ผู้เขียน หัวข้อ: ครูบาบุญชุ่ม ญาฌสังวะโร  (อ่าน 10548 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มนต์ตรามหาเวทย์

  • มารไม่มี บารมีไม่เกิด
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 85
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ครูบาบุญชุ่ม ญาฌสังวะโร
« เมื่อ: 31 ม.ค. 2553, 05:43:09 »
ประวัติพระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาฌสังวะโร  (เครดิตเวบครูบาบุญชุ่มนะครับให้พี่น้องได้ทราบประวัติท่าน สาธุ)
ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาฌสังวะโร
สถิต ณ สำนักปฏิบัติธรรม บ้านบุญมหาลาภ
อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

นามเดิม   : บุญชุ่ม ทาแกง
ฉายา      : ญาฌสํังวะโร
เกิด        : วันอังคารที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๔
อุปสมบท : เดือนวิสาขะ วันที่ ๑๑ เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วันที่ ๙ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ตรงกับเดือนแปดเหนือขึ

ที่มา  หนังสือ ๓๐ พรรษาในร่มเงาพระพุทฑศาสนา ของพระครุบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร
ชาติภูมิ      : บิดา-มารดา : พ่อคำหล้า แม่แสงหล้า ทาแกง
สถานที่เกิด : หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
พี่น้อง
๑. พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาฌสํังวะโร
๒. พระครูบาวีนัส กตปุญโญ
๓. เด็กหญิงเอื้องฟ้า (เสียชีวิต)
๔. นางอ้อมใจ ปูอุตรี สมรสกับนายประทีบ ปูอุตรี
 
 คุณแม่แสงหล้าได้แต่งงานกับคุณพ่อคำหล้า ก่อนตั้งครรภ์พระครูบาเจ้าฯ คุณแม่แสงหล้านิมิตฝันว่า “ได้ขึ้นภูเขาไปไหว้พระพุทธรูปทองคำองค์ใหญ่เหลืองอร่ามงามมากนัก” แล้วสะดุ้งตื่นอยู่มาไม่นานนัก คุณแม่แสงหล้าเริ่มตั้งครรภ์ พอตั้งครรภ์ได้ครบ ๑๐ เดือน ก็ได้ให้กำเนิดเด็กชายบุญชุ่ม ซึ่งเป็นเด็กหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู จากนั้นก็มีเหตุแยกจากพ่อคำหล้ากลับไปดูแลแม่อุ้ยนางหลวงที่เคยอยู่ด้วยกัน เพราะไม่มีใครดูแล ส่วนพ่อคำหล้าก็กลับไปดูแลแม่หลวงอุ่น จึงเป็นเหตุให้ต้องแยกกันอยู่ เมื่ออายุครบ ๖ เดือน พ่อคำหล้าได้มาเยี่ยม ซื้อเสื้อผ้ามาฝากลูกด้วย แต่กลับไปไม่นาน คุณพ่อก็ได้ล้มป่วยด้วยโรคบิดกระทันหัน ถึงแก่กรรม เมื่ออายุได้ ๒๕ ปี เท่านั้น

        เมื่อพระครูบาฯ อายุได้ ๔ ขวบ แม่อุ้ยนางหลวงและคุณแม่แสงหล้าได้ย้ายจากบ้านด้ายไปอยู่บ้านทาดอนชัย ตำบลป่าสักอำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ และสมรสใหม่กับนายสม ชัยวงศ์คำ มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า เด็กชายวีนัส (แดง) และบุตรหญิง ๒ คน คือเด็กหญิงเอื้องฟ้า ถูกสุนัขกัดตาย เมื่ออายุได้ ๔ ขวบ และเด็กหญิงอ้อมใจ เมื่อแม่อุ้ยนางหลวงได้ถึงแก่กรรมไป ครอบครัวของเด็กชายบุญชุ่ม ยิ่งลำบากมากกว่าเก่า บ้านก็ถูกรื้อขาย แล้วอพยพไปอยู่เชิงดอยม่อนเรียบ ทำกระต๊อบน้อยอยู่กัน ๔-๕ คน แม่ลูก ฝาเรือนก็ไม่มี เวลาฝนตกหลังคาก็รั่ว เอามุ้งขาดเป็นเรือน ผ้าห่มก็มีผืนเดียวเวลาหน้าหนาวก็หนาวเหน็บ ต้องนอนผิงไฟเหมือนสุนัขผ้านุ่งผ้าห่มเสื้อกางเกงก็มีชุดเดียวเวลาไป โรงเรียนก็นุ่งกางเกงขาสั้นไป

        เรื่องอาหารก็ตามมีตามได้ เก็บกินเต้าแตง เผือกมัน ผักผลไม้กิน เพื่อยังชีพไปวันๆ บางทีแม่แสงหล้าก็ไปรับจ้างเกี่ยวข้าวและปลูกหอม กระเทียม ได้ข้าวมาเลี้ยงกัน วันละลิตร สองลิตร ก็เอามาหุงต้มเลี้ยงกัน วันไหนข้าวมีน้อย ก็เอาต้มใส่เผือกใส่มัน บางครั้งก็ได้กินหัวกลอยต่างแทนข้าว บางครั้งได้กินข้าวกับพริกกับเกลือบ้าง บางทีแม่แสงหล้า ไม่สบายไปรับจ้างไม่ได้ พระครูบาเจ้าบุญชุ่มและน้องๆ ก็เที่ยวขอทาน ห่อข้าว ตามหมู่บ้านมาเลี้ยงดูกัน บางวันก็ได้มากบ้างน้อยบ้าง พอประทังชีวิต บางคนก็ด่าว่าตางๆ นานา บางคนก็ดีใจ บางคนก็ทุบต่อยตีไล่หมาใส่ ท่านก็ไม่ถือสาโกรธแค้น ส่วนพ่อเลี้ยงก็ไม่สบายเป็นโรคบวมพองทำงานไม่ได้

        พระครูบา บุญชุ่มบางทีก็ต้องเก็บใบตองไปแลกข้าวบางทีก็หาฟืนไปขาย บางวันก็ไปรับจ้างเก็บถั่วลิสง ได้เงินมา ๑ บาท ๒ บาท ก็เอาไปซื้อข้าว น้ำมันและพริก เกลือมาเลี้ยงครอบครัวถึงแม้ชีวิตท่านจะลำบากเพียงใดก็ไม่เคยเป็นเด็กเกเร ลักเล็กขโมยน้อยเด็ดขาย แม่แสงหล้าจะสอนว่า “ห้ามลักขโมยของคนอื่นมาโดยเด็ดขาด” วันหน้าถ้ามีบุญก็จะสบายได้แล บางวันน้องซนไม่มีใครดูแลพระครูบาเจ้าบุญชุ่มก็ฉีกเอาชายผ้าถุงของแม่ผูกขา น้องๆ ติดกับเสาบ้านเสาเรือนไว้ แล้วก็เที่ยวขอทานมาเลี้ยงแม่เลี้ยงน้อง
เห็นทุกข์ก็เห็นธรรม 
        ชีวิตความเป็นอยู่ของพระครูบาเจ้าฯ ช่างน่าสังเวช ทุกข์ลำบากเหมือนกับว่า ในโลกนี้บ่มีใครเท่าเทียมได้ ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกข์และสุขก็เป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ทนลำบากไม่ใช่ตัวตนของเราบังคับไม่ได้ พิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้ว พึงจะเบื่อหน่ายการเกิด การตาย ทุกข์ในวัฎฎะสงสารพึงสละละวางความยึดมั่น ถือมั่น พึงคลาย ความอาลัยในตัณหาตัวนำมาเกิด พึงละอวิชชา ความไม่รู้นำมาเกิดภพชาติ ชรามรณะทุกข์ เวียนว่าย ตายเกิด หาที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายบ่มิได้พึงสังเวชเบื่อหน่ายโลกาอามิสทั้งปวงพึง มีจิตยินดีในพระนิพพานเป็นอารมณ์ รีบขวนขวายหาทางดับทุกข์ ความเกิดแก่เจ็บตาย จงสร้างแต่กุศลบุญทาน รักษาศีลภาวนา อย่าขาด อย่าประมาทในชีวิตสังขารไม่ยั่งยืน ไม่รู้ว่าเราจะตายวันใด ที่ไหน เวลาใด ใครไม่สามารถกำหนดได้ ขอให้ทุกคน เราท่านทั้งหลายจงทำดีให้หนีวัฎฎะสงสารไม่ต้องกลับมาเกิดอีกเพราะการเกิด บ่อยๆ เป็นทุกข์ดังนี้แล
 
อุปนิสัยฝักใฝ่ในธรรมของพระครูบาเจ้าฯ 
        เนื่องจากคุณแม่ แสงหล้าเป็นคนมีนิสัยใจดีมีเมตตาเผื่อแผ่โอบอ้อมอารีลูกเต้า ญาติมิตรพี่ๆ น้องๆ เป็นผู้รู้จักบุญคุณเสมอชอบทำบุญไปวัดไม่ขาด ถึงแม้ว่าความเป็นอยู่จะลำบากยากจนขนาดไหน พอถึงวันพระแม่จะจัดหาอาหารตามมีตามได้ไปใส่บาตรทุกครั้ง ก่อนที่คุณยายของพระครูบาเจ้าฯ คือยายแม่อุ้ยนางหลวง ยังไม่เสียชีวิต ดังนั้นเมื่อพระครูบาเจ้าฯ อายุได้ ๔-๕ ปี ก็พาไปนอนวัดปฏิบัติธรรมด้วย ยายสอนว่าให้ไหว้พระสวดมนต์ และภาวนาพุทโธฯ ตั้งแต่เล็กได้คลุกคลีอยู่กับวัดตั้งแต่ตัวน้อยๆ เวลาเข้าโรงเรียนฯ ก็ติดกับวัดเวลาว่างก็ชอบเขาไปไหว้พระในวิหาร บางทีก็ภาวนาตามร่มไม้ ทำอยู่อย่างนี้ตลอดเท่าที่ท่านจำความได้ พระครูบาเจ้าฯ ไม่ชอบทานเนื้อสัตว์มาตั้งแต่เกิด ถ้าจำเป็นต้องท่านก็เอาคำข้าวจิ้มแต่น้ำแกง บางทีก็ทานข้าวเปล่าๆ บางทีก็ทานกับน้ำอ้อย บางทีก็ทานข้าวกับกล้วยไปวันๆ คุณแม่แสงหล้ารักเอ็นดูพระครูบาเจ้าฯ เป็นอย่างยิ่งไม่เคยด่าเคยตีด้วยไม้หรือฝ่ามือแม่แต่ครั้งเดียวในชีวิต
        อย่าง ไรก็ตามถึงแม้ว่าชีวิตในวัยเยาว์ของพระครูบาเจ้าฯ จะทุกข์ยากลำบาก แต่ท่านก็เป็นเสมือนเพชรในตม คือจิตใจของท่านที่ได้รับการปลูกฝังคุณงามความดีอยู่เสมอ ทั้งจากคุณยายและจากคุณแม่ จากการคลุกคลีอยู่กับวัด กับพระสงฆ์ จึงทำให้จิตใจของเด็กน้อยรู้สึกผูกพันกับบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ถูกสั่งสอนให้ขยันหมั่นเรียนเขียนอ่าน และสอนให้หมั่นเพียรทำงานทุกอย่าง แม่แสงหล้าจะใช้ไปซื้อของในตลาด บางทีมีเงินบาทเดียวได้ของมาสี่อย่าง ซื้อพริก ๑ สลึง เกลือ ๑ สลึง น้ำมัน ๑ สลึง เมี้ยง ๑ สลึง เป็นต้น เพราะเงินสมัยนั้นมีค่าข้าวสารลิตรละ ๑ บาท ก็พอกินไป ๒ วัน เท่าที่จำได้ตอนโตมาแล้วบางทีโรคลมของคุณแม่กำเริบก็ว่าด่าต่างๆ ด้วยความลืมตัวบ้างเสร็จแล้วพอรู้สึกดีขึ้นคุณแม่จะมาขอขมาลาโทษทุกครั้ง โดยการผูกข้อมือรับขวัญให้ทุกครั้ง
 
การเดินทางของชีวิตฆราวาส 
        เมื่อช่วงวัยเด็ก เคยป่วยด้วยพิษไข้มาลาเรีย เกือบเอาชีวิตไม่รอด เป็นช่วงเดียวกับพ่อเลี้ยงก็ป่วยหนักเช่นกัน ตามความเชื่อของชาวเหนือ ถ้ามีคนป่วยอยู่ร่วมชายคาเดียวกันต้องแยกกันอยู่ ดังนั้นคุณแม่แสงหล้าจึงนำไปฝากไว้กับญาติผู้ใหญ่ คือแม่คำ พ่อคำหล้า ส่วนน้องชาย ด.ช.วีนัสไปอยู่กับคุณป้า น้องสาวไปอยู่กับพ่อก๋อง แม่เพชร ช่วงนั้น ด.ช.บุญชุ่ม ได้พลัดพรากจากญาติพี่น้อง รู้สึกสะเทือนใจร้องไห้ตามประสาเด็กทั่วไป ที่ต้องแยกันอยู่ ด้วยท่านเป็นพี่ชายคนโต เคยดูแลเลี้ยงดูน้องๆแทนแม่เสมอ จึงทำให้รักและผูกพันต่อกันมาก

        แม้การดำเนินชีวิตของท่านได้ รับความลำบากทุกข์ยากต่างๆ แต่กลับทำให้พระครูบาเจ้าฯ มีความเข้มแข็ง อดทน เป็นนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ ดังในช่วงที่ท่านอยู่กับลุงน้อยจันตา มีลูกเลี้ยงของลุงเป็นคนเชื้อสายเขมร รังแก บังคับ ตีต่อย ให้ทำงานหนัก แต่ท่านก็ไม่ถือสาหาความ เพราะท่านผ่านความทุกข์ใหญ่หลวงมามากแล้ว เรื่องแค่นี้ท่านมีความเข้มแข็ง ผ่านพ้นไปได้และมีอยู่วันหนึ่ง หลังจากหยุดพักจากงานและนั่งพักผ่อน ท่านมีนิสัยที่ชอบชุ่มชื่นรื่นเริงจึงขับร้องเล่นซอเมืองเหนืออย่างสบาย อารมณ์ คนงานในบ้านก็โกรธท่านหาว่าเกียจคร้าน เอาก้อนดินใหญ่มาขว้างปาใส่หัวจนเจ็บและมึนงงไปหมด เกือบสลบ แต่ท่านก็ไม่บอกเรื่องที่ถูกคนใช้ทำร้ายให้กับคุณลุง คุณป้า เพราะกลัวคนทำจะเดือดร้อนถูกไล่ออก

        ถึงแม่ว่าท่านต้องทำงาน หนัก แต่ในเรื่องการเรียนหนังสือท่านก็เอาใจใส่ ศึกษาหาความรู้ จนจบประถมศึกษาปีที่ ๔ ด้วยตั้งใจไว้ว่าถ้าหากเรียนจบแล้วจะบรรพชาเป็นสามเณรทันที กระทั่งเมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรอายุ ๑๑ ปี ได้เข้าศึกษานักธรรมสอบได้นักธรรมชั้นตรี ใน พ.ศ. ๒๕๒๖
 
สามเณรน้อยใจสิงห์ 
        เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ได้เข้ามาเป็นเด็กวัด โดยมีพ่อลุงทาเอาไปฝากกับเจ้าอธิการสิน จิรธัมโม วัดบ้านด้ายตอนท่านอายุได้ ๑๑ ปี หลังจากเป็นเด็กวัดได้ 3 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ท่านชอบสงบอยากบวชตั้งแต่อายุ ๔-๕ ปีแล้ว ในสมัยเป็นเด็กนักเรียนชอบนั่งสมาธิภาวนาไม่สุงสิงกับใคร เวลาว่างก็เดินจงกรมที่สนามหญ้าโรงเรียน จนเพื่อนฝูงว่าท่านเป็นบ้า ใครจะว่าอย่างไรไม่สนใจ ท่านถือว่าได้ปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้า

        ใน พ.ศ.๒๕๑๙ ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร ได้บวชเรียนตามปณิธานที่ตั้งไว้ตั้งแต่เยาว์วัย ถึงเวลาท่านก็กำหนดขอขมาลุงและป้าแทนพ่อแม่ แล้วจึงอาบน้ำและนุ่งผ้าขาวในคืนหนึ่ง พอใกล้รุ่งท่านนิมิตเห็นหลวงพ่อปู่องค์หนึ่งแก่ๆ ผมหงอกสักไม้เท้าจากต้นโพธิ์ใหญ่ที่ในวัดเดินเข้ามาห่านแล้วสอนธรรม กัมมัฏฐานให้ภาวนาว่า พุทโธๆและบอกว่าให้หมั่นภาวนาในภายหน้าจะได้เป็นครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่งของ คนทั่วไปและมนุษย์โลกทั้งหลาย แล้วท่านครูบาเฒ่าก็เดินลับหายไป พอสว่างก็ได้ไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีบุญยืน ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูหิรัญเขตคณารักษ์ วัดศรีบุญเรือง อำเภอแม่จัน เจ้าคณะอำเภอเชียงแสนเป็นองค์พระอุปัชฌาย์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๙ ตรงกับเดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วันพฤหัสฯ เวลา ๙.๓๙ น. ได้บวชเสร็จเรียบร้อย มีสามเณรที่บรรพชารวมกันทั้งตำบลสามสิบสองรูป ปัจจุบันเหลือพระครูบาฯเจ้าองค์เดียว

        ครั้นเสร็จพิธีบรรพชา แล้วก็กลับมาวัดบ้านด้ายเข้ากรรมฐานภาวนา ๓ วัน เริ่มเรียนสวดมนต์ภาวนาทำกิจวัตรต่างๆ มีล้างบาตรล้างถ้วยล้างชามทำความสะอาดวัด ดายหญ้า ท่านทำทุกอย่างที่ทำได้ในวัด จำเป็นที่สุดคือ การเจริญภาวนา ท่านนอนองค์เดียว นอนในกุฏิที่เก็บกระดูกผีตายชอบอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ พอบวชเป็นสามเณรไม่นานเกือบ ๑ เดือน คนทั้งหลายก็เล่าลือกันว่ามีสามเณรน้อยต๋นบุญถือกำเนิดที่วัดบ้านด้ายธรรม ประสิทธ์ ศรัทธาสาธุชนทั้งหลายก็พากันมาทำบุญขอให้ทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ให้ สามเณรบุญชุ่มก็บอกว่า “เราบวชเป็นสามเณรใหม่ยังไม่รู้อะไรสักอย่างให้ตั้งจิตอธิษฐานกันเอาเองเถอะ บางคนก็ขอให้เทศน์สั่งสอน เราก็บอกว่ายังไม่รู้อะไรเลยให้หั่นไหว้พระทำบุญให้ทานรักษาศีลห้าข้อให้ดี และภาวนาพุทโธๆไปก็จะได้พ้นทุกข์ “
 
อารมณ์กรรมฐานโดยพิจารณาอัฐิ 
        มีหลวงพ่อธุดงค์องค์หนึ่ง อยู่อำเภอจุน จ.พะเยา ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมามอบให้พระครูบาเจ้าฯ เมื่อท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาแล้ว ได้น้อมจิตพิจารณาว่า กระดูกของสัตว์โลกทั้งหลายนั้น นับตั้งแต่เวียนว่าย ตายเกิด ในวัฏฏสงสารนี้ หากนำมากองรวมกัน คงกองใหญ่เป็นภูเขาทีเดียว หากแยกกันก็กระจัดกระจายอย่างที่เห็น กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกเข่าไปอีกทางหนึ่ง กระดูกข้อเท้าไปทางอื่น กระดูกข้อนิ้วเท้าก็กระจัดกระจายไปทางอื่น กระดูกทุกส่วนแยกออกจากกันไปคนละที่คนละแห่ง แล้วก็ผุพังกลายเป็นดินเป็นจุลไป

        ท่านก็น้อมพิจารณาเข้ามา ในกายแห่งตนว่า “ เอวงฺธมฺโม เอวงฺอนตฺติโต ” ยกกระดูกสามร้อยท่อนเป็นกรรมมัฏฐานให้เห็นชัดแจ้งในสังขารรูปนาม ร่างกายอันเน่าเหม็นนี้ไม่ดีไม่งามเป็นอสุภะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิปัสสนาพิจารณาสรรพสิ่งล้วนเป็นอนิจจังไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตาไม่ใช่ของเขาสักอย่าง เห็นความเกิดความดับของรูปนามสังขารดังนี้แล้วก็ยกจิตขึ้นสู่ยถาภูตญาณทัศนะ เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงทุกอย่าง บังเกิดความเบื่อหน่ายในกองสังขารทุกข์ทั้งหลายอยากจะพ้นไปจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หาทางที่จะหลุดพ้นไปจากสังขารทั้งหลาย แล้ววางเฉยต่อสังขารทั้งหลายไม่ติดข้องยินดีในสังขารทั้งหลาย

        แล้ว มองเห็นอริยะสัจจะธรรมทั้งสี่ให้เห็นแจ้งชัดว่านี้คือทุกข์ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ ความโศกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์ได้ประสบพบสิ่งที่ไม่ได้รักก็เป็นทุกข์ได้ พลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ อยากได้อันใดไม่สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ จึงพึงกำหนดรู้ทุกข์อย่างนี้แล้วให้รู้เหตุที่ให้เกิดทุกข์คือสมุทัยทำให้ เกิดทุกข์ คือ ตัณหา ความอยากได้ทั้งสามคือ กามตัณหาในกามอารมณ์ทั้งหลาย ภาวะตัณหา ตัณหาในภาวะน้อยใหญ่ ความมีความเป็นทั้งหลาย วิภาวะตัณหา ตัณหาในความไม่อยากมีอยากเป็น

        ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากตัณหา ทั้งสามนี้ เมื่อดับตัณหา ความอยากได้ก็ดับทุกข์ทั้งปวง ตัณหาขะยังสัพพะ ทุกขัง ชินาติ ดับตัณหาได้ชนะทุกข์ทั้งปวง แล้วก็มาพิจารณานิโรธ ความดับทุกข์วิราคะไม่ติดข้องด้วยราคะตัณหา ปราศจากไปแล้ว ปฏิสัคโค ความสลัดออกแห่งตัณหาทั้งหลาย นิโรธ ความดับสนิทไม่เหลือ อาจโย มีอาลัยขาดแล้ว วัฏฏะปัจเฉโต ตัดวัฏฏะทั้งสามขาดแล้ว คือกิเลสวัฏฏะ กรรมะวัฏฏะ วิปากวัฏฏะทั้งสามนี้แล นิโรโธติได้ชื่อว่าความดับทุกข์คือพระนิพพานแล้วให้พิจารณาด้วยปัญญาใน วิปัสสนาญาณต่อไป ถึงมรรค คือหนทางอันดับทุกข์ คือมรรคมีองค์แปด คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกับโป ความชอบดำริ ๓.สัมมาวาจา ความพูดวาจาชอบ ๔.สัมมากัมมันโต มีการงานอันชอบ ๕.สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ ๖.สัมมาวายาโมมีความเพียรชอบ ๗.สัมมาสติ มีระลึกชอบ ๘.สัมมาสมาธิ มีความตั้งใจชอบ ดังนี้ได้ชื่อว่ามรรคมีองค์แปดคือเป็นหนทางอันประเสริฐไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า

        ทางนี้เป็นทางให้ถึงซึ่งความดับแห่งกองทุกข์ในวัฏฏะทั้งหลาย เราพึงทำภาวนาให้รู้แจ้งแล้ว น้อมเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ดับความเห็นผิดทั้งหลายอันเป็นปุถุชนอันแน่นหนาไปด้วยกิเลส แล้วน้อมจิตเข้าสู่โลกุตรภูมิแห่งพระอริยะเจ้าทั้งหลาย แล้วมาพิจารณาดูมรรคธรรมที่เราได้บำเพ็ญมาตลอดสืบเนื่องติดต่อกันไม่ขาดสาย รู้ความไม่เที่ยงอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก รู้ความจางคลายความกำหนดยินดีในสัพพนิมิตสังขารทั้งหลาย รู้ความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย ทุกลมหายใจเข้าออก รู้ความสลัดคืนในกองสังขารทั้งหลายหายใจเข้าออก อยู่น้อมจิตเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ตลอดจึงได้ชื่อว่าเจริญมรรคญาณ ต่อไปให้พิจารณาความดับทุกข์ทั้งหลายเป็นนิโรธญาณผละญาณ แล้วก็ถึง ปัจเจกขณาญาณ พิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายเป็นมรรคะสมังคี คือว่าธรรมทั้งหลายมารวมลงกันในที่เดียวคือสติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละธรรมห้า โพชฌงค์เจ็ด อัฐฐังคิกะมรรคะทั้งแปดมาลงรวมกันที่เดียวได้ชื่อว่ามรรคสมังคีแล้วก็น้อม เอา พระนิพพานเป็นอารมณ์ให้แจ้งแล้วให้รู้แจ้งตามสภาวะธรรมที่เป็นจริง

        แล้ว ก็มาพิจารณาดูว่าเราได้รู้แจ้งในธรรมหรือยัง ถ้าไม่รู้แจ้งตราบใดก็ละกิเลสไม่ได้ ถ้าตรัสรู้แจ้งแล้วกิเลสธรรมทั้งหลายก็ละได้เองโดยอัตโนมัติไม่ต้องสงสัยเลย ในมรรคผลนิพพานมีจริงทุกอย่างถ้าเราทำจริงต่อมรรคธรรมเราก็จะถึงความดับ ทุกข์ วันหนึ่งเราก็มาพิจารณาดูว่าเราละกิเลสได้เท่าใด เหลืออยู่เท่าใด ดูพระอริยะบ้างก็พิจารณาบ้าง พิจารณาว่ากิเลสมีเท่าใดตัดขาดเท่าใดสุดแล้วแต่บุญวาสนา ปัญญาของใครของมัน ท่านที่มีปัญญาแก่กล้าจึงจะพิจารณาได้ ถ้าบรรลุมรรคขั้นต้นก็มีการตัดกิเลสสังโยชน์ได้สามคือสักกายทิฏฐิ ความยึดมั่นเห็นผิดในกาย วิจิกิจฉาความลังเลสงสัยในธรรมดับไป สีลัพพัตปรามาสความถือศีลไม่มั่นคงลูบคลำศีลก็ดับไป ถ้าได้ถึงสกิทาคาก็กระทำให้ความโลภราคะ โทษะ โมหะ ส่วนที่หยาบๆดับไปถ้าได้ถึงอริยมรรค ที่สามคือพระอนาคามี คือผู้ไม่กลับมาอีก ก็ตัดกิเลสสังโยชน์ได้อีก สองคือกามราคะ ความยินดีในกามราคะดับอย่างสนิท ปฏิฆะความโกรธแค้นพยาบาท ดับสนิท ตรงกับคติธรรมคำสอนของท่านครูบาศรีวิชัยให้เป็นคติว่า อู้ร้อยคำบ่เท่าผ่อครั้งเดียว
 
ตอบแทนบุญคุณบุพการี 
        มาย้อนถึงคุณแม่แสงหล้าผู้บังเกิด เกล้าตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนั้นไม่ได้ ยินข่าวคราวว่าคุณแม่ไปอยู่ที่ไหนแห่งหนใด ท่านจึงคิดอาลัยหาแม่เป็นอย่างยิ่ง เห็นคนอื่นเขาตอนบวชมีพ่อแม่ครบอบอุ่นใจ ท่านไม่เห็นพ่อและแม่ทำให้ตื้นตันใจน้ำตาตก แต่ก็อดทนเอา ยังเห็นป้าและลุงดูแลเอาใจใส่ เมื่อคราวที่ท่านได้ไปเทศน์ที่เชียงใหม่จึงให้คนไปสืบเสาะถามหาแม่ พอดีเขาไปเจอแม่นั่งขายกล้วยทอดอยู่ที่ตลาดประตูเชียงใหม่

        ได้ ถามดูก็รู้ว่าแม่มาแต่งานใหม่กับคนแก่อายุหกสิบกว่าอยู่หลังวัดฟ้อนสร้อย เป็นหมอยาสมุนไพรชื่อว่าพ่อน้อยใจมา ชัยเผือก เขาก็บอกว่าลูกได้บวชเป็นเณรแล้ว มาเทศน์อยู่ที่วัดลอยเคราะห์แม่ก็ดีใจ ตอนกลางคืนแม่และพ่อเลี้ยงคนใหม่ก็มาหาท่าน ท่านก็ดีใจเป็นที่สุด ปลาบปลื้มใจที่ได้พบคุณแม่ แม่ก็ร้องไห้เหมือนกัน ท่านก็ให้ยา และขนมของเล็กๆน้อยๆ หลังจากเทศน์ที่วัดลอยเคราะห์เสร็จแล้วก็ไม่ได้ไปเยี่ยมแม่ที่บ้าน

        ท่าน ก็กลับมาอยู่ดอยเวียงแก้วสร้างพระธาตุต่อ และในพรรษานั้นแม่ก็ได้ตามมาอยู่ด้วยเป็นช่วงๆ มาทำอาหารถวายพระ ออกพรรษาท่านก็กลับไปเชียงใหม่ หลังจากสร้างพระธาตุเสร็จนาน ไฟป่าก็ลุกลามมาไหม้วัดกุฏิวิหารที่มุงด้วยหญ้าไหม้เกลี้ยงหมด ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่เกาะทะเลสาบเมืองเชียงแสน บ้านห้วยน้ำรากเป็นวัดเก่า ชื่อวัดเกาะป่าหมากหน่อ อยู่ได้ไม่นานก็มีความประสงค์ไปเมืองพงอีก พอไปถึงก็มีคนบอกเล่าว่ามีพระธาตุอยู่บนดอยบนเขา ปรักหักพังเหลือแต่กองอิฐ
 
การสร้างและบูรณะพระธาตุต่างๆ 
        ท่าน จึงไปจำศีลภาวนาแล้วสร้างพระธาตุขึ้น ชื่อว่าพระธาตุงำเมือง ดอยท้าววัง นั่งเรือไปๆมาๆอยู่ที่เมืองพงนี้เหมือนบ้านเกิด คิดว่าในอดีตชาติคงเคยสร้างบารมีในที่นี้ หลังจากได้สร้าง พระธาตุบ้านป่าข่า พระธาตุงำเมืองเสร็จแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าไปเมืองยอง ไปกราบพระธาตุหลวงจอมยอง กลับมาป่วยเป็นไข้มาเลเรียเกือบตาย จากนั้นท่านได้มาเข้าพรรษาที่วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยมีหลวงปู่ครูบาเจ้าธรรมชัยเป็นองค์รักษาไข้ คุณแม่ก็มาเยี่ยมเยียนตลอดโดยให้น้องชายบวชเณรอยู่ด้วย ในพรรษาที่๕ ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดจอมแจ้ง บ้านกาดขี้เหล็ก ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

        โดยมีคุณแม่ย่าคำแปง คุณธนิต นิ่มพันธ์ คุณตุ๊ คุณสมศักดิ์ คุณอุไร และเจ้าพ่อน้อยโสภณ ณ เชียงใหม่ และญาติโยมหลายๆคนเป็นผู้อุปัฏฐากดูแล ในพรรษาโยมแม่ก็มาเยี่ยมถือศีลด้วยบางครั้งบางคราว ท่านไปสร้าง พระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง ต.เมืองพง พม่า และมาสร้างวัดพระเจ้าล้านทอง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ คุณแม่ก็ตามไปเยี่ยมร่วมทำบุญทุกที่ พรรษานี้ท่านอยากมาจำพรรษาที่เมืองพง แม่ย่าคำแปงให้จับฉลาก ๒-๓ ครั้ง ก็จับได้ที่วัดจอมแจ้งที่เดิม ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่วัดจอมแจ้งอีกในปีนี้ ท่านมีความสุขอิ่มเอมในพระธรรม อยู่กุฏิวิเวกองค์เดียว ได้อารมณ์กัมมัฏฐานดีมาก เดินจงกรมก็สบาย มีสมาธิตั้งมั่น

        ใน พรรษาที่๕นี้ ท่านได้เดินทางไปแสวงบุญ ณ ประเทศอินเดีย ได้นำคณะศรัทธา ญาติโยมไปกราบสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมจักร สถานที่ปรินิพพาน และสถานที่สำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธบิดา รู้สึกซาบซึ้งมาก จากนั้นได้ไปจาริกแสวงบุญ ณ ประเทศศรีลังกา มีพระธาตุเขี้ยวแก้วและต้นศรีมหาโพธิ์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนา เป็นอย่างยิ่ง โดยมีโยมสุพิศ แม้นมนตรี เป็นผู้บริจาคเงินค่าเครื่องบินให้ ขออนุโมทนาบุญด้วย ท่านได้กลับมาเมืองพงอีกได้สร้าง พระธาตุดอกคำแก้ว แล้วไปเมืองยองอีกครั้งที่สอง ได้ไปสร้างพระธาตุจอมแจ้งเมืองยอง กลับมาสร้างพระธาตุจอมสวรรค์บ้านโป่งเมืองพงอีก

        ต่อมา เข้าพรรษาที่๗ ที่วัดเมืองหนองลิ่มคำป่าหมาหน่อบนเกาะทะเลสาบ โดยมีพ่อแหนานเสาแม่นางจันทร์ฟองเป็นผู้อุปัฏฐาก ในพรรษาท่านได้ป่วยเป็นไข้ป่าและทางเดินอาหารได้ลาพรรษามารักษาที่ตึกสงฆ์ โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ ออกพรรษาแล้วท่านได้ไปย่างกุ้งมันตะเล ประเทศพม่า ไปกราบพระธาตุชเวดากอง จากนั้นกลับมาเมืองพง ได้มาสร้างวิหารสร้างพระเจ้านอน

        เข้าพรรษาที่ ๘ วัดพระนอน เมืองพง ( ปัจจุบันชื่อวัดจอมศรีดับเพมุงเมือง )ออกพรรษาแล้วได้ทำบุญฉลองวัดวิหารพระเจ้านอนเสร็จแล้วได้รับนิมนต์โดยคุณ แม่ชรัช คุณหญิงกรรนิฐา สายวงศ์ ได้นิมนต์ไปประเทศเนปาล เที่ยวภูเขาหิมาลัยนำพระพุทธรูปไปถวายที่โปรกขลาเนปาล พรรษาที่๙ได้กลับมาจำอยู่ที่วัดนอนเมืองพงอีก ได้ปฏิบัติธรรมมีความสุขที่สุดและได้เดินทางไปๆมาๆที่พระธาตุดอนเรือง ท่านมีความผูกพันกับพระธาตุดอนเรืองที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้มีมานานนับ ตั้งแต่อายุ ๑๒-๑๓ ปีที่ได้เข้ามาทำกุศลสร้างบุญบารมีในเมืองพง เคยเดินเท้าเปล่ามากราบพักถือศีลภาวนาที่นี้ตลอด

        ก่อนจะมา พระธาตุดอนเรือง ซึ่งไม่เคยรู้จักและไม่เคยได้ยินชื่อ แค่ได้นิมิตฝันเห็นเจดีย์น้อยตั้งอยู่บนเขาเตี้ยๆ ใกล้แม่น้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ได้มากราบแล้วมีความสุขที่สุด ฝันว่าเราได้ไปอยู่ที่นั้นไม่นานนักจึงได้มากราบจริงๆ เหมือนในนิมิตทุกอย่าง จนกระทั่งถึงพ.ศ. ๒๕๒๘ ท่านจึงบอกศรัทธาญาติโยมว่าจะสร้างพระวิหารครอบพระธาตุดอนเรือง เมื่อลุถึงวันเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันพุธ เป็นวันวิสาขบูชาได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ สร้างพระวิหาร ท่านยินดีที่สุดในปีนี้ อีกทั้งได้ไปศรีลังกาพร้อมหลวงปู่ครูบาธรรมชัย

        ใน พรรษาที่๙ นี้ ท่านอาพาธเป็นไข้มาเลเรียอีก ได้รักษากินยาและทำสมาธิรักษาด้วยจึงหายดี ออกพรรษาแล้วได้ไปแสวงบุญที่เมืองจีน ปักกิ่ง ได้กราบพระธาตุเขี้ยวแก้ว และพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ในเมืองจีน
 
จาริกธุดงค์ ณ ประเทศเนปาล 
        ในพรรษาที่๑๐ พระครูบาฯ มีความตั้งใจอย่างยิ่งจะไปจำพรรษาที่ประเทศเนปาลเชิงเขาหิมาลัย โยมมณีรัตน์ โยมพี่เม้ง (วินัย) ได้นิมนต์หลวงปู่โง่น โสรโย ไปส่งท่านด้วย ได้ไปอาศัยอยู่ที่วัดอานันทกุฏิวิหารกาฐมาณฑุ โดยคุณธรรมมา อารีราชได้ไปฝากให้ ท่านได้พบหลวงปู่โลกเทพอุดรที่เนปาล โดยพระครูบาฯนับถือหลวงปู่โลกเทพอุดรเป็นอาจารย์ใหญ่ได้พบที่ข้างกำแพง พระราชวังเก่า หนุมานโดก้ากาฐมาณฑุ เป็นวังเก่าของกษัตริย์เนปาล

        เล่า กันว่ามีรางน้ำเป็นหิน และมีอักขระศักดิ์สิทธิ์ที่ใครอ่านจบจะมีน้ำทิพย์ไหลออกมา ขณะที่พระครูบาฯ กำลังอ่านอักขระอยู่นั้นปรากฏว่ามีพระเหมือนโยคีกระโดดออกข้างกำแพงวิ่งมาหา ท่าน มีผ้าโพกหัวเกล้าผม หนวดเครายาวรุงรังวิ่งมาจับมือหลวงปู่ นัยน์ตาใสวาววับดั่งแก้วมรกตจึงขอถ่ายรูปไว้ เอาเงินถวายให้ก็ไม่รับ ลักษณะไม่เหมือนโยคีทั่วไป จากนั้นก็มีหมู่นกพิราบหมู่ใหญ่บินวนเวียนมาตรงหน้าหลวงปู่เทพอุดร ไม่นานนักท่านทั้งสองก็หายไปพร้อมกับหมู่นกพิราบ จะพูดมากไปก็กลัวเกินความจริง อย่าพึ่งเชื่อทีเดียว ให้เชื่อผลบุญกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์สอน

        ทุกคนกลับกันหมด เหลือแต่ท่านองค์เดียวที่ได้พำนักอยู่กับพระชาวเนปาล มีหลวงพ่ออมฤตานันท์ เป็นเจ้าอาวาสวัดอานันทกุฏิวิหาร มีหลวงพ่อมหากุมารกัสปะและหลวงพ่อมหานามะ มีพระพม่าองค์หนึ่งชื่อ อินทสาระ สามเณรอินเดียชื่อ พุทธวังสะ และท่านไมตรี ทานแต่ผลไม้มันอาลู (มันฝรั่ง) แตงกวา และกล้วยหอมเป็นอาหาร ในพรรษานี้ พระครูบาฯ มีความสุขกับธรรมชาติที่สุด ตอนเย็นสวดมนต์ภาวนาเดินจงกรม แล้วก็เข้าห้องนั่งภาวนาสมาธิต่อ บางทีถึงสว่างก็มี สว่างมาแล้วท่านก็มาทำความสะอดาลานเจดีย์กุฏิวิหาร ศาลาหอฉัน ทำความสะอาดองค์เดียว

        ถ้าวันไหนมันอาลูหมดก็ลงไป ซื้อในตลาด บางวันอากาศดีเสร็จภารกิจ ท่านก็ขึ้นไปกราบเจดีย์สวยัมภูองค์ใหญ่ ตั้งบนยอดเขาท่านก็ซื้อถั่วลิสงเลี้ยงลิง บางทีก็เอากล้วย ข้าวสารเลี้ยง ลิงที่นี่ตัวใหญ่หางยาวมีหลายพันตัวไม่กลัวคน ท่านได้พำนักภาวนาที่นี่ได้อารมณ์กรรมฐานดี สมาธิตั้งมั่นจนกระทั่งออกพรรษา โยมหมอกรวยศรีและแม่ออกสุนิสา ดร.อุดม แม่วิภาวรรณและโยมหมอยรรยงค์ แม่หมอภิราก็ได้มาเยี่ยม

จาริกธุดงค์เข้าป่าหิมพานต์
        ด้วย อุปนิสัยของพระครูบาฯ ที่รักธรรมชาติ ชอบอยู่รูปเดียว ปลีกวิเวก เมื่อเสร็จภารกิจต่างๆ ท่านจึงดำริว่า “เราควรออกธุดงค์เข้าสู่ป่าหิมพานต์ตามรอยพระเวสสันดร” ....โปรดติดตามอ่านในครั้งต่อไป
 

ออฟไลน์ powertom

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 16
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ครูบาบุญชุ่ม ญาฌสังวะโร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 05 ก.พ. 2553, 09:10:38 »
กราบนนมัสการท่านครับ อหังวันทามิสัพพะทา ขอบูชาด้วยประการทั้งปวง

และขอบพระคุณมากครับสำหรับที่นำมาเผ่ยแพร่จ้า