ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า  (อ่าน 4816 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
 หากเอ่ยชื่อ พระครูวิมลคุณากร คนทั่วไปอาจจะยังไม่คุ้นหูเท่าใดนัก แต่ถ้าเอ่ยชื่อ หลวงปู่ศุข  วัดปากคลองมะขามเฒ่าแล้วล่ะก้อ ไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าไม่รู้จัก โดยเฉพาะนักนิยมพระเครื่องแล้ว แทบทุกคนต่างใฝ่หาพระเครื่องของหลวงปู่ศุขมาใช้เพราะเชื่อกันว่า พระหลวงปู่ศุขนั้นให้พุทธคุณ ทั้งด้านเมตตามหานิยม และ ด้านแคล้วคลาด คงกระพัน

ภูมิลำเนา - ชีวิตก่อนบวช

             หลวงปู่ศุขท่านอยู่ในละแวก วัดมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ปัจจุบันยังมี  ลูกหลานของท่านอยู่ที่บ้านใต้วัดปากคลองมะขามเฒ่าอีกหลายคน หรือแม้แต่ร้านค้าขายภายในบริเวณวัดเองก็ยังมี  หลวงปู่ศุขท่านใช้นามสกุล เกศเวชสุริยา อีกสกุลหนึ่ง ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 9 คน ด้วยกัน    เมื่อหลวงปู่ศุขอยู่ในวัยฉกรรจ์ ท่านได้เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ  ทำมาหากินค้าขายเล็กๆน้อยๆ โดยยึดลำคลองบางเขน ซึ่งมีปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้จังหวัดนนทบุรีลงมา ปัจจุบันอยู่ข้างทางเข้าวัดทางหลวง เป็นที่ทำมาหากิน    คลองบางเขนนี้ทอดขึ้นไปเชื่อมกับคลองรังสิต เมื่อก่อนนี้เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมทางน้ำ        ที่สำคัญ และกว้างขวางเป็นอย่างมาก เมื่อการคมนาคมทางบกเจริญขึ้น การสัญจรทางน้ำก็หมดความสำคัญลง ปัจจุบันคงจะตื้นเขินไปแล้วก็ได้  เพราะขาดการทนุบำรุงที่ควร     หลวงปู่ศุขท่านทำมาหากินอยู่ในคลองบางเขนอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้ภรรยาชื่อนางสมบูรณ์ และกำเนิด     บุตรชายคนหนึ่งชื่อ สอน เกศเวชสุริยา 

บวช

             หลวงปู่ ท่านครองเพศฆาราวาสอยู่ไม่นาน พออายุท่านครบ 22 ปี ท่านได้ลาไปอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน หรือปัจจุบันชื่อว่า วัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง ส่วนวัดโพธิ์ทองบน อยู่ตอนเหนือของปากคลองบางเขน ตอนบนบริเวณจังหวัดปทุมธานี   พระอุปฌาย์ท่านชื่อ  หลวงพ่อเชย จันทสิริ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ ฝ่ายรามัญ ที่ถือเคร่งในวัตรปฎิบัติและพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลวงพ่อเชยท่านยังเป็นอาจารย์ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีความรู้และความชำนาญรู้แจ้งแทงตลอด อีกทั้งทางด้านวิทยาคม         ก็แก่กล้าเป็นยิ่งนัก หลวงปู่ท่านได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้จากพระอุปฌาย์ของท่านมาพร้อมกับพระอาจารย์ เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่าวัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่างเหมือนกัน

กลับภูมิลำเนา

             หลวงปู่ท่านเพลินอยู่ในธรรมเสียหลายปี  จนกระทั่งมารดาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า      ได้ชราภาพลงตามอายุขัย ด้วยความเป็นห่วงใยในมารดาและบิดา ท่านจึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม และได้อยู่จำพรรษาปีแรกๆที่วัดอู่ทองคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณที่อยู่ลึก เข้าไปในคลองมะขามเฒ่าหรือบริเวณต้นแม่น้าท่าจีนในปัจจุบัน แต่ทว่าสภาพวัดในขณะนั้น ชำรุดทรุดโทรมลงตามสภาพ เกินกว่าที่จะบูรณะให้กลับคืนในสภาพที่ดีได้ต่อไป ท่านจึงได้    ขยับขยายออกมา ที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและได้สร้างกุฎิขึ้นครั้งแรกหนึ่งหลังพอเป็นที่อยู่อาศัย ไปพลางก่อน

วัตถุมงคลรุ่นแรก

             สืบต่อมามารดาของหลวงปู่ได้ถึงแก่กรรมและได้จัดฌาปนกิจศพ และในงานนี้เองหลวงปู่ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลในรูปพระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มรัศมีออกแจกเป็นของที่ระลึกเป็นครั้งแรก เมื่อผู้ที่ได้รับแจกพระเครื่องจากท่านไปได้ปรากฎอภินิหารทางอยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกันเขี้ยวงา คือสุนัขกัดไม่เข้า ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ ที่บังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะบ้านนอกอย่างใน ชนบทสมัยก่อนนั้นไม่ค่อยจะมีรั้วรอบขอบชิดเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็ได้อาศัยสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นยามเฝ้าบ้าน ฉะนั้น การที่แวะเวียนไปบ้านหนึ่งบ้านใดนั้นจะต้องระวังเรื่องสุนัขลอบกัดให้ดี มิฉะนั้นท่านจะถูกสุนัขกัดเอาง่ายๆ พระเครื่องของหลวงปู่จึงมีชื่อเรื่องสุนัขกัดไม่เข้า เป็นปฐมเหตุก่อน  จึงเกิดความนิยมไปขอท่านมาแขวนคอบุตรหลานเพื่อกันเขี้ยวงาและภยันตรายต่างๆ      สมัยก่อนพระวัดปากคลองเนื้อตะกั่ว จะมีแขวนอยู่ในคอเด็กในท้องถิ่นเกือบจะทุกคน แล้วถ้าไปขอพรหลวงปู่ศุข ท่านมักจะถามว่า "เอ็งมีลูกกี่คน?" ท่านจะให้ครบทุกคน กิตติศัพท์ในความขลังประสิทธิในพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของท่านจึงค่อยๆ เผยแพร่จากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง ในเวลาไม่ช้าไม่นาน คุณวิเศษของท่านจึงค่อยๆ โด่งดังขจรขจายไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก การขนส่งสินค้า ตลอดจนการทำมาค้าขาย จะขึ้นล่องจะต้องอาศัยสายน้ำ เจ้าพระยาเพียงแห่งเดียวเท่านั้น         เพราะในสมัยนั้นถนนหนทางทางบกยังทุรกันดาร พอตกเพลาพลบค่ำพ่อค้าพ่อขายเรือเล็กเรือใหญ่จะมาอาศัยนอนค้างแรมที่แพหน้าวัดของท่าน  เพื่ออาศัยบารมีของท่านช่วยป้องกันขโมยขโจร     ที่จะมาประทุษร้ายต่อเลือดเนื้อชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าจะเปรียบไปแล้วหน้าวัดของท่านจึงเป็น  เสมือนหนึ่งเป็นชุมทางที่สำคัญนี่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยเสริมส่งให้เกียรติคุณของท่านแผ่ขยายไปทั่วทุกภาคของประเทศชื่อเสียงของท่านจึงเป็นที่รู้จักกันดี"หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า"

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

          อาจจะเป็นด้วย บุญกุศลของหลวงปู่ศุข กับเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวี  ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5         นับลำดับราชสกุลวงศ์ เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 28 และเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ ที่1             ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ได้สร้างสมกันมาแต่ชาติ         ปางก่อน ดลบันดาลให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งทรงศรัทธาเลื่อมใสในทางมหาพุทธาคมอยู่แล้ว ได้เสด็จประพาสไปในภาคเหนือ  จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่ศุขและพระองค์ท่านได้พบกัน  จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์-อาจารย์เพื่อจะได้ศึกษาทางมหาพุทธาคมและปรากฎว่า พระองค์เป็นศิษย์ที่มีความรู้ความ  สามารถได้ศึกษาแตกฉานจนกระทั่งหลวงปู่ศุขเองก็หมดความรู้ที่จะถ่ายทอด จึงแนะนำให้เสด็จในกรมฯไปศึกษาเคล็ดวิชากับหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จังหวัดพิจิตรต่อ ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วนั้น    เมื่อหลวงปู่ศุขท่านมีลูกศิษย์อย่างเสด็จในกรมฯ จึงเป็นกำลังสำคัญให้ท่านสามารถที่จะสร้างวัดปากคลองมะขามเฒ่าให้เสร็จสมบูรณ์ ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาที่คงเหลือเป็นประจักษ์พยานในปัจจุบันนี้คือ ภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯบนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนสีน้ำที่กรมศิลปากรยกย่องว่า เสด็จในกรมหลวงชุมพร ทรงมีฝีมือทางการเขียนภาพเป็นอย่างมาก และทรงสอดแทรกอารมณ์ขันในภาพพระพุทธ-เจ้าชนะมารในกระแสน้ำที่พระแม่ธรณีบิดมวยผม ทำให้เกิดอุทกธาราหลากไหลพัดพาเอาทัพพระยามารไปนั้น พระองค์ท่านเขียนเป็นภาพลิงใส่นาฬิกาและหนีบขวดวิสกี้ กำลังเดินตุปัดตุเป๋ไปเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งฤาษีปัญจวัคคี โดยสอดใส่อารมณ์ที่ยิ้มเยาะเย้ยหยัน อย่างไม่อะไรไยดีต่อพระองค์เน้นความรู้สึกได้เด่นชัดมาก     ฝีมือของเสด็กในกรมฯ อีกชิ้นหนึ่งก็คือ ภาพเขียนสีน้ำมัน เป็นรูปหลวงปู่ศุขยืนเต็มตัวและถือไม้เท้า ภาพนี้เขียนในขณะที่หลวงปู่ศุข ชราภาพมากแล้ว ท่านจึงต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงในการเดิน  ซึ่งภาพนี้ก็ยังปรากฎให้เห็นอยู่ที่วัดปากคลอง  มะขามเฒ่าจวบจนทุกวันนี้  ความสัมพันธ์ ระหว่างอาจารย์ กับ ลูกศิษย์ นอกจากจะถูกอัธยาศัยกันเป็นยิ่งนัก จักเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอแล้ว ถ้าเสด็จในกรมฯติดราชการงานเมือง หลวงปู่ก็จะลงมาหา โดยเสด็จในกรมฯได้สร้างกุฎิอาจารย์ ไว้กลางสระที่วัดนางเลิ้ง ซึ่งเต็มไปด้วยดอกบัววิค   ตอเรีย  มีใบกลมใหญ่ขนาดถาด  และรู้สึกว่ากลางใบจะมีหนามคมด้วย อันนี้ได้รับคำบอกเล่า   จาก ลุงผล ท่าแร่ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ ติดสอยห้อยตามหลวงปู่ศุขมาแต่เล็ก ท่านเป็นชาวอุตรดิตถ์     หรือพิษณุโลก จำได้ไม่ถนัดนัก หลวงปู่ท่านขอพ่อแม่เขามาเลี้ยงเป็นบุตร บุญธรรม เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่ศุข ท่านก็ เลยลงหลักปักฐานได้ภริยาอยู่ที่ตำบลท่าแร่ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท       เลยเรียกกันติดปาก ว่า ลุงผล ท่าแร่   แต่อย่างไรก็ตาม ภายในกำหนด 1 ปี หลวงปู่ท่านจะต้องลงมากรุงเทพฯ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย  เพราะเสด็จในกรมฯท่านจะทำวิธีไหว้ครูราวๆ เดือนเมษายน งานจะจัดเป็น 3 วัน วันแรกไหว้ครูกระบี่กระบอง  วันที่สองไหว้ครูหมอยาแผนโบราณ  และวันที่สามไหว้ครูทางวิทยายุทธ์ พุทธาคมและไสยศาสตร์ จัดเป็นงานใหญ่มีมหรสพสมโภชทุกคืน กับมีการแจกพระเครื่องรางของขลังจากหลวงปู่ศุขอีกด้วย แต่ในระยะหลังๆ หลวงปู่ศุขท่านมีอายุ   มากแล้ว สุขภาพไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าใดนัก ท่านจึงไม่ค่อยได้ลงมา

พระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง

          การที่ท่านทำพระเครื่องรางของขลัง ได้ประสิทธิ์ มี ฤทธิ์ มีเดช ทั้งๆที่อักษรเลขยันต์พื้นๆนั้น เป็นเพราะอำนาจจิตที่ท่านได้ฝึกฝนมานั้น กล้าแกร่งยิ่งนัก โดยเฉพาะกสิณธาตุทั้งสี่ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอิทธิฤทธิ์ทางใจเลยทีเดียว สำหรับการสำเร็จวิชาชั้นสูงเรียกว่า มายาการ คือความเชื่อถือและการปฏิบัติ ที่มุ่งหมายให้เกดิผลด้วยการ ใช้พลังหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือ หลีกลี้ลับ บังคบให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เช่น ท่านเสกใบมะขาม ให้เป็น ตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย ตลอดจนการผูกหุ่นพยนต์ด้วยฟางข้าว เสกคนให้เป็นจระเข้เป็นต้น มันเป็นมายาการชั้นสูง คือการบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ  แท้ที่จริงแล้วใบมะขามก็ยังคงเป็นใบมะขาม หัวปลี ก็ คงเป็นหัวปลี และหุ่นฟาง ก็คงเป็นหุ่นฟางเหมือนเดิม เว้นแต่อำนาจจิตของท่านทำให้เราเห็นไปเอง จากหนังสือ "พระกฐินพระราชทาน สมาคมศิษย์อนงคาราม ปี 2519 เรื่องพระใบมะขาม " ท่านผู้เขียนอดีตเป็นพระมหา มีหน้าที่ไปอุปัฏฐากหลวงปู่ศุขขณะที่อาราธนาท่านมาปลุกเสกพระชัยวัฒน์ และพระปรกใบมะขาม (พ.ศ.2459)ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "เมื่อข้าพเจ้าไปอุปัฏฐากหลวงพ่อแล้ว  มีชาวบ้านชาววัดมาขอให้หลวงพ่อลงกระหม่อมบ้าง ลงตะกรุดพิสมรบ้าง โดยยื่นแผ่น เงิน ทอง นาก ให้ลงคาถา บางคนขอเมตตา บางคนขอการค้าขาย หลวงพ่อให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ลง ข้าพเจ้าถามว่า การค้าขายจะให้ลงว่ากระไร ท่านบอกว่า "นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู "   ข้าพเจ้าจึงบอกว่า "หลวงพ่อครับ ผมไม่มีความขลัง ลงไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร " หลวงพ่อบอกว่า" มันอยู่ที่ผมเสกเป่านะคุณมหา"ข้อนี้ยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะระหว่างนั้นข้าพเจ้าให้หลวงพ่อลงกระหม่อม และท่านเสกเป่าไปที่ศรีษะตั้งหลายครั้ง เมื่อท่านเป่าที่กระหม่อมทีไร ข้าพเจ้าขนลุกชันทั่วทั้งตัวทุกครั้ง ทั้งที่ข้าพเจ้าฝืนใจไม่ให้ขนลุก ก็ ลุกซู่ทุกครั้งที่ท่านเป่า ข้อนี้เป็นมหัศจรรย์ จริงๆ ข้าพเจ้าคิดว่าจะเป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว ไปสอบถามภิกษุอุปัฐาก รูปอื่นๆ ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน ข้อนี้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า "ท่านสำเร็จสมถะภาวนาแน่ๆ"

            อนึ่งท่านเป็นพระที่น่าเคารพนับถือ สำรวมในศีลเป็นอย่างดี  ไม่ใคร่พูดจานั่งสงบอารมณ์ เฉยๆ ไม่ถามอะไร ท่านก็ไม่ตอบไม่พูด บางอย่างข้าพเจ้าถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ตอบเลี่ยงไปทางอื่น เช่น " เขาว่าหลวงพ่อเสกใบไม้เป็นต่อ และเสกผ้าเช็ดหน้าเป็นกระต่ายได้ และแสดงให้กรมหลวงชุมพรฯเห็นจนท่านยอมเป็นศิษย์ " หลวงพ่อตอบข้าพเจ้าว่า ลวงโลก แล้วท่านก็นิ่งไม่ตอบว่า อะไรอีก หลวงพ่อพูดต่อไปว่า "เวลานี้ กรมหลวงชุมพรฯไปต่างประเทศ (เข้าใจว่าไปรับเรือพระร่วง ) ถ้าอยู่ก็ต้องมาหาท่าน และปรนนิบัติ ท่านจนท่านกลับวัด และว่ากรมหลวงชุมพรฯ นี้ ตกทะเลไม่ตาย แม้จะมีสัตว์ร้ายก็ไม่ทำอันตรายได้ "

ท้ายบท

              การที่เราคนรุ่นหลังจักเขียนเรื่องราวและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ศุข ซึ่งท่านมรณะภาพล่วงไปแล้วกว่าครึ่งศตวรรษให้ได้ใกล้เคียงกับความจริงนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ อาศัยหลักฐานทางเอกสารที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง จากการสอบถามบรรดาลูกศิษย์ ลูกหาของท่าน ซึ่งส่วนมากจะล้มหายตายจากกันไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการที่ท่านได้รับรู้จากการเขียน ของ "ท่านมหา" ซึ่งเคยเป็นอุปัฏฐากหลวงปู่ จึงใกล้เคียงความจริงเท่าที่จะหาได้มากที่สุด

(ที่มานำมาจากเวป http://www.chainat.go.th/sub1/trd/page5.htm)

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 31 มี.ค. 2551, 08:43:14 »
อะนิทัสสะนะอัปปะติ
อะนิทัสสะนะอัปปะติคา
อะนิทัสสะนะอัปปะติคาตายะ
 :)