ไปปรึกษาแพทย์ปริญญาที่ข้างบ้าน นายแพทย์ผู้นั้นได้ฉีดยาและให้ยารับประทาน อาการก็ค่อยทุเลา ต่อมาจากนั้น 2 ถึง 3 วันก็เป็นอีก นายแพทย์ผู้นั้นแนะนำว่าควรไปเอกซเรย์ดู เพราะสงสัยในอาการนั้นคงเนื่องมาจากถุงน้ำดีอักเสบ ข้าพเจ้าก็ปฏิบัติตาม ปรากฏตามฟิล์มเอกซเรย์โดยนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแผนกนี้ ลงความเห็นว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี แนะนำให้ทำการผ่าตัดทันทีข้าพเจ้าได้มาปรึกษาคุณป้าบุญเรือนถึงอาการเจ็บป่วย คุณป้าได้เอ็ดข้าพเจ้ามากมายว่า ทำไมไม่มาปรึกษาฉันตั้งแต่แรก ถ้าอยากตายก็เชิญไปผ่าได้ คุณป้าจึงให้ข้าพเจ้ารับประทานไพล และน้ำอธิษฐาน กับทั้งได้ให้ปูนอธิษฐานไปทาตามบริเวณหน้าอกและท้อง เว้นวันสองวัน ท่านก็นวดให้ข้าพเจ้าหนหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด อาการก็ค่อยทุเลาและหายภายในเดือนนั้นเองคุณป้าบุญเรือนให้ไปฉายเอกซเรย์ดูใหม่ ข้าพเจ้าก็ปฏิบัติตาม กับได้นำฟิล์มทั้งเก่าและใหม่มาเทียบกันดู ปรากฏว่าในแผ่นแรกมีวงกลมสีขาวประมาณเท่าเหรียญสองสลึง ส่วนในแผ่นเอกซเรย์ทีหลังไม่มี นายแทพย์บอกว่าในบริเวณถุงน้ำดีไม่มีก้อนนิ่วแล้ว

ยาวิเศษ

พลตรี ยุทธ สมบูรณ์ บันทึกไว้ว่า บางท่านที่มาทำความรู้จักกับ คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม มักจะเรียกท่านว่า คุณแม่หมอ คุณยายหมอ หรือคำอื่น ๆ ลงท้ายว่า “หมอ” แต่คุณแม่บุญเรือนไม่เคยรับหรืออวดอ้างว่าท่านเป็นหมอแม้แต่ครั้งเดียว อย่างไรก็ดีชื่อเสียงของคุณแม่บุญเรือนก็หอมไปทั่วประเทศไทยในฐานะผู้วิเศษ ก็เพราะท่านอธิษฐานวัตถุสิ่งของต่างๆให้เป็นยารักษาโรคได้อย่างน่าอัศจรรย์ที่สุดคุณหมอปรีดา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระประแดง ทำยาผงแก้โรคผิวหนังออกจำหน่ายด้วยตัวยาที่คุณแม่บุญเรือนเป็นผู้บอกให้ ตัวยาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นชื่อภาษาอังกฤษ ไม่ทราบว่าคุณแม่บุญเรือนไปทราบมาได้อย่างไร เพราะการศึกษาของคุณแม่ก็เพียงอ่านออกเขียนได้ นอกจากนั้นคุณหมอปรีดายังได้ตำรายาอีกอย่างหนึ่งคือน้ำมันโพธิ์งาม ซึ่งคุณหมอปรีดาได้ผสมขาย ผมสีขาวใส่น้ำมันแล้วกลายเป็นสีเทาและเข้มขึ้นทุกที ยาขนานที่ 3 คือ ยาสีฟันวิเศษนิยมของโรงงานวิเศษนิยม ซึ่งเป็นยาสีฟันที่ทำรายได้อย่างดีตลอดมา ...ยาสีฟันวิเศษนิยมนี้ “คุณแม่บุญเรือนก็เป็นผู้บอกตัวยาให้”คุณธรรมอันสูงส่งของ “คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเรือน” อุบาสิกาผู้ใจบุญท่านนี้ยิ่งใหญ่ ท่านเป็นผู้เสียสละ ชอบการทำบุญ ให้ทาน ไม่ยึดติดสะสมในทรัพย์สมบัติ มีแต่เป็นผู้ให้ตลอดมา และทั้งชีวิตท่านยังได้บำเพ็ญธรรมอย่างสม่ำเสมอตราบจนวาระสุดท้ายที่ท่านได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบด้วยโรคหัวใจ ไต และโลหิตจาง แม้จะมีลูกศิษย์ต้องการให้ท่านมีชีวิตอยู่ต่อโดยการอธิษฐานขอแต่ท่านก็ไม่ทำ ท่านบอกว่า “สังขารร่างกายและใจ หรือขันธ์ห้านี้ไม่ใช่ตัวของเรา มันเป็นเพียงเครื่องอยู่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น เป็นเรือนทุกข์ ท่านจึงต้องการออกจากเรือนทุกข์นี้”ในปัจจุบันมีรูปปั้นของคุณแม่บุญเรือนอยู่บนศาลา คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ในวัดอาวุธวิกสิตาราม หรือวัดบางพลัดนอก กรุงเทพฯซึ่งเป็นวัดที่ท่านเคยอยู่บำเพ็ญศีลสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกวันนี้ยังมีสานุศิษย์และผู้ศรัทธา ไปกราบไหว้รูปปั้นท่านและยังมีผู้ไปอธิษฐานจิตขอปูน ไพล เพื่อไปรักษาโรคจากท่านมากมายหลายราย ซึ่งแม้ว่าท่านจะจากไปนานแล้วแต่คุณงามความดี ชื่อเสียงในทางธรรมที่ท่านเพียรสร้างไว้ ขณะยังมีชีวิตอยู่ก็ยังมีผู้กล่าวถึงอยู่ตลอดไป

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ก.ค. 2554, 07:31:19 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
พระคาถาศักดิ์สิทธิ์จากวิปัสสนาญาณ
ของ คุณแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม
วัดอาวุธวิกสิตาราม บางพลัด กรุงเทพ

พระคาถาพระฉิม

๏ นะชาลีติ ฉิมพาลี จะ มหาเถโร สุวรรณะมามา โภชนะมามา วัตถุวัตถามามา พลาพลังมามา โภคะมามา มหาลาโภมามา สัพเพชะนา พหูชะนา ภวันตุเม ฯ.

พระคาถานี้คุณแม่บุญเรือนได้จากสมาธิเมื่อวันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านให้สวดตามกำลังวันเพื่อบูชาพระสิวลีมหาเถระหรือพระฉิมพลีจะเป็นมหาลาภ มหาโชค มหาโภคทรัพย์อย่างยิ่ง

กำลังวันมีดังนี้ วันอาทิตย์ ๖ วันจันทร์ ๑๕ วันอังคาร ๘ วันพุธ ๑๗ วันพฤหัสบดี ๑๙ วันศุกร์ ๒๑ และวันเสาร์ ๑๐



แม่ชีบุญเรือน ได้อธิษฐานไปเขาวงพระจันทร์ พบพระผู้วิเศษ ขอพระธาตุท่านท่านก็ให้มา 1 องค์ แล้วได้กลับมาที่เดิมตามคำอธิษฐานพร้อมพระธาตุ การสามารถทำปาฏิหาริย์ดังกล่าวที่ปรากฏขึ้นได้เป็นผลแห่งความสำเร็จครั้งแรก ทำให้ท่านอธิษฐานเมื่อเข้าสมาธิ ผ่านที่ปิดล้อม หรือไปที่ไกลๆ ได้ชั่วระยะเวลาลัดนิ้วมือเดียว ในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 33 เท่านั้น

การอธิษฐานด้วยสัจวาจา ด้วยความที่แม่ชีเป็นผู้บรรลุฌาน 4 และอภิญญา 6 ทำให้วาจาของท่านมีอิทธิฤทธิ์ ที่จะพูดหรือสั่งการสิ่งใดในทางที่ชอบเกิดผลได้ เช่น อธิษฐานให้หายโรค ให้ร่ำรวยในทางที่ชอบ ให้ปลอดภัยจากอันตราย หรืออาจอธิษฐานให้เป็นไปตามคำอธิษฐานของท่านได้ เช่น ให้ฝนตก หรือให้ฝนหยุด อธิษฐานถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

อธิษฐานสิ่งของทั่วไป ได้แก่ การนำสิ่งของต่างๆ มาให้ท่านอธิษฐาน เช่น น้ำ ปูน ไพล เกลือ พริกไทย การอธิษฐานต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่นำไปใช้ได้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น อธิษฐานปูนกินหมาก ให้เป็นยาทิพย์ รักษาโรคให้หาย แก้โรคนานาชนิด เช่น มะเร็ง วัณโรค โรคไต เป็นต้น

อธิษฐานของพิเศษเป็นครั้งคราว เช่น อธิษฐานกรวด ทราย กันไฟไหม้ อธิษฐานก้อนหิน ศิลาน้ำ เพื่อใช้ป้องกันภัยบางประการ โดยเฉพาะศิลาน้ำ ใช้แทนคำอธิษฐานของท่าน เวลาวายชนม์ไปแล้ว เมื่อใช้ศิลาน้ำใส่ในน้ำ ก็กลายเป็นน้ำอธิษฐาน ไว้รับประทานแก้และป้องกันโรค ทั้งใช้ป้องกันอันตรายต่างๆ ได้ด้วย

ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด

แม่ชีบุญเรือนมีคณะบุญของท่านชื่อ "สามัคคีวิสุทธิ" วัตรปฏิบัติทั่วไปที่บ้านสามัคคีวิสุทธิ วันธรรมดาคุณแม่จะสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ทำกัมมัฏฐาน และรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ผู้ป่วยที่มาหา

วันเสาร์ จะอธิษฐานด้วยสัจวาจา และสิ่งของให้ผู้ป่วย เช่น ปูน ไพล ผลไม้ พริกไทย หลังจากนั้น 14.00 น. ท่านจะนำสานุศิษย์สวดมนต์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นทำกัมมัฏฐานเป็นเวลา 15 นาที กว่าจะเสร็จก็ประมาณ 15.00 น. เป็นเช่นนี้ทุกวันเสาร์

ก่อนวันขึ้นปีใหม่ทุกปี แม่ชีบุญเรือนจะอธิษฐานธรรมอวยพรให้บรรดาสานุศิษย์ ผู้ร่วมประกอบการบุญกับท่าน ท่านได้อธิษฐานธรรมประจุพระพุทธรูป และพระเครื่องสำคัญรวมทั้งร่วมสร้างด้วย คือ

พระพุทโธองค์ใหญ่ ซึ่งได้จัดทำพิธีหล่อสร้างที่วัดสัมพันธวงศ์ จนถวายพระประธานสำเร็จ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2496 แล้วสมโภช ต่อมาได้สมโภชที่วัดสัมพันธวงศ์อีก เมื่อวันที่ 4 ถึง 13 มีนาคม 2499 อัญเชิญไปวัดสารนารถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2499 เคลื่อนขบวนเวลา 06.09 น. ถึงวัดสารนารถธรรมารามเวลา 16.00 น.ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดสารนาถธรรมารามจนถึงปัจจุบัน แม่ชีบุญเรือนได้อธิษฐานธรรมในการก่อสร้างรวมทั้งการนำไปประดิษฐานโดยตลอด

พระพุทโธองค์เล็ก หรือพระพุทโธน้อย ซึ่งได้แก่ พระเครื่องที่สร้างขึ้นที่วัดอาวุธวิกสิตาราม บางพลัดนอก ธนบุรี โดย พระอาจารย์สงวน โฆสโก เจ้าอาวาสวัดอาวุธฯ ในขณะนั้น คุณแม่บุญเรือนได้ร่วมสร้างและทำพิธีอธิษฐาน เมื่อ 11-12-13 กันยายน 2494 รวมจำนวน 100,000 องค์

พระทั้งสองอย่างนี้ปรากฏว่าได้กลายเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ในระยะต่อมาเป็นอันมาก ทั้งด้านเมตตามหานิยม ป้องกันภัย แคล้วคลาด เจริญโภคสมบัติ กำจัดโรคร้าย

ไม่ต่างอะไรกับเครื่องรางของขลัง "ถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์" ที่แม่ชีบุญเรือนอธิษฐานมอบให้แก่ลูกๆ และสานุศิษย์ เมื่อต้นปี 2498

"พระพุทโธน้อย" เป็นพระเครื่องขนาดเล็กที่แม่ชีบุญเรือน สร้างขึ้นและอธิษฐานจิตให้ไว้แก่วัดอาวุธวิกสิตาราม ตำบลบางพลัดนอก ธนบุรี เมื่อปี 2494 เมื่อคราวช่วยสร้าง "พระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี" พระประธานวัดสารนารถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้อนุญาตให้ "พระอาจารย์สงวน โฆสโก" เจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม ในขณะนั้น ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันจัดสร้างพระพุทโธน้อย เพื่อแจกจ่ายแก่คณะผ้าป่าสามัคคี ปี 2494 แม่ชีบุญเรือนได้อนุโมทนาและอธิษฐานธรรมให้พร้อมทั้งขอให้สร้างเผื่อให้ด้วยจำนวนหนึ่ง เพื่อที่จะถวายพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งเป็นองค์อาจารย์อีกด้วย

การสร้างพระครั้งนั้น แม่ชีบุญเรือนเขียนบันทึกด้วยลายมือไว้ว่า "นมัสการเรียนพระเดชพระคุณทราบ ดิฉันได้อธิษฐานมา 4 วัน ตั้งแต่วันศุกร์มาถึงวันจันทร์กลางคืน ได้อัญเชิญธรรม ที่พระเดชพระคุณอธิษฐานเมื่อครั้งตั้งพระประธาน และสวมพระรัศมี วันนั้นเทวดาได้ถอนมาให้ แต่ของพระเดชพระคุณได้ลอยอยู่บนนภากาศ ดิฉันได้อัญเชิญประจุองค์พระพุทโธองค์นี้ ให้พระเดชพระคุณแล้ว แต่พระเดชพระคุณจะปรารถนาให้โบสถ์แล้วเร็วๆ แต่พระพุทโธองค์นี้ดิฉันถวายพระเดชพระคุณ เพื่อช่วยในด้านศาสนาให้เจริญด้วย ขอให้พระเดชพระคุณอาราธนาไปพร้อมกับทอดผ้าป่าด้วย เพื่อจะได้ประโยชน์กับวัดสารนารถและพระเดชพระคุณด้วย พุทธบริษัท 4 จะได้เจริญรุ่งเรือง สุกใสตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป กราบนมัสการมาด้วยความเคารพยิ่ง บุญเรือน โตงบุญเติม"


รูปและข้อมูล จากหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก
ที่มา
http://kumarntalk.net/webboard-id10494.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ท่านที่สนใจโปรดอ่านต่อ



ประวัติและปฏิปทาคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20386
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ก.ค. 2554, 09:47:00 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ สตีฟ ชุมพร

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 32
    • ดูรายละเอียด
ขอขอบพระคุณมากๆๆครับ ข้อความเหล่านี้เป็นประโยชน์ ต่อคนรุ่นหลังครับ ได้เอาแนวคิดไปใช้ ขอบคุณมากๆครับ

ออฟไลน์ aggie_kmitl

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 12
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
 :017:อนุโมทนาบุญค่ะ ปรารถนาจะปฏิบัติธรรมได้อย่างท่าน สาธุ
จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา