ผู้เขียน หัวข้อ: แนวทางพิจารณา และ แนวทางปฏิบัติ โดยอาศัยธรรม "อเหตุกจิต"  (อ่าน 1737 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ต่อจากข้อธรรมะ.....อเหตุกจิต ๓......หลวงปู่ดูลย์
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=25775

แนวทางพิจารณา และ แนวทางปฏิบัติ โดยอาศัยธรรม "อเหตุกจิต"

แนวการพิจารณา และแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
โดยอาศัยการพิจารณาในธรรม "อเหตุกจิต" ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตาม อายตนะ หรือทวารทั้ง ๕ และ มโนทวาร มีดังนี้

                 ตาไปกระทบกับรูป เกิด จักขุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ ตาเห็นรูป ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ(เช่นความคิด)   (ขอให้พิจารณาดูสภาวะธรรม หรือสภาวะแห่งธรรมชาตินี้ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นจริงดังนี้เป็นธรรมดาหรือไม่)  แล้วไม่คิดปรุง

                 หูไปกระทบเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้ หูได้ยินเสียง ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ  แล้วไม่คิดปรุง

                 จมูกไปกระทบกับกลิ่น  เกิด ฆานวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้ จมูกรับกลิ่น ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ  แล้วไม่คิดปรุง

                 ลิ้นไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ ลิ้นรับรู้รส ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ  แล้วไม่คิดปรุง

                 กายไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กายรับสัมผัส ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ  แล้วไม่คิดปรุง

                 ใจไปกระทบกับความคิด เกิด มโนวิญญาณ คือการรับรู้ความคิดนั้น  จะห้ามไม่ให้ ใจรับรู้ความคิด ไม่ได้  จึงย่อมเกิดความจำได้และเข้าใจ(สัญญา)ในรูปนั้น  เป็นผลให้เกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ  แล้วไม่คิดปรุง
 
วิญญาณทั้ง๖  นี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกาย และใจ ตามทวารนั้นๆ  ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบ เป็นสภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น  ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๖ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอกและภายใน ที่เข้ามากระทบ แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามมิให้เกิดมีเป็นเช่นนั้น ย่อมกระทำไม่ได้

ที่มา
http://nkgen.com/522.htm
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
แนวการพิจารณา และแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
โดยอาศัยการพิจารณาในธรรม "อเหตุกจิต" ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล


การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากกายทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่น เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็นไม่คิดปรุง, ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง   ดังนี้ เป็นต้น (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว) [ถืออุเบกขาไม่คิดนึกปรุงแต่งเอนเอียงเข้าไปแทรกแซงนั่นเอง]

        ส่วนกิริยาจิตที่แฝงอยู่ที่มโนทวาร(ใจ) มีหน้าที่ผลิตความคิดนึกต่างๆ นานา คอยรับเหตุการณ์ภายในภายนอกมากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้    เพราะความคิดชนิดไม่ปรุงแต่งนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตและการงาน  ดังนั้นเมื่อจิตคิดนึกสิ่งใดขึ้นมาย่อมเกิดกริยาจิต ตามที่กล่าวข้างต้นเป็นธรรมดา  แล้วอย่าคิดปรุง

        เมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็ให้กำหนดรู้ว่าจิตคิดถึงเรื่องเหล่านั้น ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล เราเขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น    [ไม่คิดปรุง หรือ ถืออุเบกขานั่นเอง]  ทำความเห็นให้เป็นปกติไม่คิดปรุง, ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ[อุเบกขา]ทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ไหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์
 
         การที่สติเห็นเวทนาเหล่านี้  ขณะเกิดขึ้นบ้าง หรือเห็นในขณะเสื่อมแปรปรวนบ้าง หรือเห็นในขณะดับไปบ้าง แล้วไม่คิดปรุง[อุเบกขา] ต่างล้วนเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนา(สติตามดูรู้ทันเวทนา)อันถูกต้องดีงาม
หรือ
        การที่สติเห็นสังขารหรือความคิด  ขณะเกิดขึ้นบ้าง หรือเห็นในขณะเสื่อมแปรปรวนบ้าง(ขณะกำลังคิดปรุง) หรือเห็นในขณะดับไปบ้าง แล้วไม่คิดปรุง[อุเบกขา] ต่างก็ล้วนเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสสนา(สติตามดูรู้ทันจิตสังขาร)อันถูกต้องดีงามเช่นกัน
       
        เหตุที่ต้องไม่คิดปรุง ก็เพราะว่าการคิดปรุงก็คือ การเกิดของขันธ์๕ขึ้นอีกครั้งหนึ่งนั่นเอง จึงเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาขึ้นอีกครั้งเช่นกัน อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท อันยังให้เกิดทุกข์ขึ้นนั่นเอง
        หรืออาจพิจารณาจากข้อเขียนข้างบน ที่กล่าวว่า ใจ  ไปกระทบกับ  ความคิด เกิด มโนวิญญาณ คือการรับรู้ความคิดนั้น  จะห้ามไม่ให้ ใจรับรู้ความคิด ไม่ได้  จึงย่อมต้องเกิดเวทนา(ความรู้สึกรับรู้)ชนิด  สบายใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นกลางๆ ขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดสังขารต่างๆนาๆ ดังนั้นเมื่อเราคิดปรุงต่อเนื่องเข้าไปอีกก็ย่อมต้องรับผลที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไปไม่จบสิ้น จึงเกิดเป็นวงจรที่เกิดๆดับๆอย่างต่อเนื่องอันเป็นทุกข์


ที่มา
http://nkgen.com/522.htm

ออฟไลน์ siamnet16

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 7
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
หูไปกระทบเสียง เกิด โสตวิญญาณ -ขอบคุณมากครับข้อนี้โดนใจทำให้ปลดทุกข์