ผู้เขียน หัวข้อ: ค่านิยมของเหรียญที่ละลึก  (อ่าน 7581 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ค่านิยมของเหรียญที่ละลึก
« เมื่อ: 13 ม.ค. 2552, 09:45:04 »


บอก ว่า ในอดีตที่ผ่านมานั้น เหรียญที่ระลึกในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพอันเป็นที่นิยมของนักสะสม เหรียญในอันดับต้นๆ มีอยู่ ๒ เหรียญ คือ

 เหรียญที่ระลึกของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ "เสด็จเตี่ย" สิ้นพระชนม์ ที่ ต.หาดทรายรี เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖ สิริพระชนมายุ ๔๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖

 ลักษณะของเหรียญ เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มี ๓ เนื้อ คือ เนื้อทองคำ ค่านิยมประมาณ +-+ บาท เนื้อเงิน ค่านิยมประมาณ + บาท และเนื้อทองแดง ค่านิยมประมาณ + บาท

 
ส่วนอีกเหรียญหนึ่ง คือ เหรียญช้างสามเศียร เป็นเหรียญที่ระลึกในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ทั้งนี้ประชาชนชาวไทยได้พร้อมใจกันถวายพระนามแด่พระองค์ว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง หรือ สมเด็จพระปิยมหาราช โดยเสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๕ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในปีเดียวกัน ณ บริเวณท้องสนามหลวง 

 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีพระราชดำริให้นำ เหรียญเงินหนึ่งบาท ตราช้างสามเศียร ร.ศ.๑๒๗ ที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างก่อนที่จะเสด็จสวรรคต นำมาเป็นของที่ระลึกใช้พระราชทานในงาน มี ๓ ชนิด คือ

 ๑. ตลับเงินเหรียญคู่ หรือกล่องคู่ (ตลับเงินใหญ่) มีเหรียญบาทช้างสามเศียร ร.ศ.๑๒๗ จำนวน ๒ เหรียญ โดยวางสลับด้านกัน ด้านบนของตลับมีข้อความว่า "งานพระบรมศพ" ด้านล่างมีคำว่า "ร.ศ.๑๒๙" เป็นเหรียญที่พระราชทานแก่ข้าราชการฝ่ายใน ชั้นผู้ใหญ่ 


๒. ตลับเงินเดี่ยว หรือกล่องเดี่ยว (ตลับเงินเล็ก) มีลักษณะคล้ายตลับเงินเหรียญคู่ แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยฝาตลับจะมีเพียง ๑ เหรียญเท่านั้น ด้านบนของตลับมีข้อความว่า "งานพระบรมศพ" ด้านล่างมีคำว่า "ร.ศ.๑๒๙" เป็นเหรียญที่พระราชทานแก่ข้าราชการฝ่ายใน ชั้นผู้น้อย

 และ ๓. แผ่นเงินพระศพ มีลักษณะด้านหน้าเป็นรูปพระเมรุ ด้านบนเป็นรูปเมฆ ด้านล่างมีข้อความว่า "งานพระบรมศพ ร.ศ.๑๒๙" บริเวณมุมขวามีเหรียญเงิน ร.ศ.๑๒๗ อยู่ในวงกรอบกนก ด้านหลังไม่มีข้อความ หรือลวดลายใดๆ 

 ปัจจุบันตลับเงินเหรียญคู่ ตลับเงินเหรียญเดี่ยว รวมทั้งแผ่นเงินพระบรมศพ ที่สวยสมบูรณ์ หาชมได้ยากมาก และถือว่าเป็นสมบัติอันล้ำค่า





 ทั้ง นี้ นายอรรถวัติได้ให้เหตุผลของค่านิยม เหรียญเสด็จเตี่ย ที่สูงกว่าเหรียญช้างสามเศียรว่า น่าจะเกิดจากเหรียญเสด็จเตี่ยเป็นเหรียญเดียวของพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รวมทั้งเป็นเหรียญที่ พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ปลุกเสกก่อนที่จะนำมาเป็นเหรียญที่ระลึก

 ส่วน เหรียญช้างสามเศียร เป็นเหรียญที่สั่งมาเพื่อใช้เป็นเงินตราในการซื้อขายสิ้นค้า แต่ยังมิทันถูกนำมาใช้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเสียก่อน ขณะเดียวกัน ก็มีเหรียญชนิดอื่นที่ออกในสมัย ร.๕ จำนวนมากอยู่แล้ว

 นอกจากนี้แล้ว นายอรรถวัติ ยังบอกด้วยว่า เหรียญตาย ซึ่งหมายถึงเหรียญพระเกจิอาจารย์ ที่ลูกศิษย์สร้างขึ้นหลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว เพื่อเป็นอนุสรณ์ในคุณงามความดีของท่าน หรือสร้างไว้เป็นที่เคารพสักการะ เป็นต้น ปกติเหรียญตายจะไม่ค่อยน่าสนใจ เพราะครูบาอาจารย์ เจ้าของเหรียญได้จากไปแล้ว ค่านิยมที่แท้จริงของวัตถุมงคลที่แจกในงานศพนั้น ต้องดูกันในระยะยาว

 สำหรับวัตถุมงคลที่แจกในงานศพยอดนิยมอันดับต้นๆ ต้องยกให้ เหรียญพระครูอรรถธรรมรส หรือ "พ่อท่านซัง" อดีตเจ้าอาวาสวัดวัวหลุง และอดีตเจ้าคณะแขวงอำเภอร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกท่านหนึ่ง ที่ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนวิชาคาถาอาคม ที่สำนักเขาอ้อ จ.พัทลุง 

 เหรียญพ่อท่านซัง เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ โดยท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๗๘ คณะศิษย์เก็บศพของท่านไว้เป็นเวลาปีเศษ จึงขอพระราชทานเพลิงศพ

 ตอนนั้นทางวัดได้นำเหรียญรุ่นนี้วางไว้ตรงหน้าสรีระของพ่อท่าน ใครจะหยิบไปอย่างไรก็ได้ ทำบุญหรือไม่ก็ตามใจ

 เหรียญนี้ถึงแม้ว่าจะสร้างออกมาตอนที่ท่านมรณภาพไปแล้วก็ตาม แต่ก็ได้ผ่านการปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ มีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์มาก โดยเฉพาะด้านอยู่ยงคงกระพัน ที่มีประสบการณ์ปรากฏมาหลายครั้ง

 แม้ว่าจะเป็นเหรียญเนื้อทองแดง สภาพสวยสมบูรณ์ เช่าหากันราคาสูงถึง +-+บาท จำนวนสร้างน่าจะอยู่ในหลักพัน
ที่มา...หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข้อมูลมาจากเวป http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538708351&Ntype=40

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ค่านิยมของเหรียญที่ละลึก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 13 ม.ค. 2552, 09:50:27 »
ขอบคุณข้อมูลครับผม เหรียญที่ระลึกก็ได้ผ่านพิธีปลุกเสกจากพระคณาจารย์ในยุคนั้นๆ แขวนได้หายห่วง แต่หายากมากๆครับ  :001:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ค่านิยมของเหรียญที่ละลึก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 13 ม.ค. 2552, 10:11:34 »
ไม่ควรมองข้ามเหรียญที่ระลึกครับ  :016:

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ค่านิยมของเหรียญที่ละลึก
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 14 ม.ค. 2552, 12:19:17 »
เหรียญที่ระลึก ของที่ระลึก นี่ ชอบครับ