ผู้เขียน หัวข้อ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๒ ตค. ๕๔ ...  (อ่าน 1228 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๒ ตค. ๕๔ ...
ตถตาอาศรม เขาเรดาร์ บ้านบึง ชลบรี
อังคารที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
               ในทุกปีเมื่อใกล้จะออกพรรษานั้น จะต้องทบทวนมนต์พิธีและทบทวนธรรม
เพราะเมื่อออกพรรษาแล้วนั้น จะต้องไปบรรยายธรรมและไปเป็นประธานในงานปฏิบัติ
ธรรม ตามสถานที่ต่างๆซึ่งเขาได้นิมนต์ไว้ ต้องเป็นผู้นำสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรเช้าและ
ทำวัตรเย็น จึงจำเป็นทีจะต้องทบทวนบทสวดมนต์ที่จะใช้ในพิธีกรรมต่างๆให้คล่องขึ้นใจ
และต้องทบทวนในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นภาษาปริยัติและอารมณ์ของสภาวธรรมต่างๆ
ให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น ในการที่จะนำไปบรรยายแนะนำสั่งสอนผู้อื่นนั้น เราต้องเข้าใจใน
ธรรมที่จะบรรยายและเข้าใจในสภาวธรรมที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะไม่สร้างความสับสนให้แก่
ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายและเป็นการย้ำเตือนสอนตนเองไปด้วยในขณะที่ทบทวนธรรม.....
             หลังจากเสร็จภารกิจประจำวันในภาคเช้าแล้ว ก็ได้เข้ามาเปิดธรรมบรรยาย
ของหลวงพ่อพุทธทาส ฟังต่อจากเมื่อวานที่ผ่านมา ซึ่งได้ฟังไปแล้ว ๑๐ ตอน โดยที่ได้
เก็บบันทึกไว้ของหลวงพ่อพุทธทาสนั้น มีทั้งหมด ๘๐ ตอน ซึ่งจะทยอยฟังไปวันละ
๑๐ ตอนความยาวตอนละประมาณ ๔๕-๖๐ นาที ของหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง
 จ.อุบลราชธานี อีก  ๔๐ ตอน ของหลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน  จ. สิงห์บุรี อีก ๑๐ ตอน
และของหลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ ฯ จ.กระบี่ อีก ๑๒ ตอน ซึ่งธรรมบรรยายที่ได้บันทึก
ไว้นั้นจะใช้เวลาประมาณ ๑๕ วันสุดท้ายของการเข้าพรรษาในการฟังธรรมและทำความเข้าใจ
ซึ่งจะใช้เวลาส่วนในตอนกลางวันเพื่อการฟังธรรม เพราะจะได้มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
เพราะในตอนกลางวันนั้น จะมีญาติโยมขึ้นมาเยี่ยมเยือนหรือมาขอความสงเคราะห์
จึงจำเป็นที่จะต้องตื่นตัวมีความพร้อมอยู่เสมอ
               ส่วนในเวลากลางคืนนั้นจะเจริญสติภาวนาทำสมาธิและพิจารณาธรรรม
สลับกับการพระไตรปิฏก เพราะจะไม่มีใครมารบกวนทำให้การปฏิบัติเจริญภาวนานั้น
ไม่ขาดตอนมีความต่อเนื่อง เพราะสมาธินั้นต้องอาศัยความวิเวกเป็นอารมณ์และเมื่อ
ยกจิตขึ้นพิจารณาธรรมนั้น สภาวธรรมจะได้ต่อเนื่องลื่นใหล ไม่มีอะไรมากระทบรบกวน
การพักผ่อนร่างกายและจิตนั้นก็คือการเขียนบทความ บทกวี เพราะจะเป็นการปลดปล่อย
อารมณ์ มีความเพลิดเพลินในการคิดและจินตนาการโวหารและสำนวน ซึ่งจะได้ถ่ายทอด
ออกมาเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่ายและไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการอ่านและการฟังของผู้รับ
เพราะภาษากวีนั้นจะมีสัมผัสที่ลื่นใหลเกิดความเพลิดเพลินและให้ความสนใจแก่ผู้ที่อ่าน
มากกว่าภาษาธรรม ซึ่งผู้อ่านอาจจะเกิดความกดดัน ความเครียดขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวขึ้นมาได้
จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาง่ายๆและโวหารคำกวีมาเป็นตัวสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้อ่าน
ซึ่งที่ผ่านมานั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี.....
           แต่ละวันที่ผ่านไปนั้น พยายามน้อมจิตเข้าหาธรรม เจริญสติสัมปชัญญะให้ได้มากที่สุด
เท่าที่จิตจะระลึกรู้ได้ พยายามตั้งใว้ในกุศลจิตแห่งพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
มองโลกในแง่ดี ปรับทุกสิ่งที่รู้ที่เห็นและระลึก เข้าหาหลักธรรม ทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จิตจะระลึกได้
เพราะวันเวลาของชีวิตนั้นสั้นไปทุกขณะ จึงต้องทำชีวิตให้มีสาระทั้งประโยชน์และประโยชน์ท่าน
ทั้งในทางโลกและทางธรรม สร้างความคุ้นเคยให้แก่จิตในการระลึกรู้ ให้จิตนั้นอยู่กับกุศลตลอดเวลา
เป็นผู้ไม่ประมาทในวัยและเวลา เพราะว่าที่อดีตผ่านมานั้นเราได้เคยดำเนินชีวิตผิดพลาดมา เคยเป็น
ผู้ประมาทในชีวิต ทำในสิ่งที่ไร้สาระมามากมาย จึงต้องรีบแก้ไขก่อนจะสายเกินกาล เพราะว่าเรานั้น
ยังไม่รู้ว่าชีวิตของเรานั้นจะยืนยาวไปอีกเท่าไหร่ จึงต้องทำวันนี้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้......
                       เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
                        รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๓.๓๐ น. ณ ตถตาอาศรม บ้านบึง ชลบุรี
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๒ ตค. ๕๔ ...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 03 ต.ค. 2554, 09:33:53 »
กราบนมัสการท่านพรอาจารย์ฯ :054:

วานนี้ได้ฝากของและCDธรรมะไปกับ อ.ไซ ถวายท่านพระอาจารย์ฯเพื่อเข้าห้องสมุดธรรมะแล้วครับท่าน :054:
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ