ผู้เขียน หัวข้อ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ  (อ่าน 9874 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« เมื่อ: 13 ก.ค. 2554, 09:52:30 »
ทำไมต้องมีวันเข้าพรรษา

   ประเพณีเข้าพรรษาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล แรกๆยังไม่มีประเพณีนี้ แต่ตอนหน้าฝน ชาวนาทำนากัน เวลาพระเดินก็ไปเหยียบโดนข้าวกล้าบ้าง เหยียบแมลงตายโดยไม่รู้ตัวบ้าง จนชาวบ้านเขาติเตียน ต่อมามีคนไปกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงบัญญัติให้มีการจำพรรษาในช่วงหน้าฝน ๓ เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (ประมาณกลางๆเดือนกรกฎาคม เร็วบ้าง ช้าบ้าง ต่างกันไปตามจันทรคติ) จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ช่วง ๓ เดือนนี้ พระภิกษุสงฆ์จะอยู่อาวาสเดียวตลอด ๓ เดือน ไม่จาริกไปในที่ต่างๆ ประเพณีเข้าพรรษาจึงเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีหล่อเทียนพรรษาเกิดขึ้นได้อย่างไร?

   ที่พระท่านอยู่ประจำที่ ถามว่าอยู่เพื่ออะไร ก็อยู่เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ทั้งการปฏิบัติธรรม และการศึกษาความรู้ในพระไตรปิฎก ในสมัยก่อนกลางคืนต้องอาศัยแสงสว่างจากแสงเทียน เพราะยังไม่มีไฟฟ้า แต่เทียนเล่มเล็กนอกจากมีแสงสว่างน้อยแล้ว จุดได้ไม่นานก็หมดเล่ม เพราะฉะนั้น เขาก็เลยหล่อเทียนเข้าพรรษาต้นโตๆขึ้นมา เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้อาศัยความสว่างจากเทียนพรรษาในการศึกษาพระธรรมวินัยตลอด ๓ เดือน

วันเข้าพรรษาในสมัยพุทธกาลต่างจากปัจจุบันอย่างไรบ้าง?

   โดยสาระหลักๆก็คล้ายๆกัน คือเป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำที่ ทำให้ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย เพราะปกติพระเถระท่านจะจาริกไปยังที่ต่างๆบ้าง พอท่านอยู่ประจำที่ ลูกศิษย์ลูกหาที่ต้องการศึกษาหาความรู้จากท่าน ก็มั่นใจได้ว่า ถ้าบวชช่วง ๓ เดือนนี้ ได้อยู่กับพระอาจารย์แน่ๆ ถ้านอกพรรษาบางทีพระอาจารย์ไม่อยู่ เพราะฉะนั้นต้องรีบมาบวชและรีบมาศึกษาพระธรรมวินัยกับท่าน จึงเกิดประเพณีบวชเข้าพรรษา ๓ เดือนขึ้น

บวชในพรรษากับบวชนอกพรรษาต่างกันไหม?

   การบวชไม่ต่างกัน ความแตกต่างอยู่ที่นอกพรรษาเราอาจจะบวชคนเดียว ไม่ได้บวชเป็นหมู่คณะ ถ้าเป็นอย่างนั้นจะศึกษาพระธรรมวินัยก็ไม่ค่อยเต็มที่ เหมือนนักเรียนที่ชั้นเรียนไม่สมบูรณ์ ขณะเดียวกัน อาจารย์ก็อยู่บ้าง ไม่อยู่บ้าง เพราะอาจจะจาริกไปโปรดญาติโยมในที่ต่างๆ แต่ถ้าบวชในพรรษามีข้อดีถึง ๒ อย่าง คือ
๑.   ในแง่ของนักเรียน ส่วนใหญ่นิยมบวชเข้าพรรษา บวชทีนึงเป็นกลุ่มเป็นก้อน เช่น ๕ รูป ๑๐ รูป ๒๐ รูป ที่วัดใหญ่ๆ บางวัดบวชกันนับ ๑๐๐ รูป ก็มี เพราะฉะนั้น ชั้นเรียนหรือนักเรียนก็จะเป็นปึกแผ่น
๒.   ในแง่ของอาจารย์ ช่วงเข้าพรรษาอาจารย์ไม่ไปไหนแน่ ต้องอยู่ตลอด ๓ เดือน เพราะฉะนั้น ก็พร้อมที่จะให้ความรู้นักเรียนได้เต็มที่ ผู้ที่บวชในช่วงเข้าพรรษาจึงได้ศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติ และปฏิบัติได้เต็มที่เป็นพิเศษมากกว่าคนที่บวชช่วงอื่นๆ

ปกติในเวลาเข้าพรรษาจะมีการถวายเทียน แต่ในปัจจุบันมีการถวายหลอดไฟฟ้าแทน ไม่ทราบว่าต่างกันหรือไม่ และบุญที่ได้ต่างกันแค่ไหน?

   เรื่องนี้ถ้าเราเข้าใจวัตถุประสงค์และที่มาที่ไปของประเพณี เราจะทำได้ถูกต้อง สมัยโบราณไม่มีไฟฟ้า ต้องอาศัยแสงเทียนในการศึกษาพระธรรมวินัย จึงมีการหล่อเทียนพรรษาและถวายเทียนพรรษา และอะไรก็ตามที่ถวายแด่พระรัตนตรัย ท่านจะทำกันสุดฝีมือ เทียนที่หล่อจึงไม่ใช่เทียนธรรมดา แต่แกะสลักลวดลายอย่างสุดฝีมือ ถือเป็นการแสดงความเคารพพระรัตนตรัย โบราณถือว่ายิ่งทำด้วยความตั้งใจ เจตนาบริสุทธิ์ และมีศรัทธาอย่างแรงกล้าเต็มเปี่ยม บุญยิ่งใหญ่มหาศาล สังเกตดูจะเห็นว่าศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรมทั้งหลายจะอยู่ที่วัด เพราะเวลาสร้างบ้านตัวเองเอาแค่พออยู่ได้ แต่สร้างโบสถ์ สร้างศาลา สร้างวิหาร ทำจนสุดฝีมือ มีฝีมือเท่าไรทุ่มไปจนสุด ทุ่มทั้งชีวิต กลายเป็นตัวดึงให้ศิลปะวัฒนธรรมของประเทศสูงไปด้วย เพราะคนโบราณจะมีความศรัทธาเลื่อมใสมาก ทำเต็มที่
   ในยุคปัจจุบัน ในเมื่อมีไฟฟ้าแล้ว จะศึกษาพระธรรมวินัยก็เปิดไฟฟ้าได้ ไม่ต้องจุดเทียน ประเพณีการถวายเทียนจึงเป็นแค่ประเพณีเฉยๆ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้จุดด้วยซ้ำไป พอรู้อย่างนี้เราถวายหลอดไฟได้ไหม คำตอบคือได้เหมือนกัน เพราะถวายในสิ่งที่พระท่านได้ใช้ประโยชน์ บางทีถ้ามีคนถวายหลอดไฟมากแล้ว เราจะถวายเป็นปัจจัยให้ท่านไปซื้อตำรับตำรา เพื่อความสะดวกในการศึกษาพระธรรมวินัยก็ได้ หรือบางทีท่านจะต้องเดินทางไปสำนักเรียนอาจต้องมีค่ารถบ้าง เราก็ถวายการอุปถัมป์เป็นค่ารถค่าอะไรต่างๆ อันนี้ก็เป็นประโยชน์ พูดง่ายๆ ให้ดูที่เป้าหมายหลักว่า ทำเพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาพระธรรมวินัยของท่าน

ที่จังหวัดอุบลราชธานีมีประเพณียิ่งใหญ่ในการหล่อเทียนพรรษา แต่เขามีการแข่งขันกันเป็นหมู่บ้าน และถึงขั้นพยายามที่จะเอาชนะกัน อย่างนี้จะถือว่าเจตนาไม่บริสุทธิ์หรือเปล่า?

   ถ้าลองไปดูจะเห็นว่าจริงๆแล้ว เขาแข่งขันกันด้วยความเบิกบาน ไม่ใช่แข่งแบบเอาเป็นเอาตาย หรือถ้าแพ้แล้วจะต้องเสียใจมากมาย แต่แข่งเพื่อเป็นการกระตุ้น เหมือนเวลาเรียนหนังสือ ถ้าไม่มีการสอบก็ไม่ค่อยอยากจะอ่านหนังสือ จะขยันเป็นพิเศษในช่วงจะสอบ กีฬาก็เหมือนกัน ถ้าหากเล่นกีฬาแล้วไม่มีการแข่งขันก็ไม่สนุก จะทำอะไรก็ตาม พอมีการแข่งขันจะกระตุ้นให้ทุ่มฝีมือเต็มที่ เลยกลายเป็นการแข่งขันกันระหว่างวัดนนี้กับวัดโน้น แต่ละวัดก็พยายามทุ่มกันสุดฝีมือ ถ้าปีนี้เราชนะก็ปีติเบิกบาน ถ้าเขาชนะก็ไปดูว่าเขามีอะไรดี ปีหน้าเราจะได้พัฒนาให้ดีกว่าเก่า เรียกได้ว่าเป็นการแข่งขันแบบสร้างสรรค์ แบบอยู่ในบุญ แข่งขันด้วยความปีติเบิกบาน กระตุ้นให้เกิดฉันทะคือคสามตื่นตัวที่จะพัฒนาฝีมือ ความรู้ความสามารถของตนเองให้ดีขึ้นเพื่อบูชาพระรัตนตรัย และยังทำให้ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและประเทศสูงขึ้นไปเรื่อยๆอีกด้วย

ถ้าหมู่บ้านหนึ่งหล่อเทียนสวยสู้อีกหมู่บ้านหนึ่งไม่ได้ จะได้บุญเท่ากันไหม?

   ถ้าเรามีความตั้งใจเต็มที่ เราก็ได้บุญมาก คนที่ฝีมือดีถึงจะทำแบบไม่ตั้งใจ แต่ผลงานที่ออกมาก็จะดีกว่าคนที่มีฝีมือไม่ดีแต่ตั้งใจทำ อย่างนี้ให้ดูที่ความตั้งใจเป็นหลัก ดูเจตนาว่ามีศรัทธาขนาดไหน ทำอย่างเสียไม่ได้ หรือว่าทำแบบสุดฝีมือด้วยความเคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัยจริงๆ ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้

ในช่วงเข้าพรรษาควรจะปฏิบัติตนอย่างไร?มีบางคนตั้งใจทำความดีอย่างเช่น งดเหล้า งดบุหรี่ ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีหรือเปล่า?

   ดีมาก สมัยโบราณคนนิยมบวชช่วงเข้าพรรษา เพราะพระอาจารย์ก็อยู่ประจำที่ บวชแล้วมีครูบาอาจารย์สั่งสอนอบรมแน่ๆ ทำให้วัดมีพระอยู่จำวัดมากที่สุดในช่วงเข้าพรรษา นอกพรรษามีพระ ๓ รูป ๕ รูป ในพรรษามีตั้ง ๑๐ รูป ๒๐ รูป ชาวบ้านก็นิยมไปทำบุญ ในวัดก็จะเกิดกิจกรรมที่คึกคัก ชาวบ้านบางคนมีลูกหลานไปบวช พ่อ แม่ ญาติพี่น้องก็ต้องไปวัด บางคนก็มีสามีไปบวช บางคนมีพ่อไปบวช ก็เลยไปทำบุญกันทั้งครอบครัว เมื่อมีญาติไปบวช ไปศึกษาพระธรรมวินัย และคนในครอบครัวก็ไปทำบุญกันอย่างนี้แล้ว เราอยู่ข้างนอกจะไปกินเหล้าได้อย่างไร อย่างคนที่มีลูกชายไปบวช พ่อจะเมาแอ๋ไปหาลูกได้อย่างไร เขินลูก เพราะฉะนั้น จึงเกิดเทศกาลแห่งการทำความดีว่า ช่วงเข้าพรรษางดเหล้า งดสูบบุหรี่ งดเล่นไพ่ ในพรรษาต้องตั้งใจสวดมนต์ ไปวัดทุกวันพระ ไปฟังเทศน์ฟังธรรม ถือศีล ๘ เป็นต้น เข้าพรรษาก็เลยเป็นเทศกาลแห่งการทำความดี ซึ่งมีผลไม่เฉพาะพระภิกษุที่อยู่จำพรรษานั้น แต่มีผลถึงชุมชนทั้งหมด คือ ทุกคนต่างตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นพิเศษกว่าช่วงอื่น

ในช่วงเข้าพรรษาพระภิกษุต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง?

   ในวันเข้าพรรษา พระจะไปรวมกันที่โบสถ์พร้อมกันทั้งวัด แล้วก็อธิษฐานด้วยการกล่าวคำว่า “อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ.” แปลว่า “ข้าพเจ้าขอธิษฐานอยู่จำพรรษา ณ อาวาสแห่งนี้ตลอด ๓ เดือนนี้” ตั้งจิตอธิษฐานว่าเราจะอยู่ที่วัดตลอด ๓ เดือน พอประชุมพร้อมกันเสร็จแล้ว พระภิกษุผู้เป็นเถระ เช่น เจ้าอาวาส ก็จะให้โอวาทพระภิกษุ ให้ตั้งใจฝึกฝนปฏิบัติธรรมเป็นพิเศษ และให้ข้อคิดต่างๆ ในการฝึกฝนตนเอง 

พระสงฆ์ท่านมีกิจกรรมในระหว่างพรรษาของท่าน แล้วพวกสาธุชนจะอธิษฐานพรรษาได้หรือเปล่า?

   สาธุชนไม่มีพระวินัยบังคับเรื่องอธิษฐานโดยตรง แต่ในพรรษาเราควรตั้งใจว่า ใน ๓ เดือนนี้จะทำความดีอะไรบ้าง สัก ๒-๓ ประการ ก็พอ ใครที่ดื่มเหล้าอยู่ พรรษานี้ต้องตั้งใจว่า จะไม่ยอมให้เหล้าแม้แต่หยดเดียวผ่านลำคอ จะงดบุหรี่และอบายมุขทั้งหลายด้วย ไม่ว่าการพนัน เที่ยวกลางคืน งดตลอด ๓ เดือน แล้วจะตั้งใจสวดมนต์และนั่งสมาธิทุกวัน
   ให้จำพรรษาอยู่ในวงกาย กายยาววา กว้างศอก หนาคืบ คือ ตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ ๑ วา กว้างประมาณ ๑ ศอก หนาประมาณ ๑ คืบ ให้เราจำพรรษาในวงกาย คือเอาใจมาอยู่กับเนื้อกับตัวด้วยการทำสมาธิ เอาใจมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย
   ถ้าทำอย่างนี้แล้ว พรรษานี้จะเป็นพรรษาแห่งความรุ่งเรืองและความสำเร็จของทุกๆคน

แต่ละวัดมีการจัดกิจกรรมในวันเข้าพรรษาเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

   หลักการใหญ่ที่ไม่ต่างกันคือการที่พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำที่ ๓ เดือน แล้วศึกษาพระธรรมวินัย แต่รายละเอียดของการปฏิบัติจะเข้มข้นขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละวัด เช่น บวชแล้วต้องมีการศึกษาพระธรรมวินัย เรื่องนี้เราต้องยอมรับว่า บางวัดอาจจะมีพระน้อย และมีผู้เข้ามาบวชพรรษาแค่ ๑-๒ รูป จำนวนนักเรียนยังไม่เป็นปึกแผ่นเท่าที่ควร ครูบาอาจารย์ที่จะสอนก็อาจจะพร้อมบ้าง ไม่พร้อมบ้าง เพราะฉะนั้น ก่อนบวชพยายามเลือกสักนิดหนึ่งว่าจะบวชที่ไหน จึงจะสามารถศึกษาพระธรรมวินัยได้เต็มที่ ไม่ใช่แค่ได้ชื่อว่าบวช แต่บวชแล้วขอให้ได้ปฏิบัติจริง ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจริง ในเมื่อยอมสละเวลามา ๓ เดือนแล้ว ให้ใช้ ๓ เดือนนี้อย่างคุ้มค่าจริงๆ เพราะว่าชีวิตคนๆหนึ่ง จะมีการบวช ๓ เดือน ได้สักกี่ครั้ง อาจจะเป็นแค่ครั้งเดียวในชีวิต ขอให้ใช้เวลาช่วงนี้ให้เกิดประโยชน์ที่สุด คุ้มค่าที่สุด
   ในกรณีขจอง๕ระสงฆ์ หากกำลังไม่พร้อม อาจจะใช้วิธีรวมกัน เช่น ในตำบลมีอยู่ ๔-๕ วัด อาจจะมาบวชแล้วรวมกันอยู่วัดใดวัดหนึ่ง จะได้มีจำนวนมากขึ้น แล้วเอาครูบาอาจารย์ที่เก่งในวิชาต่างๆ ของแต่ละวัดมาช่วยกันสอน เพราะวัดในตำบลเดียวกันก็ไม่ได้ไกลกันมาก ญาติโยมจะได้มาเยี่ยมพระลูกหลานได้สะดวก
   ประเด็นหลัก คือ บวชแล้วขอให้ได้ศึกษาพระธรรมวินัย อย่าบวชเสียผ้าเหลือง ต้องมีกิจวัตรกิจกรรม มีการฝึกตัวเองที่เข้มข้น ตัวอย่างกิจวัตรที่วัดพระธรรมกาย ตอนเช้า ตื่นตี ๔ ครึ่ง สวดมนต์ทำวัตรเช้า นั่งสมาธิ พอฟ้าเริ่มสางก็ออกไปบิณฑบาต ส่วนหนึ่งอยู่ทำความสะอาดกุฏิ ดูแลสถานที่ต่างๆให้เรียบร้อย เวลา ๗ โมงเช้า ฉันเช้าพร้อมกัน โดยมีพระอาจารย์มาสอนมารยาทในการขบฉัน ๘ โมงครึ่ง สวดมนต์นั่งสมาธิต่อถึงเพล ฉันเพลเสร็จพักกันสักครู่ พอบ่ายโมงก็ศึกษาพระธรรมวินัย ตกเย็นก็ช่วยกันทำความสะอาดสถานที่และทำภารกิจต่างๆ ๑ ทุ่ม สวดมนต์ นั่งสมาธิ กิจวัตรกิจกรรมเป็นอย่างนี้ตลอดทุกๆวัน เพราะฉะนั้น พระบวชใหม่จะได้รับการฝึกฝนอย่างเต็มที่
   บวชครบ ๓ เดือนแล้ว เมื่อกลับออกไปคนโบราณจะเรียกว่า ”ทิด” แปลว่าคนสุก คือกิเลสถูกการบำเพ็ญตบะด้วยการทำความดีบ่มจนสุก แม้ยังไม่ถึงกับหมดกิเลส แต่จากดิบๆ กลายเป็นสุกแล้ว กลายเป็นผู้มีคุณธรรม มีความยับยั้งชั่งใจ เจอปัญหาอะไรก็มีหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ศึกษามาเป็นหลักในการแก้ไข คนอย่างนี้ถึงจะเรียกว่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ คือเป็นผู้ใหญ่ที่มีหลักในการดำรงชีวิต เจอปัญหาก็รู้ว่าควรจะแก้อย่างไร โดยเอาหลักธรรมมาใช้ในการแก้ปัญหา สมัยโบราณใครบวชไม่ครบ ๓ เดือน ไม่เรียกทิด ถ้าใครยังไม่เป็นทิดเวลาไปขอลูกสาว เขาไม่ให้ เพราะเขาไม่มั่นใจว่าจะมีคุณธรรมเพียงพอที่จะไปดูแลลูกสาวเขา
   คนโบราณฉลาดมาก สังคมจึงสงบร่มเย็น ประเทศไทยจึงได้ชื่อว่าสยามเมืองยิ้ม ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ตอนนี้ชักยิ้มไม่ค่อยออกเพราะขาดธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประเทศของเรามีทุนทางวัฒนธรรมที่มาจากรากฐานของพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว หากบวชให้ถูกหลักเข้าพรรษาแล้วละก็ เราจะสามารถเอาความสงบร่มเย็นและความสมานฉันท์กลับคืนมาสู่บ้านเมืองของเราได้เป็นอย่างดี

ในช่วงเข้าพรรษามีกิจกรรมสำหรับผู้ชายค่อนข้างมาก แล้วผู้หญิงจะมีการรักษาศีลหรือว่าบวชบ้างไหม?

   ฝ่ายหญิงถือว่ามีความสำคัญมากเช่นกัน สังเกตดูวัดแต่ละแห่งมีผู้หญิงเข้าวัดมากกว่าผู้ชาย เพราะฉะนั้นฝ่ายหญิงคือกำลังสนับสนุนที่สำคัญ โดยเฉลี่ยผู้หญิงทำบุญตักบาตรมากกว่าผู้ชาย ขยันขันแข็งกว่า ไปวัดมากกว่า ถึงคราววันพระวันโกน บางทีไปค้างวัดเลย ไปรักษาศีล ๘ ไปถืออุโบสถศีล และฟังเทศน์ฟังธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ
   สมัยโบราณ ใครต้องการจะฝึกฝีมือเรื่องอะไรต้องไปที่วัด เช่น สาวๆที่จะให้มีเสน่ห์ปลายจวักทำกับข้าวเก่ง ต้องไปเข้าโรงครัวของวัด สุดยอดฝีมือ แม่ครัวของทั้งชุมชนอยู่ที่วัด เพราะแม่บ้านแต่ละบ้านใครเก่งเรื่องอะไรมาโชว์ฝีมือสุดๆกันที่วัดเลย ใครอยากจะฝึกเรื่องอะไรให้ไปฝึกที่วัด ไปเป็นลูกมือให้เขาก่อน ทำไปๆเดี๋ยวก็เก่ง เพราะฉะนั้น ใครจะไปฝึกแกะสลักผลไม้ หรือจะทำอะไรงามๆถวายวัด ต้องไปฝึกที่วัด
   ฝ่ายหญิงจึงเป็นฝ่ายที่มีความสำคัญ มีคำๆหนึ่งกล่าวถึงความสำคัญของผู้หญิงเอาไว้ เป็นภาษาบาลี คือ คำว่า “อิตฺถีสทฺโท” อิตฺถี แปลว่า หญิง สทฺโท แปลว่า เสียง มีความหมายว่า เสียงของหญิงดังเสมอ อย่างเช่น ถ้าผู้หญิงนิยมสิ่งใด ผู้ชายจะปรับตัวตาม ถ้าผู้หญิงบอกว่า “เธอยังไม่บวช ยังไม่เป็นทิด ฉันไม่แต่ง” อย่างนี้กระแสการทำความดี กระแสการบวชเกิดขึ้นเลย ถ้าประสานกันทั้งชายทั้งหญิงแล้วละก็ ทุกคนจะมีส่วนช่วยในการทำให้ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ สงบร่มเย็นทั้งหมด เจริญพร.

ที่มา - นิตยสารอยู่ในบุญ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๐๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔
เรื่องโดย - พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ (M.D.; Ph.D.)

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 13 ก.ค. 2554, 10:11:56 »
ได้ความรู้มากๆเลยครับ 36; 36;
                                                   
ขอบคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่นำบทความที่ดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ
                                                                                                                                             
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 13 ก.ค. 2554, 10:23:06 »
ขอบคุณหลายๆครับ
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 07:55:54 »
ขอเรียนถามท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

พอดีวันนี้ ไปกราบท่านพระอาจารย์ฯ :054: เพื่อถวายเทียนพรรษาพร้อมทั้งน้ำผึ้ง...
แล้วคุยกับน้ิองท่านหนึ่ง น้องบอกว่า ในพรรษาพระท่านจะไม่บิณฑบาต แต่ผมคิดว่าถ้าไม่บิณฑบาตพระท่านจะเอาอะไรขบฉัน
ส่วนท่านพระอาจารย์ฯ ในพรรษาท่านจะไม่ฉันข้าว จะฉันแต่ผลไม้และน้ำผึ้ง เป็นต้น วันนี้ผมก็นำภัตตาหาร(ข้าวและกับข้าว)ไปถวายท่าน
ท่านบอกไม่ฉันแล้วครับ :054: กำลังปรับกระเพาะร่างกายเพื่อฉันผลไม้

ทั้งสองประการมีที่มาเช่นไรครับ ใคร่ขอทราบเป็นความรู้ครับ

ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 09:01:06 »
ขอเรียนถามท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

พอดีวันนี้ ไปกราบท่านพระอาจารย์ฯ :054: เพื่อถวายเทียนพรรษาพร้อมทั้งน้ำผึ้ง...
แล้วคุยกับน้ิองท่านหนึ่ง น้องบอกว่า ในพรรษาพระท่านจะไม่บิณฑบาต แต่ผมคิดว่าถ้าไม่บิณฑบาตพระท่านจะเอาอะไรขบฉัน
ส่วนท่านพระอาจารย์ฯ ในพรรษาท่านจะไม่ฉันข้าว จะฉันแต่ผลไม้และน้ำผึ้ง เป็นต้น วันนี้ผมก็นำภัตตาหาร(ข้าวและกับข้าว)ไปถวายท่าน
ท่านบอกไม่ฉันแล้วครับ :054: กำลังปรับกระเพาะร่างกายเพื่อฉันผลไม้

ทั้งสองประการมีที่มาเช่นไรครับ ใคร่ขอทราบเป็นความรู้ครับ

ขอบคุณครับ
ประเด็นเรื่องภิกษุไม่บิณฑบาตในช่วงเข้าพรรษา

   การบิณฑบาตของภิกษุ เป็น ๑ ใน"นิสสัย" (คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ,สิ่งที่บรรพชิตพึงกระทำ) ซึ่งประกอบไปด้วย ๔ อย่าง คือ เที่ยวบิณฑบาต, นุ่งห่มผ้าบังสุกุล, อยู่โคนไม้, ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า

   - เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุต่างจากคฤหัสถ์ คฤหัสถ์มีการทำมาหาเลี้ยงชีพ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัย ๔ แต่ภิกษุไม่สามารถประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีพได้ ฉะนั้นภิกษุจึงต้องดำรงชีพในชีวิตสมณะโดยการบิณฑบาต(ปิณฺฑปาต = ก้อนข้าวที่ตก) ถือเป็นกิจที่สมณะพึงปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตน และประโยชน์แก่สาธุชนผู้แสวงบุญเลี้ยงดูทำนุบำรุงดูแลสมณะ เพื่อให้สมณะได้มีแรงมีกำลังในการศึกษาพระธรรมคำสอนและบำเพ็ญสมณธรรมอย่างสะดวกสบาย มีข้อยกเว้นกล่าวไว้เช่นกัน คือ หากมีสาธุชนกล่าวอาราธนานิมนต์ให้ฉันภัตตาหารแล้ว ก็ไม่ถือว่าผิดพระวินัยแต่ประการใด อย่างเช่น เช้านี้พระสงฆ์ไม่ได้ออกไปบิณฑบาต เพราะมีโยมสาธุชนนิมนต์ให้ไปฉันภัตตาหารอยู่ก่อนแล้ว ก็ไม่ถือว่าผิดนิสสัยแต่ประการใด เป็นต้น

   - นุ่งห่มผ้าบังสุกุล พระภิกษุนุ่งห่มผ้าไตรจีวร ที่กล่าวกันว่าคือ"ธงชัยของพระอรหันต์" ประกอบไปด้วยผ้า ๓ ผืน ได้แก่ สบง ๑,ผ้าจีวร ๑ ,สังฆาฏิ ๑ รวมเป็น ๓ ผืน ก่อนพระภิกษุจะนุ่งห่มผ้าก็จะต้องมีการพิจารณาทั้งก่อนใช้ ขณะใช้ และหลังใช้ ว่านุ่งห่มเพื่อบำบัดความหนาว บำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์ทั้งหลาย และเพื่อปกปิดอวัยวะอันทำให้เกิดความละอาย ในพระวินัยมีกล่าวเกี่ยวกับผ้าไว้มากลองศึกษาเพิ่มเติมดูนะครับ อาทิ การพินทุ , การวิกัปป์ , การอธิษฐานฯ

   - อยู่โคนไม้ ในสมัยก่อนนั้นภิกษุอาศัยกันอยู่บริเวณโคนไม้ มาในปัจจุบันข้อนี้ก็ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย คือ ภิกษุอาศัยตามกุฏิ แต่การสร้างกุฏิก็ต้องอยู่ในกรอบของพระวินัยเช่นกัน ด้วยมีการปรับอาบัติสังฆาทิเสสโดยสงฆ์สวดประกาศเป็นต้น

   - ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ในสมัยก่อนภิกษุเมื่อเจ็บไข้ไม่สบายขึ้นมา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าเป็นยาได้ น้ำมูตรเน่านี้ความจริงก็คือ"น้ำปัสสาวะ"นั่นเอง ส่วนจะฉันให้เป็นยารักษาโรคได้อย่างไรนั้น สอบถามหลังไมค์ได้นะครับ :002:

   มาว่ากันต่อที่ประเด็นภิกษุไม่บิณฑบาตในช่วงเข้าพรรษานะครับ อาจจะเป็นไปได้ที่ว่ามีคฤหัสถ์ปวารนาถวายภัตตาหารเป็นนิจอยู่แล้ว ภิกษุจึงไม่ออกบิณฑบาตครับ เพราะโดยปกติพระภิกษุต้องเที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำอยู่แล้วไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเข้าพรรษาหรือนอกพรรษาแล้วก็ตาม และถ้าหากภิกษุไปหาซื้อกับข้าวมาฉันเองก็จะต้องอาบัตินิสัคคิยปาจิตตีย์ ในข้อ"ภิกษุทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ(รูปิยะ คือ ของที่เขาใช้เป็นทองและเงิน)ต้องนิสัคคิยปาจิตตีย์

   หากพิจารณาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้มีการเข้าพรรษาก็เพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุเที่ยวจาริกไปในที่ต่างๆในช่วงฤดูฝน ซึ่งช่วงนี้เองต้นกล้าข้าวของชาวบ้านกำลังออกรวง หากภิกษุเที่ยวจาริกไปแล้วก็จะเหยียบย่ำจนเกิดความเสียหาย พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติให้ภิกษุอยู่จำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน(ประมาณว่าจนหมดช่วงฤดูฝน) เหตุผลของการจำพรรษาจึงเป็นมาอย่างนี้ครับ

ประเด็นต่อมาว่าด้วยในพรรษาพระท่านจะไม่ฉันข้าว จะฉันแต่ผลไม้และน้ำผึ้ง?

   โดยปกติแล้วในพระวินัยไม่มีการห้ามภิกษุฉันข้าว และใช้ฉันได้แต่ผลไม้และน้ำผึ้งในช่วงเข้าพรรษาแต่อย่างใดครับ ก่อนขบฉัน ขณะขบฉัน และหลังขบฉัน ก็ต้องพิจารณาว่าจักขบฉันไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน ไม่เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังกาย ไม่เป็นไปเพื่อประดับและตกแต่ง แต่เป็นไปเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งสังขารร่างกาย เป็นไปเพื่ออัตภาพ เพื่อความสิ้นแห่งความลำบากทางกาย และเพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์เป็นที่สุด   (สรุปย่อคำแปลจากบทพิจารณาอาหาร"ปฏิสังขาโยฯ)

   เหตุผลที่พระท่านไม่ฉันข้าวและฉันผลไม้ น้ำผึ้งแทน ข้อนี้ ผมเองก็ไม่ทราบวัตถุประสงค์เช่นกันครับ อย่างไรเสียลองสอบถามเหตุผลกับพระอาจารย์ท่านดูนะครับ

ฝากทิ้งท้ายด้วยธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้แก่ภิกษุเพื่อไว้พิจารณาเนืองๆ ๑๐ ประการดังนี้

๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า บัดนี้ เรามีเพษต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใดๆของสมณะเราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ(เพื่อให้สำรวมกิริยาอาการให้เหมาะสมกับสมณะสารูป)

๒. การเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย(เพื่อให้สำรวมการฉันอาหารตามมีตามได้ ไม่เลือกฉัน)

๓. อาการทางกาย วาจา อย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก มิใช่เพียงเท่านี้(เพื่อสำรวมกาย วาจาให้ยิ่งๆขึ้นไป)

๔. ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่(เพื่อความไม่ประมาท ไว้ตรวจสอบความประพฤติตนเองว่ามีข้อบกพร่องหรือไม่)

๕. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่(เพื่อรู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น น้อมรับคำติเตียนจากผู้รู้)

๖. เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจด้วยกันหมดทั้งสิ้น(เพื่อเตรียมใจรับสภาพกฎเกณฑ์ความธรรมดา คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

๗. เรามีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว(เพื่อให้ทำความดีละเว้นความชั่ว)

๘. วันคืนล่วงไป บัดน้เราทำอะไรอยู่(เพื่อไม่ปล่อยเวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์)

๙. เรายินดีในที่สงัดหรือไม่(เพื่อให้เกิดความพอใจในการปฏิบัติธรรมที่เกิดจากการอยู่ในที่สงบ)

๑๐. คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในการภายหลัง(เพื่อให้เกิดความเพียรเพื่อบรรลุคุณวิเศษคือมรรคผล นิพพาน).
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ก.ค. 2554, 09:10:59 โดย ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 09:07:56 »
ขอบพระคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)  เป็นอย่างยิ่งที่นำความรู้มาให้ศึกษาครับ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 16 ก.ค. 2554, 09:28:48 »
ขอเรียนถามเพิ่มเติม

หากคนไฝ่รู้ธรรมะ ไฝ่ปฏิบัติและศึกษา บวชเรียนในพรรษา พอครบพรรษาแล้วลาสิกขาออกไปเป็นฆราวาส 9 เดือน พอเข้าพรรษาแล้วมาบวชใหม่ ทำหลายๆครั้ง อย่างนี้จะได้ไหม แล้วที่ว่าชายสามโบสถ์คบไม่ได้....มันเป็นเช่นไร

การนับพรรษา หากบวชปีนี้ 1 พรรษา(3 เดือนและสึก) แล้วปีหน้าบวชอีก 1 พรรษา(อีก 3 เดือน) จะนับรวมเป็นสองพรรษาได้หรือไม่

การสึกการพรรษาจะไม่ดีอย่างไร(ทั้งในบทบัญญัติและคติความเชื่อ) ทั้งมีเหตุจำเป็นและไม่จำเป็น

พระอรัญวาสี ออกธุดงควัตร จำเป็นต้องกลับมาเข้าพรรษาในวัดในสำนักหรือไม่ ถ้าไม่...จะต้องทำเช่นไร

ขอความกระจ่างด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 ก.ค. 2554, 09:37:41 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 16 ก.ค. 2554, 10:55:23 »
ขอเรียนถามเพิ่มเติม

หากคนไฝ่รู้ธรรมะ ไฝ่ปฏิบัติและศึกษา บวชเรียนในพรรษา พอครบพรรษาแล้วลาสิกขาออกไปเป็นฆราวาส 9 เดือน พอเข้าพรรษาแล้วมาบวชใหม่ ทำหลายๆครั้ง อย่างนี้จะได้ไหม แล้วที่ว่าชายสามโบสถ์คบไม่ได้....มันเป็นเช่นไร

การนับพรรษา หากบวชปีนี้ 1 พรรษา(3 เดือนและสึก) แล้วปีหน้าบวชอีก 1 พรรษา(อีก 3 เดือน) จะนับรวมเป็นสองพรรษาได้หรือไม่

การสึกการพรรษาจะไม่ดีอย่างไร(ทั้งในบทบัญญัติและคติความเชื่อ) ทั้งมีเหตุจำเป็นและไม่จำเป็น

พระอรัญวาสี ออกธุดงควัตร จำเป็นต้องกลับมาเข้าพรรษาในวัดในสำนักหรือไม่ ถ้าไม่...จะต้องทำเช่นไร

ขอความกระจ่างด้วยครับ
หากคนไฝ่รู้ธรรมะ ไฝ่ปฏิบัติและศึกษา บวชเรียนในพรรษา พอครบพรรษาแล้วลาสิกขาออกไปเป็นฆราวาส 9 เดือน พอเข้าพรรษาแล้วมาบวชใหม่ ทำหลายๆครั้ง อย่างนี้จะได้ไหม แล้วที่ว่าชายสามโบสถ์คบไม่ได้....มันเป็นเช่นไร?

   อุปสมบทแล้วลาสิกขาออกไปเป็นฆาราวาสและกลับเข้ามาอุปสมบทใหม่และลาสิกขาไปอีกเช่นนี้เรื่อยๆ สามารถทำได้ครับ(คำของพระอาจารย์ที่ผมเคารพท่านนึงได้กล่าวไว้ว่า"พระไทยบวชได้สึกได้")

   คราวนี้มาลองดูในพระวินัยกันบ้างครับ ในพระวินัยได้ห้ามผู้ที่เคยอุปสมบทแล้ว แล้วทำอาบัติหนักคือ"ปาราชิก"(แปลว่า ผู้พ่าย) ห้ามกลับมาบวชในพระพุทธศาสนาอีกครับ ถึงแม้ว่าจะผ่านพิธีญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทาแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ ถือว่าเป็นแค่ผู้นำผ้าเหลืองมาห่มกายเพียงแค่นั้น อาบัติปาราชิก ถือเป็น อาบัติหนักร้ายแรงที่สุดในเพศสมณะ หากเปรียบเทียบเป็นโทษของฆาราวาส ก็เท่ากับโทษประหารชีวิตเลยทีเดียว ฉะนั้นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ก็จะขาดจากความเป็นพระทันที และไม่มีสิทธิ์ที่จะกลับมาบวชอีกในชาตินั้นอีกด้วยครับ

   เรามาลองดูกันครับว่าอาบัติปาราชิกมีอะไรกันบ้าง อาบัติปาราชิก มีอยู่ด้วยกัน ๔ สิกขาบท ได้แก่

๑. ภิกษุเสพเมถุน(ร่วมประเวณี,มีเพศสัมพันธ์)กับมนุษย์ อมนุษย์ หรือแม้แต่สัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติปาราชิก(เพียงแค่มรรคจรดมรรคก็ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที)

๒. ภิกษุลักทรัพย์ของผู้อื่น มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสก ขึ้นไป(๕ มาสก เทียบได้กับ ๑ บาท ไทย)ต้องอาบัติปาราชิก(เพียงแค่ของเคลื่อนจากที่ หรือ เพียงแค่ยกแล้วลมลอดผ่านได้ ก็ขาดจากความเป็นภิกษุทันที)

๓. ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติปาราชิก(คำว่ามนุษย์ในที่นี้ เริ่มนับตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์)

๔. ภิกษุอวดอุตริมนุษธรรมที่ไม่มีในตน(อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน) ต้องอาบัติปาราชิก (เพียงแค่ผู้รู้เดียงสาเข้าใจในความหมายนั้น ต้องขาดจากความเป็นพระทันที)

   ทั้ง ๔ ข้อนี้ ถือเป็นพื้นฐานของผู้บวชในพระพุทธศาสนา ที่จะต้องได้รับการอบรมจากพระอุปัชฌาย์ในวันอุปสมบท มีกล่าวไว้ในอนุศาสน์ ๘ ในหัวข้อ อกรณียกิจ ๔

จึงได้ข้อสรุปว่า เมื่อบวชเป็นพระแล้วลาสิกขาสึกออกมา แล้วกลับไปบวชอีกแล้วสึกอีก เช่นนี้เรื่อยไป สามารถทำได้ หากขณะเป็นภิกษุไม่ต้องอาบัติปาราชิกมาก่อนครับ

แล้วที่ว่าชายสามโบสถ์คบไม่ได้....มันเป็นเช่นไร?

   "หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์ คบไม่ได้" เป็นคำกล่าวที่เราๆท่านๆอาจจะเคยได้ยินหรือได้ฟังมาบ้างนะครับ ในความเห็นส่วนตัวคิดว่า ที่คบไม่ได้เพราะ มีจิตใจโลเลไม่มั่นคง ไม่มีความแน่นอน

   เพราะอะไร? ก็เพราะว่า ในวันอุปสมบทผู้บวชได้กล่าวคำขอบวช ขอนิสสัย ในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ ต่อหน้าพระประธาน ภายในขอบเขตพัทธสีมาของพระอุโบสถ และกล่าวคำซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการบวชด้วยภาษาบาลีไว้ว่า "สัพพะทุกขะนิสสะระณะ นิพพานะสัจฉิกะระณัตถายะฯ" เป็นต้น แปลความโดยย่อว่า "ขออุปสมบทเพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง" หากมีความประสงค์ตามที่กล่าวไว้จริงๆ ให้ลองสังเกตดูขณะที่จะลาสิกขาบทครับ ในพิธีสึกเราจะต้องกล่าวกับพระสงฆ์โดยแปลความได้ว่า "ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า บัดนี้ข้าพเจ้าได้เป็นคฤหัสถ์แล้ว " ก่อนที่จะดึงผ้าพาด(สังฆาฏิ)ออก ท่านจะถามเราว่า "ปลงพระวินัยตกหรือยัง?" คำถามนี้มันเป็นอะไรที่สะเทือนใจสุดๆครับสำหรับผม ผมเองตอบท่านกลับไปอย่างชนิดที่ว่าพูดไม่ออก เสียงสั่นเครือ น้ำตาคลอเบ้าทั้งสองข้าง ถือว่าเป็นสิ่งที่สะเทือนอารมณ์อย่างนึงในชีวิตนี้ที่ได้เคยประสบพบมาครับ

   หากคุณลองเจอสถานการณ์แบบนี้บ้างก็จะรู้เองครับว่าความรู้สึกมันเป็นอย่างไร และก็จะเข้าใจความหมายของคำว่า"ชายสามโบสถ์ คบไม่ได้" คืออะไร? แล้วทำไมผมเองจึงให้ความหมายว่า คือ คนที่มีจิตใจโลเล ไม่มั่นคง คำตอบมันกรองผ่านมาจากข้างในจริงๆครับ

   แต่ก็ไม่ใช่เสมอไปนะครับที่ว่า ชายสามโบสถ์จะคบไม่ได้ไปเสียทีเดียว มันเป็นเพียงแค่คำกล่าวที่ใช้ได้ในบางกรณีเท่านั้นครับ ลองนึกย้อนกลับไปในสมัยพุทธกาล ก็เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาแล้ว เรื่องก็มีอยู่ว่ามีชายหนุ่มคนนึงหาเลี้ยงชีพด้วยการเกษตรกรรม ทำงานหนักตรากตรำจนร่างกายผอมโซ เมื่อเห็นพระภิกษุผู้เป็นศิษย์ของตถาคต อยู่ดีกินดี มีคนนำภัตตาหารมาถวาย ได้รับการกราบไหว้บูชา คิดอยากจะได้ลาภสักการะเช่นนั้นบ้าง จึงเข้าไปขออุปสมบทกับพระรูปนึง ท่านก็อุปสมบทให้(สมัยก่อนนั้นหากไม่ได้บวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ใช้วิธีติสรณคมนูอุปสัมปทาได้) พออยู่ไปได้สักพักนึงร่างกายก็บริบูรณ์ เลยคิดอยากจะสึกกลับไปหาเลี้ยงชีพตามแบบเก่า จึงขอลาสิกขาออกไป เมื่อลาสิกขาออกไปแล้วก็เกิดเหตุการณ์เช่นเดิม ก็ได้กลับมาบวชอีกแล้วก็สึกอีก เป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้ง จนพระที่เป็นผู้บวชให้เอือมระอา เมื่อมาขอบวชอีกจึงกล่าวทักท้วงไปไม่ให้บวช แต่พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นถึงการบรรลุธรรมของหนุ่มผู้นั้นจึงทรงอนุญาตให้บวช และในที่สุดก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสรูปนึงในบวรพระพุทธศาสนาครับ

การนับพรรษา หากบวชปีนี้ 1 พรรษา(3 เดือนและสึก) แล้วปีหน้าบวชอีก 1 พรรษา(อีก 3 เดือน) จะนับรวมเป็นสองพรรษาได้หรือไม่?

   การนับพรรษามีวิธีการนับอย่างนี้ครับ จะนับเป็นพรรษาได้ ต้องอยู่จำพรรษาในช่วงเข้าพรรษา ๓ เดือน ก่อนครับ จึงจะเริ่มนับพรรษาที่ ๑ ได้ หากบวชในช่วงที่ไม่ได้เข้าพรรษาถึงแม้ว่าระยะเวลาจะครบ ๓ เดือนก็จริง ก็จะยังไม่นับว่าเป็นพรรษาที่ ๑ ครับ

   หากลาสิกขาบท(สึก)แล้ว กลับมาบวชใหม่ ก็จะต้องเริ่มนับพรรษา ๑ ใหม่เช่นกันครับ จะนำจำนวนพรรษาที่เคยบวชมาก่อนหน้านี้มารวมนับไม่ได้ครับ

การสึกการพรรษาจะไม่ดีอย่างไร(ทั้งในบทบัญญัติและคติความเชื่อ) ทั้งมีเหตุจำเป็นและไม่จำเป็น?

   ผมเข้าใจประมาณจะถามว่า การสึก"กลาง"พรรษาจะไม่ดีอย่างไร(ทั้งในบทบัญญัติและคติความเชื่อ) ทั้งมีเหตุจำเป็นและไม่จำเป็น? นะครับ (ผิดถูกอย่างไรขออภัยครับผม) อธิบายดังนี้ครับ

   การเข้าพรรษา ภิกษุจะต้องอธิษฐานเข้าพรรษาด้วยการกล่าวคำว่า "อิมสฺมึ อาวาเสอิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ" คำแปลก็ประมาณว่า ข้าพเจ้าขอตั้งอธิษฐานว่าจะอยู่จำพรรษาในอาวาสนี้ เป็นเวลา ๓ เดือน เมื่อภิกษุได้กล่าวแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามสัจจะที่ตนได้กล่าวไว้ หากแม้ภิกษุรูปใดที่มีเหตุจำเป็น อาจจะลาสิกขาก่อนหรืออะอไรก็ตาม เวลาประชุมสงฆ์เพื่ออธิษฐานเข้าพรรษา ก็ไม่ต้องอธิษฐานเข้าพรรษาก็ได้ครับ เพราะไม่ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานไว้ แล้วจะสึกกลางพรรษาก็ไม่เป็นอะไรครับ แต่ถ้าหากอธิษฐานเข้าพรรษาไปแล้ว แล้วมีเหตุต้องจาริกไปตามที่ต่างๆด้วยเหตุจำเป็นจริงๆ พระวินัยมีทางออกให้ไว้คือการสัตตาหะ คือลาไปไม่เกิน ๗ วันครับ(ลองศึกษาเพิ่มเติมดูครับ)

   คราวนี้กลับมามองในเรื่องทางโลกครับ ชาวบ้านโดยทั่วไป มักจะเข้าใจผิดคิดว่า พระที่สึกกลางพรรษานั้น จะต้องทำความผิดอย่างร้ายแรง จนโดนสึกเสียมากกว่าครับ แต่ความจริงต้องลองพิจารณาเหตุผลประกอบไปด้วยครับ จึงจะทราบความเป็นจริงว่าเป็นมาอย่างไร

พระอรัญวาสี ออกธุดงควัตร จำเป็นต้องกลับมาเข้าพรรษาในวัดในสำนักหรือไม่ ถ้าไม่...จะต้องทำเช่นไร?

   ความเป็นไปได้ก็คือ ต้องหาอาวาสเพื่ออธิษฐานเข้าพรรษา ทั้งนี้เพื่อเป็นการไม่ให้ผิดพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ให้ภิกษุอยู่จำพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปดหลัง จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ครับผม

......................................

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 ก.ค. 2554, 11:15:15 โดย ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 16 ก.ค. 2554, 11:27:04 »
ขอบคุณครับ :054:

ผมพิมพ์ผิดและท่านเข้าใจถูก "การสึกกลางพรรษา...." (จิตหลุด :075:)

ขอถามเพิ่มเติมอีกครับ อาจไม่เกี่ยวกับเข้าพรรษา
แต่ผมไปยืนอ่านระเบียบของวัดแห่งหนึ่ง กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะบวชพระ ไว้พอเข้าใจดังนี้

1.ต้องมีอายุไม่เกิน....ปี
2.ต้องไม่เคยบวชพระมาก่อน
3.ไม่เคยต้องคดีอาญา
4.ไม่สักยันต์(สี)
5.......
(จะหาโอกาสถ่ายระเบียบมาให้ชม)


ทางวัดสามารถกำหนดระเบียบเช่นนั้นได้ด้วยหรือครับ :062:

ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 16 ก.ค. 2554, 11:55:57 »
ขอบคุณครับ :054:

ผมพิมพ์ผิดและท่านเข้าใจถูก "การสึกกลางพรรษา...." (จิตหลุด :075:)

ขอถามเพิ่มเติมอีกครับ อาจไม่เกี่ยวกับเข้าพรรษา
แต่ผมไปยืนอ่านระเบียบของวัดแห่งหนึ่ง กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะบวชพระ ไว้พอเข้าใจดังนี้

1.ต้องมีอายุไม่เกิน....ปี
2.ต้องไม่เคยบวชพระมาก่อน
3.ไม่เคยต้องคดีอาญา
4.ไม่สักยันต์(สี)
5.......
(จะหาโอกาสถ่ายระเบียบมาให้ชม)


ทางวัดสามารถกำหนดระเบียบเช่นนั้นได้ด้วยหรือครับ :062:

ขอบคุณครับ
   ลองอ่านคร่าวๆแล้วนะครับ ในความเห็นส่วนตัว คิดว่าน่าจะเป็นการจัดอุปสมบทหมู่นะครับ เลยมีการกำหนดหลักเกณฑ์เช่นนี้ ข้อ ๑,๓,๔ ยังพอเข้าใจเหตุผลครับ แต่ข้อ ๒ นี่ไม่ทราบวัตถุประสงค์จริงๆครับว่าเพื่อวัตถุประสงค์อะไร อย่างเช่น ข้อ๑.จำกันอายุผู้บวช ผมคิดว่าตรงนี้น่าจะเป็นอุปสมบทหมู่เพราะหากมีผู้สูงอายุมาบวชจะดูแลตนเองได้ลำบากครับ หรือ ห้ามอุปัชฌาย์บวชให้ผู้ต้องโทษคดีอาญาอยู่ หากอุปัชฌาย์บวชให้ต้องปรับอาบัติทุกกฏ หรือ การสักสีบริเวณนอกร่วมผ้า(ในที่นี้คือตั้งแต่ไหล่ขวาลงมาถึงแขน จะสังเกตเห็นได้ขณะที่ภิกษุครองผ้าห่มดองและห่มลดไหล่) ลองคิดภาพดูครับว่า หากสักเป็นรูปไม่เหมาะสมในบริเวณนั้น หรือบริเวณอื่นที่ผ้าจีวรปกปิดไม่ได้ ผู้ที่มาพบเห็นจะรู้สึกเช่นไรครับ น่าจะประมาณนี้ครับ

   มาย้อนดูที่พระวินัยครับ ด้วยเรื่องสมบัติของการอุปสมบท ๕ ประการ

ในปัจจุบันอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา ต้องมีองค์ประกอบด้วยกัน ๕ ประการ จึงจะถือได้ว่าเป็นการอุปสมบทที่ถูกต้องสมบูรณ์ครับ รายละเอียดดังนี้

๑.วัตถุสมบัติ คือ คุณสมบัติของผู้ที่จะอุปสมบท มีอยู่ด้วยกัน ๕ ประการ คือ

   ๑) ต้องเป็นมนุษย์ผู้ชาย

   ๒) ต้องมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์

   ๓) ต้องไม่เป็นบุคคลวิบัติ ในที่นี้อย่างเช่น แปลงเพศ เป็นต้น

   ๔) ไม่เคยทำความผิดร้ายแรง อาทิ ปิตุฆาต มาตุฆาต เป็นต้น

   ๕) ไม่เคยทำความผิดหนักในพระพุทธศาสนามาก่อน อย่างเช่น เคยต้องอาบัติปาราชิกมาก่อน เป็นต้น

๒.ปริสสมบัติ คือ จำนวนพระภิกษุต้องมีครบตามจำนวนที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้คือ ในมัชฌิมประเทศ ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๑๐ รูปขึ้นไป ถึงจะประกอบพิธีได้ และในปัจจนตประเทศ ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป ถึงจะประกอบพิธีบวชให้ได้ หากน้อยกว่านี้ทั้งสองกรณีจะถือว่าปริสวิบัติครับ

๓.สีมาสมบัติ คือขอบเขตพัทธสีมาต้องได้มาตรฐาน ถูกต้องตามพระวินัย(ลองศึกษาเพิ่มเติมดูครับ)

๔.บุพกิจ คือ กิจที่จะต้องทำก่อนการอุปสมบท อาทิเช่น การบรรพชา การขอนิสสัย การถืออุปัชฌาย์ การสมมติภิกษุสอบถามอันตรายิกธรรม(มีข้อปลีกย่อยลงไปอีก อาทิเป็นโรคนี้หรือเปล่า เป็นมนุษย์ไหม อายุครบ ๒๐ปีบริบูรณ์หรือเปล่าฯ) เป็นต้น

๕.กรรมวาจาสมบัติ คือ ผู้สวดญัตติ และอนุสาวนา ต้องสวดให้ถูกต้องตามอักขระ ไม่ผิดพลาด ชัดเจน ไม่ตกหล่น ถ้ามีภิกษุรูปหนึ่งรูปใดทักท้วงคัดค้านก็จะถือว่ากรรมนั้นเสียไป แต่ถ้าภิกษุที่มาประชุมกันทุกรูปนิ่งเฉย แสดงว่าเป็นการยอมรับเข้าหมู่สงฆ์ จะถือว่าการบวชเป็นอันสำเร็จ

   ทั้งหมดนี้หากองค์ประกอบไม่ครบข้อใดข้อหนึ่ง ถือว่าการบวชในครั้งนั้นใช้ไม่ได้ครับ จะเรียกว่าเป็นอุปสมบทวิบัติ

.............................................................

ออฟไลน์ Jakkrit

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 182
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 17 ก.ค. 2554, 12:20:27 »
สัทธา ทานัง อนุโมทามิ  :054:
นิราศวัดบางพระ
ถึงวัดบางพระเรามีพระอยู่ในจิตสุจริตสถิตดั่งสรวงสรรค์มีพระธรรมเลิศล้ำนำชีวันสุขนิรันด์พลันสว่างกระจ่างใจ

ออฟไลน์ berm

  • สิ่งที่ควรทำคือความดี..สิ่งที่ควรมีคือคุณธรรม..สิ่งที่ควรจำคือ...บุญคุณ
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1008
  • เพศ: ชาย
  • อยู่คนเดียวระวังความคิด อยู่กับมิตรระวังวาจา
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 18 ก.ค. 2554, 03:07:08 »
อ่านแล้วเข้าใจอะไรหลายๆอย่างในสิ่งที่ไม่เคยรู้เลยครับ...ขอบคุณท่านสิบทัศน์เป็นอย่างสูงครับ
ทุกคนย่อมมีปัญหาของตัวเองเกิดขึ้นตลอดเวลา  อยู่ที่ใครเลือกที่จะเดินหนีปัญหา...หรือเลือกที่จะแก้ไขปัญหา

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 09:35:07 »
ในพรรษา....พระภิกษุ รับกิจนิมนต์(นอกอาวาส)ได้หรือไม่ หรือไม่ควรรับ
ในพรรษา....เหมาะไหม หากญาติโยมจะนิมนต์พระไปนอกอาวาส

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 20 ก.ค. 2554, 10:08:53 »
ในพรรษา....พระภิกษุ รับกิจนิมนต์(นอกอาวาส)ได้หรือไม่ หรือไม่ควรรับ
ในพรรษา....เหมาะไหม หากญาติโยมจะนิมนต์พระไปนอกอาวาส

ในพรรษา....พระภิกษุ รับกิจนิมนต์(นอกอาวาส)ได้หรือไม่ หรือไม่ควรรับ? ในพรรษา....เหมาะไหม หากญาติโยมจะนิมนต์พระไปนอกอาวาส?

   ในพรรษาพระภิกษุสามารถรับกิจนิมนต์นอกอาวาสได้ครับ และญาตฺโยมก็สามารถนิมนต์อาราธนาพระภิกษุไปประกอบพิธีต่างๆได้ครับ ในพระวินัยระบุไว้ว่าห้ามเที่ยวจาริกไปค้างแรมนอกอาวาสที่ได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาไว้ครับ หากมีความจำเป็นจริงๆภิกษุก็ต้องสัตตาหะไปได้ไม่เกิน ๗ วันครับผม.

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:57:07 »
ในพรรษา.....พระจะปฏิบัติธรรมเข้มงวดกว่านอกพรรษาหรือไม่ เช่น...นอนวันละ 3-4 ชั่วโมง
ไม่รวมการศึกษาปริยัติ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 10:17:35 »
ในพรรษา.....พระจะปฏิบัติธรรมเข้มงวดกว่านอกพรรษาหรือไม่ เช่น...นอนวันละ 3-4 ชั่วโมง
ไม่รวมการศึกษาปริยัติ
ในพรรษา.....พระจะปฏิบัติธรรมเข้มงวดกว่านอกพรรษาหรือไม่ เช่น...นอนวันละ 3-4 ชั่วโมงไม่รวมการศึกษาปริยัติ?

   ไม่เป็นข้อสรุปตายตัวครับ เพราะไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเข้าพรรษาหรืออยู่ในช่วงออกพรรษาไปแล้วก็ตาม กิจของสมณะก็คือกระทำพระนิพพานให้แจ้งครับ(ตามที่กล่าวในวันอุปสมบท) การปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรนั้นก็เป็นสิ่งที่พระภิกษุควรทำเป็นนิจเป็นปกติอยู่แล้วครับ ในช่วงเข้าพรรษาพระภิกษุท่านก็จะมีเวลาศึกษาหาความรู้ ทบทวนพระวินัยฯ มากขึ้นครับ (ด้วยเพราะเหตุที่ว่าท่านได้อธิษฐานจำพรรษาในอาวาสไม่ได้ไปค้างแรมที่ไหนเป็นเวลา ๓ เดือน) ตรงนี้ก็อาจจะทำให้พระภิกษุมีเวลาปฏิบัติธรรมมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกันครับ ส่วนที่ว่าเข้มงวดหรือไม่ ตรงนี้ถือเป็นเรื่องส่วนบุคคลครับว่าจะเข้มงวดในการปฏิบัติมากน้อยประการใด แล้วแต่ความสะดวกหรือวัตรปฏิบัติของท่านเป็นหลักครับ ไม่ตายตัว.   

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 09:27:45 »
ขอบคุณท่าน  ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ไขข้อข้องใจ

พอดีไปเจอมาเลยนำมาเพิ่มเติมข้อมูลข้างต้น
--------------------------------------

วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา

        1. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม
        2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง หรือราวเดือนกรกฎาคม และจะออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม ความหมายของวันเข้าพรรษา คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา"


ที่มา
http://www.mindcyber.com/story/buddhismday/ 16-วันเข้าพรรษา-วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา.html

คราวนี้ขอถามว่า ในเมื่อมีการแบ่งพรรษาเป็น 2 ช่วงดังกล่าว จะมีความหมายเช่นไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ก.ค. 2554, 09:30:40 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 10:04:27 »
มีข้อมูลความรู้มาเสริมครับ

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์

ที่มา
http://www.mindcyber.com/story/buddhismday/ 16-วันเข้าพรรษา-วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา.html

อนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ

ถาม............หากเกิน 7 วัน จะเกิดอะไรขึ้นและแก้ไขได้อย่างไรครับ

ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ก.ค. 2554, 10:07:36 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 10:52:05 »
มีข้อมูลความรู้มาเสริมครับ

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์

ที่มา
http://www.mindcyber.com/story/buddhismday/ 16-วันเข้าพรรษา-วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา.html

อนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ

ถาม............หากเกิน 7 วัน จะเกิดอะไรขึ้นและแก้ไขได้อย่างไรครับ

ขอบคุณครับ

ถาม............หากเกิน 7 วัน จะเกิดอะไรขึ้นและแก้ไขได้อย่างไรครับ?

   หากภิกษุสัตตาหะแล้วเกิน ๗ วัน ก็จะเท่ากับว่าพรรษาขาดและปรับอาบัติทุกกฏครับ

ส่วนการแก้ไข อาบัติทุกกฎจัดเป็น"ลหุกาบัติ"เป็นอาบัติเบา และเป็น"สเตกิจฉา" เป็นอาบัติที่แก้ไขได้ โดยการแสดงอาบัติต่อภิกษุอื่นครับก็จะพ้นจากอาบัติดังกล่าว

และเมื่อพรรษาขาด ภิกษุนั้นก็จะไม่ได้รับอานิสงส์ของการจำพรรษาดังต่อไปนี้ครับ

๑.เที่ยวไปไหนโดยไม่ต้องบอกลา(หมายความถึง ออกจากวัดไปโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้)

๒.เที่ยวไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ ๓ ผืนก็ได้(สบง๑ จีวร๑ สังฆาฏิ๑)

๓.ฉันคณะโภชนะได้(ล้อมวงฉันภัตตาหารได้)

๔.เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา(ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์(ทำให้กุศลจิตตก จะแก้ไขได้โดยการแสดงคืน)บางข้อ)

๕.จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ(เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง).

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: 09 ส.ค. 2554, 09:43:09 »
ตอนนี้ยังไม่มีคำถาม แต่ขออนุญาตนำบทเพลงนี้มานำเสนอ
อาจสะท้อนบางอย่างได้

ขอบคุณครับ

[youtube=425,350]v-wKIjFm4Tc[/youtube]

ที่มา
http://www.youtube.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ส.ค. 2554, 09:43:58 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ Gearmour

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1204
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • ลานพิศวง
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: 09 ส.ค. 2554, 09:55:58 »


ขอถามเพิ่มเติมอีกครับ อาจไม่เกี่ยวกับเข้าพรรษา
แต่ผมไปยืนอ่านระเบียบของวัดแห่งหนึ่ง กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะบวชพระ ไว้พอเข้าใจดังนี้

1.ต้องมีอายุไม่เกิน....ปี
2.ต้องไม่เคยบวชพระมาก่อน
3.ไม่เคยต้องคดีอาญา
4.ไม่สักยันต์(สี)
5.......
(จะหาโอกาสถ่ายระเบียบมาให้ชม)


ทางวัดสามารถกำหนดระเบียบเช่นนั้นได้ด้วยหรือครับ :062:

ขอบคุณครับ

อยากได้พระที่คนที่ออกกฏคิดว่าจะดีจะปกครองง่าย
ว่าแต่ ผู้ออกกฏนี้
ล้มเหลวนะครับ
  ในการจะขัดเกลาตนให้เป็นคนดี
ปิดโอกาสกันตั้งแต่เริ่มแล้ว
 ไม่ทราบว่าผู้ออกกฏฉันข้าวชาวบ้านหรือเปล่า
ในสังคมมีทั้งคนที่ดี คนเลว คนที่เคยพลาด
   ฝากไว้แค่นี้ครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: เข้าพรรษาอย่างเข้าใจ
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: 10 ส.ค. 2554, 07:07:31 »
พรรษาพิสุทธิ์

ช่วง ๓ เดือนนี้ มีอะไรที่ควรทำ นอกจากลด ละ เลิกอบายมุขตามที่สื่อต่าง ๆ โฆษณาเชิญชวน?

   ช่วงเข้าพรรษาทุกคนจะรับรู้กันว่า พระสงฆ์จะอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือน เพื่อศึกษาพระธรมวินัย และปฏิบัติธรมอย่างเต็มที่ ช่วงนี้จึงมีพระเยอะ ทั้งพระที่บวชช่วงเข้าพรรษาและพระที่อยู่ประจำวัด ฉะนั้น คนก็จะไปทำบุญเลี้ยงพระ ไปฟังเทศน์ฟังธรรมกันมากกว่าปกต และถือโอกาสนี้ปฏิบัติธรรมด้วย บางคนกินเหล้าตลอดปี แต่เลิกกินช่วงเข้าพรรษา ซึ่งเป็นสิ่งดีมาก
   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา แต่ก่อนก็เป็นมนุษย์ปกติเหมือนกับเรา ท่านเกิดแรงบันดาลใจตั้งความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าชาติแรกตอนเป็นพ่อค้าไปค้าขายทางทะเล แล้วเรือสำเภาเกิดเจอพายุล่ม ท่านเอาแม่ขึ้นหลังแล้วว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทร ๗ วัน ๗ คืน ครั้งนั้น ท่านเห็นว่าชีวิตมนุษย์เป็นทุกข์จริง ๆ ท่านจึงตั้งความปรารถนาว่าจะเป็นผู้ค้นพบหนทางพ้นทุกข์ให้ได้  คือจะเป็นพระพุทธเจ้า และเมื่อพ้นทุกข์แล้วจะไม่พ้นเพียงคนเดียว แต่จะสอนให้คนอื่น ๆ รู้ แล้วพ้นทุกข์ตามไปด้วย ท่านมาคลิกเกิดแรงบันดาลใจตอนลอยคอในมหาสมุทรได้ ๗ วัน ๗ คืน จากนั้น ท่านก็สร้างบารมีต่อเนื่องมาทุกชาติเป็นเลานานถึง ๒๐ อสงไขยกับแสนมหากัป ในชาติสุดท้ายก็ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหมว่าก่อนที่จะมีจุดเริ่มต้นนั้น ก็ต้องมีจุดสร้างแรงบันดาลใจเสียก่อน
   เพราะฉะนั้น ช่วงเข้าพรรษาจึงเป็นตัวสร้างแรงบันดาลใจที่ดีมาก ปกติไม่รู้จะเอาวันไหนเป็นตัวคลิก แต่พอเข้าพรรษา จะต้องเอาให้ได้ ยิ่งมีกระแสสื่อโปรโมตยิ่งดี คนไหนดื่มเหล้า สูบบุหรี่ พรรษานี้ก็งดเหล้า งดบุหรี่ และจะต้องรักษาศีล ๕ ให้ได้ จะต้องไหว้พระก่อนออกจากบ้าน จะต้องสวดมนต์ นั่งสมาธิทุกคืนก่อนนอน วันละครึ่งชั่วโมง หรือ ๑ ชั่วโมงก็ได้ แล้วแต่เราจะตั้งปณิธาน เรียกว่าปรับ นิสัยเดิมที่เคยทำมาคุ้น ๆ และเราก็รู้ว่าไม่ค่อยดีเท่าไร ตั้งใจทำสิ่งที่ดี ถ้าเป็นเด็กก็ตั้งใจเลย พรรษานี้จะทำการบ้านทุกวัน งดเล่นเกม ๓ เดือน ไม่แตะเลย อย่างนี้เป็นต้น อาศัยจังหวะช่วงนี้เป็นตัวคลิกขึ้นมา แม้กลางพรรษาแล้วก็ยังไม่สายเกินไป บางคนบอกอย่างนี้น่าจะตั้งง่ายกว่า เพราะกลางพรรษาเหลือแค่เดือนครึ่ง พอสู้ไหว ก็ให้เริ่มตั้งปณิธานตอนนี้เลยว่า เราจะทำสิ่งที่ดี ๆ ในพรรษานี้ แล้วเราจะพบว่า สิ่งนั้นให้ประโยชน์กับชีวิตของเรามากอย่างไม่น่าเชื่อ

การตั้งเป้าเพื่อฝึกตัวในช่วงเข้าพรรษา เช่น ตั้งใจปฏิบัติธรรมทุกวัน ควรจะตั้งใจอย่างไรจึงจะเป็นไปได้?

   ให้ตรวจสอบตัวเราเอง แล้วตั้งเป้าที่เราคิดว่าพอไหว ไม่มากเกินไป ตั้งแล้วก็ต้องให้เข้าเป้า คือ เมื่อตั้งแล้วให้ตั้งใจทำ พยายามทำให้ได้ อย่าไปเหลวกลางคัน วิธีการให้กำลังใจตัวเองคือ เมื่อตั้งใจแล้ว วันอาทิตย์ไปวัดเลย ไปสวดมนต์ นั่งสมาธิเป็นพิเศษ เติมพลังชาร์ตแบต ๗ วันครั้ง จะได้เป็นการตอกย้ำถ้าอย่างนี้ก็พอไหว แล้วก็ตั้งใจทำให้ตลอดรอดฝั่ง ปีหน้าก็ยกเป้าหมายขึ้นไปเรื่อย ๆ ทีละสเต็ป อย่างนี้จะดีมาก

ถ้า ๓ เดือนผ่านไปแล้ว เราควรจะทำต่อเนื่องไปอีกหรือว่ากลับมาเป็นคนเดิมดีกว่า?

   เราเคยได้ยินชื่ออริสโตเติลใช่ไหม เขาเป็นนักปราชญ์ชาวกรีก เขาเคยบอกว่า Excellence is not an act but a habit. หมายความว่า คนที่เก่งมาก เยี่ยมยอดมาก ๆ ไม่ใช่คนที่ทำนั่นทำนี่เก่ง เรื่องนี้เป็นแค่ส่วนประกอบ แต่ที่สำคัญคือนิสัย อริสโตเติลสรุปได้จากการสังเกต เนื่องจากเขาเป็นผู้มีปัญญามากจึงสามารถหาข้อสรุปได้อย่างนี้  ซึ่งก็เป็นอย่างที่เขาสรุปจริง ๆ เพราะคนเราจะเก่งหรือไม่ขึ้นอยู่กับนิสัย คนไหนมีนิสัยขยันขันแข็ง เก็บหอมรอมริบ ละเอียดรอบคอบ นิสัยเหล่านี้จะทำให้เขาประสบความสำเร็จในชีวิตได้

วิธีทำใจให้มุ่งทำสิ่งดี ๆ ต่อไป ต้องทำอย่างไร?

   เชื่อหรือไม่ว่าที่เรารู้สึกว่าอุปสรรคเยอะเหลือเกินนั้น เราคิดไปเอง พอเราตั้งใจจะทำความดีจริง ๆ   วันนี้ไม่เห็นมีอะไรเลย วันนี้ อาตมาเพิ่งเจอโยมผู้หญิงท่านหนึ่ง ท่านมีคนรู้จักมาก ปกติท่านต้องแต่งหน้าทุกวัน พรรษานี้ท่านตั้งใจรักษาศีล ๘ แต่งหน้าทาปากไม่ได้ คนเคยแต่งแล้วไม่แต่งเรื่องใหญ่เลย เพราะท่านต้องเข้าสังคม แต่ดูหน้าตาท่านผ่องใสมีความสุข ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย ถ้าคนไม่ทำจะรู้สึกว่าไม่ได้หรอก เดี๋ยวคนนั้นทัก คนนี้ทัก เดี๋ยวจะเคอะ ๆ เขิน ๆ แต่พอตั้งใจทำจริง ๆ แล้วไม่เห็นมีปัญหาอะไร ทุกอย่างราบรื่น ปัญหาต่าง ๆ เราคิดไปเอง พอตั้งใจจะทำแล้วไม่ยากเหมือนที่คิด ฉะนั้น ยังไม่ช้าเกินไป พรรษานี้จะเอาอย่างไรดีก็เริ่มเลย แล้วจะพบสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นในชีวิตของเรา

ประเพณีการหล่อเทียนพรรษามีไว้เพื่ออะไร จะสืบทอดอย่างไรถึงจะเหมาะสมและถูกต้อง?

   แต่ก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้ เวลาพระภิกษุท่านศึกษาพระธรรมวินัยก็ต้องอาศัยแสงสว่างในการอ่านตำรับตำรา เพราะฉะนั้น ชาวบ้านก็จะช่วยกันหล่อเทียนพรรษาต้นโต ๆ ที่คิดว่าสามารถใช้ได้ตลอด ๓ เดือน แล้วเอาไปถวายวัด กลางคืนพระจะได้จุดเทียนอ่านหนังสือธรรมะ เป็นการให้ความสะดวกในการศึกษาพระธรรมวินัยแก่พระภิกษุสามเณร และเนื่องจากสิ่งที่ถวายพระเป็นสิ่งที่ควรทำให้ประณีต จึงมีการแกะสลักและพัฒนาจนกระทั่งสวยงาม บางครั้งเป็นปราสาทผึ้ง หรือเป็นรูปอะไรต่าง ๆ ที่งดงาม ซึ่งบางคนถามว่าทำอย่างนี้จะดีหรือ ต้องตอบว่าเป็นสิ่งที่ดี อยากให้เรามองว่า พระพุทธศาสนาเปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ มีทั้งส่วนที่เป็นแก่น เป็นกระพี้ และเปลือก ตัวเนื้อหาคำสอน การสวดมนต์ การนั่งสมาธิ คือแก่นคำสอน แต่ถ้ามีแต่แก่นอย่างเดียว ไม่มีประเพณีอะไรมาช่วยเลย มาถึงก็จับนั่งสมาธิอย่างเดียว บางคนทำไม่ได้ แต่พอมีเปลือก มีกระพี้ คือมีพิธีกรรมมาประกอบเข้าไปด้วย เป็นตัวทำให้มีสีสัน สร้างความคึกคัก ก็จะช่วยดึงคนที่มีระดับใจทั้งสูงและต่ำหลายระดับเข้ามาได้
   พอมาถึงวัดแล้วเขาก็จะนึกถึงบุญกุศล ใจเขาจะเริ่มอินกับบุญกุศลแล้ว เขาก็จะไปทำบุญสักหน่อยหนึ่ง หยอดตู้บ้าง ไหว้พระบ้าง เวียนเทียนบ้าง หรืออาจจะสวดมนต์แล้วนั่งสมาธิสักหน่อยค่อย ๆ ขยับขึ้นไป ถ้าไม่มีการแห่เทียนพรรษา บางคนอาจจะไม่ได้เข้าวัดเลย พอมีขบวนแห่ก็ไปดูสักหน่อย เห็นเขาว่าสวยดี ไปดูแล้วก็ได้ทำบุญ ได้สวดมนต์ ได้เวียนเทียน ได้ไหว้พระ ได้นั่งสมาธิ ขยับขึ้นมาตามลำดับ จากเปลือกจากกระพี้ก็มาถึงแก่น ใครบอกว่าเปลือกและกระพี้ของต้นไม้ไม่สำคัญ ลองไปลอกเปลือกลอกกระพี้ออกให้หมด ผลก็คือต้นไม้ตาย เพราะฉะนั้น แม้แก่นสำคัญที่สุดก็จริง แต่ต้องรู้ว่าเปลือกและกระพี้ก็เป็นตัวสนับสนุน เช่นเดียวกับพิธีกรรมต่าง ๆ เทศกาลต่าง ๆ งานบุญต่าง ๆ ที่ช่วยดึงใจคนเข้ามาสู่พระรัตนตรัยได้

ปัจจุบันนี้ หลายคนนิยมถวายหลอดไฟในเทศกาลเข้าพรรษา อย่างนี้เรียกว่าผิดวัตถุประสง๕เดิมหรือไม่ และจะมีผลอย่างไรบ้าง?

   ไม่ผิดเลย เวลาทำอะไรก็ตามเราจะดูที่วัตถุประสงค์เป็นหลัก ถ้าวัตถุประสงค์หลักคือการให้แสงสว่างเพื่อให้ความสะดวกพระภิกษุในการศึกษาพระธรรมวินัย การถวายหลอดไฟต่าง ๆ ถือว่าใช้ได้ ส่วนการถวายเทียนก็ไม่ได้ผิดอะไร พระท่านก็นำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น นำไปจุดในโบสถ์บ้าง ในศาลาบ้าง เพราะฉะนั้นเราสามารถปรับได้โดยมุ่งเน้นที่ประโยชน์ใช้สอย ถ้าใครมีกำลังทรัพย์พอที่จะไปสร้างระบบไฟฟ้า ไปตั้งหม้อแปลง ไปเดินระบบไฟฟ้าให้วัดต่าง ๆ ยิ่งดีใหญ่
   ปัจจุบันนี้ เขาบอกว่าถวายหลอดไฟก็ต้องมีอุปกรณ์ให้ครบ ทั้งบัลลาสต์ สตาร์ทเตอร์ ขาหลอด บางครั้งมีแต่หลอดเต็มวัด
   ถ้าจะให้ดีละก็ ถวายหลอดเสร็จแล้ว ถวายปัจจัยเป็นค่าไฟให้วัดด้วยก็ยิ่งดี และเผื่อท่านเอาไปใช้ในสิ่งที่ยังขาดอยู่ จะได้ตรงวัตถุประสงค์มากที่สุดเป็นประโยชน์ที่สุด

เราจะได้อานิสงส์อะไรจากการถวายหลอดไฟ?

   ผู้ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ เพราะฉะนั้นชาติต่อไปจะเป็นคนที่ตาสวย แวววาว แล้วก็มองเห็นได้ไกล แล้วยังเป็นผู้มีปัญญาดีอีก เพราะอำนวยความสะดวกให้พระท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย เราก็จะได้ปัญญาบารมี เป็นคนฉลาด ได้ทั้งปัญญาจักษุ และมังสจักษุ

การตักบาตรดอกไม้แตกต่างจากการตักบาตรประเภทอื่น ๆ อย่างไรบ้าง?

   การตักบาตรดอกไม้ในประเทศไทยที่ถือว่ามีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักมากที่สุดก็คงจะเป็นที่วัดพระพุทธบาท สระบุรี ที่มาของการตักบาตรดอกไม้มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล คือ ที่กรุงราชคฤห์ ซึ่งมีกษัตริย์คือพระเจ้าพิมพิสาร ในครั้งนั้นจะมีนายมาลาการทำหน้าที่ดูแลเรื่องดอกไม้ เขาจะเอาดอกมะลิไปถวายพระเจ้าพิมพิสารวันละ ๘ กำ มีอยู่วันหนึ่งนายมาลาการกำลังจะเอาดอกมะลิ ๘ กำ ไปถวายพระราชา ระหว่างทางเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีฉัพพรรณรังสีงดงามเหลือเกิน ก็เกิดปีติศรัทธาขึ้นมา เอาดอกมะลิไปถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด พอกลับถึงบ้าน เล่าให้ภรรยาฟัง ภรรยาบอกว่า “อย่างนี้มีโทษแน่ คอขาดแน่นอน ฉันไม่เห็นด้วยกับพี่ ถ้าอยู่กับพี่ต่อไป สงสัยฉันโดนประหารไปด้วย” นางจึงหนีออกจากบ้านไปเลย
   พอเรื่องราวรู้ไปถึงพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นพระโสดาบันแล้ว พระองค์ไม่ได้พิโรธเลย กลับทรงคิดว่า นายมาลาการฉลาดมาก มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเหมือนที่พระองค์ศรัทธา จึงพระราชทานทรัพย์ให้มากมาย และเลื่อนตำแหน่งให้ เรียกว่าบุญส่งผลทันตาเห็นเดี๋ยวนั้นเลย จุดนี้เองจึงเป็นที่มาของการตักบาตรดอกไม้ยุคปัจจุบัน
   ที่วัดพระพุทธบาท ในวันเข้าพรรษา คณะสงฆ์จะออกมาบิณฑบาต ญาติโยมก็จะเอาดอกไม้  ธูป เทียน ไปใส่บาตรกัน และเอาดอกเข้าพรรษา ซึ่งเป็นดอกไม่ชนิดหนึ่งที่ออกดอกปีละครั้งเดียวในช่วงเข้าพรรษา มีสีขาว สีเหลือง สวยมาก ไปเก็บกันมาจากรอบ ๆ เขาพระพุทธบาท แล้วก็เอาไปใส่บาตร เมื่อพระท่านรับดอกไม้เสร็จ ก็จะเอาไปบูชารอยพระพุทธบาทและพระบรมสารีริกธาตุ พอบูชาเสร็จเรียบร้อย เวลาพระออกมาจากมณฑปจะมีญาติโยมผู้ชายมานั่งรอเอาน้ำล้างเท้าให้ก่อนที่ท่านจะเข้าโบสถ์ไปอธิษฐานพรรษา

หลายคนบอกว่าถ้าไปทำบุญกับวัดที่มีชื่อเสียงและมีคนเยอะ ๆ จะได้อานิสงส์มากแบบนี้คิดถูกไหม?
 
   พิธีกรรมเป็นเหมือนกับเปลือกหรือกระพี้ เพื่อน้อมนำใจเราให้เข้าใกล้พระรัตนตรัย เช่น ได้ยินเขาบอกว่ามีการตักบาตรดอกไม้ ก็อยากจะไปดูสักหน่อยว่าเป็นอย่างไร รู้สึกมีแรงบันดาลใจอยากจะไป หรืออยากจะไปดูหน่อยว่าเทียนพรรษาเป็นอย่างไร ทำให้เราได้เข้าวัด พิธีกรรมจึงเป็นเครื่องหนุนส่ง แต่ถ้าเราเป็นคนที่หนักแน่นในธรรมอยู่แล้ว และปฏิบัติธรรมสม่ำเสมออยู่แล้ว อย่างนี้ไปที่ไหนก็ได้ วัดใกล้บ้านก็ได้ หรือว่าวัดไหนสอนให้เราปฏิบัติธรรม ได้ทำความดีเต็มที่ เราก็ไป ถ้าอย่างนี้ก็เหมือนกับว่าพิธีกรรมมีบทบาทรองลงมา เพราะเราเองพร้อมอยู่แล้ว
   แต่ถ้าเราจะชวนคนใหม่มาสวดมนต์นั่งสมาธิได้เลยก็ให้ชวน แต่คนไหนชวนไปตักบาตรดอกไม้หรือไปแห่เทียนพรรษาง่ายกว่า ก็ชวนเขาไปเลย ถือว่าเป็นอุบายจูงคนให้เข้าสู่พระรัตนตรัย

หลังจากครบ ๓ เดือน นอกจากจะทำความดีต่อเนื่องแล้ว ยังมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาอะไรที่พุทธศาสนิกชนต้องไปร่วมปฏิบัติหรือต้องทำอย่างต่อเนื่อง?

   ถ้าเป็นในยุคก่อน พอออกพรรษาเสร็จแล้ว กิจกรรมที่รออยู่แน่ ๆ คือการทอดกฐิน การทอดกฐินจะทำได้ในช่วง ๑ เดือน หลังจากออกพรรษา จะทอดวันไหนก็ได้ ออกพรรษาแล้วรุ่งขึ้นรับกฐินเลยก็ได้ จนถึงวันสุดท้ายคือวันลอยกระทง พอเสร็จกฐินแล้ว ส่วนใหญ่พระภิกษุจะเดินธุดงค์กัน แต่ระยะหลังมานี้ พระธุดงค์เริ่มไม่ค่อยมี ต้องบอกว่าตอนนี้เรากำลังเอาของเก่ามาปัดฝุ่น เดี๋ยวพออกพรรษาแล้ว พระธรรมทายาทที่บวชพร้อมกันทั้งประเทศก็จะมีการเดินธุดงค์กัน จะคึกคักสนุกสนานมาก ในระหว่างพรรษานี้ให้พวกเราตั้งใจสวดมนต์ นั่งสมาธิ เตรียมตัวเตรียมใจไว้เลย ถึงช่วงเดินธุดงค์ของพระแล้วละก็ ใครพร้อมเป็นลูกศิษย์ไปเดินธุดงค์กับท่านได้ หรือถ้าใครยังไม่สามารถลางานได้ครั้งละ ๗ วัน จะไปรอใส่บาตรก็ได้ แล้วก็ไปฟังเทศน์ฟังธรรม อยู่ใกล้ที่ไหนให้ทำที่นั่น เพราะจะมีการเดินธุดงค์กันทั่วประเทศ จะสนุกคึกคักมาก และเป็นการยกยอพระพุทธศาสนาให้สูงเด่น กลับมาเป็นหลักใจของชาวพุทธอย่างมั่นคงทั้งประเทศไทย

ทำไมต้องธุดงค์และทำไมคนอยากจะใส่บาตรกับพระธุดงค์มาก?

   พระธุดงค์มีข้อดีคือจะต้องมักน้อยสันโดษเพราะว่าจะต้องแบก คนเราถ้าต้องแบกที่พักติดตัวไปด้วยจะเป็นอย่างไร อยากจะเอาของไปเยอะ ๆ ไหม ถ้าอยู่บ้านอันนี้เราก็เสียดาย อันนี้ก็จำเป็น ของจำเป็นเยอะไปหมด แต่ถ้าต้องแบกขึ้นหลังเดินไปเองเป็นอย่างไร อันนี้ก็ไม่ค่อยจำเป็น อันนั้นก็ไม่ค่อยจำเป็น เพราะมันหนัก ต้องเดินวันหนึ่งเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร สุดท้ายจะเหลือเฉพาะของที่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ
   การธุดงค์ทำให้เราแยกออกระหว่างคำว่า “จำเป็น หรือ Need” กับคำว่า “ต้องการ หรือ Want” ปกติคนเรามักแยกไม่ออก อะไรก็จำเป็นไปหมด จริง ๆ ไม่จำเป็นหรอ เป็นแค่ความอยากมากกว่า แต่พอดินธุดงค์แล้วจะแยก ๒ อย่างนี้ออก แล้วระหว่างที่เดินไปนั้น เชื่อไหมว่า การย่ำในผืนแผ่นดินไทยทีละก้าว ๆ ให้รู้จักเม็ดทรายทุกเม็ดบนแผ่นดินที่ย่างไป จะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างเรากับแผ่นดินมากขึ้น แต่ถ้าเรานั่งรถจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง นั่งไป ๑๐๐ รอบ จะรู้จักแผ่นดินดีเท่าเดินด้วยเท้าสัก ๑ รอบก็ไม่ได้
   นอกจากนี้ เราจะสัมผัสใกล้ชิดชาวบ้านมาก แล้วเวลาเดินไปเราก็ทำสมาธิไปด้วย เหมือนกับเดินจงกรมไปด้วย พออย่างนี้แล้วเรื่องอื่น ๆ มันหลุดไปจากใจ ข้าวของก็ใช้เท่าที่จำเป็น เดินธุดงค์ไปสิ่งที่ห่วงพะวงในใจมันก็หลุดไปด้วย เหลือแค่คุมใจตัวเอง ถ้าทำถูกหลักแล้วละก็ การปฏิบัติธรรมก็จะก้าวหน้าได้เร็วด้วย ฉะนั้น ญาติโยมเขาเห็นพระท่านตั้งใจอย่างนั้น เขาก็มีศรัทธาเป็นพิเศษ จึงมาใส่บาตรให้การอุปถัมภ์บำรุง
   อย่างสมัยก่อน บางช่วงพระธุดงค์เดินผ่านภูเขามาไม่มีคนใส่บาตร เพราะมีแต่ป่า บางครั้งท่านอดข้าวมา ๓ วัน ท่านก็สู้ พอมาถึงหมู่บ้าน ชาวบ้านก็ตั้งใจอุปถัมภ์บำรุงเต็มที่ให้ท่านแข็งแรง เพราะเวลาที่ท่านเดินต่อไปข้างหน้า บางหมู่บ้านอาจจะไม่มีคน ท่านจะได้สู้ไหว การเดินธุดงค์จึงไม่ใช่เรื่องสบาย ต้องอดทน ต้องฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ

ที่มา – นิตยสาร อยู่ในบุญ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๐๖ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔
เรื่องโดย : พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ (M.D.; Ph.D.)