ผู้เขียน หัวข้อ: การสวดพระอภิธรรมในงานศพ  (อ่าน 24501 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
การสวดพระอภิธรรมในงานศพ
« เมื่อ: 18 ก.ค. 2554, 09:42:57 »
เรื่องพระอภิธรรมค่อนข้างยาว(มาก)
ขอย่อยเป็นเรื่องๆไว้เพื่อศึกษากันนะครับ
========================

การสวดพระอภิธรรมในงานศพ
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

     ทุกท่านคงจะพบคำว่า สวดพระอภิธรรม หรือ ตั้งศพสวดพระอภิธรรม ในบัตรเชิญหรือในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อเชิญไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลแด่ท่านผู้วายชนม์อยู่บ่อย ๆ ที่ว่า สวดพระอภิธรรม นั้น เมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้ย่อมทราบดีแล้วว่าหมายถึงอะไร
ตามหลักฐานของท่านผู้รู้กล่าวว่ามีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวดในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่าการบำเพ็ญกุศลในงานศพเพื่ออุทิศให้ ผู้วายชนม์นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ การที่ พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่าง ๆ ดังนี้

ประการแรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจายสรีระกายซึ่งเป็นกลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อัน เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะมิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมาเปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์ ทำให้เห็นสัจจธรรมที่ แท้จริงของชีวิต ท่านโบราณบัณฑิตคงจะเห็นว่าในงานเช่นนี้เป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้ฟังและท่านผู้ ร่วมบำเพ็ญกุศลในงานศพจะสามารถพิจารณาเห็นความจริงของชีวิตได้โดยง่าย จึงได้นำเอาพระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง

อีกประการหนึ่ง เพราะเห็นว่าในการตอบแทนพระคุณพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรมเทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่ง สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพพการีอันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็นบัณฑิตจึงได้นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดา บิดา ตามแบบอย่างพระจริยวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมา แม้ว่าท่านผู้วายชนม์จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่การนำเอาพระอภิธรรมมาแสดงในงานศพก็ถือเป็นประเพณีไปแล้ว

ประการสุดท้าย เพราะเชื่อว่า พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูงที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ หากนำมาแสดงในงานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมากการสวดพระอภิธรรมก็คือการนำเอาคำบาลีขึ้นต้นสั้น ๆ ในแต่ละคัมภีร์ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียงต่อกัน การสวดพระอภิธรรมนี้บางทีเรียกว่า สวดมาติกา ถ้าเป็นงานพระศพบุคคลสำคัญในราชวงศ์เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ นั่นเอง (สัตต = เจ็ด ปกรณ์ = คัมภีร์ ตำรา)
ต่อมาภายหลังมีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระอนุรุทธาจารย์มาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น  ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การสวดพระอภิธรรมในงานศพ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 21 ก.ค. 2554, 12:53:08 »
สวดอะไร....ในงานศพ

ปุจฉา (21)

เวลาไปงานศพ บ้างก็ว่าที่พระสวดนั้น พระสวดให้ผู้ตาย ฟัง คนที่ไปงานไม่ต้องพนมมือ บ้างก็ว่าท่านสวดให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ฟัง เลยต้องพนมมือ ความจริงแล้วในงานศพ พระท่านสวดอะไร ให้ใครฟัง ก็คงจะไม่มีใครรู้เรื่องอยู่ดี เพราะสวดเป็นภาษาบาลี แล้วดังนั้นที่ถูกต้องจะต้องพนมมือหรือไม่ เพราะเหตุใดเจ้าคะ (ทำไมท่านอาจารย์ไม่แปลบทสวดมนต์ทั้งหลายให้เป็นภาษาไทย ทำนองเพราะๆ ที่ฟังเข้าใจง่ายแบบชาวคริสต์บ้างล่ะเจ้าคะ คนฟังจะได้รู้เรื่อง และจะได้ Get ในบทสวดมนต์มากยิ่งขึ้นค่ะ ตอนงานคุณแม่ พระที่วัดชลประทานฯ สวดมนต์จบเดียวแล้วก็แสดงธรรมเลย ชอบพิธีกรรมแบบนั้นมากค่ะ นั่งฟังเพลินดี ได้ประโยชน์ในการดึงสติตัวเองด้วย)

ปริษา/กรุงเทพฯ


วิสัชนา (21)

ขอตอบเป็นข้อๆ ดังนี้

(1) ความจริงถ้าสังเกตให้ดีปัญหาที่ถามมานั้น ก็มีคำตอบอยู่แล้วในตัวเอง เพราะคนที่จะสามารถ 'ฟัง' ได้นั้น จะต้องเป็นคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งในกรณีนี้ก็หมายถึงคนที่ไปร่วมงานศพนั่นเอง ไม่ใช่คนที่นอนอยู่ในโลง

(2) บทสวดมนต์ที่พระนำมาสวดนั้นเรียกว่า 'พระอภิธรรม' มี 7 บทคือ 1.สังคิณี 2.วิภังค์ 3.ธาตุกถา 4.ปุคคลบัญญัติ 5.กถาวัตถุ 6.ยมก 7.ปัฏฐาน แต่ละบทเป็นเนื้อหาธรรมะเชิงวิชาการล้วนๆ ยากแก่การเข้าใจของคนทั่วไป หรือบางทีแม้แต่พระผู้สวดเองก็มีน้อยรูปที่จะเข้าใจ แต่ทั้งๆ ที่เข้าใจยากอย่างนั้น แต่ทำไมท่านก็ยังนำมาสวด หลายคนคงอยากทราบเหตุผลข้อนี้เป็นแน่ ในทัศนะของผู้เขียน (ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้) เข้าใจว่าเพื่อให้คนทั่วไปได้ฟังไว้เป็นอุปนิสัยปัจจัยในภายหน้ า หรือเป็นเพราะว่าท่านต้องการรักษาแก่นธรรมเอาไว้ไม่ให้สูญ เพราะการที่พระจะต้องนำพระอภิธรรมมาสวดอยู่เสมอนั้น เป็นการบังคับอยู่ในตัวว่า พระจะต้องจดจำ หรือจะต้องศึกษาพระอภิธรรมให้ได้ มองในแง่นี้ก็ต้องถือว่าเป็นกุศโลบายที่แยบคายของบุรพาจารย์ท่า นแต่ก่อนที่น่ายกย่อง เพราะหากไม่นำพระอภิธรรมมาบัญญัติไว้ให้เป็นบทสวดในงานศพ บางทีพระอภิธรรมอาจถูกลืมไปแล้วก็ได้ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมด้วยเหมือนกัน

(3) การฟังสวดพระอภิธรรมนั้น แม้เราจะยังไม่เข้าใจ แต่การได้ฟังไว้บ้างก็ยังเป็นผลดีอยู่นั่นเอง เพราะขณะฟัง หากตั้งใจฟังอย่างดี ก็ย่อมมีสมาธิได้เหมือนกัน การตั้งใจฟังสวดด้วยดี จนเกิดสมาธิจัดเป็นบุญชั้นสูงอย่างหนึ่ง เรียกว่า 'ภาวนามัย' คือบุญที่เกิดจากการฝึกจิต เมื่อเราตั้งใจฟัง เราก็ได้บุญ และน้อมอุทิศบุญที่เกิดจากการตั้งใจฟังสวดนี้เอง อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายอีกทีหนึ่ง คนที่มาร่วมงานศพ แต่ไม่ตั้งใจฟังสวด จะเอาบุญจากที่ไหนมาอุทิศให้ผู้วายชนม์

(4) การฟังสวดพระอภิธรรม หรือบทสวดมนต์อื่นๆ ก็ตาม ควรจะพนมมือไว้เสมอ เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธ พระธรรม และต่อพระสงฆ์ผู้สวด รวมทั้งเพื่อแสดงความเคารพ (หรือให้เกียรติ) แก่ผู้วายชนม์ แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างฟังสวดพระอภิธรรม หากพนมมือจนเมื่อย ก็สามารถเอามือวางลงบนตักชั่วคราว แล้วอยู่ในอาการอันสงบสำรวม ฟังสวดพระอภิธรรมต่อก็ได้

(5) ว่าโดยหลักการแล้ว หลังสวดพระอภิธรรมจบ พระก็ควรจะเทศน์หรือแสดงพระธรรมเทศนา เพราะพิธีกรรมต่างๆ นั้น ท่านวางเป็นแบบแผนไว้ก็เพื่อใช้เป็นสื่อในการดึงคนเข้าหาธรรม แต่การแสดงธรรมนั้นไม่ใช่จะทำได้ง่าย หากไม่ใช่ภิกษุผู้มีความรู้ความสามารถจริงๆ แล้ว ยิ่งพยายามแสดงธรรมอาจจะยิ่งทำให้คนฟังเบื่อการฟังธรรมไปเลยก็เ ป็นได้ ดังนั้น ในบางวัดที่ขาดพระภิกษุผู้สามารถในการแสดงธรรม ท่านจึงไม่เน้นการแสดงธรรม หากแต่เน้นการสวดเป็นหลัก เมื่อพระภิกษุผู้สามารถในการแสดงธรรมหายาก การสวดพระอภิธรรมก็เลยเน้นแต่การสวดแล้วก็จบแค่นั้น ล่วงกาลนานไป ก็เลยเกิดเป็นความเข้าใจขึ้นมาว่า ในงานศพจะมีแต่การสวดเป็นหลัก ไม่เน้นการเทศน์ ซึ่งนับว่านี่เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างหนึ่งของชาวพุทธในเ มืองไทย

(6) ที่วัดชลประทานฯ นั้น พระเดชพระคุณเจ้าอาวาส คือ พระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทะ) เป็นพระปัญญาชน เป็นพระนักปราชญ์ ที่ศึกษาพระพุทธศาสนามาเป็นอย่างดี มีฐานันดรเป็นดังน้องชายในทางธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุองค์หนึ่ง จึงมีความรู้พระพุทธศาสนาที่หนักแน่นเป็นแก่นสาร จับสาระของพระพุทธศาสนาได้แม่นทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ พร้อมทั้งยังสอนให้ศิษยานุศิษย์ในวัดเป็นพระชั้นนำเช่นตัวท่านเ องด้วย ด้วยเหตุนี้ที่วัดชลประทานฯ จึงไม่ขาดพระนักเทศน์ผู้สามารถ งานศพที่จัดขึ้นในวัดชลประทานฯ จึงไม่เน้นการสวดมากนัก หากเน้นการแสดงธรรมเป็นสำคัญ กิจกรรมอย่างนี้นับว่าน่าอนุโมทนายิ่งนัก เพราะพิธีกรรมต่างๆ นั้นมีขึ้นก็เพื่อต้องการ 'นำคนเข้าสู่ธรรม' หากพิธีกรรมไม่สื่อธรรม พิธีกรรมนั้นก็แทบไร้ความหมาย แม้จะมีคุณค่าก็นับว่าน้อยนัก

การที่ทางวัดวางเป็นหลักไว้ว่า พระจะต้องเทศน์ได้ ทำให้พระต้องตั้งหน้าศึกษาพระธรรมวินัยให้รู้จริง การที่คฤหัสถ์มาวัดแล้วได้ฟังเทศน์ ทำให้ได้เรียนรู้ธรรมะไปในตัว ซึ่งนับว่าเป็นกำไรชีวิต และเป็นการปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายที่แท้ของพิธีกรรมซึ่งทำหน้าที ่เป็น 'สื่อ' นำคนเข้ามาสู่ธรรมดังกล่าวแล้ว

ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า

พิธีกรรม คือ สื่อที่จะนำคนเข้าสู่ธรรม

ถ้าพิธีกรรม ไม่นำคนเข้าสู่ธรรม หรือไม่เปิดโอกาสให้คนได้รู้จักธรรม พิธีกรรมนั้นๆ ก็ไร้ความหมาย พิธีกรรมอาจเป็นได้แค่ 'พิธีพราหมณ์' ที่ไม่มีแก่นสารอะไรในทางธรรมเอาเลย คงมีแต่การทำไปอย่างนั้นเองพอเป็นพิธี ไม่รู้ว่าเพื่อใครและเพื่ออะไร การที่คนไทยส่วนใหญ่เบื่อพิธีกรรมในวัดก็เพราะพระ (รวมทั้งชาวพุทธของเราเองด้วย) ไม่สามารถสอดใส่สาระลงไปในพิธีกรรมเหล่านั้นนั่นเอง

ทุกวันนี้ คนไทยก็เลยพากันไปติดอยู่ที่พิธีกรรมอันเป็นสื่อของธรรมเท่านั้ น พากันหลงลืมธรรมอันเป็นแก่นสารไปอย่างน่าเสียดาย ยามเราไปฟังสวดพระอภิธรรมในงานศพ จึงไม่สู้ได้อะไรมากมายนัก นอกจากฟังสวดจบแล้วก็กลับบ้าน หรือบางงานก็มีเลี้ยงข้าวต้มแล้วก็จบพิธีกรรมอย่างห้วนๆ ไม่มีอะไรในทางจรรโลงใจให้สูงส่งขึ้นมาเลย บางวัดมีคนไปร่วมงานศพเป็นพัน ทั้งๆ ที่เป็นงานของผู้มีชื่อเสียง นั่นเป็นโอกาสดีที่สุดที่พระจะได้แสดงธรรมแก่คนหมู่มาก แต่พระก็เฉยเสีย ไม่เพียงแต่ไม่แสดงธรรมเท่านั้น บางทีแม้แต่ญาติโยมท่านก็ไม่เอ่ยปากทักทายด้วยซ้ำไป เสียดายโอกาสในการแสดงธรรมเหลือเกิน

ทำไมจึงเป็นอย่างนี้

หนึ่ง เป็นเพราะวัดนั้นขาดพระสงฆ์ผู้สามารถในการแสดงธรรม

สอง เพราะเราละเลยแก่นสารตรงนี้มานาน จึงไม่มีใครมองเห็นคุณค่า ก็เลยเข้าใจกันว่า มางานศพเพื่อฟังสวดก็จบแล้ว ไม่มีอะไรมากกว่านั้น

(7) เรื่องการแปลบทสวดมนต์เป็นภาษาไทยให้ไพเราะและมีสาระนั้น ตั้งใจว่าจะทำอยู่แล้ว เคยคิดชื่อไว้ล่วงหน้าด้วยซ้ำไปว่า 'สวดเป็นก็เห็นธรรม' คำถามแกมขอร้องข้อนี้ ผู้เขียนยินดีรับคำอาราธนา แต่คงต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะเสร็จเป็นรูปร่างอย่างที่อยากเห็ นกัน

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=210098