กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ, กฎแห่งกรรม และ ประสบการณ์วิญญาณ => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ => ข้อความที่เริ่มโดย: รวี สัจจะ... ที่ 28 ก.พ. 2554, 06:34:36

หัวข้อ: โปร่ง โล่ง เบา สบายๆ
เริ่มหัวข้อโดย: รวี สัจจะ... ที่ 28 ก.พ. 2554, 06:34:36
ตถตาอาศรม เขาเรดาห์  บ้านบึง ชลบุรี
    ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
             การเตรียมกาย เตรียมใจ ก่อนเข้าสู่การปฏิบัตินั้น เราต้องปรับกาย ปรับจิต
ปรับความคิดของเราเสียก่อน ทำจิตทำใจให้โปร่งโล่งเบาสบาย ทำกายให่ผ่อนคลาย
ไม่เกร็งไม่เคร่งไม่เครียด น้อมจิตน้อมใจระลึกนึกถึงบุญกุศลความดีที่เราได้เคยกระทำมา
เพราะว่าเมื่อเราระลึกนึกถึงบุญถึงกุศล ใจของเรานั้นก็จะเกิดความปิติยินดี มีความสบายใจ
เพราะว่าสิ่งที่เป็นบุญนั้น คิดถึงครั้งใดใจก็เป็นสุข เมื่อใจของเราระลึกนึกถึงบุญใจก็เป็นกุศล
ทำให้มีความเอิบอิ่ม ปิติ มีกำลังใจที่จะทำความดีต่อไป เรียกว่าการสร้างปิติจากภายนอก
เพื่อเข้าสู่ภายใน เมื่อใจของเรามีความสุขความสบายด้วยกุศลจิต มีความเพลิดเพลินในการ
ระลึกนึกคิดถึงบุญกุศล เป็นการเริ่มต้นตั้งจิตของเราก่อนเข้าสู่การภาวนา เพราะคำว่าภาวนานั้น
คือการพัฒนา การเจริญขึ้น เมื่อจิตเริ่มต้นของเราเป็นกุศลจิต ความเป็นกุศลจิตก็จะเจริญขึ้น
เมื่อภาวนาไป ใจก็จะพบกับความสุขความสงบ ไม่วุ่นวาย ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ไม่ขัดข้อง อึดอัด
เพราะว่าได้ปรับจิตปรับใจให้มีความพร้อมก่อนแล้ว
            อย่าพยามยามกำหนดมากจนเกินไป ตามดูตามรู้ ตามเห็น เท่าที่กำลังของเราจะทำได้
ค่อยๆเป็นค่อยๆไป สั่งสมอบรมพละกำลังของสติไปเรื่อยๆ จนมันมีกำลังแก่กล้าเป็นอินทรีย์พละ
การปฏิบัติธรรมนั้นเหมือนกับการฝึกซ้อมของนักกีฬา กว่าเขาจะได้รับชัยชนะ ทำสถิติได้นั้น
เขาต้องผ่านการฝึกฝน ฝึกซ้อมมาเป็นเวลายาวนาน อย่าเอาความอยากของเราเข้าไปกำหนด
ให้มันเป็นไป ให้มันเป็นไปโดยธรรมชาติของมัน เหมือนที่เคยได้กล่าวไว้ ความเจริญในธรรม
นั้นเหมือนกับการปลูกต้นไม้ มันจะเจริญงอกงามของมันไปตามธรรมชาติและการเอาใจใส่ดูแล
ของผู้ปลูก เราอยากจะให้มันเจริญงอกงามตามใจของเรานั้นไม่ได้ มันต้องเป็นไปตามวัยและเวลา
การเจริญจิตภาวนานั้นก็เช่นกัน เราต้องหมั่นกระทำอยู่เนืองนิจ ทำจนเป็นกิจวัตร จนจิตนั้นคุ้นเคย
กับการปฏิบัติภาวนา กำลังของสติจะแก่กล้าต้องอาศัยระยะเวลาที่ต้องหมั่นเพียรภาวนา
         การปฏิบัติธรรมเจริญภาวนานั้น เป็นการกระทำที่จิต ที่ความคิด ไม่ใช่การโชว์หรือการโอ้อวด
เราจะรู้ด้วยตัวของเราเอง ว่าจิตของเราสงบหรือไม่ อย่าได้เอาตัวของเราการปฏิบัติของเรานั้น
ไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น เพราะว่าแต่ละคนนั้น แตกต่างกันด้วยธาตูและอินทรีย์ บารมีที่สั่งสมมานั้น
แตกต่างกัน สภาวะธรรมของแต่ละคนนั้นเป็นปัจจัตตัง คือรู้ได้เฉพาะตน จึงไม่ควรที่จะเอาไปเปรียบ
เทียบกับผู้อื่น เพราะแต่ละคนนั้นจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีเพียงความคล้ายและใกล้เคียงเท่านั้น
จะไม่เหมือนกันไปหมดทุกอย่าง จึงของฝากไว้ให้เป็นข้อคิด สำหรับผู้ที่ฝึกจิตเจริญภาวนา
                ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิตแด่มวลมิตรทุกผู้คน
                                 รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๑๘.๓๕ น. ณ ตถตาอาศรม บ้านบึง ชลบุรี
หัวข้อ: ตอบ: โปร่ง โล่ง เบา สบายๆ
เริ่มหัวข้อโดย: NONGEAR44 ที่ 28 ก.พ. 2554, 06:56:21
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ขอบพระคุณมากครับที่เมตตาสอนครับ
หัวข้อ: ตอบ: โปร่ง โล่ง เบา สบายๆ
เริ่มหัวข้อโดย: banmung ที่ 28 ก.พ. 2554, 07:30:27
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ถ้าไม่ได้พระอาจารย์สอนสั่ง กระผมคงหลงไปผิดทาง หลงในจิต หลงในความอยากของตนเอง จนไม่รู้ถึงแก่นของการภาวนา ขอขอบพระคุณพระอาจารย์มากครับ
หัวข้อ: ตอบ: โปร่ง โล่ง เบา สบายๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 28 ก.พ. 2554, 08:31:54
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์
ตอนนี้ ฟัง อ่าน แล้วปฏิบัติตามครับ

คู่มือมนุษย์ - ตอนที่ 3
http://www.fungdham.com/download/read/buddhatas/humanhandbook/humanhandbook03.mp3 (http://www.fungdham.com/download/read/buddhatas/humanhandbook/humanhandbook03.mp3)
หัวข้อ: ตอบ: โปร่ง โล่ง เบา สบายๆ
เริ่มหัวข้อโดย: derbyrock ที่ 01 มี.ค. 2554, 11:51:34
ความเจริญในธรรมนั้นเหมือนกับการปลูกต้นไม้ มันจะเจริญงอกงามของมันไปตามธรรมชาติและการเอาใจใส่ดูแลของผู้ปลูก เราอยากจะให้มันเจริญงอกงามตามใจของเรานั้นไม่ได้ มันต้องเป็นไปตามวัยและเวลา
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ก่อนที่จะเคยได้ยินประโยคด้านบน มักมีคำถามในใจอยู่เสมอว่าเมื่อไหร่จะก้าวหน้าในธรรม เคยถามพระอาจารย์ และพระอาจารย์ตอบประโยคนี้มา หลังจากนั้นไม่เคยสงสัยอะไรเรื่ืองนี้อีกเลยครับ
หัวข้อ: ตอบ: โปร่ง โล่ง เบา สบายๆ
เริ่มหัวข้อโดย: gottkung ที่ 02 มี.ค. 2554, 12:50:52
ขอบพระคุณพระอาจารย์ที่เมตตาชี้แนะครับ
ได้ประโยชน์และความรู้มากครับ
หัวข้อ: ตอบ: โปร่ง โล่ง เบา สบายๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ~@เสน่ห์เอ็ม@~ ที่ 02 มี.ค. 2554, 11:12:12
กราบมนัสการพระอาจารย์ที่เคารพ  :054:

กราบขอบพระคุณที่เมตตาสั่งสอนครับ   :054:
หัวข้อ: ตอบ: โปร่ง โล่ง เบา สบายๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 10 มี.ค. 2554, 11:24:54
ท่านที่สนใจปฎิบัติภาวนา ลองอ่านข้อนี้

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ :054:
ฝึกนั่งสมาธิมาพักใหญ่ดูเหมือนจะไม่ก้าวหน้า อาจเป็นเพราะผมไปบังคับให้ลมหายใจมันยาว
จะทดลองมานั่งมองมันเฉยๆดูบ้างครับ หรือใครมีวิธีทำสมาธีดีๆช่วยแนะนำผมด้วย ผมกำลังค้าหา
วิธีและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องครับ  :008:
ลองนึกทบทวนดูสิครับ..ว่าเราหายใจอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เราเกิดมา จนเป็นเรื่องปกติ แต่พอเราฝึกสมาธิไปกำหนดลมหายใจ แล้วทำไมมันจึงอึดอัด ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า"ลมไม่ได้เข้าออกตามธรรมชาติของมัน" เราจึงต้องปล่อยให้มันเข้าออกตามปกติธรรมชาติของมัน อย่าไปบังคับมัน
หน้าที่ของเราคือนั่งดูมันเข้าออกให้ทัน มีสติอยู่กับการดูการเข้าออกของลม อย่าไปบังคับลม เพราะมันจะเกิดแรงต้านและมันจะเหนื่อยเมื่อเราเข้าไปเป็นตัวกระทำ เราคือผู้ชม..เราคือผู้ดู แต่ไม่ใช่ผู้แสดง(ร่างกายเป็นผู้แสดง)

ที่มา(อย่าไปขุดนะครับ)
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=9713.msg92970#msg92970 (http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=9713.msg92970#msg92970)
หัวข้อ: ตอบ: โปร่ง โล่ง เบา สบายๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 11 มี.ค. 2554, 12:10:10
ถ้าปฎิบัติแล้วมีปัญหา ให้อ่านที่นี่

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆผมกำลังฝึกปฏิบัติสมาธิอยู่พอดี จะนำวิธีนี้ไปลองใช้บ้าง   :053:
ปัญหาของผมคือ พอนั่งสมาธิไปได้ประมาณ 15-20 นาทีมือผมจะเริ่มชา และชาขึ้นไปที่
แขน ที่คอ และต่อไปเป็นเวียนศรีษะ ผมต้องบังคับให้ลมหายใจแรงๆจึงจะหาย พอมันหายชา
ผมก็กลับไปหายใจปกติ สักพักมันก็จะชาอีก ขอถามผู้รู้ว่าเกิดจากอะไร และแก้ใขอย่างไร ครับ  :008:
:060:อาการที่เกิดขึ้นนั้นสืบเองมาจากเราตั้งใจมากเกินไป ภาษานักปฏิบัติเขาเรียกว่า"ตั้งจิตหนัก"คือเรามีความอยากที่จะให้มันสงบ อยากจะให้เกิดสมาธิ เราไปสะกดจิตตัวเองให้มันนิ่ง มันจะเกิดความรู้สึกร้อนที่หน้าท้องหรือทรวงอก ลมที่อัดไว้ในตัวมันจะขึ้นเบื้องบน ตามธรรมชาติของลมเมื่อถูกความร้อนในกายมันจะลอบขึ้นบน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเราหายใจออกไม่หมด หายใจออกไม่สุดลม ทำให้เกิดลมค้างอยู่ในกาย ลมมันจะกระจายไปทั่วตัว เหมือนลูกโป่งที่อัดลมเข้าไป ลมจะไปทุกส่วนของร่างกาย ทำให้เกิดอาการชา เพราะลมมันเดินได้ไม่ปกติ และการที่เราหายใจแรงๆแล้วอาการชานั้นหายไปนั้น มันเกิดจากการคลายจิตที่จดจ้องอยู่ ภาษานักเลงจิตเรียกว่า"เคลื่อนไหวทางกาย สะลายทางจิต"
           แนวทางการแก้ไข้ก็คือ ทำใจให้สบายๆปรับกายให้มีความเคยชินกับการนั่ง หาท่านั่งที่มันสบายๆเหมาะกับตัวเรา แล้วปรับลมหายใจของเราเสียใหม่ โดยหายใจเข้าอย่างช้าๆจนสุดกำลัง แล้วหายใจออกช้าๆจนหมดลมในกระเพาะ ทำประมาณ ๑๐-๑๕ ครั้ง เพื่อปรับลมในกายให้ปกติ แล้วกลับมาดูลมหายใจใหม่ ดูไปเรื่อยๆแบบสบายๆอย่าไปตั้งใจหรือจดจ่อมากเกินไป มันจะเกิดอาการเกร็ง เพราะเราไปเคร่ง แล้วมันจะเครียด ที่เป็นอย่างนั้นเพราะอินทรีย์(ร่างกายและจิตใจ กำลังภายใน)ของเรายังไม่แกร่งกล้ามีกำลังเพียงพอ ทุกๆอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าใจร้อนหวังผลในการปฏิบัติจนเกินไป ว่าต้องได้อย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้  ปล่อยให้มันเป็นไปตรมสภาวะของมัน
ป.ล.หากมีข้อสงสัยในการปฏิบัติ แนะนำให้ย้อนกลับไปอ่านบทความที่ได้เขียนไว้แล้วเรื่อง"การปฏิบัติธรรมอย่างเรียบง่ายแบบสบายๆ "บทที่๑-บทที่๘ แล้วท่านจะเข้าใจในการปฏิบัติครับ
                    แนะนำมาด้วยปรารถนาดี
                            รวี สัจจะ
                   วจีพเนจร-คนรอนแรม
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=9828.msg94006#msg94006
หัวข้อ: ตอบ: โปร่ง โล่ง เบา สบายๆ
เริ่มหัวข้อโดย: seoohyes ที่ 11 มี.ค. 2554, 11:46:53
กราบมนัสการพระอาจารย์ที่เคารพครับ