กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด มิตรไมตรี => บทความ บทกวี => ข้อความที่เริ่มโดย: ~เสน่ห์กวาง~ ที่ 26 ต.ค. 2552, 11:30:12

หัวข้อ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์กวาง~ ที่ 26 ต.ค. 2552, 11:30:12
   ในเมืองพาราณสี มีตระกูลหนึ่งรับหน้าที่สอนศิลปะเกี่ยวกับการฝึกช้างและการใช้ช้างให้ทำงานต่างๆ ตามที่ปรารถนา

ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นลูกของตระกูลนั้น ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับเรื่อการฝึกช้างจนจบและเชี่ยวชาญ จึงได้รับมอบหมายจากตระกูลให้ทำหน้าที่สอนศิลปะนั้นแก่ศิษย์รุ่นต่อๆ มา

อาจารย์เป็นคนมีเมตตาต่อบรรดาศิษย์มาก ตั้งใจสอนศิลปะวิทยาเป็นอย่างดีโดยไม่ปิดบังและไม่เลือกว่าศิษย์นั้นมีฐานะเป็นเช่นไร ดังนั้น จึงมีศิษย์มาสมัครเรียนศิลปะวิทยาจากทั่วสารทิศ ต่อมาได้มีชายหนุ่มคนหนึ่งมาขอศึกษาอยู่ด้วย

          "เธอมาจากที่ไหน" อาจารย์ถาม
          "ข้าพเจ้าเป็นชาวเมืองพาราณสีนี้เอง" ชายหนุ่มตอบ
          "เธอจะเรียนไปทำไม"
          "ข้าพเจ้ามาเรียนก็เพื่อเอาไว้ไปใช้ทำมาหากิน"

เมื่อทราบความประสงค์ของศิษย์อย่างนั้นแล้ว อาจารย์ก็ได้รับไว้ด้วยความเมตตา
และสอนศิลปวิทยาให้จนหมดสิ้น

วันหนึ่ง หลังจากจบการศึกษาแล้ว ชายหนุ่มได้เข้าไปหาอาจารย์ อาจารย์ได้กล่าวความยินดี
และชวนสนทนาถึงเรื่องต่าง ๆ รวมทั่งเรื่องราวในราชสำนักด้วย

          "ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอยากรับราชการ" ชายหนุ่มเอ่ยขึ้นในตอนหนึ่ง
          "งานราชการคืองานรับใช้พระราชสำนักเป็นงานหนักนะ" อาจารย์บอก
          "ข้าพเจ้าไม่กลัวงานหนัก กลัวแต่ว่าจะไม่ได้งานทำเท่านั้น"
          "ถ้าเธอต้องการจริง ๆ ฉันจะช่วยฝากให้"

อาจารย์ทำตามที่พูดไว้ หลังจากเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต พระราชาแห่งแคว้นนกาสีแล้ว
วันหนึ่งจึงได้กราบทูลว่า

          "ขอเดชะ ข้าพระองค์มีลูกศิษย์ฝีมือดีอยู่คนหนึ่ง ขอฝากเขาไว้รับไช้ในราชสำนักด้วย"
          "ได้ซีท่านอาจารย์" พระเจ้าพรหมทัตตรัสรับรอง
    "ใครก็ตาม ถ้ามาจากอาจารย์ ฉันรับหมดเพราะเชื่อฝีมือ"
          "เป็นพระมหากรุณาธิคุณพระเจ้าข้า" อาจารย์ก้มลงกราบพลางขอให้พระเจ้าพรหมทัตตั้งเงินเดือนให้เขาด้วย
          "ท่านอาจารย์ ฉันมีธรรมเนียมอยู่ว่าศิษย์กับอาจารย์จะได้เงินเดือนไม่เท่ากัน ศิษย์จะต้องได้น้อยกว่า อาจารย์จะต้องได้มากกว่า"

พระเจ้าพรหมทัตตรัสชี้แจง


           "ข้าพระองค์คิดว่าเรื่องนี้คงไม่มีปัญหา"
          "ถ้าอย่างนั้น ทุกวันนี้ฉันให้อาจารย์เดือนละ ๑๐๐ กหาปณะ ศิษย์ของอาจารย์ก็ได้ครึ่งหนึ่งคือ ๕๐ กหาปณะ"
          "เป็นพระมหากรุณาพระเจ้าข้า"

อาจารย์ดีใจมากที่สามารถฝากศิษย์เข้ารับราชการได้สำเร็จตามความต้องการของศิษย์ ดังนั้นครั้นกลับถึงบ้านแล้วจึงรีบแจ้งให้ชายหนุ่มทราบทันที

          "อาจารย์ดีใจด้วย พระราชารับเธอเข้ารับราชการแล้ว"
          "แล้วเรื่องเงินเดือนพระราชาทรงให้เท่าไร ท่านอาจารย์" ชายหนุ่มถามอย่างกระตือรือร้น
          "เห็นรับสั่งจะพระราชทานให้ครึ่งหนึ่งของฉัน" อาจารย์ ตอบตามความเป็นจริง
          "ฉันได้ ๑๐๐ กหาปณะ"
          "ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็ได้เพียง ๕๐ กหาปณะใช่ไหมอาจารย์"
          "ใช่" อาจารย์พยักหน้ารับ
          "ท่านอาจารย์..." ชายหนุ่มพูดขึ้นด้วยความไม่พอใจ
   "ข้าพเจ้ากับท่านมีความรู้เท่ากัน ก็ควรจะได้เงินเดือนเท่ากัน"
          "ถ้าเธอต้องการอย่างนั้นฉันจะไปกราบทูลพระราชาดูก่อนว่าจะทรงเห็นด้วยหรือไม่"
อาจารย์ยินดีรับข้อเสนอ

ต่อมา อาจารย์ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพรหมทัตและกราบทูลข้อเสนอของชายหนุ่มให้พระราชาทราบ

          "ได้..ท่านอาจารย์" พระเจ้าพรหมทัตรับข้อเสนอของชายหนุ่ม และทรงมีเงื่อนไขว่า "ลูกศิษย์ของท่านจักได้เงินเดือนเท่ากับท่าน ถ้าเขามีความสามารถเท่ากับท่าน"
          "พระองค์จะให้เขาแสดงศิลปะแข่งกับข้าพระองค์หรือพระเจ้าข้า" อาจารย์ทูลถาม
          "ใช่แล้ว" พระเจ้าพรหมทัตพยักพระพักตร์รับ

อาจารย์ได้นำความนั้นมาแจ้งให้แก่ชายหนุ่มได้ทราบและได้รับคำตอบอย่างหนักแน่นว่า

          "ได้..ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้ายินดีจะแสดงความสามารถแข่งกับท่าน"
          "ตกลง" อาจารย์รับคำ

วันรุ่งขึ้น อาจารย์ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพรหมทัตอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งกราบทูลเรื่องที่ชายหนุ่ม
ตกลงแสดงศิลปะแข่งกับตนให้ทรงทราบ

          "เอาละ อาจารย์ พรุ่งนี้เชิญท่านกับศิษย์มาแสดงแข่งกันได้เลยที่ลานดินหน้าพระราชวัง"
พระเจ้าพรหมทัตทรงนัดหมาย
          "เป็นพระมหากรุณาธิคุณพระเจ้าข้า" อาจารย์ก้มลงกราบแทบพระบาท
และเป็นพระมหากรุณาธิคุณมากยิ่งขึ้นหากพระองค์จะป่าวประกาศเชิญชวนชาวเมืองมาร่วมเป็นสักขีพยาน

พรหมทัตตรัสรับคำอย่างหนักแน่น

ความจริงแล้ว อาจารย์รู้สึกสะเทือนใจที่ต้องมาแสดงฝีมือแข่งกับศิษย์เพราะคิดไม่ถึงว่า
ศิษย์จะกล้าท้าทายตนเช่นนี้

          "เราควรจะสอนให้เขาได้สำนึกบ้าง" อาจารย์บอกกับตนเองขณะเดินทางกลับบ้าน

คืนวันนั้น ขณะที่ทุกคนหลับกันหมดแล้ว อาจารย์ก็แอบไปที่โรงช้างเรียนรู้คำสั่งและปฏิบัติการที่ตรงกันข้าม นั่นคือ เมื่อออกคำสั่งว่า "ไป" ให้ช้างเรียนรู้ว่า "ต้องถอยหลัง" เมื่อออกคำสั่งว่า "ไป" ให้ช้างเรียนรู้ว่า "ต้องถอยหลัง " เมื่อออกคำสั่งว่า "หยุดยืน" ให้ช้างเรียนรู้ว่า "ต้องนอน" และเมื่อออกคำสั่งว่า "ถือ" ให้ช้างเรียนรู้ว่า "ต้องปล่อย"

รุ่งเช้า ที่บริเวณหน้าพระราชวัง ชาวเมืองพาราณสีมาเฝ้าชมการแข่งขันประลองความสามารถ
ระหว่างศิษย์กับอาจารย์อยู่เนืองแน่น พระเจ้าพรหมทัตประทับนั่งบนพระที่นั่งอย่างสง่างาม
แล้วทันใดนั้นเอง อาจารย์กับศิษย์ก็ปรากฏตัวพร้อมด้วยช้างที่จะใช้ประลองความสามารถ

ครั้นได้เวลา อาจารย์กับศิษย์ก็ผลัดกันแสดงความสามารถในการบังคับช้าง ผลปรากฏว่าอาจารย์มีความสามารถบังคับได้อย่างไร ศิษย์ก็มีความสามารถอย่างนั้น ผู้คนที่มาเฝ้าชมต่างพากันเงียบกริบเพราะคิดว่าอาจารย์คงสู้ศิษย์ไม่ได้ อาจารย์เองก็ชื่นชมศิษย์ของตนเองอยู่ในที

ช่วงสุดท้ายมาถึงแล้ว อาจารย์ยืนสงบนิ่งอยู่ครู่หนึ่งจากนั้นจึงเสนอวิธีการประลองความสามารถครั้งสุดท้าย คือ ให้ศิษย์สั่งบังคับช้างของตนเอง

          ได้..ท่านอาจารย์ ช้างของท่านก็เหมือนช้างของข้าพเจ้า"

ชายหนุ่มรับข้อเสนอของอาจารย์ทันทีแล้วตรงรี่เข้าหาช้างของอาจารย์พร้อมทั้งออกคำสั่งให้ช้างทำ
แต่ผลปรากฎว่าช้างกลับทำกริยาอาการตรงกันข้ามหมดสิ้น

ถึงตอนนี้ ชายหนุ่มเริ่มหน้าถอดสีเพราะรู้สึกอับอายที่ไม่สามารถสั่งช้างของอาจารย์ให้ทำตามตนสั่งได้
ผู้คนที่เฝ้าชมซึ่งเอาใจช่วยอาจารย์อยู่ตลอดเวลา ต่างได้โอกาสลุกฮือขึ้นสาปแช่งชายหนุ่มกันเสียงอึงมี่

          "ไป...ไปให้พ้น ไอ้ลูกศิษย์เนรคุณ ช่างไม่รู้จักประมาณตัวเองบ้างเลย"

ว่าแล้ว ต่างคนต่างปาก้อนดินใส่ชายหนุ่มจนได้รับบาดเจ็บอย่างแสนสาหัสและขาดใจตายในเวลาต่อมา
 



นิทานธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ศิษย์ที่คิดล้างครูนั้นย่อมมีแต่ความวิบัติ เหมือนชายหนุ่มกับอาจารย์ผู้มากด้วยเมตตา ผลสุดท้ายชายหนุ่มก็ได้รับผลร้ายที่เกิดจากการกระทำของตนเอง  




               ------------------------------------------------------------------------------------------

               เครดิต::www.leksound.net
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: gottkung ที่ 26 ต.ค. 2552, 11:35:08
ขอบคุณกวางครับ สำหรับนิทานธรรมะดีๆ
ศิษย์ที่คิดล้างครู ย่อมหาความเจริญได้ยาก
คำว่าศิษย์มีอยู่ในใจ แต่กิเลสมันครอบงำถึงได้ทำเช่นนี้ได้
ปล คำว่าศิษย์ใครๆก็พูดได้ แต่ศิษย์ที่ดีนั้น
การกระทำสำคัญกว่าคำพูดครับ :002:
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์ack01~ ที่ 27 ต.ค. 2552, 12:03:27
ผู้ใดไม่เคารพพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ คนผู้นั้นไร้ซึ้งความเจริญ....


...ขอบคุณน้องกวาง สำหรับนิทานสอนใจดีๆนะครับ.... :016:
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: รวี สัจจะ... ที่ 27 ต.ค. 2552, 12:08:30
"บุญคุณน้ำเพียงแก้ว ขุดลำคลองชดใช้ไม่อาจแทนคุณ"
ความเป็นครูบาอาจารย์นั้น แม้นสอนเพียงครั้งเดียว
แต่บุญคุณของครูจะอยู่ตลอดไปไม่มีวันหมด
ศิษย์ที่คิดล้างครูหรือจาบจ้วงครูบาอาจารย์นั้น
ย่อมไม่มีวันที่จะเจริญก้าวหน้าได้เลย..
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: PeAwPeed ที่ 27 ต.ค. 2552, 12:47:24
ผู้ซึ่งไม่เคารพ ครูบาอาจารย์
ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหน จะมีแต่ผู้คนรังเกียจ ไม่มีใครอยากสมาคมด้วย
เพราะผู้นั้น ไม่เคยระลึกถึงบุญคุณ และความดีของผู้อื่นเลย

สุดท้ายบุคคลนั้น ก็จะต้องอยู่แต่ในโลกของตนเอง อย่างไร้ที่พึ่ง

ขอบคุณน้องเสน่ห์กวาง สำหรับนิทานดี ๆ ด้วยนะคะ
  :089:

(http://img29.imageshack.us/img29/5756/443112qznln8fnnl.gif)
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: หลังฝน.. ที่ 27 ต.ค. 2552, 11:27:32
ขอบคุณมากมายครับผม บุญคุณครูบาอาจารย์มิอาจทดแทนได้หมด :053: :053:
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: Gearmour ที่ 27 ต.ค. 2552, 11:49:09
ลูกศิษย์ ลูกหา ลูกสัด

   เป็นลูกอะไรอยู่ที่การกระทำครับ
มิใช่คำพูด
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: derbyrock ที่ 27 ต.ค. 2552, 12:03:39
ขอบคุณกวางน่ะครับ สำหรับนิทานดีๆ ศิษย์คนไหนคิดจะล้างครู แค่คิดไม่ต้องกระทำ ชีวิตก็ไม่มีวันเจริญแล้วครับ
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์กวาง~ ที่ 27 ต.ค. 2552, 12:28:09
ขอบคุณพี่ตี๋ค่ะ..

ถูกต้องอย่างที่พี่ตี๋กล่าวค่ะ
แค่คิด..ชีวิตก็ไม่เจริญแล้ว
ทุกสิ่งอย่างที่เรากระทำ
ล้วนแล้วมาจากใจค่ะ :001:
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: อชิตะ ที่ 27 ต.ค. 2552, 01:31:40
(http://img.ihere.org/uploads/2590952b08.jpg) (http://img.ihere.org)

ขอบคุณน้องกวาง สำหรับข้อคิดที่ดีมากๆ ครับ

คนอกตัญญู  ไม่รู้คุณพ่อแม่ ครูบาอาจารย์  ยังไม่ร้ายเท่ากับคนมี มักขะ  คือ ลบหลู่คุณท่าน

เพราะนอกจากจะมองไม่เห็นความดีของครูบาอาจารญืแล้ว ยังเหยียบย่ำเข้าไปอีก  น่าเศร้าใจ จัง

เหมือนคำกลอน ของหลวงพ่อตัด วัดชายนา ที่บอกเล่าเรื่องราว ลูกศิษย์ ลูกสัตว์ ได้ เจ็บปวดดีนักแล

มีลูกศิษย์ เป็นลูกสัตว์ มันกัดขบ

ถ้าขืนตบ กัดตอบ ก็ขอบจิต

สารพัด ทำได้ มันไม่คิด

เพราะลูกศิษย์ เป็นลูกสัตว์ จึงกัดเรา ฯ

หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: kill ที่ 27 ต.ค. 2552, 06:28:58
ศิษย์ที่คิดล้างครูนั้นย่อมมีแต่ความวิบัติ บทความดีมากครับ :015: :016:
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์ต้นน้ำ~ ที่ 27 ต.ค. 2552, 06:35:26
เจ๋งเลยกวาง บทความเยี่ยมมาก  :015:
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: คนรักษ์พระ ที่ 27 ต.ค. 2552, 06:38:48
  ครูบาอาจารย์ก็เหมือนพ่อแม่ที่สั่งสอนเรามาให้แต่สิ่งที่ดีๆ (ใครที่คิดไม่ดีผมคิดว่าทำอะไรก็ไม่เจริญหรอกครับ)

                                                                                                                 ขอบคุณครับ
หัวข้อ: ตอบ: __นิทานธรรมะ...ศิษย์คิดล้างครู__
เริ่มหัวข้อโดย: job@love ที่ 27 ต.ค. 2552, 06:42:25
ขอบคุณน้องกวางครับ :089: