แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - มนต์ตรามหาเวทย์

หน้า: [1]
1
เราก็ศิษย์ตุ๊ลุงเดชเหมือนกัน  ล่าสุดท่านเมตตาเสือเจ็ดป๊อดให้

3
สมัยท่านยังทรงสมณศักดิ์เดิมอยู่เลย หาดูยากครับ
ขอบคุณมากนะครับ

4
เข้มขลังงดงามครับ เป็นกำลังใจให้ทหารไทยด้วยครับ

5
กราบนมัสการพระอาจารย์หนึ่งด้วยครับ
ครั้งที่ผมจากเชียงรายไปสักครั้งแรกที่วัดบางพระ ผมก็ได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์หนึ่งครับ

6
ถ้าสังคมข้างนอกเหมือนสังคมเว็บเรา บ้านเมื่องเราคงจะสงบสุขขึ้นเยอะนะครับ
สิ่งดีๆมักจะเริ่มจากสิ่งเล็กๆเสมอ

9
กราบนมัสการพระอาจารย์ จะน้อมนำไปปฏิบัติครับ

10
คิดเหมือนกันครับ ท่านโยมเพชรติดงานอยู่รึปล่าวนะ นานมากแล้ว

11
ขอบคุณครับ ผมก็เคยบวชเหมือนกัน

12
ไม่มีรูปครับ ลองศึกษาวิธีดู

13
มีไว้บูชาที่บ้านเลยเหรอครับ

16
เหรียญมืดมากครับ เห็นไม่ค่อยชัดเลย

17
โดนใจครับท่านโยมเพชร

18
ร่วมไว้อาลัยด้วยครับ

19
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

21
ผมติดตามกระทู้โยมเพชรมานาน รู้เลยว่าโยมเพชรเข้าถึงจริงๆ

22
ถึงผมไม่ได้เป็นศิษย์วัดบางพระในตอนนี้แต่ในอนาคตผมเป็นแน่
ผมศึกษาเว็บมาประมาณ 1 ปี ผมค่อนข้างรู้ทำเนียมนะครับ
ลองศึกษาดู

23

ผมไปเจอหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ชื่อว่า วิมุตะมิติ มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน ขายตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไปนะครับ
แนะนำขั้นตอน และบอกอย่างละเอียดว่าเราอยู่ขั้นไหนและวิธีปฏิบัติขั้นต่อๆไป อีกทั้งยังมีเรื่องของกสินด้วย
อาจมีประโยชน์สำหรับคุณนะครับ ผมก็ต้องอาศัยพึ่งหนังสือเพราะไม่ได้อยู่ไกล้ผู้ปฏิบัติเลย เริ่มก้าวหน้าขึ้นละครับ

25
ขอบคุณมากครับ

27
ซึ้ง
ให้เครดิตคนเขียนเลยครับ :053:

28
สวยทุกยันต์ครับ
โดยเฉพาะเสือครู สุดยอด :053:

30
มาโพสให้น้องซะหน่อย
หลังเต็มแล้วข้างหน้าก็รีบๆตามมาล่ะ

31
ลงชื่อด้วยครับ มนตรามหาเวทย์
ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

32
เหรียญหลวงปู่ทวดไม่ว่าจะรุ่นไหนๆก็ดูสวยครับ
มีความศักดิ์สิทธิ์

33
พึ่งเคยเห็นยันต์ท้าวเวสสุวรรณครับ
ประทับใจมาก

34
งดงามครับ
รายนามนั้นมีพระอริยะสงฆ์ทุกรูปเลยครับ

35
ดีใจด้วยครับ
ผมก็ศิษย์พ่อเที่ยง

36
 อ่านแล้วรู้สึกดีมากครับ

37
ชอบมากครับ
เกจิทั้งสองท่าน ผมนับถือท่านมาก
ที่มีตอนนี้มีหลวงปู่ฝั้น กับหลวงปู่แหวนแต่ดูแล้วคนละรุ่นกัน
แล้วจะนำมาให้ชมครับ

39
ความสุดยอดไม่ต้องพูดถึง
เสียแต่รูปเล็กไปหน่อยครับ
อยากเห็นใหญ่ๆ ตาไม่ค่อยดี
      ขอบคุณครับ

40
ลองเข้าดูหลายๆกระทู้ในเว็บบางพระนะครับ
แล้วคุณจะรู้ว่าของดี ไม่ได้อยู่ที่ขึ้นหนือว่าไม่ขึ้น
เพื่อนๆในเว็บหลายคนสักทั้งตัวของไม่ขึ้นก็มีครับ
   หากมีความศรัทธาแล้ว เชื่อว่าสิ่งที่คุณต้องการก็สมปราถณาครับ

41

ขอยืมคำพูดในหนังมาหน่อยละกันครับ
"คุณรักเขาจริงรึปล่าว หากรักเขาจริงเราเห็นเขามีความสุข สิ่งนั้นก็คือความสุขของเราด้วยไม่ใช่หรือ"

42
ขอบคุณมากครับ

44
พุฒซ้อนที่ขึ้นชื่อนั่นเองครับ
สวยงาม

45
สนใจ PM มาครับ ทำงานเชียงราย

46
ขอบคุณท่านพี่

47
เจ็บมากมายครับ อาจารย์บอกว่ายังไม่เสร็จ :075: :075:




สักกับหลวงพี่ที่พะเยาครับ

49
8 ปีครับ เหมือนลอกข้อสอบไงงั้น

51
คุ้นๆรอยสักนี้
สำนักเดียวกันเลยนะ

52
ขอบคุณทุกท่านครับ  ต้องยกความดีให้อาจารย์ขุนเดช  กับ อาจารย์เจี๊ยบ สำนักที่แม่จัน เชียงรายครับ

53
ได้แค่หน้าเดียวแหละครับ อาจารย์บอกว่าหน้าเดียวพอ
ไม่มีพื้นที่แล้วครับ
แถมข้างหลังให้ดูแล้วกัน เคยลงให้ดูแล้วครับ


54



เชียงรายครับ  ติชมกันได้

55
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
   ครอบครัวเบิกบาน

56
นมัสการหลวงปู่่  โอวาทมีมานานแล้ว แต่ใช้ได้ทุกๆวัน

57
ธรรมะ / ตอบ: บุรุษจับเหี้ย.......
« เมื่อ: 24 เม.ย. 2553, 06:47:23 »
สั้นๆแต่ลึกซึ้ง

58
ว่างๆจะเอากรุที่บ้านมาลงให้ดู แต่ทางบ้านไม่ดังเหมือนของท่านๆเลยนะครับ

59
เห็นแล้วเกิดความโลภ อยากได้
สวยงามมากครับ

60
 :074: คือความสุดยอดครับ :054: :054: :054:

61
มีโอกาสไปแน่นอนครับ
หวังว่าคงไปเจอเพื่อนๆที่นั่นด้วยเน่อครับ

62
   ตามหัวข้อเลยครับพอดีอยู่เชียงรายอยากได้เหรียญหัวเสือหลวงพ่อเปิ่น มีแนวทางไหนบ้างครับพี่น้อง แนะนำหน่อยครับ

63
บางสำนักจะเรียกหนุมานตัวห้าครับ
ลองหาดูในเน็ต

64
 :016:งามครบสูตร :015:

65
อยากรู้ว่าไปยังไง ครับ

พอดีผมอยู่เชียงรายด้วย

ยันต์ก็สวยด้วยครับ

ทางไปและ ชื่ออาจาร ด้วยนะครับ

ใช่สาย สาริไม้ รึป่าวครับ




ความจริงผมอยากจะพาคุณไปด้วยกันเลยนะครับ บรรยายยาก
ไม่รู้ว่าจะให้ติดต่อยังไง ทิ้งเบอร์กับเมลไว้ไม่ได้ด้วย

66
คนเหนือเขาจะมีวันเสียด้วยนะครับ
แต่ผมดูไม่เป็น
ไว้หาความรู้ของคนเหนือมาให้ครับ

67
เหมาะกับสถาณะการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันนี้จริงๆ ที่มีแต่คนขาดสติ
สาธุ

68
สักที่เชียงราย แม่จันครับ ค่าครูก็ไม่แพง ตอนแรกผมไปสักใหม่ๆ ผมเป็นคนชอบประเภทรูปต่างๆ
อาจารย์แกก็ปรารภกับผมว่า ของจริงมันอยู่ที่อักขระ (ตามความเชื่อของแต่ละคนนะครับ)
ผมเลยทิ้งเรื่องรูปมาเอาอักขระอย่างเดียว
ตอนนี้ข้างหน้าผมได้สังวาล 6 แถวมาแล้ว
อาจารย์  บอกว่าถ้าจะลงรูปก็ให้เป็นรูปอักขระ(ลายเส้นเป็นอักขระ) ให้เลือกว่าชอบอะไร
ส่วนตัวแล้วชอบหนุมานนะครับ ครุฑก็ชอบ เพื่อนๆว่าผมควรลงอะไรดี
เสร็จแล้วจะมาให้ดูนะครับ
มีไรคุยกัน xxxxxx@hotmail.com ครับ
     ส่วนตัวแล้วหากมีโอกาสอยากไปสักที่วัดบางพระมากครับนับถือหลวงพ่อเปิ่นมาก แล้วแต่วาสนา

๑๐. เพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลและเพื่อป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์อันจะเกิดขึ้น ดังนั้นห้าม วางเบอร์โทรศัพท์ วางลิงค์ อีเมล์ ที่อยู่ โดยเด็ดขาด (เพิ่มเติม: ๓๑ ก.ค. ๕๒)

69
สักกับอาจารย์ท่านไหนครับ
อัขระเล็ก เยอะมากครับ
ถ้าจะสักมานานน่าดูครับ   :054: :054: :054: :054:
[/quสักกับอาจารย์ที่อำเภอแม่จันนะครับ ใช้เวลา นานเหมือนกัน
ที่ช้าพอดีอาจารย์แกไปสักที่สิงคโปร์เพิ่งกลับมา
โปรเจคต่อไปแกบอกว่า จะลงอักขระเป็นรูปครุฑที่หน้าอก แล้วจะมาให้ดูนะครับ

71


สักที่เชียงรายครับ หากมีโอกาสได้เข้าไปกรุงเทพอยากฝากตัวเป็นศิษย์วัดบางพระเหลือเกิน
ข้างหน้ายังว่าง

72
ผมอยู่ กศน. ยันต์เต็มหลังเลยครับ ผอ. ชอบใจ

73
คาถาอาคม / เมตตามหานิยมครับ
« เมื่อ: 11 มี.ค. 2553, 03:19:16 »
ก่อนออกจากบ้านนะครับ
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก

นะเมตตา  โมพุทธา  พุทปราณี  ธายินดี ยะเอ็นดู  สารพัดศัตรู  วินาสสันตุ  อิติปิโสภะคะวา 
เห็นหน้าวาจา เอ็นดูด้วยนะโมพุทธายะ

อีกอัน ใช้ท่องแล้วเป่าแป้งแล้วทาก่อนไปเจอคนที่คุณต้องการ

จะ ภะ กะ สะ

ผมทดลองใช้กับผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทำงาน เยี่ยมครับ รักและเอ็นดูกันทั่วหน้า

75
ประวัติ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
      
       หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เดิมชื่อ ญาณ หรือ ยาน รามศิริ เกิดวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2430 วันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ณ บ้านนาโป่งบ้างก็ว่า บ้านหนองบอน ตำบลหนองใน (ปัจจุบันเป็น ตำบลนาโป่ง) อำเภอเมือง จังหวัดเลย ท่านเกิดในตระกูลช่างตีเหล็ก เป็นบุตรคนที่ 2 (คนสุดท้อง) ของ นายใส หรือ สาย กับ นางแก้ว รามศิริ มีพี่สาวร่วมท้องเดียวกัน 1 คน
      
       เมื่อหลวงปู่แหวน อายุประมาณ 5 ขวบ พอจำความได้บ้างว่า ก่อนที่มารดาจะเสียชีวิต ได้เรียกไปสั่งเสียว่า "ลูกเอ๋ย แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ จะเป็นกี่ล้านกี่โกฏก็ตาม แม่ก็ไม่ยินดี และแม่จะยินดีมาก ถ้าลูกจะบวชให้แม่จนตายในผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีเมียนะลูกนะ" หลังจากนั้นมารดาได้ถึงแก่กรรมลง ท่านจึงอยู่ในความดูแลของตากับยายขุนแก้ว
      
       อนึ่ง ยายของหลวงปู่แหวน ได้ฝันว่า เห็นหลานชายไปนั่งไปนอนอยู่ในดงขมิ้นจนเนื้อตัวเหลืองอร่ามน่าชม จึงได้มาร้องขอให้บวชเช่นเดียวกัน ท่านจึงรับปาก แล้วบวชพร้อมกับหลานยายอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และมีศักดิ์เป็นน้า ยายได้นำหลานทั้ง 2 คน ไปถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ที่ วัดโพธิ์ชัย (มหานิกาย) ในหมู่บ้านนาโป่ง เพื่อฝึกหัดขานนาค ทำการบรรพชาเป็นสามเณรต่อไป
      
       ด้วยคำพูดของแม่ในครั้งนั้น เป็นเหมือนพรสวรรค์คอยเตือนสติอยู่ตลอดเวลา มันเป็นคำสั่งที่ก้องอยู่ในความทรงจำมิรู้เลือน จนในที่สุดท่านก็ได้บวชตามความประสงค์ของมารดาและใช้ชีวิตอยู่ในผ้าเหลืองจนตลอดอายุขัย
      
ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
      
       หลวงปู่แหวน ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2439 มีอายุได้ 9 ปี ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่ง ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพระอาจารย์คำมา เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์อ้วน เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เป็นพระพี่เลี้ยง
      
       เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แหวน อยู่จำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัยนั่นเอง พอเข้าพรรษาได้ประมาณ 2 เดือน สามเณรผู้มีศักดิ์เป็นน้าที่บวชพร้อมกันเกิดอาพาธหนักถึงแก่มรณภาพไป ทำให้ท่านสะเทือนใจมาก
      
       เนื่องจาก วัดโพธิ์ชัย ไม่มีการศึกษาเล่าเรียน เพราะขาดครูสอน ท่านจึงอยู่ตามสบาย คือ สวดมนต์ไหว้พระบ้าง เล่นบ้างตามประสาเด็ก ต่อมาได้ถูกส่งไปเรียนมูลกัจจายน์ ที่ วัดสร้างก่อ อำเภอหัวสะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในสมัยนั้น จังหวัดอุบลราชธานีมีสำนักเรียนที่มีชื่อเสียง มีครูอาจารย์สอนกันเป็นหลักเป็นฐานหลายแห่งเช่น สำนักเรียนบ้านไผ่ใหญ่ บ้านเค็งใหญ่ บ้านหนองหลัก บ้านสร้างก่อทั่วอีสาน 15 จังหวัด (ในสมัยนั้น) ใครต้องการศึกษาหาความรู้ ต้องมุ่งหน้าไปเรียนมูลกัจจายน์ ตามสำนักดังกล่าว ผู้เรียนจบหลักสูตรได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์ เพราะเป็นหลักสูตรที่เรียนยาก มีผู้เรียนจบกันน้อยมาก ภายหลัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงมาปรับปรุงเปลียนแปลงหลักสูตรใหม่ดังเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้การเรียนมูลกัจจายน์ถูกลืมเลือน
      
       ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนที่สำนักนี้หลายปี จนอายุครบบวชพระ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกายที่ วัดสร้างก่อนอก อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอาจารย์แว่น เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2451
      
       ในระยะที่เรียนหนังสืออยู่นั้น ท่านเกิดความว้าวุ่นใจเพราะ ท่านอาจารย์อ้อน อาจารย์เอี่ยม ครูผู้สอนหนังสือเกิดอาพาธด้วยโรคนอนไม่หลับ ท่านจึงแนะนำให้ลาสิกขาบทเผื่อโรคอาจจะหายได้ หายแล้วหากยังอาลัยในสมณเพศ เมื่อได้โอกาสก็ให้กลับมาบวชใหม่อีก ท่านอาจารย์ทำตาม ปรากฏว่าโรคหายดี แต่ต่อมาพระผู้เป็นอาจารย์สอนหนังสือ คือ อาจารย์ชม อาจาาย์ชาลี และท่านอื่น ๆ ลาสิกขาไปมีครอบครัวกันหมดสำนักเรียนจึงต้องหยุดชงักลง
      
       ในที่สุด ท่านจึงเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า บรรดาครูอาจารย์เหล่านั้น สึกออกไปล้วนเพราะอำนาจของกามทั้งสิ้น จึงระลึกนึกถึงคำเตือนของแม่และยาย และเกิดความคิดขึ้นมาว่าการออกปฏิบัติเป็นทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้บวชอยู่ได้ตลอดชีวิตเหมือนกับครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ได้ออกไปปฏิบัติอยู่กันตามป่าเขาไม่อาลัยอาวรณ์อยู่กับหมู่คณะจึงได้ตัดสินใจไปหาอาจารย์ที่เมืองสกลนคร
      
       ท่านได้ตั้งสัจจาธิษฐาน ขออุทิศชีวิตพรหมจรรย์แด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หลังจากตั้งจิตอธิษฐานแล้ว ท่านมีความรู้สึกปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ อยู่มา 2-3 วัน โยมอุปัฏฐาก ได้มาบอกว่า พระอาจารย์จวง วัดธาตุเทิง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ไปกราบ ญาคูมั่น พึ่งกลับมา ท่านจึงได้ไปนมัสการพระอาจารย์จวง เพื่อขอทราบที่อยู่ของ หลวงปู่มั่น ด้วยรู้สึกศรัทธาในกิตติศัพท์ความเก่งกล้าสามารถของหลวงปู่มั่นยิ่งนัก
      
       จากนั้น ท่านก็ได้ออกธุดงค์มุ่งสู่สำนักของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยผ่านม่วงสามสิบ คำเขื่อนแก้ว ยโสธร เลิงนกทา มุกดาหาร คำชะอี นาแก สกลนคร พรรณานิคม สว่างแดนดิน หนองหาน อุดรธานี บ้านผือ ซึ่งนับเป็นการเดินทางไกลและยาวนานเป็นครั้งแรกจนได้เข้าพบหลวงปู่มั่น ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ
      
       คำแรกที่หลวงปู่มั่นสั่งสอนก็คือ "ต่อไปนี้ให้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมา ให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน" ซึ่งทำให้ท่านรู้สึกยินดีมากเพราะได้บรรลุสิ่งที่ตั้งใจ
      
       หลังจากอยู่กับหลวงปู่มั่นได้ 4 วัน พี่เขยและน้าเขยก็มาตามให้กลับไปเยี่ยมโยมพ่อที่ไม่ได้พบกันมานาน 10 ปี จึงเข้าไปกราบลาหลวงปู่มั่น และได้รับคำเตือนว่า "ไปแล้วให้รีบกลับมา อย่าอยู่นาน ประเดี๋ยวจะเสียท่าเขา ถูกเขามัดไว้แล้วจะดิ้นไม่หลุด"
      
       ท่านได้กลับไปเยี่ยมบ้านในปี พ.ศ.2461เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชนในแถบบ้านเกิดมาก หลั่งไหลกันมากราบอย่างไม่ขาดสาย จนทำให้พักผ่อนไม่พอและล้มป่วยลงต้องพักรักษาตัวอยู่หนึ่งเดือนเต็ม ด้วยจิตที่ระลึกถึงคำสั่งของพระอาจารย์ว่า "อย่าอยู่นานให้รีบกลับมาภาวนา" กับคำสั่งเสียของแม่ว่า "แม่ยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ แล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง" ทำให้ท่านตัดสินใจรีบเดินทางกลับไปอยู่รับการอบรมภาวนาต่อแล้วจึงได้แยกไปหาที่วิเวกบำเพ็ญสมาธิภาวนาตามความเหมาะสมกับจิตของตน เมื่อถึงวันอุโบสถจึงได้ถือโอกาสเข้านมัสการถามปัญหาข้อข้องใจในการปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นจนเป็นที่เข้าใจแล้ว จึงกลับสู่ที่ปฏิบัติของตนดังเดิม โดยยึดมั่นในคำเตือนของหลวงปู่มั่นว่า "ให้ตั้งใจภาวนา อย่าได้ประมาท ให้มีสติอยู่ทุกเมื่อ จงอย่าเห็นแก่การพักผ่อนหลับนอนให้มาก"
      
       ในระยะแรกออกปฏิบัตินั้น ท่านไม่ได้ร่วมทำสังฆกรรมฟังการสวดปาติโมกข์ เพราะยังไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุต พระมหานิกายที่ได้รับการอบรมจากท่านหลวงปู่มั่นครั้งนั้นมีหลายรูป เมื่ออยู่ไปนาน ๆ ได้เห็นความไม่สะดวกในการประกอบสังฆกรรมดังกล่าว จึงไปกราบขออนุญาตให้ญัตติเป็นธรรมยุต ซึ่งบางรูปก็ได้รับอนุญาต บางรูปก็ไม่ได้รับอนุญาต โดยหลวงปู่มั่นให้เหตุผลว่า "ถ้าพากันมาญัตติเห็นพระธรรมยุตเสียหมดแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะไม่มีใครมาแนะนำในการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว ละในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละ คือ ทางดำเนินไปสู่มรรคผลนีพพาน"
      
       ประมาณ พ .ศ.2464 ท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อพำนักและศึกษาธรรม กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ซึ่งหลวงปู่มั่นยกย่องอยู่เสมอว่าเชี่ยวชาญทั้งทางการเทศน์และการปฏิบัติธรรม
      
       หลังจากที่ท่านได้รับฟังธรรมและเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย พม่า และเชียงตุง จากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ แล้ว ก็ได้จาริกไปพม่า อินเดีย โดยผ่านทาง แม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก ข้ามแม่น้ำเมย ขึ้นฝั่งพม่าต่อไปยังขลุกขลิกมะละแหม่ง ข้ามฟากไปถึงเมาะตะมะ ขึ้นไปพักที่ดอยศรีกุตระ กลับมามะละแหม่ง แล้วโดยสารเรือไปเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย แล้วต่อรถไฟไปเมืองพาราณสี เที่ยวนมัสการปูชนียสถานต่าง ๆ แล้วจึงกลับโดยเส้นทางเดิม ถึงฝั่งไทยที่อำเภอแม่สอด เดินเที่ยวอำเภอสามเงา
      
       ปีต่อมา เดือนตุลาคม ท่านได้จาริกธุดงค์ไปเชียงตุง และ เชียงรุ้ง ในเขตพม่า โดยออกเดินทางไปด่านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผ่านหมู่บ้านชาวเขา พักตามป่าเขา จาริกผ่านเชียงตุง แล้วต่อไปทางเหนือ อันเป็นถิ่นชาวเขา เช่น จีนฮ่อ ซึ่งอยู่ตามเมืองแสนทวี ฝีฝ่า หนองแส บางเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง พอฝนตกชุกจวนเข้าพรรษาก็กลับเข้าเขตไทย นับได้ว่าท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่งในและนอกประเทศส่วนใหญ่จะพำนักอยู่ในเขตจังหวัดอุบลฯ อุดรฯ และตั้งใจจะไปให้ถึงสิบสองปันนาสิบสองจุไท แต่ทหารฝรังเศสห้ามเอาไว้ จึงไปถึง วัดใต้หลวงพระบาง แล้วก็กลับพร้อมกับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
      
       ทางภาคเหนือ ท่านได้มุ่งเดินทางไป ค่ำไหนนอนนั่น จากอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลยออกไป อำเภอด่านซ้าย ผ่านอำเภอน้ำปาด อำเภอนครไทย อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ตัดไปอำเภอนาน้อย แพร่ หมู่บ้านชาวเย้า อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย ลำปาง แล้วต่อไปยังเชียงใหม่ เที่ยวดูภูมิประเทศโดยรอบเขาดอยสุเทพ
      
       ท่านได้รับความเมตตาจาก ท่านเจ้าคุณพระอุปาลีคุณูปมาจารย์ ด้วยดีตลอดมา ประมาณปี พ.ศ.2470 ท่านเจ้าคุณเห็นว่า หลวงปู่แหวน เป็นผู้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติมีวิริยะอุตสาหะปรารภความเพียรสม่ำเสมอไม่ท้อถอย มีข้อวัตรปฏิบัติดี มีอัธยาศัยไมตรีไม่ขึ้นลง คุ้นเคยกันมานาน เห็นสมควรจะได้ญัตติเสีย หลวงปู่แหวน จึงตัดสินในเป็นพระธรรมยุต ที่พัทธสีมา วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ มี พระนพีสิ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ต่อมา หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ซึ่งเคยเป็นสหธรรมิกร่วมธุดงค์กัน ก็ได้ญัตติเป็นธรรายุตเหมือนกัน
      
       ในระหว่างที่จาริกแสวงหาวิเวกอยู่ทางภาคเหนือนั้น ท่านได้พบกับหลวงปู่ขาว อนาลโย และได้แยกย้ายกันจำพรรษาตามป่าเขา ท่านเคยได้แยกเดินทางทุ่งบวกข้าว จนถึงป่าเมี่ยงขุนปั๋ง พอออกพรรษา หลวงปู่มั่น พระอาจารย์พร สุมโน ได้มาสมทบที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง ขณะนั้น พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิร ิมาร่วมสมทบอีก เมื่อทุกท่านได้รับโอวาทจากหลวงปู่มั่นแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันไป หลวงปู่แหวนพร้อมหลวงปู่ขาว พระอาจารย์พร ไปที่ดอนมะโน หรือ ดอยน้ำมัว ส่วนหลวงปู่มั่นอยู่ที่กุฏิชั่วคราวที่ชาวบ้านสร้างถวายที่ป่าเมี่ยบขุนปั๋งนั่นเอง
      
       ภายหลังหลวงปู่มั่น เดินทางกลับอีสานแล้ว หลวงปู่แหวนยังคงจาริกแสวงวิเวกบำเพ็ญธรรมอยู่ป่าเมี่ยงแม่สาย หลวงปู่เล่าว่า อากาศทางภาคเหนือถูกแก่ธาตุขันธ์ดี ฉันอาหารได้มาก ไม่มีอาการอึดอัด ง่วงซึม เวลาภาวนาจิตก็รวมลงสู่ฐานสมาธิได้เร็ว นับว่าเป็นสัปปายะ
      
       ประมาณปี พ.ศ. 2474 ขณะที่หลวงปู่แหวนปฏิบัติธรรมอยู่ที่เชียงใหม่ ได้ทราบข่าวว่า ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ประสบอุบัติเหตุขณะขึ้นธรรมาสน์เพื่อแสดงธรรมถึงขาหักจึงเดินทางจากเชียงใหม่มากรุงเทพฯ และแวะกราบเรียนให้หลวงปู่มั่นทราบที่อุตรดิตถ์ แล้วเดินทางโดยรถไฟถึงโกรกพระ นครสวรรค์ ลงเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาถึงวัดคุ้งสำเภา พักค้างคืนหนึ่ง แล้วลงเรือล่องมาถึงกรุงเทพฯ เฝ้าพยาบาลท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ นานหนึ่งเดือน จึงกราบลาไปจำพรรษาที่เชียงใหม่
      
       ปี พ.ศ.2498 ท่านจำพรรษาที่ วัดบ้านปง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เกิดอาพาธแผลที่ขาอักเสบทรมานมาก ท่านจำพรรษาอยู่รูปเดียว ชาวบ้านไม่เอาใจใส่ได้ ท่านพระอาจารย์หนู สุจิตฺโต วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พาหมอมาจี้ มาทำการผ่าตัดโดยไม่ต้องฉีดยาชา ใช้มีดผ่าตัดเพียงเล่มเดียว ท่านมีความอดทนให้กระทำจนสำเร็จและหายได้ในที่สุด
      
       อีกหลายปีต่อมา พระอาจารย์หนูเห็นว่า หลวงปู่แหวน แก่มากแล้ว ไม่มีผู้อุปัฏฐาก จึงได้ชักชวนญาติโยมไปนิมนต์ให้ ท่านมาจำพรรษาที่ วัดดอยแม่ปั๋ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ในฐานะพระผู้เฒ่าทำหน้าที่ปฏิบัติธรรมอย่างเดียวไม่ต้องเกี่ยงข้องกับภาระหน้าที่อื่นใด และท่านก็ได้ตั้งสัจจะว่า จะไม่รับนิมนต์ ไม่ขึ้นรถ ไม่ลงเรือ แม้ที่สุดจะเกิดอาพาธหนักเพียงใด ก็จะไม่ยอมเข้านอนโรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ แล้วท่านก็ได้ปฏิบัติตามที่ตั้งใจไว้ได้
      
       นับตั้งแต่ท่านขึ้นไปภาคเหนือแล้ว ท่านก็ไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นอีกเลย ท่านเคยอยู่บนดอยสูงกับชาวเขาเกือบทุกเผ่า อยู่ในป่าเขาภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ส่วนภาคเหนือตอนล่าง เช่น แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ท่านเคยจาริกไปครั้งคราว จึงนับได้ว่า วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นสถานที่ซึ่ง หลวงปู่อยู่จำพรรษามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 จวบจนมรณภาพ
      
       หลวงปู่แหวน มีโรคประจำตัวคือ เป็นแผลเรื้อรังที่ก้นกบยาวประมาณ 1 ซม. มีอาการคัน ถ้าอักเสบก็จะเจ็บปวดมาก และอีกโรคหนึ่งคือ เป็นต้อกระจกนัยน์ตาด้านซ้าย เป็นต้อหินนัยน์ตาด้านขวา หมอได้เข้าไปรักษาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2518 ซึ่งรักษาแล้วสุขภาพก็ยังแข็งแรงตามวัย แต่ต่อมาปี 2519 ร่างกายเริ่มซูบผอม อ่อนเพลีย ฉันอาหารได้น้อย ขาทั้ง 2 เป็นตะคริวบ่อย ต่อมา 2520 สุขภาพทรุด ค่อนข้างซูบเหนื่อยอ่อน เวียนศีรษะถึงกับเซล้มลง และประสบอุบัติเหตุขณะครองผ้าจีวรในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นวันที่ทางวัดจัดงานผูกพัทธสีมา ส่งผลให้เจ็บบั้นเอวและกระดูดสันหลัง ลุกไม่ได้ ต้องนอนอยู่กับที่ รักษาอยู่เดือนหนึ่ง ก็หายเป็นปกติ แต่เนื่องจากหลวงปู่อายุมากแล้ว จึงมีอาการอาพาธมาโดยตลอด คณะแพทย์ก็คอยให้การรักษาด้วยดีเช่นกัน จนกระทั่งใน วันอังคารที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ.2528 เวลา 21.53 น. การหายใจครั้งสุดท้ายก็มาถึง หลวงปู่แหวน ท่านได้ละร่างอันเป็นขันธวิบากไปด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ 98 ปี
      
ธรรมโอวาท
      
       หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้แสดงธรรมโอวาทหลายเรื่อง เช่นเรื่อง ของเก่าปกปิดความจริง ที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า การพิจารณาต้องน้อมเข้ามาสู่ภายใน พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มันก็วางเอง
      
       หลวงปู่มั่น ท่านว่า "เหตุก็ของเก่านี้แหละ แต่ไม่รู้ว่าของเก่า" ของเก่านี่แหละมันบังของจริงอยู่นี่ มันจึงไม่รู้ ถ้ารู้ว่าเป็นของเก่า มันก็ไม่ต้องไปคุย มีแต่ของเก่าทั้งนั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ของเก่า เวลามาปฏิบัติภาวนา ก็พิจารณาอันนี้แหละ ให้มันรู้แจ้งเห็นจริง ให้มันรู้แจ้งออกมาจากภายใน มันจึงไปนิพพานได้ นิพพานมันหมักอยู่ในของสกปรกนี่ มันจึงไม่เห็น พลิกของสกปรกออกดูให้เห็นแจ้ง
      
       นักปราชญ์ท่านไม่ละความเพียร เอาอยู่อย่างนั้นแหละ เอาจนรู้จริงรู้แจ้ง ทีนี้มันไม่มาเล่นกับก้อนสกปรกนี้อีก พิจารณาไป พิจารณาเอาให้นิพพานใสอยู่ในภายในนี่ ให้มันอ้อ นี่เอง ถ้ามันไม่อ้อหนา เอาให้มันถึงอ้อ จึงใช้ได้
      
       ครั้นถึงอ้อแล้วสติก็ดี ถ้ามันยังไม่ถึงแล้ว เต็มที่สังขารตัวนี้ พิจารณาให้มันรู้แจ้งเห็นจริงในของสกปรกเหล่านี้แหละ ครั้นรู้แจ้งเข้า รู้แจ้งเข้า มันก็เป็นผู้รู้พระนิพพานเท่านั้น
      
       จำหลักให้แม่น ๆ มันไม่ไปที่ไหนหละ พระนิพพาน ครั้นเห็นนิพพานได้แล้ว มันจึงเบื่อโลก เวลาทำก็เอาอยู่นี่แหละ ใครจะว่าไปที่ไหนก็ตามเขา ละอันนี่แหละทำความเบื่อหน่ายกับอันนี้แหละ ทั้งก้อนนี่แหละ นักปฏิบัติต้องพิจารณาอยู่นี่แหละ ชี้เข้าไปที่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ให้พิจารณากาย พิจารณาใจ ให้เห็นให้เกิดความเบื่อหน่าย
      
       การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทุกทาง หากพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ก็ถอนได้ กามกิเลสนี้แหละ เป็นบ่อเกิดแห่งการฆ่ากันตาย ชิงดีชิงเด่น กิเลสตัวเดียว ทำให้มีการต่อสู้แย่งชิงกัน ทั้งความรักความชัง จะเกิดขึ้นในจิตใจก็เพราะกาม
      
       นักปฏิบัติต้องเอาให้หนักกว่าธรรมดา ทำใจของตนให้แน่วแน่ มันจะไปสงสัยที่ไหน ก็ของเก่าปรุงแต่งขึ้นเป็นความพอใจไม่พอใจ มันเกิดมันดับอยู่นี่ ไม่รู้เท่าทันมัน ถ้ารู้เท่า ทันมัน ก็ดับไป ถ้าจี้มันอยู่อย่างนี้ มันก็ค่อยลดกำลังไป ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน
      
ปัจฉิมบท
      
       หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นพระมหาเถระ ซึ่งได้ดำเนินชีวิตของท่านอยู่ในเพศของบรรพชิตมาตั้งแต่อายุเยาว์วัย เป็นพระนักศึกษาและนักปฏิบัติธรรมมาโดยตลอด เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร ทั้งที่เมื่อยังเป็นพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และ เป็นฝ่ายธรรมยุตแล้ว ดังที่ หลวงปู่มั่น เคยแสดงเหตุผลว่า "มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย"
      
       หลวงปู่แหวน เป็นผู้เปี่ยมด้วยเมตตาบารมีธรรม เป็นปูชนียบุคคล ชาวพุทธให้ความเคารพสักการะอย่างมาก เมตตาบารมีธรรมของท่าน ยังผลให้กุลบุตรกุลธิดาใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรม สืบสร้างความมั่นคงให้แก่พระศาสนา ทำให้เกิดมีการก่อสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น โรงพยาบาล วัด อาคาร ท่านได้อำนวยคุณประโยชน์ต่าง ๆ แก่สังคมสืบมาจนถึงปัจจุบัน ชีวิตร่างกายของท่านได้ดับสลายไป แต่คุณงามความดีของท่านยังตรึงแน่นอยู่ในจิตสำนึกของพุทธศาสนิกชนอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย เพราะท่านเป็นพระผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบในฐานะพุทธชิโนรส เป็นเนื้อนาบุญของผู้ต้องการบุญในโลกนี้

 

76
เสริมประวัติหวัดหลวงปู่ให้นะครับ เพราะท่านถือว่าเป็นอาจารย์ใหญ่ สายวิปัสนา หนึ่งในนั้นลูกศิษยของท่านคือหลวงปู่แหวนที่ผมนับถือด้วย
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดาเต็มความสามารถ

ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก” คำสั่งของยายนี้คอยสกิดใจอยู่เสมอ

ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ท่านทั้งสองก็อนุมัติตามประสงค์ ท่านได้ศึกษา ในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะขนานนามมคธ ให้ว่า ภูทตฺโต เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ พระอาจารย์เสาร์ กันตศีลเถระ ณ วัดเลียบต่อไป

เมื่อแรกอุปสมบท ท่านพำนักอยู่วัดเลียบ เมืองอุบลเป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมืองอุบลบ้าง เป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร แล้อุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรีบยร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทานธุดงควัตร ต่างๆ

ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง หุบเขาซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับ เจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม แล ถ้ำสิงโตห์ ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้ง ในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย ในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสาน ทำการอบรมสั่งสอน สมถวิปัสสน าแก้สหธรรมิก และอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติมากขึ้น โดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลาย กระจายทั่วภาคอีสาน

ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมา จังหวัดอุบลราชธานี พักจำพรรษาอยู่ที่ วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคระาห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองขอบ อำเภอเมืองสกลนคร (ปัจจุบันคือ อำเภอโคกศรีสุพรรณ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอเมืองพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่าน ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป
ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ

๑.ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนให้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒.บิณฑบาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต
๓.เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัย จึงงด
๔.เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลา แม้อาพาธหนักในปัจฉิมสมัย ก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย เมื่อถึงวัยชรา จึงอยู่ในเสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลัง ที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยว แสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ภาเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้

ธรรมโอวาท

คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำ
ด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ดังนี้

๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ
๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง

เมื่อท่านอธิบาย ตจปัญจกกรรมฐาน จบลง มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า “แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภาพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่” ดังนี้

เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ถือลัทธิฉันเจ ให้เข้าใจทางถูก และ ละเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้ว ได่กล่าวเป็นคติขึ้นว่า “เหลือแต่เว้าบ่เห็น บ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทาง สิถืกดงเสือฮ้าย” ดังนี้แล การบำเพ็ญสมาธิ เอาแต่เพียงเป็นบาทของวิปัสสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้ว ส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ให้กำหนดรู้ ถ้าใครกลัวตาย เพราะบทบาททางความเพียร ผู้นั้น จะกลับมาตายอีก หลายภพหลายชาติ ไม่อาจนับได้ ส่วนผู้ใดไม่กลัวตาย ผู้นั้นจะตัดภพชาติให้น้อยลง ถึงกับไม่มีภพชาติเหลืออยู่ และผู้นั้นแล จะเป็นผู้ไม่กลับหลังมาหาทุกข์อีก ธรรมะเรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดแปรปรวนของสังขาร ประกอบด้วยไตรลักษณ์ ปัจฉิมโอวาท ของ พระพุทธเจ้าโดยแท้ๆ ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโดย ยึดหลักธรรมชาติของศีลธรรมทางด้านการปฏิบัติ เพื่อเตือนนักปฏิบัติทั้งหลาย ท่านแสดงเอาแต่ใจความว่า..

การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศล คือ ความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง......

นี้แล คือ ตำสอนทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
การไม่ทำบาป...ถ้าทางกายไม่ทำ แต่ทางวาจาก็ทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำ แต่ทางใจก็ทำ
สั่งสมบาปตลอดวัน จนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากหลับ ก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไป จนถึงขณะหลับอีก เป็นทำนองนี้ โดยมิได้สนใจว่า ตัวทำบาป หรือ สั่งสมบาปเลย แม้กระนั้น ยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศีลธรรม และ คอยแต่เอาความบริสุทธิ์ จากความมีศีลธรรม ที่ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมอง ความวุ่นวายในใจตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะ ตนแสวงหาสิ่งนั้น ก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้น จะให้เจออะไรเล่า เพราะเป็นของที่มีอยู่ ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์

ท่านพระอาจารย์มั่น แสดงโอวาทธรรม ให้ปรากฏไว้ เมื่อครั้งท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดสระประทุม (ปัจจุบัน คือ วัดประทุมวนาราม) กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน อาจค้นคว้าหาอ่านได้ไม่ง่ายนัก มีดังนี้

นมตฺถุ สุคตสฺส ปญฺจธฺนกฺขนฺธานิ

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสุคต บรมศาสดาศากยะมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ และพระ อริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น




77
อยู่เชียงรายอยากจะไปสักกับพ่อหนานอินสมบ้าง ถเมีโอกาส สักที่เชียงรายเต็มหลังแล้ว
อยากสักหน้าให้เต็มเป็นอักขระเมืองบ้าง คนเหนือต้องตัวเมือง

78
ผมคนเชียงคำ มาทำงานที่เชียงราย รู้จักชื่อเสียงท่านมานาน
ขอบคุณที่ช่วยกัยเผยแพร่ครับ

79
สุดยอดครับ ความรู้

80
ประวัติพระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาฌสังวะโร  (เครดิตเวบครูบาบุญชุ่มนะครับให้พี่น้องได้ทราบประวัติท่าน สาธุ)
ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาฌสังวะโร
สถิต ณ สำนักปฏิบัติธรรม บ้านบุญมหาลาภ
อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

นามเดิม   : บุญชุ่ม ทาแกง
ฉายา      : ญาฌสํังวะโร
เกิด        : วันอังคารที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๔
อุปสมบท : เดือนวิสาขะ วันที่ ๑๑ เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วันที่ ๙ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ตรงกับเดือนแปดเหนือขึ

ที่มา  หนังสือ ๓๐ พรรษาในร่มเงาพระพุทฑศาสนา ของพระครุบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร
ชาติภูมิ      : บิดา-มารดา : พ่อคำหล้า แม่แสงหล้า ทาแกง
สถานที่เกิด : หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
พี่น้อง
๑. พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาฌสํังวะโร
๒. พระครูบาวีนัส กตปุญโญ
๓. เด็กหญิงเอื้องฟ้า (เสียชีวิต)
๔. นางอ้อมใจ ปูอุตรี สมรสกับนายประทีบ ปูอุตรี
 
 คุณแม่แสงหล้าได้แต่งงานกับคุณพ่อคำหล้า ก่อนตั้งครรภ์พระครูบาเจ้าฯ คุณแม่แสงหล้านิมิตฝันว่า “ได้ขึ้นภูเขาไปไหว้พระพุทธรูปทองคำองค์ใหญ่เหลืองอร่ามงามมากนัก” แล้วสะดุ้งตื่นอยู่มาไม่นานนัก คุณแม่แสงหล้าเริ่มตั้งครรภ์ พอตั้งครรภ์ได้ครบ ๑๐ เดือน ก็ได้ให้กำเนิดเด็กชายบุญชุ่ม ซึ่งเป็นเด็กหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู จากนั้นก็มีเหตุแยกจากพ่อคำหล้ากลับไปดูแลแม่อุ้ยนางหลวงที่เคยอยู่ด้วยกัน เพราะไม่มีใครดูแล ส่วนพ่อคำหล้าก็กลับไปดูแลแม่หลวงอุ่น จึงเป็นเหตุให้ต้องแยกกันอยู่ เมื่ออายุครบ ๖ เดือน พ่อคำหล้าได้มาเยี่ยม ซื้อเสื้อผ้ามาฝากลูกด้วย แต่กลับไปไม่นาน คุณพ่อก็ได้ล้มป่วยด้วยโรคบิดกระทันหัน ถึงแก่กรรม เมื่ออายุได้ ๒๕ ปี เท่านั้น

        เมื่อพระครูบาฯ อายุได้ ๔ ขวบ แม่อุ้ยนางหลวงและคุณแม่แสงหล้าได้ย้ายจากบ้านด้ายไปอยู่บ้านทาดอนชัย ตำบลป่าสักอำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ และสมรสใหม่กับนายสม ชัยวงศ์คำ มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า เด็กชายวีนัส (แดง) และบุตรหญิง ๒ คน คือเด็กหญิงเอื้องฟ้า ถูกสุนัขกัดตาย เมื่ออายุได้ ๔ ขวบ และเด็กหญิงอ้อมใจ เมื่อแม่อุ้ยนางหลวงได้ถึงแก่กรรมไป ครอบครัวของเด็กชายบุญชุ่ม ยิ่งลำบากมากกว่าเก่า บ้านก็ถูกรื้อขาย แล้วอพยพไปอยู่เชิงดอยม่อนเรียบ ทำกระต๊อบน้อยอยู่กัน ๔-๕ คน แม่ลูก ฝาเรือนก็ไม่มี เวลาฝนตกหลังคาก็รั่ว เอามุ้งขาดเป็นเรือน ผ้าห่มก็มีผืนเดียวเวลาหน้าหนาวก็หนาวเหน็บ ต้องนอนผิงไฟเหมือนสุนัขผ้านุ่งผ้าห่มเสื้อกางเกงก็มีชุดเดียวเวลาไป โรงเรียนก็นุ่งกางเกงขาสั้นไป

        เรื่องอาหารก็ตามมีตามได้ เก็บกินเต้าแตง เผือกมัน ผักผลไม้กิน เพื่อยังชีพไปวันๆ บางทีแม่แสงหล้าก็ไปรับจ้างเกี่ยวข้าวและปลูกหอม กระเทียม ได้ข้าวมาเลี้ยงกัน วันละลิตร สองลิตร ก็เอามาหุงต้มเลี้ยงกัน วันไหนข้าวมีน้อย ก็เอาต้มใส่เผือกใส่มัน บางครั้งก็ได้กินหัวกลอยต่างแทนข้าว บางครั้งได้กินข้าวกับพริกกับเกลือบ้าง บางทีแม่แสงหล้า ไม่สบายไปรับจ้างไม่ได้ พระครูบาเจ้าบุญชุ่มและน้องๆ ก็เที่ยวขอทาน ห่อข้าว ตามหมู่บ้านมาเลี้ยงดูกัน บางวันก็ได้มากบ้างน้อยบ้าง พอประทังชีวิต บางคนก็ด่าว่าตางๆ นานา บางคนก็ดีใจ บางคนก็ทุบต่อยตีไล่หมาใส่ ท่านก็ไม่ถือสาโกรธแค้น ส่วนพ่อเลี้ยงก็ไม่สบายเป็นโรคบวมพองทำงานไม่ได้

        พระครูบา บุญชุ่มบางทีก็ต้องเก็บใบตองไปแลกข้าวบางทีก็หาฟืนไปขาย บางวันก็ไปรับจ้างเก็บถั่วลิสง ได้เงินมา ๑ บาท ๒ บาท ก็เอาไปซื้อข้าว น้ำมันและพริก เกลือมาเลี้ยงครอบครัวถึงแม้ชีวิตท่านจะลำบากเพียงใดก็ไม่เคยเป็นเด็กเกเร ลักเล็กขโมยน้อยเด็ดขาย แม่แสงหล้าจะสอนว่า “ห้ามลักขโมยของคนอื่นมาโดยเด็ดขาด” วันหน้าถ้ามีบุญก็จะสบายได้แล บางวันน้องซนไม่มีใครดูแลพระครูบาเจ้าบุญชุ่มก็ฉีกเอาชายผ้าถุงของแม่ผูกขา น้องๆ ติดกับเสาบ้านเสาเรือนไว้ แล้วก็เที่ยวขอทานมาเลี้ยงแม่เลี้ยงน้อง
เห็นทุกข์ก็เห็นธรรม 
        ชีวิตความเป็นอยู่ของพระครูบาเจ้าฯ ช่างน่าสังเวช ทุกข์ลำบากเหมือนกับว่า ในโลกนี้บ่มีใครเท่าเทียมได้ ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกข์และสุขก็เป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ทนลำบากไม่ใช่ตัวตนของเราบังคับไม่ได้ พิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้ว พึงจะเบื่อหน่ายการเกิด การตาย ทุกข์ในวัฎฎะสงสารพึงสละละวางความยึดมั่น ถือมั่น พึงคลาย ความอาลัยในตัณหาตัวนำมาเกิด พึงละอวิชชา ความไม่รู้นำมาเกิดภพชาติ ชรามรณะทุกข์ เวียนว่าย ตายเกิด หาที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายบ่มิได้พึงสังเวชเบื่อหน่ายโลกาอามิสทั้งปวงพึง มีจิตยินดีในพระนิพพานเป็นอารมณ์ รีบขวนขวายหาทางดับทุกข์ ความเกิดแก่เจ็บตาย จงสร้างแต่กุศลบุญทาน รักษาศีลภาวนา อย่าขาด อย่าประมาทในชีวิตสังขารไม่ยั่งยืน ไม่รู้ว่าเราจะตายวันใด ที่ไหน เวลาใด ใครไม่สามารถกำหนดได้ ขอให้ทุกคน เราท่านทั้งหลายจงทำดีให้หนีวัฎฎะสงสารไม่ต้องกลับมาเกิดอีกเพราะการเกิด บ่อยๆ เป็นทุกข์ดังนี้แล
 
อุปนิสัยฝักใฝ่ในธรรมของพระครูบาเจ้าฯ 
        เนื่องจากคุณแม่ แสงหล้าเป็นคนมีนิสัยใจดีมีเมตตาเผื่อแผ่โอบอ้อมอารีลูกเต้า ญาติมิตรพี่ๆ น้องๆ เป็นผู้รู้จักบุญคุณเสมอชอบทำบุญไปวัดไม่ขาด ถึงแม้ว่าความเป็นอยู่จะลำบากยากจนขนาดไหน พอถึงวันพระแม่จะจัดหาอาหารตามมีตามได้ไปใส่บาตรทุกครั้ง ก่อนที่คุณยายของพระครูบาเจ้าฯ คือยายแม่อุ้ยนางหลวง ยังไม่เสียชีวิต ดังนั้นเมื่อพระครูบาเจ้าฯ อายุได้ ๔-๕ ปี ก็พาไปนอนวัดปฏิบัติธรรมด้วย ยายสอนว่าให้ไหว้พระสวดมนต์ และภาวนาพุทโธฯ ตั้งแต่เล็กได้คลุกคลีอยู่กับวัดตั้งแต่ตัวน้อยๆ เวลาเข้าโรงเรียนฯ ก็ติดกับวัดเวลาว่างก็ชอบเขาไปไหว้พระในวิหาร บางทีก็ภาวนาตามร่มไม้ ทำอยู่อย่างนี้ตลอดเท่าที่ท่านจำความได้ พระครูบาเจ้าฯ ไม่ชอบทานเนื้อสัตว์มาตั้งแต่เกิด ถ้าจำเป็นต้องท่านก็เอาคำข้าวจิ้มแต่น้ำแกง บางทีก็ทานข้าวเปล่าๆ บางทีก็ทานกับน้ำอ้อย บางทีก็ทานข้าวกับกล้วยไปวันๆ คุณแม่แสงหล้ารักเอ็นดูพระครูบาเจ้าฯ เป็นอย่างยิ่งไม่เคยด่าเคยตีด้วยไม้หรือฝ่ามือแม่แต่ครั้งเดียวในชีวิต
        อย่าง ไรก็ตามถึงแม้ว่าชีวิตในวัยเยาว์ของพระครูบาเจ้าฯ จะทุกข์ยากลำบาก แต่ท่านก็เป็นเสมือนเพชรในตม คือจิตใจของท่านที่ได้รับการปลูกฝังคุณงามความดีอยู่เสมอ ทั้งจากคุณยายและจากคุณแม่ จากการคลุกคลีอยู่กับวัด กับพระสงฆ์ จึงทำให้จิตใจของเด็กน้อยรู้สึกผูกพันกับบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ถูกสั่งสอนให้ขยันหมั่นเรียนเขียนอ่าน และสอนให้หมั่นเพียรทำงานทุกอย่าง แม่แสงหล้าจะใช้ไปซื้อของในตลาด บางทีมีเงินบาทเดียวได้ของมาสี่อย่าง ซื้อพริก ๑ สลึง เกลือ ๑ สลึง น้ำมัน ๑ สลึง เมี้ยง ๑ สลึง เป็นต้น เพราะเงินสมัยนั้นมีค่าข้าวสารลิตรละ ๑ บาท ก็พอกินไป ๒ วัน เท่าที่จำได้ตอนโตมาแล้วบางทีโรคลมของคุณแม่กำเริบก็ว่าด่าต่างๆ ด้วยความลืมตัวบ้างเสร็จแล้วพอรู้สึกดีขึ้นคุณแม่จะมาขอขมาลาโทษทุกครั้ง โดยการผูกข้อมือรับขวัญให้ทุกครั้ง
 
การเดินทางของชีวิตฆราวาส 
        เมื่อช่วงวัยเด็ก เคยป่วยด้วยพิษไข้มาลาเรีย เกือบเอาชีวิตไม่รอด เป็นช่วงเดียวกับพ่อเลี้ยงก็ป่วยหนักเช่นกัน ตามความเชื่อของชาวเหนือ ถ้ามีคนป่วยอยู่ร่วมชายคาเดียวกันต้องแยกกันอยู่ ดังนั้นคุณแม่แสงหล้าจึงนำไปฝากไว้กับญาติผู้ใหญ่ คือแม่คำ พ่อคำหล้า ส่วนน้องชาย ด.ช.วีนัสไปอยู่กับคุณป้า น้องสาวไปอยู่กับพ่อก๋อง แม่เพชร ช่วงนั้น ด.ช.บุญชุ่ม ได้พลัดพรากจากญาติพี่น้อง รู้สึกสะเทือนใจร้องไห้ตามประสาเด็กทั่วไป ที่ต้องแยกันอยู่ ด้วยท่านเป็นพี่ชายคนโต เคยดูแลเลี้ยงดูน้องๆแทนแม่เสมอ จึงทำให้รักและผูกพันต่อกันมาก

        แม้การดำเนินชีวิตของท่านได้ รับความลำบากทุกข์ยากต่างๆ แต่กลับทำให้พระครูบาเจ้าฯ มีความเข้มแข็ง อดทน เป็นนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ ดังในช่วงที่ท่านอยู่กับลุงน้อยจันตา มีลูกเลี้ยงของลุงเป็นคนเชื้อสายเขมร รังแก บังคับ ตีต่อย ให้ทำงานหนัก แต่ท่านก็ไม่ถือสาหาความ เพราะท่านผ่านความทุกข์ใหญ่หลวงมามากแล้ว เรื่องแค่นี้ท่านมีความเข้มแข็ง ผ่านพ้นไปได้และมีอยู่วันหนึ่ง หลังจากหยุดพักจากงานและนั่งพักผ่อน ท่านมีนิสัยที่ชอบชุ่มชื่นรื่นเริงจึงขับร้องเล่นซอเมืองเหนืออย่างสบาย อารมณ์ คนงานในบ้านก็โกรธท่านหาว่าเกียจคร้าน เอาก้อนดินใหญ่มาขว้างปาใส่หัวจนเจ็บและมึนงงไปหมด เกือบสลบ แต่ท่านก็ไม่บอกเรื่องที่ถูกคนใช้ทำร้ายให้กับคุณลุง คุณป้า เพราะกลัวคนทำจะเดือดร้อนถูกไล่ออก

        ถึงแม่ว่าท่านต้องทำงาน หนัก แต่ในเรื่องการเรียนหนังสือท่านก็เอาใจใส่ ศึกษาหาความรู้ จนจบประถมศึกษาปีที่ ๔ ด้วยตั้งใจไว้ว่าถ้าหากเรียนจบแล้วจะบรรพชาเป็นสามเณรทันที กระทั่งเมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรอายุ ๑๑ ปี ได้เข้าศึกษานักธรรมสอบได้นักธรรมชั้นตรี ใน พ.ศ. ๒๕๒๖
 
สามเณรน้อยใจสิงห์ 
        เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ได้เข้ามาเป็นเด็กวัด โดยมีพ่อลุงทาเอาไปฝากกับเจ้าอธิการสิน จิรธัมโม วัดบ้านด้ายตอนท่านอายุได้ ๑๑ ปี หลังจากเป็นเด็กวัดได้ 3 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ท่านชอบสงบอยากบวชตั้งแต่อายุ ๔-๕ ปีแล้ว ในสมัยเป็นเด็กนักเรียนชอบนั่งสมาธิภาวนาไม่สุงสิงกับใคร เวลาว่างก็เดินจงกรมที่สนามหญ้าโรงเรียน จนเพื่อนฝูงว่าท่านเป็นบ้า ใครจะว่าอย่างไรไม่สนใจ ท่านถือว่าได้ปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้า

        ใน พ.ศ.๒๕๑๙ ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร ได้บวชเรียนตามปณิธานที่ตั้งไว้ตั้งแต่เยาว์วัย ถึงเวลาท่านก็กำหนดขอขมาลุงและป้าแทนพ่อแม่ แล้วจึงอาบน้ำและนุ่งผ้าขาวในคืนหนึ่ง พอใกล้รุ่งท่านนิมิตเห็นหลวงพ่อปู่องค์หนึ่งแก่ๆ ผมหงอกสักไม้เท้าจากต้นโพธิ์ใหญ่ที่ในวัดเดินเข้ามาห่านแล้วสอนธรรม กัมมัฏฐานให้ภาวนาว่า พุทโธๆและบอกว่าให้หมั่นภาวนาในภายหน้าจะได้เป็นครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่งของ คนทั่วไปและมนุษย์โลกทั้งหลาย แล้วท่านครูบาเฒ่าก็เดินลับหายไป พอสว่างก็ได้ไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีบุญยืน ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูหิรัญเขตคณารักษ์ วัดศรีบุญเรือง อำเภอแม่จัน เจ้าคณะอำเภอเชียงแสนเป็นองค์พระอุปัชฌาย์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๙ ตรงกับเดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วันพฤหัสฯ เวลา ๙.๓๙ น. ได้บวชเสร็จเรียบร้อย มีสามเณรที่บรรพชารวมกันทั้งตำบลสามสิบสองรูป ปัจจุบันเหลือพระครูบาฯเจ้าองค์เดียว

        ครั้นเสร็จพิธีบรรพชา แล้วก็กลับมาวัดบ้านด้ายเข้ากรรมฐานภาวนา ๓ วัน เริ่มเรียนสวดมนต์ภาวนาทำกิจวัตรต่างๆ มีล้างบาตรล้างถ้วยล้างชามทำความสะอาดวัด ดายหญ้า ท่านทำทุกอย่างที่ทำได้ในวัด จำเป็นที่สุดคือ การเจริญภาวนา ท่านนอนองค์เดียว นอนในกุฏิที่เก็บกระดูกผีตายชอบอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ พอบวชเป็นสามเณรไม่นานเกือบ ๑ เดือน คนทั้งหลายก็เล่าลือกันว่ามีสามเณรน้อยต๋นบุญถือกำเนิดที่วัดบ้านด้ายธรรม ประสิทธ์ ศรัทธาสาธุชนทั้งหลายก็พากันมาทำบุญขอให้ทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ให้ สามเณรบุญชุ่มก็บอกว่า “เราบวชเป็นสามเณรใหม่ยังไม่รู้อะไรสักอย่างให้ตั้งจิตอธิษฐานกันเอาเองเถอะ บางคนก็ขอให้เทศน์สั่งสอน เราก็บอกว่ายังไม่รู้อะไรเลยให้หั่นไหว้พระทำบุญให้ทานรักษาศีลห้าข้อให้ดี และภาวนาพุทโธๆไปก็จะได้พ้นทุกข์ “
 
อารมณ์กรรมฐานโดยพิจารณาอัฐิ 
        มีหลวงพ่อธุดงค์องค์หนึ่ง อยู่อำเภอจุน จ.พะเยา ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมามอบให้พระครูบาเจ้าฯ เมื่อท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาแล้ว ได้น้อมจิตพิจารณาว่า กระดูกของสัตว์โลกทั้งหลายนั้น นับตั้งแต่เวียนว่าย ตายเกิด ในวัฏฏสงสารนี้ หากนำมากองรวมกัน คงกองใหญ่เป็นภูเขาทีเดียว หากแยกกันก็กระจัดกระจายอย่างที่เห็น กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกเข่าไปอีกทางหนึ่ง กระดูกข้อเท้าไปทางอื่น กระดูกข้อนิ้วเท้าก็กระจัดกระจายไปทางอื่น กระดูกทุกส่วนแยกออกจากกันไปคนละที่คนละแห่ง แล้วก็ผุพังกลายเป็นดินเป็นจุลไป

        ท่านก็น้อมพิจารณาเข้ามา ในกายแห่งตนว่า “ เอวงฺธมฺโม เอวงฺอนตฺติโต ” ยกกระดูกสามร้อยท่อนเป็นกรรมมัฏฐานให้เห็นชัดแจ้งในสังขารรูปนาม ร่างกายอันเน่าเหม็นนี้ไม่ดีไม่งามเป็นอสุภะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิปัสสนาพิจารณาสรรพสิ่งล้วนเป็นอนิจจังไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตาไม่ใช่ของเขาสักอย่าง เห็นความเกิดความดับของรูปนามสังขารดังนี้แล้วก็ยกจิตขึ้นสู่ยถาภูตญาณทัศนะ เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงทุกอย่าง บังเกิดความเบื่อหน่ายในกองสังขารทุกข์ทั้งหลายอยากจะพ้นไปจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หาทางที่จะหลุดพ้นไปจากสังขารทั้งหลาย แล้ววางเฉยต่อสังขารทั้งหลายไม่ติดข้องยินดีในสังขารทั้งหลาย

        แล้ว มองเห็นอริยะสัจจะธรรมทั้งสี่ให้เห็นแจ้งชัดว่านี้คือทุกข์ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ ความโศกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์ได้ประสบพบสิ่งที่ไม่ได้รักก็เป็นทุกข์ได้ พลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ อยากได้อันใดไม่สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ จึงพึงกำหนดรู้ทุกข์อย่างนี้แล้วให้รู้เหตุที่ให้เกิดทุกข์คือสมุทัยทำให้ เกิดทุกข์ คือ ตัณหา ความอยากได้ทั้งสามคือ กามตัณหาในกามอารมณ์ทั้งหลาย ภาวะตัณหา ตัณหาในภาวะน้อยใหญ่ ความมีความเป็นทั้งหลาย วิภาวะตัณหา ตัณหาในความไม่อยากมีอยากเป็น

        ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากตัณหา ทั้งสามนี้ เมื่อดับตัณหา ความอยากได้ก็ดับทุกข์ทั้งปวง ตัณหาขะยังสัพพะ ทุกขัง ชินาติ ดับตัณหาได้ชนะทุกข์ทั้งปวง แล้วก็มาพิจารณานิโรธ ความดับทุกข์วิราคะไม่ติดข้องด้วยราคะตัณหา ปราศจากไปแล้ว ปฏิสัคโค ความสลัดออกแห่งตัณหาทั้งหลาย นิโรธ ความดับสนิทไม่เหลือ อาจโย มีอาลัยขาดแล้ว วัฏฏะปัจเฉโต ตัดวัฏฏะทั้งสามขาดแล้ว คือกิเลสวัฏฏะ กรรมะวัฏฏะ วิปากวัฏฏะทั้งสามนี้แล นิโรโธติได้ชื่อว่าความดับทุกข์คือพระนิพพานแล้วให้พิจารณาด้วยปัญญาใน วิปัสสนาญาณต่อไป ถึงมรรค คือหนทางอันดับทุกข์ คือมรรคมีองค์แปด คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกับโป ความชอบดำริ ๓.สัมมาวาจา ความพูดวาจาชอบ ๔.สัมมากัมมันโต มีการงานอันชอบ ๕.สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ ๖.สัมมาวายาโมมีความเพียรชอบ ๗.สัมมาสติ มีระลึกชอบ ๘.สัมมาสมาธิ มีความตั้งใจชอบ ดังนี้ได้ชื่อว่ามรรคมีองค์แปดคือเป็นหนทางอันประเสริฐไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า

        ทางนี้เป็นทางให้ถึงซึ่งความดับแห่งกองทุกข์ในวัฏฏะทั้งหลาย เราพึงทำภาวนาให้รู้แจ้งแล้ว น้อมเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ดับความเห็นผิดทั้งหลายอันเป็นปุถุชนอันแน่นหนาไปด้วยกิเลส แล้วน้อมจิตเข้าสู่โลกุตรภูมิแห่งพระอริยะเจ้าทั้งหลาย แล้วมาพิจารณาดูมรรคธรรมที่เราได้บำเพ็ญมาตลอดสืบเนื่องติดต่อกันไม่ขาดสาย รู้ความไม่เที่ยงอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก รู้ความจางคลายความกำหนดยินดีในสัพพนิมิตสังขารทั้งหลาย รู้ความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย ทุกลมหายใจเข้าออก รู้ความสลัดคืนในกองสังขารทั้งหลายหายใจเข้าออก อยู่น้อมจิตเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ตลอดจึงได้ชื่อว่าเจริญมรรคญาณ ต่อไปให้พิจารณาความดับทุกข์ทั้งหลายเป็นนิโรธญาณผละญาณ แล้วก็ถึง ปัจเจกขณาญาณ พิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายเป็นมรรคะสมังคี คือว่าธรรมทั้งหลายมารวมลงกันในที่เดียวคือสติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละธรรมห้า โพชฌงค์เจ็ด อัฐฐังคิกะมรรคะทั้งแปดมาลงรวมกันที่เดียวได้ชื่อว่ามรรคสมังคีแล้วก็น้อม เอา พระนิพพานเป็นอารมณ์ให้แจ้งแล้วให้รู้แจ้งตามสภาวะธรรมที่เป็นจริง

        แล้ว ก็มาพิจารณาดูว่าเราได้รู้แจ้งในธรรมหรือยัง ถ้าไม่รู้แจ้งตราบใดก็ละกิเลสไม่ได้ ถ้าตรัสรู้แจ้งแล้วกิเลสธรรมทั้งหลายก็ละได้เองโดยอัตโนมัติไม่ต้องสงสัยเลย ในมรรคผลนิพพานมีจริงทุกอย่างถ้าเราทำจริงต่อมรรคธรรมเราก็จะถึงความดับ ทุกข์ วันหนึ่งเราก็มาพิจารณาดูว่าเราละกิเลสได้เท่าใด เหลืออยู่เท่าใด ดูพระอริยะบ้างก็พิจารณาบ้าง พิจารณาว่ากิเลสมีเท่าใดตัดขาดเท่าใดสุดแล้วแต่บุญวาสนา ปัญญาของใครของมัน ท่านที่มีปัญญาแก่กล้าจึงจะพิจารณาได้ ถ้าบรรลุมรรคขั้นต้นก็มีการตัดกิเลสสังโยชน์ได้สามคือสักกายทิฏฐิ ความยึดมั่นเห็นผิดในกาย วิจิกิจฉาความลังเลสงสัยในธรรมดับไป สีลัพพัตปรามาสความถือศีลไม่มั่นคงลูบคลำศีลก็ดับไป ถ้าได้ถึงสกิทาคาก็กระทำให้ความโลภราคะ โทษะ โมหะ ส่วนที่หยาบๆดับไปถ้าได้ถึงอริยมรรค ที่สามคือพระอนาคามี คือผู้ไม่กลับมาอีก ก็ตัดกิเลสสังโยชน์ได้อีก สองคือกามราคะ ความยินดีในกามราคะดับอย่างสนิท ปฏิฆะความโกรธแค้นพยาบาท ดับสนิท ตรงกับคติธรรมคำสอนของท่านครูบาศรีวิชัยให้เป็นคติว่า อู้ร้อยคำบ่เท่าผ่อครั้งเดียว
 
ตอบแทนบุญคุณบุพการี 
        มาย้อนถึงคุณแม่แสงหล้าผู้บังเกิด เกล้าตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนั้นไม่ได้ ยินข่าวคราวว่าคุณแม่ไปอยู่ที่ไหนแห่งหนใด ท่านจึงคิดอาลัยหาแม่เป็นอย่างยิ่ง เห็นคนอื่นเขาตอนบวชมีพ่อแม่ครบอบอุ่นใจ ท่านไม่เห็นพ่อและแม่ทำให้ตื้นตันใจน้ำตาตก แต่ก็อดทนเอา ยังเห็นป้าและลุงดูแลเอาใจใส่ เมื่อคราวที่ท่านได้ไปเทศน์ที่เชียงใหม่จึงให้คนไปสืบเสาะถามหาแม่ พอดีเขาไปเจอแม่นั่งขายกล้วยทอดอยู่ที่ตลาดประตูเชียงใหม่

        ได้ ถามดูก็รู้ว่าแม่มาแต่งานใหม่กับคนแก่อายุหกสิบกว่าอยู่หลังวัดฟ้อนสร้อย เป็นหมอยาสมุนไพรชื่อว่าพ่อน้อยใจมา ชัยเผือก เขาก็บอกว่าลูกได้บวชเป็นเณรแล้ว มาเทศน์อยู่ที่วัดลอยเคราะห์แม่ก็ดีใจ ตอนกลางคืนแม่และพ่อเลี้ยงคนใหม่ก็มาหาท่าน ท่านก็ดีใจเป็นที่สุด ปลาบปลื้มใจที่ได้พบคุณแม่ แม่ก็ร้องไห้เหมือนกัน ท่านก็ให้ยา และขนมของเล็กๆน้อยๆ หลังจากเทศน์ที่วัดลอยเคราะห์เสร็จแล้วก็ไม่ได้ไปเยี่ยมแม่ที่บ้าน

        ท่าน ก็กลับมาอยู่ดอยเวียงแก้วสร้างพระธาตุต่อ และในพรรษานั้นแม่ก็ได้ตามมาอยู่ด้วยเป็นช่วงๆ มาทำอาหารถวายพระ ออกพรรษาท่านก็กลับไปเชียงใหม่ หลังจากสร้างพระธาตุเสร็จนาน ไฟป่าก็ลุกลามมาไหม้วัดกุฏิวิหารที่มุงด้วยหญ้าไหม้เกลี้ยงหมด ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่เกาะทะเลสาบเมืองเชียงแสน บ้านห้วยน้ำรากเป็นวัดเก่า ชื่อวัดเกาะป่าหมากหน่อ อยู่ได้ไม่นานก็มีความประสงค์ไปเมืองพงอีก พอไปถึงก็มีคนบอกเล่าว่ามีพระธาตุอยู่บนดอยบนเขา ปรักหักพังเหลือแต่กองอิฐ
 
การสร้างและบูรณะพระธาตุต่างๆ 
        ท่าน จึงไปจำศีลภาวนาแล้วสร้างพระธาตุขึ้น ชื่อว่าพระธาตุงำเมือง ดอยท้าววัง นั่งเรือไปๆมาๆอยู่ที่เมืองพงนี้เหมือนบ้านเกิด คิดว่าในอดีตชาติคงเคยสร้างบารมีในที่นี้ หลังจากได้สร้าง พระธาตุบ้านป่าข่า พระธาตุงำเมืองเสร็จแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าไปเมืองยอง ไปกราบพระธาตุหลวงจอมยอง กลับมาป่วยเป็นไข้มาเลเรียเกือบตาย จากนั้นท่านได้มาเข้าพรรษาที่วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยมีหลวงปู่ครูบาเจ้าธรรมชัยเป็นองค์รักษาไข้ คุณแม่ก็มาเยี่ยมเยียนตลอดโดยให้น้องชายบวชเณรอยู่ด้วย ในพรรษาที่๕ ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดจอมแจ้ง บ้านกาดขี้เหล็ก ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

        โดยมีคุณแม่ย่าคำแปง คุณธนิต นิ่มพันธ์ คุณตุ๊ คุณสมศักดิ์ คุณอุไร และเจ้าพ่อน้อยโสภณ ณ เชียงใหม่ และญาติโยมหลายๆคนเป็นผู้อุปัฏฐากดูแล ในพรรษาโยมแม่ก็มาเยี่ยมถือศีลด้วยบางครั้งบางคราว ท่านไปสร้าง พระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง ต.เมืองพง พม่า และมาสร้างวัดพระเจ้าล้านทอง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ คุณแม่ก็ตามไปเยี่ยมร่วมทำบุญทุกที่ พรรษานี้ท่านอยากมาจำพรรษาที่เมืองพง แม่ย่าคำแปงให้จับฉลาก ๒-๓ ครั้ง ก็จับได้ที่วัดจอมแจ้งที่เดิม ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่วัดจอมแจ้งอีกในปีนี้ ท่านมีความสุขอิ่มเอมในพระธรรม อยู่กุฏิวิเวกองค์เดียว ได้อารมณ์กัมมัฏฐานดีมาก เดินจงกรมก็สบาย มีสมาธิตั้งมั่น

        ใน พรรษาที่๕นี้ ท่านได้เดินทางไปแสวงบุญ ณ ประเทศอินเดีย ได้นำคณะศรัทธา ญาติโยมไปกราบสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมจักร สถานที่ปรินิพพาน และสถานที่สำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธบิดา รู้สึกซาบซึ้งมาก จากนั้นได้ไปจาริกแสวงบุญ ณ ประเทศศรีลังกา มีพระธาตุเขี้ยวแก้วและต้นศรีมหาโพธิ์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนา เป็นอย่างยิ่ง โดยมีโยมสุพิศ แม้นมนตรี เป็นผู้บริจาคเงินค่าเครื่องบินให้ ขออนุโมทนาบุญด้วย ท่านได้กลับมาเมืองพงอีกได้สร้าง พระธาตุดอกคำแก้ว แล้วไปเมืองยองอีกครั้งที่สอง ได้ไปสร้างพระธาตุจอมแจ้งเมืองยอง กลับมาสร้างพระธาตุจอมสวรรค์บ้านโป่งเมืองพงอีก

        ต่อมา เข้าพรรษาที่๗ ที่วัดเมืองหนองลิ่มคำป่าหมาหน่อบนเกาะทะเลสาบ โดยมีพ่อแหนานเสาแม่นางจันทร์ฟองเป็นผู้อุปัฏฐาก ในพรรษาท่านได้ป่วยเป็นไข้ป่าและทางเดินอาหารได้ลาพรรษามารักษาที่ตึกสงฆ์ โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ ออกพรรษาแล้วท่านได้ไปย่างกุ้งมันตะเล ประเทศพม่า ไปกราบพระธาตุชเวดากอง จากนั้นกลับมาเมืองพง ได้มาสร้างวิหารสร้างพระเจ้านอน

        เข้าพรรษาที่ ๘ วัดพระนอน เมืองพง ( ปัจจุบันชื่อวัดจอมศรีดับเพมุงเมือง )ออกพรรษาแล้วได้ทำบุญฉลองวัดวิหารพระเจ้านอนเสร็จแล้วได้รับนิมนต์โดยคุณ แม่ชรัช คุณหญิงกรรนิฐา สายวงศ์ ได้นิมนต์ไปประเทศเนปาล เที่ยวภูเขาหิมาลัยนำพระพุทธรูปไปถวายที่โปรกขลาเนปาล พรรษาที่๙ได้กลับมาจำอยู่ที่วัดนอนเมืองพงอีก ได้ปฏิบัติธรรมมีความสุขที่สุดและได้เดินทางไปๆมาๆที่พระธาตุดอนเรือง ท่านมีความผูกพันกับพระธาตุดอนเรืองที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้มีมานานนับ ตั้งแต่อายุ ๑๒-๑๓ ปีที่ได้เข้ามาทำกุศลสร้างบุญบารมีในเมืองพง เคยเดินเท้าเปล่ามากราบพักถือศีลภาวนาที่นี้ตลอด

        ก่อนจะมา พระธาตุดอนเรือง ซึ่งไม่เคยรู้จักและไม่เคยได้ยินชื่อ แค่ได้นิมิตฝันเห็นเจดีย์น้อยตั้งอยู่บนเขาเตี้ยๆ ใกล้แม่น้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ได้มากราบแล้วมีความสุขที่สุด ฝันว่าเราได้ไปอยู่ที่นั้นไม่นานนักจึงได้มากราบจริงๆ เหมือนในนิมิตทุกอย่าง จนกระทั่งถึงพ.ศ. ๒๕๒๘ ท่านจึงบอกศรัทธาญาติโยมว่าจะสร้างพระวิหารครอบพระธาตุดอนเรือง เมื่อลุถึงวันเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันพุธ เป็นวันวิสาขบูชาได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ สร้างพระวิหาร ท่านยินดีที่สุดในปีนี้ อีกทั้งได้ไปศรีลังกาพร้อมหลวงปู่ครูบาธรรมชัย

        ใน พรรษาที่๙ นี้ ท่านอาพาธเป็นไข้มาเลเรียอีก ได้รักษากินยาและทำสมาธิรักษาด้วยจึงหายดี ออกพรรษาแล้วได้ไปแสวงบุญที่เมืองจีน ปักกิ่ง ได้กราบพระธาตุเขี้ยวแก้ว และพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ในเมืองจีน
 
จาริกธุดงค์ ณ ประเทศเนปาล 
        ในพรรษาที่๑๐ พระครูบาฯ มีความตั้งใจอย่างยิ่งจะไปจำพรรษาที่ประเทศเนปาลเชิงเขาหิมาลัย โยมมณีรัตน์ โยมพี่เม้ง (วินัย) ได้นิมนต์หลวงปู่โง่น โสรโย ไปส่งท่านด้วย ได้ไปอาศัยอยู่ที่วัดอานันทกุฏิวิหารกาฐมาณฑุ โดยคุณธรรมมา อารีราชได้ไปฝากให้ ท่านได้พบหลวงปู่โลกเทพอุดรที่เนปาล โดยพระครูบาฯนับถือหลวงปู่โลกเทพอุดรเป็นอาจารย์ใหญ่ได้พบที่ข้างกำแพง พระราชวังเก่า หนุมานโดก้ากาฐมาณฑุ เป็นวังเก่าของกษัตริย์เนปาล

        เล่า กันว่ามีรางน้ำเป็นหิน และมีอักขระศักดิ์สิทธิ์ที่ใครอ่านจบจะมีน้ำทิพย์ไหลออกมา ขณะที่พระครูบาฯ กำลังอ่านอักขระอยู่นั้นปรากฏว่ามีพระเหมือนโยคีกระโดดออกข้างกำแพงวิ่งมาหา ท่าน มีผ้าโพกหัวเกล้าผม หนวดเครายาวรุงรังวิ่งมาจับมือหลวงปู่ นัยน์ตาใสวาววับดั่งแก้วมรกตจึงขอถ่ายรูปไว้ เอาเงินถวายให้ก็ไม่รับ ลักษณะไม่เหมือนโยคีทั่วไป จากนั้นก็มีหมู่นกพิราบหมู่ใหญ่บินวนเวียนมาตรงหน้าหลวงปู่เทพอุดร ไม่นานนักท่านทั้งสองก็หายไปพร้อมกับหมู่นกพิราบ จะพูดมากไปก็กลัวเกินความจริง อย่าพึ่งเชื่อทีเดียว ให้เชื่อผลบุญกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์สอน

        ทุกคนกลับกันหมด เหลือแต่ท่านองค์เดียวที่ได้พำนักอยู่กับพระชาวเนปาล มีหลวงพ่ออมฤตานันท์ เป็นเจ้าอาวาสวัดอานันทกุฏิวิหาร มีหลวงพ่อมหากุมารกัสปะและหลวงพ่อมหานามะ มีพระพม่าองค์หนึ่งชื่อ อินทสาระ สามเณรอินเดียชื่อ พุทธวังสะ และท่านไมตรี ทานแต่ผลไม้มันอาลู (มันฝรั่ง) แตงกวา และกล้วยหอมเป็นอาหาร ในพรรษานี้ พระครูบาฯ มีความสุขกับธรรมชาติที่สุด ตอนเย็นสวดมนต์ภาวนาเดินจงกรม แล้วก็เข้าห้องนั่งภาวนาสมาธิต่อ บางทีถึงสว่างก็มี สว่างมาแล้วท่านก็มาทำความสะอดาลานเจดีย์กุฏิวิหาร ศาลาหอฉัน ทำความสะอาดองค์เดียว

        ถ้าวันไหนมันอาลูหมดก็ลงไป ซื้อในตลาด บางวันอากาศดีเสร็จภารกิจ ท่านก็ขึ้นไปกราบเจดีย์สวยัมภูองค์ใหญ่ ตั้งบนยอดเขาท่านก็ซื้อถั่วลิสงเลี้ยงลิง บางทีก็เอากล้วย ข้าวสารเลี้ยง ลิงที่นี่ตัวใหญ่หางยาวมีหลายพันตัวไม่กลัวคน ท่านได้พำนักภาวนาที่นี่ได้อารมณ์กรรมฐานดี สมาธิตั้งมั่นจนกระทั่งออกพรรษา โยมหมอกรวยศรีและแม่ออกสุนิสา ดร.อุดม แม่วิภาวรรณและโยมหมอยรรยงค์ แม่หมอภิราก็ได้มาเยี่ยม

จาริกธุดงค์เข้าป่าหิมพานต์
        ด้วย อุปนิสัยของพระครูบาฯ ที่รักธรรมชาติ ชอบอยู่รูปเดียว ปลีกวิเวก เมื่อเสร็จภารกิจต่างๆ ท่านจึงดำริว่า “เราควรออกธุดงค์เข้าสู่ป่าหิมพานต์ตามรอยพระเวสสันดร” ....โปรดติดตามอ่านในครั้งต่อไป
 

81
วัยรุ่นสมัยนี้สักกันเยอะ หากเขาปฏิบัติตามกฏและถือศีลจริง ก็จะทำให้เขาเป็นคนดีได้
แต่ที่เห็นปัจจุบันนี้มีเยอะนะครับที่สักแล้วโชว์ อวดของดี อย่างนี้

82
อาจารย์ขุนเดช สำนักท่านอยู่แถวบ้านแม่คีในอำเภอแม่จัน ผมไปสักกับท่านมาเกือนเต็มหลังแล้วครับ ค่าครูไม่แพงด้วย พุทธคุณเพียบ

หน้า: [1]