ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.....  (อ่าน 6607 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม 1/5

โดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
แห่ง วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
แสดงธรรมเทศนาที่บ้านลานทอง  10 สิงหาคม 2543
โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดสติปัฏฐาน ๔ กระทู้ 14576 โดย : รักษา 31 มี.ค. 48

  ธมฺ โมหเว รักขติ ธรรมจารึ ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ  แปลว่าพระธรรมะย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ธรรมที่ที่ผู้ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้

   ต่อจากนี้ไปก็ให้พากันตั้งใจ สำรวมใจของตนให้แน่วแน่ เพื่อฟังธรรม เพราะว่า ธรรมะนี่ไม่ได้มาแต่ข้างนอก ธรรมะนี้เกิดขึ้นทางจิตใจ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ก็ทรงแสดงเข้าไปที่จิตใจของผู้ฟัง เพราะว่าทุกคนต้องมีบุญ ได้สั่งสมอบรมมาแต่อดีตชาติหนหลัง ถึงได้มาเกิดมาในชาตินี้ เพราะอาศัยบุญกุศลที่ตนได้บำเพ็ญมาแล้วมาเกิด ใครเป็นผู้มีบุญ ผู้ได้นับถือพุทธศาสนา ก็จึงได้มาเกิดในเมืองไทย เพราะเมืองไทยนี้บรรพบุรุษเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา คือบรรพบุรุษได้แก่พระราชาพระมหากษัตริย์ ของไทยเราหลายชั่วกษัตริย์ ล้วนแต่นับถือพุทธศาสนา ไม่ได้นับถือศาสนาอื่น

   พวกเราที่มาเกิดในเมืองไทย ผู้เป็นประชาราษฎร ก็เคยนับถือพุทธศาสนานี้มา บุญกุศลจึงดลบันดาล ให้มาเกิดในประเทศไทย ก็ให้พากันภาคภูมิใจ ว่าเราได้มาเกิดในประเทศไทย และได้มาพบพุทธศาสนา ได้ฟังคำสอนของพุทธเจ้า แล้วได้รู้จักผิดรู้จักถูก ได้เว้นจากทางผิด ดำเนินไปทางที่ถูก

   ถ้าพูดเทียบเคียงกันแล้ว พุทธศาสนากับศาสนาอื่น มันตรงกันข้าม ไม่เหมือนกัน ศาสนาอื่นเขาสอนให้คนนับถือสิ่งภายนอกเป็นที่พึ่ง พุทธศาสนาทรงสั่งสอนให้คนเรา ถือ นับถือปฏิบัติภายใน คือบาปก็อยู่ที่กายวาจาใจนี้ บุญก็อยู่ที่กายวาจาใจ ไม่ได้มาแต่ข้างนอก พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างนี้
  
   ดังนั้นพวกเราคนไทย ก็จึงไม่ได้อ้อนวอนไม่ได้บวงสรวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหมือนอย่างลัทธิอื่นศาสนาอื่นเขาทำกัน แต่ก็อาจจะมีอยู่บ้างแต่ก่อนมา เพราะว่าบางคราวน่ะพุทธศาสนาก็เสื่อมไปจากเมืองไทยก็ไม่น้อยเหมือนกันนะ พระสงฆ์องคเจ้าก็ไม่สนใจในการเรียนธรรมเรียนวินัย และการปฏิบัติธรรมวินัย จึงไม่สามารถสั่งสอนทายก ทายิกา ให้รู้ให้เข้าใจแก่นแท้ของพุทธศาสนา ดังนั้นจึงได้พากันนับถือสิ่งภายนอกเป็นที่พึ่ง เช่นสร้างศาลเจ้าขึ้นไว้ ในถนน สี่แพร่งหรือว่าสร้างศาลเจ้า เข้าไว้ในบ้านในขอบเขตบ้าน ของตนก็มี หรือว่าสร้างศาลเจ้าขึ้นในสถานที่ ที่เหมาะที่เห็นว่าเหมาะสม แล้วถึงครบรอบวันมรณภาพแห่งบรรพบุรุษ ก็ไปพากันไปบวงสรวง หมูเห็ดเป็ดไก่ อ้อนวอนขอให้วิญญาณของบรรพบุรุษนั้น ได้อยู่ได้กินเครื่องสังเวยต่างๆ แล้วก็ขอให้อำนวย ความสุขความเจริญให้ลูกหลาน เหลน โหลน ที่เกิดในภายหลัง

    บางครอบครัว เมื่อได้ทำพิธีอย่างว่าแล้ว ปรากฏว่าทำการค้าการขายเจริญรุ่งเรือง ขึ้นมาได้ก็เลยเชื่อมั่นในใจว่า ก็เป็นเพราะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้แหละ อำนวยผลให้ ร่ำรวยมั่งมีศรีสุข ขึ้นมาเหตุนั้นจึงได้ ทำพิธี บวงสรวงกัน เป็นการใหญ่ อย่างเช่น บางครอบครัวที่ร่ำรวยมั่งมี เมื่อพ่อบ้านหรือแม่บ้าน เสียชีวิตลงก็ไปหาซื้อเป็ด ซื้อไก่ ซื้อหมู จะเป็นเขาฆ่าขายอยู่ตามตลาดหรือไงก็ไม่รู้ ล่ะ หรือซื้อสัตว์เป็นๆ มาแล้วมาฆ่า แล้วตั้งโต๊ะตั้งร้านหน้า ร้านวางหูเห็ด เป็ด ไก่ ยาวเหยียดเลย เท่าที่เห็นมาบางแห่งนะ แล้วเปิ้นก็นิมนต์พระไปสวดพระอภิธรรม อย่างนี้ พระก็ไม่มีโอกาส ที่จะแนะนำสั่งสอน เขาได้ เพียงแต่นิมนต์พระไปสวดอภิธรรม ให้เท่านั้นน่ะ ก็แล้วไป นี่เป็นบางแห่งนะ แล้วก็นิมนต์พระไปฉัน ไอ้อย่างนี้เรียกว่า ความเข้าใจเรื่องพุทธศาสนานั้นยังไม่ลึกซึ้งพอ

    การกระทำเช่นนั้นเค้าเข้าใจว่าเป็นเรื่องของพุทธศาสนา แท้ที่จริงนี้ไม่ใช่นะ เป็นเรื่องของลัทธิศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพราหมณ์เขาทำกันมาตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าบังเกิดโน้น ทำมาก่อนแล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นมาในโลก พระองค์แสดงธรรม พวกเหล่านั้นไปฟังธรรม ผู้มีบุญวาสนาแก่กล้า ก็รู้สึกตัวได้ว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นหนทางพ้นทุกข์ ก็สามารถละการกระทำเช่นนั้นได้ แต่บางพวกบางเหล่า ไม่ยอมไปฟังเลยก็มี ถือมั่นในลัทธิอันนั้นอยู่ จนหมดอายุสังขารก็มี แล้วบางพวกก็ไหว้พระอาทิตย์ไหว้พระจันทร์ ไหว้ต้นไม้ใหญ่ภูเขาอะไรสารพัด
เหล่านี้นะพวกเราก็คงจะได้รู้เรื่องกันมา เพราะฉะนั้นขอให้ศึกษาให้เข้าใจว่า การไหว้การกราบเช่นนั้นนะ ไม่เป็นทางพ้นทุกข์ เพราะว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านั้นนะเรามองไม่เห็นตัวเลย ไม่ทราบว่าเป็นตัวเป็นตนยังไงน่ะ ไม่มีแล้วสมมุติกันเอาเฉยๆ เชื่อโดยสมมุติ บรรพบุรุษ ได้พาทำมาอย่างนั้น แล้วก็ลูกหลาน เกิดมาในภายหลังก็ทำตาม

    อันนี้พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงสอนไว้ว่า ไม่ควรเชื่อมงคลตื่นข่าว มงคลตื่นข่าวนี้คือ เล่าลือกันมา นับถือกันมาโดยลำดับ แต่แล้วเมื่อ พิสูจน์หาความจริงน่ะไม่พบ เป็นแต่ข่าวลือ ข่าวลือว่าเจ้าองค์บุญเกิดขึ้นที่นั้นที่นี้ ผู้วิเศษเกิด ขึ้นที่นั้นที่นี้ แม้เป็นเด็กน้อยก็ยังถือว่าเป็นผู้วิเศษ พากันไปกราบไปไหว้ ไปขอพร ขอให้เด็กน้อยนั้นอวยชัยให้พร แต่ก่อนนี้น่ะมี แต่เดี๋ยวนี้รู้สึกว่า จะห่างๆ ไป ก็เด็กน้อยนั้นมันจะรู้อะไร แต่เมื่อมีหมอโหรหรือหมออะไร ทำนายว่าเด็กคนนี้มีบุญนะ สามารถที่จะ อวยชัยให้พรแก่คนร่ำรวยมั่งมีได้ พอได้ยินหมอดูหมอเดาเขาพยากรณ์อย่างนี้นะ ก็หลั่งไหลกันไป ขอลาภขอยศอะไรต่ออะไร กันมากมาย อันนี้แหละเรียกว่ามงคลตื่นข่าว
  
   เพราะฉะนั้นพวกเราอย่าไปตื่นเต้นกัน ไอ้กาย วาจา ใจ ของเรานี่นะ อันนี้เป็นบ่อเกิดแห่งบุญแห่งบาป ขอให้เข้าใจอย่างนั้น ความจริงน่ะเราได้ อัตตภาพร่างกายนี้มาโดยสมบูรณ์ ไม่บ้า ไม่หนวก ไม่บอด อวัยวะทุกส่วนสมบูรณ์ บริบูรณ์ดี อันนี้ได้มาด้วยบุญ เราทำบุญให้ทาน รักษาศีล ไม่เบียดเบียนคนอื่น สัตว์อื่นมาแต่ชาติก่อน บุญเหล่านั้นนำมาปฏิสนธิในท้องของมารดา อาศัยธาตุของ มารดา บิดา อยู่ แล้วบุญกุศลที่ทำมาแต่ก่อนนั้นแหนะ ก็มาตกแต่งตาหู จมูกลิ้นกาย อวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ ให้ ไม่พิกลพิการอะไรเลย อย่างนี้นะ นี้ละบุญนะ บุญตกแต่ง ให้ ให้พากันภาคภูมิใจว่าเราได้ อัตภาพร่างกาย คือว่าธาตุสี่ขันธ์ห้านี้มาด้วยบุญ แล้วเราก็อาศัยธาตุสี่ขันธ์ห้านี้แหละ สร้างบุญสร้างกุศล ไม่ทำบาปบาปไม่เอา

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_hrien/lp-hrien_13.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มิ.ย. 2554, 07:53:19 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.....
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 07:59:33 »
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม 2/5

โดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

   เมื่อเรามีทุน เหมือนอย่างพ่อค้า พาณิชย์ต่างๆ หาเงินหาทองเป็นก้อนโตขึ้นมาแล้ว ก็เปิดร้านขายของ ซื้อสินค้ามาขาย ก็ร่ำรวยขึ้นมา อันนี้ฉันใดก็อย่างนั้นน่ะ เรามีกาย วาจาใจอันนี้ โดยอำนาจบุญกุศลตกแต่งให้แล้วเช่นนี้ เราก็อาศัยกายวาจาใจนี้แหละสร้างบุญกุศล ใหม่สืบต่อ ถ้าหากว่าเราไม่มีกายวาจานี้ จิตก็ไม่มีที่อาศัย ก็ไม่ได้สร้างบุญกุศล ขอให้เข้าใจ

  แต่คนส่วนมาก ไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ระหว่างบุญกับบาป เจอบุญก็ทำบุญเข้าไป บาปก็ทำบาปเข้าไป อย่างนี้นะไม่ถูกต้อง พระศาสดาทรงสอนให้ เลือก ไอ้อันใดเป็นบุญกุศลทรงสอนให้ทำ สิ่งใดเป็นบาปเป็นโทษทรงสอนให้ ละ เป็นอย่างงั้นเพราะฉะนั้น พวกเราเป็นชาวพุทธนะขอให้พากัน คัดเลือก เพราะเรื่องบาปกับบุญหรือว่าดีกับชั่ว เป็นคู่ขนานกันเลย ถ้าบุคคลไม่เลือกแล้วก็อย่างว่านั้นแหนะ ได้ทั้งสองอย่าง ได้ทั้งบุญได้ทั้งบาป เป็นอย่างงั้น

   พวกเราชาวพุทธควรใช้ปัญญา เหมือนอย่างที่เราไปซื้อของในร้าน ขายของเค้าอย่างเงี้ยะ จู่ๆ เราเห็นอันใดจะซื้อเอาอันนั้นเลยไม่มีน่ะ คนมีปัญญาเข้าไปในร้านขายของแล้วต้องเลือก ต้องเลือกว่าของอันใดที่ควรซื้อ เอาที่มันไม่เสียไม่หาย ก็ต้องเลือกแล้วเลือกเล่า เห็นว่าสินค้าอันนี้บริสุทธิ์ไม่มีด่างไม่มีพร้อย ไม่มีเสียหายก็จึงซื้อเอา

   อันนี้ฉันใดก็อย่างนั้นน่ะ ไอ้การกระทำความดีความชั่วทั้งหลายนี่ ผู้มีปัญญาก็ต้องเลือก เลือกตามที่พระพุทธเจ้าทรง แสดงไว้ว่าอย่างนี้ไม่ควรทำนะ ควรละอย่างนี้นะ พระองค์แสดงไว้แล้ว เราศึกษารู้แล้วเราก็ไม่ทำ ไม่ทำตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ ทรงห้ามไว้ ทรงสอนให้พุทธบริษัทให้เลือก เลือกการกระทำความดี ทิ้งความชั่ว อันนี้เป็นจุดสำคัญ

   ฉะนั้นเราเป็นชาวพุทธขอให้เลือก การงานที่ทำ คำพูดที่พูด เหล่านี้เราต้องเลือก เลือกทำให้ตรงกับที่พระพุทธองค์ ทรงอนุญาต เว้นในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม ก็สิ่งที่พระองค์ทรงห้ามก็มีอยู่ห้าอย่าง ไอ้ส่วนสำคัญนะ ส่วนปลีกย่อยก็มีมากกว่านั้น เราก็คงรู้กันดีอยู่แล้ว การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม กล่าวมุสาวาท ดื่มสุราเมรัย กัญชา ยาฝิ่นเฮโรอีน ห้าประการนี้ เป็นข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ ทรงรู้แจ้งว่า การล่วงละเมิดในข้อห้ามห้าประการนี้มันเป็น บาปเป็นโทษ มันนำทุกข์มาให้ทั้งในปัจจุบันและเบื้องหน้า และชาติหน้าต่อไป

   ไม่มีใครที่จะไปมี ปัญญาญาณหยั่งรู้เท่าเหมือนอย่างพระพุทธเจ้า ไม่มีในโลกอันนี้นะ แม้แต่พวกฤๅษี เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลก ประชาชนก็นับถือพระฤๅษีนั้น น่ะเป็นครูเป็นอาจารย์ พระฤๅษีแนะนำอย่างไรก็ทำตาม ส่วนมากพระฤๅษี ภาวนาน่ะไปเห็นไปรู้ ว่าท้าวมหาพรหม เป็นผู้ประเสริฐ ในโลก ก็เลยมาสั่งสอน ประชาชนให้เคารพนับถือท้าวมหาพรหม แล้วให้ทำพิธีบวงสรวง หมูเห็ด เป็ด ไก่อะไรต่ออะไร นี่พวกฤาษีทั้งนั้นน่ะสอนนะ

    พวกพราหมณ์มหาศาลแต่ครั้งพุทธเจ้า ก่อนพุทธเจ้าบังเกิด ผู้มีเงินมีทองจึงได้สร้างโรงบูชายัญ ขึ้นใหญ่โตมโหฬาร และก็จับแพะแกะทีละสี่ร้อยห้าร้อยตัว มาเชือดคอ โยนเข้ากองไฟ ให้ไฟไหม้เนื้อสัตว์เหล่านั้น ส่งกลิ่นไปสู่พรหมโลกให้ท้าวมหาพรหมได้สูดได้ดม หรือเทวดาพระยาอินทร์ เทวบุตรเทวดาได้สูดได้ดมแล้ว พวกเทวดาอินทร์พรหม เหล่านั้นจะได้อำนวยความสุขความเจริญให้แก่ตน นั้นเข้าใจไปอย่างนั้นคนสมัยนั้นนะ เข้าใจกับพระฤๅษี พระฤๅษีนั้นแหละแนะนำ เพราะว่าไม่มีผู้ใดจะไปมีความรู้เท่ากับพระฤๅษี สมัยนั้นจึงได้เอาพระฤๅษีเป็นครูเป็นอาจารย์ เมื่อพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลกแล้ว พระองค์จึงมาแนะนำสั่งสอนให้ละเว้น การบวงสรวงสรวงเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นทางพ้นทุกข์เพราะการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิตนั้นเป็นบาปอยู่แล้วมันจะได้บุญตรงไหนล่ะ ไม่มี แล้วเทวดาอินทร์ พรหม เปิ้นก็มีศีลตั้งแต่เป็นมนุษย์ รักษาศีลห้าศีลแปดให้บริสุทธิ์ หมดอายุสังขารแล้ว อานิสงส์ ศีลเหล่านี้จึงนำ ให้ไปเกิดในสวรรค์ พวกพรหมนั้นต้องทั้งรักษาศีล ให้บริสุทธิ์ด้วยและทั้งเจริญภาวนาจนได้สำเร็จ ฌานสมาบัติแปด รูปฌานสี่ อรูปฌานสี่ ไอ้พวกที่ได้รูปฌานสี่ ไปเกิดเป็นพรหมที่มีรูป พวกที่บำเพ็ญสูงกว่านั้นได้บรรลุอรูปฌาน นั่นตายแล้วได้บังเกิด เป็นอรูปพรหม เป็นพรหมที่ไม่มีรูปร่าง มีแต่จิตวิญญาณ
 
   ไอ้พวกหมู่นี้แหละ มนุษย์เราเกิดมาสมัยนั้น เพราะไม่มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิด ไปเห็นท้าวมหาพรหม เข้า ไปเห็นเทวดา แล้วรู้ว่าท้าวมหาพรหมได้สำเร็จฌานโลกีย์ พระฤาษีเหล่านี้จึงได้ เอาอย่างพวกท้าวมหาพรหม จึงได้ภาวนา เพ่งกสินและฌานจนบรรลุ ฌานโลกีย์สมาบัติแปด แล้วก็จึงมาสอนประชาชนให้ภาวนา หรือพวกชาวบ้านไม่มีโอกาสจะภาวนาบรรลุฌานสมาบัติอย่างนั้นได้ ก็สอนแนะนำให้เขาบวงสรวงบูชายัญอย่างว่ามาแล้วนั้น แล้วคนสมัยนั้นไม่มีครูอาจารย์ผู้อื่นเลย มีแต่พระฤาษี ก็จึงเชื่อพระฤาษีนั้น ทำตามที่พระฤาษี แนะนำสั่งสอน เป็นยังงั้น

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_hrien/lp-hrien_13.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.....
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 08:18:23 »
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม 3/5

โดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    เมื่อพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นมาในโลกแล้ว พระองค์จึงว่าแนะนำสั่งสอนให้คน เว้นจากการนับถือเช่นนั้น ไม่เป็นหนทางพ้นทุกข์  การมานับถือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็เป็นผู้มีศีลห้าบริสุทธิ์ เป็นผู้ภาวนาสำรวมจิตใจของตนให้สงบระงับ เจริญวิปัสสนา พิจารณาให้เห็นแจ้งในธาตุสี่ขันธ์ห้า ตามเป็นจริง ไม่ถือมั่นโดยอุปปาทาน นี้เป็นทางพ้นทุกข์ พ้นภัยในวัฏฏะสงสาร

   พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอย่างนี้ สั่งสอนพุทธบริษัท ผู้ที่มีบุญวาสนา ได้สั่งสมอบรมมาแต่ชาติก่อนหนหลัง เมื่อบารมีมันแก่กล้าเข้าขั้นแล้ว ท่านเหล่านั้นก็ได้บรรลุมรรคผล ธรรมวิเศษ ตามกำลังวาสนาของตนเช่น ได้ บรรลุโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ผู้ครองเรือนส่วนมากก็ได้ มรรคผลสามประการนี้ แต่ท่านผู้ได้บรรลุอรหันต์เป็นคฤหัสถ์ไม่มีในตำราน่ะ มีอยู่ว่า มีห้าองค์เท่านั้นเอง พอสำเร็จอรหันต์แล้ว ท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานไปเลย หากว่าไม่นิพพานก็ต้องออกบวช เมื่อสำเร็จอรหันต์แล้วท่านพิจารณาว่าอายุของท่านว่าหมดลงไปแล้ว ท่านก็เลยนิพพานไปเลย นี่พวกที่สำเร็จอรหันต์ แต่เป็นคฤหัสถ์ ขอให้เข้าใจ

   ท่านผู้ใดพิจารณาเห็นว่าอายุยังเป็นไปอยู่ ท่านก็ขอบวชกับพระศาสดา เมื่อฟังธรรมแล้วได้สำเร็จอรหันต์แล้ว ก็ขอบวชกับพระศาสดา พระองค์ก็บวชให้ ท่านเหล่านั้นก็ช่วยพระศาสดา เผแผ่พุทธศาสนา ไปจนหมดอายุสังขาร จึงได้เข้าสู่พระนิพพานอย่างเช่น พระมหากัสปป งี้ ท่านมีอายุยืนตั้งร้อยยี่สิบปี ท่านก็ช่วยเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ไปจนถึงอายุขัยของท่าน เช่นพระอานนท์อย่างนี้ พระอานนท์ นี่ก็เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ นิพพานแล้วท่านก็ เผยแผ่พุทธศาสนาต่อไป จนได้อายุได้ร้อยยี่สิบปี ท่านจึงเข้าสู่พระนิพพาน

   นี่แหละกล่าวโดยสรุปใจความแล้วว่า การละความชั่ว การทำความดี ให้เกิดมีขึ้นในตน การชำระจิตใจที่เศร้าหมองด้วยบาปอกุศลให้ระงับดับไป และให้ใจเบิกบานผ่องใส อันนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่บังเกิดมาในโลกนี้ ที่ล่วงแล้วมา พุทธเจ้ามาบังเกิดในโลกนี้นับไม่ถ้วนนะ เท่าเม็ดหินเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรเลย พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ พุทธเจ้าทุกพระองค์ มาตรัสรู้ในโลกแล้วก็ทรงสั่งสอน ให้โอวาทย่อๆ แก่ พุทธศาสนิกชนสามข้อนี้เองนะ

   หนึ่งให้เว้นจากความชั่วห้าอย่างดังกล่าวมาแล้วนั้นนะ หรือเบ็ดเตล็ดอีก สองให้บำเพ็ญกุศลคุณงามความดีให้เกิดมีขึ้นในตน ได้แก่การสำรวมกายวาจาใจ ให้บริสุทธิ์จากบาป จากโทษ การบำเพ็ญทางจิตใจ ชำระใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส อันนี้ก็เพราะเหตุว่า ใจนั้นเป็นใหญ่เป็นประธาน ของบุญและบาป บุคคลจะทำบุญกุศลได้ก็เพราะใจชอบบุญ บุคคลจะทำบาปได้ก็เพราะชอบบาป อย่างเช่นจะดื่มเหล้าเมาสุรา อันนี้ ก็เพราะใจมันชอบ ถ้าใจไม่ชอบแล้วมันก็ไม่ดื่มเหล้าเมาสุรา กัญชายาฝิ่น เฮโรอีน ดังนั้นน่ะ พระองค์เจ้าจึงได้ทรงสั่งสอนให้คนเรามีความพากเพียรพยายาม ชำระจิตใจที่มัวหมองให้ผ่องใส เมื่อละบาปเมื่อบาประงับไปจากจิตใจแล้ว จิตใจก็ย่อมจะผ่องใสเป็นธรรมดานี้ แล้วบุญกุศลก็ย่อมเกิดขึ้น

   เช่นอย่างว่า เมื่อละความโลภ ไม่โลภไม่แย่งไม่ชิง ไม่หลอกลวง เอาของผู้อื่นมาเป็นของตน ถือ สนฺตุฏฺฐี ตามมีตามได้ ตนหาได้ทางชอบศีลชอบธรรมอย่างไร ก็บริโภคใช้สอยอย่างนั้น เมื่อความโลภเหล่านี้ดับไปแล้ว ไอ้ความไม่โลภมันก็เกิดขึ้นในใจ คือยินดีตามมีตามได้อย่างว่านั้นนะนี้ ไอ้ความไม่โลภ อันนี้และท่านเรียกว่า เป็นกุศลธรรมส่วนหนึ่ง

   แล้วความไม่โกรธได้แก่ ทรงสอนให้เจริญเมตตา ตั้งจิตอธิษฐานขอให้สัตว์ทั้งหลายเป็นสุข ทุกถ้วนหน้าอย่ามีเวรต่อกันและกันเลย อย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ถ้าผู้ใดพยายามเจริญเมตตานี้บ่อยบ่อยเข้า ใจมันก็อ่อนโยนลง เอ็นดูสงสารมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ไม่คิดเบียดเบียน เมื่อเป็นเช่นนี้เมตตาธรรม กรุณาธรรม ก็ย่อมเกิดขึ้นในจิตใจ เมตตาธรรม กรุณาธรรมนั้นแหละเป็นตัวกุศล ความโกรธนั้นแหละเป็นตัวอกุศล ขอให้เข้าใจ

    บัดนี้พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พยายามละความหลงด้วยการภาวนา คนเราจะหลงก็เพราะความไม่รู้นั้นเองแหละ ไม่รู้ว่าการทำการพูดอย่างนี้มันเป็นบาปเป็นโทษ ไม่รู้แล้วก็ทำไปพูดไป เช่นนั้น บัดนี้เมื่อภาวนามีสติ ประคับประคองจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ภายใน รักษาจิตดวงนี้ให้ตั้งมั่นอยู่ในบุญในคุณ ตั้งมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัยแก้วสามประการ ไม่หลงใหลไปเชื่อมงคลตื่นข่าว ดังที่ แสดงมาแล้วนั้น จิตใจมันก็หายหลงว่านี้ เพราะตื่นตัวรู้ตัวว่า เราทำดีย่อมได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เช่นนี้ก็เลยทำแต่ความดีความชั่วไม่เอา นี่เรียกว่าเป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว กลั่นเอาแต่ทำความดีด้วยกายวาจาใจ เอาแต่บุญกุศล เอาแต่ความดีเข้าไป ใส่ไว้ในกายวาจาใจของตนเสมอไป

   ความโลภก็ไม่มีที่จะไปโลภไปหลอกไปลวง ไปฉ้อไปโกงเอาสมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่เอา ตนหาได้เท่าใดโดยทางสุจริต ก็จะต้องใช้สอยเท่านั้น แหละ ความโกรธเมื่อเราเห็นโทษแห่งความโกรธแล้ว เราก็เจริญเมตตามากๆ เข้าไป เห็นจนมองเห็นศัตรูเป็นมิตร แต่ก่อนคนนี้เป็นศัตรูเรา ทะเลาะกันเบียดเบียนกัน แต่เมื่อเราเจริญเมตตามากเข้าแล้ว ไม่แล้วเราไม่ถือว่าคนนั้นเป็นศัตรู ถือว่าคนนั้นเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกัน

   คำว่าเจริญเมตตาน่ะ ให้เกิดความรู้สึกในมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย อย่างนั้นจึงได้ผล จึงบรรเทาความโกรธ ความพยาบาท ออกจากจิตใจได้ การที่เราสดับตรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าบ่อยๆ อันนี้ก็เป็นเครื่องบรรเทาความหลง อย่างที่อาตมาได้แสดงให้ฟังมานี้นะ


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_hrien/lp-hrien_13.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มิ.ย. 2554, 08:18:52 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.....
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 08:25:02 »
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม 4/5

โดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    ทางแห่งความหลงของมนุษย์เรานี่ ก็ได้แก่การถือมงคลตื่นข่าวดังกล่าวมาแล้วนั้น บัดนี้เราได้ยินได้ฟังแล้วเราก็ไม่ถือ เราไม่ไปหาหมอดูหมอเดา จะมีผู้โฆษณาว่า โอ๊ะหมอดูคนนี้เก่งนะ แม่นนะ พยากรณ์ถูกต้องดีนะ เราก็ไม่เอา เพราะว่า การพยากรณ์ตัวเองเนี่ย ก็พบว่าเป็นดีที่สุด เพราะตนเองทำดีตนเองก็รู้อยู่ ตนทำชั่วตนก็รู้จะไปให้ใครมาพยากรณ์ให้อยู่นั้น แม้ความเจ็บป่วยไข้ เหล่านี้มันก็เกิดด้วยเหตุสองประการ

   ประการที่หนึ่งเกิดจากดินฟ้าอากาศ เกิดขึ้นมาแล้วเราก็มาเผชิญกับดินฟ้าอากาศแปรปรวน ร่างกายทานต่อดินฟ้าอากาศไม่ไหวก็เจ็บไข้ได้ป่วยลงไป ท้องร่วง ท้องเดิน หมู่นี้เราไปโรงพยาบาลซะ หมอให้ยา รักษาเข้าไปก็หาย นี่การเจ็บป่วยของคนเรานะ

  ประการที่สองได้แก่กรรมเวรที่บุคคลผู้นั้นทำมาแต่ชาติก่อน ติดตามมา เมื่อมันได้จังหวะ ได้โอกาสมันก็ให้ผล ทำให้ร่างกายชำรุดทรุดโทรมไป มีโรคภัยอันร้ายแรงเบียดเบียน รักษาอย่างไรก็ไม่หาย อันนี้เราก็ต้องเข้าใจว่าเป็นกรรมเวรในอดีตหนหลังที่เราทำมา มันตามมาให้ผล เพราะฉะนั้น เราไม่ควรที่จะไปเชื่อว่า ผีสางนางไม้อะไรต่ออะไรมาทำให้เจ็บให้ไข้ ให้ป่วยไม่มี เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้วเราก็ปลงลงไป ไอ้เราทำกรรมชั่วมาแต่ก่อน กรรม ชั่วนั้นจึงตามมาสนองเรา จะไปให้ใครมารักษาให้ นอกจากว่าเราอธิษฐานใจ นับตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปเราจะไม่ทำกรรมชั่ว จะไม่เบียดเบียน ใครต่อใครเลย ด้วยความสัตย์ความจริงนี้ขอให้กรรมเวรทั้งหลายจงเบาบางไป จากร่างกายและจิตใจข้าพเจ้า นี่เราอธิษฐานอย่างนี้ทุกวันทุกคืนไป เมื่อหากว่าบาปกรรมเวรภัยเหล่านั้นมันไม่หนักหนา มันก็เบาไปเบาไป คนเราน่ะบาปกรรมบางอย่างมันให้ผลไปจนถึงวันตายโน่น เมื่อตายแล้วบาปกรรมนั้นจึงค่อยหมดไป ถ้ายังไม่ตายมันก็ให้ผลอยู่อย่างนั้นแหละ ทรมานอยู่อย่างนั้นแหละ

   นี่เราต้องเรียนรู้ เราเป็นชาวพุทธนะอย่าไปเชื่อลมๆ แล้งๆ ไอ้ที่เขาโฆษณาชวนเชื่อกันดังกล่าวมาแล้วนั้น เนี่ยะเรามาฝึกจิตใจนี้ให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ เขาไปแล้วเชื่อกรรมเชื่อผลแห่งกรรม เชื่อว่าเราทำดีย่อมได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ผลแห่งกรรมดีคืออำนวยความสุขให้ เราทำกรรมดีในชาตินี้ กรรมดีนี้มันก็จะติดตามอำนวยผล ให้มีความสุขในชาติหน้า เราทำกรรมชั่วมาแต่ชาติก่อน กรรมชั่วจะตามมาให้ผลในชาติปัจจุบันนี้ เราจะถึงซึ่งความวิบัติ ความเสื่อมแห่งชีวิตหรือทรัพย์สินเงินทอง ไอ้ที่เราวิบัติ ถึงตัววิบัติอย่างว่านี้ หมอดูหมอเดาเขาจะต้องว่าเป็นเคราะห์ เป็นเข็ญ เกี่ยวกับชะตาราศีไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากกรรมเวรที่ตนทำมาแต่ก่อน ตนเบียดเบียนสัตว์ทรมานสัตว์ ให้เป็นทุกข์เดือดร้อนจนกว่าจะตายอย่างนี้นะ นั่นแหละ กรรมเวรนั้นน่ะตามมาสนอง

    พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งแทงตลอดแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อพุทธบริษัทได้ สดับตรับฟังดังกล่าวมานี้แล้วขอให้พากันตั้งอกตั้งใจ ปฏิบัติตามพุทธภาษิต ที่ยกขึ้นเบื้องต้นนั้นว่า ธมฺ โมหเว รักขติ ธรรมจารึ พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว นี่เรียกว่าเราปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธ ดังแสดงมา แล้วนั้นน่ะ เมื่อปฏิบัติเลือกทำแต่กรรมดี กรรมชั่วไม่เอา ผลแห่งกรรมดีที่เราปฏิบัติเราบำเพ็ญมา มันก็อำนวยความสุขความเจริญ ให้
ในพุทธภาษิตตอนสุดท้าย ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมที่ผู้ประพฤติดีแล้วย่อนำสุขมาให้ หมายถึงสุขจิตสุขใจ ส่วนร่างกายนี่มันไม่ เที่ยงเราจะบำรุงอย่างไร อย่างไรมันก็ต้องทรุดโทรม อยู่นั่นแหละ ส่วนจิตใจนี่เราบำรุงด้วยบุญ ด้วยกุศล ด้วยคุณธรรมอันดีอันงาม ย่อมมีความสุขความสงบ เบิกบานทั้งกลางวันและกลางคืน
ดังแสดงมา เอวังก็มีด้วยประการะฉะนี้

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_hrien/lp-hrien_13.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.....
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 08:41:44 »
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม 5/5

โดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

เอ่ เอาไปเอามาก็มีหลายผู้คนอยุ่เนาะ
พิธีกร : ช่วงเวลาที่เหลือใครมีอะไรจะเรียนถามหลวงปู่ครับเชิญครับ ยกมือหน่อยหนึ่งผมจะเอาไมค์ ไปให้ หลวงปู่จะได้ได้ยินด้วยเวลาใครจะถามอะไร มีไมค์ อีกอันตรงนี้ ใครยกมือตรงซีกนี้ ช่วยส่งไมค์ให้ด้วยนะครับ

พี่ผู้หญิง : กราบนมัสการหลวงปู่เจ้าค่ะ อยากจะทราบว่าในกรณีที่ญาณทัศนะไม่ชัด เป็นเพราะ สาเหตุอะไร แล้วเราจะแก้ไขได้ยังไงคะ

หลวงปู่ : ญาณทัศนะ อ๋อ ญาณทัศนะ อันนี้มันเป็นเรื่องที่ ผู้เจริญวิปัสสนา ผู้เจริญวิปัสสนาไปโดยลำดับ อันนี้หมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาไปโดยลำดับ จนได้เกิดญาณทัศนะขึ้นในใจ ญาณะ แปลว่าความรู้ ทัศนะคือความเห็น เมื่อเจริญปัญญาไปแล้ว ทั้งเกิดความรู้ขึ้นในใจทั้งเกิดความเห็น ชัดขึ้นในเรื่องนั้นๆ ไม่สงสัยเลย หายสงสัยในเรื่องนั้นๆ บางทีบางคนก็มีแต่ความรู้เกิดขึ้น แต่ความเห็นอย่างเด่นชัด ยังไม่เกิด ก็มี เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดง ว่าญาณทัศนะวิสุทธิ์ ญาณความรู้ความเห็นโดยแจ่มแจ้ง ว่านี้คือทุกข์ นี้คือเหตุให้ทุกข์เกิด นี้คือความดับทุกข์ นี้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ความรู้อย่างนี้เกิดขึ้น แล้วความเห็นก็เห็นแจ่มแจ้ง เห็นว่าธาตุสี่ขันธ์ห้านั้นเป็นทุกข์จริง ตัณหาความทะเยอทะยานอยากในจิตใจ เป็นเหตุให้ทุกข์เกิดจริง แล้วเราละตัณหาได้แล้ว ตัณหาดับไปจากจิตใจแล้วก็รู้เห็น ในใจแล้ว เมื่อตัณหาดับก็ย่อมรู้ชัด
อุบายที่จะทำจิตใจให้ละตัณหาได้ มันก็ต้องเจริญสมถะด้วย เจริญวิปัสสนาด้วยสองอย่าง เมื่อเจริญสมถะทำใจสงบได้แล้ว เมื่อใจสงบตั้งมั่นด้วยดีแล้ว นึกคิดอะไรมันก็เกิดความรู้อันนั้นโดยแจ่มแจ้ง ท่านเรียกว่าสมาธิเป็นฐานที่ตั้งแห่งปัญญา ดังนั้นผู้บำเพ็ญปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนานี้ต้องให้เข้าใจ เมื่อใจ ยังไม่สงบก็อย่างพึ่งไปพิจารณา พิจารณาไปก็ไม่รู้แจ้งดอก เมื่อพยายามทำใจให้สงบลงไป จนเป็นสัมมาสมาธิ จิตใจผ่องใสเบิกบานดีแล้ว ตรงนั้นน่ะอันนี้ พอเราคิดนึกว่า รูปเป็นอย่างไรหนอ รูปกายนี้มันเป็นอย่างไรหนอ มันก็จะบอกขึ้นมาในจิตเลย ปัญญานี้ รูปกายนี้มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างไรหนอ มันก็รู้ขึ้นว่านามธรรมสี่ประการนี้ไม่มีรูปร่าง มีความรู้สึกสัมผัสขึ้นในจิตใจ เกิดขึ้นแล้วก็ย่อมดับไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย อย่างนี้นะท่านเรียกว่าญาณทัศนะ ทั้งรู้ทั้งเห็นภาพแห่งความไม่เที่ยง แท้แน่นอนของธาตุสี่ขันธ์ห้า และสิ่งอื่นๆ ก็เหมือนกัน ทั้งรู้เมื่อรู้แล้วก็เห็นด้วย เห็นชัดในใจโน้นนะ หายสงสัยในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างนี้แหละ คำว่าญาณทัศนะนะ สงสัยอะไรก็ถามอีก

ผู้ฟัง : กราบนมัสการครับ หลวงพ่อ มนุษย์เราที่เกิดมานี่ครับ จะมีกรรมดีและก็กรรมชั่วที่แบบว่าติดตัวมากับเราใช่ไหมครับ แล้วอย่างสมมุติว่าชีวิตอย่างคนเราก็คือว่า บางช่วงก็คือดีหรือว่าตกต่ำ เพราะว่ามีบุญเก่าคอยส่งเสริม แล้วเมื่อไหร่ที่บุญเก่าหมด ชีวิตจะตกต่ำหรือว่าสิ้นอายุขัย ถ้าเกิดว่าเรานั่งสมาธิ แล้วก็อุทิศส่วนกุศลให้กับคนที่เรารัก คนที่เรารักก็คือจะเป็นการเพิ่มบุญให้เค้า จะเปรียบเสมือนว่าเขานั่งสมาธิด้วยตัวเขาเอง หรือเปล่าครับ

หลวงปู่ : ว่าดังๆ
พิธีกรพูดทบทวน นั่งสมาธิให้คนที่เรารัก จะเหมือนกับว่าเค้านั่งสมาธิเองด้วยหรือเปล่าครับ จะได้บุญเหมือนกันไหมครับ
หลวงปู่ : นั่งสมาธิ อธิษฐานจิตให้คนที่เรารัก ด้วยอำนาจแห่ง ...... อันการนั่งสมาธินั้นหมายถึงว่าจิตสงบจากความรัก ความชัง ไอ้อารมณ์เหล่านั้นดับไป ไม่ใช่เราเรารักใคร่คนใดแล้ว เรานั่งสมาธิ เข้าไปแล้วอธิษฐานให้คนนั้นมีความสุขความเจริญ อันนั้นก็ถูก อันนั้นเป็นเมตตา ส่วนการทำสมาธินี้ เราละหมด ความรักก็ไม่มีในขณะนั้น ความชังก็ไม่มี เมื่อเราทำจิตให้สงบได้แล้ว เราจึงค่อยตั้งจิตอธิษฐาน อธิษฐานด้วยอำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยและบุญกุศล ที่ข้าพเจ้าได้กระทำมานี้ ขออุทิศส่วนกุศลเหล่านี้ให้แก่มารดาหรือบิดา หรือปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา ที่ดับขันธ์บรรลัยไปแล้วนั้น ขออำนาจบุญกุศลจงดลบันดาล ให้ท่านเหล่านั้นได้รับรู้ บุญกุศลที่ข้าพเจ้าอุทิศไปแล้วนั้นขอให้ท่านเหล่านั้นอนุโมทนา แล้วก็ขอให้มีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป
นี่เรียกว่าเราแผ่เมตตานะ แผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนบุญกุศลที่เราทำให้เกิดมีขึ้น เราเผื่อแผ่ให้คนอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกันหรือว่าคนที่ไม่เกี่ยวข้องก็ตามละ เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน เราก็เผื่อแผ่ อุทิศส่วนกุศลนี้ให้ทั่วๆ ไป ท่านเรียกว่าเมตตาอัปปมัญญา เรียกว่าเราไม่หวงบุญว่างั้น เราอุทิศส่วนกุศลให้แก่คนทั่วๆ ไปเลย ในพระพุทธศาสนานี้พระพุทธเจ้าสอนให้ พุทธบริษัทเจริญอัปปมัญญา อุทิศส่วนกุศลทั่วไป ไม่เลือกว่าเป็นญาติหรือไม่ใช่ญาติ ก็ตาม


พิธีกร : การทำบุญควรทำกับใคร อย่างไร เมื่อไหร่จึงจะได้ผลสมบูรณ์ จำเป็นต้องกรวดน้ำหรือไม่ครับ
หลวงปู่ : การทำบุญ พระพุทธเจ้าน่ะทรงแสดงไว้ ว่าพระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติชอบยิ่ง ท่านทั้งสี่จำพวกเนี่ยนะเป็นเนื้อนาบุญของโลกอันประเสริฐไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ผู้ต้องการบุญกุศลก็ต้องถวายทานแด่พระสงฆ์สี่จำพวกนี้ ได้แก่ท่านผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ปฏิบัติชอบยิ่งได้แก่พระอรหันต์ ท่านทั้งสี่จำพวกนี้แหละเป็นบุคคลที่ควรกราบ ควรไหว้ควรรับไทยทาน ควรยกมืออัญชลีนอบน้อม เป็นเนื้อนาบุญควรทำบุญ กับท่านทั้งหลายดังกล่าวมานั้น จึงมีผลมาก ถ้าหากว่า บุคคลใดเป็นผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลสตัณหา บาปธรรม และไปทำบุญกุศลกับบุคคลผู้มีบาป ผู้มีบาปมากกว่าบุญ เช่นนั้นผลก็ย่อมน้อย

นี่ก็จะเล่าเรื่องอดีตให้ฟังเสียก่อน ไม่เช่นนั้นความเชื่อมันก็จะเลื่อนลอย ในอดีตกาลโน้นล่วงมาแล้วในครั้งนั้นพระพุทธเจ้า ไม่บังเกิดขึ้นในโลก แต่คนมีอายุ.......ให้ทานแก่คนยากคนจนคนเดินทาง ไม่เลือกเลย ทำบุญทำทานอย่างนี้อยู่สองหมื่นปีนะ เปิ้นจึงหมดอายุสังขารลง แล้วก็ไปเกิดสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนมีอีกคนหนึ่งในยุคสมัยพระพุทธเจ้าของเราเนี่ยะ ได้ตักบาตร ให้แก่พระสารีบุตรทัพพีหนึ่ง เมื่อดับขันธ์บรรลัยแล้วก็ไปเกิดสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เหมือนกัน

ต่อมานี้เมื่อพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลกพระองค์เสด็จ ขึ้นสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาและเทวดาทั้งหลาย เทวบุตรที่ได้ใส่บาตรให้พระสารีบุตรเถระเจ้าทัพพีหนึ่งเนี๊ยะได้นั่งหน้าหมู่เลย เทวบุตรตนที่ทำบุญทำทานมาแต่เป็นมนุษย์นั้นสองหมื่นปีนั้นได้นั่งท้ายหมู่ พระองค์จึงได้ทรงตรัสถาม ว่าทำไมมาจึงได้นั่งท้ายหมู่เพราะอะไร เทวบุตรตนนั้นจึงกราบทูลพระองค์ว่า เพราะเหตุว่า ผลทานที่ข้าพระองค์บำเพ็ญแต่เป็นมนุษย์มีผลน้อย เนื่องจากข้าพระองค์ได้ให้ทานแก่คนยากคนจนคนมีบุญน้อย ผลมันจึงมีน้อย เหตุนั้นเมื่อมาเกิดเป็นเทวบุตร ในสวรรค์นี้จึงได้มาเฝ้าพระศาสดา จึงได้นั่งอยู่หางแถว แล้วก็ทรงตรัสถามเทวบุตรตนนั่งอยู่ข้างหน้าใกล้กับพระองค์ว่า ตั้งแต่เป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไร เทวบุตรตนนั้นจึงได้กราบทูลพระองค์ว่า ตั้งแต่เป็นมนุษย์ข้าพระองค์ได้ ใส่บาตร ให้แก่ท่านพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวาของพระองค์น่ะทัพพีหนึ่ง เท่านั้นเอง เมื่อตายแล้วจึงได้มาเกิดสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อพระองค์เสด็จมานี้ ข้าพระองค์จึงได้มานั่งใกล้กับพระองค์เพราะว่า บุญญานุภาพที่ข้าพระองค์ได้ใส่บาตรให้ท่านพระสารีบุตรนั้นนะ มีบุญมากมีอานิสงส์มาก ว่างั้นนะ พระองค์เจ้าจึงได้ ตรัสภาษิตขึ้นว่า บรรดานาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นโทษ เพราะฉะนั้นทานที่ให้แก่ท่าน ผู้สิ้นราคะ โทสะ โมหะ จึงมีผลมาก ดังนี้ นั่นแหละคำถามที่ว่า การทำบุญทำทานนี้ ทำอย่างไรจึงมีผลมาก อย่างที่อธิบาย ให้ฟังมานี้นะขอให้เข้าใจ ตามนี้ก็แล้วกัน

พิธีกร : หลวงปู่ครับ แล้วอุทิศส่วนกุศลล่ะครับต้องกรวดน้ำไหมครับ
หลวงปู่ : อ๋ออันนี้จะกรวดก็ได้ ไม่กรวดก็ได้ เมื่อเราไม่มีน้ำจะกรวดเราก็อุทิศ น้ำใจเนี้ย แทนน้ำธรรมดา น้ำใจนี้นะว่า ประเสริฐ น้ำใจที่เป็นบุญกุศลนะ พอเราคิดว่าขออุทิศส่วนกุศลอันนี้ ให้แก่ท่านผู้มีพระคุณ อย่างนู้นอย่างนี้ ไอ้น้ำใจที่เป็นบุญกุศลเนี่ย มันมีอำนาจมีอานุภาพ มันจะไปกระตุ้นใจของบุคคลที่เราเกี่ยวข้อง ให้ล่วงรู้เลย อ๊อนี่ญาติพี่น้องที่อยู่เบื้องหลังเขาทำบุญเขาอุทิศมาให้เรา เช่นนี้เค้าก็จะได้ยกมืออนุโมทนา สาธุแล้วเขาก็ได้รับส่วนบุญนั้นมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป ยังงี้นะ เราจะกรวดน้ำก็ได้ไม่มีผิดอะไร เวลาพระท่านให้พร เราเตรียมน้ำไว้ก่อนแล้ว พอเวลาพระท่านมา ยะถา ทีนี้ก็เริ่มรินน้ำ แล้วก็อธิษฐานจิตอย่างที่ว่ามาแล้วนั้นนะ ไปพร้อมกันเลย พอพระองค์รองไปรับสัพพี เราก็เทน้ำให้หมดแล้วก็ ประนมมือรับพรต่อไป นี่เรียกว่าการกรวดน้ำ สมัยปัจจุบันนะเปิ้นนิยมทำกันอย่างนี้ ต่อไปเป็นการกล่าวขอขมาพระรัตนะตรัย และองค์ผู้แสดงธรรม ...............

สาธุในธรรมของหลวงปู่ครับ :054:

ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_hrien/lp-hrien_13.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มิ.ย. 2554, 08:44:22 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.....
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 08:49:20 »
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม 36; 36;
                                                   
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความที่ดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:
 
ติดตามอยู่ครับ อ่านแล้วเพลินดีมากๆครับ และ ได้สาระความรู้มากๆครับผม :016: :015:
 
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณครับผม) :033: :033:
   
   

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.....
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 23 มิ.ย. 2554, 09:05:12 »
แถมให้ ท่านsaken6009 โดยเฉพาะครับ :002:

พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสพระคาถานี้ว่า

“ธรรมแล  ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้

นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว
ผู้ประพฤติธรรม  ย่อมไม่ไปทุคติ”

(จาก...พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  คาถาธรรมบท)



            ธรรม ในที่นี้  หมายถึง กุศลธรรม (ความดีทั้งหลาย)   กุศลนั้นมีหลายขั้น  ถ้าเป็นกุศลขั้นทาน       ขั้นศีล ขั้นความสงบของจิต  ย่อมรักษาผู้ประพฤติ  ไม่ให้ตกไปในอบายภูมิซึ่งเป็นภูมิที่ต่ำ มีนรก  เปรต  เป็นต้น  แต่รักษาผู้ประพฤติให้ได้เกิดในภพภูมิที่ดี และ ถ้าเป็นกุศลขั้นที่เป็นโลกุตตระ ย่อมรักษาบุคคลผู้ประพฤติ ให้ออกจากสังสารวัฏฏ์ที่เต็มไปด้วยทุกข์  หมายถึง การบรรลุเป็นพระอริยบุคคล

ดังนั้น  คำว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม นั้น   เฉพาะกุศลเท่านั้นที่รักษา  อกุศลไม่ได้รักษาเพราะไม่นำประโยชน์อะไรมาให้เลย   กล่าวได้ว่ากุศลย่อมรักษาไม่ให้เป็นอกุศล และรักษาไม่ให้ไปตกไปสู่ภูมิที่ต่ำเมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว    นอกจากนั้น ธรรมยังรักษาบุคคลอื่นอีกด้วย เช่น ถ้ามีคนมาทำไม่ดีต่อเรา  ประพฤติเสียหายให้เรา    แต่เรามีเมตตา  มีความเห็นใจสงสารเขาที่ทำไม่ดี  แล้วไม่โกรธตอบ     ไม่ว่าร้ายเขา   เป็นผู้เห็นประโยชน์ของความอดทน  มีความเห็นใจและเข้าใจกัน จึงชื่อว่ารักษาบุคคลอื่นด้วย  โดยเริ่มที่ตนเองก่อน     ดังนั้น     พระธรรมจึงเป็นเรื่องของการน้อมประพฤติปฏิบัติตามด้วยความจริงใจ   ไม่ใช่เพียงฟัง  เพียงอ่าน  เท่านั้น


ที่มา
http://www.our-teacher.com/our-teacher/article/4%20admonishment/50-%20to%20keep.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มิ.ย. 2554, 09:06:23 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.....
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 25 มิ.ย. 2554, 08:10:54 »
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม  1/2
หลวงพ่อสดฯ



.....ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมอันบุคคลสั่งสมดีแล้ว นำความสุขมาให้ ผู้ประพฤติบริสุทธิ์กาย วาจา และบริสุทธิ์ใจ บริสุทธิ์เจตนา จนกระทั่งใจผ่องใส นั่งก็เป็นสุข นอนก็เป็นสุข ยืนเที่ยวเป็นสุขทั้งนั้น ไม่มีทุกข์อันหนึ่งอันใดมาแผ้วพาน เพราะเหตุว่าในเรื่องทุจริตไม่มี มีแต่สุจริตฝ่ายเดียว นี่แค่นี้ขั้นหนึ่ง เพราะว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

สูงขึ้นไปกว่านี้ ผู้ที่ได้บรรลุเป็นโคตรภูบุคคล มีธรรมกาย ใจก็อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย อย่างนี้สูงขึ้นไป ธรรมก็ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมไว้ เป็นโคตรภู เป็นโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นอรหัตต์ทั้งหยาบทั้งละเอียด พวกนี้หมดทุกข์ มีสุขฝ่ายเดียว ทุกข์มีน้อยนักไปถึงพระอรหัตต์หมดทุกข์ ไม่มีทุกข์เลย มีสุขฝ่ายเดียว เรียกว่า เอกนต เป็นบรมสุขฝ่ายเดียว เข้าถึง วิราคธาตุ วิราคธรรม ทีเดียว

อย่างนี้แหละ ได้ชื่อว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ผู้มีธรรมกายนั้นแหละ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม หรือยังไม่ถึงธรรมกาย มีบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ จะให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้ ก็ได้ชื่อว่าผู้รักษาธรรมเหมือนกัน ธรรมนั้นแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเหมือนกัน ธรรมนั้นแหละนำความสุขมาให้ ธรรมที่สั่งสมดีแล้ว ปฏิบัติดีแล้ว ก็นำความสุขมาให้ เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ นี้เป็นอานิสงส์ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรม คือ ความประพฤตินี้เป็นอานิสงส์ในธรรม

น ทคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ผู้ประพฤติธรรมเสมอไม่ไปสู่สุคติ มีสุคติเป็นเบื้องหน้า ผู้ประพฤติธรรมเสมอไม่มีทุคติ มีสุคติเป็นไปในเบื้องหน้า เรียกว่า ธรรมนั้นนำความสุขมาให้ ธรรมนั้นนำให้ถึงสุคติเป็นเบื้องหน้า ไม่มีทุคติตลอดไป

   เมื่อเป็นผู้ประพฤติธรรมดังนี้แล้ว ผู้ประพฤติธรรมนะ รักษากายวาจาใจให้บริสุทธิ์ไว้ ไม่ให้พิรุธไปได้ นี้ประพฤติธรรมให้บริสุทธิ์ ด้วยกาย วาจา ใจ ตลอดจนกระทั่งถึงใจเจตนา เจตนาก็บริสุทธิ์ไม่มีพิรุธเข้าไปแทรกแซงได้ เข้าไปถึงใจ ใจก็ใส ไม่มีขุ่นมัวเศร้าหมอง เข้าไปดองอยู่ในใจได้ ดังนี้เรียกว่าบริสุทธิ์ขั้นกายมนุษย์ บริสุทธิ์ขั้นกายมนุษย์ละเอียดเข้าไปอีก ละเอียดยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก ที่สุดเข้าถึงกายทิพย์อีก ผู้ประพฤติธรรมนะ อุตสาหะ ให้ทาน รักษาศีล อุตส่าห์สดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอยู่เสมอ อุตส่าห์มีจาคะ สละสิ่งที่เป็นโทษ เป็นข้าศึกต่อคัมภีร์อยู่ร่ำไป มีปัญญารอบรู้รักษาตัว นี้ได้ชื่อว่า ผู้ประพฤติธรรม

ละเอียดขึ้นไป กายทิพย์ทั้งหยาบทั้งละเอียด ผู้ประพฤติธรรมสูงขึ้นไปยิ่งกว่านี้ได้บรรลุ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ฌานนั้นแจ่มใสอยู่เสมอ ไม่ให้เสื่อม ไม่ให้สร่าง ไม่ให้หายไป อยู่ในฌานนั้นร่ำไป เรียกว่า ได้รับความสุข ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จุตตถฌาน สุขเยี่ยมยอดประเสริฐเลิศกว่าในโลกนี้นัก เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แล้วก็ลืมยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทีเดียว สิ่งอื่นไม่เหลือในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เอาใจรูปพรหมไปนั่งอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตฌาน ลืมยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่มาเคาะใจทั้งหลับทั้งตื่น ตื่นๆ ก็มาเคาะอยู่เสมอ หลับมันก็เคาะนะ เคาะให้ฝัน นั่น ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสของมัน นั่นแหละ มันเคาะใจอย่างนี้ ทว่าไปติดแน่นแฟ้นอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ละก็ให้ความยินดี ในรูป รส กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคตนั้น หายเงียบไปหมด ไม่กระทบกระเทือนเลย ไม่สะกิดเลย หายเงียบไปหมด

ที่มา
http://www.kalyanamitra.org/daily/dhamma/index.php?option=com_content&task=view&id=1229&Itemid=99999999

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.....
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 25 มิ.ย. 2554, 08:14:34 »
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม  2/2
หลวงพ่อสดฯ



    สูงขึ้นไป สูงขึ้นไปกว่านี้ เข้าถึง อรูปฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เมื่อไปถึงอรูปฌานเช่นนั้นละก็ ความยินดีในรูปฌานนั้น ติดอยู่ในรูปฌานนั้นหายไป หลุดไม่ติดเลย ก็ไปติดอยู่ในอากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญยตนฌาน เนวสัญญาสัญญายตนฌาน ได้รับความสุขอยู่แปดหมื่นสี่พันมหากัลป์ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ขอบภพข้างบนนี่ สุขประเสริฐนัก ยอดสุขของในภพมีเท่านี้แหละ สูงกว่าไม่มี ยอดแล้วถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ยอดสุขในภพแล้ว ไม่มีสุขยิ่งกว่านี้ขึ้นไป

    ถ้าจะให้สุขยิ่งกว่านี้ไปอีก ต้องไปสู่ มรรค ผล นิพพาน พวกมีธรรมกายไปสู่นิพพานได้ ก็ได้สอบสวนสุขในนิพพานได้ เข้าไปนิพพานได้ เป็นนิ่งอยู่ในนิพพานเสียนี่ รับสุขในนิพพานทีเดียว เมื่อได้รับสุขชนิดนี้ในนิพพานแล้ว คนที่พูดมากๆ เงียบหมด ไม่พูดแล้วใจคอครึ้ม สบาย เอิบอิ่มตื้นเต็ม ปลาบปลื้มว่าสุขชนิดนี้เราไม่เคยพบ ไม่เคยเห็น

    เรานึกถึงความสุข ไม่ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นมันซากของศพ นั่นไม่ใช่สุขจริง ไม่ใช่เนื้อหนังของสุข มันซากของสุขนะ เมื่อหลุดขึ้นพอพ้นจากกามไปแล้ว ถึงรูปภพเข้า ไปถึงรูปฌานทั้งสี่เข้า นึกถึงสุขของกาม ไอ้สุขของนั้นมันเศษสุข ไม่ใช่สุขจริงๆ เมื่อไปถึงอรูปฌานเข้า ไอ้สุขของรูปฌานนั่นนะ มันสุขอย่างหยาบนะ ไม่สุขละเอียด นุ่มนวล ชวนให้สบายอกสบายใจเหมือนอรูปฌาน เมื่อได้รับความสุขในอรูปฌานแล้ว สุขในอรูปฌานนี่มันสุขในภพ ไม่ใช่สุขนอกภพ นี่มันสุขต่ำทรามนะ พอไปถึงนิพพานเข้าก็ อ้อ! นี่มันสุขนุ่มนวลชวนติดนัก นี่มันสุขจริง จะได้เล่าถึงสุขในพระนิพพานให้ฟังอีก

     เรื่องสุขในพระนิพพานนั้นมันสุขลึกซึ้งนัก พระพุทธเจ้ามีเท่าไรๆ ไปติดอยู่ในนั้นหมด พอติดเสียเช่นนั้น เหลวอีกเหมือนกัน ไปติดแต่นิพพานนั้น ต้องไม่ติดสุขแค่นี้ แล้วหาสุขต่อไปอีก ใคร่ที่จะหาสุขต่อขึ้นไป เขาเรียกว่า อปฺปสุขํ ไปหาย ละสุขอันน้อยเสียไปหาสุข สุขํ อาทาย ถือเอาสุขใหญ่ ปล่อยสุขขึ้นไป ไม่หยุดอยู่ในสุขแค่นั้น ถ้าไปหยุดแค่นั้นโง่ ไม่ฉลาด ถ้าปล่อยสุขขึ้นไปไม่มีที่สุดกันหละ ก็นั่นฉลาดหละ อย่าง พระพุทธเจ้า ผู้เป็นต้นธาตุ นี้ฉลาดเต็มที่ นี้แค่นี้ธรรมนั่นแหละนำความสุขมาให้นะ ผู้ใดถึงธรรม ผู้นั้นได้รับสุขด้วยประการ ดังนี้

ที่มา
http://www.kalyanamitra.org/daily/dhamma/index.php?option=com_content&task=view&id=1229&Itemid=99999999