หมวด มิตรไมตรี > บทความ บทกวี

หลวงปู่ภู หรือ พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร)

(1/2) > >>

ชลาพุชะ:
พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร)

วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพ


ประวัติ วัดอินทรวิหาร
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

เดิมชื่อ วัดอินทาราม หรือ วัดบางขุนพรหมนอก ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นคนสร้าง แต่มีเรื่องเล่ากันว่า เจ้าอินทร์ หรือ อินทะวงศ์ มีศักดิ์เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียวเมืองเวียงจันทร์ เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ธิดาของเจ้าอินทะ คนหนึ่งมีนามว่า เจ้าทองสุก กับเจ้าน้อยเขียว ได้เป็นพระสนมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ในสมัยนั้น เมืองเวียงจันทร์ยังเป็นเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระราชทานที่ดิน แถบที่ตั้งวัดอินทรฯ ในปัจจุบัน ให้เป็นที่อยู่ของชาวเวียงจันทร์ เจ้าอินทร์ได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณพระอรัญญิก ซึ่งมีเชื้อสายชาวเวียงจันทร์ มาปกครองวัด

มูลเหตุการเปลี่ยนชื่อ
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระองค์เจ้าอินทร์ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถส่วนการเปลี่ยนชื่อเพราะเนื่องจากชื่อวัด ไปตรงกับวัดอินทาราม (ใต้) ฝั่งธนบุรี จึงได้เปลี่ยนเป็น วัดอินทราวิหาร เพื่อไม่ให้ซ้ำกัน ในสมัยรัชกาลที่ ๖

พระพุทธรูปที่สำคัญ ของวัดอินทรวิหาร
๑. พระประธาน ในพระอุโบสถ

๒. พระศรีสุคต อังคีรสศากยมุนี

๓. พระศรีอริยเมตไตรย์ หรือ หลวงพ่อโต

ความสัมพันธ์ของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กับหลวงปู่ภู
พระศรีอริยเมตไตรย์เป็นพระพุทธยืนอุ้มบาตร สูงใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้เริ่มต้นสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และหลวงปู่ภู เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ

ปกติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านมักจะสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่โต สมกับชื่อเพื่อเป็นพุทธบูชา (อุเทสิกเจดีย์) ไว้เป็นที่สักการะบูชา และปริศนาธรรมควบคู่ไปด้วยตามประวัติท่านสร้างไว้หลายแห่งเช่น

๑. ที่วัดสะตือ จังหวัดอยุธยา ได้สร้างพระนอน มีความหมายว่า ท่านได้เกิดที่นั่น ต้องนอนแบเบาะก่อน

๒. ที่วัดเกศไชโย สร้างพระพุทธรูปปางนั่งหมายถึงท่านหัดนั่ง ณ ที่นั้น

๓. ที่วัดอินทรวิหาร สร้างพระศรีอริยเมตไตรย์ (พระยืนอุ้มบาตร) หมายถึงท่านหัดยืน ณ ที่นั้น

ในขณะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ดำเนินงานก่อสร้างหลวงพ่อโต ท่านก็ได้หลวงปู่ภู เป็นกำลังสำคัญ เพราะท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างพระโต ไปได้เพียงครึ่งองค์ก็สิ้นชีพตักษัยเสียก่อน ตามหลักฐานขณะนั้นหลวงปู่ภูอายุได้ ๔๓ ปี พรรษาที่ ๒๓ นับว่าชราภาพมากแล้ว

ความสัมพันธ์ของเจ้าประคุณสมเด็จโตกับวัดอินทรวิหาร
เมื่อเยาว์วัยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ (โต) ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในสมัยนั้นตามหลักฐาน ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) มีความใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จดี ได้เคยกล่าวกับพระยาทิพโกษาฯ ว่าถ้าอยากรู้ประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ก็ไปดูภาพฝาผนังโบสถ์ที่วัดอินทรฯ ได้

นอกจากนี้ในสมัยที่หลวงปู่ภูยังมีชีวิตอยู่ท่านได้สั่งกำชับ และสอนลูกศิษย์ทุกคนห้ามมิให้ขึ้นไปบนพระโต เนื่องจากเจ้าประคุณสมเด็จได้บรรจุของดีไว้ภายในฐาน ถ้าใครขึ้นไปจะเป็นอัปมงคลแก่ตัวเอง ส่วนของดีนั้นเข้าใจว่าอาจจะเป็นพระเครื่องสมเด็จก็ได้ แต่ก็ไม่มีใครกล้าซักถามหลวงปู่ว่า ภายในบรรจุอะไรไว้ เพราะตลอดระยะเวลา ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ดำเนินงานก่อสร้างหลวงพ่อโตและบรรจุของศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ได้รู้เห็นโดยตลอด ถ้าของที่บรรจุไว้ไม่ใช่ของสูงท่านคงไม่กำชับลูกศิษย์ลูกหาของท่านเป็นแน่

เอาละครับตอนนี้ข้าพเจ้าขอนำท่านผู้อ่านได้มารู้จักกับชีวประวัติของพระครูธรรมานุกูล
พระครูธรรมานุกูล นามเดิมชื่อว่า ภู เกิดที่หมู่บ้านตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ ตรงกับปีขาลโดยบิดามีนามว่า นายคง โยมมารดามีนามว่า นางอยู่ พออายุได้ ๙ขวบ บิดามารดาได้พาไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าคอย ได้ศึกษาเล่าเรียกอักขระสมัย (ภาษาขอม) และหนังสือไทย กับท่านอาจารย์ วัดท่าแคจนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ พัทธสีมา วัดท่าคอย โดยมี พระอาจารย์อ้น วัดท่าคอย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มา วัดน้ำหัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามทางพระว่า "จนฺทสโร"

เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ สำนักวัดท่าแคชั่วระยะหนึ่งก็ได้ออกเดินธุดงค์ จากจังหวัดตากมาพร้อมกับพระพี่ชาย คือ หลวงปู่ใหญ่

สำหรับวัดท่าแค ในสมัยที่หลวงปู่ภูจำพรรษาอยู่ นั้นยังเป็นวัดเล็กๆ เข้าใจว่าโบสถ์ยังไม่ได้สร้างท่านจึงได้มาอุปสมบท ที่วัดท่าคอยแล้วกลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมอีก ปัจจุบันวัดท่าแคนี้ตั้งอยู่ตรงเชิงสะพานกิตติขจรฝั่งตัวจังหวัดตากตำบล เชียงเงิน อำเภอเมือง ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชนะสงคราม

ในสมัยที่หลวงปู่ภูเดิมธุดงค์มากรุงเทพฯ ครั้งแรก ท่านได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาปักกลดอยู่ ณ บริเวณที่ตั้งวังบางขุนพรหม (ธนาคารแห่งประเทศไทย) สมัยนั้นพื้นที่บริเวณนั้นยังเป็นป่ารกร้างว่างเปล่าและเปลี่ยวมาก มีแต่ต้นรังต้นตาลที่ขึ้นระเกะระกะไปหมด นอกจากนี้ยังมีทางเกวียนทางเท้าเป็นช่องเล็กๆ พอเดินไปได้เท่านั้น ท่านได้มาปักกลดอยู่บริเวณชายแม่น้ำเจ้าพระยา พอตกกลางคืนได้นิมิตฝันไปว่า ได้มีคนนำเอาตราแผ่นดินมามอบถวายให้ท่าน ๓ ดวง เมื่อท่านตื่นขึ้นมาก็ได้พิจารณาถึงนิมิตนั้นพอจะทราบว่า ท่านเองจะมีอายุยืนยาวถึง ๑๐๓ ปีเศษ

การเดินธุดงค์ของหลวงปู่นับตั้งแต่เดินทางออกมาจากวัดท่าแคเข้าจำพรรษาที่วัดในกรุงเทพฯ สันนิษฐานจากคำบอกเล่าของท่านที่ได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศฯ ได้ช่วยชีวิตรักษาคนป่วย เป็นอหิวาตกโรคไว้ ๖ คนซึ่งยุคนั้นถือว่าอหิวาตกโรคร้ายแรงมาก ยังไม่มียาจะรักษาถ้าใครเป็นมีหวังตายลูกเดียว และในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งเป็นปีที่อหิวาตกโรคระบาดหนัก จนเป็นที่กล่าวขวัญเรียกกันจนติดปากว่า "ปีระกาห่าใหญ่"

ต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดจักรวรรดิ์ราชาวาสและได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ตามลำดับ

กาลต่อมาได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทาราม ซึ่งในสมัยนั้นยังใช้ชื่อวัดบางขุนพรหมนอก ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ส่วนสมณศักดิ์ที่หลวงปู่ได้รับไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้รับตำแหน่งในปีใด เข้าใจว่าได้รับก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพราะตามหลักฐาน ศิลาจารึกเกี่ยวกับการสร้าง พระศรีอริยเมตไตรย์ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า

ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ ท่านพระครูธรรมานุกูล (ภู) ผู้ชราภาพอายุ ๙๑ ปี พรรษาที่ ๗๐ ได้ยกเป็นกิตติมศักดิ์อยู่ในวัดอินทรวิหาร ท่านจึงได้มอบฉันทะ ให้พระครูสังฆบริบาล ปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ

ท่านได้มรณภาพลงเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ ปีระกา เวลา ๐๑.๑๕ น. รวมสิริอายุได้ ๑๐๔ ปี ๘๓ พรรษา นับว่าท่านได้ยกเป็นพระครูกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จนถึงวันมรณภาพเป็นเวลา ๑๓ ปี

จากบันทึก จริยาวัตร ของหลวงปู่ภู
จริยาวัตรซึ่งลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายที่ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้ท่าน จนถึงบั้นปลายชีวิตได้บันทึกเรื่องราวของหลวงปู่ภูไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางธุดงค์ และการสร้างอิทธิวัตถุมงคลต่างๆ ของท่านไว้สมบูรณ์ที่สุด ผมจะขอนำมากล่าวไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติแด่ท่าน ณ ที่นี้

การถือธุดงค์เป็นกิจวัตร

สมัยที่หลวงปู่ยังแข็งแรงดี ท่านจะถือธุดงค์วัตรมาโดยตลอด พอออกพรรษา ท่านจะออกรุกขมูลมิได้ขาดท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังเสมอว่า ได้ร่วมเดินธุดงค์ไปกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นบางครั้งบางคราวบางทีท่านออกธุดงค์ก็มีพระภิกษุติดตามด้วยท่านได้เล่าให้ฟังว่า ถึงเรื่องแปลกๆที่ด้ออกรุกขมูลไปตามป่าเขามากมายหลายเรื่องซึ่งล้วนแล้วแต่ตื่นเต้นน่าอ่านมาก

ผจญจระเข้

ในสมัยที่เดินธุดงค์ มีอยู่คราวหนึ่ง ท่านได้ปักกลดพักอยู่ใกล้บึงใหญ่แห่งหนึ่ง ใกล้บริเวณนั้นมีหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชาวบ้านปลูกอาศัยอยู่ ๒-๓ หลัง ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้เที่ยงวัน อากาศร้อนอบอ้าว ท่านจึงได้ผลัดผ้า-อาบ และลงสรงน้ำในบึงใหญ่ พอดีชาวบ้านแถบนั้นเห็นเข้า จึงได้ร้องตะโกนบอกท่านว่า "หลวงตาอย่าลงไป มีจระเข้ดุ" แต่ท่านมิได้สนใจ ในคำร้องเตือนของชาวบ้าน ท่านกลับเดินลงสรงน้ำในบึงอย่างสบายใจ ในขณะที่กำลังสรงน้ำอยู่นั้น ท่านได้แลเห็นพรายน้ำเป็นฟองขึ้นเบื้องหน้ามากมายผิดปกติ เมื่อได้เพ็งแลไปจึงได้เห็นหัวจระเข้โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ห่างจากตัวท่านประมาณ ๓ วา พร้อมกันนั้นเจ้าจระเข้ยักษ์ มันหันหัวมุ่งตรงรี่มาหาท่านแต่ท่านก็มิได้แสดงกิริยาหวาดวิตกแต่ประการใดไม่ กลับยืนสงบตั้งจิตอธิษฐานเจริญภาวนาจนจระเข้ว่ายมาถึงตัวท่าน พร้อมกับเอาปากมาดุนที่สีข้างของท่านทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ข้างละ ๓ ครั้ง แล้วก็ว่ายออกไป มิได้ทำร้ายท่าน

เรื่องนี้เป็นที่น่าอัศจรรย์ต่อชาวบ้านที่ยืนดูอยู่บนฝั่ง เมื่อท่านขึ้นจากน้ำชาวบ้านต่างบอกสมัครพรรคพวก เข้าไปกราบนมัสการด้วยความเลื่อมใสศรัทธายิ่งนักและได้ขอของดีจากท่านคือ ตะกรุด ท่านได้บอกกับลูกศิษย์ว่าในขณะที่เผชิญกับจระเข้ ท่านได้เจริญภาวนา อรหัง เท่านั้น

เสือเลียศีรษะ

ท่านได้เล่าให้ฟัง คราวที่เดินธุดงค์รอนแรมไปในป่าใหญ่เพียงองค์เดียวในขณะที่เดินอยู่กลางป่า ขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายมากแล้ว พร้อมกับร่างกายเหนื่อยล้า อ่อนเพลียมาก เพราะท่านออกเดินทางตั้งแต่เช้ายังมิได้หยุดพักเลย พอเห็นต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ริมทางเกวียนร่มรื่นดี จึงได้หยุดพักอยู่โคนต้นไม้นั้น บังเอิญเกิดเคลิ้มหลับไป ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ปักกลดเพราะคิดว่าจะนั่งพักสักครู่พอหายเหนื่อยก็จะเดินทางต่อไปในขณะที่กำลังหลับเพลินอยู่นั้น ก็มาสดุ้งตื่นอีกครั้ง เมื่อรู้สึกว่ามีอะไรมาเลียอยู่บนศีรษะของท่าน ท่านจึงได้ผงกศีรษะขึ้นพร้อมกับหันหลังไปดู ก็เห็นเสือลายพาดกลอนขนาดใหญ่ยาวประมาณ ๘ ศอก ยืนผงาดอยู่แต่มิได้ทำร้ายประกานใด พอเจ้าเสือลายพาดกลอน มันรู้ว่าสิ่งที่มันเลียอยู่นั้นรู้สึกตัวตื่นขึ้น มันกลับเดินเลยไปเสียมิได้ทำร้าย ท่านได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังพร้อมกับหัวเราะ หึ หึ ว่า ตอนเสือมันเดินผ่านไป ได้ยินเสียงข้อเท้าของมันดังเผาะๆ ในเวลาเดิน

ผจญงูยักษ์

เนื่องจากการเดินธุดงค์ของท่าน ออกจะแปลกสักหน่อย ตรงที่ไม่ค่อยเลือกเวลา เพราะว่าส่วนมากพระภิกษุองค์อื่นๆ มักจะเดินกันตอนกลางวัน ก่อนตะวันตกดินถึงจะหาสถานที่ปักกลด ส่วนหลวงปู่ภู ท่านมิได้เดินเฉพาะกลางวันเท่านั้น ตอนกลางคืนท่านก็ออกเดินด้วยเพราะท่านเชื่อมั่นในตัวเอง อีกทั้งวิชาอาคมที่ได้ร่ำเรียนมา ท่านก็ถือว่า สามารถคุ้มกายท่านได้

มีอยู่คราวหนึ่ง ท่านได้ออกเดินธุดงค์ในเวลากลางคืน โดยอาศัยแสงจันทร์ เป็นเครื่องส่องนำทาง แต่ก็ไม่สว่างมากนัก พอจะมองเห็นบ้างทั้งนี้ เพื่อจะมุ่งหน้าไปถึงหมู่บ้านตอนเช้า เพื่อรับบิณฑบาต การเดินทางกลางป่าดงดิบรกรุงรังไปด้วยแมกไม้นานาชนิด อีกทั้งเถาวัลย์ระแกะระกะเต็มไปหมด แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อท่านนัก

ในขณะที่ท่านกำลังเดินผ่านสถานที่แห่งหนึ่ง ก็ได้ยินเสียงซู่ๆ และเสียงใบไม้ดังกรอบแกลบคล้ายเสียงสัตว์เลื้อยคลานผ่านท่านก็หยุดเดิน เพื่อดูให้แน่ว่าเป็นเสียงอะไร พอท่านหยุดเดินเจ้างูยักษ์ก็โผล่หัวออกมาจากดงไม้ ตัวโตเท่าโคนขาและตรงเข้ารัดลำตัวของท่านโดยรอบ ท่านตั้งสติยืนตรงพร้อมกับเอากลดยันไว้มิได้ล้มลง เจ้างูยักษ์ยันพยายามจะฉกกัดใบหน้าของท่าน แต่ท่านได้สติ ยืนนิ่งทำสมาธิจิตเจริญภาวนาอยู่ครู่หนึ่ง เจ้างูใหญ่ตัวนั้นมันก็คลายจากการรัดร่างของท่านแล้วเลื้อยเข้าป่ารกไป มิได้ทำอันตรายแก่ท่าน

อธิษฐานบาตรลอยทวนน้ำ

สำเร็จสุดยอดต้องใช้เวลา ปฏิบัติวิชาละ ๑๐ ปี จะเสกน้ำมนต์ให้เดือดได้ ต้องเรียนถึง ๑๑ ปี เต็มฉะนั้นการศึกษาวิชาอาคมของท่าน กว่าจะสำเร็จจะต้องใช้เวลาถึง ๗๑ ปีเต็ม

กิจวัตรประจำวัน

ตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่ภูมีชีวิตอยู่ ท่านมิได้ใช้เวลาให้ว่างเปล่า ทุกเวลาของท่านมีค่ามาก มุ่งหน้าปฏิบัติมีพุทธภูมิเป็นที่ตั้ง การร่ำเรียนวิชาอาคมมา ก็เพียงเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่กำลังทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บนับว่าท่านมีเมตตาธรรมสูงส่ง

การที่ท่านมุ่งมั่นเรียนวิชา ดูเมฆ หรือเรียกกันว่า วิชาเมฆฉาย ในพจนานุกรม หมายความว่า "การอธิษฐาน" โดยบริกรรมด้วยมนต์คาถาจนเงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอวกาศ แล้วพิจารณาดู คนเจ็บนั้นเป็นอะไร

ส่วนวิชากสิณนั้นหมายถึง อารมณ์ที่กำหนดธาตุทั้งสี่ มีปฐวี อาโป เตโช วาโย อัน มีวรรณ ๔ คือ นีล ปีต โลหิต โอกทาต อากาศแสงสว่าง ก็คือ อาโลกกสิณ

ซึ่งวิชาทั้งสอง ที่ท่านได้เพียรพยายามศึกษาเมื่อมุ่งช่วยเหลือมวลมนุษย์ ที่ประสบเคราะห์กรรมเป็นต้น

การบำเพ็ญปฏิบัติของท่านจะเริ่มขึ้นหลังจากท่านได้ฉันจังหันแล้ว คือเวลา ๗.๐๐ น. ตรง ตลอดชีวิตท่านฉันเพียงมื้อเดียว(ถือเอกา)มาโดยตลอด ผลไม้ที่ขาดไม่ได้ คือ กล้วยน้ำว้าท่านบอกว่าเป็นโสมเมืองไทย

ท่านออกบิณฑบาตทุกวัน ซึ่งถือเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติทั้งๆ ที่ท่านไม่จำเป็นจะต้องออกก็ได้ เพราะเจ้าฟ้าสมเด็จกรมพระนครสวรรค์พินิจ ได้จัดอาหารมาถวายทุกวันแต่ท่านก็ได้บอกว่า การออกบิณฑบาตโปรดสัตว์เป็นกิจของสงฆ์

เมื่อท่านฉันจังหันเสร็จแล้ว ก็จะครองผ้าลงโบสถ์และลั่นดานประตู เพื่อมิให้ผู้ใดเข้าไปรบกวนท่าน จะเจริญพุทธมนต์ถึง ๑๔ ผูก วันละ ๗ เที่ยวแล้วจึงนุ่งวิปัสสนากรรมฐานต่อไปจนถึงเที่ยวทุกๆวัน ท่านเคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ขณะที่นั่งกรรมฐานอยู่พอได้เวลาเที่ยง ทางการจะยิงปืนใหญ่ (เพื่อบอกเวลาว่าเที่ยงแล้ว)ในขณะที่ยิงปืนใหญ่ กูหงายหลังทุกทีพอท่านพักได้ชั่วครู่ก็จะบำเพ็ญเจริญภาวนาต่อไปจนถึงตีหนึ่ง จึงจะจำวัด

ถึงแม้ตอนท่านชราภาพ ท่านก็มิได้ขาดจากการลงทำวัตร เว้นแต่ท่านอาพาธหนักจนลุกไม่ไหวท่านก็เจริญวิปัสสนา โดยการนอนภาวนา ซึ่งในพระธรรมวินัยได้กล่าวไว้ เรื่องวิปัสสนากรรมฐานการปฏิบัติด้วยอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ปฏิบัติได้ เป็นต้น

ท่านเคยเปิดก้นให้ลูกศิษย์ดู พร้อมกับถามลักษณะก้นของกูเป็นอย่างไร ลูกศิษย์ก็ตอบว่าก้นหลวงปู่ด้านเหมือนกับก้นของลิง หรือเสน ท่านจึงได้บอกว่า "ปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ได้ดี แล้วจะดีเมื่อไหร่ คนที่เป็นอาจารย์เขา "จริง" อย่างเดียวไม่พอต้อง "จัง" ด้วยคือต้องทั้งจริงและจังควบคู่กันไป (ต้องรู้แจ้งแทงตลอด)

หยั่งรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
ในคราวที่ทางการได้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ แล้วเสร็จทางการได้จัดงานเฉลิมฉลองได้มีข่าวลือกันหนาหูว่า จะมีการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบบประชาธิปไตยและจะมีการนองเลือด ข่าวนี้ได้ลือกันแพร่สะพัดมาเป็นเวลาแรมเดือน ก่อนที่จะกำหนดงานจนผู้คนแตกตื่นเกรงกลัวกันมาก พอมีงานเฉลิมฉลองสะพานบางคนก็ไม่กล้าออกจากบ้านไปเที่ยง ทางการก็ได้สั่งเตรียมพร้อม เพื่อรับสถานการณ์

ในขณะนั้นศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่ในใจก็อยากจะไปเที่ยวดูงาน เพราะมีมหรสพการแสดงหลายอย่างแต่ก็ไม่กล้าไป จนกระทั่งเวลา ๖ โมงเย็นจึงได้อาบน้ำอาบท่าเสร็จแล้วก็คลานเข้าไปหาหลวงปู่ นั่งพัดให้ท่านจนหลวงปู่รู้สึกหนาว จึงได้ดุศิษย์ผู้นั้นว่า "หยุด กูไม่ร้อน ต่อไปพวกมึงซิจะร้อน" แต่ศิษย์ผู้นั้นหาได้ฟังไม่ กลับพัดอยู่ต่อไปท่านจึงได้หันมาดุเอาอีก "เอ๊ะอ้ายนี้แปลก วันนี้ทางการบ้านเมืองเขามีงานมีการที่สะพานพุทธฯ มีโขนมีลิเกกันทำไมมึงเป็นหนุ่มเป็นแน่นไม่ไปเที่ยวกันละวะ ดันทุรังนั่งพัดอยู่ได้ กูบอกไม่ร้อน แต่พวกมึงจะร้อนไปดูงานเถอะไป"

ศิษย์ผู้นั้นก็ตอบว่า "ผมไม่ไปละครับผมกลัวเขาลือกันว่าจะมีเรื่อง" เมื่อท่านได้ฟังแล้วก็หัวเราะ พร้อมกับพูดขึ้นว่า "ไป ไป๊ ไปดูงานให้สบายเถอะ ไม่ต้องกลัวและไม่ต้องห่วงกู มึงนับถือกูไหมล่ะ ถ้านับถือกู มึงต้องรีบไปได้แล้ว กูว่าเรื่องที่ว่าไม่มี" ศิษย์ผู้นั้นจึงได้กราบลาท่านออกไป เที่ยวงานฉลองสะพานพุทธฯ

หลังจากที่ศิษย์ผู้นั้นได้ไปเที่ยวงานกลับตอนตีหนึ่งเศษ ท่านยังไม่จำวัดจึงได้เข้ากราบท่าน ท่านก็สอบถามว่า มีการยิงกันตามข่าวลือหรือไม่ ศิษย์ได้เรียนท่านว่า ไม่มีครับ ท่านจึงได้พูดต่อไปว่า "อ้ายคนเดี๋ยวนี้มันพูดกันไปจริง" แล้วท่านก็หยุดนิ่งสักครู่จึงได้พูดต่อไปอีกว่า "เดือน ๗ แรม ๖ ค่ำ เวลาย่ำรุ่งเถอะมึงเอย ตูมเบ้อเร่อทีเดียว" ศิษย์คนนั้นก็สอบถามท่านอีกจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น หรือหลวงปู่ ท่านก็เพียงบอกว่า "มึงคอยดูไป มึงคอยดูไป"

คำกล่าวของหลวงปู่นั้น ต่อมาปรากฏว่า เป็นความจริงตามที่ท่านได้กล่าวไว้ คือได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เกิดการต่อสู้กันที่วังบางขุนพรหม ในเวลาย่ำรุ่งและยังมีการต่อสู้อีกหลายแห่ง ตรงกับที่ท่านได้พยากรณ์ไว้ว่าเดือน ๗ แรม ๖ ค่ำเวลาย่ำรุ่ง

พอรุ่งเช้าลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งรับราชการอยู่ในกองทัพเรือ แต่งตัวเข้าไปรายงานตัว แต่ก็ไม่สามารถจะเข้าไปทำงานได้ จึงกลับมาหาหลวงพ่อเข้าไปกราบนมัสการท่าน ท่านกลับลุกขึ้นไปหยิบจีวรคลุมศีรษะโผล่หน้าออกมา ให้เห็นเพียงนิดเดียว แล้วพูดขึ้นว่า "กูว่าแล้วนะปะไร" พอพูดจบท่านก็หัวเราะ สักครู่หนึ่งน้ำตาท่านได้ไหลซึมออกมาจากเบ้าตา (เข้าใจว่าคงจะสงสารกรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งถูกจับเป็นตัวประกัน ในพระที่นั่งอนันตสมาคม) ท่านนั่งอยู่สักครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า "เออกูได้ทางแล้ว กูได้ทางแล้ว"

บอกใบ้ม้าแข่ง
พูดถึงเรื่องม้าแข่ง ซึ่งผู้คนติดกันชนิดถอดตัวไม่ขึ้น ในสมัยนั้นมีศิษย์ของหลวงปู่ก็ติดม้ากันงอมแงม พอจะถึงวันแข่ง ก็ได้นัดหมายเพื่อนมานั่งปรนนิบัติหลวงปู่ ขณะนั้นเป็นเวลาตอนกลางคืน ซึ่งหลวงปู่กำลังอารมณ์ดีอยู่ ท่านได้พูดขึ้นลอยๆ ว่า "อ้ายคนสมัยนี้ก่อนเวลาตายเขาเอาใส่โกศทอง เขาไม่ได้ใช้หีบไม้ เขาไม่เสียดายเขาใส่โกศทองจริงๆ นะมึงนะ โกศทองจริงนะมึงนะ" ท่านได้พูดซ้ำซากอยู่หลายครั้งหลายหน ศิษย์ที่นั่งอยู่ด้วยก็รู้ว่าท่านบอกใบ้ให้เพราะทุกคนรู้ว่าท่านมีญาณสูงสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้

พอวันรุ่งขึ้นศิษย์ทั้งสองจึงได้ชวนกันเข้าสนามม้า จ้องดูว่าม้าตัวไหนสีเหลือง ในขณะนั้นได้มีจ๊อกกี้ของคอกพระปฎิพัทธภูบาล ใส่เสื้อสีเหลือง อยู่เพียงคนเดียวจึงได้ทุ่มซื้อแต่ก็ผิดหวังเพราะไม่เข้าหลักชัย พอเที่ยวที่สองก็แทงอีก แต่ไม่เข้าสักตัวเล่นเอาทั้งสองต่างเหงื่อกาฬแตก เพราะหมดเงินและนึกในใจที่หลวงปู่บอกใบ้มาผิดหมด พอเที่ยวที่ ๗ ม้าคอกนี้ก็เข้าแข่งอีก เป็นม้าเทศ แต่ข่าวว่าม้าตัวนี้เจ็บป่วยอีกทั้งตามประวัติไม่เคยชนะเลย พอม้าตัวนี้ลงสนามจึงไม่มีใครสนใจ แม้แต่ศิษย์ทั้งสองก็ไม่สนใจเช่นกัน แม้แต่ชื่อของม้าตัวนั้นก็ไม่สนใจ จนเสร็จสิ้นการแข่งขันม้าตัวนั้นก็ชนะแบบขาดลอย แต่มีชาวจีน ๒ คนที่นั่งอยู่ข้างๆ แทงไว้คนละใบ ถูกวิน ศิษย์ทั้งสองจึงได้ขอดูชื่อม้าตัวนั้น ก็ตกใจ เพราะมันชื่อ "โกลเด็นเอิร์น" ซึ่งแปลว่า "โกศทอง" ตรงกับที่หลวงปู่กล่าวไว้

หลวงปู่ต้องย้ายไปอยู่หลายวัด หวย ก.ข. หวยจับยี่กี เป็นเหตุ


ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทางการได้อนุญาตให้ประชาชนเล่นหวย กันโดยชอบด้วยกฎหมาย ชาวบ้านต่างมุ่งหน้าเข้าหาพระเกจิอาจารย์ เพื่อขอหวยหวังเสี่ยงโชคตอนนั้นใครๆ ต่างเล่าลือกันว่าหลวงปู่ภูให้หวยแม่น ใครๆ ก็มุ่งหน้ามาขอหวยจากท่าน จนท่านเกิดความรำคาญ ที่ไม่ค่อยได้ปฏิบัติบำเพ็ญธรรมท่านจึงได้หลบไปจำพรรษาที่วัดโมลีฯ วัดสระเกศฯ วัดม่วงแค วัดสามปลื้มฯ บ้าง

ในคราวที่ท่านหลบมาจำพรรษาอยู่ วัดโมลีโลกฯ (ท้ายตลาด) ได้มีชายคนหนึ่งมาขอหวยท่านได้ปฏิเสธชายคนนั้นว่า "ไม่มี" แล้วท่านก็นั่งเจริญภาวนาต่อไป มิได้สนใจชายคนนั้น แต่ชายคนนั้นก็มิได้ละความพยายามนั่งเฝ้ารออยู่ตรงนั้น พอนานเข้าก็พูดขึ้นว่า "หลวงพ่อครับ ผมขอไอ้ที่แน่ๆ สักตัวครับ"

ถึงจะพูดอย่างไรท่านยังคงนิ่งเจริญภาวนาไปเรื่อยๆ ชายคนนั้นก็พูดซ้ำซาก จนท่านรำคาญหรือเกิดขัดใจอะไรไม่ทราบได้ ท่านได้ลุกขึ้นพร้อมกับเตะชายคนนั้น ตกลงไปจากหอไตรพร้อมกับพูดว่า "นี่แนะ ไอ้ที่แน่" ถึงชายคนนั้นจะถูกเตะตกหอไตร แต่ก็มิได้รับอันตรายและคิดเอาเองว่าหลวงปู่ใบ้หวยให้ จึงได้ตีกิริยาอาการของท่านว่าหมายถึง ต.เรือจ้าง ชายคนนั้นรีบกลับไปแทง วันนั้นหวยออก "ต.เรือจ้าง" นับว่าอัศจรรย์มาก

หยั่งรู้อนาคตและอดีต
ในสมัยนั้นข้าราชการส่วนมากนิยมตั้งคอกม้า มีข้าราชการชั้นโท ผู้หนึ่งก็ตั้งคอกม้าขึ้นได้เดินทางมากับเพื่อนเพื่อมาหาหลวงปู่ คิดว่าจะสอบถามท่านถึงการดำเนินงานจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ในขณะที่ทั้งสองเข้าไปกราบหลวงปู่ ยังไม่ทันได้บอกอะไร หลวงปู่กับพูดขึ้นก่อนว่า "ฉิบหายจ๊ะไม่ได้การดอก" แล้วท่านก็นิ่งเงียบ ชายทั้งสองจึงขอให้ท่านลงกะหม่อมให้แล้วกราบลาท่านออกมา ต่อมาอีกไม่นานคอกม้าของชายคนนั้นทุกครั้งที่ลงแข่งจะแพ้ทุก จนต้องเลิกกิจการไป เป็นจริงตามคำทำนายของท่านทุกประการ

มีเมตตาธรรมสูง
ได้มีลูกศิษย์ใกล้ชิดของท่านได้บันทึกคุณธรรมท่านไว้ ดังที่ข้าพเจ้าจะขอนำมาลงไว้ ณ ที่นี้ด้วย

"ก่อนข้าฯ เป็นศิษย์ได้ถวายตัวเป็นลูกรับใช้ปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจนอวสาน ข้าฯ ได้เห็นองค์ท่านช่วยทุกข์แก่สัตว์มนุษย์ทุกรูปวัยไม่แบ่งชั้นวรรณะ เสมอต้นหมดแม้จะเป็นเจ้า หรือขุนนางชั้นสายสะพายทองก็ตาม ตลอดจนยาจนเข็ญใจข้าฯ จึงปลาบปลื้มในองค์ท่านมิรู้หาย ตราบเท่าทุกวันนี้"

เรื่องการรักษาโรค ท่านเชี่ยวชาญมาก แต่ละวันจะมีผู้คนที่เจ็บไข้ไปหาท่าน ให้ช่วยรักษาปัดเป่าจนหายเช่น การรักษาฝีท่านจะถามว่า "จะเอาแตกหรือจะเอายุบ" แล้วท่านจึงรักษาให้ตามประสงค์ แต่ก็เป็นที่อัศจรรย์มากถ้าใครบอกว่าเอาแตกพอท่านรักษาเสร็จ คนไข้พอเดินยังไม่พ้นวัด ฝีจะแตกทันที

มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านป่วยจนไข้ขึ้นสูง เพราะไม่ได้ถ่ายมาหลายวัน หมอที่เป็นศิษย์บอกว่าจะต้องรักษาด้วยการสวนทวาร เพื่อให้ถ่ายจะได้ลดไข้ แต่ท่านก็ไม่ยอมให้สวน กลับบอกให้ลูกศิษย์ให้ไปหามะตูมมาหนึ่งลูก พร้อมกับผ่ามะตูม ท่านจึงตักมะตูมฉันไป ๓ ช้อน ส่วนที่เหลือให้ลูกศิษย์กิน พอเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ท่านก็ลุกไปถ่ายอุจจาระไข้จึงลดลง พอลูกศิษย์เห็นดังนั้นก็เกิดวิตกเพราะตนกินมะตูมผลนั้นไปมากกว่าหลวงปู่ แต่ปรากฏว่าศิษย์ผู้นั้นกับท้องผูกไปสามวัน ท่านได้พูดกับลูกศิษย์ว่า "ของทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกำหนดจังหวะและเวลา"

ทดสอบหมอ

มีอยู่คราวหนึ่ง ขณะนั้นท่านอารมณ์ดี จึงได้พูดกับศิษย์ว่า "เขาว่ามึงเป็นหมอหรือ" ศิษย์คนนั้นเป็นนายแพทย์ได้ตอบท่านว่า "พอมีความรู้"ท่านก็ถามต่อไปว่า "มึงตรวจลมกูได้ไหม" ศิษย์ก็ตอบว่า "ได้" ท่านจึงนอนลงพิงหมอนขวานแล้วบอกให้ศิษย์ตรวจลม หมอคนนั้นได้เอามือจับชีพจรด้ายซ้ายแต่ไม่พบ เพื่อจับเหนือสะดือก็ไม่พบจนเวลาล่วงไปประมาณ ๒๐ นาที ก็ยังตรวจไม่พบ ท่านจึงสะบัดมือพร้อมกับพูดว่า "ยังไง มึงตรวจลมกูได้ไหม" ศิษย์ก็ตอบว่าตรวจไม่พบ ท่านจึงบอกว่า

"ยังงั้นมึงก็หมอลากข้าง นี่แหละเขาเรียกว่าลมกองละเอียด เขาทำให้เดินตามผิวหนังเท่านั้น มันยากหรือง่ายวะ"

หลวงปู่ภูมีเมตตาสูง

แม้แต่สัตว์ทุกชนิดยังไม่เกรงกลัว แต่ละตัวเชื่องมาก ในสมัยท่านมีชีวิตอยู่ จะมีอีกาบินมาเกาะต้นพิกุล ตอนเช้าพอท่านฉันจังหันเสร็จ มันก็จะบินมาเกาที่หน้าต่างกุฏิท่านจะปั้นข้าวสุกเสกแล้วยื่นให้มันกิน พอมันคาบข้าวสุกปั้นก้อนนั้น ท่านจะเอามือตบหัวมันเบาๆ แล้วมันก็จะบินออกไป เป็นเช่นนั้นอยู่ประจำ

ที่กุฏิของท่านจะมีไก่วัดมาอยู่บริเวณหน้ากุฏิท่านจำนวนมาก วันหนึ่งขณะที่ท่านเดินมาหน้ากุฏิ ยืนดูลูกไก่ที่เพิ่งออกจากไข่ใหม่ๆ ท่านให้ศิษย์เอาข้าวสารมา ๑ กำมือ พร้อมกับโปรยให้ลูกไก่กิน และยืนดูอยู่สักครู่แล้วจึงออกเดินพร้อมกับพูดว่า "กูไปละนะ กุ๊กๆ" ลูกไก่กลับวิ่งตามท่าน เมื่อท่านเห็นดังนั้นจึงพูดว่า "เจ้ามาตามกูทำไมไปอยู่กับแม่มึง" ลูกไก่ถึงได้วิ่งกลับไปอยู่กับแม่ไก่



 พระพุทธ4พระธรรม4พระสงฆ์4อุบาสก4อุบาสิกา4ปกิณกะ4? พุทธประวัติ? พุทธประวัติทัศนศึกษา? ทศชาติชาดก4? ชาดก ๕๔๗ เรื่อง4? ประทีปแห่งเอเซีย? ๓ เดือนก่อนปรินิพพาน? บุคคลผู้เป็นเอกหาได้ยากในโลก? พระสัมมาสัมพุทธเจ้า? พระปัจเจกพุทธเจ้า? พระพุทธเจ้าในนิกายเถรวาทและมหายาน? พุทธกิจ ๔๕ พรรษา? พุทธการกธรรม? พุทธธรรมดา ๓๐ ทัศ? พุทธศาสนายุคหลังพุทธปรินิพพาน? พระไตรปิฎก4? พระอภิธรรม4? ศีล4? บทสวดมนต์4? พระคาถาชินบัญชร4? มิลินทปัญหา? พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์? นวโกวาท? ปกิณกธรรม4? พระอสีติมหาสาวก? เอตทัคคะ ภิกษุ4? เอตทัคคะ ภิกษุณี4? ประวัติอาจารย์ สายพระป่า? ประวัติอาจารย์ สายพระบ้าน? คำสอนอาจารย์? ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช? พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช4? สมณศักดิ์? พระบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน? บันทึกลับ ภิกษุนิรนาม? ภาพในหลวงกับพระสุปฏิปันโน? เอตทัคคะ(อุบาสก)4? ประวัติอุบาสกคนสำคัญ4? ธรรมะโดยอุบาสก4? พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว? พระราชกฤษฎาภินิหาร? พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระปรีชา? ทิพยอำนาจในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว? เมื่อกษัตริย์โบดวง ทรงชักนำในหลวงเปลี่ยนศาสนา? เอตทัคคะ (อุบาสิกา)4? ประวัติอุบาสิกาคนสำคัญ4? คำสอนโดยอุบาสิกา4? นิทานเซน? โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน? โอวาทท่านจี้กง? ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ? ศาสนพิธี? สารบัญปัญหาจากการปฏิบัติ? สารบัญปัญหาจากการดูจิต? พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์4? เรื่องที่น่าสนใจ? เตมีย์ชาดก? ชนกชาดก? สุวรรณสามชาดก? เนมิราชชาดก? มโหสถชาดก? ภูริทัตชาดก? จันทกุมารชาดก? นารทชาดก? วิทูรชาดก? เวสสันดรชาดกเรียงตามนิบาตเรียงตามชื่อความรู้เรื่องพระไตรปิฎกความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์ความหมายของพระไตรปิฎกความเป็นมาของพระไตรปิฎกคำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างย่อลำดับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเนื้อหาโดยสังเขปของพระไตรปิฎกแก่นธรรมจากทีฆนิกายความคิดของคนที่ไม่เข้าถึงสภาวะธรรมความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎกสาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม4พระอภิธรรมในชีวิตประจำวันปรมัตถธรรมสังเขปจิตตสังเขปนวโกวาท วินัยบัญญัติ เบญจศีล อานิสงส์ของศีล ๕ข้อห้ามและศีลของสมณเพศ 4อย่างไรจึงผิดศีลผิดศีล..ตัดสินอย่างไรถือศีลอย่างไรจึงจะไม่กลายเป็นสังโยชน์วินัยของพระภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรทราบบทสวดทำวัตรเช้าบทสวดทำวัตรเย็นบทสวดมนต์เจ็ดตำนานบทสวดมนต์สิบสองตำนานบทสวดถวายพรพระอานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณบทสวดมนต์ต่าง ๆบทสวดพระอภิธรรมในงานศพฉบับอ.พร รัตนสุวรรณฉบับพระพิมลธรรม (อาสภเถระ)ฉบับ 'ฉันทิชัย'ฉบับสิงหฬฉบับ สงฺขฺยาปกาสกฎีกาความหมายของธรรมปฏิจจสมุปบาทตำนานพระปริตรการอ่านภาษาบาลีคำถามเกี่ยวกับบทสวดมนต์อกุศลกรรมบท ๑๐4สมถะกรรมฐาน-อัปปนาสมาธิภพภูมิ 31 ภูมิกิเลส ๑๐อนุสสติ ๑๐กังขาเรวตะกาฬุทายีกุมารกัสสปะกุณฑธานะจุลปันถกะทัพพมัลลบุตรนันทะ (พุทธอนุชา)นันทกเถระปิณโฑลภารทวาชะปิลินทวัจฉะปุณณมันตานีบุตรพากุละพาหิยทารุจีริยะภัททิยกาฬิโคธาบุตรมหากัจจายนะมหากัปปินะมหากัสสปะมหาโกฐิตะมหาปันถกะโมคคัลลานะโมฆราชะรัฐปาละราธะราหุลเรวตขทิรวนิยะลกุณฎกภัททิยะวักกลิวังคีสะสาคตะสารีบุตรสีวลีสุภูติโสณกุฏิกัณณะโสณโกฬิวิสะโสภิตะอนุรุทธอัญญาโกณทัญญะอานนท์อุบาลีอุปเสนวังคันตบุตรอุรุเวลกัสสปะนางสุชาดานางวิสาขามิคารมาตานางขุชชุตตรานางสามาวดีนางอุตตรานันทมาตานางสุปปวาสาโกลิยธีตานางสุปปิยาอุบาสิกานางกาติยานีนางนกุลมาตาคหปตานีนางกาฬีอุบาสิกาสมเด็จพระสังฆราช (ศรี)สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)สมเด็จพระสังฆราช (มี)สมเด็จพระสังฆราช (สุก)สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)สมเด็จพระสังฆราช (นาค)กรมพระปรมานุชิตชิโนรสกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์สมเด็จพระสังฆราช (สา)กรมพระยาวชิรญาณวโรรสกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สมเด็จพระสังฆราช (แพ)กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด)สมเด็จพระสังฆราช (อยู่)สมเด็จพระสังฆราช (จวน)สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น)สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์)สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ)พ่อค้าชื่อตปุสสะและภัลลิกะอนาถปิณฑิกคฤหบดีจิตตคฤหบดีหัตถกอุบาสกเจ้ามหานามศากยะอุคตคฤหบดีอุคคฤหบดีสูรัมพัฏฐเศรษฐีบุตรหมอชีวกโกมารภัจจ์นกุลปิตาคฤหบดีอุบาสกเปลี่ยน รักแซ่อ.เสถียร โพธินันทะอ.พร รัตนสุวรรณอ.สุชีพ ปุญญานุภาพศ.นพ.อวย เกตุสิงห์เซียนสู พรหมเชยธีระอ.สัญญา ธรรมศักดิ์อ.บุญมี เมธางกูรม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชอ.วศิน อินทสระดร.ระวี ภาวิไลสุลักษณ์ ศิวรักษ์สมพร เทพสิทธาสัตยา นารายัน โกเอ็นก้า? สันตินันท์? สู พรหมเชยธีระ? ดังตฤณ? เสถียร โพธินันทะ? สุชีพ ปุญญานุภาพ? วศิน อินทสระ? น.พ.กำพล พันธ์ชนะ? เขมานันทะ? ไชย ณ พล? กำพล ทองบุญนุ่ม? บุญมี เมธางกูร? มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช? ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์? สุลักษณ์ ศิวรักษ์? ท่านอื่น ๆพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีพระเขมาเถรีพระอุบลวัณณาเถรีพระปฏาจาราเถรีพระธัมมทินนาเถรีพระนันทาเถรีพระโสณาเถรีพระสกุลาเถรีพระภัททากุณฑลเกสาเถรีพระภัททากปิลานีเถรีพระภัททากัจจานาเถรีพระกีสาโคตมีเถรีพระสิงคาลมาตาเถรีกี นานายนกนิษฐา วิเชียรเจริญแนบ มหานีรานนท์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ม.จ.พูนพิศมัย ดิสกุลสิริ กรินชัยพิมพา วงศาอุดมศันสนีย์ เสถียรสุตสุจิตรา อ่อนค้อมรัญจวน อินทรกำแหงบุญเรือน โตงบุญเติมสุรีพันธ์ มณีวัตแก้ว เสียงล้ำ? กี นานายน? สุจินต์ บริหารวนเขตต์? แนบ มหานีรานนท์? Nina Van Gorkom? อัญญมณี มัลลิกะมาส? ละมัย เขาสวนหลวง? พิกุล มโนเจริญ? อมรา มลิลา? พิมพา วงศาอุดม? รัญจวน อินทรกำแหง? สุรีพันธ์ มณีวัตความมหัศจรรย์ของธรรมชาติการกำเนิดชีวิตและจักรวาลชีวิตกับจักรวาลความรู้กับสภาวะแห่งการรู้ธรรมะเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไรเต๋าแห่งฟิสิกส์พุทธศาสนาในฐานะรากฐานของวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์สมาธิคำนำห้ามฉันเนื้อ ๑๐ อย่างศีล ๑๐ ข้อของสามเณรศีล ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ4ครุธรรม ๘ ของภิกษุณีคำนำ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุ มิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สรุปอกุศลกรรมบท ๑๐ปาราชิกสังฆาทิเสสอนิยตกัณฑ์นิสสัคคิยปาจิตตีย์ปาจิตตีย์ปาฏิเทสนียะเสขิยะสารูปโภชนปฏิสังยุตตธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ปกิณสถะธิกรณสมถะคำนำพระอภิธรรม คืออะไรปรมัตถธรรมบัญญัติธรรมปรมัตถธรรม อยู่เหนือการสมมุติประวัติพระอภิธรรมพระอภิธัมมัตถสังคหะการสวดพระอภิธรรมในงานศพประโยชน์ของการศึกษาพระอภิธรรมสำนักศึกษาพระอภิธรรมผู้เรียบเรียงบรรณานุกรม
ที่มา : http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-poo-hist.htm

อชิตะ:
น้อมนมัสการหลวงปู่ภู ครับ  ได้ศึกษาปฎิปทาของหลวงปู่ภู  น่าเลื่อมใสมากๆ ครับ 

ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์):
สุดยอดเลยครับ มีหนังสือประวัติท่านไว้อ่านอยู่เหมือนกันครับ อ่านได้ไม่มีเบื่อ ขอบคุณครับผม  :001:

~@เสน่ห์เอ็ม@~:
ศิษก้นกุติ หลวงพ่อโตเลย ครับ สุดยอด  :015:

۞เณรน้อยเส้าหลิน۞:
กราบนอบน้อมระลึกถึงหลวงปู่ภู ด้วยเศียรเกล้าครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version