แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ลูกผู้ชายตัวจริง

หน้า: [1]
1
ขึ้นชื่อว่า"ความสุข"แล้วเราทุกคนล้วนใฝ่หา เราทำทุกอย่างในชีวิต ไม่ว่าการงาน การเงิน ครอบครัว แสวงหาสิ่งปรนเปรอด้วย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ในรูปแบบต่างๆ บ้าน รถยนต์หรูหรา ทรัพย์สิน เงินทอง บริวาร ลาภ ยศ สรรเสริญนานา ก็เพื่อสนองความต้องการความสุขในชีวิตกันทุกคน แต่ความสุขแบบโลกๆที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เล็กจนโตมักมาในรูปแบบที่ว่า ฉันได้ในสิ่งที่ฉันต้องการ ฉันเอาในสิ่งที่ฉันใฝ่หา ฉันเป็นเจ้าของในสิ่งที่ฉันและคนอื่นยื้อแย่งกัน เมื่อสมอยากแล้วก็รู้สึกว่า "สุข" เป็นสุขที่รอคอยการมาของความทุกข์ เป็นสุขที่ปลายอีกด้านนึงคือทุกข์เป็นไม้ท่อนเดียวกัน เหมือนรุ่งอรุณรอคอยการมาของราตรีอันมืดมน เป็นสุขที่เหมือนการปีนเขาสูงชัน ยิ่งสูงมากก็ยิ่งหนาว หากตกลงมาระยะทางยิ่งสูงมากฉันใด ก็ยิ่งตกลงมาเจ็บมากเป็นทวีคูณฉันนั้น เพราะเป็นสุขที่อยู่บนพื้นฐานของความ "อยากได้ อยากมี อยากเป็น" เมื่อสมอยากแล้วก็จะเกิดความเคยชินต่อมาเมื่อมันน้อยลงหรือหายไป ซึนามิแห่งความทุกข์ก็เริ่มถาโถมเข้ามาในชีวิต แม้จะอ้างเหตุผลในการอยากได้มาด้วยความดีบางอย่างเช่น ความรับผิดชอบหรือกตัญญู เช่น เพื่อครอบครัว พ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา แต่ก็เป็นความทุกข์สีขาวอยู่ดี เหตุเพราะวางใจไว้ไม่ถูกต้องก็อยู่บนพื้นฐานของ ตัวฉัน ครอบครัวฉัน สุดท้ายก็เพื่อฉัน
และรอวันพลัดพรากอยู่ดี ทำอย่างไรชีวิตถึงจะมีความสุขโดยแท้จริงได้?


พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสถึง"ความสุขอันแท้จริง"เอาไว้ว่า"สุขใดยิ่งกว่าความสงบเป็นไม่มี" อันหมายถึง "สงบสุข"หรือ "อยู่เย็นเป็นสุข" มีสันติในใจ สะอาด สว่าง สงบ มีศีล แปลว่า ศิลา คือ หนักแน่น มั่นค ง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งเร้าภายนอกที่มากระทบ ไม่หวั่นไหวต่อความบีบคั้น กระหายในความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความเหงาเศร้าซึม ความคิดฟุ้งซ่านในใจ จิตใจเป็นกลางไม่ "เลือกที่รัก ปัดที่ชัง" ซึ่งการจะได้มาซึ่งสุขแบบนี้เกิดขึ้นจากการ "ไม่ปล่อยปะละเลย" หมั่นย้อนทำความรู้สึกกลับมาที่กาย ด้วยอุบายต่างๆตามจริตนิสัยที่ชอบ( ดูลมหายใจ, ความรู้สึกเคลื่อนไหวของกาย, การบริกรรม ,สวดมนต์ ,การอุทิศบุญต่างๆ) หมั่นย้อนกลับมาดูใจ,สังเกตุ,สำรวจ,เรียนรู้ อารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ของตนเองให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะนึกได้ โดยพยายามทำไปพร้อมๆกับการงานทางโลก หรือ ปลีกวิเวกหาสถานที่ เวลาสักช่วงใหญ่ๆอยู่ทำคนเดียวให้มากหน่อยในระยะแรกๆ เมื่อทำดังนี้ได้บ่อยๆมากๆจนเป็นนิสัย ในที่สุดจิตกับความคิดก็จะค่อยๆแยกออกจากกันให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นคนละสิ่งกัน เมื่อนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็น "สัมมาทิฏฐิ" อันเป็นสิ่งแรกในอริยมรรคมีองค์ 8 อันแท้จริง คือ เห็นถูกต้องในธรรมชาติของใจเราอย่างแท้จริง เมื่อนั้นเราจะกลายเป็น "ผู้รู้" อันมักเอาแต่ "เห็นความคิด"ปรุงแต่งทะยานอยากของตนเอง ไม่ไปเพ่งโทษหรืออคติต่อผู้อื่น จนค่อยๆละวางความปรุงแต่งในใจตนไปได้เรื่อยๆจนเกิดความ"สงบสุข"ในใจอย่างแท้จริง มากกว่าจะเป็น "ผู้อวดรู้" ที่มีแต่"ความคิดเห็น" ของตัวกูของกูเป็นใหญ่ กูเก่งของกูถูกต้องที่สุด มี"ความสุข"แบบที่ได้เอาชนะผู้อื่น ได้ของที่ตนเองอยากได้ แต่รอวันแพ้พ่าย เพราะได้น้อยลงหรือเสียของที่เคยเป็นของกู คนที่เคยเป็นของกูไป และ พ่ายแพ้แก่ใจตนเองในที่สุดกับ "ความสุขจอมปลอม"ที่ได้มาชั่วครั้งชั่วคราวแต่กลับไม่เคยพบ "ความสงบสุขอันแท้จริง" ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้เลย ฉนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะย้อนถามตนเองว่า


"ความสุขแบบไหนกันแน่ที่เราต้องการจริงๆ

5
ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่ความเจริญทางด้านวัตถุ ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นที่น่าฉงนว่า ทำไมคนในโลกกลับมีความสุขน้อยลง และดูเหมือนว่าปัญหาในการดำรงชีวิต กลับมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหาทางด้านศีลธรรม จริยธรรมอันเป็นความเจริญทางด้านจิตใจ ดูจะเป็นสมการผกผัน กับความเจริญทางด้านวัตถุอย่างน่าเป็นห่วง ทุกวันนี้ หากเราฟังข่าวคราวไม่ว่าในประเทศไทย หรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ล้วนแล้วแต่มีเหตุการณ์ร้ายๆ เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และภัยอันเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง หลายๆ สิ่งเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ก็สามารถนำมาใช้คาดการณ์ล่วงหน้าและรับมือได้ทัน แต่ก็มีไม่น้อย ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังไปไม่ถึง แต่หากจะบอกว่าสภาพการณ์หลายๆ อย่างที่อุบัติขึ้นในสมัยปัจจุบัน เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า ได้ทำนายล่วงหน้ามาแล้วกว่า 2500 ปี หลายๆ คนอาจจะยังไม่เชื่อ หรือไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำเรื่อง ?พุทธทำนาย? อันปรากฏอยู่ในอรรถกถาพระไตรปิฎก มหาสุบินนิมิตชาดก เอกนิบาตชาดก ขุททกนิกาย ซึ่งเป็นเรื่องเล่าถึงสมัยที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงทำนายพระสุบิน(ความฝัน) ให้พระเจ้าปเสนทิโกศล จำนวน 16 ข้อ ว่ามีความหมายอย่างไร ดังนี้

วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ครองกรุงสาวัตถี ได้เสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ครั้นล่วงปัจฉิมยามใกล้รุ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็น พระสุบินนิมิตอันใหญ่หลวง ถึง 16 ประการ อันเป็นพระสุบินที่แปลกประหลาด จึงทรงตกพระทัยตื่นบรรทม และครั้นรุ่งเช้า ก็ได้ให้พวกพราหมณ์ปุโรหิตประจำราชสำนักทำนาย พวกพราหมณ์ปุโรหิต ก็พากันทำนายว่าเป็นพระสุบินที่ร้าย และว่าพระองค์จะต้องประสบภัยอันตราย 3 ประการ ไม่เสียราชทรัพย์ ก็จะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หรือไม่ก็ต้องสวรรคต อย่างใดอย่างหนึ่ง และแนะให้พระองค์ทำพิธีบูชายัญสัตว์ เพื่อสะเดาะห์เคราะห์ เมื่อพระนางมัลลิกา พระมเหสีทราบเรื่องเข้า จึงทูลให้ไปขอคำแนะนำจากพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ทรงทำนายว่า เหตุร้ายนั้นจะมีแน่นอน เพียงแต่มิใช่เกิดแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล หรือแว่นแคว้นของพระองค์ แต่เหตุร้ายเหล่านี้จะเกิดแก่สัตว์โลกทั่วๆ ไป และแก่พระศาสนาของพระพุทธองค์ในภายภาคหน้า เมื่อล่วงเลยพุทธกาลไปแล้ว 2500 ปี เมื่อศาสนาเสื่อมลง (กล่าวกันว่า อายุของพุทธศาสนาในกัลป์นี้ ยืนยาวเพียง 5,000 ปี หลังจากนั้น ต้องรอยุคของพระศรีอาริยเมตตไตรย์ พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปเสด็จมาโปรดสัตว์)

ความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศล และคำทำนายของพระพุทธเจ้าทั้ง 16 ประการ ประกอบด้วย 1. ทรงฝันว่า มีโคตัวผู้สีเหมือนดอกอัญชัญ 4 ตัว ต่างคิดจะชนกัน ก็พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวงจาก 4 ทิศ ฝูงชนต่างรอดู โคทั้งสี่ก็ส่งเสียงคำรามลั่น แต่แล้วต่างก็ถอยออกไป ไม่ชนกัน - พระพุทธเจ้าได้ทรงทำนายว่า ในอนาคตในชั่วศาสนาของพระองค์ เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดที่เสื่อมลง มนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ฝนฟ้าจักแล้ง ทุพภิกขภัยจักเกิดขึ้น คล้ายเมฆตั้งเค้าจะมีฝน มีเสียงคำรามกระหึ่ม แต่แล้วก็ไม่ตก กลับเลยหายไป เหมือนโคตั้งท่าจะชนกัน แต่ไม่ชนกันฉะนั้น
2. ทรงฝันว่า ต้นไม้เล็กๆ และกอไผ่ที่โตเพียงคืบบ้าง ศอกบ้าง ก็ออกดอกออกผลแล้ว - พระพุทธองค์ทรงทำนายว่า ต่อไปเมื่อโลกเสื่อม มนุษย์แม้จะมีอายุเยาว์ มีวัยยังไม่สมบูรณ์ก็จะมีราคะกล้า และสมสู่กันตั้งแต่อายุยังน้อย และจะมีลูกแต่เด็กๆ เหมือนต้นไม้เล็กๆ แต่ก็มีผลแล้ว
3. ทรงฝันว่า ทรงเห็นแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมของฝูงลูกโคที่เพิ่งเกิด - ทรงทำนายว่า ต่อไปในอนาคตการเคารพนบนอบผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์จะเสื่อมถอย คนเฒ่าคนแก่พ่อแม่เมื่อหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนไม่ได้ ก็ต้องง้อ ต้องประจบเด็กๆ ดังที่แม่โคที่ต้องกินนมลูกโคฉะนั้น
4. ทรงฝันว่าผู้คนไม่ใช้วัวตัวใหญ่ ที่สมบูรณ์แข็งแรงเทียมแอกลากเกวียน กลับไปใช้โครุ่นๆ ที่ยังปราศจากกำลังมาลาก เมื่อมันลากเกวียนให้แล่นไม่ได้ มันก็สลัดแอกนั้นเสีย - ทรงทำนายว่า ในภายหน้าเมื่อผู้มีอำนาจไม่ตั้งอยู่ในธรรม แทนที่จะยกย่องและมอบหมายหน้าที่ ให้กับผู้มีสติปัญญา ความรู้ กลับไปมอบยศศักดิ์ให้กับคนหนุ่มที่อ่อนหัด ด้อยประสบการณ์ ทำให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ดี กิจการต่างๆ ก็ไม่สำเร็จ ก็เหมือนใช้โครุ่นมาเทียมแอก เกวียนก็แล่นไม่ได้ฉันใด ก็ฉันนั้น
5. ทรงฝันว่าเห็นม้าตัวหนึ่ง มีปากสองข้าง ฝูงชนก็เอาหญ้าไปป้อนที่ปากทั้งสองข้าง มันก็กินทั้งสองข้าง - ทรงทำนายว่า ในอนาคตเมื่อผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจไม่ดำรงอยู่ในธรรม ตั้งคนพาล หรือคนไม่มีศีลธรรมไว้ในตำแหน่งอันมีผลต่อผู้อื่น คนเหล่านั้นก็จะไม่นึกถึงบาปบุญ คุณโทษ แต่จะตัดสินคดีต่างๆ ตามแต่ใจชอบ โดยเอาสินบนจากทั้งสองฝ่ายเป็นประมาณ ดังม้าที่กินหญ้าทั้งสองปาก
6. ทรงฝันว่าฝูงชนเอาถาดทองราคาแพง ไปให้หมาจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง พร้อมเชื้อเชิญให้หมาจิ้งจอกตัวนั้น ถ่ายปัสสาวะใส่ถาดทองนั้น - ทรงทำนายว่า ต่อไปคนดีมีสกุลทั้งหลายจะสิ้นอำนาจวาสนา คนตระกูลต่ำ หรือคนพาลจะได้เป็นใหญ่เป็นโต และคนมีตระกูล ก็จะต้องยกลูกสาว ให้แก่ผู้ไร้ตระกูลเหล่านั้น เหมือนเอาถาดทองไปให้หมาปัสสาวะรด
7.ทรงฝันว่า มีชายคนหนึ่งนั่งฟั่นเชือก แล้วหย่อนไปในที่ใกล้เท้า แม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่ง นอนอยู่ใต้ตั่งที่บุรุษนั้นนั่งอยู่ แล้วก็กัดกินเชือกนั้น โดยที่เขาไม่รู้ตัว - ทรงทำนายว่า ในกาลข้างหน้า ผู้หญิงจะเหลาะแหละ โลเล ลุ่มหลงในสุรา เอาแต่แต่งตัว เที่ยวเตร่ ประพฤติทุศีล แล้วก็จะเอาทรัพย์ที่สามีหาได้ด้วยความลำบากไปใช้ หรือให้ชายชู้ เหมือนนางหมาโซที่นอนใต้ตั่ง คอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่น และหย่อนลงไว้ใกล้เท้า
8. ทรงฝันว่ามีตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมตุ่มหนึ่งวางอยู่ตรงประตูวัง แวดล้อมด้วยตุ่มว่างๆ เป็นอันมาก แต่คนก็ยังไปตักน้ำใส่ตุ่มที่เต็มอยู่ จนล้นแล้วล้นอีก โดยไม่เหลียวแลจะตักใส่ตุ่มที่ว่างๆ นั้นเลย - ทรงทำนายว่า ในอนาคต เมื่อศาสนาเสื่อม คนเป็นใหญ่หรือมีอำนาจ จะเบียดเบียนหรือเอาเปรียบผู้ด้อยกว่า คนที่รวยอยู่แล้ว ก็จะมีคนจนหารายได้ ไปส่งเสริมให้รวยยิ่งขึ้น ดังฝูงชนที่ต้องตักน้ำใส่ตุ่มใหญ่ที่เต็มอยู่แล้วจนล้น ส่วนตุ่มที่ว่างอยู่กลับไม่ไปใส่น้ำ
9. ทรงฝันเห็นสระแห่งหนึ่ง มีบัวนานาชนิดขึ้นอยู่เต็ม และมีท่าขึ้นลงโดยรอบ สัตว์ต่างๆ ก็พากันดื่มน้ำในสระ แต่แทนที่น้ำบริเวณที่สัตว์เหยียบย่ำจะขุ่น กลับใสสะอาด ส่วนน้ำที่อยู่ลึกกลางสระที่สัตว์ไม่ไปดื่มหรือ เหยียบย่ำแทนที่จะใส กลับขุ่นข้น - ทรงทำนายว่า ต่อไป เมื่อคนมีอำนาจไม่ตั้งอยู่ในธรรม ขาดเมตตา คอยใช้อำนาจ รีดนาทาเร้นหรือกินสินบน ชาวบ้านชาวเมือง ก็จะหนีไปอยู่ตามชายแดนหรือที่อื่นๆ ทำให้ที่นั้นๆ ที่คนพากันไปอยู่มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น เหมือนน้ำรอบๆ สระที่ใส ส่วนเมืองหลวงกลับว่างเปล่า เหมือนกลางสระที่ขุ่น
10. ทรงฝันว่า เห็นข้าวที่คนหุงในหม้อใบเดียวกัน สุกไม่เท่ากัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ข้าวแฉะ ข้าวดิบ และข้าวสุกดี - ทรงทำนายว่า ในอนาคต เมื่อคนทั้งหลายไม่อยู่ในศีลในธรรมกันมากขึ้น ก็จะทำให้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือตกไม่ทั่วถึง ทำให้การเพาะปลูกบางแห่งได้ผล บางแห่งก็ไม่ได้ผล เช่นเดียวกับข้าวที่มีสุกบ้าง ดิบบ้าง และแฉะบ้าง
11. ทรงฝันว่าคนนำแก่นจันทน์ที่มีราคาแพง ไปแลกกับเปรียงเน่า (อ่านว่า เปฺรียง มี 3 ความหมาย คือ 1. นมส้มผสมน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน 2.น้ำมันจากไขข้อวัว และ 3.เถาวัลย์เปรียง แต่ในที่นี้น่าจะหมายถึงเถาวัลย์เปรียง เทียบกับแก่นจันทน์ที่เป็นไม้เหมือนกันมากกว่า 2 ความหมายแรก) - ทรงทำนายว่า กาลภายหน้า พระภิกษุอลัชชีเห็นแก่ได้ทั้งหลาย แทนที่จะนำธรรมะ ที่พระพุทธองค์สอน ไปสอนสั่งให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ และละความโลภ กลับใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหากิน หาปัจจัยบริจาคเข้าตัวเอง เหมือนเอาแก่นจันทน์ (ธรรมะคำสอนที่ดี) ไปแลกเอาเถาวัลย์เน่า (ลาภอามิสที่ได้รับมา ซึ่งไม่จีรังและไม่ช่วยให้พ้นทุกข์จริงๆ ได้)
12. ทรงฝันเห็นกระโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้ - ทรงทำนายว่า ต่อไปคำพูดของคน ที่ไม่ควรจะได้รับความเชื่อถือ กลับจะได้รับความเชื่อถือ โดยเปรียบถ้อยคำของคนที่ไม่น่าเชื่อว่ามีน้ำหนักเบาเหมือนกับผลน้ำเต้า ซึ่งปกติจะลอยน้ำ แต่เมื่อคนเชื่อว่าคำพูดเหล่านั้นมีน้ำหนัก หรือหนักแน่น จึงเปรียบคำพูดนั้นว่ามีน้ำหนัก ราวกับน้ำเต้าที่จมน้ำได้
13. ทรงฝันว่าศิลาแท่งทึบขนาดเรือน ลอยน้ำได้เหมือนเรือ - ทรงทำนายว่า ถ้อยคำของคนที่ควรได้รับการเชื่อถือ ซึ่งหนักแน่น มีน้ำหนักเปรียบประดุจแท่งศิลา กลับไม่ได้รับความเชื่อถือ หรือกลายเป็นถ้อยคำที่ไม่มีน้ำหนักเหมือน เรือที่ลอยได้ ข้อนี้ตรงกันข้ามกับข้อที่แล้ว คือ คนหันไปเชื่อคำพูดคนที่ไม่ควรเชื่อ เหมือนสิ่งที่ควรลอยกลับจม สิ่งที่ควรจมกลับลอย
14. ทรงฝันว่า ทรงเห็นฝูงเขียดตัวเล็กๆ วิ่งไล่กวดงูเห่าตัวใหญ่ และกัดเนื้องูเห่าขาดเหมือนกัดก้านบัว แล้วกลืนกินเข้าไป - ทรงทำนายว่า เมื่อมนุษย์ปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ราคะ สามีจะตกอยู่ในอำนาจของเมียเด็ก และจะถูกดุด่าว่ากล่าวเช่นเดียวกับคนรับใช้ เหมือนเขียดตัวเล็กๆ แต่กลับกินงูได้
15. ทรงฝันว่า ฝูงพญาหงส์ทอง ที่มีขนเป็นทอง ถูกแวดล้อมด้วยกา - ทรงทำนายว่า ในอนาคตผู้มีตระกูลต้องไปเที่ยวประจบ และสวามิภักดิ์ต่อผู้ไม่มีตระกูล เหมือนหงส์ทองแวดล้อมด้วยกา
16. ทรงฝันว่า ฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง และกัดกิน ทำให้เสืออื่นๆ สะดุ้งกลัว จนต้องหนีไปแอบซ่อนตัวจากฝูงแกะ - ทรงทำนายว่าต่อไปภายหน้า คนชั่ว หรือคนที่ไม่ดีจะเรืองอำนาจ และใช้อำนาจเป็นธรรม ทำให้คนดีถูกทำร้าย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ต้องหลบหนี ซ่อนตัวจากภัยร้ายเหล่านี้ เหมือนเสือซ่อนตัวจากแกะ

เมื่อพิจารณาความฝัน จะเห็นว่าหลายข้อในความฝัน เป็นสิ่งที่ผิดไปจากธรรมชาติ เช่น แม่โคกินนมลูกโค ม้าสองปาก เขียดกินงู และแกะกินเสือ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนมีนัยอันไปสู่พุทธทำนายทั้งสิ้น หลายคนอาจจะสงสัยว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ในสมัยพุทธกาล ทำไมฝันได้ไกลไปถึงอนาคต อันไม่เกี่ยวข้องกับพระองค์ได้ถึงเพียงนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าคงเป็นเพราะเทวดาดลใจ ให้พระองค์ฝันแปลกประหลาด เพื่อพระบรมศาสดาจะได้ฝาก ?พุทธทำนาย? เป็นคำพยากรณ์อันอมตะไว้ เป็นเครื่องเตือนสติ ให้มนุษย์โลกได้ตระหนัก และระมัดระวังภัยพิบัตินานัปการ ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า หลังจากที่พระพุทธองค์ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพราะคงเล็งเห็นด้วยญาณวิเศษแล้วว่า นับวันคนเราก็จะห่างไกลจากหลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ จนเป็นเหตุให้มนุษย์มุ่งทำลาย เอารัดเอาเปรียบทั้งเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง และสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อกอบโกยไปบำรุงบำเรอกิเลสแห่งตน โดยขาดความรัก ความเมตตาต่อกัน จึงทำให้คนเห็นแก่ตัว และมีผลให้สภาพแวดล้อม ธรรมชาติแปรปรวนไปหมด
ในปัจจุบัน เหตุการณ์หลายๆ อย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง อันทำให้เพาะปลูกได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ปัญหาเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม เช่น เด็กและเยาวชนแก่แดดขึ้น มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยเพิ่มขึ้น ลูกขาดความกตัญญู และความเคารพยำเกรงต่อพ่อแม่ อลัชชีหรือพระทุศีลมีมากขึ้น ชายแก่ตกอยู่ในอำนาจเมียเด็ก หรือปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เช่น คนขาดความรู้ประสบการณ์ ได้รับแต่งตั้งให้ปกครองบ้านเมืองเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้มีอำนาจรับสินบน ก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไป คนรวยยิ่งรวยเพราะมีช่องทาง และโอกาสเอาเปรียบคนจน เหมือนตุ่มใหญ่ที่คนตักน้ำไปใส่จนเต็มแล้วเต็มอีก แล้วปล่อยตุ่มเล็กให้ว่างเปล่า ตัวอย่างเหล่านี้ ล้วนไม่พ้นคำพยากรณ์ที่ทรงทำนาย บอกแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตของสมัยโน้น ก็คือ สมัยนี้หรือปัจจุบันนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ก็ยังมีพุทธทำนาย เพิ่มเติมที่มีผู้ถอดความจากศิลาจารึก เชตมหาวิหาร สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย ความว่า พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า ?....เมื่อศาสนาตถาคตล่วงเลยไปถึงกึ่งพุทธกาล สัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดในยุคนั้น จะพบกับความลำบากทุกชาติทุกศาสนา ตามธรรมชาติอันหมุนเวียนของโลก ที่หมุนเวียนไปใกล้ความแตกทำลาย แผ่นดินแผ่นน้ำจะลุกเป็นไฟ มนุษย์และสัตว์จะได้รับภัยพิบัติสารพัดทั่วทิศ คนในสมัยนั้น(ปัจจุบัน) จะมีวิสัยโหดดุจกำเนิดจากสัตว์ป่าอำมหิต จะรบราฆ่าฟันกันถึงเลือดนองแผ่นดินแผ่นน้ำ ส่วนเวไนยสัตว์ผู้ขวนขวายในกุศลตามวัจนะของตถาคต ก็จะระงับร้อนไม่รุนแรง บ้านเมืองใดมีความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย และคุณบิดามารดา เหตุร้ายภัยพิบัติจักเบาบาง แต่ก็จะหนีกฎธรรมชาติไม่พ้น...ในระยะนั้นศาสนาของตถาคตเสื่อมลงมาก เพราะพุทธบริษัทไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม เชื่อคำของคนโกง กล่าวคำเท็จ ไม่เคารพหลักธรรมนิยม คนประจบสอพลอได้รับการเชื่อถือในสังคม ผู้มีศีลธรรมประพฤติชอบ กลับไม่มีคนเคารพยำเกรง พระธรรมจะเริ่มเปล่งแสงรัศ มีฉายส่องโลกอีกวาระหนึ่ง

เมื่อมีธรรมิกราชโพธิญาณบังเกิดขึ้น อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ (น่าจะหมายถึงพระศรีอาริยเมตตไตรย์)....จะเสด็จมาเสริมสร้างพระศาสนา ของตถาคตให้รุ่งเรืองสืบไปอีก 5,000 พระวรรษา?คำทำนายของตถาคตนี้ ย่อมยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ผู้ใดรู้แล้วไม่เชื่อ นับเป็นกรรมของสัตว์โลกที่ต้องสิ้นสุดไปตามกรรมชั่วของตน ผู้ใดปรารถนารอดพ้นจากภัยพิบัติ ให้รักษาศีลห้าประการ เจริญเมตตากรุณา ประกอบสัมมาอาชีพ มีใจสันโดษ รู้จักพอ ไม่หลงมัวเมาในอำนาจและลาภยศ ตั้งใจประพฤติตนตามคำสอนของตถาคตให้มั่นคง จึงจะพ้นอันตรายในยุคกึ่งพุทธกาล? นี่คือพุทธทำนายที่ทรงตรัสไว้ กว่า 2500 ปีล่วงมาแล้ว ส่วนใครจะเชื่อ จะปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ก็คงเป็นไปตามกรรม ของแต่ละคนดังพระพุทธองค์ว่าไว้

ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

อัพเดทโดย : ศศิวิมล
--------
ที่มา:
http://modernine.mcot.net/view.php?news_id=1148&tk=art
 



6





เมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวในการแถลงข่าวความร่วมมือในการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมข้าว และการจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทยเฉลิมพระเกียรติว่าวิถีชีวิตของคนไทยมีความผูกพันกับข้าวมาก รวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับข้าวว่าคนไทยต้องมีจิตสำนึกเรื่องข้าว และนำข้าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และทำอย่างไรจึงจะช่วยปกป้องข้าวไทยได้ เพราะสิ่งที่เป็นห่วงขณะนี้คือ เรื่องจิตสำนึกของผู้บริโภคข้าวที่ลดลง ไปเน้นการบริโภคเลียนแบบต่างชาติ ที่กินเร็ว กินด่วน หรือบริโภคข้าวก็เพียงเพื่อให้อิ่มเท่านั้น โดยไม่ได้คำถึงว่า ข้าว คือ จิตวิญญาณ ที่ผ่านกระบวนการผลิต มาจากการลงแรงของชาวนากลิ่นของข้าวถือว่าหอมที่สุดและหอมแบบธรรมะ ตนเคยทูลถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า ทรงโปรดอะไรมากที่สุด พระองค์ตรัสว่า ข้าว เพราะมีกลิ่นหอม และตรัสด้วยว่า ถ้ารับประทานข้าวขอให้นึกถึงชาวนาด้วย เพราะถ้าไม่มีชาวนา เราก็ไม่มีข้าวกิน






ประธานมูลนิธิข้าวไทยกล่าวต่อว่า ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ตำแหน่งดังกล่าวกำลังถูกสั่นคลอนจากประเทศคู่แข่งทุกขณะ ดังนั้น จึงต้องหาทางแปรรูปข้าว ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น นำไปแปรรูปเป็นครีมทาหน้า หรืออาหารเสริม เพราะในเม็ดข้าวมีสารตัวหนึ่งชื่อว่า แกรมม่า ออริซานอล ที่ช่วยให้อารมณ์ดีเพราะฉะนั้นคนไทยทานข้าววันละ 3 มื้อ จึงหัวเราะได้ทั้งวัน แม้ว่าเศรษฐกิจการเมืองไม่ดีก็ตาม

ดร.สุเมธกล่าวต่ออีกว่า มูลนิธิข้าวไทยในพระ บรมราชูปถัมภ์ จึงได้ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ วท.จัดประกวดรางวัลนวัตกรรมข้าวไทยเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 80 พรรษา โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับโล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนั้น จะมีการพัฒนานวัตกรรมข้าว อาทิ เครื่องสำอางจากข้าวไทย การผลิตข้าวเพื่ออุตสาหกรรมยาและอาหารเสริม ซึ่งจะช่วยต่อยอดข้าวไทยให้แข่งขันกับต่างชาติได้.


-----------
ที่มา:ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/news.php?s...&content=56733
ภาพประกอบเพิ่มจากทางอินเตอร์เน็ต

7
ผอ.สำนักพุทธฯ โวยแบงก์พันใส่รูปฤาษีโปรโมทจตุคามฯ ชี้ผิดหนักเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงแถมละเมิด พ.ร.บ.ธนบัตร ด้านเจ้าอาวาสรับรู้เท่าไม่ถึงการณ์สั่งให้ยุติการแจก พร้อมตามเก็บคืนแบงก์ฉาวแล้ว พร้อมเดินหน้ารวบรวมข้อมูลพระสงฆ์เจ้าพิธีปลุกเสกจตุคามฯ คล้ายอวดอ้างอิทธิฤทธิ์ ชี้ขัดต่อประกาศคณะสงฆ์และ มส.
ความคืบหน้ากรณีวัดแม่ตะไคร้ กิ่ง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ โดยพระใบฎีกาเทียนชัย สุภทฺโท เจ้าอาวาสโปรโมทการจัดสร้างจตุคามรามเทพ รุ่น "พระมหาโพธิสัตว์ประทานพรอุดมทรัพย์" ด้วยการนำแบงก์ฤาษีที่พิมพ์เลียนแบบธนบัตรจริงใบละ 1,000 บาท โดยนำรูปฤาษีมาพิมพ์แทนพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อแจกให้ชาวบ้านที่มาร่วมงานปลุกเสกจตุคามฯ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ที่ผ่านมา และถูกมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควรเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงนั้น
ล่าสุด นายจำลอง กิตติศรี ผู้อำนวยการ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นสร้างความไม่สบายใจให้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการกระทำที่ค่อนข้างหมิ่นเหม่ต่อเบื้องสูง และยังผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยธนบัตรที่ไปจัดทำสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะคล้ายธนบัตรจริง อย่างไรก็ตาม หลังตรวจสอบข้อเท็จจริงกับพระใบฎีกาเทียนชัย สุภทฺโท แล้ว
พระใบฎีกาเทียนชัย สุภทฺโท ได้กล่าวยอมรับว่ากระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คือมีผู้นำแบงก์ฤาษีมาให้ โดยที่ทางวัดไม่ได้เป็นผู้พิมพ์ขึ้นมาเอง ซึ่งตรงกับการตรวจสอบของสำนักพุทธฯ พบว่าพระท่านไม่ได้มีเจตนาที่จะนำธนบัตรแจกจ่ายเพื่อแลกเปลี่ยนแทนเงินทอง แต่เป็นการมอบให้ในฐานะที่เป็นวัตถุมงคล จึงได้ประสานเจ้าที่ตำรวจแล้วว่าอย่าดำเนินคดีกับทางวัด และได้ขอให้ทางวัดยุติการแจกแบงก์ฤาษีรวมทั้งให้มีการเรียกเก็บคืนจากญาติโยมที่ได้แจกจ่ายกลับคืนมา
นายจำลอง กล่าวอีกว่า นอกจากการเรียกเก็บคืนแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ จะได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามสืบสวนไปยังแหล่งที่มาของการผลิตแบงก์เลียนแบบดังกล่าว เนื่องจากหมิ่นเหม่ต่อเบื้องสูงหากพบว่ามีการนำออกมาแจกจ่ายที่ใดอีกจะแจ้งความให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินคดีทันที
ส่วนรูปแบบของการโปรโมทจตุคามฯ ซึ่งปัจจุบันหลายวัดมีการแข่งขันหาจุดเด่นมาส่งเสริมการเช่าบูชาหลายรูปแบบเพื่อดึงความสนใจให้ประชาชนเข้ามาเช่าบูชานั้น มองว่าเป็นสิทธิที่วัดและผู้จัดสร้างต่างๆ สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องไม่ทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันและพาดพิงผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย หากดำเนินการโดยไม่กระทบในสิ่งที่กล่าวมาดังกล่าว สำนักงานพระพุทธศาสนาก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เนื่องจากเป็นสิทธิเสรีภาพที่สามารถจะทำได้
ส่วนกรณีมีพระสงฆ์ในหลายจังหวัดไปเป็นเจ้าพิธีปลุกเสกจตุคามรามเทพ บางรูปกระทำพิธีโดยรำดาบ บางรูปใช้อาวุธแทงร่างกายคล้ายกับอวดอ้างอิทธิฤทธิ์ ส่งผลให้มีกระแสเรียกร้องให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และคณะสงฆ์ออกมาดูแลในเรื่องนี้ เพราะมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ไม่ใช่สิ่งที่พระสงฆ์ควรกระทำ
นายกนก แสนประเสริฐ ผู้อำนวยการส่วนคุ้มครองพระพุทธศาสนา รักษาการ ผอ.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า การที่พระสงฆ์ไปเป็นเจ้าพิธีปลุกเสกจาตุคามรามเทพโดยมีการแสดงคล้ายอวดอ้างอิทธิฤทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ขณะนี้ พศ.กำลังรวบรวมข้อมูลพระสงฆ์ที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ ซึ่งที่มีปรากฏข่าวคราวอยู่ตามสื่อต่างๆ ประมาณ 2-3 รูป เพื่อเสนอให้เจ้าคณะผู้ปกครองเป็นผู้พิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวควรพิจารณาลงโทษในขั้นไหน อย่างไร
นายกนก กล่าวอีกว่า การกระทำของพระสงฆ์ที่ไปปลุกเสกจตุคามฯ แล้วมีพฤติกรรมคล้ายกับอวดอ้างอิทธิฤทธิ์นั้น ขัดต่อประกาศคณะสงฆ์และขัดต่อมติมหาเถรสมาคม (มส.) ซึ่งตามประกาศคณะสงฆ์ 2 ฉบับทั้งประกาศในปี 2469 และในปี 2496 ห้ามมิให้พระสงฆ์ทดลองของขลังถือว่าไม่เอื้อต่อพระธรรมวินัย เป็นเหตุให้บุคคลอื่นพิสูจน์ได้ยาก จะต้องแจ้งให้เจ้าคณะผู้ปกครองพิจารณาและรายงานต่อคณะสงฆ์ รวมถึงมีประกาศ มส.ห้ามไม่ให้พระสงฆ์อวดอ้างอิทธิฤทธิ์ อภินิหาร จะต้องประพฤติตนสำรวมอยู่ในหลักพระธรรมวินัย ซึ่งการพิจารณาลงโทษพระสงฆ์ที่ประพฤติตนขัดต่อหลักพระธรรมวินัยนั้น พศ.ไม่มีอำนาจดำเนินการ แต่เป็นอำนาจของเจ้าคณะผู้ปกครองจะพิจารณาลงโทษว่าอยู่ในขั้นไหน อย่างไร โดยการลงโทษนั้นมีตั้งแต่ว่ากล่าวตักเตือนไปจนถึงโทษสูงสุดให้สึกออกจากการเป็นพระสงฆ์
"ก่อนหน้านี้ พศ.เคยส่งหนังสือไปถึงเจ้าคณะผู้ปกครองให้ช่วยดูแลให้พระสงฆ์ประพฤติตนอยู่ในหลักพระธรรมวินัย เชื่อว่าเจ้าคณะผู้ปกครองท่านคงเห็นข่าวที่ออกมาและเรียกพระสงฆ์ที่กระทำไม่เหมาะสมไปพิจารณาลงโทษบ้างแล้ว เช่น ตักเตือน แต่ พศ.ก็จะรวบรวมข้อมูลและเสนอเรื่องไปยังเจ้าคณะผู้ปกครองให้พิจารณาลงโทษ เพราะการกระทำดังกล่าวนอกจากขัดต่อหลักพระธรรมวินัยแล้ว ยังสร้างความเสื่อมเสียแก่คณะสงฆ์ ทำให้ถูกสังคมตำหนิด้วย" นายกนก กล่าว
นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า พระสงฆ์ที่ไปปลุกเสกจตุคามฯ แล้วกระทำคล้ายกับอวดอ้างอิทธิฤทธิ์นั้น เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมเพราะขัดต่อประกาศคณะสงฆ์และประกาศ มส.ที่ห้ามไม่ให้พระสงฆ์อวดอ้างอิทธิฤทธิ์ อภินิหาร ซึ่ง พศ.ไม่มีอำนาจไปพิจารณาลงโทษและไปก้าวล่วงไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นอำนาจของเจ้าคณะผู้ปกครองพิจารณาว่าลงโทษขั้นไหน อย่างไร ขณะนี้ พศ.กำลังรวบรวมข้อมูลและจะเสนอต่อเจ้าคณะผู้ปกครองต่อไป
"สิ่งที่พระสงฆ์บางรูปกระทำไม่เหมาะสมในการปลุกเสกจตุคามฯ สร้างความไม่สบายใจให้แก่ พศ.เช่นกัน เพราะไม่ให้เกิดเรื่องนี้เพิ่มขึ้นอีก แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับเจ้าคณะผู้ปกครองว่าท่านจะพิจารณาและลงโทษอย่างไร เชื่อว่าเจ้าคณะผู้ปกครองท่านก็คงกำลังจับตาดูอยู่เช่นกัน ส่วนจะส่งหนังสือถึงเจ้าคณะผู้ปกครองให้ช่วยดูแลความประพฤติของพระสงฆ์ให้อยู่ในพระธรรมวินัยอีกรอบหรือไม่นั้น จะต้องหารือกับคณะสงฆ์ก่อน" นางจุฬารัตน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังกระแสท้าวจุตุคามรามเทพเป็นที่นิยมในหมู่นักเล่นพระและประชาชนทั่วไป ได้มีการจัดสร้างเหรียญจตุคามฯ หลากหลายรุ่น และในพิธีปลุกเสกมักจะมีการแสดงอภินิหารต่างๆ นานา อย่างเช่นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ที่บริเวณห้างสรรพสินค้าใน จ.สิงห์บุรี มีพิธีพุทธาเทวาภิเษก ท้าวจตุคามรามเทพ รุ่น "ชีวิตรุ่งโรจน์" โดยมีนายประภาศ บุญยินดี ผู้ว่าฯ สิงห์บุรี เป็นประธาน ทั้งนี้มีพระครูสังฆรักษ์ปรานพ หรือหลวงหนุ่ย แห่งวัดคอหงส์ อ. หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นเจ้าพิธี และเป็นประธานจุดเทียนชัย พร้อมพระเกจิอาจารย์ทั้งใน จ.สิงห์บุรี และ จ.พระนครศรีอยุธยา ร่วมในพิธีปลุกเสก โดยภายหลังเริ่มทำพิธี หลวงหนุ่ยเริ่มพิธีบวงสรวง หลังจากนั้นร่างกายเริ่มเกร็งคล้ายเข้าทรงก่อนที่จะหยิบกริชยาวประมาณ 5 นิ้วออกมา แล้วใช้กริชแทงที่ใบหน้าตัวเองและกรีดไปทั่วทั้งใบหน้าและหัว สร้างความหวาดเสียวให้แก่ญาติโยมผู้มาร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่การปลุกเสกจตุคามรามเทพ รุ่น "เจ้าราชันเหนือ" หน้าพระวิหารหลวงวัดมหาวัน ต.ในเมือง อ.เมือง ลำพูน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1 ก็เช่นเดียวกัน ขณะทำพิธีปลุกเสกได้แสดงอภินิหารเอามีดเชือดคอผู้มาร่วมงานในพิธีเป็นการทดสอบด้วย
http://www.komchadluek.net/2007/07/3...news_id=129065


8
"หลวงหนุ่ย"กรีดหน้าโชว์ที่สิงห์บุรี คืนฟอร์ม ปลุกเสกจตุคามรามเทพรุ่นชีวิตรุ่งโรจน์รับเหมาขับรถตกร่องถนนรถพังยับ แต่แค่แตก ที่คอห้อยจตุคามฯ ของเจ้าคุณเพียงองค์เดียว "หลวงหนุ่ย"คืนฟอร์มปลุกเสกจตุคามรามเทพ รุ่นชีวิตรุ่งโรจน์ที่สิงห์บุรี โชว์กรีดใบหน้า-หัว คมมีดไม่ระคายผิวแม้แต่น้อย สร้างความหวาดเสียวให้แก่บรรดาญาติโยมที่มาร่วมงาน พร้อมกับใช้หัวแม่มือเกี่ยวน้ำตาเทียนโชว์อีก

เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ห้างสรรพสินค้าฟายนาว หมู่ที่ 3 ต.น้ำตาล อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรีมีพิธีพุทธาเทวาภิเษก ท้าวจตุคาม รามเทพ รุ่นชีวิตรุ่งโรจน์ โดยมีนายประภาศ บุญยินดี ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เป็นประธาน เพื่อหาเงินสร้างองค์พระอินทร์ให้กับห้างสรรพสินค้าฟายนาวซึ่งเป็นห้างเอกชน โดยมีพระครูสังฆรักษ์ปรานพ หรือหลวงหนุ่ย แห่งวัดคอหงษ์ อ. หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นเจ้าพิธีและเป็นประธานจุดเทียนชัย โดยมีพระเกจิอาจารย์ทั้งในจ.สิงห์บุรี จ.พระนครศรีอยุธยา เช่น หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.พระนคร ศรีอยุธยา ร่วมนั่งปลุกเสก โดยมีประชาชนเข้าร่วมงานประมาณ 1,000 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพิธีเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 13.30 น. หลวงหนุ่ยเริ่มพิธีบวงสรวง ซึ่งขณะที่ทำพิธีอยู่นั้นหลวงหนุ่ยมีอาการเหมือนเป็นเข้าทรง มีอาการเกร็ง ยกมือขึ้นปิดหน้า จากนั้นตาขวาง แล้วชักกริชยาวประมาณ 5 นิ้วออกมา แล้วใช้กริชแทงที่ใบหน้าตัวเองและกรีดไปทั่วทั้งใบหน้าและหัว สร้างความหวาดเสียวให้กับญาติโยมผู้มาร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง แต่หลวงหนุ่ยก็ไม่ได้รับอันตรายใดๆ หลังจากนั้นหลวงหนุ่ยทำพิธีเสกน้ำมนต์ ซึ่งหลังจากที่หลวงหนุ่ยเสกน้ำมนต์เสร็จแล้ว ก็ใช้นิ้วหัวแม่มือขวาเกี่ยวน้ำตาเทียนขึ้นมาโชว์เหมือนที่เคยทำมา ท่ามกลางสายตาของเจ้าหน้าที่สำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดสิงห์บุรี ที่นั่งมองอยู่แต่ก็ไม่มีใครกล้าออกให้ความเห็นแต่อย่างใด

สำหรับท้าวจตุคามรามเทพรุ่นชีวิตรุ่งโรจน์ ทางจังหวัดสิงห์บุรีได้จัดสร้างเอง มีนายประภาศ บุญยินดี ผู้ว่าฯสิงห์บุรี เป็นประธานจัดสร้าง เพื่อหาเงินสร้างองค์พระอินทร์ ให้กับอำเภออินทร์บุรี เพื่อที่จะให้ผู้ที่ผ่านถนนสายเอเชียได้กราบไหว้ โดยองค์พระอินทร์นี้จะสร้างในห้างสรรพสินค้าฟายนาว ซึ่งเป็นห้างเอกชน

หลังเสร็จพิธีพุทธาเทวาภิเษกทางจังหวัดสิงห์บุรีแจกองค์จตุคามให้กับผู้ที่มาร่วมงานประมาณ 1,000 คน สร้างความชุลมุนพอสมควร




[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

9
พระคาถานะหน้าทองนี้ คัดลอกจากคู่มือชายชาตรีฉบับเดิมในงานฉลองอายุ
พระครูเนกขัมมาภิมนต์ หลวงพ่อดิษฐ์ ติสสโร วัดปากสระ พัทลุง
ผมเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำมาลงไว้ให้ผู้ที่มีศรัทธาได้นำไปใช้กันครับฯ


สวด นะโมฯ 3 จบ

นะกาโรกุกกุสันโธ สิโรมัชเฌ
ขออัญเชิญพระกุกกุสันโธ สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่เบื้องศรีษะของข้าพเจ้า ขอพระบารมีเป็นที่พึ่ง
นะกาโรสุวัณโณเจวะ นะงามคือดังแสงทอง รัสมีสีส่องไปทั่วสกลกายา
เป็นที่เสน่หาแก่คนทั้งหลาย
เดชะพระกุกกุสันโธสัมมาสัพุทธเจ้าประสิทธิวิชายะเตฯ

โมกาโรโกนาคะมโนนะลาทิเต
ขออัญเชิญพระโคนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่ที่หน้าผากของข้าพเจ้า
ขอพระบารมีเป็นที่พึ่ง
โมกาโรมะณีโชตะกัง โมงามคือแสงแก้วมณีโชติ ส่องแสงโปรดอยู่เบื้องหน้าผาก หญิงเห็นให้หลงไหลชายเห็นให้หลงรัก เห็นหน้าให้ทายทักเป็นมหานิยม
เดชะพระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้าประสิทธิวิชายะเตฯ

พุทธกาโรกัสสะโปทเวกัณเณ
ขออัญเชิญพระกัสสโปสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาอยู่ในโสตร์ทั้งสองของข้าพเจ้า ขอพระบารมีเป็นที่พึ่ง
พุทธกาโรสังขะเมวะจะ พุทธงามคือแสงสังข์อยู่ในโสตร์ทั้งสองของข้าพเจ้า
ป้องกันบำบัดโรคโรคาพยาธิทั้งหลาย
เดชะพระกัสสโปสัมมาสัมพุทธเจ้าประสิทธิวิชายะเตฯ

ธากาโรโคตะโมทเวเนตเต
ขออัญเชิญพระสิริสากะยะมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาอยู่ในเนตรทั้งสองของข้าพเจ้า ขอพระบารมีเป็นที่พึ่ง
ธากาโรสุริยังเอวะ ธางามคือดังแสงพระอาทิตย์ สมณชีพราหมณ์มนุษย์
บุรุษหญิงชายทั้งหลาย เห็นเนตรทั้งสองของข้าพเจ้า ให้มีจิตคิดเมตตายินดี
เดชะพระศรีสากยะมุนีโคดมบรมครูประสิทธิวิชายะเตฯ

ยะกาโรอะริยะเมตตัยโยชิวหาทิเต
ขออัญเชิญพระศรีอริยะไมตรีสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอยู๋ในลิ้นของข้าพเจ้า ขอพระบารมีเป็นที่พึ่ง
ยะกาโรมุกขะเมวะจะ ยะงามคือดังแสงมุกข์ส่องแสงสุกอยู่ในลิ้นของข้าพเจ้า
จะเจรจาพาทีด้วยสมณพราหมณาจาริย์ มนุษย์บุรุษหญิงชายด้วยถ้อยคำให้มี
จิตเมตตากรุณาแก่ข้าพเจ้าเถิด
เดชะพระศรีอะริยะไมตรีสัมมาสัมพุทธเจ้าประสิทธิวิชายะเตฯ

สัพเพชะนานัง พะหูชะนานัง คือคนทั้งหลายเอ๋ย มึงเห็นหน้ากูให้มึงรักกู
ทั้งหลับทั้งตื่น ทั้งกลางวันกลางคืน ชะยังสุขังลาภัง พุทโธโสภะคะวา
ปัญจะพุทธานะมามิหัง ปิโยเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม
ปิโยนาคะสุปันนานัง ปินินทรียังนะมามิหังฯ

พระคาถานะหน้าทองนี้ ให้ใช้ภาวนาทางเมตตาดีนักแล เมื่อจะภาวนานั้น
เมื่อถึงบทว่าตัว นะ ก็ให้เอานิ้วมือเขียนที่กลางศรีษะเป็นอักขระตัวนะ
ถึงบท โม ก็เขียนอักขระตัวโมลงบนหน้าผาก
ถึงบท พุทธ ก็ให้เขียนพุทธลงที่หูทั้งสองข้างๆละตัว
ถึงบท ธา ก็ให้เขียนธาลงที่ตาทั้งสองข้างๆละตัว
ถึงบท ยะ ก็ให้เขียนยะลงที่ลิ้น
น้อมจิตอฐิษฐานให้หน้าของเราเป็นหน้าทอง เข้าหาเจ้านายเป็นเมตตาอย่างประเสริฐสุดสารพัดจะใช้เอาเถิด วิเศษยิ่งนักแล ใช้เสกหน้าทองก็ได้

พระคาถานี้ดีมากๆครับ ส่วนตัวอักษรก็ลอกมาเดิมๆเลยไม่ปรับแต่งครับ ไม่แน่หากผู้สนใจท่านใดอยากลองลงนะหน้าทองก็สามารถจำเอาไปใช้ได้เลครับ
ผมใช้อยู่ครับฯแต่...ไม่รับลงให้คนอื่นครับ
 

10
ศาลหลักเมือง สิงห์บุรีปลุกเสกจตุคามฯ "เสือดำ"เจ้าพิธีประชัน"หลวงหนุ่ย" ต่างฝ่าย ต่างโชว์อภินิหาร เผยพิธีปลุกเสกจตุคามฯรุ่น"อภิมหาเศรษฐีตลอดกาล" "เสือดำ"เสกน้ำมนต์กระจายออกมาจากขัน ส่วน"หลวงหนุ่ย"ใช้นิ้วหัวแม่มือขวาเกี่ยวน้ำตาเทียนขึ้นมาจากขันน้ำมนต์เป็นสายยาว สร้างความฮือฮาให้กับญาติโยมที่มาร่วมงาน


เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่บริเวณศาลหลักเมืองสิงห์บุรี มีการพุทธาและเทวาภิเษกจตุคาม รามเทพ รุ่นอภิมหาเศรษฐีตลอดกาล โดยคณะกรรมการศาลหลักเมืองจ. สิงห์บุรี ร่วมกับคณะกรรมการติดตามกิจการตำรวจ (กตตร.) ร่วมกันจัดสร้างขึ้นโดยมีประชาชนมาร่วมงานประมาณ 2,000 คน ในช่วงเช้าเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 10.00 น. โดยนิมนต์หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร หรือเสือดำ อดีตเสือกลับใจ จากวัดศรีนวลธรรมวิมล กรุงเทพฯ มาทำพิธี โดยในช่วงปลุกเสกหลวงพ่อทวีศักดิ์ แสดงอภินิหารด้วยการเสกน้ำมนต์ ซึ่งในขณะที่เสือดำเสกน้ำมนต์อยู่นั้น น้ำมนต์ในขันได้กระจายออกมาจากขัน สร้างความฮือฮาให้กับผู้ที่มาร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง


จากนั้นเสือดำได้ประพรมน้ำมนต์ให้กับผู้ที่มาร่วมงาน แล้วถอดจีวรโยนให้ผู้ที่มาร่วมงานแย่งกันไปบูชา ชาวบ้านที่มารอรับน้ำมนต์ได้แย่งจีวรของเสือดำฉีกขาดได้ไปคนละนิดหน่อย จนเกือบเกิดการจลาจล เจ้าหน้าที่สารวัตรทหารต้องขอร้องให้แยกกันไปได้แค่ไหนก็แค่นั้น


ส่วนในช่วงบ่ายเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 14.00 น.พระครูสังฆรักษ์ปรานพ ฐิตคนฺโธ หรือหลวงหนุ่ย วัดคอหงษ์ จ.สงขลา ได้บวงสรวงท้าวจตุคามรามเทพ จัดเครื่องบูชาชุดใหญ่ หลวงหนุ่ยแสดงอภินิหารโดยการหยดน้ำตาเทียน จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือขวาเกี่ยวน้ำตาเทียนขึ้นมาจากขันน้ำมนต์เป็นสายยาว ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับผู้ที่ร่วมงานนับพันคนเช่นกัน


ทั้ง 2 พิธี สร้างความฮือฮา ให้กับผู้ร่วมพิธีเป็นอย่างมา

11
ธรรมะ / ชีวิต หนอ ชีวิต
« เมื่อ: 03 ก.ค. 2550, 07:42:31 »
เ รื่องนี้ ท่านดร.พระราชวรมุนี รองเจ้าคณะภาค 17และรองเจ้าอาวาสวัดดุสิดาราม กทม. ได้นำมา
เล่าให้ฟังอีกต่อหนึ่ง ท่านเจ้าคุณเล่าว่า วันหนึ่งท่าน ได้รับนิมนต์ให้ไปสวดศพแม่ครัวที่วัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ
แม่ครัวคนนี้ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุที่ ไม่น่าเชื่อคือตกหม้อข้าวต้มตาย แล้วท่านเจ้าคุณก็ขยายความต่อไปว่า แม่ครัวผู้นี้เป็นมารดาของข้าราชการระดับสูงท่านหนึ่งเธอเป็นแม่ครัวรับจ้างทำอาหารเลี้ยงแขกที่มาในงานศพที่วัดแห่งนี้แบบผูกขาดมานานจนร่ำรวย สามารถส่งเสียลูกๆเรียนจบมหาวิทยาลัยได้ดีไปหลายคนกรรมที่ทำให้เธอต้องมาพบอุบัติเหตุจนถึงแก่ความตายนั้น เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง แม่ครัวเพิ่งสับเสร็จไม่นาน แค่หันไปหยิบเครื่องปรุง ผู้นี้เห็นว่า เนื้อหมูจำนวนมากที่นำมาสับ เพื่อเตรียมทำข้าวต้มหมูเลี้ยงแขกที่มาในงานศพนั้นหายไปอย่างผิดปกติ ทั้งๆที่หรือไปทำอย่างอื่นแค่ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว พอหันกลับมาอีกครั้ง
เพื่อจะนำเนื้อหมูที่สับวางทิ้งไว้บนเขียงใส่ลงหม้อข้าวต้มปรากฏว่าเนื้อหมูอันตรธานหายไปหมด โดยไม่มีร่องรอย พอถามคนโน้นคนนี้ก็ไม่มีใครรู้เรื่องเพราะต่างก็วุ่นกับงานของตัวเอง แรกๆเธอก็คิดว่าไม่เป็นไร แต่ครั้นเป็นอย่างนี้ติดต่อกันบ่อยครั้งเข้าใน ทุกครั้งที่เผลอเธอจึงอดรนทนไม่ได้ ดังนั้นจึงได้วางแผนที่จะจับเจ้าขโมยตัวดีเธอทำทีเป็นสับเนื้อหมูวางไว้บนเขียงไม้เหมือนเดิมแล้วก็แสร้งหันไปทำอย่างอื่นเหมือนเคย แต่ทว่าตาคอยแอบจับจ้องอยู่ที่เขียงไม้ตลอดเวลา ทันใดนั้นก็มีลูกสุนัขผอมโซตัวหนึ่งซึ่งแอบซ่อนอยู่ใต้โต๊ะทำกับข้าวนั่นเอง ปีนขึ้นมากินเนื้อหมูสับจนหมดอย่างรวดเร็ว แล้วก็กระโดดวิ่งหนีไป
เมื่อเห็นว่าเจ้าหัวขโมยเป็นลูกสุนัข เธอจึงรู้สึกโกรธแค้นมาก จึงได้วางแผนที่จะจัดการเจ้าลูกสุนัขตัวนี้ ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้นเธอก็ทำทีสับเนื้อหมูทิ้งไว้บนเขียงไม้เหมือนเช่นเคยแต่คราวนี้เธอไม่ได้วางเขียงไม้ไว้ที่เดิม แต่กลับนำเขียงไม้ไปพาดกับปากหม้อข้าวต้มใบใหญ่ที่กำลังเดือดพลั่กๆอยู่แล้วเอาปลายไม้ข้างหนึ่งพาดหมิ่นๆไว้ที่ปากหม้อข้าว จากนั้นเธอจึงเดินออกไปแอบดูอยู่ใกล้ๆฝ่ายเจ้าลูกสุนัขเมื่อเห็นไม่มีคนอยู่ตรงนั้น มันจึงกระโดดเต็มแรงเพื่อขึ้นมากินเนื้อหมูสับอย่างเคย แต่ทว่าปลายไม้ที่วางหมิ่นๆพาดกับปากหม้อข้าวไว้นั้นได้กระดกขึ้นมา ทำให้เจ้าลูกสุนัขตกลงไปในหม้อข้าวต้มที่กำลังเดือดพลั่กๆทันที
ผลคือตายคาที่ โดยไม่มีโอกาสได้ร้องเลยสักแอะเดียว อนิจจา..เจ้าหมาน้อย
เมื่อจัดการกับเจ้าลูกสุนัขได้แล้ว เธอก็รู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจเป็นอันมากเพราะไม่ต้องมาคอยกังวลว่าเนื้อหมูสับจะหายไปอีก เพียงไม่กี่วันเธอก็ลืมเรื่องนี้เสียสนิท
ประกอบกับหลังจากนั้นไม่มีงานศพที่วัด เธอจึงไม่มีงานที่ต้องมาทำอาหารเลี้ยงแขกเวลาผ่านไป 7 วัน ครบวันที่ลูกสุนัขตายพอดี วันนั้นเผอิญมีงานศพที่วัด แม่ครัวคนนี้ก็เข้าไปรับงานจัดเลี้ยงเหมือนเดิม วันนั้นเป็นวันแรกของงานศพ เธอจึงได้ต้มข้าวต้มหมูเหมือนทุกครั้งที่ผ่านๆมา ขณะที่ข้าวต้มกำลังเดือดพลั่กๆอยู่นั้น เธอก็บอกคนงานให้มาช่วยยกหม้อข้าวลงจากเตาไฟ
แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น หูหิ้วหม้อข้าวต้มข้างที่เธอถือนั้นเกิดหักหลุดจากมือตัวเธอจึงถลำลื่น หัวทิ่มลงไปในหม้อข้าวต้มใบใหญ่ที่กำลังเดือดพลั่กๆ นั้น ตายทันที โดยไม่ทันได้ร้องสักแอะเดียวเป็นชะตากรรมเดียวกับที่เธอทำกับเจ้าลูกสุนัขตัวนั้นอย่างไม่ผิดเพี้ยน!! ชะรอยลูกสุนัขกับแม่ครัวคนนี้คงจะเคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันมาหลายภพหลายชาติ ผูกพยาบาทอาฆาต
กันไม่จบสิ้น ในชาตินี้จึงมาสร้างกรรม ทำเวรซึ่งกันและกันเพิ่มเข้าไปอีกผู้เขียนขอย้ำว่ากฏแห่งกรรมนั้นมีจริง เป็นจริงได้ตลอดเวลาโดยไม่คาดฝัน สุดแท้แต่ว่าจะให้อโหสิกรรมต่อกัน เลิกอาฆาตพยาบาทจองเวรกันและกันหรือไม่หากไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เจริญสติปัฏฐาน4 ก็จะไม่รู้ซึ้งถึงกฏแห่งกรรม จะไม่รู้ถึงการให้อภัยทาน การเลิกอาฆาตพยาบาทกันและกัน กฏแห่งกรรมนั้นนอกจากจะมีจริง เป็นจริงแล้ว ยังเกิดขึ้นได้โดยไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่อีกด้วยดังนั้นคงไม่มีอะไรประเสริฐเท่ากับความมีเมตตา ให้อภัยต่อกัน ไม่ว่ากับคนด้วยกัน หรือกับสรรพสัตว์เพราะต่างก็มีชีวิต มีความรู้สึกเจ็บปวด ทุกข์ทรมานเหมือนๆ กันหมดอ่านแล้ว ปลงกะชีวิตจริงๆๆ


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

12
ถ้าคิดจะไปหวังความปกป้องคุ้มครองจาก"วัตถุมงคล" หรือ"เครื่องรางของขลัง"ทั้งหลาย มี"จตุคามรามเทพ" ที่สร้างออกมาอย่าง"สะบั้นหั่นแหลก"อยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ยังต้อง"สุ่มเสี่ยง"กับ"ของปลอม"หรือ"ของเสริม"ที่"นอกพิธี"(ไม่ได้เสก) อีกมากมายมหาศาล ที่เอาไปแขวนคอไป ก็คงมีแต่จะ"เจ็บ"หรือ"ตาย"เปล่าๆ เพราะหาพลังพุทธคุณเทวคุณอิทธิคุณอันใดมิได้.....
เรียกว่า งานนี้ หนีเสือปะจระเข้จริงๆ......
กรรมของสัตว์โลกจริงๆ...!!!!!!!
fficeffice" />>>
จากการสืบทราบทั้งจาก"โรงงาน"ที่รู้จักกันเป็นสิบๆปีและ"แหล่งข่าววงใน"หลายๆที่ทั้งที่"กรุงเทพ"และ"นครศรีธรรมราช"นั้น ทำให้ได้ทราบ"ข้อมูลเบื้องลึก"ด้วยความน่าตกใจไม่น้อยว่า อัน"จตุคามรามเทพ"ที่ออกมาสู่วงการและสนามพระในตอนนี้ "ร้อยละ 80 ไม่ได้ปลุกเสก" เลย >>
>>
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ
1. เนื่องจากมีการทำจตุคามรามเทพกันมาก โรงงานมีงานล้นมือ จึงทำให้ไม่ครบไม่ทันตามกำหนดพิธี จึงได้พระเพียง"ส่วนเดียว" ไปเข้าพิธี ส่วนที่เหลือ จึงไม่ได้ปลุกเสกใดๆ(ยกเว้นบางเจ้าอาจจะเอาผงเข้าพิธี แล้วไปปั๊มทีหลัง แล้วออกจำหน่ายจ่ายแจกเลย)
ด้วยเหตุนี้ หลายๆพิธีเทวาภิเษก จึงเป็นเพียงเสก"ผง"หรือ"กล่องเปล่าๆ" โดยมีพระมีจตุคามฯเพียงเล็กน้อยเท่านั้น..!!!???
2. สำหรับรุ่นที่"ดังๆ" และมีราคาสูงๆ คนสร้างเกิด"ความโลภ" เลยสร้าง"เสริม"มาหลอกขายอีกต่อเสียเลย
3. "ปลอมสนิท เซียนส่ายหน้า" (ไปดูแถวท่าพระจันทร์ได้ มีเป็นตันๆ!!!!!)
>>
ลำพัง ต่อให้เป็น"ของแท้ๆ" ปลุกเสกจริงๆ ก็ใช่ว่า จะ"คุ้มหัว"ได้ทุกกรณีเสียเมื่อไร สมกับที่หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ เคยกล่าวไว้ว่า
"อันเครื่องรางของขลังทั้งหลายนั้น หากกรรมมาตัดรอนแล้ว ก็ไม่อาจคุ้มครองได้" เพราะ"อำนาจใดอื่นยิ่งกว่าอำนาจกรรมมิได้มี" (แต่หากยังไม่"ถึงที่" ก็อาจช่วยบรรเทาให้จาก"หนัก"กลายเป็น"เบา"ได้)
แต่หากเป็นกรณี"ของปลอมของเสริม" ที่ของที่"เจตนาการสร้างไม่บริสุทธิ์" (พระ/เทวดาเล็งเห็นก็ได้แต่เบือนหน้าหนี) หรือไม่ผ่านพิธีใดๆด้วยแล้ว จะเอาพลังเอาบารมีความศักดิ์สิทธิ์ที่ไหนมาต้านทานคุ้มครองป้องกันให้พ้นภยันตรายซึ่งนับวันมีแต่จะร้ายแรงยิ่งๆขึ้นไปได้เล่า..???????
ด้วยเหตุนี้ จึงขอเตือนทุกๆท่าน ให้พิจารณาการทั้งปวงให้"ดีๆ"และ"รอบคอบ"ที่สุดเถิด ถ้าไม่อยาก"ตายเปล่า"นาครับ..!!!!!!!!!!!

13
?... พระเครื่องที่ผม (พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร) ได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ หลังจากที่รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำในวังไกลกังวลพระ ?สมเด็จจิตรลดา? หรือพระ ?กำลังแผ่นดิน? ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเอง

คืนนั้น บนพระตำหนักเปี่ยมสุขในวังไกลกังวล จำได้ว่า พระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาพร้อมด้วยกล่องใส่พระเครื่องในพระหัตถ์ ขณะที่ทรงวางพระลงบนฝ่ามือที่ผมแบรับอยู่นั้น ผมมีความรู้สึกว่าองค์พระร้อนเหมือนเพิ่งออกจากเตา


ทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระเครื่องด้วยการนำเอาวัตถุมงคลหลายชนิดผสมกัน เช่น ดินจากปูชนียสถานต่าง ๆ ทั่วประเทศ ดอกไม้ที่ประชาชนทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสต่าง ๆ และเส้นพระเจ้า (คือเส้นผม) ของพระองค์เอง เมื่อผสมกันโดยใช้กาวลาเท็กซ์เป็นเครื่องยึดแล้ว จึงทรงกดพระแต่ละองค์ลงในพิมพ์ โดยไม่ได้เอาเข้าเตาหรือใช้ความร้อนชนิดใด ๆ


หลังจากที่เรา (นายตำรวจรวมแปดนายและนายทหารเรือหนึ่งนาย) รับพระราชทานพระแล้ว ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทมีความว่า พระที่พระราชทานนั้น ก่อนจะเอาไปบูชา ให้ปิดทองเสียก่อน แต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังพระเท่านั้น


พระราชทานพระบรมราชาธิบายด้วยว่า ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อจะได้เตือนตัวเองว่า การทำความดีไม่จำเป็นต้องอวดใคร หรือประกาศให้ใครรู้ ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้ว


... หลังจากที่ไปเร่ร่อนปฏิบัติหน้าที่อยู่ไกลห่างพระยุคลบาทเป็นเวลาประมาณหนึ่งปี ผมได้มีโอกาสกลับไปเฝ้าฯ ที่วังไกลกังวลอีก ความรู้สึกเมื่อได้เฝ้าฯ นอกจากจะเป็นความปีติยินดีที่ได้ใกล้พระยุคลบาทอีกครั้งหนึ่งแล้ว ก็มีความน้อยใจที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ลำบาก และเผชิญอันตรายนานาชนิด บางครั้งแทบเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ปรากฏว่ากรมตำรวจมิได้ตอบแทนด้วยบำเหน็จใด ๆ ทั้งสิ้น


ก่อนเสด็จขึ้นคืนนั้น ผมจึงก้มลงกราบบนโต๊ะเสวย แล้วกราบบังคมทูลว่า ใคร่ขอพระราชทานอะไรสักอย่างหนึ่ง


พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า ?จะเอาอะไร?? และผมก็กราบบังคมทูลอย่างกล้าหาญชาญชัยว่า จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตปิดทองบนหน้าพระที่ได้รับพระราชทานไป พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามเหตุผลที่ผมขอปิดทองหน้าพระ


ผมกราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่า พระสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินนั้น นับตั้งแต่ได้รับพระราชทานไปห้อยคอแล้ว ต้องทำงานหนักและเหนื่อยเป็นที่สุด เกือบได้รับอันตรายร้ายแรงก็หลายครั้ง มิหนำซ้ำกรมตำรวจยังไม่ให้เงินเดือนขึ้นแม้แต่บาทเดียวอีกด้วย


พระเจ้าอยู่หัวทรงแย้มพระสรวล (ยิ้ม) ก่อนที่จะมีพระราชดำรัสตอบด้วยพระสุรเสียงที่ส่อพระเมตตาและพระกรุณาว่า ปิดทองข้างหลังพระไปเรื่อย ๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง...?

จากหนังสือ ?รอยพระยุคลบาท?
บันทึกความทรงจำของ พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

14
พิธีบวงสรวงองค์จตุคามรามเทพ ทั้งที่ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช และที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ยังคงมีประจำทุกวัน ท่ามกลางกระแสความนิยมอย่างต่อเนื่อง แต่ละพิธีจะมีการเชิญพราหมณ์ ผู้ที่ได้รับความเชื่อถือหรือพระภิกษุที่เป็นเกจิอาจารย์เข้าประกอบพิธี ทว่า ที่น่าสนใจกลับพบว่า เจ้าพิธีที่บวงสรวงอัญเชิญเทวดาเพื่อปลุกเสกมวลสารหรือบวงสรวงองค์จตุคามรามเทพ กลับเป็นเด็กชายอายุเพียง 3 ขวบ 6 เดือน

เด็กชายคนดังกล่าวร่วมทำพิธีปลุกเสกมวลสารจัดสร้างจตุคามรามเทพ รุ่น ?แก้วสารพัดนึกพระโพธิสัตว์กึ่งพุทธกาล? เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน จัดสร้างโดยวัดควนกะไหล ต.กะไหล อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา โดยมีการจัดแท่นมณฑลพิธีบวงสรวงเทวดา มีเครื่องบวงสรวงครบครัน หลังจากพิธีในช่วงเช้าแล้วเสร็จ ในช่วงบ่ายมีเจ้าพิธีที่สร้างความตื่นตะลึงให้แก่ผู้ที่พบเห็น เนื่องจากเจ้าพิธีดังกล่าวเป็นเด็กชายตัวเล็ก

โดยเด็กชายคนดังกล่าวชื่อ ด.ช.ธีระเทพ นุ่นขาว อายุ 3 ขวบ 6 เดือน หรือน้อง ?ธี? อยู่บ้านเลขที่ 11/56 แขวงสายไหม เขตสายไหม กทม. ซึ่งพิการท่อนล่างตั้งแต่กำเนิด และมีอาการเหนื่อยล้าและออกอาการง่วงนอนจนเห็นได้ชัด

นางนงลักษณ์ นุ่นขาว อายุ 40 ปี มารดาของน้องธี กล่าวว่า เมื่อแรกคลอดมีแผลที่บริเวณไขสันหลัง แพทย์บอกว่าจะมมีชีวิตได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง ให้ทำใจ แต่ตนและนายจารึก นุ่นขาว อายุ 40 ปี สามี ได้ภาวนาอุทิศว่า หากลูกมีชีวิตรอดจะกินเจ งดบริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิด จนน้องธีเข้าผ่าตัด หลังผ่าตัดแพทย์ยังบอกว่าจะมีอายุได้ไม่เกิน 6 เดือนเท่านั้น และอยู่ในห้องไอซียูมาตลอด






?ดิฉันและสามีได้ร่วมกันสวดมนต์บทพุทธบารมี บทสรรเสริญพระพุทธคุณ และบท 12 พลังแสง แผ่เมตตาภาวนาให้ลูกหายมาโดยตลอด และเมื่ออายุได้ 4 เดือน ได้แบกเดินพาขึ้นไปบนเขาสามร้อยยอดที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ยกให้เป็นลูกของพญางูที่นั่นตามความเชื่อ ไปนั่งสมาธิโดยมีน้องธีอยู่ในกลดร่วมด้วย และนำปฏิบัติธรรมตั้งแต่ยังเป็นทารกจนถึงปัจจุบันรอดมาได้อย่างอัศจรรย์? นางนงลักษณ์ กล่าว

นางนงลักษณ์ เล่าว่า ตลอดเวลาที่ปฏิบัติธรรมที่ไหนจะพาไปด้วยทุกครั้ง จนซึมซับบทสวดทุกบทได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งบทอัญเชิญชุมนุมเทวดาในการบวงสรวงต่างๆ เช่นการบวงสรวงปลุกเสกมวลสารสร้างองค์จตุคามรามเทพหลายครั้งแล้ว เนื่องจากเชื่อว่าการเป็นเจ้าพิธีจะเพิ่มพลังบารมีเพราะเด็กยังบริสุทธิ์สะอาด ถือว่าเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ที่สุด การสวดพระคาถาต่างๆ เป็นสมาธิที่ตั้งใจ สามารถสวดได้เป็นชั่วโมง

?ครอบครัวของเราอยู่กับการปฏิบัติธรรมมาตลอดหลายครั้ง เกิดในสิ่งที่อธิบายไม่ได้กับครอบครัว เดิมนั้นเมื่อเห็นน้องธีคลอดมาเสียใจที่ลูกออกมาเช่นนี้ แต่เมื่อโตขึ้นมีความเป็นเลิศในเรื่องของความจำ ตอนนี้เขายังอ่านไม่ได้ แต่สามารถท่องจำตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษได้ทั้งหมด ส่วนบทสวดมนต์ต่างๆ นั้นสามารถจำได้อย่างเหลือเชื่อ อีกไม่กี่วันน้องธีจะต้องเข้าห้องผ่าตัดอีกครั้ง เพื่อผ่าตัดสะโพกเนื่องจากสะโพกเขาหลุด หมอบอกว่าโอกาสหายมี 50 : 50 และถ้าเดินได้จะเดินไม่เหมือนคนปกติ? นางนงลักษณ์ กล่าว



ที่มา : http://dek-d.com/board/view.php?id=885982



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

15
เนื่องในมหามงคลสมัยวันฉัตรมงคลที่จะเวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่งในวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม ศกนี้ นับเป็นมหามงคลสมัยที่ปวงชนชาวไทยจะได้ถวายความจงรักภักดีและได้ถวายพระพรต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้เป็นทั้งพระมหากษัตริย์อันประเสริฐ และประดุจดังพระเทพบิดรของปวงชนชาวไทย
ในวาระเช่นนี้คอลัมน์นี้จะแสดงเนื้อความอันเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในบางมุมบางแง่ซึ่งอาจไม่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป แต่เป็นความจริงซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อพสกนิกรทั้งหลายจะได้รู้จะได้ทราบว่าพระประมุขของเรานั้นใช่ว่าจะเรืองพระบรมเดชานุภาพเฉพาะแต่ทางโลกก็หาไม่ แต่ในทางธรรมก็ทรงบรรลุภูมิธรรมอันสูงยิ่ง
สมแล้วที่ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก เป็นหลักชัยที่ค้ำชูทำนุบำรุงพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าในพระราชอาณาจักรตลอดระยะเวลาอันช้านาน
เมื่อแรกเริ่มครองราชย์ก็ทรงประกาศเป็นพระปฐมบรมราชโองการอันยังก้องกังวานทั่วผืนฟ้าแผ่นดินสิ้นถึงทุกวันนี้ว่า ?เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม?
นับเป็นพระปฐมบรมราชโองการที่ครบถ้วนบริสุทธิ์บริบูรณ์ หมดจดงดงามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด พระราชกรณียกิจมากหลายกว่าครึ่งศตวรรษล้วนเป็นบทพิสูจน์อันปราศจากความสงสัยใดๆ ว่าทรงตั้งอยู่ในธรรม ทรงเคารพธรรม ทรงถือธรรมเป็นใหญ่ ทรงประพฤติปฏิบัติธรรม และธรรมทั้งหลายเหล่านั้นล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
ทรงละ ทรงวาง ความสุขสบายส่วนพระองค์เป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษเพื่อประโยชน์และความสุขของพสกนิกร สมัยหนึ่งเมื่อครั้งที่พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังมีชีวิตอยู่ได้กล่าวว่าพระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นทรงตรากตรำพระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกรของพระองค์อย่างหนักหนาสาหัส ถึงขนาดอาบพระเสโทต่างน้ำ
เพราะเหตุที่ทรงประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นแบบอย่างเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามตลอดระยะเวลาอันยาวนานเช่นนี้ ได้เปิดหนทางอันกว้างใหญ่ให้ทรงค้นและพบพระเถรานุเถระที่ทรงภูมิธรรมขั้นสูง ได้ศึกษาและรับแนวทางปฏิบัติอันถูกต้องในการถึงซึ่งวิชชาในพระพุทธศาสนา กระแสพระราชดำรัสหลายครั้งหลายหนที่ทรงรับสั่งกับพระมหาเถระที่ทรงธรรม ทรงวินัย ได้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าภูมิธรรมในพระองค์นั้นได้บรรลุมรรคผลที่สูงมาก ทรงแจ่มแจ้งทั้งในทางปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ อย่างยากที่พุทธศาสนิกชนคนใดจะก้าวไปถึง
มีผู้กล่าวว่าภูมิธรรมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นมิได้ย่อหย่อนไปกว่าพระเจ้าพิมพิสารในครั้งพุทธกาล และมิได้น้อยไปกว่าพระเจ้าอโศกมหาราชในยุคหลังพุทธกาล 300 ปี นั้นเลย
แต่คอลัมน์นี้กล่าวได้ว่าพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์นั้นก็ไม่เคยแสดงทิพยอำนาจในพระองค์ให้ปรากฏเหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทยเรานี้เลยแม้แต่สักครั้งเดียว
เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเพื่อความรับรู้ในหมู่พสกนิกรซึ่งมีความจงรักภักดี เห็นสมควรนำกรณีอันมีผู้รู้เห็นยืนยันและแสดงถึงภูมิธรรมอันสูงยิ่งในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแสดงดังนี้
เรื่องที่หนึ่ง พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ อดีตนายทหารประสานงานของราชสำนักซึ่งได้ถึงแก่กรรมแล้วเคยเล่าว่า สมัยหนึ่งเมื่อครั้งยังปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ ได้รับพระราชกระแสให้ไปนิมนต์พระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสีองค์สำคัญของภาคอีสานเพื่อมาร่วมงานราชพิธีส่วนพระองค์ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ ได้ติดต่อไปทางจังหวัดประสานงานไปทางอำเภอ ตำบล และต้องให้คนขี่มอเตอร์ไซค์ไปที่วัด แต่ปรากฏว่าพระมหาเถระรูปนั้นได้ออกธุดงค์ไปแล้ว ไม่สามารถติดต่อได้ จึงนำความมากราบบังคมทูลให้ทรงทราบ
ทรงรับสั่งว่าให้ไปเรียนพระศาสนโสภณให้ช่วยนิมนต์ให้ พระศาสนโสภณที่ว่านี้ก็คือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบัน ดังนั้นพลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ จึงนำความไปเรียนให้พระศาสนโสภณทราบ ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณบ่ายโมงเศษ พระศาสนโสภณได้แจ้งว่าให้มาฟังผลในเวลา 16 นาฬิกา แล้วเดินขึ้นไปบนกุฏิชั้นบน พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ ได้รอคอยจนถึงเวลา 16 นาฬิกา ก็ได้รับคำบอกกล่าวจากพระศาสนโสภณว่าได้นิมนต์ตามพระราชประสงค์แล้ว ให้เอารถไปรับที่จุดนัดพบในเวลาที่นัดหมาย
พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ เดิมสำคัญว่าพระศาสนโสภณมีข่ายงานติดต่อพิเศษของคณะสงฆ์ แต่ก็รู้สึกแปลกใจ จึงสอบถามพระเลขานุการว่าการติดต่อได้ใช้วิธีใด ก็ได้รับคำบอกว่าเป็นการติดต่อทางโทรจิต
ผู้ที่รู้ว่าผู้อื่นมีภูมิธรรมในระดับที่สามารถใช้ทิพยอำนาจได้เช่นนี้ ก็ย่อมมีภูมิธรรมที่ห่างกันไม่มากนัก เพราะคนธรรมดาไหนเลยจะล่วงรู้ได้
เรื่องที่สอง ช่วง 3-4 ปีก่อนที่ท่านเจ้าคุณพุทธทาสจะมรณภาพ หนังสือพิมพ์ต่างประเทศได้ลงข่าวว่าท่านเจ้าคุณป่วยหนัก รัฐบาลไทยไม่เหลียวแลเอาใจใส่ หนังสือพิมพ์ไทยได้นำความมาลงตีพิมพ์ เป็นเหตุให้คนไทยได้รับรู้ และความทราบถึงเบื้องพระยุคลบาท
ครั้งนั้นท่านเจ้าคุณพุทธทาสป่วยหนักด้วยโรคน้ำท่วมปอด เส้นเลือดหัวใจตีบ มีอาการหัวใจวาย และความดันโลหิตสูงร่วม 300 หากเป็นคนทั่วไปก็เห็นได้ว่าเข้าขั้นโคม่า มีความตายเป็นเบื้องหน้าเป็นแน่แท้
ในครั้งนั้นหนังสือพิมพ์ไทยหลายฉบับลงข่าวตรงกันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์หลวงคณะหนึ่งเดินทางไปรักษาท่านเจ้าคุณพุทธทาสที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และให้นำความไปถวายท่านเจ้าคุณด้วยว่า ?พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขออาราธนาว่าท่านเจ้าคุณอย่าเพิ่งดับขันธ์ ขอให้อยู่ช่วยจรรโลงพระศาสนาต่อไป?
แล้วหนังสือพิมพ์ก็เสนอข่าวต่อไปว่า เมื่อคณะแพทย์ไปถึงและท่านเจ้าคุณได้รับทราบว่ามีกระแสรับสั่งมาถวาย ก็ได้พยายามลุกนั่งสมาธิบนเตียงพยาบาล เมื่อได้ทราบคำอาราธนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ท่านเจ้าคุณนิ่งอึ้งอยู่พักใหญ่ แล้วกล่าวว่า ?อาตมารับอาราธนา แต่จะอยู่ไปเท่าที่สังขารจะทนไหวเท่านั้น?
ในชั่วคืนวันนั้นเหตุการณ์มหัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น เพราะอาการหัวใจวายและเส้นเลือดหัวใจตีบได้ทุเลาลง น้ำท่วมปอดได้ลดลง ความดันได้ลดลงเกือบปกติ พระซึ่งใกล้ชิดท่านเจ้าคุณได้เล่าให้ฟังว่า หลังจากรับอาราธนาแล้วท่านเจ้าคุณได้ปฏิบัติสมาธิและอยู่ในอาณาปานสติวิหารตลอดทั้งคืน
ความนี้เป็นเรื่องมหัศจรรย์เพราะมีข่าวต่อมาว่าหนังสือพิมพ์ต่างประเทศฉบับหนึ่งได้ลงข่าวในเชิงตั้งข้อสงสัยนี้ว่า พระสงฆ์ไทยนี้แปลก ที่สามารถผัดผ่อนความตายได้
แต่คนไทยจำนวนหนึ่งมิได้สงสัย เพราะมีความในมหาปรินิพพานสูตรแสดงไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ใดได้เจริญอิทธิบาทสี่ให้มากแล้ว ทำให้เป็นประหนึ่งยานแล้ว ทำให้เหมือนกับเป็นพื้นแผ่นแล้ว มีใจตั้งมั่นบริสุทธิ์ หากปรารถนาจะมีอายุชั่วกัลป์หนึ่งหรือกว่านั้นก็ได้
ท่านเจ้าคุณพุทธทาส คนทั่วไปรู้แต่เพียงว่าท่านทรงปริยัติเสมอด้วยพระพุฒโฆษาจารย์ของลังกาในอดีต แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้ดีว่าท่านบรรลุภูมิธรรมถึงวิชชาแปดประการในพระพุทธศาสนา มีทิพยอำนาจอยู่ในตัว และเจริญอิทธิบาทอยู่เนืองๆ อาการป่วยขั้นวิกฤตที่ทุเลาเบาบางลงก็ด้วยทิพยอำนาจนั้น ดังที่ปรากฏความในมหาปรินิพพานสูตรนั่นเอง
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่า ท่านเจ้าคุณมีภูมิธรรมเช่นนี้ อยู่ในวิหารธรรมเช่นนี้ มิใช่สิ่งที่คนธรรมดาจะรู้ได้ หากต้องมีภูมิธรรมและอยู่ในวิหารธรรมที่ใกล้เคียงกัน ท่านเจ้าคุณพุทธทาสบรรลุภูมิธรรมขั้นไหน ก็เห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีภูมิธรรมที่ใกล้เคียงกันนั้นเอง ดังนั้นจะกราบพระบรมฉายาลักษณ์ครั้งใด ความรู้สึกหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือกำลังกราบพระอริยบุคคลนั่นเอง
เรื่องที่สาม เป็นเรื่องราวของพลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนลงไว้ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐด้วยตัวท่านเองว่า สมัยหนึ่งจะเดินทางไปผ่าตัดหัวใจที่ต่างประเทศ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ท้ายที่สุดได้ทรงรับสั่งว่าไปผ่าตัดครั้งนี้จะไม่ตาย ให้รีบกลับ
พลตรีหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนไว้ว่ามีความเชื่อมั่นในขณะนั้นบังเกิดเป็นปิติอันเปี่ยมล้นว่าครั้งนี้เห็นจะไม่ตายแน่ มีอาการขนลุกซู่ซ่า
คำรับสั่งที่เสมอด้วยสามารถตกลงกับพญามัจจุราชได้ดังนี้ ใช่ว่าผู้ที่มีภูมิธรรมธรรมดาจะกระทำได้ นี่เป็นวิชชาหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่มีแต่ผู้มีภูมิธรรมอันสูงส่งเท่านั้นที่จะกระทำได้
เรื่องที่สี่ เป็นเรื่องของครูเอื้อ สุนทรสนาน หรือสุนทราภรณ์ ผู้มีสมญาว่านักร้องชั้นบรมครูผู้อมตะ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษคนหนึ่งในวงการศิลปินไทย โปรดให้เข้าร่วมวง อส. ซึ่งเป็นวงดนตรีส่วนพระองค์ ครั้งที่ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงพระราชนิพนธ์ก็ทรงพระราชทานให้กับวงสุนทราภรณ์นำไปแสดง ครั้งที่เสด็จนิวัติกลับพระนครหลังจากเสร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ครูเอื้อ สุนทรสนาน และครูแก้ว อัจฉริยะกุล ก็ได้ร่วมกันรังสรรค์บทเพลงเพื่อถวายการต้อนรับคือเพลงราชาเป็นสง่าแห่งแคว้นอันเป็นอมตะ
ทรงมีพระเมตตาต่อครูเอื้อ สุนทรสนาน มาก ถึงกับพระราชนิพนธ์เพลงไตเติ้ลให้กับวงดนตรีสุนทราภรณ์ ชื่อว่าเพลงพระมหามงคล และพระราชทานธง ภปร. สำหรับวงด้วย
ในเดือนธันวาคมปีก่อนที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน จะถึงแก่กรรม ได้โปรดเกล้าฯ ให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน ขึ้นไปร้องเพลงถวายที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ในบทเพลงพรานทะเล ซึ่งขณะนั้นครูเอื้อ สุนทรสนาน ป่วยหนักด้วยโรคมะเร็ง ได้เดินทางออกจากโรงพยาบาลไปร้องเพลงถวาย แต่ร้องได้เพียงครึ่งเพลงก็ต้องทรุดลง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพฯ เข้าไปประคองครูเอื้อ สุนทรสนาน เข้ามานั่งใกล้พระเก้าอี้ แล้วรับสั่งถามอาการ ครู่หนึ่งเหมือนกับจะทรงรู้ว่าครูเอื้อ สุนทรสนาน ป่วยคราวนี้คงตายแน่จึงมิได้ตรัสประการใดเหมือนกับที่เคยตรัสกับพลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
เป็นแต่ทรงถอดสร้อยซึ่งห้อยพระสมเด็จจิตรลดาออกจากพระศอคล้องคอครูเอื้อ สุนทรสนาน พร้อมกับตบศีรษะด้วยพระเมตตาแล้วทรงตรัสว่า ให้เร่งรักษานะ
ครูเอื้อ สุนทรสนาน กลับจากงานครั้งนั้นก็รู้ตัวว่าถึงเวลาใกล้จะตายแล้ว จึงได้ทำเพลงสุดท้ายสั่งลาแฟนเพลง ชื่อว่าเพลงพระเจ้าทั้งห้า ซึ่งสรรเสริญและรำลึกพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ พร้อมกับฝากบทเพลงสุนทราภรณ์ไว้อยู่คู่ฟ้าเมืองไทย
นี่ก็เป็นวิชชาอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนาเพราะแสดงให้เห็นถึงอนาคตังสญาณที่มีอยู่ในพระองค์ ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการที่เสด็จไปแห่งหนตำบลใด ถ้าหากฝนแล้งก็จะบังเกิดฝนตก หรือถ้าฝนตกหนักก็บังเกิดฝนหยุด อันเป็นพระบารมีที่มีแต่ภูมิธรรมอันสูง และถือเป็นทิพยอำนาจในพระองค์ที่คนไทยทั้งประเทศได้รู้ได้เห็นกันตลอดมาแล้ว
และด้วยภูมิธรรมระดับนี้ย่อมเชื่อและหวังได้ว่าองค์พระประมุขของเรานั้นทรงสามารถเจริญอิทธิบาทสี่ บรรลุถึงมรรคและผลแห่งวิหารธรรมข้อนี้ในระดับที่สูง ก่อเป็นทิพยอำนาจในพระองค์สมแก่ฐานะขององค์เอกอัครศาสนูปถัมภกซึ่งพสกนิกรทั้งประเทศสามารถกราบไหว้และได้อานิสงส์อย่างเดียวกันกับการกราบไหว้พระอริยบุคคลนั้นแล
ขออำนาจสัตยาธิษฐาน ความมีอยู่จริง ความมีผลจริง ในวิชชาและวิมุติในพระพุทธศาสนาและคุณพระศรีรัตนตรัย ตลอดจนอำนาจแห่งพระปริตรได้คุ้มครองกำจัดและป้องกันสรรพภัย สรรพทุกข์ สรรพโรค อย่าได้กล้ำกรายพระองค์ ขอทรงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณในกาลทุกเมื่อเทอญ


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

16
บทความ บทกวี / คำสาบานของฤาษี
« เมื่อ: 02 มิ.ย. 2550, 05:36:37 »
คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/...tml#february48


หนึ่งในคอลัมน์ของธรรมจักษุ
เรื่อง
คำสาบานของฤาษี
โดย...นาวาเอก (พิเศษ) วุฒิ อ่อนสมกิจ

พิมพ์ลงในนิตยสาร ?ธรรมจักษุ?
ปีที่ 89 ฉบับที่ 5 กุมภาพันธ์ 2548
คำสาบานของฤาษี
เมื่อ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล มีสมบัติเป็นมรดกถึง 80 โกฏิประชาชนจึงตั้งชื่อให้ว่า มหากาญจนกุมาร มีพี่น้องร่วมตระกูลถึง 7 คน คนสุดท้องเป็นหญิงชื่อว่า กาญจนาเทวี มารดาบิดาหวังจะให้ มหากาญจน์ พี่ใหญ่รับมรดกสืบตระกูล หลังกลับจากการศึกษาสำนักตักกสิลาแล้ว เตรียมขอบุตรสาวตระกูลที่เหมาะสมให้ แต่มหากาญจน์ปฏิเสธโดยส่วนเดียว โดยชี้แจงว่า ภพ คือการเกิดเป็นสิ่งที่น่าสพรึงกลัว ไม่ผิดอะไรกับกองเพลิงเครื่องจองจำ หรือสิ่งโสโครก อยากออกบวชขอให้มอบสมบัติทั้งหมดแก่น้องๆ ต่อไป
เมื่อปรึกษากับบุตรทุกคนโดยลำดับจนถึงคนสุดท้องคือกาญจนาเทวี ก็ปฏิเสธเช่นเดียวกัน น้องทั้ง 6 คนจะขอออกบวชตามพี่คนโตเหมือนกันหมด
ภายหลังจากมารดาบิดาเสียชีวิตแล้ว เมื่อไม่มีใครรับมรดกปกครองทรัพย์กองใหญ่เพียงนั้นมหากาญจน์จึงนำทรัพย์ทั้งหมดออกบริจาค เป็นมหาทานอุทิศส่วนกุศลแก่มารดาบิดา แล้วพี่น้องทั้ง 7 พากันเข้าป่าบวชเป็นฤาษี อยู่ในอาศรมคนละหลังในบริเวณใกล้สระบัวใหญ่ เวลาหาอาหารก็ต่างคนต่างหามารวมกัน แล้วแบ่งกันตามประสาพี่น้อง
ฤาษีน้องๆ มหากาญจน์ได้ความคิดใหม่ว่า ในฐานะพี่มหากาญจน์เป็นพี่ใหญ่ เป็นทั้งพี่และอาจารย์สอน ไม่สมควรลำบากด้วยอาหาร จึงพร้อมใจกันผลัดเวรหาคนละวัน เมื่อได้ก็มาแบ่งเป็นกองเรียงไว้บนหินดาด เป็น 8 กอง แล้วตีระฆังเป็นสัญญาณ เมื่อถึงเวลาต่างก็ออกจากอาศรม หยิบเอากองของตนๆ ไปคนละกอง นำกลับไปอาศรมของตนๆ แล้วบำเพ็ญสมณธรรมทั้งวัน ภายหลังฤาษีเหล่านั้นได้ฉันเหง้าบัวในสระ ปรากฏว่ามีร่างกานสมบูรณ์บำเพ็ญตบะได้แรงกล้ายิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนจากหาผลไม้จากป่ามาเป็นเปลี่ยนเวรกันขุดเหง้าบัวมากองเป็นอาหารแทนผลไม้เป็นประจำ
ต่อมาภายหลังปรากฏว่า กองเหง้าบัวที่เป็นส่วนของมหากาญจน์ผู้พี่หายไป วันแรกก็คิดว่าน้องๆ คงลืมส่วนของตัวเอง จึงเดินกลับอาศรม แล้วบำเพ็ญตบะโดยมิได้ทานอาหาร วันที่ 2 ส่วนของมหากาญจน์ก็หายไปอีก คิดว่าเราคงทำผิดอะไรซักอย่าง น้องๆ จึงไม่แบ่งเหง้าบัวให้ จึงเข้าอาศรมบำเพ็ญตบะส่วนตัว เมื่อถึงวันที่ 3 กองเหง้าบัวหายอีก จึงคิดว่า เราคงมีความผิดซักอย่าง น้องๆ ประสงค์จะลงโทษจึงไม่แบ่งเหง้าบัวให้ จึงให้สัญญาณด้วยระฆังเพื่อประชุมฤาษีทั้งหลายโดยหวังว่า ถ้ามีความผิดก็จะขอขมาโทษ ฤาษีน้องๆ เมื่อสอบถามกันทั่วแล้ว ก็ได้รับยืนยันว่า ได้แบ่งส่วนของพี่กองไว้ทุกวัน แต่ส่วนของพี่หายไปได้อย่างไร ต่างสงสัยว่าจะมีใครสักคนหนึ่งเกิดความโลภลักเอาเหง้าบัวส่วนของพี่ไป จึงมีมติให้แต่ละคนสาบานเพื่อความบริสุทธิ์ของตนๆ แล้วพี่คนที่ 2 ชื่อ อุปกาญจน์ ได้ยืนขึ้นท่ามกลางที่ประชุมของฤาษี กล่าวคำสาบานว่า
"ท่านผู้นิรทุกข์! ถ้าข้าพเจ้าลักเหง้าบัวไปขอให้ข้าพเจ้าผู้นั้นจงได้ม้า วัว เงินทองและภรรยาที่น่ารักน่าปรารถนา จงพรั่งพร้อมด้วยบุตรธิดา และภรรยาที่น่ารักจงมากเถิด..."
อุปกาญจน์กล่าวคำสาบานยังมิทันจบฤาษีต่างพากันเปิดหู แสดงว่าคำสาบานของอุปกาญจน์ น่าหวาดเสียว จนฟังไม่ได้ต่อไปต่างก็กล่าวว่า
"พอทีๆ ท่านผู้นิรทุกข์ คำสาบานของท่านหวาดเสียวนัก พวกเราก็เชื่อแล้วว่า ท่านมิได้เอาไป นั่งลงเถิด"
เมื่ออุปกาญจน์นั่งลงแล้ว น้องคนต่อไปก็ลุกขึ้นทำความเคารพ แล้วกล่าวคำสาบานต่อ
"ข้าแต่ท่านพราหมณ์! ถ้าข้าพเจ้าลักเหง้าบัวของท่านไป ขอให้ข้าพเจ้าเป็นคนรูปร่างงดงาม มีเครื่องประดับคือ มาลัย ดอกไม้ เครื่องลูบไล้ กระแจะจันทน์ชั้นดีจากแคว้นกาสี จงเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยบุตร ภรรยามาก คลุกเคล้าด้วยกามารมณ์มากมายเถิด"
เมื่อทั้ง 2 นั่งลงแล้ว น้องคนต่อไปสาบานต่อ และเลือกกล่าวคำสาบานให้น่าหวาดเสียวขึ้นอีก
"ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ถ้าข้าพเจ้าลักเหง้าบัวของท่านไป ขอให้ข้าพเจ้าผู้นั้นได้รับปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์บรมราชาธิราช มีกำลัง มียศศักดิ์ ได้ครอบครองแผ่นดิน มีมหาสมุทรทั้ง 4 เป็นขอบเขตเถิด"
บรรดาฤาษีน้องๆ ของมหามกาญจน์ต่างทะยอยกันลุกขึ้นสาบานตนโดยลำดับ แต่ละองค์กล่าวคำสาบานโดยเลือกหาเหตุการณ์ที่น่าเสียวสยองที่สุดสำหรับพวกฤาษี โดยขอให้เกิดมามีทรัพย์สมบัติและข้าทาสบริวารอุ่นหนาฝาคั่งด้วยทรัพย์สิน และกามคุณให้มากที่สุด จนกระทั่งถึงน้องหญิงสุดท้อง คือนางกาญจนาเทวี เธอกล่าวคำสาบานว่า
"หญิงใดลักเหง้าบัวของท่านไป ขอให้พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นเอกราช ผู้สามารถปราบปรามศัตรูได้ทั่วพื้นปฐพี ทรงสถาปนาหญิงนั้นให้เป็นยอดสตรี และขอหญิงนั้นจงเป็นมเหสีเอกผู้ประเสริฐกว่านางสนมทั้งหลายแต่ผู้เดียวเถิด"
ตามตำนานเล่าต่อว่า นอกจากพวกฤาษีจะสาบานเพื่อความบริสุทธิ์ของตนๆ แล้วยังมีเหล่าบริวารแวดล้อมในป่าตลอดจนสัตว์เช่น ลิง ช้าง ฯลฯ ต่างสาบานตนในทำนองเดียว (ขอ งดไม่กล่าวถึง)
เมื่อฤาษีทั้งหลายสาบานตนครบถ้วนแล้วก็ปรากฏชายแปลกหน้าผู้หนึ่ง ชายผู้นั้นมาจากทิศใดไม่ปรากฏ สังเกตดูท่าทาง มีสง่า เป็นบัณฑิต น่าเสื่อมใส คลานเข้าไปหาฤาษีมหากาญจน์ กราบแล้ว นั่ง ณ ที่ควร เอ่ยถามมหากาญจน์
"พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ยินคำสาบานของท่านทั้งหลายแล้วประหลาดใจนักธรรมดามนุษย์และสัตว์ทั้งโลกตลอดไปถึงเทพยดาในสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น ย่อมปรารถนาและพอใจในกามคุณ อันต่างโดยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ต่างเสาะหากามทั้งด้านวัตถุและกิเลสด้วยการประกอบกรรมทั้งที่สมควรและไม่สมควร พากันท่องเที่ยวไปในโลก สิ้นชาติแล้วๆ เล่า ๆ แต่พระคุณเจ้าทั้งหลายเห็นกามเป็นของน่าสะดุ้งกลัวน่าหวาดเสียว ถึงกับนำมาเป็นคำสาบาน แสดงความบริสุทธิ์ พระคุณเจ้าเห็นโทษอย่างไรหรือ? จึงหวาดเสียว ไม่สรรเสริญความมีกามและไม่แสวงหาซึ่งกามเหล่านั้น"
พราหมณ์มหากาญจน์โพธิสัตว์ตอบว่า
"ก็เพราะกามนั่นแหละ สัตว์ทั้งหลายจึงถูกประหาร (โดยมัจจุราช) และถูกจองจำ (โดยตัณหา อุปทาน)
เพราะกามนั่นแหละทุกข์และภัยจึงเกิด
เพราะกามทั้งหลาย สัตว์จึงตั้งอยู่ในความประมาทลุ่มหลง ทำกรรมอันเป็นบาปมากมาย ผลแห่งบาปจึงตามติดให้ผลแผดเผาอยู่ตลอดกาล เมื่อตายแล้วจึงไปเกิดในนรก
เพราะเห็นโทษแห่งกามคุณทั้งหลายเหล่านี้ ฤาษีทั้งหลายจึงกล่าวโทษของกามและไม่สรรเสริญการแสวงหากาม"
พราหมณ์เฒ่าผู้อาคันตุกะ แสดงความชื่นชมต่อคำกล่าวของท่านฤาษี ลุกขึ้นกราบด้วยความคารวะ แล้วสารภาพว่า
"ข้าแต่ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์! ข้าพเจ้ามิใช่ผู้เกิดในโลกมนุษย์ แต่เป็นท้าวสักกะจอมเทพ ปลอมตัวมาในเพศของพราหมณ์นี้ก็เพื่อทดสอบดูว่า ท่านและฤาษีทั้งหลายยังจะมีใจน้อมไปในสุขแบบชาวโลกอยู่หรือไม่ จึงแกล้งขโมยเหง้าบัวไปซ่อนไว้บนบก บัดนี้ข้าพเจ้าทราบชัดแล้วว่า ฤาษีทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ติดใจในกามทั้งหลายจริง ไม่มีบาป นี่คือเหง้าบัวของท่าน ข้าพเจ้าต้องขออภัยด้วยที่ล่วงเกิน"
"ท่านเทวราชผู้เป็นจอมภูต!" พระฤาษีโพธิสัตว์กล่าว "ฤาษีทั้งหลายมิใช่สหาย มิใช่ญาติ มิใช่เพื่อนเล่น ทำไมท่านจึงล้อเล่นฤาษีทั้งหลายเล่า"
"ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์! ข้าพเจ้าล่วงเกินท่านทั้งหลายด้วยความเขลา ขอท่านผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน จงอาศัยความเมตตายกโทษด้วยเถิด"
มหากาญจน์โพธิสัตว์กล่าวคำยกโทษให้ท้าวสักกะและพูดเชิงปลอบใจท้าวสักกะว่า
"การที่อาตมาภาพพร้อมพวกฤาษีทั้งหลาย ได้เห็นท้าวสักกะ ผู้จอมเทพด้วยตาก็นับว่าเป็นโอกาสอันดีเลิศของเหล่าฤาษีแล้วไม่มีใครถือโทษท่านดอก"
หลังจากได้สนทนาด้วยสัมโมทนียกถาตามสมควรแล้ว ท้าวสักกะผู้จอมเทพก็หายไป ณ ที่นั้น
สิ่งที่พระฤาษีท่านกลัวนักหนาก็คือ ความมี เช่นมีทรัพย์ มีลาภ มียศ ตลอดจนสรรเสริญสุข จนถึงนำมาเป็นคำสาบานที่น่าหวาดเสียว เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ แต่ในแนวคิดของชาวเรา สิ่งเหล่านั้นสิ่งยอดปรารถนา ทำบุญครั้งใด ก็ขอให้บุญบันดาลให้สิ่งเหล่านั้นเกิดแต่เราท่านโดยไม่มีปริมาณจำกัด จึงทำให้เกิดปัญหาว่า ระหว่างความคิดของฤาษีเมื่อหลายพันปีมาแล้ว กับความคิดของชาวเราในยุคนี้ อันไหนจะเป็นความคิดที่ทันสมัย เข้าถึงสัจจธรรมแท้จริงมากกว่ากัน? ซึ่งก็มีคำตอบชัดเจนอยู่ในเรื่องสมบูรณ์แล้ว

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

17
บทความ บทกวี / ปรัชญา
« เมื่อ: 03 พ.ค. 2550, 12:28:41 »
.....ปรัชญาแห่งความสำเร็จ

ถ้าคุณคิดว่าคุณจะพ่ายแพ้ละก็ คุณก็จะพ่ายแพ้
ถ้าคุณไม่คิดว่าคุณอยากจะทำแล้วละก็
คุณก็จะไม่ประสบความสำเร็จอะไรเลยแม้แต่อย่างเดียว
แม้ว่าคุณคิดว่าอยากจะชนะแต่คุณคิดว่าไม่สามารถจะชนะได้
ชัยชนะก็จะไม่เป็นของคุณ
ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่พยายามตั้งใจทำแล้วละก็ คุณก็จะพบกับความล้มเหลว
สิ่งที่พวกเราค้นหาในโลกนี้ก็คือความสำเร็จที่เริ่มจากกำลังใจของมนุษย์
ทุกสิ่งทุกอย่างคือการตัดสินใจจากสภาพจิตใจของมนุษย์
ถ้าคุณคิดว่าคุณเป็นคนสะเพร่าแล้วละก็ คุณก็จะเป็นไปตามนั้น
ถ้าคุณคิดว่าคุณจะก้าวไปในตำแหน่งที่สูงแล้วละก็
ก่อนที่คุณจะก้าวไปถึงตำแหน่งนั้น คุณควรมีความเชื่อมั่นว่า
คุณสามารถก้าวไปถึงอย่างแน่นอน
การต่อสู้ของชีวิตไม่ใช่ว่าคนที่แข็งแรง และคนที่ทำงานเร็ว จะได้เปรียบเสมอไป
ไม่ช้าก็เร็ว คนที่จะประสบความสำเร็จก็จะคือคนที่เชื่อว่า ฉันสามารถทำได้
นัปโปเลียน ฮิล

 

การศึกษาเอ๋ย
ถ้าไม่ศึกษาเลย
ก็ยิ่งเป็นประหนึ่งควาย
แต่ถึงแม้ศึกษามาก - สูง
ทว่าไม่ศึกษาศีล - ศึกษาจริยธรรมด้วย
ไม่ปฏิบัติตนให้เป็นคนเข้าถึงธรรมจนได้จริง
ก็ยิ่งจะเป็นควายตัวดุร้าย
ที่ยิ่งศึกษาสูง - มาก
ก็ยิ่งดุร้ายมาก
กินเลือด - เล่ห์แหลม - ลึก - ล้ำ !!!!!
โดยที่ผู้ศึกษานั้น ๆ ส่วนใหญ่
ก็ไม่รู้ตัวดอกว่า
ตนได้เป็นเช่นนั้นไปแล้ว
และแม้จะมีผู้ชี้บอกให้
ก็จะไม่เชื่อกันง่าย ๆ ด้วยซ้ำ
ในสังคมเมืองปัจจุบันนี้ มีเกลื่อนกลาด

จาก..สัมมาสิกขา (มูลนิธิธรรมสันติ 2531)

 

ฉลาดอย่างไม่ซื่อ ก็ คือฉลาดไปเข้าคุก เข้าตะราง สุดปลายทางก็คือ?..นรก
ถ้าซื่ออย่างไม่ฉลาด ก็คือ เซ่อ เหมือนคนละเมอเดินไปตกบันได?ตาย
ผู้กินอยู่เกินพอดี จงเตรียมตัวไว้ให้เต็มที่ เพื่อพบกับความไม่มีอะไรจะกิน?
พุทธทาสภิกขุ
สำนักสวนโมกขพลาราม
อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

 

" ถ้าใครหลงครูหลงตำรา จิตใจไม่มีทางสงบ ไม่มีทางพ้นทุกข์
แต่เราจะทำให้จิตสงบ หรือพ้นทุกข์ได้ ต้องอาศัยครู อาศัยตำรา "
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม สุรินทร์

 

" พูดน้อย กลุ้มน้อย ตัณหาน้อย นอนน้อย???
??ถ้าสี่อย่างนี้น้อย ก็ใกล้จะเป็นเซียนแล้ว "
ซุนซือเหมี่ยว

 

" คนที่เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป?เป็นคนที่โดดเดี่ยวอ้างว้างที่สุด?"
ลู่ซู

 

" ชีวิตที่ราบรื่นเกินไป เป็นชีวิตที่สามัญ ไร้ความหมาย??
ของที่ได้มาง่ายเกินไป มักไม่ล่ำค่า?"
เหมาตุ่น

 

" ผู้ใฝ่ศึกษา จะศึกษาข้อดีของคนอื่น มาเสริมข้อด้อยของตนเอง "
หลี่ปุ๊เหว่ย

 

" สูงส่งแต่ไม่เย่อหยิ่ง ชนะแต่ไม่ลำพอง
ปราดเปรื่องแต่รู้จักลงเวที เข้มแข็งแต่มีความอดกลั้น?"
ขงเบ้ง

 

" การตกระกำลำบากเป็นมหาวิทยาลัยชั้นสูงในการฝึกฝนยอดคน?."
เหลียงฉี่เชา

 

" คนอื่นช่วยเรา??เราจะจำไว้ชั่วชีวิต
เราช่วยคนอื่น??จงอย่าจำใส่ใจ "
ฮั่วหลัวเกิง

 

" แมวสีอะไรก็จับหนูได้ "
เติ้งเสี่ยวผิง

 

" เชื่อหนังสือจนหมด สู้อย่ารู้หนังสือเลยยังจะดีกว่า.."
เม่งจื้อ

 

" สิ่งที่ตัวเราไม่ชอบ จงอย่าทำกับคนอื่น "
ขงจื้อ

 

" อย่าทำความชั่ว เพราะคิดว่าผิดนิดเดียว??..
อย่าละเว้นการทำความดี เพราะคิดว่าได้บุญกุศลแค่นิดเดียว?."
เผยสงจือ

 

" น้ำใสสะอาดเกินไป?..ย่อมไร้ซึ่งมัจฉา
คนที่เข้มงวดเกินไป?..ย่อมไร้ซึ่งบริวาร.."
ปันกู้

 

" รู้เหตุผลไม่อับจน รู้กาละไม่ถูกด่า รู้ประหยัดไม่ขัดสน "
ซูลิน

 

" ใช้ชีวิตที่ชอบตำหนิผู้อื่น มาตำหนิตัวเอง??..
ใช้จิตใจที่ชอบอภัยตัวเอง ให้อภัยผู้อื่น??"
เจิงจิ้นเสียนเหวิน

 

" คนที่ทำได้อาจพูดไม่ได้??..คนที่พูดได้อาจทำไม่ได้??."
ซือหม่าเซียน

 

??.คุณธรรมของผู้ยิ่งใหญ่?..
ผู้ยิ่งใหญ่ที่แท้
ให้กำเนิด โดยมิอ้างเป็นเจ้าของ
บำรุงเลี้ยง โดยมิถือเป็นบุญคุณ
เกื้อกูล โดยมิก้าวก่าย
ไม่นำความยิ่งใหญ่ ไปแทรกแซงขู่เข็ญบังคับใคร

เมื่อได้รับการเทิดทูน ท่านไม่ทะนงตน
เมื่อได้รับการทักท้วง ท่านไม่ท้อแท้
เมื่อกิจการงานอันยิ่งใหญ่สำเร็จลง
ท่านถอนตัวจากไป??.!!!!!
 

 

" คุณสมบัติ 3 ประการนี้เป็นสิ่งทรงคุณค่าต่อผู้นำ
??.เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
??.ความเรียบง่ายและมัธยัสถ์ทางวัตถุ
??.มีสำนึกแห่งความเสมอภาคหรือความลดน้อมถ่อมตน "
เล่าจื๊อ

 

ลูกหมาไม่มีโอกาสตอบแทนคุณพ่อแม่
แต่ลูกหมาไม่เคยทำให้พ่อแม่น้ำตาตก
พุทธทาสภิกขุ..

 

พูดมาก เสียมาก
พูดน้อย เสียน้อย
ไม่พูด ไม่เสีย
นิ่งเสีย โพธิสัตว์
หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)

 

" อดีตคือความฝัน
ปัจจุบันคือความจริง
อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน
อย่าจับให้มั่น อย่าคั่นให้ตาย
จะเสียใจตลอดชีวิต "
พระราชสุทธิญาณมงคล(หลวงพ่อจรัญ)
วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

 

" พึงระลึกไว้ว่าบางอย่างที่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้แปลว่า ถูกต้องตามศีลธรรม "
อับราฮัม ลินคอล์น
รัฐบุรุษแห่งสหรัฐอเมริกา
(1809-1865)

 

คนหล๊วกอยู่ตี้เก่า บ่าเต้าคนง่าวตี้เตียวตาง
(คนฉลาดอยู่แต่ที่เก่า ไม่เท่าคนโง่ที่เดินทาง)
หลวงปู่หล้า ตาทิพย์
วัดป่าตึง

 

ปราชญ์สอนว่า.....
โดย: ขงจื้อ
-------------------------------------------------------- หน้า 1
 

เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม

ไม่ต้องเป็นหว่งคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นหว่างว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น

การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น

การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว

บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้ คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม

บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม

ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน

ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา

บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล

ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย

จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล

ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ

สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า

บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา

อ่อนน้อมแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นเรื่องเหนื่อยเปล่า ระมัดระวังแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นความขลาดกลัว

กล้าหาญแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นก่อการร้าย ซื่อตรงแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นภัยแก่คนอื่น

ยังปรนนิบัตติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า

บัณฑิตมีความสามัคคีต่อกัน แต่ความคิดกับการกระทำไม่เหมือนกัน คนพาลมีความคิดกับการกระทำเหมือนกัน แต่ไม่มีความสามัคคี

ปรนนิบัติบัณฑิตเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้บัณฑิตรักเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะว่าถ้าไม่ชอบด้วยลักษณะธรรมบัณฑิตก็ไม่รัก

ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้

ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้อง ตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน

เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขาจะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ

บัณฑิตย่อมมีความอับอายที่พูดไปแล้วนั้น เกินกว่าที่ทำไป

ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย

ผู้ที่ไม่มีการไตร่ตรองให้ยาว ในอนาคตไกลจะต้องมีภัยที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน
--------------------------------------------------------------------
 

ปราชญ์สอนว่า.....
โดย: ขงจื้อ
-------------------------------------------------------- หน้า 2
 

ตำหนิตนเองให้มาก ตำหนิผู้อื่นให้น้อย ก็จะไม่มีใครโกรธแค้น

รวมอยู่กันเป็นหมู่ ตลอดวันไม่เคยพูดถึงธรรมที่ชอบ ทำตนเป็นคนฉลาดในเรื่องเล็กๆน้อย ต่อไปเห็นจะลำบาก

บัณฑิตขอร้องกับตนเอง ส่วนคนพาลนั้นจะขอร้องกับคนผู้อื่น

บัณฑิตทีความภาคภูมิใจในตนเอง โดยไม่แย่งชิงความภาคภูมิใจของคนอื่น บัณฑิตมีความสามัคคี แต่ไม่เล่นพวกกัน

พูดไพเระาตลบแตลงทำให้สูญเสียคุณธรรม เรื่องเล็กไม่อดกลั้นไว้จะทำให้แผนเรื่องใหญ่เสีย

ทุกคนเกลียดก็ต้องพิจารณา ทุกคนรักก็ต้องพิจารณา

เพื่อนที่ซื่อตรง เพื่อนที่มีความชอบธรรม เพื่อนที่มีความรู้ ทั้ง 3 ประเภทนี้มีประโยชน์แก่เรา

เพื่อนที่ประจบสอพลอ เพื่อนที่ทำอ่อนน้อมเอาใจ เพื่อนที่ชอบเถียงโดยไม่มีความรู้ ทั้ง 3 ประการนี้เป็ยภัยแก่เรา

บัณฑิตมีความกลัวอยู่ 3 ประการ กลัวประกาศิตของสวรรค์ กลัวผู้มีอำนาจ กลัวคำพูดของอริยบุคคล

นิสัยคนมีความเหมือนกัน แต่การศึกษาทำให้แตกต่างกัน

เฉพาะคนที่มีปัญญาสูง กับคนที่โง่มากเท่านั้น ที่ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงเขาได้

รักความเมตตาแต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่ถูกหลอกลวงง่าย รักความรู้แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่ความรู้นั้นกระจัดกระจายไม่มีฐานที่ตั้ง

รักความซื่อสัตย์ แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่เป็นภัยแก่ตนโดยง่าย รักพูดตรงความจริง แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่การพูดจะเป็นการทำร้ายผู้อื่นได้โดยง่าย

รักความกล้าหาญ แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่ก่อความไม่สงบได้ง่าย รักความเข้มแข็ง แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่เป็นคนมุทะลุได้ง่าย

อ่านหนังสือโดยไม่ค้นคิด การอ่านจะไม่ได้อะไร ค้นคิดโดยไม่ได้อ่านหนังสือ การค้นคิดจะเปล่าประโยชน์

ทบทวนเรื่องเก่าและรู้เรื่องใหม่ขึ้นมาอีก ก็จะเป็นครูได้

นักศึกษาสมัยก่อน ศึกษาเพื่อให้ตนมีความสำเร็จในการศึกษา นักศึกษาในปัจจุบัน ศึกษาเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าตนเองมีการศึกษา

ชอบเอาสองคนมาเทียบว่าใครดีกว่าใคร เธอเองเก่งพอแล้วหรือ สำหรับเราไม่มีเวลาว่างมาทำเช่นนั้น

แสร้งพูดไพเราะ แสดงความน่ารัก เพื่อให้ถูกใจคน คนประเภทนี้น้อยนักที่จะเป็นคนมีเมตตาธรรม

ผู้ที่มีเมตตาธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถรักคนด้วยความจริงใจ และจึงสามารถเกลียดคนด้วยความจริงใจ

ผู้มีปัญญาชื่นชมน้ำ เป็นผู้ขยัน ผู้มีความสุข ผู้มีเมตตา ชื่นชมภูเขา เป็นผู้รักสงบ เป็นผู้มีอายุยืน

ผู้ที่มีเมตตาธรรมเท่านั้น เวลาพูด เขาพูดอย่างเชื่องช้า ไม่พูดเชื่องช้าได้หรือ เพราะเมื่อพูดไปแล้ว ต้องทำตามที่พูดด้วยความลำบาก

ผู้ที่มีความเข้มแข็ง กล้าหาญ ซื่อสัตย์ พูดช้าก็ใกล้กับความมีเมตตาธรรมแล้ว

ผู้มีคุณธรรมต้องมีคำพูดที่ดี แต่ผู้มีคำพูดที่ดี ไม่ต้องใช่เป็นคนที่มีคุณธรรมเสมอไป

ผู้มีเมตตาธรรมต้องเป็นผู้ที่กล้าหาญ แต่ผู้กล้าหาญ ไม่ใช่ต้องเป็นคนที่มีเมตตาธรรมเสมอไป

เลี้ยงดูพ่อแม่ให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้นนะหรือ ถ้าเช่นนั้น หมากับม้าก็ได้รับการเลี้ยงดูให้มีชีวิตอยู่เช่นกัน

บัณฑิตให้ความเมตตากรุณาแก่ผู้อื่น ใช้คนทำงานแต่คนไม่โกรธแค้น ความต้องการของเขาไม่เป็นความโลภ มีความสงบแต่ไม่มีความเย่อหยิ่ง มีความสง่าแต่ไม่มีความโหดเหี้ยม..
 
 


ถ้าก้าวพลาดไปหนึ่งก้าวจะเป็นไร เพราะยังมีก้าวใหม่ที่มั่นคง
              1
 

ในกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ปลาย่อมว่ายทวนน้ำเสมอ
ปลาที่ลอยตามน้ำ ก็มีแต่ปลาตาย
มนุษย์ต้องต่อสู้กับอุปสรรค เหมือปลาว่ายทวนน้ำ
ผู้ที่ปล่อยชะตาไปตามเหตุการณ์
ก็เหมือนคนที่ตายแล้ว
   
ว่าวจะลอยขึ้นสูงได้ เพราะเหตุที่ต้านลม
ถ้าหมดลมว่าวก็ตก มนุษย์เราจะขึ้นสูงอยู่ได้
ก็เพราะต้องต่อสู้อุปสรรค
ชีวิตที่ไม่เคยพบอุปสรรค จะหาทางก้าวหน้าไม่ได้เลย
   
ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง
อุปสรรค คือหนทางแห่งความสำเร็จ
ขอให้เราทั้งหลายพึงใจในการต่อสู้
ยินดีเผชิญหน้ากับศัตรู และกล้าฝ่าฟันอุปสรรค
   
ดอกไม้งามได้เพราะ รูปลักษณ์ และสีสัน
คนจะงามได้เพราะ พระธรรม
   
การยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง
การให้ทานธรรม ย่อมชนะการให้ทานทั้งปวง
   
ยิ้มแย้มอย่างแจ่มใส เห็นใครทักก่อน
นี่คือ.. วิธีแสดงเสน่ห์แบบง่ายๆ แต่ให้ผลมาก
   
ทุกชีวิตย่อมมีปัญหา ปัญหามีมาให้แก้
ไม่ใช่มีมาให้กลัดกลุ้ม การแก้ปัญหา เป็นหน้าที่ของชีวิต
   
บางคน มีวัตถุอำนวยความสะดวกมาก
แต่ยังหาสุขไม่ได้
บางคนมีวัตถุอำนวยความสะดวกไม่มาก
แต่หาสุขได้
สุขหรือไม่สุข....
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุ แต่ขึ้นอยู่ที่ใจ
ที่มองเห็นความเป็นจริงของโลกและชีวิต
จนสามารถปล่อยวางคลายความยึดมั่นได้
   
การให้อภัยไม่ต้องลงทุนอะไรเลย
แต่การแก้แค้นลงทุนมาก
   
เวลาเป็นยารักษาความทุกข์ ถ้าเราปล่อยให้ผ่านไป
ยิ่งนานเท่าไร ความทุกข์ก็ยิ่งลดลง
และอาจจะหายไปในที่สุด
 
การสะกิดคุ้ยเขี่ย ความผิดพลาดของผู้อื่น
ปมด้วยของผู้อื่น มีแต่จะทำให้เขาเสียใจ และอาจทำให้เสียมิตร
ส่วนรา.... ไม่ได้อะไรเลย
   
เรายังเคยเข้าใจผิดผู้อื่น
ถ้าคนอื่นเข้าใจเราผิดบ้าง
ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องแปลกอะไร
ทำไมต้องเศร้าหมอง
ในเมื่อเราไม่ได้เป็นอย่างที่ใครเข้าใจ
   
อย่าโกรธฟุ่มเฟือย อย่าโกรธจุกจิก
อย่าโกรธไม่เป็นเวลา อย่าโกรธมาก
จะเสียสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
   
คนที่ถูกนินทาด่าว่ามีอยู่ทั่วไป ถ้าจะเพิ่มเราเป็นผู้ถูกนินทา
เข้าไปอีกสักคน จะเป็นไรไป
   
การนินทาว่าร้ายเป็นเรื่องของเขา
การให้อภัยเป็นเรื่องของเรา
   
การชอบพูดถึงความดีของเขา คือความดีของเรา
การชอบพูดถึงความไม่ดีของเขา คือความไม่ดีของเรา
 
เราเข้าใจเขาผิด เรายังรู้สึกเสียใจ
เขาเข้าใจเราผิด ถึงเขาไม่พูด เขาก็คงรู้สึกเสียใจบ้างเหมือนกัน
 


 

 

 


18
เพื่อก่อให้เกิด ความเป็นสิริมงคล ซึ่งจะนำไป สู่ความสำเร็จ" คือจุดประสงค์ และจุดมุ่งหมายของการเจิม เมื่อแต่งงานเราก็ให้_าติผู้ให_่ เจิมหน้าผาก ครั้นไปซื้อรถคันใหม่ เราก็ให้พระเกจิอาจารย์เจิมรถให้ เมื่อทำบุ_ ขึ้นบ้านใหม่พระ ก็จะเจิมประตูหน้าบ้านให้ ในขณะที่การเปิด บริษัทห้างร้าน เราก็ยังนิมนต์พระไปเจิม

คนส่วนให_่จะรู้ว่าพระเกจิแต่ละท่าน เมื่อเจิม แล้วมีพุทธคุณ เด่นด้านใด ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระบางรูป อาจจะได้รับนิมนต์ให้ไปเจิมป้ายเปิดร้านค้ามากเป็นพิเศษ ในขณะที่บางท่านคนจะนิยมนำรถไปเจิมถึงวัด

แต่คนส่วนให_่กลับไม่รู้เลยว่า จุดแต่ละจุด ซึ่งเกิดจากการเจิมนั้น มีความหมายอย่างไร ?

ก่อนจะเข้าเรื่องความหมายของจุดในการเจิม ขออธิบายกรรมวิธี การทำดินสอพองเพื่อการเจิมของโบราณจารย์เป็นอันดับแรก คือ ให้เตรียม ดินสอพอง มาพอสมควรตามความต้องการ ละลายน้ำ แล้วเอาผ้าขาวบาง ที่สะอาดกรองทิ้งไว้จนแป้งนั้นนอนดีแล้ว รินน้ำออกให้หมด จึงเอาผ้าขาวที่สะอาดหนากว่า ผ้ากรองสักหน่อยห่อแล้วบิด และเอาของหนักทับไว้จนหมดน้ำ แล้วเอา น้ำข้าวเช็ด มาเคล้าให้พอดี ที่จะปั้นเป็นก้อนได้

อีกวิธีหนึ่งเอา แป้งนวล ผสมกับ น้ำ ให้พอปั้นได้ แล้วปั้นให้กลม ขนาดเท่าหัวแม่มือ ยาวประมาณ ๓-๔ นิ้วฟุต เสร็จแล้วเอาผึ่งแดดให้แห้ง จากนั้นเอา ใบตำลึง มาคั้นเอาน้ำ (ไม่ต้องเติมน้ำ) เอาดินสอพองที่ตากแดดแล้ว ย้อมให้ทั่ว แล้วเอาผึ่งแดดอีกครั้ง การย้อมด้วยน้ำใบตำลึง นี้ก็เพื่อทำไม่ให้ดินสอพองนั้นติดมือเท่านั้น

การทำดินสอพองเจิม โบราณเขาต้องเลือก วัน ฤกษ์ ยาม ที่จะลงมือทำ เพื่อความศักดิ์สิทธิ์จริงๆ (กำลังใจ, ความศรัทธา เชื่อมั่น ที่เราทำแบบนี้ ขั้นตอน และ มีครู ซึ่งได้มอบให้ (ถ้า ครอบครู หรือเลือกวันครูวันพฤหัสบดีเรียนวิชา การเจิม ด้วยยิ่งดีมาก) ฤกษ์ วัน สำคั_ ควรทำให้ถูกต้อง เพื่อความมั่นใจ (ปัจจุบันเอาฤกษ์ความ สะดวก เป็นสำคั_)

ส่วนพระคาถาสำหรับเสกดินสอ สำหรับเจิมคือ "พุทธัง ยาวะชีวัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง ยาวะชีวัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง ยาวะชีวัง สะระณัง คัจฉามิ"

กรรมวิธีการทำดินสอเจิม และการภาวนา คาถา ระหว่างเจิมนั้น อาจารย์แต่ละท่านเรียนมาไม่เหมือนกัน ความละเอียด และขั้นตอนจึงมีความแตกต่างกัน (ดูความสะดวก เหมาะสม) ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมใช้แป้งดินสอพอง ผสมกับน้ำให้พอดี ข้นพอที่จะเจิมได้โดยไม่ต้องทำ ดินสอสำหรับเจิมอย่างเช่นในอดีต

นอกจากนี้แล้วในอดีตทั้งพระ และฆราวาสหากประสงค์ จะเป็นเจ้าพิธีในการเจิม ต้องมีการครอบครู โดยอาจารย์ท่าน ให้ชำระกายให้บริสุทธิ์ รักษาพระไตรรัตน์สรณาคม นั่นอยู่ในศีลวัตร (ศีลห้า) พึงตั้งเครื่องบูชา มีบายศรีปากชาม สำรับหนึ่ง เงิน ๖ บาท ผ้าขาวผืนหนึ่ง ขันล้างหน้าใบหนึ่ง เมี่ยงหมาก ดอกบัว สิ่งละ ๕ กรวย ธูปเงิน ธูปทอง เทียนเงิน เทียนทอง สิ่งละ ๕ เล่ม แป้งหอม น้ำมันหอม สำหรับเจิม

จากการรวบรวมข้อมูลการเจิมของพระเกจิต่างๆ ที่มีลูกศิษย์ลูกหามักจะให้เจิมบ้าน รถ รวมทั้งป้ายร้านค้า ในยุคปัจจุบัน แต่ละรูปจะมีวิธีการเจิม จำนวนจุด รวมทั้ง อักขระเลขยันต์ในการเจิมที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เช่น

หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ท่านจะเจิมด้วยจุดทั้งหมด ๖ จุด คือฐานด้านล่าง ๓ จุด ตรงกลาง ๒ จุด ส่วนยอดอีก ๑ จุด แล้วเขียนอุณาโลมไว้ด้านบน นอกจากนี้แล้วด้านล่างยังเขียนคาถาว่า ยา นะ ยา ซึ่งเป็นคาถาป้องกันคุ้มภัย

ส่วน หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม ท่าน มีความชำนา_เรื่องการเขียนอักขระเลขยันต์ เวลาเจิมท่านจะเขียนยันต์ลงไปเลย โดยจะเขียนยันต์พุฒซ้อน ซึ่งมีพุทธคุณครอบคลุมทุกด้าน ทั้งคุ้มภัย เมตตา และค้าขาย ยกเว้นบางโอกาสเท่านั้นที่ท่านจะเจิมเป็นจุด

ในขณะที่ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม ท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม การเจิมของท่านมีทั้งเขียนเป็นอักขระเลขยันต์ และเจิมเป็นจุด

สำหรับอำนาจพุทธคุณของแต่ละจุดนั้นส่วนให_่จะครบทุกด้าน ทั้งแคล้วคลาด ปลอดภัย ค้าขาย และเมตตามหานิยม ส่วนความหมายของจุดแต่ละจุดในการเจิมนั้น มีความหมายดังนี้
อุณาโลม หมายถึง องค์พระ ระหว่างเขียนจะมีการภาวนาว่า มา ปะ นะ ชา ยะ เต

๑ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า เอกะอะมิ หมายถึง คุณแห่ง พระนิพพานอันยิ่งให_่

๒ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า พุท โธ หมายถึง นามพระพุทธเจ้า

๓ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า มะ อะ อุ หมายถึง คุณแห่งแก้ว ๓ ประการ (พระรัตนตรัย) และอีกความหมายคือ พระไตรปิฎก

๔ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า ทุ สะ นิ มะ (หัวใจอริยสัจสี่) , นะ ชา ลิ ติ (พระสิวลี), อุ อา กา สะ (หัวใจเศรษฐี), นะ มะ อะ อุ (พระไตรปิฎก), นะ มะ พะ ทะ (ธาตทั้งสี่)

๕ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า นะ โม พุท ธา ยะ หมายถึง พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ หรือคุณแห่งศีล ๕ มีพุทธคุณ

๖ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า อิ สฺวา สุ สุ สฺวา อิ หมายถึง คุณแห่งไฟ หรือพระเพลิง รวมทั้งหมายถึงคุณแห่งพระอาทิตย์

๗ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า สะ ธะ วิ ปิ ปะ สะ อุ หมายถึง คุณแห่งลม หรือพระพาย

๘ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ หมายถึงคุณแห่งพระกรรมฐาน คุณแห่งศีล ๘ คุณแห่งพระอังคาร

๙ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ หมายถึง คุณแห่งมรรค ๔ ผล ๔ และพระนิพพาน ๑

๑๐ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว หมายถึง คุณแห่งครูบาอาจารย์ คุณแห่งอากาศ หมายถึงคุณแห่งศีล ๑๐ หมายถึงคุณแห่งพระเสาร์ ๓๐ ทัศ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนจุดในการเจิม ของพระเกจิอาจารย์ จะไม่เท่ากัน แต่การลงจุดนั้นจะเขียนเป็น รูปสามเหลี่ยมเหมือนกัน โดยส่วนยอดของสามเหลี่ยมนั้นจะเป็นอุณาโลม ในขณะที่บางท่าน อาจจะเพิ่มอักขระบางตัวไว้เข้าไป ส่วนการบริกรรมพระคาถา ระหว่างการเจิมนั้น สุดแล้วแต่จะได้รับการถ่ายทอดมาจากอาจารย์อย่างไร เช่น ถ้า เจิม ๓ จุด อาจจะบริกรรมคาถา มะ อะ อุ หรือ แยกเป็น ๒ จุด ก่อน คือ พุท โธ ส่วนอีกจุดนั้นบริกรรมพระคาถา เอกะอะมิ

เจิม ๑๐ จุด อาจจะ บริกรรมคาถา เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว ครั้งเดียวเลยก็ได้ หรืออาจจะแยกเขียนเป็น ๔ แถว คือ ๔ จุด ล่างบริกรรมคาถาว่า ทุ สะ นิ มะ แถวถัดมา ๓ จุด บริกรรมว่า มะ อะ อุ แถวที่มี ๒ จุดบริกรรมว่า พุท โธ ส่วนแถวบนสุด ๑ จุด บริกรรมว่า เอกะอะมิ


____________________________________________________________

19
ทางไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน - กำเนิดเป็นราชสีห์

ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ มีโมหะกิเลสมาก หลงมัวเมาในอำนาจความเป็นใหญ่ ปรารถนาเป็นมหาราช เป็นจักรพรรดิ์ แล้วประกอบอกุศลธรรมอันเป็นบาปเป็นโทษเพียงเพื่อให้ได้เป็นใหญ่ โดยไม่ละอายเกรงกลัวบาปกรรมโดๆ หลังจากตายแล้วจึงไปชดใช้กรรมในนรก เปรต อสุรกาย ก็ยังไม่หมดสิ้นบาปกรรม ก็ต้องมาชดใช้เศษอกุศลกรรมโดยถือกำเนิดเป็นราชสีห์ ซึ่งสัตว์ป่านานาชนิดเกรงกลัว
ตามจริงนิสัยที่เคยเป็นผู้บ้าอำนาจมาแล้วจากอดีตชาติ



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

20
ชาญยุทธ หาญคำภา ศรัทธา"พ่อแพ-พ่อเปิ่น"

คอลัมน์ พระเครื่องคนดัง

เชิด ขันตี ณ พล



 "ผมเชื่อมั่นในการทำความดีว่า หากทำดีไม่เบียดเบียนใคร ความดีนั้นจะส่งผลให้สิ่งดีๆ ย้อนกลับมาหาเรา ส่วนการแขวนพระเครื่องเพราะมีความเลื่อมใสศรัทธา และไว้คอยเตือนสติตนเองให้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท"

นี่คือความเชื่อที่นำมาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของ "ชาญยุทธ หาญคำภา" ผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการ จังหวัดมหาสารคาม

"ผอ.ชาญยุทธ" เป็นคนขยันมีความรับผิดชอบงานในหน้าที่สูง เห็นได้จากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานจากศูนย์พลศึกษา มาเป็นศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ ระยะเวลาแค่ 2 ปี ปรากฏว่าศูนย์ฯจังหวัดมหาสารคาม ภายใต้การบริหารงานได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงต้นสังกัดให้เป็นศูนย์ต้นแบบระดับภาคอีสาน

ในฐานะที่เป็นผู้บริหารสูงสุดของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดมหาสารคาม การบริหารองค์กรต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์เพราะมีผู้ใต้บังคับบัญชาหลายคน จึงต้องสร้างบรรยากาศการทำงานให้มีแต่ความรักใคร่กลมเกลียวส่งผลให้งานในหน้าที่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
 



ถึงแม้จะเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง ความรู้ระดับปริญญาเอก แต่ "ผอ.ชาญยุทธ" ก็มีใจฝักใฝ่ธรรมะศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อพระธรรมคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา ยึดหลักธรรมคำสอนมาปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันคือ ทำดีต้องได้ดีและทำชั่วต้องได้ชั่ว ทำอะไรต้องทำแต่พอดีไม่สุดโต่ง และยึดหลักศีล 5 นำมาเป็นเครื่องดำเนินชีวิตทำให้ครอบครัวพานพบแต่ความสงบสุขรวมทั้งหน้าที่การงานก็เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ การประพฤติดีเห็นผลในชาตินี้ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า

"ยามว่างจากงานประจำหรือวันสำคัญทางศาสนา ผมมักจะพาครอบครัวไปทำบุญตักบาตรฟังเทศน์ฟังธรรมที่วัดใกล้บ้านและบางครั้งก็ไปทำบุญบริจาคสร้างเสนาสนะให้กับวัดที่อยู่ในชนบทถิ่นกันดาร เมื่อได้ทำบุญทำทานบำรุงพุทธศาสนาแล้วก็เกิดความสบายใจ สำหรับวัตถุมงคลพระเครื่องที่แขวนคอเป็นประจำมาตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่มรับราชการใหม่ๆ โดยคุณพ่อมอบให้เพราะต้องห่างบ้านเกิดไปทำงานไกลบ้านคือ หลวงพ่อแพและหลวงพ่อเปิ่น ให้ความศรัทธาพระเกจิทั้ง 2 มากเพราะจากการศึกษาอัตโนประวัติของหลวงพ่อทั้งสองแล้วท่าน เป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเสมอต้นเสมอปลาย พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพทั่วประเทศ จึงมีความเลื่อมใสศรัทธามาก"

ต่อมาภายหลังย้ายมารับราชการที่มหาสารคาม ก็ได้รับพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่วัดสะตือ พระนครศรีอยุธยา ขณะไปทำบุญบริจาคปัจจัยสร้างกุฏิจากวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ นับแต่นั้นมาจึง ได้นำพระเครื่องทั้ง 3 องค์ขึ้นห้อยคอติดตัวไว้ตลอดเวลาทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าอานุภาพของวัตถุมงคลจะช่วยคุ้มภัย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างขวัญและกำลังใจต่อการงานในหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ส่วนการนำพระขึ้นคอก่อนขับรถออกไปทำงานจะท่องนะโม 3 จบ พร้อมกับรำลึกถึงคำสั่งสอนของคุณพ่อ แม่ ครู อาจารย์ ก็จะช่วยให้เกิดสติยั้งคิดเตือนใจทำแต่สิ่งที่ดีงาม และดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท

"ส่วนเรื่องประสบการณ์ด้านแคล้วคลาด รอดชีวิตมาได้หวุดหวิดหลายครั้ง ครั้งที่หนึ่งได้ขับรถยนต์ไปทำธุรกิจส่วนตัวในเขตตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ เส้นทางเป็นถนนลูกรังด้วยความไม่ชำนาญทางไม่รู้ว่าข้างหน้าเป็นทางโค้งหักศอกจึงขับรถมาด้วยความเร็วพอสมควร เมื่อเห็นทางโค้งกระชั้นชิดจึงหักพวงลัยทำให้รถเกิดเสียหลักพลิกคว่ำไปตามคันนาหลายตลบรถยนต์ซึ่งซื้อมาได้เพียง 6 เดือนพังเสียหายยับเยินแต่ตนเองไม่เป็นอะไรเลย"

เหตุการณ์ครั้งที่สอง ขณะกลับจากไปราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นช่วงกลางคืนรถยนต์วิ่งเข้าเขตรอยต่อจังหวัดมหสารคาม ปรากฏว่าจู่ๆ มีรถยนต์บรรทุกวิ่งตามหลังส่ายไปมา และแซงขึ้นมาแล้วปาดหน้ารถที่ขับอย่างกระชั้นชิด จึงหักรถหลบรถเกิดเสียหลักพุ่งชนต้นไม้ข้างทางส่วนหน้ารถพังยับเยินจ่ายค่าซ่อมถึง 4 แสนบาท แต่ก็ปลอดภัยไม่เป็นไรเจ็บขัดยอกเล็กน้อยเท่านั้น

"ส่วนตัวผมเชื่อว่าเหตุที่รอดมาได้หลายครั้งคงเป็นเพราะดวงยังไม่ถึงฆาต และเพราะความไม่ประมาทเมื่อขับรถยนต์ทุกครั้งจะรัดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง รวมทั้งพุทธคุณของพระเครื่องที่ห้อยคอช่วยปกป้องคุ้มครอง"

แคล้วคลาดปลอดภัยผ่อนหนักให้เป็นเบา


ref.http://www.matichon.co.th/khaosod/kh...sectionid=0307






21
ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข
วัดไผ่ล้อม
ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม


๏ ภูมิหลังชาติกำเนิด

เกจิยอดนิยม
นครปฐมอาคมขลัง
ที่สุดแห่งความดัง
เปี่ยมพลังบารมี
งานเสกไม่เคยพลาด
งานราษฎร์ไปทุกที่
แจกจ่ายให้ ?ของดี?
ล้วนมีประสบการณ์
ดังไกลข้ามขอบฟ้า
ฮือฮาเรื่องเล่าขาน
โดดเด่นเห็นผลงาน
ลูกหลานได้ยลยิน
พระแท้ที่โดนใจ
ผู้ให้จนกายสิ้น
แสงทองส่องแผ่นดิน
วิตามินเสริมใจ
ชาตินี้หรือชาติหน้า
ยากหาพระองค์ไหน
ศักดิ์สิทธิ์ติดตรึงใจ
กราบไหว้ไม่รู้ลืม

?พระมงคลสิทธิการ? หรือ ?หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข? มีนามเดิมว่า พูล ปิ่นทอง เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2455 ตรงกับปีชวด ร.ศ.131 เป็นปีที่ 3 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 6 ณ บ้านเลขที่ 75 หมู่ 3 ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมดรวม 10 คน บิดาชื่อ นายจู ปิ่นทอง มารดาชื่อ นางสำเนียง ปิ่นทอง

โยมบิดา-โยมมารดาได้ช่วยกันเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้ ด.ช.พูล ปิ่นทอง เป็นคนดี อยู่ในโอวาท และอยู่ในศีลในธรรม ซึ่งอุปนิสัยของเด็กคนนี้คือ เป็นผู้มีจิตใจเมตตาโอบอ้อมอารี จริงใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อทั้งเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่ต้องรอให้ร้องขอ และอุปนิสัยที่เด่นชัดที่สุด คือ เป็นคนเงียบๆ พูดน้อย ด้วยเหตุนี้ทำให้ไม่มีใครคาดคิดเลยว่า ?ต่อไปในภายภาคหน้า หนูน้อยผู้นี้จะเติบใหญ่ภายใต้ร่มกาสาวพัตร์ เป็นสุดยอดอริยสงฆ์ที่ผู้คนกราบไหว้ทั้งแผ่นดิน?


๏ การศึกษาหาความรู้

เมื่ออายุถึงเกณฑ์ ด.ช.พูล ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม ซึ่งเป็นโรงเรียนใกล้บ้าน ด้วยความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร จึงสามารถอ่านออกเขียนได้แตกฉานกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน กระทั่งเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ.2471

แต่ด้วยชาติตระกูลที่ถือกำเนิดในครอบครัวชาวสวนผลไม้ ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยอะไรมากมาย กอปรกับมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันถึง 10 คนทำให้ ด.ช.พูล ไม่ได้ศึกษาต่อเพราะต้องออกมาช่วยงานทางบ้าน แต่เพราะเป็นคนสนใจใฝ่รู้ จึงได้ฝึกการอ่านและเขียนอักขระขอม และวิชาแพทย์แผนโบราณจนมีความเชี่ยวชาญ จากปู่แย้ม ปิ่นทอง (ผู้เป็นปู่แท้ๆ) ฆราวาสผู้มีภูมิรู้ในเรื่องไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ และการแพทย์แผนโบราณ

จวบจนถึงวัยหนุ่มฉกรรจ์ นายพูลผู้มีอุปนิสัยนิ่งเงียบ ไม่ค่อยพูดค่อยจาและรักสันโดษ มีความชอบวิชาการต่อสู้ตามแบบฉบับลูกผู้ชาย จึงฝึกฝนและศึกษาศิลปะแม่ไม้มวยไทย จนมีความชำนาญและเป็นนักมวยฝีมือดีคนหนึ่ง ว่างจากซ้อมเชิงมวยแล้ว ว่างจากทำไร่ไถนา ก็จะไปหัดเล่นลิเกกับครูจันทร์ คณะแสงทอง แต่ใจไม่รักลิเก ฝึกได้ระยะหนึ่งก็เบื่อ

กระทั่งอายุครบเกณฑ์ทหาร ท่านได้ทำหน้าที่พลเมืองดีของชาติ ด้วยการเข้ารับราชการเป็นทหาร สังกัดทหารม้ารักษาพระองค์ เมื่อปี พ.ศ.2477 (กองบัญชาการเดิมอยู่ที่สะพานมัฆวาน กรุงเทพมหานคร ตรงกับช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7) หลังครบกำหนด 1 ปี 6 เดือนจึงปลดประจำการ โดยได้รับยศเป็นนายสิบตรี มีเงินเดือนขณะนั้นเดือนละ 2 บาท สร้างความภูมิใจให้ท่านเป็นอย่างมาก

หลวงพ่อพูลมักเล่าประสบการณ์สมัยเป็นทหารให้บรรดาลูกศิษย์ลูกหาฟังอย่างสนุกสนาน ท่านภูมิใจในชีวิตทหาร ให้ช่างวาดภาพแต่งเครื่องแบบเต็มยศไว้เป็นอนุสรณ์ วันนี้ภาพนี้ยังติดอยู่ในกุฏิหลวงพ่อที่วัดไผ่ล้อม ?ชีวิตทหารมีแต่เรื่องสนุก หลวงพ่อ...ชอบเล่าให้ศิษย์ฟัง อายุกว่า 90 ปี ท่านก็มีความจำดี เล่ากี่ครั้ง...กี่รอบ...ก็ไม่มีพลาด?


๏ สู่ร่มกาสาวพัตร์

หลังปลดจากทหารประจำการแล้ว จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเพื่อทดแทนคุณบิดามารดา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2480 ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ ปีฉลู ณ พัทธสีมาวัดพระงาม อ.เมือง จ.นครปฐม โดยมีพระครูอุตรการบดี (หลวงปู่สุข ปทุมสุวณฺโณ) เจ้าคณะอำเภอเมืองนครปฐม เจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดมณี เจ้าอาวาสวัดพระงาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์ปุ่น เจ้าอาวาสวัดลาดปลาเค้า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ?อตฺตรกฺโข?

หลังบวชแล้วพระพูลได้พำนักอยู่ที่วัดพระงาม ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยด้วยความพากเพียร จนสามารถสอบไล่ได้นักธรรมตรี เมื่อ พ.ศ.2482 ที่วัดพระงามแห่งนี้ ท่านได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์พระเถระชื่อดังหลายรูปด้วยกัน อาทิ หลวงพ่อพร้อม, หลวงปู่สุข วัดห้วยจระเข้, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นต้น

ในระหว่างนี้เอง พระพูลได้ให้ความสนใจการศึกษาด้านการเจริญสมาธิจิต ฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ควบคู่กับการศึกษาวิชาจากคัมภีร์ต่างๆ อย่างคร่ำเคร่ง โดยฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อพร้อม พระเถระชื่อดังแห่งวัดพระงาม พระเกจิอาจารย์รุ่นสงครามอินโดจีน ผู้ทรงคุณในด้านการสร้างพระปิดตาเนื้อทอง ด้วยพื้นฐานวิชาคาถาอาคมซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากปู่แย้ม ตั้งแต่สมัยเยาว์วัย จึงทำให้ท่านสามารถเจริญพุทธาคมได้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกัน พระพูลได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม สุดยอดแห่งบูรพาจารย์แห่งแผ่นดินนครปฐม โดยเฉพาะหลวงพ่อเงินได้ให้ความเมตตาแก่ท่านเป็นพิเศษ ให้คำแนะนำสั่งสอนเรื่องการการเจริญสมาธิภาวนา การเขียนอักขระเลขยันต์ ปลุกเสกวัตถุมงคล และวิชาอาคมต่างๆ อย่างไม่ปิดบังและไม่หวงวิชา

เมื่อได้รับคำแนะนำสั่งสอนจนเกิดความมั่นใจแล้ว หลวงพ่อพูลจึงออกธุดงควัตรไปตามป่าเขาลำเนาไพร มุ่งหน้าไปทางลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก แสวงหาความวิเวกอยู่พื้นที่ภาคเหนือ เพื่อลดละกิเลส อานิสงส์การธุดงควัตรทำให้ท่านมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ สมาธิจิตสูง

ด้วยเนื้อนาบุญ

ในปี พ.ศ.2486 วัดไผ่ล้อมเกิดขาดเจ้าอาวาสปกครองวัด เนื่องจากเจ้าอาวาสแต่ละรูปไม่อยู่ในศีลในธรรมแห่งเพศบรรพชิต อยู่ปกครองวัดได้ไม่นานก็ต้องลาสิขาไป สร้างความเอือมระอาจนชาวบ้านหมดศรัทธาไม่ใส่บาตรทำบุญ ทำให้วัดไผ่ล้อมกลายเป็นวัดร้าง

สมัยนั้นวัดไผ่ล้อมมีสภาพเป็นเพียงวัดเก่ารกร้าง เดิมทีเป็นป่าไผ่ชาวมอญ ที่รัชกาลที่ 4 เกณฑ์เป็นแรงงานบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ ใช้เป็นที่พัก บรรยากาศของวัดร่มรื่นเหมาะแก่สมณปฏิบัติธรรม

กระทั่งผู้นำและชาวบ้านกลุ่มหนึ่งฉุกคิดว่ายังมีพระสงฆ์รูปหนึ่ง มีวัตรปฏิบัติที่หมดจดงดงาม จำพรรษาอยู่ที่วัดพระงาม นามว่า พระพูล อตฺตรกฺโข จึงพากันไปกราบนมัสการพระพูล ให้ย้ายมาประจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่ล้อม เพื่อกอบกู้วัดพลิกฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง โดยเข้ารับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2492

สมัยท่านรักษาการเจ้าอาวาส เห็นว่าวัดไผ่ล้อมยังไม่มีอุโบสถ จึงปรึกษากับพระเถระผู้ใหญ่และญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ดำเนินการสร้างอุโบสถ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2490 กระทั่งเสร็จสมบูรณ์เป็นพระอุโบสถหลังแรก ในปี พ.ศ.2492 หลังจากนั้นท่านก็พัฒนาวัดต่อไป บุกเบิกถางป่าไผ่ จนได้สร้างศาลาการเปรียญในปี พ.ศ.2535

จากนั้นวัดไผ่ล้อมมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าตามลำดับ ด้วยบุญบารมีของหลวงพ่อพูล ทั้งนี้ หลวงพ่อพูลเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในเมตตามหานิยม และด้านการปลุกเสกพระขุนแผน-กุมารทอง จนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศ

วัดมีโบสถ์มีศาลาการเปรียญ ไม่ช้าวัดไผ่ล้อมก็ได้โรงเรียนพระปริยัติธรรม ญาติโยมยิ่งหลั่งไหลเข้ามาทำบุญ บำเพ็ญศีลสมาธิ และศึกษาปฏิบัติธรรม ก็ได้ช่วยสร้างเสนาสนะต่างๆ จากกุฏิสองสามหลัง ก็เพิ่มขึ้นมาจนเต็มพื้นที่ จำนวนพระภิกษุสามเณรเข้ามาจำพรรษาก็มากขึ้น

ต้นปี พ.ศ.2539 อุโบสถหลังเก่าเริ่มทรุดโทรมมาก ประกอบกับน้ำก็ท่วมบ่อยๆ จึงได้สร้างอุโบสถเฉลิมพระเกียรติหลังใหม่ ปลายปีก็สร้างศาลากลางน้ำ ศาลากลางน้ำเป็นบ่อน้ำ ญาติโยมใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ท่านเลยปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ต่อมาดำเนินการสร้างฌาปนสถานไร้มลพิษ พร้อมศาลาอเนกประสงค์ไว้ใช้ในพิธีต่างๆ ในวัด ซึ่งดำเนินการรุดหน้าไปมาก

นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้อุปถัมภ์สร้างโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์) เพื่อเป็นสถานศึกษาสำหรับเยาวชนด้วย

ต่อมาสวนอายุวัฒนมงคล 90 ปี ถูกสร้างขึ้นใช้เป็นที่สำหรับญาติโยมได้พักผ่อนจิตใจ เดินดูต้นไม้ พูดคุยกับต้นไม้ ?ต้นไม้ทุกต้น มีธรรมะของพระพุทธเจ้า? หลวงพ่อพูลสอนเป็นปริศนา

นับเป็นบุญของชาวบ้านโดยแท้ เพราะหลังจากหลวงพ่อพูลได้เข้ามาปกครองวัดไผ่ล้อม ท่านก็ให้ความสงเคราะห์ชาวบ้าน ไม่ว่าจะยากดีมีจนก็เข้าหาท่านได้ทุกคน สร้างความศรัทธาให้ญาติโยมทั้งใกล้และไกล หากใครมีความเดือดเนื้อร้อนใจ พวกเขาจะพากันมากราบขอบารมีหลวงพ่ออยู่เนืองๆ จนท่านกลายเป็นศูนย์รวมแห่งความรักความศรัทธา มีลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ และต่างกล่าวขวัญถึงหลวงพ่อของเขาว่าเป็นพระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตา


๏ หลวงพ่อคือผู้ให้

วัตรปฏิบัติอย่างหนึ่งที่ศิษยานุศิษย์ได้สัมผัสหลวงพ่อพูล มากว่าครึ่งศตวรรษ คือท่านเป็นพระสงฆ์ที่ไม่สะสมกิเลส ไม่สนใจชื่อเสียงเงินทอง และลาภยศสรรเสริญ จตุปัจจัยไทย ทานที่สาธุชนได้บริจาคมา ท่านไม่เคยสะสม มีเท่าไหร่ท่านก็นำไปบริจาคสร้างวัตถุสร้างความเจริญไว้แก่วัดไผ่ล้อม จนเกิดความเจริญรุ่งเรือง แลดูสวยงามสบายตา เหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา นอกจากนี้ยังขจรขจายไปถึงชุมชนรอบๆ วัด ทั้งสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ เรียกว่าใครที่มาขอให้ท่านช่วย หลวงพ่อไม่เคยขัด รวมทั้งกิจนิมนต์ต่างๆ ไม่ว่าใกล้-ไกลท่านก็เมตตาไปให้ แม้สุขภาพร่างกายจะไม่ค่อยเอื้ออำนวยนักก็ตาม

คนเขามาให้เราช่วยก็ต้องช่วยเขาไปมันได้บุญ หลวงพ่อมักพร่ำสอนลูกศิษย์อยู่เนืองๆ แม้วัยและสังขารจะร่วงโรยไปตามกาลเวลา จวบจนอายุ 93 ปี แต่ในฐานะเจ้าอาวาส หลวงพ่อพูลได้ใช้ความรู้ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้กับคณะสงฆ์เป็นอย่างดี ไม่มีขาดตกบกพร่อง ท่านปกครอง ลูกวัดให้อยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ใครมาอยู่กับหลวงพ่อ ห้ามขี้เกียจ ต้องหมั่นสวดมนต์เจริญสมาธิวิปัสสนา ปัดกวาดอาสนะ กุฏิ และพัทธสีมา ให้สะอาดสวยงาม เหตุนี้เองจึงทำให้พุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลมาที่วัดไผ่ล้อม

หลวงพ่อพูลถือเป็นสัญลักษณ์แห่งเมตตามหานิยม ที่ชาวนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียงนับถือเลื่อมใส เป็นหนึ่งในพระครูสี่ทิศผู้พิทักษ์องค์พระปฐมเจดีย์ ในสมณศักดิ์ ?พระครูปุริมานุรักษ์? (ประจำทิศตะวันออก) ร่วมกับ พระครูทักษิณานุกิจ (ประจำทิศใต้) คือ หลวงพ่อเสงี่ยม วัดห้วยจระเข้, พระครูปัจฉิมทิศบริหาร (ประจำทิศตะวันตก) คือ หลวงพ่อชิด วัดม่วงตารส และพระครูอุตรการบดี (ประจำทิศเหนือ) คือ หลวงพ่อศรีสุข วัดปฐมเจดีย์ฯ

จากวัดรกร้าง วัดไผ่ล้อมกลายเป็นวัดพัฒนา เป็นศูนย์กลางของชุมชนมีผู้คนหนาแน่น แต่ปัญหาของชุมชนที่เจริญก็มักมีปัญหายาเสพติดตามมา หมดปัญหาเรื่องเสนาสนะที่เป็นวัตถุ หลวงพ่อพูลก็ต้องรับภาระแก้ปัญหาคน

?ระยะหลังเงินบริจาคที่หลวงพ่อได้ ส่วนใหญ่ใช้ในเรื่องยาเสพติด บางส่วนท่านช่วยจังหวัดจัดซื้อเครื่องตรวจสอบยาเสพติด เมื่อท่านรู้ว่าเด็กนักเรียนในโรงเรียนมีปัญหาติดยาเสพติด ท่านก็ให้เงินใช้ในการรณรงค์ต้านยาเสพติด ท่านบอกว่ารู้ว่าลูกหลานติดยาแล้ว ท่านก็กลุ้มใจนอนไม่ค่อยหลับ? นี่คือภารกิจล่าสุดของหลวงพ่อพูล...ซึ่งเริ่มมีคนเรียกท่านว่า เทพเจ้าแห่งวัดไผ่ล้อม

ด้วยความเป็นศิษย์กตัญญูกตเวทีต่อบูรพาจารย์ ในวันวิสาขะ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี หลวงพ่อจะจัดพิธีไหว้ครู เพื่อรำลึกพระคุณอาจารย์ทั้งหลาย ในทุกวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์ภายในวัดมารับสังฆทาน เพื่ออุทิศกุศลผลบุญให้บรรพชนและครูบาอาจารย์ ตลอดทั้งเจ้ากรรมนายเวร โดยปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นประจำ


๏ สมณศักดิ์ที่ได้รับ

เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 12 ส.ค. พ.ศ.2547 พระครูปุริมานุรักษ์ (หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข) วัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ ?พระมงคลสิทธิการ? ในฐานะพระสงฆ์ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนาและประเทศชาติเป็นกรณีพิเศษ สร้างความปลาบปลื้มแก่คณะศิษยานุศิษย์อย่างหาที่สุดมิได้



22
บทความ บทกวี / ห้อยพระอย่างไร...
« เมื่อ: 13 เม.ย. 2550, 01:46:55 »
"แขวนพระอะไรดี" เป็นคำถามที่มักได้ยินบ่อยๆ และผม ก็จะตอบกลับไปว่า "แขวนพระอะไร ก็ดีเหมือนกัน ขอให้เป็นพระแท้ก็แล้วกัน"

แต่คนถามไม่ได้หยุดเพียงคำถามเดียว ยังถามต่อไปอีกว่า เกิดปีนั้น เดือนนั้น ทำงานอะไร และควรจะแขวนพระอะไรดี

ในหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ค "ป๋อง สุพรรณ" ซึ่งมีเนื้อหาหลักๆ อยู่หลายเรื่อง แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทั่วๆ ไป คือ "ห้อยพระอย่างไรให้ถูกโฉลก" ซึ่งผมได้รวบรวมความรู้จากประสบการณ์ส่องดูพระ ทั้งจากคนดังและคนไม่ดังนับแสนคน แต่ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ ผมจึงขอแยกเป็น ๓ ตอน โดยเริ่มตอนแรกในวันนี้ ส่วนที่เหลืออีก ๒ ตอน จะลงตีพิมพ์วันจันทร์ที่ ๒๔ และ ๓๑ มกราคม ใครเกิดปีไหน วันอะไร ขอได้โปรดติดตามต่อไป ไม่ควรพลาด ส่วนจะเชื่อหรือไม่นั้นสุดแล้วแต่ท่าน เพราะผมได้เขียน มาจากประสบการณ์ ไม่ได้เขียนโดยอ้างหลักวิชาการ

คนเกิดปีชวด

วันอาทิตย์ เหมาะที่จะแขวนพระที่มีเมตตาเป็นหลัก ได้แก่ พระปิดตา พระสิวลี พระสังกัจจายน์ ส่วนพระเครื่องเพื่อป้องกันตัวและเสริมการงาน เนื่องจากเป็นผู้ที่มีรูปงามมีเสน่ห์ พระที่เหมาะควรเป็นพระที่มีอำนาจในตัว ควรแขวนพระ ที่เป็นโลหะหรือผ่านธาตุไฟ เช่น พระกรุเนื้อชิน พระเครื่องเนื้อโลหะหรือเหรียญ ไม่ควร จะเป็นพระที่เป็นเนื้อผง ถ้าเป็นเนื้อผง ควรจะเลือกที่ผสมด้วยธาตุเหล็ก หรือผงตะไบเหล็กหรือโลหะเท่านั้น หรือเป็นพระผงฝังตะกรุด

วันจันทร์ รูปสมบัติเป็นโภคทรัพย์ติดตัวมา จึงไม่ค่อยเดือดร้อนเรื่องการทำมาหากิน ควรจะทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะตัวจึงจะถูกโฉลก ควรแขวนพระที่คล้ายกับโฉลกงาน เช่น พระทรงเครื่อง พระที่มีลวดลายประกอบอย่างงดงาม หรือพระพรหม พระพิฆเนศ

วันอังคาร ชีวิตมีแต่ความลำบาก ต้องฝ่าฟันอุปสรรคกว่าจะได้เงิน ต้องระวังปากตัวเองให้มากที่สุด ควรแขวนพระไสยาสน์ หรือพระปางสมาธิ เป็นเนื้อที่ผ่านไฟหรือไม่ก็ไม่เป็นไร เพราะพระทั้งสองปางหมายถึงความสงบระงับ เมื่อเกิดความพลุ่งพล่านทุกครั้งให้เอามือกุมพระ จะเยือกเย็นลง

วันพุธ ชีวิตมีแต่ความเจ็บไข้จุกจิก แม้ไม่อันตรายถึงชีวิตก็บั่นทอนร่างกายไปมาก เหมาะที่จะแขวนพระที่ทำจากต้นไม้ใบยา เช่น พระว่าน พระขมิ้นเสก พระไพลเสก หรือพระที่มีส่วนผสมของตัวยาต่างๆ พระเนื้อผงผสมว่านก็ใช้ได้ บางคนแขวนหมอชีวกโกมารภัจจ์ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

วันพฤหัสบดี เป็นผู้อุดมด้วยโภคทรัพย์ มีบุญเก่าอยู่มาก ทำให้ชีวิตไม่ล้มลุกคลุกคลานมากนัก ไม่ค่อย รอบคอบในการตัดสินใจ ประมาทเป็นนิจ ทำให้พลาดเงินหรือ เสียประโยชน์อันควรได้ไปอย่างน่าเสียดาย ควรแขวนพระที่จะมารับหน้าพระอังคารที่เป็นใจคือ พระปางป่าเลไลยก์ พระราหูเนื้อผง หรือเนื้อโลหะ เพราะพระราหูกับพระอังคารเป็นมหามิตรกัน จะรับหน้า ทำให้พระอังคารไม่อาจมาเบียดเบียนดวงชะตาได้

วันศุกร์ มีดีทางด้านผู้รับใช้ใกล้ชิดจะเป็นคนดีมีศีลธรรม แต่อยู่ด้วยไม่ได้นาน เพราะบางครั้งไม่ได้ตั้งใจแต่พูดไปโดยไม่คิด ทำให้บริวารต้องจากไป ควรแขวนพระพิมพ์ที่มีพระอัครสาวกอยู่ซ้ายและขวา เพราะพระพุทธองค์และพระสาวกนั้นหมายถึงการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาตามสายงาน จะแก้โฉลกให้ดีได้

วันเสาร์ เป็นผู้มีอำนาจในตัว มีดีที่คนเกรงขาม แต่มีข้อเสียชอบออกหน้าแทนลูกน้องหรือคนอื่น จึงมักต้องเดือดร้อนแทนคนอื่นในแทบทุกเรื่อง ให้แขวนพระปางห้ามสมุทร ยกพระหัตถ์ (มือ) สองข้าง ซึ่งจะแก้เคล็ดและทำให้ยับยั้งชั่งใจได้

คนเกิดปีฉลู

วันอาทิตย์ วาสนาไม่ค่อยจะดีนัก ให้เก็บหอมรอมริบทุกครั้งที่มีโชค โฉลกของท่านคือการเก็บงำ ควรแขวนพระเสริมวาสนา เช่น พระผงยาวาสนา พระปิดตามหาลาภ (ไม่ปิดทวาร) พระสิวลี พระปางลีลา พระสังกัจจายน์

วันจันทร์ มีดาวบริวารดีมาก จะได้ทรัพย์เพราะบริวารเป็นหลัก เพราะบริวารของท่านดีอยู่แล้ว ควรแขวนพระที่มีพระหลาย องค์รวมอยู่ในองค์เดียวกัน เช่น พระเจ้าห้าองค์ หรือพระ ที่มีจำนวน สององค์ขึ้นไป ถ้าหาไม่ได้ให้แขวนพระที่เป็นพิมพ์มีพระอัครสาวกอยู่ด้วย เพื่อเสริมบารมีในด้านบริวาร ควรเป็นเนื้อผสมส่วนผสมหลายอย่างจะดีที่สุด

วันอังคาร มีวาสนาน้อย ควรเจียมตน ไม่ทำการใหญ่เกินกำลัง อย่าจับงานใหญ่ทีเดียวจะแพ้ภัย ควรแขวนพระมหาอุด ปิดทวาร หรือเต่าเรือน เพื่อเป็นเคล็ดสำรวมระวังเรื่องการลงทุน พระปิดทวารจะทำให้นึกถึงการไม่ทำอะไรเกินตัว เต่าคือให้หดหัวยามมีภัยมา คืออย่าลงทุนมากนั่นเอง

วันพุธ หัวเดียวกระเทียมลีบ มีเพื่อนมีญาติเหมือนไม่มี พึ่งใครไม่ได้ นอกจากพึ่งตัวเอง ควรแขวนพระที่มีคำว่าเดี่ยวอยู่ด้วย เช่น เดี่ยวดำ เดี่ยวแดง พลายเดี่ยว หรือพลายคู่ตัดเดี่ยว เสริมโฉลกที่ต้องทำอะไรด้วยตัวเองเดี่ยวๆ

วันพฤหัสบดี มีวาสนาตกที่นั่งมีทรัพย์มาก ไม่ต้องขวนขวายก็จะได้มาแบบไม่ยาก มีข้อเสียเป็นคนมือเติบ มักมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย หรือขาดดุล แก้โฉลกด้วยการแขวนพระที่มีชื่อว่า "คง" เช่น หลวงพ่อคง พระอาจารย์มั่น จะทำให้รู้จักเก็บทรัพย์ให้มั่นคงและคงที่

วันศุกร์ เป็นคนตกที่นั่งอับโชคลาภ เงินที่จะได้มาอย่างง่ายๆ เช่น เล่นหวย อย่าไปหวัง ควรแขวนพระที่มีคำว่าเศรษฐี เงินแสน เงินล้าน พระทุ่งเศรษฐี พระที่ลงท้ายว่ารุ่นมหาเศรษฐี หรือขวัญถุงเงินล้าน เงินแสน จะเสริมพลังแห่งโชคลาภ

วันเสาร์ เป็นคนตกที่นั่งนักโทษ ทั้งชีวิตมีแต่คนเบียดเบียนใส่ไคล้ ทำให้เดือดร้อน มีโรคประจำตัวบั่นทอนชีวิตอยู่มาก ควรแขวนพระที่มียันต์เกราะเพชร หรือพระที่เป็นรูปโล่ จึงจะถูกโฉลกกับตัวเอง

คนเกิดปีขาล
วันอาทิตย์ หากินอย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ แม้จะมีตำแหน่งสูง แต่งานในความรับผิดชอบหนักหนา หรือไม่ก็ไปใหญ่โตในถิ่นกันดาร ควรแขวนพระที่มีความเคลื่อนไหว เช่น พระลีลา พระเปิดโลก พระสิวลี

วันจันทร์ ดวงชีพจรลงเท้า ถูกโฉลกกับงานที่ต้องเดินทางขึ้นล่อง ควรแขวนพระที่สงบและอยู่นิ่ง พระปางสมาธิ ไม่ควรแขวนพระเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้โฉลกร้อนขึ้นไปอีก

วันอังคาร เป็นนักบู๊ มักมีเรื่องราวชกต่อยเสมอ ส่วนใหญ่เป็นนักเลง นักพนัน หรือนักมวยเดินหน้าชน มีนิสัยก้าวร้าว มีโทสะจริตเป็นที่ตั้ง ควรแขวนพระเมตตา เช่น พระปิดตา พระสังกัจจายน์ พระสิวลี ที่ทำด้วยอะไรก็ได้ที่ไม่ได้ผ่านความร้อน ทำให้เย็นขึ้นได้

วันพุธ มีจิตใจเยือกเย็น สุขุม ไม่บุ่มบ่าม ใจเหมือนแม่น้ำ ใฝ่การบุญ เป็นที่รักของคนทั่วไป ควรแขวนพระปิดตามหาอุด หรือพระที่มีลักษณะอยู่กับที่เช่น พระยืนปางถวายเนตร

วันพฤหัสบดี แต่น้อยลำบาก เมื่ออายุมากขึ้นจะมีวาสนามากตามไป ควรอดทนรอให้งอมจึงหลุดจากขั้ว ควรแขวนพระที่ผ่านการหล่อหลอมจากธาตุไฟเพื่อเสริมพลังชีวิต จะเป็นพระกริ่งหรือรูปหล่อที่ผ่านไฟแรงเท่าใดก็ยิ่งดี

วันศุกร์ พึ่งใครไม่ได้ ต้องพึ่งตัวเอง เป็นเสือจับเนื้อกินเองจนแก่ ควรแขวนพระที่มีรูปเสือมาเกี่ยวข้อง หรือแขวนเสือก็ได้ จะเป็นเสืองาแกะ หรือเขี้ยวเสือก็ได้ หรือเสือที่เป็นโลหะก็ได้

วันเสาร์ เป็นผู้มีโภคทรัพย์ ทำมาหากินแล้วตั้งหลักฐานได้ง่าย มีข้อเสียคือ เชื่อคนง่าย มักถูกหลอกหรือฉ้อโกงเอาทรัพย์อยู่บ่อยๆ ควรแก้เรื่องความใจง่ายเชื่อคนง่ายไว้ ควรแขวนพระที่ตรงข้ามกับพระทั่วไป เพื่อแก้โฉลกด้านการถูกคดโกง จึงควรแขวนพระที่เป็นพิมพ์แบบสะดุ้งกลับจะเหมาะที่สุด

คนเกิดปีเถาะ

วันอาทิตย์ เป็นคนอาภัพอับวาสนา ทำมาหากินไม่พอเลี้ยงตัวเอง ต้องอาศัยบารมีคู่ครองเป็นหลัก หากอยู่ตัวคนเดียวจะลำบากมาก ควรแขวนพระเสริมวาสนา เช่น พระผงยาวาสนา พระที่มีนามเกี่ยวกับโชคลาภ

วันจันทร์ คนเกิดวันนี้ แต่น้อยจะลำบาก เมื่อเลยวัยกลาง คนไปจะดีขึ้นและตั้งตัวได้ ควรแขวนพระปางลีลา เพื่อความก้าวหน้า

วันอังคาร เป็นคนที่ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ ชีพจรลงเท้า ต้องเดินทางถึงจะได้เงิน เหมาะแก่การเป็นพนักงานขายของขึ้นๆ ลงๆ หรือค้าขาย ระหว่างประเทศ ควรแขวนพระเกี่ยวกับการค้าขาย เช่น พระสังกัจจายน์ พระสิวลี

วันพุธ เป็นที่ไม่พอใจกับเจ้านายหรือผู้ใหญ่ มักจะให้ร้ายเสมอ เป็นโฉลกของวันเกิด จึงไม่ควรรับราชการเพราะจะไม่ก้าวหน้า เหมาะที่จะทำมาหากินในความถนัดของตน ไม่ขึ้นกับใคร ควรแขวนพระมหาอุด ที่ทำจากโลหะที่ผ่านความร้อนแล้วจะทำให้เกิดตบะและเดชะป้องกันตัวเองได้

วันพฤหัสบดี เป็นคนใจร้อนใจน้อย ใครตักเตือนก็ไม่พอใจ ดื้อรั้น ควรอ่อนน้อมรับฟังผู้อื่นแล้วเอามาคิด ให้แขวนพระที่มีหนุมานอยู่ด้วย เพราะดวงอาสาเจ้านายเหมาะ หรือไม่ก็แขวนพระที่มีลักษณะการกวัก เช่น พระพุทธกวัก

วันศุกร์ มีวาสนาดี เป็นนักบวชก็ก้าวหน้า เหมาะกับการควบคุมคนหมู่มาก มีลักษณะเป็นผู้นำ ควรแขวนพระที่ในหนึ่งพิมพ์มีจำนวนมากกว่าหนึ่งขึ้นไป เช่น พระเจ้าห้าองค์ พระเจ้าสิบทัศน์ พระตรีกาย

วันเสาร์ โฉลกเป็นคนที่คนทำร้ายไม่ได้ มีผู้คอยออกรับและคุ้มครองป้องกันอยู่เสมอ ทำให้ไม่ต้องลำบาก แต่เป็นคนที่อาภัพคู่ครอง แม้มีสมบัติมากแต่ก็มักจะผิดหวังเรื่องคู่ครองเสมอ ควรแขวนพระที่มีนามทางความอ่อนนุ่ม เช่น พระนางพญา http://www.komchadluek.net/column/pra/2005/01/17/02.php

23
เมื่อเวลา 22.30 น. วันที่ 22 ก.พ. ร.ต.ต.ประยูร ประกอบจันทร์ ร้อยเวร สภ.อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี รับแจ้งมีเหตุยิงกันภายในชุมชนหมู่บ้านนวนครหน้าเมือง โครงการ 1 หมู่ 13 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ภายในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุบริเวณหน้าบริษัทพลสุข คอมเมอร์เชียล จำกัด เลขที่ 189 หมู่ 13 ต.คลองหนึ่ง ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง
พบนายสถาพร งามฉวี อายุ 37 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26/138 หมู่ 16 ต.คลองหนึ่ง มีตำแหน่งเป็นสมาชิกเทศบาลเมืองคลองหลวง ยืนอยู่ข้างรถกระบะมิตซูบิชิ สตราดา โฟร์วีล 4 ประตู สีเทาดำ ทะเบียนป้ายแดง ค-6709 กรุงเทพมหานคร ในสภาพยังไม่หายตื่นตกใจ พร้อมชี้ให้ ตำรวจดูรอยกระสุนบนตัวถังรถบริเวณขอบประตูฝั่งคนขับ ซึ่งถูกยิงจนกระจกแตก ก่อนให้การว่า ช่วงหัวค่ำ ตนพร้อมด้วยนางจิรชญา สาขามุละ อายุ 37 ปี ภรรยา ไปร่วมงานเลี้ยงฉลองตำแหน่งของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองคลองหลวงคนหนึ่ง ที่หมู่ 3 ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง กระทั่งเวลา 4 ทุ่มเศษ จึงขอตัวออกจากงานเลี้ยงขับรถมุ่งหน้ากลับบริษัท ขณะจะเลี้ยวรถเข้าบริษัท ปรากฏว่ามีชาย 2 คน อายุราว 30 ปี ขี่รถ จยย.ฮอนด้า ซีบีอาร์ จำสีและทะเบียนไม่ได้ คนขับขี่สวมชุดปฏิบัติงานสีเขียว ลักษณะคล้ายชุดที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯหรือหน่วยกู้ภัยสวมใส่ ส่วนคนซ้อนท้ายสวมชุดสีดำลักษณะเดียวกัน และสวมหมวกแก็ป ขี่รถ จยย.มามองหน้าแล้วขี่เลยไป
จากนั้นเลี้ยวรถย้อนกลับมาอีกครั้ง เมื่อได้จังหวะคนนั่งซ้อนท้ายชักปืนพกสั้นออกมาจ่อยิงใส่รถตนในระยะเผาขน 2 นัดซ้อน กระสุนนัดแรกถูกขอบประตูฝั่งคนขับ ส่วนนัดที่ 2 ถูกเสากลางประตูแล้วแฉลบทะลุกระจกมาถูกไหล่ขวาของตนจนเลือดไหลซิบๆ ผิวหนังบวมเป่ง แต่กระสุนไม่เข้า คนร้ายเห็นท่าไม่ดีรีบเร่งเครื่องรถ จยย.หลบหนีออกไปทางถนนพหลโยธิน ขาออก มุ่งหน้าไปทาง จ.พระนครศรีอยุธยา สำหรับสาเหตุยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะต้องการให้เป็นความลับเพื่อตำรวจจะทำงานอย่างสะดวก เบื้องต้นบอกได้เพียงว่าผู้ก่อเหตุเป็นผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ แต่คงไม่เกี่ยวกับเรื่องการเมืองท้องถิ่น และปัญหาชู้สาว ส่วนจะเป็นเรื่องใดนั้น ขอให้เป็นหน้าที่ของตำรวจสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า แขวนพระอะไรจึงแคล้วคลาดจากกระสุนปืนของคนร้ายได้อย่างน่าอัศจรรย์ ส.ท.หนังเหนียวยกพระในคอขึ้นมาให้ดูพร้อมกล่าวว่า แขวนพระสมเด็จเกศไชโย ซึ่งบิดาให้มานานแล้ว ส่วนจะเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหาริย์หรือไม่ โดยส่วนตัวเชื่อว่าอยู่ที่การปฏิบัติตัวมากกว่า หากเราเป็นคนดี ทำความดี พระก็จะคุ้มครอง แต่ถ้าทำไม่ดีพระท่านก็คงไม่คุ้มครองคนชั่วเช่นกัน

24
วันเสาร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๐ คนทั่วๆ อาจจะไม่คิดว่า เป็นวันสำคัญอะไร แต่สำหรับการสร้างวัตถุมงคลแล้วถือว่า เป็นวันสำคัญแห่งการสร้างวัตถุมงคล และพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นวันเสาร์ แรมห้าค่ำ เดือนห้า
อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปในอดีตพบว่า วันเสาร์ที่ตรงกับแรมหรือขึ้นห้าค่ำนั้น จะเกิดขึ้นประมาณ ๒-๓ ปีครั้ง คือ วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๒๖ ตรงกับแรม ๕ ค่ำเดือน ๕ วันเสาร์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๓๓ ตรงกับแรม ๕ ค่ำเดือน ๕ วันเสาร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๖ ตรงกับขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๕ วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๗ ตรงกับแรม ๕ ค่ำเดือน ๕ วันเสาร์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๓๙ ตรงกับขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๕ วันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๐ ตรงกับแรม ๕ ค่ำเดือน ๕ วันเสาร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๓ ขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๕ และวันเสาร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๐ แรม ๕ ค่ำเดือน ๕ ที่ผ่านมา
สำหรับวัด หรือหน่วยงานใด ที่พลาดการประกอบพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวันเสาร์ห้าที่ผ่านมา หากต้องการจะพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวันเสาร์ห้าในปีต่อๆ ไป ก็ต้องรอไปอีก ๓ ปี โดยวันเสาร์ห้าจะมีอีกครั้งในวันเสาร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ตรงกับขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๕ 
ส่วนปีถัดไปก็จะมีเสาร์ห้าอีก คือ วันเสาร์ที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๔ ตรงกับแรม ๕ ค่ำเดือน ๕ จากนั้นก็เว้นไปอีก ๓ ปี คือวันเสาร์ห้าจะตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๗ ตรงกับแรม ๕ ค่ำเดือน ๕
พระครูสุนทรสิทธิการ (สุคนธ์ สุคนฺธธโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) หรือ พระมหาสุคนธ์ บอกว่า ที่เรียกว่า เสาร์ห้า นั้น คือ วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งโอกาสที่จะเกิดวันเสาร์ห้านั้น ประมาณ ๒-๓ ปีครั้ง
ตามคติความเชื่อของโบราณาจารย์เชื่อว่า ดาวเสาร์เป็นดาวแห่งความเข้มแข็ง และมีพลังมาก หากมีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวันเสาร์ห้า จะมีพุทธคุณด้านคงกระพัน และแคล้วคลาด โดยจะเห็นได้ว่า ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อมีการประกอบพิธีในวันดังกล่าว วัตถุมงคลส่วนใหญ่มักได้รับความนิยม
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบระหว่างการประกอบพิธีในวันข้างขึ้นกับข้างแรม การประกอบพิธีในวันข้างขึ้นจะดี ๑๐๐% ส่วนข้างแรมจะดีประมาณ ๘๐% โดยเสาร์ห้าที่ผ่านมานั้น มี ๓ ฤกษ์สำคัญๆ ราชาฤกษ์ โสภณ และ ลาภะ ซึ่งเป็นฤกษ์ที่เป็นมงคล และดีเลิศทุกอย่าง
ในขณะที่ นายกิจจา ทวีกุลกิจ หรือ "หมอนิด" โหรการเมืองชื่อดัง กล่าวเสริมว่า วันเสาร์ ๕ ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือกันว่าเป็น วันแรง เป็นวันที่จะมีพิธีพุทธาภิเษก แต่วันเสาร์ ๕ ในวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๐ ยังไม่ใช่วันเสาร์ ๕ อย่างแท้จริง ยังเป็นวันเสาร์ ๕ ที่ยังไม่เต็มร้อยโดยยังไม่เต็มสูตร มีการจัดพิธีพุทธาภิเษกก็ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งถ้าเป็นวันเสาร์ ๕ ที่แท้จริงและเต็มสูตรจะต้อง ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ วันเสาร์ หรือ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ วันเสาร์
เหตุที่วัดส่วนใหญ่นิยมจัดให้มีพิธีพุทธาภิเษก เพราะเชื่อกันว่าจะทำให้พิธีพุทธาภิเษกที่เข้มขลังจะมีความศักดิ์สิทธิ์ที่ดีมาก แต่ถ้าวันเสาร์ ๕ สมบูรณ์เต็มสูตรได้นั้น จะต้องเป็นวันเสาร์ ๕ ขึ้น หรือ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ วันเสาร์เท่านั้น แต่จะเป็นวันเสาร์ ๕ ที่หายากมากๆ เพราะจะตรงแบบนี้ได้ต้องรอประมาณ ๕ หรือ ๗ ปี สังเกตให้ดี ถ้าเป็นวันเสาร์ ๕ ที่เต็มสูตรแบบนี้ จะมีวัดจัดพิธีพุทธาภิเษกกันเป็นจำนวนมาก เพราะถือว่าเป็นวันแรง และได้ความศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก
---------///ล้อมกรอบ///----------
เหตุที่เลือก "เสาร์ห้า"
"คม ชัด ลึก" ได้รวบรวมข้อมูลพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดต่างๆ ในวันเสาร์ที่ ๗ เมษายน ซึ่งเป็นวันเสาร์ห้า พบว่า วัดที่มีตำนานเกี่ยวกับการสร้างวัตถุมงคลรุ่นเสาร์ห้า ต่างประกอบพิธีพุทธาภิเษกทั้งสิ้น
เช่น วัดสุทัศนเทพวราม มีการพุทธาภิเษกพระกริ่งรุ่น สมโภช ๒๐๐ ปี ส่วนที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม บริเวณด้านหน้าพระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ มีการพุทธาภิเษกเหรียญทรงยินดี ของวัดศรีสุดาราม
ส่วนในต่างจังหวัดนั้น วัดแรกต้องยกให้ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นวัดที่มีคิวจองพุทธาภิเษกจตุคามรามเทพยาวเหยียด
นอกจากนี้แล้ว วัดเล็กวัดน้อยในต่างจังหวัด ก็ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ทั้งภายในอุโบสถของวัด หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อย่างเช่น ที่วัดช่องแสมสาร จ.ชลบุรี ประกอบพิธีมหาพิธีพุทธาภิเษก จตุคามรามเทพ รุ่น "มรดกแผ่นดิน" บริเวณด้านหน้าอนุสรณ์สถานดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ทั้งนี้ พระครูวิสารทสุตาการ หรือ พระมหารัตนะ เจ้าอาวาสวัดช่องแสมสาร ให้เหตุผลว่า วัดใช้ฤกษ์เสาร์ห้าในการประกอบมหาพิธีพุทธาภิเษก ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของการสร้างวัตถุมงคลที่ว่า หากประกอบพิธีในวันดังกล่าว จะมีพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี
โดยพิธีเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ น. วันเสาร์ที่ ๗ เมษายน โดยพราหมณ์หลวง ทำพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หน้าอนุสรณ์สถานดอนเจดีย์ จากนั้นเวลา ๐๔.๔๕ น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๖ รูป เจริญพระพุทธมนต์ สวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร เพื่อความเป็นสิริมงคล หลังจากเสร็จพิธีแล้ว เวลา ๐๘.๑๙ น. มีการนำไก่ชน ๑๐๐ คู่ มาตีถวายแก้บนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้านพระครูปลัดสมศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดแค จ.สุพรรณบุรี บอกว่า เหตุผลที่เลือกประกอบมหาพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล องค์จตุคามรามเทพ รุ่น "รวยแบบไม่มีเหตุผล" จากการศึกษาข้อมูลการสร้างวัตถุมงคลของพระเกจิอาจายร์ยุคก่อน พบว่าวัตถุมงคลที่ประกอบพิธีในวันเสาร์ห้า มักจะได้รับการกล่าวขานเรื่องพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด เมื่อมีโอกาสในการจัดสร้างวัตถุมงคล จึงเลือกวันเสาร์ห้าเป็นวันประกอบพิธี 0 ไตรเทพ ไกรงู 0
 

http://www.komchadluek.net/2007/04/1...news_id=106945


25
เสด็จเตี่ย ? พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงสักยันต์ทั้งพระองค์ตั้งแต่สมัยวัยหนุ่ม รูปสักมีดังนี้ หนุมาน, ลิงลม(บริเวณพระชงฆ์ เพื่อเดินเร็ว), มังกร (เลื่อยพันบริเวณแขน), อักขระ(บริเวณข้อนิ้ว เพื่อชกต่อยหนัก)

บริเวณอุระสัก ?ร.ศ. 112 ตราด? เพื่อจำไม่ลืมกับการบุกรุกของกองเรือรบฝรั่งเศสที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา หลังเหตุการณ์นี้ไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเพื่อแลกกับอธิปไตยของไทยโดยรวม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มตระหนักว่า การว่าจ้างชาวต่างประเทศเป็นเรื่องไม่น่าวางใจ และทรงริเริ่มฝึกนายทหารเรือเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนชาวต่างประเทศ เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อพระองค์เจ้าอาภากรยังทรงพระเยาว์เพียง 13 ชันษาเท่านั้น เหตุนี้จึงทำให้พระองค์ท่านทรงมุ่งมั่นในการศึกษาวิชาทหารเรือเพื่อกลับมารับใช้บ้านเมือง

หม่อมเจ้าหญิงเริงจิตรแจรง อาภากร พระธิดาของเสด็จในกรมฯมีบันทึกยืนยันว่า ทรงสักทั้งองค์ตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ เล่ากันต่อมาว่า เมื่อหลวงปู่ขัน วัดนกกระจาบจะสักอาคมเพิ่มเติมให้ปรากฏว่าพระวรกายไม่มีที่ว่าง จึงได้อักขระ ?นะ? คำเดียวที่บริเวณกัณฐมณี (ลูกกระเดือก) เท่านั้น

การที่เสด็จเตี่ยกราบเกจิอาจารย์ขอเป็นศิษย์กับทุกอาจารย์ที่ได้พบนั้น ทำให้พระองค์ทรงเป็นศิษย์หลายครู ครูบาอาจารย์ของพระองค์นั้นมีดังนี้ หลวงปู่ดำ ภูเก็ต, หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ, หลวงปู่ศุข วัดอู่ทอง ปากคลองมะขามเฒ่า (ปัจจุบันเรียก วัดมะขามเฒ่า), หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, หลวงพ่อจร วัดดอนรวบ, หลวงพ่อเจียม ชลบุรี, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก,หลวงพ่อเขียว วัดเครือวัลย์, หลวงปู่ขัน วัดนกกระจาบ ฯลฯ

แต่ที่พระองค์ท่านผูกพันจริงๆ ใกล้ชิดเป็นพิเศษมีเพียง 3 รูปคือ หลวงปู่ศุข,หลวงพ่อเงินและหลวงพ่อพริ้งเท่านั้น


26
บทความ บทกวี / ประวัติเครื่องราง
« เมื่อ: 12 เม.ย. 2550, 10:39:40 »
ประวัติเครื่องราง
หากจะพูดถึงเรื่องเครื่องรางของขลังแล้วเป็นเรื่องที่ลึกลับและกว้างขวาง ซึ่งในตำรา
พิชัยสงครามกล่าวว่าเครื่องรางที่นักรบสมัยโบราณจะมีติดตัวเป็นมงคลซึ่งมีหลายชนิด แบ่ง
ออกเป็นประเภทย่อ ๆ ดังนี้
ความเป็นมาจากธรรมชาติ ได้แก่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่มีการสรรค์สร้างซึ่ง
ถือว่ามีดีในตัว และเทวดารักษา สิ่งนั้นได้แก่ เหล็กไหล คดต่าง ๆ เขากวางคุด เขี้ยวหมูตัน
เขี้ยวเสือกลวง เถาวัลย์ ฯลฯ
เครื่องรางของขลังที่สร้างเอง ได้แก่ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่หล่หลอมตามสูตรการเล่นแร่แปร
ธาตุ ได้แก่ เมฆสิทธิ์ เมฆพัด เหล็กละลายตัว สัมฤทธิ์ นวโลหะ สัตตะโลหะ ปัญจโลหะ ฯ
ทั้งนี้คลุมไปถึงเครื่องรางลักษณะต่าง ๆ ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อกันภัยอันตราย
แบ่งตามการใช้
1. เครื่องคาด เครื่องรางที่ใช้คาดศีรษะ คาดเอว คาดแขน ฯลฯ
2. เครื่องสวม เครื่องสวมที่ใช้คาดศีรษะ คาดเอว คาดแขน ฯลฯ
3. เครื่องฝัง เครื่องรางที่ใช้ฝังลงในเนื้อหนังคน เช่น เข็มทอง ตะกรุดทอง ฯ
4. ลูกอม เครื่องรางที่ใช้อมไว้ในปาก เช่น ลูกอม ตะกรุดลูกอม ฯ
แบ่งตามวัสดุ
1. โลหะ 2. ผง 3. ดิน 4. วัสดุอย่างอื่น เช่น กระดาษสา ชันโรง ดินขุยปู 5. เขี้ยวสัตว์
เขา งา เล็บ หนังสัตว์ 6. ผมผีพราย ผ้าตราสัง ผ้าห่อศพ ผ้าผูกคอตาย 7. ผ้าทอทั่ว ๆ ไป
แบ่งตามรูปแบบลักษณะ
1. ผู้ชาย ได้แก่ รักยม กุมารทอง ฤาษี ชูชก และสิ่งที่เป็นรูปของเพศชายต่าง ๆ
2. ผู้หญิง ได้แก่ แม่นางกวัก แม่โพสพ และสิ่งที่เป็นรูปของเพศหญิงต่าง ๆ
3. สัตว์ ในที่นี้หมายถึง พระโพธิสัตว์ อาทิ เสือ ช้าง วัว เต่า จระเข้ งู ฯ
แบ่งตามระดับชั้น
1. เครื่องรางระดับสูง ได้แก่ เครื่องรางที่ใช้บนส่วนสูงของร่างกาย นับตั้งแต่ศีรษะ
ลงมาถึงบั้นเอว สำเร็จด้วยพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
2. เครื่องรางระดับต่ำ ได้แก่ เครื่องรางที่เป็นของต่ำ เช่น ปลัดขิก อีเป๋อ ไอ้งั่ง อิ้น
พวกนี้ไม่ได้สำเร็จด้วยของสูง
3. เครื่องรางที่ใช้แขวน ได้แก่ ตั๊กแตน ปลา ธงรูปต่าง ๆ ผ้ายันต์ ฯ

27
บังเอิญหาข้อมูลไปเรื่อย ๆ เจอเข้าพอดี ดีใจมากครับ เพราะทำให้โครงการสร้างพระเครื่องของผมก้าวไปอีกก้าวหนึ่งแล้ว เลยเก็บมาฝากครับ เผื่อมีใครที่อยากสร้างพระเครื่องบ้าง จะได้ช่วย ๆกันครับ

บริหารการจัดสร้างพระเครื่องเชิงพุทธ
สมหวัง วิทยาปัญญานนท์
5 ธันวาคม 2543
Font : CordiaUPC
ประเด็นเรื่อง
ผู้ที่สนใจพระเครื่อง เคยเล่นแต่สะสมเป็นงานอดิเรก บางครั้งก็อาราธนาขึ้นแขวนคอ หลายคนไม่ทราบว่าพระเครื่องสร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไร มีไว้ทำไม วิธีการสร้างเขาทำกันอย่างไร และการสร้างพระเครื่องเชิงพุทธนั้นเป็นอย่างไร แต่ที่รู้ทราบถึงการสร้างพระเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว ซึ่งจะหาอ่านการวิธีการสร้างพระเครื่องได้ยาก แม้นในวารสารพระเครื่อง แต่สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้
บทคัดย่อ
การจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่านดินผง นั้นเป็นการทำบุญชนิดหนึ่ง เพื่อสืบทอดสัญลักษณ์พุทธศาสนาต่อไป แต่ปัจจุบันมักจะเบี่ยงเบนไปทางพุทธพาณิชย์ และในทางงมงายไม่ใช่สร้างปัญญา การนำพระเครื่องมาบูชา อาจเป็นงานอดิเรก หรือเชื่อมั่นในอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ หรืออนุสติเตือนใจ
ขั้นตอนการบริหารจัดสร้างพระเครื่องเชิงพุทธเนื้อว่านดินผง มีตั้งคณะทำงาน กำหนดวัตถุประสงค์การสร้าง จัดเตรียมงบประมาณ การเลือกแบบ การทำพิธีขอจัดสร้าง การออกแบบพระ การจัดเตรียมแม่พิมพ์ การเลือกประเภทแม่พิมพ์ การเลือกเนื้อพระ การจัดเตรียมเนื้อพระ การจัดเตรียมมวลสารวัตถุมงคล การจัดเตรียมวัตถุประสาน การผสมเนื้อพระ การพิมพ์พระ การทำให้พระแข็งตัว การตรวจสอบคุณภาพ การจัดเตรียมภาชนะหีบห่อ การเตรียมพระเครื่องเข้าพิธีพุทธาภิเษก การจัดพิมพ์คู่มือพระ การแจกจ่ายพระเครื่อง
ในเชิงพุทธนั้นการสร้างพระขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสติถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เป็นที่พึ่งทางใจ ให้จิตสงบ นึกถึงกับธรรมะ เพื่อใช้ในการปฏิบัติตนให้ใจสงบ ไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย ไม่ให้สร้างศรัทธาอันนำไปสู่ลาภสักการะ หรือเอาไปสร้างวัตถุจนเกินจำเป็น จนมองเป็นการค้าบุญไป หรือหนักไปทางพุทธพาณิชย์
1. บทนำ

วิธีการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่านดินผง มักจะเป็นความลับ เนื่องจากเกรงว่าจะมีคู่แข่งในการทำมาหากิน
ในวงการนักเลงพระ หรือนักสะสมพระเครื่อง มักจะสนใจแต่พุทธลักษณะ เนื้อมวลสาร อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ แต่มักไม่ค่อยจะทราบถึงวิธีการสร้าง และวัสดุประสานที่ใช้
เนื้อพระที่พบเห็นก็มีเนื้อว่าน เนื้อดินดิบ เนื้อดินเผา และเนื้อผง เนื้อว่าน เนื้อดินดิบ เนื้อผง ต้องหาวัสดุเชื่อมประสาน สำหรับเนื้อดินเผาจะให้เนื้อดินประสานกันเองด้วยความร้อน สุดท้ายเนื้อพระต้องเชื่อมกันติดแน่น และต้องไม่ยุ่ย ละลายน้ำเมื่อแช่น้ำต่อเนื่องกันหลายๆ วัน
การสร้างพระเครื่องสมัยนี้ มักจะกลายเป็นพุทธพาณิชย์ เป็นวัตถุที่ใช้ในการระดมทุนเข้าวัด หรือเป็นสินค้าในท้องตลาด จนเป็นล่ำเป็นสัน ร่ำรวยไปหลายคน ซึ่งแตกต่างจากสมัยโบราณที่สร้างพระเครื่องเพื่อชาติและศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ใช้ในการออกรบปกป้องบ้านเมือง และมักจะมีคนโบราณบอกว่า ?จนอย่างไรก็จะไม่ขอขายพระกิน? สมัยนี้ขายพระกิน จนคนทั้งบ้านทั้งเมืองเห็นเป็นของธรรมดาไปเสียแล้ว มีการตั้งราคาพระเครื่องเป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสน และเป็นล้าน โดยเฉพาะพระสมเด็จ ที่สมเด็จพุฒาจารย์โตสร้างไว้แต่โบราณ มีราคาในท้องตลาดเป็นหลักล้าน
พระเครื่องที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นพระแขวนคอ เนื้อว่านดินผง สำหรับเนื้อโลหะยังไม่กล่าวถึง

2. วัตถุประสงค์การจัดสร้างพระเครื่อง

วัตถุประสงค์การจัดสร้างพระเครื่อง อาจเรียงตามลำดับจากได้บุญมาก ไปบุญน้อย จนถึงบาป ดังนี้
1. สร้างพระเครื่องเป็นสื่อคำสั่งสอน โดยแจกแก่บุคคลทั่วไป โดยไม่คิดมูลค่า เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา
2. สร้างพระเพื่อนำไปทำบุญแก่วัด หรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดมูลค่า และไม่หวังสิ่งตอบแทน
3. สร้างพระเพื่อบรรจุลงกรุ เจดีย์ สถูป เจดีย์พระธาตุ เพื่อเป็นหลักฐานทางโบราณคดี และใช้เป็นสิ่งจูงใจ ระดมทุนมาซ่อมแซมบูรณะเมื่อชำรุดทรุดโทรมในอนาคต
4. สร้างพระเพื่อวิจัยสูตรเนื้อดินหรือโลหะธาตุ
5. สร้างพระเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง สำหรับการออกสงคราม สู้รบปกป้องบ้านเมือง
6. สร้างพระเพื่อแจกเป็นของชำร่วย เพื่อเป็นของที่ระลึกในงานทอดกฐิน ทอดผ้าป่า งานวันเกิด งานศพ งานแต่งงาน
7. สร้างพระโดยเน้นพุทธศิลป์ ศิลปวัฒนธรรม ในยุคนั้น
8. สร้างเป็นพระของขวัญ แก่ผู้มาทำบุญที่วัด
9. สร้างเพื่อหารายได้จากการเช่าพระ (ขายพระ) มาสร้างสาธารณประโยชน์ เช่น วัด โบสถ์ โรงเรียน โรงพยาบาล มีการตั้งราคาพระ เพื่อให้สามารถควบคุมรายได้และค่าใช้จ่ายได้
10. สร้างพระโดยเน้นวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น เมตตามหานิยม มหาอุต โชคลาภ แคล้วคลาด คงกระพัน มหาเสน่ห์
11. สร้างพระแบบทั่วๆ ไป ไม่ระบุสังกัด ทำเป็นโหล เพื่อให้ทางวัดหรือบุคคลทั่วไปมาซื้อ แล้วเอาไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกเอง
12. สร้างเสริมเพิ่มจำนวนที่หมดไปแล้ว เพิ่มยอดรายได้ แล้วทำให้เข้าใจผิดว่ารุ่นเดิมยังไม่หมด บางครั้งทางวัดสร้างเสริมเอง และบางครั้งคณะศิษย์ก็แอบสร้าง ทางที่ถูกต้องการสร้างเสริมควรแจ้งให้ทราบว่าเป็นรุ่นสร้างเสริมแล้วมีโค๊ดบอกให้ทราบด้วย เพื่อไม่ให้ผิดศีลข้อมุสา โกหกหลอกลวง
13. ทำปลอมพระเครื่องที่ดังๆ โดยมีเจตนาว่าให้ผู้ต้องการหลงผิด คิดว่าเป็นพระของแท้ดั่งเดิม แล้วจะขายในราคาพระแท้ เป็นการต้มตุ๋นอย่างหนึ่ง ผิดศีลข้อมุสา โกหกหลองลวง

3. วัตถุประสงค์ของการบูชาพระเครื่อง

?บูชา? นี้ก็คือ การเอาไปสักการะ เป็นการเล่นคำเพื่อหลีกเลี่ยงคำว่า ?ซื้อพระ? เช่นเดียวกับการที่ผู้ขายหรือผู้ให้บูชา ใช้คำว่า ?ให้เช่าพระ? แทนคำว่า ?ขายพระ? เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนกันด้วยเงินกับพระตลอดไป เช่าพระ แปลว่า ขายพระ ถ้าซื้อพระขายพระเป็นสิ่งดี ทำไมต้องเลี่ยงคำด้วย
แหล่งสถานที่ที่จะบูชาเช่าซื้อหามีหลายแห่ง เช่น วัด ธนาคาร (เป็นครั้งคราว) ศูนย์พระเครื่องแลกเปลี่ยนกันเองระหว่างบุคคล มรดกตกทอดมา นำมาจากกรุที่ค้นพบ ร้านค้าของชำร่วย (บางครั้ง) แถมมากับหนังสือพระเครื่อง ร้านขายหนังสือ พบตกหล่นในบริเวณโบราณสถาน คนตกรถนำมาขาย โรงรับจำนำ (ติดมากับสร้อยคอทองคำ) พระสงฆ์เดินธุดงค์ ถ้ำโบราณ เป็นต้น
การหาพระเครื่องมาเป็นเจ้าของนั้น บางครั้งก็ได้มาฟรี บางครั้งก็ใช้เงินพอประมาณ แต่บางครั้งก็ต้องใช้เงินจำนวนมากเป็นหมื่นเป็นแสนก็มี ซึ่งการใช้เงินมากๆ อย่างนี้ ขอให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองด้วย
วัตถุประสงค์ของการนำพระเครื่องมาบูชาหรือใช้งาน
q สะสมพระเครื่อง แบบงานอดิเรก หรือนักสะสมของเก่า
q ใช้เป็นเครื่องเตือนใจ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือพระสงฆ์ที่ตนเองนับถือ (พุทธานุสติ ธัมมานุสติ และ สังฆานุสติ)
q ชมชอบพุทธศิลป์ และมวลสารที่นำมาสร้างพระเครื่อง
q ใช้เป็นที่ระลึกในการทำบุญ ทำความดี ในโอกาสต่างๆ
q เชื่อในอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ของพระเครื่องที่จะคุ้มครองให้ปลอดภัย หรือนำโชคลาภมาให้


4. อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพระเครื่อง

อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ถึงแม้นมีจริง แต่เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งจริงแท้แน่นอนก็คือ ต้องปฏิบัติธรรม
คนหนังเหนียวยิงฟันไม่เข้า แล้วสร้างศัตรูไปทุกแห่งหน ย่อมมีคนที่คอยหมายปองจ้องเอาชีวิต วันใดคาถาอาคมเสื่อมหรือพระหนีไปแล้ว ก็ย่อมถึงวันตาย สู้ปฏิบัติธรรมไม่ได้ โดยการสร้างมิตรไปทั่ว ดังนั้นก็ไม่มีใครคิดที่จะฆ่าฟัน อายุยาวนานกว่า
วัตถุประสงค์การสร้างพระเครื่อง อย่าเน้นเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ให้คิดเป็นเรื่องของผลพลอยได้ ควรเน้นเรื่องการใช้พระเครื่องเป็นสื่อชักชวนให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรมบำเพ็ญความดี จะถูกต้องที่สุด

5. กระบวนการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่านดินผง

การจัดสร้างพระเครื่อง ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง หากทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เนื่องจากเป็นการเผยแพร่พุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง การสร้างพระเครื่องนี้ เป็นการสร้างสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระธรรมจักร พระพุทธบาท พระสงฆ์ พระอรหันต์ เป็นต้น แต่เดี๋ยวนี้มักมีการสร้างที่อิงกับศาสนาพรามณ์ เช่น ยักษ์ ฤาษี เจ้าพ่อ เจ้าแม่ พระพิฆเนศ หนุมาน ราหูอมจันทร์ พระนารายณ์ พระพรหม เป็นต้น ความเชื่ออื่นๆ ก็มี เช่น ตะกรุด นางกวัก ขุนช้าง จิ้งจกสองหาง แม่พระธรณี เงาะป่า เป็นต้น
ในเชิงพุทธ จะเน้นสร้างเฉพาะสัญลักษณ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เท่านั้น เช่นเดียวกันกับการสร้างพระพุทธรูป พระบูชา เพื่อสักการะกราบไหว้ตามที่เห็นตามวัดวาอารามทั่วไป
กระบวนการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่านดินผง มีดังนี้
1. จัดตั้งคณะทำงานจัดสร้าง
2. กำหนดวัตถุประสงค์การจัดสร้าง
3. การจัดเตรียมงบประมาณ
4. การเลือกแบบพระเครื่องที่จะจัดสร้าง
5. จัดทำพิธีขอจัดสร้าง
6. ออกแบบพระเครื่อง
7. การลองพิมพ์พระ
8. การจัดเตรียมแม่พิมพ์ที่ใช้พิมพ์ขึ้นรูป
9. การเลือกประเภทแม่พิมพ์
10. การเลือกเนื้อพระที่จะจัดสร้าง
11. การจัดเตรียมเนื้อพระ
12. การจัดเตรียมมวลสารวัตถุมงคล
13. การจัดเตรียมวัสดุประสาน
14. การผสมเนื้อพระ
15. การพิมพ์พระ
16. การทำให้พระเครื่องแข็งตัว
17. การตรวจสอบคุณภาพพระพิมพ์
18. การจัดเตรียมภาชนะหีบห่อ
19. การนำพระเครื่องเข้าพิธีพุทธาภิเษก
20. การจัดพิมพ์คู่มือพระเครื่อง
21. การแจกจ่ายพระเครื่อง


5.1 จัดตั้งคณะทำงานจัดสร้าง
จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง กำหนดภารกิจตั้งแต่ประธาน การเงิน การตลาด ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก และเลขานุการ คณะผู้จัดสร้างอาจเป็นบริษัทเอกชน องค์กร บุคคลธรรมดา คณะกรรมการวัดก็ได้ ถ้าไม่เน้นพิธีการอะไรมากมาย คนหนึ่งหรือสองคน ก็ทำงานได้แล้ว หากการตั้งคณะทำงานแล้วต้องมีค่าใช้จ่าย ก็ต้องดูความเหมาะสม ให้เน้นหลักความประหยัด ไม่ต้องหรูหราปรุงแต่ง
5.2 กำหนดวัตถุประสงค์การจัดสร้าง
การสร้างพระเครื่องขึ้นมาเพื่ออะไร ใช้ในงานอะไร เช่น งานทอดกฐิน ฝังกรุ หารายได้เข้าวัด จำนวนที่สร้างจะสร้างเท่ากับวัตถุประสงค์ เช่น จำนวนผู้สั่งจอง จำนวนสมาชิก ยอดรายได้ที่ต้องการ บางครั้งสร้างเท่ากับพระธรรมขันธ์ในพระไตรปิฎก คือ 84,000 องค์ หากจำนวนนี้มากไป ก็เอาแค่ 4,000 องค์ เท่ากับส่วนหลังของ 84,000 องค์ หรือเท่ากับจำนวนพระอรหันต์ในวันมาฆะบูชา คือ 1,250 องค์ บางคนก็เอาเลขสวยๆ เช่น 9,999 องค์ หรือ 999 องค์ จำนวนสร้างที่น้อยๆ มักเป็นพระที่ต้นทุนแพง เช่น พระเนื้อทองคำ พระบูชาขนาดใหญ่ หรือเปลืองที่จัดเก็บหากสร้างจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การถือเลขก็ขอให้เป็นเพียงการระลึกถึงเท่านั้น ไม่ใช่โชคลาภ ในเชิงพุทธนั้นจำนวนที่สร้างนั้นก็ให้มีปริมาณที่พอเพียงและพอประมาณ และตอบสนองวัตถุประสงค์การจัดสร้างพระ
5.3 การจัดเตรียมงบประมาณ
งบประมาณเป็นเรื่องสำคัญ อยากสบายในการจัดสร้างก็จ้างเขาทำ แต่ลงทุนมากหน่อย หากทำเองราคาก็ถูกลง เพราะใช้แรงงานตัวเอง แม่พิมพ์ไม่มีก็ไปยืมวัดอื่นมา หรือใช้วิชาเรซิ่นพลาสติกและซิลิโคน ทำแม่พิมพ์เองก็ได้
จ้างเขาทำนั้นค่าบล๊อกแม่พิมพ์ 5,000 ? 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับช่างแกะพิมพ์ รูปเหมือนเกจิอาจารย์แกะยากหน่อย ก็มีราคาแพง พระสมเด็จแกะง่ายหน่อย ราคาก็ถูก ค่ากดพิมพ์ประมาณองค์ละ 1 - 3 บาท/องค์ ค่ากล่องพลาสติก 3 ? 5 บาท/กล่อง หากใช้ถุงซิปขนาดเล็กก็ประมาณ 5 ? 8 บาท/ร้อยถุง หรือ 500 บาท/กิโลกรัม หากสร้าง 10,000 องค์ ต้นทุนก็ตกประมาณ 7 ? 10 บาท/องค์
การระดมทุน ก็โดยการชักชวนผู้มีจิตศรัทธามาลงเงินก้อนแรก หากไปกู้เงินเขามาทำพระเครื่อง อย่างนี้มีความเสี่ยงหากขาดทุน การสร้างพระแบบสมัยใหม่ ต้นทุนแพง หากมองกลับไปดูในอดีตโบราณ ต้นทุนน้อยมากแทบไม่มีเลย เช่น ช่างแกะพระทำแม่พิมพ์มาถวายวัด บางแห่งพระสงฆ์ก็แกะพิมพ์พระเองบนหินลับมีดก็ได้ มวลสารก็เป็นของที่อยู่ในวัด การพิมพ์พระก็ระดมกำลังจากพระสงฆ์ หรือชาวบ้านที่ศรัทธาลงแรงช่วยกัน หากเป็นพระดินเผาก็เอาไปฝากเตาเผาอิฐที่มีอยู่แล้ว คิดดูให้ดี อาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลย มีแต่แรงงานช่วยกัน และเลี้ยงข้าวปลาอาหารกัน สมัยก่อนพระเครื่องไม่ได้ใส่กล่องพลาสติก ให้หยิบเอาไปเลย หรือเอาผ้าห่อไป ดังนั้นต้นทุนกล่องพลาสติกก็ไม่มี
5.4 การเลือกแบบพระเครื่องที่จะจัดสร้าง
โดยทั่วไปนิยมสร้างรูปพระพุทธเจ้า พระประธานในโบสถ์ รูปเกจิอาจารย์แทนพระสงฆ์ และพระธรรมจักร ต่อไปก็เป็นการเลือกซุ้มพระ การเลือกปางของพระพุทธเจ้า มีปางนั่งสมาธิ ปางมารวิชัย ปางนาคปรก ปางป่าลิไลย์ ปางลีล่า ปางห้ามพระญาติ ปางตามวันเกิด จะเลือกโค๊ตตำหนิหรือไม่ จะเลือกยันต์อะไร เช่น นโมพุทธายะ (ยันต์พระเจ้า 5 องค์) หัวใจคาถา ภาษาขอม สัญลักษณ์ผู้สร้าง รุ่น ปี พ.ศ.ที่สร้าง เป็นที่ระลึกงานอะไร
ในเชิงพุทธขอให้สร้างเฉพาะพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระธรรมจักร พระสงฆ์ และพระอรหันต์เท่านั้น เพื่อให้เป็นพุทธาสุสติ ธัมมานุสติ และสังฆานุสติ ในทางพุทธให้เรากราบไหว้ 5 อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ และครูบาอาจารย์ หากหลุดไปจากนี้แล้ว จะมีโอกาสที่จะไปหลงงมงายกับสิ่งอื่น ทำให้เกิดความเชื่อแบบงมงาย ขาดปัญญา เกิดมิจฉาทิฎฐิได้ง่าย

5.5 จัดทำพิธีของจัดสร้าง
โดยเฉพาะเกจิอาจารย์ที่มีวัดสังกัด จะสร้างรูปเหมือนก็ต้องบอกกันหน่อย ตามหลักมารยาทสากล รูปแบบพระเครื่องยังไม่มีใครไปจดสิทธิบัตร ผลทางกฎหมายไม่มี แต่หลักมารยาท ต้องบอกเจ้าของ หากเป็นของเก่าโบราณ ไม่รู้จะขอสร้างจากใคร ก็ทำพิธีขอสร้างจากดวงวิญญาณหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะทำให้ผู้สร้างสบายใจ เพราะขออนุญาตทำแล้ว

5.6 ออกแบบพระเครื่อง
ประกอบด้วยพุทธลักษณะด้านหน้าและด้านหลังพระเครื่อง ความหนาของพระ หนากี่มิลลิเมตร จะใช้ศิลปะสมัยไหน เมื่อออกแบบเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนทำแม่พิมพ์ จะจ้างทำก็ได้ โดยแกะพิมพ์บนโลหะเหล็กหรือทองแดง หรือบนแผ่นพลาสติก สมัยโบราณนิยมแกะบนโลหะเหล็ก หรือทองแดง หรือบนแผ่นพลาสติก สมัยโบราณนิยมแกะบนหินลับมีด (หินอ่อนหรือหินชนวน)
แม่พิมพ์สมัยใหม่นิยมแบบ 3 ชิ้น ประกอบด้วยแม่พิมพ์หน้าพระ แม่พิมพ์ข้างพระ และแม่พิมพ์หลังพระ สมัยโบราณนิยมชิ้นเดียวเฉพาะแม่พิมพ์หน้าพระ
ด้านหลังพระ ควรชี้บ่งถึงผู้สร้าง จะเป็นอักษรหรือสัญลักษณ์อะไรก็ได้ เพื่อลดความสับสน ในการสืบที่มาของพระ หรือโอกาสของการสร้าง เช่น หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน มีผู้สร้างมากมาย ควรมีลักษณะพิเศษของผู้สร้างด้วย เช่น หน้าตา บัวฐานพระ ลูกแก้วที่ถืออุ้มไว้ งูใต้ฐาน เป็นต้น
5.7 การลองพิมพ์พระ
ร้านรับแกะบล๊อกพิมพ์พระที่ดี ควรจะทำพระลองพิมพ์มาให้ผู้จัดสร้างตรวจสอบพุทธลักษณะ และเนื้อมวลสาร หากยังไม่พอใจก็สั่งแก้ไขจนพอใจ จึงค่อยส่งมอบบล๊อกพิมพ์ แล้วพร้อมที่จะลงมือพิมพ์พระจริง เป็นจำนวนมากๆ การแก้ไขแม่พิมพ์ ช่างแกะพระอาจเรียกเงินค่าจ้างเพิ่ม ต้องตกลงกันให้ดี
5.8 การจัดเตรียมแม่พิมพ์ที่ใช้พิมพ์ขึ้นรูป
ถ้าใช้แม่พิมพ์จริงหรือต้นแบบ หากสร้างพระจำนวนมากๆ เช่น 84,000 องค์ เชื่อแน่เลยว่า ความคมชัดขององค์พระเครื่อง จะลดลงช่วงพระองค์ท้ายๆ ทำให้สับสนคิดว่าเป็นพระปลอม หรือต่างรุ่นกันก็ได้ โดยเฉพาะพระเนื้อดินจะกัดแม่พิมพ์มากกว่าเนื้อว่าน ทางแก้ไข คือ การทำแม่พิมพ์พลาสติกหรืออีพอกซี่ขึ้นมา อายุการใช้งานประมาณ 2,000 ? 4,000 องค์ ซึ่งสามารถถ่ายแบบแม่พิมพ์ที่จ้างแกะมาได้ โดยใช้ซิลิโคนรวมกับสารช่วยแข็ง ถอดถ่ายแบบออกมา เทคนิคการถ่ายแบบที่สวยงาม ต้องฝึกฝนพอสมควร จากนั้นก็ทำแม่พิมพ์เรซิ่นพลาสติกหล่อ โดยการผสมเรซิ่นเหลวกับสารช่วยแข็ง แล้วเทลงพิมพ์ซิลิโคน แล้วรอจนเรซิ่นแข็งตัวเต็มที่ จึงค่อยถอดออกจากแบบพิมพ์
ถ้าต้องการให้แม่พิมพ์เรซิ่นแข็งแรง ทนต่อการขีดข่วนสึกหรอ ให้ผสมผงหินปูนบด หินซิลิก้าบด ผสมลงในเรซิ่นเหลวด้วย อย่าใส่ตัวช่วยแข็งมากเกินไป เพราะจะทำให้ชิ้นงานหล่อจะหดตัว เล็กกว่าขนาดเดิมและเกิดความร้อน หากต้องการให้แม่พิมพ์พลาสติกแข็งแรงกว่านั้น ก็ให้ใช้เรซิ่นอีพอกซี่เหลวแทน เรซิ่นหล่อไฟเบอร์กลาส
การใช้วัสดุอื่นแทนเรซิ่นก็มี ใช้พุตตี้อีพอกซี่ ยี่ห้อ Devcon ที่ใช้ในการพอกเพลาโลหะ แต่ต้องมีเทคนิคพิเศษในการป้ายครีมพุตตี มิเช่นนั้นจะเกิดฟองอากาศที่ชิ้นงานมาก นอกจากนี้อาจใช้สีโป๊รถยนต์รองพื้น ก็ใช้งานได้เช่นกัน
ข้อควรระวังก็คือ เรซิ่นหล่อ สีโป๊วรถยนต์ นั้นมีกลิ่นเหม็นมาก ให้ปฏิบัติการต่างๆ ในที่โล่งหรือสถานที่มีการระบายอากาศดี หรือมีการดูดควันไอไปทิ้งที่อื่น
5.9 การเลือกประเภทแม่พิมพ์
มีแบบแม่พิมพ์ 3 ชิ้น ทำด้วยพลาสติก เหล็ก ทองเหลือง คือ พิมพ์หน้าพระ พิมพ์ขอบข้าง และพิมพ์หลังพระ โดยติดตั้งกับเครื่องกดพระ (ราคาประมาณ 2,500 ? 3,000 บาท/เครื่อง) การพิมพ์มี 2 วิธี คือ การพิมพ์ตวงปริมาตรดินที่เครื่องกดหนึ่ง จากนั้นนำดินตวงไปใส่ในเครื่องกดพระอีกเครื่องหนึ่ง รวมเป็น 2 ขั้นตอน อีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้เครื่องกดเดี่ยวเป็นทั้งตวงและพิมพ์ในคราวเดียวกัน
แม่พิมพ์ชั้นเดียวแบบพระพิมพ์โบราณ คือ มีเฉพาะพิมพ์หน้าพระ แม่พิมพ์ทำด้วยหินแกะ พลาสติก หรือดินเผา
แบบแม่พิมพ์ 3 ชั้น ทำด้วยพลาสติกหล่อ ผู้เขียนเป็นผู้ออกแบบเอง มีขนาดเล็ก กะทัดรัด ทำขั้นตอนเดียว พกใส่กระเป๋าเสื้อ หรือย่ามพระได้โดยง่าย ราคาถูก เวลากดพระไม่มีเสียงดังรบกวนคนโดยรอบ
5.10 การเลือกพระที่จะจัดสร้าง
การเลือกเนื้อพระชนิดว่าน ? ดิน ? ผง (ไม่ขอกล่าวเนื้ออื่นที่ใช้กับเหรียญปั๊ม รูปหล่อ และแกะสลัก)
ไม่ว่าจะเป็นเนื้อว่าน เนื้อดินดิบ เนื้อดินเผา และเนื้อผง ก็ต้องอาศัยดิน เพื่อให้เกิดการประสาน และก่อให้เกิดน้ำหนัก เนื้อว่าน ? ดิน ? ผง นี้หากไม่มีดินผสมก็จะเบามากๆ และจะฟ่ามๆ เวลาเป็นพระเครื่องแล้วจะไม่น่าใช้
ตัวอย่างพระเครื่องหลวงปู่ทวด มักใส่ดินกากยายักษ์ (ดินชนิดหนึ่งสีดำ) พระผงสมเด็จมักใส่ดินขาวหรือผงปูนลงไปด้วย
สำหรับเนื้อดินก็ต้องจัดหาเนื้อดินเหนียวที่มาจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ดินเหนียวที่ดีควรมีลักษณะนุ่มมือ เมื่อมีความชื้นหมาด เนื้อเนียนไม่ติดมือมันราวคล้ายดินน้ำมัน อย่างไรก็ตามดินเหนียวชนิดต่างๆ ก็สามารถนำมาใช้งานได้ โดยใช้ความรู้เรื่องเครื่องปั้นดินเผา
ดินร่วนยุ่ยก็ต้องใช้ดินเหนียวจัดผสม ดินหดตัวมาก ก็ใช้ดินปนทรายหรือแร่ภูไมต์ หรือหินเขียวหนุมาน หรือดินเผาบดมาผสม ตามสัดส่วนที่เหมาะสม
สีสรรของดินและประกายมันวาวของดินจะช่วยทำให้พระเครื่องดูเด่น และแปลกตาออกไป ในการเลือกเนื้อดินที่สีสรรและสีหลังการเผา หรือเลือกจากดินที่มีไมก้าขาวแวววาว เพื่อความสวยงาม
สิ่งที่นิยมทำ คือ การหาแร่พิเศษที่เป็นผงเป็นเม็ดมีความเป็นมันวาว สำหรับโปรยหลังพระเครื่อง หรือผสมลงไปในเนื้อพระเลย เช่น เพทาย ดีบุก นิล พลอยแดง เป็นต้น
5.11 การจัดเตรียมเนื้อพระ
อาจต้องไปขุดดินจากแหล่งหรือไปขอจากวัด หรือจากผู้ที่ชอบสะสม บางอย่างก็ไปหาซื้อมาได้ ดินที่ขุดมาแล้วควรวางในที่สูงด้วย ป้องกันคนเดินข้ามหรือมาถ่ายปัสสาวะใกล้ๆ
การจัดเตรียมดินเนื้อพระ บางครั้งจะพบว่าดินอยู่ปนกับกรวด หรือหินแข็ง ตัวอย่างดินลูกรัง จะมีทั้งดินและกรวดอยู่รวมกัน และดินบางอย่างเนื้อเนียนนุ่ม แต่มีเม็ดกรวดประปรายไปทั่วเนื้อดิน วิธีการแก้ไขให้ทำดังนี้
วิธีที่ 1 นำดินไปหมักน้ำหรือแช่น้ำ 1 ? 3 คืน นำดินมาใส่ถัง เติมน้ำพอสมควร ขย่ำดินให้เกิดน้ำขุ่นหรือน้ำดินจนขุ่นได้ที่ จากนั้นค่อยๆ เทน้ำดินลงในถังน้ำดิน ระวังให้ป้องกันกรวดที่จมก้นถัง ไม่ให้ไหลออกมา ทำเช่นนี้จนดินหมด จนเหลือปริมาณดินปนกรวดทราย ให้ทิ้งไป น้ำดินที่ได้ ปล่อยรอให้ดินตกตะกอนก้นถัง เทน้ำใสส่วนบนทิ้ง ทำเช่นนี้จนดินมีความเข้มข้นมาก แล้วนำไปเทบนถุงปุ๋ย หรือผ้าขาวม้า ปล่อยทิ้งไว้ให้น้ำซ้ำออก จะทิ้งไว้กลางแจ้งก็ได้ เพื่อให้ดินระเหยน้ำเร็วขึ้น จนหมาดพอก็ให้ปั้นเป็นก้อนๆ ผึ่งดินก้อนไว้จนเป็นก้อนดินที่เหมาะกับการขึ้นรูป ก็ให้เก็บใส่ถังพลาสติกที่มีฝาปิด จะทำให้รักษาดินได้เป็นปี วิธีอื่นในการทำให้น้ำดินแห้ง เช่น วิธีใส่ถุงผ้าแขวนให้น้ำใสไหลออก วิธีเทน้ำขุ่นลงในกระถางดินเผาที่ไม่เคลือบให้ดูดน้ำออก วิธีนำน้ำดินไปเข้าเครื่องเตาอบ วิธีนำน้ำดินไปใส่ในถังโลหะ แล้วเคี่ยวไฟให้แห้ง และวิธีการกรองด้วยระบบสูญญากาศ เป็นต้น
วิธีที่ 2 ทำดินที่เตรียมมาทำให้แห้ง จากนั้นบดดินด้วยโม่บดหรือตำด้วยครกหินหรือครกเหล็ก แล้วร่อนด้วยตะแกรงร่อนแป้ง นำผงร่อนแห้งมาผสมน้ำ ก็เป็นดินเหนียวที่พร้อมขึ้นรูป การเก็บรักษาอาจเก็บในลักษณะเป็นผงแห้งก็ได้ เวลาจะใช้งานค่อยนำมาผสมน้ำ
บางท่านก็ใช้วิธีลัดในการจัดเตรียมดินเนื้อพระ โดยใช้แร่ที่ซื้อขายกันในวงการเหมืองแร่ และเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งบดละเอียดมาแล้ว เช่น เฟลด์สปาร์ (หินฟันม้า) หินเขี้ยวหนุมาน แร่โคโลไมต์ แร่แบไรต์ แร่ภูไมต์ (หินภูเขาไฟ ที่มีซิลิก้าสูง มีความพรุนตัว ใช้ในงานเกษตร) ดินขาวลำปาง ดินบอล์เดลย์ สำหรับทำเครื่องปั้นดินเผาหรือเซอรามิกส์
5.12 การจัดเตรียมมวลสารวัตถุมงคล
มวลสารวัตถุมงคลส่วนใหญ่จะป็นอิฐปูนโบราณสถาน ตะไคร่น้ำเจดีย์ หลังคา กระเบื้องโบสถ์ พระเก่า พระหัก ผงเถ้าธูปบูชา ที่บูชาพระประธาน ศาลหลักเมือง หน้ารูปเหมือนเกจิอาจารย์ ดอกไม้บูชาพระ ขี้เถ้าใบลาน แร่ธาตุที่เป็นมงคล พระธาตุ อัฎฐิ เถ้ากระดูกของเกจิอาจารย์ ว่าน 108 พืชสัตว์ที่เป็นมงคล (งาช้าง) ผลชอล์กที่เขียนยันต์แล้วลบออก
มวลสารวัตถุมงคลนี้จะใช้ปริมาณ 5 ? 90 % ของเนื้อพระทั้งหมด วัตถุมงคลนี้มักเป็นวัตถุเรียกศรัทธา ทำให้น่านับถือกราบไหว้ได้มากขึ้น สิ่งที่ควรระวังคือ อย่าตั้งใจทำลายใบลานโบราณที่จดคัมภีร์มาเผาเพื่อเอาขี้เถ้าสีดำ ทั้งที่ควรเก็บรักษาไว้เป็นของโบราณไว้ ในเชิงพุทธ จะไม่เน้นวัตถุมงคล แต่ให้ไปปฏิบัติตนตามมงคล 38 มากกว่า อย่างไรก็ตาม วัตถุมงคลที่ใส่ในพระเครื่อง ก็ให้เป็นเพียงสิ่งยึดเหนี่ยวให้มาสนใจพระเครื่อง ซึ่งดีกว่าจะไปสนใจกิเลสอื่นรอบๆ ตัว เช่น เล่นการพนันเพราะโลภ สนใจพระเครื่องเป็นงานอดิเรก ก็ยังดีกว่าไปเล่นไพ่เป็นงานอดิเรก บางคนก็เน้นในเรื่องวัตถุมงคล ในเชิงอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ แต่ในเชิงพุทธให้ปฏิบัติธรรมแทน และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์จะมีหรือไม่ ไม่ต้องไปสนใจ
สูตรส่วนผสมเนื้อพระ
สูตร 1 พระเครื่องเนื้อว่าน (เช่น พระหลวงปู่ทวด)
เนื้อพระ : ดินกากยายักษ์ ฝุ่นสีดำ กระดาษไม้ไผ่ กระดาษฟาง ปูนขาว ดินเหนียว สิ่ง
สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ดิน
วัตถุมงคล : ว่านแร่ผงต่างๆ ผงว่านเก่า ชิ้นส่วนพระเครื่องแตกหัก แร่เขาเขียว โป่ง
ขาม สะเก็ดดาว ขี้เหล็กไหล อัญมณี ดอกไม้แห้ง น้ำพระพุทธมนต์ ผง
กะลามะพร้าวไม่มีตา (มหาอุต) หินเขี้ยวหนุมาน ชานหมาก ยาฉุน ของ
เกจิอาจารย์ ว่านเพชรหลง ? เพชรเหล็ก ว่านกลิ้งกลางดง เพชรหน้าทั่ง
(ไพไรต์) ดินรูปูปิด ดินกำบัง (เกลือจืด) ผงขมิ้นกับปูน ผงพระ ผงกระ
เบื้องหลังคาโบสถ์ ผงพุทธคุณ วัตถุมงคลนี้ไม่จำเป็นต้องหามาให้ครบ
เลือกตามใจชอบ
วัสดุประสาน : ปูนขาวจากหิน ปูนขาวเปลือกหอย กล้วย น้ำตาลทราย น้ำมันตังอิ้ว น้ำ
ผึ้งเดือนห้า ข้าวเหนียวดำ น้ำมนต์ ข้าวสุก สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ปูนขาว
และกล้วย
สีเนื้อพระ : สีดำ ใส่ฝุ่นสีดำ และดินดำมาก ปูนขาวน้อย
สีเทา ใส่ฝุ่นสีดำน้อย ใส่ว่านมาก
สีชมพู ใส่ว่านสบู่เลือด และปูนกินหมาก
สีขาว ใส่ปูนขาว และผงวิเศษสีขาวมาก
สีขาวอมเหลือง เหมือนทำสีขาว แล้วใส่น้ำมันตังอิ้วมาก
สีเหลือง ใส่ขมิ้น หรือเนื้อขนุน หรือเปลือกขนุน
สูตร 2พระเครื่องเนื้อผง (เช่นพระสมเด็จ)
เนื้อพระ : ปูนขาวหิน ปูนขาวเปลือกหอย
วัตถุมงคล : ปูนจากองค์พระประธาน ผงว่าน น้ำมนต์ 108 วัด ผงธูปและดอกไม้ที่
บูชาพระประธาน ผงวิเศษ 5 อย่าง คือ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช
ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห
วัสดุประสาน : ปูนขาว กล้วยสุก น้ำผึ้ง น้ำมันตังอิ้ว
สีเนื้อพระ : สีขาวอมเหลือง จากปูนขาว และน้ำมันตังอิ้ว
สูตร 3พระเครื่องเนื้อผงยา (เช่น พระผงยาวาสนา ?จินดามณี?)
เนื้อพระ : ผงหินบด ผงยาจินดามณีซึ่งประกอบด้วย หญ้าฟรั่น อบเชย โกฎทั้งหมด
กลัมพัก ผักตาดหัวแหวน กระแจะตัวปู กระต่ายจาม บดผสมกับกฤษณา
พิมเสน ชะมดเชียง
วัตถุมงคล : ไม่เน้น
วัสดุประสาน : ปูนขาว น้ำผึ้งรวง น้ำมะนาวคั้น น้ำมะเขือขื่นคั้น น้ำมันตังอิ้ว น้ำยางรัก
และน้ำมันยาง
สีเนื้อพระ : สีน้ำตามเข้ม
สูตร 4 พระเครื่องเนื้อดินดิบ (เช่น พระเม็ดกระดุมศรีวิชัย ? พุนพิน)

ตามลัทธิมหายาน จะมีการนำเถ้าอัฎฐิของพระสงฆ์เถระ ที่มรณภาพแล้ว มาป่นคลุกเคล้ากับดิน แล้วพิมพ์เป็นพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์ไว้ เป็นปรมัตถประโยชน์ ของผู้มรณภาพ และจะไม่มีการเผาพระพิมพ์อีก เนื่องจากได้เผาอัฎฐิมาแล้วครั้งหนึ่ง หากเผาอีก จะเป็นการตายครั้งที่สองนั่นเอง
สูตร 5พระเครื่องเนื้อดินเผา (เช่น พระรอด พระกำแพง)
โดยนำดินเหนียวมาผสมมวลสารที่มีอินทรีย์สารน้อย พิมพ์ขึ้นรูป แล้วนำไปที่เตาเผาอิฐ หรือหมกแกลบเผาหรือใส่ในเตาเผาถ่าน หรือเตาเผากระถาง หรือเตาเผาเซอรามิกส์ หรือใส่กระถางดินไปเผาในเตาอังโล่
การใช้ดินเหนียวนั้นจะต้องรู้คุณสมบัติของดินด้วย เพราะดินบางชนิดเผาที่อุณหภูมิต่ำจะไม่สุก เช่น ดินขาวลำปาง

5.13 การจัดเตรียมวัสดุประสาน
วัสดุประสานสำหรับเนื้อพระที่ไม่ต้องการเผา ซึ่งจะนำวัสดุประสานไปผสมกับวัสดุเนื้อพระอีกครั้งหนึ่ง
สูตรโบราณ
1. ปูนขาวหรือปูนเปลือกหอยเผา กล้วยสุก น้ำตาลทราย หรือน้ำผึ้ง และน้ำมันตังอิ้ว
2. ปูนขาว กล้วยสุก น้ำอ้อย น้ำผึ้ง น้ำมันตังอิ้ว
3. ผงชันยาเรือ และน้ำมันยาง
4. น้ำมันยางและรัก (ที่ใช้สำหรับลงรักปิดทอง)
สูตรสมัยใหม่
1. ซีเมนต์ขาวหรือปูนยาแนวหรือปูนซิเมนต์เทา
2. ปูนพลาสเตอร์ผสมกาวลาเท๊กซ์
3. กาวพลาสติกต่างๆ ที่ทนน้ำหลังแห้งแล้ว เช่น ยูเรียฟอร์มาลดีไฮต์ ฟีลนอลฟอร์มาดีไฮต์
4. เรซิ่นพลาสติหล่อหรือเรซิ่นอีพ๊อกซี่หรือกาวลาเท๊กซ์
การทดสอบสูตรปูนขาวเผา
1. ผสมปูนขาวกับน้ำ ปั้นขึ้นรูป ปล่อยให้แข็งตัว 7 วัน แล้วนำไปแช่น้ำ พบว่ายุ่ย
2. ปูนขาวผสมกับกล้วย สัดส่วนโดยปริมาตร 3 : 1 ตำด้วยครก ปั้นขึ้นรูป ปล่อยให้แข็งตัว 7 วัน แล้วนำไปแช่น้ำ จะทนน้ำได้
3. ทดลองใช้ปูนขาวหอยเผาแทนปูนขาว ก็ให้ผลเหมือนกันกับข้อ 2
4. ทดลองใช้สูตรปูนขาวกับน้ำผึ้ง ปูนขาวกับน้ำมะขามเปียก ปูนขาวกับน้ำอ้อย ปูนขาวกับน้ำตาลทราย ก็ให้ผลเช่นเดียวกับข้อ 2
5. สังเกตการใช้สูตรปูนขาวกับวัสดุประเภทน้ำตาล จะต้องใช้วิธีการตำในครก หากผสมคลุกกันเฉยๆ จะไม่แข็งตัว
6. หากต้องการผสมดินหรือดินสอพองก็ผสมเข้าไปได้ ในสัดส่วนที่น้อยกว่าปูนขาว

5.14 การผสมเนื้อพระ
โดยใช้วัสดุเนื้อพระผสมกับมวลสารวัตถุมงคล ตามสัดส่วน มวลสารวัตถุมงคลควรมีอย่างน้อย 5% ผสมหรือนวดให้คลุกเคล้ากัน บางครั้งอาจใช้น้ำพุทธมนต์ประพรมเพื่อเพิ่มความชื้นให้ของผสมเข้ากันดี
สำหรับวัสดุประสานควรผสมก่อนใช้งานเล็กน้อย แล้วใช้ให้หมดก่อนที่วัสดุประสานแข็งตัว
5.15 การพิมพ์พระเครื่อง
ต้องพิจารณาว่าจะพิมพ์เองหรือจ้างพิมพ์ หากต้องการประหยัดควรทำเอง เหมือนเมื่อสมัยโบราณ โดยเกณฑ์กำลังพลชาวบ้าน พระ เณร มาช่วยกันพิมพ์ อาจใช้น้ำมันหรือน้ำมันมนต์ทาแม่พิมพ์ ให้พระถอดออกจากพิมพ์ได้ง่าย น้ำมันที่ใช้ควรเป็นน้ำมันพืช หรือน้ำมันปิโตรเลียมหรือวาสลิน ไม่ควรใช้น้ำมันที่สกัดจากสัตว์ที่ไม่เป็นมงคล ข้อควรระวังมดจะมากินน้ำมันพืชที่พระพิมพ์ หลังจากพิมพ์เสร็จใหม่ๆ การคัดเลือกคนพิมพ์พระ ควรเป็นคนที่ได้รับการยกย่องจากสังคมท้องถิ่นว่าเป็นคนดีมีศีลธรรม
การพิมพ์พระที่ต้องการลักษณะแตกต่าง อาจใช้วัตถุมงคลที่เป็นเม็ด เม็ดผงแร่ธาตุโปรยหลังพระก่อนกดพิมพ์หลังพระ หรือฝังตะกรุด ลูกกลิ้ง เม็ดพระธาตุที่หลังพระ
ขณะพิมพ์เสร็จใหม่ๆ อาจมีการเขียนโค๊ตหรือหมายเลขลงบนหลังพระหรือขอบข้างพระ โดยใช้ไม้จิ้มหรือปากกาปลายแหลม ซึ่งต้องใช้สมาธิมากขณะเขียน เพราะมีพื้นที่จำกัด และมือต้องไม่สั่น
ปล่อยให้พระพิมพ์แห้งตัวในร่มประมาณ 3 ? 5 วัน ขึ้นอยู่กับแสงแดด โดยสังเกตว่าสีองค์พระจะเปลี่ยนจากสีเปียกเป็นสีแห้ง การผึ่งพระนี้ต้องจัดให้เป็นระเบียบ มิเช่นนั้นพระจะชนกัน พระจะสึกจากการเสียดสี และการขนย้าย

5.16 การทำให้พระเครื่องแข็งตัว
หากเป็นพระเครื่องเนื้อว่าน เนื้อผง เนื้อดินดิบ จะใช้วัสดุประสานแล้ว เพียงแต่รอให้เนื้อประสานแข็งตัว สำหรับเนื้อดินเผานั้น จำเป็นจะต้องนำพระที่ผึ่งแห้งในร่มแล้วไปเผา
การเผาพระ สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. เผาเองในเตาคอก โดยเอาพระพิมพ์ใส่ในกระถางดิน ใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิง อุ่นกระถาง 1 ชม.เร่งไฟใส่ถ่านจนกระถางแดงเรืองแสง 2 ชม.และปล่อยให้เย็นตัวลงโดยเลิกเติมถ่านอีก 8 ? 12 ชั่วโมง
2. เอาพระพิมพ์ใส่กระถางดิน หรือถังเหล็กไปใส่ในเตาเผาอิฐ หรือเตาเผาถ่าน หรือเตาเผาจอก ซึ่งวิธีการต่างๆ อาจให้สีแตกต่างกันตามอุณหภูมิ ชนิดเตา และบรรยากาศการเผาเป็นแบบออกซิเคชั่นหรือรีดักชั่น
5.17 การตรวจสอบคุณภาพพระพิมพ์
คุณภาพพระพิมพ์หลังเสร็จแล้ว ควรสุ่มตัวอย่างมาตรวจสอบคุณภาพ เช่น
1) สีหลังเผา สีหลังพระพิมพ์ แข็งตัวแล้ว หรือแห้งแล้ว
2) ความคมชัดของพิมพ์พระ
3) การหดตัวด้านกว้าง ด้านยาว และด้านหนา
4) การทนต่อแรงขีดข่วน โดยการขีดบนแผ่นกระจก
5) การตกลงมาจากที่สูง 1 เมตร
6) การทดสอบการแช่น้ำ อย่างน้อย 3 วัน (72 ชั่วโมง)
7) เปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำ
8) การทดสอบการขึ้นรา โดยเฉพาะพระเครื่องที่ทำจากกล้วย ข้าวสาร ว่าน โดยการใส่ถุงพลาสติกปิดปากแน่น
9) การทดสอบการติดแม่เหล็ก (หากต้องการคุณสมบัติพิเศษ)
หากคุณภาพองค์พระมีคุณสมบัติไม่ผ่าน ก็ต้องกลับไปทบทวนวัตถุดิบทำเนื้อพระ วัสดุประสาน วิธีการทำให้พระพิมพ์แข็งตัวใหม่
อีกประการหนึ่งคือ พระพิมพ์ทุกองค์ในรุ่นเดียวกัน ควรมีคุณสมบัติ คุณภาพใกล้เคียงกัน เช่น สีสัน ขนาด ตำหนิ เป็นต้น
5.18 การจัดเตรียมภาชนะหีบห่อ
การรักษาความคมชัดของพระพิมพ์ ควรที่จะมีภาชนะหีบห่อ เช่น ถุงซิบพลาสติก กล่องพลาสติก กล่องโฟม ลังกระดาษ
ก่อนบรรจุพระเครื่องลงหีบห่อ อาจทำน้ำมนต์ น้ำว่าน น้ำอบไทย น้ำยาหอม ประพรมพระก่อนบรรจุหีบห่อก็ได้ จะทำให้พระมีกลิ่นหอมสดชื่น แต่ให้ระวัง เพราะอาจทำให้พระเครื่องขึ้นราได้ง่าย จึงไม่เหมาะสมกับท้องถิ่นที่มีฝนตกชุก อากาศมีความชื้นสูง
5.19 การนำพระเครื่องเข้าพิธีพุทธาภิเษก
การนำพระเครื่องเข้าพิธีพุทธาภิเษก มี 2 วิธี คือ ฝากเข้าพิธี และจัดพิธีเอง
ฝากเข้าพิธี คือ เอาพระเครื่องไปฝากกับพิธีที่มีการพุทธาภิเษกอยู่แล้ว โดยติดต่อวัดที่จัดพิธี พร้อมออกเงินช่วยทำบุญในการจัดการพิธีด้วย
การจัดพิธีเอง จะเริ่มจากการเลือกเกจิอาจารย์ที่มีวัตรปฎิบัติดีหรือดูจากรายชื่อเกจิอาจารย์ที่เคยผ่านพิธีมาแล้ว โดยดูจากหน้าโฆษณาหนังสือพระเครื่อง จากนั้นกำหนดวันพุทธาภิเษก จัดพิธี ประกาศเชิญชวนบุคคลสำคัญมาเข้าร่วมพิธีด้วย
ในวันจัดทำพิธีพุทธาภิเษก ควรจัดแบ่งกลุ่มพระเครื่องเป็นกลุ่มๆ เพื่อความสะดวกในการแจกจ่ายต่อไป บางแห่งจะจัดพระแจกฟรีเป็นของขวัญในการเข้าร่วมพิธีด้วย อาจจะมีพิธีทำลายแม่พิมพ์หรือแกะแม่พิมพ์ให้เป็นลายอื่น หรือผ่าเลื่อยแม่พิมพ์ เพื่อแสดงเจตนาว่าจะไม่มีการพิมพ์พระเพิ่มเติม นอกจากนี้ควรทำลายสูตรผสมดิน หรือมวลสารให้เป็นอย่างอื่น โดยการผสมธาตุดินหรือเติมสารอื่นๆ เข้าไป เพื่อป้องกันการนำเนื้อดินไปสร้างเสริมภายหลัง

5.20 การจัดพิมพ์คู่มือพระเครื่อง
ปกติแล้วมักจะพิมพ์วัตถุประสงค์การจัดสร้าง มวลสารเนื้อพระ เกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ชื่อรุ่น ผู้สร้าง ปี พ.ศ.ที่สร้าง พุทธลักษณะหรือพุทธศิลป์ ความหมายของยันต์หลังพระ หรือธรรมะที่สลักบนหลังพระ คำอาราธนาพระ
5.21 การแจกจ่ายพระเครื่อง
หากนำไปบรรจุเข้ากรุควรเป็นความลับ บริเวณที่ควรจะเป็นกรุ มีฐานเจดีย์ หลังคาโบสถ์หรืออาคาร ใต้ฐานพระบูชา ใต้โบสถ์ ในซอกโพรงถ้ำ
หากแจกจ่ายพระเครื่องพร้อมกับคู่มือพระเครื่องก็จะเป็นการดี นอกจากนี้ควรแจกจ่ายพระเครื่องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในการจัดสร้างพระเครื่องเช่น
1. พระของขวัญ แบบตั้งราคาหรือไม่ตั้งราคา แก่ผู้มาทำบุญที่วัด
2. พระแจกฟรี สร้างไมตรีต่อกัน โดยแจกให้กับลูกค้า แจกในงานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่
3. พระที่ระลึกงานทำบุญ เช่น ในงานทอดกฐิน ทอดผ้าป่า
4. พระจำหน่ายหรือให้เช่า กระจายไปตามศูนย์พระเครื่องต่างๆ หรือร้านค้า หรือวัด ค่อนข้างเป็นพุทธพาณิชย์เต็มตัว คือมีการตั้งราคาพระแล้วจำหน่าย แม้นว่าบางครั้งจะเอาเงินไปสร้างสาธารณะสถาน เช่น โรงเรียน วัด โรงพยาบาล ก็ตาม
5. พระออกศึก เพื่อไปจับโจร ออกสงคราม โดยแจกให้กับทหารกล้า ตำรวจ อาสาสมัครป้องกันชาติ

6. บทส่งท้าย
การจัดสร้างพระเครื่องเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง คือ สร้างวัตถุที่เตือนจิต ในเรื่อง พุทธานุสติ ธัมมานุสติ และ สังฆานุสติ ให้ยึดมั่นกับพระพุทธศาสนา ผู้ที่ได้รับพระย่อมมีปิติ อุ่นใจ ในสมัยโบราณ การจัดสร้างพระเครื่องมักสร้างใส่กรุและไว้ป้องกันภัยยามศึกสมครามปกป้องประเทศชาติ
ผู้ที่บูชาพระเครื่องนี้ นอกจากไว้เป็นอนุสติแล้ว บางคนนั้นยังเชื่อมั่นในอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ ด้านเมตตา คลาดแคล้ว คงกระพัน มหาลาภ มหาเสน่ห์
ในสมัยปัจจุบันนี้ การจัดสร้างพระเครื่องมักจะเป็นเครื่องมือในการระดมทุนเพื่อสร้างวัตถุอาคาร สิ่งก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ และออกไปทางพุทธพาณิชย์ มีการตั้งราคาซื้อขายพระกันอย่างมากมายตามแผงพระ และศูนย์พระเครื่องต่างๆ เมื่อพิจารณาตามหลักพุทธแล้ว จะไม่ค่อยจะถูกต้องนัก เพราะไปเน้นวัตถุ ควรจะเน้นการพัฒนาคนทางจิตใจจะถูกต้องมากกว่า
การสร้างวัดให้สวยงาม ควรเป็นหน้าที่ของชาวบ้าน ไม่ควรเป็นกิจของสงฆ์ ให้เทียบเคียงกับในพุทธประวัติ ที่พระพุทธองค์ทรงสละวังกษัตริย์ ทรัพย์สินในท้องพระคลัง ครอบครัว มาเพื่อหา สัจธรรมแห่งชีวิต วัดที่สร้างในสมัยพระพุทธองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ก็เป็นเรื่องของอุบาสกอุบาสิกาสร้างถวาย การที่พระสร้างวัดเองจะทำให้พระมีจิตไม่สงบ ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นได้ยากลำบาก เพราะต้องไปพัวพันกับเรื่องเงินทอง บางวัดไปกู้เงินมาสร้างพระเครื่อง หวังรายได้จากการให้เช่าพระเครื่อง แล้วจะเอากำไรไปสร้างวัดให้สวยงาม อย่างนี้จะเป็นทุกข์จากการเป็นหนี้ และเป็นการพอกพูนกิเลสให้กับพระด้วย ในเรื่องของความหลงในสิ่งสวยงามของรูปวัตถุ

หวังว่าความรู้เรื่องบริหารการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่านดินผงคงเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ และขอให้จัดสร้างพระเครื่องแบบเชิงพุทธ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์


ที่มา : http://www.budmgt.com/budman/bm01/budimage.html


28
ขั้นตอนแรก เตรียมอุปกรณ์ครับ

1. สีน้ำมัน แล้วแต่เราจะเอาสีไหน มีสองสีครับ คือ สีแดง และสีเหลือง

2. ภู่กัน ขนาด เล็ก คือ พอที่จะป้ายสีน้ำมันโดยไม่เลอะเทอะอ่ะครับ กะดู เอา แล้วแต่ความสามารถ และก้อ ภู่กัน ขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย แล้วเอาไปละเลงน้ำให้หัวปลายภู่กัน อ่อนนุ่น อันนี้เอาไว้ ไล้ทองครับ

3. ทองคำเปลว อย่างแท้ แผ่นละ 5-6 บาท ประมาณนี้

เริ่มกันเลยครับ

นำพระมาทำความสะอาดตรงจุด บริเวณที่เราจะปิดทอง ผมขอยกตัวอย่าง พระคำข้าวล่ะกันนะครับ เราก้อทำความสะอาด ตรง

บริเวณองค์พระ กับ ตรงบริเวณ ยันต์ อุ คือ เอาภู่กันอย่างที่เราทำหัวบานๆอ่ะ ปัดๆให้สะอาด

ต่อมาเอาภู่กันขนาดเล็ก จุ่มสีน้ำมัน ลงจุดบริเวณที่เราต้องการลงทองทาให้ทั่ว ระวังกันหน่อยนะครับ ช้าๆ

เมื่อทาทั่วแล้วปล่อยทิ้งไว้สักพัก โดยตรวจสอบว่าใช้ได้หรือยังโดยการเอามือ แตะเบาๆ จุดบริเวณที่เราลง สีน้ำมันไว้ โดยส่วนตัว

ผมเคยกะเวลาไว้ราว ครึ่งชม. แตะแล้ว สีไม่ติดมือ ถือว่าใช้ได้ แต่ไม่ควรปล่อยไว้นานเกินไปนะ

เมื่อได้ที่แล้วเราก้อเอา แผ่นทองลง แล้วใช้ ภู่กัน อย่างหัวอ่อนนุ่มไล้ไปตามทองไล้ไปเรื่อยๆครับ แค่นี้แหละ สวยสมใจทุกท่าน

ส่วนท่านใดมีเทคนิคแบบไหน ก้อเชิญแนะนำกันได้ครับ....


29
บทความดีๆ น่าอ่านมาให้อ่านกันเล่นๆ อีกแล้วครับท่าน...ถามกันมาหลายๆ คน จะห้อยพระอะไรเสริมบารมีให้กับตัวเองดี? เนื่องจากพระปางมาตราฐานสำหรับแต่ละวันนั้น หายากเป็นพิเศษ ปกติไม่ค่อยทำเป็นพิมพ์พระออกมาเท่าไหร่ ดังนั้นการห้อยพระพิมพ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงมาความสำคัญไม่น้อยเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่หาง่ายทั่วไป(แต่ต้องแท้นะครับ)...ที่นี้มาลองอ่านดูท่านเกิดวันไหน ควรห้อยพระอะไรดี? เพราะอะไร?
อนึ่ง...ตามหลักโหราศาสตร์จริงๆ นั้นท่านถือลัคนาวัน(ดาวเจ้าเรือนราศีเกิด) ตามภพและดาวเจ้าเรือนที่ลัคนาเกิดไปอยู่ด้วย(ตนุลัค)...ดังนั้นจะวันเกิดหรือลัคนาวันเกิดหรือตนุลัค ก็สามารถที่จะใช้ได้ทั้งนั้นครับผม....
วันอาทิตย์
ผู้ที่เกิดในตำแหน่งดาวอาทิตย์เป็นคนมีความมาดมั่น ว่องไว แต่มักฉุนเฉียวง่าย ตัดสินใจขาดความยั้งคิด ประกอบดับดวงอาทิตย์เป็นตำแหน่งลักขณาที่มีอำนาจอยู่ในตัว พระเครื่องสำหรับคนเกิดวันอาทิตย์ควรอาราธนาเพื่อความเป็นสิริมงคลนั้น ควรจะเป็นพระพิมพ์ที่ผ่านความร้อนจากไฟ เนื่องจากจะช่วยหนุนธาตุประจำตัว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเป็นพระปางมารวิชัย เนื่องจากเป็นพระพิมพ์ที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะพญามารเนื่องจากเจ้าชะตาผู้เกิดวันอาทิตย์ เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจประกอบอาชีพจึงมีศัตรูหรืออริ พระเครื่องที่เหมาะสำหรับผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ได้แก่เนื้อดินที่ผ่านความร้อนโดยการเผาพิมพ์ปางมารวิชัย
วันจันทร์
คนที่เกิดวันจันทร์ เป็นคนมีเสน่ห์เป็นที่รักแก่คนทั้งหลาย โกรธง่ายหายเร็ว ทำการสิ่งใดมักละเอียด เป็นคนใจน้อยอ่อนไหว ทำให้ขาดอำนาจวาสนา ผู้ที่เกิดในตำแหน่งลักขณาดวงจันทร์นี้ดุจพระพุทธองค์ห้ามญาติทั้งสองฝ่ายที่แย่งน้ำซึ่งกันและกัน เมื่อวันจันทร์เป็นวันที่มีเสน่ห์ แต่ขาดซึ่งอำนาจและวาสนา พระเครื่องที่เหมาะสำหรับผู้ที่เกิดวันจันทร์ควรจะเป็นตระกูล พระยอดขุนพล เนื้อพระทำด้วยตะกั่วแก่ ดีบุก ปรอท(ชินเงิน) ตะกั่วเดือน(ตะกั่วสนิมแดง) พระในชุดนี้โบราณท่านถือว่า เสริมบารมีในอำนาจยิ่งนัก พระเครื่องที่เหมาะสำหรับผู้ที่เกิดวันจันทร์ ได้แก่พระในตระกูลเนื้อชินต่างๆ
วันอังคาร
คนที่เกิดวันอังคาร ท่านว่าเป็นคนมุทะลุดุดัน มักเจ้าอารมณ์โมโหง่าย โกรธเคืองขุ่นอันตราย แต่เป็นคนรักจริง เอาจริงเอาจังกับสิ่งที่ทำ พระเครื่องประจำตัวผู้ที่เกิดวันอังคารนั้นควรเป็นพระผงพุทธคุณ เนื่องจากเป็นพระที่มิได้ผ่านความร้อน อีกทั้งพุทธนุภาพขององค์พระจะช่วยให้จิตใจเยือกเย็นเป็นสมาธิ สามารถบรรเทาธาตุโทสะจริตแห่งฤกษ์ชะตาวันเกิดได้ ดังนั้นพระเครื่องที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เกิดวันอังคารนั้น จึงได้แก่พระเนื้อผงในตระกูลสมเด็จ
วันพุธ
ผู้ที่เกิดวันพุทธ เป็นคนฝีปากกล้า ค้าขายคล่อง เดินทางเก่งและมักได้ลาภเสมอ แต่มักทำคุณคนไม่ขึ้นทำดีสิ่งใดมักไม่มีใครเห็น สำหรับผู้ที่เกิดวันพุธนั้นแยกได้เป็นสองนัยคือ
วันพุธกลางวัน เนื่องจากวันพุธเป็นฤกษ์แห่งการทำกินพระเครื่องที่เหมาะสมนั้น ควรเป็นพระประเภทลีลา หรือปางลีลาเสด็จกลับจากดาวดึงส์ มีความหมายแห่งความก้าวหน้า
วันพุธกลางคืน คนที่เกิดวันพุธกลางคืนมักมีสัมผัสพิเศษ และมีลางสังหรณ์มากกว่าวันอื่นดังนั้น นอกจาดพระเครื่องพระพิมพ์ที่อาราธนาแล้วควรจะมีเครื่องรางของขลังเสริมดวงได้ป้องกันอาถรรพ์ต่างๆ ซึ่งคนที่เกิดวันพุธกลางคืนนั้นจะสัมผัสได้ง่าย
วันพฤหัส
ผู้ที่เกิดวันพฤหัสนั้นเป็นผู้ที่มีปัญญา มีความรู้กว้างขวาง มีความยุตธรรมเที่ยงตรง ใจเอื้อเฟื้อแต่ไม่ยอมคน พระพิมพ์ที่จะช่วยเสริมดวงวาสนา โบราณท่านว่า พระปางเปิดโลก ท่านถือว่าเป็นพระแห่งปัญญา เหมาะสำหรับผู้ที่เกิดวันนี้เป็นที่สุด
วันศุกร์
ผู้ที่เกิดวันศุกร์เป็นคนราคะจริตสูง เป็นคนหลงในสิ่งสวยงาม พระเครื่องที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์จึงควรเป็นพระปิดตาภควัมปติ เพื่อเป็นลักษณะอณุสติเตือนใจมิให้หลงในสิ่งต่างๆ และเสริมดวงโชคลาภวาสนา จะไหลมาอย่างที่คาดไม่ถึง
วันเสาร์
วันเสาร์ท่านว่าเป็นคนจริงจังกับชีวิต พูดจริงทำจริง ดุดันแต่ภายนอก พระเครื่องที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เกิดวันเสาร์เนื่องจากคนที่เกิดวันเสาร์เป็นคนจริงจังเคร่งเครียด พระพิมพ์ที่เสริมดวงสำหรับผู้ที่เกิดวันเสาร์นั้นควรจะเป็นพระที่ทำจากว่าน อันเป็นคุณลักษณะที่เย็นและบริสุทธิ์จากธรรมชาติ
จะห้อยอะไรให้เหมาะสมกับวันเกิด ก็ตามแต่กำลังทรัพย์ของแต่ละท่านก็แล้วกันนะครับ หรือจะไม่ยึดตามวัดเกิดก็ไม่ได้ผิดแต่ประการใด...พุทธคุณไม่ว่าจะพิมพ์อะไร จะพระปางไหนก็คุ้มครองตัวท่านเสมอ เพียงแต่ขอให้ท่านเป็นคนดี มีคุณธรรม ที่สำคัญ....ต้องห้อยพระแท้ด้วยนะครับ อย่าลืมล่ะ.

30
!!! ( อ่านจากข้อ1ถึงข้อ25นะรับรอง ฮา )ความจริง 25 ข้อ ที่รู้แล้วอึ้ง !!!

1. กล้ามเนื้อที่แข็งแรงที่สุดในร่างกายคนเราคือ ลิ้น

2.ผู้หญิงกระพริบตาบ่อยกว่าผู้ชายถึงสองเท่า และ มากกว่าถึงสามสิบครั้ง เมื่อพวกเธออยู่สระว่ายน้ำ

3.ชื่อโหลที่สุดหาใช่ ?จอห์น? หรือ ?ฃาร่าห์? ไม่ แต่เป็น ?โมฮัมเหม็ด? ต่างหาก

4.คนเราไม่สามารถที่จะเลียข้อศอกของตัวเองได้

5.แมลงสาบหัวขาด สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได่ถึง 9 วัน ก่อนที่มันจะอดอาหาร จนตาย

6.เวลาปลาหมึกยักษ์ หิวจัดเอามาก ๆ มันจะกินหนวดของมันเอง และ รู้มั้ยว่า มันยังเป็นสัตว์ที่มีลูกตา ใหญ่ที่สุดในโลก

7.แมงมุมแม่หม้ายดำฃึ่งกลืนกินคู่ขาหลังจากการสมสู่ ยังสามารถหม่ำแมงมุม ตัวผู้ได้ถึงวันละ 25 ตัวอีกด้วยร้ายกาจมากกกกก!

7.เตียงนอนในบ้านโดยทั่วไปแล้ว จะมีตัวเล็นและตัวไรฃ่อนอยู่ถึง 6 พันล้านตัว

9.ผึ้งจะทำกายบริหารก่อนจะบิน

10.การ์ตูนโดนัลด์ดั้กเคยถูกประกาศห้ามเผยแพร่ในฟินแลนด์ เพียงเพราะว่ามัน ไม่สวมกางเกง ฮ่า ฮ่า

11.โดยถัวเฉลี่ย มนุษย์จะกินแมงมุมเข้าไป 8 ตัวตลอดชั่วชีวิตหนึ่ง ก็เวลา ที่มันคลานเข้าไป ในปากตอนเราหลับปุ๋ยไง อึ๊ยยย! และรู้มั๊ยว่า คนส่วนใหญ่ นะกลัวแมงมุม มากกว่ากลัวตายฃักอีก

12.ถ้าคุณลากเส้นชอล์กผ่านฃวางทางเดินของมด มันจะไม่ยอมเดินผ่านข้ามไป

13.ในแต่ละวันผู้หญิงจะฉอเลาะมากถึง 7.000 คำต่อวัน ขณะที่ผู้ขายปริปากแค่ 2.000 คำต่อวันเอง

14.คุณรู้หรือเปล่าว่า ไม่ว่าแผ่นกระดาษจะมีขนาดใหญ่แค่ไหน คุณไม่สามารถ พับครึ่งได้ถึง 6 ทบ ไม่เชื่อลองดูฃิ

15.ครั้งหนึ่งชาวเบลเยี่ยมเคยพยายามใช้แมวเหมียวเป็นตัวส่งจดหมาย ไม่จำเป็น ต้องบอกเลย ว่า ไม่มีทางสำเร็จผล

16.คุณรู้ไหมว่าโดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะกลืนกินลิพสติกลงท้องไปถึง 4 ปอนด์ ในตลอดชีวิตของเจ้าหล่อน

17.ตลอดทั้งชีวิตแล้ว คนทั่วไปจะใช้เวลาจูจุ๊บกันรวมแล้วเกือบสองอาทิตย์ เชียวนะ

18.เป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะ จามทั้งๆ ดวงตายังเปิด

19.เห็นชัดได้ว่า ลูกตาของคนเราคงขนาดเดิมมาตั้งแต่เกิด แต่จมูกกับหูนั้น ไม่เคยหยุด การเจริญเติบโตเลย!

20.วอลท์ดิสนี่ย์ผู้สร้างสรรค์ตำนานการ์ตูนมิคกี่ย์เม้าส์นะ อันที่จริงแล้วเค้า เป็นคนกลัวหนูจะตายไป

21.เอาหัวโขกกับกำแพงซักหนึ่งชั่วโมง ช่วยเผาผลาญหลังงานได้ถึง150 แคลอรี่ย์

22. อัลมอลล์เป็นพืชตระกูลหนึ่งของพีช

23. โฆษณานาฬิกาทุกชิ้น .มักให้เข็มนาฬิกาหยุดอยู่ที่ 10:10 เพราะจะได้ดู เป็นรูปใบ หน้ายิ้ม

24.ลายเสือเกิดขึ้นจากหนังของมัน ไม่ใช่จากขน

25. ร้อยละ 80 ของคนที่อ่านบทความนี้พยายามจะเลียข้อศอกตัวเอง!

31
ชนิดไหนอย่างไร ล้วนมีเวรมีกรรม
แต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่มีกรรมอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ การถึงแก่กรรม (การตาย)
มีประจำอยู่ในตัวทุกคน ทุกเวลานาที ทุกวันทุกเดือนทุกปี จะต้องถึงตัวเราคือ แก่ เจ็บ
และตาย เราเรียกว่ากรรมเหล่านี้มีเท่ากันหมด แต่การประกอบกรรมของบุคคล
เรานั้นไม่เหมือนกัน การประกอบกรรมมีสองประการกล่าวคือ

1. การประกอบกรรมดี และ
2. การประกอบกรรมชั่ว (กรรม=การกระทำ)
การประกอบสัมมาอาชีพที่สุจริต และการประกอบสัมมาอาชีพที่สุจริต
ก็คือกรรมอย่างหนึ่งของบุคคลนั้นๆ จะเลือกประกอบ คนที่ชอบประพฤติปฏิบัติดี ประกอบสัมมาอาชีวะเลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต กรรมนั้นจะสนองตอบด้วย
ความดี ส่วนคนชอบพระพฤติปฏิบัติแปลกแหวกแนวประกอบสัมมาอาชีพด้วยการ
ทุจริต กรรมนั้นก็จะสนองตอบตามความประพฤตินั้นทั้งความชั่วและความดี กรรมเสมือนประกาศนียบัตร เกียรตินิยมอันดับหนึ่งของชีวิตคนเราเท่าเทียมกันหมด


 
ทุกคนที่เกิดมาต่างก็อยากจะกระทำความดี ความงามด้วยกันทุกคน แต่กรรมที่ประจำตัวของแต่ละคนนั้นก็มีไม่เหมือนกัน
อีกนั่นแหละ เราเรียกควาไม่เหมือนกันนั้นว่า "ดวง" ดวงของคนเราต่างคนต่างไม่เหมือนกันอีก คือ บางคนร่ำรวยล้นฟ้า บางคน
ยากจนถึงกับขอทาน ถ้าเราเอาทั้งดวงและกรรม มารวมกันเข้าก็จะได้คำจำกัดความเพียงสั้นๆ ว่า "ดวงกรรม" คือดวงของคน
ที่มีกรรมแต่ละอย่างแต่ละชนิดประจำชีวิตของตนไม่เหมือนกัน มีเหมือนกันอยู่อย่างเดียวคือ "ถึงแก่กรรม" คือการตายของ
แต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกันอีก บางคนคนถูกรถชนตาย, บางคนถูกยิงตาย, บางคนตกเครื่องบินตาย, บางคนออกไปทอดแห
หาปลาจมน้ำตาย ,บางคนหัวใจวายตาย, บางคนเป็นโรคเอดส์ตาย, บางคนตายด้วยพิษต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีการตายไม่ค่อย
ตรงกันหรือเหมือนกันก็เพราะเวรกรรมหรือดวงกรรมของคนเราที่มีอยู่ในตัวไม่เหมือนกัน ทุกคนที่ประกอบกรรมดีและกรรมชั่ว
นั้น มีความตายเป็นที่พึ่งครั้งสุดท้ายของชีวิตทุกคนไป ไม่ว่าจะเป็นไพร่ผู้ดี หรือยากจนเข็ญใจมีความตายของแต่ละคนเท่าเทียม
กันหมด เว้นไว้แต่ว่าจะตายช้าหรือตายเร็วเท่านั้น สรุปแล้วทุกคนต้องตาย
การตายมีหลายชนิด อาทิเช่น ตายวาย, ตายวอด, ตายจอด,ตายจม,ตายงมกระดูก,ตายผูก,ตายพันธ์,
ตายงก,ตายตก,และตายตาม
คนเราเกิดมาพอรู้ความพ่อแม่ พี่น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือญาติสนิทมิตรสหายก็จะนำเอาพุทธโอวาทปาฏิโมกข์
ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (เจ้าของพระพุทธศาสนา) นำมาบอกกล่าวสั่งสอนให้ผู้คนทั้งหลายทั้ปวงประพฤติดีประพฤติชอบ
ประพฤติควร ทั้งกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในศีลในธรรม อย่าสร้างเวรสร้างกรรมหรือกระทำในสิ่งตรงกันข้าม หลักธรรมอย่างแรกนั้น
องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าอบรมสั่งสอนมนุษย์ที่เกิดมาในโลกทั้งปวงพึงปฏิบัติ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงมาจากคำว่า พระพุทธศาสนา คือพระพุทธเจ้านั่นเอง
ชนชาติทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้มีศาสนาประจำชาติของตนเอง เช่น ศาสนาพุทธ,ศาสนาพราหมณ์,ศาสนาคริสต์,
ศาสนาฮินดู,ฯลฯ คนเหล่านี้มีความเคารพสัการะบูชาและเชื่อมั่นในคำสอนของแต่ละศาสนานั้นๆ คล้ายคลึงกัน เพราะแต่ละ
ศาสนา สั่งสอนให้คนเรากระทำความดีทั้งนั้น และเกิดนับถือสิ่งแทนศาสนา เช่นรูปเคารพต่างๆ อาทิ รูปไม้กางเขน,
รูปพระบูชา,พระเทวรูป พระพุทธรูปหรือสิ่งซึ่งแทนการเคารพสักการะในแต่ละศาสนานั้น
รูปเคารพสักการะแทนศาสนาของชาวพุทธเรานั้น ได้แก่ "พระพุทธรูป" มีทั้งขนาดใหญ่ที่สุดถึงขนาดเล็กที่สุด การสร้าง
พระบูชาหรือพระเครื่องทั้งในอดีตและปัจจุบัน ตลอดไปจนถึงอนาคตนั้นเราสร้างขึ้นเพื่อทดแทนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตาม
เรื่องราวพระพุทธประวัติ อิทธิพลทางศาสนา และได้มีการสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยังมีพระชนม์ชีพอยู่
ปฐมเหตุหรือสาเหตุแห่งการสร้างมีขึ้นนั้น"มีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปโปรด
พุทธมารดาเบื้องบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าประเสนทิราชา แห่งกรุงโกศลรัฐมิได้ทรงเห็นพระพุทธเจ้า
มาเป็นเวลาช้านาน และทรงมีพระทัยระลึกถึง จึงมีพระราชบัญญชารับสั่งให้ช่วงเอาไม้แก่นจันทร์แดงมาแกะสลักทำเป็น
พุทธรูปแล้ว ทรงให้ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่สมเด็จพระพุทธองค์เคยประทับ
ครั้นเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จพุทธดำเนินกลับลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาถึงที่ประทับนั้น
ด้วยอำนาจพระพุทธานุภาพบันดาลให้พระพุทธรูปที่จำลองขึ้นด้วยไม้แก่นจันทร์แดง ขยับเขยื้อนเลื่อนหนีออกไป
จากพระพุทธอาสนะประจักษ์แก่ตาคนทั้งหลาย สมเด็จพระชินศรีจึงทรงรับสั่งให้เก็บพระพุทธรูปนั้นไว้เพื่อเอาไว้เป็น
แบบอย่างแก่พุทธศาสนิกชนที่ต้องการ จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นไว้ สำหรับสักการะบูชาภายหลังเมื่อสมเด็จพระพุทธองค์
ได้เสด็จพระปรินิพพานแล้วนั่นเอง นี่คือปฐมเหตุหรือต้นเหตุแห่งที่มาที่ทำให้เกิดมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นดังกล่าว
ภายหลังเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว การสร้างพระพุทธรูปเพื่อไว้สักการะ
บูชาแทนพระพุทธองค์ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก ส่วนมากนิยมสร้างวัตถุต่างๆ แทน เช่น สร้างพระสถูปเจดีย์
พระเสมาธรรมจักร หรือรอยพระพุทธบาท ไว้เป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์แทน จวบจนกระทั่งพระพุทธศักราชล่วงไป
แล้วเกือบ 400 ปี การนิยมสร้างพระพุทธรูปขึ้นไว้ ทำการสักการะบูชาแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้แพร่หลาย
ออกไปอย่างกว้างขวาง เจริญรอยตามกันมาตลอดจนตราบเท่าทุกวันนี้
เนื่องจากศาสนาพราหมณ์ได้ถือดำเนิดมาก่อนพระพุทธศาสนา และคติตามไสยาศาสตร์ของพราหมณ์ซึ่งถือเอาเทพเจ้า
เป็นสรณะคือที่พึ่ง บรรดาเทพเจ้าผู้เป็นผู้ใหญ่ทั้งหลายสามารถบันดาลความสุขสวัสดีหรือความพิบัติได้ จึงได้เกิดมีพิธี
การบวงสรวงกระทำยัญขึ้น ผู้ใดทำการบวงสรวงบูชายัญแก่เทพเจ้า เทพเจ้าก็จะบันดาลให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขสวัสดิ์
พิพัฒนมงคล "ผู้ใดละเว้น" เทพเจ้าก็จะพิโรธ บันดาลให้ได้รับความทุกข์ จะมีภัยพิบัตินานัปการ ดังนั้นเมื่อพระพุทธศาสนา
ได้กำเนิดขึ้นและเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ บรรดาผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ในสมัยนั้น ได้หันเห มาให้ความเคารพนับถือ
ในพระพุทธศาสนา จึงได้นำเอาคติประเพณีทางศาสนาพราหมณ์มาดัดแปลงแทรกคติทางพระพุทธศาสนาลงไป เป็นการ
ผสมผสานความศรัทธาเชื่อถือของตน โดยนับเหตุว่าคติศาสนาของพราหมณ์นั้นยังมีอานุภาพเป็นที่เชื่อถือกันอยู่แล้ว
ถ้าหากรวมคติทางพุทธศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าเป็นของจริงแน่แท้ อันอาจพิสูจน์ได้ทุกกาลสมัย
เข้าไปในคติลัทธินั้นย่อมจะเรืองอานุภาพกว่าเป็นแน่แท้
โดยคติทางศาสนาพราหมณ์ถือว่า บรรดามนุษย์ที่ได้อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ ย่อมมีเทพเจ้าเข้าคุ้มครองรักษาตั้งแต่เกิด
มาทีเดียว เมื่อคตินี้ได้เข้ามาปะปนในพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีพิธีการบวงสรวบูชายัญ ดังนั้นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนของเรา
นั้น ก็ไม่มีอะไรจะดีไปกว่า พระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้า (รูปแทนองค์พระพุทธเจ้า), พระธรรม (คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า),
พระสงฆ์ (คือสาวกของพระพุทธเจ้า) เป็นสรณะที่พึ่ง ของพุทธศาสนิกชนเรามาทั้งในอดีตและปัจจุบันนี้
จึงเกิดการสร้างพระพุทธรูปประจำวันปางต่างๆ และพระเครื่องตามนัยคตินี้ ท่านโบราณจารย์จึงได้นำเอาพระพุทธคุณ
พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เข้ามาเป็นเครื่องนำบำบัดทุกข์ภัยและส่งเสริมความสุขสวัสดิพิพัฒมงคล อันเกี่ยวกับผลที่เทพยดา
แต่ละองค์เข้ามาเสวยอายุหรือเข้ามาแทรก โดยกำหนดตกแต่งพระปริตรแต่ละบท มาเป็นเครื่องสวดมนต์คุ้มครองป้องกันภัย
ให้เข้ากับเรื่องของเทพยดาแต่ละองค์ไป ทั้งยังกำหนดเอาพระพุทธรูป เพราะเครื่องปางต่างๆ ให้เป็นพระพุทธรูปประจำวัน
ให้ตรงกับเทพยดาที่เข้ามาเสวยและเข้ามาแทรกเป็นรายองค์ไป เพื่อที่พุทธศาสนิกชนจะได้สร้างพระพุทธรูปประจำวันเกิด
ของตนเองไว้สักการะบูชา เพื่อขจัดปัดเป่าทุกข์ภัยพิบัติ ให้เกิดความสุขสวัสดิ์พิพัฒมงคลแก่ตน ซึ่งถ้าได้ทำการสักการะบูชา
เป็นกิจวัตรแล้วจะเกิดโชคลาภผลศุภมงคลสวัสดิมีชัยทุกค่ำคืน
พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะสร้างด้วยวัสดุอะไรก็ตามที เราไม่สามารถจะนำพกติดตัวไปไหนมาไหนได้ทุกกาลเวลา
เราเรียกว่า "พระพุทธรูปบูชา" ส่วนพระที่มีขนาดเล็ก เราสามารถนำติดตัวไปไหนมาไหนได้ทุกกาลเวลา เราเรียกพระชนิดนี้ว่า
"พระเครื่อง" ไม่จำกัดว่าจะสร้างด้วยวัสดุอะไรเราจำลองแบบมาจากพระพุทธประวัติ หรือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นการแทนรูปลักษณะของพระพุทธองค์ มีปางต่างๆ มากมายหลายขนาด มีพระอริยบถหลายรูปลักษณะ แล้วแต่ผู้สร้าง
เป็นผู้ออกแบบสร้าง แต่ต้องมีหลักเกณฑ์อยู่ว่า ต้องเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธประวัติทั้งหมดทั้งสิ้น
ถ้านอกเหนือไปจากนี้เห็นทีจะเป็นเรื่องแปลก เราท่านทั้งหลายคงจะได้ยินได้ฟังหรืออ่านหนังสือพิมพ์หลายฉบับลงข่าว
ว่า มีพระปางพิสดาร "เหยียบโลก" ขึ้นในประเทศไทย ผู้คนต่างก็ฮือฮาแสดงการคิดเห็นกันมาหลายอย่าง ผมไม่เห็นจะเป็น
เรื่องพิลึกกึกกืออะไรหนักหนา คนไทยเราชอบตื่นข่าวเดี๋ยวเดียวก็ลืมเป็นปลิดทิ้งและไม่เฉพาะพระเหยียบโลก ในปัจจุบัน
อาจจะเกิดศาสนาเจ้าแม่กวนอิมขึ้นในประเทศไทยก็ได้นา (เป็นความคิดของผมเอง) เพราะตามวัดตามวาต่างๆ มีเจ้าแม่ที่ว่านี้
หลายแห่งก็เป็นเรื่องของการเลื่อมใส ไม่สามารถจะบังคับใครได้ ความศรัทธาของคนแล้วแต่ละคนไปว่าจะศรัทธามาก
หรือไม่ศรัทธาเลยก็ได้ ไม่มีใครหวงไม่มีใครห้าม สำหรับเรื่องศาสนานั้นทุกคนมีสิทธิในตัวเองอยู่แล้วว่าใครจะนับถือศาสนา
อะไรก็ได้ ไม่มีการบังคับหรือขู่เข็ญแต่ประการใดทั้งปวง
แขวนพระ, คล้องพระ, ห้อยพระ, เพื่ออะไร เป็นข้อใหญ่ใจความของเรื่องนี้ถ้าถามแต่ละคนที่แขวนพระ, คล้องพระ,
ห้อยพระ ก็จะได้รับคำตอบที่แตกต่างกันไปคนละอย่าง การนำพระที่เรานับถือศรัทธาและเลื่อมใส มาภาวนาหรืออาราธนา
โดยตั้งจิตอธิษฐานถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราควรจะตั้งนะโม 3 จบ และกล่าวคำอาราธนาพระว่า พุทธฺ อาราธนานํ
ธมฺมํอาราธนา สงฺฆํ อาราธนานํ กล่าวคำรำลึกถึงพระคุณบิดามารดา ครูอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายอันได้แก่ พระแก้ว
มรกด พระหลวงพ่อโตวัดไชโย พระพุทธชินราช หลวงพ่อพุทธโสธร เจ้าพ่อพระกาฬ เจ้าพ่อหลักเมือง พระเสื้อเมือง
พระทรงเมือง ที่เรืองฤทธิ์ ลูกขออำนาจบุญบารมีอันศักดิ์สิทธิ์และอิทธิฤทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงจงดลบันดาลให้ข้าพเจ้า ....
ให้ปลอดภัยต่อภยันตรายทั้งหลายด้วยเถิด สาธุ
คนแขวนพระ,คล้องพระ, ห้อยพระแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบแขวนพระเนื้อผงปางคนชอบแขวนพระเนื้อดิน
บางคนชอบแขวนพระเนื้อชิน แต่ละอย่างแต่ละคน คล้องพระแต่ละอย่างไม่ค่อยเหมือนกัน บางคนชอบแขวนเหรียญ
รูปเหมือนหลวงพ่อต่างๆ ....บางคนชอบประเภทเครื่องรางของขลัง(ที่รู้อาจารย์ปลุกเศก) พระเครื่องแต่ละอย่างแต่ละชนิด
มีอิทธิปาติหาริย์และประสบการณ์จากผู้ใช้ไม่เหมือนกันอีก บางชนิดสามารถให้ความคุ้มครองในเรื่องกันปืนได้ บางชนิด
มีเมตตามหานิยมบางชนิดแขวนแล้วมีโชคมีลาภ บางชนิดคล้องคอแล้วอยู่ยงคงกระพันชาตรี ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าแขวนพระ,
คล้องพระ, ห้อยพระ, คำทั้ง 3 คำมีความหมายเดียวกัน แต่ก่อนพระเครื่องขอกันได้ให้กันฟรีๆ แต่ปัจจุบันไม่ได้แล้วต้องเป็น
เงินเป็นทองทั้งนั้นโดยให้เช่าบูชา พูดภาษาตลาดก็คือซื้อขายนั่นเอง
ถ้าถามคนทั้งหลายว่าคล้องพระ, แขวนพระ,หรือห้อยพระ, เพื่ออะไร? คนที่ถูกถามจะต้องตอบว่า คล้องเพื่อเป็น
เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ถ้าถามคนต่อไปว่าแขวนพระเพื่ออะไร? คนที่ถูกถามจะตอบว่าเพื่อความปลอดภัยต่อภยันตราย
ทั้งหลายทั้งปวง ถ้าถามคนต่อไปอีกว่า ห้อยพระเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดความมีเสน่ห์ เมตตามหานิยม ถ้าถามคนทั้งหมดที่
ชอบพระต่างก็จะได้รับคำตอบที่ไม่เหมือนกับแค่คล้ายคลึงกัน ถ้าถามผมว่าแขวนพระเพื่ออะไร คำตอบของผมก็คือ
แขวนพระเพื่อความเคารพสักการะบูชาในองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นมงคลชีวิต

32
เครื่องรางของขลัง เปี่ยมด้วยกฤติยามนต์ ชนิด ตะกรุด
ตะกรุด เป็นเครื่องรางของขลังที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้นิยมวัตุถุมงคลทั้งหลาย ด้วยว่า ตะกรุดถือเป็นวัตถุมงคลที่มีความศักดิ์สิทธิ์ สำแดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์เป็นที่เลื่องลือมานานนับแต่สมัยอยุธยาขึ้นไป จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้

การสร้างตะกรุด นับเป็นเจตจำนงค์เฉพาะชิ้นงานขององคณาจารย์ผู้เข้มขลังด้ววยพระเวทย์วิทยาคมเป็นเอกอุแล้วประจุไปในประจุเลขยันต์ด้วยสมาธิจิตที่มุ่งมั่น ลงยังแผ่นตะกรุด ทุกตัวอักษร ทุกเส้นสายลายยันต์ ทุกอักขระพระเวทย์มนต์ตรา แล้วจึงม้วนทำการปลุกเสกให้เข้มขลัง ประสิทธิ์ประสาทย้ำความขมังเวทย์ด้วยเจตนาอันแก่กล้า

ตะกรุด จึงนับเป็นเครื่องรางของขลังที่น่าใช้ ให้ประสบการณ์มามากต่อมากจนสุดจะพรรณนา อีกทั้งมีพุทธาคมหลากหลายด้าน ทั้งอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดนิรันตราย โภคทรัพย์ เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ กันเสนียดจัญไร คุณไสย เรียกได้ว่า ครอบจักวาล เพียงแต่จะเน้นหนักไปทางใด หรือให้คุณทุกทางภายใต้ตะกรุดดอกเดียว

การสร้างตะกรุดนี้ มีการนำทัพสัมพาระหลายประเภทมาสร้างไม่ว่าจะเป็นแผ่นทองคำ เงิน นาก ตะกั่ว ดีบุก กระดูก ไม้โพธิ์ ไม้ไผ่ เป็นต้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นอาถรรพณ์วัตถุศักดิ์สิทธิ์ใยนตัวแล้ว มาเพิ่มประสิทธิ์ผลด้วยการกระทำอีกชั้นหนึ่ง

และนอกจากนี้การสร้างตะกรุด ยังเป็นวัฒนธรรมในหมู่ประเทศเขตสุวรรณภูมิ ทั้งเขมร มอญ พม่า ลาว และประเทศไทย เชื่อมโยงสายใยแห่งอารยะธรรมภูมิปัญญาที่ ลึกล้ำ เข้มขลัง จากบรรพชนสู่ลูกหลาน สมควรแก่การศึกษา สืบสานตำนานที่ยิ่งใหญ่ต่อไปมิให้สูญสลาย แม้ตะกรุดจะเป็นเพียงวัตถุมงคลพื้นๆ ที่ดูเหมือนของธรรมดาแต่ในรูปลักษณ์อันขาดความวิจิตนี้ แฝงไว้ด้วยพระเวทย์ที่ไม่ธรรมดาโดยแท้

ตะกรุดมิใช่เครื่องรางที่มีแต่เพียงความศัทธาความเชื่อแต่ตะกรุดเป็นเรื่องที่ผ่านการพิสูจน์จนประจักษ์และนอบน้อมยอมรับโดยดุษฏีแล้วว่า มีอาถรรพณ์พระเวทย์จริงแท้แน่ชัดดังนั้นตะกรุดขลังของคณาจารย์ผู้ขมังเวทย์จึงเป็นที่ใฝ่หาอย่างจริงจังของผู้รักและเข้าใจในศาสตร์แห่งวิทยาคมจนทำให้สนนราคาค่านิยมของตะกรุดดีที่หายากทะยานสูงขึ้นตลอดเวลาและยังคงความล้ำค่าไปนิรันดร.

33
เมื่อเวลา 23.30 น.วันที่ 23 มี.ค.พ.ต.ท.เดชชาติ วัฒนพนม พนักงานสอบสวน สบ.3 สภ.อ.เมืองระยอง รับแจ้งเกิดเหตุทะเลาะวิวาทบริเวณตลาดนัดสตาร์ กลางเมืองระยอง และมีผู้บาดเจ็บในที่เกิดเหตุ จึงพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยระยองรุดตรวจสอบ

จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุพบประชาชนมุงดูเป็นจํานวนมาก ส่วนผู้บาดเจ็บถูกนําส่งโรงพยาบาลระยอง ทราบชื่อคือ นายทวีป วิธา อายุ 28 ปี บ.88/1 ม.2 ต.ท่าประจะ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ถูกยิงบริเวณขาซ้าย แต่จากการตรวจสอบของแพทย์ไม่พบรูกระสุนตามร่างกาย มีเพียงผื่นแดงที่ขาเป็นทางยาวเท่านั้น แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ นอกจากนี้ในที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่พบปลอกกระสุนปืน 11 ม.ม.ตกอยู่จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน

สอบสวนนายทวีป ให้การว่า ตนมีอาชีพขายนาฬิกามือสองและรองเท้าเก่าตามตลาดนัด ก่อนเกิดเหตุตนกำลังนั่งขายของอยู่ได้มีวัยรุ่น 4-5 คน เข้ามาซื้อของที่ร้านของน้าเขยซึ่งตั้งอยู่ติดกัน โดยวัยรุ่นที่ก่อเหตุได้ต่อราคากับน้าเขยจนเกิดมีปากเสียง และชกต่อยกัน แต่คนร้ายสู้ไม่ได้จึงไปยกพวกมา ตนจึงเข้าไปห้ามและช่วยเจรจาแต่ไม่สําเร็จ ขณะนั้นได้มีวัยรุ่นคนหนึ่งชักปืนออกมาจ่อที่หน้าอกตน ตนกลัวจึงยกมือมากุมที่องค์จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรมหาเศรษฐี ที่ห้อยคออยู่ จากนั้นวัยรุ่นก็ยิงใส่ตน 3 นัด ก่อนหลบหนีไป และที่ตนรอดตายน่าจะเกิดจากองค์จตุคามช่วยชีวิตไว้แน่นอน

ด้าน พ.ต.ท.เดชชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ให้ฝ่ายสืบสวนเร่งติดตามกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวมาดําเนินคดี คาดว่าจะเป็นวัยรุ่นย่านนั้น ส่วนรอยกระสุนปืนที่พบที่ขาผู้บาดเจ็บก็ถือเป็นเรื่องแปลกทั้งๆที่คนร้ายก็จ่อยิงตรงๆ แต่กระสุนไม่เข้า
-------------
Ref.
http://www.matichon.co.th/khaosod/kh...sectionid=0301

34
แค่อยากศึกษาไว้น่ะครับ มีประสบการณ์กันบ้างไม๊ครับ
เพราะอะไรจึงมั่นใจองค์ที่นำมาขึ้นคอ

35
หมูทองแดง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

36
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / พญาวานร ๔กร
« เมื่อ: 09 เม.ย. 2550, 08:57:51 »
พญาวานร ๔กร

Shot at 2007-07-28

37
พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้ออันได้แก่

ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่
ปาราชิก มี ๔ ข้อ
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)

เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น
สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)

อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)

รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้ ๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี   
๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน   
๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ 
๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ
๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์

อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่
๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม
๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่
๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน 
๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า     
๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย   
๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม       
๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย   
๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง   
๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม       
๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง     
๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี   
๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย     
๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๑๘.รับเงินทอง
๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง
๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน

ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่
๑.ห้ามพูดปด         
๒.ห้ามด่า         
๓.ห้ามพูดส่อเสียด     
๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน   
๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน     
๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง         
๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง     
๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช   
๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช     
๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด     
๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้ 
๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน     
๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง       
๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน     
๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์     
๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน     
๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น   
๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน         
๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย 
๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิ ตย์ตกแล้ว   
๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่   
๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ   
๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ     
๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ   
๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี 
๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน     
๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย     
๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี   
๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ   
๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม   
๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น 
๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร   
๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว   
๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน   
๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง   
๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน   
๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ 
๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ     
๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน     
๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา 
๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ

ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่
๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า

เสขิยะ
สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่
๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน       
๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน   
๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน     
๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน     
๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน     
๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน     
๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน     
๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน       
๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่ 
๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร   
๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)   
๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร 
๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร   
๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)   
๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป   
๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป     
๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้ 
๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ   
๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป     
๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม     
๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง   
๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
๒๕.ไม่ฉันดังซูดๆ
๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน

ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ
๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ   
๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ   
๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้) ๑   
๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า 
๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน   
๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน   
๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่
๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

38
บทความ บทกวี / เคล็ดลับ หน้าตาดี
« เมื่อ: 09 เม.ย. 2550, 09:24:08 »
พุทธดำรัสตอบ "มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้มา ย่อมมีเวทนาเบา บาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน"

 

กินน้อยตายยาก
ปัญหา พระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้รับอนุญาตให้บริโภคอาหารเพียงวันละ ๑ หรือ ๒ ครั้งเท่านั้น พระผู้มีพระภาคทรงเป็นประโยชน์อย่างไร จึงทรงบัญญัติให้ภิกษุบริโภคอาหารน้อย ? พุทธดำรัสตอบ "..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว เมื่อเราฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณคือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายจงมาจงฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวเถิด ด้วยว่าเมื่อเธอทั้งหลายฉันอาหาร ในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว จักรู้สึกคุณคือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบามีกำลังและอยู่สำราญ...."

ทำอย่างไรจึงจะมีรูปงาม
ปัญหา เพราะเหตุไรบางคนจึงมีรูปร่างขี้ริ้วขี้เหร่ ทั้ง ๆ ที่มารดาบิดามีรูปงาม เพราะ เหตุไรคนบางคนจึงมีรูปร่างสวย มีผิวพรรณงาม ทั้ง ๆ ที่มารดาบิดามีรูปร่างไม่สวย ?
พุทธดำรัสตอบ "..... บุคคลบางคนย่อมเป็นผู้มักโกรธแค้นมาก ถูกว่าแม้น้อยย่อมขัดใจ โกรธ พยาบาทคิดแก้แค้น ทำความโกรธ ความดุร้ายแลความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ครั้น
ตายไปย่อมเกิดในอบายทุคตินรกด้วยกรรมนั้น.... ถ้าตายไปไม่เกิดในอบายทุคตินรก มาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ จะเป็นผู้มีผิวพรรณน่าชัง ".... บุคคลบางคนย่อมเป็นผู้ไม่มักโกรธแค้นมาก ถูกว่าแม้มากย่อมทำความโกรธ ความดุร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ครั้นตายไปย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์ด้วยกรรม นั้น.... ถ้าภายไปไม่เกิดในสุคติโลกสวรรค์ มาเกิดเป็นมนุษย์ ในที่ใด ๆ จะเป็นผู้มีผิวพรรณน่าชม"

ทำอย่างไรจึงจะรวย
ปัญหา เพราะเหตุไรบางคนจึงยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์ ทั้ง ๆ ที่ทำงานหนัก เพราะเหตุไรคนบางคนจึงร่ำรวยด้วยทรัพย์สมบัติ ทั้ง ๆ ที่ไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ?
พุทธดำรัสตอบ "..... บุคคลบางคนย่อมไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องทา ที่นอน ที่อยู่ เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ ครั้นตายไปย่อมเกิดในอบายทุคตินรกด้วยกรรมนั้น.... ถ้าตายไปไม่เกิดในอบายทุคตินรก มาเกิดในมนุษย์ในที่ใด ๆจะเป็นผู้มีสมบัติน้อย ... บุคคลบางคนย่อมเป็นผู้ให้ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องทา ที่นอนที่อยู่ เครื่องตามประทีป แก่สมณพราหมณ์ ครั้นตายไปย่อมเกิดในอบายสุคติโลกสวรรค์ด้วยกรรมนั้น... ถ้าตายไปไม่เกิดในสุคติโลกสวรรค์ มาเกิดในมนุษย์ในที่ใด ๆ จะเป็นผู้มีสมบัติมาก"

ทำอย่างไรจึงจะมีอำนาจมาก
ปัญหา เพราะเหตุไรบางคนจึงมียศ มีอำนาจ มีศักดามาก เพราะเหตุไรคนบางคนจึงมี ยศ มีอำนาจมีศักดาน้อย ?
พุทธดำรัสตอบ "..... บุคคลบางคนย่อมเป็นผู้มีใจประกอบด้วยความอิจฉาริษยา ย่อม ริษยา คิดร้าย ผูกริษยาในลาภสักการะ ในการทำความเคารพในความนับถือกราบไหว้
และการบูชาของผู้อื่นทั้งหลาย ครั้นตายไปย่อมเกิดในอบายทุคตินรกด้วยกรรมนั้น.... ถ้า ตายไปไม่เกิดในอบายทุคตินรก มาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ จะเป็นผู้มีศักดาน้อย
"... บุคคลบางคนย่อมเป็นผู้มีน้ำใจไม่ริษยา.... ในลาภสักการะ ในการทำความ เคารพ ในความนับถือ กราบไหว้ และการบูชาของผู้อื่นทั้งหลาย ครั้นตายไปย่อมเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์ ด้วยกรรมนั้น.... ถ้าตายไปไม่เกิดในสุขคติโลกสวรรค์ มาเกิดเป็น มนุษย์ในที่ใด ๆ จะเป็นผู้มีศักดาใหญ่"


ทำไมจึงเป็นคนขี้โรค
ปัญหา เพราะเหตุไรบางคนเกิดมาแล้ว จึงมักจะถูกโรคภัยเบียดเบียน แม้จะมีทรัพย์มากและรักษาความสะอาดเท่าไร ก็ไม่พ้นเป็นคนขี้โรค เพราะเหตุไรบางคนจึงมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ ทั้ง ๆ ที่ยากจนแลไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ?
พุทธดำรัสตอบ "..... คนบางคนย่อมเป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยมือ หรือก้อนดินท่อนไม้ ศัสตรา ครั้นตายไปย่อมเกิดในอบายทุคตินรกด้วยกรรมนั้น.... ถ้าตายไปไม่เกิดในอบายทุคตินรก มาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ จะเป็นผู้มีโรคมาก .... คนบางคนย่อมเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ด้วยมือหรือก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา ครั้นตายไป ย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์ด้วยกรรมนั้น.... ถ้าตายไปไม่เกิดในสุคติโลกสวรรค์ มาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ จะเป็นผู้มีโรคน้อย

ทำไมคนจึงตายช้า-เร็วต่างกัน
ปัญหา เพราะเหตุไร คนบางคนเกิดมาในโลกนี้จึงมีอายุสั้น ตายตั้งแต่เยาว์วัยเพราะ เหตุไร บางคนจึงอายุยืน ตายต่อเมื่อแก่หง่อมเต็มที่แล้ว ?
พุทธดำรัสตอบ "..... บุคคลบางคนเป็นสตรี หรือบุรุษในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้ฆ่าสัตว์มีชีวิต ใจดุร้าย ชอบใจในการฆ่าฟัน ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ครั้นตายไปย่อมเกิดในอบายทุคตินรก ด้วยกรรมนั้น..... ถ้าตายไปไม่เกิดในอบายทุคตินรก มาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ จะเป็นผู้มีอายุสั้น
"..... บางคนย่อมเป็นผู้ละเว้นจากปาณาติบาต มีท่อนไม้ ศัสตรา อันวางแล้วมีความ ละอาย มีความเอ็นดู อนุเคราะห์เพื่อความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง ครั้นตายไป ย่อมเกิดใน
สุขคติโลกสวรรค์ ด้วยกรรมนั้น..... ถ้าตายไปไม่เกิดในสุคติโลกสวรรค์ มาเกิดเป็น มนุษย์ในที่ใด ๆ จะเป็นผู้มีอายุยืน...." 
       
 

39
ธรรมะ / คติธรรมในพระพุทธศาสนา
« เมื่อ: 09 เม.ย. 2550, 09:08:03 »
1 บุคคลผู้ซึ่งจะประสบผลสำเร็จในกิจการงานทั้งหลายทั้งปวงนั้น จะต้องประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 3 ประการคือ

กรรม - ต้องเป็นผู้ประกอบกุศลกรรม คือกรรมที่ดีทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ปัญญา - ต้องเป็นผู้รู้จักใช้ปัญญาไตร่ตรอง พิจารณาหาเหตุผลทั้งในด้านดี ด้านเสีย ในการประกอบกิจการงานทั้งหลาย

วิริยะ - ต้องเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร บากบั่นพากเพียร พยายามกระทำกิจการงานทั้งหลาย ที่ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองแล้ว โดยไม่เหนื่อยหน่ายหรือย่อท้อ

2 เมตตาธรรม เท่านั้นที่จะเอาชนะทุกสิ่งทุกอย่างได้

3 เข้าไปอยู่ที่เมืองใด ต้องกระทำให้เหมือนคนในเมืองนั้น

4 การกระทำอันใด จะเป็นบุญหรือบาป ขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นใหญ่

5 บุคคลผู้ยึดมั่นอยู่ในศีลและหมั่นสวดมนต์ไหว้พระอยู่เสมอ ย่อมสำเร็จประโยชน์

6 บุคคลกระทำกรรมอันใดไว้ ย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้น

7 เหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านไปแล้ว เราย่อมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ จงพยายามกระทำปัจจุบันและอนาคตของเราให้ดีที่สุดก็แล้วกัน

8 ในการปฏิบัติธรรมทั้งหลายนั้น เราต้องระวังในเรื่อง "อุปาทาน" ให้มากที่สุด

9 สิ่งใดก็ตาม เมื่อเราได้พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้วว่า ไม่ขัดต่อหลักคำสั่งสอนในบวรพุทธศาสนา ก็จงกระทำไปเถิด พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงห้ามไว้

 

ที่มา : หนังสือ อุตตมะ 84 ปี

40
สู่ความเจริญรุ่งเรืองแห่งชีวิต

ตำนานพญาครุฑ

ในตำนานเมืองฟ้าป่าหิมพานต์นั้นมีเรื่องราวของสัตว์ที่มีอิทธิฤทธิ์มากมายหลายชนิดเช่น ราชสีห์ คชสีห์ อันมีลำตัวเป็นสิงห์แต่มีศีรษะเป็นช้าง กินรี กินนรและสัตว์แปลก ๆ อีกมากมาย ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นมีสองอย่างที่นับว่าเป็นเทพเดรัจฉานมีฤทธิ์มากคือ หนึ่งเป็นพญานาคราชจ้าวแห่งบาดาล และอีกหนึ่งคือพญาครุฑจ้าวแห่งเวหา

นาคและครุฑต่างเป็นสัตว์ที่คู่กันตามตำนาน มีเรื่องราวเล่ากันว่าสัตว์กายสิทธิ์ทั้งสองนี้มีบิดาเดี่ยวกันคือมหาฤาษีกัสยปะเทพบิดรแต่คนละแม่โดยพญาครุฑนั้นมีมารดาเป็นภรรยาหลวง ส่วนนาคนั้นมีแม่เป็นภรรยาคนรอง นางทั้งสองนี้ไม่ถูกกันมีเรื่องกันตลอดจนในที่สุดความผิดใจกันนี้ลามไปถึงลูกของตนด้วย จึงเป็นเหตุให้นาคและครุฑม่ถูกกันในเวลาต่อมา

พญานาคนั้นมีวิมานอันเป็นทิพย์อยู่ในบาดาล ส่วนครุฑก็มีวิมานทิพย์อยู่ที่เชิงเขาไกรลาส กล่าวว่าองค์พญาครุฑนั้นมีนามว่าท้าวเวนไตย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวสุบรรณ มีกายเป็นรัศมีสีทองมีเดชอำนาจมากที่สุดในหมู่ครุฑทั้งหลายอาศัยเกาะอยู่ตามต้นงิ้ว อาศัยผลงิ้วและน้ำดอกไม้จากต้นงิ้วเป็นอาหารทิพย์ ลูกพญาครุฑจะโตขึ้นนับเวลาอายุเป็นข้างขึ้นข้างแรมตามจันทรคติ เติบโตด้วยบุญกุศลที่เคยทำมา หากลูกครุฑตนใดที่มีบุญญาธิการมามาก อำนาจบุญจะบันดาลให้เกิดผลงิ้วทิพย์และน้ำหวานจากดอกไม้มาบำเรอลูกครุฑตนนั้น ๆ และลูกครุฑตนดังกล่าวจะจำเริญวัยได้อย่างรวดเร็ว

ครุฑเป็นสัตว์กึ่งโอปปาติกะ หรือกึ่งพวกกายทิพย์คล้ายชาวลับแลและพวกพญานาคอยู่อีกมิติหนึ่งจากโลกของเรา ผู้ที่จะสามารถพบเห็นครุฑได้ต้องเคยมีบุญร่วมกับพวกเขามาจึงสามารถรับรู้ถึงกันและกันได้ เหมือนกับผู้ที่สามารถติดต่อกับพญานาคได้ก็เช่นกันล้วนต้องเป็นผู้ที่มีวาสนาต่อกันมาตั้งแต่อดีตทั้งนั้นไม่ใช่เรื่องสาธารณะที่จะรู้กันได้ทั่วไปเช่นเรืองสามัญ

เรื่องของครุฑเป็นเรื่องราวที่มีความอัศจรรย์โลดโผนยิ่งกว่าเรื่องราวของพญานาคเสียด้วยซ้ำไป แต่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้กันเพราะไม่ได้ศึกษาและอาจไม่ค่อยสนใจเท่าใดนัก ความเป็นจริงแล้วเรื่องครุฑเป็นเรื่องที่น่าศึกษามาก เพราะทางฮินดูเขานับถือครุฑว่าเป็นเทพเจ้าสำคัญพระองค์หนึ่ง แม้ในทางไทยเราเอง ทางไสยศาสตร์ก็ให้ความนับถือเกี่ยวกับครุฑนี้มาก ดูอย่างตราแผ่นดินเองก็มีรูปลักษณะเป็นครุฑ จึงน่าสนใจว่า ?ครุฑ? นั้นคงมีอานุภาพบางอย่างและน่าจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในอีกมิติหนึ่งเช่นเดียวกันกับพญานาค ถ้าท่านเชื่อว่าพญานาคมีจริง พญาครุฑก็ย่อมมีจริงเช่นกัน

พลังอำนาจที่เทียบเท่า พระผู้เป็นเจ้า

อำนาจของพญาครุฑนั้นท่านว่าลึกลับมากนัก ในตำนานของฮินดูกล่าวว่าตั้งแต่แรกเกิดมานั้นพญาครุฑก็มีรัศมีกายที่สว่างไสวเป็นที่อัศจรรย์ ส่อให้รู้ว่าเป็นผู้ที่มีบุญญาธิการ มีอานุภาพเป็นอเนกอนันต์ มีฤทธิ์วิชาผาดโผนพิสดารทั้งนี้มีเรื่องกล่าวไว้อีกว่าครั้งหนึ่งพญาครุฑเคยลองฤทธิ์กับองค์พระนารายณ์มหาเทพหนึ่งในสามของทางศาสนาพราหมณ์ การรบกันนั้นเป็นที่เลื่องลือไปทั้งสามโลกธาตุ พญาครุฑสามารถต่อสู้ด้วยความสามารถ รบกันไปเท่าใดก็หาแพ้ชนะกันไม่ จนในที่สุดพระนารายณ์และพญาครุฑจึงตกลงกันว่าขอให้เสมอกันในการรบระหว่างเราและท่าน พระนารายณ์อนุญาตให้พญาครุฑสามารถอยู่เหนือเศียรตนได้ และพญาครุฑก็นอบน้อมโดยการยินยอมให้พระนารายณ์สามารถนำตนเป็นพาหนะไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้เช่นกัน

จึงถือกันในหมู่ครูบาอาจารย์กันต่โบราณว่า ?พญาครุฑ? เป็นเทพเดรัจฉานที่มีอานุภาพอิทธิฤทธิ์เทียบเท่าพระผู้เป็นเจ้าอย่างพระนารายณ์ อานุภาพของครุฑจึงเป็นที่อัศจรรย์ของทั่วโลกธาตุ นอกจากนี้ยังมีประวัติอีกว่ารพระอินทร์เองก็เคยลองฤทธิ์กับพญาครุฑใช้วัชระฟาดพญาครุฑ แต่องค์พญาครุฑเป็นกายสิทธิ์หาได้เป็นอันตรายแต่อย่างใดไม่ พระอินทร์พยายามอยู่หลายทางก็ไม่สามารถทำอันตรายแก่องค์ครุฑได้ จนพระอินทร์มีความเคารพในอานุภาพของพญาครุฑว่ามีฤทธิ์เดชเทียบเท่าพระผู้เป็นเจ้าจริงในที่สุดพญาครุฑจึงได้สลัดขนตนเองออกามาหนึ่งเส้นให้แก่พระอินทร์เพื่อเป็นเกียรติแก่พระอินทร์ด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าตามตำนานที่กล่าวมา ?พญาครุฑ? เป็นเทพเดรัจฉานที่มีฤทธิ์ที่ไม่ธรรมดา ๆ เลยมีอานภาพมาก ด้วยเหตุนี้ครูบาอาจารย์ที่รู้จักศาสตร์ของครุฑเป็นอย่างดีจึงนำเอาสัญลักษณ์เกี่ยวกับครุฑ รูปครุฑต่าง ๆ มาทำสมาธิบูชาเพื่อให้เกิดอิทธิพลังงานอันลี้ลับ ทั้งนี้เพื่อการปกป้องคุ้มครองบ้าง เพื่อความเจริญรุ่งเรืองบ้าง ดังที่เราจะได้เล่าให้ท่านทราบต่อไป

สัญลักษณ์ครุฑ สัญลักษณ์แห่งแผ่นดิน

โดยสรุปจากตำนานแล้วครุฑคือสัตว์หิมพานต์อย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่สัตว์สามัญธรรมดา เพราะพยาครุฑเป็นสัตว์กึ่งเทพ เรียกว่า ?เทพเดรัจฉาน? ซึ่งมีอำนาจเทียบเท่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นพาหนะของพระนารายณ์อย่างหนึ่งในเมืองไทยเรานับถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ เป็นองค์นารายณ์อวตารจึงมีการใช้ธงรูปครุฑ และมีครุฑเป็นสัญลักษณ์ประจำแผ่นดิน สามารถพบเห็นรูปครุฑได้จากเอกสารต่าง ๆ ของทางราชการ และนับว่าเอกสารเหล่านั้นเป็นเอกสารศักดิ์สิทธิ์ หากราชการผู้ที่ทำหน้าที่ผู้ใดมีความสุจริตจงรักภักดีต่อแผ่นดิน องค์พระมหากษัตริย์ และหน้าที่ของตน องค์พญาครุฑก็จะส่งพลังปกป้องให้มีความสุข ความเจริญในหน้าที่

นอกจากนี้ยังมีเกร็ดความเชื่อว่าหากที่ใดมีอาถรรพ์แรงท่านให้นำเอาตราครุฑไปติดจะทำให้อาถรรพ์นั้นเสื่อมสลายไปในที่สุด ตราครุฑล้างอาถรรพ์ได้จึงเป็นที่เชื่อถือกันมาตลอดและได้รับความเคารพบูชาว่าเป็นของสูง เสมือนหนึ่งตัวแทนแห่งองค์พระประมุข ผู้ใดมีสัญลักษณ์ครุฑ รูปครุฑบูชาไว้ย่อมได้อานิสงส์มาก อาทิ มีความเจริญแก่ตัวเองและครอบครัวเป็นต้น ดังนี้แล้วครุฑจึงเป็นของสูงที่เราควรรู้ควรบูชาอย่างหนึ่ง

คนโบราณมีความเชื่อสืบกันมาว่า ?ครุฑ? นั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง มหาอำนาจ อย่างเด็กผู้ใดที่เกิดมาแล้วมีลักษณะปากคล้ายพญาครุฑท่านว่าคนผู้นั้นจะเป็นผู้มีบุญญาธิการมาเกิด ภายภาคหน้าจะได้เป็นใหญ่เป็นโต สมเด็จเจ้าแตงโม พระสังฆราชพระองค์หนึ่งท่านก็มีลักษณะปากดังครุฑปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญาดี และได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชในที่สุด เรื่องครุฑนี้คนโบราณจึงเชื่อถือกันมาก แม้เครื่องรางที่เกี่ยวกับครุฑก็เป็นเครื่องรางที่มีความหมายมีอานุภาพโดดเด่นหลายประการดงจะได้กล่าวต่อไป

พญาครุฑเครื่องหมายแห่งสิทธิอำนาจและความเป็นมงคล

ครุฑนั้นเป็นเครื่องหมายของทางราชการอยู่แล้ว เอกสารทางราชการฉบับใด ๆ ก็ล้วนต้องมีเครื่องหมายพญาครุฑประทับอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น แสดงให้เห็นว่าเป็นเครื่องสำคัญเป็นตราแผ่นดิน เป็นตราของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ เชื่อว่าหากข้าราชการผู้ใดให้ความเคารพนับถือในองค์พญาครุฑ และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง ข้าราชการผู้นั้นจะมีความสุขความเจริญทั้งชีวิตและหน้าที่การงานสืบไป คุณไสย์อันตรายใด ๆ ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้เพราะเครื่องหมายของพญาครุฑนี่สำคัญมากผู้ที่รู้เขาจะไม่ข้ามไม่เหยียบย่ำ ไม่นำไว้ที่ปลายเท้าเลยเพราะเป็นของสูง ของศักดิ์สิทธิ์ หากเคารพนับถือให้ดีอำนาจพญาครุฑที่มีอยู่ในเอกสารราชการจะคุ้มครองผู้นั้นไม่ให้มีวันอับจน แต่คนสมัยนี้ไม่ใคร่เชื่อถือกันเท่าใดนัก เรื่องพญาครุฑจึงดูล้าสมัยไปเสีย ไม่เหมือนในสมัยก่อนที่ไหนว่ากันว่าผีแรง ผีเฮี้ยน เอาตราพญาครุฑไปติดไว้ความอาถรรพ์ของสถานที่นั้น ๆ ก็จะหายไปในทันที

อำนาจพญาครุฑ

สิทธิอำนาจพญาครุฑสัตว์กายสิทธิ์ที่ไม่มีผู้ใดสามารถฆ่าให้ตายได้มีอายุยืนเสมือนว่าเป็นอมตะนั้น นับเป็นเรื่องลี้ลับที่ผู้รู้พยายามค้นคว้า และเสาะหาที่มาแห่งพลังอำนาจดังกล่าว จนเกิดการสร้างเครื่องรางต่าง ๆ ขึ้น อำนาจพญาครุฑสามารถจำแนกได้ถึง ๘ ประการ โดยนับเอาอำนาจหลัก ๆ ได้ดังนี้คือ

๑. เป็นมหาอำนาจอันยิ่งใหญ่ เป็นสิทธิอำนาจอันเฉียบขาด

๒. สามารถลบล้างอาถรรพ์และคุณไสย์ทั้งปวง ภูติผีปิศาจกลัวไม่กล้าเข้าใกล้

๓. เป็นสื่อนำความเจริญรุ่งเรือง ยศถาบรรดาศักดิ์มาสู่ชีวิตหน้าที่การงาน

๔. ปกป้องคุ้มครอง ป้องกันภัยเป็นคงกระพัน

๕. เป็นเมตตามหานิยม

๖. นำความร่มเย็นเป็นสุขมาให้

๗. ทำมาค้าขายดีเป็นสื่อนำโชคลาภนานาประการ

๘. สัตว์ร้าย เขี้ยวงาสารพัด งูเงี้ยวเขี้ยวขอ อสรพิษไม่กล้ากล้ำกรายเข้าใกล้ เพราะเกรงตบะบารมีขององค์พญาครุฑเป็นที่สุด

อำนาจพญาครุฑยังมีมากกว่านี้อีกมาก แล้วแต่ท่านใดจะรู้จักใช้ ในตำราทางไสยเวทพุทธาคมมีทั้งการใช้ยันต์ครุฑให้ผลดีในทางคงกระพันชาตรี มีนะพญาครุฑใช้ลงตบเข้าหน้าผากเป็นคงกระพันชาตรีกันเขี้ยวงาอสรพิษได้ ทั้งนะพญาครุฑนี้เมื่อประสิทธิ์ลงไปยังตัวคนผู้ใดแล้วยังสามารถทรหดอดทน เดินไกลไม่เหนื่อย เป็นวิชาตัวเบาชั้นยอด และเป็นเมตตามหานิยมชั้นสูงอีกด้วย ยังมีคาถาพญาครุฑซึ่งเมื่อกล่าวพระคาถานี้งูพิษรวมไปจนถึงตะขาบแมงป่องและสัตว์ร้ายต่าง ๆ ทั้งหลายจะหลบหนีไปสิ้นโดยพระคาถาพญาครุฑท่านว่าดังนี้

?โอมพญาครุฑจะเห็นผล หลีกไปให้พ้น พญาหนจะเดินทาง เคาะงอ เคาะงอ?

ก่อนว่าพระคาถานี้ให้นมัสการพระรัตนตรัยเสียก่อนด้วยนะโม ๓ จบและท่องพระคาถานี้ก่อนออกเดินทางตั้งสติส่งจิตไปถึงพญาครุฑจะปลอดภัยทุกประการ

สักการะให้ถูกวิธี

การบูชาพญาครุฑประกอบกับพยาปักษาชาติอันมีฤทธิ์ทั้งหลายนั้น ท่านให้สักการะคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จากนั้นให้ตั้งจิตระลึกถึงพญาครุฑท่าน ด้วยการทำสมาธิภาวนาเป็นสื่อถึงองค์พญาครุฑว่า ?ครุฑโธ? จนจิตสงบหรือระลึกชื่อ พญาวายุภักษ์ หรือ ท่องคำว่า ?การะวิโก? อันเป็นคาถาหัวใจพญาการเวกก็ว่าได้ จากนั้นเมื่อเห็นว่าจิตสงบลงบังเกิดเสียงนกร้องระงม จากบริเวณที่มีนกอยู่ใกล้ ๆ จนบางครั้งอาจมีนกมาบินเวียนวนอยู่เป็นทักษิณาวัตรอย่างน่าอัศจรรย์ หรือมีฝูงนกมาทานอาหารที่เราเซ่นไหว้ อาการเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเป็นศุภมงคลอย่างประเสริฐแล้ว สื่อให้เห็นว่าจิตเราพิธีกรรมเราที่ตั้งถึงองค์พญาครุฑและเหล่าพญาปักษาชาติทั้งหลายอันมีฤทธิ์นั้นท่านรับรู้แล้ว และท่านทั้งหลายจะช่วยเหลือเราอย่างสุดวามสามารถโดยตลอด

พญานกกับสมถกรรมฐาน

พญานกอย่างพญาครุฑ พญาวายุภักษ์ พญาครุฑ หรือเอกสารที่มีสัญลักษณ์ของพญาครุฑอยู่เพียงเท่านี้ก็เท่ากับว่าท่านมีความเคารพเป็นการบูชาพญาครุฑอย่างหนึ่งไปในตัวและที่สำคัญคือการเคารพต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นการปฏิบัติบูชาต่อพญาครุฑโดยตรงเชื่อแน่ว่าองค์พญาครุฑที่อยู่ในเครื่องหมายราชการ ย่อมปกปักรักษาท่านอย่างแน่นอน และหากท่านหวังผลอย่างยิ่งในการบูชาก็ลองทำกรรมฐานในข้ออาณาปานสติดูเถิดเชื่อแน่ว่าท่านย่อมสามารถส่งจิตถึงองค์พญาครุฑและเหล่าบรรดาเหล่าปักษาชาติทั้งปวงได้แน่นอนครับ



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

41
บทความ บทกวี / อย่าปลงใจเชื่อ
« เมื่อ: 08 เม.ย. 2550, 01:51:18 »
กาลามสูตร

อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา

(มา อนุสฺสเวน)


อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา

(มา ปรมฺปราย)

อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ

(มา อิติกิราย)

อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์

(มา ปิฏกสมฺปทาเนน)

อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก

(มา ตกฺกเหตุ)

อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน

(มา นยเหตุ)

อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล

(มา อาการปริวิตกฺเกน)

อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว

(มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)

อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้

(มา ภพฺพรูปตาย)

อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

(มา สมโณ โน ครูติ)

แต่หากประจักษ์ด้วยตนเองอย่างชัดแจ้งแท้จริงแล้ว จึงค่อยปลงใจเถิด ว่าจะเชื่อหรือไม่
http://www.palungjit.com/board/showthread.php?t=46740

42
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรที่รุ่งเรืองที่สุดอีกยุคสมัยหนึ่งของไทยเรา พบว่า มีการตราบทลงโทษขั้นรุนแรงที่สุดคือ โทษประหารชีวิตเอาไว้ในพระไอยการกระบถศึก ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อนจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่กฎหมายฉบับนี้มิได้มีการแก้ไขในบทลงโทษความผิดขั้นประหารชีวิตและวิธีการประหารชีวิตเลยแม้แต่น้อย
คือยังคงลักษณะเดิมไว้แต่ครั้งการตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทุกประการ

วิธีการประหารชีวิตตามพระไอยการกระบถศึก บันทึกและอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดถึงวิธีการลงโทษประหาร 21 วิธีหรือ 21 สถาน ดังนี้

- สถาน 1 คือ ให้ต่อยกระบานศีศะ (กบาลศีรษะ) เลิกออก (เปิดออก) เสียแล้ว เอาคีมคีบก้อนเหล็กแดงใหญ่ใส่ลงไปในมันสะหมอง (มันสมอง) ศีศะพลุ่งฟู่ขึ้นดั่งม่อ (หม้อ) เคี่ยวน้ำส้มพะอูม

- สถาน 2 คือ ให้ตัดแต่หนังจำระ (จาก) เบื้องหน้าถึงไพรปากเบื้องบนทั้งสองข้างเป็นกำหนด ถึงหมวกหู (ใบหู) ทั้งสองข้างเป็นกำหนด ถึงเกลียวคอชายผมเบื้องหลังเป็นกำหนด (หนังบริเวณคอถึงท้ายทอย) แล้วให้มุ่นกระหมวดผมเข้าทั้งสิ้น (ม้วนเข้าหากัน) เอาท่อนไม้สอดเข้าข้างละคน โยกคลอนสั่นเพิกหนังทั้งผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายหยาบขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์

- สถาน 3 คือ ให้เอาขอเกี่ยวปากให้อ้าไว้ แล้ให้ตามประทีบ (ดวงไฟ) ไว้ในปาก ไนยหนึ่ง (นัยหนึ่ง) เอาปากสิวอันคมนั้นแสะแหวะผ่าปากจนหมวกหู (ใบหู) ทั้งสองข้าง แล้วเอาขอเกี่ยวให้อ้าปากไว้ให้โลหิตไหลออกเต็มปาก

- สถาน 4 คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันให้ทั่วร่างกายแล้วเอาเพลิงจุด

- สถาน 5 คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันนิ้วทั้งสิบนิ้วแล้วเอาเพลิงจุด

- สถาน 6 คือ เชือดเนื้อให้เป็นแรงเป็นริ้วอย่าให้ขาดจากกัน ตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงข้อเท้าแล้วเอาเชือกผูกจำ ให้เดินเหยียบริ้วเนื้อริ้วหนังแห่งตน ให้ฉุดคร่าตีจำให้เดินไปกว่าจะตาย

- สถาน 7 คือ เชือดเนื้อให้เนื่องด้วยหนังเป็นแร่งเป็นริ้ว ตั้งแต่ใต้คอลงมาถึงเอวและให้เชือดตั้งแต่เอวให้เนื่องด้วยหนังเป็นแร้งเป็นริ้วลงมาถึงข้อเท้ากระทำหนังเบื้องบนให้คลุมลงมาเหมือนนุ่งผ้า

- สถาน 8 คือ ให้เอาห่วงเหล็กสวมข้อศอกทั้งสองข้าง ข้อเข่าทั้งสองข้างให้มั่นแล้วเอาหลักสอดในวงเหล็กแย่งขึงตรึงลงไว้กับแผ่นดินอย่าให้ไหวตัวได้ แล้วเอาเพลิงรน (ลน) ให้รอบตัวจนกว่าจะตาย

- สถาน 9 คือ ให้เอาเบ็ดใหญ่ที่มีคมสองข้างเกี่ยวทั่วร่างเพิก (เปิด) หนังเนื้อและเอ็นน้อยใหญ่ให้หลุดขาดออกมาจนกว่าจะตาย

- สถาน10 คือ ให้เอามีดที่คมเชือดเนื้อให้ตกออกจากกายแต่ทีละตำลึง(นำเนื้อมาชั่งให้ได้น้ำหนักหนึ่งตำลึง:มาตราวัดสมัยโบราณ) จนกว่าจะสิ้นมังสา (เนื้อ)

- สถาน 11 คือ ให้แล่สับทั่วร่างแล้ว เอาแปรงหวีชุบน้ำแสบกรีดครูดขูดเสาะหนังและเนื้อแลเอ็นน้อยใหญ่ให้ลอกออกให้สิ้นให้อยู่แต่ร่างกระดูก

- สถาน 12 คือ ให้นอนลงโดยข้างๆ หนึ่งแล้วให้เอาหลาวเหล็กตอกลงไปโดยช่องหูให้แน่นกับแผ่นดินแล้วจับขาทั้งสองข้างหมุนเวียนไปดังบุคคลทำบังเวียน (เวียนเทียน)

- สถาน 13 คือ ทำมิให้หนังพังหนังขาด แล้วเอาลูกสีลา (ลูกหิน) บดทุกกระดูกให้แหลกย่อย แล้วรวบผมเข้าทั้งสิ้น ยกขึ้นหย่อนลงกระทำให้เนื้อเป็นกองเป็นลอม
แล้วพับห่อเนื้อหนังกับทั้งกระดูกนั้นทอดวางไว้ดั่งตั่งอันทำด้วยฟางซึ่งเอาไว้เช็ดเท้า

- สถาน 14 คือ ให้เคี่ยวน้ำมันให้เดือดพลุ่งพล่าน แล้วลาดสาดลงมาแต่ศีศะ (ศีรษะ) จนกว่าจะตาย

- สถาน 15 คือ ให้กักขังสุนัขร้ายทั้งหลายไว้ อดอาหารหลายวันให้เต็มอยากแล้วปล่อยให้กัดทึ้งเนื้อหนังกินให้เหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า

- สถาน 16 คือ ให้เอาขวานผ่าอกทั้งเป็นแหกออกดั่งโครงเนื้อ

- สถาน 17 คือ ให้แทงด้วยหอกทีละน้อยๆ จนกว่าจะตาย

- สถาน 18 คือ ให้ขุดหลุมฝังเพียงเอว แล้วเอาฟางปกลงคลุมร่างก่อนคลอกด้วยเพลิงพอหนังไหม้แล้วไถด้วยไถเหล็ก ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่เป็นริ้วน้อยริ้วใหญ่

- สถาน 19 คือ ให้เชือดเนื้อล่ำออกทอดด้วยน้ำมัน เหมือนทอดขนมให้กินเนื้อตัวเองจนกว่าจะตาย

- สถาน 20 คือ ให้ตีด้วยตะบองสั้นตะบองยาวจนกว่าจะตาย

- สถาน 21 คือ ตีด้วยหวายที่มีหนามจนกว่าจะตาย

*****น่ากลัวจัง ***แต่บางอย่างก็น่ามาใช้กะมนุษย์สมัยนี้จัง**** 


43
ครูบากองแก้ว วัดต้นยางหลวง จ. เชียงใหม่ fficeffice" />>>
ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม จ.ลำพูน>>
ครูบาธรรมชัย วัดท่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่>>
ครูบาอินสม วัดทุ่งน้อย ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่>>
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท>>
หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์>>
หลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม จ.ระยอง>>
หล่วงพ่อเกลื่อม ฐานิสสโดร วัดคคาวดี ต.ปากแพรก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช>>
หล่วงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง>>
หลวงพ่อเกษม วัดม่วงครับ จ.อ่างทอง>>
หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง>>
หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี >>
หล่วงพ่อเขียว วัดหรงบน อ.ปากพนัง จ.นครศรธรรมราช>>
หลวงพ่อคง วัดเขาสมโภชน์ จ.ลพบุรี>>
หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี >>
หล่วงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร>>
หล่วงพ่อคล้าย วาจาศิษย์ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช>>
หล่วงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง จ.นครศรีธรรมราช>>
หล่วงพ่อคำคะนิง จุลมณี แห่งวัดถ้ำคูหาสวรรค์ ภาคอิสาน จังหวัด จ.อุบลราชธานี>>
หล่วงพ่อคำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.ลพบุรี >>
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม แต่สงสัยว่าจะเผาไปแล้ว>>
หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร จ.เพชรบุรี>>
หล่วงพ่อเจริญ วัดตาลานใต้ อ.ผักไห่ จ.อยุธยา>>
หลวงพ่อเจริญ ติสสวัณโณ วัดเขาวงกต ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี>>
หล่วงพ่อแจ้ง วัดใหม่สุนทร จ. นครราชสีมา>>
หล่วงพ่อใจ ฐิตธัมโม วัดหนองหญ้าปล้องใต้ ต.ไก่เส่า อ.หนองแซง จ.สระบุรี>>
หลวงพ่อชื่น วัดถำ้เสือ จ.กาญจนบุรี>>
หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี>>
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี>>
หลวงพ่อแดง วัดคุณาราม(เขาโปะ) เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี>>
หล่วงพ่อแดง วัดเชิงเขา จ. นราธิวาส>>
หลวงพ่อแดง วัดทองดีประชาราม สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส>>
หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ดอนพุด จ.สระบุรี>>
หล่วงพ่อตี๋ วัดหลวงราชาวาส จ.อุทัยธานี>>
หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม>>
หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก เพชบูรณ์>>
หล่วงพ่อทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว จ.ชลบุรี อ.พานทอง จ.ชลบุรี>>
หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์ อยู่ในโลงแก้ว>>
หล่วงพ่อทอง วัดถ้ำทอง ต.ชอนเดื่อ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ >>
หล่วงพ่อทอง วัดทุ่งสามัคคีธรรม อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี>>
หล่วงพ่อทอง วัดป่ากอ จ.สงขลา>>
หล่วงพ่อทอง วัดราชโยธา แต่เผาท่านครับ กรุงเทพฯ>>
หล่วงพ่อทองทิพย์ วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์ จ.หนองคาย >>
หลวงพ่อทองใบ วัดคลองมะดัน(วัดเดียวกับหลวงพ่อโหน่ง) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี>>
หลวงพ่อทองใบ วัดอบทม อำเภอวิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง>>
หล่วงพ่อนพ ภูวริ วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ>>
หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม>>
หล่วงพ่อน้อย วัดบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่>>
หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะฯ จ.กาญจนบุรี>>
หล่วงพ่อนำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง>>
หลวงพ่อนิพนธ์ อัตถกาโม วัดจั่นเจริญศรี อ.สรรค์บุรี จ.ชัยนาท>>
หล่วงพ่อนิล อิสสโร วัดครบุรี จ.นครราชสีมา>>
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม>>
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี>>
หลวงพ่อบุญเหลือ วัดเขาตะกร้าทอง จ.ลพบุรี>>
หล่วงพ่อบุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงหบุรี>>
หล่วงพ่อแบน วัดมโนธรรมการาม(วัดนางโน) จ.กาญจนบุรี>>
หลวงพ่อใบ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี >>
หล่วงพ่อปัญญา คันธิโย วัดนาคตหลวง อ.แม่ทะ จ.ลำปาง>>
>>หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
หลวงพ่อเปียกวัดนาสร้าง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร>>
หล่วงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์>>
หลวงพ่อพรหม วัดนาราเจริญสุข อ.เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี>>
หล่วงพ่อพรหมมา สำนักสวนหินผานางคอย จ.อุบลราชธานี>>
หลวงพ่อพัฒน์ นารโท วัดพัฒนาราม(ใหม่บ้านดอน) อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี >>
หลวงพ่อพันธ์ วัดบางสะพาน อ.วังทอง จ.พิษณุโลก>>
หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ >>
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสารวัล จ.นครราชสีมา>>
หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม>>
หล่วงพ่อเพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม>>
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี>>
หล่วงพ่อโพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมน กรุงเทพฯ>>
หลวงพ่อเภา วัดเขาวงกต อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี>>
หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ อ.สามชุก จ. สุพรรณบุรี>>
หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ จ.นครศรีธรรมราช>>
หล่วงพ่อเมฆ วัดป่าขวางปางพระเลไลย์ อ.สิงหนคร จ.สงขลา>>
หล่วงพ่อเมฆ วัดลำกระดาน นนทบุรี>>
หลวงพ่อเม้ย วัดราชเมธีงกร ราชบุรี ไม่เน่า แต่เผ่า>>
หลวงพ่อยวง วัดทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ >>
หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง จ.พิษณุโลก ไม่รู้เผาไปหรือยัง>>
หล่วงพ่อเย็น วัดสระเปรียญ จ.ชัยนาท>>
หลวงพ่อเริ่ม ปรโม วัดจุกกะเฌอ ศรีราชา จ.ชลบุรี>>
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี>>
หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ>>
หลวงพ่อวงศ์ วัดปริวาส กรุงเทพฯ>>
หล่วงพ่อวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน>>
หลวงพ่อวัด ประชาโฆษิตาราม จ.สมุทรสาคร>>
หล่วงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร>>
หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง/วัดบ้านหม้อ>>
หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ>>
หล่วงพ่อสด วัดโพธิ์แดงใต้ อยุธยา>>
หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ จ.นครสวรรค์>>
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดถ้ำแฝด จ.กาญจนบุรี>>
หลวงพ่อสาย วัดจันทร์เจริญสุข สมุทรสงคราม>>
หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี>>
หล่วงพ่อสาย วัดบางรักใหญ่ บางบัวทอง นนทบุรี>>
หล่วงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง จ.สมุทรสาคร >>
หล่วงพ่อสิงห์ วัดแก้วโกรวาราม จังหวัดกระบี่>>
หล่วงพ่อสี วัดถ้ำเขาบุนนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ >>
หล่วงพ่อสืบ อนุจาโร วัดกุฎีทอง ต.พิตเพียน อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา >>
หล่วงพ่อสุวัฒ วัดศรีทวีป จ.สุราษฏร์ธานี >>
หล่วงพ่อเสน อาจารย์ของหลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน อยุธยา นั่งมรณะที่ถ้ำสระบุรี ศพไม่เน่า พอนำศพท่านเผา เส้นผมกลายเป็นทองคำ >>
หล่วงพ่อไสย์ วัดเทพเจริญ จ.ชุมพร>>
หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม นครปฐม>>
หล่วงพ่อหมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน จ.ศรีสะเกษ>>
หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ>>
หล่วงพ่อหล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่>>
หล่วงพ่อหิน อาโสโก วัดหนองนา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี>>
หล่วงพ่อเหมือน วัดคลองทรายใต้ จ.สระแก้ว>>
หลวงพ่อแหวง วัดคึกคัก จังหวัดพังงา>>
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อยุธยา แต่ลูกศิษย์ดันเผาครับ>>
หล่วงพ่อโหพัฒน์ โรงเจชุ่นเทียนติ้ว หลังตลาดท่าเรือ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี>>
หล่วงพ่ออิง อายุ118ปี สำนักปฏิบัติธรรมคงคำโคกทม จ.บุรีรัมย์>>
หล่วงพ่ออิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง - วัดทุ่งปุย อายุ 101 ปี จ.เชียงใหม่>>
หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงส์ จ.นครสวรรค์>>
หลวงพ่อแอ๋ว วัดหัวเมือง จังหวัดอุทัยธานี>>
หลวงพ่อโอ๊ด วัดโกสินาราย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี>>
หลวงพ่ออุตตมะ (พระราชอุดมมงคล) อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี>>

เฉพาะในยุคปัจจุบันนะครับ แล้วยังมีอีกนะครับที่ผมไม่ทราบ

44
อวสานแห่งศาสนาทั้งปวง

--------------------------------------------------------------------------------

http://thai.mindcyber.com/modules.ph...iewtopic&t=142

::: อวสานแห่งศาสนาทั้งปวง :::
พี่น้องที่รักทุกท่าน เชื่อว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้ที่นับถือศาสนา ไม่ว่า จะนับถือศาสนาเดียว หรือ หลายศาสนา
น้อยคนนัก ที่มิได้นับถือศาสนาใดๆ

แต่ท่านเชื่อหรือไม่ว่าในวันนี้ ในยุคนนี้ ศาสนาทั้งหลาย ที่ ผู้คน ต่าง นับถือ ปฏิบัติตาม กันนั้น ได้หมด วาระหรือ หมดยุคแล้ว
นั้น หมายถึง การนับถือ ศาสนาใดๆก็ตามไม่สามารถ นำพามนุษย์ ไปสู่ความรอดพ้น หรือการหลุดพ้น
หรือความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ของแต่ละศาสนาได้เลย

จุดมุ่งหมาย หรือ เป้าหมาย ของแต่ละศาสนา หากจะมองอย่างผิวเผิน อาจเห็นว่า แตกต่างกันแต่หาก พิจารณา ให้ละเอียด ลึกซึ้ง จะพบว่า ศาสดาทั้งหลายที่สอนผู้คนในแต่ละยุค มีจุดมุ่งหมายที่จะนำพามนุษย์ ไปสู่จุดหมายเดียวกัน
แต่อาจจะเรียกแตกต่างกันเท่านั้น เช่น

- พุทธศาสนา สอนให้ผู้คนบรรลุวิมุติ หรือ นิพพาน

- ศาสนาพราหมณ์ สอนให้ผู้คน บรรลุ โมกษะ หรือ เป็น หนึ่งเดียว กับ พรหม

- ศาสนาคริสต์สอนให้ ผู้คน ได้รับชีวิต นิรันด์ อยู่กับ พระเจ้า

- ศาสนาอิสลาม สอนให้ผู้คน ศรัทธา และ ปฏิบัติ เพื่อจะได้รับสวรรค์ ณ พระผู้เป็นเจ้า

- ศาสนาเต๋า สอนให้ผู้คน เป็นหนึ่งเดียวกับ เต๋า

เหล่านี้เป็นต้น

แม้ว่าการบรรลุ ชั้นสูงสุด ของแต่ละศาสนา จะเรียกแตกต่างกันไป แต่โดยความจริง แล้ว คือ จุดอันเดียวกันคือ สิ่งสูงสุด
ซึ่ง

พุทธ เรียกว่า "ธรรม" แปลว่า "ความจริงแท้"
พราหมณ์ เรียกว่า "พรหม" แปลว่า "สิ่งที่ยิ่งใหญ่ ที่สุด"
คริสต์ เรียกว่า "ยะโฮวา" และ "เอลลา" หมายถึง "พระเจ้า"
อิสลามเรียกว่า "อัลลอฮ" แปลว่า "พระผู้เป็นเจ้า"

ในความจริง สิ่งสูงสุด ดังกล่าวนี้ เป็น อันเดียวกัน กล่าวคือ คำว่า "พุทธ" แปลว่า "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน"
หมายถึงผู้รู้ใน "ธรรม" คำว่า "ธรรม" แปลว่า "ความจริง" ตรงกับ ภาษา อาหรับ คือ คำว่า "อัลฮัก" คำว่า "อัลฮัก" เป็นนามหนึ่ง ของ "อัลลอฮ" คำว่า "อัลลอฮ" แปลว่า "พระผู้เป็นเจ้า" ตรงกับ ภาษา ฮิบรู ที่เรียกว่า "เอลลา" และ "ยะโฮวา"

คำว่า "ยะโฮวา" หมายถึง "พระเจ้า"
คำว่า "พระเจ้า" เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับ คำว่า "พรหม"
คำว่า "พรหม" มาจากคำว่า "ปรมาตมัน" แปลว่า "ตัวตนที่ยิ่งใหญ่"
เป็นคำ ผสม ระหว่าง คำว่า ปรมะ + อาตมัน
คำว่า ปรมะ(ปรม) หรือ บรมะ(บรม) หรือ พรมะ แปลว่า "ใหญ่" หรือ "ยิ่งใหญ่ เกรียงไกร"
ภาษาไทย เรียก ว่า "พระ" แปลว่า "ยิ่งใหญ่"
คำว่า "อาตมัน" หรือ "อัตตา" แปลว่า "ตัวตน"
ดังนั้น คำว่า "พระเจ้า" มาจาก คำว่า พระ + เจ้า
คำว่า พรหม มาจาก พรมะ + อัตตา
คำว่า พระเจ้า หมายถึง ผู้ที่เป็นเจ้าที่ยิ่งใหญ่
คำว่า พรหม หมายถึง ผู้ที่ยิ่งใหญ่
คำว่า พระเจ้า ตรง กับ ภาษาอาหรับ คือ คำว่า อิลาฮ
คำว่า พระเจ้าองค์เดียวนั้น ตรงกับ ภาษาอาหรับ คือ คำว่า อัลลอฮ


อัลลอฮ นั้นมีนามอยู่ มากมาย ตามคำสอน ของท่านศาสดามุฮัมหมัด และนามหนึ่งของ อัลลอฮ คือ คำว่า "อัลอาลีม" แปลว่า ผู้ทรงรู้อย่างมากมายตรงภาษาบาลีสันสกฤต คือ คำว่า "บุดดา" หรือ "พุทธ" นั่นเองและอัลลอฮ มีนามอีกว่า "อัลอะซีม" แปลว่า "ผู้ทรงยิ่งใหญ่"ตรงกับภาษา บาลีสันสกฤต คือ คำว่า "พรหม"คำว่า บุดดา หรือ พุทธ ณ ที่นี้ มิได้หมายถึง ตัวบุคคลแต่หมายถึง ภาวะ ของบุคคลที่บรรลุ ถึง ธรรม หรือ บรรลุ อรหันต์ พระพุทธเจ้า ที่นิกาย เถรวาท ที่คนไทย ส่วนใหญ่นับถือนั้น มีนามว่า "สิทธัตถะ"ไม่ได้มีนามว่า "พุทธเจ้า" แต่เมื่อท่านสิทธัตถะ บรรลุ ถึง ธรรม จึงเรียกว่า บุดดา หรือ พุทธะ

คำว่า " พรหม " ก็ไม่ได้ หมายถึงตัวบุคคล แต่หมายถึงความจริง อันเป็นสิ่งสูงสุด อยู่ในสภาวะ วิญญาณ หมายถึง สิ่งที่ตรงข้ามกับ วัตถุ อันเป็น วิญญาณ สากล คือเป็นวิญญาณ ที่ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง (ตามคำภีร์ เวทันตะ หรือ อุปนิษัท อันเป็น รากฐาน ของพุทธศาสนา) ซึ่งตรงกับคำสอน ของพระเยซู ที่กล่าวว่า "พระเจ้า ทรงเป็๋น วิญญาณ"

คำว่า พระเจ้า , พรหม คือ ภาวะแห่งวิญญาณ สากล ซึ่งการบรรลุ ถึงนั้น คือ การบรรลุ ทางจิตวิญญาณ ผู้ที่บรรลุ ถึง พระเจ้า ถึงพรหม ถึงพุทธ จะเป็นผู้ที่รู้ ถึงแก่นธรรม เป็นผู้ที่ตื่น เป็นผู้ที่เบิกบานไร้ทุกข์ คือ นิพพาน เป็นผู้ที่ไม่ตายในทางจิตวิญญาณ จึงเป็นที่ได้รับชีวิตนิรันด์เป็นสภาพของผู้ที่อยู่ในสวรรค์ หรือ อาณาจักรแห่งพระเจ้า



แต่ พี่น้องที่รักทั้งหลาย เชื่อว่า ท่านทั้งหลาย คือ ผู้ที่นับถือศาสนา ใดศาสนาหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่ง และ ณ วันนี้ หากท่านนับถือ พุทธศาสนา อยากทราบว่า ศาสนาพุทธ นำท่านสู่ นิพพาน หรือยัง? หากท่านนับถือ คริสตศาสนา ศาสนาคริสต์ นำท่านสู่ อาณาจักรแห่งพระเจ้าอันเป็นชีวิตนิรันด์แล้ว หรือยัง? หากท่านนับถือ ศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลาม นำท่านสู่ สวรรค์ แล้ว หรือยัง? หากท่านนับถือ ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพราหมณ์ นำท่านสู่ โมกษะแห่งพรหม แล้ว หรือยัง?

คำตอบ คือ ยัง ! และไม่มีทางที่ศาสนาของท่าน จะนำท่านสู่เป้าหมาย ของศาสนาท่านได้อีกแล้ว

หากท่านว่าไม่จริง แล้วความจริง คือ ภิกษุสงฆ์ท่านใด ที่ บรรลุนิพพานแล้ว หากท่านเป็นฆราวาทท่านย่อมอยู่ ห่าง จากนิพพานอีกไกลโข แม้แต่ภิกษุสงฆ์ ยังไปไม่ถึง ผู้ที่กำลังเดินทาง แสวงหา(สงฆ์)ยังไปไม่ถึงแล้วผู้ที่อยู่กับที่ (ฆราวาท)จะไปถึง ได้อย่างไร

แต่ภาพที่ปรากฏในปัจจุบัน คือ ทั้งสงฆ์ และฆราวาท ยังเป็นผู้ที่ ครอบครอง ทรัพย์ เกียรติ อันมากมาย และยังอยู่ในกิเลส ซึ่งเป็นสิ่งที่กีดขวางการบรรลุนิพพานและสุดท้าย คือ การยึดอยู่กับ กลุ่ม , พวก, ลัทธิ , และชื่อของ ศาสนา ทั้งๆที่ พระพุทธองค์ ไม่ได้มาตั้งลัทธิ แต่มาบอกสัจธรรม ความจริง เท่านั้น

การบรรลุ ถึงแก่นธรรม คือ ต้องหลุดพ้นจาก ชื่อของ ศาสนา ลักษณะของพิธีกรรม, รูปแบบหรือ เครื่องหมายใด ๆ
ให้คงเหลือ ใว้แต่ ธรรม หรือ สัจจะ ความจริงเท่านั้น

คริสตศาสนา สอนให้ บรรลุ ถึง พระเจ้า ได้รับชีวิตนิรันด์ และอยู่ในอาณาจักรแห่งพระเจ้าในวันนี้ พี่น้อง ชาวคริสต์ท่านใดที่ได้รับชีวิตนิรันด์แล้ว และ อยู่ในอาณาจักรของพระเจ้าแล้ว ที่ปรากฏคือ คริสตศาสนาได้แตกแยก และเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จาก ชาวยุโรป หรือตะวันตก ทั้งที่เป็น แกนของคริสตศาสนามาเป็นเวลาอันยาวนาน

-ศาสนาอิสลาม-

สอนให้เชื่อและปฏิบัติ เพื่อสะสมผลบุญ เก็บเอาไว้รับผลในโลกหน้า โลกแห่งการตัดสินพิพากษา การกระทำ และหวังว่า จะได้เข้าสวรรค์ ตามที่พระเจ้าอัลลอฮ ทรงสัญญา เอาไว้ แต่ในคำภีร์ อัลกุรอาน ของศาสนาอิสลาม กลับไม่มีคำว่า "โลกหน้า" เลย แม้แต่ที่เดียว รวมทั้งวจนะ (ฮะดีษ) ของท่าน ศาสดามุฮัมหมัด ก็ไม่ได้กล่าวถึง คำว่า โลกหน้า แม้แต่ ครั้งเดียว

คำที่ ศาสนาอิสลามนำมาสอน ว่า โลกหน้า คือ คำว่า "เยามุลอาคิร" "เยามุลกิยามะห์" "ยามุล บะอษฺ" "อัลอาคิเราะห์" "เยามุลอาซีม" แต่ทั้งหมดนี้ไม่มีคำใด ที่มีความหมายว่า "โลกหน้า" แม้แต่ที่เดียว คำว่า โลกหน้า ในภาษาอาหรับ คือ คำว่า "อะลามุลกอดิม" คำ คำนี้ไม่มีอยู่ ทั้งใน กุรอาน และ วจนะ(ฮะดีษ) ของท่านศาสดามุฮัมหมัดเลย

แล้ว เหตุการณ์ ของ เยามุลอาคิร , กิยามะห์เกิดขึ้นที่ไหน ?
คำตอบ คือ อยู่ที่นี่ และตอนนี้แล้ว แต่ศาสนาอิสลาม ยังสอนให้รอคอย โลกหน้าทีไม่มีวันจะมาถึง และไม่มีอยู่ (เพราะไม่มีกล่าวไว้ ทั้งในกุรอาน และ ฮะดีษ)

คำว่า เยามุลอาคิร แปลว่า วัน , วาระ , หรือ ยุค สุดท้าย
คำว่า เยามุลกิยามะห์ แปลว่า วัน , วาระ ,ยุคแห่งการลุกขึ้น
คำว่า เยามุลบะษฺ แปลว่า วัน , วาระ , ยุค แห่งการฟื้น
คำว่า อัลอาคิเราะห์ แปลว่า สุดท้าย , ในที่สุด

และศาสนาอื่นๆทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ไม่สามารถนำพามนุษย์ ไปสู่เป้าหมายได้อีกแล้ว แม้ว่าจะพาไปได้บ้าง แต่เป็นเพียงรายบุคคล ที่มีเปอร์เซ็นต่ำจนไม่สามารถเห็นได้เลย เพราะเหตุใด คำตอบ คือ เพราะหมดวาระของ ศาสนาทั้งหลายแล้วนั่นเอง

หากมองผิวเผิน ถือว่า นี่คือการ ทำลาย ศาสนา แต่หากมองให้ละเอียดลึกซึ้ง จะพบว่า นี่คือ การ เชื่อ การศรัทธา ประจักษ์ และยืนยัน ใน สัจจา ของบรรดา ศาสดาทั้งหลาย

เพราะท่านศาสดาทั้งหลาย ได้บอกกล่าวไว้ ถึง วาระของ การสิ้นสุด รูปแบบคำสอน ของแต่ละท่าน
เนื่องจากเวลาที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ มิได้ หมาย ถึง สัจธรรม ที่นำมา จะหมดวาระ แต่หมายถึง คำสอนของแต่ละท่านนั้นเสื่อมลง จนไม่อาจ พบแก่นแท้ ดั้งเดิม ของแต่ละท่านได้อีกแล้ว เช่น

พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า อายุของพุทธกาลนั้น มี 5000 ปี และเมื่อ มาถึง กึ่งพุทธกาล คำสอนของพระพุทธองค์ จะเสื่อมลง จนผู้คนไม่สามารถจะพบ ความจริง หรือ สัจจะในคำสอน ของพระองค์ ได้อีกแล้ว

ข้อพิสูจน์ ก็คือ วิธีการ ที่ยังคงเหลืออยู่ไม่สามารถ นำพาผู้คนสู่เป้าหมาย คือ นิพพาน ได้อีกแล้ว (ตรงกันข้าม จะเห็นได้ว่าพี่น้องชาวพุทธ กลับกลายเป็นผู้งมงาย ไร้เหตุผลมากมายดาษดื่น) และจะมี พุทธ องค์ใหม่ มาสอนแทน เมื่อถึงตอนนั้น คือ กึ่งพุทธกาล ของ5000 ปี คือ 2500 ปีหลังจากพระพุทธองค์ ได้จากไป

-คริสตศาสนา-

สอนว่า เมื่อ พระเยซูจากไปแล้ว ในอนาคต ข้างหน้าพระองค์ จะกลับมาอีกครั้ง จะนำพาผู้คนไปสู่อาณาจักรแห่งพระเจ้าอีกครี้ง
ทำไม ที่พระคริสต์ จะกลับมาอีก คำตอบคือ เพราะคำสอนของท่านได้เสื่อมลงหมดแล้ว พระองค์ จึงต้องกลับมาสอนอีก ต้องกลับมานำผู้คนไปสู่อาณาจักรแห่งพระเจ้าอีกครั้ง หากคำสอนของพระองค์ยังไม่เสื่อมหากผู้คนสามารถเข้าสู่อาณาจักรของพระเจ้า ได้โดยไม่ต้องพึ่งพระองค์แล้ว ก็ไม่มีเหตุผลใดที่พระองค์ จะต้องกลับมาอีกครั้ง

-ศาสนาอิสลาม-

ท่านศาสดามุฮัมหมัด ได้กล่าวใว้อย่างชัดเจน ว่า คำสอนของท่านนั้น มีความถูกต้องและชัดเจน ในระยะเวลาอันสั้น เท่านั้น แล้วหลังจากนั้น คำสอนของท่านก็จะเสื่อมลง จนผู้คนไม่สามารถพบความจริง หรือบรรลุเป้าหมายได้อีกเลย

ท่านกล่าวไว้ว่า "ศตวรรษที่ดีที่สุด คือ ศตวรรษ ของฉัน และถัดไป และที่ถัดไป แล้วหลังจากนั้น ก็จะพบกับการฉ้อฉล และอธรรม ในกลุ่มที่นับถือ ตามแนวทางของฉัน"

นั่นหมายถึง ท่านศาสดามุฮัมหมัด ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน แล้วว่า แนวคำสอนของท่านนั้น จะเสื่อมลง ในเวลาไม่เกิน 3 ศตวรรษเท่านั้น แล้วหลังจากนั้น ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่า คำสอนที่นำมานั้นจะนำพาผู้คนไปสู่เป้าหมายได้อีกแล้ว

เช่น ผู้คน จะไม่รู้ ว่า "พระเจ้า หรือ อัลลอฮ นั้นอยู่ ณ วิญญาณ ของมนุษย์ (บุรุษ) เอง "(กุรอาน) ผู้คนจะไม่รู้ว่า นรกและสวรรค์ นั้น แท้จริงเป็น ปริศนา(มุตะชาบิฮาต) ผู้คนจะไม่รู้ว่า การฟื้นคืนชีพ ในยุคแห่งการ ฟื้น(วันกิยามะห์ ) นั้น แท้จริง คือการกลับมาเกิดใหม่ ในโลก ใบเดิม(กุรอาน) แต่ผู้คนจะแต่งเติมคำสอน และพิธีกรรม ทั้งหลาย(บิดอะห์)จนในที่สุด จะนำพามนุษย์ ไปสู่ความเดือดร้อน(อันนาร = นรก) (กุลลู บิดอะห์ ฎอลาละห์ กุลลู ฎอลาละห์ ฟินนารฺ =ทุกๆ คำสอนที่อุตริ นั้น จะทำให้หลง และทุกๆการหลง นั้นจะทำให้เดือดร้อน) และอุตริกรรม หรือ บิดอะห์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และไม่มีผู้ใดคาดคิด ว่า จะมี หรือ จะเกิด คือ
การตั้งชื่อ ศาสนา ให้กับคำสอนของ ท่านศาสดามุฮัมหมัด ว่า มีชื่อว่า "ศาสนาอิสลาม" คำคำนี้ ไม่มีอยู่ในคำภีร์ อัลกุรอาน เลยแม้แต่ที่เดียว คำว่า "ศาสนาอิสลาม" ภาษาอาหรับ เรียกว่า "ดีนุลอิสลาม" หรือ "ดีนุลอิสลามียะห์" คำนี้ไม่อยู่ในคำภีร์ อัลกุรอานเลยแม้แต่ที่เดียว ที่มีคือ คำว่า "อัลอิสลาม" แปลว่า "การยอมจำนน" มิได้เป็นชื่อของ ศาสนาเลย หากจะมีชื่อ ศาสนาในอัลกุรอานแล้ว ก็มีแต่คำว่า "ศาสนาแห่งพระเจ้า"(ดีนุลลอฮ) ,ศาสนาแห่งธรรม(ดีนุลฮัก), ศาสนาแห่งความเที่ยงตรง(ดีนุลก็อยยิมะห์) ส่วนคำว่า "ศาสนาอิสลาม" ไม่มีอยู่เลย



แล้วที่มีอยู่ นั้นมาจากไหน?

คำตอบ คือ มาจากปวงปราชญ์ (อุลามาอฺ)ที่มีขึ้น หลังจาก 3 ศตวรรษ ที่ท่านศาสดาได้จากไป นั่นหมายถึง ท่านได้บอกไว้ก่อนแล้วว่าคำสอนของท่านนั้นจะเสื่อมลง และเชื่อ ถือไม่ค่อยได้อีกต่อไป เพราะจะมีแต่การฉ้อฉลเกิดขึ้นมากมาย อาศัยคำสอนที่มีมาจากสมัย ของท่านเป็นที่อ้างอิง

เห็นได้ว่า ประวัติศาสตร์ ในช่วงนั้นเต็มไปด้วยการแก่งแย่งอำนาจ , ขยายอาณาเขต ล่า อาณานิคม แล้วใช้อำนาจ ในการควบคุม เรื่องราวของศาสนาโดยผู้ครองนคร(สุลต่าน/กาหลิบ)เป็นผู้ควบคุม บรรดาปราชญ์ ของศาสนา(อุลามาอฺ)ให้สอนและเผยแพร่ตามนโยบายของผู้ครองนครเท่านั้น หากผู้รู้ท่านใดไม่สนองตามนโยบายของผู้ปกครองแล้ว ผู้รู้ท่านนั้น จะต้องถูกลงโทษ อาจถึงขั้น ประหารชีวิต

นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประวัติ ศาสตร์ ของ "อิสลาม" นับตั้งแต่การจากไป ของท่านศาสดามุฮัมหมัด จนถึงปัจจุบัน

จึงเห็นได้ว่า คำสอน ของศาสดาทั้งหลายทั้งปวง ในปัจจุบันนั้น ไม่สามารถ นำพาผู้คนสู่ อุดมคติ หรือ เป้าหมายที่แท้จริง ของศาสนาทั้งหลายได้อีกแล้ว

ทั้งนี้ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ว่า หมดเวลา หมดวาระ หรือ หมดยุค ของคำสอน ตามวิธีการ ของแต่ละศาสนาแล้ว

และได้เสื่อมลงถึงขีดสุดในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ว่า ทั้งๆที่สอนว่า ศาสนาทั้งหลายนำพามนุษย์ ไปสู่ ความสุข ความดีงามความจำเริญ ทางจิตวิญญาณ

แต่จะเห็นได้ว่า สถานที่ใด ที่ผู้คนเคร่งครัด ศาสนาแล้วสถานที่นั้นจะเต็มไปด้วย ความยุ่งยาก ความกดดัน ความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และไม่สามารถเอาศาสนาหนึ่งศาสนาใด มาแก้ไข ปัญหาดังกล่าวได้เลย หากแต่ ถ้าเอาศาสนาใดมาแก้ไขแล้วก็เป็นการเพิ่มพูนปัญหาให้มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากทั้งโลก แม้แต่บ้านเมือง ของเรา(ประเทศไทย) ณ วันนี้เป็นตัวอย่างได้เป็นอย่างดี

แล้วทางรอดที่แท้จริง คือ อะไร ?

ตอบ.......

ที่กล่าวต่อไปนี้ เป็นการชี้แนะให้ท่านทั้งหลายได้คิด ได้พิจารณา ไตร่ตรองให้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญา ของท่านเพื่อจะเป็นทางรอดแห่งชีวิตของท่าน รวมไปถึงชุมชน สังคม บ้านเมือง ประเทศชาติ และทั้งโลกโดยรวม

นั่นคือ ท่านต้องเลิกการยึดติดอยู่กับลัทธิ , นิกาย , ชื่อของศาสนา , กลุ่มของคำว่าศาสนาหนึ่ง ศาสนาใด โดยถือว่า ไม่นับถือ ศาสนาใดๆ ทั้งสิ้น

แต่ .......
หันกลับคืนสู่ ความจริง , สู่ ธรรม ,สู่สัจจะ ,สู่พระผู้เป็นเจ้า อันเป็นแก่นแท้แต่เพียงหนึ่งเดียว

คือการถือ ว่า

- สิ่งสูงสุด คือ ธรรม หรือ พระผู้เป็นเจ้า (พรหม ,ยะโฮวา , อัลลอฮ ,เต๋า ,ก็อด (GOD), ตูฮัน ) เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น
- มนุษย์ทั้งผองในโลก เป็น พี่น้องกัน แม้ว่า จะแตกต่างกันในรูปลักษณ์ภายนอกเพียงใดก็ตาม
- แก่นแท้ของศาสดาทั้งหลาย สอนเรื่องเดียวกันต่างกันที่ ภาษา และพิธีกรรม ส่วนย่อยเท่านั้น
- เครื่องหมาย หรือ สัญลักษณ์ ของศาสนาเป็นอุตริกรรม ทั้งสิ้น ซึ่งได้แก่
- ธรรมจักร , พระพุทธรูป มิได้เป็น คำสอนของพระพุทธองค์
- ไม้กางเขน มิได้เป็นคำสอนของ พระเยซูคริสต์
- ดาวเดือน , จันทร์เสี้ยว มิได้เป็นคำสอน ของท่านศาสดามุฮัมหมัด
- คำว่า "พุทธศาสนา" ไม่มีใน พระไตรปิฎก
- คำว่า "ศาสนาคริสต์" ไม่มีในคำภีร์ ไบเบิล
- คำว่า "ศาสนาอิสลาม"ไม่มีในคำภีร์ อัลกุรอาน
- ศาสดาทั้งหลาย สอนว่า "ศาสนาของท่านเหล่านั้น เรียกว่า "ศาสนาแห่งธรรม หรือ ศาสนาแห่งความจริง"
- ศาสดาทั้งหลาย ยอมรับ ศาสดาท่านอื่นว่า เป็น ศาสดาเช่นเดียวกับตน และอยู่ใน ศาสนาเดียวกับ ตน
คือ "ศาสนาแห่งความจริง"

รายละเอียด ในเรื่องดังกล่าว ยังมีอีกมาก

สิ่งที่พอ จะสรุปให้เห็นได้ก็ คือ

ศาสนาทั้งหลายได้ถึงจุดเสื่อม หรือ จุดอวสานแล้ว ผู้ที่ยังนับ ถือ ศาสนา โดยหลับหูหลับตา ไม่ยอมมองโลกแห่ง ความจริง และไม่พิจารณา ด้วย ปัญญา ให้ประจักษ์ แน่นอนที่สุด เขาย่อมอยู่ในความยุ่งยากลำบาก และไม่สามารถ หาทางออกให้กับ ชีวิตได้ อย่างเบ็ดเสร็ด และจะเป็นการก่อเกิด กระบวนการทางสังคม ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคต หรือ แม้แต่ปัจจุบัน

แต่หากทุกคน ถอยห่างออกจากจุดยืน ของตนที่ถูกครอบครองโดย ระบบ ของลัทธิ หรือ ศาสนา มาอยู่ข้างนอก แล้วมองกลับไปอีกที จากมุมมองที่อยู่นอก ศาสนา นอกลัทธิ ทุกลัทธิ ศาสนา แล้วแสวงหาความจริง อันเป็นสัจจะ ของทุกศาสนา มาพิจารณาโดยปราศจาก ความลำเอียง หรือ อคติใดๆแล้ว

ก็จะพบทางออกที่ดีขึ้น กว่าที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน ซึ่งกำลังมืดมน ไม่สามารถ นำพาตน สังคมของตนไปสู่เป้าหมายแห่งชีวิตได้ อย่างแท้จริง ตามที่ตนคาดหวังไว้ ว่าจะได้รับจากลัทธิหรือ ศาสนาของตน

กลับมาสู่ร่มธงอันเดียวกัน คือ

พระเจ้าองค์เดียวกัน
ความเป็นพี่น้องกัน ของมนุษยชาติ
เลิกการอคติ และการดูแคลนผู้อื่น
เลิกการแบ่งแยกลัทธิ ศาสนา
มาแสวงหาความจริง ด้วยความบริสุทธิ์ใจ มอบความรัก ต่อ พี่น้องของตน คือ มนุษย์ทั้งมวล
ด้วยความเมตตา(เราะห์มาน) คือ มอบความสุข หรือสิ่งที่ดี แก่ผู้อื่น
ด้วยความกรุณา(รอฮีม) คือปลดเปลื้องความทุกข์ให้กับผู้อื่น
ด้วยมุทิตา(ริฎอ)คือ ความยินดีปรีดา ต่อผู้อื่น
และด้วยอุเบกขา(ตะวักกกัล) คือการปล่อยวาง ไม่ลำเอียง ไม่อคติ
แล้วท่านจะพบว่า โลกแห่งอุดมคติ อยู่ใกล้ แค่เอื้อม
ศาสนาและลัทธิ ทั้งหลาย ได้ หมดสภาพไปแล้ว
คงเหลือ ไว้แต่สัจจะ ความจริง หรือ ธรรม
อันเป็นแก่นแท้ แห่งพระผู้เป็นเจ้า ที่จะนำพาเหล่ามวลมนุษย์ สู่จุดหมายแห่งชีวิต
สู่อุดมคติ ที่ทุกคน คาดหวัง และใฝ่ฝัน ไปได้ชั่วนิจนิรันด์

45
อยากรู้ละซิ

คำตอบ ท้าวพันตา นั่นนะสิ

อิอิ
เเล้วคุณคิดว่าเทพคนไหน เป็นคนกำหนดเลขลอตเตอรี่

46
ผลการศึกษาของนักโบราณคดีออสเตรเลีย ทำให้เชื่อว่า อารยธรรมอาณาจักรเมืองพระนคร หรือ นครวัด (Angkor Wat) ได้ล่มสลายไปอย่างไร้ร่องรอย เนื่องมาจากดินฟ้าอากาศวิปริต และภัยแล้ง ไม่ได้ล่มเพราะการรุกรานของ ?พวกสยาม? อย่างที่เคยเชื่อกัน

เชื่อกันว่า อาณาจักรนครวัด ที่เคยเป็นศูนย์กลางของดินแดนโบราณที่เป็นประเทศกัมพูชา ในปัจจุบัน จะเคยมีประชากรราว 700,000 คน เคยเป็นราชธานี ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 15 (ประมาณปี พ.ศ.1443) และล่มสลายไปอย่างน่าฉงนเมื่อประมาณ 500 ปีก่อน

นักโบราณคดีเชื่อกันมาเป็นเวลานาน ว่า อาณาจักรเขมรโบราณนั้น ถูกกองทัพสยามจากดินแดนประเทศไทย ในปัจจุบันเข้ารุกราน ปล้นสะดม ทำลายลงจนราบคาบ แต่ทีมนักโบราณคดีมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ได้ศึกษา และเชื่อว่า ปัญหาน้ำดื่มน้ำใช้ต่างหากที่ทำให้คนอยู่ไม่ได้ จนทำให้ทั้งอาณาจักรพังทลายในที่สุด

?บัดนี้ได้ปรากฏว่า เมืองพระนคร ถูกทิ้งให้รกร้างในช่วงที่กำลังเปลี่ยนจากยุคที่อากาศอบอุ่นไปเป็นยุคน้ำแข็งช่วงสั้นๆ? ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรแลนด์ เฟล็ทเชอร์ (Roland Fletcher) แห่งคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยซิดนีย์ กล่าวในรายงานฉบับหนึ่งที่มหาวิทยาลัยตีพิมพ์เผยแพร่ในสัปดาห์นี้

ผศ.เฟล็ทเชอร์ กล่าวว่า กลุ่มผู้ปกครองในยุคโน้นได้พยายามอย่างยิ่งในการหาน้ำให้ประชากร 700,000 คน ได้ดื่มได้กิน การค้นพบแนวกั้นน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง ที่ใช้ในการควบคุมปริมาณน้ำภายในอาณาบริเวณราชอาณาจักร อาจจะช่วยยืนยันได้ว่า ระบบการจัดหาน้ำได้กลายเป็นสิ่งจำเป็น ในขณะที่น้ำตามธรรมชาติเริ่มเริ่มเหือดหาย
นักโบราณคดีผู้นี้ไม่ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับ ?แนวกั้นน้ำขนาดใหญ่? ว่าหมายถึงอะไร แต่ในเขตนครวัดกับอาณาบริเวณใกล้เคียง มีบึงน้ำขนาดใหญ่ที่ปรากฏเด่นชัดมาจนถึงทุกวันนี้ก็คือ บาราย (Baray) กับ สระสาง (Srah Sang)

ศาสตราจารย์เฟล็ทเชอร์ กล่าวอีกว่า ข้อสรุปนี้เป็นการสนับสนุนผลการศึกษาของทีมงานที่เข้าไปศึกษาก่อนหน้านี้ และ พบว่านครวัดถูกทิ้งเมื่อภาวะของมรสุมได้เปลี่ยนไปทำให้ชุมชนขนาดใหญ่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้อีก

เมื่อปี 2547 เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่แนวคิดเรื่อง ?ภัยแล้ง? นี้ จากการศึกษาผ่านภาพถ่ายดาวเทียม ที่แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางธรณีศาสตร์ของดินแดนที่เคยเป็นอาณาจักรนครวัดอันรุ่งโรจน์ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือ

สาเหตุที่ทำให้นักประวัติศาสตร์กับนักโบราณคดี เชื่อกันว่า อาณาจักรนครวัดล่มสลายไปเพราะถูกกองทัพจากดินแดนสยามรุกรานนั้นก็เนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ร่วมยุคสมัยเดียวกันหรือใกล้เคียงกันนั้น ไม่มีอาณาจักรอื่นใดอีกที่จะมีพลังอำนาจพอที่จะต่อกรกับอาณาจักรนครวัด


47
คำปราศรัยผู้มา

เพื่อนสหธรรมิกและท่านสาธุชน ผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย.

อาตมา ขอแสดงความยินดี และขอขอบคุณพร้อมกันไปในตัว ในการมาของท่านทั้งหลาย สู่สถานที่นี้ในลักษณะนี้ ด้วยความหวังดี. สำหรับอาตมาปีนี้ ประจวบเหมาะไม่ค่อยสบาย; คุณหมอทั้งหลาย ขอร้องว่าอย่างทำอะไร ให้นอนนิ่งๆ ตลอดวันตลอดคืน ติดต่อกันไปสัก ๒ เดือน ก็อาจจะหายจากโรคที่เป็นอยู่นี้ได้ แต่แล้วอาตมาก็ต้องขออภัย ดื้อหมอมาพบกับท่านทั้งหลาย ก็เห็นอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร, ที่ดื้อมานี่หมอก็เกรงใจ อาตมาก็เลยดื้อได้ เดี๋ยวนี้ ความดันโลหิต ๒๐๐ กับ ๑๐๐ เรียกว่า เกือบไม่มีแรงจะพูด, แต่ด้วยความขอบคุณในท่านทั้งหลาย ก็อุตส่าห์มาพูดจนได้.

ในฐานะที่เป็นพุทธทาส

ยิ่งกว่านั้นก็คือว่า อาตมาเป็นพุทธทาส ดังนั้น จึงต้องทำสนองพระพุทธประสงค์ทุกอย่าง, ก็เลยขอบอกให้ทราบว่า พระพุทธองค์นั้น ทรงทำหน้าที่ของพระองค์ อย่างที่เรียกว่า จนวินาทีสุดท้าย คือ นิพพาน. บางคนก็ทราบเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว ว่ากำลังจะปรินิพพานอยู่หยกๆ แล้ว ก็ยังมีปริพาชกในลัทธิอื่นเข้ามาขอเฝ้าเพื่อศึกษาธรรมะ. พระสงฆ์ทั้งหลายก็ไล่ออกไปว่า อย่ามากวนๆ พระพุทธองค์ทรงป่วยหนักแล้ว. พระพุทธเจ้าทรงได้ยินเสียงไล่คนนั้นให้ออกไป ท่านตรัสว่า อย่าไล่ๆ แล้วก็เรียกให้เข้ามา. เขาได้ทูลถามปัญหาได้ศึกษาธรรมะในโอกาสอันสั้นนั้น จนบรรลุธรรมวิเศษ, อีกไม่กี่นาทีต่อมา ก็มีการปรินิพพาน. ขอให้นึกถึงข้อนี้กันบ้าง ว่าพระพุทธองค์ทรงทำหน้าที่ของท่านจนวินาทีสุดท้ายเช่นนี้, อาตมาเป็นทาสของพระพุทธองค์ ก็ต้องถือเป็นหลักปฏิบัติตาม, ถ้ามันจะเป็นอะไรก็ขอให้มันเป็นไป เพื่อจะได้ทำหน้าที่จนวินาทีสุดท้ายด้วยเหมือนกัน. นี่ขอให้ทราบข้อเท็จจริงว่าเดี๋ยวนี้อยู่ในสภาพที่หมอห้ามพูด ก็ยังไม่ฟัง จะมาพูดให้จนได้.

เพชรในพระพุทธศาสนา

อาตมา ขอเรียกธรรมะที่กล่าวในวันนี้ว่า "ของขวัญในวันล้ออายุปี ๒๕๒๘". ของขวัญที่กล่าวนี้คือเสรีภาพอันสูงสุด ในการที่จะรับและนับถือธรรมะประจำชีวิตของตน. ขอให้ทุกคนได้รับของขวัญอันนี้คือมีเสรีภาพในการที่จะรับถือธรรมะ มาเป็นที่พึ่งของตน. เสรีภาพเช่นนี้ของเรียกว่า "เพชรในพระพุทธศาสนา", และขอมอบให้ทั้งสิ่งที่เป็นเครื่องมือสำหรับขุดเพชร กล่าวคือ เสรีภาพในการพิจารณา เลือกเฟ้นข้อผิดถูก ในการที่จะรับถือพระพุทธศาสนา นั่นเอง ดังที่จะได้กล่าวต่อไปตามลำดับ.

 


48
บทความ บทกวี / อานาปานสติ
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:50:43 »
(สำหรับคนทั่วไป อย่างง่าย ขั้นต้นๆ เพื่อรู้จักไว้ทีก่อน)
ในกรณีปรกติ ให้นั่งตัวตรง (ข้อกระดูกสันหลัง จดกันสนิท  เต็มหน้าตัด ของมันทุกๆ ข้อ) ศีรษะตั้งตรง ตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่ง จนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นอะไรหรือไม่เห็น ก็ตามใจ ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้า ก็จะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนให้ง่วงนอน ได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะ คนขึ้ง่วง ให้ทำอย่าง ลืมตานี้ แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับ ของมันเอง ในเมื่อถึงขั้นที่ มันจะต้องหลับตา หรือจะหัดทำ อย่างหลับตาเสีย ตั้งแต่ต้น ก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้น จะมีผลดีกว่า หลายอย่าง แต่ว่า สำหรับบางคน รู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะ พวกที่ยึดถือ ในการหลับตา ย่อมไม่สามารถ ทำอย่างลืมตา ได้เลย มือปล่อยวาง ไว้บนตัก ซ้อนกัน ตามสบาย ขาขัด หรือ ซ้อนกัน โดยวิธีที่จะ ช่วยยัน น้ำหนักตัว ให้นั่งได้ถนัด และล้มยาก ขาขัด อย่างซ้อนกัน ธรรมดา หรือ จะขัดไขว้กัน นั่นแล้วแต่ จะชอบ หรือ ทำได้ คนอ้วนจะขัดขา ไขว้กันอย่างที่ เรียกขัดสมาธิเพชร นั้น ทำได้ยาก และ ไม่จำเป็น แต่ขอให้นั่งคู้ขามา เพื่อรับน้ำหนักตัว ให้สมดุลย์ ล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิ อย่างเอาจริง เอาจัง ยากๆ แบบต่างๆ นั้น ไว้สำหรับ เมื่อจะเอาจริง อย่างโยคี เถิด

ในกรณีพิเศษ สำหรับคนป่วย คนไม่ค่อยสบาย หรือ แม้แต่ คนเหนื่อย จะนั่งอิง หรือ นั่งเก้าอี้ หรือ เก้าอี้ผ้าใบ สำหรับเอนทอด เล็กน้อย หรือ นอนเลย สำหรับคนเจ็บไข้ ก็ทำได้ ทำในที่ ไม่อับอากาศ หายใจได้สบาย ไม่มีอะไรกวน จนเกินไป เสียงอึกทึก ที่ดังสม่ำเสมอ และ ไม่มีความหมาย อะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงาน เหล่านี้ ไม่เป็นอุปสรรค (เว้นแต่ จะไป ยึดถือเอาว่า เป็นอุปสรรค เสียเอง) เสียงที่มี ความหมายต่างๆ (เช่น เสียงคนพูดกัน) นั้นเป็นอุปสรรค แก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียง ไม่ได้ ก็ให้ถือว่า ไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไป ก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง

ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ ก็สามารถ รวมความนึก หรือ ความรู้สึก หรือ เรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนด จับอยู่ที่ ลมหายใจ เข้าออก ของตัวเองได้ (คนที่ชอบหลับตา ก็หลับตาแล้ว ตั้งแต่ตอนนี้) คนชอบลืมตา ลืมไปได้เรื่อย จนมันค่อยๆ หลับของมันเอง เมื่อเป็นสมาธิ มากขึ้นๆ เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในชั้นแรกหัด ให้พยายาม หายใจ ให้ยาวที่สุด ที่จะยาวได้ ด้วยการฝืน ทั้งเข้า และ ออก หลายๆ ครั้งเสียก่อน เพื่อจะได้รู้ของตัวเอง ให้ชัดเจนว่า ลมหายใจ ที่มันลาก เข้าออก เป็นทาง อยู่ภายในนั้น มันลาก ถูก หรือ กระทบ อะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่า สุดลง ที่ตรงไหน ที่ในท้อง (โดยเอาความรู้สึก ที่กระเทือน นั้น เป็นเกณฑ์ ไม่ต้อง เอาความจริง เป็นเกณฑ์) พอเป็นเครื่องกำหนด ส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้ คนธรรมดา จะรู้สึกลมหายใจ กระทบปลาย จะงอยจมูก ให้ถือเอา ตรงนั้น เป็นที่สุดข้างนอก (ถ้าคนจมูกแฟบ หน้าหัก ริมฝีปากเชิด ลมจะกระทบ ปลายริมฝีปากบน อย่างนี้ ก็ให้กำหนด เอาที่ตรงนั้น ว่าเป็นที่สุดข้างนอก) แล้วก็จะได้ จุดทั้งข้างนอก และข้างใน โดยกำหนดเอาว่า ที่ปลายจมูก จุดหนึ่ง ที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจ ได้ลากตัวมันเอง ไปมา อยู่ระหว่าง จุดสองจุด นี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ ทีนี้ ทำใจของเรา ให้เป็นเหมือน อะไรที่คอย วิ่งตามลมนั้น ไม่ยอมพราก ทุกครั้ง ที่หายใจทั้งขึ้น และลง ตลอดเวลา ที่ทำสมาธินี้ นี้จัดเป็นขั้นหนึ่ง ของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา"

กล่าวมาแล้ว่า เริ่มต้นทีเดียว ให้พยายามฝืนหายใจให้ยาวที่สุด และให้แรงๆ และหยาบที่สุด หลายๆ ครั้ง เพื่อให้พบจุดหัวท้าย แล้วพบเส้นที่ลาก อยู่ตรงกลางๆ ได้ชัดเจน เมื่อจิต(หรือสติ) จับหรือ กำหนดตัวลมหายใจ ทึ่เข้าๆ ออกๆ ได้ โดยทำความรู้สึก ที่ๆ ลมมันกระทบ ลากไป แล้วไปสุดลง ที่ตรงไหน แล้วจึงกลับเข้า หรือ กลับออก ก็ตาม ดังนี้แล้ว ก็ค่อยๆ ผ่อน ให้การหายใจนั้น ค่อยๆ เปลี่ยน เป็นหายใจอย่างธรรมดา โดยไม่ต้องฝืน แต่สตินั้น คงที่กำหนดที่ ลมได้ตลอดเวลา ตลอดสาย เช่นเดียวกับเมื่อ แกล้งหายใจหยาบๆ แรงนั้นเหมือนกัน คือกำหนด ได้ตลอดสาย ที่ลมผ่าน จากจุดข้างใน คือ สะดือ (หรือท้องส่วนล่างก็ตาม) ถึงจุดข้างนอก คือ ปลายจมูก (หรือ ปลายริมฝีปากบน แล้วแต่กรณี) ลมหายใจ จะละเอียด หรือ แผ่วลงอย่างไร สติก็คงกำหนด ได้ชัดเจน อยู่เสมอไป โดยให้การกำหนด นั้น ประณีต ละเอียด เข้าตามส่วน ถ้าเผอิญเป็นว่า เกิดกำหนดไม่ได้ เพราะลมละเอียดเกินไป ก็ให้ตั้งต้นหายใจ ให้หยาบ หรือ แรงกันใหม่ (แม้จะไม่เท่าทีแรก ก็เอาพอให้กำหนด ได้ชัดเจน ก็แล้วกัน) กำหนดกันไปใหม่ จนให้มีสติ รู้สึก อยู่ที่ ลมหายใจ ไม่มีขาดตอน ให้จนได้ คือ จนกระทั่ง หายใจอยู่ตามธรรมดา ไม่มีฝืนอะไร ก็กำหนดได้ตลอด มันยาว หรือสั้นแค่ไหน ก็รู้ มันหนัก หรือเบาเพียงไหน มันก็รู้พร้อม อยู่ในนั้น เพราะสติ เพียงแต่คอยเกาะแจอยู่ ติดตามไปมา อยู่กับลม ตลอดเวลา ทำได้อย่างนี้ เรียกว่า ทำการบริกรรม ในขั้น "วิ่งตามไปกับลม" ได้สำเร็จ การทำไม่สำเร็จนั้น คือ สติ (หรือความนึก) ไม่อยู่กับลม ตลอดเวลา เผลอเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ มันหนีไปอยู่ บ้านช่อง เรือกสวนไร่นา เสียเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ มารู้เมื่อ มันไปแล้ว และก็ไม่รู้ว่า มันไปเมื่อไหร่ โดยอาการอย่างไร เป็นต้น พอรู้ ก็จับตัวมันมาใหม่ และฝึกกันไป กว่าจะได้ ในขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที เป็นอย่างน้อย แล้วจึงค่อยฝึกขั้นต่อไป

ขั้นต่อไป ซึ่งเรียกว่า บริกรรมขั้นที่สอง หรือ ขั้น "ดักดู อยู่แต่ ตรงที่แห่งใด แห่งหนึ่ง" นั้น จะทำต่อเมื่อ ทำขั้นแรก ข้างต้นได้แล้ว เป็นดีที่สุด (หรือใคร จะสามารถ ข้ามมาทำขั้นที่สอง นี้ได้เลย ก็ไม่ว่า) ในขั้นนี้ จะให้สติ (หรือความนึก) คอยดักกำหนด อยู่ตรงที่ใด แห่งหนึ่ง โดยเลิก การวิ่งตามลมเสีย ให้กำหนดความรู้สึก เมื่อลมหายใจ เข้าไปถึง ที่สุดข้างใน (คือสะดือ) ครั้งหนึ่ง แล้วปล่อยว่าง หรือวางเฉย แล้วมากำหนด รู้สึกกัน เมื่อลมออก มากระทบ ที่สุดข้างนอก (คือปลายจมูก) อีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ปล่อยว่าง หรือ วางเฉย จนมีการกระทบ ส่วนสุดข้างใน (คือสะดือ) อีก ทำนองนี้ เรื่อยไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเป็นขณะที่ปล่อยว่าง หรือ วางเฉย นั้น จิตก็ไม่ได้หนี ไปอยู่บ้านช่อง ไร่นา หรือที่ไหน เลยเหมือนกัน แปลว่า สติคอยกำหนด ที่ส่วนสุด ข้างในแห่งหนึ่ง ข้างนอกแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้น ปล่อยเงียบ หรือ ว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว ก็เลิกกำหนด ข้างในเสีย คงกำหนด แต่ข้างนอก คือที่ปลายจมูก แห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนด อยู่แต่ที่ จะงอยจมูก ไม่ว่าลมจะกระทบ เมื่อหายใจเข้า หรือเมื่อหายใจออก ก็ตาม ให้กำหนดรู้ ทุกครั้ง สมมติเรียกว่า เฝ้าแต่ตรงที่ ปากประตู ให้มีความรู้สึก ครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่าน นอกนั้น ว่าง หรือ เงียบ ระยะกลาง ที่ว่าง หรือ เงียบ นั้น จิตไม่ได้หนี ไปอยู่ที่บ้านช่อง หรือที่ไหน อีกเหมือนกัน ทำได้อย่างนี้ เรียกว่า ทำบริกรรมในขั้น "ดักอยู่แต่ ในที่แห่งหนึ่ง" นั้น ได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จ ก็ตรงที่จิตหนีไป เสียเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไป ในประตู หรือ เข้าประตูแล้ว ลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่าง หรือ เงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้อง และทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้น ของขั้นนี้ เพราะฉะนั้น ควรทำให้ดี หนักแน่น และแม่นยำ มาตั้งแต่ขั้นแรก คือ ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นั้นทีเดียว

แม้ขั้นต้นที่สุด หรือที่เรียกว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย สำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ ก็มีผลเกินคาดมาแล้ว ทั้งทางกายและทางใจ จึงควรทำให้ได้ และทำให้เสมอๆ จนเป็นของเล่น อย่างการบริหารกาย มีเวลา สองนาทีก็ทำ เริ่มหายใจ ให้แรงจนกระดูกลั่น ก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีด หรือ ซูดซาด ก็ได้ แล้วค่อยผ่อน ให้เบาไปๆ จนเข้า ระดับปรกติ ของมัน ตามธรรมดาที่คนเราหายใจ อยู่นั้น ไม่ใช่ระดับปรกติ แต่ว่า ต่ำกว่า หรือ น้อยกว่าปรกติ โดยไม่รู้สึกตัว โดยเฉพาะ เมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรือ อยู่ในอิริยาบถ ที่ไม่เป็นอิสระ นั้น ลมหายใจของตัวเอง อยู่ในลักษณะ ที่ต่ำกว่าปรกติ ที่ควรจะเป็น ทั้งที่ตนเอง ไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้น จึงให้เริ่มด้วย หายใจอย่างรุนแรง เสียก่อน แล้วจึงค่อยปล่อย ให้เป็นไป ตามปรกติ อย่างนี้ จะได้ลมหายใจ ที่เป็นสายกลาง หรือ พอดี และทำร่างกาย ให้อยู่ในสภาพ ปรกติด้วย เหมาะสำหรับ จะกำหนด เป็นนิมิต ของอานาปานสติ ในขั้นต้น นี้ด้วย ขอย้ำ อีกครั้งหนึ่งว่า การบริกรรมขั้นต้น ที่สุดนี้ ขอให้ทำ จนเป็นของเล่นปรกติ สำหรับทุกคน และทุกโอกาสเถิด จะมีประโยชน์ ในส่วนสุขภาพ ทั้งทางกาย และทางใจ อย่างยิ่ง แล้วจะเป็น บันได สำหรับขั้นที่สอง ต่อไปอีกด้วย

แท้จริง ความแตกต่างกัน ในระหว่างขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" กับขั้น "ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ" นั้น มีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่เป็นการ ผ่อนให้ประณีตเข้า คือ มีระยะ การกำหนดด้วยสติ น้อยเข้า แต่คงมีผล คือ จิตหนีไปไม่ได้ เท่ากัน เพื่อให้เข้าใจง่าย จะเปรียบกับ พี่เลี้ยง ไกวเปลเด็ก อยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรก จับเด็กใส่ลงในเปล แล้วเด็กมันยัง ไม่ง่วง ยังคอยจะดิ้น หรือ ลุกออกจากเปล ในขั้นนี้ พี่เลี้ยง จะต้องคอย จับตาดู แหงนหน้าไปมา ดูเปล ไม่ให้วางตาได้ ซ้ายที ขวาที อยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เด็ก มีโอกาสตกลงมา จากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอน คือ ไม่ค่อยดิ้นรนแล้ว พี่เลี้ยง ก็หมดความจำเป็น ที่จะต้อง แหงนหน้าไปมา ซ้ายทีขวาที ตามระยะ ที่เปลไกวไป ไกวมา พี่เลี้ยง คงเพียงแต่ มองเด็ก เมื่อเปลไกว มาตรงหน้าตน เท่านั้น ก็พอแล้ว มองแต่เพียง ครั้งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกว ไปมา ตรงหน้าตน พอดี เด็กก็ไม่มีโอกาส ลงจากเปล เหมือนกัน เพราะ เด็กชักจะยอมนอน ขึ้นมา ดังกล่าวมาแล้ว ระยะแรก ของการบริกรรม กำหนดลมหายใจ ในขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นี้ ก็เปรียบกันได้กับ ระยะที่พี่เลี้ยง ต้องคอยส่ายหน้า ไปมา ตามเปลที่ไกว ไม่ให้วางตาได้ ส่วนระยะที่สอง ที่กำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูก หรือที่เรียกว่า ขั้น "ดักอยู่ แห่งใดแห่งหนึ่ง" นั้น ก็คือ ขั้นที่ เด็กชักจะง่วง และยอมนอน จนพี่เลี้ยง จับตาดูเฉพาะ เมื่อเปลไกว มาตรงหน้าตน นั่นเอง

เมื่อฝึกหัด มาได้ถึง ขั้นที่สอง นี้อย่างเต็มที่ ก็อาจฝึกต่อไป ถึงขั้นที่ ผ่อนระยะการกำหนดของสติ ให้ประณีตเข้าๆ จนเกิดสมาธิ ชนิดที่แน่วแน่ เป็นลำดับไป จนถึงเป็นฌาณ ขั้นใด ขั้นหนึ่ง ได้ ซึ่งพ้นไปจาก สมาธิอย่างง่ายๆ ในขั้นต้นๆ สำหรับ คนธรรมดาทั่วไป และไม่สามารถ นำมากล่าว รวมกัน ไว้ในที่นี้ เพราะเป็นเรื่อง ที่ละเอียด รัดกุม มีหลักเกณฑ์ ซับซ้อน ต้องศึกษากัน เฉพาะผู้สนใจ ถึงขั้นนั้น

ในชั้นนี้ เพียงแต่ขอให้สนใจ ในขั้นมูลฐาน กันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็น ของเคยชิน เป็นธรรมดา อันอาจจะ ตะล่อมเข้าเป็น ชั้นสูงขึ้นไป ตามลำดับ ในภายหลัง ขอให้ ฆราวาสทั่วไป ได้มีโอกาส ทำสมาธิ ชนิดที่อาจทำ ประโยชน์ทั้ง ทางกาย และทางใจ สมความต้องการ ในขั้นต้น เสียชั้นหนึ่งก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้ชื่อว่า มีศีล สมาธิ ปัญญา ครบสามประการ หรือ มีความเป็น ผู้ประกอบตนอยู่ใน มรรคมีองค์แปดประการ ได้ครบถ้วน แม้ในขั้นต้น ก็ยังดีกว่า ไม่มีเป็นไหนๆ กายจะระงับ ลงไปกว่า ที่เป็นอยู่ ตามปรกติ ก็ด้วยการฝึกสมาธิ สูงขึ้นไป ตามลำดับๆ เท่านั้น และจะได้พบ "สิ่งที่มนุษย์ ควรจะได้พบ" อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ไม่เสียที ที่เกิดมา. 

 

หอสมุดธรรมทาน

๒๘ สิงหาคม ๒๔๙๑


49
คณะหนังสือพิมพ์ศานติสาสน์ มาขอให้ข้าพเจ้าช่วยเขียนเรื่องเป็นปฐมฤกษ์ให้แก่หนังสือพิมพ์ของตน. ในฐานะที่เราเป็นพวกใฝ่ศานติภาพด้วยกัน ข้าพเจ้าจึงยินดีรับและเขียนเรื่องนี้ ดังที่ปรากฏแก่ตาท่านทั้งหลายอยู่บัดนี้.

ความสุขหรือความทุกข์ ศานติภาพหรือความโกลาหลนั้น มันสำเร็จอยู่ที่ใจ ซึ่งจะเป็นตัวผู้รู้สึกเท่านั้น เช่นเดียวกับ สวมรองเท้าหนังบุยางอยู่เสมอ เราก็รู้สึกหรือได้รับผลเป็นว่า พื้นแผ่นดินในโลกนี้ทั้งหมดเทวดาท่านปูลาดไว้ด้วยแผ่นหนังซับยางไม่มีที่ว่างเว้นเลย. และโดยทำนองตรงกันข้าม ถ้าหากว่ารองเท้าที่เราสวมนั้น มีตะปู ๔-๕ ตัว แลบออกมาจากพื้นรองเท้า และเจาะพื้นหนังเท้าของเรา ทุกๆ ก้าวที่เราก้าวไปแล้ว โลกนี้ก็กลายเป็นโลกที่เทวดาลาดไว้ด้วยหนามเท่านั้นเอง. เพราะเหตุนี้เป็นอันกล่าวได้ว่า เราสามารถที่จะสร้างโลกของเราเอง ให้เป็นโลกที่ตรงกับความต้องการของเรา ได้ทุกเมื่อ ถ้าเราสามารถจัดการกับตัวเราเอง คือใจของเราเอง โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้อื่นหรือสิ่งอื่นเลย.

ศานติภาพจริงๆ นั้น มีในโลกนี้ไม่ได้ดอก เพราะเหตุว่าชีวิตได้เป็นตัวสงครามเสียเองแล้ว. โลกคือชีวิต ชีวิตเป็นเพียงสีเขียว สีแดง หรือสีอะไรก็ได้ ที่ป้ายกันไปป้ายกันมาบนสิ่งๆ หนึ่ง ที่ไม่มีสีอะไรเลย ตัณหาเป็นผู้ป้าย อุปาทานเป็นแปรงสำหรับชุบสีป้าย. มีกายหรือวัตถุเป็นแผ่นกระดาษที่รองรับสี, "สิ่ง" ที่ไม่มีอะไรเลยนั้น. ไม่ใช่สิ่งเดียวกับกระดาษ ไม่ใช่สิ่งเดียวกับสีที่ป้าย เพราะว่า กระดาษก็มีสีอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่แล้ว อย่างน้อยที่สุดก็สีขาว ถ้าหากว่าท่านหาตัวสิ่งที่ไม่มีสีพบ ก็แปลว่า ท่านอาจหาศานติภาพพบ. แต่ว่า แม้ท่านจะคว่ำกระป๋องสีทั้งสิ้น หรือเผากระดาษแผ่นนั้นเสียด้วย ท่านก็ไม่อาจพบ "สิ่ง" ที่ไม่มีสีนั้นเลย เพราะเหตุว่า "สิ่ง" ที่ไม่มีสีนั้น ที่สีก็มี ที่แปรงก็มี ที่กระดาษก็มี และมีอยู่ในที่ทั่วไปด้วย. สีอาจจะป้ายให้กระดาษเลอะเทอะได้ แต่ไม่สามารถป้าย "สิ่ง" ที่ไม่มีสีให้เลอะเทอะได้ แม้ว่าจะได้ป้ายเข้าที่สิ่งนั้น. เพราะฉะนั้น ศานติภาพที่แท้จริงนั้น เราไม่จำเป็นจะต้องไปหาจากที่อื่น ให้นอกไปจากโลก ทั้งที่ในโลกนั้นไม่มีศานติภาพเลย เช่นเดียวกับที่เราอาจจะ "หยั่งเห็น" สิ่งที่ไม่มีสีเลย ได้ตรงที่ที่มีสีดำ สีแดง สีขาว สีเขียว ฯลฯ นั่นเอง, ท่านจงปัดสีไปเสียทางหนึ่ง แล้วปัดกระดาษไปเสียอีกทางหนึ่ง แล้วท่านจะพบสิ่งที่ไม่มีสี แต่อย่าเพ่อนึกเอาล่วงหน้าว่าเป็นความสูญเปล่า, ถ้าปรากฏเป็นความสูญเปล่า ก็ต้องถือว่า ท่านยังไม่มี "ตา".

ศานติภาพหรือสิ่งที่ยังไม่มีสีนั้น ต้องเป็นสิ่งที่ไม่ถูกอะไรทำขึ้น ไม่มีอะไรปรุง ไม่มีอะไรกวน ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน. โลกนี้ หรือชีวิตนี้ เป็นสิ่งที่มีสิ่งอื่นทำขึ้น ปรุงขึ้น และกวนให้ปั่นป่วนอยู่เสมอ ทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน. ความเกิดขึ้นมา ก็ไม่ใช่ของมัน เพราะมันเกิดเองไม่ได้ สิ่งอื่นหลายสิ่งปรุงหรือทำมันขึ้นมาด้วยเหตุผลอย่างอื่นต่างหาก มันจึงไม่มีอิสระเป็นตัวมันเอง จึงสงบไม่ได้ ตลอดเวลาที่ยังเป็นอิสระไม่ได้. การทำสงคราม การจัดเรื่องเศรษฐกิจ ศิลปะ วัฒนธรรม อารยธรรม หรือการศึกษาสาขาใด แม้จะจัดให้ดีอย่างไรก็ตาม ชีวิตนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะพบกันเข้ากับศานติภาพ หรือสิ่งที่ไม่มีสีนั้นเลย เพราะว่า สงคราม เศรษฐกิจ ศิลปะ วัฒนธรรม อารยธรรม และการศึกษาต่างๆ ของโลก ก็คือสีที่เลอะเทอะเราดีๆ นี่เอง และเป็นสงครามอยู่ในตัว, เป็นขบถอยู่ในตัว.

จงให้ชีวิต ที่มีปรกติธรรมดาร่อแร่ จวนจะจมน้ำตายอยู่เสมอนั้น มองให้ทะลุตัวมันเองหรือโลกทั้งสิ้น ข้ามไปยังฟากฝั่งข้างโน้นเถิด จะพบศานติภาพ หรือ "สิ่ง" ที่ไม่มีสี จงระคนสีเขียว เหลือง แดง ฯลฯ ที่เลอะเทอะเหล่านั้นเข้าด้วยกันให้เหมาะส่วนจนกลายเป็นสีขาว แล้วเพิกถอนสีขาวให้สิ้นสูญไปอีกครั้งหนึ่งเถิด จะได้ความสงบซึ่งไม่มีสี อันเป็นจุดมุ่งของชีวิตทั้งมวล. นั่นแล คือ ศานติภาพ.

 

พุทธทาสภิกขุ

ปทุมคงคา  ๖ มีนาคม ๒๔๘๙


50
จะมีชีวิตเป็นคนอยู่อย่างไร จึงจะไม่ขาดทุน
ฉันอยากให้เพื่อนมนุษย์ของฉันทุกคน คิดปัญหาข้อที่ว่า ถ้าเราจะไม่เป็นคนชนิดที่เหมือนกับเขา แต่จะเป็นอย่างของเรา เราจะต้องเป็นอย่างไรจึงจะไม่ขาดทุน.

 บางคนคงจะย้อนถามฉันว่า การเป็นคนอยู่ทุกวันๆ นี้ ต้องลงทุนด้วยหรือ? เห็นมีแต่ลงทุนเรียน ลงทุนค้า หรืออะไรทำนองนี้ทั้งนั้น ไม่เห็นมีใครลงทุนในการเป็นคนเลย.

ฉันจะต้องขอโทษ ในการที่ฉันมีความเห็นว่า การเคลื่อนไหวของเราทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการทำ หรือเป็นการรับผลของการทำ ล้วนแต่เป็นการลงทุนในการเป็นคนไปหมด เราลงทุนลงแรงวิ่งแล่นไปในวัฏสงสาร ลงทุนมาเกิดเป็นคน ลงทุนในการดำรงชีพเป็นอยู่, ต้องหัวเราะ ต้องร้องไห้ อิ่ม หิว รัก โศก เพลิน หงอย ไปห้องน้ำ ไปห้องส้วม ฯลฯ ป่วยไข้ หาย สบาย กระทั่งตาย เพื่อเกิดใหม่ในที่สุด ทั้งหมดนี้เป็นการลงทุน เรียนเพื่อรู้ แล้วเข็ดหลาบในการที่จะไม่ต้องวิ่งมาวนเวียน เป็นเช่นเดียวกันต่อไปอีก ฉันเห็นว่า ทั้งการกระทำ และการรับผลของการกระทำทั้งดีและชั่วทั้งหมดนั้น ล้วนแต่เป็นการถูกธรรมชาติบังคับให้เราทำและเป็นไป. เป็นการ ลงทุนเรียน เพื่อให้เรากลายเป็นผู้สามารถขึ้นอยู่เหนือกฏเหล่านั้นคือ นิพพาน! ถ้าเราไม่ลงทุนด้วยการลองมาเป็นคนดูเสียก่อน เราก็จะไม่มีความรู้อะไรเลย ในการที่จะถอนตัวขึ้นให้พ้นจากการที่จะต้องเป็นคน (หรือเป็นสัตว์) ไป อย่างไม่มีที่สิ้นสุด, เราลงทุนด้วย การทนเป็นคน เพื่อเรียนรู้และ สอบไล่ ให้ได้ถึง ขั้นที่จะไม่ต้องเป็นคน อีกต่อไป. การตายช่วยอะไรเราไม่ได้ในข้อนี้ เพราะมันกลับมาเกิดอีก, เว้นไว้แต่เราจะเป็นคนให้ครบถ้วนตามหลักสูตรเสียก่อน คือเป็นคนชนิดที่มีกำไร ไม่ขาดทุน. หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ศึกษาให้รู้จักการเป็นคนด้วยการเคยเป็นคนเสียอย่างเต็มที่ จนตนสามารถเอาชนะอยู่เหนือการเป็นคนของตนเอง ได้นั่นเอง. เราจะเป็นผู้มีกำไรประจำวัน ทุกๆ วันได้ ด้วยการที่เรามีทุกข์กะใครไม่เป็น ไม่ว่าเหตุการณ์อย่างใดจะเกิดขึ้น และเราจะงบยอดมีกำไรเด็ดขาดในขั้นสุด ในการที่เราเข้าถึงขีดที่ความทุกข์ไม่อาจเกิดขึ้นอีกต่อไป.

บางคนคงจะถามว่า ถ้าเกิดมาทำงานได้รับผลสำเร็จร่ำรวยสมบูรณ์พูนสุขด้วยเกียรติและทรัพย์แล้ว ยังจะว่าขาดทุน ในการเป็นคนอีกหรือ ?

ฉันตอบว่า การสมบูรณ์พูนสุขนั้น ก็เป็นเพียงการลงทุนอย่างหนึ่ง หรือตอนหนึ่งของการลงทุนในการเป็นคนเท่านั้น คือ เป็นการลงทุนเพื่อให้เราได้เรียนรู้ว่า มันก็เป็นของหลอกๆ เช่นเดียวกับการตกระกำลำบากเหมือนกัน. ครั้นเรารู้จักมันอย่างถูกต้องแล้ว เราก็จะเป็นคนมากขึ้นอีก จนกระทั่งเป็นคนที่เต็ม (Perfected) โดยทุกๆ ทาง ในการที่จะบริสุทธิ์ สว่างไสว และสุขเย็น. ความสมบูรณ์พูนสุขจึงเป็นเพียงการลงทุนเท่านั้น ยังหาใช่ผลกำไรแห่งการเป็นคนไม่ ก็ถ้าใครหลงเอาต้นทุนมาใช้จ่ายเสีย อย่างกะว่ามันเป็นผลกำไรแล้ว คนนั้นก็จะหมดกระเป๋าเลย! แล้วเขาก็จะต้องฟุบหน้าร้องไห้กับพื้นดิน ตรงที่เขายืนนั่นเอง, ไม่เชื่อใครลองใช้ความสมบูรณ์พูนสุข ในฐานเป็นผลกำไรของชีวิตดูเถิด!

เชิญท่านลอง ค้าการเป็นคน ของท่านดูเรื่อยๆ ไปเถิด ท่านจะเห็นเอง.

 

พุทธทาส อินทปัญโญ

หอสมุดธรรมทาน ไชยา
๑๙ มีนาคม ๒๔๘๖

 

51
บทความ บทกวี / ใครทุกข์ ? ใครสุข?
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:46:06 »
 
พระพุทธองค์ตรัสว่า "เมื่อกล่าวสรุปให้สั้นที่สุดแล้ว เบญจขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์." (สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา) เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดความสงสัยว่า ถ้าขันธ์เป็นทุกข์ ก็ช่างมันเป็นไร เราอย่าทุกข์ก็แล้วกัน มิใช่หรือ?

บาลีแห่งอื่นก็มีอีกว่า "ตัวทุกข์นั้นมีอยู่แท้ แต่บุคคลผู้เป็นทุกข์หามีไม่" (ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต การโก น, กิริยา วิชฺชติ) นี่ก็เช่นเดียวกันอีก แสดงว่าตัวตนของเราไม่มี. ทุกข์อยู่ที่รูปและนาม. นี้ก็ก่อให้เกิดคำถามว่า เราจะพยายามทำที่สุดทุกข์ไปทำไม เมื่อเราผู้เป็นเจ้าทุกข์ก็ไม่มีเสียแล้ว, พยายามให้ใคร. ใครจะเป็นผู้รับสุข ทำบุญกุศลเพื่ออะไรกัน?

เพื่อขบปัญหานี้ให้แตกหัก โดยตนเองทุกๆ คน (เพราะธรรมะเป็นของเฉพาะตน). ข้าพเจ้าขอเสนอแนวคิดสั้นๆ แต่กว้างขวางออกไป แด่ท่านทั้งหลายสำหรับจะได้นำไปคิดไปตรอง จนแจ่มแจ้งในใจด้วยปัญญาของตนเองแล้ว และบำบัดความหนักใจ หม่นหมองใจ อันเกิดแต่ความสงสัย และลังเลในการประพฤติธรรมของตน ให้เบาบางไปได้บ้าง ดังต่อไปนี้ :-

ร่างกายและจิตใจสองอย่างนี้ รวมกันเข้าเรียกว่า นามรูป, หรือเรียกว่า เบญจขันธ์ เมื่อแยกให้เป็น ๕ ส่วน. ในร่างกายและจิตใจนี้ ถ้ายังมีอุปาทาน กล่าวคือความยึดถือว่า "ของฉัน" ว่า "ฉัน" อยู่เพียงใดแล้ว ความทุกข์นานัปการ ตั้งต้นแต่ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนถึงความหม่นหมองร้ายแรงอย่างอื่น เช่น อยากแล้วไม่ได้สมอยาก เป็นต้น ก็ยังมีอยู่ และออกฤทธิ์แผดเผาทรมานร่างกายและจิตใจอันนั้นเอง. แต่เมื่อใดอุปาทานอันนี้หมดไปจากจิต ผู้นั้นไม่มีความสำคัญตนหรือรู้สึกตนว่า "ฉันมี", "นี่เป็นของฉัน" เป็นต้นแล้ว ทุกข์ทั้งมวลดังกล่าวก็ตกไปจากจิตอย่างไม่มีเหลือ เพราะเราอาจที่จะไม่รับเอาว่าร่างกายและจิตใจนี้เป็นของเรา และสิ่งที่เกิดขึ้นแก่มันว่าเป็นของเราได้จริงๆ.

แต่พึงทราบว่า เมื่ออวิชชา (ความโง่หลง) ยังมีอยู่ในสันดานเพียงใดแล้ว ความสำคัญว่าเรา หรือของเรา มันก็สิงอยู่ในสันดานเรา โดยเราไม่ต้องรู้สึก เพราะฉะนั้น เราจึงรับเอาความทุกข์ทั้งมวลเข้ามาเป็นของเรา โดยเราไม่รู้สึกตัว; จึงกล่าวได้ว่า ตัวตนของเรา มีอยู่ในขณะที่เรายังมีอวิชชาหรืออุปาทาน เพราะสิ่งที่เป็นตัวตน (ตามที่เรารู้สึกและยึดถือไว้ในสันดานนั้น) เป็นสิ่งที่ถูกสร้างให้เกิดขึ้นโดยอวิชชานั่นเอง. ตัวตนไม่มีในเมื่อหมดอวิชชา.

เมื่อใดหมดอวิชชา หรือความโง่หลง เมื่อนั้น "ตัวตน" ก็ทำลายไปตาม; ความรู้สึกว่า "เรา" ก็ไม่มีในสันดานเรา; ไม่มีใครเป็นผู้ทำ หรือรับผลของอะไร จึงไม่มีทุกข์, ความจริงนั้นมีแต่นามรูปซึ่งเกิดขึ้น, แปรปรวน, ดับไปตามธรรมดาของมัน เรียกว่า มันเป็นทุกข์. เมื่ออวิชชาในสันดานเรา (หรือในนามรูปนั้นเอง) ก่อให้เกิดความรู้สึกว่า "นามรูปคือตัวเรา" แล้ว "เรา" ก็เกิดขึ้นสำหรับเป็นทุกข์, หรือรับทุกข์ทั้งมวลของนามรูปอันเป็นอยู่ตามธรรมชาตินั้น. เห็นได้ว่า "เราที่แท้จริง" นั้นไม่มี มีแต่เราที่สร้างขึ้นโดยอวิชชา. ท่านจึงกล่าวว่า ความทุกข์นั้นมีจริง แต่ผู้ทุกข์หามีไม่, หรือเบญจขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์. ที่เรารู้สึกว่า มีผู้ทุกข์ และได้แก่ตัวเรานี่เองนั้น เป็นเพราะความโง่ของเรา สร้างตัวเราขึ้นมาด้วยความโง่นั้นเอง, ตัวเราจึงมีอยู่ได้แต่ในที่ๆ ความโง่มีอยู่. ยอดปรัชญาของพุทธศาสนา จึงได้แสดงถึงความจริงในเรื่องนี้ ด้วยการคิดให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งประจักษ์ชัดว่า "ตัวเราไม่มี" จริงๆ.

อาจมีผู้ถามว่า ก็เมื่อความจริงนั้น ตัวเราไม่มีแล้วเราจะขวนขวายประพฤติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ทำไมเล่า? นี่ก็ตอบได้ด้วยคำที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอีกนั่นเอง, คือว่าในขณะนี้ เราหาอาจมีความรู้ได้ไม่ว่า "ตัวเราไม่มี". เรายังโง่เหมือนคนบ้าที่ยังไม่หายบ้า ก็ไม่รู้สึกเลยว่าตนบ้า. เหตุนี้เอง "ตัวเรา" ซึ่งสร้างขึ้นด้วยความโง่ นั่นแหละมันมีอยู่, มันเป็นเจ้าทุกข์, และเป็นตัวที่เราเข้ายึดเอามาเป็นตัวเรา หรือของเราไว้โดยไม่รู้สึก. เราจึงต้องทำตามคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อหายโง่ หายยึดถือ หมดทุกข์ แล้วเราก็จะรู้ได้เองทีเดียวว่า อ้อ! ตัวเรานั้น ที่แท้ไม่มีจริงๆ!! นามรูปมันพยายามดิ้นรนเพื่อตัวมันเองตลอดเวลา มันสร้าง "เรา" ขึ้นใส่ตัวมันเองด้วยความโง่ของมัน; เราที่มันสร้างขึ้น ก็คือเราที่กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่นี่แหล่ะ !

ความทุกข์ ความสุขมีจริง. แต่ตัวผู้ทุกข์ หรือผู้สุขที่เป็น "เราจริงๆ" หามีไม่, มีแต่ "เรา" ที่สร้างขึ้นจากความไม่รู้ โดยความไม่รู้. ดับเราเสียได้ ก็พ้นทุกข์และสุข, สภาพเช่นนี้เรียกว่า นิพพาน. ที่กล่าวว่า พระนิพพานเป็นยอดสุขนั้น ไม่ถึงเข้าใจว่า เป็นสุขทำนองที่เราเข้าใจกัน, ต้องเป็นสุขเกิดจากการที่ "เรา" ดับไป และการที่พ้นจากสุขและทุกข์ ชนิดที่เราเคยรู้จักมันดีมาแต่ก่อน. แต่พระนิพพานจะมีรสชาติเป็นอย่างไรนั้น ท่านจะทราบได้เองเมื่อท่านลุถึง. มันอยู่นอกวิสัยที่จะบอกกันเข้าใจ ดังท่านเรียกกันว่า เป็นปัจจัตตัง หรือสันทิฏฐิโก.

ในพระนิพพาน ไม่มีผู้รู้, ไม่มีผู้เสวยรสชาติแห่งความสุข; เพราะอยู่เลยนั้น หรือนอกนั้นออกไป; ถ้ายังมีผู้รู้ หรือผู้เสวย ยังยินดีในรสนั้นอยู่ นั่นยังหาใช่พระนิพพานอันเป็นที่สุดทุกข์จริงๆ ไม่ แม้จะเป็นความสุขอย่างมากและน่าปรารถนาเพียงไรก็ตาม มันเป็นเพียง "ประตูของพระนิพพาน" เท่านั้น. แต่เมื่อเราถึงสถานะนั่นแล้ว เราก็แน่แท้ต่อพระนิพพานอยู่เอง.

เมื่อนามรูปยังมีอยู่  และทำหน้าที่เสวยรสเยือกเย็นอันหลั่งไหลออกมาจากการลุถึงพระนิพพานได้ ในเมื่อมันไม่เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งอุปาทาน หรืออวิชชาอีกต่อไป. เราเรียกกันว่า นั่นเป็นภาวะแห่งนิพพาน.

เมื่อรูปนามนั้น ดับไปอย่างไม่มีเชื้อเหลืออยู่อีก นั่นก็คือ ปรินิพพาน

ดังนี้ ท่านตัดสินเอาตามความพอใจของท่านเองเถิดว่า ใครเล่าเป็นผู้ทุกข์? ใครเล่าเป็นผู้สุข? แต่พึงรู้ตัวได้ว่า ตัวเราที่กำลังจับกระดาษแผ่นนี้อ่านอยู่นั้น ก็ยังเป็นตัวเราของอวิชชาอยู่ !

๑ สิงห์ ๗๙

พุทธทาสภิกขุ


52
บทความ บทกวี / ปัญหายุ่งยาก
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:44:37 »
เกี่ยวกับการถือพระรัตนตรัย
คำว่า พระไตรรัตน์ หรือพระรัตนตรัย ซึ่งแปลว่า แก้วทั้งสามนั้น ในวงพุทธศาสนาเรา ใช้หมายเอาวัตถุที่สำคัญที่สุดสามอย่าง คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม, พระสงฆ์, ที่ได้เรียกว่า แก้ว ก็เพราะว่า ใครมีไว้ด้วยความรู้จักหรือเข้าใจ ย่อมจะนำความอิ่มเอิบมาสู่ผู้นั้น เช่นเดียวกับผู้ที่รู้จักค่าของเพชรพลอย มีเพชรพลอยก็อิ่มเอิบว่าตนเป็นผู้ร่ำรวย และมีความสุขดุจกัน. แต่มิได้หมายความว่ามีไว้อย่างกะไก่ได้พลอย แห่งนิยายอิสป.

เมื่อสังเกตตามที่เรารับถือกันอยู่ในทุกวันนี้ ดูเหมือนว่า สิ่งที่เรียกว่า พระรัตนตรัยนั้น ถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทเสียแล้ว ทั้งที่ผู้แบ่งเองก็ไม่รู้สึก, จึงเกิดมีพระรัตนตรัยชนิดที่เป็นส่วนเปลือกผิว และพระรัตนตรัยที่เป็นเนื้อแท้ขึ้น. แต่ถึงอย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นคุณประโยชน์ด้วยกันทั้งสองอย่าง, ทั้งนี้ก็เพราะว่าคนเรามีทั้งโง่ และฉลาด ทั้งที่ชอบลวงตัวเองและไม่ชอบ จึงเป็นอันว่า เปลือกของพระรัตนตรัยนั้น มีไว้สำหรับเด็กๆ หรือผู้ใหญ่ที่มีมันสมองอย่างเด็ก, แต่ต้องยอมให้เขาเรียกว่าองค์พระรัตนตรัยเหมือนกัน จะเรียกว่า เปลือกพระรัตนตรัยไม่ได้เป็นอันขาด. ส่วนเนื้อแท้ของพระรัตนตรัยนั้น เรามีไว้สำหรับผู้ใหญ่ที่ลืมตาแล้วโดยทั่วไป และโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ เหมือนกันกับพวกแรก เพราะว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์เสียแล้ว ย่อมหาต้องการพระรัตนตรัยไม่.

ที่จัดเป็นส่วนเปลือกนั้น หมายถึงวัตถุ ที่ผู้มีปัญญาตื้นๆ เข้ายึดถือเอาว่าเป็นองค์พระรัตนตรัย สำหรับพระพุทธเจ้า เปลือกก็คือรูปกาย ที่เป็นเนื้อหนังของพระองค์นั่นเอง ตลอดลงมาถึงพระพุทธรูป พระบรมธาตุ แม้ที่สุดแต่ต้นโพธิ์ เป็นต้น, สำหรับพระธรรม ได้แก่ เสียงที่คนเราสวดพระธรรม ตู้พระธรรม ตำราพระไตรปิฎก และวัตถุอื่นๆ ที่พากันกราบไหว้แทนพระธรรม สำหรับพระสงฆ์ ก็ทำนองเดียวกัน ได้แก่ รูปกายของผู้ที่บวชเป็นนักบวช ตลอดถึงสิ่งอื่น ซึ่งเป็นเครื่องหมายของนักบวช.

ที่เป็นส่วนเนื้อแท้นั้น หมายถึงตัวสิ่งนั้นจริงๆ อันนักศึกษาจะมองเห็นได้ด้วยปัญญาจักษุ; สำหรับพระพุทธเจ้า คือตัวปัญญา หรือความรู้ที่ทำให้เราหมดทุกข์ หมดเศร้าหมอง หมดสงสัย ร่าเริง เป็นสุขอันแท้จริงได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวปัญญาที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้าองค์นี้ หรือองค์ไหน ย่อมเหมือนกันหมด สำหรับพระธรรม หรือตัวความจริง หรือกฏอันยุติธรรมแท้ ของวิธีดับทุกข์บรรลุสุขนั้นๆ, อันพระพุทธเจ้าได้ค้นพบ. สำหรับพระสงฆ์ คือดวงปัญญาของผู้ที่ได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว รู้แจ้งความพ้นทุกข์เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า แปลกกันเพียงที่ไม่ได้ค้นพบด้วยตนเอง เหมือนพระพุทธเจ้า หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งอย่างสั้นๆว่า ดวงจิตที่กำลังประกอบด้วยปัญญา เครื่องค้นพบความจริงอันประเสริฐโดยตนเอง นั่นเป็นพระพุทธเจ้า ตัวความจริงนั้น คือพระธรรม และดวงจิตของผู้ที่รู้ตามพระพุทธเจ้า กำลังประกอบด้วยปัญญาเป็นส่วนเครื่องพ้นทุกข์อย่างเดียวกัน นั่นเป็นพระสงฆ์ และพึงเข้าใจว่า นามว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เหล่านี้ เป็นคำซึ่งสมมติขึ้น เพื่อใช้เรียกสิ่งสำคัญทั้งสามนั้น และสมมติขึ้นโดยผู้ที่รู้จัก หรือเข้าใจในสิ่งทั้งสามนั้นเป็นอย่างดี.

ที่เป็นส่วนซึ่งยังรวมกันอยู่ คือที่ยังไม่ได้แยกเปลือกและเนื้อออกจากกัน ก็คือความที่สิ่งนั้นๆ ถูกเพ่งมองอย่างรวมๆ กันไปทั้งตัวจริงของสิ่งนั้น และวัตถุที่สิ่งนั้นเข้าตั้งอาศัย, เป็นการมองของผู้ที่อยู่ในระดับปานกลาง ไม่เพ่งไปแต่ฝ่ายรูปหรือฝ่ายนามเพียงด้านใดด้านหนึ่ง, เหมาะทั้งคนธรรมดาและคนฉลาดจะมองตามเห็นตามได้ง่ายๆ สำหรับการมองทำนองนี้ พระพุทธเจ้า ก็คือ องค์พระพุทธเจ้ารวมทั้งจิตใจ หรือปัญญาซึ่งแนบเนื่องอยู่ในกายนั้น, พระธรรม ก็คือตัววัตถุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อันเป็นเครื่องสะดุดตาสะดุดใจคนผู้พบเห็น ช่วยให้เขาเข้าใจต่อกฏความจริงของความพ้นทุกข์ รวมทั้งตัวความจริงอันเขาจะพบได้โดยอาศัยสิ่งเหล่านั้น, แม้ที่สุดแต่ความจริงส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งเขาจะค้นพบได้ในการงานที่เขาเคยกระทำมาแล้ว หรือในการศึกษาปริยัติของเขาก็ตาม, และพระสงฆ์ ก็คือรูปกายพร้อมทั้งจิตอันบริสุทธิ์และปัญญาอันมีอยู่ในกายนั้น ของผู้ที่รู้ธรรม ตามอย่างพระพุทธเจ้า ตามที่รับปฏิบัติมาจากพระพุทธเจ้า โดยไม่ต้องค้นเอง.

ทั้งที่ความจริงนั้นมีอยู่ว่า เปลือกนั้นเป็นอย่างหนึ่ง เนื้อแท้เป็นอีกอย่างหนึ่งก็ตาม เรามักเรียกสิ่งนั้นทั้งสองสิ่งรวมเป็นสิ่งเดียวกัน คือเรียกรวมทั้งเปลือกและเนื้อของมันว่า เป็นสิ่งนั้นๆ เช่น เราเรียกทั้งเปลือกและเนื้อของมันว่า ทุเรียน เป็นต้น หากให้ชี้ถึงคุณสมบัติ ที่ควรจะได้รับเกียรติเป็นเจ้าของชื่อนั้นแล้ว ใครก็ตามจะต้องชี้ที่เนื้อทุเรียน ซึ่งรับประทานได้นั่นเอง แต่เพื่อเข้าใจง่ายๆ เรารวมเรียกทั้งหมดนั้นว่า ทุเรียน ซึ่งแปลกว้างไปถึงต้นทุเรียนก็ได้ ปล่อยให้ผู้มีดวงตาค้นหาหัวใจของคำว่า ทุเรียนเอาเอง และทุกคนแม้จะมีปัญญาต่ำเพียงไร เขาก็ย่อมอยากที่จะให้ส่วนที่กินได้นั่นแหละ เป็นหัวใจของคำว่า ทุเรียนแท้ ความเข้าใจของคนทุกคนย่อมลงรอยร่วมกันดังนี้ แม้ที่สุดแต่กระรอกกระแต ก็คงเหมือนกันหมด.

สำหรับพระรัตนตรัยนั้น หัวใจที่แท้มีเพียงอันเดียว หมายความว่า ทั้งสามนั้นเป็นอันเดียวกัน ตรงกันกับลักษณะเอกานุภาพของ Trinity ของคริสตศาสนา, ของที่ว่ามีสิ่งเดียวนั้น คือพระธรรม คนเป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็เพราะพระธรรมซึ่งมีอยู่ในตน และตนค้นพบด้วยตน พระธรรมคือสภาพที่มีอยู่เองทั่วไป ไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ไม่เป็นอดีต อนาคต หรือเป็นปัจจุบันกะใครได้, เพราะเป็นเพียงตัวกฏความจริงที่ครอบงำโลกอยู่ โดยทั่วไปเท่านั้น เข้าไปสิงอยู่ในบุคคลผู้ใด ผู้นั้นก็แปรรูปจากเดิมทันที, พระสงฆ์เล่า เป็นพระสงฆ์ขึ้นมาได้ ก็เพราะพระธรรมที่ตนน้อมนำมาใส่ตนตามวิธีที่พระพุทธเจ้าสอนให้ เช่นกับที่พระองค์ทำแก่พระองค์เอง, จึงไม่มีอะไรแตกแยกออกไปจากกันได้ ทั้งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยหัวใจ.

แต่เพื่อให้เห็นชัดเจน เข้าใจง่าย ยึดถือเอาได้ง่ายๆ สำหรับผู้ที่จะเข้ามาถือพระรัตนตรัย ซึ่งยังใหม่อยู่, จึงมีการแยกชี้ให้เห็นชัดๆ เป็นสามอย่าง, ให้แตกต่างกันออกไป โดยวัตถุที่ตั้ง อันเป็นฝ่ายรูปธรรม (Material) ทั้งสามสิ่งนี้เป็นอันเดียวกันโดยความจริงอันสูงสุด (Ultimate Truth) และแม้จะได้แยกออกเป็นสามอย่าง เพื่อให้เป็นการง่ายแก่ผู้ที่ยังใหม่ ในการที่เข้ามารับถือชั้นหนึ่งแล้วก็ตาม นั่นยังไม่เพียงพอ, ยังต้องมีการแสดงด้วยเปลือกเป็นครั้งแรก แสดงด้วยเนื้อแท้ เป็นขั้นหลัง อีกขั้นหนึ่งด้วย, เพราะฉะนั้น กว่าเราจะมีการเข้าใจในพระรัตนตรัย โดยผ่านเปลือกเข้าไปถึงเนื้อ แล้วรู้จักทำเนื้อทั้งสามนั้นให้รวมเป็นอันเดียวกันได้ เป็นตัวพระธรรมตัวเดียว, ตัวซึ่งมีรัศมีแผ่ซ่านครอบงำทั่วโลก อยู่คู่กับโลก มีอานุภาพบันดาลให้สิ่งทั้งหลายเป็นไป ตรงตามกฏแห่งความจริงอย่างเดียวนั้น มันไม่ใช่สิ่งที่เราคนเราโดยทั่วไป จะทำได้ง่ายๆ เลย.


53


คำนำ
เรื่องพระนิพพาน มิใช่เป็นเรื่องที่พูดให้จบหรือให้เข้าใจกันได้ด้วยคำพูดเพียงสองสามคำ, เพราะฉะนั้นผู้ศึกษาจะต้องอ่านทบทวนไปมา และทำการศึกษาคิดค้น ตีความและเทียบเคียง หยั่งให้ถึงความหมายของศัพท์ และประโยคไปโดยลำดับจริงๆ ไม่อ่านอย่างสะเพร่าลวกๆ หรือข้ามไปทั้งที่ไม่เข้าใจ, จึงจะมีความรู้จักตัวพระนิพพานชัดเจนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับๆ จนกว่าจะลุถึงได้จริงๆ ด้วยการ ปฏิบัติธรรม ทางใจ, ต่อไปนี้เป็นแนวการคิดค้นหาความเข้าใจ หรือคุณค่าของพระนิพพาน เพื่อก่อให้เกิดฉันทะในการบรรลุพระนิพพานแรงกล้ายิ่งขึ้นบ้าง ไม่มากก็น้อย.

พระนิพพานไม่ใช่เป็นจิต, ไม่ใช่เป็นเจตสิกหรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต โดยอาศัยจิตนั้น, ไม่ใช่มีรูปร่าง, เป็นก้อน เป็นตัว อันเป็นประเภทรูปธรรม, ไม่ใช่บ้านเมือง ไม่ใช่ดวงดาว หรือดวงโลกในโลกใดโลกหนึ่ง, และยิ่งกว่านั้น พระนิพพานไม่ใช่สิ่งที่มีความเกิดขึ้นมา, ไม่ใช่สิ่งที่มีความดับลงไป, หรือทั้งเกิดและดับสลับกันไปในตัว, ไม่ใช่สิ่งที่มีความดับลงไป, หรือทั้งเกิดและดับสลับกันไปในตัว, แต่พระนิพพานเป็นสภาวะแห่งธรรมชาติชนิดหนึ่ง และเป็นสิ่งเดียวเท่านั้น ที่ไม่ต้องตั้งต้นการมีของตนขึ้นเหมือนสิ่งอื่นๆ แต่ก็มีอยู่ได้ตลอดไป และไม่รู้จักดับสูญ เพราะไม่มีเวลาดับหรือแม้แต่แปรปรวน.

สิ่งทั้งหลายอื่นซึ่งมีอยู่ นอกจากพระนิพพานแล้ว; แรกที่สุด มันต้องมีการเกิดขึ้น มันจึงจะมีอยู่ได้ และต้องดับไปในที่สุด แม้จะช้านานสักเพียงไรก็ตาม และยังต้องแปรไปๆ ในท่ามกลางด้วย, เพราะสิ่งนั้นมันมีการเกิดขึ้น. แม้ที่สุดแต่ดวงอาทิตย์ ซึ่งวิทยาศาสตร์ บอกว่ามีอยู่นานก่อนสิ่งใดในสากลจักรวาล มันจะต้องกลายเป็นไม่มีสักวันหนึ่ง และเราจะไม่ได้เห็นมันในเวลาเช้า และลับหายจากสายตาไปในเวลาเย็น เช่น เดี๋ยวนี้, แม้ ดิน น้ำ ไฟ หรือความร้อน ลม หรืออากาศ ก็เช่นกัน จักต้องถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งมันจะไม่มีอยู่, เพราะสิ่งเหล่านี้ มีการเกิดขึ้นมา และเกิดขึ้นได้เป็นขึ้นได้โดยต้องอาศัยสิ่งอื่น.

ส่วนสิ่งที่เรียกว่า พระนิพพาน ไม่เป็นเช่นนั้น; ไม่มีการเกิดขึ้น ทำไมจะต้องมีการอาศัยสิ่งอื่น, เมื่อตัวเองมีของตัวเองได้ มันจึงไม่รู้จักดับ, และจะมีอยู่ตลอดไปโดยไม่มีที่สุดหรือเบื้องต้น และเหตุนี้เอง พระนิพพานจึงไม่ใช่สิ่งที่ใครจะกล่าวได้อย่างมีเหตุผลเลยว่า พระนิพพานนั้นเป็นอดีต, อนาคต หรือเป็นปัจจุบัน ได้เลย, ทั้งนี้เพราะความมีอยู่แห่งพระนิพพานนั้น แปลกกับความมีอยู่ของสิ่งอื่น อย่างสุดที่จะกำหนดมากล่าวได้. พระนิพพานมีอยู่ตลอดกาล อันไม่มีที่สุด, มีเป็นของคู่เคียงกับกาลเวลาอันไม่มีที่สิ้นสุด, แต่หากว่ากาลหรือเวลาจะเป็นสิ่งที่สิ้นสุดลงในวันหนึ่งได้ พระนิพพานก็ยังหาเป็นเช่นนั้นไม่.

พระนิพพาน เป็นสิ่งที่เปิดโอกาสเตรียมพร้อมอยู่เสมอ สำหรับที่จะพบกันเข้ากับดวงจิตของคนเราทุกๆ คน. หากแต่ว่า ดวงจิตของเราตามธรรมดา มีอะไรบางอย่างเข้าเคลือบหุ้มเสียก่อน ไม่เปิดโอกาสให้พบกันได้กับพระนิพพานเท่านั้น, พระนิพพานจึงไม่ปรากฏแก่เราว่ามีอยู่ที่ไหน ทั้งที่พระนิพพานอาจเข้าไปมีได้ในที่ทั่วไป ยิ่งเสียกว่าอากาศ ซึ่งเรากล่าวกันว่ามีทั่วไปเสียอีก. เมื่อเราไม่อาจกำหนด หรือเคยพบกับพระนิพพาน ก็เลยคิดไปว่า พระนิพพานไม่ได้มีอยู่ดังที่ท่านกล่าว เข้าใจว่าเป็นการกล่าวอย่างเล่นสำนวนสนุกๆ ไป. คนตาบอดมาแต่กำเนิดย่อมไม่รู้เรื่องแสงสว่าง หรือสีขาว แดง ทั้งที่มันมีอยู่รอบตัว หรือถึงตัวฉันใด, ผู้บอดด้วยอวิชชาซึ่งห่อหุ้มดวงจิต ก็ไม่รู้เรื่องพระนิพพาน ไม่อาจคาดคะเน พระนิพพานฉันนั้น, จนกว่าเขาจะหายบอด.

เราเกิดโผล่ออกมาจากท้องแม่สู่โลกนี้ บอดเหมือนกันหมดทุกคน จึงไม่อาจรู้เรื่องพระนิพพานได้ตั้งแต่แรกเกิด. ยิ่งผู้ที่มีตาเนื้อ ตาเนื้อก็บอดเสียอีกด้วยแล้ว ไม่อาจรู้จักแสง หรือสี ก็ยิ่งร้ายไปกว่านั้น. บอดตาไม่อาจรักษาได้ แต่บอดใจหรือบอดต่อพระนิพพานนั้นรักษาได้. ผู้ที่ตาบอด แต่ถ้าเขาหายบอดใจ เขาก็ประเสริฐกว่าผู้ที่แม้ไม่บอดตา แต่บอดใจ. นี่เราจะเห็นได้ชัดๆ ว่าแสงแห่งพระนิพพานส่องเข้าไปถึงได้ในที่ที่แสงสว่างในโลกส่องเข้าไปไม่ถึง. ดวงจิตของคนตาบอดอาจพบกับพระนิพพานได้ไม่ยากไปกว่าของคนตาดีๆ. แต่ว่าทุกๆ คนที่ตาของเขายังเห็นแสงและสีได้ ก็ไม่ยอมเชื่อหรือสำนึกว่า ตาของตนบอด, ตาข้างนอกของเขาแย่งเวลาทำงานเสียหมด ตาข้างในจึงไม่มีโอกาสทำงาน แม้ที่สุดแต่จะรู้สึกว่าตาข้างในของฉันยังบอดอยู่ก็ทั้งยาก, และยิ่งขึ้นไปกว่านั้น อาจไม่รู้สึกด้วยซ้ำไปว่ามีตาข้างในอยู่อีกดวงหนึ่ง ซึ่งเป็นดวงสำคัญที่สุดด้วย.

เมื่อเขาแก้ปัญหาชีวิตอันยุ่งเหยิง ซึ่งเป็นวิสัยส่วนของตานอกได้หมดจนสิ้นเชิง เขาก็ยังต้องพบกับความยุ่งยากอยู่อีก และเขาไม่ทราบว่า นั่นมันเป็นวิสัยส่วนของตาใน, ก็แก้ไขมันไม่ได้, ทำให้ว้าวุ่นไป โทษนั่น โทษนี่ เดาอย่างนั้น เดาอย่างนี้ ก็ไม่อาจพบกับความสุขอันแท้จริงเข้าได้เลย. นี่ ! จะเห็นได้แล้วว่า เพราะแก้มันไม่ถูก คือไม่ได้ใช้ตาในแก้, ที่ไม่ใช้เพราะตาในยังบอด, ที่ยังบอดเพราะยังไม่ได้รักษา. ที่ยังไม่ได้รักษา ก็เพราะตนยังไม่รู้เลยว่า ตาในมีอีกดวงหนึ่ง, เป็นตาสำหรับพระนิพพาน คือความสุขอันเยือกเย็นแท้จริงของชีวิต.

ใจของเราบอดเพราะอวิชชา คือความโง่หลงยิ่งกว่าโง่หลงของเราเอง นั่นเอง. เปรียบเหมือนเปลือกฟองไข่ที่หุ้มตัวลูกไก่ในไข่ไว้, เหมือนกะลามะพร้าวที่ครอบสัตว์ตัวน้อยๆ ซึ่งเกิดภายใต้กะลานั้นไว้, ฯลฯ, เหมือนเปลือกแข็งของเมล็ดพืช ซึ่งหุ้มเยื่อสารในสำหรับงอกของเมล็ดไว้, แม้แสงสว่างมีอยู่ทั่วไป มันก็ไม่อาจส่องเข้าไปถึงสิ่งนั้น, จิตที่ถูกอวิชชาเป็นฝ้าห่อหุ้ม ก็ไม่อาจสัมผัสกับพระนิพพานอันมีแทรกอยู่อย่างละเอียดยิ่งกว่าละเอียดในที่ทั่วไป  ตลอดถึงที่ที่แสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง ฉันใดก็ฉันนั้น.

เมื่อใดเปลือกฟองไข่ กะลามะพร้าว เปลือกแข็งนั้นๆ ได้ถูกเพิกออก หรือทำลายลง. แสงสว่างก็เข้าถึงทั้งที่ไม่ต้องมีใครขอร้อง อ้อนวอน หรือขู่เข็ญบังคับมันเลย, นี่ฉันใด. เมื่อฝ้าของใจกล่าวคือ อวิชชา อุปาทาน ตัณหา อันเป็นฝ้าทั้งหนาและบาง ทั้งชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นใน ถูกลอกออกแล้วด้วย "การปฏิบัติธรรม" แสงและรสแห่งพระนิพพานก็เข้าสัมผัสกันได้กับจิตนั่น เมื่อนั้น ฉะนั้น. เราจึงเห็นได้ชัดเจน, เห็นได้อย่างแจ่มแจ้งทันทีว่า พระนิพพานไม่ใช่จิต, ไม่ใช่เจตสิกอันเกิดอยู่กับจิต, ไม่ใช่รูปธรรม, ไม่ใช่โลกบ้านเมือง, ไม่ใช่ดวงดาว. ไม่ใช่อยู่ในเรา, ไม่ใช่เกิดจากเรา, ไม่ใช่อะไรปรุงขึ้น ทำขึ้น. มันเป็นเพียงสิ่งที่เข้าสัมผัสดวงใจเรา ในเมื่อเราได้ดำเนินการปฏิบัติธรรม ถึงที่สุด เป็นการเปิดโอกาสให้แก่พระนิพพานได้เท่านั้น.


54
บทความ บทกวี / อาหารของดวงใจ
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:41:25 »
ความอิ่มเอิบ ด้วยอารมณ์ ทางรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้น เป็นอาหารของฝ่ายโลก ความอิ่มเอิบด้วยปีติและปราโมช อันเกิดจาก ความที่ใจสงบจากอารมณ์ เป็นอาหารของฝ่ายธรรม. อุดมคติของชีวิต คือ ความถึงที่สุด แห่งอารยธรรม ทั้งฝ่ายโลก และฝ่ายธรรม เพราะฉะนั้น ชีวิตย่อมต้องการอาหาร ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม ถ้ามีเพียงอย่างเดียว ชีวิตนั้น ก็มีความเป็นมนุษย์ เพียงครึ่งเดียว หรือ ซีกเดียว.

เราหาความสำราญ ให้แก่กายของเรา ได้ไม่สู้ยากนัก แต่ การหาความสำราญ ให้แก่ใจ นั้นยากเหลือเกิน ความสำราญกาย เห็นได้ง่าย รู้จักง่าย ตรงกันข้ามกับ ความสำราญทางใจ แต่ไม่มีใครเชื่อ เช่นนี้ กี่คนนัก เพราะเขาเชื่อว่า ไม่มีความสำราญ อย่างอื่น ที่ไหนอีก นอกจาก ความสำราญทางกาย และเมื่อ กายสำราญแล้ว ใจก็สำราญเอง คนพวกนี้ ไม่ฟังธรรม หรือ ศึกษาธรรม และ ไม่ไหว้พระสงฆ์ ซึ่งเป็น นิมิต อันหนึ่งของธรรม.

ความสำราญทางกาย หรือฝ่ายโลกนั้น ต้อง"ดื่ม" หรือ ต้อง"กิน" อยู่เสมอ จึงจะสำราญ แต่ที่แท้ มันเป็นเพียง การระงับ หรือ กลบเกลื่อน ความหิว ไว้ทุกชั่วคราวที่หิว เท่านั้น ส่วนความสำราญ ฝ่ายใจ หรือ ฝ่ายธรรมนั้น ไม่ต้องดื่ม ไม่ต้องกิน ก็สำราญอยู่เอง เพราะมันไม่มีความหิว ไม่ต้องดื่มกิน เพื่อแก้หิว ที่กล่าวนี้ ผู้ที่นิยม ความสำราญทางกาย อย่างเดียว อาจฟังไม่เข้าใจก็ได้ แต่อย่าเพ่อ เบื่อหน่าย ขอให้ทนอ่าน สืบไปอีกหน่อย

พวกที่นิยม ความสำราญกาย ในทางโลก กล่าวว่า "ใจอยู่ในกาย" แต่พวกนิยม ความสำราญใจ ในทางธรรม กล่าวว่า "กายอยู่ในใจ" พวกแรก รู้จักโลก เพียงซีกเดียว พวกหลัง อยู่ในโลกนานพอ จนรู้จักโลกดี ทั้งสองซีกแล้ว ขณะเมื่อ พวกที่ชอบสำราญกาย กำลังปรนเปรอ ให้เหยื่อแก่ความหิว ของเขา อย่างเต็มที่นั้น พวกที่ชอบสำราญใจ กำลังเอาชนะ ความหิว ของเขาได้ ด้วยการบังคับ อินทรีย์ จนมันดับสนิท สงบอยู่ภายใต้อำนาจ ของเขาเอง พวกแรก เข้าใจเอา คุณภาพ ของการให้ "สิ่งสนองความอยาก" แก่ความหิว ของเขาว่า เป็นความสำราญ พวกหลัง เอาคุณภาพของ การที่ยิ่งไม่ต้องให้ สิ่งสนอง ความอยาก เท่าใดยิ่งดี ว่าเป็นความสำราญ พวกหนึ่ง ยิ่งแพ้ตัณหา มากเท่าใดยิ่งดี อีกพวกหนึ่ง ยิ่งชนะมาก เท่าใด ยิ่งดี !

พวกที่ชอบสำราญกาย ย่อมจะ แพ้ตัณหา อยู่เองแล้ว โดยไม่รู้สึกตัว ทำเอง และ ชักชวน ลูกหลาน ให้หา ความสำราญกาย อย่างเดียว เพราะไม่รู้จักสิ่งอื่น นอกจากนั้น ครั้นได้ เครื่องสำราญกายมา ใจก็ไม่สงบสุข เพราะ มันยังอยาก ของแปลก ของใหม่ อยู่เสมอไป (ได้เพียงความสำราญ ชั่วแล่น เหมือนกินข้าว มื้อหนึ่ง ก็สงบหิว ไปได้ชั่วมื้อหนึ่ง) เมื่อความหม่นหมองใจ เกิดขึ้น ก็ฅิดเอาว่า ตนเป็นคนมีกรรม หรือ โชคร้าย ไม่เหมือนคนอื่นเขา เมื่อต้องเจ็บป่วย ตามธรรมดา ของสังขาร ก็น้อยใจ โชคของตัว อย่างหาที่เปรียบมิได้ ยิ่งเมื่อแสวงหาโชค โดยทางใด ก็ไม่ได้เสียเลยแล้ว ก็เลยเห็นไปว่า ในโลกนี้ ไม่มี ความยุติธรรม มีแต่ความดุร้าย คนชนิดนี้ ในที่สุด ก็มอบตัว ให้แก่ ธรรมชาติฝ่ายต่ำ ประกอบกรรม ชนิดที่โลก ไม่พึงปรารถนา ต่อสู้ สิ่งที่เรียกว่า โชคชะตา ไป แม้อย่างดีที่สุด คนพวกนี้ จะทำได้ ก็เพียง แต่ เป็นผู้ทน ระทมทุกข์ อยู่ด้วย การแช่งด่า โชคชะตา ของตัวเอง เท่านั้น ในสโมสร หรือสมาคม ของพวกที่แสวง ความสำราญทางกาย ซึ่งกำลังร่าเริง กันอยู่นั้น พวกเทพยดา ย่อมรู้ดีว่า เป็นการเล่นละคร ย้อมสีหน้า ก็มี หลงทำไป ทั้งที่ตัวเอง หลอกตัวเอง ให้เห็นว่า เก๋ ว่าสุข ก็มาก บางคนต้องร้องไห้ และหัวเราะ สลับกันทุกๆ วัน วันละ หลายครั้ง จิตใจฟูขึ้น แล้วเหี่ยวห่อลง, ขึ้นๆ ลงๆ ตามที่กระเป๋าพองขึ้น หรือยุบลง หรือ ตามแต่ จะได้เหยื่อ ที่ถูกปาก และไม่ถูกปาก ใจของพวกนี้ ยังเหลือ อยู่นิดเดียวเสมอ เท่าที่เขารู้สึก จึงทำให้ เขาเข้าใจว่า ใจอยู่ในกาย คือ แล้วแต่กาย หรือ สำคัญอยู่ที่กาย เพราะต้องต่อเมื่อ เขาได้รับ ความสำราญกาย เต็มที่แล้ว ต่างหาก ใจของพวกเขา จึงเป็น อย่างที่เขา เรียกว่า "สุข" แม้คนพวกนี้ จะพูดว่า ความสำราญใจ ! ความสำราญใจ !!" อยู่บ้าง ก็เป็นเพียง การหลงเอา ความสำราญฝ่ายกาย ขึ้นมาแทน เท่านั้น จะสำราญใจ ได้อย่างไร ในเมื่อใจ ถูกทำให้พองขึ้น ยุบลง เสมอ ความพองขึ้น หรือยุบลง ก็ตาม ย่อมเป็นสิ่งทรมานใจ ให้เหน็ดเหนื่อย เท่ากัน เพียงแต่เป็น รุปร่างที่ต่างกัน เท่านั้น ลาภ ยศ สรรเสริญ และความเพลิดเพลิน ทำให้พองเบ่ง เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกสบประมาท และหาความ เพลิดเพลิน มิได้ ทำให้ยุบเหี่ยว แต่ทั้งสองอย่าง ทำความหวั่นไหว โยกโคลง ให้เท่ากัน อย่างเด็ดขาด เมื่อเขาได้ สมใจอยาก เขาก็ได้ ความหวั่นไหว เมื่อไม่ได้ ก็ได้ความหวั่นไหว เมื่อมืดมน หนักเข้า ก็แน่ใจลงเสียว่า ความอร่อย หรือ ขณะที่อร่อย นั่นแหละเป็น "พระนิพพาน" ของชีวิต แต่เมื่อคิดดู เราพอจะเห็นได้ว่า นั่นยังไม่ได้ ถอยห่าง ออกมาจาก กองทุกข์ แม้แต่นิดเดียว, มันเป็นเพียง ความสำคัญผิด เท่านั้น และ เป็นความสำคัญผิด ที่จะมัดตรึง ตัวเอง ให้ติดจม อยู่กับ บ่อโคลน นั่นตลอดเวลา

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะเห็นได้สืบไปว่า การสำราญทางฝ่ายโลก หรือจะเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า ฝ่ายกาย หรือวัตถุ นั้น คืออะไร และเมื่อได้ หมกมุ่นมัว แต่แสวงอาหาร ให้กาย ท่าเดียว แล้วจะเป็นอย่างไร หรือ อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้ารู้จักความสุข เฉพาะในด้านนี้ ด้านเดียว แล้ว ก็จะรู้จักโลกเพียงซีกเดียว อย่างไร และยิ่งกว่านั้น คนที่รู้จักโลก เพียงซีกหนึ่งเช่นนี้ หาอาจทำ อารมณ์เหล่านี้ ให้เป็น เครื่องอำนวยความสะดวก หรือ ความเพลิน แก่เขาได้ เช่นเดียวกับ ผู้ที่เข้าใจโลกดี ทั้งสองซีกไม่; เพราะ ต้องตกเป็นทาส ของความมัวเมา รื้อไม่สร่าง บูชามันให้เป็น สิ่งสูงสุด กว่าสิ่งใดอยู่เสมอ

ส่วนผู้ที่รู้จักโลก ดีแล้วนั้น ย่อมบูชา ความสำราญทางธรรม หรือ ฝ่ายใจอันแท้จริง เป็นส่วนสำคัญ และถือเอาส่วนกาย หรือวัตถุ เป็นเพียง เครื่องอำนวยความสะดวก ในฐานเป็นคนใช้ สำหรับรับใช้ ในการแสวงหา ความสำราญ ทางฝ่ายจิต เท่านั้น พวกนี้จึงมีอุดมคติว่า "กายอยู่ในใจ" คือแล้วแต่ใจ กายเป็นของนิดเดียว, และอาศัยใจ ซึ่งมีอำนาจเด็ดขาด และ คุณภาพสูงสุด อยู่ทุกๆประการ และทุกๆเวลา "แสวงหาอาหาร ให้ดวงใจดีกว่า ! "

ความเจริญ งอกงาม ของดวงใจ นั้น ยังไปได้ไกล อีกมากมายนัก คือกว่าจะถึง พระนิพพาน เมื่อไร นั่นแหละ จึงจะหมด ขีดของทางไป แล้วมีอุดมสันติสุข อยู่ตลอด อนันตกาล ส่วนความเจริญทางกายนั้น ไม่มีทางไปอีกต่อไป สูงสุดอยู่ได้เพียงแค่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ อารมณ์ทางใจ บางอย่าง เช่น ยศศักดิ์ เท่านั้น แต่ไม่มีใคร เคยทำให้เกิด ความอิ่ม ความพอใจ ในเรื่องนี้เลย แม้ในอดีต, ในปัจจุบัน และ อนาคต. เพราะว่า การแสวงหาทางฝ่ายนี้ ต้องการ "ความไม่รู้จักพอ" นั่นเอง เป็นเชื้อเพลิงอันสำคัญแห่งความสำราญ ถ้าพอเสียเมื่อใด ก็หมดสนุก ! ใครจะขวนขวายอย่างไร ก็ไม่อาจได้ผลสูงไปกว่า "การสยบซบซึมอยู่ ท่ามกลางกองเพลิง แห่งความถูกปลุกเร้าของตัณหา" ซึ่งเมื่อใดม่อยหรี่ลง ก็จะต้องหาเชื้อเพลิงเพิ่มให้ใหม่อีก และไม่มีเวลาพอ เช่นเดียวกับ ไฟธรรมดา กับ เชื้อเพลิงธรรมดา เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การแสวงหา อาหารทางฝ่ายใจ เพื่อดวงใจ จึงเป็นสิ่งที่มีค่า น่าทำกว่า, เป็นศิลปะกว่า เป็นอุดมคติที่สูงกว่า, ทำยาก หรือ น่าสรรเสริญกว่า, หอมหวนกว่า เยือกเย็นกว่า ฯลฯ กว่า โดยทุกๆ ปริยาย.

การแสวงความสำราญ ทางฝ่ายกาย เป็นต้นเหตุแห่งสงคราม, การแสดงความสำราญ ฝ่ายจิต เป็นต้นเหตุ แห่งสันติภาพ. ถ้าชาวโลก ยังบูชาลัทธิวัตถุนิยม มัวแสวงแต่ ความสำราญทางกาย อย่างเดียว อยู่เพียงใด ก็ไม่มีหวังในสันติภาพ แม้จะเปิด สภาสันนิบาตชาติ ขึ้นอีกสัก ๑๐ สันนิบาต ก็ตาม นักวัตถุนิยม เห็นกายเป็นใหญ่ ย่อมเสียสละ ได้ทุกอย่าง เพื่อให้กาย หรือโลกของตน อิ่มหมีพีมัน ส่วนนักจิตนิยม เห็นแก่จิตเป็นใหญ่ ย่อมเสียสละได้ ทุกอย่างเหมือนกัน เพื่อแลกเอา ความสงบ เยือกเย็น ของจิต. ผู้แสวงความสำราญ ทางกาย นั้น การแสวง ของเขา จำเป็นอยู่เอง ที่จะต้องกระทบ กับผู้อื่น เพราะความสำราญกาย นี้ เป็นของเนื่องด้วยผู้อื่น หรือ สิ่งอื่น ที่แวดล้อม อยู่โดยรอบ เมื่อความเห็นแก่ตัว มีอยู่ ก็ต้องมีการ กระทบกัน เป็นธรรมดา การสงครามก็คือ การปะทะ ของคนหลายคน ที่ต่างฝ่ายต่าง มีความเห็นแก่ตัว เพื่อความสำราญทางกาย นั่นเอง สงครามโลก ซึ่งเป็นเพียง ความเห็นแก่ตัว ของคนหลายชาติ รวมกัน ก็ไม่ต่างอะไรกันอีก ส่วนการแสวงหา ความสุขทางฝ่ายจิต นั้น จะไม่กระทบกระทั่ง ใครเลย แม้แต่น้อย, เพราะเหตุว่า มีอะไรๆ ให้แสวง อยู่ในตน ผู้เดียว เสร็จ ไม่ต้องเนื่องด้วยผู้อื่น การสงคราม ไม่สามารถ เกิดจาก ผู้แสวงสุขทางจิต! เช่นเดียวกับ ที่ไฟ ไม่สามารถ เกิดจาก ความเย็น.

การแสวงหาอาหาร ทางฝ่ายกาย ง่ายหรือตื้น และ เป็น ต้นเหตุ แห่งสงคราม การแสวงหาอาหาร ของดวงใจ ยาก และ ลึก และ เป็นต้นเหตุ ของสันติภาพ ดังกล่าวมาแล้ว. แต่มนุษย์ในโลกนี้ ส่วนมาก ปล่อยตน ไปตามสัญชาตญาณ หรือ ธรรมดาฝ่ายต่ำ มากเกินไป จึงเท่าที่เราเห็นกัน จึงมีแต่ ผู้ถือลัทธิวัตถุนิยม ยิ่งนานเข้าเท่าใด วิธีการแสวงหา อาหารของดวงใจ ก็ยิ่งลบเลือน หายไปจาก ความทรงจำ และ ความเอาใจใส่ ของมนุษย์ มากขึ้น เพียงนั้น ในที่สุด ก็ไม่มีอะไรเหลือ อยู่ใน มันสมอง ของมนุษย์ นอกจาก ความเห็นแก่ตัว และนั่นคือ สมัยที่ ไฟประลัยกัลป์ จะล้างโลก

ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวว่า ผู้แสวงหาสุขทางใจ มีอยู่เพียงกี่คน ก็ตาม ก็เป็นเหมือน ลูกตุ้ม ที่ถ่วงโลกไว้ มิให้หมุนไป ถึงยุค ไฟประลัยกัลป์ เร็วเกินไปเพียงนั้น

"เรายอมรับว่า เป็นลูกตุ้มจริง แต่ว่า เป็นลูกตุ้ม ที่ถ่วง ไม่ให้ พวกท่าน วิ่งเข้าไปสู่กองไฟ เร็วเกินไป ถ้าพวกข้าพเจ้า จะพลอยเป็น อย่างท่าน ไปด้วย เชื่อแน่ว่า โลกคงจะแตกดับ เร็วกว่า ที่พวกข้าพเจ้า จะแยกเป็นอยู่ เช่นนี้" นี่เป็นคำ ซึ่ง พวกแสวงสุข ทางฝ่ายจิต ควรจะพูดได้ โดยชอบธรรม !

พระพุทธองค์ ทรงเป็น นายกแห่ง สมาคม ผู้แสวงสุขทางใจ เพียงพระองค์เดียว และ สมัยเดียว ก็ชื่อว่าเป็น โลกนาถ ที่พึ่งของโลก หลายสมัย เพราะว่า อิทธพล แห่งธรรม ที่พระองค์ ทรงเปิดเผยขึ้นนั้น ได้ถ่วงให้โลก ที่กำลังหมุนไปหา ความแตกดับ หมุนไปช้าเข้า มากกว่ามากนัก เมื่อหมุนไปช้า เช่นนี้ คนทั้งโลก แม้ที่สุด แต่ คนที่ไม่เคย ได้ยินชื่อ ของพระองค์ ก็พลอยมีส่วน ได้รับความสุข ด้วย แต่เมื่อโลก ละทิ้ง การแสวงหา อาหารทางใจ มารับเอา อาหารทางกาย มากขึ้น เช่นนี้ พระพุทธองค์ ก็ช่วยไม่ได้ เพราะ โลกเป็นฝ่าย ที่ทิ้ง พระพุทธองค์

พุทธบริษัททุกคน ยังภักดีต่อ การแสวงหาความสุขทางใจ กันอยู่ นับว่า ตระกูลของพระองค์ ยังไม่ขาดทายาท เสียทีเดียว และจะยังเป็น เหมือน ลูกตุ้มน้อยๆ ที่เหลืออยู่ เพื่อตัวเอง และ โลก ด้วย, ทั้งขณะที่ พวกอื่น เขาอาจกำลัง เกลียด พวกนี้อยู่.

พุทธบริษัท คงต้องถือว่า กายอยู่ในใจ, อาหารทางใจ สำคัญกว่า อาหารทางกาย และยังคงต้องภักดี ต่อลัทธิ แสวงสุขทางใจ อยู่เสมอ. การเป็นพุทธบริษัท แต่ปากนั้น ไม่ทำให้เป็น พุทธบริษัท ได้เลย พุทธบริษัทที่แท้ เป็นนักนิยมวัตถุ หรือ ถือลัทธิหลงชาติ ไปไม่ได้ พุทธบริษัทที่ขวางๆ รีๆ นั่นยิ่งจะร้ายไปกว่า ผู้ที่มิได้เป็นพุทธบริษัท เมื่อเกิด "มิคสัญญี" พุทธบริษัท ที่แท้จริง เท่านั้น ที่จะเป็นผู้เหลืออยู่ แม้นี้ก็เป็น อานิสงฆ์ แห่งการนิยม อาหารของดวงใจ

เมื่อได้พร่ำ กล่าวถึง ความดี ของ อาหารทางดวงใจ มามากแล้ว กระทั่ง ในแง่การเมือง เป็นที่สุด จึงต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึง ลักษณะของ อาหารทางใจ โดยตรงบ้าง, ให้ควรกัน.

คำสองคำซึ่งใครๆ ก็เคยได้ยินมีอยู่ว่า โลก กะ ธรรม โลก กับธรรม จะเป็น อันเดียวกัน ไม่ได้. โดยที่โลกเป็นฝ่ายนิยมวัตถุ, ธรรมเป็นฝ่ายนิยม "ความเป็นอิสระ เหนือวัตถุ" และ "ความเป็นอิสระ เหนือวัตถุ นี่เอง คือ อาหารของดวงใจ" กายต้องการอาหาร ทางฝ่ายโลก, ใจต้องการอาหาร ฝ่ายธรรม, ผู้ที่เห็นว่า ใจเป็นใหญ่ จนถึงกับเป็น ที่อิงอาศัยของกาย ย่อมแสวงหาอาหาร ให้กายเพียงเพื่อสักว่า ให้มันเป็นอยู่ได้ (ยาปนมัตต์) เท่านั้น นอกนั้นใช้แสวง เพื่อใจอย่างเดียว

อันความเป็น อิสระเหนือวัตถุ นั้นเห็นได้ยาก ตรงที่ตามธรรมดา ก็ไม่มีใครนึกว่า ตนได้ตกเป็นทาสของวัตถุ แต่อย่างใด ใครๆ ก็กำลังหาวัตถุ มากินมาใช้ มาประดับ เกียรติยศ ของตน และบำเรอ คนที่ตนรัก ทำให้เห็นไปว่า นั่นเป็น นาย มีอิสระเหนือวัตถุ พอแล้ว เช่น มีเงินจะใช้มัน เมื่อไรก็ได้ ส่วน ความหม่นหมองใจ ที่เกิดขึ้น มากมาย หลายประการ หามีใครคิดไม่ว่า นั่นเป็น อิทธพลของวัตถุ ที่มันครอบงำ ย่ำยีเล่น ตามพอใจ ของมัน ดวงใจ ได้เสีย ความสงบเย็น ที่ควรจะได้ ไปจนหมด ก็เพราะ ความโง่เง่า ของตัวเอง, ที่ไปหลง บูชาวัตถุ จนกลายเป็น ของมีพิษสง ขึ้นมา ดวงใจที่แท้จริง ก็ไม่อาจฟักตัว เจริญงอกงาม ขึ้นมา เพราะ ขาดการบำรุง ด้วยอาหาร โดยที่เจ้าของ ไม่เคยคิดว่า มันต้องการอาหาร เป็นพิเศษ ยิ่งกว่ากาย สัญชาตญาณ ทั้งหลาย ชวนกันขึ้น นั่งบัลลังก์ บัญชาการเต็มที่ ออกคำสั่ง ทับถมดวงใจ ที่แท้จริง หรือธรรมชาติฝ่ายสูง ที่เป็นชั้นปรมัตถธรรม จนไม่ปรากฏ สาละวนแต่ แสวงหาอาหาร ตามอำนาจฝ่ายต่ำ หรือที่เรียก ในที่นี้ว่า กาย (โวหารธรรม) เมื่อใจขาดอาหาร แม้แต่ที่เป็นเบื้องต้น เช่นนี้แล้ว ก็ไม่งอกงาม พอที่จะแจ่มใส ส่องแสง ให้ผู้นั้นมองเห็น และถืออุดมคติ แห่งความสุขทางใจได้ ชีวิตก็เป็นของมืดมน ต้องร้องไห้ ทั้งที่ ไม่รู้เห็นว่า มีอะไรมาทำเอา

เมื่อเด็กๆ ที่เกิดมาในโลก ไม่อาจสำนึก ในปริยายนี้ ได้ด้วยตนเอง เช่นนี้แล้ว การศึกษาธรรมเท่านั้น ที่จะช่วยได้ในเบื้องต้น การศึกษาธรรม ทางฝ่ายหลักวิชา จึงเป็น อาหารของดวงใจ ในขั้นแรก และขั้นกลาง ก็คือ การย่อยหลักวิชาๆ นั้น ออกด้วย มันสมอง ของตนเอง ได้ความรู้ ความแจ่มแจ้ง ความโปร่งใส เยือกเย็น อะไรมา นั่นเป็น อาหารชั้นปลาย ส่งเสริมกัน สืบไปให้เจริญ จนสามารถ ทำพระนิพพาน ให้ปรากฏ จึงจะนับว่าถึงที่สุด

ปริยัติธรรม หรือ ธรรมในส่วนหลักวิชานั้น ช่วยได้โดยเป็น เครื่องสะกิดใจ ให้รู้สึก ในเบื้องต้นว่า เรามีกายสองซีก คือ ซีกรูปกาย และธรรมกาย รูปกาย เจริญได้เอง ด้วยการมี บิดามารดา เป็นแดนเกิด เติบโตขึ้น ด้วยข้าวปลา อาหาร ส่วนธรรมกายนั้น มี กาย วาจา ใจ ที่สุจริตผ่องใส เป็นที่ตั้ง ที่ปรากฏ, มีผลของ ความสุจริต เป็นอาหาร ที่จะบำรุง ให้เติบโต สืบไป และทำให้เรา รู้สึกสืบไป เป็นลำดับว่า ถ้าบำรุงแต่รูปกาย อย่างเดียว มันก็จะอ้วนดี แต่ซีกเดียว อีกซีกหนึ่ง ซึ่งเป็นซีกใน จะเหี่ยวแห้งอยู่ ผลที่ได้ ก็คือ ร่างกายที่สมบูรณ์ แต่ใจเต็มไปด้วย ความหม่นหมอง เมื่อยังเด็ก ความหม่นหมอง มิปรากฏนัก ก็เพราะยังเป็น ผู้ที่ผู้อื่นเลี้ยงดูให้ และ กายก็ยัง มิได้ขยายตัวเต็มที่ จนสามารถ ทำความรู้สึกได้สุดขีด ทุกๆ อินทรีย์ (คือเต็มที่ ทั้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ครั้นเมื่อ กายเจริญเต็มที่เข้า ความหม่นหมอง ก็เกิดมากขึ้น เพราะยิ่งขาดดุลยภาพ (ของความที่ รูปกาย และ ธรรมกาย จะต้องมี ความเจริญคู่เคียง สม่ำเสมอกันไป จึงความหม่นหมอง จะไม่อาจเกิด) นั่นเอง สรุปความว่า ปริยัติธรรม ช่วยให้เราทราบว่า เราจะต้องประพฤติธรรม เช่นนั้นเช่นนี้ เพื่อธรรมกายของเรา มิฉะนั้น เราตายด้านไปซีกหนึ่ง, เมื่อเรารู้ ปริยัติธรรม พอสมควรแล้ว เราก็ได้ อาหารของดวงใจ ในส่วนหลักวิชา และ ภาคพื้น ของการปฏิบัติ สัมมาทิฎฐิ หรือ รุ่งอรุณ ได้ปรากฏแก่เราแล้ว เป็นแรกเริ่ม

ปฏิบัติธรรม หรือ ธรรมคือตัวการปฏิบัตินั้น เป็นการทรมานอินทรีย์ (sense) เพื่อเอาชนะอินทรีย์, ชนะได้เท่าใด ความเยือกเย็น พร้อมทั้ง ความรู้แจ้ง ก็เกิดขึ้น เท่านั้น ความเยือกเย็น เกิดจาก ความที่ อินทรีย์ สงบรำงับลง ความเห็นแจ้ง ความจริงในตัวเอง ปรากฏเพราะ ไม่ถูกม่าน แห่งความ กลัดกลุ้ม ของอินทรีย์ ปิดบังไว้ เช่นแต่ก่อน วิธีเอาชนะ อินทรีย์ ตามหลัก แห่งพุทธศาสนา ได้แก่ การบังคับตัวเอง ให้งดเว้นจากสิ่งชั่ว, บังคับตัวเอง ให้ทำ แต่สิ่งที่ดี เข้าแทน และต่อจากนั้น พยายามหาวิธี ชำระจิต ให้เป็นอิสระ จากความหม่นหมอง ทั้งที่เปิดเผย เห็นได้ง่ายๆ และที่นอนนิ่ง เงียบๆ อยู่ในสันดาน อันเป็นเหมือน เชื้อ ที่ก่อเกิด ของอย่างแรก หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ การบังคับกาย และ วาจา ให้อยู่ในอำนาจ เรียกว่า ศีล, บังคับจิต ให้อยู่ในอำนาจ เรียกว่า สมาธิ, และใช้จิตที่อยู่ในอำนาจแล้ว คือ ค้นหาความจริง ที่ยาก ที่ลึก จนปรากฏ แจ่มแจ้ง เรียกว่า ปัญญา, การบังคับหรือ ควบคุมอินทรีย์ เช่นนี้ ทำให้ดวงใจ ได้รับ ความสะบักสะบอม น้อยลง วัตถุ หรือ อารมณ์ ทั้งหลาย มีพิษสง น้อยเข้า หรือ หมดไป เพราะ ค่าที่เรา สามารถบังคับ ตัวเอง ไว้ในภาวะ ที่จะ ไม่หลงใหลไป ตามทั้งใน ทางชอบ และ ทางชัง เมื่อใจเรา ได้รับความ พักผ่อน อย่างผาสุก เนื่องจาก การบังคับอินทรีย์ ของเรา เช่นนี้แล้ว เราก็ได้ อาหารของดวงใจ ในส่วนของการปฏิบัติ, อันจะเป็น อุปกรณ์ ให้ได้รับ อาหารชั้นสูงสุด สืบไป

ปฏิเวธธรรม หรือ ธรรมในส่วน การรู้แจ้ง แทงตลอดในสิ่งที่เคยหลงใหล ไม่รู้เท่าทันมาก่อน เป็นความรู้ ชนิดที่จะ ตัดราก ความหม่นหมอง ของดวงใจเสีย โดยประการทั้งปวง, เช่น ความสงสัย ความเข้าใจผิด หลงรัก หลงชัง ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เสียแล้ว ทำความแจ่มแจ้งใจ โปร่งใจ เยือกเย็นใจ ให้เกิดขึ้นแทน นี้เป็นผล ที่ปรากฏแก่ใจ สมจริง ตามที่เรียนรู้ ทางหลักวิชา โดยปริยัติ ซึ่งเป็นเพียง "การรู้อย่างคาดคะเน ด้วยเหตุผล ล่วงหน้าไปก่อน" การแทงตลอดนี้ หมายถึง การแทงตลอด ม่านอวิชชา คือ ความโง่หลง ซึ่งเป็นของเฉพาะตัว อย่างยิ่ง. น่าอัศจรรย์มาก ที่คนบ้าคลั่ง อาจรักษาโรค ของตนเอง ด้วยการฟัง วิธีรักษา มาจากผู้อื่น แล้วรักษาตัวเอง พิจารณาตัวเอง ไปเรื่อยๆ อย่างค่อยเป็น ค่อยไป จนหายได้ ในที่สุด! ช่างไม้ หรือ นักยันตรกรรม ที่ติดขัด ในปัญหาขัดข้อง บางอย่าง ในหน้าที่การงานของตน อาจผ่านปัญหานั้นๆ ไปได้ โดยการ พยายาม คิดค้น หาเอาเอง หรือ ถามท่านผู้รู้ แล้วมา แก้ไขไปเอง เมื่อพบเงื่อนถูก ผ่านไปได้ ก็ได้รับความสุขใจ ผู้ที่รู้ว่า ตนกำลังติดขัด ในปัญหาชีวิต (คือ ความที่ชีวิต ถูกกดถ่วง ด้วยความ หม่นหมอง อยู่เสมอ ตั้งแต่ ชนิดที่ หยาบที่สุด จนถึง ที่ละเอียดที่สุด) ก็ฉันนั้น, คือเมื่อได้คิดค้น ไปเองบ้าง ไต่ถามท่าน ผู้รู้ มาคิดค้น ไปบ้าง จนได้รับความแจ่มแจ้ง เบาโปร่ง ปรากฏกับใจเอง ก็เป็นสุข นักศิลปินที่แท้จริง เขาหาความสุข จากความพอใจ ตัวเอง ในการที่ ทำสิ่งที่ยากๆ ได้สำเร็จ มิใช่เพราะ พอใจในเงิน หรือ รางวัลที่จะได้รับ ซึ่งเป็นวิสัย ของ นักการค้า ในที่นี้จะ เห็นได้ว่า ความสุขที่เกิดจากความพอใจ หรือ ความรู้แจ้งนั้น เป็นอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งนักการค้า หรือ ผู้นิยมวัตถุ จะเห็นเป็นความสุข ไปไม่ได้เลย ผลอันนี้คือ อาหารของดวงใจ ในส่วนปฏิเวธ, ซึ่งเมื่อ แทงตลอด ถึงที่สุด ไม่มีอะไรเหลือจริงๆ ก็คือ การพบกันเข้ากับ พระนิพพาน และ การแทงตลอด ที่ถึงขีด ระยะหนึ่งๆ ข้างต้นๆ นั้น คือ มรรคผล ขั้นหนึ่งๆ ตามหลัก ที่ท่านกำหนดไว้

เมื่อได้ อาหารทางใจ เป็นลำดับมา จนลุถึง พระนิพพาน เช่นนี้แล้ว ต่อจากนั้น ก็เป็น ใจที่มีรสของ พระนิพพาน เป็นอาหาร ศานติเป็น รสของพระนิพพาน ! และ ใจมีศานตินั้น เป็นอาหาร !! ศานติ ในที่นี้ หมายถึง ความเยือกเย็น ของพระนิพพาน หรือ สภาพอันหนึ่ง ซึ่งเป็นสภาพแห่ง ความว่างโปร่ง เป็นอิสระเหนือสิ่งทั้งหลาย เหนือรูปธรรม นามธรรม เหนือกฏแห่งรูปธรรม และ นามธรรม ทั้งหมด และเป็นสิ่งที่ ใครจะกฏเกณฑ์อะไร ให้ไม่ได้เลย

เมื่อเราอาบน้ำ เราได้รับความเย็นของน้ำ หรือ เพราะน้ำ, เมื่อใจลุถึง พระนิพพาน มันย่อมเยือกเย็น เพราะ ความเย็นของ พระนิพพานนั่นเอง ความเยือกเย็นอันนี้ เป็น ยอดอาหาร ชั้นพิเศษ ของดวงใจ ก็ความหม่นหมอง ต่างๆ ของดวงใจนั้น ถูกสลัดทิ้ง เสียหมดแล้ว ตั้งแต่ได้รับ อาหาร ขั้นปฏิเวธขั้นสูง มาบัดนี้ ได้รับความเยือกเย็น ของพระนิพพาน เข้าอีก จึงเป็นการยาก ที่จะกล่าว ให้เป็นที่เข้าใจ กันอย่างทั่วไปว่า รสชาติอันนี้ ในขณะนี้ จะเป็นอย่างไร ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสิ่งที่ แม้แต่ อยากพูด ให้ฟัง ก็ไม่รู้ว่า จะพูดอย่างไร (Subjective) อย่าว่าแต่ รสชาติ ของพระนิพพานเลย แม้เพียงแต่ รสของวิเวก หรือ สมาธิขั้นต้นๆ ก็เป็นของยากที่จะอธิบายว่า มีรสชาติเป็นอย่างไรเสียแล้ว เพราะเป็นรสที่ต้องจัดเป็นรสแปลกใหม่อีกรสหนึ่ง จากบรรดารส ที่คนธรรมดา เราเคยรู้รสกันมาในวงแห่ง โลกิยารมณ์ ความจริง ตามธรรมดา สิ่งที่เรียกกันว่า รส นั้น เป็นของอธิบายยากมาก บางอย่าง ไม่มีทาง จะเทียบเคียง เสียเลย เช่น นาย ก. ไม่เคยกิน ของหวาน เลย นาย ข. ก็ไม่อาจที่จะ อธิบายให้ นาย ก. ทราบได้ว่า รสหวานนั้น เป็นอย่างไร จะว่า ตรงกันข้ามกับ ขม กับ เค็ม กับเปรี้ยว หรือ อะไรทุกอย่าง นาย ก. ก็ไม่อาจทายได้ว่า รสหวาน นั้นเป็นอย่างไร แม้ นาย ข. จะคิดค้นหา คำใดมาพูด ก็ไม่ได้  คงได้แต่ว่า หวานๆ อยู่อย่างเดิม นั่นเอง นี่คือ ความเป็น ปัจจัตตัง และ ความเป็น ของอธิบายให้ชัด ไม่ได้ ของรส ส่วนรสของ พระนิพพาน ก็ทำนองเดียวกัน เป็นแต่ ยิ่งยากขึ้นไป กว่านั้น อีกหลายเท่านัก แม้ในทาง ที่จะให้เปรียบเทียบ หรือ คาดคะเน ก็เมื่อ นาย ก. ไม่ควรจะดื้อเถียง นาย ข. ว่า รสหวานไม่มีในโลก, และ ทางที่ดีที่สุด นาย ก. ควรใช้ความพยายาม จนหาน้ำตาล มาชิมดูได้ ด้วยตน ก็จะรู้ว่า หวานเป็นอย่างไร ฉันใด ผู้ที่ยังไม่ถึงนิพพาน ก็ไม่ควรปฏิเสธ รสของนิพพาน. แต่ควร ตะเกียกตะกาย จนได้ชิมรสของพระนิพพาน ด้วยตนเองฉันนั้น

ก่อนแต่จะจบเรื่องนี้ อยากจะเล่านิทาน ฟังกันเล่น สักหน่อยหนึ่ง เต่าตัวหนึ่ง เป็นสหาย กับ ปลาตัวหนึ่ง วันหนึ่งได้พบกัน ปลาถามว่า

"สหายเอ๋ย, ท่านไปที่ไหนเสียเป็นนาน?"
"ไปเที่ยวบนบกมา" เต่าตอบ
"บกเป็นอย่างไร?" ปลาถาม
"อ๋อ บกงดงามมาก มีอะไรสวยๆ แปลกๆ ลมพัดเย็นสบาย มีอาหารดีเยอะ มีเสียงแปลกๆ ซึ่งเราไม่เคยได้ยิน ในที่นี้เลย"
"ฉันไม่เข้าใจเลย สหายเอ๋ย บกนั้น อ่อนละมุน ให้ศรีษะของเราแหวกว่าย ไปได้สะดวกเช่นนี้หรือ?"
"ไม่ใช่"
"บกไหลเอ่อไปได้ตามร่อง เช่นนี้หรือ?"
"ไม่ใช่"
"บกเย็นชุ่ม ซึมซาบ เอิบอาบ เช่นนี้หรือ ?"
"ไม่ใช่"
"บกเป็นละลอก ริ้วๆ เมื่อถูกลมพัดหรือ ?"
"ไม่ใช่"

แม้ปลาจะตั้งคำถามมาอย่างไร คำตอบก็มีแต่ "ไม่ใช่" ทั้งนั้น ในที่สุด ปลาก็หมดศรัทธา ประณามเต่าว่า "สหายเอ๋ย ท่านโกหกเสียแล้ว เอาสิ่งที่ ไม่มีจริง เป็นจริง มากล่าว" แต่เต่าก็ ไม่รู้ที่จะตอบ สหายของตน อย่างไรดี ในที่สุด ก็ได้แต่ ค่อยคลาน กลับขึ้นบกอีก เต่าได้เที่ยว ไปบนบก อีกใหม่, บนบก ซึ่งสหายของเขา ไม่เคยนึก และ ไม่ยอมเชื่อว่ามี ! เต่าได้เที่ยวไปวันแล้ว วันเล่าๆ บนบก ซึ่ง สหายของเขา หาว่า เขาโกหก !!

นิทานเรื่องนี้ จะอาจเป็น เครื่องรองรับ ความเป็นปัจจัตตัง และ การพูดบรรยาย ไม่ได้ ของศานติ- อาหารของดวงใจ ชั้นพิเศษ ชั้นยอดสุด, ได้บ้างกระมัง, น้ำ กับ บก ต่อติดกันอยู่ ห่างกัน เพียงชั่วเส้นริมน้ำ เส้นเล็กๆ ที่ริมสระเท่านั้น แต่ปลาก็ไม่อาจรู้ หรือ แม้แต่ คาดคะเนว่า บกเป็นอย่างไร ได้เลย พระพุทธองค์ตรัสว่า โลก คือ โอกะ หรือ โอฆะ (แปลว่า น้ำ ทั้งสองศัพท์) สัตว์โลก ก็คือ ผู้ที่จม อยู่ในโลก หรือ น้ำ นั่นเอง พระนิพพาน เป็นฝั่งเกาะ ที่รอดพ้น แต่น้อยคนนัก ที่จะว่าย ออกไปถึงเกาะ ดุจพวกนก ที่ติดบ่วงแล้ว น้อยตัวนักที่จะหลุดไปได้ ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อ ของนายพราน ฉันใด ก็ฉันนั้น

ผู้ที่ตกโลก หรือ จมโลก ก็คือ ผู้ที่รู้จักแต่โลก หรือ กามคุณ ซึ่งเรียก ในที่นี้ว่า อาหารของฝ่ายกาย หรือ โลกิยะนั่นเอง เมื่อรู้จัก แต่อย่างเดียว ก็ไม่ (หรือ มักจะไม่) เชื่อว่า บก หรือ โลกุตตระ มีอยู่ ณ ที่ใดอีก เช่นเดียวกับปลา ก็บัดนี้ การที่จะเดินทางไปสู่บกนั้น ผู้เดินต้องกิน "อาหารของดวงใจ" ดังที่กล่าวมาแล้ว การที่ ไม่ค่อย มีใครสนใจ ในเรื่องอาหารของดวงใจ ก็เพราะ ไม่เคยคิด ที่จะเดินทางไปสู่ "บก"นั่นเอง !

อาหารของดวงใจ มีหลายชั้นนัก เพราะฉะนั้น ย่อมจะมีผู้แสวง และ เสพได้ในชั้นต่างๆ บางชั้น เป็นธรรมดา เรารู้ในข้อนี้ได้ ก็โดยที่ จะเห็นได้ว่า คนบางคน หาได้ตกโลก เต็มที่ เหมือนกับ บางคนไม่ เช่นเดียวกับ ถ้าเราจะมองดู ภาพสมมติ สักภาพหนึ่ง เป็น ภาพแห่ง ริมฝั่งทะเล เราเห็นคนบางพวก ตกน้ำ จมมิดอยู่ บางพวก ชูศรีษะ ร่อนขึ้นเหนือน้ำ ได้มองดูรอบๆ สังเกตหา ฝั่งบกอยู่ บางพวก มองเห็นฝั่งแล้ว บางพวก กำลังว่ายมุ่งเข้าฝั่ง บางพวก ใกล้ฝั่ง เข้ามามากแล้ว บางพวก ถึงที่ตื้น ยืนถึง เดินตะคุ่มๆ เข้ามาแล้ว บางพวก เดินท่อง เพียงแค่เข่า เข้ามาแล้ว บางพวก นั่งพักอย่างสบาย หรือ เที่ยวไป อย่างอิสระบนบก ! เราจะเป็นพวกไหน ย่อมไม่มีใครรู้ได้ เท่าตัวเราเอง !! เป็นของน่าคิด

ที่สุดนี้ หวังว่า ตลอดเวลา ที่มนุษย์ยังคงได้รับรส ของพระพุทธวจนะ อยู่เพียงใด คงจะมีสักพวกหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ พวกบริโภค อาหารของฝ่ายกาย อย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว ซึ่งจะเกิดความรู้สึกอึดอัด ในความซ้ำซาก และหมด "ทางไปในฝ่ายสูง" ของโลกิยาหาร หรือ ลัทธิวัตถุนิยม (Materialism) แล้วเกิดความสนใจ ในคุณภาพอันสูงสุด ของ โลกุตตราหาร หยิบเอา ลัทธิมโนนิยม (Spiritualism) ขึ้นมาพิจารณาดูบ้าง ด้วยกิริยา อันเคารพ และแยบคาย เพราะ ยังมีทางไปอีกสูงมาก

ในนามแห่งพุทธทาส ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดี ที่จะรู้จักท่าน และขอแสดงความนับถืออย่างสูง ต่อท่านล่วงหน้า

 

พุทธทาสภิกขุ

๑๙ กันย์ ๒๔๘๐

55
บทความ บทกวี / พุทธศาสนา เป็น
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:38:15 »
พุทธศาสนา ไม่ใช่ทั้ง Pessimism (ลัทธิเห็นสิ่งทั้งปวงเป็นไปในแง่ร้าย) และ Optimism (เห็นเป็นไปในแง่ดี) เพราะ Pessimism และ Optimism เป็นลัทธิ ที่ดิ่งลงไป จนถึงที่สุด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทั้งสองอย่าง ส่วนพุทธศาสนา สั่งสอนสัจธรรม อันเดิน ไปตาม สายกลาง, Pessimism นั้น จัดได้ว่าเป็นมูลแห่ง อัตตกิลมถานุโยค, Optimism ก็เป็นทางมาแห่ง กามสุขัลลิกานุโยค ทั้งสองลัทธินั้น ไม่กล่าวถึง การแก้ไข ให้ความ เป็นเช่นนั้นๆ กลายเป็นตรงกันข้าม กับที่เป็นอยู่หรือที่เป็นมาแล้วได้ ส่วนพุทธศาสนา สอนให้ดูโลกในแง่ของ Pessimism ก่อนแล้ว และสอน หนทางแก้ไข ให้มันกลายเป็นดีไป ซึ่งเป็นอันว่า ไม่ปัด Optimism เสียทีเดียว พุทธศาสนาสอนว่า ชีวิตนี้ เต็มไปด้วย อาการที่ทนยาก เป็น มายา เหลวไหล ถูกกักขัง และทรมาน อยู่โดยอวิชชา ไม่ได้อย่างใจหวัง สักอย่างเดียว ทั้งส่วนร่างกาย หรือ ส่วนจิตใจ ก็ตาม นี่แสดงว่า คล้ายกับ จะเอียงไปฝ่าย Pessimism แต่ พุทธศาสนา ไม่ได้สอน เพียงเท่านั้น ได้สอนวิธี ที่จะทำชีวิตให้ ตรงกันข้าม กับ อาการเช่นนั้นได้ด้วย คือ อัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา อันมีหลักสั้นๆ ว่า ชีวิตอาจบริสุทธิ์ และ หลุดพ้น จากการทรมานได้ ด้วยการ ประพฤติ อย่างถูกต้อง ของเราเอง จนเรา อาจเป็น ผู้ที่มีความ เยือกเย็นใจ ของเราเอง ได้เสมอทุกๆ ฉาก ที่โลกมันจะ ปรวนแปรไป ความคิดนึกในใจ ของพุทธบริษัท ไม่ได้ถูกบังคับให้เชื่อ หรือ เห็นอยู่ในวงจำกัด ดุจพวก Pessimist หรือ Optimist เมื่อเขายังพอใจ ที่จะหมุนกลิ้ง ไปกับโลก อันเอิบอาบ ไปด้วยความดีใจ และเสียใจ เขาก็มีอิสระ ที่จะทำเช่นนั้น เมื่อเขาเห็นว่า มันน่าเบื่อหน่าย เขาก็มีอิสระ และหนทาง ที่จะเอาชนะ มันเสียได้ อย่างเด็ดขาด เพราะเหตุนี้เอง พุทธศาสนาจึงมิใช่ Pessimism หรือ Optimism เลย เป็นแต่มี แง่บางแง่ ที่อาจลวงตา คนบางคน ให้เห็นเป็น Pessimism หรือ Optimism อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ เขาจะเห็น ไปใน บางคราวเท่านั้น
"จะมัวหัวเราะอะไรกัน บันเทิงอะไรกัน ก็เมื่อโลก อันเป็นที่อยู่อาศัย ของหมู่สัตว์นี้ มันลุกโพรงอยู่เป็นนิจ" นี่เป็นพระพุทธภาษิต (ชราวัคค์, ธ. ขุ.) ซึ่งแสดงว่าพระองค์ ก็ทรงเห็นโลก เช่นเดียวกันกับ พวก Pessimist เห็น แต่ติดต่อไปจาก คำข้างต้นนั่นเอง พระองค์ ได้ตรัสสืบไปว่า "พวกท่านทั้งหลาย ถูกความมืดบอด ครอบงำ หุ้มห่อ ไว้เต็มที่แล้ว ก็ยังไม่แสวงหา ประทีปเครื่องนำของตนเอง" ซึ่งแสดงว่า แสงสว่าง แห่งความรอดพ้น นั้นมีอยู่ นี่เราจะเห็นได้ว่า ไม่ทรงปฏิเสธ พวก Optimist และพระองค์ เป็นพวกกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา โดยแท้

ในที่อื่นตรัสว่า "สิ่งที่มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่ง ตัวมันเอง ทุกๆ สิ่ง ไม่เที่ยงแท้ถาวร, เป็นทุกข์ และทั้งสิ่งที่มี เหตุปัจจัย และไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ปรุงแต่ง ตัวมัน ทั้งสองอย่าง ไม่ใช่เป็นสิ่ง ซึ่งเป็นตัว เป็นตน  หรือมีตัว มีตน อยู่ในมัน" นี่แสดงว่า ทุกๆ สิ่งในโลกนี้ เป็นพิษ แก่ผู้ที่เข้าไปยึดถือ โดยประการทั้งปวง แต่มิได้แสดงว่า เราไม่มี หนทาง ที่จะวาง สิ่งนั้นๆ หรือเอาชนะ อยู่เหนืออิทธิพลของสิ่งนั้นได้ เพราะเหตุว่า พร้อมกันนั่นเอง พระองค์ได้ทรงสอน วิธีแห่ง โลกุตตรปฏิปทา- ทางที่จะเป็น อิสระอยู่เหนือโลก ไว้อย่าง แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งด้วย เมื่อเรามีใจหลุดพ้นแล้ว โลกก็ ไม่เป็น พิษต่อเรา เช่นนี้ เราจะมาบัญญัติว่า โลกนี้เป็นยาพิษ หรือ เป็นอาหารที่ดี ของมนุษย์ เด็ดขาด ลงไปอย่างไรได้ สุรา หรือ แอลกอฮอล์, เมื่อเราแพ้มัน ดื่มด้วย ความโง่เขลา มันก็เป็นของให้โทษ เมื่อใช้เป็นยา ด้วยความมี สติสัมปชัญญะ ก็ปรากฏว่า มันเคยช่วยชีวิตมนุษย์ไว้แล้ว มีจำนวนไม่น้อย เราจะกล่าวว่า สุราเป็นโทษ หรือ เป็นคุณ โดยส่วนเดียว อย่างใดอย่างหนึ่ง ยังมิชอบฉันใด การที่จะกล่าวว่า โลกนี้เป็น Pessimism หรือ Optimism โดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่ได้ฉันนั้น เรา หลงใหล ต่อโลก โลกก็เป็นพิษต่อเรา เมื่อเราเอาชนะโลกได้ มันก็เป็น เครื่องอุปกรณ์ แก่เราได้ อย่างดี เช่นเดียวกับ ช้างที่เรายังฝึกมันไม่ได้ กับเมื่อเรา ฝึก มันจนเชื่องดีแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น

พุทธทาสภิกขุ

๑ กันยายน ๒๔๗๕


56

นับตั้งแต่กาลที่โลกว่างเปล่า เริ่มกลายเป็น มนุษย์โลกขึ้น เมื่อหลายแสนปี มาแล้ว มนุษย์ ได้ใช้ มันสมอง แสวงหา ความสุข ใส่ตน เป็นลำดับๆ มาทุกๆ ยุค, จนในที่สุด เกิดมีผู้สั่งสอน ลัทธิแห่งความสุข นั้น ต่างๆ กัน, ตัวผู้สอนเรียกว่า ศาสดา, คำสอนที่สอนเรียกว่า ศาสนา, ผู้ที่ทำตาม คำสอน เรียกว่า ศาสนิก, ทุกอย่าง ค่อยแปรมาสู่ ความดี ยิ่งขึ้นทุกที, สำหรับคำสอน ขั้นโลกิยะ หรือ จรรยา ย่อมสอน มีหลักตรงกันหมด ทุกศาสนา, หลักอันนั้นว่า จงอย่าทำชั่ว จงทำดี ทั้งต่อ ตนเอง และผู้อื่น, ดังที่ทราบกันได้อยู่ทั่วไปแล้ว: แต่ส่วนคำสอนขั้นสูงสุด ที่เกี่ยวกับ ความสุข ทางใจ อันยิ่งขึ้นไปนั้น สอนไว้ต่างกัน. ศาสนาทั้งหลาย มีจุดหมาย อย่างเดียวกัน เป็นแต่ สูงต่ำ กว่ากัน เท่านั้น

ทุกองค์ศาสดา เว้นจากพระพุทธเจ้า สอนให้ยึดเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งสาวก ไม่มี ความรู้ พิสูจน์ ว่าเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด เป็นผู้สร้างโลก และ อำนวยสุข แก่ สัตว์โลก เป็นที่พึ่งของตน, ให้นับถือบูชาสิ่งนั้น โดยแน่นแฟ้น ปราศจาก การพิสูจน์ ทดลอง แต่อย่างใด. เริ่มต้นแต่ยุคที่ถือผี ถือไฟ ถือดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดวงดาว ต่างๆ มาจนถึง ยุคถือพระเป็นเจ้า เช่น พระนารายณ์ และ พระพรหม ของ ศาสนาฮินดู พระยโฮวา ของ ศาสนาคริสเตียนและยิว และ พระอหล่า ของอิสลาม ต่างสอน ให้มอบความเชื่อ ในพระเจ้าเหล่านั้น แต่ผู้เดียว ว่าเป็น ผู้มีอำนาจ เหนือสิ่งใด ทั้งหมด ทั้งๆ ที่ไม่ต้องรู้ว่า ตัวพระเจ้า นั้นเป็น อะไรกันแน่ และ ผิดจาก หลักธรรมดา โดยประการต่างๆ

ต่อมา เมื่อสองพันปีเศษมาแล้ว ภายหลังแต่พระเจ้าของศาสนาพราหม์ ก่อนแต่ พระคริสต์ และพระโมหมัด ของชาวยุโรปและอาหรับ1 พระพุทธเจ้า ได้อุบัติ บังเกิด ขึ้น ทรงสอนการพึ่งตนเอง และ ทรงสอนหลักธรรมทางใจในขั้นสูง ผิดกับ ศาสนาอื่นทั้งหมด คือ :-

หลักกรรม

ทรงสอนเป็นใจความว่า สุขทุกข์ เป็นผลเกิดมาจาก เหตุของมันเอง ได้แก่ การกระทำ ของผู้นั้น ผลเกิดจาก การกระทำ ของผู้ใด ผู้นั้นต้องได้รับ อย่างแน่นอน และยุติธรรม ไม่มีใครอาจ สับเปลี่ยน ตัวผู้ทำ กับตัวผู้รับ หรือ มีอำนาจ เหนือ กฏอันนี้ได้ นี่เรียกว่า ลัทธิกรรม มีเป็นหลักสั้นๆ ว่า สัตว์ทั้งหลาย มีกรรม เป็นของตน หมุน ไปตามอำนาจเก่า ซึ่งในระหว่างนั้น ก็ทำกรรมใหม่ เพิ่มเข้า อันจะกลายเป็น กรรมเก่า ต่อไปตามลำดับ เป็นเหตุและผล ของกันและกัน ไม่รู้จักสิ้นสุด คาบเกี่ยวเนื่องกัน เหมือนลูกโซ่ ไม่ขาดสาย เราเรียกความเกี่ยวพัน อันนี้กันว่า สังสารวัฏ หรือสายกรรม มันคาบเกี่ยว ระหว่าง นาทีนี้ กับนาทีหน้า หรือ ชั่วโมงนี้กับชั่วโมงหน้า วันนี้กับวันหน้า เดือนนี้กับเดือนหน้า ปีนี้กับปีหน้า จนถึง ชาตินี้กับชาติหน้า สับสน แทรกแซงกัน จนรู้ได้ยาก ว่าอันไหน เป็นเหตุของ อันไหนแน่ ดูเผินๆ จึงคล้ายกับว่า มีใคร คอยบันดาล สายกรรม ประจำบุคคลหนึ่งๆ ย่อมผิดจาก ของอีกคนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ต่างคน จึงต่างเป็นไปตาม แนวกรรม ของตน ไม่เหมือนกัน กรรมเป็นเหตุ สุขและทุกข์ เป็นผลเกิดมาแต่กรรมนั้นๆ

 หลักอนัตตา

ทรงสอนอีกว่า ไม่มีพระเจ้าผู้สร้าง ไม่มีสิ่งอันควรเรียกได้ว่า ตัวตน สรรพสิ่งไม่มีผู้ใดสร้าง เกิดขึ้นแปลกๆ ก็เพราะปัจจัยตามธรรมชาติที่จะต้องค่อยๆ แปรไปตามลำดับ ตามกฏเกณฑ์ ของธรรมชาติ โดยไม่อยู่ในอำนาจของใคร เรียกว่า มันเป็นอนัตตา หลักอนัตตา นี้จึงมีแต่ใน พุทธศาสนา ไม่มีในศาสนาอื่น อันสอนว่า ทุกสิ่งพระเจ้าสร้างขึ้นเป็นตัวตน และอยู่ใต้อำนาจพระเจ้า ผู้เป็นเจ้า แห่งตัวตน ทั้งหลาย

ทรงสอนว่า ไม่มีตัวตน ซึ่งเที่ยง และ ยั่งยืน สิ่งหนึ่ง ย่อมเกี่ยวเนื่อง มาแต่อีกสิ่งหนึ่ง และสิ่งนั้นก็เกิด ทยอยมาแต่สิ่งอื่น แม้สิ่งอื่นนั้น ก็เกิดทยอยมา แต่สิ่งอื่นอีก ตั้งต้นมานาน ซึ่งไม่มีใครกำหนดได้ และจะเกิด สืบต่อกันไปข้างหน้า อีกเท่าไรแน่ ก็กำหนดมิได้ เหมือนกัน กฏข้อนี้เป็นไป ทำนองเดียวกัน ทั้งสิ่งที่มีวิญญาณ และที่หาวิญญาณมิได้ สำหรับสิ่งที่หาวิญญาณมิได้ จักยกไว้ เพราะไม่เกี่ยวกับ สุขทุกข์ ส่วนสิ่งที่มีวิญญาณ เช่น มนุษย์ และ สัตว์เดรัจฉาน ทั่วไป เป็นสิ่งควรเรียนรู้ เพราะเกี่ยวกับ สุข ทุกข์ ในชีวิต มนุษย์เรา เกิดจาก การรวมพร้อมแห่ง รูปธาตุ (Physical Element) และนามธาตุ (Mental Element) อันมีประจำอยู่ ตามธรรมดา ในโลกนี้ เมื่อสองอย่างนี้ ยังประชุมกัน เข้าไม่ได้ อย่างเหมาะส่วน ก็เป็นมนุษย์ขึ้น เช่นเดียวกับ พืชพรรณไม้ ที่อาศัย ดินฟ้าอากาศ และเชื้อ ในเมล็ดของมันเอง งอกงาม กลายเป็น ต้นไม้ ใหญ่โต ขึ้นได้ รูปธาตุ และ นามธาตุ นั้น แต่ละอย่าง ก็ล้วนเกิดมาจาก การรวมพร้อม ของพืชอื่น อีกต่อหนึ่ง เกิดสืบต่อกันมาเป็นลำดับ จนกว่า จะเหมาะ สำหรับผสมกันเข้า ในรูปใหม่เมื่อใด รูปธาตุในกายนี้ เช่น พืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งอาศัย สิ่งอื่น เกิดมาแล้ว หลายต่อ หลายทอด จนมาเป็น เชื้อบำรุง ร่างกายนี้ โดยเป็นเชื้อให้เกิดและบำรุง ส่วนเล็กที่สุด ของร่างกาย (Cell) ที่สำหรับจะเป็นเนื้อ หนัง กระดูก ผม ขน เล็บ ฟัน โลหิต และอื่นๆ ในร่างกายเรา ธาตุลม อันเกิดขึ้น จากธรรมชาติส่วนอื่นๆ ก็ได้ใช้เป็นลมหายใจ เข้าไป บำรุงโลหิต และ สิ่งต่างๆ โลหิตเป็นเหตุ ให้เกิดความอบอุ่น และความร้อนขึ้นได้ เท่านี้ก็พอจะมองเห็นได้ว่า มันอาศัยกัน เกิดขึ้น เป็นลำดับๆ มามากมาย นี้เป็นการเกิด การผสม การแปร ของธรรมชาติ ฝ่ายรูปธาตุ

ส่วนนามธาตุนั้น ยิ่งละเอียดมาก นามธาตุ อาศัยอยู่ได้เฉพาะใน รูปธาตุ ที่ได้ปรับปรุง กันไว้ เหมาะเจาะแล้ว และมีหน้าที่บังคับรูปธาตุ พร้อมทั้งตนเอง ให้ตั้งอยู่ หรือ เป็นไปต่างๆ ตลอดเวลา ที่เข้ามา เนื่องเป็นอันเดียวกัน ควรเปรียบ เรื่องนี้ด้วย เครื่องไดนาโมไฟฟ้า ชิ้นโลหะต่างๆ กว่าจะมา คุมกันเข้า จนเป็นอย่างนี้ได้นั้น ล้วนแต่ เกิดจากอุตุนิยมสืบมา ไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนปี จนมนุษย์ นำมาปรับปรุง ให้เป็นรูปต่างๆ ก็ยังหามี ไฟฟ้าเกิดขึ้นไม่ แต่เมื่อได้ยักย้าย ประกอบกันเข้า จนถูกส่วน พร้อมด้วย อาการหมุน มันจึงปรากฏ แรงไฟฟ้าอย่างแรง ขึ้นได้ ไฟฟ้าบางส่วนนั้น ปรากฏขึ้น มาจากการหมุนของเครื่อง การหมุนของเครื่อง กลับได้แรงไฟนั้นเอง มาช่วย สนับสนุน ในการหมุนบางส่วนก็มี ถ้ามีแต่ชิ้นโลหะก็ดี มีแต่อาการหมุน อย่างเดียวก็ดี หรือมีแต่กระแสไฟฟ้า อันเป็นธรรมชาติ ประจำ อยู่ใน สิ่งต่างๆ ในโลกก็ดี ยังไม่ประชุมกัน เข้าได้แล้ว กระแสไฟฟ้าใหม่ จะไม่ปรากฏขึ้น มาได้เลย ฉันใดก็ฉันนั้น รูปธาตุ หรือ ร่างกายนี้ เปรียบเหมือน เครื่องไดนาโม นามธาตุ เปรียบเหมือน กระแสไฟฟ้า ได้อาศัยกันกลับไปกลับมา จึงเป็นไปได้ ทั้งแต่ละอย่างๆ ล้วนต้องอาศัย ความประจวบพร้อม แห่งเครื่องประกอบ ซึ่งเกิดมาแต่สิ่ง อื่น หลายทอดด้วยกัน นามธาตุ ก็เกิดสืบมา โดยตรงจาก พวกนามธาตุ อิงอาศัย อยู่กับรูปธาตุ เมื่อรวมกันเข้าแล้ว เราสมมุติเรียก คนหรือสัตว์ ชื่อนั้นชื่อนี้ เพื่อสะดวกแก่การพูดจา เช่นเดียวกับ สมมุติเรียก ชิ้นโลหะและวัตถุต่างๆ ว่า เครื่องไดนาโม ยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้เหมือนกัน หลักของการ ที่สิ่งต่างๆ เป็นเหตุผลของกัน และให้เกิดสืบสาวกันไปนี้ เป็นปัญหา ที่ละเอียด ลึกซึ้ง ซึ่งพระองค์ ได้ทรงตีแตก อย่างทะลุปรุโปร่ง ในตอนหัวค่ำ แห่งคืนตรัสรู้ ที่ใต้ต้นมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

ความรู้อันนี้ ทำให้พระองค์ ทรงรู้จักโลกดี พอที่จะตี ปัญหาที่สอง ออกได้ สืบไปว่า มนุษย์เรา ควรทำ อย่างไรกัน จึงเหมาะแก่โลก ซึ่งมีธรรมชาติ เป็นอย่างนี้ หรือ จะอยู่เป็นสุข ในโลกอันมี สภาวะเช่นนี้ได้? การตีปัญหาข้อสอง ออก ได้สำเร็จผล เกิดเป็น หลักธรรมต่างๆ ที่พระองค์ใช้สอน บริษัทในสมัยต่อมา นั่นเอง อันรวมใจความ ได้สั้นๆ ว่า สิ่งซึ่ง เกิดมาจาก สิ่งอื่น ซึ่งไม่เที่ยงถาวร และ ทั้งอาการที่สืบต่อกันมา ก็ไม่ถาวรแล้ว สิ่งนั้นจะ เที่ยงถาวร อย่างไรได้ ย่อม กระสับกระส่าย โยกโคลง แปรปรวน ไปตามกัน สิ่งที่แปรปรวน ไม่คงที่ ย่อมก่อให้เกิด ภาวะชนิดที่ ทนได้ยาก คือ ทำให้เจ้าของ ได้รับ ความไม่พอใจ เสียใจ และ เป็นทุกข์ เมื่อมันแปรปรวน และ เป็นทุกข์ อยู่อย่างนี้แล้ว มนุษย์จึง ไม่ควร ฝืนธรรมดา สะเออะ เข้าไปรับเอา ความทุกข์นั้น โดยเข้าใจอ้างตัวเอง เป็นเจ้าของ ร่างกายนี้ และ ร่างกายอื่น มันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ ของเรา เห็นได้ตรงที่ไม่อยู่ ในอำนาจเรา เราไม่ได้ ทำมันขึ้น นอกจาก อำนาจธรรมชาติ แห่ง นาม และ รูป เท่านั้น ผู้ที่เข้าไป ผูกใจ ในสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นของ ภายใน และ ภายนอกตน ก็ดี ว่าเป็นสิ่ง ที่จะเป็นไป ตามความประสงค์ ของตน ทุกเมื่อแล้ว จะเกิดเป็นปัญหา ยุ่งยากขึ้น ในใจ ของผู้นั้น มืดมิดเกิดกว่า ที่เขาจะสะสางได้ พระองค์ จึงทรงสอน ให้หน่าย และ ละวาง สิ่งต่างๆ ด้วยการไม่ยึดถือ ทางใจ แม้ว่า ตามธรรมดา คนเรา จะต้อง อิงอาศัย สิ่งนั้นๆ เพื่อมีชีวิตอยู่ หมายความว่า เราปฏิบัติ ต่อมัน ให้ถูกต้อง ก็แล้วกัน

เมื่อเรา ไม่เข้าไป ผูกใจ ในสิ่งใด สิ่งนั้น ก็ไม่เป็นนาย บังคับใจเรา ให้อยาก ให้โกรธ ให้เกลียด ให้กลัว ให้เหี่ยวแห้ง หรือ ให้อาลัย ถึงมันได้ เราจะอยู่ เป็นสุข เมื่อใจ หลุดพ้นแล้ว ก็เป็นอันว่า ไม่มีอะไร มาทำให้เรา กลับเป็น ทุกข์ ได้อีก จนตลอดชีวิต การคิดแล้วคิดอีก เพื่อตีปัญหานี้ให้แตก จนใจ หลุดพ้น เรียกว่า วิปัสสนากัมมัฏฐาน และ เมื่อใจเรา ไม่ค่อย ยอมคิด ให้จริงจัง ลึกซึ้ง เพราะอาจ ฟุ้งซ่าน ด้วยความรัก ความโกรธ ความกลัว ความขี้เกียจ หรืออะไรก็ตาม จะต้องทำการ ข่มใจ ให้ปลอดจาก อุปสรรคนั้นๆ เสียก่อน การข่มใจนั้น เราเรียกกันว่า สมถกัมมัฏฐาน ถ้าไม่มี อุปสรรคเหล่านี้ สมถกัมมัฏฐาน ก็ไม่เป็น ของจำเป็นนัก นอกจาก จะเข้าฌาน เพื่อความสุข ของพระอริยเจ้า เช่นเดียวกับ การหลับนอน เป็นการ พักผ่อน อย่างแสนสุข ของพวกเราๆ เหมือนกัน คำสั่งสอน ส่วนมาก ของพระองค์ เราจึงพบแต่วิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่

ความยึดถือ หรือ อุปาทาน

เราจะมองเห็น อย่างแจ่มแจ้ง ได้แล้วว่า สภาพแห่งทุกข์ มีอยู่ในโลกนี้ จริง แต่บุคคล  ผู้จะรับทุกข์ นั้นหามีไม่ ถ้าหากเขา จะไม่หลง เข้าไปรับเอา ด้วยความ เข้าใจผิด ว่า สิ่งนั้นเป็นสุข และ อยากได้ หรือ หวงแหน จนเกิดการ ยึดมั่น หรือเข้าใจไปว่า ทั้งมัน ทั้งเขา เป็นตัวตน ที่จะอยู่ใน อำนาจของตน ได้ทุกอย่าง ตามแต่จะปรารถนา คิดดูก็เป็นการ น่าขัน และ น่าสลดใจ อย่างไม่มีเปรียบ ที่เราพากัน สมมุติเอา สิ่งที่ พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า "ว่างเปล่า" ให้ เป็นตัว เป็นตน ขึ้น แล้ว ทำใจตัวเอง ให้ดิ้นรน ก่อความ ยุ่งยาก ให้เกิดขึ้นในใจ รัก โกรธ เกลียด กลัว ไปตาม ฉาก แห่งความ แปรปรวน ของสิ่งนั้นๆ ซึ่งที่แท้ มันเป็นของ "ว่างเปล่า" อยู่ตลอดเวลา ตามที่ พระองค์ตรัส ไว้นั่นเอง

คำว่า "ว่างเปล่า" ในที่นี้ คือ ไม่มีแก่นสาร ตัวตน ที่จะมายืนยันกับเราว่า เอาอย่างนั้น อย่างนี้กันได้ เพราะของทุกอย่างล้วนแต่มีสิ่งอื่นปรุงแต่ง ค้ำจุนกัน มาเป็นทอดๆ จึงตั้งอยู่ได้พร้อมกับ การค่อยๆ แปรไป สิ่งที่สิ่งอื่น ปรุงแต่ง จึงเป็นของว่างเปล่า ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีอิสระแก่ตน ใครจะเอา สัญญา มั่นเหมาะ กับสิ่งเหล่านั้น อย่างไรได้ ในเมื่อทั้ง ผู้ถือสัญญา และ ผู้ให้สัญญา ก็ล้วนแต่ ไม่มีความเป็นใหญ่แก่ตน หรือมีความเป็นตัว เป็นตน ไปตามๆ กันทั้งนั้น ผู้ที่ขืน เข้าไปสัญญา หรือ ยึดมั่น ในสัญญา ก็เท่ากับ เอาความว่างเปล่า ไปผูกพัน กับ ความว่าง2 จะได้ผล อันพึงใจ จากอะไรเล่า ทั้งนี้ ก็เพราะ การหลงยึดมั่น ของว่าง ขึ้นเป็น ตัวตน เราเรียกกันว่า อุปาทาน วัตถุ อันเป็นที่ตั้ง แห่งความ ยึดมั่น นั้น เรียกว่า อุปาทานขันธ์ มีห้าอย่าง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะฉนั้น จึงตรัสรู้ว่า ขันธ์ทั้งห้า เป็นที่ตั้ง แห่งความ ยึดมั่น อันเป็นทุกข์

หลักอริยสัจ

เราจะเรียนรู้ หลักความจริง เหล่านี้ ได้จากโรงเรียน คือร่างกายเรานี้ เท่านั้น ของใคร ก็ของมัน ต้องอาศัยร่างกาย เป็นที่ค้นหาความจริง เป็นครู สอนความจริง เพราะในร่างกายนี้ มีลักษณะพร้อม ทั้งเหตุ และผล พอเพียง ที่จะให้เราศึกษา หาความรู้ และ ทำความมั่นใจ ให้แก่เราได้ พระองค์ จึงตรัสไว้ว่า

"...แน่ะเธอ! ในร่างกาย ที่ยาว วาหนึ่งนี้ นั่นเอง อันมีพร้อมทั้ง สัญญา และ ใจ ฉันได้บัญญัติ โลก (คือความทุกข์), ได้บัญญัติ โลกสมุทัย (คือ เหตุให้เกิด ทุกข์), ได้บัญญัติ โลกนิโรธ (คือความดับไม่เหลือ แห่ง ทุกข์), และได้บัญญัติ โลกนิโรธคามินีปฏิปทา (คือการทำเพื่อให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้น) ไว้"

ในที่นี้ ตรัสเรียก สภาพธรรมดา อันเต็มไปด้วยทุกข์ว่า โลก, เรียก ความอยาก ทะเยอทะยาน ของสัตว์โลก เพราะความยึดมั่น เข้าใจผิดว่า เหตุให้เกิดโลก, เรียก การดับความอยากเสียแล้ว อยู่สงบเป็นสุขใจ เพราะไม่ยึดมั่น และเข้าใจถูก ในสิ่งต่างๆ ว่า เป็นที่ดับของโลก, และทรงเรียก มรรคมีองค์แปดประการ ว่า เป็นวิธีให้ถึง ความดับของโลก นั้น อันเป็นสิ่งที่ สัตว์ทุกคน ควรกระทำ เป็นหน้าที่ ประจำชีวิต ของตนๆ ตามนัยนี้ เป็นอันว่า หลักใหญ่ ของพุทธศาสนา คือ การสอน ให้ดับทุกข์ ภายในใจ ด้วยการศึกษา หาความจริง ในกายตน และ หยั่งรู้ ไปถึงสิ่ง และ บุคคล ที่แวดล้อมตน อยู่ตามเป็นจริง ไม่ติดมั่น จนเกิดทุกข์ เพราะเห็น กฏแห่งอนัตตา แล้วมีใจ ปลอดโปร่งสบาย การไม่ยึดมั่นว่า เป็นตัวตน อันจะก่อ ให้เกิดการเห็นแก่ตนนั้น เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตน และผู้อื่น หรือแก่โลกทั้งสิ้น คือตนเอง จะเป็นผู้มีความสุขสงบ เยือกเย็นแสนจะเย็น ส่วนผู้อื่นนั้น นอกจาก ไม่ถูกผู้นั้น มาเบียดเบียนแล้ว ยังอาจประพฤติ ตามเขา จนได้รับความสุข อย่างเดียว ไฟทุกข์ ของโลกจะดับสนิท หลักธรรมทั้งหลาย แม้จะมีชื่อเรียกต่างๆ กันหมดนั้น รวมลงได้ในหลัก คือ ความดับทุกข์ ทั้งสิ้น ความรู้ชนิดนี้ ย่อมนำให้เกิด ความเมตตา สงสารเพื่อน ที่กำลังอยู่ในทะเล แห่งสังสารวัฏ ด้วยกันอย่างแรงกล้า เพราะฉะนั้น เป็นอันไม่ต้องกล่าว ก็ได้ว่า เมตตา เป็นหลักอันสำคัญ ใน พุทธศาสนา นี้ด้วย อีกประการหนึ่ง

หลักโลกิยะ และโลกุตตระ

ผู้สำคัญในสิ่งว่างเปล่า ว่าเป็นแก่นสาร ก็คือผู้หลง หรือ เรียกตรงๆ อีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ปลูกสร้าง ฉางบรรจุความทุกข์ไว้ สำหรับตน และนั่นคือ ปกติ หรือธรรมดา ของมนุษย์ทั้งโลก ที่เรียกว่า ยังอยู่ในวิสัย โลกิยะ ไม่ใช่ โลกุตตระ คือ ผู้พ้นจากโลก ด้วยน้ำใจ บางสมัย หรือ บางเรื่อง ผู้แสวงหาทุกข์มาใส่ตน ได้มาก กลับได้รับ ความยกย่องนับถือ ทั้งนี้ เพราะพากัน หลง ในสิ่ง ที่ยังไม่รู้จัก มันดี และนับถือ โลกิยะ คนยากจน ซึ่งมีอยู่เป็นส่วนมาก ทะเยอทะยาน เงินทอง ของ มหาเศรษฐี อย่างแรงกล้า แต่มหาเศรษฐี นั้น ไม่ได้ ทะเยอทะยาน หรือ รู้สึกอะไร กี่มากน้อย ในเงินทอง ของตนเองเลย เป็นแต่ทะเยอทะยาน ต่อส่วน ที่มากขึ้น ไปกว่านั้นอีก ส่วนความหนักใจ ความหวั่นใจ เมื่อคิด เทียบส่วนแล้ว ย่อมมีเสมอกัน ไปหมด มันมีส่วนมากน้อย เท่ากับ ที่ตน สมมุติเอา ความว่างเปล่า ขึ้นเป็นตัว เป็นตน ตามมาก และ น้อย เพียงไร ใครสมมุติขึ้นมาก ก็ต้องแบกไว้มาก และหนักกว่า! พระพุทธเจ้าเอง ก็เคยทรงแบกก้อนหิน อันหนักนี้ แต่แล้ว กลับทรงสลัดทิ้งเสีย !! เพราะพระองค์ ทรงค้นพบว่า มันคือความทุกข์ ทรมาน ของผู้เข้าใจผิด หลงเข้าไปยึดถือ เป็นของน่าสะอิดสะเอียน และตรงกันข้าม กลับเป็นของเบา สบาย สำหรับผู้ไม่หลงยึดถือ หรือสลัดทิ้งเสียได้แล้ว นี้เรียกว่า ทรงค้นพบ โลกุตรธรรม เพราะฉะนั้น พุทธศาสนา ก็คือ คำสอนให้สลัดความทุกข์ ออกทิ้งเสีย ให้พ้นจาก ความทุกข์ อันเป็นของมีประจำ อยู่ในโลกแต่อย่างเดียว ไม่หลง ประกอบทุกข์ ขึ้นแบกไว้ ไม่ใช่ให้อ่อนแอ ร้องขอแต่ความสุข ทั้งที่ไม่รู้จักทุกข์ และ สลัดมันออกไปเสีย โดยรู้ว่า ภาวะที่หมดทุกข์ นั่นแล เป็นความสุข ที่แท้, มันเป็นการ กระทำชีวิต ให้กลับกลาย มาเป็น อิสระจากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ อันยั่วยวนใจ ในโลก ภายหลังจากที่เราเองได้ยอมตน เข้าไปเป็นทาส ด้วยความโง่ อย่างยิ่ง ของเรามาแล้ว ตลอดสังสารวัฏ อันยาวยืด ซ้ำซาก ไม่มีที่สิ้นสุด ลงได้ จนกว่า เราจะรู้เท่าทันมัน ดวงใจอันข้ามขึ้น อยู่เหนือ โลก เช่นนี้ เรียกว่า โลกุตตรจิต ภาวะที่เป็นเช่นนั้น เรียกว่า โลกกุตตรธรรม โลกุตตรวิสัย, หรือ โลกุตตรภูมิ

ในวงแห่งศาสนาอื่นๆ เมื่อศาสนิกใกล้จะตาย ย่อมร้องว่า "สวรรค์! พระเจ้า!" แต่สำหรับ พุทธศาสนิก ที่แท้จริง จะร้องว่า "ความดับสนิท อย่างไม่มีเหลือ เป็นเชื้ออีกต่อไป !" นี้แสดงว่า เขาเหล่าโน้น ยังอยากอยู ่ในโลก-โลกสวรรค์ หรือ โลกพระเจ้า ส่วน พุทธศาสนิก มีจุดหมาย ปลายทาง คือ ความดับไม่มีเหลือ, โลกุตตระ จึงมีแต่ใน พุทธศาสนา เท่านั้น

เมื่อมนุษย์ ยังเป็นป่าเถื่อน, รู้จัก และปรารถนา ความสุข อย่างสูงสุด เพียงการได้กิน ได้เสพย์ ของอร่อยๆ พออิ่มไป ขณะหนึ่งๆ เท่านั้น แต่ความคิด ของมนุษย์ ในอันแสวงหาความสุขที่ยิ่งขึ้นไป ไม่ได้หยุดเฉยอยู่ นานเข้า ค่อยมีความเห็นแปรไปสู่ ภาวะที่สูงขึ้น จนรู้จัก และปรารถนา ทรัพย์สมบัติ แว่นแคว้น ปรารถนากามสุข จนถึงสวรรค์ อันเป็น ที่สุดยอด ของกาม นานต่อมา มีพวกหัวคิดสูง เห็นว่า สุขในกาม ก็ยังเป็น ของเสียดแทง หัวใจ เท่าๆ กับ ความหวาน อร่อยของมัน เลยนึก หาความสุข อันสูงขึ้นไป และได้ยึดเอาว่า ความมี ความเป็น แห่งชีวิต ที่ปราศจากกาม เป็นยอดสุด คือ ความเป็น พรหม นั่นเอง และบัญญัติขึ้น ในยุคนั้น ว่า ความเป็นพรหม นั่นแหละ เป็นนิพพาน คำว่า นิพพาน ที่แปล ตามศัพท์ว่า ปราศจากการเสียดแทง ได้เกิดมีขึ้นแต่ครั้งนั้น

ต่อมาอีกนาน พระพุทธเจ้า อุบัติขึ้น และทรงค้นพบว่า ภาวะ แห่งพรหม ก็ยังไม่เที่ยง แปรปรวน และแตกดับ เช่นเดียวกับ สิ่งที่ต่ำกว่า อื่นๆ จะเรียกว่า นิพพาน หาได้ไม่ ยังเสียดแทงอยู่อย่างละเอียด เพราะยังมี ความสำคัญว่า ตัวตนอยู่ จะต้องเสียดแทงใจ ในเมื่อมันแตกดับ เพราะยังมี ความอยาก ความปรารถนาในทางที่แม้ไม่ใช่กาม ก็จริง ตัณหา ยังมีอยู่ จึงทรงบัญญัติ ความดับไม่เหลือ เป็นตัวตน สำหรับยึดถืออีกต่อไปว่า เป็นตัวนิพพาน อันแท้จริง อันจะไม่มีใครมาบัญญัติ ความสุข ให้สูงกว่านี้ ขึ้นไปได้อีก โลกุตตรธรรม หรือ นิพพาน ที่แท้จริง จะมีแต่ในพุทธศาสนา นอกนั้น ยังอยู่ในวิสัยโลก ทั้งสิ้น ต่างกันสักว่า ชื่อ เป็นมนุษย์โลกบ้าง เทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง

พุทธศาสนา กับ วิทยาศาสตร์

หลักแห่งพุทธศาสนา แปลกจากศาสนาอื่น ทั้งหลาย โดยเป็น ศาสนา แห่งวิชาความรู้ ที่ทนต่อการพิสูจน์ ของใครๆ ได้ทั้งสิ้น ดังที่ตรัสไว้ว่า ธรรม ในพุทธศาสนา ย่อมทนต่อการพิสูจน์ได้3 คือ ท้าให้ใครพิสูจน์ได้ทุกอย่าง จนผู้พิสูจน์ พ่ายแพ้ภัยตัวเอง หมดมานะ กลับใจ ยอมนับถือ พุทธศาสนา คำที่กล่าวกันว่า พุทธศาสนา เหมือนกัน หรือเข้ากันได้ กับ วิทยาศาสตร์นั้น มีผู้ตีความกันว่า เพราะพุทธศาสนา แยกสังขาร ร่างกาย ออก วิเคราะห์ หาความจริง เช่นเดียวกับ วิทยาศาสตร์ แผนปัจจุบัน แยกธาตุต่างๆ ออกหา คุณสมบัติ ชั้นละเอียด ข้าพเจ้าเห็นว่า คำกล่าวนั้น ยังไม่เพียงพอ กับคุณค่า อันสูงสุดแท้จริง ของพุทธศาสนา เพราะถ้า กล่าวเช่นนั้นแล้ว วิชา สรีรศาสตร์ หรือ แพทย์ศาสตร์ อันเกี่ยวกับการแยกตรวจร่างกาย ก็จะกลายเป็น พุทธศาสนาไปส่วนหนึ่งด้วย ที่แท้ ควรกล่าวว่า เหมือนกันโดยที่ หลักวิทยาศาสตร์ ก็ทนต่อการพิสูจน์ อาจทำการ พิสูจน์ให้ดูเอง หรือยอมให้ใครพิสูจน์ ได้ทุกท่า ทุกทาง จนเขาหมดท่าจะพิสูจน์ เพื่อโต้แย้งอีกต่อไป และหมดความสงสัย เช่นเดียวกับพุทธศาสนา ยอมให้ใครเพ่งพิสูจน์ซักไซร์อย่างไร ก็ได้ ยอมทนอยู่ได้ จนเขาหมดวิธีพิสูจน์ และต้องเชื่อ สัจจะย่อมไม่ตาย! คำว่า วิทยาศาสตร์ ในที่นี้ หมายถึง วิชา (Science) ที่แท้จริง ทุกๆ อย่าง ไม่เฉพาะแต่การแยกธาตุ (Chemistry) เท่านั้น แม้คณิตศาสตร์ (Mathematics) ก็เป็นวิทยาศาสตร์ ในที่นี้ด้วย ถ้าท่านสงสัยว่า วิชาเลข หรือ คณิตศาสตร์ จะทนต่อพิสูจน์ ได้เหมือน พุทธศาสนา อย่างไร ก็จงลองคิดดูอย่างง่ายๆ ที่สุดว่า ๒+๓=๕ เป็นต้นนี้ มันเป็นความจริงเพียงไร มีใครบ้างที่อาจพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ๒ บวก ๓ ได้ผลเป็นอย่างอื่นนอกจาก ๕ ใครจะพิสูจน์ โดยวิธีไร กี่ร้อยกี่พันเท่า ก็ตาม มันยังคงเป็น ๒+๓=๕ อยู่เสมอ เป็นหลักที่แข็งแรง ยิ่งกว่าภูเขาหินแท่งทึบ อันอาจหวั่นไหวได้ โดยธรรมชาติ หรืออุตุนิยมแปรปรวน หลักความจริง แห่งวิทยาศาสตร์ เหล่านี้มั่นคง มีอุปมาฉันใด พุทธศาสนา ก็มีหลักแห่งความจริง หนักแน่นมั่นคง ฉันนั้น แม้จะขนเอาการแยกธาตุ และตรวจค้นพิสูจน์ อย่างที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์แผนใหม่ ทั้งหมดมาเป็นเครื่องมือพิสูจน์ ก็ไม่อาจ พิสูจน์ พุทธศาสนา ให้เศร้าหมองไปได้ เช่น พิธีต่างๆ เป็นต้น มาพิสูจน์ในนามว่า พุทธศาสนา ก็แล้วกัน ความจริง หรือพุทธศาสนา จะยังคงอยู่ชั่วโลก ไม่มีสมัย หรือขีดขั้น กำหนดเวลาอายุ เพราะเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติ เพื่อชำนะ ธรรมชาติด้วยความจริง เช่นนี้ ยังมิเป็นเครื่องชี้ อันเด่นชัดว่า พุทธศาสนา เข้ากันได้กับ วิทยาศาสตร์ ซึ่งโลกปัจจุบัน ย่อมบูชาอย่างสนิททั่วหน้า โดยลักษณาการอย่างไรเจียวหรือ? และข้อสำคัญที่สุด ก็คือ เมื่อมีแต่พุทธศาสนาเท่านั้น ที่เข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ของโลกแล้ว จะยังมีศาสนาไหนอีกเล่า ที่จะเป็นศาสนาแห่งสากลโลก นอกจากพุทธศาสนา ?"

โมกขพลาราม
๑ กรกฏาคม ๒๔๗๗

---------------------------------
หมายเหตุส่วนตัว :- ที่จริงศาสนาทั้งหลายมี จุดมุ่งหมาย อย่างเดียวกัน คือความสุข ถ้าจะปรับกันเข้าให้สนิทก็จะลงกันได้เป็น ศาสนาเดียวกัน! ใครมีคุณสมบัติแค่ไหน ย่อมอยู่ในระดับแค่นั้น เหมือนพี่น้อง หรือ ผู้มีคุณวุฒิ ยิ่งหย่อนกว่ากัน ยืนเรียงแถวกันตามลำดับวุฒิ ก็จะมีแต่ ศาสนาเดียวในโลก ! ขอแต่ อย่าถือเราถือเขา ถึงกับพยายาม ทำลายเพื่อนศาสนาอื่น เพื่อประโยชน์ตน ด้วย "การรุกเงียบๆ" อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็แล้วกัน หลักศาสนาอื่นทั้งหลาย มีเพียง โลกิยะ ไม่พ้นไปได้ ส่วนพุทธศาสนา ยังมีสูงขึ้นไปถึงโลกุตตระด้วย มีทั้งสองอย่าง ใครจะเลือกเอาอย่างไหนก็ได้ หลักโลกุตตระ หรือที่เกี่ยวกับ โลกุตตระ เท่านั้น ที่พุทธศาสนา มีอยู่อย่างที่ศาสนาอื่นไม่มีเสียเลย จึง "อม" ศาสนาอื่นๆ ไว้ได้ทั้งหมด

พุทธทาส.

 

 

หมายเหตุประกอบ
๑. ศาสนาคริสต์และอิสลาม แม้เกิดทีหลังพุทธศาสนา แต่กลับไปมีหลักอย่างเดียวกับ ศาสนาพราหม์ในอินเดีย ซึ่งมีอยู่ก่อนศาสนาพุทธ ก็เพราะมีมูลรากไปจากศาสนานั้น โดยพวกที่ถือพระเจ้าแต่องค์เดียวของพราหม์ยุคนั้น แยกพวกจากอินเดียข้ามแดนไปทางตะวันตก คือ ปาเลสไตน์และอาหรับ (ดูพิสดารในเทศนาเสือป่า)

๒. ดูเรื่อง"ใครทุกข์? ใครสุข?" ประกอบ จะได้ความชัดเจน เมื่อสงสัยว่า ไม่มีตัวตนแล้ว ใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๓. ตรัสว่า "...เมื่อเขาใคร่ครวญต่อเนื้อความแห่งธรรมอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการพิสูจน์ได้ เมื่อธรรมทั้งหลายทนต่อการพิสูจน์ได้ เขาย่อมเกิดความพอใจและความขยันขันแข็ง.." จังกีสูตร ม.ม. ไตร, ล. ๑๓ น. ๖๐๕ บ. ๖๕๘.

 


57
บทความ บทกวี / ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:35:04 »

เรื่องของฤทธิ์ หรือ ปาฎิหาริย์ นับว่าเป็นเรื่องหนึ่ง ที่ยังมัวอยู่มาก ในบรรดา เรื่องที่ยังมัวอยู่ หลายเรื่อง ด้วยกัน และดูเหมือน จะเป็นเพราะ ความที่มันเป็น เรื่องมัว นี่เอง ที่เป็นเหตุ ให้มีผู้สนใจ ในเรื่องนี้ อยู่เรื่อยๆ มาเป็นลำดับ อย่างไม่ขาดสาย และมากกว่า ที่ถ้ามันจะเป็น เรื่องที่กระจ่าง เสียว่า มันเป็นเรื่อง อะไรกันแน่ หมายความว่า ถ้าเราทราบดีว่า ฤทธิ์ คืออะไร และเป็นเรื่อง เหมาะสำหรับใคร โดยเฉพาะแล้ว เชื่อว่า จะทำให้มีผู้สนใจ เรื่องนี้ น้อยเข้า เป็นอันมาก

ท่านผู้ที่แสดงฤทธิ์ได้ ไม่เคยปรากฏว่า ได้รับผล อัน"เด็ดขาดแท้จริง" อย่างไร จากฤทธิ์นั้น ทั้งทางวัตถุ และความสุขในส่วนใจ ฤทธิ์ เป็นเรื่องจริง สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่า ฤทธิ์ คืออะไร และ ตนเป็นผู้ที่ ตกอยู่ใน ภูมิแห่งใจที่ต่ำ จนผู้มีฤทธิ์ จะออกอำนาจฤทธิ์ บังคับ เมื่อไรก็ได้ แต่สำหรับ ผู้มีฤทธิ์ หรือ ผู้ที่รู้เรื่องฤทธิ์ดี หรือมีกำลังใจ เข็มแข็ง เท่ากับ ผู้มีฤทธิ์ จะเห็นว่า ฤทธิ์นั้น เป็นเพียงเรื่อง "เล่นตลก" ชนิดหนึ่ง เท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ แยบคายมาก ลึกซึ้งมาก

พระพุทธองค์ ทรงสะอิดสะเอียน ในเมื่อจะต้องมีการแสดงฤทธิ์ เว้นแต่ จะเป็น การจำเป็น จริงๆ ทรงห้าม พระสาวก ไม่ให้แสดงฤทธิ์ พระองค์เอง ก็ตรัสไว้ใน เกวัฎฎสูตร๑ ว่า พระองค์เอง ก็ไม่พอพระทัย ที่จะทรมานใคร ด้วยอิทธิปาฎิหาริย์ และ อาเทศนาปาฎิหาริย์ เพราะมันพ้องกันกับ วิชากลางบ้าน ซึ่งพวกนักเลงโต ในสมัยนั้น เล่นกันอยู่ เรียกว่า วิชาคันธารี และมนต์มณิกา พระองค์ พอพระทัยที่สุด ที่จะใช้ อนุสาสนีปาฎิหาริย์ คือ การพูดสั่งสอนกัน ด้วยเหตุผล ที่ผู้ฟังจะตรองเห็นตามได้เอง อันเป็น การทรมาน ที่ได้ผลเด็ดขาด ดีกว่าฤทธิ์ ซึ่งเป็นของชั่วขณะ อันจะต้องหาวิธีทำให้ มั่นคง ด้วยการสั่งสอน ที่มีเหตุผล อีกต่อหนึ่ง ในภายหลัง

แต่ถึงแม้ว่า ฤทธิ์จะเป็น เรื่องหลอกลวงตา อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นเรื่อง ที่น่าสนใจอยู่บ้าง เพราะมันเป็นสิ่งที่ท่านผู้มีฤทธิ์ เคยใช้ต่อต้าน หรือ ทำลายอุปสรรค ของท่านสำเร็จมาแล้ว เป็นอันมากเหมือนกัน เมื่อเราปวดท้อง เพราะอาหารเน่าบูดในท้อง ยาขนานแรก ที่เราต้องกิน ก็คือ ยาร้อน เพื่อระงับความปวด ให้หายไปเสียขณะหนึ่งก่อน แล้วจึง กินยาระบาย ถ่ายของบูดเน่าเหล่านั้นออก อันเป็นการแก้ให้หายเด็ดขาด ในภายหลัง ทั้งที่ ยาแก้ปวดท้อง เป็นเพียง แก้ปวดชั่วคราว ไม่ได้แก้ สมุฎฐาน ของโรค มันก็เป็น ยาที่มีประโยชน์ อยู่เหมือนกัน ในเมื่อเรารู้จักใช้ เปรียบกันได้กับ เรื่องฤทธิ์ อันท่านใช้ ทรมานใคร ในเบื้องต้น แล้ววทำให้มั่นคง ด้วยปัญญา หรือ เหตุผลในภายหลัง ฉันใดก็ฉันนั้น

แต่ถ้าไม่มีการทำให้มั่นคง ด้วยเหตุผล ที่เป็นปัจจัตตะ หรือ สันทิฎฐิโก ในภายหลัง ผลที่ได้มักไม่สมใจ เช่นเดียวกับ กินเพียง ยาระงับ ความเจ็บปวด อย่างเดียว แต่หาได้ ถ่ายโทษร้าย นั้นออกเสียไม่ มันก็กลับเจ็บอีก หรือ กลายเป็นโทษร้าย อย่างอื่นไป ควรใช้กำลังฤทธิ์ ในเบื้องต้น ใช้ปัญญา หรือ เหตุผล ในภายหลัง ย่อมได้ผลแนบแนียน และไพศาลกว่า ที่จะได้เพียงอย่างเดียว แต่อย่างเดียว คนบางพวก เลื่อมใสในศาสนา ด้วยอำนาจปาฏิหาริย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง จูงให้เข้า ปฏิบัติศาสนา จนได้รับ ผลของศาสนานั้นแล้ว แม้จะ มารู้ภายหลังว่า เรื่องฤทธิ์ เป็นเรื่องหลอก เขาก็ละทิ้ง เฉพาะเรื่องของฤทธิ์ แต่หาได้ ทิ้งศาสนา หรือความสุข ที่เขาประจักษ์ กับเขาเอง ในภายหลังนั้นไม่

แต่มีปรากฏ อยู่บ้างเหมือนกัน ที่คนบางคน เลื่อมใสฤทธิ์ อย่างเดียว เข้ามาเป็นสาวก ของพระพุทธองค์แล้ว หาได้ทำให้ตน เข้าถึงหัวใจ แห่งพุทธธรรม ด้วยปัญญาไม่ ต้องหันหลัง กลับไปสู่ มิจฉาทิฎฐิ ตามเดิม เช่น สุนักขัตตะลิจฉวีบุตร เป็นต้น แต่ก็มีมากหลาย ที่ถูกทรงชนะ มาด้วยฤทธิ์ แล้วได้รับการอบรม สั่งสอนต่อ ได้บรรลุ พระอรหัตตผลไป เช่น ท่านพระองคุลิมาล เป็นต้น จึงเป็นอันว่า เรื่องฤทธิ์ ก็เป็นเรื่องที่ น่ารู้สนใจ อยู่ไม่น้อย แม้จะไม่เป็นการสนใจ เพื่อฝึกฝนตน ให้เป็นผู้มีฤทธิ์ แต่ก็เป็น การสนใจ เพื่อจะรู้สิ่งที่ควรรู้ ในฐานะที่ตน เป็นนักศึกษา หาความแจ่มแจ้ง ในวิชา ทั่วๆไป ต่อไปนี้ จะได้วินิจฉัย ในเรื่องฤทธิ์นี้ เป็นเพียง แนวความคิดเห็น ที่ขยายออกมา สำหรับ จะได้ช่วยกัน คิดค้นหาความจริง ให้พบใกล้ชิด เข้าไปหาจุด ของความจริง แห่งเรื่องนี้ ยิ่งขึ้นเท่านั้น

ในบาลี พระไตรปิฎก เราพบเรื่องของ ฤทธิ์ ชั้นที่เป็น วิชชา หรือ อภิญญา หนึ่งๆ แสดงไว้ แต่ลักษณะ หรือ อาการว่า สามารถทำได้ เช่นนั้นๆ เท่านั้น หามีบทเรียนหรือ วิธีฝึกกล่าวไว้ด้วยไม่ อันท่านผู้อ่าน จะอ่านพบได้จาก พระบาลี มหาอัสสปุรสูตร หรือ สามัญญผลสูตร แล้ว, ในบาลี คล้ายๆ กับ ท่านแสดงว่า เมื่อได้พยายามฝึกจิต ของตนให้ผ่องใส จนถึงขนาด ที่เหมาะสม แก่การใช้มันแล้ว ฤทธิ์นั้นก็เป็นอันว่า อยู่ในกำมือ ต่อมาในชั้น อรรถกถา และคัมภีร์พิเศษ เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยเฉพาะ ได้อธิบายถึง วิธีฝึกฝน เพื่อการแสดงฤทธิ์ ไว้โดยตรง และดูคล้ายกับว่า ท่านประสงค์ ให้เป็น บุรพภาค ของ การบรรลุมรรคผล เสียทีเดียว

ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า เรื่องฤทธิ์ นี้เป็น เรื่องของพุทธศาสนา โดยตรง หรือ เป็นส่วนหนึ่ง ของพุทธศาสนา ในบาลีมัชฌิมนิกาย มีพุทธภาษิตว่า พระตถาคต สอนแต่เรื่องความทุกข์ กับ ความพ้นทุกข์ เท่านั้น ๒ ทั้งเรื่อง ของฤทธิ์ ก็ไม่เข้า หลักโคตมีสูตรแปดหลัก แต่หลักใด หลักหนึ่ง การที่เรื่องของฤทธิ์ เข้ามาเกี่ยวข้องกับ พุทธศาสนาได้ ก็เป็น การเทียบเคียง โดยส่วนเปรียบว่า ผู้ที่ฝึกจิต ของตน ให้อยู่ในอำนาจ อาจที่จะ บรรลุมรรคผล ได้ ในทันตาเห็น นี้แล้ว จิตชนิดนั้น ก็ย่อมสามารถ ที่จะ แสดงฤทธิ์ เช่นนั้นๆ ได้ ตามต้องการ เมื่อต้องการ, และ อีกประการหนึ่ง ฤทธิ์ เป็นเครื่องมือ อย่างดี ที่จะ ทรมานบุคคล ประเภท ที่ไม่ใช่ นักศึกษา หรือ นักเหตุผล ให้มาเข้ารีต ถือศาสนา ได้, ในยุคพุทธกาล ยังเป็น ยุคแห่งจิตศาสตร์ ไม่นิยม พิสุจน์ค้นคว้า กันใน ทางวัตถุ เช่น วิทยาศาสตร์แผนปัจจุบัน มหาชน หนักไปในทางนั้น บรรดาศาสดา จึงจำเป็น ที่จะต้องมี ความรู้ ความสามารถ ในเรื่อง ฤทธิ์ นี้เป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งด้วย เราอาจกล่าวได้ว่า ฤทธิ์ เป็นของคู่กันกับ ลัทธิคำสอน มาตั้งแต่ ดึกดำบรรพ์ ก่อนพุทธกาล ซึ่งศาสดานั้น ใช้เป็นเครื่องมือ เผยแพร่ ศาสนาของตน แม้พระพุทธองค์ ซึ่งปรากฏว่า เป็นผู้ที่ทรง เกลียดฤทธิ์ ก็ยังต้องทรงใช้บ้าง ในบางคราว เมื่อจำเป็น ดังที่ปรากฏอยู่ ในบาลี หลายแห่ง

ครั้ง ก่อนพุทธกาล นานไกล ในยุคพระเวท พระเวทยุคแรกๆ ก็มีแต่คำสั่งสอน ในการปฏิบัติและบูชา เท่านั้น ครั้นตกมายุคหลัง เกิดพระเวทที่สี่ (อรรถวนเวท) ซึ่งเต็มไปด้วยเวทมนต์ อันเป็นไปในการให้ ประหัตประหาร  ล้างผลาญ กัน หรือ ต่อสู้ ต้านทาน เวทมนต์ ของศัตรู ขึ้นด้วยอำนาจ ความนิยม ของมหาชน หรือ อาจกล่าวได้ อีกอย่างว่า ตามอำนาจ สัญชาตญาณ ของ ปุถุชน นั่นเอง นับได้ว่า ยุคนี้เป็นมูลราก ของสิ่งที่ เรียกกันว่า "ฤทธิ์" และนิยม สืบกันมา ด้วยเหตุที่ว่า มหาชน ชอบซื้อ "สินค้า" ที่เป็นไปทำนองฤทธิ์ มากกว่า เหตุผลทางปรัชญา ถ้าศาสนาใด ด้อยในเรื่องนี้ ก็จะมีสาวก น้อยที่สุด จะได้แต่ คนฉลาด เท่านั้น ที่จะเข้ามาเป็นสาวก ถ้าเกิดการแข่งขัน ในระหว่างศาสนา ก็เห็นจะเป็น ฤทธิ์ อย่างเดียว เท่านั้น ที่จะนำความ มีชัย มาสู่ตนได้ ในเมื่อให้ มหาชนทั้งหมด เป็นกรรมการตัดสิน คือ ให้พวกเขา หันเข้ามา เลื่อมใส และเพราะเหตุนี้เอง ในบาลี จึงมีกล่าวประปรายถึง ฤทธิ์ ส่วนในอรรถกถา ได้กล่าวอย่าง ละเอียดพิสดาร พระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าว วิธีฝึกฤทธิ์ ไว้ใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นหนังสือ ที่แต่งขึ้น เพื่อเอาชนะน้ำใจ ชาวเกาะลังกา นับตั้งแต่ พระสังฆราช แห่งเกาะนั้น ลงมา อันนับว่า เป็นหนังสือ เล่มสำคัญที่สุด ของท่านผู้นี้ และได้กล่าวไว้ ใน อรรถกถาขุททกนิกาย ว่า พระศาสดาของเรา ทรงแสดงฤทธิ์ หรือ ปาฎิหาริย์ แข่งกับ ศาสดานิครนถเดียรถีย์ อันเรียกว่า ยมกปาฎิหาริย์ และเล่าเรื่อง พระศาสดาทรงแสดงปาฎิหาริย์ ย่อยๆ อย่างอื่นอีก เป็นอันมาก นี่ชี้ให้เห็นชัดทีเดียวว่า จะอย่างไรก็ตาม ได้มีการต่อสู้ และ แข่งขัน ในระหว่าง เพื่อนศาสดา ด้วยใช้ฤทธิ์ เป็นเครื่องพิสูจน์ ตามความนิยม ของมหาชน เป็นแน่แท้ ในยุคนั้น, แต่นักต่อสู้นั้นๆ จะเป็น องค์พระศาสดาเอง ดังที่ท่านผู้นี้กล่าว หรือ ว่าเป็นพวกสาวกในยุคหลังๆ หรือ ยุคของท่านผู้กล่าวเอง หรือ ราว พ.ศ. ๙๐๐ ก็อาจเป็นได้ ทั้งสองทาง

อาจมีผู้แย้งว่า ถ้าเป็นยุคหลัง ทำไมเรื่องนี้ จึงไปอยู่ใน บาลีเดิมเล่า?  พึงเข้าใจว่า บาลีพระไตรปิฎก ของเรานี้ ปรากฏว่า มีอยู่คราวหนึ่ง ซึ่งถูก ถ่ายจากภาษาสิงหล กลับสู่ภาษาบาลี แล้ว เผา ต้นฉบับเดิม เสีย และผู้ที่ทำดังนี้ ก็คือ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เป็น เอกอัคร แห่ง พระอรรถกถาจารย์ ทั้งหลาย นั่นเอง, ท่านผู้นี้เป็น พราหมณ์ โดยกำเนิด จึงนำให้ นักศึกษา หลายๆ คนเชื่อว่า ถ้าเรื่อง ของ พราหมณ์ หลายเรื่อง (เช่น เรื่องนรก สวรรค์ เรื่องพระราหู จับพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในสังยุตตนิกาย เป็นต้น) ได้เข้ามาปนอยู่ใน พระไตรปิฎก ถึงกับบรรจุ เข้าใน พระพุทธโอษฐ์ ก็มีนั้น ต้องเป็นฝีมือ ของท่านผู้นี้ หรือ บุคคลประเภท เดียวกับท่านผุ้นี้ แต่ที่ท่านบรรจุเข้า ก็ด้วย ความหวังดี ให้คนละบาป บำเพ็ญบุญ เพราะสมกับ ความเชื่อถือ ของคน ในครั้งนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่า พระศาสดา มิได้ทรงสอน เรื่องฤทธิ์ หรือ เรื่องฤทธิ์ มิได้เข้าเกี่ยวข้อง กับพุทธศาสนา ในครั้งพุทธกาลแล้ว มันก็น่าจะ ได้เข้าเกี่ยวข้องในครั้งนี้ เป็นแน่. ท่านผู้ที่ดึงเข้ามา เกี่ยวข้อง ก็ได้ทำไป ด้วยความหวังดี เพื่อให้ พุทธศาสนา อันเป็นที่รัก ของท่าน ต้านทานอิทธิพล ของศาสนาอื่น ซึ่งกำลังท่วมทับ เข้ามานั่นเอง มิฉะนั้น น่ากลัวว่า พุทธศาสนา จะเหลืออยู่ ในโลกน้อยกว่า ที่เป็นอยู่ ในบัดนี้มาก

เมื่อเหตุผลมีอยู่ดังนี้ ข้อปัญหาต่อไป จึงมีอยู่ว่า เราจะปรับปรุง ความคิดเห็น และความเชื่อถือ ในเรื่องฤทธิ์ นี้อย่างไร ข้าพเจ้าเห็นว่า ฤทธิ์ เป็นเพียง เครื่องประดับ หรือ เครื่องมือ อย่างหนึ่ง ซึ่ง พุทธศาสนา เคยใช้ประดับ หรือ ใช้ต้านทานศัตรู มาแล้ว แต่หาใช่เป็น เนื้อแท้ของ พุทธวจนะ ซึ่งกล่าวเฉพาะ ความดับทุกข์ โดยตรงไม่ เพราะฉะนั้น เมื่อเราในบัดนี้ จะเข้าเกี่ยวข้อง กับฤทธิ์ อย่างดีที่สุด ที่จะทำได้ ก็เท่ากับ ที่เป็นมาแล้ว นั่นเอง เราไม่อาจถือเอามัน เป็นสรณะ อันแท้จริง อย่างไรได้ เพราะเหตุผล ดังที่ ข้าพเจ้า จะได้แสดงต่อไป ตามความรู้ ความเห็น ฝากท่านผู้รู้ ช่วยกัน พิจารณาหาความจริง สืบไป

คำว่า ฤทธิ์ แปลว่า เครื่องมือ ให้สำเร็จ ตามต้องการ แต่ความหมายจำกัด แต่เพียงว่า เฉพาะ ปัจจุบัน ทันด่วน หรือ ชั่วขณะเท่านั้น เมื่อ หมดอำนาจ บังคับของฤทธิ์ แล้ว สิ่งทั้งปวง ก็กลับคืน เข้าสู่สภาพเดิม ผู้มีกำลังจิตสูง ย่อมแสดงฤทธิ์ ได้สูง จนผู้ที่มีฤทธิ์ด้วยกัน ต้องยอมแพ้ เพราะมีอำนาจใจ ต่ำกว่า จิตเป็นธรรมชาติ อันหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้มีการฝึก ให้ถูกวิธี ของมันแล้ว ย่อมมีอำนาจมากพอ ที่จะครอบงำ สิ่งทั้งหลาย ที่มีจิตใจ ด้วยกัน ได้หมด ช้างป่าดุร้าย และน่าอันตรายมาก ถ้าเราไม่ได้ ค้นพบ วิธีฝึก มันแล้ว ก็ไม่อาจ ได้รับประโยชน์ อะไร จากมันเลย คนเรา ที่รู้จักคิดว่า ช้างนี้ คงฝึกได้ อย่างใจ และค้นพบ วิธีฝึก บางอย่าง ในขั้นต้น ก็นับว่า เป็นผู้ที่ทำ สิ่งที่ยากมาก แต่ผู้ที่ค้นพบ เรื่องของจิต และ วิธีฝึกมัน โดยประการต่างๆ นั้น นับว่า ได้ทำสิ่ง ที่ยาก มากกว่า นั้นขึ้นไปอีก

ในยุคดึกดำบรรพ์ เมื่อได้มีการสนใจ ในเรื่องจิตกันขึ้น นักจิตศาสตร์ ได้พยายาม ทดลอง โดยอาการต่างๆ แยกกันไป คนละสาย สองสาย จนในที่สุด ก็ได้ลุถึง คุณสมบัติ อันสูงสุด ที่จิต ที่เขาฝึก ถึงที่สุด ในแง่นั้นๆแล้ว สามารถจะ อำนายประโยชน์ ให้ได้ อันจำแนกได้ โดยประเภทหยาบๆ คือ

(๑) เข้าถึงธรรมชาติ ที่เรียกว่า ทิพย์ แล้วหา ความเพลิดเพลิน จากสิ่งที่เรียกว่า วิสัยทิพย์ นั้นๆ
(๒) มีอำนาจบังคับทางจิต สำหรับบังคับจิต ของเพื่อนสัตว์ ด้วยกัน เพื่อเอาผล เช่นนั้น เช่นนี้ ตามความปรารถนา
(๓) สามารถรู้เรื่อง เกี่ยวกับ สากลจักรวาล พอที่จะให้ตน หมดความอยากรู ้อยากค้นคว้า อีกต่อไป เพราะตนพอใจ ในความรู้นั้นๆ เสียแล้ว
(๔) สามารถปลงวาง สลัดออกเสีย ซึ่งความทุกข์ ทางใจ อันได้แก่ ลัทธิศาสนา ที่เกี่ยวกับความดับทุกข์ ในจิต ทั้งมวล นับตั้งแต่ สุขใน ฌาน สมาธิ มรรค ผล นิพพาน เป็นลำดับๆ

พวกใด ดำเนินสายแห่งการค้นคว้าของเขา เข้าไปในดงรกแห่งฤทธิ์วิธี ย่อมได้ผลใน สองประเภท ข้างต้น (ข้อ ๑-๒) พวกที่ดำเนินไป เพื่อฟันฝ่า รกชัฎ แห่งตัณหา อันเป็น ก้อนหินหนัก แห่งชีวิต ก็ได้ ผลประเภทหลัง (ข้อ ๓-๔) พวกแรก คือ พวกฤทธิ์ พวกหลัง คือ ศีลธรรม และ ปรัชญาในทางจิต ทั้งสองประเภทนี้ เป็นที่นิยม ของมหาชน อย่างคู่เคียง กันมา ในยุคที่ความนิยม ในทางจิตศาสตร์ ยังปกคลุม ดินแดน อันเป็นที่เกิดขึ้น แห่งวิชานี้ คือ ชมพูทวีป หรือ อินเดียโบราณ มหาชนในถิ่นนั้น ต่างได้รับผล สมประสงค์ กันทั้ง ฝ่ายฤทธิ์ และ ฝ่ายความพ้นทุกข์ ของจิต แต่ในที่นี้ จะได้กล่าวเฉพาะ เรื่องฤทธิ์ อย่างเดียว งดเรื่องของความพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งเสีย

ผู้ที่ฝึกใจตามวิธีที่ค้นคว้า และ สั่งสอนสืบๆ กันมา หลายชั่วอายุคน ได้ถึงขึดสุด อย่างถูกต้องแล้ว สามารถบังคับใจตนเอง ให้เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ อันเกี่ยวกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ความรู้สึกในใจ อันเกิดขึ้นจาก รูป เสียง เป็นต้น นั้นๆ แล้ว ฝึกวิธี ที่จะส่งกระแสจิตนั้นๆ ไปครอบงำ จิตผู้อื่น ให้ผู้อื่นรู้สึกเช่นนั้นบ้าง ในทางรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ ทุกประการ ผู้ที่มีกำลังจิตอ่อนกว่า ทุกๆ คน แม้จะมี จำนวนมากมาย เท่าใด ก็จะรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่นเดียวกันหมด เพราะใจของเขา ถูกอำนาจจิต ของผู้ที่ส่งมา ครอบงำ เขาไว้ ครอบงำ เหมือนกันหมด ทุกๆ คนจึงได้เเห็น หรือ ได้ยิน ได้ดมตรงกันหมด เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม บ้านเมืองที่งดงาม ฯลฯ ตามแต่ที่ผู้ออกฤทธิ์ ได้สร้างมโนคติ ขึ้นในใจ ของเขา แล้วส่งมาครอบงำ อำนาจครอบงำ อันนี้ เป็นไปแนบเนียน สนิทสนม ผู้ที่ถูกงำไม่มีโอกาสรู้สึกตัวในเวลานั้น ว่าถูกครอบงำ ทางจิต และ สิ่งที่รู้สึกนั้น ไม่ใช่ของจริง เมื่อเรานอนหลับ และ กำลังฝันอยู่ เราไม่อาจรู้ตัวว่า เราฝัน เรากลัวจริง โกรธจริง กำหนัดจริง ฉันใด ในขณะที่ เราถูกงำ ด้วยอำนาจฤทธิ์ ก็รู้สึกว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ ทุกอย่างฉันนั้น

ผู้ออกฤทธิ์บางคน สามารถออกอำนาจบังคับ เฉพาะคน ยกเว้นให้บางคน คนในหมู่นั้น แม้นั่งอยู่พร้อมกันในที่เดียวกัน จึงเห็นต่างๆกัน ดังเราจะได้ยิน ในตอนที่ เกี่ยวกับ พระศาสดา ทรมานคน บางคน ที่เข้าไปเผ้า พระองค์ ในที่ประชุมใหญ่ และพระองค์ ทรงบันดาล ด้วย อิทธาภิสังขาร เฉพาะผู้นั้น ให้เห็น หรือ ได้ยิน อย่างนี้ อย่างนั้น เพื่อทำลาย ทิฎฐิ หรือ มานะ บางอย่าง ของเขาเสีย

เมื่อผู้ที่ทำการต่อสู้กัน ต่างก็มีฤทธิ์ด้วยกัน นั่นย่อมแล้วแต่ อำนาจจิต ของใคร จะสูงกว่า หรือ มีกำลังแรงกว่า เมื่อผู้มีฤทธิ์ ฝ่ายหนึ่ง ได้บันดาล ให้ทุกๆ คนในที่นั้น เห็นภาพ อันน่ากลัว มาคุกคาม อยู่ตรงหน้า เช่นนั้นๆ แล้ว ถ้าหาก อีกฝ่ายหนึ่ง มีอำนาจจิต สูงกว่า ก็อาจรวบรวม กำลังจิตของตน เพิกถอนภาพ อันเกิดจาก อำนาจฤทธิ์ ของฝ่ายแรก กวาดให้เกลี้ยง ไปเสียจาก สนามแห่งวิญญาณ แล้วบันดาล ภาพอันน่ากลัว ซึ่งเป็น ฝ่ายของตน ขึ้น คุกคาม บ้าง แม้ว่า ในขณะที่คนนั้นๆ ถูกอำนาจฤทธิ์ ครอบงำ อยู่ และ เขาไม่อาจทราบว่า นั่นเป็น กำลังฤทธิ์ ดุจตกอยู่ใน ขณะแห่งความฝัน ก็ดี เขายังได้รับการศึกษา และความเชื่อ มาก่อนแล้วว่า มีวิธี ที่จะต่อสู้ ต้านทาน ซึ่งเป็น การเพิกถอนฤทธิ์ ของฝ่ายหนึ่ง เช่นนั้นๆ ด้วย จึงโต้ตอบ กันไปมา จนกว่า ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง จะสิ้นฤทธิ์

ในรายที่ไม่ได ้ทำการต่อสู้ ประหัตประหาร กันโดยตรง แต่ต่อสู้ เพื่อแข่งขัน ชิงเกียรติยศ อย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อเรียกเอา ความเลื่อมใส ของมหาชน มาสู่ พวกของตัวนั้น ก็ทำนองเดียวกัน คือ มีการต้านทาน เพื่อมิให้ อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงฤทธิ์ ของเขาได้สมหมาย ซึ่งถ้าหาก การต้านทาน นั้นสำเร็จ ฝ่ายโน้นก็แพ้ แต่ต้นมือ ถ้าต้านทานไม่สำเร็จ ก็ต้องหาอุบาย กวาดล้าง อำนาจฤทธิ์ ในเมื่อฝ่ายหนึ่ง ได้ส่งมาแล้ว ซึ่งถ้ายังทำไม่ได้อีก ตนก็ตกเป็น ฝ่ายแพ้ ฤทธิ์ของผู้ที่มี ดวงใจบริสุทธิ์ เป็นอริยบุคคล ย่อมมีกำลังสูง และหนักแน่น ยั่งยืนกว่า ของฝ่ายที่ยังเต็มไปด้วยกิเลส เป็นธรรมดา เพราะเหตุว่า จิตของผู้มีกิเลส ถูกกิเลสตัดทอน เสียตอนหนึ่งแล้ว ยังอาจที่จะ ง่อนแง่น คลอนแคลน ได้ ในเมื่ออิฎฐารมณ์ หรือ อนิฎฐารมณ์ มากระทบ ในขณะที่ ต่อสู้กันนั้น อีกประการหนึ่ง ผู้ไม่มีกิเลส ย่อมไม่ทำเพราะเห็นแก่ตัว จึงมีกำลัง ปีติปราโมทย์ ความเชื่อ และ อื่นๆ ซึ่งเป็นดุจเสบียงอาหาร ของฤทธิ์ มากกว่า ย่อมได้เปรียบ ในข้อนี้

ในรายที่ไม่มีการต่อสู้กัน เป็นเพียงการทรมาน ผู้ที่มีกำลังใจ อ่อนกว่า แต่มีมานะ หรือ ความกระด้าง เพราะเหตุบางอย่าง ย่อมเป็นการง่ายกว่า ชนิดที่ต่อสู้กัน คนธรรมดา สตรี เด็กๆ เพียงแต่อำนาจสะกดจิตชั้นต่ำๆ ซึ่งยังมีเหลือออกมา ถึงสมัยปัจจุบันนี้บ้าง ก็อาจที่จะเป็น อำนาจงำ ให้ตกอยู่ใต้ อำนาจของผู้แสดง นั้นได้ เสียแล้ว แม้ว่าสมัยนี ้จะเป็นสมัย ที่ไม่ค่อยมีใครเชื่อ ในเรื่องนี้ และทั้งผู้ฝึก ก็มิได้เป็น "นัก" ในเรื่องนี้ อย่างเอาจริง เอาจัง ก็ในสมัยโบราณ คนทุกคนเชื่อในเรื่องฤทธิ์ และผู้ฝึก ก็ฝึก อย่างเอาจริง เอาจัง เรื่องของฤทธิ์ จึงเป็นเรื่องที่แนบเนียน และเป็นเรื่องจริง ได้อย่างเต็มที่ ในสมัยนั้น ความที่ทุกคนเชื่อก็ดี ความที่ผู้ฝึกเองก็เชื่อ และตั้งใจฝึกเป็นอย่างดี ก็ดี ล้วนแต่เป็น สิ่งส่งเสริม ในเรื่องฤทธิ์ ให้เป็นเรื่องจริง เรื่องจัง ยิ่งขึ้นไปอีก เราอาจกล่าวได้ว่า ในยุคโบราณยุคหนึ่ง ความเชื่อในเรื่องนี้ มีเต็มร้อยเปอร์เซนต์ อิทธิพลในเรื่องฤทธิ์ จึงมีได้ เต็ม ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมันถูกฝา ถูกตัว แก่กัน ครั้นมาบัดนี้ ทั้งความเชื่อ และการฝึกฝน มีเหลือน้อย ไม่ถึง ห้าเปอร์เซนต์ เลยกลายเป็น เรื่องเหลวไหล เสียเก้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์ บางที มีแต่ตัว ไม่มีฝา บางทีมีฝา แต่ไม่มีตัว ต่างฝ่าย ต่างก็ขี้เกียจเก็บ เลยทิ้งให้ ค่อยหาย สาปสูญไป ความยั่วยวน อันเกิดจากฝีมือ ของนักวิทยาศาสตร์ แผนปัจจุบัน กำลังมีอิทธิพล มากขึ้นๆ ในอันที่จะ ให้จิตของคนเรา ตกต่ำ อ่อนแอ ต่อการที่จะบังคับตัวเอง ให้ว่างโปร่ง เพื่อเป็นบาทฐาน ของฤทธิ์ ได้ เมื่อว่างผู้แสดงฤทธิ์ ได้ นานเข้า ความเชื่อในเรื่องนี้ ก็สาปสูญไป ทั้งของผู้ที่จะฝึกและของผู้ที่จะดู

บัดนี้ จะย้อนกลับไปหาเรื่องของการฝึก เพื่อให้เข้าใจในเรื่องนี้ดีขึ้น (มิใข่เพื่อรื้อฟื้นขึ้นฝึกกัน) ผู้ที่จะฝึกในเรื่องฤทธิ์ ต้องเป็นผู้ที่มีใจ เป็นสมาธิง่าย กว่าคนธรรมดา เพราะเรื่องนี้ มิใช่เป็นสาธารณะ สำหรับคนทั่วไป แม้ผู้ที่เชื่อและตั้งใจฝึกจริงๆ ถึงฝึกสมาธิได้แล้ว ท่านยังกล่าวว่า ร้อยคนพันคน จึงจะมีสักคนหนึ่ง ที่จะเขยิบตัวเอง ขึ้นไป จนถึงกับ แสดงฤทธิ์ได้ การปฏิบัติ เพื่อรู้อริยสัจ หลุดพ้นไปจากทุกข์ได้ เสียอีก ที่เป็นสาธารณะกว่า! คนบางประเภท หลุดพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยเหตุผล ที่แวดล้อมเหมาะสม จูงความคิด ให้ตกไป ในแนวแห่ง ความเบื่อหน่าย และปล่อยวางได้ โดยไม่ต้องเกี่ยวกับ การฝึกสมาธิเลย จึงกล่าวย้ำ เพื่อกันสงสัย ได้อีกครั้งหนึ่ง สำหรับคนธรรมดา เราๆ การฝึกเพื่อพระนิพพาน เป็นของง่ายกว่า ที่จะฝึกในเรื่องฤทธิ์ ให้ได้ถึงที่สุด ยิ่งถ้าจะฝึกเพื่อทั้งฤทธิ์ และพระนิพพาน ทั้งสองอย่างด้วยแล้ว ก็ยิ่งยาก มากขึ้นไปอีก ในหมู่พระอรหันต์ ก็ยังมีแบ่งกันว่า ประเภทสุกขวิปัสสก และประเภทอภิญญา คือแสดงฤทธิ์ไม่ได้ และแสดงได้

ผู้ฝึกสมาธิ เพื่อมรรคผลนิพพานนั้น เมื่อใจเป็นสมาธิแล้ว ก็น้อมไปสู่ การคิดค้นหาความจริง ของชีวิต หรือ ความทนทุกข์ ของสัตว์ ว่า มีอยู่อย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร จะดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ส่วนผู้ที่ฝึก เพื่อฤทธิ์นั้น แทนที่จะน้อมไปเพื่อคิดค้นหาความจริง เขาก็น้อมสมาธิ นั้นไปเพื่อ การสร้างมโนคติ ต่างๆ ให้ชำนาญ ซึ่งเป็นบทเรียน ที่ยากมาก เมื่อเขาสร้าง ภาพแห่งมโนคติ ได้ด้วยการบังคับจิต หรือวิญญาณของเขา ได้เด็ดขาด และ คล่องแคล่ว แล้ว ก็หัดรวมกำลังส่งไป ครอบงำสิ่งที่อยู่ใกล้ จะขยายวงกว้าง ออกไปทุกที เพื่อให้ ภาพแห่งมโนคติ นั้นครอบงำใจ ของผู้อื่น ตามที่ เขาต้องการ ความยากที่สุด ตกอยู่ที่ตนจักต้อง ดำเนินการ เปลี่ยนแปลงภาพ นั้นๆ ให้เป็นไป ตามเรื่องที่ต้องการ ดุจการฉายภาพยนต์ ลงในผืนจอ แห่งวิญญาณ ของผู้อื่น จึงเป็นการยากกว่า การที่เจริญสมาธิ เพื่อสงบนิ่ง อยู่เฉยๆ หรือคิดเรื่องใด เรื่องหนึ่ง แต่เรื่องเดียว โดยเฉพาะ แต่อย่างไรก็ดี ความลำบาก นั้นๆ มิได้เป็นสิ่งที่ อยู่นอกวิสัย เพราะเมื่อจิต ได้ถูกฝึก จนถึงขีด ที่เรียกว่า "กัมมนีโย" นิ่มนวล ควรแก่ การใช้งานทุกๆ อย่างแล้ว ก็ย่อมใช้ได้ สมประสงค์

ฤทธิ์ตามที่กล่าวไว้ ใน นิทเทสแห่งอภิญญา ของฝ่ายพุทธศาสนานั้น ดูคล้ายกับ ยืมของใครมาใส่ไว้ เพื่อแสดง ความสามารถของจิต อันสูงสุดประเภทนี้ ให้ครบถ้วน นอกจาก ไม่เป็นไป เพื่อความพ้นทุกข็ โดยตรงแล้ว ยังไม่ค่อย ตรงกับ อาการที่ พระพุทธองค์ ทรงแสดงอยู่บ้าง ในบางคราว ในบาลีไม่ได้แสดงวิธีฝึก ไม่ได้แสดงวี่แววว่า ควรฝึก หรือจำเป็น และไม่ค่อยปรากฏว่า พระมหาสาวกองค์ได้ ได้รับประโยชน์ หรือใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงนำความเข้าใจ ให้เกิดขึ้นว่า ถ้าหากว่า เรื่องอภิญญาเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องที่กล่าว เพื่อแสดง คุณสมบัติของจิต ที่ฝึกแล้วถึงที่สุด ให้ครบถ้วนเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องจำเป็น ของพระสาวกเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ การฝึกก็เป็นอันว่า ต้องต่างกันด้วย ไม่มาก ก็น้อย จากวิธีที่เขาฝึกกัน ในสายของฤทธิ์โดยตรง เพราะเรื่องโน้น เป็นเรื่องของ ผู้ขวนขวาย เพื่อเสียสละ มิใช่เรื่องของ ผู้ขวนขวาย เพื่อรับเอา ในพระบาลี กล่าวแต่เพียงว่า เมื่อจิตเป็น จตุตถฌาน คล่องแคล่ว ดีแล้ว ก็น้อมไปเพื่อ อภิญญา เช่นนั้นๆ สำเร็จได้ ด้วยอำนาจ จตุตถฌาน นั่นเอง เมื่อการน้อมนั้นๆ สำเร็จก็จะสามารถทำได้ เช่นนั้นๆ ดูเหมือนว่า ถ้า น้อมไปเพื่ออภิญญานั้นๆ ไม่สำเร็จ ก็น้อมเลยไป เป็นลำดับๆ ข้ามไปหา การคิดค้น เรื่องอริยสัจ เลยทีเดียว คล้ายกับว่า มีไว้เผื่อเลือก หรือ สำหรับคน ที่มีอุปนิสัยบางคน ในบาลีบางแห่ง ไม่มีกล่าวถึง อภิญญาเลย เมื่อกล่าวถึง จตุตถฌานแล้ว ก็กล่าวถึง วิชชาสาม คือ ระลึกถึงความเป็นมา แล้วของตนในอดีต ความวิ่งวนของหมู่สัตว์ ในสังสารวัฎ และเหตุผล เรื่อง อริยสัจ เป็นที่สุด พระบาลี ชนิดหลังนี้ มีมากกว่า ที่กล่าวถึง อภิญญา และที่กล่าวถึง จตุตถฌาน แล้ว กล่าวอริยสัจเสียเลย ก็มีมากกว่ามาก

ในอรรถกถาซึ่งเป็น คำอธิบายของพระบาลี ก็มิได้กล่าววิธีฝึกฤทธิ์นั้นๆ มักแก้ในทางศัพท์ ทางข้อธรรมะแท้ๆ หรือ มิฉะนั้น ก็ทางนิยายเลยไป แต่ได้ท้าให้ค้นดู เอาจาก คัมภีร์วิสุทธิมรรค เพราะ ผู้ร้อยกรอง อรรถกถา กับผู้แต่งวิสุทธิมรรค เป็นคนเดียวกัน หรือ วิสุทธิมรรคมีอยู่แล้ว ก่อนการแต่งอรรถกถานั้นๆ

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีเรื่องของการฝึกฤทธิ์อย่างพิสดาร จนกล่าวได้ว่า ไม่มีคัมภีร์ใด มีพิสดารเท่า ในวงของ คัมภีร์ฝ่ายพุทธศาสนา ด้วยกัน เพราะความพิสดารนั่นเอง จำเป็นที่ข้าพเจ้า จะต้องขอร้อง ให้ท่านพลิกดู ในหนังสือชื่อนั้น ด้วยตนเอง ด้วยว่า เหลือที่จะ นำมาบรรยาย ให้พิสดาร ในที่นี้ได้ เมื่อกล่าวแต่ หลักย่อๆ ก็คือ ขั้นแรก ท่านสอน ให้หาความชำนาญ จริงๆ ในการเพ่งสีต่างๆ และวัตถุ เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม จนติดตาติดใจ เพื่อสะดวกในการ สร้างภาพแห่งมโนคติ ในขั้นต่อไป อันเรียกว่า เพ่งกสิณ ซึ่งเป็น สิ่งมีมา ก่อนพุทธกาล มิใช่สมบัติ ของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ ผู้เพ่งต่อฤทธิ์ ต้องหนักไปใน การฝึกกสิณ เท่ากับ ผู้เพ่งต่อพระนิพพาน หนักไปใน การฝึกแห่ง อานาปานสติ และกายคตาสติ เป็นต้น ดิน น้ำ ไฟ ลม คือ ส่วนผสมของสิ่งต่างๆ ในโลก หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็ว่า โลก เท่าที่ปรากฏแก่ ความรู้สึก ของคนทั่วไป ก็คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นั่นเอง เมื่อสิ่งเหล่านี้ ติดตา และติดใจ จนคล่องแคล่ว พระโยคีนั้น ก็อาจสร้าง มโนคติภาพ อันเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ได้ทั่วไป ทุกอย่าง กสิณ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ศึกษา ในฝ่ายฤทธิ์ สีขาว สีเขียว และสีต่างๆ ก็ทำนองเดียวกัน  เป็นสีของสิ่งทั้งหลาย บรรดามี ในโลกนี้ การฝึก อุทธุมาตกอสุภ คือ การเพ่งจำ ซากศพ ที่ตายได้สี่ห้าวัน กำลังขึ้น พองเขียว จนติดตา และขยายสัดส่วน ให้ใหญ่เล็ก ทำนองย่อ และ ขยายสเกล อยู่ไปมา ตลอดจน ให้ลุกเดิน เคลื่อนไหวได้ ต่างๆ จนติดตา ติดใจ ชำนาญ ทุกประเภท เช่นนี้ ช่วยให้ประสาท ของผู้นั้น เข้มแข็ง ต่อความกลัว จนมีใจ ไม่หวั่นไหว ได้จริง ในที่ทั้งปวง ทั้งช่วยส่งเสริม ในการสร้าง มโนคติ ในเรื่องกลิ่น เป็นต้น ได้เป็นพิเศษ รวมความว่า ในขั้นแรก ต้องฝึกการอดทน การบังคับใจ ของตนเอง ให้อยู่ในมือ จริงๆ การชำนาญ สร้างภาพ ด้วยใจ อย่างเดียว ตลอดถึง ความกล้าหาญ ความบึกบึน หนักแน่น ของประสาท ทั้งสิ้น

เมื่อชำนาญใน ขั้นนี้แล้ว จึงฝึก การส่งภาพ ทางใจ หรือ ที่เรียกว่า อธิษฐานจิต เพื่อความเป็น เช่นนี้ เช่นนั้น ครอบงำผู้อื่น ถ้าหาก มีความชำนาญ และกล้าแข็งพอ อาจที่จะ บันดาลให้ คนทั้งชมพูทวีปรู้สึก หรือเห็น เป็นอันเดียวกันหมดว่า ภูเขาหิมาลัย ซึ่งเคยอยู่ ทางทิศเหนือนั้น บัดนี้ได้ ขยับเลื่อน ลงมาอยู่ ทางทิศใต้ หรือ กลางมหาสมุทรอินเดีย เสียแล้ว เป็นต้นได้ แต่เพราะ ความที่อำนาจใจ นั้นๆ ไม่พอ จึง เท่าที่ เคยปรากฏ กันมาแล้ว มีเพียง ในวงคน หมู่หนึ่ง หรือ ชั่วขณะหนึ่ง เท่านั้น สมตาม ที่ชื่อ ของมัน คือคำว่า ฤทธิ์ ซึ่งแปลว่า เครื่องมือช่วย แก้อุปสรรค ให้สำเร็จ กะทันหัน ทันอก ทันใจ คราวหนึ่ง เท่านั้น เพราะว่า แม้หาก พระโยคีองค์ใด เคลื่อน ภูเขาหิมาลัย ได้ด้วย อำนาจฤทธิ์ เมื่อท่านคลายฤทธิ์ หรือตายเสีย ภูเขาหิมาลัย ก็จะ วิ่งกลับสู่ที่เดิม เท่านั้นเอง นักโทษ ที่มีฤทธิ์ อาจบันดาล ให้เขา เห็นตน เหาะลอย อยู่ในอากาศได้ แต่ย่อม ไม่อาจที่จะ ทำลาย เครื่องจองจำ นั้นได้ ถ้าหากมัน เป็นเครื่องมือ ที่แน่นหนา แข็งแรงพอ แต่นักโทษผู้นั้น มีทางที่จะใช้ ฤทธิ์นั้น ให้เป็นประโยชน์ แก่ตน หรือ มีโอกาส ให้อุบาย อันใด อันหนึ่ง หรือ เขาสั่งปล่อย เพราะ กลัวอภินิหาร ของตน

เมื่อตนคล่องแคล่วใน การอธิษฐานจิต แผ่มโนคติภาพ ไปครอบงำ สัตว์อื่น ได้เช่นนี้ ก็เป็นผู้มีฤทธิ์ แต่จะมากหรือน้อย ย่อมแล้วแต่ ความสามารถ ของตน

เมื่อมาถึงตรงนี้ ก่อนแต่จะจบ ควรย้อนกลับไป พิจารณาถึง เรื่องฤทธิ์นี้ กันมาใหม่ ตั้งแต่ต้นอีก สักเล็กน้อย แต่พิจารณากัน ในแง่แห่ง ประวัติศาสตร์ ของวิชา ประเภทนี้ วิชาเรื่องนี้ ฟักตัวมันเอง ขึ้นมาได้ด้วย ความอยากรู้ และ อยากเข้าถึง อำนาจบางอย่าง ซึ่งอยู่เหนือ คนธรรมดา มันเป็น ความอยาก ที่เกิดขึ้น โดยบังเอิญของ คนบางพวก ที่อุตรี เชื่อว่า จิตนี ้แปลกประหลาดมาก น่าจะมี คุณสมบัติพิเศษ บางอย่าง ซึ่งเมื่อผู้ใด อุตส่าห์ฝึกฝน จนรู้เท่าถึงแล้ว อาจเอาชนะ คนที่รู้ไม่ถึงได้ เป็นอันมาก ความคิดนี้ เป็นเหตุให้ ยอมพลีเวลา ตลอดทั้งชีวิต เพื่อการค้นคว้า ทดลอง อันเรียกว่า บำเพ็ญตบะ ในยุคที่คนเราถือ พระเป็นเจ้า ย่อมหวัง ความช่วยเหลือของ พระเป็นเจ้า อย่างเต็มที่ ด้วยอำนาจสมาธิ ที่มีต่อ สิ่งที่ เขาเชื่อว่าเป็น พระเป็นเจ้านั่นเอง ที่ได้เป็น บาทฐาน ให้เขาพบ วี่แวว ของฤทธิ์ ในครั้งแรก สักเล็กน้อย และ เป็นเงื่อน ให้ คนชั้นหลัง ดำเนินตาม หลายสิบชั่ว อายุคน เข้า คนที่ตั้งใจจริง เหล่านั้น ก็ได้พบ แปลกขึ้น เป็นอันมาก จน ปะติด ปะต่อ เข้าเป็นหลัก เป็นเกณฑ์ สำหรับสั่งสอนกัน เมื่อวิชานี้ ถูกแพร่ข่าวรู้มาถึง คนในบ้าน ในเมือง ก็จูงใจ พวกชายหนุ่ม นักรบ หรือ กษัตริย์ ให้ออกไป ขอศึกษาจาก พวกโยคีนั้น ถึงในป่า มีเรื่องเหลือ เป็น นิยาย อยู่ตามที่ หนังตะลุง มักเล่นกัน โดยมาก คนป่า หรือ ยักษ์บางตน ก็มีความรู้ ความสามารถ ในเรื่องนี้ เท่า หรือ มากกว่า คนบ้าน หรือ มนุษย์ ถึงกับ รบกัน และ ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ พวกเทวดาหรือ พวกที่เอาแต่ เล่นสนุก ไม่ปรากฏว่า มีฤทธิ์ เพราะสมาธิ ไม่ค่อยดี กระมัง ในตอนแรกๆ ผู้มีฤทธิ์นั้น ค้นคว้า กันเพียง ขั้นที่สำเร็จ สมความต้องการ ไม่ได้ค้นถึง เหตุผล ของฤทธิ์ ไม่เป็น นักปรัชญา หรือ ทฤษฎีในเรื่องนี้ แต่เป็นเพียงนักปฏิบัติการ ตามที่สั่งสอน สืบๆ กันมา ขณะเมื่อ ในอินเดีย กำลังรุ่งเรือง ด้วยวิชา ประเภทนี้ ทางฝ่ายยุโรป ไม่มีความรู้ ในเรื่องนี้เลย เมื่อทางอินเดียเสื่อมลง ทางยุโรป ได้รับเพียง กระเส็น กระสาย เล็กน้อย ไม่พอที่จะรุ่งเรืองด้วย จิตวิทยา ประเภทนี้ อย่างอินเดียได้ มีแต่ฤทธิ์ ของซาตาน หรือมาร เพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่มีพิษสง อะไรนัก และเป็นเรื่อง ทางศาสนา มากกว่า

เมื่อวิชานี้ ได้เสื่อมลง ในอินเดียแล้ว ในทางปฏิบัติการ แต่ทางนิยาย ยังมีเหลืออยู่ ไม่สาบสูญ และยิ่งกว่านั้น ที่แน่นอนที่สุด คือ ได้ถูกคนชั้นหลัง ต่อเติม เสริมความ ให้วิจิตร ยิ่งขึ้นไป จนคนชั้นหลัง ในบัดนี้ ปอกเปลือก ตั้งหลายชั้นแล้ว ก็ยังไม่ถึงเยื่อในได้เลย ความเดา ทำให้ขยาย ความจริง ให้เชื่อง จนฤทธิ์ ซึ่งเป็นเพียงวิชา สำหรับใช้แก้ อุปสรรค กะทันหัน เล่นตลก กับคนที่รู้ไม่ถึง กลับกลาย เป็นเรื่องจริงแท้ๆ ไป ดุจเดียวกับ เรื่องทางวัตถุอื่นๆ คนในชั้นหลังเป็นอันมาก เชื่อว่าอะไรทุกๆ อย่างจริงตามนั้น ทั้งที่ตนตอบไม่ได้ว่า ถ้าจริงเช่นนั้น ทำไมเวลาปรกติ ผู้มีฤทธิ์ ยังต้องเดิน ไปไหน มาไหน ไม่เหาะ เหมือนคราวที่ แสดงฤทธิ์ แข่งขัน ทำไมต้องทำนา ทำสวน หรือ ออกบิณฑบาต ขอทาน ไม่บันดาล เอาด้วยฤทธิ์ เป็นต้น ฤทธิ์ที่เคยเป็น เพียงการลองดี กันด้วย กำลังจิต ก็กลายเป็น เรื่องทางวัตถุ หนักขึ้น จนคนบางคนในชั้นหลัง หวังจะมีฤทธิ์ เพื่อให้หาเหยื่อ ให้แก่ตน ตามกิเลสของตน ผลที่ได้รับในที่สุด ก็คือ การวิกลจริต!

สรุปความสั้นๆ ที่สุดในเรื่องฤทธิ์ ที่ได้กล่าวมา อย่างยืดยาว นี้ ก็คือว่า ฤทธิ์ เป็นเพียง คุณสมบัติพิเศษ ส่วนหนึ่งของจิตเท่านั้น เรื่องของจิต อันนี้เป็น พวกนามธรรม จะให้สำเร็จผล เป็นวัตถุไม่ได้ เช่นเดียวกับวัตถุในความฝัน มันจะเป็น วัตถุอยู่ ก็ชั่วเวลา ที่เราไม่ตื่น จากฝันเท่านั้น ของที่นฤมิตขึ้น ด้วยอำนาจฤทธิ์ สำเร็จประโยชน์ ชั่วเวลา ที่คนเหล่านั้น ยังตกอยู่ใต้ อำนาจจิต ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ เพราะว่า สิ่งทั้งหลาย ที่เราเรียกกันว่า โลกนี้ก็ตาม ถ้ามีอะไร มาดลบันดาล ให้จิตของเรา ทุกคน วิปริต เป็นอย่างอื่นไป โลกนี้ก็จะปรากฏ แก่เรา อย่างอื่น ไปทันที ดุจกัน สิ่งทั้งหลายสำเร็จ อยู่ที่ใจ รูป เสียง กลิ่น รส ทั้งหมด มีคุณสมบัติขึ้นมาได้ ก็เพราะเรา มีสิ่งที่เรียกกันว่า ใจ ถ้าไม่มีใจ โลกนี้ก็พลอยไม่มีไปด้วย รวมความสั้นๆ ได้ว่า สิ่งทั้งหลายสำเร็จจากใจ ใจสร้างขึ้น ใจเป็นประธาน หรือ หัวหน้าแต่ผู้เดียว เพราะฉะนั้น ถ้ามีอะไรก็ตาม มาดลบันดาล ให้ใจ เปลี่ยนเป็น อย่างอื่นไป สิ่งทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยใจ ก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ถ้าอำนาจ ดลบันดาล นั้นเป็นของ ชั่วขณะ สิ่งนั้นก็ แปรปรวน ชั่วขณะ ด้วย

ในโลกนี้ ไม่มีอะไร เที่ยงอยู่แล้ว เราจะสร้างฤทธิ์ เพื่อเอาชนะ สิ่งที่ไม่เที่ยงนั้น น่าจะไม่ได้รับผลที่น่าชื่นใจ เพราะฉะนั้น พระอริยบุคคล ทั้งหลาย แทนที่จะ ใช้เวลา ไปค้นคว้า ในเรื่องฤทธิ์ ท่านจึงใช้ชีวิต ที่เป็นของ น้อยนิด เดียวนี้ ค้นคว้า หาสิ่งที่เที่ยง และเป็นสุข คือ พระนิพพาน แม้ว่า เรื่องฤทธิ์ และพระนิพพาน ต่างก็ เป็นวิทยาส่วนจิต ด้วยกันก็จริง แต่แตกต่างกัน ลิบลับ ด้วยเหตุผล ดังกล่าวมาแล้ว

เมื่อพระผู้มี พระภาคเจ้า อุบัติขึ้น ในอินเดีย พระองค์ทรงบัญญัติ บาทฐาน ของฤทธิ์ ว่า มีอยู่ สี่ อย่าง คือ ความพอใจ ความเพียร ความฝักใฝ่ และ ความคิดค้น เรียกว่า อิทธิบาท เมื่อทำได้ ผลที่ได้รับ คือ มรรคผลนิพพาน เพราะคำว่า ฤทธิ์ ของพระองค์ จำกัดความเฉพาะ เครื่องมือให้สำเร็จ หรือ ลุถึง นิพพาน เท่านั้น ฤทธิ์ ซึ่งเคยได้ผล เป็นของตบตา และชั่วคราว ก็ได้เปลี่ยน มาเป็น สิ่งซึ่งให้ผล อันมีค่าสูงสุด และแน่นอน ด้วยประการฉะนี้

พุทธทาสภิกขุ

๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๐


58
บทความ บทกวี / ความกลัว
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:30:54 »

ความกลัว เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากสิ่งหนึ่ง ในบรรดา สิ่งที่ทำลาย ความสุข สำราญ หรือ รบกวนประสาท ของมนุษย์ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยกัน ความกลัวนี้ ย่อมมีลักษณะ และพิษสง มากน้อยกว่ากัน เป็นขั้นๆ ตามความรู้สึก อันสูงต่ำ ของจิต เด็กๆ สร้างภาพ ของสิ่งที่น่ากลัว ขึ้นในใจ ตามที่ผู้ใหญ่ นำมาขู่ หรือได้ยิน เขาเล่า เรื่อง อันน่ากลัว เกี่ยวกับผี เป็นต้น สืบๆ กันมา แล้วก็กลัว เอาจริงๆ จนเป็นผู้ใหญ่ ความกลัวนั้น ก็ไม่หมดสิ้นไป ความกลัว เป็นสัญชาตญาณ อันหนึ่งของมนุษย์ เหมือนกันหมด แต่ว่า วัตถุที่กลัว นั่นแหละต่างกัน ตามแต่เรื่องราว ที่ตนรับ เข้าไว้ในสมอง วัตถุอันเป็น ที่ตั้งของความกลัว ที่กลัว กันเป็น ส่วนมาก นั้น โดยมาก หาใช่วัตถุ ที่มีตัวตน จริงจัง อะไรไม่ มันเป็น เพียงสิ่งที่ใจ สร้างขึ้น สำหรับกลัว เท่านั้น ส่วนที่เป็น ตัวตน จริงๆ นั้น ไม่ได้ ทำให้เรา กลัว นาน หรือ มากเท่า สิ่งที่ใจ สร้างขึ้นเอง มันมักเป็น เรื่องเป็นราว ลุล่วงไปเสียในไม่ช้านัก บางที เราไม่ทันนึก กลัว ด้วยซ้ำไป เรื่องนั้นก็ได้มาถึงเรา เป็นไปตามเรื่อง ของมัน และ ผ่านพ้นไปแล้ว มันจึงมิได้ ทรมานจิต ของมนุษย์มาก เท่าเรื่อง หลอกๆ ที่ใจสร้างขึ้นเอง

เด็กๆ หรือคนธรรมดา เดินผ่านร้านขายโลง ซึ่งยังไม่เคย ใส่ศพเลย ก็รู้สึกว่า เป็นที่น่ารังเกียจ หรือเป็นที่ อวมงคล เสียจริงๆ เศษกระดาษ ชนิดที่เขา ใช้ปิดโลง ขาดตก อยู่ในที่ใด ที่นั้น ก็มี ผี สำหรับเด็กๆ เมื่อเอาสีดำ กับกระดาษ เขียนกันเข้า เป็น รูปหัวกระโหลก ตากลวง ความรู้สึกว่าผี ก็มาสิง อยู่ใน กระดาษ นั้นทันที เอากระดาษฟาง กับกาวและสี มาประกอบกัน เข้าเป็น หัวคนป่า ที่น่ากลัว มีสายยนต์ ชักให้แลบลิ้น เหลือกตา ได้ มันก็พอที่ทำให้ใคร ตกใจเป็นไข้ได้ ในเมื่อนำไปแอบ คอยที่ชักหลอกอยู่ในป่า หรือที่ขมุกขมัว และแม้ที่สุด แต่ผู้ที่เป็นนายช่าง ทำมันขึ้นนั่นเอง ก็รู้สึกไปว่า มันมิใช่กระดาษฟาง กับกาวและสี เหมือนเมื่อก่อน เสียแล้ว ถ้าปรากฏว่า มันทำให้ใคร เป็นไข้ ได้สักคนหนึ่ง เราจะเห็นได้ ในอุทาหรณ์ เหล่านี้ ว่า ความกลัวนั้น ถูกสร้างขึ้น ด้วยสัญญา ในอดีต ของเราเอง ทั้งนั้น เพราะปรากฏ ว่า สิ่งนั้นๆ ยังมิได้ เนื่อง กับผีที่แท้จริง แม้แต่นิดเดียว และสิ่งที่เรียกว่า ผี ผี , มันก็ เกิดมาจากกระแส ที่เต็มไปด้วย อานุภาพอันหนึ่ง อันเกิดมาจาก กำลัง ความเชื่อ แห่งจิต ของคน เกือบทั้งประเทศ หรือ ทั้งโลก เชื่อกัน เช่นนั้น อำนาจนั้นๆ มัน แผ่ซ่าน ไปครอบงำ จิตของ คนทุกคน ให้สร้างผี ในมโนคติ ตรงกันหมด และทำให้เชื่อ ในเรื่องผี ยิ่งขึ้น และผี ก็มีชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้ จนกว่า เมื่อใด เราจะ หยุด เชื่อเรื่องผี หรือ เรื่องหลอก นี้กันเสียที ให้หมดทุกๆ คน ผีก็จะตายหมดสิ้นไปจากโลกเอง จึงกล่าวได้ว่า ความกลัวที่เรากลัวกันนั้น เป็นเรื่องหลอก ที่ใจสร้างขึ้นเอง ด้วยเหตุผล อันผิดๆ เสียหลายสิบเปอร์เซ็นต์

ความกลัว เป็นภัยต่อความสำราญ เท่ากับความรัก โกรธ เกลียด หลงใหล และอื่นๆ หรือบางที จะมากกว่าด้วยซ้ำ ดูเหมือนว่า ธรรมชาติ ได้สร้างสัญชาตญาณ อันนี้ให้แก่สัตว์ ตั้งแต่ เริ่มออกจากครรภ์ ทีเดียว, ลูกนก หรือ ลูกแมว พอลืมตา ก็กลัวเป็นแล้ว แสดงอาการหนี หรือป้องกันภัย ในเมื่อเรา เข้าไปใกล้ เด็กๆ จะกลัวที่มืด หรือการถูกทิ้ง ไว้ผู้เดียว ทั้งที่ เขายังไม่เคย มีเรื่องผูกเวร กับใครไว้ อันจะนำให้กลัวไปว่า จะมีผู้ลอบทำร้าย เพียงแต่ผู้ใหญ่ ชี้ไปตรงที่มืด แล้วทำท่ากลัว ให้ดูสักครั้งเท่านั้น เด็กก็จะกลัว ติดอยู่ในใจไปได้นาน คนโตแล้วบางคน นั่งฟังเพื่อนกันเล่า เรื่องผี เวลากลางคืน มักจะค่อยๆ ยับๆ จนเข้าไป นั่งอยู่กลางวง โดยไม่รู้สึกตัว และยังไปนอนกลัว ในที่นอนอีกมาก กว่าจะหลับไปได้ เดินฝ่าน ป่าช้า โดยไม่รู้ เพิ่งมารู้และกลัว เอาที่บ้านก็มี สำหรับบางคน ทั้งหมดนี้ เป็น เครื่องแสดงว่า ความกลัว เป็นเรื่องของจิต มากกว่า วัตถุ ผู้ใด ไม่มี ความรู้ ในการควบคุม จิตของตน ในเรื่องนี้ เขาจะถูกความกลัว กลุ้มรุม ทำลาย กำลังประสาท และ ความสดชื่น ของใจ เสียอย่างน่าสงสาร ในทำนอง ตรงกันข้าม สำหรับผู้ที่มี อุบาย ข่มขี่ ความกลัว ย่อม จะได้รับ ความผาสุก มากกว่า มีกำลังใจ เข้มแข็งกว่า เหมาะที่จะเป็น หัวหน้าหมู่ หรือ ครอบครัว

เมื่อปรากฏว่า ความกลัว เป็นภัย แก่ความผาสุก เช่นนี้แล้ว บัดนี้ เราก็มาถึง ข้อปัญหาว่า เราจะเอา ชนะความกลัว ได้อย่างไร สืบไป เพราะเหตุว่า การที่ทราบแต่เพียงว่า ความกลัว เป็นภัย ของความผาสุกนั้น เรายังได้รับผลดีจากความรู้นั้น น้อยเกินไป เราอาจปัดเป่า ความกลัวออกไปเสียจากจิต โดยววิธีต่างๆ กัน แต่เมื่อจะสรุปความ ขึ้นเป็นหลักสำคัญๆ แล้ว อย่างน้อย เราจะได้สามประการ คือ

๑. สร้างความเชื่ออย่างเต็มที่ ในสิ่งที่ยึดเอาเป็นที่พึ่ง
๒. ส่งใจไปเสียในที่อื่น ผูกมัดไว้กับสิ่งอื่น
๓. ตัดต้นเหตุ ของความกลัวนั้นๆ เสีย

ในประการต้น อันเราอาจเห็นได้ทั่วไป คือวิธีของ เด็กๆ ที่เชื่อ ตะกรุด หรือ เครื่องราง ฯลฯ ตลอดจน พระเครื่ององค์เล็ก ที่แขวนคอ และเป็นวิธีของผู้ใหญ่ บางคน ที่มีความรู้สึก อยู่ในระดับ เดียวกับ เด็กด้วย คนในสมัยอนารยะ ถือภูเขาไฟ ต้นไม้ ฟ้า หรือ สิ่งที่ตนเห็นว่า มีอำนาจน่ากลัว ควรถือเอา เป็นที่มอบกายถวายตัว ได้อย่างหนึ่ง นี่ก็อยู่ในประเภท เดียวกัน ที่ยังเหลือมาจนทุกวันนี้ เช่น พวก ที่บนบาน ต้นโพธิ์ พระเจดีย์ เป็นต้น เพื่อความเบาใจ ของตน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง วิธีนี้ เป็นผลดีที่สุด ได้ตลอดเวลา ที่ตน ยังมีความเชื่อ มั่นคงอยู่ ความเชื่อที่เป็นไปแรงกล้า อาจ หลอกตัวเอง ให้เห็นสิ่งที่ควรกลัว กลายเป็นสิ่งที่ไม่ควรกลัว ไปก็ได้ ถ้าหากจะมีอุบาย สร้างความเชื่อชนิดนั้น ให้เกิดขึ้น ได้มากๆ เมื่อใดความเชื่อหมดไป หรือมีน้อย ไม่มี กำลังพอ ที่จะหลอกตัวเองให้กล้าหาญแล้ว วิธีนี้ ก็ไม่มีประโยชน์ กลายเป็นของน่าหัวเราะเท่านั้น เล่ากันมาว่า เคยมีคนๆ หนึ่ง อมพระเครื่อง เข้าตะลุมบอน ฆ่าฟันกัน เชื่อว่า ทำให้อยู่คง ฟันไม่เข้า เป็นต้น ดูเหมือนได้ผล เป็นที่น่าพอใจ เขาจริงๆ ขณะหนึ่ง พระตกจากปากลงพื้นดิน ในท้องนา ตะลีตะลานคว้าใส่ปากทั้งที่เห็นไม่ถนัด แทนที่ จะได้พระ กลับเป็นเขียดตัวหนึ่ง เข้าไปดิ้นอยู่ในปาก ก็รบ เรื่อยไป โดยยิ่งเชื่อมั่นขึ้นอีกว่า พระในปาก แสดงปาฏิหาริย์ ดิ้นไปดิ้นมา เมื่อเลิกรบ รีบคายออกดู เห็นเป็นเขียด ตาย ก็เลย หมดความเชื่อ ตั้งแต่นั้นมา ไม่ปรากฏว่า พระเครื่ององค์ใด ทำความพอใจ ให้เขาได้อีก พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า วิธีนี้ ไม่ใช่ ที่พึ่ง อันเกษม คือ ทำความปลอดภัยให้ได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่ วิธีสูงสุด, เนตํ สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ

ประการที่สอง สูงขึ้นมาสักหน่อย พอที่จะเรียกได้ว่า อยู่ในชั้นที่จัดว่าเป็นกุศโลบาย หลักสำคัญอยู่ที่ส่งความคิดนึก ของใจไปเสียที่อื่น ซึ่งจะเป็นความรักใครที่ไหน โกรธใครที่ไหน เกลียดใครที่ไหน ก็ตาม หรือหยุดใจเสียจากความคิดนึก ทุกอย่าง (สมาธิ) ก็ตาม เรียกว่า ส่งใจไปเสียในที่อื่น คือจากสิ่งที่เรากลัว นั้น ก็แล้วกัน ที่เราเห็นกันได้ทั่วไป เช่น กำลังเมารัก บ้าเลือด เหล่านี้เป็นต้น จะไม่มีความกลัวผี กลัวเสือ กลัวเจ็บ แม้เรื่องราวในหนังสือข่าวรายวัน ก็เป็นพยาน ในเรื่องนี้ได้มาก แต่เรื่องชนิดนี้ เป็นได้โดย ไม่ต้องเจตนา ทำความรู้สึก เพื่อส่งใจไปที่อื่น เพราะมันส่งไปเองแล้ว ถึงกระนั้น ทุกๆ เรื่อง เราอาจปลูก อาการเช่นนี้ขึ้นได้ ในเมื่อต้องการ และมันไม่เป็นขึ้นมาเอง การคิดนึกถึง ผลดีที่จะได้รับ คิดถึงสิ่งที่เรารักมาก จนใฝ่ฝัน คิดถึง ชาติประเทศ คิดถึงหัวหน้า ที่กล้าหาญ ดูสิ่งที่ยั่วใจให้กล้า เช่น ระเบียบให้มองดู ธงของผู้นำทัพ ในเมื่อตนรู้สึกขลาด อันปรากฏอยู่ในนิยาย เทวาสุรสงคราม ในพระคัมภีร์ เป็นต้น เหล่านี้ ล้วน แต่ช่วยให้ใจ แล่นไปในที่อื่น จนลืมความกลัว ได้ทั้งนั้น ในชั้นนี้ พระผู้มีพระภาพทรงสอนให้ระลึกถึงพระองค์ หรือพระธรรม หรือพระสงฆ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในเมื่อภิกษุใด เกิดความกลัวขึ้นมา ในขณะที่ตนอยู่ในที่เงียบสงัด เช่น ในป่า หรือถ้ำ เป็นต้น อาการเช่นนี้ ทำนองค่อนไปข้างสมาธิ แต่ยังมิใช่สมาธิแท้ทีเดียว แต่ถ้าหากว่า ผู้ใดแม้ระลึกถึง พระพุทธองค์ก็จริง แต่ระลึกไปในทำนองเชื่อมั่น มันก็ไปตรงกันเข้ากับประการต้น คือความเชื่อ เช่น เชื่อ พระเครื่อง หรือคนป่า เชื่อปู่เจ้าเขาเขียว ต่อเมื่อระลึก ในอาการ เลื่อมใส ปิติในพระพุทธคุณ เป็นต้น จึงจะเข้ากับประการที่สองนี้

ส่วนอาการที่สงบใจไว้ด้วยสมาธินั้น เป็นอุบายข่มความกลัว ได้สนิทแท้ เพราะว่า ในขณะแห่งสมาธิ ใจไม่มีการคิดนึก อันใดเลย นอกจากจับอยู่ที่สิ่งซึ่งผู้นั้น ถือเอาเป็นอารมณ์ หรือนิมิต ที่เกาะของจิตอยู่ในภายในเท่านั้น แต่ว่าใจที่ เต็มไป ด้วยความกลัว ยากที่จะเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นสมาธิ ที่ชำนาญ อย่างยิ่งจริงๆ จนเกือบกลายเป็นความจำอันหนึ่งไป พอระลึกเมื่อใด นิมิตนั้นมาปรากฏเด่นอยู่ที่ "ดวงตาภายใน" ได้ทันทีนั่นแหละ จึงจะเป็นผล แม้ข้อที่ พระองค์ สอนให้ ระลึกถึง พระองค์ หรือพระธรรมพระสงฆ์ ตามนัยแห่งบาลี ธชัคคสูตรนั้น ก็หมายถึง พุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อยู่แล้ว แม้ว่า จะเป็นเพียง อุปจารสมาธิ ยังไม่ถึงขึดฌาณก็ตาม ล้วนแต่ ต้องการ ความชำนาญ จึงอาจ เปลี่ยน อารมณ์ ที่กลัว ให้เป็น พุทธานุสสติ เป็นต้นได้ ส่วนสมาธิ ที่เป็นได้ถึงฌาณ เช่น พรหมวิหาร เป็นต้น เมื่อชำนาญแล้ว สามารถ ที่จะ ข่มความกลัว ได้เด็ดขาด จริงๆ ยิ่งโดยเฉพาะ เมตตา พรหมวิหาร ยิ่งเป็นไปได้ง่ายที่สุด แต่พึงทราบว่า ทั้งนี้ เป็นเพียง ข่มไว้ เท่านั้น เชื้อของความกลัว ยังไม่ถูกรื้อถอนออก เมื่อใด หยุดข่ม มันก็เกิดขึ้นตามเดิม อีกประการหนึ่ง ไม่ใช่วิธีที่ง่าย สำหรับคนทั่วไป สำหรับการข่ม ด้วยสมาธิ คนธรรมดา เหมาะสำหรับ เพียงแต่เปลี่ยนเรื่องคิดนึก ของใจเท่านั้น  หาอาจทำ การหยุด พฤติการของจิต ให้ชะงักลง ได้ง่ายๆ เหมือน นักสมาธิไม่ และค่อนข้าง จะเป็นการแนะให้เอา ลูกพรวน เข้าไป แขวนผูกคอแมว ไป ในเมื่อสอนให้ คนธรรมดาใช้วิธ๊นี้ และ น่าประหลาดใจ อีกอย่างหนึ่งว่า วิธีที่สาม ที่จะกล่าว ต่อไปข้างหน้า ฃึ่งเป็นวิธี ที่สูง นั้น กลับจะ เหมาะสำหรับ คนทั่วไป และได้ผล ดีกว่า เสียอีก วิธีนั้น คือ ตัดต้นเหตุ แห่งความกลัวเสีย ตามแต่ที่ กำลังปัญญา ความรู้ ของผู้นั้น จะตัดได้มากน้อยเพียงไร ดังจะได้ พิจารณา กันอย่าง ละเอียด กว่า วิธีอื่น ดังต่อไปนี้

เมื่อมาถึงประการ ที่สามนี้ ขอให้เราเริ่มต้นด้วย อุทาหรณ์ง่ายๆ ของท่านภิกขุ อานันท เกาศัลยายนะ [เขียนไว้ในเรื่อง คนเราเอาชนะความกลัวได้อย่างไร ในหนังสือพิมพ์มหาโพธิ และบริติชพุทธิสต์ แต่เขียนสั้นๆ เพียงสองหน้ากระดาษเท่านั้น และกล่าวเฉพาะการประพฤติ กายวาจาใจ ให้สุจริตอย่างเดียวว่า เป็ฯการตัดต้นเหตุแห่งความกลัว] เขียนไว้เรื่องหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ในข้อที่ว่า การสะสาง ที่มูลเหตุ นั้น สำคัญเพียงไร อุทาหรณ์ นั้น เป็นเพียงเรื่องที่ผูกขึ้นให้เหมาะสมกับความรู้สึกของคนเราทั่วไป เรื่องมีว่า เด็กคนหนึ่งมีความกลัวเป็นอันมาก ในการที่จะเข้าไปใน ห้องมืด ห้องหนึ่ง ในเรือน ของบิดาของเขาเอง เขาเชื่อว่า มีผีดุตัวหนึ่งในห้องนั้น และจะกินเขา ในเมื่อเขาเพียงแต่เข้าไป บิดาได้พยายาม เป็นอย่างดีที่สุด ที่จะทำได้ ทุกๆ ทาง เพื่อให้บุตรของตน เข้าใจถูกว่า ไม่มีอะไร ในห้องนั้น เขากลัวไปเอง อย่างไม่มีเหตุผล แต่เด็กคนนั้น ได้เคยนึกเห็นตัวผีมาแล้ว เขาเชื่อว่า ไม่มีทางใดที่จะช่วยบุตรของตน ให้หลุดพ้นจาก การกลัวผี ซึ่งเขาสร้างขี้น เป็นภาพใส่ใจ ของเขาเอง ด้วยนโนคติได้จริงแล้ว ก็คิดวางอุบาย มีคนใช้คนหนึ่ง เป็นผู้ร่วมใจด้วย ฤกษ์งามยามดีวันหนึ่ง เขาเรียกบุตร คนนั้นมา แล้วกล่าวว่า "ฟังซิ ลูกของพ่อ ตั้งนานมาแล้ว ที่พ่อเข้าใจว่า พ่อเป็นฝ่ายถูก พ่อเป็นฝ่ายผิด ก่อนหน้านี้ พ่อคิดว่า ไม่มีผีดุ ในห้องนั้น บัดนี้ พ่อพบด้วยตนเองว่า มันมีอยู่ตัวหนึ่ง และเป็นชนิด ที่น่า อันตรายมาก เสียด้วย พวกเรา ทุกคน จักต้องระวังให้ดี"

ต่อมา อีกไม่กี่วัน บิดาได้เรียกบุตร มาอีก ด้วยท่าทาง เอาจริง เอาจัง กล่าวว่า "หลายวันมาแล้ว ผีพึ่งปรากฏตัววันนี้เอง พ่อคิดจะจับและฆ่ามันเสีย ถ้าเจ้าจะร่วมมือกับพ่อด้วย ไปเอาไม้ถือ ของเจ้า มาเร็วๆ เข้าเถิด ไม่มีเวลา ที่จะรอ แม้นาทีเดียว เพราะมันอาจหนีไปเสีย" เด็กน้อย ตื่นมาก แต่ไม่มีเวลาคิด ไปเอาไม้ถือมาทันที พากันไปสู่ห้องนั้น เมื่อเข้าไป ก็ได้พบผี (ซึ่งเรารู้ดีว่า เป็นฝีมือของคนใช้ทำขึ้น และคอยเชิดมันในห้องมืดนั้น) สองคนพ่อลูกช่วยกันระดมตีผี ด้วยไม้ถือ และไม้พลอง จนมันล้มลง มีอาการของคนตาย พ่อลูกดีใจ คนในครอบครัวทั้งหลาย มีการรื่นเริง กินเลี้ยงกันในการปราบผี ได้สำเร็จ ฉลองวันชัย และเป็นวันแรก ที่เด็กนั้น กล้า เข้าไปในห้องนั้น โดยปราศจากความกลัวสืบไป นี่เราจะเห็นได้ว่า เพียงทำลายล้างผี ที่เด็กสร้างขึ้น ด้วยมันสมอง ของเขาเอง บิดาต้องสร้างผี ขึ้นตัวหนึ่งจริงๆ จึงทำลายได้สำเร็จ โดยอาศัยความฉลาด รู้เท่าทันการ รู้จักตัดต้นเหตุ คนโง่ กับคนฉลาด นั้น ผิดกันในส่วนที่ ระงับเหตุร้าย ลงไปจากทางปลาย หรือตัดรากเหง้า ขึ้นมาจากภายใต้ เสือย่อมกระโดด สวนทาง เสียงปืน เข้าไปหาผู้ยิง ในเมื่อรู้สึกว่า ตนถูกยิง แต่สุนัข ย่อมมัว ขบกัด ตรงปลายไม้ ที่มีผู้แหย่ ตนนั่นเอง หาคิดว่าต้นเหตุสำคัญ อยู่ที่ผู้แหย่ไม่

เมื่อเราพบจุดสำคัญว่า การตัดต้นเหตุเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดังนี้แล้ว เราก็ประจัญกันเข้ากับปัญหาว่า อะไรเล่า ที่เป็น ต้นเหต ุแห่ง ความกลัว ?

เมื่อเราคิดดูให้ดีแล้ว อาจตอบได้ว่า เท่าที่คนเราส่วนมาก จะคิดเห็นนั้น ความกลัวผี มีต้นเหตุมากมาย คือความไม่เข้าใจ ในสิ่งนั้นบ้าง การมีความกลัวติดตัวอยู่บ้าง ใจอ่อน เพราะเป็น โรคประสาทบ้าง อาฆาตจองเวร ไว้กับคน ไม่ชอบพอกันบ้าง รักตัวเอง ไม่อยากตายบ้าง เหล่านี้ ล้วนเป็น เหตุแห่งความกลัว มูลเหตุอันแท้จริง เป็นรวบยอด แห่งมูลเหตุทั้งหลาย คืออะไรนั้น ค่อนข้างยาก ที่จะตอบได้ เพราะเท่าที่เห็นกันนั้น เห็นว่า มันมีมูลมากมายเสียจริงๆ แต่แท้ที่จริงนั้น ความกลัวก็เป็นสิ่งที่ เกิดมาจาก มูลเหตุอันสำคัญอันเดียว เช่นเดียวกับ ความรัก ความโกรธ ความเกลียด และ ความหลง เพราะว่า ความกลัว ก็เป็นพวกเดียวกันกับ ความหลง (โมหะ หรือเข้าใจผิด) มูลเหตุอันเดียวที่ว่านั้น ก็คือ อุปาทาน ความยึดถือต่อตัวเองว่า ฉันมี ฉันเป็น นั่นของฉัน นี่ของฉัน เป็นต้น อันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัสมิมานะ (เรื่องนี้ ข้าพเจ้าเคย อธิบายไว้บ้างแล้ว ในเรื่อง "สุขกถา" ที่คณะธรรมทาน เคยพิมพ์โฆษณาแล้ว)

ความรู้สึก หรือ ยึดถืออยู่เอง ในภายในใจ ตามสัญชาตญาณนั้น มันคลอดสิ่งที่เราเรียกกันว่า "ฉัน" ขึ้นมา และความรู้สึกนั้น ขยายตัวออกสืบไปว่า ฉันเป็นผู้ทำเช่นนั้น เช่นนี้ ฉันจะได้รับนั่น รับนี่ หรือเสียนั่น เสียนี่ ไป นั่นจะส่งเสริมฉัน เป็นมิตรของฉัน นี่จะตัดรอนฉัน ทำลายฉัน เป็นศัตรูของฉัน "ฉัน" สิ่งเดียวนี้ เป็นรากเหง้า ของความรัก โกรธ เกลียด กลัว หลงใหล อันจักทำลาย ความผาสุก และอิสรภาพ ของคนเรา ยิ่งไปกว่าที่ เพื่อนมนุษย์ด้วย กันทำแก่เรา มากกว่ามากหลายเท่า หลายส่วนนัก อุปาทาน ผูกมัดเรา ทำเข็ญให้เรา ยิ่งกว่าที่หากเราจะถูกแกล้งหาเรื่องจับจองจำในคุกในตะรางเสียอีก เพราะปรากฏว่า มันไม่เคยผ่อนผันให้เราเป็นอิสระ หรือพักผ่อน แม้ชั่วครู่ ชั่วยาม เมื่อมี "ฉัน" ขึ้นมาในสันดานแล้ว "ฉัน" ก็อยากนั่น อยากนี่ อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อยากไม่ให้ เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งเมื่อพิจารณาดู ซ้ำอีกทีหนึ่งแล้ว จะเห็นว่า เต็มไปด้วย ความเห็นแก่ตนเอง หรือ "ฉัน" นั้น ร้อยเปอร์เซ็นต์ "ฉัน" ไม่อยากเจ็บปวด ไม่อยากตาย หรือแหลก ละลายไปเสีย ฉัน จึงกลัวเจ็บกลัวตาย เป็นสัญชาตญาณ ของ "ฉัน" เมื่อกลัวตาย อย่างเดียว อยู่ภายในใจแล้ว ก็กลัวง่าย ไปทุกสิ่งที่เชื่อกันว่า มันจะทำให้ตาย หรือทำให้เจ็บป่วย ซึ่งเป็นน้องของ ตาย ทำให้ฉัน กลัวผี จะหักคอฉัน กินฉัน หลอกฉัน ขู่ฉัน กลัวเสือ ซึ่งไม่เคยปรากฏว่า เป็นเพื่อนกันได้ และกลัว สัตว์อื่นๆ แม้แต่งูตัวนิดๆ กลัวที่มืด ซึ่งเป็นที่อาศัย ของสิ่ง น่ารังเกียจ เหล่านั้น กลัวที่เปลี่ยว ซึ่งไม่มี โอกาส ที่ตนจะ ต่อสู้ ป้องกันตัว ได้ กลัว คู่เวร จะลอบ ทำฉันให้ แตกดับ กลัวฉันจะ อับอาย ขายหน้า สักวันหนึ่ง เพราะฉัน มีความผิด ปกปิดไว้  บางอย่าง ฉันกลัว เพราะไม่เข้าใจว่า สิ่งนั้น จะเป็นอะไร ก็ไม่รู้ เช่น ผลไม้ดีๆ บางอย่าง แต่ไม่เคยรู้จัก มาก่อน ถ้ารูปร่าง หรือ สีมันชอบกลแล้ว ฉันก็กลัว ไม่กล้ากิน หรือแม้แต่ จะชิมก็ ขนลุก และในที่สุด เมื่อ "ฉัน" ปั่นป่วน ในปัญหา การอาชีพ หรือ ชื่อเสียง เป็นต้น ของฉัน กลัวว่า ฉันจะ เสื่อมเสีย อยู่เสมอ ฉันก็เป็นโรคใจอ่อน หรือโรคประสาท สะดุ้งง่าย ใจลอย ความยึดถือว่า ฉันเป็นฉัน เหล่านี้เป็น มูลเหต ุของความกลัว ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ก็กวาด ความสดใส ชุ่มชื่น เยือกเย็น ให้หมดเตียน ไปจากดวงจิตนั้น

เมื่อพบว่า ต้นเหตุ ของความกลัว คืออะไร ดังนี้แล้ว เราก็มาถึง ปัญหา ว่าจะตัดต้นเหตุนั้นได้อย่างไร เข้าอีกโดยลำดับ ในตอนนี้ เป็นการจำเป็น ที่เราจะต้องแบ่ง การกระทำ ออกเป็น สองชั้น ตาม ความสูงต่ำ แห่งปัญญา หรือความรู้ ของคนผู้เป็นเจ้าทุกข์ คือถ้าเขามีต้นทุนสูงพอ ที่จะทำลาย อุปาทาน ให้แหลกลงไปได้ ก็จะได้ ตรงเข้าทำลาย อุปาทาน ซึ่งเมื่อทำลายได้แล้ว ความทุกข์ ทุกชนิด จะพากันละลาย สาบสูญไปอย่างหมดจดด้วย นี้ประเภทหนึ่ง และอีกประเภทหนึ่ง คือ พยายาม เพียงบรรเทา ต้นเหตุ ให้เบาบาง ไปก่อน ได้แก่ การสะสาง มูลเหตุ นั้น ให้สะอาด หมดจด ยิ่งขึ้น

ประเภทแรก สำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติธรรมทางใจ ให้ก้าวหน้า สูงขึ้น ตามลำดับๆ จนกว่าจะหมดอุปาทาน ตามวิธี แห่ง การปฏิบัติธรรม อันเป็นเรื่องยาว อีกเรื่องหนึ่ง ผู้สำเร็จ ในประเภทนี้ คือ พระอรหันต์ จึงเป็นอันว่า จักงดวิธีนี้ไว้ก่อน เพราะไม่เป็นเรื่องที่สาธารณะแก่บุคคลทั่วไป และเป็นเรื่อง ที่เคยอธิบายกันไว้ อย่างมาก ต่างหากแล้ว

ส่วนประเภทหลัง นั้นคือ การพยายาม ประพฤติ ความดี ทั้งทางโลก และทางธรรม ทั้งในที่แจ้ง และในที่ลับ จนตน ติเตียน ตนเองไม่ได้ ใครที่เป็นผู้รู้ แม้จะมีทิพยโสต หรือทิพยจักษุ มาค้นหา ความผิด เพื่อติเตียนก็ไม่ได้ เป็นผู้เชื่อถือ และเคารพตัวเองได้เต็มเปี่ยม ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนท่าน ไม่มีเวรภัย ที่ผูกกันไว้ กับใคร รู้กฏความจริงของโลก ศึกษาให้เข้าใจ ในหลักครองชีพ หาความ หนักแน่น มั่นใจให้แก่ตัวเอง ในหลักการครองชีพ และรักษา ชื่อเสียง หรือคุณความดี พยายาม ทำแต่สิ่งที่เป็น ธรรมด้วย ความหนักแน่น เยือกเย็น ไม่เปิด โอกาสให้ใคร เหยียดหยามได้ ก็จะไม่ต้องเป็น โรคใจอ่อน หรือ โรคประสาท เพราะมีความ แน่ใจตัวเอง เป็นเครื่องป้องกัน และสำเหนียก อยู่ในใจ เสมอว่า สิ่งทั้งปวงเป็น อนัตตา เป็นไปตามเรื่อง คือ เหตุปัจจัยของมัน ไม่เป็นของแปลก หรือได้เปรียบ เสียเปรียบ อะไรแก่กัน ในเรื่องนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความกลัว ก็หมดไป ใจได้ที่พึ่ง ทีเกษม ที่อุดม ยิ่งขึ้น สมตาม พระผู้มี พระภาคเจ้า ตรัสการเห็นแจ้ง อริยสัจ สี่ประการ ไว้ในรองลำดับ แห่งการถือ ที่พึ่งด้วยการถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ อริยสัจ ก็คือการรู ้ เหตุผลของ ความทุกข์ และของความ พ้นทุกข์ ความกลัว ก็รวมอยู่ในพวกทุกข์ เห็นอริยสัจอย่างเพลา ก็คือ การเห็น และตัด ต้นเหตุแห่ง ความกลัว ประเภททีหลังนี้ เห็นอริยสัจ เต็มที่ถึงที่สุด ก็คือ พระอรหันต์ หรือการตัดต้นเหตุ ประเภทแรก ได้เด็ดขาด

ข้าพเจ้าขอจบ เรื่องนี้ลง ด้วย พระพุทธภาษิต ที่เราควร สำเหนียก ไว้ในใจ อยู่เสมอ อันจะเป็นดุจ เกราะ ป้องกันภัย จาก ความกลัว ได้อย่างดี ดังต่อไปนี้

"มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัว คุกคาม เอาแล้ว ย่อม ยึดถือเอา ภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง สวนที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง เป็นที่พึ่งของตนๆ นั่นไม่ใช่ ที่พึ่ง อันทำความ เกษม ให้ได้เลย นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว ก็ยังไม่อาจ หลุดพ้น ไปจากความทุกข์ ทั้งปวงได้

ส่วนผู้ใดที่ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ เห็นทุกข์ เห็นเหตุ เครื่องให้เกิดทุกข์ เห็นการก้าวล่วงไปเสียได้จากทุกข์ และ เห็นหนทาง อันประกอบด้วยองค์แปดประการ อันประเสริฐ อันเป็นเครื่องยังผู้นั้น ให้เข้าถึง ความรำงับแห่งทุกข์ นั่นแหละ คือ ที่พึ่งอันเกษม นั่นแหละ คือที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใด ถือเอา ที่พึ่ง นั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ (ธ. ขุ. ๔๐)

ความโศก ย่อมเกิดแต่ความรัก ความกลัว ย่อมเกิดแต่ความรัก สำหรับผู้ที่พ้นแล้ว จากความรัก ย่อมไม่มีความโศก ความกลัว จักมีมาแต่ที่ไหนเล่า

ความโศก ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (ความอยากอย่างนั้นอย่างนี้) ความกลัว ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (เพราะกลัวไม่สมอยาก) สำหรับผู้ที่พ้นแล้วจาก ตัณหา ย่อมไม่มีความโศก ความกลัว จักมีมา แต่ที่ไหนเล่า (ธ. ขุ. ๔๓)

ขอให้ความกลัว หมดไปจากจิต ความสุข จงมีแต่ สรรพสัตว์ เทอญ

 

พุทธทาสภิกขุ


59

เมื่อกล่าวสรุปให้สิ้นเชิง ในแง่แห่งการกระทำ หรือ การปฏิบัติแล้ว "พุทธศาสนาคือ ศาสนา แห่งการบังคับตัวเอง": มิใช่ศาสนา แห่งการ อ้อนวอน พระเป็นเจ้า ผู้มีอำนาจ หรือ เป็น ศาสนา แห่ง การแลกเปลี่ยน ทำนอง การค้าขาย ทำบุญ ทำทาน แลกนางฟ้า ในสวรรค์ หรือ อะไรทำนองนี้ แต่ประการใด เลย และ เพราะ ความที่พุทธศาสนา เป็น ศาสนา แห่ง การบังคับตัวเอง โดยมีเหตุผล เพียงพอ แก่ตนเอง จึงได้ชื่อว่า เป็น "ศาสนา แห่ง เหตุผล" ด้วย

พุทธศาสนา คือคำสั่งสอน อันเป็นแบบฝึกหัด บังคับตนเอง แต่ว่า ลำพังคำสั่งสอน อย่างเดียว หาใช่เป็น แก่น หรือ เป็นตัว พุทธศาสนา อันแท้ไม่ แม้ว่า คำว่า "ศา สนา" จะแปลว่า คำสอน ก็ตาม ตัวศาสนาแท้ หรือ ตัวพรหมจรรย์ นั้น ได้แก่ การปฏิบัติ ตามคำสั่งสอน นั้นๆ ซึ่งเรียกโดย ภาษาศาสนาว่า สีลสิกขา - จิตตสิกขา - ปัญญาสิกขา

พุทธมามกะ เป็นอันมาก เข้าใจว่า "สิกขา" ตรงตามรูปศัพท์ เกินไป คือ สิกขา แปลตามรูปศัพท์ ว่า การศึกษา แต่พระพุทธองค์ ตรัสไว้ เป็นหลัก ว่า การศึกษาเล่าเรียน ปริยัตินั้น ไม่ใช่ สิกขา แต่ การกระทำจริงๆ ตามหลักที่เป็น การบังคับตนเอง ในส่วนที่เป็น ความ เสื่อมเสีย ทางกาย และ วาจา เรียกว่า "สีลสิกขา" ในส่วนใจ เรียกว่า "จิตตสิกขา" และ ในส่วนที่เกี่ยวกับ ความคิดนึก เพื่อรู้สิ่งที่ชีวิต จะต้องรู้ เรียกว่า "ปัญญาสิกขา"

ในส่วน สีลสิกขา โดยประเภท คือ การบังคับตน ให้ตั้ง หรือดำเนิน ไปด้วย กาย วาจา ตามกฏ อันเป็นระเบียบ มรรยาท หรือ จรรยา อัน ตนจะ พึงประพฤติ ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และ ต่อวัตถุสิ่งของ อันเกี่ยวเนื่องกัน เป็นข้อบังคับตายตัว ในเบื้องต้น เรียกว่า ปาฏิโมกขสังวรสีล [มีหลายพวก เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียม ของนักบวช ก็มี เกี่ยวกับ อนามัย ของร่างกาย ก็มี เกี่ยวกับการเคารพ ปฏิสันถาร ปรนนิบัติ ฯลฯ ผู้อื่น ก็มี เกี่ยวกับ การรักษาสิ่งของ เครื่องใช้สอย ของตน หรือ หมู่ ก็มี และยังมีอย่างอื่นอีก ซึ่งเป็นส่วน ต้องรู้แล้ว ทำในเบื้องต้น อนุโลม ทำนองเดียวกัน ทั้งฆราวาส และบรรพชิต ] การควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ให้ กำเริบ ไปตาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันเป็นโลกธรรม เรียกว่า อินทรียสังวรสีล การควบคุมตน ให้มีการ แสวง การรับ การบริโภค ปัจจัย เครื่องอาศัย อันจำเป็น แก่ชีวิต อย่างบริสุทธิ์ จากการ หลอกลวงตน และผู้อื่น เรียกว่า อาชีวปาริสุทธิสีล และ การควบคุมตน ให้มีสติระลึก เพียงเพื่อยัง อัตตภาพ ให้เป็นไปในการบริโภค ปัจจัยนั้นๆ ไม่บริโภค ด้วยตัณหา เรียกว่า ปัจจยสันนิสสิตสีล รวมเรียกว่า ปาริสทธิศีลสี่ หรือ จตุปาริสุทธศีล เรียก ภาวะแห่ง การกระทำจริงๆ ตามนี้ว่า สีลสิกขา อันได้แก่ การบังคับตัวเอง โดยตรง เป็นเหมือน ถากโกลน กล่อมเกลา ในขั้นต้น แต่ประสงค์เฉพาะส่วน ที่เป็นไป ทางกาย และวาจา เท่านั้น

ในส่วน จิตตสิกขา คือ การบังคับจิตของตน ให้อยู่ในวง ความต้องการ ของตน ภายใน ขอบขีด ของวิสัย ที่บังคับได้ คือ ให้หยุดแล่น ไปตามความกำหนัด พยาบาท หรือ ไม่ให้ง่วงซึม ฟุ้งซ่าน ง่อนแง่น คลอนแคลน รวมความว่า ฝึกจนดีพอ ที่จะต้องการ ให้หยุดคิด ก็หยุด ให้คิดก็คิด ให้คิดเฉพาะสิ่งนี้ ก็คิดเฉพาะสิ่งนี้ ด้วยกำลัง ของจิตทั้งหมดอย่างเต็มที่ โดย ไม่กลับกลอก แต่อย่างใด การ พยายามฝึก จนทำได้อย่างนี้ เรียกว่า จิตตสิกขา ซึ่งเมื่อมีแล้ว ทำจิด ให้สงบอยู่ใน อำนาจ ได้ ต่อนั้น ก็ใช้เป็น อุปกรณ์ แก่ ปัญญาสิกขา อย่างจำเป็นยิ่ง

ในส่วน ปัญญาสิกขา คือ การควบคุมจิต ที่ฝึกจน อยู่ในอำนาจแล้ว นั้น ให้คิดแล้วคิดอีก จนแทงตลอด ในข้อปัญหา ของชีวิต หรือ ที่จำเป็นแก่ชีวิต โดยย่อ คือ ปัญหาที่ว่า อะไรเป็น เหตุให้เกิดทุกข์ ทำอย่างไร จึงจะพ้นทุกข์ ทั้งนี้ เพราะเหตุว่า สิ่งทั้งปวง รวมทั้ง ทุกข์สุข ของชีวิต เป็นเรื่องของใจ คือ ทุกข์ เพราะใจปลงไม่ตก ในสิ่งที่ตน เข้าใจผิด แล้ว หลงยึดถือไว้ จะสุขได้ ก็ด้วยบังคับ แนวของ ความคิด อย่างแรงกล้า ให้แล่นไปอย่างรู้แจ้งแทงตลอด จนปลงตก ในสิ่งที่ตน ยึดถือ ถึงกับรัก โกรธ เกลียด กลัว มัวเมา ฯลฯ นั้นๆ เสีย โดยไม่มี เชื้อเหลือ เพื่อความเป็นเช่นนั้น อีกต่อไป การพยายาม ทำจนทำได้ เช่นนี้ เรียกว่า ปัญญาสิกขา ซึ่งมีบริบูรณ์ แล้วก็จบกิจ แห่งพรหมจรรย์ จบพรหมจรรย์ คือจบศาสนา ไม่มีเรื่องที่จะต้องทำอีกต่อไป นอกจาก การเสวยสุข

โดยนัยนี้ จะเห็นได้ว่า พุทธศาสนา คือศาสนา แห่งการ บังคับตัวเอง ถ้าหมายถึง คำสอน ก็คือ คำสอน แห่งการ บังคับตัวเอง ถ้าหมายถึง การทำ หรือ การปฎิบัติ ก็ คือ การกระทำ การบังคับตัวเอง และ เมื่อหมายถึง ผลสุดท้าย คือปฏิเวธ ก็คือ ซึมซาบรส แห่งผลของ การบังคับตัวเอง อันเดียวกัน นั่นเอง เมื่อเรียน หรือ เมื่อทำ หรือ เมื่อได้รับผล ของการทำ ก็มีเหตุพร้อมพอ ที่จะให้ตน เชื่อถือ มั่นใจตนเองได้ โดยไม่ต้องเชื่อ ตามคำผู้อื่น จึงเป็นการบังคับตัวเอง อย่างมีเหตุผล ของตนเอง โดยตนเอง เพื่อตัวเอง อย่างที่เป็นอัน แน่ใจได้ว่า ไม่เป็น ศาสนา แห่งความโง่เขลา ถึงกับต้องการ ล่อหลอก หรือ ขู่เข็ญ อย่างใด แม้แต่น้อย

 ลัทธิศาสนาบางลัทธิ หวังความช่วยเหลือ จากผู้อื่น จนไร้หลัก แห่งการช่วยตนเอง ไฉน จะมีการบังคับตัวเอง บางลัทธิ มีการบังคับตัวเอง แต่ไร้เหตุผล เพราะเป็นเพียง การนึกเอา อย่างตื้นๆ หรือเป็นการเดา จึงเลยเถิด เป็น อัตตกิลมถานุโยค ไปก็มี ที่อ่อนแอ เอาแต่ความสนุกสบาย กลายเป็น อย่างที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค ก็มี จึงแปลกกับ พุทธศาสนา ซึ่งมีหลักการ บังคับตัวเอง อย่างมีระเบียบ เรียบร้อย ชัดเจน มั่นคง ปรากฏ เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ อัฏฐังคิกมรรค และมีเหตุผล พร้อมอยู่เสมอ เป็นอันกล่าวได้ว่า พุทธศาสนา คือ ศาสนา แห่งการบังคับตัวเอง ชนะตัวเอง เชื่อตัวเอง พึ่งตัวเอง ฯลฯ โดยแท้

เนื้อความเท่าที่บรรยายมาแล้วนี้ เป็นเพียงมุ่งให้ผู้อ่าน มองเห็น จุดสำคัญ อันเป็นท สรุปรวมใจความ ของธรรมบรรยาย อันกว้างขวาง ลึกซึ้ง ดุจมหาสมุทร เท่านั้น คือว่า เมื่อมีหลัก ก็ไม่ฟั่นเฝือ รู้อะไรเพิ่มเติม เข้ามาอีกเท่าไร ก็ไม่งงเงอะ จนไม่รู้ว่าจะจำไว้ อย่างไรไหว แต่อาจสงเคราะห์ รวมเข้าชั้น เข้าเชิง ของหลักธรรม ซึ่งที่แท้ ก็มีอยู่เพียง ๓ คือ ศึล สมาธิ ปัญญา เท่านั้นเอง จึงเมื่อถ้า ยังไม่เข้าใจ ในส่วนไหน ก็พึงศึกษา ค้นคว้า จากเนื้อความ ที่ได้บรรยาย ในที่อื่น เฉพาะส่วนนั้น สืบไปเทอญ

 

พุทธทาสภิกขุ


60
ธรรมะ / ธรรมะกับเรา
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:22:27 »
(เรื่องนี้ ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ พาณิชย์-บัญชี, ฉบับ กรกฎาคม ๒๔๙๐)

ท่านภิกษุ พุทธทาส อินทปัญโญ สำนักอยู่ในสวนโมกขพลาราม ไชยา สำนักนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม หรืออีกนัยหนึ่ง คือเป็นฝ่ายอรัญวาสี ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ เป็นผู้ปฏิบัติธรรม และปรากฏมาแล้วว่า ปฏิบัติมาด้วยดี ท่านได้พยายามเร้าความสนใจของพุทธบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ให้สนใจในแก่นของพระธรรม ดังที่ปรากฏแพร่หลายโดยบทความบ้าง โดยปาฐกถาบ้าง บทความข้างล่างนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่บุคคลในระดับนิสิตแห่งมหาวิทยาลัย.

(บันทึกของบรรณาธิการ พาณิชย์ - บัญชี)

ท่านบอกให้ฉันช่วยเขียนเรื่องหน้าที่ และวิธีที่เราจะต้องปฏิบัติต่อ "ธรรมะ" ก็คำว่า ธรรมะนั้น โดยพยัญชนะมีอย่างเดียว. แต่โดยความหมายแล้วมีหลายอย่าง หลายขนาด; ฉันจึงไม่ทราบว่าให้เขียนธรรมะอย่างไหนแน่ กำลังไม่แน่ใจอยู่ ก็เกิดความคิดว่า ในขั้นต้นนี้เขียนเผื่อให้หลายๆ อย่างดีกว่า, เมื่อท่านเลือกชอบใจอย่างไหนแล้ว มีเวลาจึงค่อยเขียนกันเฉพาะธรรมะอย่างนั้นให้ละเอียด ก็คงสำเร็จตามประสงค์.

คำว่า "ธรรมะ" นี้ โดยศัพทศาสตร์หรือนิรุกติศาสตร์ แปลว่า สิ่งซึ่งทรงตัวมันเองอยู่ได้ หรือโดยควาหมายก็ได้แก่ สิ่งทั้งปวงนั่นเอง ไม่มีอะไรที่ไม่ถูกเรียกว่า ธรรม ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเปลี่ยนแปลง หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม สิ่งทั้งหลายประเภทที่เปลี่ยนแปลง ก็ทรงตัวมันอยู่ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลง หรือโดยพฤตินัยก็ตัวความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง คือตัวมันเอง. ส่วนสิ่งทั้งหลายประเภทที่ไม่เปลี่ยน ก็ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความไม่เปลี่ยนแปลง หรือตัวความไม่เปลี่ยนแปลงนั่นเอง เป็นตัวมันเอง. ทั้งสองประเภทนี้ ล้วนแต่ทรงตัวเองได้ จีงเรียกมันว่า "ธรรมะ" หรือ "ธัมม" แล้วแต่ว่าจะอยู่ในรูปภาษาบาลี สันสกฤต หรือภาษาไทย คำว่าธรรม โดยศัพทศาสตร์ ตรงกับคำไทยแท้ว่า "สิ่ง" เป็นสามัญญนาม หมายถึงได้ทุกสิ่ง และมีคุณลักษณะคือการทรงตัวมันเองตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หน้าที่อันเราจะต้องประพฤติต่อมัน ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า เฉยๆ เสียก็แล้วกัน อย่าขันอาสาเข้าไปแบกไปทรงให้มันแทนตัวมันเลย. นี้คือคำว่า "ธรรม" โดยความหมายรวมและเป็นกลางที่สุด.

แต่คำว่า ธรรม นี้ ถูกนำไปใช้โดยขนาดและอย่างต่างๆ กัน มุ่งหมายต่างกัน เลยทำให้ฟั่นเฝือไปได้ ฉะนั้นในกรณีหลังนี้ ต้องพิจารณากันทีละอย่างเช่น :-

คำว่า "ธรรมะ" ที่มาในประโยคว่า "ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นไม่ไปทุคติ" นั้น, คำนี้หมายถึงศีลธรรมทั่วไป. หน้าที่ที่คนทั่วไปจะต้องประพฤติก็คือ ช่วยกันบังคับตนเองให้ประพฤติ. ศีลธรรมของคนทั้งหลายที่ไม่ประพฤตินั้น ไม่ใช่เพราะไม่รู้ เป็นเพราะทุกคนพากันเหยียบรู้ ขอจงช่วยกันอย่าเหยียบรู้ต่อไปอีกเลย.

คำว่า "ธรรมะ" ที่มาในประโยคว่า "บัณฑิตควรละธรรมที่ดำ ควรเจริญธรรมที่ขาว" นั้น. ธรรมคำนี้มีความหมายตรงกับคำว่า การกระทำ คือเราอาจพูดให้ชัดเจนเสียใหม่ว่า "บัณฑิตควรละการกระทำที่ดำ ควรเจริญการกระทำที่ขาว" ในกรณีที่คำว่า ธรรมะตรงกับคำว่า การกระทำ (Action) มีอรรถะเป็นกลางๆ เช่นนี้ เรามีหน้าที่ทำแต่สิ่งที่ดี.

คำว่า "ธรรม" ที่มาในประโยคว่า "เขายังห่างไกลจากธรรมนั้นอย่างกะฟ้ากับดิน แม้ว่าเขาจะฟังเทศน์ทุกวันพระ" นี้มีความหมายตรงกับสถานะหรือ State ชั้นหนึ่งๆ ตามแต่ท่านจะบัญญัติธรรมไว้เป็นชั้นๆ อย่างไร. เรามีหน้าที่ในเรื่องนี้ คือรีบเลื่อนชั้นให้ตัวเอง ให้สมกับเกียรติของตัว.

คำว่า "ธรรม" ที่มาในประโยคว่า "สังขารทั้งหลายมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรม (อุปฺปาทวยธมฺมิโน)" ; คำนี้ตรงกับคำว่า ธรรมดา (Nature) หน้าที่ของเราคือบางอย่างควรเรียนและสังเกตอย่างเต็มที่ บางอย่างเอาแต่เพียงเอกเทศ.

ในประโยคว่า "พระพุทธเจ้าเกิดในโลกเพื่อประกาศสัจธรรม" เช่นคำว่า ธรรม หมายถึงกฏธรรมดา (Law of Nature) เช่นว่า ทุกข์ต้องเกิดมาจากสิ่งนั้น ความดับทุกข์มีได้เพราะสิ่งนั้น. หรือว่า สิ่งทั้งปวงต้องเป็นอย่างนั้นๆ เป็นต้น. หน้าที่ของเรา คือต้องทำตัวให้เข้ากันได้กับกฏนั้นบ้าง รู้จักนำเอากฏนั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์บ้าง. (คำว่าสัจธรรมในที่นี้ ใช้คำว่า ธัมม เฉยๆ แทนได้).

ในประโยคว่า "เสียทรัพย์เพื่อไถ่เอาอวัยวะไว้ เสียอวัยวะเพื่อไถ่เอาชีวิตไว้. ยอมเสียทั้งหมดนั้น เพื่อเอาธรรมไว้" เช่นนี้ คำว่า "ธรรมะ" หมายถึง "ความถูกต้อง" หรือ Righteousness หน้าที่ของเรา คือ เลือกเอาเองตามใจชอบในทางที่ถูกต้อง.

ในประโยคว่า "ตัดสินคดีไม่เป็นธรรมกล่าวหาไม่เป็นธรรม" เหล่านี้ คำว่า ธรรม หมายถึง ความยุติธรรม (Justice of Justness) หน้าที่ของเราคือ ระวังให้เป็นธรรม.

ในประโยคที่พระท่านสวดเมื่อสวดศพ ว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา "ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, ธรรมทั้งหลายที่ท่านไม่บัญญัติว่า เป็นกุศลหรืออกุศล" เช่นนี้คำว่า ธรรม เป็นคำกลางๆ มีความหมายตรงกับคำว่า "สิ่ง" หน้าที่ของเราโดยทางปฏิบัติ ยังกล่าวไม่ได้ว่า คืออะไร เพราะยังไม่ได้ยุติว่าจะเอาความหมายกันตรงไหน. นี่เพื่อชี้ให้เห็นว่า คำว่า ธรรม ในภาษาบาลีนั้น กว้างขวางเพียงไร. คือถ้าไม่มีคุณนามประกอบแล้ว คำว่า ธรรมในที่เช่นนี้ไม่มีความหมายอะไรมากไปกว่าคำว่า สิ่ง นั้นเลย. สิ่ง เท่ากับ Thing.

ในประโยคว่า "เมื่อธรรมทั้งปวงถูกเพิกถอนแล้ว วาทบถทั้งหลายก็พลอยถูกเพิกถอนตามไปด้วย" (สพฺเพสุ ธมฺเมสุ สมูหเตสุ สมูหตา วาทปถาปิ สพฺเพ). คำว่า ธรรมในที่นี้ หมายถึงแต่สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในวงของความยึดมั่นถือมั่นของสัตว์ ได้แก่คำว่า "สิ่ง" เหมือนกัน แต่กันเอามาเฉพาะประเภทที่เกี่ยวกับการยึดถือ ไม่ทั่วไปแก่สิ่งที่ไม่ยึดถือ แคบกว่าข้อข้างบนเล็กน้อย. ตัวอย่างในเรื่องนี้ เช่น เงิน ทอง ลูก เมีย ข้าวของ เป็ด ไก่ วัว ควาย ฯลฯ ถ้าใครถอนความยึดมั่นว่า เป็นสัตว์ เป็นคน ตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขาเสียได้แล้ว เห็นเป็นสักว่า สังขารเสมอกัน ชื่อที่เรียกสิ่งเหล่านั้นก็พลอยไม่มีความหมายไปด้วยสำหรับผู้นั้น. นี้คำว่า ธรรมตรงกับ "สิ่งที่ถูกยึดถือ" คืออุปาทานักขันธ์ ที่มีความยึดถือ, หน้าที่ของเราในธรรมประเภทนี้ก็คือ คิดเพิกถอน อย่ายึดถือ จะได้สงบเย็น ไม่ขึ้นๆ ลงๆ ไปกับธรรมเหล่านั้น.

ในประโยคว่า "ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตทรงแสดงเหตุของธรรมเหล่านั้น (เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต)" คำว่าธรรมในที่นี้ได้แก่ "สิ่งซึ่งเป็นผล" ซึ่งมีเหตุปรุงแต่งขึ้น และกำลังบังคับให้เป็นไปตามอำนาจของเหตุ สิ่งซึ่งเป็นผล หรือ Phenomena เหล่านี้ เรามี หน้าที่จะต้องค้นหาเหตุของมันให้พบ แล้วจัดการกับเหตุนั้นๆ ตามที่ควรจะทำ. เช่นทุกข์เป็นผลของความทะยานอยาก เราจัดการสับบลิเมตหรือเปลี่ยนกำลังงานของความอยากนั้น เอามาใช้เป็นกำลังงานของความรู้สึกทางปัญญา ทำไปตามความรู้สึกที่ถูกที่ควร ไม่ทำตามอำนาจของความอยากนั้นๆ ทุกข์ก็น้อยลงและหมดไปในที่สุด

61
ธรรมะจากหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด


หลวงปู่ทวด

วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ท่านเป็นพระมหาเถระที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในนาม " หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด "
คาถาบูชาท่าน คือ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา

ชาติกาล 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
ชาติภูมิ บ้านเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
บรรพชา เมื่ออายุได้ 15 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี
มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ.2225
สิริรวมอายุได้ 99 ปี

คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด

ธรรมประจำใจ
พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

ละได้ย่อมสงบ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ

สันดาน
" ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก

ชีวิตทุกข์
การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้านก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย

บรรเทาทุกข์
การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเองและเราจะต้องวินิจฉัย ในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่าส่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

ยากกว่าการเกิด
ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย

ไม่สิ้นสุด
แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น

ยึดจึงเดือดร้อน
ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโนน่ ยึดนี่ ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรม สากลจักรวาลโลกมนุษย์นี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ

อยู่ให้สบาย
ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์ เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง

ธรรมารมณ์
การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆแล้ว ถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์

กรรม
ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง

มารยาทของผู้เป็นใหญ่
" ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง " มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ

โลกิยะหรือโลกุตระ
คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้ คนที่เดินทางโลกิยะย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ? ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ? แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน เราต้องตัดสินใจ ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง

ศิษย์แท้
พิจารณากาย ในกาย พิจารณาธรรม ในธรรม พิจารณาวิญญาณ ในวิญญาณ นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

รู้ซึ้ง
ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา

ใจสำคัญ
การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จะต้องทำด้วยความศรัทธา ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้น เกินความคาดหมาย

หยุดพิจารณา
คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน และถ้าภาวะนั้นตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือหยุดพิจารณาแล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้

บริจาค
ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอน การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ การบริจาคภายในย่อมได้กุศล มากว่า การบริจาคภายนอน นี่คือเรื่องของนามธรรม

ทำด้วยใจสงบ
เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้วปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก

มีสติพร้อม
จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผลมาอยู่เหนือความจริง

เตือนมนุษย์
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีงานทำในไม่ช้า
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า

พิจารณาตัวเอง
คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่าที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง

คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ หลวงปู่ทวด
ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม
http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/007639.htm

62
ธรรมะ / ธรรม.........เหมือนแพข้ามฟาก
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:13:37 »
ธรรมะเหมือนแพข้ามฟาก

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย เป็นใจความสรุปได้ว่า
?ภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดงธรรม มีอุปมาดังเรือหรือแพข้ามฟาก แก่พวกเธอเพื่อต้องการให้สลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการให้สลัดออก ไม่ใช่ต้องการให้ยึดถือ
ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุคคลผู้เดินทางไกล พบแม่น้ำขวางหน้า แต่ฝั่งข้างนี้มีภัยอันตราย ส่วนฝั่งข้างโน้นเป็นที่สบายปลอดภัยเรือหรือสะพานจะข้ามฝั่งก็ไม่มี บุคคลนั้นคิดว่าจะอยู่ช้าไม่ได้อันตราย
เขาจึงรวบรวมกิ่งไม้และใบไม้ เอามาผูกเป็นแพให้ลอยน้ำ แล้วใช้มือและเท้าพุ้ยน้ำด้วยความพยายาม จนข้ามแม่น้ำนั้นได้โดยปลอดภัย
เขาจึงคิดว่า แพนี้มีคุณแก่เรามาก เราอาศัยแพนี้จึงข้ามอันตรายได้ อย่ากระนั้นเลย เรายกเอาแพนี้ขึ้นทูนหัวไปด้วยเถิด แล้วเขาก็เอาแพนั้นทูนหัวเดินไป
ภิกษุทั้งหลาย! การกระทำของบุคคลนั้น ชื่อว่าทำไม่ถูกในหน้าที่ทางที่ถูกนั้นเมื่อเขาอาศัยแพข้ามฝั่งได้แล้ว พึงยกแพขึ้นบกหรือเอาลอยไว้ในน้ำนั่นแหละ แล้วเดินไปแต่งตัว จึงชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในแพนั้น แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย! เราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยแพ เพื่อต้องการให้สลัดออก ไม่ใช่เพื่อให้ยึดถือก็ฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมมีอุปมาด้วยแพ ที่เราแสดงแล้ว พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงฝ่ายอธรรมเล่า?

อลคัททูปสูตร 12 / 219

พระสูตรนี้ อยากจะขอร้องให้นักปฏิบัติธรรม ช่วยอ่านกันหลายๆเที่ยวแล้วจับประเด็นหลักสำคัญได้ว่า เป้าหมายอันสูงสุดของพระพุทธดำรัสนี้ อยู่ตรงไหน?
ถ้านักปฏิบัติจับได้และตีปัญหาแตกแล้ว การปฏิบัติธรรมก็จะง่ายยิ่งกว่าการ พลิกฝ่ามือ เสียอีก ที่บางท่านปฏิบัติธรรมยิ่งมากขึ้นเท่าไร ทั้งที่อยู่และจิตใจ ก็ดูเหมือนจะยิ่งรกรุงรัง และจิตก็ขุ่นมัว หรือสกปรกลามกมากขึ้นเท่านั้น นั่นแสดงว่าการปฏิบัติธรรมเกิดการผิดพลาดขึ้นแล้ว
การปฏิบัติธรรมต้องมีขั้นตอน คือละความชั่ว ทำความดี แต่พอถึงขั้นสูงสุดทั้งความชั่วและความดีก็ต้องละให้หมด จึงจะพบพระนิพพาน
 

63
เหล็กไหล คือ ก้อนแร่เหล็กบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ได้รับการอธิษฐานบรรจุฤทธิ์ โดยพระฤาษีผู้ทรงฌาณชั้นสูง เพื่อธำรงคุณงามความดี โดยมีธาตุกายสิทธิ์เป็นผู้คอยช่วยเหลือผู้ที่มี ความทุกข์ยากให้พ้นภัย จัดเป็นธาตุกายสิทธิ์ชนิดหนึ่งที่มีรังสีหรือพลังปราณที่ทรงอำนาจในการป้องกันตัว และสิ่งที่อยู่ ใกล้ตัว ให้พ้นจากภัยอันตรายอันเกิดจากอาวุธปืนหรือของมีคม เป็นสสารที่มีชีวิตเป็นอมตะและหายากยิ่ง ต้องมีพิธีกรรมมากมายกว่าจะได้มา ฉะนั้นเหล็กไหลจึงเป็นวัตถุอาถรรพณ์ที่ มีราคาแพง เพราะเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า เหล็กไหลมีอานุภาพยอดเยี่ยม สามารถคุ้มครองชีวิตคนที่มีเหล็กไหลพกติดตัว และจะได้รับความคุ้มครองให้ปลอดภัยจากอุบัติภัยร้ายแรงรวมถึงอาวุธร้ายแรงนานาชนิด ได้อย่างอัศจรรย์นั่นเอง


64
ธรรมะ / คนกับธรรมนั้น คือ ฉันใด
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:02:04 »
1. โจทย์หลัก
ถ้าจะตั้งคำถาม เกี่ยวกับ "คนกับธรรม" ก็คงจะตั้งได้สัก 4 คำถาม เป็นอย่างน้อย คือ

คนกับธรรม คืออะไร?
คนกับธรรม มาจากไหน?
คนกับธรรม เพื่ออะไร ประโยชน์ใด?
คนกับธรรม เชื่อมโยงกันอย่างไร ทำไม?

สังคมไทยเรา ณ วันนี้ จะมีคนอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มคนชั้นกลาง เป็นผู้ที่มีโอกาสได้รับรู้ เรียนรู้วิชาการสมัยใหม่ จากตะวันตก แต่ค่อนข้างมีโอกาสน้อยที่จะได้สัมผัสคำว่า "ธรรม" ผู้เขียนก็เป็นคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มนี้มาก่อน เหตุเพราะการศึกษาที่เป็นทางการของเรานั้นเดินตามตะวันตกค่อนข้างจะเต็มที่ แต่ด้วยเหตุที่เส้นทางเดินของชีวิตที่ลุ่มๆ ดอน ๆ ต้องต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ค่อนข้างมาก และสูงหรือรุนแรงจึงมีโอกาสได้เรียนรู้ สิ่งที่ชื่อว่า "ธรรม กับคน" หรือ "คนกับธรรม" มากขึ้น

สิ่งที่จะนำเสนอไว้ในบทความนี้ คือ ความรู้ความเข้าใจเรื่อง "คนกับธรรม" หรือ "ธรรมกับคน" ที่ผู้เขียนได้เรียนรู้ได้สัมผัส ได้เข้าใจ จึงขอนำมาบันทึกไว้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านทั้งหลาย

คนเป็นส่วนหนึ่งของธรรม
ธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่มนุษย์รับรู้ได้และรับรู้ไม่ได้

ธรรมแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น และส่วนที่ไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามเหตุตามปัจจัย นี้คือความหมายหนึ่งของธรรมและการแบ่งส่วนของธรรมตามสภาวะ อาจแบ่งโดยอาศัยเกณฑ์อื่นได้อึก เช่น แบ่งตามลักษณะของผลที่มีต่อมนุษย์ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ กุศลธรรม ธรรมที่ดี อกุศลธรรม ธรรมที่ไท้ดี และอัพยากตธรรม ธรรมที่เป็นกลางๆ เป็นต้น

โดยนัยนี้จะเห็นได้ว่าที่มนุษย์ทุกคนก็มี "ความเป็นธรรม" คือ มีทั้งที่ไม่เปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนแปลง ที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ เกิดแล้วต้องแก่และต้องตาย ที่เปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนจากวัยเด็กอ่อนหรือทารกจนถึงชรา สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว เราก็มีภาวะดังกล่าวนี้โดยถ้วนหน้ากัน

เมื่อมองในแง่ของความสัมพันธ์ คน กับธรรม ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ทั้งโดยเนื้อแท้ และเนื้อไม่แท้ ที่ว่าเนื้อแท้ก็คือมีที่มาที่ไปเหมือนๆ กัน ที่เนื้อไม่แท้ก็คือคนจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยดี หรืออยู่ดีมีสุข ไม่อยู่ร้อนนอนทุกข์ ก็โดยอาศัยธรรม คือ ถ้ารู้ธรรม เข้าใจธรรม และปฏิบัติตามธรรม ถูกธรรมตรงธรรมก็จะพัฒนาจะก้าวหน้าในทางดี แต่ถ้าไม่รู้ธรรม ไม่เข้าใจธรรม และไม่ปฏิบัติตามธรรมให้ถูกให้ตรงธรรม ก็จะพบกับความเสื่อมถอน และทนทุกข์

โดยนัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ธรรมที่ว่า นั้นถ้าเอาคนเป็นแกนก็มี 3 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นส่วนที่มีผลดีต่อคน เรียก กุศลธรรม ส่วนที่สอง เป็นส่วนที่มีผลเสียต่อคนเรียก อกุศลธรรม ส่วนที่สาม เป็นส่วนที่ไม่ดี ไม่ร้ายต่อคนเรียก อัพยากตธรรม กุศลธรรม คือ ธรรมที่เมื่อคนได้เรียนรู้ ได้ปฏิบัติตามก็จะก่อผลดี ให้คน อกุศลธรรม คือ ธรรมที่เมื่อคนได้เรียนรู้ได้ปฏิบัติตามก็จะก่อผลเสีย ส่วนอัพยากรธรรม คือ ธรรมที่เป็นกลางไม่ให้พอดีผลเสียอะไร

2. ธรรมมิได้เป็นของใคร

ท่านอาจารย์พุทธทาสบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เรียกว่า ธรรม และธรรมคือทุกสิ่งทุกอย่าง

ดังนั้น การจะเรียนรู้ธรรม เข้าใจธรรม และเข้าถึงธรรม ก็เรียนรู้จากอะไรก็ได้ ทั้งในและนอกตัวเรา ต่างก็มีธรรมให้เรียน ให้รู้ ให้เห็น ตัวธรรมจริง ๆ มิได้ ปรากฏอยู่ในเอกสารหรือคัมภีร์ หรือจารึกใดๆ หรือที่ตัวอักษร แต่ตัววัตถุ หรือวัสดุที่ใช้จารึกนั้นเอง คือ ตัวธรรมแท้ที่ปรากฏให้เราได้เรียน ได้รู้ ได้เห็น ท่านจึงศึกษาธรรมจากต้นไม้ จากสัตว์ จากดิน จากน้ำ โดยเฉพาะที่ตัวท่านเอง

พระพุทธองค์ก็ดี พระเยซูคริสต์ก็ดี ต่างก็ศึกษาธรรมจากสภาพภายนอก มีพืชสัตว์ เป็นต้น และจากสภาพภายใน คือ ที่กายใจของพระองค์ จนมองเห็นชัดว่า

ธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง และ ทุกสิ่งทุกอย่างก็คือ ธรรม

ในแง่ของพลังอำนาจที่มนุษย์มองเห็น

ธรรม คือ ผู้สร้าง
ธรรม คือ ผู้ดำรงรักษา
ธรรม คือ ผู้ทำลาย

คำสอนของพระพุทธองค์ บอกว่า ให้เคารพธรรม ให้ถือธรรมเป็นใหญ่ ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พุทธะ คือ รู้ ธรรมะ คือ ความจริง สังฆะ คือ การทำตามความจริง หรือตามธรรม

พระเยซู ก็ทรงสอนให้เคารพธรรม ให้ถือธรรมเป็นใหญ่ ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า ตรีเอกานุภาพ คือ พระบิดา พระจิต และพระบุตร พระบิดา คือ ตัวธรรม หรือตัวความจริง พระจิต คือ ตัวรู้ ธรรมและพระบุตร คือ ตัว การปฏิบัติตามที่รู้ ซึ่งก็คือการที่คนรู้ธรรมแล้ปฏิบัติตามธรรม หรือความจริงนั้น

คำสอนของพราหมณ์ก็ให้เคารพธรรม ให้ถือธรรม เป็นใหญ่ ภายใต้ชื่อว่า ตรีมูรติ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระนารายณ์ พระพรหม คือสภาวการณ์ว่าด้วยการเกิด พระวิษณุ คือ สภาวการณ์ว่าด้วยการสลายตัว พระนารายณ์ คือ สภาวการณ์ว่าด้วยการดำรงอยู่ช่วงระยะหนึ่ง ทั้ง 3 ก็คือ อาการ หรือลักษณะของธรรม ที่มี การเกิด การดำรงอยู่ และการแตกสลายลง ของสิ่งที่ภาษาพุทธเรียกว่า สังขตธรรม ทั้งหลาย คือ สิ่งที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ตามกฎธรรมชาติที่ชื่อว่า อิทัปปัจจยตา คือ เมือสิ่งนี้มีจึงมีสิ่งนี้

ธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ นอกจากตัวธรรมนั่นเอง คนมิอาจเป็นเจ้าของธรรมได้ แต่ธรรมเป็นเจ้าของตน คือ คนมิอาจไปกำกับ หรือบังคับธรรม แต่ธรรมกำกับหรือบังคับคนให้อยู่ในอาณัติ หรือในกฎของธรรม นั่นคือ ธรรม มิได้เป็นของใครทั้งนั้น ไม่ใช่ของไทยของฝรั่ง ไม่ใช่ของคนตะวันตก ตะวันออก ไม่ใช่ของชาวพุทธ ชาวคริสต์ ชาวมุสลิม หรือผู้ถือศาสนาใด ทั้งนั้น

แต่ธรรมเป็นสิ่งที่คนหรือมนุษย์ทุกคนเรียนรู้ได้ เข้าใจได้ และเข้าถึงได้ เพราะทุกคนต้องอยู่กับธรรม ทุกคนกินธรรมและใช้ธรรม

ในอีกมุมหนึ่งที่ตัวธรรม มี 2 ลักษณะคือ รูปธรรม และนามธรรม ที่ระดับของธรรม ก็มี 2 ระดับ คือ โลกยธรรม และโลกุตรธรรม

คนกับธรรมจึงเป็นอย่างนี้เอง

3. คนกับธรรมมาจากไหน?

เมื่อธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง และคนก็คือส่วนหนึ่งของธรรม คนและธรรมก็มาจากธรรม นั่นเอง

ส่วนคนเป็นธรรมที่มีลักษณะ 3 คือ เกิดขึ้น ดำรงอยู่ หรือค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง และแตกสลายลงในที่สุด เช่นเดียวกับ พืช สัตว์ เป็นต้น ที่อยู่รอบๆ ตัวคน ลักษณะเช่นนี้ เป็นสามัญลักษณะของธรรมทีมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ที่ภาษาพุทธธรรมเรียกว่า สังขตธรรม

สังขตธรรม ทั้งหลายมาจากไหน

มาจากอสังขตธรรม อสังขตธรรม เป็นผู้สร้างสังขตธรรม อสังขตธรรม เป็นอมตธรรม คือ เป็นธรรมที่ไม่ตาย เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีตัวไม่มีตนให้มนุษย์เห็น จะเห็นได้ก็เฉพาะบทบาทหน้าที่ที่มีต่อสังขตธรรมเท่านั้น อสังขตธรรม ไม่ร้อนไม่เย็นไม่สูงไม่ต่ำ ไม่ดำไม่ขาว ไม่อะไรทั้งนั้น แต่เป็นอย่างที่เป็น ที่เรียกว่า "เป็นอย่างนั้นเอง"

4. คนกับธรรมเพื่ออะไร ประโยชน์ใด?

คนเพื่อธรรม ธรรมเพื่อคน
คนเพื่อประโยชน์ธรรม ธรรมเพื่อประโยชน์คน
คนเข้าถึงธรรม ธรรมเข้าถึงคน
คนเป็นธรรม ธรรมเป็นคน
คนช่วยธรรม ธรรมช่วยคน
คนรักษาธรรม ธรรมรักษาคน
คนทำลายธรรม ธรรมทำลายคน

เมื่อคนเป็นส่วนหนึ่งของธรรม จะทำอย่างไร แน่นอน คนจะต้องรักษาธรรมไว้ ธรรมก็จะช่วยคน

เมื่อใดคนไม่รักษาธรรม ธรรมก็จะไม่รักษาคน
เมื่อใดคนเดือดร้อน นั้นแสดงว่า คนไม่รักษาธรรม
คนที่ทำถูกธรรม ธรรมก็จะช่วยสร้างสุขให้คน
แต่ถ้าคนทำไม่ถูกธรรม ธรรมก็จะสร้างทุกข์ให้คน

อาหารของมนุษย์คือ ธรรม มนุษย์กินอาหารที่ถูกกับธรรมในร่างกายมนุษย์ อาหารก็เป็นเครื่องบำรุงกายมนุษย์

ความรักความเมตตากรุณา คือ ธรรม มนุษย์ได้รับความเมตตากรุณา เข้าสู่ใจ ธรรม คือ ความเมตตา กรุณาก็เป็นเครื่องบำรุงใจ
ความเมตตาเกิดที่ใจคน อยู่ในใจคน
ความเมตตาก็คือ ธรรม ใจคนก็คือธรรม
เมื่อธรรมจากใจสู่ใจ ก็ก่อธรรม ขยายธรรมขึ้นในธรรม คือ ในใจคน

นั่นคือ ธรรมช่วยคน และคนก็ช่วยธรรม

5. คนกับธรรมเชื่อมโยงกันอย่างไร และทำไม?

โดยเป็นเหตุเป็นปัจจัยต่อกันและกัน

คนมีอกุศลธรรมอยู่ในใจ เช่น ความยากเสพ อยากสะสม อยากเป็น อยากไม่เป็น ความต้องการแสดงบทบาทอำนาจ ความมืดบอด เป็นปัจจัยให้คนรู้ ให้คนคิด ให้คนพูด ให้คนทำ ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามธรรม ที่จะเป็นเหตุให้เกิดผลดีต่อตนและเพื่อนมนุษย์ แต่ถูกต้องตามธรรมที่จะเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อตนเองและเพื่อนมนุษย์

โลกเย็นลง หรือร้อนขึ้น ก็คือ สภาวะของธรรม การกระทำของมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรม ย่อมมีผลให้โลกเย็นโลกร้อนได้ ในด้านกายภาพ

ในขณะเดียวกัน ในด้านสัมพันธภาพ เมื่อใดธรรมคือคน หรือมนุษย์มีพฤติกรรมไม่ต้องตามธรรม ก็จะมีผลต่อดุลยภาพ ระหว่างคนกับธรรม หรือแม้แต่คนกับคน ถ้ามีดุลยภาพ คนก็อยู่ดี ธรรมก็อยู่ได้

ในด้านจิตภาพ จิตของคนก็คือธรรม สิ่งที่เข้าสู่จิตของคนก็คือธรรม สิ่งที่อยู่นอกจิต คนก็คือธรรม

ธรรมใดที่อยู่ภายนอกจิต ที่เป็นพิษภัยกับจิต เมื่อจิตรับเข้าไปในจิต ก็จะทำให้จิตพิกลพิการ นั่นคือธรรมเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรม

ธรรมใดที่อยู่นอกจิต แต่เป็นธรรมที่จะช่วยจรรโลงจิต เมื่อจิตรับเข้าไปสู่จิต จิตก็จะสดชื่นแจ่มใส จนถึงจิตเกษม นั้นคือธรรมเป็นตัวหนุนธรรม

คนคือธรรม สิงที่อยู่ข้างในคน นอกคน ก็คือธรรม คนต้องสัมพันธ์กับธรรม และธรรมต้องสัมพันธ์กับคน คนต้องอาศัยธรรม ธรรมก็ต้องอาศัยคน เพราะคนก็เป็นทั้งปฏิปักษ์และตัวหนุนธรรม

คนจึงต้องเชื่อมโยงอยู่กับธรรม และธรรมก็ต้องเชื่อมโยงกับคน เพราะคนกับธรรมต้องอาศัยกันและกัน อย่างเป็นเอกภาพและดุลยภาพ นั่นเอง

6. สรุป

คนกับธรรม ก็คือธรรม
คนกับธรรม มาจากธรรม
คนกับธรรม ก็เพื่อธรรม

คนกับธรรม เชื่อมโยงกัน ตลอดเวลา และทุกที่ เพราะเป็นเหตุ เป็นปัจจัยต่อกัน คนเป็นปัจจัยให้เกิดธรรม ธรรมเป็นปัจจัยให้เกิดคน

ธรรมมี ธรรมขาว ธรรมดำ และธรรมกลาง ๆ คือ กุศลธรรมและอกุศลธรรมและอัพพยากตกรรม
คนมี คนขาว คนดำ คนไม่ขาวไม่ดำ คือ คนดี คนไม่ดี คนกลางๆ

คนดี คือกุศลธรรม คนไม่ดีคืออกุศลธรรม คนกลางๆ คือ อัพยากตธรรม

ธรรมว่าโดยลักษณะมี 2 คือ รูปธรรมและนามธรรม
ธรรมว่าโดยระดับก็มี 2 คือ โลกยธรรม และโลกุตรธรรม

คนรู้ธรรมเข้าใจและเข้าถึงธรรม จะมองไม่เห็นคนไม่เห็นธรรม ไม่เห็นดำ ไม่เห็นขาว ไม่เห็นยาวไม่เห็นสั้น เพราะธรรมคือจิตของเขาหมดกุศลธรรมและอกุศลธรรม หมดธรรมขาว ธรรมดำ เขาเป็นธรรมที่เหนือธรรม

นั้นคือ สุญญตธรรม ธรรมที่อาจารย์พุทธทาสเรียกว่า "ความว่าง" (emtiness)
นั้นคือ นิพพานธาตุ หรือนิโรธธาตุ คือ ธาตุแห่งความดับ
นั้นคือ ยะโฮรา นั้นคือ อัลเลาะห์ นั้นคือ ปรมาตมัน

คำว่าธรรมกับคน หรือคนกับธรรม ก็เป็นดังนี้แล

ผู้เขียนก็รู้และเข้าใจเรื่องนี้แค่นี้แล ท่านจะว่าอย่างไร ก็แล้วแต่ใจท่าน ใครจะคัดค้าน หรือเห็นด้วยก็ไม่ว่า


สัจกวี : คนกับธรรม

คำว่าคน กับธรรม จำใส่จิต
ไม่ต้องคิด ให้ลึก นึกสับสน
ทั้งนอกตัว ในตัว ทั่วทุกคน
ไม่วกวน คือ ธรรม จำเถิดนา

มีธรรมเทียม ธรรมแท้ ของแน่จิต
มีแค่คิด ให้ดูไม่มุสา
มีธรรมดี ธรรมด้อย คอยนำพา
ให้ชีวา มนุษย์ จุดสำคัญ

ใครรู้ธรรม นำจิต ให้คิดนึก
ช่วยให้ฝึก กายใจ ได้ขยัน
กายสะอาด จิตสงบ พบชีวัน
เกษมสันติ์ มีสว่าง ขึ้นกลางใจ

นั้นคือ คนถึงธรรม ธรรมถึงคน
เป็นเหตุผล ของธรรม นำสดใส
เรียกอิทัป ปัจยตา พาก้าวไกล
โลกสดใส ก็เพราะธรรม ชื่นฉ่ำเอย






65
บทความ บทกวี / ท้าวจตุโลกบาล 4
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 02:55:11 »
สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามีท้าวมหาราชทั้ง ๔ เป็นผู้ปกครองดูแล คอยแบ่งกันครอบครองดังนี้

ด้านทิศตะวันออก เป็นที่อยู่ของ ท้าวธตรฐ มีพวกคนธรรพ์ เป็นบริวาร คนธรรพ์ นี้เป็นเทวดาพวกหนึ่งซึ่งที่มีความถนัดในการดนตรีศิลปะระบำรำฟ้อนและชำนาญในการขับกล่อมเพลงยิ่งนัก เมื่อใดที่เทวดาทั้งหลายชุมนุมกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน เมื่อนั้นพวกคนธรรพ์ ก็จะไปทำหน้าที่ขับกล่อมเพลงและรำบำรำฟ้อนเพื่อความสำราญของเหล่าเทวดา

ด้านทิศใต้ เป็นที่อยู่ของท้าววิรูปักษ์ มีพวกนาคเป็นบริวาร นาคนี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีฤทธิ์เดชมาก เพราะเพียงแค่พิษของนาคถูกต้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็สามารถตัดเอาผิวหนังของบุคคลนั้นและทำให้ถึงแก่ความตายได้ในพริบตา พวกนาครู้จักเนรมิตตนเป็น มนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา เพื่อท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ตามอัธยาศัยอย่างสุขสำราญ
หากบุคคลใดได้ยินได้ฟังมาว่าพวกนาคมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก ทำให้ชอบใจ แล้วทำคุณงามความดีด้วยกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งปรารถนาไปเกิดเป็นนาค บุคคลนั้นเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปเกิดเป็นนาคในชาติต่อไปสมความปรารถนา
ด้านทิศเหนือ เป็นที่อยู่ของท้าวเวสวัณหรือ ท้าวเวสสุวัณ มีพวกยักษ์ เป็นบริวาร ยักษ์ นี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีสันดานแตกต่างกัน บางตนก็มีสันดานดีประกอบด้วยศีลธรรม บางตนก็มีสันดานร้ายมีจิตใจเต็มไปด้วยโทสะโมหะ เป็นอันธพาลที่มีใจกล้าหาญดุดัน

ท้าวเวสวัณมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ท้าวกุเวร เพราะในสมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งนามว่า กุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อยตัดใส่ลงไปในหีบยนต์แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตนและบุตรภรรยา ต่อมากิจการเจริญขึ้นจนเป็นเจ้าของหีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง ๗ เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับคนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อยจากหีบยนต์เครื่องหนึ่งซึ่งมีประมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่นๆ ให้เป็นทานแก่คนเดินผ่านไปมาจนตลอดอายุขัย

ด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า"กุเวรเทพบุตร"ต่อมากุเวรเทพบุตรได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแลพระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า "ท้าวเวสวัณ"


ท้าวมหาราชทั้ง ๔

๑. ท้าวธตรัฏฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุเป็นผู้ปกครองคันธัพพ เทวดาทั้งหมด
๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองกุมภัณฑเทวดา ทั้งหมด
๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคะ เทวดาทั้งหมด
๔. ท้าวกุเวระ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยักขะเทวดาทั้งหมด เทวดาที่อยู่ภายใต้การปกครองของท้าวจาตุมมหาราช คือ
๑. ปัพพัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยภูเขาอยู่
๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยอยู่ในอากาศ
๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่ มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมบริโภคอาหารแล้วตาย
๔. มโนปโทสิกเทวดา เทวดาที่ ตายเพราะความโกรธ
๕. สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น
๖. อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น
๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระจันทร์
๘. สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระอาทิตย์

จตุโลกบาล
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ยังมีหน้าที่เป็นจตุโลกบาล คือเป็นผู้คุ้มครองและตรวจดูโลกซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ทั้ง ๔ ทิศ โดย
วัน ๘ ค่ำ อำมาตย์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลก
วัน ๑๕ ค่ำ บุตรทั้งหลายของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลก
ส่วนในวัน ๑๕ ค่ำ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลกเองว่า พวกมนุษย์พากันบำรุงบิดามารดา และสมณพราหมณ์ เคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถศีลและทำบุญกุศลเป็นจำนวนมากหรือไม่
ครั้นตรวจดูแล้วก็จะไปบอกพวกเทพชั้น ดาวดึงส์ ซึ่งมาประชุมกันในสุธรรมาเทวสภา ถ้าได้ฟังว่าพวกมนุษย์ทำดีกันน้อย พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจหดหู่ เพราะทิพยกายจะลดถอย อสุรกายจะเพิ่มพูน แต่ถ้าได้ฟังว่าพวกมนุษย์ทำดีกันมาก พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจชื่นบาน เพราะทิพยกายจะเพิ่มพูน อสุรกายจะลดถอย


ตำนานอาฏานาฏิยปริตร
อาฏานาฏิยสูตร กล่าวไว้ว่า
ในสมัยหนึ่ง เมื่อพุทธเจ้าประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ท้าวจาตุมหาราช คือ ท้าวธตรฏฐ์ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวกุเวร พร้อมด้วยบริวารอันได้แก่ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
ท้าวมหาราชเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า จตุโลกบาล ( ผู้รักษาโลกทั้ง ๔) ซึ่งเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา เมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ท้าวกุเวรกราบทูลว่า อมนุษย์ที่เป็นบริวารของจตุโลกบาล บางพวกก็เลื่อมใสพระพุทธเจ้า บางพวกก็ไม่เลื่อมใส เพราะพระองค์ทรงแสดงธรรมให้ถือศีล ๕ คือให้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ และการเสพสุรา แต่มนุษย์และยักษ์ยังชอบทำบาปเหล่านี้ จึงขัดใจไม่ค่อยเลื่อมใส สาวกของพระองค์ที่ประกอบวิปัสสนาธุระ ไปบำเพ็ญสมณธรรมในเสนาสนะป่าเปลี่ยว เมื่อไม่มีสิ่งป้องกัน อมนุษย์ก็จะรบกวนเบียดเบียนให้ลำบาก ขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องป้องกันรักษา คือ อาฏานาฏิยปริตรไว้ จะได้ประทานให้สาวกสวด จะทำให้อมนุษย์เลื่อมใส ไม่เบียดเบียนภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และกลับจะช่วยคุ้มครองรักษาให้อยู่ผาสุข แล้วจึงกล่าว อาฏานาฏิยปริตร ขึ้นในเวลานั้นว่า วัปัสสิสสะ นะมัตถุ เป็นต้น
เมื่อพระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ ท้าวกุเวรจึงกราบทูลต่อไปอีกว่า ผู้ที่เจริญอาฏานาฏิยปริตรนี้ดีแล้ว อมนุษย์จะไม่ทำร้าย ถ้าอมนุษย์ยังผืนกระทำจะแพ้ภัยตัวเองจากนั้น พระพุทธเจ้าจึงนำมาตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายในภายหลัง

66
บทความ บทกวี / พุทธศาสนสุภาษิต
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 02:51:24 »
พุทธศาสนสุภาษิต " อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท


อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ


อปฺปมตฺตา น มียนฺต ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย


อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์


อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย


อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสฺ สุตฺเตสุ พหุชาคโร อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส
คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ
ย่อมละทิ้งคนนั้น เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น


อุฏฺฐานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมาการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ
มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท


67
ธรรมะ / ธรรม คือ ของจริงของแท้
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 02:49:19 »
หลวงปู่ให้ธรรมโอวาทแก่พุทธศาสนิกชนมากมาย เช่น
1. ธรรม คือ ของจริงของแท้ เป็นแก่นของโลก ธรรม แปลว่า ของเป็นอยู่ทรงอยู่สภาพ ตามเป็นจริง เป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น เรียกว่า ธรรม ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เป็นธรรมทั้งนั้น เรียก ชาติธรรม ชราธรรม พยาธิธรรม มรณธรรม ทำไมจึงเรียกว่า ธรรม คือทุกๆคนจะต้องเป็นเหมือนกันหมด (ธรรมเทศนาเรื่อง ธรรมะ)
 

2. สมบัติที่มนุษย์ต้องการ ไม่ทราบว่าจะกอบโกยเอาไปถึงไหน ได้มาก็เพียงแต่เอาเลี้ยงชีวิตเท่านั้น เลี้ยงชีวิตให้นานตายหน่อย นั่นละ ประโยชน์ของมนุษย์สมบัติเพียงแค่นั้นแหละ

3. เราเกิดมาในโลกนี้ จะเป็นมนุษย์หรือเป็นสัตว์ต่างๆ ก็ตามเถอะ เรียกว่าอยู่ในแวดวง ของมัจจุราชทั้งนั้น หรือเปรียบเหมือนกับอยู่ในคุกในตาราง (รอความตาย) ด้วยกันทุกคน จะทำอะไรอยู่ก็ตาม จะเป็นผู้ดีวิเศษวิโสเท่าไรก็ช่าง แม้แต่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า สรีระร่างกายของพระองค์ ยังปล่อยให้พญามัจจุราชทำลายได้ แต่ตัวจิตของพระองค์ เป็นผู้พ้นแล้ว ไม่ยอมให้มัจจุราชข่มขี่ได้เลย (ธรรมเทศนาเรื่อง มัจจุราช)

4. ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุสี่เท่านั้น แต่คนเราไปสมมติ แล้วหลงสมมติตนเองต่างหาก มันก็ต้องยุ่งและเดือดร้อนด้วยประการทั้งปวง(อัตตโนประวัติ)

5. มนุษย์เราพากันสมมติ เรียกเอาตามความชอบใจของตนว่านั่นเป็นคน นั่นเป็นสัตว์ เป็นนั่นเป็นนี่ต่างๆนานาไป แต่ก้อนธาตุนั้นมันก็หาได้รู้สึกอะไรตามสมมติของคนไม่ มันมีสภาพเป็นอยู่อย่างไรก็เป็นอยู่อย่างนั้นตามเดิม สมมติว่า หญิง ว่าชาย ว่าหนุ่ม ว่าแก่ ว่าสวย ไม่สวย ก้อนธาตุอันนั้นก็ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย หน้าที่ของมันเมื่อมาประชุมกันเข้า เป็นก้อนแล้ว อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งแล้วมันก็แปรไปตามสภาพของมัน ผลที่สุดมันก็แตกสลาย แยกกันไปอยู่ตามสภาพเดิมของมันเท่านั้นเอง (ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์)

6. เมื่อเรามาฝึกหัดปฏิบัติธรรม จนเห็นเรื่องโทษของตนเองแล้ว ค่อยชำระสะสางให้มันหมดไปๆ ก็จะเป็นคุณแก่ตนในอนาคตข้างหน้า ได้ชื่อว่าไม่เสียชาติที่เกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ แล้วยังมาพบพระพุทธศาสนา และยังมาพบครูบาอาจารย์ ที่สอนให้เราละกิเลสอีกด้วย (ธรรมเทศนาเรื่องแก่นของการปฏิบัติ)

7. แท้ที่จริงธรรมะคือตัวของเรานี้ทุกคนก็มีแล้ว ครบมูลบริบูรณ์ทุกอย่าง แต่เราไม่ได้สร้างสมอบรมให้เห็นธรรมะที่มันมีในตนของตน ธรรมะแทรกอยู่ในขันธโลกอันนี้ หากใช้อุบายปัญญาพิจารณากลั่นกรองด้วยวิธี 3 อย่าง มีศีล สมาธิ ปัญญา ดังอธิบายแล้ว ธรรมะ จะปรากฎในตัวของตน (ธรรมเทศนาเรื่องวิจัยธรรมออกจากโลก)


หลวงปู่เทสก์กับท่านเจ้าคุณพระราชวุฒาจารย์ ( หลวงปู่ดุลย์ อตุโล )
8. การศึกษาพระพุทธศาสนา ถ้าจะให้เข้าใจถูกต้องแล้ว ต้องให้มีทั้งปริยัติคือ การศึกษา และปฏิบัติตามความรู้ที่ได้ศึกษามานั้นให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการปฏิบัติ ถ้าไม่ยืนตัว อยู่ในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว จะไม่มีความถูกต้องอันจะให้เกิดความรู้ ในสัจธรรมได้เลย มรรคปฏิปทาอันจะให้ถึงสัจธรรมนั้น ก็ต้องรวมศีล สมาธิ ปัญญา ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วปฏิเวธธรรมจึงจะเกิดขึ้นได้ (ธรรมเทศนา เรื่อง พุทธบริษัทพึงปฏิบัติตนเช่นไร)

9. คนที่จะข้ามโอฆะได้ต้องมีศรัทธาเสียก่อน ถ้าไม่มีศรัทธาเสียอย่างเดียวก็หมดทาง ที่จะข้ามโอฆะได้ ศรัทธาจึงเป็นของสำคัญที่สุด เช่น เชื่อมั่นในกรรม เชื่อผลของกรรม ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่ว่าศรัทธาอันนั้น เป็นเบื้องต้นที่จะทำทาน ถ้ามีศรัทธาแล้ว ไม่อดเรื่องการทำทาน อยู่ที่ไหนก็ทำได้ ทำมากก็ได้ ทำน้อยก็ได้ ไม่ต้องเลือกวัตถุในการทำทาน จะเป็นข้าว น้ำ อาหาร หมากพลู บุหรี่ ฯลฯ สารพัดสิ่งเป็นทาน ได้ทั้งหมด แม้แต่ใบไม้ ใบตอง ใบหญ้า ก็เป็นทานได้ เราทำด้วยความเชื่อมั่นว่า สิ่งนี้ทำไปแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ผู้นั้น ๆ ก็อิ่มอกอิ่มใจขึ้นมาก็เป็นบุญนั่นแหละ ศรัทธา มันทำให้อิ่มอกอิ่มใจ ทำให้เกิดบุญ ซาบซึ้งถึงใจทุกอย่างไม่ลืมเลย อันนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ข้ามโอฆะ (ธรรมเทศนา เรื่องหลักการปฏิบัติธรรม)

10. กายและจิตอันนี้เป็นบุญกรรมและกิเลสนำมาตกแต่งให้ เมื่อนำมาใช้โดยหาสาระมิได้ ถึงแม้จะมีอายุยืนนาน ก็ปานประหนึ่งว่าหาอายุมิได้ (คือไม่มีประโยชน์) สมกับพุทธพจน์ ที่พระองค์ตรัสว่า โย จ วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ อุทยพฺพยํ เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปสฺสโต อุทยพฺพยํ แปลว่า บุคคลใดมีชีวิตอยู่ร้อยปี แต่เขามิได้พิจารณาเห็นความเกิดดับ (ของอัตภาพนี้) ผู้นั้นสู้ผู้เขามีชีวิตอยู่วันเดียว แต่พิจารณาเห็นความเกิดความดับไม่ได้ (ธรรมเทศนาเรื่องวันคืนล่วงไป ๆ)

11. คนที่จะพ้นจากทุกข์ได้ พ้นจากโลกนี้ได้ พ้นจากกรรมได้ ก็เพราะใจอันเดียว จงยึดใจถือใจ เป็นสำคัญ จะมาเกิดก็เพราะใจ เกิดแล้วจะมาสร้างกิเลสขึ้นก็เพราะใจ เป็นทุกข์ก็เพราะใจ ถ้าใจไม่เป็นทุกข์ ใจไม่ยึดถือ ปล่อยทิ้งเสีย กายอันนี้ก็ไปตามเรื่องของกาย ใจก็เป็นตามเรื่องของใจ หมดเรื่องหมดราวกันที (ธรรมเทศนาเรื่องกรรม)

12. หิริ โอตฺตปฺป นี้เป็นธรรมที่สำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของศีล เป็นต้นตอของศีล ผู้จะมีศีลได้ ไม่ว่าจะเป็นศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 หรือศีล 227 ก็ตาม ต้องมีหิริ และโอตฺตปฺป 2 อย่างนี้ เนื่องจากได้เห็นจิตของตน เห็นความนึกความคิดความปรุงจิตของตน แล้วก็กลัวบาป ละอายบาป จึงไม่อาจจะทำความชั่วได้ ฉะนั้น ศีลก็บริสุทธิ์เท่านั้นเอง (ธรรมเทศนาเรื่อง เทวตานุสสติ)

13. การภาวนา คือ การอบรมจิตใจให้มีความสงบ เป็นการชำระจิตใจให้สงบจากอารมณ์ต่าง ๆ ยิ่งเป็นการละเอียดไปกว่าการรักษาศีลอีก จิตของเราถ้ายังไม่สงบตราบใดแล้ว มันก็จะต้องยุ่งวุ่นวายอยู่ตราบนั้น เมื่อมาฝึกหัดภาวนา เห็นโทษเห็นภัย ของความยุ่ง ความไม่สงบด้วยตนเองแล้ว เราก็จะพยายามทุกวิถีทางที่จะละความไม่สงบ เมื่อสิ่งใดที่ละได้แล้ว อารมณ์ใดที่วางได้แล้ว เราก็จะต้องรักษาไม่ให้สิ่งนั้น มันเกิดขึ้นมาอีก ไม่ใช่ว่าเราละได้แล้ว ก็แล้วไปเลย ไม่ต้องคำนึงถึงมันอีก อย่างนั้นไม่ถูกต้อง เพราะมันอาจสามารถที่จะฟื้นฟู ขึ้นมาใหม่อีก ถ้ามันเกิดมาทีหลังจะยิ่งร้ายกว่าเก่า (ธรรมเทศนาเรื่อง มาร)

14. ฝึกหัดจิตให้เข้าถึงใจ วิธีปฏิบัติฝึกหัดกรรมฐานมีเท่านี้แหละ ใครจะฝึกหัดปฏิบัติ อย่างไรก็เอาเถอะ จะภาวนาพุทโธ สัมมาอรหัง ยุบหนอพองหนอ หรืออานาปานสติ ก็ไม่เป็นปัญหา คำบริกรรมเหล่านั้นก็เพื่อล่อจิตเข้ามาอยู่ในคำบริกรรม แต่คนที่เข้าใจผิด ถือว่าตนดีวิเศษโอ้อวดเพื่อนว่าของข้าถูกของเอ็งละผิด อย่างนั้นอย่างนี้ต่างๆนานา พุทธศาสนาแท้ไม่เป็นอย่างนั้นหรอก มันต้องเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครผิดใครถูก เมื่อปฏิบัติถึงจิตรวมแล้ว จิตรวมเข้าไปเป็นอัปปนาแล้วหมดเรื่อง จิตรวมเข้าถึงอัปปนาแล้ว ถึงที่สุดของการทำสมาธิเท่านี้ ไม่มีอะไรแตกต่างกัน (ธรรมเทศนาเรื่อง การปฏิบัติเบื้องต้น)

15. การหัดภาวนาเบื้องต้น คือ หัดให้เข้าถึงจิตเป็นหนึ่ง หัดเบื้องต้นก็จริง แต่มันถึงที่สุดได้ คือจิตที่สงบนิ่งเป็นหนึ่ง มันก็ถึงที่สุดแล้ว การฝึกหัดจิต หัดมากหัดน้อยเท่าไรก็ตาม ต้องการให้จิตเข้าถึงที่สุด คือ จิตเป็นหนึ่งเท่านั้น การฝึกหัดจิตไม่นอกเหนือจากจิตเป็นหนึ่ง ส่วนอุบายปัญญาที่จะเกิดขึ้น มันเป็นเฉพาะบุคคล (ธรรมเทศนาเรื่อง แก่นของการปฏิบัติ)

16. ขอจงตั้งใจทำให้จริงจัง และทำความเลื่อมใสพอใจในกัมมัฏฐานของตนให้แน่วแน่เต็มที่ ทำนิดเดียวก็จะเป็นผลยิ่งใหญ่ไพศาล เมื่อทำไปทุกๆวัน วันละนิดวันละหน่อย มันหากจะมีวันหนึ่งโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจที่จะให้เป็น มันหากเป็นเอง คราวนี้ละ เราจะประสบโชคลาภอย่างอย่าบอกใครเลย ถึงบอกก็ไม่ถูก เป็นของรู้และซาบซึ้งเฉพาะตนเอง คำว่าภาวนาขี้เกียจและปวดเมื่อยแข้งขาจะหายไปเองอย่างปลิดทิ้ง จะมีแต่อยากทำภาวนา สมาธิอยู่ร่ำไป (ธรรมเทศนาเรื่องทุกข์)



หลวงปู่เทสก์กับท่านเจ้าคุณพระธรรมวิสุทธิมงคล ( หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน )
17. สติตัวนี้ควบคุมจิตอยู่ได้ ถ้าเผลอเวลาใดไปเวลานั้น ทำชั่วเวลานั้น จึงให้รักษาจิตตรงนั้นแหละ ควบคุมจิตตรงนั้นแหละ ให้มันอยู่นิ่วแน่วเป็นสมาธิภาวนา เข้าถึงในสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ ให้หัดตรงนี้แหละ พระพุทธศาสนาไม่ให้หัดอื่นไกล หัดตรงนี้แหละ ปฏิบัติศาสนาก็ปฏิบัติตรงนี้แหละ จะถึงศีล สมาธิ ปัญญา ก็ตั้งนั้นแหละ? (ธรรมเทศนาเรื่อง เบื้องต้นของการปฏิบัติกัมมัฏฐาน)

18. แก่นสารคือ จิตที่เป็นหนึ่ง จับเอาจิตที่เป็นหนึ่งให้ได้ ครั้นจับเอาจิตที่เป็นหนึ่งได้แล้ว รักษาเอาไว้ให้มั่น ไม่ต้องเอาอื่นใดอีก เอาอันเดียวเท่านั้นเป็นพอแล้ว (ธรรมเทศนาเรื่อง แก่นของการปฏิบัติ)

19. จิตเป็นสมาธิแล้ว นั่นจึงจะมองเห็นธรรม คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายได้ชัดเจน (ธรรมเทศนาเรื่อง ธรรมะ)

20. จิตมันต้องเป็นหนึ่ง ถ้าไม่ใช่หนึ่งแล้วก็ไม่ใช่จิต จิตเป็นหนึ่งกลายเป็นใจละ คราวนี้ตัวจิตนั่นแหละกลายเป็นใจ อันที่นิ่งเฉย ไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง ความรู้สึกเฉยๆ นั่นแหละ มันกลายเป็นใจ จิตมันกลายเป็นใจ (ธรรมเทศนาเรื่อง วิธีหาจิต)

21. ใคร ๆ ก็พูดถึงจิตถึงใจ จิตเป็นทุกข์ จิตเดือดร้อน จิตยุ่งวุ่นวาย จิตกระวนกระวาย จิตกระสับกระส่าย มันเรื่องของจิตทั้งนั้นแหละ แต่ยังไม่เคยเห็นจิตสักที จิตแท้เป็นอย่างไร ก็ไม่ทราบ เมื่อไม่เห็นจิตไม่เห็นใจ มันก็ไม่มีโอกาสที่จะชำระได้ ต้องเห็นตัวมันเสียก่อน รู้จักตัวที่เราพูดถึงเสียก่อน พอเราเดือดร้อนเรายุ่งเหยิงหรือส่งส่ายเราก็แก้ตรงนั้นเอง (ธรรมเทศนาเรื่องความโง่ของคนโง่)

22. นักฝึกหัดจิตทำสมาธิให้แน่วแน่ เป็นอารมณ์หนึ่งแล้ว จะมองเห็นกิเลสในจิตของตนเอง ทุกกาลทุกเวลาว่า มีกิเลสหยาบและละเอียดหนาบางขนาดไหนเกิดขึ้นที่จิต เกิดจากเหตุอะไร และจะต้องชำระด้วยวิธีอย่างไร จิตจึงบริสุทธิ์ผ่องใส ค้นหากิเลสของตนเองอยู่ทุกเมื่อ กิเลสจะหมดสิ้นไป (ของดีมีในศาสนาพุทธ)

23. การฝึกหัดสมาธิภาวนา คือ การตั้งสติอันเดียว ให้รู้ตัวอยู่เสมอ มันคิดมันนึกอะไร ก็ให้รู้ตัวอยู่เสมอ ยิ่งรู้ตัวชัดเจนเข้ามันยิ่งเป็น เอกัคคตารมณ์ นั่นแหละตัวสมาธิ (อนุสสติ ๑๐)

24. รู้สิ่งอื่นไม่สามารถจะชำระจิตของตนได้ รู้จิตของเรานี่แหละจึงจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ (อนุสสติ ๑๐)

25. การฝึกหัดจิตนี้ ถ้าอยากเป็นเร็ว ๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็นมันก็ประมาทเสีย ไม่เป็นเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลาง ๆ แล้วตั้งใจให้แน่วแน่ ในกัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น แล้วภาวนาเรื่อยไป ก็จะถึงซึ่งความอัศจรรย์ขึ้นมาในตัวของตน แล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร (อนุสสติ ๑๐)

26. การเห็นจิตของเรานี่แหละดี มันคิดดีคิดชั่ว คิดหยาบ คิดละเอียด ก็รู้ดูจนกระทั่งมันวางลง ถ้าเห็นอยู่เสมอ ๆ แล้ว ก็วางหมด (อนุสสติ ๑๐)

27. ปหานปธาน ให้เพียรดูที่จิตของเรานั่นแหละ การกระทำสิ่งใด ๆ ก็เกิดจากจิตเป็นคนบัญชา ถ้าจับจิตเห็นจิตอันนี้แล้ว จะรู้ได้ดีเห็นได้ชัด กายจะทำอะไรผิดหรือถูก ดีหรือชั่ว เป็นบุญหรือเป็นบาป รู้ได้ดีทีเดียว เอาสติไปตั้งไว้ที่จิต คิดค้นอยู่ที่จิต เห็นใจเป็นผู้สั่งกาย ทำอะไร ๆ เห็นอยู่ตลอดเวลา (ธรรมเทศนาเรื่อง เพียรละความชั่ว)

28. ผู้ใดชนะข้าศึกคือ ตัวของเราคนเดียวได้แล้ว เป็นผู้ประเสริฐกว่าการชนะชนหมู่มาก นับเป็นพัน เพราะข้าศึกอันเกิดจากคนอื่นภายนอก เมื่อพ่ายแพ้ก็เลิกกันไปที แต่ข้าศึกภายในนี้ จะแพ้หรือชนะอย่างไร ก็ยังต้องอาศัยกันอยู่อย่างนี้จนกว่าจะแตกดับจากกันไป ถึงแม้อายตนะภายในมีตาเป็นต้นที่เราเห็น ๆ กันอยู่นี้ เมื่อหลับเสียแล้วก็ไม่เห็น แต่อายตนะของใจอีกส่วนหนึ่งนั้นซี ตาบอดแล้ว หูหนวกแล้ว มันยังได้เห็นได้ยินอยู่ กายแตกดับแล้วใจยังมีอายตนะได้ ใช้บริบูรณ์ดีทุกอย่างอยู่ และนำไปใช้ได้ทุก ๆ สถาน ตลอดภพภูมินั้น ๆ ด้วย ฉะนั้น เมื่อเราจะเอาชัยชนะข้าศึกภายในจึงเป็นการต่อสู้อย่างยิ่ง (ธรรมเทศนาเรื่อง พละ ๕)

29. ผู้ที่ยอมตัวมารับเอาศีลไปไว้เป็นเครื่องปฏิบัติ จะเป็นศีล 5-8-10-227 ก็ตาม ได้ชื่อว่า เป็นผู้เริ่มต้นปฏิบัติศาสนะพรหมจรรย์ เข้าไปทำลายบ่อนรังข้าศึก อันมีอยู่ในภายในใจของตนแล้ว (ธรรมเทศนาเรื่อง สติปัฏฐานภาวนา)

30. หากจะเรียกกายใจของคนเรานี้ว่า ตู้พระธรรมก็จะไม่ผิด (ธรรมเทศนาเรื่องสติปัฏฐานภาวนา)

31. ธรรมเทศนาที่ท่านพูดที่ท่านสอนธรรมะนั้น ท่านสอนตรงนี้ คือสอนให้พิจารณา กายกับใจตรงนี้ ไม่ได้สอนที่อื่น สอนเข้าถึงตัว สอนให้เห็นของจริงในกายตน ที่จะพ้นทุกข์ได้ก็เพราะเห็นของจริงตรงนี้ จะถึงมรรคผลนิพพาน ฌาน สมาบัติ ก็ตรงนี้แหละ ไม่ใช่อื่นไกลเลย เห็นเฉพาะในตัวของเรา ถ้าไปเห็นของอื่นละไม่ใช่ (ธรรมเทศนาเรื่อง ธรรม)



หลวงปู่เทสก์กับพระราชสังวรญาณ ( หลวงพ่อพุธ ฐานิโย )
32. ตัวจิตหรือตัวใจอันนี้แหละไม่มีตนมีตัว ถ้าเรารู้เรื่องจิตเรื่องใจเสียแล้ว มันง่ายนิดเดียว ฝึกหัดปฏิบัติกัมมัฏฐานก็เพื่อชำระใจ หรือต่อสู้กับกิเลสของใจนี้ ถ้าไม่เห็นจิตหรือใจแล้ว ก็ไม่ทราบว่าจะไปต่อสู้กับกิเลสตรงไหน เพราะกิเลสเกิดที่ใจ สงครามไม่มีสนามเพลาะ ไม่ทราบว่าจะรบอย่างไรกัน ต้องมีสนามเพลาะสำหรับยึดไว้เป็นที่ป้องกันข้าศึก มันจึงค่อยรู้จักรบ รู้จักแพ้ รู้จักชนะ ขอให้พากันพิจารณาทุกคน ๆ เรื่องใจของตน เวลานี้เราเห็นใจแล้วหรือยัง ใจหรือจิตของเรานั้นมันอยู่ที่ไหน มีอาการอย่างไร (ธรรมเทศนาเรื่อง กิเลส)

33. ความจริงกิเลสไม่มีตนมีตัว ไม่ได้เอาไปละที่ไหน หรือเอาไปทิ้งให้ใคร เป็นการละออกจากใจของตนเอง (ธรรมเทศนาเรื่อง เพียรละความชั่ว)

34. บ่วงของมารได้แก่อะไร อาการของจิตที่เที่ยวไปตามอารมณ์นั้น ย่อมมีทั้งอารมณ์ดี และอารมณ์ร้าย จึงต้องมีความสุขบ้างทุกข์บ้างเป็นธรรมดา ตามวิสัยของปุถุชน จิตที่เที่ยวไปนั้นจะต้องประสบของ 5 อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏธัพพะ ซึ่งเรียกว่า กามคุณ 5 พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นบ่วงของมาร

จิตของปุถุชนทั้งหลายเมื่อเที่ยวไปประสบอารมณ์ทั้ง 5 นั้น หรือเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดความยินดีพอใจก็ดีหรือเกิดความเสียใจเป็นทุกข์ก็ดี เรียกว่าเข้าไปติดบ่วงของมารแล้ว คำว่า "ติด" ในที่นี้ หมายความว่า สลัดไม่ออก ปล่อยวางไม่ได้ บ่วงของมารผูกหลวม ๆ แต่แก้ไม่ได้ ถ้าดิ้นก็ยิ่งแต่จะรัดแน่นเข้า

จิตที่สำรวมได้แล้วจะพ้นจากบ่วงของมารได้อย่างไร ปุถุชนเบื้องต้นเมื่อเห็นโทษภัย ในการเข้าไปติดบ่วงของมารแล้ว จึงต้องพึงสำรวมในอายตนะทั้งหลาย มีตา หู เป็นต้น พระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ใครสำรวมจิตได้แล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมารดังนี้

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นโคจรที่เที่ยวแสวงหาอารมณ์ของจิต เมื่อเราปิดคือ สำรวมมีสติ ระวังอย่าให้จิตหลงไปในอารมณ์ทั้ง 6 นั้นได้แล้ว เป็นอันว่ามารผูกมัดเราด้วยบ่วงไม่ได้ (ธรรมเทศนา เรื่องสังวรอินทรีย์)

35. ผู้ฝึกหัดปฏิบัติรู้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ตามเป็นจริงว่า วิสัยของอายตนะทั้งหกนั้น มีชอบกับไม่ชอบเท่านั้น แล้วปล่อยวางเสีย ไม่ไปยึดเอามาเป็นอารมณ์ จิตก็จะกลายมาเป็นใจ เฉยอยู่กลาง ๆ นั่นแหละจึงเป็นธรรมเห็นธรรม ไม่เป็นโลก อยู่เหนือโลกพ้นจากโลก (ธรรมเทศนาเรื่อง จิตเหนือโลก)

36. การทำจิตไม่ให้หมุนไปตามอายตนะหก คือปรุงแต่งส่งส่ายไปตามอารมณ์ต่าง ๆ นั้น เป็นการหักกงกำแห่งล้อของวัฏจักร นักปฏิบัติผู้ฝึกหัดได้อย่างที่อธิบายมานี้ ถึงหักกงกำ แห่งวัฏจักรไม่ได้อย่างเด็ดขาด ได้เพียงชั่วครู่ชั่วคราว ก็นับว่าดีอักโขแล้ว ดีกว่าไม่รู้วิธีหักเสียเลย (ธรรมเทศนาเรื่อง จิตเหนือโลก)

37. ผู้ฝึกจิต ถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่าง ก็จะสงบไม่ได้ และไม่เห็นสภาพของจิต ตามเป็นจริง ถ้าทำให้จิตดิ่งแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว จิตก็มีกำลังเบ่งรัศมี แห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริงได้ ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นกิเลส อะไรเป็นของควรละ (ธรรมเทศนาเรื่อง สมบัติอันล้ำค่า)

38. ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้นผู้ถือว่าเราถึงธรรมได้ ธรรมชั้นนั้นชั้นนี้ ผู้นั้นยังมีความอยากอยู่ จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ถึงธรรมได้อย่างไร (ของดีมีในศาสนาพุทธ)

39. คนเราเกิดมาเหมือนกับไปยืมของคนอื่นเขามาเกิด ตายแล้วก็ส่งกลับคืน มาเกิดอีก ก็ยืมมาใหม่ ดังนี้อยู่ไม่รู้จบรู้สิ้นสักที ขออย่าลืมผู้ไปยืมของเขามาเกิดยังมีอยู่ จึงต้องยืมของเราร่ำไปไม่มีที่สิ้นสุด (ของดีมีในศาสนาพุทธ)

40. ความสละเด็ดเดี่ยว ปล่อยวางสิ่งสารพัดทั้งปวงหมด เหลือแต่ใจ อันนั้นเป็นของดีนัก ความสละความตายเลยไม่ตายซ้ำ เลยมีอายุยืนนาน ถึงเจ็บไข้ได้ป่วยอะไรต่าง ๆ ก็ทอดทิ้งหมด เลยกลับเป็นของดีซ้ำ ที่เป็นห่วงทั้งนั้นอยู่ในเรื่องความเจ็บความป่วย อันนั้นป่วยก็ไม่หาย สมาธิก็ไม่เป็น นั่นแหละเป็นเหตุที่ไม่เป็นสมาธิ เราจะทำอะไรต้องทำให้จริง ๆ ซี (อนุสสติ ๑๐)

41. จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลสออกหมด มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิท จิตฺต (ธรรมเทศนาเรื่องวิธีหาจิต)


42. วิปัสสนาจริงแล้วไม่ต้องคิดต้องนึกไม่ต้องปรุงแต่ง มันเป็นเอง มันเกิดของมันต่างหาก เมื่อมันเกิดแล้วจะต้องชัดแจ้งประจักษ์ในพระไตรลักษณฐานด้วยตัวของตนเองต่างหาก

43. เมื่อปัญญาวิปัสสนาเกิดขึ้น ในขณะจิตเดียวนั้นสิ้นสงสัยในธรรมทั้งหลาย เห็นสรรพสัตว์ในโลกเป็นสภาพอันเดียวกันหมดเลย ไม่มีต่ำ ไม่มีสูง ไม่มีน้อย ไม่มีใหญ่ ไม่มีหญิง ไม่มีชาย มีแต่ธาตุ ๔ เกิดขึ้นแล้วดับไปเท่านั้น (ธรรมเทศนาเรื่อง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)

44. ปัญญาวิปัสสนา คือเห็นสิ่งทั้งปวงหมด เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งเหล่านั้น เป็นของไร้สาระ เป็นโทษเป็นทุกข์ เป็นภัยอันตรายแก่จิตใจ จึงปล่อยวาง ทอดธุระในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น อันนี้เป็นปัญญาอันวิเศษสูงสุด เพราะคนจะพ้นจากโลกได้ ก็เพราะเห็นที่สุดของโลก คือได้แก่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (ธรรมเทศนาเรื่อง หลักการปฏิบัติธรรม)

45. ขอให้มีศรัทธา ทำทานไปเรื่อย ทั้งทานภายนอก ทานภายใน รักษาศีล คือรักษากาย วาจา และใจ ให้มันเป็นปกติ หรือรักษาจิตนั่นเอง คอยมีสติปกครองจิตใจ สิ่งใดไม่ควรคิดก็ไม่คิด สิ่งใดไม่ควรพูดก็ไม่พูด สิ่งใดไม่ควรทำก็ไม่ทำ เพราะเรามีสติรู้อยู่ว่าเราเป็นผู้มีศีล (ธรรมเทศนาเรื่อง สติควบคุมจิต)



หลวงปู่เทสก์กับหลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต
วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
46. ผู้มีศรัทธา มีความเพียรด้วย และมีความอดทน กล้าหาญ ประกอบด้วยปัญญา ประกอบด้วยความเพียร รักษาความดีนั้น ๆ ไว้ติดต่อกันอย่าให้ขาด นั่นแลจึงสามารถ ขจัดกิเลสสานสัยให้หมดสิ้นไปได้ (อัตตโนประวัติฯ)

47. ท่านผู้ที่หายจากโรคอันเกิดจากใจได้แก่ผู้สิ้นกิเลสแล้ว ถึงแม้โรคในกายของท่าน จะยังปรากฎอยู่ ก็เป็นแต่อาการความรู้สึก หาได้ทำใจของท่านให้กำเริบไม่ เพราะโรคใจของท่านไม่มีแล้ว สมุฏฐานคืออุปาทานของท่านได้ถอนหมดแล้ว ฉะนั้นท่านจึงมีความสุขและได้ลาภอย่างยิ่งในความไม่มีโรค (ธรรมเทศนาเรื่อง โรค)

48. ทำทานมีมากมีน้อยก็ต้องทำด้วยตนเอง รักษาศีลก็โดยเฉพาะส่วนตัวแท้ ๆ ใครรักษาศีลให้ไม่ได้ ทำสมาธิยิ่งลึกซึ้งหนักแน่นเข้าไปกว่านั้นอีก แต่ละคนก็ต้องรักษาจิตใจของตน ๆ ให้มีความสงบหยุดวุ่นวายแส่ส่าย ถ้าเราไม่รู้จักวิธีทำสมาธิแล้ว ก็ทำสมาธิไม่เป็น จิตใจก็เดือดร้อนดิ้นรนเป็นทุกข์ เหตุนั้นจึงว่า การทำทาน รักษาศีล ทำสมาธินี่เป็นกิจเฉพาะส่วนตัว ทุก ๆ คนจะต้องทำให้เกิดมีขึ้นในตน (ธรรมเทศนาเรื่อง หลักศาสนา)

49. ความเป็นเศรษฐีมีจนคนอนาถา ก็มิได้เป็นอุปสรรคแก่การจับจ่ายอริยทรัพย์ ของผู้มีศรัทธาปัญญา ฉะนั้นอริยทรัพย์จึงเป็นของมีคุณค่าเหนือกว่าทรัพย์ทั้งปวง (อัตตโนประวัติฯ)

50. บุญกุศลที่สร้างสมถึงที่แล้วมันจะหมดเรื่อง ไม่มีอะไรอีก และไม่เอาไปด้วย บาปก็ไม่เอา บุญก็ไม่เอา ผู้ที่ยังเอาอยู่จึงได้บุญได้บาป เป็นภพเป็นชาติขึ้น ผู้ทอดธุระแล้ว ไม่มีบุญและบาปแล้ว จึงได้เรียกว่า โลกุตระ เหนือโลก (ธรรมเทศนาเรื่องจิตที่ควรข่ม-ควรข่มขี่-ควรละ)


68
บทความในตอนนี้ขอเรียนให้ทราบก่อนว่า ไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้ในพระราชหัตถเลขา หรือพระราชนิพนธ์ "ไกลบ้าน" แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องเล่าสืบทอดกันมาจากบรรดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จ และปู่ย่า ตาทวดละแวกวัดโคนอน เขตภาษีเจริญ ที่ได้รู้ได้เห็นได้ประสบเหตุการณ์ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เข้านมัสการ "หลวงปู่เอี่ยม" เจ้าอาวาสวัดโคนอนในสมัยนั้น เพื่อขอรับการพยากรณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าในการเสด็จประพาสยุโรป จริง เท็จ ประการใด เชื่อได้หรือไม่ ? ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของท่านผู้อ่านก็แล้วกันนะครับ

ขอเริ่มเรื่องที่ "หลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอน" หรือ "เจ้าคุณเฒ่า วัดหนัง"ที่หลายท่านโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวงการพระเครื่อง รู้จักกันดี เหรียญรูปเหมือนของท่านทั้งสองรุ่นที่ทันท่านปลุกเสก ค่านิยมในการบูชาอยู่ในหลักแสนมานานนับสิบปีแล้ว เหตุที่มีชื่อเรียกอีกนามหนึ่งนั้น เพราะภายหลังท่านได้มาปกครองวัดหนัง ภาษีเจริญ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระภาวนาโกศล" ก็คงจะเป็นด้วยคุณงามความดีของท่านที่ถวายคำพยากรณ์ โดยที่ผลของคำพยากรณ์ออกมาเป็นจริง ทำให้ไทยเราไม่ต้องสูญเสียองค์พระปิยมหาราช ในขณะที่เสด็จรอนแรมอยู่กลางทะเล มหาสมุทร และแผนอันชั่วร้ายของ "เศษฝรั่ง" ที่คิดปลงพระชนม์ชีพพระองค์อย่างแยบยล ชนิดที่ชาวโลกไม่กล้าตำหนิ

หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง บางขุนเทียน

หลวงปู่เอี่ยมนั้น ท่านเป็นศิษย์เอกของ "พระภาวนาโกศล (รอด) " อดีตเจ้าอาวาสวัดนางนอง วรวิหาร พระอารามหลวงชั้นตรีพระวิปัสนาจารย์ที่เก่งกล้าในด้านพุทธาคม มีตบะเดชะที่กล้าแข็ง สำเร็จวิชาแปดประการมีหูทิพย์ ตาทิพย์ ล่วงรู้จิตใจคน รู้อดีต รู้อนาคต แสดงฤทธิ์ได้ ฯลฯ หลวงปู่รอดนี้ ต่อมาภายหลังท่านได้ถูกฝ่ายอาณาจักร และศาสนจักร ลงโทษด้วยการปลดออกจากตำแหน่ง ริบสมณศักดิ์คืนเพราะท่านไม่ยอมถวายอดิเรกแด่ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๔ ในคราวเสด็จถวายผ้าพระกฐิน อาจจะเป็นเพราะความคิดที่ไม่เห็นด้วย ในการที่ล้นเกล้า ฯรัชกาลที่ ๔ ตั้ง "ธรรมยุติกนิกาย" ขึ้นมา ทำให้สงฆ์ต้องแตกแยกกันนั่นเอง ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ผู้ใดไม่เห็นด้วย ก็ไม่ควรเป็น "พระราชาคณะ" อีกต่อไป เพราะคำว่า "ราชาคณะ" นั้น แปลว่า "พวกของพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระราชา"

เมื่อหลวงปู่รอดถูกถอดจากสมณศักดิ์แล้ว ก็ออกจากวัดนางนอง กลับไปยังวัดบ้านเกิดที่ห่างไกลจากความเจริญ คือ "วัดโคนอน"ด้วยความกตํญญูรู้คุณแด่องค์พระอาจารย์ หลวงปู่เอี่ยม ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียง "พระปลัดเอี่ยม"ก็อ้อนวอนขอติดตามองค์อาจารย์ ไปปรนนิบัติรับใช้ ท่านไปไหนก็ไปด้วย เรียกว่าเห็นใจในยามทุกข์ ก็คงจะไม่ผิด แสดงให้เห็นถึงความไม่ยึดติดในลาภสักการะ ถิ่นที่อยู่ที่เจริญด้วยอาหารบิณฑบาตร และปัจจัยในองค์หลวงปู่เอี่ยม นอกเหนือไปจากความกตํญญูกตเวที ที่ปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ จวบจนวาระสุดท้าย

หลวงปู่เอี่ยมนั้นเป็น "ศิษย์มีครู " ดังนั้น จึงถอดแบบอย่างมาจากองค์หลวงปู่รอดแทบจะเป็นพิมพ์เดียวกัน หลวงปู่รอดเก่งอย่างไร หลวงปู่อี่ยมก็เก่งอย่างนั้น จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ท่านจะมีศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือมากมาย ทั้งที่วัดอยู่ในถิ่นห่างไกลความเจริญ การเดินทางไปมาหาสู่ไม่สะดวก แม้แต่พระเจ้าน้องยาเธอ "กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์" เจ้ากรมพระนครบาล (มหาดไทยในปัจจุบัน) ยังน้อมตัวเป็นศิษย์ และท่านผู้นี้แหละ ที่ถวายคำแนะนำและทูลเชิญเสด็จล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ให้เสด็จมาขอรับคำพยากรณ์จากหลวงปู่เอี่ยม ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป

ในการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น ไม่ได้เป็นการเสด็จเพื่อแสวงหาความสำราญแต่อย่างใด แต่เป็นการเสด็จเพื่อดำเนินพระราชวิเทโศบาย ด้านการต่างประเทศอย่างชาญฉลาด เป็นการเสด็จเพื่อเจริญพระราชไมตรีกับราชวงศ์ต่าง ๆ ของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซียและเยอรมัน ซึ่งเป็นศัตรูคู่แค้นของอังกฤษ และฝรั่งเศส ด้วยหลักการที่ว่า "ศัตรูของเพื่อนก็คือศัตรูของเรา" เมื่อผูกสัมพันธ์กับรัสเซีย เยอรมัน และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ได้แล้ว อังกฤษ และฝรั่งเศสก็จะไม่กล้ารุกราน หรือยึดเอาประเทศไทยเป็น "อาณานิคม" อีกต่อไป ซึ่งส่งผลทำให้ไทยเราดำรงความเป็นเอกราชมาจนทุกวันนี้

การเสด็จประพาสยุโรปในสมัยนั้น ทำได้ทางเดียว คือ "ทางเรือ" ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางแรมเดือน การออกทะเลหรือมหาสมุทรนั้น แม้ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาการเดินเรือ มีเรือที่มั่นคงแข็งแรง ประสิทธิภาพสูง มีการติดต่อสื่อสารที่ทันท่วงที ก็ยังไม่วายจะ "อับปาง" เลยครับ หากออกเดินทางในช่วงมรสุม หรือ "สุ่มสี่สุ่มห้า" ล่ะก็ เป็นเสร็จทุกราย คนโบราณจึงสอนเอาไว้ว่า "อย่าไว้ใจทะเลคืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล มีภยันตรายรอบด้าน ทุกเวลานาที" ท่านผู้อ่านลองหลับตาวาดภาพการเดินเรือในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีล่วงมาแล้วซิครับ ว่ายากลำบาก และมีอันตรายเพียงใด แต่ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ท่านก็ทรงเสด็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย เป็นการเสียสละพระองค์อย่างสูงสุด ที่ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกจะทำได้ ตอนหน้าจะได้กล่าวถึงคำพยากรณ์และการแก้ไขเหตุร้ายแรงที่ประสบตามคำพยากรณ์ เป็นเรื่องของความเชื่อถือในคุณพระ และคาถาอาคม หากท่านเห็นว่า "ไม่ไร้สาระ" จนเกินไป

เมื่อล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ ได้รับคำแนะนำจากพระเจ้าน้องยาเธอ "กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์"ให้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เข้านมัสการ "หลวงปู่เอี่ยม" วัดโคนอน เพื่อขอรับคำพยากรณ์ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น ภายหลังที่กำหนดการเสด็จวัดโคนอนได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นการส่วนพระองค์เรียบร้อยแล้ว ก็ได้ส่งหมายกำหนดการไปถวายแด่หลวงปู่เอี่ยม เป็นการภายใน เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับเสด็จ

ขบวนเสด็จประกอบด้วย เรือพายสี่แจวที่ทรงประทับ และขบวนเรือคุ้มกัน ควบคุมโดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ ได้เคลื่อนที่เข้าคลองลัดสู่วัดโคนอน ชาวบ้านละแวกนั้นไม่ได้ไหวตัวหรือเอะใจแต่อย่างใด เพราะเห็นเป็นขบวนเรือธรรมดา มิได้ประดับประดาธงทิวให้แปลกไปกว่าเรือลำอื่นดูเหมือนกับเรือที่ขุนนางหรือเศรษฐีผู้มีทรัพย์ใช้กันทั่วไป และผู้ที่ขึ้นมาจากเรือสี่แจวต่างก็แต่งกายแบบธรรมดา มีหมวกสวมไว้บนศีรษะ ใบหน้าบ่งบอกถึงเป็นผู้มีบุญ หนวดบอกถึงผู้มีอำนาจดวงตาฉายแววแห่งความเมตตาปราณีตลอดเวลา เวลาเดินมีคนล้อมหน้าล้อมหลัง ทุกคนไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า "บุรุษผู้ขึ้นมาจากเรือสี่แจวนั้น คือ เจ้าชีวิตแห่งกรุงสยาม พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า ผู้ทรงประกาศเลิกทาสโดยสิ้นเชิง"

พระปลัดเอี่ยมนั่งรออยู่บนอาสนะอันสมควรแก่ฐานานุรูป ภายในพระอุโบสถอันแคบ แบบวัดราษฏรในเขตอันไกลจากพระบรมมหาราชวัง กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ก้าวนำเสด็จเข้ามาภายในพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงจุดธูปเทียนบูชาสักการะพระประธาน กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงเสด็จกลับมาถวายนมัสการพระปลัดเอี่ยม ซึ่งกราบทูลให้ทรงประทับนั่งธรรมดาตามสบายพระองค์

"ที่รูปมาในวันนี้ ("รูป" เป็นคำที่พระมหากษัตริย์สมัยก่อนใช้แทนพระนามเมื่อมีพระราชดำรัสกับพระสงฆ์) เพื่อขอให้ท่านปลัดได้ช่วยตรวจดูเหตุการณ์ว่า การที่รูปจะเสด็จไปยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักในยุโรปนั้น จักเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยหนทางไกลและอันตรายมีอยู่รอบด้าน"

"มหาบพิตร อาตมาจักตรวจสอบให้ อย่าได้ทรงมีพระหทัยกังวล ทั้งนี้ด้วยพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพแบบพระองค์นั้น มีบุญญาธิการ สามารถผ่านพ้นความทุกข์ได้อย่างมั่นคง"

พระปลัดเอี่ยมลุกจากที่นั่งไปคุกเข่าลงหน้าพระประธาน ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ระลึกถึงองค์พระรัตนตรัย และหลวงปู่รอดผู้มรณภาพไปแล้ว ขอบารมีในการจะเข้า "ฌาน" เพื่อดูอนาคตด้วย"อนาคตังสญาณ" จากนั้นก็กลับเข้ามาสู่ท่านั่งสมาธิตัวตรง เจริญอานาปานสติ แล้วเข้าสู่ฌานที่ ๔ ตามลำดับ จากนั้นเข้าสู่อนาคตังสญาณ โดยกำหนดจิตไว้มั่นเพื่อให้นิมิตเกิด

ในท่ามกลางความคะนองของท้องทะเล และคลื่นลมตลอดจนวังวนของทะเล เรือพระที่นั่งกำลังอยู่ในปากแห่งวังวนนั้น น้ำในวังวนเชี่ยวกราก และส่งแรงดูดมหาศาล ภายใต้วังวนนั้น ซากเรือใหญ่น้อยจมอยู่เป็นอันมาก พ้นจากทะเลมาสู่บก พลันภาพของกลุ่มคนที่นั่งกันอยู่เป็นชั้น ๆ ส่งเสียงจ้อกแจัก ด้านล่างเป็นผืนหญ้า และมีผู้จูงม้าเข้ามาในที่นั้น ม้าตัวนั้นมีคนถือเชือกที่ล่ามขาทั้งสี่คอยดึงไว้ไม่ให้พยศ ดวงตาของมันเหลือกโปน น้ำลายฟูมปาก

ภาพของฝรั่งแต่งตัวด้วยเครื่องแบบประหลาด ผายมือให้พระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราชเจ้าทรงเสด็จไปรับม้าเพื่อประทับ แล้วทุกอย่างก็ดับวูบหายไป ถึงวาระที่ออกจากญาณพอดีลุกขึ้นเดินมานั่งบนอาสนะที่เดิม ก่อนจะกราบทูลความถวายว่า

"มหาบพิตร การเสด็จพระราชดำเนินสู่ยุโรปครั้งนี้ จะต้องประสบภัยสองครั้ง ครั้งแรกในทะเลที่วังวน อาตมาจะถวายผ้ายันต์พิเศษและคาถากำกับ เมื่อเข้าที่คับขันขอให้ทรงเสด็จไปยืนที่หัวเรือ แล้วภาวนาคาถากำกับผ้ายันต์แล้วโบกผ้านั้น จะเกิดลมมหาวาตะพัดให้เรือหลุดจากการเข้าสู่วังวนได้

ภัยครั้งที่สองเกิดจากสัตว์จตุบท (สี่เท้า) คืออัศดรชาติอันดุร้ายที่ฝ่ายตรงข้ามจะทดลองพระองค์อาตมาจะถวายคาถาพิเศษสำหรับภาวนาเวลาถอนหญ้าให้อัศดรอันดุร้ายนั้นกิน จะคลายพยศและสามารถประทับบังคับให้ทำตามพระราชหฤทัยได้เหมือนม้าเชื่อง" ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เล่าลือกันมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง ปู่ย่าตายายได้เล่าสืบทอดกันมาอันมีส่วนหนึ่งเกี่ยวพันกับพระบรมรูปทรงม้าที่ลานพระราชวังดุสิต

คาถาเสกหญ้าให้ม้ากินที่หลวงปู่เอี่ยมถวายนั้น คือ "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย" หรือ "มงกุฎพระพุทธเจ้า" มีตัวคาถาว่า "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ "

หลังจากได้ทรงมีพระราชดำรัสกับพระปลัดเอี่ยมพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็ทรงถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระปลัดเอี่ยม จากนั้นได้เสด็จทอดพระเนตรโดยรอบวัดโคนอน ซึ่งตอนนี้มีผู้จดจำพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าได้แม่นยำ ได้บอกกันออกไป ทำให้มีผู้มาหมอบเฝ้ารับเสด็จกันเป็นจำนวนพอสมควร ครั้นทรงสำราญพระอิริยาบถพอสมควรแล้ว ก็เสด็จกลับสู่พระบรมมหาราชวัง เพื่อเตรียมพระองค์ไปทวีปยุโรปต่อไป

การเสด็จประพาสยุโรปในครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖) ได้ทรงเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดียิ่ง ในส่วนที่เป็นกิจการภายในประเทศ ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อหน้ามหาสมาคม จากนั้นได้ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้ามหาสมาคมซึ่งประกอบไปด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เหล่าเสนามหาอำมาตย์ ข้าราชบริพาร และพระราชาคณะอันมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู กทม. มีใจความสำคัญ ดังนี้

๑. จักไม่เปลี่ยนแปลงจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาอื่น

๒. จักเสวยน้ำจัณฑ์ (เหล้า) ต่อเมื่อไม่เป็นการผิดพระราชประเพณีต่อฝ่ายที่จะกระชับสัมพันธไมตรี และจะเสวยเพียงเพื่อไมตรีไม่ให้เสียพระเกียรติยศ

๓. จะไม่ล่วงประเวณีต่อสตรีไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ตลอดเวลาที่พ้นออกไปจากพระราชอาณาเขตสยาม

ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อความสำราญส่วนพระองค์ แต่ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อประเทศชาติโดยแท้ จากจดหมายเหตุและพระราชหัตถเลขา ที่ทรงมีมายังพระพันปีหลวงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ทรงบอกชัดเจนว่า


ทรงต้องผจญภัยในท้องทะเล กับคลื่นลมที่แปรปรวน ทรงพบกับความลำบากนานาประการอาทิ ต้องทรงงดเสวยพระโอสถหมากและพระโอสถมวน (หมาก พลู บุหรี่) และต้องให้ช่างมาขูดคราบพระทนต์ (ฟัน) ที่เกิดจากคราบหมากคราบปูนออกเพื่อให้พระทนต์ขาว ห้องพระบรรทมในเรือพระที่นั่งก็ไม่สะดวกสบาย อากาศร้อนเป็นที่สุด การเสวยก็ไม่เป็นไปตามที่ทรงพระประสงค์ ฯลฯ ซึ่งความยากลำบากเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาแรมเดือน ในช่วงที่ต้องใช้ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางเสด็จและในช่วงที่เสด็จรอนแรมในท้องทะเลนั่นเอง คำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ของหลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอนก็เป็นจริง

เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นอยู่ในบริเวณใกล้กับ สะดือทะเล หรือ "ซากัสโซ ซี" อันบริเวณนั้นมักจะเกิดน้ำวนเป็นประจำ และเรือลำใดบังเอิญหลงเข้าไปในวังน้ำวนนั้น ก็มีหวังจมลงอับปางเป็นแน่แท้ และแล้วเรือพระที่นั่งมหาจักรี ก็พลัดเข้าไปในวังวนนั้นจนได้

กัปต้นคัมมิง (Commander Cumming) แห่งราชนาวีอังกฤษซึ่งไทยได้ขอยืมตัวมาเป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งเป็นการชั่วคราว ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มสติกำลังความสามารถ บังคับเรือให้สู้กับแรงหมุนและดูดอย่างเต็มที่ ด้วยหากเรือพระที่นั่งเข้าปากวังวนแล้ว การรอดออกมานั้นหมดหนทาง

ในขณะที่วิกฤตินั้น ได้มีผู้เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อระลึกถึงคำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมข้อแรกขึ้นมาได้ ก็ทรงจัดฉลองพระองค์ให้รัดกุม อาราธนาผ้ายันต์ของพระปลัดเอี่ยมติดมาด้วย เมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือ กัปตันกำลังแก้ไขสถานการณ์สุดกำลัง ทรงไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน แต่เสด็จไปยืนอธิษฐานจิตถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราช และบารมีทศพิธราชธรรม และการเลิกทาสที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการช่วยเหลือพสกนิกรให้พ้นจากการเป็นทาส จบลงด้วยพระปลัดเอี่ยมและผ้ายันต์ ทรงโบกผ้ายันต์นั้นไปมาด้วยความมั่นพระราชหฤทัย แล้วปาฎิหาริย์ก็ปรากฎ เหตุการณ์ก็แปรเปลี่ยน จู่ ๆ ก็เกิดลมมหาวาตะพัดมาในทิศทางที่อยู่ในแนวเดียวกับวังวน แรงลมทำให้เกิดกระแสคลื่นสะกัดกระแสวนของวังน้ำ ดันเรือพระที่นั่งให้พ้นจากแรงดูดสามารถตั้งเข็มเข้าสู่เส้นทางได้ ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนว่า "ฮูเรย์" ของกัปตันและลูกเรือ

ส่วนผู้ติดตามเสด็จนั้นอ้าปากค้างทำอะไรไม่ถูก จนทรงพับผ้ายันต์เก็บแล้วนั่นแหละ จึงค่อย ๆร้องว่า สาธุ สาธุ คำพยากรณ์ข้อแรกเป็นที่ประจักษ์แก่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า "แม่นยำยิ่งนัก" คงเหลือแต่คำพยากรณ์ข้อที่สองซึ่งยังมาไม่ถึง แต่ก็ทรงเตรียมพระองค์รับสถานการณ์หากจะเกิดขึ้น

เส้นทางเสด็จพระราชดำเนินนั้น มีช่วงที่รอนแรมในมหาสมุทรอินเดียยาวนานถึง ๑๕ วัน ๑๕คืน คือเส้นทางระหว่างเมืองกอล (Galle) ประเทศศรีลังกา ไปยังเมืองเอเดน (Aden) เมืองท่าปากทางเข้าสู่ทะเลแดงของประเทศเยเมน ช่วงนี้แหละที่น่าจะเป็นช่วงอันตรายที่สุดและลำบากที่สุด เหตุการณ์ตามคำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ข้างต้น คงเกิดในช่วงเส้นทางนี้ คือระหว่างวันที่ ๒๓ เมษายน ถึง ๖ พฤษภาคมพ.ศ. ๒๔๔๐ (ขอย้ำอีกครั้ง เป็นเรื่องเล่า ไม่ได้มีบันทึกไว้ในพระราชหัตถเลขา - เล็ก พลูโต)

ขอรวบรัดตัดตอนเส้นทางเสด็จ ไม่ขอนำความมากล่าวโดยละเอียด ณ ที่นี้ เมื่อพระองค์เสด็จถึงประเทศฝรั่งเศส ประธานาธิบดี เฟลิกซ์ ฟอร์ ได้ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ แม้จะไม่เต็มใจนัก แต่แรกไม่คิดจะต้อนรับขับสู้อย่างดีหรอกครับ แต่สืบข่าวดูแล้ว ทุกประเทศที่พระองค์เสด็จผ่านมาก่อนหน้าที่จะเข้าฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นสวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรีย ฮังการี รัสเซีย เดนมาร์ก อังกฤษเบลเยี่ยม เยอรมัน ต่างก็ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ โดยเฉพาะรัสเซีย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสทรงยกย่องนับถือเสมือนหนึ่งพระอนุชาร่วมอุทรของพระองค์เอง มีการฉายภาพพระบรมฉายาลักษณ์คู่กัน เผยแพร่ไปทั่วยุโรป แล้วอย่างนี้ "เจ้าเศษฝรั่ง" จะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนได้อย่างไร

ในช่วงที่ทรงพำนักในกรุงปารีส ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๑ กันยายน ถึง ๑๗ กันยายน ๒๔๔๐นี่เอง ที่พระองค์ได้ประสบกับความแม่นยำในอนาคตังสญาณของพระปลัดเอี่ยม ข้อที่ ๒ หากไม่ได้เตรียมการ หรือเตรียมพระองค์ล่วงหน้าแล้ว มีหวังที่จะต้องเอาพระชนม์ชีพไปทิ้งเสียที่นี่กระมัง เหตุการณ์จะเป็นอย่างไร ติดตามอ่านกันไดใน้ฉบับหน้านะครับ

โบราณว่าไว้ "หากไม่เข้าถ้ำเสือ แล้วจะได้ลูกเสืออย่างไร ? " เป็นบทท้าทายคำพิสูจน์ให้เห็นเด่นชัดตอนที่ล้นเกล้า ร.๕ พระปิยมหาราชเสด็จพระราชดำเนินเหยียบดินแดนของผู้ที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นศัตรู ที่ร้ายกาจ หวังจะครอบครองแผ่นดินไทยให้ได้ทั้งหมด แม้จะได้เป็นบางส่วนแล้วก็ตามก็หาเป็นที่พอใจไม่

ในช่วงที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปครั้งแรก เมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) นั้น สยามประเทศของเรายังคงมีกรณีพิพาทต่อกันในเรื่อง "สิทธิสภาพนอกอาณาเขต" กล่าวคือเราต้องยอมให้อังกฤษและฝรั่งเศสตั้งศาลกงสุลของตนในดินแดนไทย สำหรับตัดสินคดีความต่าง ๆ เมื่อคนของเขา หรือคนใดก็ตามแม้แต่คนไทยหัวใสบางคนที่ยอมตนจดทะเบียนเป็นคนในบังคับ (คล้าย ๆ กับการโอนสัญชาติ แต่ไม่ใช่ เพราะยังไม่มีสิทธิที่จะพำนักในประเทศของเขา ) ซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อย เพราะเวลาทำผิดแล้วไม่ต้องขึ้นศาลไทย ไม่ใช้กฎหมายไทยตัดสิน คนไทยเองก็เถอะ หากทำความผิดต่อคนของเขาแล้ว ต้องขึ้นศาลเขาและต้องยอมเขาทุกอย่าง แม้ศาลไทยจะตัดสินว่า "ถูก" หากเขาเห็นว่า "ผิด" คนผู้นั้นก็ต้องถูกลงอาญา ซึ่งเป็นหนามยอกอกของคนไทยในสมัยนั้นมาก ต้องยอมให้คนต่างชาติต่างแดนมากดหัวเรา มาเอาเปรียบเรา ป็นการยั่วยุให้เราหมดความอดทน หากก่อสงคราม ก็มีหวังสูญเสียเอกราชของชาติแน่นอน

กรณี "พระยอดแมืองขวาง" แขวงเมืองคำเกิดคำมวน วีรบุรุษไทยที่รักผืนแผ่นดินไทย รักในองค์พระมหากษัตริย์ไทย ได้ดับความอหังการ์ของทหารฝรั่งเศส ที่บุกรุกอธิปไตยของไทยที่เมืองขวาง จนต้องถูกจำคุกเสียหลายปี แม้ศาลไทยจะให้ปล่อยตัวเพราะเป็นการทำตามหน้าที่ แต่ศาลกงสุลของฝรั่งเศสในไทยตัดสินให้จำคุก ท่านก็ต้องติดคุกเพื่อชาติ เรื่องนี้คนไทยทั้งแผ่นดินในขณะนั้น แค้นแทบจะกระอักเลือดเลยครับ เกือบจะทำสงครามกันรอมร่ออยู่แล้ว ดีแต่องค์พระปิยมหาราชเจ้า ท่านทรงดำเนินวิเทโศบายด้านต่างประเทศด้วยการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเสียก่อน แล้วพระองค์ก็ทรงทำสำเร็จเสียด้วย ผู้ที่แค้นแทบจะกระอักเลือดแทน ก็คงจะเป็น "เจ้าเศษฝรั่ง" น่ะเองซึ่งมันก็รอจังหวะและโอกาสที่จะล้างแค้นเหมือนกัน มันคิดว่า

"หากไม่มีล้นเกล้า ฯ ร.๕ เสียพระองค์หนึ่ง สยามประเทศเราก็เปรียบเสมือนมังกรที่ไร้หัว" ที่นี้คงมีโอกาสมากขึ้นหากจะฮุบประเทศชาติของเราไว้ในกำมือ และแล้วแผนการอันแยบยลก็อุบัติขึ้นเมื่อพระองค์เสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศส แม้เขาจะต้อนรับพระองค์อย่างสมพระเกียรติก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียงหน้าฉากเท่านั้น หลังฉากน่ะหรือ ? ได้กำหนดขึ้นเพื่อต้อนรับพระองค์ไว้เรียบร้อยแล้ว ในสนามแข่งม้าชานกรุงปารีสนั่นเอง เมื่อพระองค์ได้รับคำทูลเชิญให้เสด็จทอดพระเนตรการแข่งม้านัดสำคัญนัดหนึ่งซึ่งมีขุนนาง ข้าราชการ พระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศสมาชมกันมาก พวกมันได้นำเอาม้าดุร้ายและพยศอย่างร้ายกาจมาถวายให้ทรงประทับ โดยถือโอกาสขณะที่อยู่ท่ามกลางมหาสมาคม แม้รู้ว่าม้านั้นดุร้าย พระปิยมหราชเจ้าก็จะไม่ทรงหลีกหนี ด้วยขัตติยะมานะที่ทรงมีอยู่ในฐานะผู้นำประเทศ หากทรงพลาดพลั้งนั่นคือ "อุบัติเหตุ" ใครก็จะเอาผิดหรือต่อว่าเจ้าเศษฝรั่งไม่ได้

ม้าตัวนั้นเล่าลือกันว่า เคยโขกกัดผู้เลี้ยงดูและผู้หาญขึ้นไปขี่ตายมาแล้วหลายคน จะเอาไปไหนต้องมีคนจูงด้วยเชือกล่ามเท้าทั้งสี่ไว้ เพื่อป้องกันการพยศและขบกัดผู้คน นัยว่าเป็นม้าของเจ้าชายแห่งฝรั่งเศสพระองค์หนึ่ง เมื่อถูกนำเข้ามาในสนาม ทุกคนก็ส่งเสียงร้องด้วยความตกใจและหวาดกลัว ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสเริ่มวางหลุมพราง โดยกราบบังคมทูลว่า

"ไม่ทราบเกล้าว่าเมื่ออยู่ในสยามประเทศเคยทรงม้าหรือไม่ พระเจ้าข้า"

"แน่นอน ข้าพเจ้าเคยทรงอยู่เป็นประจำ เพราะในสยามประเทศก็มีม้าพันธุ์ดีอยู่มาก"

"โอ วิเศษ ขออัญเชิญพระองค์ทรงเสด็จขึ้นทรงม้า ตัวที่กำลังถูกจูงเข้ามานี้ให้ประจักษ์ชัดแก่สายตาของผู้คนในสนามม้านี้ด้วยเถิดพระเจ้าข้า"

ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสกราบทูลด้วยความกระหยิ่มใจ

"แน่นอน ข้าพเจ้าจะแสดงให้ท่านทั้งหลายได้ดูว่า กษัตริย์แห่งสยามประเทศนั้นไม่เคยหวาดหวั่นกลัวแม้แต่อัสดรที่พยศดุร้าย หรือผู้คุกคามที่มีอาวุธพร้อมสรรพ "

จบพระราชดำรัสก็ทรงลุกขึ้นเปิดพระมาลาขึ้น รับการปรบมืออันกึกก้องสนามม้าแห่งนั้น แล้วเสด็จพระราชดำเนินลงจากอัฒจันทร์ สู่ลู่ด้านล่าง ซึ่งขณะนั้นม้ายืนส่งเสียงร้อง และเอากีบเท้าตะกุยจนหญ้าขาดกระจุยกระจาย

คำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมยังกึกก้องอยู่ในพระกรรณ ทรงก้มพระวรกายลงใช้พระหัตถ์ขวารวบยอดหญ้าแล้วดึงขึ้นมากำมือหนึ่ง ทรงตั้งจิตอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราชและพระปลัดเอี่ยม เจริญภาวนาพระคาถาอิติปิโสเรือนเตี้ยที่พระปลัดเอี่ยมถวายสามจบ ทรงเป่าลมจากพระโอษฐ์ลงไปบนกำหญ้านั้น แล้วแผ่เมตตาซ้ำ ยื่นส่งไปที่ปากม้า เจ้าสัตว์สี่เท้าผู้ดุร้ายสะบัดแผงคอส่งเสียงดังลั่นก่อนจะอ้าปากงับเอาหญ้าในพระหัตถ์ไปเคี้ยวกินแล้วก็กลืนลงไป

ผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสโบกผ้าเช็ดหน้า เป็นสัญญาณให้แก้เชือกที่ตรึงเท้าม้าออกไปพ้นทั้งสี่เท้าบัดนี้เจ้าสัตว์ร้ายพ้นจากพันธนาการ และบรรดาผู้ที่จูงมันเข้ามาก็ผละหนี เพราะเกรงกลัวในความดุร้ายของมัน พระปิยะมหาราชเจ้าทรงทอดสายพระเนตรจับจ้องอยู่ที่นัยน์ตาของม้านั้น ก็เห็นว่ามันมีแววตาอันเป็นปกติ มิได้เหลือกโปนดุร้าย ทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปตบที่ขาหน้าของมันสามครั้ง เจ้าม้านั้นก็ก้มหัวลงมาดมที่พระกรไม่แสดงอาการตื่น หญ้าเสกสำริดผลตามประสงค์

อาชา ที่ดุร้ายกลับเชื่องลงเหมือนม้าลากรถ เจ้าชีวิตแห่งสยามประเทศยกพระบาทขึ้นเหยียบโกลนข้างหนึ่งแล้วหยัดพระ วรกายขึ้นประทับบนอานม้าอย่างสง่างามไร้อาการต่อต้านของม้าที่เคยดุร้าย เสียงคนบนอัฒจันทร์ส่งเสียงตะโกนขึ้นเป็นเสียงเดียวกันว่า "บราโวส บราโวส" อันหมายถึงว่า "วิเศษที่สุด เก่งที่สุด ยอดที่สุด" ทรงกระตุ้นม้าให้ออกเดินเหยาะย่างไปโดยรอบสนาม ผ่านอัฒจันทร์ที่มีผู้คนคอยชม เปิดพระมาลารับเสียงตะโกนเฉลิมพระเกียรติบางคนก็โยนหมวก โดยมีดอกกุหลาบลงมาเกลื่อนสนามตลอดระยะทางที่ทรงเหยาะย่างม้าผ่านไปจนครบรอบ จึงเสด็จลงจากหลังม้ากลับขึ้นไปประทับบนพระที่นั่งตามเดิม

บรรดาพี่เลี้ยงม้าก็เข้ามาจูงม้านั้นออกไปจากสนาม คำพยากรณ์ข้อที่สองและคาถาที่พระปลัดเอี่ยมแห่งวัดโคนอนถวาย ได้สำริดผลประจักษ์แก่พระราชหฤทัย ทรงระลึกถึงพระปลัดเอี่ยมว่า เป็นผู้ที่จงรักภักดีโดยแท้จริง และได้ช่วยให้ทรงผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายมาถึงสองครั้งสองครา และทั้งหมดนี้คือจุดเล็ก ๆ ในเกร็ดพระราชประวัติ เป็นปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระราชวังดุสิต ที่เล่าขานกันต่อมาช้านาน และยังคงกึกก้องในโสตประสาทของปวงชนชาวไทยต่อไป ชั่วกาลปาวสาน

...................................................................................

ที่มา http://www.lekpluto.com/index01/special03.html

69
โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

1.รูปัปมาณิกา พระพุทธเจ้าทุกองค์ต้องมีรูปร่างหน้าตาสะสวย สมสัดสมส่วน มีอาการ 32 ครบถ้วน และมีลักษณะพิเศษเล็กๆ อีก 80 บริบูรณ์ทั้งหมด ฉะนั้นองค์สมเด็จพระบรมสุคตทุกองค์จึงมีรูปร่างหน้าตาทรวดทรงสวยสดงดงามเป็นพิเศษ ความสวยของพระองค์เป็นเหตุดึงใจของบุคคล ผู้จะรับธรรมสำหรับคนผู้ต้องการความสวย
2.ลูขัปปมาณิกา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์จะต้องมีจีวรเศร้าหมอง คือห่มผ้าไม่มีสีฉูดฉาดคล้ายๆกับผ้าเปื้อนโคลน ทั้งนี้ถ้าเผื่อว่ามีบุคคลเขาต้องการความเศร้าหมองก็จะเห็นว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นไม่ต้องการความสวยสดงดงามแต่ประการใด แต่งตัวแบบปอนๆเขาก็ชอบใจ
3.โฆสัปปมาณิกา พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์จะมีพระเสียงไพเราะมากเป็นที่จับใจของบุคคลผู้สดับ และก็
4.ธัมมัปปมาณิกา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมไพเราะเสนาะโสต เป็นที่ต้องใจของบุคคล และก็เวลาแสดงธรรมนั้นจะมีคนกี่ภาษาก็ตามเข้ามาฟังธรรม คนทุกคนจะมีความรู้สึกว่า ได้ยินพระพุทธเจ้าเทศน์ภาษาของตน และทุกคนจะเห็นว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ หันหน้าไปหาตนเหมือนกันหมด อันนี้เป็นพระปาฏิหาริย์
คุณสมบัติทั้ง ๔ประการนี้มีประจำพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

70
ชะตาชีวิต(อนาคต)ของคนเราหรือสิ่งของสถานที่ต่าง ๆ นั้นได้ถูกกำหนดไว้แล้วในอนาคตและเราก็ต้องเป็นไปตามนั้น หรือไม่fficeffice" />>>
> >
ผมติดอยู่กับคำถามนี้มานานเพราะมันมีส่วนจริงอยู่บ้าง เช่นคำทำนายต่างๆไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์บ้านเมือง ชะตาชีวิตของแต่ละคนที่ดูจากลายมือบ้างวันเดือนปีเกิดบ้าง อย่างผมนี่แม่เอาวันเดือนปีเกิดไปให้พ่อหมอดูว่าจะจบปริญญาหรือเปล่าโดยที่ผมไม่รู้ พ่อหมอว่าไม่จบ และแล้วก็เป็นจริงโดยที่ยังไม่ทันได้จ่ายเงินลงทะเบียนเลยแต่ตอนนั้นสอบเข้าได้แล้วน้ะ บวกกับตามน้ำไปกับเพื่อนๆก่อน จนสุดท้ายบอกแม่ว่า ไม่เรียนแล้ว สาเหตุคือ เบื่อ บวกกับเป็น ไมเกรน ผมไม่เสียใจเลยคิดว่าปริญญาตรีมันก็พอๆกับปริญญาใจนั้นแหละ 5555ฮือๆๆๆๆๆๆ>>
>>
ผมขอออกตัวก่อนว่าผมไม่รู้เรื่องดาราศาตร์โหราศาตร์แต่อย่างใด>>
ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตคล้ายหุ่นยนต์โดยที่ทำกิจวัตรประจำวันผ่านไปผ่านไป โดยที่มีวันเดือนปีเกิดของตนเองและอิทธิพลจากดวงดาวต่างๆเป็นตัวควบคุมหลักรวมไปถึงรูปร่างหน้าตาที่เรียกว่า โหงวเฮ้ง หรือชื่อของตัวเองที่มีส่วนส่งผลต่อนิสัยใจคอ สติปัญญา ที่ถูกล็อกค่าไว้แล้ว เช่น ลองสังเกตุคนที่มีหูยาวดูส่วนมากจะฉลาดได้เป็นเจ้าคนนายคน ส่วน นิสัยใจคอ สติปัญญา ที่เรียนรู้จากการเรียน หรือในสังคมรอบข้างเป็นของอย่างหยาบ นานๆลืมกันได้>>
> >
จากการที่ผมสนใจเรื่องลึกลับของอวกาศ เอเลี่ยน ยูเอฟโอ อะไรพวกนี้ จึงหาดูทางเน็ตแต่ไปๆมาๆ ก็มาจบที่พระพุทธศาสนา ตอนนี้ผมสนใจเรื่องการทำสมาธิ เข้าฌาน สมาธิหมุนอะไรทำนองนี้เคยอ่านมาว่าช่วยให้ลดอิทธิพลจากดวงดาวต่างๆ ตัวเองจะเป็นคนกำหนดชะตาชีวิต ทำให้เวรกรรม(พลังงานที่ติดมากับจิต ,,อันนี้ผมมั่วเอาเอง) หมดไปบ้าง>>
> >
แต่ก็นั่นล่ะไม่รู้ว่าชะตาชีวิต(อนาคต)ได้กำหนดให้ผมมาแนวนี้หรือเปล่าเหมือนที่คุณต้องมานั่งอ่าน ส่วนตอนที่ผมพิมพ์อยู่นี้เป็นอดีตไปแล้ว ถ้าสมมุติว่าสามารถรู้อนาคตได้แล้วเราลองฝืน มันจะเป็นยังไง ขนาดพุทธศาสนาที่มี>>
สมณโคดม เป็นศาสดา จะอยู่ได้5000ปี จากที่รู้มา จะต้องเป็นเช่นนี้แก้ไขอะไรไม่ได้จริงรึป่าว>>
> >
ส่วนใครที่พอรู้เรื่องแบบนี้ช่วยอธิบายหน่อย ไม่รู้ว่าจะมีเรื่อง ควอนตัมฟิสิกส์ มาเกี่ยวบ้างรึป่าว ? ไม่รู้ว่าผมคิดฟุ้งซ่านอะไรมากไปรึป่าว ช่วยตอบให้หายสงสัยด้วย สงสัยมากเดี๋ยวจะเหมือนหมอประกิตเผ่าเอา 55>>
ขอบคุณไว้ล่วงหน้าก่อนสำหรับความคิดเห็น

71
พระพุทธองค์...กล่าวว่า
" ตัวกระทำมีจริง ตัวกระทำไม่ตาย ตัวกระทำมีผลตอบแทน "

ประโยคนี้...เพียงประโยคเดียว....ครอบคลุมทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น ทั่วทั้งจักรวาล
เพราะ....ประโยคนี้ คือ "หลักเดียวที่สูงสุด" ... ปักไว้มั่นคง นิ่ง ไม่กระดุกกระดิก
นั่นคือ... "หลักสัจจะธรรม"
สิ่งที่มนุษย์มุ่งค้นหากัน
ซึ่ง พระพุทธเจ้าค้นพบมานานแล้ว ... แต่เมื่อถึงยุคปัจจุบัน กลับสูญหายไป
ไม่มีผู้ใดอธิบายได้ว่า "หลักสัจจะธรรม" คือ อะไร หมายถึงอะไร

ดังนั้น...ผลจากการกระทำ ที่เกิดขึ้นจาก "สัจจะ"...จึงเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ประมาณค่ามิได้ !!!
ผลที่เกิดขึ้น คือ "ตัวกระทำ"....ที่จะติดตัวไปกับจิตวิญญาณของเรา ตลอดไป
และ นี้คือ หนทางเดียวเท่านั้น...ที่จะช่วยให้ มนุษย์สามารถเดินทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ...เพื่อไปพบกับพระผู้เป็นเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดในจักรวาลได้

อย่า...มัวหลงการปฏิบัติที่ขัดกับ "หลักสัจจะธรรม" อยู่อีกเลย
เวลา...ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขอดีตที่ผิดพลาดได้
วันนี้...และวันต่อๆ ไป...ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท
ดำเนินชีวิตด้วย "สัจจะ"....กำหนดสิ่งที่ดี ตั้งใจทำ วันละข้อ วันละหนึ่งชั่วโมง

72
สงครามกำลังจะเกิด....การใช้อาวุธนิวเคลียร์ ใกล้จะเป็นจริง
หาก สารนี้กระจายไปทั่วโลก...จะสามารถช่วยหยุดยั้ง "สงครามนิวเคลียร์" ได้
ทุกข้อความของข้าพเจ้า....ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ที่จะเผยแพร่
เพราะ ทุกข้อความ...คือ ธรรมะ ความจริงที่มีประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
โลก ...กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น....
"หลักสัจจะธรรม" ปรากฏแล้ว
มนุษย์ จึงควรหยุด "การกระทำที่โหดร้าย" เข่นฆ่ากัน
ศาสนาต่างๆ กำลังจะรวมกันเป็นหนึ่ง....คือ ศาสนศาสตร์ของโลก
ที่มานำสัตว์...หมายถึง มนุษย์ให้หลุดพ้นจากความทุกข์....สู่สรวงสวรรค์ที่ทุกคน ทุกศาสนาปรารถนาไว้

ขอให้ผู้ที่รู้ตัว และ ผู้ที่เพิ่งเริ่มรู้สึกตัวว่าเป็น หน่อพุทธภูมิ โพธิสัตว์ มหาโพธิสัตว์...นำพา "หลักสัจจะธรรม" และ "การปฏิบัติสัจจะ" ออกสู่มวลมนุษย์ ต่อไป...เพื่อเป็นการสานต่อพระพุทธศาสนาในช่วงหลังกึ่งพุทธกาล ที่แก่นสารของศาสนาขาดหายไป

มนุษย์ ที่ยังอยู่ในศาสนาอื่นๆ ...กำลังรอคอย สารที่ข้าพระพุทธเจ้านำมา
จึงขอให้ช่วยกันอย่างเต็มกำลัง....อย่าให้เสียชาติที่มากำเหนิดในครั้งนี้...ทำให้เต็มที่
โปรดนำ....ธรรมจากข้าพระพุทธเจ้า ไปโปรดมนุษย์ต่อไป
กองทัพธรรม เริ่มก้าวออกเดินแล้ว...

73
ระวัง...มีสติ....อย่าหลงให้สิ่งไม่ดีเข้ามาอยู่ในจิตใจตัวเอง
ชาวมุสลิม อิสลาม...ไม่ใช่คนไม่ดี....ทุกคนเกิดมาล้วนเป็นคนดีทั้งนั้น
แต่มี "นิสัยสันดาน" ที่แตกต่างกันไป
คนที่ก่อการร้าย....เป็นคนที่หลงผิด ถูกหลอกใช้งาน...จากประเทศทุนใหญ่
เขาจะทำลายความสามัคคีคนไทย...ให้แบ่งพักแบ่งพวก
เมื่อคนไทยไม่รักกันเอง...เกลียดกันเอง...แบ่งฝักแบ่งฝ่าย
ความสามัคคีของคนไทย จะหมดไป....
เขาจะเริ่มนำกำลังมาจู่โจมทำลาย และ อ้างประวัติศาสตร์เก่าๆ เพื่อยึดครองได้ในที่สุด
ถึงตอนนั้น...ในหลวง ก็ลำบาก...ประชาชน ก็ลำบาก...พระ เณร ชี ก็ลำบากกันหมด
ประเทศใหญ่ที่หนุนหลัง...เขาได้เริ่มส่ง คนไทยที่รักชาติแต่ปาก คิดทรยศขายชาติ จำนวนมาก...เข้ามาแทรกแซงอยู่ในปัจจุบัน
คนไม่ดีมี ๒ พวกใหญ่ คือ พวกยุยงให้คนไทยเกลียดคนไทยด้วยกัน เห็นในทีวีในข่าวบ่อยๆและพวกมีแฝงเข้าทำงานใหญ่ๆ ที่ทำงานไปวันๆ เพื่อรอเวลาวันที่จะจุดชนวนระเบิดความรุนแรงในไทย ตามแผนที่เขาวางกันไว้

ตอนนี้ เราเหมือนปลวก...ตัวเล็ก ๆ ....อยู่ใต้บ้านโจรหลังใหญ่ จะไปสู้กับคนที่มีกำลังมากกว่าไม่ได้...สู้ด้วยปาก ...สู้ด้วยอารมณ์ ก็ไม่มีประโยชน์

เราต้องสู้ด้วย "หลักสัจจะธรรม"
สู้ด้วย "การกระทำ" ที่ดี...ปราศจากนิสัยสันดานไม่ดี
กองทัพธรรมของเรา...จะต้องสู้ด้วย "ตัวกระทำ" หมายถึง ผลการกระทำที่เป็นพลังงานที่ไม่ตาย ไม่สูญสลาย เป็น "พลังแห่งนิพพาน"
เราทุกคนที่คิดจะต่อสู้กับมาร พญามารทั้งปวง...จึงต้องสู้ด้วย "สัจจะ"

นี่คือ... "พรศักดิ์สิทธิ์ จาก โลกุตตระ และ พระไตรปิฎก"
อย่า...มัวแต่นั่งสมาธิ กษิณ....อย่ามัวแต่ ...หลง กาย ...หลงดิน หลงน้ำ หลงลม หลงไฟ...ถอดจิต ถอดใจ ถอยกายกันอยู่เลย !!!
ทุกวันนี้ เริ่มเข้ายุคพระศรีอารย์แล้ว...ฟ้าเปิดแล้ว...ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว
มิติต่าง ๆ จะเปิดออก...ใครมัวแต่หลงกาย หลงใจ หลงนิมิต...ระวังอันตราย !!!
สิ่งไม่ดี...จะแฝงเข้ามาในร่างกาย และจิตใจของพวกท่าน ที่ชอบฝึกกัน
ท่านจะสูญเสียสติ...ทำร้ายกันเอง...และทำร้ายตัวเองในที่สุด

ทุกครั้ง...ที่ท่านปฏิบัติใน "สัจจะ" ได้จริง....ให้ท่านอธิษฐาน ...ถึงในหลวงของเรา ว่า...
" ขอพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โปรดน้อมนำส่วนบุญกุศลนี้แผ่รอบคอบจักรวาล วิมานพรหม ยมโลก รอบคอบจักรวาลสันดานมนุษย์ อุทิศส่งให้คุณบิดามารดา ให้กับในหลวงพระมหากษัตริย์ไทยองค์ปัจจุบัน ให้กับผู้อุปการะ ผู้อุปถัมภ์ เจ้ากรรมนายเวรรอบคอบจักรวาล ข้าพระเจ้าปรารถนาขอบรรลุ มรรค ๔ ธรรม ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ "

หมดเวลาเล่นแล้ว...ถึงเวลาที่ต้องจริงจัง...กองทัพธรรม จะเริ่มเดินแล้ว
ขอดินฟ้าอากาศ เป็นพยาน ในการกระทำของข้าพระพุทธเจ้า


74
บทความ บทกวี / องค์โลกุตตระ คือ.
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 02:21:51 »
คือ พระไตรปิฎก.......เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
คือ ผู้ที่อยู่เหนือโลก.......เหนือ หลักสัจจะธรรม
คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด.......รอบคอบจักรวาล
คือ มนุษย์เหนือโลก??.เมื่อปรากฏเป็นมนุษย์ ทุกหนึ่งหมื่นปี
คือ บรมาจารย์.......สั่งสอน พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
คือ ผู้ที่นำพา.......ให้มนุษย์ผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้พบ หลักสัจจะธรรม
คือ ผู้ที่ส่งมอบ สัจจะ.......ให้กับ ผู้ที่ถูกกำหนดให้มีสติของพระพุทธเจ้าได้พิจารณา
คือ ผู้อยู่เหนือชะตาลิขิต.......จึงไม่มีมนุษย์ผู้ใดล่วงรู้ ในการมา
คือ ตัวอักษร.......หลังจากละสังขาร จากไป
คือ พระไตรปิฎก.......หลักธรรมของโลกุตตระ นำสัตว์ให้หลุดพ้น

75
บทความ บทกวี / พรโปรดผู้นำ
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 02:21:29 »
ควรเป็นธุระ เห็นใจเขาบ้าง
มี "เมตตา กรุณา"....
ให้ออกมาก ๆ...ไม่ใช่ออกน้อย


อย่าลิดรอน ผู้อื่น...
" ต้นไม้ ไม่ทันโต....ถูกคมมีดแล้ว "


ขอร้องให้มี... "เมตตา กรุณา"....ที่อยู่ในส่วนลึกสุด
อย่า...โกรธเขา
อย่า....อิจฉาเขา
อย่า...เอาเรื่องส่วนตัว ไปวิพากษ์วิจารณ์
อย่า....ทำตัวเป็นนักข่าว
ที่พูดนี้...ดูจากสภาพที่เป็นอยู่


" ขึ้นต้นไม้สูงสุดแล้ว จะไปรบกับใครที่ไหนอีก "
เมตตา กรุณา....ทำใจเห็นเขาบ้าง

76
หมายถึงว่า...เรื่องพื้นดิน นั้น.... แล้วก็แล้วไป
ประเทศต่างๆ อเมริกา รัสเซีย จีน อินเดีย อิหร่าน เกาหลี ญี่ปุ่น ไทย พม่า ลาว เขมร และ ประเทศอื่นๆ
ที่เคยครองสิทธิ ที่ดิน นานมาแล้ว...ก็แล้วไป


ทุกชนชาติ...ไม่ควรเอาท้องฟ้าเป็นสนามรบ
ให้เป็นโอกาสของดวงวิญญาณ ที่เขาจะมา


หากไม่เชื่อ...รบกันแล้ว
จะไม่มีใครเสีย....ใครสูญ
มันระส่ำระสาย
ไม่มีใครเสียหาย แต่ทำให้ปั่นป่วน


เวลานี้...แต่ละประเทศ
ถ้ากดปุ่มอาวุธนำวิถีเมื่อไหร่....มันจะเป็นไปทั้งหมด
มันจะเกิดความผิดพลาด...ไปหมด
แต่นี้...แน่นอนหรือไม่ ???
ของเหล่านี้จูนระบบ...นำร่องด้วย "แสง"
แต่ แสงหักเหได้
มันอาจหักเหได้...ไปตกประเทศอื่น
จะลุกลามใหญ่
หลายประเทศ จะเอาข้อมูลไม่เป็นเรื่องมาอ้าง


ดังนั้น...เรื่องภัยพิบัติโลกาวินาศ
จะเกิดขึ้น หรือ ไม่
ขึ้นอยู่กับ...ความคิด การตัดสินใจของผู้นำแต่ละประเทศ


หาก...มีประเทศหนึ่ง ประเทศใด
กดปุ่มยิงขีปนาวุธขึ้น
โลก...จะเปลี่ยนแปลง...อย่างฉับพลัน !!!!
จึงขอฝากไว้...ถึง ผู้มีอำนาจของแต่ละประเทศ

77
ถึง ผู้มีอำนาจทั้งหลายทั่วโลก


" เราขอประกาศไว้ว่า.......
สถานที่นี้ เอาหลักธรรมของ โลกุตตระ มานำสัตว์ให้หลุดพ้น
เพราะฉะนั้น ผู้มีอำนาจทั้งหลาย ขอให้ตั้งอยู่ในความสงบ
อย่าได้เอาท้องฟ้านี้ เป็นสนามรบ


ถ้าฝ่าฝืน ประเทศใดประเทศหนึ่งฝ่าฝืนโองการของ โลกุตตระ
.......ฟ้าจะต่ำลงมา "




วันศุกร์ 6  เมษายนพ.ศ.๒๕๕๐
ลูกผู้ชาย
ผู้บันทึก

78
***การปฏิบัติธรรม**** มีมากมายหลากหลายวิธี หลายอาจารย์ แต่สุดท้ายจะจบลงที่จิตใจตนเอง เพราะหลักของศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้านำมา มี ๓ ประการ คือ ๑.ไม่ใช่วัตถุ พิธีการ ๒.ไม่ใช้ความเห็น (ใช้ความจริง สัจจะธรรม) ๓.ปฏิบัติด้านจิตใจ ดังนั้น สถานที่ จึงไม่ใช่สิ่งสำคัญ พิธีการก็เช่นเดียวกัน ความสำคัญจึงอยู่ที่ "ใจตนเอง" ว่าจะตั้งใจทำสิ่งที่ดีอะไรบ้าง ให้กับตนเอง ในแต่ละวัน ซึ่งก็คือ "สัจจะ" สัญญากับใจตนเอง เมื่อเกิดการกระทำขึ้นมา สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกัน คือ "ตัวกระทำ" เป็นเหมือนถ่ายรูป ถ่ายภาพยนตร์ไว้ และเก็บในกระเป๋าใบหนึ่งของตนเองที่เราจะต้องแบกติดตัวไปตลอดชั่วกัปชั่วกัลป์ และผลของตัวกระทำนี้ก็จะต้องตอบแทนตัวเราในอนาคต สิ่งนี้ก็คือ "หลักสัจจะธรรม" ที่พระพุทธเจ้าค้นคว้าจนพบ และนำมาสอนถ่ายทอดให้กับสาวกที่เชื่อและศรัทธา จึงสรุปเป็นหลักสัจจะธรรมสั้นๆ ว่า "ตัวกระทำมีจริง ตัวกระทำไม่ตาย ตัวกระทำมีผลตอบแทน" จึงเป็นคำตอบของกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว พระองค์ท่านจึงมุ่งสอนให้ทุกคนเกิด "การกระทำใหม่" หมายถึง การกระทำที่เกิดจากการตั้งใจหยุดนิสัยที่ไม่ดีของตนเอง โดยตั้งใจทำให้ได้จริงในช่วงเวลากำหนดที่ชัดเจน เพราะจะเกิด "ตัวกระทำ" ขึ้นมา ซึ่งจะเกิดผลตอบแทนที่ดีอย่างแน่นอนในอนาคต ทั้งหมดนี้พระไตรปิฎกได้ "ย่อการปฏิบัติ" จนเหลือเพียง "สัจจะ" ซึ่งคือพื้นฐานของการปฏิบัติทั้งมวล ทุกศาสนา เพราะหัวข้อธรรม การให้ทำดี ละเว้นชั่วมีอย่างมากมาย แต่ถ้าไม่มี "สัจจะ" ก็จะไม่สำเร็จ หลอกคนอื่นได้ แต่หลอกตนเองไม่ได้ การปฏิบัติธรรมด้วย "สัจจะ" ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่อยู่คู่กับโลกมานานแล้ว เพียงแต่ปัจจุบันเวลาผ่านไปนานมาก แก่นสารสำคัญนี้ จึงถูกบดบังด้วยความเชื่อ ความเห็นต่างๆ มากมาย ให้สังเกตว่าพระที่ปฏิบัติได้จนบรรลุอรหันต์จะทราบเรื่องนี้ดี แต่ด้วยเป็นสิ่งที่ขัดกับคำสั่งสอนในตำราปัจจุบันอย่างมาก จึงไม่สามารถนำมาถ่ายทอดสอนใครได้ เพราะจะทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่สงฆ์ และประชาชนที่ศรัทธาในพุทธศาสนา แต่ที่ข้าพระพุทธเจ้านำมาบอกเพราะเห็นว่าใกล้ถึงเวลาที่ "หลักสัจจะธรรม" จะถูกเปิดเผยต่อชาวโลก และเห็นว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่สถานการณ์บ้านเมืองวิกฤติที่สุด และภัยพิบัติกึ่งพุทธกาลก็กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป หาก "หลักสัจจะธรรม" ถูกเปิดเผยโดยพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในโลก จะทำให้ "สัจจะ" ที่เป็นทางตรงในการปฏิบัติของการหลุดพ้น สามารถเข้าถึงจิตใจของคนไทยและชาวพุทธทั่วโลกได้ทันการณ์ ก่อนที่ "กรรม"ในใหญ่หลวงกำลังปรากฏขึ้นในอนาคต หากภารกิจที่ข้าพระพุทธเจ้ากำลังดำเนินการสามารถทำสำเร็จ จะทำให้ประเทศไทยเกิดปฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่ ชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์จะรอดพ้นภัยจาก "กรรม" ที่กระทำร่วมกันมาในอดีต อีกทั้งยังเป็นการบูรณะต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปในพุทธศาสนาให้สมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศรับรู้รับแจ้งในการกระทำครั้งนี้ของข้าพระพุทธเจ้าแล้ว เพียงแต่รอเวลาการตัดสินพระทัยของพระเจ้าแผ่นดิน ความสบายพระทัยจะเกิดขึ้นทันที ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า ลูกผู้ชาย

79
จะรู้ได้ด้วยการพิจารณา ถ้าไม่พิจารณาก็หาความรู้ไม่ได้เลย ถ้าพิจารณาน้อยก็มีความรู้น้อย ใครพิจารณาได้มากก็มีความรู้มาก"

ธรรมผ่านใจในวันนี้เป็นธรรมะเพียง สองคำที่ผ่านและกระทบใจหมอมานานแล้วตั้งแต่เด็ก เป็นธรรมะของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เมื่อกล่าวถึงท่าน หลายคนคงจะรู้จักในฐานะพระภิกษุผู้ปราบแม่นากพระโขนง บางท่านก็รู้จักท่านในนามของ ผู้สร้างจักรพรรดิพระเครื่องคือสมเด็จวัดระฆัง วัดบางขุนพรหม วัดเกศไชโย ซึ่งไม่สามารถจะหาใครมาเทียบเทียมได้ด้วยบารมีของผู้สร้างคือสมเด็จโต ที่เชื่อว่าเป็นท่านเป็นเชื้อพระวงศ์กษัตริย์ และยังเป็นพระอาจารย์ของในหลวงล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ของเราถึง 2 พระองค์ ท่านเป็นผู้ที่ทำให้พระคาถาชินบัญชร เป็นที่รู้จักทั่วไทย แต่ในความรู้สึกของหมอ ก็อยากให้ทุกคนรู้จักธรรมะที่มีค่าของท่านคือ "พิจารณา มหาพิจารณา" จากประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จากบันทึกพระยาทิพโกษามีดังนี้ครับ

ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช 1232 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลที่ 5 ที่บ้านสมเด็จพระยามหาสุริยวงศ์ ( ช่วง ) มีการประชุมนักปราชญ์ทุกชาติทุกภาษาเพื่อถกปัญหาธรรม สมเด็จเจ้าพระยาได้ให้คนไปอาราธนาท่านมาแสดงธรรมเผยแพร่ความรู้ในทางธรรมของสยามประเทศ เพื่อถกร่วมกับนักปราชญ์จากชาติและศาสนาอื่นๆ พอถึงวันกำหนด นักปราชญ์ทั้งหลายก็ขอให้นักปราชญ์ไทยแสดงธรรมก่อน สมเด็จได้รับอารธนาก่อนท่านแสดงธรรมเพียง สองคำคือ "พิจารณา มหาพิจารณา" ซ้ำๆซากๆอยู่ตลอดเป็นชั่วโมง เมื่อให้ขยายความท่านขยายว่า

"การของโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่ควรกระทำสำหรับข้างหน้าก็ดี กิจควรทำให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันแลข้างหน้าก็ดี เสร็จกิจดีงามได้ด้วยกิจพิจารณาเป็นชั้น พิจารณาเป็นเปราะๆเข้าไปตั้งแต่หยาบๆและกลางๆและชั้นสูงชั้นละเอียด พิจารณาให้ประณีตละเมียด เข้าถึงที่สุดแห่งเรื่องถึงที่สุดแห่งอาการถึงที่สุดแห่งกรณี ให้ถึงที่สุดแห่งวิธี ให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ยืดยาว พิจารณาให้รอบคอบ ทั่วถึงแล้วทุกๆคน จะรู้จักประโยชน์คุณเกื้อกูลตน ตลอดทั้งเมื่อนี้เมื่อหน้า จะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ ก็ต้องอาศัยการพิจารณาเลือกเฟ้นค้นหาของดีของจริงเด่นเห็นชัดประโยชน์แก่คนก็ด้วยการพิจารณาของคนนั่นเอง ถ้าคนใดสติปัญญาน้อยด้อยปัญญา พิจารณาเหตุผลเรื่องราวกิจการงานงานของโลกของธรรมแต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลางก็รู้เพียงชั้นกลาง ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้งในข้อนั้นๆอย่างสูงสุดไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะเห็นผลแก่ตนประจักษ์แท้แก่ตนดังปริยายมาทุกประการ"

ครั้นจบแล้วท่านลงจากบัลลังก์ก็ไม่มีนักปราชญ์ชาติอื่นๆภาษาอื่นมีแขกและฝรั่งเป็นต้น ก็ไม่อาจออกปากขัดคอคัดค้านได้ ได้แต่อัดอั้นกันไปหมด ต่างคนต่างแหยงแม้จะเตรียมข้อความมาก็จริง จะเอาโวหารของศาสดาตนมาแสดงก็ชักจะเก้อ เพราะไม่อาจจะเหนือคำพิจารณามหาพิจารณาของสมเด็จได้เลย ทุกคนเห็นจริงตามบรรยายของการพิจารณา ซึ่งรู้ได้ตามชั้นตามภูมิตามกาลตามบุคคลที่ยิ่งและหย่อนอ่อนและกล้าจะรู้ได้ด้วยการพิจารณา ถ้าไม่พิจารณาก็หาความรู้ไม่ได้เลย ถ้าพิจารณาน้อยก็มีความรู้น้อย ใครพิจารณาได้มากก็มีความรู้มาก จริงของสมเด็จทุกประการวันนั้นจึงเลิกประชุม ปราชญ์ต่างคนต่างลากลับ

ธรรมะล้ำค่าของสมเด็จกินใจอยู่ได้ในตนเอง ไม่ต้องการคำอธิบายใดอีกเพียงแต่ขอให้เรามีสติพิจารณาเหตุการณ์ในแต่ละเรื่องที่เราประสพและหมั่นพิจารณาเนืองๆไม่ประมาท ด้วยความสงบ พิจารณาให้ลึกซึ้งเรื่อยๆ ปัญญาในการแก้ปัญหาก็อยู่ในนั้นนั่นเอง ขอมอบธรรมอันล้ำค่าของสมเด็จไว้ในใจของทุกท่านนะครับ สวัสดีครับ

80
ความลับของจักรวาล ในพระไตรปิฏก

ความลับของจักรวาล ในพระไตรปิฏก


ขนาดของจักรวาล


จักรวาลอันหนึ่ง โดยยาวและโดยกว้าง ประมาณ ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร)
ส่วนโดยรอบปริมณฑลทั้งสิ้น (ของจักรวาลนั้น) ประมาณ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์


ขนาดหนาของแผ่นดิน ในจักรวาลนั้น
แผ่นดินนี้ กล่าวโดยความหนา มีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์


ขนาดหนาของน้ำรองแผ่นดิน สิ่งที่รองแผ่นดินนั้นหรือ
คือน้ำอันตั้งอยู่บนลม โดยความหนามีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์


ขนาดความหนาของลมรองน้ำ
ลมอัน (พัดดัน) ขึ้นฟ้า (โดยความหนา) มีประมาณ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ นี่เป็นความตั้งอยู่พร้อมมูลแห่งโลก


ขนาดภูเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) และต้นไม้ประจำทวีป
อนึ่ง ในจักรวาลที่ตั้งอยู่พร้อมมูลอย่างนี้นั้น มี
ภูเขาสิเนรุอันเป็นภูเขาสูงที่สุด หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไป (ในฟ้า) ก็ประมาณเท่ากันนั้น
ภูเขาใหญ่ทั้งหลาย คือภูเขายุคันธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวีกะ ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธระ
ภูเขาวินตกะ ภูเขาอัสสกัณณะ อันตระการไปด้วยรัตนะหลากๆ ราวกะภูเขาทิพย์ หยั่ง (ลึก) ลงไป
(ในมหาสมุทร) และสูงขึ้นไป (ในฟ้า) โดยประมาณกึ่งหนึ่งแต่ประมาณแห่งภูเขาสิเนรุไปตามลำดับ
ภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ นั้น (ตั้งอยู่) โดยรอบภูเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ (จาตุ)มหาราช เป็นที่ๆ เทวดา และยักษ์อาศัยอยู่


ภูเขาหิมวาสูง ๕๐๐ โยชน์ ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ (เท่ากัน) ประดับไปด้วยยอดถึง ๘๔,๐๐๐ ยอด
ต้นชมพู (หว้า) ชื่อนคะ วัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ ลำต้นสูง ๕๐ โยชน์ และกิ่ง (แต่ละกิ่ง)
ก็ยาว ๕๐ โยชน์ แผ่ออกไปวัดได้ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ และสูงขึ้นไปก็เท่ากันนั้น ด้วยอานุภาพของ
ต้นชมพู (นี้) ไรเล่า ทวีปนี้จึงถูกประกาศชื่อว่า ชมพูทวีป
ก็แลขนาดของต้นชมพูนี้ใด ขนาดนั้นนั่นแหละเป็นขนาดของต้นจิตรปาฏลี (แคฝอย) ของพวกอสูร
ต้นสิมพลี (งิ้ว) ของพวกครุฑ ต้นกทัมพะ (กระทุ่ม) ในอมรโคยานทวีป ต้นกัปปะในอุตตรกุรุทวีป
ต้นสิรีระ (ซึก) ในบุพพวิเทหทวีป ต้นปาริฉัตตกะ ในดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้นแล ท่านโบราณจารย์จึงกล่าวไว้ว่า
(ต้นไม้ประจำภพและทวีป คือ) ต้นปาฏลี ต้นสิมพลี ต้นชมพู ต้นปาริตฉัตตะของพวกเทวดา
ต้นกทัมพะ ต้นกัปปะ และต้นที่ ๗ คือ ต้นสิรีสะ ดังนี้




ขนาดภูเขาจักรวาล

ภูเขาจักรวาล หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๒,๐๐๐ โยชน์
สูงขึ้นไป (ในฟ้า) ก็เท่ากันนั้น
ภูเขาจักรวาลนี้ตั้งล้อมโลกธาตุทั้งสิ้นนั้นอยู่


ขนาดของภพและทวีป
ในโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ภพดาวดึงส์ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ภพอสูร มหานรกอเวจี และชมพูทวีปก็
เท่ากันนั้น อมรโคยานทวีป ๗,๐๐๐ โยชน์ บุพพวิเทหทวีปก็เท่านั้น อุตตรกุรุทวีป ๘,๐๐๐ โยชน์ อนึ่ง ในโลกธาตุนั้น
ทวีปใหญ่ๆ ทวีป ๑ ๆ มีทวีปน้อยเป็นบริวาร ทวีปละ ๕๐๐
สิ่งทั้งปวง (ที่กล่าวมานี้) นั้น (รวม) เป็นจักรวาล ๑ ชื่อว่า โลกธาตุอัน ๑ ๑ในระหว่างแห่งโลกธาตุ
ทั้งหลายมีโลกันตนรก (แห่งละ ๑)


๑. มหาฎีกาว่า จักรวาล ก็คือโลกธาตุ โลกธาตุได้ชื่อว่า จักรวาล ก็เพราะมีภูเขาจักรวาล ซึ่งสัณฐานดังกง
รถล้อมอยู่โดยรอบเท่านั้นเองไม่ใช่จักรวาลอัน ๑ โลกธาตุอัน ๑
๒. ท่านว่าจักรวาลหรือโลกธาตุนั้นมีมากนัก ช่องว่างในระหว่างจักรวาล ๓ จักรวาลต่อกัน มีโลกันตนรก ๑
ทุกแห่งไป โดยนัยนี้ คำว่า โลกันตนรก ก็แปลว่า นรกอันตั้งอยู่ในช่องระหว่างจักรวาล ๓ อันนั่นเอง



พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "จูฬนีสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๒๑๕ เล่ม ๒๐ ว่า
จักรวาล ประกอบด้วยดวงจันทร์ โลก ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจร ไปร่วมกัน
จะมีขุนเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) (เป็นภูเขาทิพย์ที่เห็นได้เฉพาะผู้มีอภิญญา) ทวีปต่างๆ ที่ตั้งชื่อกันในสมัย
นั้นคือ ชมพูทวีป อปรโคยานทวีป อุตรกุรุทวีป และปุพพวิเทหทวีป มหาสมุทรทั้ง ๔ (นับกันได้ในสมัยนั้น)
มีนรกขุมต่างๆ สวรรค์ชั้นต่างๆ และพรหมโลกชั้นต่างๆ
โลกธาตุ มี ๓ ขนาด คือ โลกธาตุอย่างเล็กมีจำนวนพันจักรวาล โลกธาตุอย่างกลางมีจำนวนล้านจักรวาล
โลกธาตุอย่างใหญ่มีจำนวน แสนโกฏิจักรวาล

ทั้งโลกธาตุอย่างเล็กก็ดี อย่างกลางก็ดี อย่างใหญ่ก็ดี ยังมีอีกจำนวนมากมาย
"ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับไปในที่สุด"
กำเนิดของโลกพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "อัคคัญญสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๖๑ เล่ม ๑๑ ว่า
เกิดมีน้ำขึ้นในห้วงอวกาศอันมืดมิดก่อนแล้วนานๆไปเกิดการรวมตัวงวดเข้าเป็นง้วนดิน แล้วพัฒนาเป็นกระบิดิน
ต่อไปเป็นเครือดิน จากนั้นมีต้นข้าวและพืชทั้งหลายเกิดขึ้น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หมู่ดาว
นรกขุมต่างๆ เทวโลก และพรหมโลกชั้นต่างๆ ก็เกิดขึ้นเอง

กำเนิดชีวิตพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า "เพราะมีความอยาก จึงมีการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลขึ้นมา
เมื่อไม่มีความอยากการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลก็ไม่มี"

กำเนิดชีวิตในจักรวาลอื่น ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่มี ?
และยังคงไม่มีใครสามารถสร้างเครื่องมือติดต่อค้นหาเพื่อตอบคำถามนี้ได้
แต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แน่นอนมากว่าสองพันปีแล้วว่า "มี"


นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า "ดวงอาทิตย์ มีเส้นผ่าศูยน์กลางประมาณ ๑,๔๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร
หรือโตกว่าโลกประมาณ ๑๐๙ เท่า มีน้ำหนักประมาณ ๒ x ๑,๐๓๐ กิโลกรัม (หรือ ๒๐ ตามด้วย ๐ จำนวน ๓๐ ตัว)
เนื้อตัวทั้งหมดของดวงอาทิตย์เป็นธาตุไฮโดรเจนซึ่งเป็นธาตุเบา เผาไหม้ตัวเองด้วยปฏิกิริยา
เทอร์โมนิวเคลียร์ จากภายในใจกลางออกมาไม่ใช่เผาไหม้เฉพาะพื้นผิว
สิ้นมวลของตัวเองวินาทีละ ๔ ล้านตัน เผาไหม้อย่างนี้มาแล้ว ๕,๕๐๐ ล้านปี
และจะเผาไหม้อย่างนี้ต่อไปอีก ๕,๕๐๐ ล้านปี" เมื่อเป็นเช่นนี้ลองคิดดูว่าวันหนึ่งมีกี่วินาที ?
ต่อให้ดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์นั้นใหญ่โตขนาดไหนก็ตาม น่าจะย่อยยับหมดสิ้นภายในวันเดียว
แต่ดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์นั้นก็ยังอยู่ยืนยาวมานานนับพันๆล้านปี โดยยังมีขนาดเท่าเดิม "
นี้คือความมหัศจรรย์ที่ยังคงเหนือการพิสูจน์



อีกอย่างหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนว่า "เวลาอันยาวนานในอนาคต
ดวงอาทิตย์จะขยายตัวบวมขึ้นจนมีขนาดโตถึงวงโคจรของโลก
แล้วกลืนกินโลกและดาวเคราะห์วงในทั้งหมด และเมื่อเวลายาวนานอีกต่อไป
ก็จะค่อยๆยุบตัวลงกลายเป็นดาวแคระ คือจะมีขนาดเล็กลงเท่าโลกแต่มีความร้อนจัด
ดาวฤกษ์บางดวงก็ยุบตัวลงเป็นดาวนิวตรอนที่มีขนาดเส้นผ่าศูยน์กลางเพียง ๒๕-๓๐
กิโลเมตร และดาวฤกษ์บางดวงก็ยุบตัวลงเป็นหลุมดำ"


พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ในอนาคตอันยาวไกลในสุริยะจักรวาล จะมีดวงอาทิตย์เกิดขึ้น
เองเพิ่มขึ้นทีละดวงๆ จนครบ ๗ ดวง แล้วเผาไหม้โลกและดาวเคราะห์บริวารทั้งหมด
นรกทุกขุม สวรรค์ทุกชั้น และพรหมโลกชั้นต่ำๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์ทั้ง ๗ ดวงนั้น
ก็พินาศไปด้วย แล้วก็จะมีแต่ความมืดมิดจนนานแสนนาน ก็ก่อตัวขึ้นมาใหม่อีก" (สุริยะสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๘๓)


นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย คือปุถุชนผู้ที่ยังมีกิเลสตัณหา ตั้งทฤษฎีมาจากการคาดคะเน
การนึกคิด การเดา การสันนิษฐาน การค้นคว้าทดลอง การสังเกตจดจำ
การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก แต่ทฤษฎีเหล่านั้นก็ยังไม่ตายตัว
พร้อมที่จะถูกลบล้างได้ตลอดเวลา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือบุคคลพิเศษ วิเศษ เป็นอัจฉริยะมนุษย์ เป็นบุคคลเอก
ที่ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นผู้สิ้นกิเลสตัณหา เป็นผู้มีญาณวิเศษรู้อดีต ปัจจุบัน
และอนาคต เป็นผู้ตรัสรู้ เป็นผู้รู้แจ้งโลก ดังนั้นพระสูตรหรือทฤษฎีต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว
จึงตายตัวไม่มีใครลบล้างได้



ลักษณะของจักรวาล คือ มีเขาสิเนรุเป็นแกนกลาง มี เขาสัตตบริภัณฑ์ คือ เขาล้อมรอบ ๗ ชั้น
ซึ่งมี สีทันดรมหาสมุทร คั่นอยู่ในระหว่าง ตั้งเป็นรูปร่างขึ้นไว้ก่อน ภูมิสวรรค์อยู่พ้นทวีปทั้งหลาย
ซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ เช่น ชมพูทวีปซึ่งมีอินเดียเป็นศูนย์กลาง จึงอยู่พ้นป่าหิมพานต์
พ้นภูเขาหิมวันตะหรือ หิมาลัย พ้นมหาสมุทรแห่งทวีปทั้งปวง แล้วถึงภูเขาสัตตบริภัณฑ์
ตั้งต้นแต่ภูเขาสุทัสสนะ จนถึงภูเขาอัสสกัณณะ จึงเป็นอันถึงสวรรค์ชั้นที่ ๑ เพราะยอดเขา
สัตตบริภัณฑ์เหล่านี้เองเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราช ๔ องค์กับบริวาร นับเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๑ เรียกว่า จาตุมหาราชิก


ท้าวมหาราช ๔ องค์นี้ แบ่งกันครอบครอง ดั่งนี้

๑)ด้านทิศตะวันออกของเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ ท้าวธตรัฏฐะ
มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร (ถัดออกไปเป็นปุพพวิเทหทวีป)

๒)ด้านทิศใต้เป็นที่อยู่ของ ท้าววิรุฬหก มีพวกกุมภัณฑ์เป็นบริวาร
(ถัดออกไปเป็นชมพูทวีป) พวกกุมภัณฑ์นี้ ท่านอธิบายว่าได้แก่ ทานพรากษส

๓)ด้านทิศตะวันตกของเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ ท้าววิรูปักข์ มีพวกนาคเป็นบริวาร (ออกไปเป็น อมรโคยานทวีป)

๔)ด้านทิศเหนือของเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ ท้าวกุเวร มีพวกยักษ์เป็นบริวาร (ถัดออกไปเป็นอุตตรกุรุทวีป)


ท้าวมหาราชที่ ๔ ครองอยู่ ๔ ทิศของเขาสิเนรุ มีกล่าวถึงใน อาฏานาฏิยสูตร
หน้าที่ของท้าวมหาราชที่ ๔ และบริวารตามที่ได้กล่าวไว้ คือเป็นผู้รับด่านหน้า
ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อป้องกันพวกอสูรซึ่งเป็นศัตรูของเทพชั้นดาวดึงส์จะ
ยกมาตีเอาถิ่นสวรรค์ชั้นนั้น แต่ใน สุตตันตปิฎก ติกนิบาต ได้มีแสดงหน้าที่ให้
เป็นผู้ตรวจ ซึ่งเป็นที่อยู่ของหมู่มนุษย์อีกด้วย แสดงเป็นพระพุทธภาษิตมีความว่า
ในวัน ๘ ค่ำแห่งอมาตย์บริษัทของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๔ ค่ำแห่งปักข์
บุตรทั้งของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๕ ค่ำแห่งปักษ์
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตรวจดูโลกเองว่าพวกมนุษย์พากันบำรุงบิดามารดา
บำรุงสมณพราหมณ์ เคารพนบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถ ทำบุญกุศล
มีจำนวนมากด้วยกันอยู่หรือ เมื่อตรวจดูแล้ว ถ้าเห็นว่ามีจำนวนน้อย ก็ไปบอกแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์
ซึ่งประชุมกันใน สุธรรมสภา พวกเทพชั้นดาวดึงส์ เมื่อได้ฟังดั่งนั้นก็มีใจหดหู่ว่า ทิพยกายจักลดถอย
อสุรกายจักเพิ่มพูน แต่ถ้าเห็นว่าพวกมนุษย์พากันทำดี มีบำรุงมารดาบิดาเป็นต้น เป็นจำนวนมาก
ก็ไปบอกแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์เหมือนอย่างนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ก็พากันมีใจชื่นบานว่า
ทิพยกายจักเพิ่มพูน อสุรกายจักลดถอย ๑




ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีหน้าที่เป็น จตุโลกบาล คือ เป็นผู้คุ้มครองโลกทั้ง ๔ ทิศ
ตามที่เชื่อถือกันมาเก่าก่อนพระพุทธศาสนา แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้ว
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ธรรมเป็นโลกบาล คือ คุ้มครองโลกไว้ ๒ ข้อ คือ หิริ
ความละอายใจ ที่จะทำชั่ว โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว เพราะเหตุนี้
จึงไม่กล่าวให้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่คุ้มครองโลกโดยตรง จะไม่กล่าวถึงเลย
ก็จะขัดขวางต่อความเชื่อของคนทั้งหลายจนเกินไป จึงกล่าวเปลี่ยนไปให้มีหน้า
ที่เที่ยวตรวจดูโลกมนุษย์ ว่าได้พากันทำดีมากน้อยอย่างไร แล้วก็นำไปรายงาน
พวกเทพชั้นดาวดึงส์ พวกเทพชั้นนั้นได้รับรายงานแล้วก็เพียงแต่มีใจชื่นบานหรือ
ไม่เท่านั้น เห็นได้ว่าท่านผู้รวบรวมร้อยกรองเรื่องนี้ไว้ในพระสุตตันตปิฎก ต้องการ
จะรักษาเรื่องเก่าที่คนส่วนมากเชื่อถือ ด้วยวิธีนำมาเล่าให้เป็นประโยชน์ในทางตักเตือนให้ทำดี
เหมือนอย่างที่มีคำเก่ากล่าวไว้ว่า ถึงคนไม่เห็น เทวดาก็ย่อมเห็น คือ สดงจตุโลกบาลที่
เขาเชื่อกันอยู่แล้วในทางที่อาจเข้าใจเป็นธรรมาธิษฐาน ซึ่งเป็นข้อมุ่งหมายโดยตรง
ถึงจะเชื่อว่ามีตัวตนอยู่จริงและคอยมาตรวจดูโลกว่า ใครทำดีไม่ดีอย่างไรก็ไม่เสียหาย
กลับจะดีเพราะจะได้เกิดละอายกลัวเกรงว่า จตุโลกบาลจะรู้จะเห็นว่าทำไม่ดี หรือไม่ทำดี
เป็นอันหนุนให้เกิดหิริโอตตัปปะขึ้นได้ ผู้ที่ไม่ยอดเชื่อเสียอีกอาจจะร้ายกว่า
เพราะไม่มีที่ละอายยำเกรง เว้นไว้แต่จะมีภูมิธรรมในจิตใจดีอยู่แล้ว หรือมีที่ละอายยำ
เกรงอย่างอื่นแทนอยู่ วันที่ท่านกล่าวว่าจตุโลกบาลมาตรวจดูโลก เดือนหนึ่งมีไม่กี่วัน
ดูเหมือนจะน้อยไป แต่คงไม่หมายความว่าตรวจกรรมของคนเฉพาะวันนั้น วันอื่นไม่เกี่ยวข้องด้วย
ควรเข้าใจว่า ตรวจดูรู้ย้อนไปถึงวันอื่นๆ ในระหว่างที่ไม่ได้ลงมานั้นด้วย ตัวของเราเองทุกๆ
คนนึกย้อนตรวจดูกรรมของตนเองภายใน ๗ วันยังจำได้ ไฉนโลกบาลจะไม่รู้กรรมที่ตนเองทำ
แม้จะลืมไปแล้ว โลกบาลก็ต้องรู้ เมื่อเชื่อว่าโลกบาลมีจริง ก็ควรจะเชื่ออย่างนี้ด้วย
จึงจะเป็นโลกบาลที่สมบูรณ์ สรุปลงแล้วทำความเข้าใจว่า โลกบาลมาตรวจตราดูที่จิตใจนี้เอง
จะเกิดประโยชน์มาก.

ตามหลักในการจัดภูมิต่างๆ สัตว์ดิรัจฉานเป็นอบายภูมิต่ำกว่าภูมิมนุษย์และสวรรค์
พระอาจารย์จึงกล่าวว่าในสวรรค์ไม่มีสัตว์เดียรัจฉาน การเกิดในสวรรค์ เกิดโดยอุปปาติก
กำเนิดอย่างเดียว จึงน่ามีปัญหาว่า พวกนาคซึ่งเป็นบริวารของท้าวมหาราชจะจัดว่าเป็นภูมิอะไร
นอกจากนี้ บริวารของท้าวมหาราชจำพวกอื่น เช่น พวกกุมณฑ์ ก็มีลักษณะพิกล
ยักษ์บางพวกก็ดุร้าย เป็นผีเที่ยวสิงมนุษย์ก็มี ดูต่ำต้อยกว่าภูมิมนุษย์
แต่ก็อยู่ในสวรรค์ชั้นหนึ่งนี้ด้วย ตามที่กล่าวมานี้ น่าเห็นว่าเก็บเอามาจากเรื่องเก่าๆ
จึงฟังไม่สนิทตามหลักการจัดภูมิต่าง ๆ ดั่งกล่าว



ชมพูทวีป หมายถึง โลกมนุษย์ทั้งหมด ไม่ใช่อินเดีย-เนปาล
อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ ดังมีหลักฐานที่พระพุทธเจ้าแสดงดังนี้


ทวีปต่างๆในจักรวาล

๑) ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)

-มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
-มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
-สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระวิปัสสี" มนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี
-สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระเรวะตะ" มนุษย์ในชมพูทวีปมีความสูงถึง ๘๐ ศอก
-แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง จิตใจหยาบช้าลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง ร่างกายก็เตี้ยลง
-ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น และตัวจะเตี้ยถึงขนาด
ต้องสอยมะเขือกิน เรียกยุคนั้นว่า "ยุคทมิฬ" เป็นยุคที่เสื่อมที่สุดของ "ชมพูทวีป"
-ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป"
เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"
-ชมพูทวีป เป็นทวีปเดียวที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต้องมาตรัสรู้ที่ทวีปนี้เท่านั้น


๒) อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เป็นแผ่นดินกว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ และแม่น้ำใหญ่น้อย
-มีธาตุแก้วผลึกอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุแก้วผลึกทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอมรโคยานทวีปมีสีแก้วผลึก
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คางแหลม
-มนุษย์ที่อมรโคยานทวีป มีความสูง ๖ ศอก มีอายุ ๕๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำอมรโคยานทวีปคือ "กะทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)"


๓) ปุพพวิเทหะทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เนื้อที่กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐ เกาะ
-มีธาตุเงินอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุเงินทำให้ทองฟ้า
และมหาสมุทรของปุพพวิเทหะทวีปมีสีเงิน
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์เต็มดวง คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์
มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร
-มนุษย์ที่ปุพพวิเทหะทวีป มีความสูง ๙ ศอก มีอายุ ๗๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำปุพพวิเทหะทวีปคือ "สิรีสะ (ไม้ทรึก)"


๔) อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เนื้อที่กว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นที่ราบ
-มีธาตุทองคำอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุทองคำทำให้ทองฟ้า
และมหาสมุทรของอุตรกุรุทวีปมีสีเหลืองทอง
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ รูปร่างงาม มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ
ไม่ยึดถือสมบัติ บุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของๆตน
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป มีความสูง ๑๓ ศอก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-มีต้นไม้นานาชนิด ดอกไม้ประจำอุตรกุรุทวีปคือ "กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)"
ถ้าอยากได้อะไร ก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์ จะสมปรารถนา
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป เมื่อตายจากทวีปนี้ ทุกคนจะได้ไปเกิดใน "เทวภูมิ ชั้นตาวติงสาห์ภูมิ" ทุกๆคน เป็นกฏตายตัว
-ในภาษาบาลี "อุตร" แปลว่า "เหนือ" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกทวีปนี้ว่า "อุตรกุรุทวีป"



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

81
บทความ บทกวี / 10 สุดยอดคำสาปของโลก
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 01:47:07 »
อันดับ 10 เพชรโฮป (Hope Diamond)

เป็นเพชรสีนํ้าเงินขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีนํ้าหนักถึง 45.52 กะรัต โดยพ่อค้าฝรั่งเศสนาม จอห์น แบ็บติส ทราวิเนียร์ ได้ขโมยมาจากพระนลาฏ (หน้าผาก) เทวรูปฮินดูในวิหารแห่งหนึ่งของอินเดีย เมื่อราว ค.ศ. 160

โดยหารู้ไม่ว่าโคตรเพชรนี้มีคําสาปติดมาด้วย นั่นคือ

มันผู้ใดที่ขโมยหรือครอบครองเพชรโฮป จะต้องประสบความวิบัติทุกรายไป!

และก็จริงตามคําสาป นับตั้งแต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งทรงซื้อเพชรนี้

จากนายทราวิเนียร์ พระองค์และพระราชวงศ์ก็ทรงได้รับภัยร้ายกาจจากการปฏิวัติของฝรั่งเศสตลอด กระทั่งนาย เฮนรีย์ ฟิลิป โฮป (เจ้าของชื่อเพชรเม็ดนี้) นายปิแอร์ คาร์เทียร์ (พ่อค้าอัญมณีชื่อดังที่เรารู้จักกันดี) ฯลฯ ล้วนประสบกับอัปมงคล


จนถึงผู้ครอบครองรายสุดท้ายคือ ตระกูลของ เซอร์ ฮาร์รีย์ วินสตัน

ได้ให้เลดี้ไฮโซ ผู้หนึ่งยืมสร้อยคอเพชรโฮป สวมใส่ในงานราตรี สองเดือนต่อมา ลูกน้อยของเธอก็ตายอย่างลึกลับ สามีกลายเป็นบ้าและต้องหย่าขาดกัน

ในที่สุด

ทายาทตระกูลวินสตันจึงมอบเพชรโฮปให้สถาบันสมิธ โซเนียนของสหรัฐฯ เป็นผู้อนุรักษ์แทน

82
บทความ บทกวี / ความรู้ คู่คุณธรรม?
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 01:39:40 »
 ?เมื่อความรู้ ยอดเยี่ยม สูงเทียมเมฆ
แต่คุณธรรม ต่ำเฉก ยอดหญ้านั่น
อาจเสกสร้าง มิจฉา สารพัน
ด้วยจิตอัน ไร้อาย ในโลกา
     แม้คุณธรรม สูงเยี่ยม ถึงเทียมเมฆ
แต่ความรู้ ต่ำเฉก เช่นยอดหญ้า
ย่อมเป็นเหยื่อ ทรชน จนอุรา
ด้วยปัญญา อ่อนด้อย น่าน้อยใจ
     หากความรู้ สูงล้ำ คุณธรรมเลิศ
แสนประเสริฐ กอปรกิจ วินิจฉัย
จะพัฒนา ประชาราษฎร์ ทั้งฃาติไทย
ต้องฝึกให้ ความรู้ คู่คุณธรรม?

83
หลักการวิวัฒนาการของสัตว์ สรุปเป็นหลักง่ายๆได้เลยครับ

กิเลส --- >>> กรรม --->>> วิบาก --->>> กิเลส --- >>> กรรม --->>> วิบาก --->>> ................

สัตว์ทั้งหลายมี โลภ โกรธ หลง จึงมีความอยากและไม่อยาก (ตัณหา) เป็นเหตุให้ยึดถือโดยไม่รู้ตัว (อุปาทาน) และแสดงออกตามสัญชาตญาณ

สัตว์ทั้งหลายอาศัยตัณหาอุปาทานแล้วก็ทำกรรมน้อยใหญ่ ดีบ้าง เลวบ้าง ไม่ดีไม่เลวบ้าง

เมื่อสัตว์ทั้งหลายสร้างกรรมอันเป็นเหตุไว้ในภพน้อยใหญ่แล้วจึงต้องรับผล (วิบาก) ในภายหลัง
อันเป็นเหตุให้รูปร่างเปลี่ยนไป อายตนะ ผัสสะ เวทนา สัญญา วิญญาณ เปลี่ยนไป เพื่อรับผลกรรมนั้นๆ

สัตว์ทั้งหลายเมื่อรับผลกรรมโดยรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา สัญญา วิญญาณ แล้ว อาศัยตัณหาอุปาทาน สร้างกรรมไว้ในภพน้อยใหญ่ต่อไป

วนเวียนไปไม่สิ้นสุด ตามหลักแห่งปฏิจสมุปปบาท
       
 

84
พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า ศาสนาจะค่อยๆเสื่อมลง หลังจากพุทธปรินิพพาน
แต่...
หลังจากพุทธปรินิพพาน 2500 ปี
ศาสนาพุทธจะกลับมาเจริญขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
เพราะในความเป็นจริงแล้ว พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า ศาสนาของพระองค์ในอนาคตจะเสื่อมลงจริง แต่ไม่เคยทรงบอกเวลาครับ ว่าจะเป็นอีก 3000 ปี 4000 ปี 5000 ปี หรือ กี่ปี พระองค์เพียงแต่ทรงบอกว่า เมื่อใดก็ตามที่พุทธบริษัทไม่ประพฤติปฏิบัติธรรม เช่น พระภิกษุทำไรไถ่นาเหมือนชาวบ้าน มีสัญลักษณ์ความเป็นพระเพียงแค่จีวร แขวนติดไว้กับเสื้อ เมื่อนั้นพระพุทธศาสนาก็จะเสื่อม

ส่วนผู้ที่บอกว่า พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้ 5000 ปีนั้น เป็นคำทำนายของพระภิกษุชื่อดังมากทางด้านสมาธิจิต รูปหนึ่งในเมืองไทยในสมัยก่อนครับ โดยเนื้อหาในคำทำนายบอกว่า
"พระพุทธศาสนาจะมีอายุได้ 5000 ปี แต่ในยุคกึ่งพุทธกาล คือ 2500 ปี ศาสนาจะค่อยๆ เสื่อมลง และกลับมาเจริญขึ้นอีกครั้ง โดยการฟื้นฟูของพระมหาเถระโพธิสัตว์ 2 พระองค์ ที่เกิดในยุคของธัมมิกมหาราชที่เป็นคนไทย แต่ไปโตในต่างประเทศ"

85
ปริศนาคำพูดของอัลเบิร์ต ไอสไตล์ กล่าวถึงพระพุทธศาสนาก่อนเสียชีวิต

ถึงแม้อัลเบิร์ต ไอสไตล์ ได้จากโลกนี้ไปโดยที่เขายังไม่สามารถค้นพบตำตอบตามที่เขากำลังต้องการก็ตาม แต่ไอสไตล์ได้ทิ้งคำพูดที่เป็นปริศนาที่สำคัญมากให้กับมนุษยชาติ ในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของเขา อัลเบิร์ตได้เริ่มสงสัยแล้วว่า พระพุทธศาสนา อาจจะเป็นศาสนาที่ให้คำตอบต่อคำถามที่เขากำลังพยายามค้นหา ในช่วง 1 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิตนั้น มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของเขาชื่อเรื่อง " The Human Side " ซึ่งนักฟิสิกส์ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลผู้นี้ ได้กล่าวทิ้งท้ายให้เป็นปริศนาแห่งโลกอนาคตว่า

The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend personal God and avoid dogma and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising from the experience of all things natural and spiritual as a meaningful unity. Buddhism answers this description. If there is any religion that could cope with modern scientific needs it would be Buddhism. (Albert Einstein)

"ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา(คือพึ่งเทวดาเป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้น เมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสามัญสำนึกทางศาสนา ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้....ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา"

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฏีสัมพันธภาพ

คำพูดของไอสไตล์นั้นมีความนัยที่สำคัญซ่อนอยู่และรอคอยการค้นพบ และทฤษฎีเอกภาพหรือทฤษฎีสรรพสิ่งที่ต้องการค้นหานั้น ที่จริงพระพุทธเจ้าได้ตอบให้เบ็ดเสร็จก่อนหน้านั้น 2500 ปี


ขอขอบคุณ
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=4698


86
เรื่องมีอยู่ว่า

เมื่อคืนวันหนึ่ง เวลาประมาณ ตี 1 ได้ ก่อนเข้านอน ผมได้ สวดมนต์
พระคถาหนึ่ง ที่ขึ้นต้นด้วย " ช " ลงท้ายด้วย " ร " (ขออนุญาติไม่บอกชื่อ
พระคถานี้นะครับ อาจไม่เป็นผลดีต่อผู้ที่กลัวผี แค่ ใบ้ ก็พอ) ตอนนั้นจำได้ว่า
สวดไป 10 จบ พอสวดเสร็จ ก็เตรียมตัวนอน พอหัวลงถึงหมอน ม่อยหลับไป
ได้สักพัก ก็ ได้ยินเสียง ท่านเจ้าที่ พูดว่า มีคนมาหา? ทันใดนั้น จิต มันก็ ลุกจากเตียง เดินไป พบคนที่มาหา ขอบอกก่อนนะครับ ว่า โลกแห่งทิพย์ เวลาเราอยากรู้อะไร ก็จะรับรู้ได้เกือบหมด ก็ทำให้ผม ทราบว่า คนที่มาหา เขารอผมอยู่ที่ เฉลีบง หลังบ้าน พอผมลงไป พบเขาเหล่านั้น ก็เห็น

-ผู้หญิงใส่ชุดไทย ถือดาบ เลือดเต็มตัวเต็มหน้า
-ผีตา โบ๋ แขนขาด เลือดเต็มตัว เสื้อผ้า ขาดหมด
- ลุงแก่ๆ คนหนึ่ง และอีกประมาณ 7-8 คน สภาพน่า เวทนา หมด

พวกเขา ขุกเข่า กับพื้น พนมมือ ไหว้ผม ผมเลย ถาม ลุงว่า ลุงมาทำไมหรอ ?
ลุง ตอบ ลุงได้ ยินเสียง สวดมนต์ดังไปไกลมาก ลุงเลย ลอย มาตามเสียง สวดมนต์ จนมาถึงต้นเสียงที่ ท่านเป็นผู้สวดนี้เอง ลุง ทรมาณมาก ตายมา 84 ปีแล้ว ต้องคอยมาขอ ส่วนบุญแบบ นี้ตลอด ผีตน อื่นๆๆ ไม่ได้คุยอะไร เขาได้แต่ อนุโมทนา ตอนนั้นผม สงสารมาก เห็น ทุกข์ เวทนาแบบนี้ ก็เลย คิดว่า จะเอาหนังสือสวดมนต์ธรรมะ แจกเขาหน่อย เพียงแค่คิด หนังสือธรรมะ ก็ มาอยู่ในมือผม ทันที ผมก็ แจก เขาเหล่านั้น บอกให้เอาไปบูขา เอาไป สวด พวกเขาดีใจกันใหญ่มากๆๆ หนังสือธรรมะที่แจก ก็ มีแสง ออกมามากเหลือเกิน พวกเขา ขอบคุณ ผมก็ถามอีกว่า ทำไมถึง ไปนั้งด้านนอก เฉลียงผม ทำไม ไม่เข้ามา ในห้องรับแขก ในบ้านผม เขาบอก เขาเข้าไม่ได้ มีเจ้าที่ กันไม่ให้เข้าอยู่ เขาเลยต้องมา รอ ที่เฉลียงด้านนอก ผมก็เงียบๆๆไป

เรื่องมันก็มีแค่นี้นะครับ นี้เป็นแค่ประสบการณ์ เล็กๆๆน้อยๆๆที่มาเล่าให้ฟัง
ที่ผมไม่บอกชื่อ คถา เพราะ ถ้าบางท่าน สวด ประจำ ถ้าเกิด กลัวผี เขาอาจจะไม่กล้า สวดอีกเลย

87
คุณมีจิตสัมผัส-ความผูกพัน-สื่อพลังเทพ หรือไม่

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

88
ธรรมะ / ธรรมของพระพุทธเจ้า
« เมื่อ: 05 เม.ย. 2550, 01:07:30 »
บทนี้เป็นบทต่อจาก ศาสดาของ กามนิต ซึ่งกล่าวถึงการสนทนาระหว่าง พระพุทธเจ้า กับ กามนิต ที่ กามนิต ระบุว่า ต้องการเป็น ศิษย์ ของ พระพุทธเจ้า โดยไม่รู้ว่า ผู้ที่ตนสนทนาอยู่ด้วยนั้นคือ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น และ กามนิต ได้แสดงความยินดีที่จะได้สดับ พระธรรม ที่ กามนิตเชื่อว่า คู่สนทนา ได้ฟัง มาจาก พระพุทธเจ้า จริง ๆ
                   ต่อไปนี้เป็นพระดำรัส ของ พระพุทธเจ้า ที่คัดลอกทั้งหมดจาก บทที่ สิบเก้า ของ หนังสืออ่านนอกเวลาวิชาภาษาไทย กามนิต ( ภาคพื้นดิน ) ของ เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป


--------------------------------------------------------------------------------

                   และพระพุทธองค์ก็ตรัสว่า ?ดูก่อน ภารดา พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธนั้น ได้ยัง จักร แห่งธรรมอันประเสริฐให้หมุนใกล้ อิสิปัตนะมฤคทายวัน จังหวัดพาราณสี ก็แหละ จักรแห่งธรรม นั้น อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร พรหมหรือผู้ใดผู้หนึ่ง โลกนี้ ไม่พึงขัดขวางไว้มิให้หมุน ได้?

                   ?พระธรรมที่ทรงประกาศ คือ ธรรมอันให้เห็นแจ้งความจริงอย่างยิ่ง สี่ ประการ สี่ ประการนั้นคืออะไร ? ได้แก่
                     ความจริงอย่างยิ่งคือ ทุกข์
                     ความจริงอย่างยิ่งคือ เหตุของทุกข์
                     ความจริงอย่างยิ่งคือ การดับทุกข์ทั้งสิ้น และ
                     ความจริงอย่างยิ่งคือ ทางที่ไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้น?

                   ?ดูก่อนภารดา ความจริงอย่างยิ่งคือ ทุกข์ นั้น อย่างไร ? ได้แก่
                     ความเกิดมานี้เป็นทุกข์
                     ความมีชีวิตล่วงไป ๆ เป็นทุกข์
                     ความเจ็บปวดเป็นทุกข์
                     ความตายเป็นทุกข์
                     ความอาลัย
                     ความคร่ำครวญ
                     ความทนลำบาก
                     ความเสียใจและความคับใจล้วนเป็นทุกข์
                     ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
                     ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์
                     ความที่ไม่ได้สมประสงค์เป็นทุกข์
                รวมความ บรรดาลักษณะต่าง ๆ เพื่อความยึดถือผูกพันย่อมนำทุกข์มาให้ทั้งนั้น
                ดูก่อนภารดา นี่แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทุกข์?
                   ?ก็แหละ ความจริงอย่างยิ่งคือ เหตุของทุกข์ นั้น อย่างไร ? ได้แก่
                ความกระหายซึ่งทำให้เกิดมีสิ่งต่าง ๆ อันความเพลิดเพลินใจ และความร่านเกิดตามไปด้วยเพลิดเพลินนักในอารมณ์นั้น คือ
                     กระหายอยากให้มีไว้บ้าง
                     กระหายอยากให้คงอยู่บ้าง
                     กระหายอยากให้พ้นไปบ้าง
                     ดูก่อนภารดา นี้แหละความจริงอย่างยิ่ง คือ เหตุของทุกข์?

                   ?ก็แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ การดับทุกข์ทั้งสิ้น นั้น อย่างไร ? ได้แก่
                     ความดับสนิทแห่ง ความกระหาย นี้เอง มิใช่อื่น
                     ความเสียสละได้ ความปลดเสียได้ ความปล่อยเสียได้ซึ่ง ความกระหาย นั้นแหละ และ
                     การที่ความกระหายนั้นไม่ติดตัวพัวพันอยู่
                     ดูก่อนภารดา นี้แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ การดับทุกข์ทั้งสิ้น?

                   ?ก็แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทางไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้น นั้น อย่างไร ? ได้แก่
                     ทางอันประเสริฐมี องค์แปด คือ
                     ความเห็นชอบ
                     ความดำริชอบ
                     วาจาชอบ
                     การงานชอบ
                     เลี้ยงชีพชอบ
                     ความเพียรชอบ
                     ระลึกชอบ
                     ตั้งใจชอบ
                     ดูก่อนภารดา นี้แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทางไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้น?

                   เมื่อพระศาสดา มีพระพุทธบรรหาร ด้วยอริยสัจเป็นเบื้องต้น ปานว่า ประดิษฐาน หลักศิลา ขึ้น สี่มุม ด้วยประการดั่งนี้แล้ว ก็ทรงยกพระธรรมทั้งมวลขึ้นตั้งประกอบ โดยอุบายให้เป็นดั่งเรือนยอดสำหรับเป็นที่อาศัยแห่งดวงจิตผู้สาวก ทรงจำแนกแยกอรรถออกเป็น ตอนเนื้อความ แล้วทรงชี้แจง กำกับกันไป เสมือนดั่งบุคคลตัดแท่งศิลาออกเป็นชิ้น ๆ แล้ว และขัดเกลาฉะนั้น ทรงเชื่อมตรงเนื้อความต่อเนื้อความ เสมือนบุคคลได้ลำดับซ้อนแท่งศิลาเหล่านั้น ผจงจัดดุจเป็นรากให้รับกันเองแน่นหนา มีสัมพันธ์เนื่องถึงกันตลอดเรียบร้อย ทรงนำหลักความเห็นแจ้งว่าสิ่งทั้งปวง ย่อมแปรปรวนเข้าประกอบกับหลัก ความเห็นแจ้งว่า สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ แล้วเชื่อมหลักทั้งสองนี้เป็นดั่ง ซุ้มทวาร ด้วยเครื่องประสาน คือ มนสิการ อันแน่นแฟ้น ที่ว่าสภาวธรรมทั้งปวงล้วนเป็น อนัตตา ? เลือกเอาไม่ได้ ทรงนำสาวกเข้าสู่ทวารอันมั่นคงนี้ คราวละขั้นเป็นลำดับไป แล้วย้อนลงย้อนขึ้นหลายครั้งหลายครา โดยขั้นบันไดอันสร้างไว้มั่นคงแล้ว คือ ปฏิจจสมุปบาทหลักธรรม อันมีเหตุผลอาศัยกันเองเกิดขึ้นเป็นชั้น ๆ สืบเนื่องดั่งลูกโซ่ซึ่งมั่นคงเต็มที่อยู่ทั่วไป

                   อันว่า นายช่างผู้เชี่ยวชาญก่อสร้างปราสาทมโหฬาร ย่อมเพิ่ม รูปสิลาจำหลัก ไว้ในที่สมควร ตามทำนอง มิใช่จะใช้เป็นเครื่องประดับเท่านั้น แต่ยังใช้ประโยชน์รองรับหรือค้ำจุนที่บางแห่งนั้นไว้ด้วยข้อความนี้ อุปมาฉันใด พระศาสดาในบางคราวย่อมทรงชักเอาเรื่องเปรียบเทียบ เป็นภาษิต ที่น่าฟังและสมด้วยกาลสมัย ขึ้นแสดง ก็อุปไมยฉันเดียวกัน เพราะทรงเห็นว่า เทศนาวิธี ที่ชักอุทาหรณ์ ขึ้นสาธก เปรียบเทียบ ย่อมกระทำให้ พระธรรม อันประณีตลึกซึ้งที่ทรงสำแดงหลายข้อ ให้แจ่มแจ้งขึ้นได้แก่บาง เวไนยชน
                   ในท้ายแห่งเทศนา พระองค์ทรงประมวล พระธรรม บรรยายทั้งหมดในคราวเดียวกัน เสมือนด้วย เรือน อันตะล่อมขึ้นด้วยยอดเด่น เห็นเป็นสง่างามรุ่งเรืองได้แต่ไกลด้วยพระวาจาว่า ดั่งนี้ ?ดูก่อนอาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ ความเกาะเกี่ยวใคร่กระหายต่อความเกิด ย่อมเป็นเหตุให้ถึงความเกิด หากตัดความใคร่กระหายเช่นนั้นเสียได้ขาด ท่านก็ย่อมไม่เกิดในภพใด ๆ อีก?

                   ?อันภิกษุ ผู้พ้นจากการเกาะเกี่ยวยึดถือพึงใคร่ในอารมณ์ใด ๆ แล้ว ย่อมบังเกิดญาณความรู้แจ้งขึ้นภายในจิตอันสงบแจ่มใส ปราศจาก อวิชชา ความมืดมัวว่า วิมุตติ ความหลุดพ้นนั้นบัดนี้เป็นผลประจักษ์แล้ว นี้คือ ความเกิดเป็นครั้งที่สุด สิ้นความเกิดใหม่ในภพโน้นแล้ว?

                   ?ภิกษุผู้บรรลุธรรมปานนี้ ย่อมได้รับตอบแทนคือ ธรรม อันล้ำเลิศนั้นคือ อะไร ? ได้แก่ ญาณ อันรู้ว่า ทุกข์ทั้งปวง ดับหมดแล้ว ผู้ใดได้รับรสพระธรรมนี้ ก็ย่อมพบ ความหลุดพ้น อันเป็นผลเที่ยงไม่แปรผัน เพราะสิ่งใดไร้สาระเป็นอยู่ชั่วขณะ สิ่งนั้นไม่ใช่ของจริง และเป็นที่สุดแห่งสิ่งมายาทั้งปวง?

                   ?ผู้ใดจำเดิมมาแต่ต้นทีเดียว ตกอยู่ในความเกิด ในความสืบชีวิต เปลี่ยน ๆ ไปในความตาย และบัดนี้ได้กำหนดรู้ไว้ดีแล้วซึ่งลักษณะแห่งสภาพอันเป็นพิษนี้ ผู้นั้นย่อมชนะตนเองแล้วถึงซึ่งความพ้นภัยในความเกิด ความแก่ และความตาย และเขาซึ่งเคยตกอยู่ในโรคาดูร ในมลทินกิเลสในบาป ผู้นั้น ณ บัดนี้ ได้ความรับรองแน่นอนแล้วว่า ไม่มีพิการแปรผัน อันเป็นผลสะอาดหมดจดและเป็นบุณย์-?

                   ?เราพ้นแล้ว ความหลุดพ้นได้ประจักษ์แล้ว ชาติหยุดเพียงนี้แล้ว กรณียะของเราสำเร็จแล้ว โลกนี้หยุดอยู่แก่เราไม่สืบต่อไปอีกแล้ว?

                   ?ดูก่อน อาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชน มีญาณทรรศนะเช่นนี้ ชื่อว่า ผู้สำเร็จแล้ว เพราะเขาเสร็จสิ้นธุระและถึงที่สุดบรรดาความทุกข์ยากทั้งปวง?

                   ?ดูก่อน อาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชน มีญาณทรรศนะเช่นนี้ ชื่อว่า ผู้ได้ขจัดแล้ว เพราะเขาได้ขจัดแล้วซึ่ง อุปทาน ( ความออกรับ ) ? ว่า ? ตัวเรา? และ ?ของเรา?

                   ?ดูก่อน อาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชน ผู้มีญาณทรรศนะเช่นนี้ ชื่อว่า ผู้ถอนแล้ว เพราะเขาได้ถอนแล้วซึ่งต้นไม้ คือ ความมีความเป็นตลอดกระทั่งราก มิให้เหลือเชื้อเกิดขึ้นได้อีก?

                   ?บุคคลมีลักษณะเช่นนี้ ตราบเท่าที่ยังมีร่างอยู่ เทวดาและมนุษย์คงเห็นได้ แต่เมื่อร่างสลายเพราะความตายแล้ว เทวดาและมนุษย์มิได้เห็นต่อไป แม้แต่ธรรมดาผู้เห็นได้ตลอด ก็ไม่เห็นเขาคนนั้นอีก ผู้นั้นได้ทำให้ธรรมดาถึงความบอดแล้ว เขาพ้นจากมารแล้ว ได้ข้าม ห้วงมหรรณพ ที่ต้องแหวกว่ายวนเกิดเวียนตาย ถึงเกาะอันเป็นแหล่งเดียวที่ผุดพ้นเหนือ ความเกิด ความตาย กล่าวคือ พระอมฤตมหานิรพาน?
 

                   จากผู้เขียน
                    บทนี้ เป็น พระธรรม ที่ยิ่งใหญ่ ของ องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า คือ อริยสัจ สี่ ที่จะนำ สาธุชน ให้ถึง นิพพาน ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ประพฤติ ปฏิบัติ ที่เข้าใจในพระธรรมสำคัญนี้เอง

 

89
ธรรมะ / ธรรม 3 ประการ
« เมื่อ: 05 เม.ย. 2550, 01:03:44 »
 ธรรม 3 ประการ

ปัญหา ธรรม 3 ประการ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ เป็นไปทั้งเพื่อเบียดเบียนตนเอง
เป็นไปทั้งเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เป็นไปทั้งเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่นทั้งสองฝ่าย ธรรม
๓ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นไปทั้งเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไปทั้ง
เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เป็นไปทั้งเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่นทั้งสองฝ่ายธรรม ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็น
ไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่นทั้งสองฝ่าย ฯ"

90
เรื่องเล่า....หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ระลึกชาติ 

 เนื้อความ :

คัดจากหนังสือคุณทองทิว  สุวรรณทัต (มีหลายเล่ม)

ผู้เขียนเคยสัมภารณ์ผู้ระสึกชาติได้มาหลายรายและได้นำคำสัมภารณ์นั้นๆมาเขียนหลายเรื่องแล้ว  แต่ไม่มีเรื่องใดดูจะอัศจรรย์ดังเรื่องของผู้ระลึกชาติได้เท่าท่านนี้เลย  ทั้งนี้เพราะท่านเป็นพระเถระ   ที่ใช้ชีวิตสมณเพศทั้งหมดอยู่กับการปฏิบัติ  จนบางครั้งแทบจะเอาชีวิตไปทิ้งกลางป่ากลางดง  และเนื่องจากผลของการปฏิบัติธรรม  จึงทำให้ท่านสามารถระลึกชาติย้อนหลังไปได้อีกหลายสิบชาติ
ท่านผู้นี้คือ  พระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม  ซึ่งเป็นศิษย์เอกที่เลิศในทางอภิญญาของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะบูรพาจารย์ของพระเถระทั้งหลายในปัจจุบัน
แต่ก่อนที่จะเล่าสู่กันฟัง  จำเป็นจะต้องเรียนท่านผู้อ่านทั้งหลายให้ทราบเสียก่อนว่า  เรื่องของ หลวงปู่ชอบ ระลึกชาติตอนนี้  ผู้เขียนได้รับอนุญาตจาก คุณสุรีพันธุ์ มณีวัต  ศิษย์ของท่านผู้บันทึกชีวประวัติของหลวงปู่เรียบร้อยแล้ว  จึงขอขอบพระคุณคุณสุรีพันธุ์ มาณ โอกาสนี้
ในเรื่อง บุพเพนิวาสานุสติญาณ  หรือ ญาณระลึกชาติได้นั้น  ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหลวงปู่จะมีหรือไม่   สมเด็จพระพุทธองคืได้ญาณนี้เมื่อคืนวันตรัสรู้ในเวลาปฐมยามซึ่งเป็นญาณลำบแรกที่ทรงบรรลุ  ทราบทราบระลึกชาติหนหลังได้  ทั้งของพระองค์เองและสัตว์โลกอื่นๆ ตั้งแต่ชาติหนึ่งจนถึงเอนกชาติหาประมาณมิได้....
พระพุทธองค์ไม่แต่จะเคยเป็นเทวดา อินทร์ พรหม มนุษย์ ที่เป็นทั้งท้าวพระยามหากษัตริย์  พระเจ้าจักรพรรดิเท่านั้น  หากท่านเคยเป็นคนยากจนเข็ญใจ  ก็มีอยู่หลายชาติ  ทั้งเคยเป็นสัตว์เดรัจฉาน  แม้การตกนรกหมกไหม้ก็เคยผ่านขุมนรกต่างๆ มาแล้วเช่นกัน  ทำให้พระพุทธองค์ทรงเบื่อหน่ายในชาติกำเนิด  การเวียนว่ายตายเกิดเป็นอย่างยิ่ง  การจุติแปรผัน ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ของสัตว์โลกไม่มีที่สิ้นสุด
ญาณนี้เองเป็นเบื้องต้น  เป็นบันไดขั้นแรกในคืนวันเพ็ญเดือนหก  เมื่อสองพันห้าร้อยสามสิบพรรษาเศษที่ผ่านมา  และเป็นเหตุให้พระองค์ไปสู่การตรัสรู้  คือ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในกาลต่อมา
สำหรับญาณการระลึกรู้อดีตชาตินี้  ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ชอบ ฐานสโม  ได้เคยขอโอกาสกราบเรียนถราบหลวงปู่  ซึ่งท่านก็ยอมเล่าให้ฟังบ้างเป็นสังเขป
หลวงปู่บอกว่า  ท่านไม่ได้ระลึกชาติได้มากมายอะไร  ที่สมเด็จพระพุทธองค์ทรงระลึกได้เป็นเอนกชาติหาประมาณมิได้นั้น  เป็นเพราะพระพุทธองค์ทรงมหาสติ มหาปัญญา มหาบารมีอย่างหาผู้ใดเทียบมิได้
สำหรับหลวงปู่นี้  เท่าที่ระลึกชาติได้  ท่านไม่เคยเป็นกษัตริย์มักจะเป็นคนตกทุกข์ได้ยากเสียมากกว่า
เคยเป็นพ่อค้าขายผ้าชาติลาว ออกเดินทางมากับ พ่อเชียงหมุน(อุปัฏฐากคนหนึ่งในชาตินี้)  ข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งไทย มาทานผ้าขาวหนึ่งวาและเงิน 50 สตางค์  บูชาถวายพระธาตุพนมพร้อมทั้งอธิษฐานขอให้ได้บวชได้พ้นทุกข์  ท่านเล่าว่าท่านเคยมาช่วยสร้างพระธาตุพนมด้วยสมัยพระมหากัสสปะเถระเจ้า  พระธาตุพนมนี้สร้างก่อนพระปฐมเจดีย์
ท่านเคยเป็นคนยางอยู่ในป่า  เคยเกิดเป็นทหารพม่ามารบกับไทย แต่ยังไม่ทันฆ่าคนไทย  ก็ตายเสียก่อน  เคยเกิดอยู่เมืองปัน พม่า ชาตินี้ท่านก็ได้กลับไปดูบ้านเกิดในชาติก่อนที่เมืองปันด้วย
เคยเป็นทหารไปหลบภัยที่ถ้ำกระ เชียงใหม่  และได้ตายเพราะอดข้าวที่นั่น
หลวงปู่  เคยเป็นพระภิกษุ รักษาศิลอยู่กับพระอนุรุทธ เคยเป็นสามเณรน้อย  ลูกศิษย์พระมหากัสสปะ
สำหรับการเกิดเป็นสัตว์ นั้น หลวงปู่เล่าว่า  ท่านผ่านพ้นมาอย่างทุกข์ยากแสนเข็ญ  เช่นเคยเกิดเป็นผีเสื้อแล้วถูกค้างคาวไล่จับเอาไปกินที่ถ้ำผาดิน  เคยเกิดเป็นฟาน หรือเก้ง ไปแอบกินมะกอก กินยังไม่ทันอิ่มสมอยาก  ก็ถูกมนุษย์ไล่ยิง  เขายิงที่โคกมนถูกที่ขา  วิ่งหนีกระเซอะกระเซิงไปตายที่บ้านม่วง
เมื่อครั้งเกิดเป็นหมีไปกินแตงช้าง (แตงร้าน) ของชาวบ้านถูกเจ้าของเขาเอามีดไล่ฟันถูกหัวถูกหู  เคราะห์ดีไม่ถึงตาย  แต่ก็บาดเจ็บมาก  ต้องทนทุกข์ไปจนกระทั่งหายไปเอง
เคยเกิดเป็นไก่  มีความรักผูกพันรักชอบนางแม่ไก่สาว  จึงอธิษฐานให้ได้พบกันอีก  ทำให้กลับมาเกิดเป็นไก่ซ้ำถึง 7 ชาติ
เคยเกิดเป็นปลา  ซึ่งอยู่ในสระ  (ปัจจุบันอยู่ที่สวนหลังบ้านของ พล.อ.อ.พโยม เย็นสุดใจ)
ท่านเล่าถึงชีวิตของการเป็นสัตว์ว่าแสนลำเค็ญ  อดอยากปากแห้ง  มีความรู้สึกร้อน หนาว หิวกระหายเหมือนมนุษย์  แต่ก็บอกไม่ได้  พูดไม่ได้  ต้องเที่ยวซอกซอนไปอยู่ตามป่า  ตามเขาตามประสาสัตว์  ฝนตกก็เปียกหนาวสั่น  แดดออกก็ร้อนไหม้เกรียม อาศัยถ้ำ อาศัยร่มไม้ไปตามเพลง  บางทีมาอยู่ใกล้หมู่บ้านหิวกระหาย  เห้นพืชผลที่ควรกินเป็นอาหารได้  พอจะจับใส่ปากใส่ท้องได้บ้าง ก็กลับกาลายเป็นของที่เขาหวงห้าม  มีเจ้าของต้องถูกเขาขับไสไล่ทำร้าย
ชีวิตที่เวียนว่ายวนอยู่ในกองทุกข์ตามอำนาจกรรมที่กระทำมานี้  แต่บางทีภพชาตินั้นก็ยืดยาวต่อไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหายกตัวอย่างเช่น  ตอนท่านเกิดเป็นไก่  ใจนึกปฏิพันธ์รักใคร่นางแม่ไก่  ชื่นชอบภพชาติที่เป็นไก่ของตน  ปรารถนาขอให้พบนางไก่อีก  ก็ต้องวนเวียนกลับมาเกิดเป็นไก่อยู่เช่นนั้น
หลวงปู่เล่าว่า  แม้ท่านพระอาจารย์มั่นเอง  เมื่อท่านระลึกชาติได้  เห็นภพชาติที่เวียนวนกลับไปเกิดเป็นสุนัขถึงหมื่นชาติ  ท่านยังเกิดความสลดสังเวช  ถึงกับขออธิษฐานเลิกปรารถนาพุทธภูมิ  เพราะการบำเพัญบารมีเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระอวค์หนึ่งในอนาคตนั้น  ท่านจะต้องบำเพ็ญต่อไปอีกเป็นแสนกัปแสนกัลป์ฯ  เคราะห์ดีที่ท่านเกิดสลดสังเวชคิดได้  ท่านพระอาจารย์มั่นจึงสามารถดำเนินความเพียรเร่งรัดตัดตรงเข้าสู่พระนิพพานเป็นผลสำเร็จได้
วันหนึ่งระหว่างหลวงปู่กำลังวิเวกอยู่ที่เชียงใหม่  ตกกลางคืนท่านก็เข้าที่ภาวนาตามปกติ  ปรากฏภาพนิมิต  มีแม่ไก่ตัวหนึ่งมาหาท่าน กิริยาอาการนั้นนอบน้อมอ่อนโยนเป็นอย่างยิ่งมาถึงก็ใช้ปีกจับต้องกายท่าน  จูบท่าน  ท่านประหลาดใจที่สัตว์ ตัวเมียแสดงกิริยาอันไม่สมควรต่อพระเช่นนั้น  จึงได้ดุว่าเอา  แต่แม่ไก่ตัวนั้นก็อ้างว่า เคยเกิดเป็นภรรยาของท่านมาถึง 7 ชาติแล้ว  ความผูกพันยังมีอยู่ไม่อาจจะลืมเลือนได้  แม้จะรู้ว่าพระคุณเจ้าเป็นภิกษุสงฆ์ไม่บังควรจะแสดงความอาวรณ์ผูกพันเช่นนี้  ตนมีกรรมต้องมาบังเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ต่ำต้อยน้อยวาสนา  ก็ได้แต่นึกสมเพชตัวเองอยู่มาก  อย่างไรก็ดี  เมื่อพระคุณเจ้าผู้เคยเป็นคู่ชีวิตมาอยู่ในถิ่นที่ใกล้ตัวเช่นนี้  ตนอดใจมิได้จึงมากราบขอส่วนบุญบารมี
ในนิมิตนั้นปรากฏว่าหลวงปู่ได้เอ็ดอึงเอาว่าเราเป็นคนเจ้าเป็นสัตว์  จะมาเคยเป็นสามีภรรยากันได้อย่างไร  เราไม่เชื่อเจ้า
แม่ไก่ก็เถียงว่า  ถ้าเช่นนั้นคอยดู  พรุ่งนี้เช้าตอนท่านไปบิณฑบาต ข้าน้อยจะไปจิกจีวรท่านให้ดู
ตอนเช้าหลวงปู่ครองผ้าออกไปบิณฑบาตตามปกติท่านเล่าว่า  ท่านไม่ได้นึกอะไรมาก  ด้วยคิดว่าเป็นนิมิตเหลวไหลไร้สาระ  แต่เมื่อท่านเดินบิณฑบาตเข้าไปในหมู่บ้านยางที่ชื่อบ้านป่าพัวะ  อำเภอจอมทอง  ก็มีแม่ไก่ตัวเมียตัวหนึ่งตรงรี่เข้ามาจิกจีวรท่านข้างหลัง!  หมู่เพื่อนที่ไปด้วยก็ตกใจ  เพราะเป็นสัตว์ตัวเมีย  เกรงท่านจะอาบัติ  จึงช่วยกันไล่  แต่แม่ไก่ตัวนั้นก็ยังพยายามวิ่งเข้ามาอีก
คืนนั้นหลวงปู่เข้าที่พิจารณาซ้ำ  ก็รู้ว่าแม่ไก่ตัวนั้นเคยเกิดเป็นภรรยาของท่านมา 7 ชาติแล้วจริงๆ  เป็นที่น่าเวทนาสงสารอย่างยิ่งที่นางกระทำไม่ดีไว้  ไม่มีศิล จึงต้องตกไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเช่นนี้
ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้อ่านบทความนี้แล้ว  พึงระวังเทอญฯ
 
 

91
บทความ บทกวี / ยอดตำรายาไทย
« เมื่อ: 05 เม.ย. 2550, 12:17:10 »
ยอดตำรายาไทย


คาถาบูชาปู่ชีวกโกมารภัจ


โอมนะโม ชีวะโก สิรสา อหัง กรุณิโก สัพพะ สัตตานัง โอสะถะ ทิพพะมันตัง

ปะภาโส สุริยาจันทัง โกมาระวัจโต ปะกาเสสิ วันทามิ ปัณฑิโต สุเมทะโส อโรคา สุมะนา โหหิ

บทย่อ

นะโมชีวะโก มาระภัจจัสสะ ปูชายะ



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

92
พุทธศาสนา ๒ นิกาย ใหญ่ มหายาน กับ หีนยาน"

          หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ ๑๐๐ ปี พระพุทธศาสนาก็เริ่มมีเค้าแตกแยกในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จนมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก็แตกแยกกันออกเป็นนิกายใหญ่ ๆ ๒ นิกาย คือมหายาน กับหีนยาน

          มหายาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายเหนือของอินเดีย บาทีเรียก "อุตรนิกาย" (นิกายฝ่ายเหนือ) บ้าง "อาจารยวาท" บ้าง ซึ่งมีจุดมุ่งสอนให้ระงับดับกิเลส ทั้งยังได้แก้ไขคำสอนในพระพุทธศาสนา ให้ผันแปรไปตามลำดับ พวกนี้เรียกลัทธิของตนว่า "มหายาน" ซึ่งแปลว่า "ยานใหญ่" อาจพาประชาชนให้ข้ามวัฏสงสาร คือ ความทุกข์จาการเวียนว่ายตายเกิดได้คราวละมาก ๆ นิกายนี้ได้เข้าไปเจริญรุ่งเรื่องอยู่ในประเทศทิเบต จีน มองโกเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม

          หีนยาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายใต้ของอินเดีย บางทีเรียก "ทักษิณนิกาย" (นิกายฝ่ายใต้) คือ "เถรวาท" ซี่งมุ่งสอนให้พระสงฆ์ปฏิบัติเพื่อดับกิเลสของตนเองก่อน และห้ามเปลี่ยนแลงแก้ไขพระธรรมวินัยอย่างเด็ดขาด คำว่า "หีนยาน" เป็นคำที่ฝ่ายมหายานตั้งให้ แปลว่า "ยานเล็ก" ส่วนภิกษุฝ่ายใต้เรียกตัวเองว่า "เถรวาท"หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามพุทธบัญญัติอย่างเที่ยงตรง นิกายนี้มีผู้นับถือมากในประเทศศรีลังกา พม่า ลาว ไทย และกัมพูชา

          สำหรับพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนครปาฏลีบุตร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๖๐ เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย พระเจ้าอโศกมหาราชนับเป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป

          แต่ในการสงครามครั้งนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์ทรงสลดพระทัย ครั้นได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใส ได้ทรงเลิการสงครามหันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่งทรงอุปถัมภ์การสังคายนา คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวการสังคายนาครั้งที่ ๓ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๔ สิ้นเวลา ๙ เดือน จึงเสร็จ นอกจากนั้นยังอุปถัมภ์การส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในนานาประเทศพระเจ้าอโศกมหาราชนับเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง


93
"พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน"

          เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขปรุณมีเพ็ญเดือน ๖ ขณะมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา กาลนั้น บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายทั้งปวงที่ประชุมอยู่ในอุทยานสาลวันนั้นต่างก็เศร้าโศกร้ำไรรำพันปริเทวนาการ คร่ำครวญถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่น่าสลดใจยิ่งนัก พระอานนท์มหาเถระเจ้าได้แสดงธรรมีกถาปลุกปลอบบรรเทาจิตบริษัทให้เสื่อมสร่างจากความเศร้าโศกตามควรแก่วิสัยและควรแก่เวลา

          ครั้นสว่างแล้ว พระอนุรุทธัมหาเถระเจ้าก็มีเถระบัญชาให้พระอานนท์รีบเข้าไปในเมืองกุสินารา แจ้งข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้าแก่มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อมัลลกษัตริย์ได้สดับข่าวปรินิพพานกำสรดโศกด้วยอาลัยในพระบรมศาสดาเป็นกำลัง จึงดำรัสสั่งให้ประกาศข่าวปรินิพพานแก่ชาวเมืองให้ทั่วนครกุสินารา แล้วนำเครื่องสักการบูชานานสุคนธชาติพร้อมด้วยผ้าขาว ๕๐๐ พับ เสด็จไปยังอุทยานสาลวันทำการสัการบูชาพระสรีระพระบรมศาสดาด้วยบุปผามาลัยสุคันธชาติเป็นอเนกประการ

          มวลหมู่มหาชนเป็นอันมากแม้จะอยู่ในที่ไกล เมื่อได้ทราบข่าวปรินิพพานของพระบรมศาสดาต่างก็ถืออนานาสุคนธชาติมาสักการบูชามากมายสุดจะคณาเวลาค้ำก็ตามชวาลาสว่างไสวทั่วทั้งสาลวันประชาชนต่างพากันมาไม่ขาดสายตลอดเวลา ๖ วันไม่มีหยุด พากันรีบรุดมาทำการสักการบูชาด้วยความเลื่อมใสถวายความเคารพอันสูงในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          ครั้นวันที่ ๗ ได้อัญเชิญพระพุทธสรีระศพขึ้นประดิษฐานบนเตียบมาลาอาสน์ ซึ่งตกแต่งด้วยอาภรณ์อันวิจิตร แล้วเคลื่อนขบวนอัญเชิญไปโดยทางทิศอุดร เข้าไปภายในพระนครกุสารา ประชาชนพากันสโมสรเข้าขบวนแห่ตามพระพุทธสรีระศพสุดประมาณ เสียงดุริยางค์ดนตรีแซ่ประสานกับเสียงมหาชนดังสนั่นลั่นโกลาหลเป็นอัศจรรย์ ทั้งดอกไม้ทิพย์มณฑารพ ดอกไม้อันเป็นของทิพย์ในสรวงสวรรค์ตกโปรยปรายละลิ่วลงจากฟากฟ้า ดาดาษทั่วเมืองกุสินาราร่วงหล่นลงมาสักการบูชาพระบรมศาสดา ขบวนมหาชนอัญเชิญพระพุทธสรีระศพได้ผ่านไปในวิ๔ทางท่ามกลางพระนครกุสินารา ประชาชนทุกถ้วนหน้าพากันสักการบูชาทั่วทุกสถาน ตลอดทางที่พระพุทธสรีระศพแห่ผ่านไปตามลำดับ

          ครั้นเมื่อขบวนอัญเชิญผ่านมาถึงหน้าบ้านของนางมัลลิกา ผู้เป็นภรรยาของท่านพันธุละเสนาบดีซึ่งล่วงลับไปแล้ว นางมัลลิกาได้ขอร้องแสดงความประสงค์จะบูชาด้วยอาภรณ์มหาลดาปสาธน์อันสูงค่ามหาศาล มหาชนผู้อัญเชิญพระพุทธสรีระศพก็วางเตียงมาลาอาสน์ลง นางมัลลิกาถวายอภิวาทเชิญเครื่องมหาลดาปสาธน์มาสวมพระพุทธสรีระศพเป็นเครื่องบูชา ขณะนั้นพระพุทธสรีระศพก็งามโอภาสเป็นที่เจริญตาเจริญใจแล้วมหาชนก็อัญเชิญพระพุทธสรีระศพเคลื่อนจากที่นั้นออกจากประตูเมืองทางทิศบูรพา ไปสู่กุฎพันธเจดีย์

          ครั้นถึงยังจิตกาธานอันสำเร็จด้วยไม้จันทน์หอมงามวิจิตร ก็จัดการห่อพระพุทธสรีระศพด้วยทุกุลพัสตร์ภูษา ๕๐๐ ชั้น แล้วก็อัญเชิญลงประดิษฐานในหีบทองซึ่งประดิษฐบนจิตกาธานทำการสักการบูชาแล้วกษัตริย์มัลลราชทั้ง ๘ องค์ผู้เป็นประธานกษัตริย์ทั้งปวงก็นำเอาเพลิดจุดเพื่อถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระศพพรสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระเพลิงก็ไม่ติดตามประสงค์แม้จะพยายามจุดเท่าใดก็ไม่บรรลุผลมัลลกษัตริย์มีความสงสัยจึงได้เรียนถามพระอนุรุทธะมหาเถระเจ้าว่า

          "ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะ ด้วยเหตุใดเพลิงจึงไม่ติดโพลงขึ้น"
          พระอนุรุทธะมหาเถระกล่าวตอบว่า "เทวดาต้องการให้คอยท่านพระมหากัสสะเถระ หากยังมาไม่ถึงตราบใด ไฟจะไม่ติดตราบนั้นขณะนี้พระมหากัสสะเถระกำลังเดินทางมาใกล้จะถึงอยู่แล้ว

          เวลานั้นพระมหากัสสปะเถระเจ้าพาภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ เดินทางจากเมืองปาวามายังเมืองกุสินาราครั้นถึงยังพระจิตกาธานที่ประดิษฐานพระพุทธสรีระศพพระบรมศาสดาแล้ว ก็ทำจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลี กระทำประทักษิณเวียนพระจิตกาธานสามรอบแล้ว เข้าสู่ทิศเบื้องพระยุคคลบาท น้อมถวายอภิวาทและตั้งอธิฐานจิต

          ครั้นพระมหากัสสปะเถระเจ้ากับพระสงฆ์บริวาร ๕๐๐ และมหาชนทั้งหลาย กราบนมัสการพระบรมยุคลบาทโดยควรแล้ว ขณะนั้นเสียงโศกาปริเทวนาการของมวลเทพดาและมนุษย์ ซึ่งได้หยุดสร่างสะอื้นแล้วแต่ต้นวัน ก็ได้พลันดังสนั่นขึ้นอีกเสมอด้วยวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน

          ขณะนั้น เตโชธาตุก็บันดาลติดพระจิตกาธานขึ้นเองด้วยอานุภาพเทพยดา เพลิงได้ลุกพวยพุ่งโชตนาเผาพระพุทธสรีระศพ พร้อมคู่ผ้า ๕๐๐ ชั้นและเครื่องอาภรณ์มหาลดาปสาธน์ กับหีบทองและจิตกาธานจนหมดสิ้น ยั้งมีสิ่งซึ่งเพลิงมิได้เผาให้ย่อยยับไปด้วยอนุภาพพุทธอธิฐานดังนี้ ผ้าห่อหุ้มพระสรีระชั้นใน ๑ ผืน ผ้าห่อนหุ้มพระพุทธสรีระภายนอก ๑ ผืน ทั้งสองนี้แตกฉานการะจัดกระจาย ส่วนพระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) ทั้ง ๒ และพระอุณหิสปัฎ (กระบังหน้า) ๑ พระบรมธาตุทั้ง ๗ นี้ยังปกติดีมิได้แตกกระจัดกระจาย


94
พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ อุบัติในภัททกัปนี้"

คำว่า "กัป" หมายถึง ระยะเวลาที่ยาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักวาฬ ประลัยครั้งหนึ่ง คือกำหนดอายุของโลก ท่านให้เข้าใจด้วยอุปามาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ 1 โยชน์ (๔๐๐ เส้นหรือประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) ทุก 100 ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวกว่านั้น

"กัป" ปัจจุบันนี้เรียกว่า "ภัททกัป" หรือ "ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ เพราะในภัททกัปจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ คือ

          ๑. พระกกุสันธะ
          ๒. พระโกนาคมนะ
          ๓. พระกัสสปะ
          ๔. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)
          ๕. พระศรีอริยเมตไตรย

ในภัททกัปนี้จักมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่ง พระองค์คือ "พระศรีอริยเมตไตรย"
บทนมัสการว่า "นโม พุทธาย" แปลตามศัพท์ว่า "นอบน้อมแต่พระพุทธเจ้า"เป็นคำ กลาง ๆ แต่ก็นับถือกันว่าเป็นบทไหว้พระพุทธเจ้า ๕ ประองค์ น่าจะเพราะนับได้ ๕ อักษร และพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นั้น ก็หมายถึง พระพุทธเจ้าซึ่งได้อุบัติแล้วและจักอุบัติในภัททกัปนี้


95
นะโม     ๓ จบ
     " กินนุสัน ตะละมาโน วราหุ สุริยัน ( จันทัง ) ปมุตจะสิ สังวิคะรุโป อาคัมมภีโต วัตติถะ สีติ สัตตะทาเมภาเล มุทธาชีวันโต นะสุขังละเภ
พุทธบูชา ภิคิโต     มหิโน เจยมุต เจยยะ สุริยัน ติ ( จันทิมา ติ )
     (เที่ยวแรกให้สาธยาย สุริยัน กับ สุริยัน ติ ก่อน และท่องทั้งหมดซ้ำอีก 1 เที่ยว
แต่ให้เปลี่ยนจาก สุริยัน  เป็น  จันทัง และเปลี่ยนสุริยัน ติ เป็น จันทิมา ติ )
     ข้าฯ ขอน้อมถวายสักการะ องค์สุริยัน จันทรา จันทภานุ  พญาศรีธรรมโศกราช   พระราหู ศรีมหาราชพังพระกาฬ พระเทวราชโพธิ์สัตว์จตุคามรามเทพ
            ขอพุทธบารมี เทวบารมี  และมหาบารมีแห่งพระเทวราชโพธิ์สัตว์จตุคามรามเทพ องค์พ่อ จงเมตตาอภิบาลรักษาข้าพเจ้าและ.................ให้อยู่ด้วยความสุขความเจริญด้วยอายุ  วรรณะ  สุขขะ  พละ ปฏิภาณ  ธนสารสมบัติ  วัฒนาถาวรมั่นคง ประสพความสำเร็จในชีวิตและการงาน อุดมด้วยลาภยศสรรเสริญ มั่งมีศรีสุข มีชัยชนะเหนือหมู่มาร ตลอดกาลนานเทอญ
     สาธุ สาธุ สาธุ

96
?จตุคามรามเทพ? เทวดารักษาเมือง
พลตำรวจโทสรรเพชญ  ธรรมาธิกุล  ผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการสืบสวน   อธิบายว่าเทวดารักษาเมืองหรือเทพประจำหลักเมือง หรือเจ้าพ่อหลักเมืองนครศรีธรรมราชคือ ?จตุคามรามเทพ? หรือ ?จันทรภาณุ? ผู้ซึ่ง?ตั้งฟ้าตั้งดิน?สถาปนา?กรุงศรีธรรมโศก? ศูนย์กลางแห่งศรีวิชัย
      ตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายานสาขาหนึ่งเชื่อว่ามนุษย์ทุกรูปทุกนามต้องเวียนว่ายตายเกิดท่ามกลางกองทุกข์  การจะข้ามวัฏสงสารก็ด้วยยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธองค์ หากผู้ใดตั้งปณิธานแน่วแน่ อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือขจัดความทุกข์ยากของมนุษย์ มุ่งบำเพ็ญบารมี 6 ประการ คือ ทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี  วิริยบารมี  ธยานบารมี(ฌานบารมี) และปัญญาบารมี  ครบถ้วนแล้วผู้นั้นจะบรรลุความเป็นมนุษย์โพธิสัตว์ หรือคฤหโพธิสัตว์  หากพากเพียรสร้างบารมีขั้นสูงอีก 4 ประการ คือ อุปายบารมี   ปณิธานบารมี  พลบารมี  และชญานบารมี ผู้นั้นจะสำเร็จเป็นเทวโพธิสัตว์ทรงฤทธานุภาพยิ่งใหญ่ สามารถบังคับฟ้าดิน สำแดงอิทธิฤทธิ์ให้เห็นเป็นร่างแปลงธรรมอันจักช่วยเหลือเกื้อกูลมวลมนุษย์ให้พ้นทุกข์และภัยพิบัติ ก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข 
องค์จตุคามรามเทพ ถึงแล้วซึ่งความแกล้วกล้าสามารถ เจนจบสรรพศาสตร์ทั้งปวง บำเพ็ญบารมีถึงพรหมโพธิสัตว์ จึงทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ จนได้รับนามาภิไธยราชฐานันดรว่า?จันทรภาณุ? ผู้มีอำนาจดั่งพระอาทิตย์และพระจันทร์ ถืออาญาสิทธิ์รูปตราราหูอมจันทร์ และวัฏจักร 12 นักษัตร เป็นสัญลักษณ์  อันเป็นตราประจำเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน
องค์จตุคามรามเทพ มีบริวารเป็นทหารกล้าสี่คน ได้แก่พญาชิงชัย พญาหลวงเมือง พญาสุขุม และพญาโหรา  เป็นกำลังหลักในการปราบพวกพราหมณ์ที่ปกครองเมืองตามพรลิงค์อยู่ก่อน         เมื่อได้บ้านเมืองแล้วก็ได้สร้างพระบรมธาตุ  สถาปนาเมืองสิบสองนักษัตร  หรือกรุงศรีธรรมโศก   ฝังรากฐานพระพุทธศาสนาอย่างถาวร จนได้รับเทิดพระเกียรติว่า ?พญาศรีธรรมาโศกราช?      ภายหลังท่านเป็นเทวดารักษาเมือง สิงสถิตอยู่ ณ รูปจำหลักที่บานประตูไม้ทั้งสองที่ทางขึ้นลานประทักษิณรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชนั่นเอง


                ส่วนบริวารทั้งสี่ก็เป็นเทวดารักษาเมืองประจำทิศของเมืองเช่นเดียวกัน  เมื่อสร้างหลักเมืองแล้วก็ได้อัญเชิญท่านมาสถิต ณ เสาหลักเมืองอันงดงามที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้      องค์จตุคามรามเทพและบริวารนี่เองที่ได้มาแสดงความอัศจรรย์ให้ปรากฏด้วยการประทับทรงหรือ?ผ่านร่าง?มาบอกกล่าวให้สร้างหลักเมือง แก้อาถรรพณ์ดวงเมืองที่พวกพราหมณ์ได้ฝังไว้ทำให้บ้านเมืองไม่ปกติสุข ผู้คนแตกแยกแก่งแย่งชิงดีกันหาความสงบสุขไม่ได้


          ส่วนเทวดารักษาเมืองโดยรอบศาลหลักเมืองนั้นพลตำรวจโทสรรเพชญ  ธรรมาธิกุล อธิบายไว้เป็นสามระดับหรือสามแนว  ได้แก่ แนวแรก  (ระดับล่าง)เป็นเทวดารักษาทิศคือเทวดารักษาทิศเหนือชื่อท้าวกุเวร   


       เทวดารักษาทิศตะวันออกชื่อท้าวธตรฐ  เทวดารักษาทิศใต้ชื่อท้าววิรุฬหก  เทวดารักษาทิศตะวันตกได้แก่ท้าววิรูปักษ์  แนวที่สอง (ระดับกลาง)เป็นจตุโลกเทพ คือพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระพรหมเมือง และพระบันดาลเมือง     แนวที่สาม (ระดับสูง) เป็นไปตามคติพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ในจักรวาลของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือพระไวโรจนพุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง    พระอักโษภยพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันออก      พระอมิตาภะพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันตก  พระรัตนสมภพพุทธเจ้าอยู่ด้านทิศใต้ และพระอโมฆะสิทธิพุทธเจ้าอยู่ด้านเหนือ

             การสักการะเทวดารักษาเมืองนครศรีธรรมราชแบบครบสูตร ใช้เครื่องบูชาอันประกอบด้วย ดอกไม้ 9 สี (หรือ 9 ชนิด หรือ 9 ดอก)   ธูป 9 ดอก    เทียน 9 เล่ม    หมากพลู 9 คำ   ยาเส้น 1 หยิบมือ   และน้ำจืด  1 แก้ว
(หรือ 1 ขวด)   รำลึกถึงเทวดารักษาเมืองดังที่กล่าวนามข้างต้น  ตั้งจิตอธิษฐานตามใจปรารถนา

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

97
บทความ บทกวี / บุคคลที่ควรบูชา
« เมื่อ: 03 เม.ย. 2550, 11:33:05 »
...............บุคคลที่ควรบูชา คือ บุคคลที่มีคุณงามความดี ควรค่าแก่การระลึกถึง และยึดถือเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตาม มีอยู่ด้วยกันจำนวนมาก เช่น พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ พ่อ แม่ ฯลฯ อย่างไรก็ดีพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงบุคคลที่สมควรแก่การสร้างสถูปไว้บูชาไว้เพียง 4 จำพวก ได้แก่

1.พระพุทธเจ้า
เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 
2.พระปัจเจกพุทธเจ้า
เหตุที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 
3.พระอรหันต์ (ในพระสูตรกล่าวเป็น "พระตถาคตสาวก" ซึ่งปกติ หมายถึง "พระอรหันต์")
เหตุที่พระสาวกของพระพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระสาวกของผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 
4.พระเจ้าจักรพรรดิ์
เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระธรรมราชาผู้ทรงธรรมนั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 

98
บทความ บทกวี / พระศรีอาริย์
« เมื่อ: 03 เม.ย. 2550, 11:31:33 »
พระศรีอาริย์
คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
โดย น้าชาติ ประชาชื่น

หลานอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับพระศรีอาริย์ว่า

1.ในบทความมีอยู่ตอนหนึ่งที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้มีพระองค์เดียวในพุทธศาสนา แสดงว่ามีพระพุทธเจ้าหลายองค์ใช่หรือไม่? ถ้าใช่ใช่อย่างไร? ไม่ใช่ ไม่ใช่อย่างไร?

2.พระศรีอาริย์ท่านเป็นใคร? มีรูป ลักษณะอย่างไร? ขอภาพเต็มในคอลัมน์

3.พระศรีอาริย์กับศรีอารยเมตไตรยใช่องค์เดียวกันหรือไม่?

4.พระศรีอาริย์มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างไร?

5.เมื่อถึงยุคพุทธศาสนาเสื่อมจะเกิดอะไรขึ้น? และจะเกิดขึ้นเมื่อใด?

6.จะหาซื้อหนังสือเกี่ยวกับ 2 พระองค์นี้ได้ที่ใด? หนังสือนั้นมีชื่อว่าอย่างไร?/เสือดาว

ตอบ - อยากบอกไว้ก่อนว่าการศึกษาพุทธศาสนานั้น เน้นในเรื่องพระธรรม การใช้สติและปัญญา คิดหาวิธีที่จะดับทุกข์

สำหรับเรื่องที่ถามมา คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา ระบุว่าพระพุทธเจ้า หรือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเพียบพร้อมด้วยพระมหาปัญญาธิคุณ พระมหาวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ทรงอุบัติ(เกิด)ขึ้นในกัปป์ทั้งสิ้น 25 พระองค์

ประกอบด้วย 1.พระทีปังกร 2.พระโกณฑัญญะ 3.พระมงคล 4.พระสุมนะ 5.พระเรวตะ 6.พระโสภิตะ 7.พระอโนมทัสสี 8.พระปทุมะ 9.พระนารทะ 10.พระปทุมุตตระ 11.พระสุเมธะ 12.พระสุชาตะ 13.พระปิยทัสสี 14.อัตถทัสสี 15.ธัมมทัสสี 16.สิทธัตถะ 17.ติสสะ 18.ปุสสะ 19.วิปัสสี 20.สิขี 21.เวสสภู 22.กกุสันธะ 23.โกนาคมนะ 24.กัสสปะ 25.โคตมะ(ในภัทรกัปป์นี้)

สำหรับพระศรีอาริย์ หรือพระศรีอารยเมตไตรยพุทธเจ้านั้น จะทรงอุบัติขึ้นต่อจากพระพุทธเจ้าโคตมะ หลังจากพระพุทธศาสนามีอายุครบ 5,000 ปีแล้ว อธรรมจะครองเมือง ศีลธรรมจะถูกบดบัง อายุของผู้คนจะลดน้อยลงตามลำดับ จากปัจจุบันมีอายุประมาณ 100 ปี จะค่อยลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่ง พ่อแม่มีอายุ 10 ปี ก็มีบุตรธิดา อายุลดลงเหลือ 5 ปี ซึ่งถือเป็นช่วงที่เกิดกลียุค

จากนั้นเกิดมิคสัญญียุค ผู้คนจะเข่นฆ่ากัน มองเห็นกันเป็นสัตว์ตลอดระยะเวลา 7 วัน บางรายหลบเข้าไปในป่า กลับออกมาตั้งกฎกติกาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่เบียดเบียนกัน ประพฤติศีลธรรมจนลูกหลานมีอายุเพิ่มขึ้นตามลำดับ กระทั่งมีอายุประมาณ 80,000 ปี พระศรีอารยเมตไตรยพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้น

ในพระศาสนาของพระองค์ (พระศรีอาริย์) เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างสมบูรณ์ มนุษย์มีจิตใจที่งดงาม ข้าวปลาอาหารพืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ประดุจทิพย์วิมาน

สำหรับประวัติของพระศรีอารยเมตไตรย มีเรื่องปรากฏอยู่ในเมตไตรยสูตร แห่งคัมภีร์พุทธอนาคตวงศ์ ได้กล่าวถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ คือ พระกกุสันธะ,โกนาคมนะ,กัสสปะ โคตมะ และอาริยเมตไตรยะ ซึ่งนักไสยศาสตร์มักจะใช้คำย่อว่า "นโมพุทธายะ"

ยุคที่พุทธศาสนาจะเสื่อมหรือจะเจริญนั้น ระบุไว้ในอรรถกถาสามัญญผลสูตรว่า ยุคที่พุทธศาสนาเจริญนั้น พระภิกษุสงฆ์และชาวพุทธเจริญด้วยศีล ปฏิบัติสมาธิ และบรรลุสามัญญผล (การบรรลุธรรม=โสดาบัน สกทาคามี อนาคามีและอรหัตตผล) ศาสนาพุทธก็จะเจริญ หากแต่ว่าเมื่อภิกษุสงฆ์และชาวพุทธไม่ประพฤติศีล ศีลจะวิบัติ ไม่ฝึกทำสมาธิ สมาธิจะวิบัติ และการบรรลุธรรมก็จะวิบัติหรือเสื่อมได้


99
องคุลิมาล(อังคุลิมาล) พรประวัติ

พระองคุลิมาล เป็นบุตรของคัคคพราหมณ์ (ภัคควพราหมณ์) ซึ่งเป็นปุโรหิตาจารย์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งนครสาวัตถี โกศลรัฐ มารดาของท่านชื่อมันตานี ท่านเกิดเวลากลางคืน ตรงกับฤกษ์โจร เวลาท่านเกิดนั้น บรรดาศัสตราอาวุธทั่วพระนคร ตลอดจนพระแสงหอกดาบของพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ลุกเป็นเปลวเพลิง บิดาของท่านเห็นว่าลางร้ายที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพราะลูกชายของตน จึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลให้ทรงทราบ และกราบทูลขอให้ประหารลูกชายของตนเสีย แต่พระเจ้าปเสนทิโกศล หาได้ทรงกระทำตามไม่ กลับรับสั่งให้เลี้ยงไว้ เพราะทราบจากบิดาของท่านว่า ท่านจะเป็นเพียงโจรร้ายต่อเอกชน ไม่ถึงกับเป็นโจรแย่งราชสมบัติ เวลาท่านเกิดขึ้น แม้ศัสตราอาวุธจะเกิดเป็นลางร้าย แต่หาได้เป็นอันตรายหรือเบียดเบียนใครไม่ ฉะนั้น เพื่อเป็นนิมิตรอันดีงาม เมื่อถึงวันตั้งชื่อ บิดามารดาจึงตั้งชื่อท่านว่าอหิงสกกุมารซึ่งแปลว่าผู้ไม่เบียดเบียนใคร

เมื่ออหิงสกกุมารมีอายุพอจะศึกษาศิลปวิทยาแล้ว บิดามารดาจึงส่งไปเรียนกับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ที่เมืองตักกศิลา อหิงสกกุมารเป็นคนขยัน ตั้งใจเรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย คอยรับใช้อาจารย์ด้วยความเคารพ พูดจาไพเราะ จึงเป็นที่พอใจของอาจารย์มาก แต่ศิษย์คนอื่น ๆ เห็นท่านเป็นคนโปรดของอาจารย์ก็ริษยา พากันออกอุบายยุยงให้อาจารย์เกลียดชังและให้ฆ่าท่าน ทีแรกอาจารย์ไม่เชื่อ แต่เมื่อถูกยุยงหนักเข้าก็กลับใจเชื่อแล้วหาอุบายฆ่าท่าน โดยสั่งให้อหิงสก กุมารไปฆ่าคนให้ได้พันคน แล้วตัดเอานิ้วมือขวามาคนละนิ้ว ให้ได้จำนวนพันนิ้ว เพื่อประกอบพิธีบูชาครู (ครุทักษิณา) ที่อาจารย์สั่งเช่นนี้ ก็เพื่อออกอุบายยืมมือคนอื่นฆ่า ด้วยเห็นว่า เมื่ออหิงสกกุมารปฏิบัติตามคำสั่งของตน ก็จะต้องมีใครคนใดคนหนึ่งต่อสู้ และฆ่าท่านจนได้ ทีแรกอหิงสกกุมารปฏิเสธ โดยอ้างว่าท่านเกิดในตระกูลที่ไม่เบียดเบียนใคร แต่อาจารย์บอกว่า ศิลปศาสตร์ที่เรียนไปแล้ว ถ้ามิได้บูชาครู ก็จะไม่อำนวยผลที่ต้องการ ด้วยนิสัยรักวิชาอหิงสกกุมารจึงยอมปฏิบัติตาม โดยออกไปสู่ป่าชาลิวัน ในแคว้นโกศลอาศัยอยู่ที่หุบเขาแห่งหนึ่ง คอยดักฆ่าคนเดินทาง ออกเที่ยวปล้นหมู่บ้านและตำบลต่าง ๆ เป็นโกลาหล ได้ฆ่าคนล้มตายเป็นจำนวนมาก แล้วตัดเอานิ้วมือคนที่ตายคนละหนึ่งนิ้วมาทำเป็นพวงมาลัยคล้องคอไว้ ฉะนั้นคนจึงเรียกชื่อท่านว่า องคุลิมาล การกระทำอันอุกอาจเหี้ยมหาญขององคุลิมาล ได้ทำให้ผู้คนในหมู่บ้านและตำบลต่าง ๆ หวาดกลัวเป็นที่สุด ไม่เป็นอันหลับอันนอน พากันทิ้งบ้านเรือน อุ้มลูกจูงหลายอพยพหลบภัยไปสู่พระนครสาวัตถี แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระเจ้าปเสนทิโกศล ขณะนั้นคัคคพราหมณ์ผู้เป็นบิดาขององคุลิมาลนึกเดาถูกว่า โจรองคุลิมาลนั้น จะต้องเป็นอหิงสกกุมารลูกชายของตนแน่ และกลัวว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลจะเสด็จไปจับลูกชายของตนประหารเสีย จึงหารือกับนางมันตานีว่า จะทำอย่างไรดี ในที่สุด นางมันตานี ผู้มารดาก็ตัดสินใจรีบออกเดินทางไป เพื่อนำลูกชายหลบหนีมาบ้าน

เวลานั้น โจรองคุลิมาลได้นิ้วมือไม่ครบ ๑,๐๐๐ นิ้ว ยังขาดอยู่นิ้วเดียวเท่านั้น จึงกระหายเป็นกำลัง และตั้งใจว่า ถ้าพบใครก่อนก็จะฆ่าทันทีเพื่อจะได้นิ้วมือครบตามต้องการ แล้วจะได้ตัดผม โกนหนวดอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า แล้วไปเยี่ยมบิดามารดาเช้าตรู่วันนั้น พระบรมศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นว่าองคุลิมาลเป็นผู้มีอุปนิสัยพอที่จะโปรดให้บรรลุมรรคผลได้ และทรงพระดำริเห็นว่าถ้าพระองค์มิได้เสด็จไปโปรด องคุลิมาลก็จะฆ่ามารดาของตนเสีย จะเป็นผู้บาปหนักอย่างช่วยไม่ขึ้น พระองค์จึงเสด็จมุ่งตรงไปยังป่าชาลิวัน เป็นระยะทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อสกัดองคุลิมาลไว้ มิให้ทันได้ฆ่ามารดา ในระหว่างทางนั้น พวกคนเลี้ยงโคได้พากันวิ่งเข้าไปกราบทูลขอร้องมิให้เสด็จไปหาองคุลิมาล เพราะกลัวพระองค์จะได้รับอันตราย แต่พระพุทธองค์ทรงเฉยเสีย แล้วเสด็จดำเนินต่อไปจนถึงป่าชาลิวัน เมื่อเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกล องคุลิมาลก็ประหลาดใจ เพราะผู้คนที่เคยเดินทางผ่านมายังป่านนั้น แม้มีจำนวนเป็นสิบ ๆ ก็ต้องตกอยู่ในเงื้อมมือของตนทั้งนั้น เมื่อเห็นพระพุทธองค์เสด็จมาพระองค์เดียว ก็ให้นึกเคืองขึ้นทันที เห็นว่าเป็นการมาข่มขู่ดูหมิ่นตนอย่างชัด ๆ จึงตัดสินใจจะสังหารพระพุทธองค์ให้สมใจนึก แล้วฉวยเอาดาบและธนูสะพายแล่ง เขม้นมอง วิ่งออกติดตามพระพุทธองค์ทันที ความตอนนี้ ท่านพระธรรมปาลาจารย์ กล่าวว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จไปถึงป่าชาลิวัน มารดาองคุลิมาลได้เดินทางไปถึงก่อน พอเห็นมารดาเดินมาคนเดียวแต่ที่ไกล องคุลิมาลก็ตัดสินใจจะฆ่ามารดาทันทีแล้วชักดาบขึ้นเงื้อง่า วิ่งเข้าไปมารดาของตน ทันใดนั้น พระพุทธองค์ก็เสด็จไปถึง ทรงแสดงพระองค์ปรากฏอยู่ท่ามกลางระหว่างคนทั้งสองนั้น ครั้นองคุลิมาลเห็นเช่นนั้นก็เปลี่ยนใจ จะไม่ฆ่ามารดาของตน แต่จะปลงพระชนม์พระพุทธองค์แทน จึงชักดาบเงื้อง่า วิ่งติดตามพระพุทธองค์ทันที แต่ด้วยพุทธานุภาพ องคุลิมาลวิ่งไล่ติดตามเป็นระยะทางตั้ง ๓ โยชน์ พยายามวิ่งเท่าไร ๆ ก็ไม่ทันพระพุทธองค์ จึงเหนื่อยหอบ น้ำลายแห้งผากเหงื่อไหลโชก แล้วหยุดยืนตะโกนเรียกพระพุทธองค์ว่า "หยุดสมณะ! หยุดซีสมณะ!" พระพุทธองค์จึงมีพระดำรัสตอบว่า "ดูก่อนองคุลิมาล เราได้หยุดแล้ว เธอจงหยุดเถิด" องคุลิมาลได้ฟังพระดำรัสเช่นนั้น ก็เกิดเฉลียวใจและสงสัยทันที แล้วทูลถามพระพุทธองค์ว่า "สมณะ ท่านกำลังเดินอยู่แท้ ๆ ไฉนจึงบอกว่าท่านได้หยุดแล้ว ข้าหยุดยืนอยู่แท้ ๆ ไฉนท่านจึงบอกให้ข้าหยุดอีกเล่า?" พระพุทธองค์มีพระดำรัสตอบว่า "องคุลิมาล เราได้หยุด คือเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตแล้ว ส่วนตัวเธอยังไม่หยุด คือยังฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอยู่ เราจึงพูดเช่นนั้น" องคุลิมาลได้ยินพระสุรเสียงอันแจ่มใส พระดำรัสที่คมคายเช่นนั้น ก็เกิดใจอ่อนรู้สึกสำนึกผิดได้ทันที แล้ววางดาบทิ้งธนู สลัดแล่ง โยนทิ้งลงเหวที่หุบเขาเข้าไปถวายบังคมพระบาทยุคลของพระพุทธองค์ ทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้บวชเป็นภิกษุ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาแล้วเสด็จพาองคุลิมาลภิกษุไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร ณ กรุงสาวัตถี ขณะนั้น ด้วยการเรียกร้องของประชาชน พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงได้เสด็จเคลื่อนพลออกจากนครสาวัตถี เพื่อไปปราบองคุลิมาล และได้เสด็จแวะเฝ้าพระพุทธองค์ที่พระเชตวัน กราบทูลเล่าเรื่องที่จะเสด็จไปปราบองคุลิมาลให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงแนะนำให้รู้จักภิกษุองคุลิมาล ซึ่งนั่งอยู่ใกล้ๆ พระองค์ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสะดุ้งกลัว และแปลกพระทัยมากที่พระพุทธองค์ทรงสามารถปราบโจรร้ายได้ โดยไม่ต้องใช้อาญาและศัสตราอาวุธใด ๆ แล้วทรงปวารณาจะอุปถัมภ์ภิกษุองคุลิมาลด้วยปัจจัย ๔ แต่ภิกษุองคุลิมาลปฏิเสธ เพราะท่านถือธุดงควัตร ๔ ประการคือถืออยู่ป่า ออกบิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล และถือไตรจีวรเป็นนิจ

ครั้งหนึ่ง ท่านเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ชาวพระนครเห็นเข้าตกใจกลัว พากันวิ่งหนีเป็นอลหม่าน บ้างก็ปิดประตูบ้านประตูเรือน ที่หนีไม่ทันก็หันหลังให้ ท่านไม่ได้อาหารเลยแม้แต่ทัพพีเดียว ต่อมา ท่านเข้าไปบิณฑบาต เห็นหญิงคลอดลูกไม่ออกคนหนึ่ง จึงเกิดความสงสารใคร่จะช่วย เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสบอกมนต์คลอดลูกง่ายให้บทหนึ่ง ท่านเรียนมนต์นั้นแล้วกลับเข้าไปช่วยหญิงคนนั้น ได้ทำให้คลอดลูกง่ายเหมือนเทน้ำจากกระบอกกรองน้ำ มนต์บทนั้น มีชื่อว่า มหาปริตต์ (องคุลิมาลปริตต์) นับแต่วันที่ช่วยหญิงคนนั้นคลอดลูกมา ภิกษุองคุลิมาลก็มีอาหารฉันอุดมสมบูรณ์ขึ้น

ต่อมา ภิกษุองคุลิมาล ก็หลีกออกจากคณะไปบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ผู้เดียว ไม่นานเท่าไรนัก ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ครั้งหนึ่ง ท่านได้เข้าไปบิณฑบาติในเมืองสาวัตถี ถูกประชาชนขว้างปาด้วยก้อนอิฐ ก้อนหิน และท่อนไม้ จนศีรษะแตก เลือกไหล บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ขาด เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ แล้วตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาทที่ทรงแนะนำให้เป็นผู้รู้จัดอดทนและให้ถือว่าเป็นการใช้กรรมชั่วครั้งก่อนของท่าน ในอรรถกถาธรรมบทกล่าวว่า หลังจากอุปสมบทแล้วไม่นานนัก ท่านก็ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุการโปรดองคุลิมาล นับเป็นการทรงกระทำสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นข้อที่น่าอัศจรรย์ยิ่งของพระพุทธองค์ เช่นในมหาสุตโสมชาดก(๗) พระสงฆ์ก็สนทนากันปรารภถึงเรื่องนี้ การอนุญาตให้องคุลิมาลบวชได้เป็นเรื่องที่ประชาชนยกขึ้นตำหนิพระสงฆ์ และพระพุทธองค์ก็ทรงบัญญัติพระวินัยห้ามมิให้บวชโจรที่ถูกจับได้ต่อไป ชีวิตขององคุลิมาลนับเป็นตัวอย่างของการทำบุญเพื่อพ้นจากผลบาปเก่าอันจะเกิดขึ้น
ะมหาสาวกหนึ่งในอสีติมหาสาวก

100
ประวัติ พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก

พระสีวลี เป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ราชธิดาแห่งโกลิยนคร ตั้งแต่ท่านจุติลงถือปฏิสนธิในครรภ์ของพระมารดา ได้ทำให้ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระมารดาเป็นอันมาก ท่าน
อาศัยอยู่ในครรภ์ของพระมารดา นานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ครั้นเมื่อใกล้เวลาจะประสูติ พระมารดาได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า พระนางจึงขอให้พระสวามีไปกราบบังคมทูลขอพร จากพระบรมศาสดาและพระพุทธองค์ตรัสประทานพรแก่พระนางว่า:-

?ขอพระนางสุปปวาสา พระราชธิดาแห่งพระเจ้ากรุงโกลิยะ จงเป็นหญิงมีความสุข
ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชโอรสผู้หาโรคมิได้เถิด?

ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธานุภาพ ทุกขเวทนาของพระนางก็อันตรธานไป พระนางประสูติพระราชโอรสอย่างง่ายดาย ดุจน้ำไหลออกจากหม้อ พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขนานพระนามพระราชโอรสของพระนางสุปปวาสาว่า ?สีวลีกุมาร? เมื่อพระนางมีพระวรกายแข็งแรงดีแล้ว มีพระประสงค์ที่จะถวายมหาทานติดต่อกันเป็นเวลา ๗ วัน จึงจึงความประสงค์แก่พระสวามีให้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ มารับมหาทานอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวสน์ ตลอด ๗ วัน ในวันถวายมหาทานนั้น สีวลีกุมาร มีพระวรกายเข้มแข็งดุจกุมารผู้มีพระชนม์ ๗ พรรษา ได้ช่วยพระบิดาและพระมารดาจัดแจงกิจต่าง ๆ มีการนำธมกรก (ธะมะกะหรก = กระบอกกรองน้ำ) มากรองน้ำดื่มและอังคาสพระบรมศาสดาและหมู่พระภิกษุสงฆ์ ในขณะที่สีวลีกุมาร ช่วยพระบิดาและพระมารดาอยู่นั้น ท่านพระสารีบุตรเถระได้สังเกตดูอยู่ตลอดเวลา และเกิดความรู้สึกพอใจในพระราชกุมารน้อยเป็นอย่างมาก ครั้นถึงวันที่ ๗ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย พระเถระได้สนทนากับสีวลีกุมารแล้วชักชวนให้มาบวช สีวลีกุมาร ผู้มีจิตน้อมไปในการบวชอยู่แล้ว เมื่อพระเถระชักชวน จึงกราบทูลขออนุญาตจากพระบิดาและพระมารดา เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงติดตามพระเถระไปยังพระอารามพระสารีบุตรเถระ ผู้รับภาระเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้สอนพระกรรมฐานเบื้องต้น คือ ตจปัญจกกรรมฐานทั้ง ๕ ได้แก่ เกสา(ผม) โลมา(ขน) นขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตโจ (หนัง) ให้พิจารณาของทั้ง ๕ เหล่านี้ว่าเป็นของไม่งานเป็นของสกปรก ไม่ควรเข้าไปยึดติดหลงใหลในสิ่งเหล่านี้ สีวลีกุมาร ได้สดับพระกรรมฐานนั้นแล้วนำไปพิจารณาในขณะที่กำลังจรดมีดโกนเพื่อโกนผม ครั้งแรกนั้นท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๒ ท่านได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๓ ท่านได้บรรลุเป็นพระอนาคามี และเมื่อโกนผมเสร็จ ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วปรากฏว่าท่านเป็นพุทธสาวกที่มีลาภสักการะมากมาย ด้วยอำนาจบุญบารมีของท่านที่สั่งสมมา ลาภสักการะเหล่านี้ได้เผื่อแผ่ไปยังพระสงฆ์สาวกท่านอื่น ๆ ด้วย แม้พระบรมศาสดาเมื่อทรงพาหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จทางไกลกันดาร ถ้ามี พระสีวลี ร่วมเดินทางไปด้วย ความขาดแคลนอาหารและที่พักอาศัยในระหว่างทางก็จะไม่เกิดขึ้นแก่หมู่ภิกษุสงฆ์เลย เช่น....

พระพุทธองค์และหมู่ภิกษุอาศัยบุญพระสีวลี

สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จำนวน ๕๐๐ รูปไปเยี่ยมพระเรวตะผู้เป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระ ซึ่งจำพรรษาอยู่ ณ ป่าไม้ตะเคียน เมื่อเสด็จมาถึงทาง ๒ แพร่ง พระอานนท์เถระได้กราบทูลสภาพหนทางว่า.....

?ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเสด็จไปทางอ้อม ระยะทางไกล ๖๐ โยชน์ มีประชาชนอยู่
อาศัยมาก พระภิกษุไม่ลบากด้วยภิกขาจาร แต่ถ้าเสด็จไปทางลัดระยะทางประมาณ ๓๐ โยชน์
ไม่มีประชาชนอยู่อาศัย มีสภาพเป็นป่าใหญ่ มีแต่อมนุษย์อยู่อาศัย พระภิกษุสงฆ์จะลำบากด้วย
ภิกขาจาร?

พระพุทธองค์ ตรัสถามว่า:-

?ดูก่อนอานนท์ พระสีวลีมากับเราด้วยหรือไม่??
?ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเสวลีมากับเราด้วย พระเจ้าข้า?

พระพุทธองค์ ตรัสว่า:-

?ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้นก็จงไปทางลัด ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกังวลด้วยอาหาร
บิณฑบาต เพราะเทวดาทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ในป่าระหว่างทาง จะจัดสถานที่พักและอาหาร
บิณฑบาตไว้ถวายพระสีวลีผู้เป็นที่เคารพนับถือของพวกตน เราทั้งหลายก็จะได้อาศัยบุญของ
พระสีวลี นั้นด้วย?


ได้รับยกย่องในทางผู้มีลาภมาก

ด้วยอำนาจบุญที่ท่านพระสีวลี ได้บำเพ็ญสั่งสมอบรมมาตั้งแต่อดีตชาติ เป็นปัจจัยส่งผลให้ท่านเจริญด้วยลาภสักการะ โดยมีเทพยาดา นาค ครุฑ และมนุษย์ทั้งหลาย นำมาถวายโดยมิ
ขาดตกบกพร่อง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในที่ใด ๆ ในป่า ในบ้าน ในน้ำ หรือบนบก เป็นต้นด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ จึงทรงประกาศให้ปรากฏในหมู่พุทธบริษัทตรัสยกย่องท่านในตำแหน่ง เอคทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้มีลาภมาก นับว่าท่านพระสีวลีเถระเป็นพระมหาสาวกอีกรูปหนึ่งที่ได้ช่วยกิจการ พระศาสนา แบ่งเบาภาระของพระบรมศาสดาเป็นอย่างมาก ท่านดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

101
ประวัติ พระมหาโมคคัลลานเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์

พระมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้านในหมู่บ้านโกลิตคาม ได้ชื่อว่า ?โกลิตะ? ตามชื่อของหมู่บ้าน มารดาชื่อ โมคคัลลี คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า ?โมคคัลลานะ? ตามชื่อของมารดา ท่านเป็นสหายที่รักกันมากับอุปติสสมาณพ เที่ยวแสวงหาความสุขความสำราญ ตามประสาวัยรุ่น และพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย นอกจากนี้ยังมีอุปนิสัยใจคอเหมือนกัน และยังได้ออกบวชพร้อมกันอีกด้วย (ประวัติเบื้องต้นของท่านถึงศึกษาจากประวัติของพระสารีบุตร)

ทรงแสดงอุบายแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะ

พระมหาโมคคัลลานะ เมื่ออุปสมบทได้ ๗ วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่ป่าใกล้บ้านกัลป์ลาวาลมุตตาคาม แขวงมคธ ถูกถีนมิทธารมณ์ คือ ความง่วงเหงาเข้าครอบงำ ไม่สามารถจะทำความเพียรได้ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ สวนเภสกลาวัน ซึ่งเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่เนื้อ ใกล้เมืองสุงสุมารคิรี อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นภัคคะ ทรงทราบด้วยพระญาณว่าพระโมคคัลลานะ โงกง่วงอยู่ จึงทรงทำปาฏิหาริย์ให้เห็นปรากฏ ประหนึ่งว่าเสด็จประทับอยู่ตรงหน้า ทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วงแก่เธอตามลำดับ ดังนี้:-

๑. โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างใดแล้ว เกิดความง่วงขึ้น เธอจงทำไว้ในใจซึ่ง
สัญญาอย่างนั้นให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้
๒. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองถึงธรรมที่ได้เรียนมาแล้ว ได้ฟังมาแล้วให้มาก จะ
เป็นเหตุให้ละความง่วงได้
๓. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมที่ได้เรียนได้ฟังมาแล้วให้มากจะเป็นเหตุให้ละ
ความง่วงได้
๔. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรยอนช่วงหูทั้งสองข้าง และลูบตัวด้วยฝ่ายมือจะเป็นเหตุให้ละ
ความง่วงได้
๕. ถ้ายังละไม่ได้ เธอจงลุกขึ้นแล้วลูบนัยน์ตา ลูบหน้าด้วยน้ำเหลียวดูทิศทั้งหลาย
แหงนดูดาว จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้
๖. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรทำไว้ในใจถึงอาโลกสัญญา ถือ กำหนดความสว่างไว้ในใจ
เหมือนกัน ทั้งกลางวันและกลางคืน ทำใจให้เปิด ให้สว่าง จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้
๗. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรเดินจงกรมสำรวมอินทรีย์ มีจิตใจไม่คิดไปภายนอก จะเป็น
เหตุให้ละความง่วงได้
๘. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าให้เลื่อมกัน มี
สติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นเป็นนิตย์ เมื่อตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจะไม่
ประกอบความสุขในการนอนและการเคลิ้มหลับอีกจะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้
พระพุทธองค์ ตรัสสอนอุบายเพื่อบรรเทาความง่วงโดยลำดับจนที่สุดถ้ายังไม่หายง่วงก็
ให้นอน แต่ให้นอนอย่างมีสติ เมื่อปรานอุบายแก้ง่วงดังนี้แล้วได้ประทานพระโอวาทอีก ๓ ข้อ
คือ:-

๑. โมคคัลลานะ เธอจงทำไว้ในใจว่า เราจะไม่ชูงวง คือ ความถือตัวว่าเราเป็นนั่น เป็น
นี่ เข้าไปสู่สกุล เพราะถ้าภิกษุถือตัวเข้าไปสู่สกุลด้วยคิดว่าเขาจะต้องต้อนรับเราอย่างนั้นอย่างนี้
ถ้าคนในสกุลเขามีการงานมาก ก็จะเกิดอิดหนาระอาใจ ถ้าเขาไม่ใส่ใจต้องรับ เธอก็จะเก้อเขินคิด
ไปในทางต่าง ๆ เกิดความฟุ้งซ่านไม่สำรวม จิตก็จะห่างจากสมาธิ
๒. โมคคัลลานะ เธอจงทำไว้ในใจว่า เราจักไม่พูดคำอันเป็นเหตุเถียงกันเพราะถ้าเถียง
กันก็จะต้องพูดมาก และผิดใจกัน เป็นเหตุให้ฟุ้งซ่านไม่สำรวม และจิตก็จะห่างจากสมาธิ
๓. โมคคัลลานะ ตถาคตไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยประการทั้งปวง แต่ก็ไม่ตำหนิ
การคลุกคลีไปทุกอย่าง คือ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีกับหมู่ชน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต แต่
เราสรรเสริญการคลุกคลีด้วยเสนาสนะ อันสงบสงัดปราศจากเสียงอื้ออึง ควรแก่การหลีกเร้นอยู่
ตามสมณวิสัย

ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลถามถึงข้อปฏิบัติอันเป็นธรรมชักนำไปสู่การสิ้นตัณหา เกษมจากโยคะคือกิเลสเครื่องประกอบให้จิตติดอยู่พระพุทธองค์ ตรัสสอนในเรื่องธาตุกรรมฐาน โดยใจความว่า ?ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ควรกำหนดธรรมเหล่านั้น ในยามเมื่อเสวยเวทนา
อันเป็นสุขหรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง และให้พิจารณาดังปัญญา อันประกอบด้วยความหน่าย ความดับ และความไม่ยึดมั่น จิตก็จะพ้นจากอาสวกิเลส เป็นผู้รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว? พระมหาโมคคัลลานะ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนา ช่วยแบ่งเบาภารกิจ และยังพุทธดำริต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยดี เพราะท่านมีฤทธิ์มีอานุภาพยิ่งกว่าพระสาวกรูปอื่น ๆ จนได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พระอัครสาวกเบื้องซ้าย โดยทรงยกย่องให้เป็นอัครสาวกคู่กับพระสารีบุตรว่า:-

?พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดบุตร
พระโมคคัลลานะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เปรียบเสมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดมาแล้ว
พระสารีบุตร ย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระโมคคัลลานะ ย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณ
เบื้องสูงขึ้นไป?

นอกจากนี้ พระมหาโมคคัลลานะ ยังเป็นผู้มีความสามารถในการ นวกรรม คือ งานก่อสร้าง พระบรมศาสดาเคยทรงมอบหมายให้ท่านรับหน้าที่ นวกัมมาธิฏฐายี คือ ผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้างวิหารบุพพาราม ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งนางวิสาขาบริจาคทรัพย์สร้างถวายอีกด้วย

พระเถระมีความสามารถในทางอิทธิปาฏิหาริย์

พระมหาโมคคัลลานะ เมื่อบวชและสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วปรากฏว่าท่านมีความสามารถโดดเด่นในทางอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นเลิศ กว่าภิกษุทั้งหลาย ท่านสามารถแสดงฤทธิ์ ไปยังภูมิของสัตว์นรก และไปโลกสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ได้ ท่านได้พบเห็นสัตว์นรกในขุมต่าง ๆ ที่ได้เสวยความสุขจากการทำบุญไว้ในเมืองมนุษย์เช่นกัน ท่านได้นำข่าวสารของสัตว์นรกและของเทพบุตรเทพธิดาเหล่านั้น มาแจ้งแก่บรรดาญาติและชนทั้งหลายให้ทราบ ทำให้บรรดาญาติและชนเหล่านั้นพากันละเว้นกรรมชั่วลามกอันจะพาตนไปเสวยผลกรรมในนรก พากันสร้างบุญกุศล อันจะนำตนไปสู่สุคติโลกสวรรค์ และพร้อมกันนั้นก็พากันทำบุญอุทิศไปให้แก่ญาติของตน เหล่าชนบางพวกที่ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็พากันละทิ้งลัทธิศาสนาเดิมมาศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น ทำให้พวกเดียรถีย์ทั้งหลายต้องเสื่อมจากลาภสักการะ เป็นอยู่ลำบากอดอยากขึ้นเรื่อย ๆ

พระมหาโมคคัลลานเถระถูกโจรทุบ

วันเวลาผ่านไปตามลำดับ เข้าสู่ปัจฉิมโพธิกาล ขณะที่ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระพักอยู่ที่กาฬศิลา ในมคธชนบทนั้น
พวกเดียรถีย์ ทั้งหลาย มีความโกรธแค้นพระมหาโมคคัลลานเถระ เป็นอย่างมาก เพราะความที่ท่านมีฤทธานุภาพมาก สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ ไปเยี่ยมชมสวรรค์และนรกได้ แล้วนำข่าวสารมาบอกแก่ญาติมิตรของผู้ไปเกิดในสวรรค์และนรกให้ได้ทราบประชาชนทั้งหลายจึงพากันเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทำให้พวกเดียรถีย์ ต้องเสื่อมคลายความเคารพนับถือจากประชาชน ลาภสักการะก็เสื่อมลง ความเป็นอยู่ก็ลำบากฝืดเคือง จึงปรึกษากันแล้วมีความเห็นอันเดียว
กันว่า ?ต้องกำจัดพระมหาโมคคัลลานะ เพื่อตัดปัญหา? ตกลงกันแล้ว ก็เรี่ยไรเงินทุนจากบรรดาศิษย์ และอุปัฏฐากของตนเมื่อได้เงินมาพอแก่
ความต้องการแล้ว ได้ติดต่อจ้างโจรให้ฆ่าพระเถระ พวกโจรใจบาป ได้รับเงินสินบนแล้วพากันไปล้อมจับพระเถระถึงที่พัก แต่พระเถระรู้ตัวและหลบหนีไปได้ถึง ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ พระเถระได้พิจารณาเห็นกรรมเก่า ที่ตนเคยทำไว้ในอดีตชาติติดตามมา และเห็นว่ากรรมเก่านั้นทำอย่างไรก็หนีไม่พ้น จึงยอมให้พวกโจรจับอย่างง่ายดาย และถูกพวกโจรทุบตีจนกระดูกแตกแหลกเหลวไม่มีชิ้นดี พวกโจรแน่ใจว่าท่านตายแล้ว จึงนำร่างของท่านไปทิ้งในป่าแห่งหนึ่ง แล้วพากันหลบหนีไป

กราบทูลลานิพพาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ คิดว่า ?เราควรไปกราบทูลลาพระผู้มีพระภาค ก่อนจึงปรินิพพาน? ดังนี้แล้วก็เรียบเรียงสรีรกายประสานกระดูกผูกหมั่นด้วยกำลังฌาน เหาะมาเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลลาปรินิพพาน พระพุทธองค์ตรัสถามว่า ?โมคคัลลานะ เธอจะปรินิพพาน ที่ไหน เมื่อไร ??
?ข้าพระองค์ จะนิพพานที่กาฬศิลาในวันนี้ พระเจ้าข้า?
?โมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงแสดงธรรมแก่ตถาคตก่อน ด้วยว่าการได้เห็นพระเถระเช่นเธอนี้ จะไม่มีอีกแล้ว?
พระเถระได้รับพระพุทธบัญชาเช่นนั้นจึงทำปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศแสดงพระธรรมเทศนาแล้วลงมาถวายอภิวาทกราบทูลลาไปยังกาฬศิลา และปรินิพพาน ณ ที่นั้น ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ หลังจากพระสารีบุตรนิพพานได้ ๑๕ วันพระผู้มีพระภาค เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ทรงเป็นองค์ประธานจุดเพลิงฌาปนกิจศพให้ท่าน ขณะนั้น ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงมาโดยรอบบริเวณ มหาชนพากันประชุมทำสักการะอัฐิธาตุตลอด ๗ วัน พระพุทธองค์โปรดให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ ที่ใกล้ซุ้มประตูแห่งพระเชตะวัดมหาวิหารนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระอัครสาวกทั้งขวาและซ้ายนิพพานหมดแล้ว ก็เปรียบประหนึ่งต้นหว้าแก่ที่กิ่งใหญ่ทั้งสองหักลงแล้ว คงเหลือแต่พระอานนท์ ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากเพียงองค์เดียว เที่ยวติดตามประการหนึ่งว่าเงาตามพระองค์ ฉะนั้น


102
ประวัติ พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร

พระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ตระกูลกัจจายนะ ผู้เป็นปุโรหิต (ที่ปรึกษา) ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี เดิมท่านชื่อว่า ?กัญจนะ? เพราะมีรูปร่างลักษณะงามสง่า มีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น เมื่อเจริญวัยขึ้น ได้เรียนจบไตรเพท คือ คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์ เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้วได้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวจาริกประกาศหลักธรรมคำสอนตามคามนิคมชนบทอยู่นั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชต มีพระราชประสงค์จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จสู่กรุงอุชเชนีของพระองค์บ้าง จึงรับสั่งให้ปุโรหิจกัจจายนะไปกราบทูลอาราธนา กัจจายนะถือโอกาสกราบทูลลาเพื่ออุปสมบทด้วย เมื่อทรงอนุญาตแล้วจึงพร้อมด้วยบริวารติดตามอีก ๗ คน เดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อเดินทางไปถึงก็รับเข้าเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสพระธรรมเทศนาให้ฟัง และท่านทั้ง ๘ คนนั้น ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วกราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปนา เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จสู่กรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางมา แต่พระบรมศาสดารับสั่งให้ท่านไปเอง พระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาวเมืองก็จะเกิดศรัทธาเหมือนกันพระมหากัจจายนะ จึงกราบทูลลาพระบรมศาสดาพาภิกษุบริวารอีก ๗ องค์นั้น เดินทางกลับสู่กรุงอุชเชนี ประกาศหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาวเมืองได้สดับรับฟัง เกิดศรัทธาเลื่อมใส ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่กระจายทั่วกรุงอุชเชนีแล้ว ท่านก็ได้เดินทางกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก

กราบทูลขอพระบรมพุทธานุญาตแก้ไขพุทธบัญญัติ

เสมือนหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะ พักอาศัยอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท ขณะนั้น มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อว่า โสณกุฎิกัณณะ มีศรัทธาจะอุปสมบท แต่เนื่องจากในอวันตีชนบทนั้นมีพระภิกษุจำนวนน้อย ไม่ครบเป็นคณปูรกะจำนวน ๑๐ รูป (ทสวรรค) ตามพระบรมพุทธานุญาต ท่านจึงให้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่นานถึง ๓ ปีกว่าจะได้อุปสมบท และเมื่อท่านโสณกุฏิกัณณะได้อุปสมบทแล้ว ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้กราบลาพระมหากัจจายนะ ก็อนุญาตพร้อมทั้งสั่งให้ไปราบทูลขอพระบรมพุทธานุญาต ให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ๕ ข้อ ซึ่งไม่สะดวกแก่พระภิกษุผู้อยู่ในอวันตีชนบท คือ:-

๑) ในอวันตีชนบท มีพระภิกษุจำนวนน้อย ขอให้พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะพระภิกษุน้อยกว่า ๑๐ รูปได้ ข้อนี้ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตว่า ?ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตการอุปสมบทในปัจจันตชนบท ด้วยคณะพระภิกษุ ๕ รูปได้?
๒) ในอวันตีชนบท มีพื้นดินขรุขระไม่เรียบไม่สม่ำเสมอ ขอให้พระผู้มีอาภาคทรงอนุญาตให้พระภิกษุในอวันตีชนบทสวมรองเท้ามีพื้นหลายชั้นได้ ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า ?ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตให้ภิกษุสวมรองเท้ามีพื้นหลายชั้น ใน ปัจจันตชนบทได้?
๓) ในอวันตีชนบท อากาศร้อน บุคคลต้องอาบน้ำทุกวัน ขอพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาบน้ำเป็นนิตย์ได้ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า ?ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์แก่ภิกษุผู้อยู่ใน ปัจจันตชนบท?
๔) ในอวันตีชนบท มีเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังมีหนังแพะ และหนังแกะ เป็นต้น สมบูรณ์ดีเหมือนในมัชฌิมชนบท ขอพระพุทธองค์ทรงอนุญาตเครื่องลาดทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ และหนังแกะ เป็นต้นเหล่านั้นเถิด ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า ?ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์เหล่านั้น?
๕) ทายกทั้งหลาย มักจะถวายจีวรแก่ภิกษุผู้ที่ออกจากวัดไปแล้ว ด้วยสั่งไว้ว่า ?ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้? เมื่อเธอกลับมาแล้ว ทายกได้นำจีวรเข้าไปถวาย แต่เธอไม่ยอมรับด้วยเข้าใจว่า ผ้าผืนนี้เป็นนิสสัคคีย์ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า ?ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตให้ภิกษุรับจีวรที่ทายกถวายลับหลังได้ ด้วยว่า ผ้ายังไม่ถึงมือเธอตราบใด จะถือว่าเธอมีสิทธิ์ในผ้าผืนนั้นเต็มที่ไม่ได้ตราบนั้น?

ความสามารถพิเศษของพระมหากัจจายนเถระ

พระมหากัจจายนเถระ เป็นพระพุทธสาวก ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถอธิบายธรรมที่ย่อให้พิสดาร ให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาเลื่อมใสได้โดยไม่ยาก ทั้งนี้เพราะส่วนหนึ่งท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในปฏิสัมภิทา ๔ คือ:-

๑) อัตถปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถ สามารถอธิบายความย่อให้พิสดารได้
๒) ธัมาปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในธรรม สามารถถือเอาความโดยย่อจากธรรมที่พิสดารได้
๓) นิรุตติปฏสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในนิรุตติ มีความเชี่ยวชาญในภาษา สามารถพูดให้คนอื่นเลื่อมใสได้
๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ มีไหวพริบและปฏิภาณ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้

นอกจากนี้ยังมีพระธรรมเทศนาของท่านอีกหลายกัณฑ์ ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ ได้ยกขึ้นสู่สังคีติ คือการทำสังคายนา ได้แก่:-

๑ ภัทเทกรัตตสูตร เป็นสูตรที่แสดงถึงเรื่องบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ คือ คนที่เวลาวันคืนหนึ่ง ๆ มีแต่ความดีงาม ความเจริญก้าวหน้า ได้แก่ ผู้ที่ไม่มัวครุ่นคิดถึงอดีต ไม่เพ้อฝันหวังอนาคต ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ทำความดีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยไป มีความเพียรพยายามทำกิจที่ควรทำตั้งแต่ในวันนี้
๒ มธุรสูตร เป็นสูตรที่ท่านแสดงแก่พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ในขณะที่ท่านพักอยู่ที่คุณธาวัน มธุรราชธานี สูตรนี้มีใจความแสดงถึงความไม่แตกต่างกันของวรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร วรรณะทั้ง ๔ นี้ แม้จะถือตัวอย่าง เหยียดหยามกันอย่างไร แต่ถ้าทำดีก็ไปสู่ที่ดีเหมือนกันทั้งหมด ถ้าทำชั่วก็ต้องรับโทษไปอบายเหมือนกันทั้งหมดทุกวรรณะเสมอกัน ในพระธรรมวินัย ออกบวชบำเพ็ญสมณธรรมแล้ว ไม่เรียกว่าวรรณะอะไร แต่เป็นสมณะเหมือนกันทั้งหมด ที่พระเถระกล่าวสูตรนี้ ก็เพราะพระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ถามปัญหากับท่านเกี่ยวกับเรื่องพราหมณ์ถือตัวว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และเกิดจากพรหม ท่านจึงแก้ว่าไม่เป็นความจริงแล้วยกตัวอย่างเป็นข้อ ๆ ดังนี้:-

๑) ในวรรณะ ๔ เหล่านี้ วรรณะใดเป็นผู้ร่ำรวย มั่งมีเงินทอง วรรณะเดียวกัน และวรรณะอื่นย่อมเข้าไปหา ยอมเป็นบริวารของวรรณะนั้น
๒) วรรณะใดประพฤติอกุศลกรรมบถ เมื่อตายไป วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่อบายเสมอ เหมือนกันทั้งหมด
๓) วรรณะใดประพฤติกุศลกรรมบถ เมื่อตายไป วรรณะนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เหมือนกันทั้งหมด
๔) วรรณะใดทำโจรกรรม ทำปรทาริกกรรม วรรณะนั้นต้องรับราชอาญาเหมือนกันทั้งหมด ไม่มียกเว้น
๕) วรรณะใดออกบวช ตั้งอยู่ในศีลในธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับความนับถือ การบำรุง และการคุ้มครองรักษา เสมอเหมือนกันทั้งหมด

เมื่อพระเถระแสดงเทศนามธุรสูตรจบลงแล้ว พระเจ้ามธุรราช ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส ประกาศประองค์เป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา

พระเถระแปลงร่าง

ดังที่กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่าพระมหากัจจายนเถระ เป็นผู้มีรูปร่างสง่างามผิวเหลือง ดุจทองคำสะอาดผ่องใจ เป็นที่ต้องตาถูกใจแก่ผู้พบเห็นทั่วไป จนกระทั่งมีเหตุการณ์วิปริตเกิดขึ้นแก่บุตรเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองโสเรยยะ ชื่อว่า โสเรยยะ เหมือนชื่อเมือง ขณะที่เขานั่งบนยานพาหนะกับสหายเพื่อไปอาบน้ำพร้อมกับบริวารทั้งหลาย ได้เห็นพระเถระกำลังยืนห่มจีวร เพื่อเข้าไปบิณฑบาตในเมืองแล้วเกิดความพอใจ ในดวงจิตคิดอกุศลขึ้นว่า ?งามจริงหนอ พระเถระรูปนี้ น่าจะเป็นภริยาของเรา หรือไม่ก็ขอให้ภริยาของเรามีสีผิวกายเหมือนพระเถระนี้? ด้วยอกุศลจิตคิดเพียงเท่านี้ ทำให้เพศชายของเขาหายไป กลายเป็นเพศหญิงไปทั้งร่าง ทำให้เขาอับอายเป็นอย่างมาก และโดยที่ไม่มีใครรู้เขารีบลงจากยานนั้นแล้วเดินตามกองเกวียนพ่อค้าไปยังเมืองตักสิลา และได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น อยู่ร่วมกันจนมีบุตร ๒ คน แต่เดิมทีที่เขาอยู่ในเมือง โสเรยยะนั้น เขาก็มีภริยาอยู่แล้วและมีบุตรด้วยกัน ๒ คน เช่นเดียวกัน จึงปรากฏว่าเขาเป็นทั้งพ่อและแม่ หรือเป็นทั้งผัวและเมียในชาติเดียวกันนี้ต่อมา พระมหากัจจายนเถระ จาริกมายังเมืองตักสิลา โสเรยยะทราบแล้วจึงเล่าเรื่องราวของตนที่ผ่านให้สามีฟัง แล้วพากันไปกราบขอขมาโทษต่อพระเถระ เมื่อท่านทราบเรื่องโดยตลอดแล้วก็ยกโทษให้ และเพศหญิงก็หายไปเพศชายปรากฏขึ้นมาเหมือนเดิม เขาเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระเถระเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งเห็นว่าตนเองเป็นคนแปลกคือเป็นทั้งชายและหญิงในอัตภาพเดียวเท่านั้น และยังคิดว่าไม่ควรที่จะอยู่ครองเพศฆราวาสต่อไป จึงมอบบุตรทั้ง ๔ คนให้บิดามารดาเลี้ยงดูต่อไป ส่วนตนเองได้ขอบวชในสำนักพระเถระ และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในกาลต่อมาพระมหากัจจายนะ นอกจากจะมีเรื่องของโสเรยยะแล้ว ยังมีเรื่องพระภิกษุเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระเถระเดินมาแต่ไกลแล้วก็พากันกล่าวว่า ?พระบรมศาสดาของพวกเราเสด็จมาแล้ว? แล้วพากันทำความเคารพกราบไหว้ ทั้งนี้ก็เพราะท่านมีรูปลักษณ์ละม้ายกับพระผู้มีพระภาคนั้นเอง พระเถระพิจารณาเห็นโทษเช่นนี้แล้ว จึงอธิษฐานจิตเนรมิตรร่างกายของท่านให้เปลี่ยนแปลงผิดแปลงไปจากเดิม ร่างกายที่เคยสง่างามก็ย่นย่อ ต่ำเตี้ย ท้องป่อง หมดความสวยงามดังที่พุทธศาสนิกชนนิยมสร้างรูปท่านไว้เป็นที่สักการบูชาในทุกวันนี้

ได้รับยกย่องในทางอธิบายความย่อให้พิศดาร

ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรแต่โดยย่อ แล้วเสด็จเข้าสู่พระวิหารที่ประทับ พระภิกษุทั้งหลายไม่ได้โอกาสเพื่อจะกราบทูลถามเนื้อความที่ตรัสไว้โดยย่อให้เข้าใจได้ จึงพากันเข้าไปหาพระมหากัจจายนะ กราบอาราธนาให้ท่านได้เมตตาอธิบายขยายความให้ฟัง พระเถระได้อธิบายขยายความย่อให้ฟังอย่างพิสดาร แล้วกล่าวแนะนำว่า ?ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเข้าใจความหมายแห่งพระสูตรนี้ตามที่อธิบายมานี้ แต่ถ้าท่านทั้งหลายมีความต้องการจะทราบให้แน่ชัดก็จงไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ทรงแก้อย่างไร ก็จงจำไว้อย่างนั้นเถิด? พระภิกษุเหล่านั้นพากันลาพระเถระแล้ว เข้าไปกราบทูลเนื้อความที่พระมหากัจจายนะ อธิบายไว้ให้พระพุทธองค์ทรงสดับ พระผู้มีพระภาค ตรัสสรรเสริญพระเถระว่า ?ภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจายนะ เป็นผู้มีปัญญา เนื้อความนั้นถ้าพวกเธอถามตถาคต แม้ตถาคตก็จะอธิบายอย่างนั้น เช่นกัน ขอพวกเธอจงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด?

เมื่อครั้งพระพุทธองค์ ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงตั้งพระมหากัจจายนะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้อธิบายเนื้อความย่อให้พิสดารท่านพระมหากัจจายนเถระ ดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

103
ประวัติ พระสารีบุตร เอตทัคคอัครมหาสาวกผู้เลิศทางปัญญา

พระสารีบุตรถือกำเนิดในครรภ์ของนางสารีพราหมณีในบ้านอุปติสสคาม ณ หมู่บ้านนาลกะ (นาลันทะ) ไม่ไกลกรุงราชคฤห์ เดิมชื่อ อุปติสสะ บิดาคือ วังคันตพราหมณ์ มารดาคือ สารีพรามหณี มีน้องชาย ๓ คนชื่อ
อุปเสนะ (เอตทัคคมหาสาวกผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ),
จุนทะ (พระมหาสาวกจุนทะ แต่พระส่วนใหญ่ชอบเรียกท่านว่า สามเณรจุนทะ จนติดปาก),
เรวตะ (เอตทัคคมหาสาวกเลิศทางผู้อยู่ป่าเป็นวัตร),
มีน้องสาว ๓ คน นามว่า จาลา, อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชเป็นภิกษุณีและสามารถบรรลุธรรมขั้นสูง เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด แม้สหายของท่านคือ พระโมคคัลลานะ ก็ถือกำเนิดในครรภ์ของโมคคัลลีพราหมณีในวันเดียวกัน บ้านโกลิตคาม อันไม่ไกลกรุงราชคฤห์

วัยหนุ่มตอนเป็นคฤหัสถ์

ในกรุงราชคฤห์มีงานมหรสพประจำปีบนยอดเขา ซึ่งมาณพทั้งสองก็นั่งรวมกันดูมหรสพเป็นประจำ จนกระทั่งถึงวันหนึ่ง ท่านทั้งสองเริ่มมีความเบื่อหน่ายในงานมหรสพ ด้วยต่างคิดว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่ควรดูในมหรสพเหล่านี้ เพราะคนทั้งหมด ต่างก็จะล้มหายตายจากกันไป เราควรแสวงธรรมซึ่งเป็นเครื่องหลุดพ้น ดังนี้ ขณะนั้นโกลิตะเห็นเพื่ออุปติสสะใจลอยจึงกล่าวถาม อุปติสสะจึงบอกความในใจ ที่เบื่อหน่ายต่อมหรสพและความต้องการแสวงหาธรรมอันเป็นเครื่องหลุดพ้นแล้วจึงถามกลับบ้าน ซึ่งโกลิตะก็ตอบโดยมีเนื้อความเช่นเดียวกัน เมื่อต่างคนต่างทราบความในใจแล้ว จึงชวนกันไปบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชก พร้อมกับมาณพอีก ๕๐๐ คน เมื่อบวชแล้วท่านทั้งสองได้เรียนจบลัทธิของสัญชัยปริพาชกทั้งหมด โดยใช้เวลาเพียง ๒-๓ วันเท่านั้น เมื่อหมดความรู้ที่จะศึกษาแล้ว และยังไม่เห็นถึงธรรม ท่านจึงอำลาและแสวงหาอาจารย์ท่านอื่นๆต่อไป ซึ่งท่านทั้งสองได้ตกลงกันว่า หากใครบรรลุอมตะก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่กัน

สมัยนั้น พระอัสสชิเถระหนึ่งในภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์แต่เช้าตรู่ อุปติสสปริพาชกทำภัตกิจแต่เช้ามืดแล้วเดินไปอารามปริพาชก ได้เห็นพระเถระจึงตั้งใจเข้าไปสอบถามคำถามต่างๆ แต่เนื่องจากพระเถระกำลังบิณฑบาตอยู่ จึงติดตามไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงสถานที่แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปอุปัฏฐากพระเถระ เมื่อเสร็จจากภัตกิจแล้วจึงได้สนทนาธรรมกัน โดยการสนทนาธรรมในครั้งนี้ทำให้ท่านได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบัน เมื่อสอบถามถึงสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านจึงกลับไปตามโกลิตปริพาชก เมื่อท่านได้กล่าวคาถาที่พระเถระได้มอบให้ไว้ โกลิตปริพาชกก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันเช่นเดียวกัน ท่านทั้งสองจึงนับถือพระอัสสชิเป็นอาจารย์ และไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเวฬุวัน แต่ก่อนไป ท่านทั้งสองได้ไปชักชวนอาจารย์เก่า คือสัญชัยปริพาชก แต่อาจารย์ท่านปฏิเสธ แต่มีอันเตวาสิก ๒๕๐ คนได้ติดตามไปด้วย

เมื่อพระศาสดากำลังทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ เห็นชนเหล่านั้นแต่ไกล จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ๒ คนนั้น คือโกลิตะและอุปติสสะกำลังเดินมา ทั้งสองนี้แหละจักเป็นคู่สาวกที่เลิศที่เจริญ ครั้นแล้วทรงขยายพระธรรมเทศนา เนื่องด้วยจริยาแห่งบริษัทของ ๒ สหายนั้น ในครั้งนั้นบรรดาผู้ติดตามทั้งหมดต่างได้บรรลุอรหัตผล ยกเว้นพระอัครสาวกทั้งสอง เมื่อนั้นพระศาสดาจึงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้

การบรรลุธรรม

หลังจากพระสารีบุตรเถระบวชได้ครึ่งเดือน ก็เข้าไปอาศัยอยู่ในถ้ำสุกรขาตากับพระศาสดา กรุงราชคฤห์ ขณะที่พระสารีบุตรถวายงานพัดอยู่นั้น เมื่อพระศาสดาทรงแสดงเวทนาปริคหสูตรแก่ทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตร ท่านได้ส่งญาณไปตามกระแสพระสูตร ก็ได้บรรลุถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในวันขึ้น ๑๕ เดือน ๓ เวลาบ่ายในเวลาต่อมา พระศาสดาจึงทรงสถาปนาพระมหาสาวก้ทั้งสองไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า สารีบุตรเป็นยอดของภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามาก มหาโมคคัลลานะเป็นยอดของภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์มาก แม้ว่าพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจะเกิดพร้อมกัน แต่ด้วยพระสารีบุตรสำเร็จเป็นพระโสดาบันก่อน พระผู้มีพระภาคจึงถือให้พระสารีบุตรเป็นผู้พี่ของพระโมคคัลลานะ.

นิพพาน

เมื่อพระสารีบุตรอาพาธ ท่านจึงทูลลาพระพุทธเจ้ากลับไปนิพพานยังบ้านเกิด ก่อนนิพพานท่านได้ทำให้โยมมารดาเปลี่ยนใจ หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนา โดยแสดงธรรมแก่มารดาจนบรรลุธรรมขั้นโสดาบัน หลังจากท่านนิพพานแล้วพระจุนทะจึงนำพระธาตุของพระสารีบุตรไปถวายพระพุทธเจ้าพระสารีบุตรปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าประมาณ ๖ เดือน คือ วันเพ็ญ เดือน ๑๒(ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) เวลาใกล้รุ่ง ที่บ้านตนเอง.

 

<<< back

104
แม้พุทธศาสนาจะไม่สอนให้ติดยึดในชื่อเสียง แต่
ช่วงระยะเวลาไม่กี่ปี มานี้ ชื่อเสียงของพระหนุ่มนาม ว.วชิรเมธี ก็ขจรขจายลือเลื่อง ในฐานะพระนักเทศน์ และพระรุ่นใหม่ที่ศึกษาธรรมะ และเดินตามรอย ท่านพุทธทาส โดยมีมุมมองความคิดทั้งในทางธรรม และทางโลก ออกมาทั้งในรูปของการพูดและงานเขียนที่น่าสนใจ
        ว.วชิรเมธี ได้มาบรรยายพิเศษในงาน อุทยานรักษ์สุขภาพ
       ครั้งที่ 21 ณ บ้านเจ้าพระยาวันที่ 29 กรกฎาคม 2549 โดยใช้หัวข้อธรรมบรรยาย ครั้งนี้ว่า "ทุกข์กระทบ ธรรมกระเทือน" มีสาระน่าสนใจ "ผู้จัดการปริทรรศน์" จึงขอนำธรรมะบางตอนมาตีพิมพ์ไว้ ณ ที่นี้
       
       ขอเจริญพรผู้สนใจธรรมะทุกๆ ท่าน ช่วงนี้สุขภาพของประเทศไทยไม่ค่อยดี สุขภาพของพ่อก็ไม่ค่อยดี เพราะฉะนั้นก็เลยตั้งใจธรรมบรรยายในวันนี้ว่า ทุกข์กระทบ ธรรมกระเทือน ก็จะชวนท่านทั้งหลายมาสำรวจว่า ทุกข์มันเกิดขึ้นที่ไหน ที่ใจใช่ไหม ถ้าสมมุติว่าประเทศมันยุ่งเหยิง ความทุกข์ของประเทศเกิดขึ้นที่ไหน เกิดขึ้นที่ไหน ที่คน คนนั้นศูนย์รวมความทุกข์มันอยู่ที่ไหน มันก็อยู่ที่ใจ เพราะฉะนั้นทุกข์ของคน ทุกข์ของประเทศ ถึงที่สุดแล้ว เหมือนที่พระพุทธเจ้าพูด เกิดที่ใจ เกิดที่ใจ ดับที่ไหน ทุกข์ในชาตินี้ จะดับชาติหน้าได้ไหม ทุกข์ที่นี่ ก็ดับมันที่นี่ คนไทยมีความเข้าใจผิดว่าปฏิบัติตามอารยมรรคชาตินี้ กะว่าหลายๆ ชาติหน้าถึงจะถึงนิพพาน ทำเหตุชาติหนึ่งแล้วไปเอาผลอีกชาติหนึ่ง จริงๆ พระพุทธเจ้าท่านเน้นว่าทำเหตุชาติไหน ก็เอามันชาตินั้น พอเราไปบอกว่าทำเหตุชาตินี้ กะนิพพานในอนาคตกาลโน้นเทอญ อย่างนี้ คนมันก็เลยเอาเถิดเจ้าล่อกับกิเลส แล้วไม่กลัวเลยกิเลส ไม่กลัวกิเลส พอไม่กลัวกิเลสแล้วเป็นยังไง ก็ไปเจอธรรมะเข้า บางครั้งธรรมะนี่ไม่จำเป็นต้องมาจากปากของพระก็ได้ มาจากปากของผู้ที่รู้ธรรมะแต่ไม่ได้บวช ได้ไหม ก็ได้ ดังนั้นถ้าเราเข้าใจแล้วเราจะเห็นว่า คนทุกข์ก็มีอยู่ทั่วไป วิธีดับทุกข์ก็มีอยู่ทั่วไป แต่คนมีปัญญาจะมองเห็น
       
       มีคนไปถามหลวงปู่มั่นว่าไม่ได้เรียนสูง แต่ทำไมธรรมะลึก หลวงปู่มั่นก็บอกว่า ธรรมะมันก็เหมือนเส้นดินเส้นหญ้านั่นล่ะ ก็มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง คนตาดีถึงจะมองเห็น คนตาไม่ดีมองไม่เห็น คนตาถั่วเห็นแต่ผลประโยชน์นะ เขาส่งสัญญาณตั้งนานก็ไม่เห็น เพราะอะไร ผลประโยชน์มันเข้าหูเข้าตา พอทุกข์กระทบแล้วแทนที่ธรรมจะกระเทือน อะไรกระเทือน ความแค้นกระเทือน เนี่ย มนุษย์นะ ดังนั้นวันนี้จะวิเคราะห์ทุกข์ให้ฟัง เอาทั้งทุกข์ของคนและทุกข์ของประเทศ จะได้เห็นภาพรวมว่าธรรมะมันเกี่ยวข้องกับคน เกี่ยวข้องกับประเทศชาติบ้านเมือง มี คนถามอาตมาว่าวิกฤติของประเทศไทยทุกวันนี้มันวิกฤติที่ไหน บางคนบอกมันวิกฤติทางการเมือง บางคนบอกวิกฤติทางเศรษฐกิจ อาตมาบอกว่าไม่ถูกสักอย่าง มันวิกฤติที่ใจคนเท่านั้นล่ะ เห็นผิดเป็นชอบ เรื่องเดียวเท่านั้น เห็นผิดเป็นชอบ
       
       หลวงพ่อชา ท่านเคยพูดไว้คำหนึ่ง คมมาก ลึกซึ้งมาก ท่านบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมันถูกอยู่แล้ว มีแต่ใจคนไปเห็นว่ามันผิด ถูกต้องไหม ทุกอย่างมันถูกอยู่แล้ว เช่น คนทำชั่วจะถูกไล่ อย่างนี้มันถูกอยู่แล้ว ตรรกะนี้เป็นความจริงที่สุด แต่มีคนอยากลองดีกับพระพุทธเจ้า ลองทำชั่วแล้วคิดว่าจะอยู่ได้ดู มันจะจริงไหม คนที่ไปเถียงกับพระพุทธเจ้าเนี่ย ก็เหมือนคนที่เอาไข่ไปทุบหิน ไข่เนี่ย วางอยู่เฉยๆ เอาหินหล่นใส่ไข่ ไข่แตกไหม ต่อไปเอาหินวางอยู่เฉยๆ ถือไข่ไปทุบหิน ไข่แตกไหม คนที่ไปเถียงพระพุทธเจ้าจะแพ้ไหม แพ้ ไม่ยกตัวอย่างนะ เพราะฉะนั้นท่านก็เห็นอยู่แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นทุกข์ของคน เรียกว่าเป็นทุกขสัจของคน ทุกข์ของประเทศเรียกว่าเป็นทุกขสัจของสังคม กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว เบื้องต้นท่ามกลางที่สุด ไปจากใจคน ถ้าใจมันโง่ การใช้ชีวิตโง่ ถ้าใจของคนในประเทศจำนวนมากมันโง่ ก็ทำให้ประเทศนั้นเต็มไปด้วยคนโง่ แล้วประเทศของเราก็จะติดอันดับต้นๆ ของประเทศที่โง่ทั้งหลายในเวทีโลก
       
       เขามีการจัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก ประเทศที่เจริญที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกา ติดอันดับที่ 150 นะ เห็นไหม แต่ประเทศที่สุขที่สุดในโลก กลับเป็นประเทศที่แทบไม่มีใครรู้จักเลย เป็นเกาะเล็กๆ แล้วประเทศไทยอยู่ที่ไหน เราเนี่ย 32 ใช่ไหม หลังเวียดนาม ถ้าไปวัดช่วงเดือนเมษาฯ เนี่ยน่าจะร้อยกว่าๆ อันดับคงร่นไปเยอะเลยนะ
       
       แต่ถ้ามาวัดวันที่ 9 ประเทศไทยอันดับ 1 นะ 9 มิถุนาฯ ดังนั้นเราก็จะเห็นว่า เมื่อเราวัดประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกได้ ตอนนี้เขาก็วัดนะ ประเทศที่มีความทุกข์ที่สุดในโลก เขาวัดอีกแล้ว เดี๋ยวผลก็คงจะออกมา แต่อาตมาอยากจะให้วัดอีก ประเทศที่โง่ที่สุดในโลก อยากจะให้วัดจังเลย เราจะได้รู้ตัวเอง ในวงการมหาวิทยาลัยโลกทุกปีเขาจะวัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำ มหาวิทยาฮาร์วาร์ด ครองแชมป์มา 5-6 ปีซ้อน อันดับ 2 ก็ออกซ์ฟอร์ด อันดับ 3 เอ็มไอที ในเมืองไทยเราน่าจะวัด ใครโง่ที่สุดในประเทศไทย ใครหนาที่สุดในประเทศไทย อย่างนี้ ไม่ต้องวัดใช่ไหม ใครไม่รู้จักคำว่ามโนธรรม เราต้องวัดคำเหล่านี้ เพราะอะไร เพราะคำเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยเกิดความทุกข์มวลรวมประชาชาติ ใช่ไหม มันเป็น National Domestic Sufferring ตอนนี้ประเทศภูฏานน่ะ เขาวัดความสุขมวลรวมประชาชาติเป็น National Domestic Happiness แต่ประเทศไทยสนอยู่เรื่องเดียว สนอะไร จีดีพี สนจีดีพี พอสนแต่จีดีพีมันก็ ตัวนั้นน่ะเป็นตัวทุกข์เลยนะ เพราะอะไร เพราะว่าเราเคยอยู่กันอย่างมีความสุขในสังคมแบบพอเพียง พอไปวัดจีดีพี ทุกอย่างต้องขาย สมมุติคุณทำสวนทุเรียนมาตั้งแต่สมัยเจ้าคุณปู่ 70 แต่นโยบายของรัฐบาลไม่สนับสนุนให้ขายทุเรียน เพราะว่าเราขายสู้ประเทศอื่นไม่ได้ เขาบอกให้คุณเลิก แล้วคุณไปขายอย่างอื่นที่มันจะขายแข่งกับคนอื่นได้ เขาจะไม่สนเลยว่าคุณจะผูกพันกับเจ้าคุณปู่ของคุณมากี่ปีกี่ชาติ ไม่สน ในวัฒนธรรมของทุนไม่สนเรื่องจิตวิญญาณ สนแต่ว่าอะไรขาย ส่งเสริม อะไรไม่ขายให้เลิก แล้วมนุษย์เรานี้มันอยู่เพื่อที่จะหาเงินเท่านั้นหรือ ใช่ไหม สมองมนุษย์มันมี 2 ซีก ซีกหนึ่งมันใช้เหตุผล ซีกหนึ่งมันใช้สุนทรียะ เรื่องจิตวิญญาณ เรื่องความดีงาม เรื่องมโนธรรม

105
บทความ บทกวี / "พระโพธิสัตว์" คือ "
« เมื่อ: 03 เม.ย. 2550, 11:07:56 »
พระโพธิสัตว์" คือ ผู้ซึ่งจะได้มาตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ท่านอธิษฐานจิตถึงพระพุทธภูมิ ทุ่มเทปฏิบัติธรรม ช่วยผู้อื่นทั้งทางโลกและทางธรรม สะสมบารมี ๑๐ ทัศ ทุกๆคนเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทั้งนั้น ถ้าหากว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้มีจิตเมตตาประจำใจ ทำแต่คุณประโยชน์ช่วยเหลือคนทุกข์ยาก ไม่ประพฤติเบียดเบียนสนับสนุนผู้อื่นในทางผิดศีลธรรม


คุณธรรมหลักของผู้ตั้งความปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ คือ "มหาเมตตา" แปลว่า ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พระโพธิสัตว์จึงมีคุณธรรมอื่นๆต่อเนื่องกันคือ

มหากรุณา คือความปราณีต่อสรรพสัตว์(หมายรวมมนุษย์) ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง สงสารผู้ยากลำบากทั้งหลาย เฝ้าตามช่วยแนะเพื่อความสุขของเขา เป็นความยินดีกรุณาของพระโพธิสัตว์ทั้งลาย

มหาปัญญา คือเป็นผู้มีความรู้หรือศึกษาหาวิชาใส่ตัว ได้เป็นประโยชน์ส่วนตนเอง ส่วนผู้อื่นช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว

มหาอุบาย คือรู้ในวิธีนำตนและผู้อื่นให้พ้นภัยและสัมฤทธิผลเข้าถึงในคุณธรรมต่างๆที่มีประโยชน์

ความหมายของคำว่า
"พระโพธิสัตว์"


โพธิสัตว์ หรืออาจจะเขียนได้ว่า โพธิสัตต์ มาจากคำว่า โพธิ + สัตต

"โพธิ" แปลว่า ความตรัสรู้หรือความรู้แจ้ง

"สัตต" ตามบาลีไม่ได้หมายถึงสิ่งมีชีวิต (สัตวะ) หรือมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการใช้ความหมายคล้ายคลึงกับ "สัตวัน" (Sattavan) ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ ซึ่งหมายถึง ผู้ทรงพลัง ผู้นำ นักรบ "สัตต" ในคำว่า "โพธิสัตต์" จึงหมายถึง ผู้นำ หรือผู้มีใจเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ องอาจ เยี่ยงนักรบ ซึ่งให้ความหมายเดียวกับคำว่า โพธิสัตต์ ในภาษาทิเบต คือ byan chub sems-dpah โดยคำว่า byan chub หมายถึง โพธิ (bodhi), sems หมายถึง จิต (mind) และ dpah หมายถึง วีรบุรุษ ผู้กล้า หรือผู้เข้มแข็ง

"โพธิสัตต์" จึงแปลว่า ผู้มีใจยึดมั่นในสัมมาสัมโพธิญาณอย่างเด็ดเดี่ยว

มหาปณิธานของพระโพธิสัตว์

๑. เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมด
๒. เราจะต้องตั้งใจศึกษาพระะรรมทั้งหลายให้เจนจบ
๓. เราจะไปโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
๔. เราจะบำเพ็ญตนให้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ


106
คัดลอกจาก http://202.29.24.6/amazingsakon/monkWeb/deenoc/Kasorn.htm

ในจังหวัดอุดรธานี หรือแม้กระทั่งในพื้นที่หลายจังหวัดในภาคอีสาน มีเกจิอาจารย์จำนวนมากมาย หลายสิบองค์ ที่มีลูกศิษย์ลูกหาที่นับถือกราบไหว้สักการะ  ซึ่งเกจิอาจารย์ที่ว่านั้น ส่วนมากนั้นเป็นพระที่อยู่ในสายของธุดงคกรรมฐานเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นท่านหลวงปู่มั่น ภูมิทัตโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่วัน วัดถ้ำส่องดาว สกลนคร หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร วัดเทพสิงหาร อ.น้ำโสม อุดรธานี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ของจังหวัดเลย แต่ที่จังหวัดอุดรธานีอีกนั่นแหละที่มี พระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่ เป็นพระสงฆ์หรือเป็นพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่มีลูกศิษย์ลูกหาไม่น้อย แม้กระทั่งฝรั่งมังค่าที่เคยเดินทางมาราชการสงครามเวียดนามก็ยังรู้จักท่าน เพราะเนื่องจากมีประสบการณ์จากวัตถุมงคลที่ท่านสร้างเอาไว้แจกลูกศิษย์ลูกหลานชาวบ้านทั่วไป พระเกจิอาจารย์รูปนั้นไม่ได้เป็นพระเกจิอาจารย์ที่อยู่ในสายของมหายาน พระเกจิอาจารย์รูปนั้นคือ ท่านพระเทพวิสุทธาจารย์ หรือ เป็นที่รู้จักกันอย่างดีว่า "หลวงปู่ดีเนาะ" แห่งวัดมัชฌิมาวาส อ.เมือง จ.อุดรธานี

ถ้าเอ่ยชื่อของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดอุดรธานี  โดยเฉพาะในเขตเทศบาลแล้ว ชื่อของ พระเทพวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสองค์ที่  3  ของวัดมัชฌิมาวาสนั้น น้อยคนที่จะรู้ว่าท่านเป็นใคร แต่ถ้าเอ่ยชื่อถึง "หลวงปู่ดีเนาะ" แล้วทุกคนจะรู้จักท่านเป็นอย่างดี เพราะท่าน หลวงปู่ดีเนาะที่ว่านี้ ท่านเป็นพระสงฆ์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า พระเกจิอาจารย์ที่มีประชาชน พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพ นับถือมากไม่แพ้พระเกจิอาจารย์รูปอื่น ๆ ในประเทศไทยเลยทีเดียว

ท่านพระเทพวิสุทธาจารย์ หรือ หลวงปู่ดีเนาะ นั้น การติดตามสืบหาอัตชีวประวัติส่วนตัวของท่านนั้น ไม่ค่อยจะมีปรากฎให้เห็นมากนัก เพราะเนื่องจากว่าท่านจะไม่ค่อยทิ้งหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของท่านเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ทราบ จะมีบ้างก็เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้รับการรวบรวมจาก ท่านพระธรรมปริยัติโมลี เจ้าคณะภาค 8 เจ้าอาวาสวัดมิชฌิมาวาสองค์ปัจจุบันนี้ เก็บไว้ในหนังสือประวัติของวัดมัชฌิมาวาส

ท่านพระเทพวิสุทธาจารย์ หรือหลวงปู่ดีเนาะ นามเดิมว่า บุ ปลัดกอง เกิดที่บ้านดู่ ต.บ้านดอน อ.ปักธงชัย จ. นครราชสีมา พ.ศ.2415 บิดาชื่อ นายทา ปลัดกอง มารดาชื่อ นางปาน ปลัดกอง เมื่อมีอายุได้ 19 ปี ครอบครัวของท่านได้อพยพย้ายถิ่นฐานอาศัยจากจังหวัดนครราชสีมา มาอยู่ที่บ้านทุ่งแร่ ต.หมูม่น อ.เมือง จ.อุดรธานี ในปัจจุบันนี้

เมื่ออายุได้ 22 ปี ได้บวชเป็นสามเณรที่วัดบ้านโนนสว่าง บ้างทุ่งแร่ นั่นเอง และต่อมาอีกหนึ่งปี ท่านก็ได้รับ การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดบ้านบ่อน้อย ต.เชียงยืน อ.เมือง จ.อุดรธานี มีพระอธิการกัน วัดสระบัว บ้านสร้างแป้น เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "ปุสิริ" เมื่ออุปสมบทเป็น พระภิกษุแล้วนั้น ได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดบ้านโนนสว่าง บ้านทุ่งแร่ อยู่ 3 พรรษาจึงได้ย้ายสำนัก ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดมัชฌิมาวาส เมื่อ พ.ศ.2440 และท่านหลวงปู่ดีเนาะ ก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ และได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพ

หลาย ๆ คนอาจจะมีความสงสัยว่าเป็นเพราะเหตุใด ท่านพระเทพวิสุทธาจารย์ จึงมีฉายาอีกว่า "หลวงปู่ดีเนาะ" ความเป็นมาของฉายาดังกล่าวนั้น เป็นที่กล่าวขานกันในหมู่ศิษย์และประชาชนทั่วไป ที่เคยใกล้ชิดกับท่านกล่าวว่า ตามปกติวิสัยของท่านหลวงปู่ดีเนาะนั้น ท่านชอบอุทานหรือกล่าวคำว่า "ดีเนาะ" และคำว่า "สำคัญเนาะ" และท่านจะเรียกคนทั่วไปรวมทั้งพระภิกษุและสามเณร หรือคฤหัสถ์ ว่า "หลวง" เวลาท่านหลวงปู่ดีเนาะจะพูดคุยกับใครก็ตาม ท่านก็จะออกปากเรียกคนที่ท่านคุยด้วยว่า "หลวง" และเมื่อท่านจะต้องกลายเป็นผู้รับฟังนั้น ท่านก็จะมีคำอุทานวาจาว่า ?ดีเนาะ? อยู่เป็นอาจินต์ ไม่ว่าเรื่องที่ท่านได้รับฟังนั้นจะเป็นดี หรือเรื่องร้ายเพียงใดก็ตาม ท่านหลวงปู่ดีเนาะก็จะเอ่ยปากอุทานว่า ดีเนาะ หรือ สำคัญเนาะ จากคำอุทาน หรือคำพูดที่ท่านหลวงปู่ติดปากนี้เอง ประชาชนและลูกศิษย์ของท่านหลวงปู่ จึงตั้งฉายา หรือสมานาม ท่านหลวงปู่ว่า "หลวงปู่ดีเนาะ" แม้กระทั่งในการได้รับ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ของท่านนั้น ราชทินนามของท่านก็ยังมีคำว่า "สาธุอุทานธรรมวาที" ซึ่งแปลว่า "ดีเนาะ" อยู่ในราชทินนามของท่านด้วย

พระเทพวิสุธาจารย์ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ตามกาลเวลาเรื่อย ๆ จนกระทั่งสุดท้ายท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ มีราชทินนามว่า "พระเทพวิสุทธาจารย์ สาธุอุทานธรรมวาที ปูชนียฐานประยุต เชษฐวุฒอิสาน คณาธิกร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี" และซึ่งก่อนหน้านั้นท่าน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส เมื่อยังคงเป็นพระบุ (ปุสิริ) เมื่อ พ.ศ.2451 นับว่าเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ของวัดมัชฌิมาวาส

ในขณะนั้นที่ท่านหลวงปู่ดีเนาะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาสนั้น ท่านได้ทำการบูรณะวัดมัชฌิมาวาสในด้านต่าง ๆ ให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะเป็นถาวรวัตถุและเสนาสนะ เช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนปริยัติธรรมและกุฎิของพระลูกวัดจำนวนมาก ที่เห็นในปัจจุบันนี้นั้นล้วนแต่ได้รับ การบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นในสมัยที่ท่านหลวงปู่ดีเนาะทั้งสิ้น นอกจากในด้านถาวรวัตถุของวัดแล้ว ท่านหลวงปู่ดีเนาะ ท่านก็ยังหันมาพัฒนาในด้านของการศึกษาของพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในวัดแห่งนี้ โดยการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมขึ้นมา สอนนักธรรมบาลีตามหลักสูตรของราชการคณะสงฆ์ ตั้งแต่ชั้น นักธรรมตรี จนถึงชั้น ป.ธ.6

สำหรับในด้านที่ท่านหลวงปู่ดีเนาะ ได้รับการนับถือเคารพสักการะในฐานะของเกจิอาจารย์นั้น ท่านหลวงปู่ดีเนาะก็นับว่า เป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งที่มีลูกศิษย์มากองค์หนึ่ง ในเรื่องของวัตถุมงคลที่ท่านหลวงปู่ดีเนาะสร้างขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปนั้น เป็นเพียงเหรียญและตระกรุดที่ทำคู่กัน เมื่อเวลาท่านจะมอบให้ใครท่านก็จะมอบให้คู่กันไปเลย ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นของที่ค่อนข้างจะหายากขี้นทุกที คนที่มีหรือว่าเคยมีก็ไม่ค่อยให้ใครเห็นหรือดูกัน เพราะเกรงว่าจะถูกขอ เพราะเหตุที่ว่า หลวงปู่ทำออกมาน้อยเพียงรุ่นเดียว เมื่อท่านถึงแก่มรณภาพแล้ว ลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายที่อยู่เบื้องหลังก็ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดสร้างขึ้นมาอีก

เหรียญและตระกรุดหลวงปู่ดีเนาะนั้น ในเรื่องของประสบการณ์นั้น คนที่เคยมีสิ่งของเหล่านี้ มีเรื่องที่เล่าและกล่าวถึงมากพอสมควร และไม่ใช่เฉพาะแต่ในหมู่ของพุทธศาสนิกชนชาวไทยเท่านั้น แม้แต่คนที่อยู่ในศาสนาอื่นก็ยังให้ความเคารพนับถือท่านหลวงปู่ กล่าวคือในปี พ.ศ.2511 ในขณะ นั้นสถานการณ์สงครามเวียดนามกำลังทวีความรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทหารอเมริกันถูกส่งเข้ามาประจำการตามฐานทัพต่าง ๆ ในประเทศไทยเพื่อรอการเดินทางไปทำการรบในสนามรบที่ประเทศเวียดนาม และมีทหารอเมริกันส่วนหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทย ที่ได้ผู้หญิงไทยเป็นภรรยา และเมื่อสามีที่เป็นทหารอเมริกันจะเดินทางไปรบเวียดนาม ด้วยความเป็นห่วงสามี ภรรยาคนไทยก็เลยเอาเหรียญหลวงปู่ดีเนาะแขวนคอสามีไป จะด้วยเหตุอภินิหาร หรือด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของท่านหลวงปู่ดีเนาะ ก็ไม่มีใครตอบได้ ทหารอเมริกันคนนั้นออกทำการลาดตระเวนไปในพื้นที่ โดยใช้เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์เป็นพาหนะ และเครื่องบินลำดังกล่าวถูกฝ่ายตรงข้ามยิงตก ทหารหน่วยลาดตระเวนดังกล่าวเสียชีวิตเกือบหมด รวมทั้งนักบินประจำเครื่องด้วย ส่วนทหารอเมริกันที่ห้อยเหรียญหลวงปู่ดีเนาะ เพียงแต่ได้รับบาดเจ็บแต่ไม่ถึงกับเสียชีวิต เมื่อได้รับการรักษาตัวจนหายเป็นปกติดีแล้ว และได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับมาพักผ่อนในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง จึงได้พาพรรคพวกที่เป็นทหารด้วยกันมาประเทศไทยด้วย

ด้วยความที่เกิดความเชื่อว่าการที่ตนรอดตายในครั้งนั้น จะต้องเป็นรูปเหรียญพระที่ตนได้รับ จากภรรยาที่เป็นคนไทยเหรียญนั้นอย่างแน่นอน เมื่อได้สอบถามจากภรรยาคนไทยก็ทราบเพียงว่า เหรียญรูปพระดังกล่าวนั้น เป็นของหลวงปู่ดีเนาะ   แต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นพระอยู่ที่ไหน จึงได้ไปถามกับเจ้าหน้าที่ของโรงแรมที่ตนเองพักอยู่ว่าในเมืองอุดรธานีนี้ มีพระที่ชื่อว่าดีเนาะบ้าง โดยทหารคนนั้น ถามว่า "ดู ยู โน เนาะ มั้ง อิน อุดร ทาวน์" ผู้ที่ถูกถามเองก็ไม่เคยรู้เรื่องพระมาก่อน จึงได้พยายามสอบถามจากคนอื่น ๆ ที่อยู่ในที่ทำงานเดียวกัน จนกระทั่งรู้ว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดมัชฌิมาวาส จึงบอกแก่ทหารอเมริกันคนนั้นไป แต่ก็ยังถูกขอร้องให้เป็นผู้พาไปหาอีก ซึ่งเจ้าหน้าที่คนนั้นก็ต้องลาพักงานชั่วระยะหนึ่งพาไปหาหลวงปูดีเนาะที่วัด ซึ่งในการพาฝรั่งกลุ่มนั้นไปหาหลวงปู่ดีเนาะนั้น ผู้พาก็ได้รับแจกเหรียญและตระกรุดมา 2 ชุด แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้มาก่อน จึงไม่ได้สนใจที่เก็บรักษาเอาไว้ และได้มอบให้คนอื่นต่อไป คงรักษาเอาไว้เพียงตระกรุดเพียงดอกเดียวในเวลานี้ ต่อมาเมื่อได้รับทราบถึงกิตติคุณของท่านเมื่อท่านมรณภาพแล้ว ก็หาเหรียญดังกล่าวไม่ได้แล้ว

หลวงปู่ดีเนาะหรือพระเทพวิสุทธาจารย์ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.2451 จนกระทั่ง พ.ศ.2513 จึงได้ถึงแก่มรณภาพลง ตรงกับวันที่ 10 มีนาคม 2513 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา เวลา 09.10 น. ด้วยโรคชรา รวมอายุท่านหลวงปู่ได้ 98 ปี เป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส เป็นเวลา 63 ปี พรรษาได้ 76 พรรษา 


107
ประวัติท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฏก (ป. อ. ปยุตฺโต)

 พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร เกิดเมื่อ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี บรรพชาเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ๒๔๙๔ ที่วัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ และเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดนั้น ต่อมา พ.ศ.๒๔๙๕ ไปอยู่ที่วัดปราสาท ทอง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เรียนพระปริยัติธรรมต่อ และได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกที่จัดขึ้นแล้ว พระอาจารย์ผู้นำปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำใน สำนักวิปัสสนา แต่โยมบิดาไม่ยินยอม

จากนั้น พ.ศ.๒๔๙๖ ได้มาอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร เรียนพระปริยัติธรรม จนสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ขณะยังเป็น สามเณร จึงได้รับการอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์เป็น นาคหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๔ แล้วสอบได้ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ ๒๕๐๕ และสอบได้วิชาชุด ครู พ.ม. เมื่อ ๒๕๐๖

 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันการศึกษา ๑๒ สถาบัน ดังนี้

๑) พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕

๒) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙

๓) ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาหลักสูตรและการสอน) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๙

๔) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์-การสอน) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๐

๕) อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๑

๖) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาภาษาศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๑

๗) การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๓

๘) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๓๖

๙) ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๗

๑๐) ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์ จากนวนาลันทามหาวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย พ.ศ. ๒๕๓๘

๑๑) อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จริยศาสตร์ศึกษา) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๘

๑๒) วิทยาศาสตร์ดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๔๑

เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๗ และเป็นเจ้าอาวาส วัดพระพิเรนทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๙ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗

ประกาศเกียรติคุณและรางวัล

พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ในการฉลอง ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับรางวัลวรรณกรรมชั้นที่ ๑ ประเภทร้อยแก้ว สำหรับงานนิพนธ์พุทธธรรม จากมูลนิธิธนาคาร กรุงเทพฯ

พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานโล่รางวัล มหิดลวรานุสรณ์

พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับโล่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการศึกษา ในวาระครบรอบ ๒๐ ปี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์

พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา

พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การ ยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)

พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศเชิดชูเกียรติเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม

 พ.ศ.๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ถวายรางวัล TTF Award สาขาสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา สำหรับผลงานทางวิชาการดีเด่น หนังสือ การพัฒนาที่ยั่งยืน

พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาพุทธศาสนา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี

พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี

พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเวที

พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายก ปาพจนดิลกนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

งานเผยแพร่พระพุทธศาสนา

งานเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระธรรมปิฎกปรากฏในหลายลักษณะ ทั้งในด้านการสอน การบรรยาย การปาฐกถา การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการแสดงพระธรรมเทศนา

 พ.ศ.2505-2507 สอนในแผนกบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ.2507-2517 สอนในชั้นปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่างนั้น บางปี บรรยายที่ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และในโครงการศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ.2507-2517 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ และต่อมาเป็น รองเลขาธิการมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ.2515-2519 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์
พ.ศ.2537 เป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม จนปัจจุบัน

ท่านได้รับอาราธนาไปสอนวิชาการทางพระพุทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศหลายครั้ง อาทิ

University Museum, University of Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๕

Swarthmore College, Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๙

และ Harvard University ใน พ.ศ. ๒๕๒๔

และเป็นพระสงฆ์ไทย ที่ได้รับ การระบุอาราธนาแสดงปาฐกถาในที่ประชุมนานาชาติ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศหลายครั้ง เช่น

ปาฐกถาในการประชุม The International Conference on Higher Education and the Promotion of Peace เรื่อง Buddhism and Peace ซึ่งจัดขึ้นที่ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙

บรรยายในการประชุม Buddhistic Knowledge Exchange Programme in Honour of His Majesty the King of Thailand เรื่อง Identity of Buddhism ซึ่งจัดโดยองค์การ พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) เมื่อ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๐

ปาฐกถาในการประชุม The Sixth Asian Workshop on Child and Adolescent Development เรื่อง Influence of Western & Asian Thought on Human Culture Development เมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๓

ได้รับนิมนต์ให้จัดทำสารบรรยายสำคัญ เรื่อง A Buddhist Solution for the Twenty-first Century ในการประชุมสภาศาสนาโลก (Parliament of the World's Religions) ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา เมื่อ ๔ กันยายน ๒๕๓๖

งานนิพนธ์ของพระธรรมปิฎก ในลักษณะตำรา เอกสารทางวิชาการและหนังสืออธิบายธรรมทั่วๆ ไป เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในวงวิชาการ มีจำนวนมากกว่า ๒๒๗ เรื่อง เช่น พุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์: ฉบับประมวลธรรม พจนานุกรมพุทธศาสน์: ฉบับประมวลศัพท์ ธรรมนูญชีวิต การศึกษาของคณะสงฆ์: ปัญหาที่รอทางออก การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย Thai Buddhism in the Buddhist World ทางสายอิสรภาพของการศึกษาไทย Buddhist Economics พุทธศาสนาในฐานะเป็น รากฐานของวิทยาศาสตร์ นิติศาสตร์แนวพุทธ เป็นต้น

นอกจากนั้น พระธรรมปิฎกได้รับนิมนต์เป็นที่ปรึกษาของ มหาวิทยาลัย มหิดล ในการสร้างพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์สำเร็จสมบูรณ์เป็นฉบับแรกของโลก ทำให้การศึกษาค้นคว้าหลัก คำสอน ของพระพุทธศาสนาเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ


108
หลวงปู่บุญชาตะเมื่อวันจันทร์ขึ้น ๓ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๑๐
สัมฤทธิศกเวลาย่ำรุ่งใกล้สว่าง ตรงกับวันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๙๑
อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓
ท่านชาตะ ณ. บ้านตำบลท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร (ในครั้ง
นั้นยังเป็นตำบลบ้านนางสาว อ.ตลาดใหม่ เมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี
ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นบ้านท่าไม้ อ.สามพราน จ.นครปฐม แต่ปัจจุบันนี้ ต.ท่าไม้
ได้โอนไปขึ้นกับ อ.กระทุ่มแบน จ.สุมทรสาคร)

โยมบิดาของหลวงปู่มีนามว่า "เส็ง" โยมมารดามีนามว่า "ลิ้ม" ท่านมี
พี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ๖ คน โดยตัวท่านเป็นคนหัวปี มีน้องชายหญิง
๕ คน ลำดับดังนี้
๑. นางเอม ๒. นางบาง ๓. นางจัน ๔. นายปาน ๕. นายคง


ประวัติชีวิต (พระพุทธวิถีนายก)
หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ
   
       กาลสมภพ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?


 

 

เหตุแห่งมีนามว่า "บุญ"
เมื่อวัยทารก ท่านมีอาการป่วยหนักถึงแก่สลบไป และไม่หายใจในที่สุดบิดามารดาและญาติ เมื่อเห็นว่า
ท่านตายเสียแล้วจึงจัดแจงจะเอาท่านไปฝัง แต่ปรากฏว่ายังไม่ทันที่จะได้ฝังท่านก็กลับฟื้นขึ้นมา บิดามารดา
ได้ถือเอาเหตุนี้ตั้งชื่อให้แก่ท่านว่า "บุญ"

การศึกษาและบรรพชา
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

เมื่อครั้งที่หลวงปู่ยังอยู่ในวัยเยาว์นั้น โยมทั้งสองได้ย้ายภูมิลำเนามาทำนาที่ตำบลบางช้าง อ.สามพราน
เมื่อท่านอายุได้ ๑๓ ปี โยมบิดาได้ถึงแก่กรรม โยมป้าของท่านจุงนำไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับพระปลัด
ทอง ณ วัดกลาง ซึ่งในสมัยนั้นมีชื่อว่า "วัดคงคาราม" ต.ปากน้ำ (ปากคลองบางแก้ว) อ.นครชัยศรี เมื่อท่าน
อายุได้ ๑๕ ปีเต็มพระปลัดทองจึงทำการบรรพชาให้เป็นสามเณรและได้อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ต่างๆ ให้
เมื่อครั้งนั้นท่านได้รับใช้อย่างใกล้ชิดจึงทำให้เป็นที่รักใคร่ของพระปลัดทอง แต่เมื่อมีอายุได้ใกล้อุปสมบท
ท่านมีความจำเป็นต้องลาสิกขาเนื่องด้วยความป่วยไข้เบียดเบียน


 

 

 

 

อุปสมบท
หลวงปู่อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ณ พัทธสีมา วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันจันทร์เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ
ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๓๑ เอกศกเพลาบ่ายตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๒ ในท่ามกลาง
ที่ประชุมสงฆ์ ๓๐ รูป โดยมีพระปลัดปาน เจ้าอาวาสวัดพิไทยทาราม (วัดตุ๊กตา) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระ
ปลัดทอง เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว พระอธิการทรัพย์ เจ้าอาวาสวัดงิ้วราย พระครูปริมานุรักษ์ วัดสุประ
ดิษฐานราม และพระอธิการจับ เจ้าอาวาสวัดท่ามอญร่วมกันให้สรณาคมณ์กับศีลและสวดกรรมวาจา อนึ่ง
การที่มีพระอาจารย์ร่วมพิธีถึง ๔ รูปเช่นนี้ก็เพราะพระเถระเหล่านี้เป็นที่เคารพนับถือ ของผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้า
ภาพอุปสมบทแล้วพระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาให้ว่า "ขนฺธโชติ" แล้วให้จำพรรษาอยู่กับพระปลัดทอง
ที่วัดกลางบางแก้ว

การศึกษาทางปริยัติและปฏิบัติ

หลวงปู่บุญถูกว่างพื้นฐานในทางธรรมมาอย่างดีแล้วตั้งแต่เป็นเด็กวัดและสามเณร ซึ่งช่วงระยะเวลา
ดังกล่าวประมาณ ๕-๖ ปี ที่ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระปลัดทอง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพื้นฐานในทางธรรม
ของท่านถูกถ่ายทอดมาโดยพระปลัดทองทั้งสิ้น อาจารย์อีกรูปหนึ่งของท่านก็คือพระปลัดปาน เจ้าอาวาส
วัดตุ๊กตา ซึ่งจากปากคำของพระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม) เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) บางกอกน้อย
เคยกล่าวไว้ว่าหลวงปู่บุญได้เล่าเรียนกรรมฐานและอาคมกับท่านปลัดปาน อันที่จริงนั้นอาจารย์ที่ถ่ายทอด
วิชาความรู้ทางธรรม ทั้งปริยัติและปฏิบัติตลอดจนพระเวท และพุทธาคมให้แก่ท่านยังมีอีกหลายรูป
แต่จะกล่าวถึงในถัดไป

สมณศักดิ์และตำแหน่ง
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

ในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอธิการปกครองวัดกลางบางแก้ว
ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวด
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาอีก ๔ เดือน คือวันที่
๓๐ ธันวาคม ศกเดียวกันก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูมีราชทินนามว่า "พระครูอุตรการบดี"
และยกให้เป็นเจ้าคณะแขวง
เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๒ ก็ได้รับพระกรุณาโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญา
บัตรที่ "พระครูพุทธวิถีนายก" และให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรการคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐมกับจังหวัด
สุพรรณบุรี
ในปีพ.ศ. ๒๔๗๑ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะสามัญในราชทินนามที่
"พระพุทธวิถีนายก"

ประวัติชีวิตหลวงปู่บุญที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนย่อยในทั้งหมดของท่าน เพราะหากจะนำมาเขียนกัน
จริงๆ คงต้องยืดยาวมาก อีกทั้งได้มีนักเขียนหลายท่านพรรณาไว้อย่างถูกต้องดีแล้วผู้เขียนจึงเว้นไว้เสีย
ไม่นำมากล่าวถึงอีก

การศึกษาพุทธาคมและการสร้างพระเครื่องและเครื่องราง
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

หลวงปู่บุญถูกจัดอันดับอยู่ในยอดเกจิ ผู้เข้มขลังทางพระเวท ที่มีตบะสมาธิและวิถีแห่งญาณแก่กล้า

จนเป็นที่ยอมรับยกย่องของพระคณาจารย์ร่วมยุคร่วมสมัยหลายรูป อาทิเช่น สมเด็จพระสังฆราช (แพ)
แห่งวัดสุทัศน์เทพวราราม หลวงพ่อทับ วัดทอง (วัดสุวรรณาราม) คลองบางกอกน้อย หลวงปู่นาค
วัดห้วยจรเข้และอีกหลายๆ รูป

ด้วยความเชี่ยวชาญเข้มขลังในพระเวททำให้พระเครื่องและวัตถุมงคล ที่หลวงปู่สร้างมีเกียรติคุณ
ชื่อเสียงขจรขจาย เป็นที่เสาะแสวงหาของคนรุ่นปู่รุ่นทวดลงมาจนถึงชั้นพวกเรา ด้วยวัตถุมงคลของหลวงปู่
มีมากชนิดและมากด้วยประสบการณ์ จึงทำให้พวกเราต่างอยากจะรู้ว่าครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดพระเวท
และพุทธาคมให้กับหลวงปู่คือท่านใดบ้าง เรื่องนี้ได้กล่าวถึงมาบ้างแล้ว ว่าอาจารย์ของหลวงปู่ ๒ รูป คือ
พระปลัดทองและพระอธิการปาน มีบทบาทและความสำคัญอย่างมากในการถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆ ให้
แก่หลวงปู่ หากแต่ยังมีบางเรื่องที่ไม่กระจ่างชัดคือ หลวงปู่เรียนวิชาการส้ราง "เบี้ยแก้" มาจากพระอาจารย์
ท่านใด ที่ยกเอาเรื่องเบี้ยแก้ขึ้นมาพูดถึงก่อนเพราะเหตุว่าในกระบวนเครื่องรางของขลังที่หลวงปู่บุญสร้างไว
้ เบี้ยแก้ของท่านจัดอยู่ในอันดับยอดเครื่องรางที่ทุกคนต่างก็ปรารถนาจะได้ไว้ในครอบครอง

ใครคืออาจารย์ "เบี้ยแก้" ของหลวงปู่

การที่หยิบยกเอาความเข้าใจที่ไม่สอดคล้องกันเรื่องการเรียนเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญนั้น หาได้มีความ
ประสงค์จะเป็นผู้ตัดสิน หรือชี้ขาดว่าข้อมูลไหนถูกต้องและอันไหนผิดพลาด หากแต่ต้องการแสดงทัศนะ
ส่วนตัวเพื่อจะได้ร่วมกันคิดและวินิจฉัยว่า อันไหนจะใกล้เคียงความเป็นจริงกว่ากันบางท่านบอกว่าหลวงปู่
บุญเรียนวิชาทำเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่รอด วัดโคนอน (ผู้เป็นอาจารย์ของพระภวนาโกศลเถระ (เอี่ยม) หรือ
เจ้าคุณเฒ่าวัดหนัง) บ้างก็ว่าเรียนมาจากอาจารย์ฆราวาสชาวมอญ ซึ่ง เร่ร่อนมาจอดเรือหน้าวัดหรือบางท่าน
บอกว่าเรียนมาจากหลวงปู่รอด วัดนายโรงหรือหลวงปู่แขกผู้เป็นชีปะขาว ก่อนที่ผู้เขียนจะแสดงทัศนะส่วนตัว
เรื่องวิชาเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญนั้นเราลองมาทำความรู้ จัดกับเบี้ยแก้ก่อน

เบี้ยแก้คืออะไร

เบี้ยแก้ คือ เครื่องรางชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอุปเท่ห์การใช้มากมายหลายอย่าง ทั้งกันและแก้สิ่งชั่วร้ายเสนียด
จัญไร คุณไสย คุณคน คุณผี บาเบื่อ ยาเมา ทั้งหลาย คณาจารย์ยุคเก่าที่สร้างเครื่องรางประเภทเบี้ยแก้
เอาไว้มีด้วยกันหลายรูป แต่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เห็นจะมีอยู่เพียง ๒ รูปคือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
และหลวงปู่รอด วัดนายโรง นอกนั้นก็มีชื่อเสียงอยู่เฉพาะพื้นที่ เช่น หลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ จ.อ่างทอง ,
หลวงพ่อม่วง, หลวงพ่อทัต, หลวงพ่อพลอย วัดคฤหบดี บางยี่ขัน, หลวงพ่อแขก วัดบางบำหรุ, หลวงพ่อคำ
วัดโพธิ์ปล้ำ, หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน จ.อ่างทอง และมีอาจารย์อื่นอีกที่สร้างได้แต่ไม่แพร่หลาย

วิธีการสร้างเบี้ยแก้

เมื่อหาตัวเบี้ยมาได้แล้ว (เบี้ยพวกนี้ไม่ค่อยพบในบ้านเรา สมัยก่อนต้องหาซื้อตามร้านเครื่องยาจีน
เข้าใจว่าเบี้ยที่นำมาใช้นี้จะถูกนำเข้ามาพร้อมกับสินค้าจากประเทศจีนในอดีต.....ผู้เขียน) คณาจารย์
ผู้สร้างก็บรรจุปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้าไปในตัวเบี้ย แล้วหาวิธีอุดมิให้ปรอทไหลออกมาได้ (ปรอทที่ใช้
นี้เป็นปรอท หรือปรอทดินโบราณมีวิธีการจับปรอทโดยนำไข่เน่าไปทิ้งไว้ในน้ำครำไม่ช้าปรอทจะกิน
ไข่เน่าจนเต็ม)

ปรอทมีคุณสมบัติเป็นของเหลวลื่นไหลการจะนำปรอทมาบรรจุเบี้ยแก้ คณาจารย์ผู้สร้างจำต้องมีพระเวท
เข้มขลัง เพราะต้องใช้พระเวทฆ่าปรอทหรือบังคับให้ปรอทรวมตัวกันอยู่ในเบี้ยบางราย ถึงกับบริกรรมพระเวท
เรียกปรอทเข้าในตัวเบี้ยได้เอง การปิดปากเบี้ยเพื่อกันไม่ให้ปรอทไหลออกมาได้นั้นนิยมเอาชันโรงใต้ดิน
ที่ปลุกเสกแล้วมาอุดใต้ท้องเบี้ยให้สนิทเรียบร้อย แล้วจึงหุ้มด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผ้าแดง แผ่นตะกั่ว
แผ่นทองแดง วัสดุที่ใช้หุ้มหรือปิดนี้ก็ต้องลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกกำกับด้วย เช่นเบี้ยแก้หลวงปู่บุญ
วัดกลางบางแก้วจะมีลวดทองแดงขดเป็นห่วง ๓ ห่วง เพื่อให้ใช้เชือกคล้องคาดเอว

เบี้ยแก้ที่ผ่านการบรรจุปรอทจนกระทั่งถักหุ้มเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ถือว่าเสร็จสิ้นขึ้นตอนกรรมวิธี
เพราะคณาจารย์เจ้าผู้สร้างท่านต้องปลุกเสกกำกับอีกจนมั่นใจว่าใช้ได้จริงๆ แล้วเล่ากันว่า คณาจารย์บางรูป
สามารถปลุกเสกเบี้ยแก้ จนกระทั่งตัวเบี้ยคลานได้ เรื่องนี้ไม่ใช่ผู้เขียนเขียนขึ้นมาเอง หากแต่ได้รับการบอก
เล่าจากหลวงพ่อพระครูรัตนโสภณ เจ้าอาวาสวัดบางบำหรุ ซึ่งท่านกรุณาเล่าว่า สมภารฉายอาจารย์ของท่าน
และเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบำหรุก่อนท่านเคยสร้างเบี้ยแก้เอาไว้ และสามารถปลุกเสกเบี้ยแก้จนตัวเบี้ย
คลานได้เหมือนหอย เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้ ก็จะเข้าประเด็นที่ ขึ้นต้นเอาไว้ว่า

หลวงปู่บุญท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาเบี้ยแก้มาจากท่านใด

ตามทัศนะของผู้เขียน ไม่เห็นด้วยกับข้อมูลที่บอกว่าหลวงปู่บุญ ท่านเรียนเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่แขก
ซึ่งบางท่านบอกว่าเป็นชีปะขาวบางท่านบอกว่าเป็นสมภารวัดบางบำหรุ และยังระบุต่อไปอีกว่า หลวงปู่แขก
ที่กล่าวถึงนี้เป็นอาจารย์ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง

ตามข้อมูลที่ผู้เขียนสืบค้นได้นั้น หลวงปู่รอดวัดนายโรง ท่านมีชีวิตอยู่ก่อนหน้าหลวงปู่แขกนานนัก
และหลวงปู่แขกที่ว่านี้ ก็มิได้เป็นชีปะขาว หากแต่เป็นสมภารวัดบางบำหรุต่อจากสมภารพรหมเจ้าอาวาส
วัดบางบำหรุรูปแรก เท่าที่มีประวัติคือ สมภารพรหมครองวัดบางบำหรุอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๔๖๑
ถัดมาก็เป็นสมภารแขกซึ่งบอกไว้แต่เพียงว่าตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๖๑ ถัดจากสมภารแขกก็เป็นสมภารฉาย
ครองวัดอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๐ หากจะคำนวณอายุดู หลวงปู่แขกไม่น่าจะมีอายุแก่กว่าหลวงปู่บุญ
อย่างมากก็คงจะรุ่นราวคราวเดียวกัน หรืออาจจะอ่อนกว่าเสียด้วยซ้ำเพราะหลวงพ่อรัตน์เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า
"เมื่อท่านยังเป็นเด็กวัดอยู่นั้น สมภารแขกมี ชื่อเสียงโด่งดังมาก อายุขณะนั้นประมาณ ๗๐-๘๐ ปี หากนับ
ถึงปัจจุบันก็คงจะรุ่นๆ เดียวกับหลวงปู่บุญ จึงเป็นไปไม่ได้ที่สมภารแขกจะเป็นอาจารย์ของหลวงปู่รอด
และหลวงปู่บุญ แต่อาจเป็นไปได้ว่า หลวงปู่รอดที่เป็นอาจารย์ถ่ายทอดวิชาเบี้ยแก้ให้กับหลวงปู่บุญ
และหลวงปู่แขก เพราะหลวงปู่รอดนั้นท่านมีอายุนั้นในรุ่นหลังของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไม่มากนัก
(คงมีอายุห่างจากสมเด็จฯ ประมาณ ๓๐ ปี-ผู้เขียน)

ตามหลังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรซึ่งกรมาการศาสนาเป็นผู้จัดพิมพ์นั้น ระบุว่าหลวงปู่รอดเป็น
สมภารรูปแรกของวัดนายโรง เพราะฉะนั้นในกระบวนเบี้ยแก้ทั้งหมดเท่าที่พบเห็นกันอยู่ต้องถือว่า เบี้ยแก้
ของหลวงปู่รอดวัดนายโรงเก่าแก่ที่สุด ส่วนสาเหตุที่น่าเชื่อว่าหลวงปู่แขกกับหลวงปู่บุญ มีความสัมพันธ์
กันก็เพราะว่า พื้นเพเดิมของหลวงปู่แขกนั้น ท่านเป็นชาวนครชัยศรีเช่นเดียวกับหลวงปู่บุญจึงน่าจะเป็น
ไปได้ว่า หลวงปู่บุญท่านอาจจะไปมาหาสู่กับหลวงปู่แขก และได้มาทราบกิติศัพท์และเกียรติคุณของ
หลวงปู่รอด วัดนายโรง เมื่อคราวมาเยี่ยมหลวงปู่แขกที่วัดบางบำหรุ จึงได้ขอเรียนวิชาทำเบี้ยแก้กับ
หลวงปู่รอด

อนึ่งหลวงพ่อรัตน์วัดบางบำหรุเล่าว่า สมภารพรหม เจ้าอาวาสวัดบางบำหรุก่อนหลวงปู่แขกก็อยู่ใน
ฐานะศิษย์ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง เอาละครับผู้เขียนขอเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเบี้ยแก้
ของหลวงปู่บุญไว้เพียงเท่านี้ ผิดถูกเท็จจริงประการใดขอให้อยู่ในดุลยพินิจของท่านผู้รู้ทั้งหลายด้วย

อิทธิคุณและพิธีกรรมการใช้เบี้ยแก้

ข้ออธิบายต่อไปนี้ คัดลอกจากต้นฉบับเดิมของวัดกลางบางแก้ว เพื่อให้ท่านที่มีเบี้ยแก้ได้ทราบถึง
อิทธิคุณและการใช้อย่างถูกต้อง อันจะบังเกิดผลดีแก่ผู้ใช้

- ป้องกันอัตวิบากกรรม แก้ภาพหลอน จิตรหลอน ภาพอุปทาน แก้อำนาจภูผีปีศาจ อาถรรพณ์เวททำให้
มัวเมาขลาดกลัว ขนพองสยองเกล้า ลมเพลมพัด คุณไสย คุณผี คุณคนทั้งปวงอุบาทวเหตุ อุบาทวภัย
ทั้งปวง มัวเมายาพิษ ยาสั่งทั้งหลาย ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข่ผีป่า ผีโป่ง ผีปอบ ต้องกระทำจากภูตผี ผีพราย
ผีตายโหง กองกอยวิกลจริต จิตวิกลวิกาล วิญญาณ อุปาทานวิกลเหมือนผีเข้าเจ้าสิงสู่ปราศจากสิ้นแล

- ให้อธิษฐานเอาน้ำมนต์ เอาดอกพุทธรักษาดอกไม้ ดอกเข็มแดงหลากสี ตั้งขันธูปเทียน ขันห้า
ข้าวตอก ดอกไม้แก้บาทวพิษ บาทยัก อัมพาต บาดแผล ฝีมะเร็ง ฝีคุณ หัวพิษ หัวกาฬ ทรางชัก
รางขนพอง สันนิบาตลูกหมา ลูกนก หลังแอ่น คางแข็ง บ้าหมู ภายนอกภายใน อาบกินด้วย ตั้งจิตหน่วงลง
ในคุณพระศรีรัตนตรัยใช้ได้แล

- เมื่อเข้าศึกสงครามให้เอาไว้ด้านหน้าสารพัดศัตรู บีทาย่ำรุกไล่ให้เอาไว้ด้านหลัง หาเจ้าฟ้ามหากษัตริย์
เจ้าขุนมูลนาย ให้เอาไว้ด้านข้างขวา เมื่อหาหญิง หานางพญาไว้ข้างซ้าย สารพัดศาสตรามิต้องข้างกายเลย
ดุจฝนเสนห่า ข้าวปลาอาหารเป็นพิษ คางแข็ง เคี้ยวไม่กลืนเลยแล

- ปลิงก็ดี ทากร้ายก็ดี มีในป่ามืด ในน้ำห้วยหนอง คลองบึง มันไม่เก่าะกินเลือดทั้งวัวทั้งควาย ช้างม้า
ก็ดีแล แก้งูพิษ เขี้ยวขนอน แมวเซา เห่าแก้วก็ดีมิต้องกายมาขบกัดเลยแล

สูตรการสร้างยาจินดามณี

เมื่อกล่าวถึงผงยาจินดามณี ต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เป็นสูตรการสร้างวัตถุมงคล ที่ส่งให้ชื่อเสียง
ของวัดกลางบางแก้ว โดยเฉพาะหลวงปู่บุญโด่งดังขจรขจาย อุปเท่ห์การใช้ยาจินดามณีนั้นมีคุณครอบ
จักรวาล แม้แตาสามารถฉุดกระชากจิตวิญญาณที่ใกล้จะดับสูญ ให้กลับฟื้นคืนสติขึ้นมาสั่งเสียข้อความต่างๆ
แก่ญาติโยมได้ สูตรการสร้างยาจินดามณีนี้ เป็นของเก่าแก่ดั่งเดิมสืบทอดมาหลายชั่วอายุคนแล้ว สำหรับ
หลวงปู่บุญนั้นท่านก็ได้รับสืบต่อมาจากพระปลัดทอง ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่าน

กรรมวิธีการสร้างนั้น ประกอบด้วยพิธีกรรมและเครื่องยาแยกเป็นสองส่วน ส่วนที่เป็นเครื่องยานั้น
ตำรับโบราณได้พรรณาเอาไว้อย่างกว้างๆ ตามตำราว่า

"จินดามณีโอสถอันพิลาส" ประกอบดอกคลาด ดอกจันทร์เกสรบุษบัน เปราะหอม กำยานโกฐสอ
โกฐเขมา ทองน้ำประสาน เปลือกกุมชลธาร กรุงเขมาเท่ากัน ผสมแล้วตำบดพิมเสน ชะมดน้ำผึ้ง รวงรัน
กฤษณา น้ำมะนาว น้ำมะเขือขื่นคั้นผสมยาเข้าด้วยกัน บดปั้นตากกินเป็นยาวาสนาเลิศล้ำตำราในโลกแผ่นดิน
อุปเท่ห์กล่าวไว้ ผู้ใดได้กินจะสวัสดิโสภิณกว่าคนทั้งหลาย พัสดุเงินทองจักพูนกูลนองกว่าโลกหญิงชาย
นำมาบูชาอหิวาต์ก็มิวาย ระงับอันตรายทั้งสี่กิริยาโทษหนักเท่าหนัก มาตรแม้นประจักษ์ถึงกาลมรณา
ถ้าแม้นใครกินซึ่งยาวาสนากลับน้อยถอยคลาเคลื่อนคลายหายเอย

นอกจากนี้ยังได้แยกเครื่องยาไว้อย่างละเอียดว่า สมุนไพชนิดใดจะเอาส่วนไหนประกอบกับอะไร
บดเป็นผงละเอียด เคล้ากับตัวประสานสมุนไพรนั้นมีมากมายหลายชนิด แยกออกเป็นสันส่วนว่า ส่วนไหน
ใช้เท่าใด และให้ลงหรือเสกด้วยคาถาอย่างไรบ้าง เมื่อปลุกเสกเครื่องยาแต่ละส่วนตามคาถาที่กำกับแล้ว
ก็เอาเครื่องยามาผสมกับมีคาถาฤาษีประสมยาประกอบไว้อีกโสดหนึ่ง ในเรื่องสัดส่วนของสมุนไพรตลอดจน
สมุนไพรนอกจากที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นนั้น และพระคาถากำกับการเสกสมุนไพรมากมายหลายบท

จากนั้นท่านได้แจกแจงรายละเอียดเอาไว้ในส่วนการลงลูกหินและแม่หิน ซึ่งจะใช้บดยาว่า
"แม่หินต้องลงอักขระเลขยันต์อีกแบบหนึ่งและมีคาถาประกอบขณะบดยา"

การจัดพิธีท่านให้เลือกเอาวันเพ็ญขึ้น ๒๕ ค่ำกลางเดือน ๑๒ ซึ่งหากปีใดได้ราชาฤกษ์หรือเพชรฤกษ์
จัดว่าดีเยี่ยมให้จัดเครื่องสังเวยเทวดาบัตรพลีต่างๆ รวมทั้งราชวัตร ฉัตรธงภายในพระอุโบสถ และมีสายสิญจน์
รอบพระอุโบสถแต่ละทิศให้ลงยันต์ประจำทิศด้วยผ้าแดง ด้านหน้าพระอุโบสถแต่ละทิศ ให้ลงยันต์ตรีนิสิงเห
และยันต์จินดามณีประกอบไว้เป็นพิเศษด้วย เมื่อได้ฤกษ์ให้ชุมนุมเทวดา แล้วให้พระภิกษุและฆราวาส
ที่ร่วมพิธีพร้อมกัน โดยเฉพาะฆราวาสนั้น หากเป็นหญิงให้ใช้สาวพรหมจารีย์ ซึ่งรักษาศีลอุโบสถ (ศีล ๘)
มาแล้ว ๓ วัน ส่วนชายก็ให้รักษาศีลอุโปสถเช่นกัน

ผู้ร่วมพิธีปั้นเม็ดยา หรือกดพิมพ์พระจะต้องภาวนาพระคาถาไปด้วย ไม่ว่าเม็ดยา หรือพระพิมพ์ที่ปั้น
และกดเสร็จแล้วจะต้องนำไปปลุกเสกด้วยมนต์ขลังอีกอย่างน้อย ๗ เสาร์ ๗ อังคาร

การสร้างยาจินดามณีนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ยาวาสนา" ซึ่งมิใช่มีเฉพาะตำหรับของวัดกลางบางแก้ว
เท่านั้น วัดอื่นก็มีสร้างกัน เช่น วัดปากครองบางครก อ.บ้านแหลม จ. เพชรบุรี ก็มีการสร้างในสมัยของ
หลวงพ่อโศก (พระครูอโศกธรรมสาร) เกจิอาจารย์ผู้พระเดื่องนาม ในการสร้างปลัดขิก พระขรรค์และ
ผ้ายันต์ราชสีห์เส้นคู่ ตำหรับการสร้างผงยาจินดามณีของวัดปากคลองบางครกนี้ ก็มีกรรมวิธีการสร้างและ
อุปเท่ห์การใช้อย่างเดียวกันกับของวัดกลางบางแก้ว ผู้เขียนเข้าใจว่าคงเป็นตำราที่สืบทอดแตกแยกกัน
ออกไป เมื่อได้พูดถึสูตรผงยาจินดาตรีของทั้ง ๒ สำนักแล้ว ก็อยากจะนำอุปเท่ห์การใช้มาเขียนลงไว้
อย่างชัดเจน โดยขอกล่าวถึงอุปเท่ห์การใช้ยาจินดามณีตำหรับวัดกลางบางแก้วก่อน

ใครได้รับประทานยาจินดามณีแล้วจะบันดาลให้เกิดศิริสวัสดีและลาภผล หากบูชาเอาไว้จะป้องกัน
และรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ แม้แต่อหิวาตกโรคผู้ใดมีไว้จะปราศจากอันตรายใดๆ ในทุกอิริยาบถผู้ใดต้อง
โทษทัณฑ์ก็จะบรรเทาเบาบางลงได้ ผู้ใดป่วยหนักแม้แทบจะสิ้นชีวิต หากได้รับประทานอาจินดามณีแล้ว
ก็จักรอดตายฟื้นหายจากโรคนั้นสำหรับวิธีการใช้ยาขอยกเอามาเพียงบางส่วนดังนี้

ถ้าใช้รักษาอหิวาตกโรคให้เอายอดทับทิมต้มผสมกับกานพลูและน้ำปูนใส แล้วฝนเม็ดยาใส่ลงไป
ดื่มรับประทานหายจากโรคแล

แก้โรคเสมหะดีขึ้น(คนป่วยถ้าเสมหะตีขึ้นแล้ว มักจะไม่รอด) ให้ใช้ดีหมีผสมน้ำร้อน แล้วใส่ยาจินดามณี
ผสมลงไปรับประทาน

ถ้าเกิดคดีความขึ้นโรงขึ้นศาล ให้เอายาใส่น้ำเสกด้วย "เอกัง จินดามณีมันตัง" เป็นเมตตามหานิยม
แล้วเอาน้ำประพรมศรีษะ เอาเม็ดยาอมไว้ตลอดเวลา จะชนะความทั้งสิ้นแล

หากจะให้ปัญญาดี ให้เสกด้วยพระคาถาต่อไปนี้ ๓ คาบ
"ตะโตโส ปัณฑิโต ปิหิโส อัตถะ ทัสสีมะโหสะ โถ" แล้วอมยาจะท่องมนต์คาถาสารพัดวิชา จำได้สิ้น
ที่หลงลืมก็จะระลึกได้อุปเท่ห์การใช้ผงยาจินดามณี ของวัดกลางบางแก้วนี้ยังมีอีกมาก เอาไว้กล่าวถึงใน
บทเฉพาะเกี่ยวกับพระคาถาอาคมของหลวงปู่บุญ

สิทธิการิยะ จะกล่าวถึงสรรพคุณวิเศษของยาจินดามณี ตำหรับวัดปากคลองบางครก (อันที่จริง
ก็ตำรับเดียวกันนั่นแหละครับ เพียงแต่แตกแยกออกไปเท่านั้น)

แก้โรคในจักษุ ๖ แก้ในจมูก ๓ ประการในลิ้น ๖ ประการ ในฟันในท้อง ๔ ประการ แก้ไขบั้นปลาย
ก็ได้แก้ลมมหาสดมภ์ แก้ลมราชยักษ์กุมภัณฑ์ยักษ์ แก้อ่อนเปลี้ยเพลียใจ คลื่นไส้เอาเจียรเป็นยาครรภ์
รักษา แก้หัวพิษ หัวกาฬ ละลอกน้ำ ละลอกไฟ

ผิวเป็นอัมพฤก อัมพาต ตายไปทั้งตัวก็ดีฝ่ายซ้ายขวาก็ดี ตีนมือ คาง ขากรรไกร ก็ดีหาสมประดี
ไม่ได้ไซร้ ให้เอาหญ้าฝรั่ง พิมเสนทองคำ บดด้วยยาละลายกรองลงไปได้สติลืมตามีน้ำตาไหล น้ำลายยืด
แล้วหายแล ถ้าคนไข้บีบมือเหมือนจะออกคำ แต่ออกมิได้ให้เอาดีหมีก็ได้ถ้าไม่มีดีงูก็ได้ ต้มน้ำให้ละลาย
ประมาณครึ่งถ้วยพริก ใส่เหล้าครึ่งให้กินเถิดถึงเสลดหางวัวตีขึ้นก็จับกลับหาย หายมากแล้ว

ถ้าผู้บ่าวสาว ชักดิ้นงักงอ หมดสติตีนมือเกร็ง มีมายาต่างๆ เหมือนผีสิงก็ดีกัดฟันหน้าเบี้ยว ให้เอาพิมเสน
มาบดด้วยยาใส่ฝิ่นรำหัส ให้ต้มน้ำขิงทุบ เอาน้ำอุ่นเยี่ยวหนูให้กิน ถ้ามิฟังให้เอาหัวหอม ๓-๔ หัวตำ คั้นน้ำ
บดยาให้กิน แก้กำหนัดกามราคะขึ้น เป็นลมเบื้อนสูงสงบและเลือดระดูทำพิษให้เอาเสนียด คำฝอยต้ม

แก้สวิงสวาย หน้ามืดตาลาย กระวนกระวายเป็นทุกข์ระส่ำทรวง หัวใจเต้นดังตีปลาเหงื่อกาฬแตก
บดยาใส่น้ำดอกไม้สด น้ำมะลิ บังหลวง กระดังงาก็ได้ ทั้งกินทั้งดมหายใจแลแก้ร้อนใน น้ำดอกไม้เทศ
แก้ทราง ละลายน้ำพ่น ชะโลมตัวหายแล

แก้เลือดตก น้ำมะขามเปียกครึ่งชามแกงแซกเหลือตัวผู้ แก้ลมบ้าหมู น้ำมะนาว แก้ไอมะนาวแทรกเกลือ

ตกลงป่วง ลงราก โรคห่า ละลายน้ำยา ด้วยน้ำฝนกินให้อิ่มหายพลัน ถ้ามิฟังเอาเปลือกมะม่วง ๓
เปลือก ต้มใส่ปูนน้อยหนึ่ง ต้ม ๓ เอา ๑ ละลายกินเถิดหาย

แก้บิดมูกเลือด ขมิ้นข้น ๓ แว่น ทายาฝิ่นหรือขี้ยากรอบงโรยลงปิ้งไฟเกรียม บดด้วยน้ำปูนใสใส่ยา
๑ เม็ดกิน ๓ ที หายดีนัก แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อใช้น้ำขิงต้ม

แก้โรค อุปทม ทุเลาวสา มุตกิต มุตฆาต ยักน้ำกระสายธาตุ ๔ ต้ม ให้ถ่ายใช้เกลือหนัก ๑ ชั่ง
ธาตุหนักก็เพิ่มขึ้น ใบมะขามต้มเป็นกระสาย

องคชาติปวดแสบในลำปัสสาวะ เมื่อปัสสาวะเป็นกำลังบานไม่รู้โรยขาว ทั้งห้าต้นแทรกสารส้ม
รำหัสละลายยากินเถิดหาย มักหนักถ่วงท้องน้อย บางครั้งมีแน่นให้เอาใบมะดัน ๙ ใบลงด้วยนวหรคุณต้ม
แทรกสารส้มกินหาย เมื่อทุเลาแล้วแต่งยาชื่อกษัยองคสุตรกินเสียหายแล

แก้หัวพิษ หัวกาฬ หัวละลอก ใช้น้ำครำฝนยาทาใช้น้ำขี้เถ้าดินเผาไฟก็ได้ใบมหากาฬตำก็ได้

แก้บาดทะยัก เอาผักปราบตำใส่ปูน น้ำมะนาวบีบลงในยานี้ทาหาย ถ้าชักกระตุกแล้วให้รีบทาเถิด
ยักยาอื่นตายแล

อนึ่งทารกแรกเกิด ให้เอายาฝนกับน้ำผึ้งรวงแล้วหยอดให้ทารกนั้นกิน ๓ วันแรกเสียงจะดีนักแล
เลี้ยงง่ายปัญญาดีแล

ถ้าให้มีปัญญาพาที ให้เสกด้วยพระคาถานี้ ๓ จบ แล้วอมยาไว้จะเล่าบ่นมนต์คาถาสารพัดวิชาจำได้สิ้น
ที่เลือกลืมหลงก็นจะรำลึกได้แล

ให้เสกด้วยมนต์มหาจินดาติดตัวไปเป็นเสน่ห์บังเกิดลาภผลที่ตนปรารถนาแล

ให้เสกด้วย พัสสมิงกิเนนโตฯ สู้ความชนะ

ให้เสกด้วย เอกจินดา มณีมนตํ ติดตนไปเป็นมหานิยมภาวนา อุอากะสะ ทำการไร่นามิเหนื่อยแล

ให้ภาวนาด้วยบท ยันทุนนิมิตตัง จบหนึ่งเอายาติดตัวไว้กลัวลางนิมิตร้ายแล

อมยาแล้วนั่งเหนือลมภาวนา อิตถีจิตตํ ปิยํ มะมะ รักและหลงเรา จากไปมิได้แล

เมื่อจะเดินทางไปสารทิศ เข้าหายเจ้านายผู้ใหญ่ ใช้ยานี้แช่น้ำใช้น้ำนั้นสระหัวอมยา แล้วภาวนา
สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธ ภควาติ ๗ คาบผู้ใหญ่ เจ้านายหายโกรธ ช่วยเหลือเราทุกทางเลย

ถ้าเผชิญด้วยหมู่ศัตรูหมู่ร้าย ให้อมยาแล้วภาวนาพามานา อุกะสะนะทุ ๘ คาบ ชนะศัตรู ศัตรูทำร้าย
มิได้ แคล้วคลาดสารพัดแล

เอายาติดตัวไปป้องกันสรรพโรคภ้ย ป้องกันเสนียดจัญไร กันย่ำยีด้วยคุณไสย คุณผี คุณคน สารพัด
พิษ ผิดสำแดง เมื่อต้องยาเบื่อมา เอารากมะปรางหนึ่ง หัวนุมานกระทบแท่งหนึ่ง ฝนทำน้ำกระสาย หรือ
เอาแต่อย่างหนึ่งก็ได้กินเถิดมิเป็นไรอย่าประมาทเลย เคยแก้ยาสั่งมาแล้ว ถ้าติดตัวไปมิต้องเราแล

ให้มีติดตัวถึงราวอับจนจะได้ใช้ ตามืด หูมืด ใช้ได้ทุกเมื่อ มีอำนาจวิเศษคุณมากตีค่าไว้ถึง ๘ ชั่งทองแล

ที่ต้องเอาเกล็ดและฝอยของยาจินดามณีหรือยาวาสนาตำรับวัดปากคลองบางครก อ.บ้านแหลม
จ.เพชรบุรี มาลงไว้เสียยืดยาว ก็เพราะว่าต้องการให้ผู้อ่านเทียบเคียงกันดูว่าทั้งตัวยาและอุปเท่ห์การใช้นั้น
มีส่วนเหมือนและคล้ายคลึงกันมากซึ่งก็ไม่ใช้เรื่องแปลก เพราะสูตรดั่งเดิมของการสร้างยาจินดามณีนั้น
เป็นศัตรูเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพียงแต่แตกสาขาออกไปหลายสาย โดยเฉพาะสายวัดกลางบางแก้วนั้น
ได้สืบทอดมาแต่ท่านเจ้าคุณวัดราชนัดดาที่มามีชื่อเสียงแพร่หลายกว่าสายอื่นนั้น ก็คงเนื่องจากตบะบารมี
ของหลวงปู่บุญท่านสูงส่งและแก่กล้ากว่าเท่านั้นเอง แต่ก็ใช้ว่าสูตรยาจินดามณีของสำนักอื่นไม่มีหรือมี
แต่จะด้อยสรรพคุณกว่าก็หาไม่ เพราะอันพระเถราจารย์เจ้าในยุคเก่าๆ นั้น ท่านเชี่ยวชาญเข้มขลังไม่แพ้กัน
หรอกครับ แต่ละท่านต่างก็ยกย่องซึ่งกันและกัน แต่มาชั้นหลังรุ่นพวกเราเหล่าลูกศิษย์ชักจะมีคติถือครูบา
อาจารย์ถือสำนัก แบ่งพรรคแบ่งพวกกันเสียแล้ว ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเลยครับ อย่างไรเสียก็ควรจะช่วยกัน
รักและอนุรักษ์ของเก่าแก่ดั่งเดิมเอาไว้เถอะครับ แม้จะต่างวัด ต่างสำนักกันก็อย่าได้มองข้ามหรือดูแคลน
กันนักเลย

สำหรับอุปเทห์ใช้และคาถาที่กำกับยาจินดามณีตำหรับวัดกลางบางแก้ว ขอให้พลิกไปบทถัดไปนะครับ
มีบันทึกเอาไว้เฉพาะแล้ว

109
หลวงพ่อโต วัดบางพระ ด้านล่างทำการผัง โดย อ.อภิญญยา

110




 
พระวิษณุ (นารายณ์) เทพผู้คุ้มครองโลก

พระวิษณุ (นารายณ์) เทพผู้คุ้มครองโลก ความเชื่อของชาวฮินดูปัจจุบันพระองค์ คือเทพผู้ทำหน้าที่บริหารหรือผู้คุ้มครองโลกที่สำคัญ จากคัมภีร์พราหมณ์ คัมภีร์พราหมณ์ปุราณะกล่าวไว้ว่า ?พระปรเมศวร? (พระศิวะ) เป็นผู้สร้างพระวิษณุ เหตุมาจากทรงมีพระประสงค์จะสร้างสวรรค์และโลก ซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่นัก จึงได้ทรงต้องการผู้ช่วย โดยการนำหัตถ์ซ้ายมาลูบหัตถ์ขวา จึงบังเกิดเป็นเทพชื่อ ?พระวิษณุ? หรือ ?พระนารายณ์? พระปรเมศวร ได้สอนศิลปะด้านต่าง ๆ ให้กับพระวิษณุ ในทุกด้าน และให้ประทับอยู่ ณ เกษียรสมุทร เมื่อเกิดเหตุร้ายในโลกมนุษย์ หรือสวรรค์เมื่อใด พระวิษณุก็จะมีหน้าที่ไปปราบปรามเหล่าอสูร และผู้ประสงค์ร้ายนั้น ๆ โดยในบางคราวก็จะได้รับการร้องขอจากเหล่ามวลเทพเทวดาบ้าง คัมภีร์มหาภารตะ เล่าไว้ถึงพระนารายณ์แต่เดิมคือฤาษีตนหนึ่ง เป็นบุตรของฤาษีธรรมมะ ได้เดินทางจากโลกมนุษย์สู่สถานที่ของพวกพราหมณ์พร้อมเพื่อนสนิทนามว่า ?นร? เพื่อบำเพ็ญเพียรจนได้รับการเคารพบูชาจากเทพเทวดาทั้งมวล ต่อมาได้รับการขอร้องจากเหล่าเทวดาให้ช่วยปราบอสูรที่สร้างความเดือดร้อน ฤาษีทั้งสองจึงได้รับปากช่วยเหลือโดยได้ออกรบกับอสูรจนได้รับชัยชนะ จึงได้รับความเคารพนับถือจากเหล่าเทวดายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน จนภายหลังฤาษีนารายณ์ได้ออกเดินทางไปบำเพ็ญตนยังหิมาลัยจนบรรลุผลเป็นพราหมณ์ (ผู้รู้แจ้งทุกสิ่งในโลก) และได้เป็นผู้นำเหล่าพราหมณ์ในเวลาต่อมา จากการยกย่องบูชาตลอดที่ผ่านมาจนเป็นที่รู้จักในนาม ?พระวิษณุ(นารายณ์)? พระนามของพระวิษณุ พระนารายณ์ มีผู้ขนานนามเรียกขานจากความแตกต่างกันตามความเชื่อ พระนามตามฤทธิ์อำนาจ และตามเหตุการณ์ที่ต่างกันตามกาล อาทิ อนันตะ ไม่สิ้นสุด จตุรภุช มี ๔ กร มุราริ เป็นศัตรูแห่งมุระ นระ (นะระ) ผู้ชาย นารายณ์ ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ ปัญจายุทธ พระผู้ทรงอาวุธทั้ง ๕ อย่าง ปีตามพร ทรงเครื่องสีเหลือง ทโมทร มีเชือกพันเอาไว้รอบเอว กฤษณะ, โควินทะ, โคบาล ผู้เลี้ยงวัว ชลศายิน ผู้นอนเหนือน้ำ พระพิษณุหริ ผู้สงวน อนันตไศยน นอนบนอนัตนาคราช ลักษมีบดี ผู้เป็นสามีของพระลักษมี วิษว์บวร ผู้คุ้มครองโลก สวยภู เกิดเอง เกศวะ มีผมอันงาม กิรีติน ผู้ใส่มงกุฎ พระวิษณุ พระนารายณ์ ทรงประทับบนสวรรค์ เรียก ไวกูณฐ์ พาหนะ คือครุฑ พระวรกายสีนิล ฉลองดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎ อาภรณ์สีเหลือง มี ๔ กร ถือ สังข์ จักร ตรี คทา บ้างก็กล่าวไว้ว่าทรงถือ ดอกบัว ลูกศร ดอกไม้ หรือเชือกบ่วงบาศ หรือสายฟ้า อาวุธประจำที่ใช้ คือ สังข์ จักร คทา ธนู และพระขรรค์



--------------------------------------------------------------------------------


 
?อวตาร?

ปฏิบัติการอันสำคัญของพระวิษณุมหาเทพ

เมื่อลัทธิไวษณพนิกาย ที่ถือว่าพระวิษณุทรงเป็นใหญ่เหนือมหาเทพทั้งหลายในตรีมูรติ เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยราชวงศ์คุปตะ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓-๖ และกษัตริย์อินเดียในราชวงศ์นี้ส่วนมากจะนับถือลัทธินี้มาก ทรงรับลัทธินี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และถือว่าการอวตารขององค์พระวิษณุมหาเทพเป็นองค์ประกอบ หรือหัวใจที่สำคัญของลัทธิภควตา (Bhagavata) ซึ่งเกิดขึ้นมาในสมัยราชวงศ์คุปตะนี้และเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นลำดับแม้ว่าราชวงศ์คุปตะจะเสื่อมลงแล้วก็ตามลัทธินี้ก็ยังคงอยู่ ชาวฮินดูก็ยังเคารพบูชาปางอวตารของพระวิษณุมาก แม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ก็ตามที การอวตาร (Aratara) หรือในภาษาอังกฤษว่า ?Incarnation? แปลว่า ?การลงมา? คือการลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือ ?การเข้าในร่างของมนุษย์? หมายถึง พระวิษณุเสด็จลงมาเกิดบนโลกมนุษย์เป็นภาคเป็นตอนต่าง ๆ กันเพื่อปราบยุคเข็ญในโลกให้หมดสิ้นไป ถือเป็นปฏิบัติการอันสำคัญยิ่งของมหาเทพพระองค์นี้ เมื่อมีบาปกรรมหนาแน่นบนโลกมนุษย์ พระวิษณุก็จะอวตารลงมาช่วยขจัดปัดเป่าเสีย



--------------------------------------------------------------------------------




 
นารายณ์อวตาร

อวตารของพระองค์เป็นทั้งมนุษย์และสัตว์ และการอวตารของพระองค์จะเป็นไปตามอิศวรโองการ (คำสั่งของพระศิวะ) และการอัญเชิญขอร้องของหมู่เทวดาทั้งหลาย การอวตารของพระวิษณุมหาเทพเพื่อมาช่วยมนุษย์โลกนี้มีทั้งหมด ๑๐ ปาง (แต่ยังไม่แยกย่อยออกเป็นอีกด้วยกันคือ ๒๒ ภาค ซึ่งจะไม่กล่าวในที่นี้)



--------------------------------------------------------------------------------


 

พระนารายณ์ ๑๐ ปางสำคัญดังนี้

ปางที่ ๑ วราหาวตาร (อวตารเป็นหมูเผือกมีเขี้ยวเพชร)
ปางที่ ๒ กูรมาวตาร (อวตารเป็นเต่าทอง)
ปางที่ ๓ มัตสยาอวตาร (อวตารเป็นปลากรายทอง)
ปางที่ ๔ นรสิงหาวตาร (อวตารเป็นครึ่งสิงห์)
ปางที่ ๕ วามนาวตาร หรือ ทวิชาวตาร (อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ย)
ปางที่ ๖ มหิงสาวตาร (อวตารเป็นมหิงสา หรือควาย)
ปางที่ ๗ อัปสราวตาร (อวตารเป็นนางฟ้า)
ปางที่ ๘ รามาวตาร (อวตารเป็นมนุษย์ชื่อพระราม)
ปางที่ ๙ กฤษณาวตาร (อวตารเป็นพระกฤษณะ)
ปางที่ ๑๐ กัลกยาวตาร (อวตารเป็นมนุษย์เรียกว่า วีรบุรุษขี่ม้าขาว)




--------------------------------------------------------------------------------




 
ปางที่ ๑ วราหาวตาร

อวตารปางที่นี้อยู่ในโลกยุคที่ ๑ พระวิษณุทรงอวตารเป็นหมูป่า (วราห์) เพื่อปราบปรามยักษ์ผู้มีนามว่า ?หิรัณยากษะ? (ผู้ซึ่งมีนัยน์ตาทอง) ซึ่งเป็นอสูรที่ชั่วร้ายมีความร้ายกาจยิ่งนัก เดิมนั้นอสูรตนนี้ได้บำเพ็ญตบะเพื่อบูชาพระอิศวรทำให้พระองค์โปรดปรานและพอพระทัยยิ่งนัก จึงประทานให้อสุรตนนี้มีฤทธิ์สามารถปราบได้ทั่วสากลจักรวาล พญาอสูรจึงได้มีความฮึกเหิมอหังการยิ่งนัก ได้จัดการม้วนแผ่นดินโลกทั้งหมด แล้วหนีบใต้รักแร้ หนีลงไปอยู่ในบาดาล ในที่สุดต้องเดือดร้อนถึงพระวิษณุอวตารลงมาเป็นหมูป่า (วราห์) เพื่อปราบปรามยักษ์ตนนี้ หมูนี้มีเขี้ยว เป็นเพชร ดำน้ำลงไปในมหาสมุทรต่อสู้กับพญาอสูรหิรัณยักษ์ จนเวลาล่วงเลยไปถึง ๑ พันปี จึงสามารถฆ่าหิรัณยักษ์ได้สำเร็จ ท้ายที่สุดก็เอา เขี้ยวเพชรนั้นงัดเอาแผ่นดินขึ้นมาไว้บนผืนน้ำตามเดิม



--------------------------------------------------------------------------------




 
ปางที่ ๒ กูรมาวตาร

พระนารายณ์อวตารลงมาเป็นเต่ายักษ์ เพื่อปราบอสูรมัจฉา เรื่องกล่าวย้อนไปถึงการกวนน้ำอมฤต ในขณะที่พระนารายณ์ทรงอวตารเป็นเต่ายักษ์ เพื่อหนุนแผ่นดินมิให้ทะลุลงไปถึงโลกมนุษย์ พระองค์ได้พบกับอสูรมัจฉาในขณะกำลังใช้ปากแทะแผ่นดินเพื่อเปิดทางให้น้ำอมฤตไหลทะลักสู่ โลกมนุษย์ ด้วยอสูรมัจฉามีความคิดที่ต้องการเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียวในโลก เมื่อพระนารายณ์ (เต่ายักษ์) เห็นการกระทำนั้นจึงเข้าขัดขวางทำการ ต่อสู้กับอสูรตนนั้น หากจะกล่าวถึงอิทธิฤทธิ์ของอสูรย่อมมีมากมายนัก ส่วนเต่ายักษ์ก็เข้าต่อสู้จนที่สุดแล้วเต่ายักษ์เป็นฝ่ายมีชัยชนะ เรื่องจึงจบลง และเต่ายักษ์จึงกลับร่างเป็นพระนารายณ์คืนสู่วิมานดั่งเดิม



--------------------------------------------------------------------------------







ปางที่ ๓ มัตสยาอวตาร
พระวิษณุมหาเทพทรงทราบดีว่าในเวลาที่พระพรหมทรงบรรทมอยู่นั้นเป็นการเริ่มต้นของ ?พรหมราตรี? เป็นราตรีที่ยาวนานเป็นช่วงที่โลกทั้งหลาย ถึงกาลอวสาน น้ำจะท่วมโลกสรรพชีวิตทั้งหลายไม่อาจอยู่รอดได้ โลกจะตกอยู่ในความมืดมิดปราศจากแสงสว่างทั้งจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ พรหมราตรีนี้มีระยะเวลานานกับ ๔,๓๒๐ ล้านปีมนุษย์หรือเท่ากับครึ่งกัลป์ พระวิษณุมหาเทพทรงพิจารณาเห็นถึงมหันตภัยที่จะมากร้ำกรายแก่โลก และบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายในสากลโลก อันมีพระมหากษัตริย์และไพร่ฟ้าประชาชนที่ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันประเสริฐ จึงทรงอวตารลงมาเป็นปลาก รายทองชื่อศผริ (อ่านว่า ?ศะ-ผะ-ริ?) อยู่ในฝั่งแม่น้ำเมืองอโยธยา (ในโลกมนุษย์) รอเวลาเมื่อพระสัตยพรตพระราชาผู้ตั้งอยู่ในศีลสัตย์เสด็จมาวักน้ำ สรงพระพักตร์ ปลาน้อยก็ติดขึ้นมาในอุ้งพระหัตถ์กล่าวร้องขอให้ช่วยชีวิต พระราชาจึงนำมาเลี้ยงไว้ในบาตรปลานั้นก็โตเต็มบาตร แม้จะเปลี่ยนภาชนะ เป็นอ่างเป็นสระ ทะเลสาบจนในที่สุดต้องนำไปปล่อยลงในมหาสมุทรเพราะปลาจะขยายใหญ่โตเต็มขนาดของภาชนะที่ใส่ ทำให้ทรงพระสัตยพรตสงสัย ว่าปลาตัวนี้คงมิใช่ปลาธรรมดา คงจะเป็นพระผู้เป็นเจ้าอวตารมาเพื่อลองพระทัย จึงทรงบูชากราบไหว้พญาปลาด้วยความนอบน้อมและเคารพยิ่งพญาปลา ที่เป็นพระวิษณุอวตารก็พอใจยิ่งนักจึงแจ้งเรื่องภัยพิบัติ คือน้ำกำลังจะท่วมโลกและให้สัญญาว่าจะช่วยชีวิตของพระราชาไว้ โดยแนะนำให้พระองค์พร้อม ด้วยข้าราชบริพารเสด็จลงเรือใหญ่พร้อมด้วยพระฤาษีเจ็ดตน และเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างละคู่เตรียมไว้ด้วย และในที่สุดภัย พิบัติดังกล่าวก็มาถึงเมื่อพระพรหมธาดาทรงบรรทมหลับสนิทบังเกิดพายุใหญ่พัดโหมกระหน่ำไปทั่วสากลโลก พาให้น้ำในมหาสมุทรท่วมท้นโลกจนพินาศ ดวงอาทิตย์ดวงจันทร์และดวงดาวต่างจมอยู่ใต้น้ำพระราชาพร้อมด้วยพระฤาษีเจ็ดตนและสัตว์ต่าง ๆ ต้นไม้ ฯลฯ อาศัยเรือลำใหญ่ลอยเคว้งคว้างอยู่กลาง มหาสมุทรที่ท่วมโลกแล้วนั้นโดยมีปลาศผริเป็นผุ้ชักลากจูงเรือไปฝ่าคลื่นและลมพายุอยุ่ในมหาสมุทรตลอดพรหมราตรีอันยาวนาน จนน้ำค่อย ๆ ลดลงและ สรรพสิ่งกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เรือลำใหญ่นั้นก็เทียบชายฝั่งพร้อมกับกับส่งพระราชาพร้อมด้วยช้าราชบริพารเรียบร้อยแล้ว ปลาศผริ (อวตาร) ก้รีบดำดิ่งลง สู่มหาสมุทรเพื่อตามล่าอสูรหัยครีพทวงเอาพระเวทคืนกลับมาจนพบอสูรหัยครีพจึงทรงจัดการสังหารเสีย ซึ่งก่อนหน้านั้นอสูรหัยครีพได้นำพระเวททั้ง ๔ไป ฝากกับสังข์อสูร ทำให้พระวิษณุมิได้พระเวททั้ง ๔ คืนมาและจักต้องทรงอวตารมาอีกเพื่อทวงเอาพระเวททั้ง ๔ คืน



--------------------------------------------------------------------------------




ปางที่ ๔ นรสิงหาวตาร

อวตารปางนี้อยู่ในยุคที่ ๑ ของโลกคือ กฤดายุคเช่นเดียวกัน เรื่องราวของการอวตารในปางนี้ก็มีอยู่ว่าหลังจากหิรัณยากษะ (หิรันตยักษ์) ถูกพระวิษณุอวตาร เป็นหมูป่าสังหารเรียบร้อยแล้วนั้น พญายักษ์ชื่อว่า ?หิรัณยกศิปุ? ผู้เป็นน้องชายฝาแฝดก็ขึ้นมาเป็นใหญ่ในหมู่อสูร (ใต้บาดาล) แทนพี่ชาย พญายักษ์นี้มีจิตใจ หยาบช้ากว่าพี่ชายยิ่งนักได้ไปบำเพ็ญตบะขอพรต่อพระพรหมว่าขออย่าให้ตนเองถูกมนุษย์ เทวดา สัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ฆ่าเอาให้ตายได้ อย่าให้ตายด้วย อาวุธใด ๆ ในสากลโลก อย่าให้ตายในเวลากลางวันและกลางคืน อย่าให้ตายในบ้านนอกบ้าน ซึ่งพระพรหมธาดาก็ประสิทธิ์ประสาทพรให้ตามที่ขอทุกประการ ทำให้พญาหิรัณยกศิปุมีความฮึกเหิมไม่เกรงกลัวผู้ใด แม้แต่พระผู้เป็นเจ้า พญายักษ์ตนนี้มีโอรสองค์หนึ่งชื่อว่า ?ประหลาทกุมาร? ซึ่งเป็นอสูรที่ตั้งมั่นอยู่ในศีล ธรรมอันดีมีความจงรักภักดีต่อพระวิษณุมหาเทพยิ่งนัก ทำให้แนวความคิดของพญาหิรัณยกศิปุนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงแลพญายักษ์ก็มีความรักในโอรสยิ่งนัก เรียกได้ว่ารักดังหัวแก้วหัวแหวน ประหลาทกุมารผู้ตั้งอยู่ในศีลธรรมก็พยายามโน้มน้าวจิดใจของบิดาให้เลิกประพฤติชั่วหันมาทำความดีมีความจงรักภักดีต่อผู้เป็นเจ้า แต่บิดาก็หาได้ฟังไม่เที่ยวเบียดเบียนบีฑาบรรดาทวยเทพทั้งหลายให้เดือดร้อนไปทั่วทุกหัวระแหง พระอินทร์จึงชักชวนบรรดาทวยเทพทั้งหลายไปขอร้องให้พระวิษณุ มหาเทพมาช่วยปราบพญาอสูรผู้ชั่วร้ายตนนี้เพราะไม่มีใครจะปราบมันได้ พระวิษณุมหาเทพก็ทรงรับปากว่าจะช่วยแต่ทรงขอเวลาคิดหาหนทางปราบพญาอสูรก่อน ฝ่ายประหลาทกุมารผู้เป็นโอรสก็เพียรพยายามขอร้องให้บิดาเลิกเบียดเบียนผู้อื่นฝ่ายพญาอสูรผู้บิดาก็หาเชื่อฟังไม่จึงใช้พวกพราหมณ์อสูรทั้งหลายไปอบรมพระโอรส ให้มาเข้าข้างตนพระโอรสก็ไม่ยอมแม้จะพยายามอย่างใดพระโอรสก็ไม่ยอม จากความรักมากก็กลายเป็นความชังมากจึงสั่งให้จัดการฆ่าโอรสของตนเสีย แต่ไม่ว่าจะ ใช้วิธีใด ๆ ก็ไม่สามารถฆ่าโอรสของตนได้ พญาหิรัณยกศิปุจึงถามโอรสตรง ๆ ว่าพระวิษณุมหาเทพนั้นมีจริงหรือไม่ ถ้ามีจริงและแน่จริงก็ปรากฏตัวออกมาเลย และทัน ใดในระหว่างนั้นเสาศิลากลางห้องท้องพระโรงก็แตกออกมา มีตัวประหลาดเป็นครึ่งคนครึ่งสิงห์ ปราดเข้ามาจับตัวหิรัณยกศิปุลากออกไปวางไว้บริเวณธรณีประตู (คืออยู่ในปราสาทครึ่งตัวอยู่นอกปราสาทครึ่งตัว) และนรสิงห์ผู้นั้นก็ถามพญาอสูรว่าตนเป็นมนุษย์เทวดาหรือสัตว์ พญายักษ์ตอบว่าไม่ใช่ทั้งมนุษย์เทวดาและสัตว์,นรสิงห์ ก็ถามต่อไปว่าเวลานี้ร่างของหิรัณยกศิปุ อยู่นอกเรือนหรือในเรือน พญายักษ์ตอบว่าไม่ใช่ทั้งในเรือนและนอกเรือน และนรสิงห์ถามต่อไปอีกว่าเวลานี้เป็นกลางวันหรือกลางคืน หิรัณยกศิปุตอบว่า มิใช่ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่เป็นเวลาโพล้เพล้นรสิงห์จึงชูมือกางกรงเล็บออกมาถามพญายักษ์ว่าอันนี้คืออาวุธหรือไม่ พญายักษ์ก็ตอบว่าไม่ นรสิงห์จึงประกาศว่าพรทั้งหลายของพระพรหมธาดาเป็นอันเสื่อมแล้ว และตัวพญาอสูรก็ตกอยู่ในภาวะอันนอกเหนือจากพรหมประกาศิตทุกประการแล้ว กล่าวจบนรสิงห์ก็จัดการ สังหารพญาอสูรด้วยการใช้กรงเล็บฉีกกระชากท้องของพญาอสูรจนถึงทรวงอกจนขาดใจตาย พระวิษณุมหาเทพจึงประทานแต่งตั้งให้ประหลาทกุมารเป็นใหญ่แทนบิดาต่อไป พร้อมกับสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีแล้วเสด็จกลับยังที่ประทับของพระองค์ คืนความสงบให้กลับมาสู่ไตรโลกอีกต่อไป



--------------------------------------------------------------------------------




ปางที่ ๕ วามนาวตาร หรือ ทวิชาวตาร

อวตารปางนี้ทรงอวตารมาเป็นคนแคระเพื่อช่วยเหลือพระอินทร์ให้ได้กลับมาครอบเมืองสวรรค์ เพราะมีอสูรตนหนึ่งชื่อพลีซึ่งเป็นหลานของประหลาท (ในปางที่ ๔) จอมอสูร ได้เสียทีถูกบรรดาทวยเทพฆ่าตาย ภายหลังจากได้รับการช่วยชุบชีวิตจากพวกพราหมณ์ในใต้บาดาลแล้วก็เริ่มทำพิธีกรรมเพื่อเพิ่มฤทธานุภาพของตนให้มากยิ่งขึ้นจนสำเร็จ แล้วก็ยกพลบรรดาแทตย์และอสูรทั้งหลายพากันมาตีเอาเมืองสวรรค์ได้ ซึ่งพระอินทร์พร้อมทวยเทพบริวารที่แปลงกายเป็นนกยูงได้พากันไปขอร้องให้พระวิษณุมหาเทพลง มาช่วยปราบขุนพลี องค์พระวิษณุมหาเทพจึงอวตารไปเกิดเป็นโอรสของพระกัศยปมุนีและพระนางอทิติเมื่อประสูติออกมาแล้วประทานชื่อให้ว่า ?วามน? อันมีความหมายว่า เตี้ยหรือสั้น และได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะวิทยาการต่าง ๆ จนเจนจบครบถ้วนและก็บวชเป็นพราหมณ์ตามประเพณี ต่อมาวามนพราหมณ์ทราบข่าวว่าขุนพลีจะประกอบพิธีบูชายัญ เพื่อเพิ่มอำนาจอีก วามนพราหมณ์ก็ลาพระบิดาและพระมารดาไปยังมณฑลพิธีของขุนพลี ซึ่งขุนพลีก็มีความศรัทธานำน้ำมาล้างเท้าให้แล้วเอ่ยถามว่าวามนพราหมณ์ต้องการอะไร วามนพราหมณ์ก็ออกอุบายขอแผ่นดินเพียงสามย่างก้าวเท่านั้น ฝ่ายขุนพลีไม่ทันคิดก็ตกลงยกให้ทันที พร้อมนั้นก็ยกเต้าน้ำขึ้นเพื่อหลั่งให้ตามประเพณี พระศุกร์ผู้เป็นอาจารย์ของ ขุนพลีก็ร้องห้ามแต่ขุนพลีเป็นกษัตริย์ตรัสแล้วย่อมไม่คืนคำ พระศุกร์จึงหาทายตัวเข้าไปอุดรูเต้าน้ำนั้นเสีย จึงไม่อาจหลั่งทักษิโณทกได้ วามนพราหมณ์รู้ทันจึงได้เอายอดหญ้าคา แยงเข้าไปในน้ำเต้าถูกลูกตาของพระศุกร์ ๆ ทนไม่ไหวจึงรีบออกมาวามนพราหมณ์ก้รีบแบมือรับน้ำได้ตามปรารถนาพร้อมกันนั้นก็สำแดงเดชย่างก้าวทีหนึ่งลงไปชนแดนยักษ์ (แดนอสูร) ย่างก้าวที่สองลงไปชนแดนมนุษย์ ขุนพลีเห็นดังนั้นก็ผวาเกรงกลัวพร้อมยกมือไหว้ วามนพราหมณ์ ก็กลับร่างเป็นพระวิษณุทันทีทรงเป่าสังข์เรียกบรรดาทวยเทพทั้งหลายให้มาประชุม พร้อมกันทันทีและเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้เหล่าทวยเทพทั้งหลายฟัง และมีเทวโองการให้พระอินทร์กลับเข้าไปครองสวรรค์ตามเดิม ส่วนขุนพลีนั้นพระวิษณุทรงมีเทวโองการให้ลงไป ปกครองอยู่ใต้สุดบาดาลชั้นที่สาม และทรงสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในศีลในธรรมอย่าเบียดเบียนผู้อื่นอีก ส่วนอวตารอีกเรื่องหนึ่งมีลักษณะคล้ายกันที่มีชื่อเรื่องว่า ?ทวิชาวตาร? อวตารปางนี้ พระวิษณุทรงอวตารมาเป็นพราหมณ์หนุ่มน้อยรูปงามเข้าไปปราบท้าวตาวันอสูรที่ทูลขอที่ดินจากพระอิศวร ๓๐๐ โยชน์เพื่อจับสัตว์ทั้งหลาย (ทั้งสี่เท้าสองเท้า รวมทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วย) ที่พลัดหลงเข้าไปในที่ดิน ๓๐๐ โยชน์นั้นจับกินเป็นอาหาร พระวิษณุอวตารลงมาใช้อุบายของที่ดินเพียง ๓ ก้าว เช่นเดียวกับเรื่องของวามนาวตาร และขับไล่ท้าวตาวันอสูรไปดินแดนที่ตน ขอพระอิศวร และต่อมาท้าวตาวันอสูรไปอาศัยอยู่เชิงเขาพระสุเมรุและลักลอบเป็นชู้กับนางสนมของพระอินทร์จนฝนที่สุดพระอินทร์จับได้จึงสังหารท้าวตาวันอสูรเสีย



--------------------------------------------------------------------------------




ปางที่ ๖ มหิงสาวตาร

อวตารในปางนี้เรื่องราวมีอยู่ว่ามีอสูรพรหมตนหนึ่งเกิดความริษยาพระพรหมธาดายิ่งนักจึงเนรมิตกายเป็นมหิงสาเข้าไปขวิดเขาพระสุเมรุหวังเพื่อจะทำลายเขาพระสุเมรุ พระอิศวรจึงมีเทวโองการ ให้พระวิษณุมหาเทพอวตารลงมาเป็นพญามหิงสา จัดการสังหารอสูรมหิงสาจนสิ้นชีวิต



--------------------------------------------------------------------------------




ปางที่ ๗ อัปสราวตาร

พระวิษณุอวตารในปางนี้มิได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ของปุราณะหรือคัมภีร์มหารามายณะไม่ หรือแม้แต่ในคัมภีร์ใด ๆ ของอินเดียก็มิได้กล่าวถึง แต่เรื่องราวของการอวตารมาเป็นนางอัปสรนี้จะเกี่ยวเนื่อง กับการกำเนิดของของทศกัณฐ์และรามาวตารของพระวิษณุ ดังนั้นจึงขอให้ปราบนนทุกนี้เป็นอวตารปางหนึ่งของพระวิษณุและให้ชื่อปางนี้ว่า ?อัปสรอวตาร? คือการอวตารมาเป็นนางอัปสรนั่นเอง และสาเหตุของการอวตารในปางนี้ก็เนื่องมาจากมียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า ?นนทุก? หรือนนทกมีหน้าที่คอยล้างเท้าให้เทวดาทั้งหลายที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวรโดยปฏิบัติหน้าที่ตามหน้าที่ตามคำสั่งของพระ อิศวรนี้มาเป็นเวลาถึงโกฏิปีเทวดาทั้งหลายก็หาได้ให้ความสำคัญกับนนทุกไม่ กลับหยอกล้อนนทุก ๆ ครั้งที่ล้างเท้าให้ โดยเขกหัวตบหัว ลูบหัว ตลอดจนถอนเส้นผมของนนทุกเล่นบ้างจนหัวของ นนทุกโกร๋นหมด กลายเป็นยักษ์หัวล้าน และด้วยความคับแค้นใจที่ถูกข่มเหงรังแกจึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวรของพรว่าให้ตนมีนิ้วเพชรที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถชี้ใคร ๆ ให้ตายได้ทันที พระอิศวรก็ทรงประ ทานพรให้นนทุกกลับมาทำหน้าที่ของตนตามเดิมพวกเทวดาที่มาเฝ้าก็ไม่รู้ว่านนทุกได้พรพระอิศวร ถึงเวลาก็มาให้นนทุกล้างเท้าให้และหยอกล้อนนทุกตามเคย นนทุกโกรธจัดจึงชี้นิ้วเพชรทำให้ เทวดาตายไปหลายองค์ เทวดาที่เหลือพากันไปทูลฟ้องพระอิศวร ๆ จึงมีเทวโองการให้พระวิษณุไปปราบนนทุกพระวิษณุจึงแปลงกายเป็นนางอัปสรที่มีความงามยั่วยวนใจชายยิ่งนัก และร่ายรำ เยื้องย่างมาให้นนทุกเห็นนนทุกถูกใจนางยิ่งนักจึงพยายามเกี้ยวพาราสีนาง นางแปลงจึงใช้มายาหลอกว่าจะตกลงตามใจนนทุก ถ้าหากยักษ์หัวล้านตนนี้ร่ายรำตามนางได้ถูกต้อง นนทุกก็ตกลง นางนารายณ์แปลงจึงเริ่มร่ายรำท่าแม่บท เริ่มตั้งแต่ท่าเทพนม, ท่าปฐม, ท่าพรหมสี่หน้า, ท่าสอดสร้อยมาลาเรื่อย ๆ ไป นนทุกก็รำตามโดยไม่เฉลียวใจ จนรำมาถึงท่านาคาม้วนหาง ท่านี้ต้องชี้นิ้ว ลงไปที่ขาตนเอง นนทุกก็ทำตามเมื่อชี้ไปที่ขาตนเองทำให้ขาหักล้มลง นางแปลงก็กลับร่างเป็นพระวิษณุตรงเข้าไปเหยียบอกเตรียมที่จะสังหาร นนทุกจึงตัดพ้อต่อว่าพระผู้เป็นเจ้าว่า ?ตัวข้ามีแต่ สองมือ หรือจะสู้ทั้งสี่กรได้ แม้สี่มือเหมือนพระองค์ทรงชัย ที่ไหนจะหาทำได้ดังนี้? เมื่อพระวิษณุสดับคำตัดพ้อของนนทุกในทำนองดูหมิ่นดูแคลนดังกล่าวจึงตรัสกับนนทุกว่าถ้าหากเห็นว่าไม่ยุติธรรม และก็จะให้ไปเกิดใหม่ให้มีถึงสิบหัวยี่สิบมือแล้วพระองค์จะลงมาเกิดเป็นมนุษย์ที่มีเพียงสองมือ จะฆ่านนทุกสิบหัวยี่สิบมือให้ได้จะได้พ้นข้อครหา และเมื่อนนทุกถูกฆ่าตายแล้วจึงได้ไปเกิดใหม่เป็น ยักษ์มี ๑๐ เศียร ๒๐ กร ดังพรที่ได้รับจากพระวิษณุมีชื่อว่า ?ทศกัณฐ์? หรือท้าวราพนาสูร นั่นเอง



--------------------------------------------------------------------------------




ปางที่ ๘ รามาวตาร

หลังจากนนทุกถูกสังหารแล้วก็ได้ไปเกิดใหม่พร้อมกับพรของพระวิษณุว่าให้มีสิบหัวยี่สิบมือ โดยไปเกิดเป็นโอรสของลัสเตียนกับพระนางรัชดาแห่งกรุงลงกามีคุณสมบัติตามพรที่ได้รับจากพระวิษณุ ทุกประการคือมี สิบเศียร ยี่สิบกร มีนามว่า ?ท้าวราพนาสูร? หรือ ?ทศกัณฐ์? ส่วนพระวิษณุนั้นอวตารลงมาเกิดเป็นมนุษย์ทรงพระนามว่า ?พระราม? เป็นโอรสของท้าวทศรถและพระนางเกาสุริยา กษัตริย์สูรย์วงศ์แห่งกรุงศรีอยุธยามีพระอนุชาทรงพระนามว่า ?พระลักษมณ์? ?พระพรต? และ ?พระสัตรุต? ต่อมาภายหลังพระรามได้ทำสงครามกับท้าวราพนาสูรเพราะว่าท้าวราพนาสูรมาลักพาตันาง สีดาผู้เป็นชายาของพระองค์ไปกักขังไว้ที่กรุงลงกา การสงครามครั้งนี้เป็นสงครามระหว่างยักษ์กับมนุษย์โดยมีกองทัพวานร (ลิง) มาช่วยมนุษย์ด้วยโดยที่พระรามมีขุนพลเป็นวานรเป็นวานรคู่พระทัยคือ ?หนุมาน? พระรามและพระลักษมณ์ได้คุมกองทัพวานรของสุครีพข้ามทะเลไปทำสงครามกับทศกัณฐ์ เป็นศึกสงครามที่ยืดเยื้อกินเวลาหลายปี ทั้งพระรามและพระลักษมณ์ได้ฆ่าพวกพ้องของท้าวราพนา สูรตายจนหมด จนในที่สุดท้าวราพนาสูรต้องถอยออกมาสู้รบด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการรบตัวต่อตัวกับพระรามทั้งสองได้ต่อสู้กันหลายครั้งหลายหน พระรามก็ไม่สามารถสังหารท้าวราพนาสูรได้ พิเภกทูลพระ รามว่าที่ท้าวราพนาสูรไม่ตายนั้นก็เพราะว่าถอดดวงใจฝากไว้กับพระฤาษีโคบุตรผู้เป็นอาจารย์ พระรามจึงส่งหนุมานไปหลอกเอากล่องดวงใจจากฤาษีโคบุตรมาทำลายเสีย เมื่อหนุมานได้กล่องดวงใจมาแล้ว พระรามก็ออกไปรบกับท้าวราพนาสูรเป็นครั้งสุดท้าย พระรามแผลงศรไปปักอกท้าวราพนาสูร พร้อมกันนั้นหนุมานก็ขยี้กล่องดวงใจของท้าวราพนาสูร ก็ถึงแก่ความตายทันที พระรามจึงโปรดให้จัดพิธีอภิเษก ให้พระยาพิเภกให้เป็นกษัตริย์ครองกรุงลงกาต่อไป



--------------------------------------------------------------------------------




 
ปางที่ ๙ กฤษณาวตาร

กล่าวถึงคัมภีร์ปุราณะ มหากาพย์รามายณะ มหาภารตะ และตำนานเก่าต่าง ๆ ของอินเดีย รวมถึงคัมภีร์ทางศาสนาฮินดูอื่น ๆ ได้บันทึกและกล่าวถึงไว้ว่า พระวิษณุเทพได้อวตารลงมาเพื่อปราบยุคเข็ญให้แก่ เหล่ามวลมนุษย์ทั่วไป ในช่วงเหตุการณ์โลกเกิดกลียุคและเกิดความไม่สงบสุขจากเหล่าอสูร จึงทรงอวตารลงมาในปางต่างๆ ซึ่งปางพระกฤษณะเทพ คือปางที่ ๙ ในการอวตาร ๑๐ ปาง ของพระวิษณุเทพ นั่นเอง ลัทธิไวษณพนิกาย กล่าวไว้ว่าพระกฤษณะเกิดมาเพื่อทำลายอสูร ชื่อกังสะ ซึ่งเป็นลุงของพระกฤษณะเอง อสูรกังสะตนนี้ปลอมตัวมาเป็นกษัตริย์นามว่า อุคราเสน แห่งเมืองมถุรา และได้ใช้อำนาจ แย่งชิงมเหสีจากกษัตริย์ (องค์จริง) มาโดยมิชอบ และมเหสีก็ทรงไม่ทราบว่าเป็นอสูรที่แปลงกายมาเป็นสวามีของตนอสูรกังสะ เมื่อขึ้นครองเมืองก็สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนทั่วไป ต่อมาเมื่อพระ วิษณุเทพทรงทราบถึงความเดือดร้อนของประชาชน จึงทรงอวตารมาในปางพระกฤษณะเพื่อปราบอสูรกังสะตนนี้



--------------------------------------------------------------------------------




 
ปางที่ ๑๐ กัลกยาวตาร

พระวิษณุอวตารในปางนี้ ทรงเป็นมหาบุรุษขี่ม้าขาวถือดาบในมือขวาทำลายศัตรูของมนุษย์เพื่อปราบกลียุค ที่เต็มไปด้วยเหล่าคนชั่วหรือเหล่าอธรรมทั้งหลาย เมื่อปราบอธรรมแล้วก็จะสถาปนาศาสนาขึ้นใหม่ มหาบุรุษนี้จะมีนามว่า กัลก, กัลกี, หรือ กัลกิน เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อวิษณุยศ อวตารนี้เป็นอนาคตาวตาร (อนาคต+อวตาร) คือ เป็นการอวตารของพระวิษณุยังไม่เกิดขึ้น และหลังจากอวตารแล้ว กลียุคก็ จะสิ้นสุดลง จึงพอจะกล่าวได้ว่ากัลกยาวตารนี้เป็นอวตารที่จะเสด็จลงมาปราบคนชั่วที่มีมากมายโดยไม่เจาะจงว่าเป็นใครจะมีลักษณะคล้ายกับกฤษณาวตารที่คนชั่วมีมากจนไม่อาจจะชี้ชัดได้ว่าเป็นใครซึ่งต่าง กับรามาวตาร (อวตารเป็นพระราม) หรือนรสิงหาวตารที่จะอวตารลงมาเพื่อปราบปรามคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะและอาจกล่าวได้ว่าโลกเราทุกวันนี้ก็คงจะจะใกล้ถึงยุคของกัลกยาวตารเพราะว่าคนชั่วมากมายเหลือเกิน



กลับหน้าประวัติเทพเจ้า


     
ไปหน้าพระลักษมี          ไปหน้าหลัก

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

111
:: พระราชประวัติ ::




สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนชื่อนายไหฮอง หรือ หยง แซ่แต้ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ พระราชชนนีชื่อนางนกเอี้ยง (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์) ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับจวนเจ้าพระยาจักรีที่สมุหนายก

เมื่อยังทรงพระเยาว์เจ้าพระยาจักรีได้ขอสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และได้ตั้งชื่อพระองค์ท่านว่า สิน พอนายสินอายุได้ 9 ขวบ เจ้าพระยาจักรีก็นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ครั้นอายุได้ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำนายสินเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตามประเพณีของการรับราชการในสมัยนั้น ในระหว่างรับราชการเป็นมหาดเล็กนายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศหลายภาษา มีภาษาจีน ภาษาญวน และภาษาแขก จนสามารถพูดได้สามภาษาอย่างชำนิชำนาญ

ครั้นนายสินอายุได้ 21 ปี เจ้าพระยาจักรีได้ประกอบการอุปสมบทนายสินเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ในสำนักอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส นายสินอุปสมบทอยู่ 3 พรรษา แล้วก็ลาสิกขาบทกลับมาเข้ารับราชการตามเดิม เนื่องจากนายสินเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ขนบธรรมเนียมราชกิจต่าง ๆ โดยมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายสินเป็นมหาดเล็กรายงาน ด้วยราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวง

พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จเสวยราชสมบัติได้ 3 เดือนเศษ ก็ถวายสิริราชสมบัติแก่สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งนายสินได้ปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะและมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ช่วยราชการอยู่กับพระยาตาก ครั้นเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรมลงก็ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนหลวงยกกระบัตร (สิน) เป็นพระยาตาก ปกครองเมืองตากแทน

พ.ศ. 2308 พระยาตาก (สิน) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เข้ามาช่วยราชการสงครามเพื่อป้องกันพม่าในกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) มีฝีมือการรบป้องกันพระนครอย่างเข้มแข็งมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น พระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม

พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในเดือนเมษายน พระยาตากก็สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนได้ แล้วก็คิดจะปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใหม่ แต่เมื่อได้ตรวจความเสียหายแล้วเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาได้รับความเสียหายเป็นอันมากยากที่จะบูรณะให้เหมือนดังเดิมได้ และประกอบกับรี้พลของเจ้าตากมีไม่พอที่จะรักษากรุงศรีอยุธยาที่เป็นเมืองใหญ่ได้ จึงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานี และได้อพยพผู้คนลงมาตั้งมั่นที่เมืองธนบุรี

เจ้าตากทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2311 ขณะมีพระชนมายุได้ 34 พรรษา ทรงนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไปยังนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดากับสมเด็จพระอัครมเหษี กรมหลวงบาทบริจา และกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ รวมทั้งพระสนมต่าง ๆ รวมทั้งสิน 29 พระองค์

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ จ.ศ. 1144 ปีขาล ตรงกับวันที่ 6 เมษายน 2325 พระชนมายุ 48 พรรษา รวมสิริราชสมบัติ 15 ปี

 พระราชกรณียกิจ
ด้านการปกครอง ยังคงใช้ระบบการปกครองแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนด้านกฎหมาย เมื่อครั้งกรุงแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายหายสูญไปมาก จึงโปรดให้ทำการสืบเสาะค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ 1 ใน 10 และโปรดให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดให้คงไว้ และเป็นการแก้ไขเพื่อให้ราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนัน ให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตราสิทธิขาด และยังห้ามนายตรา นายบ่อนออกเงินทดรองให้ผู้เล่น เกาะกุม ผูกมัด จำจอง เร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรเกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวง ก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าตามรายทาง โดยไม่ต้องมีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้
ในชั้นศาล ก็ไม่โปรดให้อรรถคดีคั่งค้าง แม้ยามศึก หากคู่ความไม่ได้เข้ากองทัพหรือประจำราชการต่างเมือง ก็โปรดให้ดำเนินการพิจารณาคดีไปตามปกติ ทั้งในการฟ้องร้อง ยังโปรดให้โจทย์หาหมอความแต่งฟ้องได้เช่นเดียวกับปัจจุบันอีกด้วย วิธีพิจารณาคดีในสมัยนั้นสะท้อนให้เห็นได้แจ่มชัด ในบทละครรามเกียรติ์ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี

ด้านการทหาร ทรงรวบรวมคนไทยที่แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า 5 ก๊ก และปราบปรามก๊กต่าง ๆ ทำสงครามกับพม่า ขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และกัมพูชา

ด้านเศรษฐกิจ เนื่องในสมัยกรุงธนบุรี เป็นระยะเวลาที่สร้างบ้านเมืองกันใหม่ การค้าเจริญรุ่งเรืองทั้งของหลวงและของราษฎร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปค้าขายทางด้านตะวันออกไปถึงเมืองจีน ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือถึงอินเดียตอนใต้ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการค้าของหลวงช่วยบรรเทาภาระภาษีของราษฎรไปได้มาก

สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขายทางเรือ ซึ่งอำนวยผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่องานสร้างชาติ ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้งยังฝึกให้คนไทยเชี่ยวชาญการค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตกไปอยู่ในมือต่างชาติ

ด้านการคมนาคม ในยามว่างจากศึกสงคราม จะโปรดให้ตัดถนนและขุดคลองมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในทางค้าขาย ทรงยกเลิกความคิดแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง การคมนาคมมีมากแล้ว จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ข้าศึกศัตรู และพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า ดังนั้นในฤดูหนาวหากว่างจากศึกสงคราม ก็จะโปรดให้ตัดถนน และขุดคลอง จะเห็นได้จากแนวถนนเก่า ๆ ในเขตธนบุรี ซึ่งมีอยู่มากสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เช่น คลองท่าขามจากนครศรีธรรมราชไปออกทะเลเป็นต้น

ด้านศิลปกรรม ในสมัยนี้ แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจะมีการงานศึกสงครามแทบจะมิได้ว่างเว้นก็ตาม แต่ก็ทรงหาโอกาสฟื้นฟู และบำรุงศิลปกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านนาฏดุริยางค์ และวรรณกรรม ด้านนาฏดุริยางค์โปรดให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างบรรยากาศที่รื่นเริงครึกครื้นเหมือนครั้งกรุงเก่านับเป็นวิธีบำรุงขวัญที่ใกล้ตัวราษฎรที่สุด พระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไป เปิดการสอนและออกโรงเล่นได้โดยอิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้นเครื่องทรงก็แต่งกันได้ตามลักษณะเรื่อง แม้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเองก็คงจะทรงสนพระทัยในกิจการด้านนี้มิใช่น้อย ด้วยมักจะโปรดให้มีละครและการละเล่นอย่างมโหฬารในงานสมโภชอยู่เนือง ๆ

สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ไว้ 4 เล่ม สมุดไทยแบ่งเป็นตอนไว้ 4 ตอน คือ
เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ
เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยววานรินจนท้าวมาลีวราชมา
เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา จนทศกรรฐ์เข้าเมือง
เล่ม 4 ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ

การที่พระมหากษัตริย์ทรงใฝ่พระทัยในกวีนิพนธ์ถึงกับพระราชนิพนธ์ทั้ง ๆ ที่แทบจะมิได้ว่างเว้นจากราชการทัพเช่นนี้ เท่ากับเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ที่มีความสามารถทางกวีนิพนธ์ในยุคนั้นสร้างสรรค์งานขึ้นมาได้บ้าง แม้เหตุการณ์ของบ้านเมืองจะยังมิได้คืนสู่สภาพปกติสุขดีนัก และสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ก็ทรงให้ความอุปถัมภ์กวีในราชสำนักเป็นอย่างดี

ด้านการช่าง โปรดให้รวบรวมช่างฝีมือ และให้ฝึกงานช่างทุกแผนกเท่าที่มีครูสอน เช่น ช่างต่อเรือ ช่างก่อสร้าง ช่างรัก ช่างประดับ ช่างเขียน เป็นต้น สำหรับงานช่างต่อเรือได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นยุคที่มีการต่อเรือรบ และเรือสำเภาค้าขายเป็นจำนวนมากมาย ช่างสมัยกรุงธนบุรีนี้อาจจะไม่มีเวลาทันสร้างผลงานดีเด่นเฉพาะสมัย แต่ก็ได้เป็นผู้สืบทอดศิลปกรรมแบบอยุธยาไปสู่แบบรัตนโกสินทร์

ด้านการศึกษา ในสมัยนั้นวัดเป็นแหล่งที่ให้การศึกษา จึงโปรดให้บำรุงการศึกษาตามวัดต่างๆ และโปรดให้ตั้งหอหนังสือหลวงขึ้นเช่นเดียวกันกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคงจะเทียบได้กับหอพระสมุดในระยะหลัง ส่วนตำรับตำราที่กระจัดกระจายไปเมื่อคราวกรุงแตก ก็โปรดให้สืบเสาะหามาจำลองไว้เป็นแบบฉบับ สำหรับผู้สนใจอาศัยคัดลอกกันต่อ ๆ ไป และที่แต่งใหม่ก็มี

ด้านการศาสนา โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ที่รกร้างปรักหักพังตั้งแต่ครั้งพม่าเข้าเผาผลาญทำลายและกวาดต้อนทรัพย์สินไปพม่า แล้วโปรดให้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์เข้าจำวัดต่าง ๆ ส่วนพระไตรปิฎกยังเหลือตกค้างอยู่ที่ใด ก็โปรดให้คัดลอกสร้างเป็นฉบับหลวง แล้วส่งคืนกลับไปที่เดิม

เรื่องสังฆมณฑล โปรดให้ดำเนินตามธรรมเนียมการปกครองคณะสงฆ์ที่มีมาแต่ก่อน โดยแยกเป็นฝ่ายคันถธุระและฝ่ายวิปัสสนาธุระ

ฝ่ายคันถธุระดำเนินการศึกษาพระปริยัติธรรมให้เจริญ ส่งเสริมการสอนภาษาบาลี เพื่อช่วยการอ่านพระไตรปิฎก

ฝ่ายวิปัสนาธุระ โปรดให้กวดขันการปฏิบัติพระธรรมวินัยเป็นขั้น ๆ ไปตามภูมิปฏิบัติ

ส่วนลัทธิอื่น ๆ ในชั้นต้นสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี พระราชทานเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ต่อมาข้าหลวงที่เข้ารีต ได้พยายามห้ามปรามชาวไทยปฏิบัติพิธีการทางศาสนา เช่น พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ความขัดแย้งมีมากขึ้นเรื่อย ถึงกับจับพวกบาทหลวงกุมขังก็มี ในที่สุดพระองค์จำต้องขอให้บาทหลวงไปจากพระราชอาณาเขต แล้วห้ามชาวไทยนับถือศาสนาคริสต์ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2322

ด้านการศึกสงคราม ขณะที่พระยาตากได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม แต่ก็ยังมิได้ไปครองเมืองกำแพงเพชร เพราะต้องต่อสู้กับข้าศึกในการป้องกันพระนคร

เมื่อพระยาวชิรปราการ (สิน) เล็งเห็นว่าถึงแม้จะอยู่ช่วยรักษาพระนครต่อไป ก็คงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด พม่าก็ตั้งล้อมพระนครกระชั้นเข้ามาทุกขณะจนถึงคูพระนครแล้ว กรุงศรีอยุธยาคงไม่พ้นเงื้อมมือพม่าเป็นแน่แท้ ไพร่ฟ้าข้าทหารในพระนครก็อิดโรยลงมาก เนื่องจากขัดสนเสบียงอาหาร ทหารไม่มีกำลังใจจะสู้รบ ดังนั้นพระยาวชิรปราการ (สิน) จึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัยอาสา พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี และพรรคพวก รวม 500 คน ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าพม่าไปทางทิศตะวันออก เวลาค่ำในวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 4 ค่ำ ปีจอ พ.ศ. 2309 ตรงกับวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2309

ทัพพม่าได้ส่งทหารไล่ติดตามพระยาวชิรปราการ (สิน) และพรรคพวกมาทันกันในวันรุ่งขึ้นที่ บ้านโพธิ์สังหาร พระยาวชิรปราการ (สิน) ได้นำพลทหารไทยจีนเข้ารบกับทหารพม่าเป็นสามารถจนทหารพม่าแตกพ่ายไป และยังได้ยึดเครื่องศาสตราวุธอีกเป็นจำนวนมาก แล้วออกเดินทางไปตั้งพักที่บ้านพรานนก เพื่อหาเสบียงอาหาร ระหว่างที่ทหารพระยาวชิรปราการ (สิน) หาเสบียงอาหารอยู่นั้น ได้พบทัพพม่าจำนวนพลขี่ม้าประมาณ 30 ม้า พลเดินเท้าประมาณ 2,000 คน ยกทัพมาจากบางคาง แขวงเมืองปราจีนบุรี เพื่อเข้ารวมพลเข้าตีกรุงศรีอยุธยาในโอกาสต่อไป ทหารพระยาวชิรปราการ (สิน) จึงหนีกลับมาที่บ้านพรานนก โดยมีทหารพม่าไล่ติดตามมาอย่างกระชั้นชิดและชะล่าใจ พระยาวชิรปราการ (สิน) จึงให้ทหารซึ่งเป็นพลเดินเท้าแยกออกเป็นปีกกาเข้าตีโอบพวกพม่าทั้งสองข้าง ส่วนพระยาวชิรปราการ (สิน) กับทหารอีก 4 คน ก็ขี่ม้าตรงเข้าไล่ฟันทหารม้าพม่าซึ่งนำทัพมาอย่างไม่ทันรู้ตัวก็แตกร่นไปถึงพลเดินเท้า พวกทหารพระยาวชิรปราการได้ทีเข้ารุกไล่ฆ่าฟันทหารพม่าจนแตกพ่ายไป การชนะในครั้งนี้ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้ทหารพระยาวชิรปราการ (สิน) เป็นอย่างมากในโอกาสสู้รบกับพม่าในโอกาสต่อไป

พวกราษฏรที่หลบซ่อนเร้นพม่าอยู่ได้ทราบกิตติศัพท์การรบชนะของพระยาวชิรปราการ (สิน) ต่อทหารพม่าต่างก็มาขอเข้าเป็นพวก และได้เป็นกำลังสำคัญในการเกลี้ยกล่อมผู้ที่ตั้งตัวเป็นหัวหน้า นายซ่องต่าง ๆ มาอ่อนน้อมขุนชำนาญไพรสนฑ์ และนายกองช้างเมืองนครนายก มีจิตสวามิภักดิ์ได้นำเสบียงอาหารและช้างม้ามาให้เป็นกำลังเพิ่มขึ้น ส่วนนายซ่องใหญ่ซึ่งมีค่ายคูยังทะนงตนไม่ยอมอ่อนน้อม พระยาวชิรปราการ (สิน) ก็คุมทหารไปปราบจนได้ชัยชนะแล้วจึงยกทัพผ่านเมืองนครนายกข้ามลำน้ำเมืองปราจีนบุรีไปตั้งพักที่ชายดงศรีมหาโพธิ์ข้างฟากตะวันตก
ทหารพม่าเมื่อแตกพ่ายไปจากบ้านพรานนกแล้วก็กลับไปรายงานนายทัพที่ตั้งค่าย ณ ปากน้ำเจ้าโล้ เมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งกองทัพพม่ากองสุดท้ายที่รวบรวมกำลังกันทั้งทัพบกทัพเรือไปรอดักพระยาวชิรปราการ (สิน) อยู่ ณ ที่นั้น และตามทัพพระยาวชิรปราการ (สิน) ทันกันที่ชายทุ่ง พระยาวชิรปราการ (สิน) เห็นว่าจะต่อสู้กับข้าศึก ซึ่ง ๆ หน้าไม่ได้ อีกทั้งมีกำลังน้อยกว่ายากที่จะเอาชัยชนะแก่พม่าได้ จึงเลือกเอาชัยภูมิพงแขมเป็นกำบังแทนแนวค่าย และแอบตั้งปืนใหญ่น้อยรายไว้หมายเฉพาะทางที่จะล่อพม่าเดินเข้ามา แล้วพระยาวชิรปราการ (สิน) ก็นำทหารประมาณ 100 คนเศษ คอยรบพม่าที่ท้องทุ่ง ครั้นเมื่อรบกันสักพักหนึ่งก็แกล้งทำเป็นถอยหนีไปทางช่องพงแขมที่ตั้งปืนใหญ่เตรียมไว้ ทหารพม่าหลงกลอุบายรุกไล่ตามเข้าไปก็ถูกทหารไทยระดมยิงและตีกระหนาบเข้ามาทางด้านหน้า ขวา และซ้าย จนทหารพม่าไม่มีทางจะต่อสู้ได้ต่อไปทำให้ทหารพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่รอดตายต่างถอยหนีอย่างไม่เป็นกระบวนก็ถูกพระยาวชิรปราการ (สิน) นำทหารไล่ติดตามฆ่าฟันล้มตายอีก นับตั้งแต่นั้นมาทหารพม่าก็ไม่กล้าจะติดตามพระยาวชิรปราการ (สิน) อีกต่อไป

เมื่อพระยาวชิรปราการ (สิน) ได้ชัยชนะพม่าแล้วได้ยกทัพผ่านบ้านทองหลาง พานทอง บางปลาสร้อย บ้านนาเกลือ เขตเมืองชลบุรี ต่างก็มีผู้คนเข้าร่วมสมทบมากขึ้นจนมีรี้พลเป็นกองทัพ จากนั้นพระยาวชิรปราการ (สิน) ก็เดินทางไปเมืองระยอง โดยหมายจะเอาเมืองระยองเป็นที่ตั้งมั่นต่อไป ครั้นถึงเมืองระยอง พระยาระยองชื่อบุญ เห็นกำลังพลของพระยาวชิรปราการมีจำนวนมากมายที่จะต้านทานได้จึงพากันออกมาต้อนรับ พระยาวชิรปราการ (สิน) จึงตั้งค่ายที่ชานเมืองระยอง ขณะนั้นมีพวกกรมการเมืองระยองหลายคนแข็งข้อคิดจะสู้รบ จึงได้ยกกำลังเข้าปล้นค่ายในคืนวันที่สองที่หยุดพัก แต่พระยาวชิรปราการ (สิน) รู้ตัวก่อน จึงได้ดับไฟในค่ายเสียและมิให้โห่ร้องหรือยิงปืนตอบ รอจนพวกกรมการเมืองเข้ามาได้ระยะทางปืน พระยาวชิรปราการ (สิน) ก็สั่งยิงปืนไปยังพวกที่จะแหกค่ายด้านวัดเนิน พวกที่ตามหลังมาต่างก็ตกใจและถอยหนี พระยาวชิรปราการ (สิน) คุมทหารติดตามไปเผาค่ายและยึดเมืองระยองได้ในคืนนั้น

การที่พระยาวชิรปราการ (สิน) เข้าตีเมืองระยองได้และกรุงศรีอยุธยายังมิได้เสียทีแก่พม่าแต่ประการใด จึงถือเสมือนเป็นผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง ดังนั้น พระยาวชิรปราการ (สิน) ก็ระวังตนมิได้คิดตั้งตัวเป็นกบฏ และให้เรียกคำสั่งว่า พระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอก พวกบริวารจึงเรียกว่า เจ้าตาก ตั้งแต่นั้นมา

เมื่อเจ้าตากตั้งตัวเป็นอิสระที่เมืองระยอง ส่วนเมืองอื่น ๆ ทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออกนับตั้งแต่เมืองบางละมุง เมืองชลบุรี เมืองจันทบุรี เมืองตราด ต่างก็ยังเป็นอิสระ เจ้าตากจึงมีความคิดที่จะรวบรวมเมืองต่าง ๆ เหล่านี้ไว้เป็นพวกเดียวกันเพื่อช่วยกันปราบปรามพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยา และเล็งเห็นว่าเมืองจันทบุรีเป็นเมืองใหญ่กว่าหัวเมืองอื่น มีเจ้าปกครองอยู่เป็นปกติมีกำลังคนและอาหารบริบูรณ์ ชัยภูมิก็เหมาะที่จะใช้เป็นที่ตั้งมั่นยิ่งกว่าหัวเมืองใกล้เคียงทั้งหลาย จึงแต่งทูตให้ถือศุภอักษรไปชักชวนพระยาจันทบุรีช่วยกันปราบปรามข้าศึก ในครั้งแรกได้ตอบรับทูตโดยดีและรับว่าจะมาปรึกษาหารือกับเจ้าตากเกรงจะถูกชิงเมืองจึงไม่ยอมไปพบ

ครั้นถึงเดือน 5 ปีกุน พ.ศ. 2310 ข่าวกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 แล้ว ก็มีคนไทยที่มีสมัครพรรคพวกมากต่างก็ตั้งตัวเป็นใหญ่พระยาจันทบุรียังไม่ยอมเป็นไมตรีกับเจ้าตาก ส่วนขุนรามหมื่นซ่อง กรมการเมืองระยองผู้หนึ่งที่เคยปล้นค่ายเจ้าตากก็ไปซ่องสุมผู้คนอยู่ที่เมืองแกลง ซึ่งขณะนั้นขึ้นกับเมืองจันทบุรีและคอยปล้นชิงช้างม้าพาหนะของเจ้าตาก เจ้าตากจึงยกกำลังไปปราบ ขุนรามหมื่นซ่องสู้ไม่ได้หนีไปอยู่กับพระยาจันทบุรี ครั้นเจ้าตากจะยกพลติดตามไปก็พอดีได้ข่าวว่าทางเมืองชลบุรี นายทองอยู่นกเล็กตั้งตัวเป็นใหญ่ ผู้ใดจะเข้ากับเจ้าตาก นายทองอยู่นกเล็กก็จะยึดเอาไว้เสีย เจ้าตากจึงรีบยกทัพไปเมืองชลบุรีแล้วส่งเพื่อนฝูงของนายทองอยู่นกเล็กเกลี้ยกล่อม นายทองอยู่นกเล็กเห็นจะสู้รบไม่ไหวจึงยอมอ่อนน้อม เจ้าตากจึงตั้งนายทองอยู่นกเล็กเป็นพระยาอนุราฐบุรี ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองชลบุรี แล้วก็เลิกทัพกลับ

ฝ่ายพระยาจันทบุรีได้ปรึกษากับขุนรามหมื่นซ่องเห็นว่าจะรบพุ่งเอาชนะเจ้าตากซึ่งหน้าคงจะชนะยาก ด้วยเจ้าตากมีฝีมือเข้มแข็งทั้งรี้พลก็ชำนาญศึก จึงคิดกลอุบายจะโจมตีกองทัพเจ้าตากขณะกำลังข้ามน้ำเข้าเมืองจันทบุรี โดยนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป เป็นทูตมาเชิญเจ้าตากไปตั้งที่เมืองจันทบุรี แต่ในระหว่างเจ้าตากเดินทางจะข้ามน้ำเข้าเมืองจันทบุรีอยู่นั้นได้มีผู้มาบอกให้เจ้าตากทราบกลอุบายนี้เสียก่อน เจ้าตากจึงให้เลี้ยวกระบวนทัพไปตั้งที่ชายเมืองด้านเหนือบริเวณวัดแก้ว ห่างประตูท่าช้างเมืองจันทบุรีประมาณ 5 เส้น แล้วเชิญพระยาจันทบุรีออกมาหาเจ้าตากก่อนที่จะเข้าเมือง แต่พระยาจันทบุรีไม่ยอมออกมาต้อนรับพร้อมกับระดมคนประจำรักษาหน้าที่เชิงเทิน

เจ้าตากได้ทบทวนถึงสถานการณ์ต่าง ๆ แล้ว เห็นว่าแม้ข้าศึกจะครั่นคร้ามฝีมือไม่กล้าโจมตีซึ่งหน้าก็ตาม แต่ฝ่ายพระยาจันทบุรีมีจำนวนมากกว่า ถ้าเจ้าตากล่าถอยไปเมื่อใด ทัพจันทบุรีก็จะล้อมไล่ตีได้หลายทาง เพราะไม่มีเสบียงอาหาร เจ้าตากจึงตัดสินใจจะต้องเข้าตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ให้ได้ และแสดงออกถึงน้ำใจอันเด็ดเดี่ยวโดยสั่งนายทัพนายกองว่า ?เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้วทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ก็จะได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว?
ครั้นได้ฤกษ์เวลา 3 นาฬิกา เจ้าตากพร้อมด้วยทหารไทยจีนเข้าโจมตีเมืองจันทบุรีอย่างเข้มแข็งและเด็ดเดี่ยวโดยเจ้าตากขี่ช้างพังคีรีบัญชรเข้าพังประตูเมืองได้สำเร็จ พวกทหารก็กรูกันเข้าเมืองได้ ชาวเมืองต่างก็เสียขวัญละทิ้งหน้าที่แตกหนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีพาครอบครัวลงเรือหนีไปเมืองบันทายมาศ

เมื่อเจ้าตากจัดเมืองจันทบุรีเรียบร้อยแล้ว ก็ยกทัพบกทัพเรือลงไปเมืองตราด พวกกรมการเมืองและราษฎรต่างยอมอ่อนน้อมโดยดี แต่ยังมีพ่อค้าในสำเภาที่จอดอยู่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำไม่ยอมอ่อนน้อม เจ้าตากได้ยกทัพเรือโจมตีสำเภาจีนได้ทั้งหมดในครึ่งวัน และสามารถยึดทรัพย์สิ่งของได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาจัดเตรียมกองทัพเข้ากู้เอกราช

เจ้าตากได้จัดการเมืองตราดเรียบร้อยก็ย่างเข้าสู่ฤดูฝนพอดี จึงยกกองทัพกลับเมืองจันทบุรี เพื่อตระเตรียมกำลังคน สะสมเสบียงอาหาร อาวุธยุทธภัณฑ์ และต่อเรือรบได้ถึง 100 ลำ รวบรวมกำลังคนเพิ่มได้อีกเป็นคนไทยจีน ประมาณ 5,000 คนเศษ กับมีข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาได้หลบหนีพม่ามาร่วมด้วยอีกหลายคน และที่สำคัญก็คือ หลวงศักดิ์นายเวรมหาดเล็ก นายสุดจินดาหุ้มแพรมหาดเล็ก

พอถึงเดือน 11 พ.ศ.2310 หลังสิ้นฤดูมรสุมแล้ว เจ้าตากก็ยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรีเพื่อมากอบกู้เอกราช ระหว่างทางได้หยุดชำระความพระยาอนุราฐบุรีที่เมืองชลบุรี ซึ่งประพฤติตัวเยี่ยงโจรเข้าตีปล้นเรือลูกค้า ชำระได้ความเป็นสัตย์จริง จึงให้ประหารชีวิตพระยาอนุราฐบุรีเสีย แล้วยกทัพเรือเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาในเดือน 12

กองทัพเรือภายใต้การบังคับบัญชาของเจ้าตากได้เข้าโจมตีเมืองธนบุรีเป็นครั้งแรก มีนายทองอินคนไทยที่พม่าให้รักษาเมืองอยู่ พอนายทองอินทราบข่าวว่าเจ้าตากยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา ก็ให้คนรีบขึ้นไปบอก

ข่าวแก่สุกี้พระนายกองแม่ทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น แล้วเรียกระดมพลขึ้นรักษาป้อมวิชเยนทร์ และหน้าแท่นเชิงเทิน

ครั้นกองทัพเรือเจ้าตากเดินทางมาถึง รี้พลที่รักษาเมืองธนบุรี กลับไม่มีใจสู้รบเพราะเห็นเป็นคนไทยด้วยกันเอง ดังนั้นกองทัพเรือของเจ้าตากเข้ารบพุ่งเพียงเล็กน้อยก็สามารถตีเมืองธนบุรีได้ เจ้าตากให้ประหารชีวิตนายทองอินเสียแล้วเร่งยกกองทัพเรือไปตีกรุงศรีอยุธยา

สุกี้แม่ทัพพม่าได้ข่าวเจ้าตากตีเมืองธนบุรีได้แล้ว ก็ส่งมองญ่านายทัพรองคุมพลซึ่งเป็นมอญและไทยยกกองทัพเรือไปสกัดกองทัพเรือเจ้าตากอยู่ที่เพนียด เจ้าตากยกกองทัพเรือขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลาค่ำสืบทราบว่ามีกองทัพข้าศึกยกมาตั้งรับคอยอยู่ที่เพนียดไม่ทราบว่ามีกำลังเท่าใด ฝ่ายพวกคนไทยที่ถูกเกณฑ์มาในกองทัพมองญ่ารู้ว่ากองทัพเรือที่ยกมานั้นเป็นคนไทยด้วยกัน ก็คิดจะหลบหนีบ้าง จะหาโอกาสเข้าร่วมกับเจ้าตากบ้างมองญ่าเห็นพวกคนไทยไม่เป็นอันจะต่อสู้เกรงว่าจะพากันกบฏขึ้น จึงรีบหนีกลับไปค่ายโพธิ์สามต้นในคืนนั้น

เจ้าตากทราบจากพวกคนไทยที่หนีพม่ามาเข้าด้วยว่า พม่าถอยหนีจากเพนียดหมดแล้ว ก็รีบยกกองทัพขึ้นไป ตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น 2 ค่าย พร้อมกันในตอนเช้า สู้รบกันจนเที่ยง เจ้าตากก็เข้าค่ายพม่าได้ สุกี้ตายในที่รบ จึงถือว่า เจ้าตากได้กอบกู้เอกราชชาติไทยกลับคืนมาได้แล้ว หลังจากที่ไทยต้องสูญเสียเอกราชในครั้งนี้เพียง 7 เดือน

ภายหลังที่พระเจ้าตากมีชัยชนะกับพม่าแล้ว ทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาติบ้านเมืองเพิ่งเป็นอิสระจากพม่า จิตใจของประชาราษฎรยังระส่ำระสาย ประกอบกับสภาพบ้านเมืองที่ถูกข้าศึกเผาผลาญทำลายปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไป ก็ยิ่งก่อให้เกิดความเศร้าโศกสะเทือนใจจนยากที่จะหาสิ่งใดมาลบล้างความรู้สึกสลดหดหู่นั้นได้ บ้านเมืองยังต้องการความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติจะต้องเรียกขวัญและกำลังใจของประชาชนให้กลับคืน อยู่ในสภาพปกติโดยเร็วที่สุด ไหนจะต้องป้องกันศัตรูจากภายนอกประเทศที่คอยหาโอกาสจะเข้ารุกราน จึงต้องรวบรวมคนไทยที่แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่าถึง 5 ก๊ก คือ

ก๊กที่ 1 เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นเจ้าที่เมืองพิษณุโลก
ก๊กที่ 2 เจ้าพระฝาง (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี ตั้งตัวเป็นเจ้าทั้งที่ยังเป็นพระ
ก๊กที่ 3 เจ้านคร (หนู) เดิมเป็นปลัดผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช
ก๊กที่ 4 กรมหมื่นเทพพิพิธ ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิมาย
ก๊กที่ 5 คือก๊กพระยาตาก ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองจันทบุรี

ซึ่งก๊กต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นพระราชภาระที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะต้องทรงกระทำโดยเร็ว ดังจะได้จำแนกพระราชกรณียกิจของพระองค์ออกเป็น 2 ด้านคือ การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง และการฟื้นฟูบ้านเมืองทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ

 การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง
ทรงกระทำตลอดรัชกาลของพระองค์ นับตั้งแต่การปราบปรามชาวไทยที่แบ่งเป็นก๊กต่าง ๆ การปราบปรามหัวเมืองที่กระด้างกระเดื่อง ตลอดจนการทำสงครามกับพม่าทำให้พม่าลบคำดูหมิ่นไทย เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวไทยที่ยังไม่หายครั่นคร้ามพม่าได้มีกำลังใจดีขึ้น ดังนี้

1. การปราบปรามก๊กต่าง ๆ

พ.ศ.2311 ยกกองทัพไปปราบกรมหมื่นเทพพิพิธได้สำเร็จ แล้วสำเร็จโทษกรมหมื่นเทพพิพิธด้วยท่อนจันทน์ ตามประเพณี
พ.ศ.2312 ยกทัพบกและทัพเรือไปปราบเจ้านครศรีธรรมราชได้สำเร็จ เมืองตานี และไทรบุรี ขอยอมเข้ารวมเป็นขัณฑสีมาด้วยกัน
พ.ศ.2313 ยกกองทัพไปตีเมืองสวางคบุรี ขณะที่เจ้าพระฝางตีได้เมืองพิษณุโลกแล้วจึงยกกองทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก เจ้าพระฝางฝ่าแนวล้อมหนีรอดไปได้

2. การทำสงครามกับพม่า

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำศึกกับพม่า ถึง 9 ครั้ง แต่ละครั้งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ทางด้านยุทธศาสตร์อย่างดีเยี่ยม พร้อมด้วยน้ำพระทัยที่เด็ดเดี่ยวฉับไว การทำสงครามกับพม่าดังกล่าว ได้แก่

สงครามครั้งที่ 1 รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ.2310
สงครามครั้งที่ 2 พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ.2313
สงครามครั้งที่ 3 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ.2313 - 2314
สงครามครั้งที่ 4 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 พ.ศ.2315
สงครามครั้งที่ 5 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 พ.ศ.2316
สงครามครั้งที่ 6 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 พ.ศ.2317
สงครามครั้งที่ 7 รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ.2317
สงครามครั้งที่ 8 อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318
สงครามครั้งที่ 9 พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2319

สำหรับสงครามรบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. 2317 เป็นสงครามที่ทำให้พม่าครั่นคร้าม และเข็ดหลาบไม่กล้ามารุกรานไทยอีกต่อไป
3. การขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบางและเวียงจันทน์

พ.ศ.2321 พระเจ้านครหลวงพระบางขอสวามิภักดิ์เข้ารวมในพระราชอาณาจักร ส่วนนครเวียงจันทน์ซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่ พ.ศ.2317 ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยเดินทัพเข้ามาในพระราชอาณาเขต เพื่อกำจัดพระวอเสนาบดีเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจึงโปรดให้กองทัพไทยยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ เมื่อ พ.ศ.2322 โปรดให้พระยาสุโภอยู่รักษาเมือง เมื่อเสร็จสงคราม สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) และพระบาง จากเวียงจันทน์ มาประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรีด้วย

4. การขยายพระราชอาณาเขตไปยังกัมพูชา

พ.ศ.2312 ทรงโปรดให้ยกกองทัพไปตีกรุงกัมพูชา เนื่องจากเจ้าเมืองกัมพูชาไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ตามราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา ทัพไทยตีได้เมืองเสียมราฐ และพระตะบอง

พ.ศ. 2314 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพไปตีกัมพูชาได้สำเร็จ สาเหตุจากขณะไทยทำศึกกับพม่าอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระนารายณ์ราชากษัตริย์กรุงกัมพูชาได้ถือโอกาสมาตีเมืองตราด และเมือง จันทบุรี เมื่อตีกัมพูชาได้แล้วทรงมอบให้นักองค์นนท์ปกครองต่อไป

พ.ศ.2323 กัมพูชาเกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติกันเอง จึงเหลือนักองค์เอง ที่มีพระชนม์เพียง 4 พรรษา ปกครองโดยมีฟ้าทะละหะ (มู) ว่าราชการแทน และเอาใจออกห่างฝักใฝ่ญวน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบปราม และมีพระราชโองการให้อภิเษกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์พระราชโอรสองค์ใหญ่ขึ้นครองกัมพูชา ทัพไทยตีเมืองรายทางได้จนถึงเมืองบัณฑายเพชร พอดีกับกรุงธนบุรีเกิดจลาจลจึงเลิกทัพกลับ

อาณาเขตกรุงธนบุรีได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนี้

ทิศเหนือ                       ตลอดอาณาจักรลานนา
ทิศใต้                          ตลอดเมืองไทรบุรีและตรังกานู
ทิศตะวันออก                ตลอดกัมพูชาจดญวนใต้
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดนครเวียงจันทน์ หัวเมืองพวน และนครหลวงพระบาง หัวพันทั้งห้าทั้งหก
ทิศตะวันออกเฉียงใต้     ตลอดเมืองพุทธไธมาศ
ทิศตะวันตก                  ตลอดเมืองมะริด และตะนาวศรีออกมหาสมุทรอินเดีย

พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้สร้างวีรกรรมกอบกู้แผ่นดิน ศาสนา ฟื้นฟูขวัญและกำลังใจของปวงชนที่สิ้นหวังให้รวมพลังเป็นปึกแผ่น สามารถปกป้องรักษาราชอาณาจักรไทยไว้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ คณะรัฐมนตรีจึงให้ความเห็นชอบตามคำเรียกร้องของประชาชน ให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า ? สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ? เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524
 


112
ตำนานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
 
 
          พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือที่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า "พระแก้วมรกต" ซึ่งสถิตย์เป็นพระประธานคู่บ้านคู่เมือง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ปฐมบรมราชจักรีวงศ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สถิตย์เป็นองค์ประธาน ณ พระอุโบสถ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๒๗ 

          พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ตามโบราณจารย์ประเพณีถือว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร "พระแก้วมรกต" เป็นพระพุทธรูปที่พระอินทร์ และพระวิษณุกรรม จัดหาลูกแก้วมาสร้างองค์ เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง ๗ พระองค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง และเป็นพระประธานสำคัญในการอัญเชิญประกอบพิธีสำคัญต่างๆ ของประเทศไทย 

          ตำนานโดยสังเขปกล่าวว่า เมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงแล้วได้ ๕๐๐ ปี มีพระอรหันต์องค์หนึ่งนามพระนาคเสนเถรเจ้า จำพรรษาอยู่ที่วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร พระพุทธศาสนากำลังเจริญเต็มที่ในยุคนั้น พระนาคเสนได้รำพึงและประสงค์จะจัดสร้างพระพุทธปฏิมากรไว้สำหรับเป็นองค์อนุสรณ์ แทนองค์สมเด็จพระบรมศาสดา ให้ผู้สืบอายุพระพุทธศาสนาไว้สักการะ บูชาแก่เทพยดาและมวลมนุษย์ จึงได้เสี่ยงทายว่า จะสร้างด้วยทองคำ หรือเงิน ก็เกรงว่าพวกมิจฉาชีพจะนำไปทำลายเสีย จะมิยั่งยืนตลอดไป ครั้นจะสร้างด้วยแก้วอันศักดิ์สิทธิ์ให้เหมาะสมกับ พุทธรัตนะ ก็ยังมิทราบว่าจะหาลูกแก้วสมดังปณิธานเสี่ยงทายได้ที่ไหน และด้วยทิพยจักษ์โสตร้อนอาสน์ถึงพระอิศวร ทรงทราบความปรารถนาแห่งพระนาคเสนเถรเจ้า ที่จะสร้างพระแก้วมรกตนี้ จึงเสด็จลงมาพร้อมด้วยวิษณุกรรม และจัดนำลูกแก้วมณีโชติ ซึ่งเป็นแก้วชนิดหนึ่งซึ่งมีรัศมีรุ่งโรจน์ ที่ภูเขาวิปุละ ซึ่งกั้นเขตแดนมคธ และอยู่ด้านหนึ่งของ กรุงราชคฤห์ ประกอบด้วย

          ๑. แก้วมณีโชติ มีบริวารแวดล้อมอยู่ ๓,๐๐๐ ดวง เฉพาะแก้วมณีโชติ มีขนาดใหญ่ถึงหนึ่งอ้อมเต็ม
          ๒. แก้วไพฑูรย์ มีบริวารแวดล้อมอยู่ ๒,๐๐๐ ดวง
          ๓. แก้วมรกต มีบริวารแวดล้อมอยู่ ๑,๐๐๐ ดวง เฉพาะแก้วมรกตนี้ มีขนาดใหญ่ ๔ กำมือ ๓ นิ้ว 

          แก้ววิเศษนี้ มีพวกกุมภัณฑ์ คนธรรพ์ ยักษ์มาร และเทพยดารักษาอยู่มาก พระวิษณุกรรมมิอาจที่จะไปนำลูกแก้วดังกล่าวนี้คนเดียวมาได้ จึงได้ทูลเชิญพระอิศวรเจ้าเสด็จร่วมไปด้วย เมื่อถึงเขาวิปุลบรรพตแล้ว พระอิศวรจึงแจ้งให้พวกกุมภัณฑ์ คนธรรพ์ และยักษ์ที่รักษาลูกแก้ว ทราบถึงความประสงค์ของพระนาคเสนเถรเจ้า ที่จะนำแก้วมณีโชตินี้ไปสร้างพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นอนุสรณ์แทนองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่พวกกุมภัณฑ์ คนธรรพ์ และยักษ์ทูลว่า เฉพาะลูกแก้วมณีโชตินั้นมีอิทธิฤทธิ์มาก เป็นของคู่ควรสำหรับพระมหาจักรพรรดิ์ไว้ปราบยุคเข็ญของโลกเท่านั้น ในเมื่อโลกเกิดจลาจลวุ่นวาย ซึ่งมนุษย์ในสมัยนั้นจะหมดความเคารพยำเกรงซึ่งกันและกัน ก่อการวุ่นวายขึ้น พระมหาจักรพรรดิ์จะได้ใช้แก้วมณีโชตินี้ไว้ปราบยุคเข็ญต่อไป แต่ว่าเพื่อมิให้เสียความตั้งใจและเสื่อมศรัทธา จึงขอมอบถวายลูกแก้วอีกลูกหนึ่ง ซึ่งเป็น "แก้วมรกต" รัศมีสวยงามผุดผ่อง ถวายให้ไปจัดสร้างแทน และพระอิศวรและพระวิษณุกรรม ก็นำแก้วมรกตนี้ไปถวายพระนาคเสนเถรเจ้า แล้วก็เสด็จกลับวิมาน

          พระนาคเสนเถรเจ้า เมื่อได้รับลูกแก้วมรกตแล้ว ก็รำพึงถึงช่างที่จะมาทำการสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วสีมรกต ให้มีพุทธลักษณะสวยงามประณีต วิษณุกรรมซึ่งเป็นนายช่างธรรมดาทราบความดำริของพระนาคเสน จึงแปลงกายเป็นมนุษย์เข้าไปหาพระนาคเสน รับอาสาสร้างพระพุทธรูปตามประสงค์ของพระนาคเสนเถรเจ้า เมื่อได้รับอนุญาตจากพระนาคเสนแล้ว วิษณุกรรมจึงลงมือสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วมรกตสำเร็จลงด้วยอิทธิฤทธิ์ สำเร็จภายใน ๗ วัน เนรมิตพระวิหารและเครื่องประดับ สำหรับประดิษฐานรองรับพระพุทธรูปแก้วมรกต วิษณุกรรมก็กลับไปสู่เทวโลก และพระพุทธรูปแก้วมรกตที่สร้างสำเร็จโดยช่างวิษณุกรรมนี้ มีพุทธลักษณะอันสวยงาม มีรัศมีออกเป็นสีต่างๆ หลายสีหลายชนิด ฉัพพรรณรังษีพวยพุ่งออกจากพระวรกาย เทพบุตร เทพธิดา 
ท้าวพระยาสามนตราช พระอรหันตขีณาสพ สมณะ ชีพราหมณ์ ตลอดประชาชนทั่วไปเมื่อได้เห็นพุทธลักษณะพระแก้วมรกตแล้ว ต่างก็พากันแซ่ซ้องถวายสักการะ บูชา พระนาคเสนเถรเจ้าพร้อมด้วยพวกเทพยดา นาค ครุฑ มนุษย์ กุมภัณฑ์ พากันตั้งสัตยาอธิษฐานอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เข้าประดิษฐานในองค์พระแก้วมรกตรวม ๗ พระองค์ คือ ในพระโมฬีพระองค์หนึ่ง, ในพระนลาตพระองค์หนึ่ง, ในพระอุระพระองค์หนึ่ง, ในพระอังสาทั้งสองข้างสองพระองค์ และในพระชานุทั้งสองข้างสองพระองค์ เมื่อพระบรมสารีริกธาตุแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งเจ็ดพระองค์ เข้าไปประดิษฐานเรียบร้อยทั้ง ๗ แห่ง เนื้อแก้วมรกตแล้ว เนื้อแก้วก็ปิดสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยแผลและช่องพลันก็เกิดปาฏิหาริย์ แผ่นดินไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พระพุทธรูปแก้วได้ยกฝ่าพระบาทดุจดังเสด็จลงจากแท่นประดิษฐาน เมื่อเกิดปาฏิหาริย์ขึ้นดังนี้ พระนาคเสนเถระทำนายว่า พระแก้วมรกตนี้จะมิได้ประดิษฐานในเมืองปาฏลีบุตรแน่ ต้องเสด็จเที่ยวโปรดเวไนยสัตว์ในประเทศ ๕ คือ 

          ๑. ลังกาทวีป ๒. ศรีอยุธยา ๓. โยนก ๔. สุวรรณภูมิ ๕. ปะมะหล

          เมื่อพระนาคเสนเถรเจ้าดับขันธ์แล้ว พระแก้วมรกตนี้ คงได้รับการปกปักรักษา สักการะ บูชาเป็นเวลาต่อมาอีก ๓๐๐ ปี เมืองปาฏลีบุตรสมัยพระสิริกิติราชดำรงเป็นประมุข เกิดจลาจลวุ่นวาย เกิดสงครามมิได้ขาด ข้าศึกต่างเมืองยกมารบกวน เสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ ก่อการกบฏ ราษฎร์วานิชเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า สุดที่จะทนทาน ประชาชนวานิช พร้อมใจกันพาพระแก้วมรกตพร้อมด้วยพระไตรปิฎก ลงสำเภาหนีออกจากเมืองปาฏลีบุตรไปสู่ลังกาทวีป พระแก้วมรกตจึงประดิษฐานประมาณ ๒๐๐ ปี (พระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๑,๐๐๐ ปี)

          ครั้นถึงสมัยเจ้าอนุรุธราชาธิราช กษัตริย์ของพุกามประเทศ (พม่า) กับพระภิกษุรูปหนึ่งลงสำเภาไปสู่ลังกาทวีป พร้อมด้วยพระสงฆ์พุกามอีก ๙ รูป อำมาตย์พุกาม ๒ คน ของพุกาม ได้ขอบรรพชาต่อพระสังฆราชลังกาทวีป พระภิกษุรูปที่เป็นหัวหน้าของพุกามชื่อพระศีลขัณฑ์ ร่วมมือกันสังคายนาพระไตรปิฎกและคัมภีร์สัธทาวิเศษเป็นที่เรียบร้อย ก่อนจะกลับพุกาม ได้ทูลขอ "พระแก้วมรกต" ต่อประมุขของกรุงลังกาทวีป พระองค์จนพระทัย จึงต้องมอบพระแก้วมรกตให้กับกษัตริย์กรุงพุกามไป ทำความเศร้าโศกเสียใจให้กับชาวเมืองปาฏลีบุตรทั่วลังกาทวีป

          เมื่อกษัตริย์กรุงพุกามได้รับพระแก้วมรกตเรียบร้อยแล้ว จึงจัดขบวนเรือสำเภาอัญเชิญพระแก้วมรกตลงสำเภาสองลำ แต่เมื่อสำเภาแล่นมาในทะเล สำเภาที่อัญเชิญพระแก้วมรกต เกิดพลัดหลงทางไปสู่เมืองอินทปัตถ์พร้อมทั้งพระไตรปิฎก  พระเจ้ากรุงพุกามเสียพระทัยมาก เพราะตั้งพระทัยไว้ว่า จะจัดเฉลิมฉลองสมโภชเป็นการใหญ่ในกรุงพุกาม เมื่อเหตุการณ์กลับกลายไป จึงปลอมพระองค์เป็นราษฎรสามัญไปสู่กรุงอินทปัตถ์ เพื่อสืบหาเรือสำเภาที่อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระไตรปิฎก และขอพระแก้วมรกตคืนจากพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์ พระเจ้ากรุงอินทปัตถ์ก็ไม่ยอมคืนให้ เพราะถือว่าเป็นบุญญาธิการของพระองค์ ที่พระแก้วมรกตได้เสด็จมาสู่กรุงอินทปัตถ์ พระเจ้ากรุงพุกามทรงพิโรธมาก ดำริจะปลงพระชนม์พระเจ้ากรุงอินทปัตถ์ ก็เกรงว่าบาปกรรมจะติดตามตัวต่อไปภายภาคหน้า จึงแสดงอภินิหาริย์ให้ชาวอินทปัตถ์เห็น โดยเอาไม้มาทำเป็นดาบ ทาด้วยฝุ่นดำแล้วก็เหาะขึ้นไปในอากาศวนรอบเมืองอินทปัตถ์ ๓ ครั้ง สะกดพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์และคนหลับทั้งเมือง แล้วเสด็จเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เอาดาบที่ทำด้วยไม้ขีดไว้ที่พระศอของพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์และมเหสี ตลอดจนเสนาบดีผู้ใหญ่ และตรัสขู่ว่า หากไม่คืนสำเภาที่อัญเชิญพระไตรปิฎกและพระแก้วมรกตให้แล้ว วันรุ่งขึ้นจะบั่นเศียรให้หมดทุกคน พระเจ้ากรุงอินทปัตถ์และมเหสีทรงทราบเรื่อง และพิสูจน์รอยฝุ่นดำที่พระศอ ก็พบว่ามีรอยฝุ่นดำจริงตามดำรัสของพระเจ้ากรุงพุกาม มีความหวั่นเกรงต่อชีวิตของพระองค์และราชบริพารเป็นอันมาก ให้อำมาตย์ ๒ คน กราบทูลพระเจ้ากรุงพุกามทราบว่า หากเป็นสำเภาอัญเชิญพระไตรปิฎกและพระแก้วมรกตของพุกามจริง ก็จะจัดถวายส่งคืนให้ ขอให้พระเจ้ากรุงพุกามเสด็จกลับยังกรุงพุกามก่อน พระเจ้ากรุงพุกามก็ยินยอม

          กาลต่อมา เมื่อสำเภาลำที่หายไปก็มาถึงกรุงพุกาม ตรวจสอบแล้วมีแต่พระไตรปิฎกอย่างเดียว หามีพระแก้วมรกตไม่ พระเจ้ากรุงพุกามทรงทราบดีว่า พระเจ้ากรุงอินทปัตถ์มีพระประสงค์จะได้พระแก้วมรกตไว้สักการะ บูชาในกรุงอินทปัตถ์ พระเจ้ากรุงพุกามก็มิได้คิดอะไรอีก พระแก้วมรกตนี้ได้ตกอยู่
ในกรุงอินทปัตถ์มาช้านานจนรัชสมัยพระเจ้าเสนกราช พระองค์มีพระราชโอรสองค์หนึ่ง สนพระทัยเที่ยวจับแมลงวันหัวเขียวมาเลี้ยงไว้ และบุตรชายของปุโรหิตคนหนึ่งชอบเล่นแมลงวันหัวเสือ ต่อมาแมลงวันหัวเสือของบุตรชายปุโรหิตกัดแมลงวันหัวเขียวของราชโอรสตาย พระราชโอรสเสียพระทัยและฟ้องพระเจ้าเสนกราชผู้บิดา จนมีรับสั่งให้นำบุตรชายของปุโรหิตไปผูกให้จมน้ำตาย ปุโรหิตผู้พ่อพร้อมด้วยภรรยาพาบุตรชายหนีออกจากเมือง เพราะเห็นว่าพระเจ้าเสนกราชปราศจากความยุติธรรม เอาแต่พระทัยตนเอง พญานาคราชก็โกรธพระเจ้าเสนกราชที่อยุติธรรม ที่สั่งให้เอาบุตรปุโรหิตไปผูกมัดเพื่อให้จมน้ำตาย จึงบันดาลให้น้ำท่วมเมืองอินทปัตถ์ เป็นที่ระส่ำระสายแก่ประชาราษฎร์ยิ่งนัก มีพระเถระรูปหนึ่งไม่ปรากฏนาม ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมด้วยคนรักษา หนีภัยแล่นเรือไปทางทิศเหนือของเมืองอินทปัตถ์

          ในราชอาณาจักรไทยขณะนั้น กรุงศรีอยุธยา กษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงพระนามว่า พระเจ้าอาทิตยราช เมื่อทรงทราบว่ากรุงอินทปัตถ์เกิดกุลียุค น้ำท่วมบ้านเมืองเสียหาย ผู้คนล้มตายมาก ทรงพระวิตกถึงพระแก้วมรกตจะอันตรธานสูญหายไป จึงจัดทัพไปรับพระแก้วมรกตอัญเชิญลงสำเภา พร้อมกับคนรักษากลับสู่กรุงศรีอยุธยา เมื่อมาถึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในมหาเวชยันต์ปราสาท ประดับตกแต่งด้วยเครื่องสักการะอันประณีต จัดการฉลองสมโภชเป็นการใหญ่ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาและประชาราษฎร์ได้ถวายสักการะพระแก้วมรกตตลอดมา และต่อมา พระยากำแพงเพชรได้ลงมากรุงศรีอยุธยา กราบทูลขอพระแก้วมรกตไปสักการะ ณ เมืองกำแพงเพชร ต่อมาโอรสพระองค์หนึ่งมีชนมายุเจริญวัย โปรดให้ไปครองกรุงละโว้ ระลึกถึงพระแก้วมรกตได้ ปรารถนาอยากได้พระแก้วมรกตไว้สักการะ บูชา จึงทูลขอต่อพระมารดา พระมารดามีความรักพระโอรสขัดไม่ได้ จึงทูลขอต่อพระสามี ก็ได้รับอนุญาตให้อัญเชิญไปได้ แต่ให้ไปเลือกเอาเอง เพราะประดิษฐานรวมกับพระแก้วองค์อื่นๆ อีกหลายองค์ พระมารดาและโอรสไม่ทราบว่าพระแก้วมรกตองค์ไหนเป็นองค์ที่แท้จริง จึงให้ไปหาคนเฝ้าประตูรับสั่งคนเฝ้าประตูและให้สินบนช่วยชี้แจง คนเฝ้าประตูรับว่า จะนำดอกไม้สีแดงไปวางไว้บนพระหัตถ์พระแก้วมรกตองค์ที่แท้จริงให้ พระโอรสได้พระแก้วมรกตสักการะ บูชาไว้ ณ เมืองละโว้ เป็นเวลา ๑ ปี ๙ เดือน ก็ต้องอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับเมืองกำแพงเพชรตามข้อตกลง

          ในขณะนั้น พ.ศ.๑๙๗๗ พระเจ้าพรหมทัตเจ้าเมืองเชียงราย ทรงทราบว่า พระยากำแพงเพชรผู้ทรงเป็นสหายมีพระแก้วไว้สักการะ บูชา ก็ปรารถนาอยากได้สักการะ บูชาบ้าง จึงจัดขบวนรี้พลสู่เมืองกำแพงเพชร พระปิยะสหาย ทูลขออาราธนาพระแก้วมรกตสู่เมืองเชียงราย เมื่อได้แล้วก็ดีพระทัย จัดขบวนเดินทางกลับไปสมโภช ณ เมืองเชียงรายเป็นนิจ ต่อมาเจ้าเมืองเชียงรายเกรงว่าเมื่อเกิดสงครามขึ้น จะเป็นอันตรายต่อพระแก้วมรกต หวังจะซ่อนเร้นมิให้ศัตรูปัจจามิตรทราบ จึงสั่งให้เอาปูนทาลงรักปิดทองบรรจุเสียมิดชิด ดูประดุจพระพุทธรูปศิลาสามัญ 

          ลำดับต่อมา พระสถูปเจดีย์ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตถูกอสุนีบาตพังทลายลง ชาวเมืองจึงอัญเชิญไปประดิษฐานยังวิหารวัดแห่งหนึ่ง ครั้นต่อมาปูนที่พอกไว้ตรงพระนาสิกกะเทาะออก เห็นแก้วสีเขียว เจ้าอธิการและพระสงฆ์ในวัดนั้น จึงกะเทาะเอาปูนออกเห็นเป็นพระแก้วทึบทั้งองค์ บริสุทธิ์ดี มีรัศมีสุกใสสกาวไม่มีรอยบุบสลายเลย ราษฎรเมืองเชียงรายและหัวเมืองใกล้เคียง จึงพากันไปถวายสักการะมิได้ขาดสาย ความได้ทราบถึงพระเจ้าเมืองเชียงใหม่ จัดขบวนรี้พลช้างม้าเดินทางไปอัญเชิญพระแก้วมรกตสู่นครเชียงใหม่ ครั้นขบวนแห่อัญเชิญมาถึงทางแยกที่จะไปนครลำปางช้างที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ก็พาพระแก้วมรกตวิ่งเตลิดไปทางนครลำปาง ควาญช้างได้ปลอบโยนให้หายจากความตื่น ช้างเชือกนั้นก็วิ่งเตลิดพาพระแก้วมรกต กลับหลังวิ่งไปทางนครลำปางอีก ควาญช้างได้พยายามเปลี่ยนช้างเชือกใหม่อีก ช้างตัวใหม่ก็วิ่งไปทางนครลำปางอีก ควาญช้างได้พยายามเล้าโลมเอาอกเอาใจอย่างไร เพื่อจะให้ช้างเดินทางไปนครเชียงใหม่ก็ไม่สำเร็จอีก ท้าวพระยาตลอดจนประชาชนในขบวนแห่พระแก้วมรกต เห็นประสบเหตุการณ์เช่นนั้น จึงส่งใบบอกไปยังพระเจ้าสามแกนเจ้านครเชียงใหม่ให้ทรงทราบ พระเจ้าเชียงใหม่มีความเลื่อมใสพระแก้วมรกตมาก แต่ก็กริ่งเกรงในพุทธานุภาพพระแก้วมรกต และถือโชคลาง เพราะที่ช้างไม่ยอมเดินทางไปนครเชียงใหม่นั้น คงเป็นด้วยพุทธานุภาพของพระแก้วมรกตไม่ยอมเสด็จมาอยู่เชียงใหม่ จึงอนุโลมให้พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ ณ นครลำปาง

          ต่อมา พ.ศ.๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราช เจ้านครเชียงใหม่ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงอานุภาพมาก ทรงพิจารณาว่า พระแก้วมรกตเป็นสมบัติอันล้ำค่า ไม่สมควรที่จะประดิษฐานอยู่ที่นครลำปางอีกต่อไป จึงได้อาราธนาอัญเชิญพระแก้วมรกตมายังนครเชียงใหม่ แล้วจัดสร้างพระอารามราชกูฏเจดีย์ถวาย พระเจ้าเชียงใหม่สร้างวิหารให้เป็นปราสาทมียอด แต่ก็หาสมปรารถนาไม่ เพราะอสุนีบาตทำลายหลายครั้งและพระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่ ณ นครเชียงใหม่นานถึง ๘๔ ปี

          ครั้นพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งเป็นพระราชบิดานางหอสูง เสด็จสวรรคต เมืองเชียงใหม่ไม่มีกษัตริย์จะครองราชย์ ท้าวพระยาเสนาบดีและสมณะ ชีพราหมณ์ จึงพร้อมกันแต่งตั้งราชฑูต พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการไปขอเจ้าราชโอรส อันเกิดจากนางหอสูง มาครองราชสมบัติแทนพระอัยกาต่อไป พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทรงทราบ จึงโปรดให้เสนาบดีแต่งจตุรงคเสนาพาเจ้าไชยเชษฐา ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ขึ้นไปกระทำพิธีราชาภิเษกตามประเพณี ครองราชสมบัติ ณ นครเชียงใหม่ ทรงนามว่าพระเจ้าศรีไชยเชษฐาธิราช เจ้านครเชียงใหม่ เมื่อเสร็จการราชพิธีราชาภิเษกแล้ว พระเจ้าโพธิสารก็เสด็จกลับคืนมายังกรุงศรีสัตนาคนหุตได้ ๓ ปี ก็สวรรคต เสนาบดีพฤฒามาตย์ผู้ใหญ่ ตลอดจนสมณะ ชีพราหมณ์เห็นว่า ถ้าให้ราชโอรสองค์อื่นครองราชสมบัติ ก็คงจะเกิดแก่งแย่งสมบัติกันขึ้น จึงพร้อมใจกันอัญเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ขึ้นครองราชสมบัติอีกเมืองหนึ่ง พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงเสด็จมาประทับยังกรุงศรีสัตนาคนหุต ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาด้วย เพื่อให้พระราชวงศ์และประชาราษฎร์ได้กราบไหว้นมัสการ บางโอกาสเสด็จมาประทับกรุงศรีสัตนาคนหุตเป็นเวลาช้านาน ทำให้ชาวเมืองเชียงใหม่คิดว่า พระองค์คงจะไม่เสด็จกลับไปครองเมืองเชียงใหม่ จึงได้อัญเชิญเชื้อพระวงศ์ขึ้นครองราชย์แทน ทำให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงพระพิโรธมาก กรีฑาทัพยกไปจะตีเมืองเชียงใหม่ แต่พระเจ้าสุทธิวงศ์ทรงทราบข่าวศึกเกรงพระเดชานุภาพ จึงแต่งพระราชสาส์นเครื่องมงคลราชบรรณาการ พร้อมด้วยสาวพรหมจารี ๑๒ คน เลือกเฟ้นเอาที่มีสิริโฉมงดงาม ส่งไปถวายพระเจ้ากรุงอังวะ ขอกองทัพพม่ารักษาเมือง พระเจ้ากรุงอังวะได้โปรดให้ยกกองทัพไปช่วยเมืองเชียงใหม่ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเห็นว่า จะทำศึกกับเชียงใหม่ ก็เหมือนกับทำศึกกับพม่า จะทำให้เสียไพร่พลตลอดจนเสบียงอาหาร ไม่ชอบด้วยทศพิธราชธรรม และเกรงว่าจะสู้ทัพข้าศึกมิได้ จึงสั่งให้ถอยทัพ พร้อมด้วยอัญเชิญพระแก้วมรกตมาอยู่ในเมืองหลวงพระบาง ๑๒ ปี 

          ลุถึง พ.ศ.๒๑๐๗ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เจ้าเมืองมอญ กำลังเรืองอำนาจ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเห็นว่าจะสู้มอญไม่ได้ จึงมีดำรัสแก่อนุชาทั้งสองและอำมาตย์แสนท้าวพระยาลาวทั้งปวงว่า ที่ตั้งกรุงศรีสัตนาคนหุตนี้ เป็นถิ่นที่ดอนใกล้ภูเขาใหญ่ ชัยภูมิไม่เหมาะสมจะเป็นราชธานีของพระมหากษัตริย์ เห็นควรอพยพครอบครัวไปสร้างพระนครใหม่ อยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ อันเป็นชัยภูมิอันสมบูรณ์ด้วยภักษาผลาหาร ใกล้กับฝั่งแม่น้ำยิ่งกว่ากรุงศรีสัตนาคนหุต เมื่อดำริต้องกันทั้งสามพระองค์แล้ว จึงได้สร้างเมืองเวียงจันทน์ขึ้นใหม่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เองในเมืองเวียงจันทน์ และได้อาราธนาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร มาประดิษฐานไว้ในปราสาท แต่นั้นต่อมาอีก ๒๑๔ ปี

          ครั้นถึง พ.ศ.๒๓๒๑ พระเจ้าตากสิน เมื่อครั้งเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ขึ้นแก่กรุงศรีอยุธยา ให้รวบรวมไพร่พลที่เหลือจากพม่าโจมตี ตั้งตัวเป็นมหากษัตริย์สืบวงศ์สยาม ตั้งกรุงธนบุรีหัวเมืองชายทะเลขึ้นเป็นพระมหานคร ได้ยกทัพไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต เพื่อประสงค์จะแผ่พระเกียรติยศให้ยิ่งใหญ่ไพศาล และขยายขอบเขตขันธเสมาอาณาจักรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ขึ้นไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต 

          เมื่อได้เมืองเวียงจันทน์แล้วได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต กับพระบาง ขึ้นคานหามมายับยั้งอยู่เมืองสระบุรี แล้วแจ้งข้อราชการมีชัยชนะศึก ตลอดจนได้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรพระแก้วมรกตนั่ง และพระพุทธปฏิมากรยืนชื่อพระบางมาด้วย เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทราบ ทรงเลื่อมใสศรัทธาปสาทะ ให้ราชบุรุษอาราธนาพระสังฆราชและพระราชาคณะฐานานุกรมเปรียญทั้งปวง จัดกำลังเรือและฝีพายให้ขึ้นไปรับพระแก้วมรกตและพระบางมายังกรุงธนบุรี โดยให้เรือพระที่นั่งศรี เป็นเรือพระรับพระแก้วมรกต และเรือที่นั่งกราบรับพระบาง พร้อมด้วยเรือชัยต่างๆ เรือตั้งกัน ๑๖ คู่ เรือรูปสัตว์ ๑๐ คู่ มีเรือเครื่องสูงเศวตฉัตรกลองชนะมโหระทึก ดนตรีประจำทุกลำ แห่ล่องมาเป็นขบวนพยุหยาตรานาวาจนถึงกรุงธนบุรี เชิญพระแก้วมรกตและพระบางประดิษฐานไว้ในโรงภายในพระราชวัง ซึ่งปลูกไว้ริมพระอุโบสถวัดแจ้ง ตั้งเครื่องสักการะ บูชา เป็นมโหฬารดิเรกด้วยเงิน ทอง แก้ว บูชาพระไตรยาธิคุณ และโปรดให้มีการถวายพระพุทธสมโภช มีมหกรรมมหรสพฉลอง เวลากลางคืนจุดดอกไม้เพลิงทุกคืนตลอด ๗ วัน ๗ คืน

          ครั้นสิ้นรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๒๕ โปรดให้สร้างพระอารามขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

          ครั้นพระอุโบสถสร้างเสร็จแล้วจึงให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๒๗

 

113
เรื่องราวดุจปาฏิหาริย์ที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับพระสงฆ์ที่มรณภาพแล้วร่างกายไม่เน่าเปื่อยสลายไปตามธรรมชาติ

แต่กลับเป็นคล้าย "มัมมี่" คงสภาพร่างกายให้บรรดาสานุศิษย์และประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธากราบไว้ต่อไปนั้นในเมืองไทยมีอยู่มากมาย

นับแต่พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พระดังๆ อาทิ หลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี, หลวงปู่วงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน, หลวงพ่อบุญเหลือ วัดเขาตะกร้าทอง จ.ลพบุรี, ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง จ.เชียงใหม่, ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม จ.ลำพูน, หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุนนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์, หลวงปู่พรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์, หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม., หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อเภา วัดเขาวงกต อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ล่าสุดหลวงพ่ออุตตมะ (พระราชอุดมมงคล) อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี

ทั้งหมดที่เอ่ยนามมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระเถระผู้ใหญ่ที่ละสังขารแล้วร่างกายไม่เน่าเปื่อย แต่หากจะนับตัวเลขกันจริงๆ แล้ว ยังมีอีกหลายรูป

เรื่อง "ศพพระไม่เน่า" จึงกลายมาเป็นข้อปุจฉา-วิสัชนา กันอยู่อย่างไม่จบสิ้น เป็นเรื่องที่คนอยากรู้กระทั่งลงทุนไปศึกษากับเกจิดังๆ หลายรูปเพื่อหาข้อเท็จจริง

ในบรรดาสานุศิษย์ของพระเกจิชื่อดัง *กิตติชัย เชาว์ชนพันธ์* เป็นคนหนึ่งที่คนในแวดวงพระรู้จักกันดี

กิตติชัยเป็นเจ้าของบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง ปัจจุบันอายุ 41 ปี เขาแนะนำตัวเองว่า เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร จังหวัดเพชรบุรี จบคณะวิทยาศาสตร์ เอกคณิตศาสตร์ มศว.ประสานมิตร ปี 2534

กิตติชัยเล่าให้ฟังถึงการศึกษาเกี่ยวกับพระละสังขารแล้วไม่เน่า ว่าเริ่มสนใจเรื่องนี้เมื่อครั้งมีหนังสือพิมพ์ลงข่าวเกี่ยวกับคนถูกยิง เป็นเรื่องของสองผัวเมีย ที่มีปัญหาขัดแย้งเรื่องมรดกกัน สามีตายคาที่ แต่ภรรยาแม้จะถูกยิงด้วยกระสุนชนิดจะจะ แต่กระสุนปืนไม่ระคายผิว ทำให้เริ่มต้นศึกษาในเรื่องเหล่านี้

พอเริ่มศึกษา ทำให้ได้ไปรู้จักครูบาอาจารย์หลวงพ่อหลายรูป แต่ละรูปเป็นเกจิชื่อดังทางด้านต่างๆ กันไป

อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ แต่ละรูปขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นต่างได้ฝึกสมาธิ ฝึกจิต นั่งวิปัสสนากรรมฐานแทบทั้งสิ้น

"ผมอาจจะอธิบายแล้วฟังยากสักหน่อยสำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงนี้ แต่พูดแบบง่ายๆ ว่าจากการศึกษาของผมพบว่า เกจิอาจารย์ที่ฝึกนั่งสมาธิ ฝึกจิตทั้งหลายจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เกิดรังสีประเภทหนึ่งขึ้นในตัว

"รังสีที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้ผิวหนังร่างกายเปลี่ยนแปลงไป เรื่องนี้เป็นเรื่องของคนที่ปฏิบัติ เคยมีการวัดรังสีเหล่านี้แบบวิทยาศาสตร์ โดยมีเครื่องมือวัดเหมือนวัดรังสีออร่า ก็สามารถตรวจวัดได้ระดับหนึ่ง แต่ทีนี้คลื่นรังสีตัวนี้คืออะไร ยังตอบไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์ อาจจะแตกต่างไปจากแสงออร่าบ้าง คือความถี่น่าจะไม่เท่ากัน"

กิตติชัยอธิบายต่อไปว่า ในร่างกายคนเราปกติจะมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาอยู่แล้ว ถ้าเอามือไปอังใกล้ๆ จะรู้สึกมีการคลายความร้อน รังสีตัวนี้เมื่อคนที่ฝึกกรรมฐานมาแล้ว จิตพัฒนาไปจนสามารถที่จะรวบรวมรังสีเหล่านี้ได้ และส่งออกไปข้างนอกได้ ก็คือส่งไปอาบวัตถุมงคลที่เราเรียกกันว่า "การปลุกเสก" นั่นเอง

"เมื่อพระอาจารย์ทั้งหลายมีการปฏิบัติตรงนี้บ่อยๆ รังสีที่ว่านี้ก็จะอาบไปทุกอณูเซลล์ของร่างกาย เวลาหมดลมหายใจสุดท้าย หรือเวลามรณภาพ ดับขันธ์ พระเกจิเหล่านี้จะกำหนดอารมณ์ของตนเข้าไปอยู่ในที่ตั้งของกรรมฐาน รังสีตัวนี้ก็จะแผ่ปกคลุมในอณูเซลล์ เป็นเหตุให้แบคทีเรียไม่สามารถเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อได้"

ถ้าจะพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ได้หรือไม่ กิตติชัยบอกว่าต้องขอความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์ให้มาช่วยศึกษาอีกที

"แต่ถ้าจะพิสูจน์ในลักษณะของเหตุและผล หรือดูข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ในแง่ของความรู้ทางพระที่ศึกษา

ผ่านมาแน่ชัดอยู่มากทีเดียวว่า พระที่ปฏิบัติกรรมฐาน จนมาถึงตรงที่ตั้งของรังสี ซึ่งเรียกว่ารังสีธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ จะมีร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง เช่น ในตาดำจะมีวงแหวน จะไม่เหมือนกับคนที่ตาเป็นต้อ เพราะคนตาเป็นต้อจะเป็นสีฟ้าสีเดียวแล้วไม่สามารถเปลี่ยนสีได้ แต่คนที่ปฏิบัติตรงนี้วงแหวนในตาดำสามารถเปลี่ยนเป็นสีเทา สีไข่ไก่ได้ แล้วแต่อารมณ์ที่เขากำหนด"

นอกจากนี้ หัวคิ้วจะเปลี่ยนไป เพราะเวลานั่งกรรมฐานเขาจะเอาตาเพ่ง แล้วมองกลับเข้าไปข้างใน ดังนั้นกล้ามเนื้อตาด้านบนจะหดเวลากลอกตาขึ้น เมื่อทำแบบนี้ตลอด คนที่แก่กรรมฐาน กล้ามเนื้อเหมือนจะยืดตัว ตาดำเหมือนจะลอยขึ้นตลอด และมีการยกกระบังลมที่เปลี่ยนไป นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

"พอถึงตอนมรณภาพหรือเสียชีวิต รังสีที่เกิดจากการฝึกปฏิบัติก็ยังอาบอณูเซลล์ร่างกายอยู่ จึงทำให้เซลล์ผิวหนังไม่เน่าเปื่อย มีพระนับร้อยองค์ที่เป็นแบบนี้

"ตัวผมสนใจเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2535 ติดตามมาตลอด ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงร่างกาย ไปถึงการปลุกเสก ด้วยความที่เราเป็นนักวิทยาศาสตร์ สมัยนั้นผมทำงานอยู่ที่บริษัท ซีเกต เทคโนโลยี ประเทศไทย เราเรียนจบวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ เบื้องต้นผมไปเห็นหลวงพ่อรูปหนึ่งที่ จ.นครสวรรค์ ท่านอยู่ในหีบแก้วร่างกายไม่เน่า แวบแรกคิดว่าเป็นหุ่นขี้ผึ้ง ก็ขึ้นไปเกาะโลงศพดู พวกลูกศิษย์เขาบอกกันว่ามีเล็บงอก ผมงอก ผมก็บอกว่าไม่แปลกหรอกถ้าไม่ใช่หุ่นขี้ผึ้ง เพราะถ้าผิวหนังแห้งผมก็ต้องโผล่ขึ้นมา แต่ต้องจนมุมเมื่อเขาบอกว่าโกนแล้วยังงอกขึ้นมาอีก ผมก็ไปเกาะโลง จ่อหน้ากับท่านเพื่อจะดู แล้วก็ยอมลงมาจุดธูปขอเป็นลูกศิษย์

"จากนั้นเลยศึกษาเรื่องนี้อยู่นานมาก เดินทางพบพระเป็นพันรูปเพื่อศึกษาตรงนี้ บางรูปอยู่กับท่านตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ จนมรณภาพไปทีละรูป เอารูปท่านตั้งแต่หนุ่มมาดูจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกายเรื่อยๆ ที่อัศจรรย์กว่านั้น คือ ท่านซ่อนวงแหวนในตาดำได้

"แม้แต่ไอน์สไตน์ก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนี้เลยนะ" เสียงกิตติชัยย้ำดังๆ เมื่อถูกมองว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์

"มันเป็นเรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังไปไม่ถึง ซึ่งต้องการนักวิชาการทางฟิสิกส์เข้าไปค้นคว้าศึกษา คือวิทยาศาสตร์บางทีตอบได้ไม่หมดทุกเรื่อง บางเรื่องเรายังต้องเรียนรู้ต่อไปอีก"

กิตติชัยบอกด้วยว่า เรื่องกรรมฐาน คือการนั่งฌาน ญี่ปุ่นเอาไปใช้เรียกว่า "เซน" วิธีนั่งฌานถ่ายทอดกันมายาวนาน โดยเฉพาะนิกายมหายาน จะกล่าวถึงเรื่องฌานค่อนข้างมาก ส่วนหินยาน (เถรวาท) เองก็กล่าวถึงโดยตลอด ไม่ว่าจะในพระอภิธรรม พระไตรปิฎก

และเมื่ออธิบายเรื่องฌานในแบบวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนการทำฌานก็เหมือนขั้นตอนที่หลอกล่อให้คนฝึกหัดสมาธิ เมื่อทำไปจนถึงระดับหนึ่งจะพบที่ตั้งของรังสีตัวนี้ ที่ขนานนามว่า "รังสีธาตุ" พอพบแล้วก็สามารถจะนำรังสีตัวนี้ส่งออกไปข้างนอกได้ ไปประจุไว้ในวัตถุได้ ที่เรียกกันว่าการปลุกเสก

กิตติชัยบอกว่า เรื่องแบบนี้เป็นได้เฉพาะคน ใครที่ฝึกได้ทำได้ดีมากๆ ก็สามารถรวมพลังงานตรงนี้ได้มาก

"แต่ถ้าถามว่า แล้วพลังงานนี้เมื่อประจุเข้าในวัตถุมงคลแล้วทำไมถึงไปส่งอิทธิปาฏิหาริย์ทำให้ยิงไม่เข้า ตรงนี้ผมก็ตอบไม่ได้.."

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อีกอย่าง คือ พระที่สังขารไม่เน่า สังขารต้องค่อยๆ ดำ เช่น หลวงพ่อผล วัดเชิงหวาย สีผิวจะค่อยๆ เปลี่ยนจากสีเนื้อเป็นสีน้ำผึ้ง แล้วเป็นสีน้ำผึ้งเก่าแก่ แล้วแห้ง น้ำค่อยๆ ออก อาจารย์ดังๆ ที่ปฏิบัติถึงขั้นแล้วสังขารไม่เน่า มีทั่วทุกภาค แต่จังหวัดทางภาคใต้มีมากเป็นพิเศษ

"เรื่องตายแล้วร่างกายไม่เน่า ไม่ใช่เรื่องแปลก อธิบายได้หมด แล้วก็ยังมีพระที่ร่างกายพร้อมจะไม่เน่าอยู่อีกเยอะแยะ และไม่ใช่แค่ประเทศไทย อย่างพระจีน พระญวน มรณภาพแล้วไม่เน่าก็มี นั่งสมาธิตายแข็งอยู่ทุกวันนี้ก็มี ที่ จ.ฉะเชิงเทรา วัดจีนประชาสโมสร ท่านนั่งฌานปฏิบัติแบบเดียวกัน อันนี้ไม่ใช่เรื่องอภินิหาร ที่ต่างประเทศก็มีการค้นคว้าเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดออกมา"

เรื่องพระสังขารไม่เน่าของพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แม้ว่าจะมีการพิสูจน์ว่าคนทั่วไปก็สามารถทำได้ และมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ แต่ตามความเชื่อของคนไทยแล้ว เมื่อมีข่าวพระสังขารไม่เน่า ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ เป็นอภินิหาร

ดังนั้น แม้จะมีคำอธิบายระดับหนึ่งจากคนที่ศึกษาในเรื่องนี้ แต่คำตอบที่แน่นอนชัดเจนนั้นยังไม่มี เรื่องนี้ยังคงต้องการการศึกษาให้มากยิ่งขึ้นไปอีก และต้องขยายออกไปในวงกว้าง

114
ธรรมะ / นั่งสมาธิหลับตากันทำไม ?
« เมื่อ: 03 เม.ย. 2550, 12:07:56 »
นั่งสมาธิหลับตากันทำไม ?

น้อยคนนัก ที่จะรู้จริงว่า การนั่งสมาธิภาวนานั้น เขานั่งกันทำไม ?

แม้ผู้ที่ได้ทำการนั่งสมาธิมา ๓๐ ปี ๔๐ ปี แล้วก็ตาม แต่ไม่เกิดปัญญา ไม่บรรลุแจ้งแทงทะลุได้ ก็เพราะเหตุไม่เข้าใจตรงทาง ไม่รู้จุดหมายแท้ แห่งศาสนาพุทธนั่นเอง

โดยได้หลงเข้าใจผิดตามทางอื่น ไปหลงเข้าใจไกลจุดแท้ของศาสนาพุทธ อยู่นั่น ทีเดียว จึงไม่บรรลุ ไม่เห็นแจ้ง และไม่สำเร็จในวิชา "พุทธศาสนา" ได้สักที


--------------------------------------------------------------------------------

"พุทธ"พาคนให้"พ้นทุกข์"
"ศาสนาพุทธ" สอนให้คน"พ้นทุกข์" จำไว้ให้ดี และ นำไปคิดให้เห็นแจ้งก่อนอื่น ทีเดียว

"ศาสนาพุทธ" ไม่ได้สอนให้คนเป็น "คนเก่งในอภิญญา" ใดๆ เป็น "จุดเอก"

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้บรรลุพุทธศาสนา จะไม่มี "อภิญญา" มีได้เป็นได้ แต่ไม่ใช่จุดเอก ไม่ใช่จุดแท้

จุดเอก  จุดแท้  อันเป็นเงื่อนต้น หรือ เป็นเบื้องต้น เป็นจุดสำคัญจุดแรก ที่พุทธศาสนิกชน จะต้องตั้งทิศ ให้ตรง มุ่งหมาย ให้ได้ก่อน "วิชชา" อื่นๆ หรือ ก่อน "อภิญญา" ใดๆ ก็คือ "อาสวักขยญาณ" ที่จะทำให้เรา "พ้นทุกข์อริยสัจ" นั่นเอง


--------------------------------------------------------------------------------


สุดยอดวิชาของพุทธ
"อาสวักขยญาณ" คือ ญาณอย่างไร ?
"อาสวักขยญาณ" ก็คือ ปัญญาอันแหลมคมละเอียดอ่อน ที่สามารถจะรู้ความกระเพื่อมไหวของ "จิต" ตัวเองได้

แม้จะกระเพื่อมไหวอย่างอ่อน อย่างเบา อย่างบางอยู่สุดซึ้งก้นบึ้งของ "จิต" ของเรา ก็สามารถ จับได้ไล่ทัน อ่านออก ทุกขณะ และ ทุกดวงแห่ง "จิต" ที่มัน "เกิด"

(อันคนธรรมดา จะไม่รู้ได้เป็นอันขาด เป็น "ความไว" ของประสาทสัมผัส ชั้นยอดเยี่ยม ที่เหนือยิ่งกว่า "มิเตอร์" ทางวัตถุใดๆ จะเป็นได้)

นอกจากจับ "จิต" ที่ "เกิด" ได้ทุกดวงแล้ว ยังสามารถลึกทะลวงทะลุลงไปล่วงรู้แจ้ง "เหตุ-ปัจจัย" ที่มาปรุงแต่งให้ "จิต-ขั้นลึก หรือ จิตอันบางเบา" (อาสวจิต) นั้นๆ "เกิด" ได้ด้วย

และสามารถ ที่จะ "ดับ" ความ "เกิด" นั้น ได้ด้วยตนในทุกขณะ ที่ต้องการอีกด้วย

จึงไม่ใช่เรื่องอื่น ไม่ใช่ "งาน" อื่น ไม่ใช่ภาระอื่น และไม่ใช่ "ความเก่ง" อย่างอื่น เป็นอันขาด

แม้จะเป็น "ตาทิพย์" เป็น "หูทิพย์" เป็นผู้รู้ "ระลึกชาติได้" หรือ เป็น "การรู้ชาติกำเนิด ของผู้อื่น รู้วาระจิต ของผู้อื่น" ก็ตาม ก็ไม่ใช่ "วิชชา" หรือ ไม่ใช่ "ความเก่ง" ที่เป็น "เงื่อนต้น" หรือ "จุดสำคัญจุดแรก" เป็นอันขาด

"ความเก่ง" หรือ "วิชชา" ที่จะต้องมุ่งเพียรให้บรรลุสำเร็จแจ้งให้ได้ ก็คือ ให้รู้ว่า "ทุกข์" คืออะไร ?

และ จะทำการ "หยุดทุกข์" นั้น ได้อย่างไร ? แล้วก็ทำให้ได้ เท่านั้นเอง

จึงควรจะ "พิจารณา" คำว่า "ทุกข์" ให้ออก


--------------------------------------------------------------------------------

แล้วเราจะเข้าใจ จะรู้แจ้งว่า ที่คนไปนั่งหลับตาทำสมาธิกันนั้น เขานั่งกันทำไม ?
และนั่งเพื่อให้อะไรมัน "เกิด" ? ใครทำถูกอยู่ ? ใครทำผิดอยู่ ? เราก็จะรู้ได้ด้วยผลจากการฝึกฝน จนลุถึง "อรูปพรหม"

ลัทธิการนั่งหลับตา ทำสมาธินั้น มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ก่อนสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเสียอีก

แล้ว "ผลได้" จากการนั่งหลับตาบำเพ็ญตบะนั้น ก็มี ก็เกิดออกมา ตามอายุกาลของ ความจริงที่ได้กระทำ

คือ เมื่อฝึกหัดนั่งไปนาน สภาวะที่จะออกมาเป็น "ผล" ในแง่ใดแง่หนึ่ง ที่มันเป็นได้ เกิดได้ ก็ย่อมจะ "เกิด"

เมื่อทำ "เหตุ" บำเพ็ญ "ปัจจัย" ได้ครบ ได้เต็ม ห้ามไม่ให้มัน "เกิด" ก็ไม่ได้เอาด้วย

เช่นว่า คนผู้บำเพ็ญเพ่งเล็ง "น้อมจิต" ใฝ่เพียรทำ "จิต" เพื่อให้นิ่ง ให้มี "พลัง" ในทาง "ระงับความรู้สึก" ที่จะเกิดมา กระทบสัมผัส "ร่างกาย" ของตน

ถ้าเขาผู้นั้น ได้สร้างแบบฝึกหัด หรือ ก่อเหตุก่อปัจจัยไป จนถ้วนพอ หรือ ครบจำนวน

"ผล" คือ เป็นผู้พร้อมทนหนาว ทนเจ็บปวด ทนการกระทบสัมผัสต่างๆ อันหนักหนา ที่มนุษย์ธรรมดา ทนไม่ได้ อย่างนั้น

นั่นก็เป็น "ผล" ของลัทธิอื่น ที่เขาทำกัน เขาเพ่งเล็ง และเขาก็เรียก "ผล" เช่นนั้นของเขาว่า "นิพพาน" ก็มี

พวกที่ทำอย่างนี้ มุ่งอย่างนี้ เป็น "จุดเอก" ก็คือ พวกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเรียกว่า "อุปาทาน" และ "อรูปพรหม"

จนลุถึง "อสัญญีพรหม"

หรือคน ผู้บำเพ็ญเพ่งเล็ง "น้อมจิต" ใฝ่เพียรทำ "จิต" เพื่อให้นิ่ง ให้ดับ ให้ขาดจากร่างกาย อย่างแท้จริง เหมือนอยู่กันคนละส่วน คนละอัน "จิต" ก็แยกจากร่างกายไป "ร่างกาย" ก็แข็งทื่อ นิ่งอยู่ต่างหาก ไม่มี "จิต" ครอง

ถ้าเขาผู้นี้ ได้สร้างแบบฝึกหัด หรือก่อเหตุ ก่อปัจจัย ไปจนครบถ้วนพอ หรือ ครบจำนวน

"ผล" คือ เป็นผู้ทนได้ทุกอย่าง ทนแม้กระทั่งดิน ฟ้าอากาศ จะแปรเปลี่ยนอย่างไร ก็ยังสามารถทนได้

เช่น ไฟเผาก็ไม่ไหม้ ทิ้งน้ำก็ไม่จม มีดฟันก็ไม่เข้า เป็นต้น อย่างนี้ ก็มี

นั่นเป็น "ผล" ของลัทธิอื่นเขาทำกัน เขาเพ่งเล็งกัน และเขาก็เรียก "ผล" เช่นนั้น ของเขาว่า "นิพพาน" ก็มี

พวกที่ทำอย่างนี้ มุ่งอย่างนี้เป็น "จุดเอก" ก็คือ พวกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า "อสัญญีพรหม" เก่งจริงๆ ราวกับเล่นกล "เดรัจฉานวิชชา"

หรือ ยิ่งคนผู้บำเพ็ญเพ่งเล็ง "น้อมจิต" ใฝ่เพียรทำ"จิต" เพื่อให้จิต "มีพลัง"

แล้วนำ "พลังจิต" นั้น ไปสร้างฤทธิ์ สร้างอภินิหาร ปาฏิหาริย์ต่างๆได้ แล้วก็เที่ยวนำออกแสดง "ผล" อย่างนี้ ก็มี และเป็นจริงได้

ซึ่งก็เป็นของลัทธิอื่นเขาทำกัน เขาเพ่งเล็งกัน

แต่ "ผล" อย่างนี้ แม้ศาสดาของลัทธิเช่นนี้ เขาก็ยังไม่กล้าเรียก "ผล" อย่างนี้ ของเขาว่า "นิพพาน"

แต่เขาเรียกของเขาว่า "วิชชา" หรือเป็น "อภิญญา" ของเขา

พวกที่ทำอย่างนี้เป็น "จุดเอก" ก็คือ พวกที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า พวกสำเร็จ "เดรัจฉานวิชชา"

เพราะเป็น "วิชชา" ที่ยังไม่ช่วยตนให้พ้นความเป็น "สัตวโลก" ยังเป็น "วิชชา" ที่ยังมีความหลง ความพึงพอใจ ความถือว่าตนเก่ง ความอวดรู้ อวดผล เพื่อตำแหน่งอันนำมาซึ่ง ลาภ-ยศ-สรรเสริญอยู่

(เดรัจฉาน หมายถึง สัตวโลก เดรัจฉานวิชา หมายถึง วิชชาที่ยังไม่พ้นความเป็นสัตวโลก อย่าไปแปลว่า วิชชาของสัตว์ขั้นต่ำ มันเป็นการดูถูก "วิชชา" หรือ "ความรู้" ไป เพราะ "ความรู้" นั้นเป็นของดีทั้งสิ้น ถ้าผู้ใด มีประดับตน แต่พระพุทธเจ้าสอนให้ "คนรู้" ยิ่งกว่า คือ แม้แต่ลำดับ แห่งการหา "ความรู้" ใส่ตน ก็จะต้อง "รู้" จักทางหนีทีไล่ ให้แก่ตน อย่างชาญฉลาดที่สุด)

ดังนั้น "วิชชา" ตามที่ยกตัวอย่างมาทั้งหลายนั้น จึงยังไม่ใช่ "จุดเอก" ไม่ใช่เรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง ของพุทธศาสนา


--------------------------------------------------------------------------------

จุดเอก จุดเด่น สุดสำคัญ ของพุทธวิชชา
"จุดเอก" หรือเรื่องสำคัญ อันดับหนึ่ง ของพุทธศาสนา จึงคืออะไรกันแน่ ?

"จุดเอก" ของพุทธ ก็คือ ต้องแทงทะลุ "ทุกขอริยสัจ" ด้วย "ปัญญาญาณ" ให้ได้นั่นเอง ยังไม่ต้องไป คำนึงถึง "ผลอื่น"

ยังไม่ต้องถึงกับทนร้อน ทนหนาว ทนเจ็บปวดได้ หรือ ยังไม่ต้องถึงกับสามารถแยก "จิต" แยก "กาย" ให้ขาด จากกัน จนเป็น "นิโรธสมาบัติ" ขั้นไฟเผา ก็ไม่ไหม้ มีดฟันก็ไม่เข้า หรือ ยังไม่ต้องสามารถแสดง "อภินิหาร" อะไรได้

"ผล" เหล่านั้น เป็น "ผลส่วนเกิน" เป็นความสามรรถของจิต ที่จะพึงเกิดเอง เป็นเอง มีมาเอง เมื่อ "เหตุ" และ "ปัจจัย" ครบถ้วน ตามฐานะ ของแต่ละบุคคล ผู้มี "เพียร"

"เงื่อนต้น" หรือ "จุดเอก จุดแรก" ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ถึงให้พุทธศาสนิกชน มุ่งเพียรบำเพ็ญ และ ทำให้ได้ก่อนอื่น

จึงคือ "ผล" อันนี้ "ผล" อย่างนี้ จึงจะเรียกว่า "ถูกทาง"

ดังนั้น คำว่า "สีลัพพตปรามาส" จึงมีความหมายเพียง "ถูกทาง" ตรงทางเท่านั้น

บุคคลใด แม้จะได้บำเพ็ญจิต (โยคะ หรือตบะ) มาอย่างเก่ง อย่างสูงเท่าใด ถ้ายังไม่เข้าใจ "จุดเอก" ยังไปมัวเมาใน "วิชชา" อย่างอื่นอยู่ จึงเรียกว่ายังมี "วิปัสสนูปกิเลส" อยู่ทั้งสิ้น

จึงคือผู้ยังไม่ได้เข้าอันดับเป็น "สมณะ" ของ "พุทธวิชชา"

จนกว่าจะจับจุดเอกได้ และเริ่มเดินทางถูก จึงจะได้ชื่อว่านักศึกษา ขั้นผ่านการสอบคัดเลือก เข้ามาได้ คือเรียกว่า เริ่มเป็น "พระโสดาบัน"

การบำเพ็ญจิตให้ลุถึง "พระนิพพาน"

เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญ "จิต" เพื่อให้บรรลุ "นิพพาน" สำเร็จเป็น "พระอรหันต์" ของศาสนาพุทธ หรือ ตามลัทธิของ พระสมณโคดม จึงไม่ต้องมีฤทธิ์เดช ดังตัวอย่าง ที่ยกมาแล้ว แต่สามารถมี  "จิต" มี "กาย" มี "วาจา" บรรลุธรรมถึงขั้น "สงบ" ได้อย่างจริงแท้ ก็เป็นอันเพียงพอ สำหรับตำแหน่ง ที่จะเรียกว่า "อรหันต์"

แม้ยังไม่มีฤทธิ์ใด เดชใด อันเรียกว่า "อิทธิปาฏิหาริย์" ซึ่งคือ ปาฏิหาริย์ ทางแสดงให้ตนเห็นผล แปลง "รูป" หรือ ทำรูป ทำตัวตน ทำวัตถุ ให้เป็นของน่าทึ่งได้

เช่น เสกเป่าบันดาลของ ให้เป็นไปตามต้องการ หรือ ทำตนให้เหาะได้ หายตัวได้ เป็นต้น

และที่เรียกว่า "อาเทสนาปาฏิหาริย์" ซึ่งคือ ปาฏิหาริย์ทางแสดงออก ให้คนเห็นผลทาง "นาม" หรือ สามารถ ทำให้คนทึ่งได้ โดยทายจิต ทายใจ หรือ สามารถใช้จิต กำหนดหยั่งดิน ฟ้า อากาศ หยั่งนรก-สวรรค์ได้ เป็นต้น

ผู้ที่ได้ตำแหน่ง "พระอรหันต์" ในพุทธศาสนา จึงไม่ใช่บุคคลในประเภทมี "ปาฏิหาริย์" ดังกล่าวนั้นเลย

แต่พระพุทธองค์ระบุว่า จะต้องมี "อนุสาสนีปาฏิหาริย์" ซึ่งคือ "ปาฏิหาริย์" ในการรู้แจ้ง "เหตุ" และ "ผล" ของความจริงแท้ แน่ชัด รู้อย่างทำได้  และบอกได้ อธิบายถึงที่เป็นไปอย่างนั้น ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ด้วย

อย่างต่ำที่สุด ก็ต้องรู้ว่า "ทุกข์" คืออะไร ?

"เหตุ" แห่งทุกข์ คืออะไร ?

อาการของ "ความดับ" แห่งทุกข์นั้น เป็นอาการอย่างไร ?

และทางที่จะทำให้ "เกิดความดับ" แห่งทุกข์นั้น ประกอบไปด้วยอะไร ?

เท่านี้ เท่านั้นเอง เป็น "ความเก่ง" เป็น "ความรู้ยิ่ง" ของผู้ที่ได้ชื่อว่า "อรหันต์" หรือผู้สำเร็จ "วิชชาอรหันต์"

จะเรียกว่า เป็น "บัณฑิต" หรือ ผู้จบปริญญาตรี ก็ได้


--------------------------------------------------------------------------------

ใบไม้นอกกำมือที่อาจมีได้
ส่วนจะมี "พลังจิต" เข้มแข็ง มีอำนาจจิตสูงขึ้นไปอีก จนสามารถทำ "อิทธิปาฏิหาริย์" ได้ และสามารถทำ "อาเทสนาปาฏิหาริย์" ได้ ก็ไม่ใช่ความผิด หรือความยุ่งยากอะไร สำหรับ "พระอรหันต์"

ท่านอาจมีได้ เป็นได้ และแม้มีแล้วในตน เป็นแล้วในตน

พระอรหันต์ ผู้รู้แจ้งความทุกข์ และ การดับทุกข์แล้ว ท่านก็จะไม่หลง ไม่งมงาย ที่จะ "ยึด" ไม่ติดใจ ที่จะมัวเมาในฤทธิ์ ในปาฏิหาริย์ เหล่านั้น

ท่านจึงจะไม่เป็น "รูปพรหม" ไม่เป็น "อรูปพรหม" ไม่เป็น "อสัญญีพรหม" และย่อมจะไม่ข้องอยู่ เป็นสัตวโลก ในวัฏสงสารอีก

ด้วยเหตุดังนี้ "พระอรหันต์" แต่ละองค์ จึงมี "อภิญญา" หรือ "ความเก่ง" สำหรับตนไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน

เช่น พระโมคคัลลานะ ก็เก่งทางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

พระอนุรุทธะ ก็เก่งทางแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์

ส่วนพระสารีบุตร ไม่เก่งในปาฏิหาริย์ทั้งสองนั้นเลย แต่เก่งทางอนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงได้รับยกย่อง เป็นพิเศษ กว่า พระอรหันต์องค์อื่นๆ

และ พระอรหันต์อื่นๆ  บางองค์ (ซึ่งมีจำนวนมากเสียด้วย) ก็ไม่มีปาฏิหาริย์ใดๆเลย เป็นเพียงมี "ความรู้แจ้ง" พอตัว รู้จัก ทุกข์ - เหตุแห่งทุกข์ - อาการของความดับแห่งทุกข์ - และ ทางที่จะทำให้ตน พ้นทุกข์ เท่านั้นเอง ที่ทุกองค์ มีเท่าๆกัน

เช่น พระยศ พระภัททิยะ พระราหุล พระอุบาลี เป็นต้น

ท่านเหล่านี้ (เท่าที่เอ่ยพระนามมานั้น) ต่างก็ได้รับยกย่อง แตกต่างกัน จากพระพุทธองค์ทั้งสิ้น แต่เป็น  "ความเก่ง" ในทางส่วนตน อันไม่เป็นปาฏิหาริย์ หรือ ความเก่งที่คนจะหลง จะทึ่ง ถึงสนเท่ห์แต่อย่างใด


--------------------------------------------------------------------------------

อรหันต์ ย่อมรู้แจ้งในอริยสัจ ๔
ดังนั้น ความเป็น "บัณฑิต" ของ"พุทธศาสตร์ หรือ การจบปริญญาตรีทางพุทธศาสตร์  จึงคือ การรู้แจ้ง แทงตลอด "อริยสัจ ๔" นั้นเท่านั้น ที่ทุกองค์ ต้องมีประดับตนให้ได้

อันมีรู้ทุกข์แท้ๆ รู้อาการของความดับแห่งทุกข์แท้ๆ และรู้จักทางที่จะนำพาตน ไปสู่ความดับทุกข์แท้ๆ ให้ได้ นี่แหละคือ "อรหันต์" ขั้นต้น อรหันต์แท้ๆของ "พุทธศาสนา"

เมื่อพระอรหันต์ท่านเหล่านั้น จบปริญญาตรีแล้ว ท่านจะบำเพ็ญจิตของท่าน ให้บรรลุ "อภิญญา" อื่นๆ

สำเร็จ "วิชชาอิทธิปาฏิหาริย์-อาเทสนาปาฏิหาริย์-และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ที่กว้างขวางยิ่งๆ ขึ้นไป" อีกนั้น ก็เป็นเรื่อง ของท่าน เป็นการสั่งสม บารมีของแต่ละองค์ อันจะเป็นปริญญาโท ปริญญาเอก ดังเช่น พระอนุตตร สัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ผู้มีครบได้ ทุกปาฏิหาริย์  ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้ และ จะเป็นไป ดังนั้นด้วย

ความเป็น "บัณฑิต" ของ "พระอรหันต์"  ดังกล่าว ก็มิได้สูญสิ้นไป   แต่จะเป็น "บัณฑิต" ที่มี "วิชชา" เพิ่มเติมมา สูงขึ้นๆ ไป ตามความเป็นจริง

ผู้ที่ยังเข้าใจว่า "อรหันต์" คือ "การจบ" การสิ้นสุดแล้ว ไม่มีการได้อะไรอีก ไม่มีการเรียนอะไรอีก หรือ ไม่ก่ออะไรต่อ จึงต้องพยายาม ทำความเข้าใจให้ได้ จงอ่านให้ออก เข้าใจให้ถูก


--------------------------------------------------------------------------------

อรหันต์ย่อมไม่หยุดในกุศลทั้งปวง
พระอรหันต์ท่านต่างๆ ไม่มีองค์ไหน "หยุด" จริงๆ

ทุกองค์ยังบำเพ็ญต่อ ทุกองค์ยังศึกษาต่ออยู่ทั้งสิ้น มีการถกปัญหาธรรม มีการบำเพ็ญธุดงคธรรม มีการได้ อภิญญาธรรม มาเพิ่มเติม อยู่เสมอทั้งสิ้น

แม้พระพุทธองค์เอง ก็ไม่เคยปล่อยปละละเลยการบำเพ็ญ จงทำความเข้าใจ ให้ถ่องแท้

แต่มันก็ยากเหมือนกัน ที่จะเข้าใจดังนี้ได้ เพราะ "ปฏิเวธธรรม" มันคือ "ปัจจัตตัง" และ "สันทิฏฐิโก" มันคือ อาการส่วนตน เฉพาะตน เท่านั้น

ผู้ยืนอยู่บันไดขั้นที่ ๑ ย่อมเห็นขั้นที่ ๒ พอได้ จะมองไปดูขั้น ๓ ก็ยาก ยิ่งมองดูขั้น ๔ ขั้น ๕ อันยิ่งสูงขึ้นไป ก็ยิ่งจะเห็นชัด เห็นแจ้ง ได้ยากยิ่งขึ้น

ต้องผู้ไปยืนขั้นนั้นๆจริงๆ จึงจะเห็นขั้นที่ตนยืน และขั้นที่สูงขึ้นไปกว่า ได้อย่างถูกกว่า ไปตามลำดับได้จริงๆ และไม่ผิดเพี้ยน หรือ เดาสุ่ม

ด้วย "จุดเอก" ของพุทธ เป็นดังนี้ การนั่งหลับตา สมาธิภาวนา จึงไม่จำเป็นนัก สำหรับ "เงื่อนต้น"

พระพุทธองค์ จึงมีวิธีให้แก่พุทธบริษัท เรียกว่า "สติปัฏฐาน ๔" คือ ให้หัดมี "สติ" หรือ หัดอย่าลืมตัว

อย่าทำอะไร ก็ทำไปโดยไม่รู้ ว่า เรากำลังทำอะไร ?

ต้องทำอย่างมี "ความรู้ตัว"  ทุกขณะ แม้จะ "คิด" จะ "พูด" จะ "ลงมือทำ" จริงๆ ก็ต้องให้รู้ใน "กรรม" หรือใน "การกระทำ" นั้นๆ ของตนให้ได้

แล้วก็ต้องใช้ "ปัญญา" พิจารณาใน "การกระทำ" ของเราให้ออกว่า สิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่นั้น เรา "ทำดี" หรือ "ทำชั่ว"

ถ้าแจ้งใจว่า "เรากำลังทำดี" ก็จงทำต่อไป

ถ้าแจ้งใจว่า "เรากำลังทำชั่ว" ก็จงระงับการกระทำนั้นให้ได้

โมหบุคคล
ถ้าผู้ใดไม่รู้เลยว่า ที่ตนกำลังทำอยู่นั้น ว่า เป็น "ดีหรือชั่ว"

(อันนี้สำคัญ คนทุกคนเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น ทุกคนไม่รู้ตัวอย่างแท้จริง แต่สำคัญตนว่า ตนรู้ แต่แท้จริง "รู้" ตามอำนาจของกิเลส ตัณหา มันครอบงำ ปิดบังอยู่ จึงนึกว่า ตนทำดีอยู่ทุกที แท้จริง ทำเพื่อเห็นแก่ตน ลองคิดดูให้ดี)

คือ ทำไปตามความเคยของใจ หรือทำไปตามอย่างคนส่วนมากในโลก ก็เรียกว่า ยังโง่ คือ ยังมี "โมหะ"

ถ้าผู้ใดรู้แจ้งได้ว่า "เป็นดีหรือชั่ว" เรียกว่า ผู้นั้นเป็น "ผู้พ้นโมหะ" (อย่างหยาบ)

และผู้ที่รู้นั้น ถ้ารู้ว่าสิ่งที่ตนกำลังกระทำอยู่นั้น เป็น "ชั่ว" แต่ก็ยังทำอยู่ หยุดไม่ได้ อดทำไม่ได้ ตัดไม่ขาด ทั้งๆที่รู้แสนรู้ ผู้นั้นก็คือ ผู้ที่ยังมี "โลภะและโทสะ" อยู่ และ ก็ยังดีที่ "พ้นโมหะ"


--------------------------------------------------------------------------------

ผู้ชนะที่แท้จริง
ถ้ายิ่งผู้นี้รู้ได้ด้วยว่า "ตนกำลังทำชั่ว" แล้วก็ตัดใจระงับ การกระทำนั้นลงให้ได้ อย่างเด็ดขาดด้วย คนผู้นั้นก็ "พ้นทั้งโลภะ และโทสะ" (คือ บางที สิ่งที่กำลังกระทำนั้น อาจจะเป็น "โลภะ" บางทีก็อาจจะเป็น "โทสะ")

ผู้นี้จึงคือ ผู้ที่ "ชนะ" เป็นผู้บรรลุ เป็นผู้สำเร็จในแบบฝึกหัด การปฏิบัติธรรมของ พระพุทธศาสนาไปได้ ๑ ข้อ เป็นผู้ถึงขั้น "ทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส" ได้แล้วข้อหนึ่ง หรือครั้งหนึ่ง

ดังนี้ เรียกว่า "ตทังคปหาน" คือ ได้ทำการ "ฆ่ากิเลส" ในตน จนมันตายไปจริงๆ ได้แล้วจริงๆ ครั้งหนึ่ง

จงหัดทำดังนี้ให้ได้มากๆ ข้อเถิด หัดทำแบบฝึกหัดเช่นนี้เข้า เมื่อจำนวนข้อ หรือจำนวนครั้ง ของแบบฝึกหัดมาก ครบจำนวน "การบรรลุอรหัตตผล" จะถึงเอง โดยไม่ต้องมีใครแต่งตั้ง ผู้นั้น จะแจ้ง กับใจเองว่า "ทุกข์" ได้พ้นแล้ว ความเบาได้เกิดขึ้นแล้ว ภาระได้หมดไปแล้ว ความอยู่สุข ได้ถึงแล้ว ความสงบ เป็นอย่างไร ก็จะแจ้งกับใจ และจะอยู่กับมันได้ อย่างอิ่มเอม ไม่ทุรนทุราย ไม่มีอาการฟูเฟื่อง ไม่มีอาการดิ้นแส่

จะซาบซึ้งรสแห่งการอยู่คนเดียวเงียบๆ ด้วยจิตของตนเอง เป็นสภาวะนิ่ง สภาวะหยุด สภาวะรู้จักอิ่ม รู้จักพอ อย่างตรงกันข้าม กับความเป็น "ปุถุชน" โดยแท้จริง

ดังนั้น "กรรม" ของผู้บรรลุนี้ จึงเป็น "อโหสิกรรม" คือเป็น "กรรมที่ไม่ส่งผลใดให้ตนเสพ" หรือผู้บรรลุนั้น "เสพความว่างเปล่า" ก็เช่นกัน มีความหมายเหมือนกัน

แต่ "กรรม" ที่ผู้บรรลุนั้นประกอบ จะเป็น "กุศลกรรม" คือ เป็นการกระทำที่ดีกว่า เหนือกว่า สูงกว่า ปุถุชน กระทำนั่นเอง

เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เห็นแก่ตน เป็นมหาเมตตา-กรุณา-มุทิตาแก่โลก และผู้อื่นแต่ส่วนเดียว เป็นจุดใหญ่ ตราบชีวิตจะดับขันธ์ จนกายแตก แยกจากกันไปตามแรง สามารถของ "พระอรหันต์" นั้นๆ

จงมั่นเป้าในการฝึกสมาธิภาวนา

ดังนั้น การจะ "นั่งสมาธิหลับตา" ก็ตาม จึงต้องรู้ให้ได้อย่างแจ้งว่า จะต้องปฏิบัติ เพื่อตัดตรงให้เห็น - ให้รู้ "ทุกข์" แท้ๆ ให้ได้เช่นกัน เป็นเบื้องต้น เป็นจุดเอก

มิใช่จะ "นั่งหลับตา" เพื่อเพ่งความดิ่งให้ "จิต" สงบสนิท แล้วก็ฝึกหัด "น้อมจิต" ไปให้เห็นแสง เห็นสี เห็นนรก เห็นสวรรค์ หรือ ถอดจิต ออกไปดูของหาย ถอดจิต ออกไปดูเลขล็อตเตอรี่

หรือ ไม่ก็ฝึก "น้อมจิต" ให้ตนเองสามารถเหาะได้ หายตัวได้ รักษาคนป่วยได้ นั่นไม่ใช่ทางตรง ไม่ใช่ทางเอก แห่งการ "พ้นทุกข์"

นั่นคือ การ "ต่อทุกข์" ให้ตน ไม่ใช่ "จบทุกข์" ให้ตน เป็น "วิปัสสนูปกิเลส" เป็น "สีลัพพตปรามาส" จึงต้องทำความเข้าใจ ให้ละเอียด

และแม้ท่านผู้ใด บรรลุอรหัตตผลแล้ว ได้ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์แล้ว จะทำสิ่งอันใด ให้แก่ผู้อื่น ที่เป็นเรื่อง การนอกเหนือกว่า "อาการพ้นทุกข์" ท่านก็ย่อมทำได้ และท่านก็ยังต้องทำ เป็นการทำอย่าง "รู้"

เช่น พระพุทธองค์ แสดงปาฏิหาริย์เอง ทั้งๆที่ห้ามสาวกแสดงอย่างนี้ เป็นต้น

(เหตุที่ห้าม ก็เพราะ พระอรหันต์ต่างๆ ยังไม่บรรลุวิชชา ที่เป็นอภิญญาทั้ง ๘ ครบ อย่างแท้จริง ส่วนพระองค์ ที่ทรงแสดงเสียเอง ก็เพราะพระองค์ บรรลุสิ้นแล้ว กระทำได้สำเร็จหมดจดทั้ง ๘ อภิญญา แล้ว อย่างจริง เป็นอย่างแน่นอน ไม่ใช่อย่างหลงตน คือ สัมฤทธิ์ผลบ้าง ไม่สัมฤทธิ์ผลบ้าง)

หรือ พระอรหันต์บางองค์ อาจจะรักษาไข้ให้กับคนบ้าง ตามโอกาส หรืออาจจะสร้าง ก่อวัตถุ บางอย่าง อันเป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ส่วน คือ เป็นทั้งประโยชน์โลก และประโยชน์ธรรม ท่านก็ทำได้ ตามเหตุ ตามกาล

ซึ่งปุถุชน ผู้ไม่รู้ต้องพยายาม อย่าเพิ่งไปเที่ยวได้จับ เอาพฤตินัยต่างๆ ที่ตนยังไม่ได้ไปวัด ความเป็น "อริยะ" ของท่าน สมณะต่างๆ เป็นอันขาด

จึงแม้การนั่งหลับตาสมาธิ ก็ต้องนั่งให้รู้ตัว (กาย) ให้รู้ใจ (จิต) ของตนให้ได้ว่า  เมื่อจิตเป็น "ฌาน" (คือ "จิตสงบ" ลงนั่นเอง) มันเป็นสภาวะอย่างไร อ่านให้ออก ค้นให้เห็น เข้าใจให้ได้ ให้รู้ความสงบแห่ง "จิต" นั้น

เมื่อรู้ได้ เข้าใจถึง "อาการสงบ" นั้นว่า เป็นอย่างนี้หนอ และมี "เหตุ" มี "ปัจจัย" อะไร ที่ทำให้ "สงบ" อยู่อย่างนี้ ก็รู้แจ้งได้ จึงจะออก มาจากอาการ "นั่งหลับตา" นั้น

แล้วก็นำ "เหตุ" และ "ปัจจัย" ที่ทำให้ "จิตสงบ" ได้นั้น มาหัดทำกับตน ในขณะ "ลืมตาโพลงๆ" นี้ให้ได้ (ไม่ใช่ทำความสงบได้ ก็แต่ขณะนั่ง อยู่เท่านั้น ตลอดกาล พอออกมาจากสมาธิ ก็ทำความสงบอย่างนั้น ให้แก่จิต ของตนไม่ได้สักที)

ถ้าทำได้จริงๆ เมื่อใด ก็เรียกว่า "บรรลุ" เรียกว่า "สำเร็จ" เรียกว่า "นิพพาน" เรียกว่า "สงบ" ได้อย่างจริง ในแบบคนเป็นๆ ลืมตาโพลงๆ

ดังนี้แล เรียก "นิพพาน" อย่างนี้ว่า "ตทังคนิพพาน" คือ ได้ทำจิตของตนให้ว่างเปล่า พ้นกิเลส - ตัณหา - อุปาทาน ไปได้ ในขณะมีชีวิตเต็มๆ ธรรมดาๆ คือ ลืมตาโพลงๆอยู่ แต่ทำได้เพียงชั่วขณะหนึ่ง

ถ้าแม้นผู้ใด ทำ "จิต" ให้เป็นดังนี้ได้เด็ดขาด ตามต้องการ ในขณะลืมตาโพลงๆ ได้ทุกเวลาที่ต้องการ ผู้นั้น ก็ถึงซึ่ง "สมุจเฉทนิพพาน" เป็น "อรหันต์"

๒๒ มกราคม ๒๕๑๔

(รวมบทความเก่า /FILE:1724L.ETC)

115
พระโพธิรังษี

ในวิถีธรรมตามแบบล้านนาและความกล้าหาญ
โดย เครือมาศ วุฒิการณ์
ภาพประกอบโดย เทพศิริ สุขโสภา

คัดลอกจาก http://www.kruamas.org/html/life&work/article/bhodhi.html

น้ำคือ (น้ำในคูเมือง) สมัยนั้นเต็มไปด้วยดอกไม้ มีดอกป๊าน (ดอกบัวสาย)  ดอกจังกร (ดอกจงกล) และมีบัวลอย (ผักตบชวา)  นอกจากนั้นก็มีปลาตัวเท่าแขนเยอะมาก ปลาดุก ปลาช่อน ปลาสะเด็ด (ปลาหมอ)  ชาวบ้านไปเก็บมากิน แต่ก็ไม่หมดสิ้น ตามวัดก็ปลูกต้นไม้เช่น ดอกสารภี  ดอกประดู เดี๋ยวนี้วัดอื่น ๆ เลิกปลูกดอกไม้แล้ว เอาบริเวณวัดเป็นที่จอดรถ  เหลือแต่วัดพันตองวัดเดียวที่ยังมีต้นไม้ ดอกไม้ นานาชนิด มีดอกจำปี จำปา  ดอกจำปานี่เอาเมล็ดมาปลูกจากอินเดีย

นั่น คือ บรรยากาศรอบคูเมืองเชียงใหม่ในสมัยที่พระโพธิรังษียังเป็นเด็กคือราว  พ.ศ. ๒๔๖๑?๒๔๗๕ ตามที่ท่านได้บรรยายไว้ใน เรื่องเล่าเจ้าคุณโพธิ์ คนที่เติบโตในนครพิงค์ยุคนั้นจะจดจำความเก่าความหลังเมื่อครั้งเมืองยังงาม  และคนยังมีน้ำใจได้อยู่เสมอ สำหรับพระโพธิรังษีผู้บวชเรียนมาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี  ชีวิตสามเณรของท่านมั่งคั่งพรั่งพร้อมบนฐานวัฒนธรรมดั้งเดิมของล้านนาที่สืบทอดกันมา  โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้

วัดในเชียงใหม่สมัยก่อนจะมีครูบาเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ร่มเงา  ถ่ายทอดความรู้และฝึกฝนทักษะ  ที่สำคัญเป็นต้นแบบของการประพฤติปฏิบัติตนในทางดีงาม  ท่านเจ้าคุณโพธิ์มีครูบาคันธา และครูบาหมื่น ที่วัดพวกช้าง  เป็นต้นแบบดังกล่าว ทั้งได้เรียนเขียนอ่านตัวเมือง(อักษรล้านนา) ฝึกจารใบลาน  และเทศน์ธรรมเมือง (เทศน์ทำนองเสนาะแบบพื้นเมือง)  แล้วยังมีครูบาวัดเชียงมั่นที่อยู่ใกล้วัดพวกช้างอีก ๗ รูป ผู้มักมีเรื่องราว  ?บ่าเก่า? (โบราณ) เล่าสู่ให้จดจำกัน

สังคมมุขปาฐะที่มีผู้คนของธรรมชาตินั้น รุ่มรวยภาษาและจินตนาการเสมอ  ท่านเจ้าคุณโพธิ์ เมื่อยังเยาว์เติบโตมาในเมืองที่คนเปี่ยมศรัทธา  ศาสนาคือหัวใจผูกพันคนไว้กับธรรมชาติ ดังนั้นความเป็นกวีจึงเกิดขึ้น เป็นค่าว  เป็นเคือ เป็นเสียงซอ เป็นกะโลง ในสมัยนั้นเมื่อมีโรงพิมพ์ตัวเมือง  สิ่งที่พิมพ์เผยแพร่กันก็คือ ค่าวฮ่ำ  บทกวีที่ว่าด้วยชาดกและนิทานพื้นบ้านต่าง ๆ เนื้อหาเนื่องในทางธรรม  คนไหนแต่งค่าวเก่ง ก็จะมีคนรอคอยที่จะอ่านเช่น ปู่หน้อยปั๋นบ้านฮ่อ  ที่แต่งค่าวฮ่ำเรื่องไก่หน้อยดาววี (ดาวลูกไก่)  ท่านเจ้าคุณโพธิ์ยังจำที่เขาแต่งตอนหนึ่งได้ดังนี้

ไก่หน้อยดาววี      ป๊กลูกมาหา

น้ำตาหลั่งย้อย        สายสั่นสร้อยวาที

คั่นแม่ตายแล้ว         เมื่อวันเป็นผี

สูอยู่ดี ๆ                 อบรมลูกเต้า

บรรยากาศการกล่อมเกลาทางวัฒนธรรมเช่นนี้เองที่ร้อยรัดคนไว้ในพระศาสนา  และเสริมสร้างศรัทธา การที่ครูบาศรีวิชัยนำชาวเชียงใหม่ทั้งใกล้และไกลสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพเมื่อ  ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ นั้น  มิได้เป็นเพียงข้อมูลที่บันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ของเมือง  หากแต่เป็นความทรงจำที่จารึกไว้ในใจของคนที่มีส่วนร่วมในการทำบุญ  ไม่ว่าจะด้วยกำลังกาย หรือกำลังทรัพย์ แต่ก็เปี่ยมล้นด้วยศรัทธา พระโพธิรังษีได้มีส่วนร่วมสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพด้วย  เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร เรื่องเล่าเกี่ยวกับครูบาศรีวิชัย  และศรัทธาในตัวท่านช่างมากมาย พูดกันต่อและเล่ากันมาจนถึงทุกวันนี้

สมัยที่ท่านเจ้าคุณโพธิ์บวชเป็นพระภิกษุแรก ๆ นั้น  พระคุณท่านไปจำพรรษาที่วัดน้ำบ่อหลวง (วัดป่าวนาราม) อำเภอสันป่าตอง  ที่นั่นมีครูบาอินทจักรรักษาเป็นผู้สอนวิปัสสนาอย่างเคร่งครัด  ที่วัดป่านี้เน้นการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ  จึงเป็นแรงบันดาลให้พระคุณท่าน ทำให้วัดพันตอง  ซึ่งเป็นวัดที่อยู่บนถนนลอยเคราะห์กลางเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดที่คล้ายกับวัดป่า ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยทั่วทั้งบริเวณ

ท่านเจ้าคุณโพธิ์มีผู้ซึ่งมีต้นแบบหรือครูอยู่หลายท่านที่พระคุณท่านเอ่ยถึงด้วยความเคารพ  รวมทั้งท่านพุทธทาสแห่งสวนโมกข์

?หนังสือของท่าน อาตมาอ่านทุกเล่ม..  เห็นว่าที่ท่านว่านั้นเป็นความจริงแท้ อ่านไปแล้ว โอ?ไม่มีใครเท่า?

พระคุณท่านกล่าวถึงท่านพุทธทาสไว้ดังนี้

ท่านเจ้าคุณเจ้าโพธิ์ ปฏิบัติหน้าที่ต่อกิจการพระศาสนาโดยตลอด  ทั้งหน้าที่ประจำและที่ปฏิบัติพิเศษในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม  พระคุณท่านร่วมเป็นคณะธรรมทูตไปประจำวัดไทยในพุทธคยา  เป็นคณะสงฆ์ไทยรุ่นแรกที่รัฐบาลไทยส่งไปอินเดีย  และนอกจากจะดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพันตอง  พระคุณท่านเคยเป็นเจ้าคณะอำเภอพร้าว ซึ่งในสมัยเมื่อ ๓๐?๔๐  ปีก่อนต้องเดินทางไปด้วยความยากลำบาก และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘  ท่านเจ้าคุณโพธิ์เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่  และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนี้มาจนกระทั่ง  มีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายตำแหน่งบริหารคณะสงฆ์  เนื่องจากพระผู้ใหญ่ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด และรองเจ้าคณะจังหวัดอยู่  ชราภาพและปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ เมื่อ ๒?๓ ปีที่ผ่านมานี้เอง

รากฐานที่มั่นคงทางวัฒนธรรมตามความเชื่อล้านนา  ประกอบกับการศึกษาพระธรรมอย่างลึกซึ้งถึงแก่น  ทำให้ท่านเจ้าคุณโพธิ์ยืนหยัดในการดำรงชีวิตพรหมจรรย์ที่เคร่งครัดและเรียบง่าย  ไม่หวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางกระแสบริโภคนิยมที่โหมกระหน่ำ  วัดพันตองยังคงเขียวครึ้มชุมชื่นในขณะที่วัดในเมืองอื่น ๆ  ล้มไม้ใหญ่ถากถางทางให้สิ่งก่อสร้างที่มาในนามของความเจริญ  และถูกหลอกล่อด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ พระคุณท่านแห่งวัดพันตองเป็นอิสระจากอามิสชื่อเสียงฐานันดรทั้งปวง

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙  มีบริษัทหัวใสที่ทำเป็นโครงการวางแผนการท่องเที่ยวในเมืองเชียงใหม่  แล้วนำเสนอโครงการกระเช้าลอยฟ้าขึ้นพระธาตุดอยสุเทพเสียเอง  จะอวดอ้างแสนยานุภาพของเทคโนโลยีว่าเหนือกว่าศรัทธาคนหรืออย่างไรไม่ทราบ  ทางบริษัทมั่นใจในโครงการราวกับว่าจะมอบให้เป็นของขวัญชาวเชียงใหม่  ไล่แจกแผ่นพับสวยหรู ประชาสัมพันธ์กระเช้าลอยฟ้าขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ  ให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัยในเชียงใหม่ทุกคน  โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือข้อมูลที่นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง  เมื่อรวมตัวกันประชุมเพื่อทำการคัดค้าน  มีผู้เสนอแนะให้ไปเรียนปรึกษาพระโพธิรังษี  การประท้วงกระเช้าลอยฟ้า ในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  จึงเริ่มต้นขึ้นอย่างอบอุ่นภายใต้การนำของพระคุณท่านผู้เป็นรองเจ้าคณะจังหวัด  วันที่มีการเดินขบวนต่อต้านกระเช้าลอยฟ้า  ประชาชนชาวเชียงใหม่รวมถึงอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยทั้ง ๓?๔  สถาบันได้รับขวัญและกำลังใจจากการสวดชยันโต  โทรทัศน์หลายช่องแพร่ภาพพระสงฆ์นำโดยท่านเจ้าคุณโพธิ์  สวดนำประชาชนอยู่หน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  ตามด้วยภาพประชาชนเดินถือป้ายประท้วงไปรอบตัวเมือง

ในแวดวงวิชาการเมืองเชียงใหม่  ทุกครั้งที่มีการล่าลายเซ็นคัดค้านโครงการที่ไม่ชอบมาพากล  จะหาคนที่ยอมลงชื่อด้วยได้เพียงไม่กี่สิบคน แม้กระทั่งเรื่องกระเช้าลอยฟ้า  ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวใกล้ใจที่สุดแล้ว แต่ด้วยเครือข่ายของท่านเจ้าคุณโพธิ์รวมทั้งพระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์แห่งวัดหมื่นล้าน  (มรณภาพแล้ว) และพระครูสุเทพแห่งวัดศรีบุญเรือง  รายชื่อของผู้ที่ลงคัดค้านการสร้างกระเช้าลอยฟ้าขึ้นดอยสุเทพในครั้งนั้น  เรียงรายอยู่บนกระดาษหนามัดได้หลายปึก นับได้ ๒๐,๐๐๐ กว่าชื่อ  ซึ่งเมื่อนำไปยื่นให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด (นายชัยยา พูนศิริวงศ์)  เป็นหลักฐานที่ทางราชการไม่อาจปฏิเสธได้

ไม่อาจบันทึกไว้ได้หมดว่า ตลอดปีที่ทำการประท้วง เรื่องกระเช้าลอยฟ้า  มีกิจกรรมอะไรบ้าง แต่จำไว้ว่าท่านเจ้าคุณโพธิ์ทำงานหนัก  ออกหนังสือประชุมคณะสงฆ์ อบรมเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ  คิดโครงการให้ช่างซอพื้นเมืองซอเรื่องการคัดค้านกระเช้าลอยฟ้า  ออกวิทยุกระจายเสียง ให้ชาวบ้านได้ยินกันทั่วถึง ฯลฯ  จนกระทั่งมีคนไปปล่อยข่าวว่า  พระคุณท่านคัดค้านเพราะเป็นเจ้าของธุรกิจรถสองแถวขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ  ที่กลัวเสียผลประโยชน์เมื่อมีกระเช้าลอยฟ้า ในขณะที่มีข่าวว่า  เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพสมัยนั้น  นั่งรถเปอโยต์สีน้ำเงินเข้มที่เจ้าของโครงการกระเช้าลอยฟ้าประเคนให้ น้อยคนนักจะรู้ว่าท่านเจ้าคุณโพธิ์นั้นไม่มีแม้กระทั่งรถประจำวัดเหมือนกับที่วัดอื่น  ๆ มี ถ้าหากไม่มีใครมารับพระคุณท่านจะนั่งรถสามล้อถีบไปไหนต่อไหนเอง

การที่ท่านเจ้าคุณโพธิ์ เป็นพระผู้ใหญ่  ที่นำในการคัดค้านกระเช้าลอยฟ้าในครั้งนั้น  ได้สร้างความไม่พอใจให้กับพระผู้ใหญ่ทางกรุงเทพฯ ซึ่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน  พระคุณท่าน เตรียมตัวออกเดินทางไปให้สอบสวนแล้ว แต่เนื่องจากอาจารย์สุลักษณ์  ศิวรักษ์ ท้วงติงไปทางพระเถระผู้ใหญ่ การสอบสวนจึงต้องระงับไป ที่โครงการกระเช้าลอยฟ้าขึ้นดอยสุเทพ ต้องหยุดชะงักไป  ก็เพราะประเด็นเรื่องของศาสนา ที่ท่านเจ้าคุณโพธิ์ได้ชี้ให้เห็น  และเป็นผู้นำในการสานความเข้าใจ โดยใช้หลักพุทธธรรม

เมื่อโครงการกระเช้าลอยฟ้าไม่ได้รับอนุมัติ  และผู้เสนอโครงการล้มเลิกความตั้งใจไปแล้ว ก็มาถึงยุคเศรษฐกิจฟองสบู่  ที่ทำให้คอนโดมิเนียมผุดขึ้นตามที่ต่าง ๆ อย่างไร้กฎเกณฑ์ ท่านเจ้าพระไม่เห็นด้วย ที่อาคารสูงเหล่านั้น จะอยู่ติดกับวัด  มีคนเรียนท่านว่าจะมีอาคารสูงสร้างติดกับวัดฟ้าฮ่าม  ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง  พระคุณท่านจึงได้นำหนังสือร้องขอให้เจ้าของโครงการ ผู้มีคุณธรรม (คุณบุญเทียม  โชควัฒนา) พิจารณายกเลิกซึ่งก็ได้รับคำยินยอม  เพราะเห็นแก่ความเหมาะสมในพระศาสนา เมื่อมีพระผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย  ประกอบกับการประท้วงอย่างต่อเนื่อง ของคนเชียงใหม่  ในที่สุดก็มีการประกาศกฎกระทรวงขึ้นใช้ ไม่ให้มีการสร้างอาคารสูงติดกับวัด  โรงเรียน และแม่น้ำ อีกต่อไป

พระโพธิรังษีไม่เคยเกรงกลัวอำนาจทางการเมืองใด ๆ  แต่ยึดมั่นในความถูกต้องดีงามเป็นหลัก  เมื่อครั้งมีเหตุการณ์วิกฤตเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕  รัฐบาลอันไม่ชอบธรรมของพลเอกสุจินดา คราประยูร เริ่มคร่าชีวิตประชาชน  ม็อบของชาวเชียงใหม่ที่ยึดประตูท่าแพเป็นที่มั่น  ร่วมทำบุญเพื่อแผ่ส่วนกุศลให้กับผู้ที่เสียชีวิต  และได้ไปนิมนต์พระคุณท่านมาเทศน์ที่ประตูท่าแพ ซึ่งท่านก็เต็มใจมา  แม้ไม่มีรถไปรับ พระคุณท่านนั่งสามล้อถีบมาถึงประตูท่าแพ  เป็นประธานในพิธีอุทิศแผ่ส่วนกุศลพร้อมเทศนาเรื่องความซื่อสัตย์  ซึ่งนับว่ากล้าหาญมากท่ามกลางบรรยากาศแห่งความไม่แน่นอนทางการเมือง  คงไม่มีพระผู้ใหญ่รูปใดในเชียงใหม่  ที่สามารถอยู่เคียงข้างประชาชนได้เหมือนที่พระโพธิรังษีได้กระทำในเวลานั้น  พระคุณท่านเทศนาท่ามกลางป้ายประท้วงรัฐบาล ในสาธารณะโล่งแจ้ง  แห่งความสับสนและเศร้าสลด

วิถีชีวิตของชาวล้านนา  หลังช่วงการพัฒนาที่ยืนอยู่บนฐานทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น  เปลี่ยนแปลงหักเหไปจากที่บรรพบุรุษได้สรรค์สร้างเป็นหนทางดีงามตามที่เรียกว่า  ฮีตฮอย อย่างมาก อีกทั้งลัทธิบริโภคนิยม  ที่โหมกระหน่ำนำพาให้ผู้คนหลงใหลไปกับกระแสการบริโภค อย่างไม่ยั้งคิด  และพลอยเอากระแสแห่งกิเลสนี้เอาไปในวัดด้วย  พระสงฆ์ในล้านนาหลายต่อหลายรูปหลงอยู่ในวงเวียนแห่งลัทธินี้  ทั้งยังมีระบบราชการที่รวมศูนย์เอาอำนาจการตัดสินใจไปไว้ส่วนกลาง  ที่ดึงคณะสงฆ์เข้าไปอยู่ในตำแหน่งและสมณศักดิ์ที่ต้องมีการวิ่งเต้นและแบ่งปัน  ซึ่งทำให้พระสงฆ์ต้องมีผลงานต่าง ๆ เพื่อที่จะได้มาซึ่งยศศักดิ์  พระโพธิรังษีมิใช่พระนักพัฒนาที่มีผลงานการพัฒนาดีเด่นเห็นเป็นโครงการก่อสร้าง  หรือดำเนินโครงการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองและประชาชน เหมือนพระนักพัฒนาหลายรูป  และมิใช่พระนักอนุรักษ์ ที่สร้างผลงานด้านการอนุรักษ์ให้เห็น  เป็นการสะสมของเก่าเข้าไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์  แต่ท่านเป็นแบบอย่างที่หาได้ยากยิ่งในล้านนา  ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

การดำรงชีวิตพรหมจรรย์ที่เคร่งครัด  ที่สืบสานวิถีทางดั้งเดิมของท้องถิ่นของท่านเจ้าคุณโพธิ์  เป็นเหมือนดังการหว่านเมล็ดพันธุ์อันก่อให้เกิดความงอกงาม  บัดนี้มีลูกศิษย์ของท่านเปิดโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา สาขาโพธิธรรมศึกษาขึ้น ณ  วัดป่าแดด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ให้การศึกษาแก่สามเณรตามแบบอย่าง  ที่พระโพธิรังษีได้ตั้งต้นไว้ในวัดพันตอง  ส่วนพระวิมลญาณมุนีซึ่งเคยทำหน้าที่เป็นเลขาของท่านเจ้าคุณโพธิ์นั้น  บัดนี้ดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่  เป็นพระผู้ที่ดำเนินรอยตามท่านอาจารย์ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวเชียงใหม่

นอกจากนี้ท่านยังเป็นที่พึ่งทางใจ  และเป็นที่มาของศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ทั้งในเชียงใหม่และต่างแดน  เช่นคุณขรรค์ชัย บุญปาน แห่งหนังสือพิมพ์มติชนผู้พบว่า  หาพระนับถือได้ยากในยุคปัจจุบัน เกิดศรัทธาในพระคุณท่านอย่างมาก  และรับเป็นผู้อุปัฏฐาก รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเรื่องดูแลรักษาสุขภาพของท่าน  เมื่อครั้งท่านอาพาธ

พระโพธิรังษี เป็นพระผู้ใหญ่ที่อยู่ในตำแหน่งชั้นผู้ปกครอง  ในคณะสงฆ์เชียงใหม่ เพียงรูปเดียว ที่สามารถเชื่อมโยงหลักพุทธธรรม  ให้เข้ากับวิถีปฏิบัติที่รากฐานทางวัฒนธรรมตามความเชื่อของชาวล้านนา  นอกจากนี้ทางด้านการศึกษาของสงฆ์ที่ท่านมีบทบาทโดยตรงในวัดของท่าน  และโดยอ้อมในแนวนโยบาย ท่านสามารถประสานการศึกษา ทั้งระบบที่เป็นสถาบันสงฆ์  กับการศึกษาที่เป็นรูปแบบวิถีดั้งเดิมของชาวล้านนา  โดยคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืน และประการสำคัญที่สุด  พระโพธิรังษี เป็นพระสงฆ์ผู้เป็นตัวแทนของสถาบันสงฆ์ไทย  ที่มิได้ปฏิเสธระบบที่เป็นกระแสหลัก  หากแต่ยังคงรักษาความเป็นตัวของท่านเองในวิถีชีวิตของชาวล้านนา  และกล้าหาญในวิถีแห่งความถูกต้องดีงามไว้  โดยไม่ได้สร้างรอยร้าวให้กับสถาบันสงฆ์แต่อย่างใด  พระโพธิรังษีจำเริญในวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวล้านนาอย่างเคร่งครัดหาที่ติมิได้  และเป็นแบบอย่างแก่พระภิกษุสามเณรและสาธุชนทั้งหลายที่จะเดินตาม  และต้นแบบที่แท้จริงเช่นนี้นับวันจะหาได้ยากในสังคมที่มากด้วยกิเลส และความหลงมัวเมา เท่าที่เป็นอยู่ขณะนี้.


116
สมเด็จเจ้าแตงโม
วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี



 คัดลอกจาก http://www.muangphet.com/herophet.htm#p12

สมเด็จเจ้าแตงโม เดิมชื่อ ทอง เป็นชาวนาหนองหว้า กำพร้าพ่อแม่แต่เล็กอยู่กับพี่สาว พี่สาวใช้ให้ ตำข้าว หาฟืนทุกวัน วันหนึ่งตำข้าวหก พี่สาวคว้าฟืนไล่ตีเลยวิ่งหนีเอาตัวรอด (อายุประมาณ ๙ - ๑๐ ขวบ) แล้วระเหระหนเข้าเมืองเที่ยวตุหรัดตุเหร่เข้าหมู่ไปตามฝูงเด็ก ๆ จนมีเพื่อนเล่นเพื่อนเที่ยวมาก เช่น เด็กบ้าน เด็กวัด เด็กทองนี้ได้เที่ยวอด ๆ อยาก ๆ อาศัยแต่น้ำประทังความหิวไปวันหนึ่ง ๆ ด้วยความอดทน วันหนึ่งลงเล่นน้ำกับเด็กวัดใหญ่ที่ท่าหน้าวัด มีเปลือกแตงโมลอยน้ำมา ๑ ชิ้น ด้วยความหิวจึงคว้าเปลือกแตงโมได้แล้วก็ดำน้ำลงไปเคี้ยวกินแล้วโผล่ขึ้นมา เพื่อเด็กที่เล่นน้ำด้วยกันรู้ว่าเด็กทองกินเปลือกแตงโม ก็พากันเย้ยหยันต่าง ๆ ว่าจะกละกินเปลือกแตงโม จึงได้พากันเรียกว่าเด็กแตงโม ถึงอย่างไรก็ดี เด็กทองก็ไม่แสดงความเก้อเขินขัดแค้นต่อเพื่อเด็กด้วยกัน คงยิ้มแย้มแจ่มใสพูดจาเล่นหัวตามเคย ตั้งแต่วันนั้นมาก็กระจ๋อกระแจ๋กับเด็กวัดใหญ่จนได้เข้าไปเล่นหัวอยู่ในวัดกับเพื่อน ทั้งได้ดูเพื่อนเขาเขียนอ่านกันอยู่เนือง ๆ แล้วก็เลยนอนค้างอยู่กับเพื่อในวัดด้วยกัน วันหนึ่งเป็นพิธีมงคลการ เจ้าเมืองได้นิมนต์สมภารไปสวดมนต์เย็น ครั้นเสร็จแล้วกลับวัด พอตกเวลากลางคืนสมภารจำวัดตอนใกล้รุ่งฝันว่าช้างเผือกตัวหนึ่งได้เข้ามาอยู่ในวัด แล้วขึ้นไปบนหอไตร แทงเอาตู้พระไตรปิฎกล้มลงหมดทั้งหอ ครั้นตื่นจากจำวัดท่านก็นั่งตรองความฝันจึงทราบได้โดยตำราลักษณะสุบินทำนาย พอได้เวลาท่านจะไปฉันที่บ้านเจ้าเมือง ท่านสั่งกับพระเผ้ากุฏิว่า ถ้ามีใครมาหาให้เอาตัวไว้ก่อนรอจนกว่าจะพบท่าน แล้วท่านก็ไปฉัน ครั้นเสร็จแล้วกลับมาวัดถามพระว่ามีใครมาหาหรือเปล่า พระตอบว่าไม่มีใครมาหา ท่านจึงคอยอยู่จนเย็นก็ไม่เห็นมีใครมาจึงไต่ถามพระสามเณรศิษย์ว่าเมื่อคืนมีใครแปลกหน้าเข้ามาบ้างหรือเปล่า เด็กวัดคนหนึ่งเรียนว่า มีเด็กทองเข้ามานอนด้วยคนหนึ่ง ท่านจึงได้ให้ไปตามตัวมา ครั้นเด็กทองมาแล้ว ท่านจึงได้พิจารณาดูรู้ว่าเด็กทองนี้เองที่เข้าสุบิน ท่านจึงไต่ถามเรื่องราวต่าง ๆ จนได้ความตลอดแล้ว จึงชักชวนให้อยู่ในวัดมิให้ระเหระหนไปไหน

ธรรมเนียมวัดแต่โบราณ เมื่อใครพาเด็กให้มาเล่าเรียนแล้ว มักจะปล่อยให้เล่นหัวกันเสีย ให้คุ้นเคย สัก ๒ - ๓ เวลาก่อน จึงจะให้ลงมือเขียนอ่าน พอถึงวันกำหนดท่านจึงเรียกเด็กทองให้เขียนหนังสือ เด็กทองก็เขียนได้ตั้งแต่ ก, ข, ก. กา, ไปจนถึงเกยตลอดจนอ่านหนังสือพระมาลัยได้ ท่านมีความประหลาดใจจึงถามว่าเจ้ารู้มาจากไหน เด็กทองบอกว่ารู้ที่วัดนี้เอง เพราะดูเพื่อนเขาเขียนเขาอ่านจึงจำได้ ท่านสมภารจึงได้ให้บวชเป็นเณรหัดเทศน์ธรรมวัตรและมหาชาติ และเรียนอรรถแปลบาลีด้วย ครั้นเทศกาลเข้าพรรษา เจ้าเมืองให้สมภารเทศน์ ไตรมาส วันหนึ่งท่านสมภารไม่สบาย จึงให้สามเณรแตงโมไปแทน ครั้นสามเณรแตงโมไปถึงเจ้าเมืองเห็นเข้าก็ไม่ศรัทธา จึงบอกว่าเมื่อพ่อเณรมาแล้วก็เทศน์ไปเถิด แล้วกลับเข้าไปในห้องเสีย สามเณรแตงโมก็ขึ้นเทศน์ พอตั้งนะโมแล้วเดินบทจุลนีย์เริ่มทำนองธรรมวัตรสำแดงไป ผู้ทายกทั้งข้างหน้าข้างในได้ฟังเพราะจับใจ ทั้งกระแสเสียงก็แจ่มใส เมื่อเอ่ยถึงพระพุทธคุณมีพระอรหังเป็นต้น เสียงสาธุการและพนมมือแลเป็นฝักถั่วไปทั้งโรงธรรม ท่านเจ้าเมืองฟังอยู่ข้างในถึงกับนั่งอยู่ไม่ได้ จึงต้องกลับมานั่งฟังข้างนอกอย่างเคย และเพิ่มเครื่องกัณฑ์ติดเทียนขึ้นอีก เมื่อเทศน์จบแล้ว โดยความเลื่อมใสเข้าไปประเคนของและซักไซ้ไต่ถามเหตุผลว่าอยู่ที่ไหนแล้วปวารณาเป็นโยมอุปัฏฐาก อาราธนาให้มาแทนสมภารต่อไปว่า ท่านแก่เฒ่าชราอาพาธอย่าให้มาประดักประเดิดเลย ขอให้พ่อเณรมาเทศน์แทนท่านเถิด ต่อนั้นไปสามเณรแตงโมก็มาเทศน์แทนเสมอ สามเณรแตงโมนี้ได้เล่าเรียนศึกษายังอาจารย์ที่มีอยู่ในอารามต่าง ๆ ในเมืองเพชรบุรี การศึกษาเช่นทางพระปริยัติธรรมและข้อกิจวัตรปฏิบัติจนสิ้นความรู้ของท่านสมภารในสมัยนั้น ท่านสมภารจึงได้พาตัวสามเณรแตงโมเข้ากรุงศรีอยุธยา ไปฝากไว้ต่อคุณวัดหลวงแห่งหนึ่งได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนจบพระไตรปิฎก นับได้ว่าเป็นเปรียญแล้ว ได้อุปสมทบเป็นพระภิกษุที่มีชื่อเสียงโด่งดัง จนเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดันนับถือ โปรดให้เป็นอาจารย์สอนหนังสือพระราชบุตร พระราชนัดนา ให้เสด็จมาเล่าเรียนพระพุทธศาสนา ปฏิบัติในคัมภีร์พระไตรย์เภธางค์สาตร์ นัยว่ากาลภายหลังมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นได้เสด็จเสวยราชย์แล้ว โปรดตั้งพระอาจารย์แตงโมเป็นพระราชาคณะที่พระสุวรรณมุนี ซึ่งปรากฏในฝูงชนภายหลังเรียกกันว่า สมเด็จเจ้าแตงโม เมื่อท่านได้มั่งคั่งด้วยสมณศักดิ์ฐานันดรแล้ว ภายหลังต่อมาท่านคิดถึงภูมิลำเนาบ้านเกิดเดิม และวัดอันเป็นสถานมูลศึกษาของท่าน จึงได้ถวายพระพรลาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินว่า จะออกไปปฏิสังขรณ์พระอารามที่เคยอยู่พำนักอาศัยเป็นการบำเพ็ญพุทธบูชา ก็ทรงอนุญาตอนุโมทนาแล้วถวายท้องพระโรงในพระราชวังองค์หนึ่งเป็นการช่วย เจ้าคุณอาจารย์ท่านได้นำมาประดิษฐานเป็นศาลาการเปรียญไว้ในวัดใหญ่นั้น ตัวไม้และเสาไม้ใหญ่งามมาก ลวดลายที่เขียนและลายสลักก็เป็นฝีมือโบราณ บานประตูศาลาการเปรียญสลักงามเป็นลายก้านขดปิดทองอย่างวิจิตร

สมเด็จเจ้าแตงโม ได้ให้ช่างหล่อรูปท่านไว้รูปหนึ่ง แต่พระยาดำรงราชานุภาพว่า "ของสำคัญอีกอย่างหนึ่งนั้น คือรูปพระสงฆ์หล่อเท่าตัวคนนั่งพับเพียบพนมมือ ฝีมือที่ปั้นและหล่อเหมือนคน ดีกว่ารูปของท่านขรัวโตหรือรูปสมเด็จพระราชาคณะที่ได้เคยเห็นในที่อื่น ๆ รูปนั้นเขาเรียกกันว่ารูปสมเด็จเจ้าแตงโม คือท่านผู้ที่สร้างวัดใหญ่นี้?รฤกถึงชาติภูมิจึงออกมาสร้างวัดที่เมืองเพชรบุรี ๒ วัด คือ วัดหนองหว้าวัด ๑ และวัดใหญ่นี้วัด ๑ ทำเท่ากันเหมือนกัน แลยังปรากฏอยู่ด้วยกัน จนตราบเท่าทุกวันนี้ทั้ง ๒ วัด วัดใหญ่นั้นมีนามใหม่เรียกว่า วัดสุวรรณาราม ตามชื่อของสมเด็จสังฆราชองค์นั้น และราษฎรพากันนับถือจึงให้ช่างจีปั้นรูปหล่อสังฆราชทองในเวลาท่านออกมาเมืองเพชรบุรี แล้วหล่อไว้สักการบูชาตราบเท่าจนกาลบัดนี้ รูปสมเด็จเจ้าแตงโมนี้มีเวลาเอาออกแห่งเป็นครั้งคราว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับสมณศักดิ์ของสมเด็จเจ้าแตงโมไว้ในพระราชหัตถเลขาเมื่อเสด็จประพาสมณฑลราชบุรีใน ร.ศ. ๑๒๘ ฉบับที่ ๕ ว่า

"?มีรูปเจ้าอาวาสเดิมซึ่งว่าเป็นผู้ปฏิสังขรณ์นั่งประนมมือถือดอกบัวตูมอยู่รูปหนึ่ง ทำด้วยความตั้งใจจะให้เหมือนฝีมือดีพอใช้

?ตั้งหน้าเรียนพระปริยัติธรรมจนได้เป็นพระราชาคณะ แล้วจึงกลับออกมาปฏิสังขรณ์วัดนี้ บางปากกล่าวว่าภายหลังได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นที่น่าสงสัยอยู่บ้างว่ากลัวจะหลงที่สังฆราช ด้วยตำแหน่งพระครูเมืองเพชรบุรี ๕ อย่างเดียวกันกับเมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา เมืองพัทลุง แต่ตามหนังสือเก่า ๆ เขานับว่าเป็นพระราชาคณะทั้งนั้น ชะรอยครู ๕ องค์นี้จะเป็นพระสังฆราชาองค์หนึ่ง เช่น พระพากุลเถรเป็นพระสังฆราชาเมืองสวางคบุรี เพชรบุรีนี้ในเวลานั้นน่าที่พระครูสุวรรณมุนีเป็นสังฆราชา ท่านสมเด็จเจ้าแตงโมนี้จะเป็นพระครูสุวรรณมุนีเสียดอกกระมัง จึงได้ชื่อวัดเพิ่มขึ้นว่า วัดใหญ่สุวรรณาราม ทุกวันนี้พระครูสุวรรณมุนีก็ยังเป็นเจ้าคณะอยู่"

พระยาปริยัติธรรมธาดาได้เขียนบันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ เกี่ยวกับสมเด็จเจ้าแตงโมว่า

 "?ท่านให้หล่อรูปท่านไว้รูปหนึ่ง เรื่องหล่อรูปนี้เล่าว่าช่างปั้นหุ่นแสนยากทำไม่เหมือนได้เลย มาได้ตาแป๊ะหลังโกงคนหนึ่งเป็นช่างปั้นอย่างเอก หล่อเอาเหมือนมิได้เพี้ยนผิด ท่านจึงให้หล่อรูปตาแป๊ะไว้เป็นที่ระลึกด้วย รูปหล่อนั้นนั่งพับเพียบประนมมือถือดอกบัว ๆ นั้นถ้าเป็นของเดิมคงแปลว่านั่งทำพุทธบูชาเวลาไหว้พระ ลักษณะรูปทรงสัณฐานของท่านเป็นสันทัดคนทรงสูง ๆ ปากแหลมอย่างเรียกว่าปากครุฑ ถ้าใครเคยเห็นสมเด็จพระวันรัตแดงวัดสุทัศน์ อาจกล่าวว่ามีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกันได้ ในโบสถ์วัดใหญ่นั้นยังมีของเป็นพยานสำคัญอยู่อีกสิ่งหนึ่ง คือฝาบาตรมุกซึ่งเจ้าอธิการวัดได้รักษาต่อ ๆ กันมาใส่ตู้กระจกโดยความเคารพนับถือ จารึกชื่อไว้ว่าฝาบาตรของสังฆราชทอง?เมื่อครั้งปฏิสังขรณ์วัดใหญ่นั้น เล่าว่าท่านได้ปฏิสังขรณ์วัดหนองหว้าซึ่งเป็นวัดอยู่ในตำบลชาติภูมิของท่านด้วย บานประตูวัดหนองหว้านั้นก็สลักเสลาลวดลายวิจิตรบรรจง จนบางคนมาเห็นบานประตูวัดสุทัศน์ลายสลักเครือไม้นกเนื้อสลับซับซ้อนกันหลายชั้น ที่วัดใหญ่เป็นลายสลักชั้นเดียว ถึงวัดหนองหว้าก็คงเป็นชั้นเดียว บานประตูวัดสุทัศน์ หนังสือพระราชวิจารณ์กล่าวชัดเจนเสียแล้วว่าเป็นของรัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างซึ่งคนทั้งหลายเคยพิศวงว่าเอามาแต่ที่โน่นที่นี่นั้นผิดหมด

พระราชพงศาวดาร แผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

"?จึงเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคสถลมารค ขึ้นไปนมัสการพระพุทะบาทตามอย่างพระราชประเพณีมาแต่ก่อน แล้วทรงพระกรุณาให้ช่างพนักงานจัดการยกเครื่องบนพระมณฑปพระพุทธบาทขณะนั้น สมเด็จพระสังฆราช ตามเสด็จขึ้นไปช่วยเป็นแม่งานด้วย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระทัยปราโมทย์ยิ่งนัก จึงทรงพระกรุณามอบการทั้งปวงถวายให้สมเด็จพระสังฆราชเป็นแม่งาน แล้วก็เสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร?"

และต่อมาเมื่อครั้งนั้นหลังคาพระมณฑปเป็นหลังคาเหมือนวัดพนัญเชิง อยู่มาสมเด็จเจ้าแตงโม จึงถวายพระพรแก่สมเด็จพระบรมกระษัตราธิราชเจ้าว่าจะล้างหลังคาลงเสียจะทำยอดพระมณฑปขึ้นไว้ สมเด็จพระบรมกระษัตราธิราชเจ้าจึงโปรดให้ขึ้นมาดูแล แต่โบราณมามีต้นไม้ต้น ๑ ใหญ่ประมาณ ๓ อ้อม มีดอกเท่าฝาบาตร ครั้นเพลาเช้าเพลาเย็นบาน กลางวันตูม เมื่อจะบานนั้นหันหน้าดอกเข้าไปข้างพระมณฑปทุกเพลา มีสัณฐานดอกนั้นเหมือนดอกทานตะวัน ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าแตงโมทำมณฑปขึ้นไป ว่าต้นไม้นั้นกีดทรงพระมณฑปอยู่ จึงฟันต้นไม้นั้นเสีย แต่วันนั้นไป ท่านสมเด็จพระเจ้าแตงโมก็ตั้งแต่ลงโลหิตไปจนเท่าวันตาย

สมเด็จเจ้าแตงโมถึงแก่มรณภาพปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ชีวประวัติและผลงานของท่านในจังหวัดเพชรบุรีที่วัดใหญ่สุวรรณารามและวัดหนองหว้า รู้จักกันแพร่หลายมาแต่โบราณ (ปรากฏในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ ๕ และของบุคคลอื่น ๆ) จนถึงปัจจุบัน นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นที่เชิดชูชื่อเสียงของวัดใหญ่สุวรรณารามและจังหวัดเพชรบุรีอีกทางหนึ่งด้วย

"มีเจ้านาย ข้าราชการ พ่อค้า ชาวต่างประเทศ เมื่อไปเที่ยวเมืองเพชรบุรี ได้ไปชมศาลาการเปรียญ และรูปสมเด็จเจ้าแตงโมมิได้ขาด"  ปัจจุบันมีเจ้านาย ข้าราชการ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา นักเรียน ตลอดจนประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ไปชมโบราณวัตถุโบราณสถานที่วัดใหญ่สุวรรณารามมิได้ขาดเช่นกัน 


117
ประวัติพระเขมธัมโม

วัดป่าสันติธรรม ประเทศอังกฤษ



 ธรรมลีลา ปีที่ 3 ฉบับที่ 33 สิงหาคม 2003

รายงานพิเศษ : ศิษย์หลวงพ่อชา ?พระเขมธัมโม? เผยแพร่ธรรมในเรือนจำ จนได้รับเครื่องราชฯอังกฤษ

โดย ธรรมสิกขา

เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชินี อลิซาเบ็ธที่ 2 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.ที่ ผ่านมา ?พระเขมธัมโม? เจ้าอาวาสวัดป่าสันติธรรม ที่ประเทศอังกฤษ ได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติแห่งจักรวรรดิอังกฤษ จากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 2 เนื่อง จากเป็นพระภิกษุที่ได้ทำคุณประโยชน์ ด้านการสอนพระพุทธศาสนา และปฏิบัติธรรมให้แก่นักโทษ ในสหราชอาณาจักรเป็นระยะเวลากว่า 26 ปี นับเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนารูปแรกที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

พระเขมธัมโม เป็นชาวอังกฤษโดย กำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2487 ท่านได้ใช้ชีวิตทางโลกอยู่หลายปี และได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยตนเอง จนกระทั่งเกิดความรู้สึกสนใจ มากยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี 2514 ท่านจึงได้ออกเดินทางเพื่อแสวงบุญไปยังดินแดนที่พุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองหลายแห่ง อาทิ อิหร่าน ปากีสถาน อาฟกานิสถาน และอินเดีย ท่านได้เดินทางไปสักการะสังเวชนียสถานในอินเดีย ก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่ประเทศ ไทย และในเดือนธันวาคม ปี 2514 นี้เองที่ท่านได้ตัดสินใจเข้าบรรพชาเป็น สามเณร ที่วัดมหาธาตุ กทม อยู่วัดมหาธาตุได้เพียง 1 เดือน จึงเดินทางไปศึกษาธรรมยังวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งมี พระโพธิญาณเถร หรือหลวงพ่อชา สุภัทโท ที่ได้ชื่อว่าเป็นพระสายปฏิบัติรูปสำคัญรูปหนึ่ง เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในเวลานั้น ต่อมาปี 2515 ก่อนวันวิสาขบูชาเพียงไม่กี่วัน ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยมีหลวงพ่อชาเป็นพระอุปัชฌาย์

ตลอดเวลา 5 ปีที่พระเขมธัมโมอยู่ ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อชานั้น พระเขมธัมโมให้ความเคารพรักและศรัทธาในคำสอนและวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อชามาก ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี 2520 ท่านจึงได้นิมนต์ หลวงพ่อชาไปกับท่านด้วย ครั้นหลวงพ่อชากลับเมืองไทยแล้ว ไม่นานนักพระเขมธัมโม ก็ได้ก่อตั้งวัดเล็กๆขึ้นแห่งหนึ่งที่เกาะไวท์ ในรูปแบบวัดป่าที่สงบ เรียบง่าย ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า ?วัดป่าสันติธรรม? ซึ่งเป็นสาขาที่ 158 ของวัดหนองป่าพง ดำเนินการเผยแผ่ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่อยมา จนกระทั่งปี 2527 ได้รับนิมนต์จากกลุ่มชาวพุทธผู้สนใจในการปฏิบัติวิปัสสนาให้ไปถ่ายทอดความรู้อยู่หลายเดือน และได้ย้ายไปจำพรรษาที่แบนเนอร์ฮิลล์ ใกล้เมืองเคนิเวอร์ธ ที่นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งสมาคมพุทธธรรมขึ้น และในปี 2530 สมาคมพุทธธรรมก็ได้รวบรวมเงินจากการบริจาคไปซื้อกระท่อมไม้ในชนบท ซึ่งอยู่ใกล้ๆวัดป่าสันติธรรม เพื่อเป็นที่พักรับรองพระอาคันตุกะ และผู้สนใจที่เดินทางมาปฏิบัติธรรมกันเป็นจำนวนมาก

ส่วนภารกิจที่สร้างชื่อเสียงให้กับพระเขมธัมโมก็คือ การจัดตั้งองค์กรที่ชื่อว่า?องคุลิมาล? ขึ้น มีสำนักงานอยู่ที่วัดป่าสันติธรรม มีวัตถุ ประสงค์เพื่อเข้าไปให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการฝึกหัดปฏิบัติธรรมแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ ซึ่งในเริ่มแรก พระเขมธัมโมประสบปัญหามาก เนื่องจากทุกเรือนจำต่างปฏิเสธที่จะให้เข้าไปสอน เพราะเห็นว่าไม่น่าจะมีประโยชน์และคงไม่สามารถจะช่วยเหลืออะไรผู้ต้องขังได้ อีกอย่างหนึ่งคือ ที่ผ่านมาไม่เคยมีพระรูปใดเข้าไปสอนในเรือนจำเลย

พระเขมธัมโมได้เพียรพยายามขอร้องชี้แจงถึงเหตุผลว่าการปฏิบัติธรรมนั้นจะช่วยลดปัญหาทางด้านจิตใจของผู้ต้องขังได้มาก อันจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ต้องขังเอง รวมทั้งเรือนจำที่จะไม่ต้องมาคอยตามแก้ปัญหาที่เกิดจากสภาพความกดดันทางจิตใจของผู้ต้องหา พระเขมธัมโมได้พยายามต่อรองกับเรือนจำขอทดลองสอนกัมมัฏฐาน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ให้กับผู้ต้องหา 34 คน ซึ่งในที่สุดก็มีเรือนจำ แห่งหนึ่งตกลงที่จะให้ท่านเข้าไปทดลองสอนดู ปรากฏผลว่า ผู้ต้องหามีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นมาก ดังนั้น ทางเรือนจำจึงเปิดโอกาสให้ท่านได้เข้าไปสอนอย่างเต็มที่ รวมทั้งเรือนจำแห่งอื่นๆที่ทราบข่าวต่างก็นิมนต์ให้ท่านไปสอนด้วยเช่นกัน จนปัจจุบัน มีเรือนจำถึง 2 ใน 3 ของเรือนจำทั้งหมด ในประเทศอังกฤษ ซึ่งท่านได้เข้าไปสอน และมีทีมงานอาสาสมัครทั้งพระและฆราวาสประมาณ 40 คนช่วยกันอีกแรงหนึ่ง องค์กรนี้มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้คือ

1  แนะนำและจัดหาทีมงานเข้าไปช่วยเหลือทันทีที่ได้รับการติดต่อ

2  ให้คำปรึกษาในปัญหาต่างๆอย่างชัดเจน และประสานกับเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่เป็นอนุสาวนาจารย์ รวมทั้งกับอนุสาวนาจารย์ในเรือนจำ

3  ให้คำแนะนำปรึกษากับผู้ต้องขังหลังได้รับการปลดปล่อย เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจ

การปฏิบัติตนตามธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดในแบบพระป่า รวมถึงวัตรปฏิบัติอันงดงาม ทำให้พระเขมธัมโม เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนเป็นอย่างมาก จนทำให้วัดป่าสันติธรรมเติบโตขยายตัวมากขึ้น

ปัจจุบันพระเขมธัมโม อายุ 59 ปี พรรษา 32 ท่านยังคงให้การอบรมบ่มธรรมและฝึกฝนปฏิบัติสมาธิภาวนาให้กับสาธุชนผู้สนใจ ทางธรรม ทุกวันจันทร์ และวันศุกร์ ในช่วงเย็น และใน พรรษานี้มีภิกษุ 3 รูป สามเณร 3 รูป และแม่ชี 3 รูป จำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าสันติธรรมแห่งนี้


118
เบี้ยแก้




            " เบี้ยแก้ "เป็นวัตถุมงคลชนิดหนึ่งที่มีมานานแล้ว   ถือว่ากันว่าเป็นวัตถุมงคลที่มีค่ามากมายมหาศาล    เพราะมี
พุทธคุณ  สรรพคุณ  หลายด้าน  เช่น

   ด้านคงกระพัน
   สามารถป้องกันศาสตราวุธได้มากมายหลายชนิด  เช่น มีด  ไม้  ของแหลม  แต่สมัยก่อนนั้นยังไม่มีปืน  ซึ่งภายหลัง 
หลังจากที่มีอาวุธปืนใช้แล้ว  มีผู้ทดลองไปใช้  ปรากฏว่าสามารถป้องกันอาวุธปืนได้  แต่ต้องไม่อยู่ในระยะประชิด  หรือไม่ใช่
ระยะ "เผาขน"
   
   ด้านแคล้วคลาด
   แบ่งเป็นเรื่องของการแคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นอุบัตเหตุ  หรือเรื่องของการถูกทำร้าย  แคล้วคลาด
จากสิ่งที่ชั่วร้ายต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิญญาณ  เรื่องของคุณไสย  ภูติผีปีศาจ
   ผู้ที่มี " เบี้ยแก้ "   จะไม่มีทางตายโหงด้วยอุบัติเหตุ
   ผู้ที่มี " เบี้ยแก้ "   จะไม่ถูกผี  ปีศาจ  หรือวิญญาณชั่วร้ายหลอกหลอน
   ผู้ที่มี " เบี้ยแก้ "   จะไม่ถูกคุณไสย  หรือพลังงานที่ชั่วร้ายทำร้าย  อย่างแน่นอน
   ผู้ที่มี " เบี้ยแก้ "   จะปลอดภภัยจากอันตรายทุกอย่างทุกประการ
   
   ด้านร้ายกลับเป็นดี
   ผู้ที่มี " เบี้ยแก้ " ไว้บูชา  ไม่ว่าจะเป็นของครูบาอาจารย์ท่านใดก็ตาม  จะมีคุณสมบัติในเรื่องช่วยให้เรื่องร้ายๆ  หรือ
เรื่องที่ไม่ดีต่างๆ  ให้กลับกลายเป็นเรื่องที่ดี  อย่างไม่น่าเชื่อ  ซึ่งเป็นจุดสำคัญของคำว่า " เบี้ยแก้ "  ที่มีความหมายว่า  แก้ในสิ่ง
ที่ไม่ดี  ให้กลับเป็นดีขึ้นได้

   ด้านการ "บรรเทาโรคต่างๆ"
   ผู้ที่เป็นโรคต่างๆ  ทั้งที่ร้ายแรงและไม่ร้ายแรง  " เบี้ยแก้ "  สามารถ "บรรเทา" ให้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง  ซึ่งหลายคน
ก็พอใจในอาการที่ดีขึ้น
   แต่ต้องเรียนชี้แจงว่า  เรื่องนี้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล  ซึ่งหมายความว่าทุกคนอาจจะได้รับผลจาก " เบี้ยแก้ " ไม่
เหมือนกัน  บางคนอาการดีขึ้น  บางคนก็หาย  หรือบางทีก็ไม่หายเลย
   แต่ที่แน่ๆ  จะดีขึ้นกว่าเก่าแน่นอน....แต่จะดีขึ้นมากหรือน้อยนั้น  ขึ้นอยู่กับปัจจัย  และองค์ประกอบหลายอย่าง
   จึงขอแนะนำว่า  ผู้ที่จะนำ " เบี้ยแก้ " ไปใช้ในเรื่องของการบรรเทาโรคภัยได้เจ็บนั้น  ขอให้เป็นผู้ที่หมดหนทางการ
รักษา  โรคที่ฉุกเฉิน  หรือรักษาที่ไหนไม่หาย  เป็นโรคเริ้อรังที่ทรมาน  หรือหมดโอกาสในทางแพทย์แผนปัจจุบันแล้วเท่านั้น
   เบี้ยแก้ ไม่ใช่แร่วิเศษ  ที่สามารถจะช่วยให้ท่านหายได้  ตามใจ....ที่ปรารถนา
   ขอเน้นว่า......หากเป็นโรคภัยไข้เจ็บแล้ว  ท่านควรไปหาแพทย์แผนปัจจุบันก่อน  เพราะแผนปัจจุบันนั้นมีเครื่องมือ
อุปกรณ์  และยาที่ทันสมัยมากกว่า  มีการตรวจหาสาเหตุ  และวิเคราะห์โรคด้วย
   แต่ถ้าทางแผนปัจจุบันไม่รับ  หรือหมดหนทางที่จะเยียวยา  หรือหมดโอกาสแล้ว  ลองใช้ " เบี้ยแก้ " ดู  ก็ไม่น่าจะ
เป็นเรื่องที่เสียหาย  เพราะถ้าเป็นขนาดนี้แล้ว  รักษาก็ตาย  ไม่รักษาก็ (อาจ) ตาย  จึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่น่าลอง ใช่หรือไม่ ?
   โรคภัยไข้เจ็บที่ "แร่ปรอท" สามารถช่วยได้มีมากมาย  หากโรคนั้นไม่เกี่ยวกับ "กรรม" ที่เคยทำไว้ในอดีต  แต่การที่จะ
ดีขึ้นนั้น  ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  ดังนี้
   1. ระยะเวลาที่เป็นโรค  ต้องดูด้วยว่าโรคที่เป็นนั้น  เป็นมานานแค่ไหน ?  ถ้าเป็นมานาน  จะใช้แร่ปรอทรักษาให้หาย
หรือให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็วทันใจคงไม่ได้  ต้องใข้เวลารักษาพอสมควรกกับโรคที่เป็น
   2. อาการของโรค  ถ้าเป็นโรคที่มีอาการหนักมาก  หรือบริเวณที่เป็นค่อนข้างมาก  จะให้หายหรือดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทันใจก็คงไม่ได้เช่นกัน  ต้องใจเย็นๆ  จะบรรเทาขึ้นทีละน้อยๆ จนเป็นที่พอใจ
   3. ความสมดุลย์ของแร่กับโรค   ถ้าเป็นโรคที่มีอาการหนักมาก   หรือบริเวณที่เป็นค่อนข้างมาก   เช่น  อัมพฤกษ์
อัมพาตทั้งซีก ฯลฯ  จะใช้แร่แค่ชิ้นเล็กๆ คงไม่ได้ผลมาก  ต้องใช้จำนวนเนื้อแร่ให้มากตามไปด้วย


119
ท่านสาธุชน พุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้เป็นวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๓ เป็นอันว่า ในระหว่างนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท คงจะทราบว่าตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อ่าวเปอร์เซีย กำลังจะเกิดสงครามจากอิรักกับหลายประเทศร่วมกัน คือ อิรัก ฝ่ายหนึ่ง กับหลายประเทศฝ่ายหนึ่ง ถ้าจะเปรียบเทียบกัน คล้ายๆ กับสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือ เยอรมัน กับอิตาลี ญี่ปุ่นฝ่าย หนึ่ง อเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส อีกหลายประเทศร่วมกัน แต่ทว่าสงครามนี้จะเกิดหรือไม่เกิด อันนี้ก็ทราบไม่ได้เหมือนกัน เพราะว่า ต่างคนต่างก็ตั้งท่า ต่างคนต่างก็เตรียมพร้อม ที่จะลงมือซึ่งกันและกันและคำพยากรณ์ ก็จะไม่พยากรณ์ว่าจะ มีสงครามหรือไม่ แต่ทว่ามีหนังสือเล่มหนึ่ง เขาให้ชื่อว่า นอสตราดามุส เขาพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า ถึง ๒,๐๐๐ ปีโดยเฉพาะ อย่างยิ่งปีนี้ ค.ศ.๑๙๙๐ จะเป็นปีเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๓ แล้วสงครามโลกครั้งที่ ๓ นี่จะเป็นสงครามที่มีความร้ายแรงมาก แต่ความจริง หนังสือนี่อาตมาก็ไม่ได้อ่าน เขาให้มาเหมือนกัน อ่านผ่านไปนิดเดียว แล้วก็เขาบอกว่าประเทศอเมริกา อาจจะถูกระเบิดนิวเคลียร์ แล้วก็จะมีเหตุการณ์ร้ายต่างๆ เกิดขึ้น

        รวมความแล้ว เป็นสงครามทำลายศาสนา ในระหว่างศาสนากับศาสนาคือ ศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม เขาว่าอย่างนั้นนะ ตามที่หนังสือว่า หรือ ตามที่คนบอก อาตมาก็ไม่ได้อ่านชัด ทีนี้เรื่องของดามุส ดามุสเขาพูดไว้ จะแน่นอนขนาดไหน ก็เป็นเรื่องของเขา สำหรับพวกเราบรรดาท่านพุทธบริษัท ในฐานะที่เป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส เป็นลูกของพระพุทธเจ้าเราก็มา ดูคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าบ้าง

        พระพุทธเจ้า ทรงพยากรณ์ไว้กับ พระอานนท์ว่า อานันทะดูกรอานนท์ ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง จะมีการรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ฝนเหล็กจะตกลงจากอากาศ จะเผาผลาญประชาชน และบุคคลให้พินาศจะมีการล้มตายซึ่งกันและกันเป็นอันมาก  แต่ว่า อานันทะ ดูกรอานนท์ ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะถือว่าเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงนักยังหาไม่ได้

        ทั้งนี้ ก็เพราะว่า หลังกึ่งพุทธกาลไปแล้ว อานันทะ ดูกรอานนท์ จะมีความร้ายแรงมากกว่าก่อนกึ่งพุทธกาลมาก ยักษ์นอกศาสนาจะรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ยักษ์นอกพุทธศาสนานั่นหมายถึง คนที่ไม่ได้เคารพพระพุทธศาสนา จะรบราฆ่าฟัน ซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายจะล้มตาย ฝ่ายละมากๆ สมณะ ชี พราหมณ์จะล้มตาย จะตายไปฝ่ายละครึ่ง จึงจะเลิกรากัน สำหรับประเทศที่นับถือพุทธศาสนาจะมีภัยเหมือนกัน แต่ไม่ร้ายแรงนัก นี่เป็นคำพยากรณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

        เป็นอันว่า ท่านดามุสคนนี้ ก็พยากรณ์ไว้ตรง แต่เขาบอกว่า ค.ศ.๒๐๐๐ โลกจะสลาย แต่ว่าพระพุทธเจ้าของเราบอกว่า โลก ยังไม่สลาย พระพุทธศาสนา จะทรงอยู่ได้ ตลอด ๕,๐๐๐ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรงพยากรณ์ ไว้ที่ พระธาตุดอยกิตติ ครั้งหนึ่งทรงตรัสว่า

        "ชี้ว่าเขตประเทศนี้ ต่อไปจะเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก จะสามารถทรงพระพุทธศาสนาครบ ๕,๐๐๐ ปี" นี่หมาย ถึงประเทศไทย

        เป็นอันว่า สงครามจะเกิดขึ้นที่ดามุสบอก ก็หมายถึงสงครามซีกตะวันตก หมายถึงอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ กับตะวันออกกลาง สงครามจริงๆ ยังคงไม่ถึงประเทศไทย

        ทีนี้เรามาย้อนรอยถอยหลังกันก่อนว่า ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติตรัสรู้ว่า ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะมี การรบราฆ่าฟัน ซึ่งกันและกัน ฝนเหล็กจะตกลงจากอากาศ ไฟจะลุกจากอากาศ ก็เป็นความจริง ในขณะนั้นปรากฏว่า ลูกปืนกลจากอากาศบ้าง ลูกระเบิดจากอากาศบ้าง ลูกระเบิดเพลิงบ้าง ทิ้งจากอากาศ ประเทศไทยเรา ก็พลอยยับเยิน ไม่น้อยเหมือนกัน เล่นเอาตู้รถไฟ ต้องไปขี่กัน ที่บางกอกน้อย ทั้งๆ ที่ตู้มันหนัก แต่แรงของระเบิด ดันตู้รถไฟจนไปขี่กัน ตึกบ้านเรือนโรงลำบากมาก

        แต่ว่าสงครามนั้น เป็นเหตุบันดาลอย่างหนึ่ง นั่นคือว่า สร้างความทุกข์ บรรดาท่านพุทธบริษัท คำว่า สงคราม นี่ อาตมา ผู้พูดเอง ก็ยังรู้สึกหวาดเสียวอยู่ เพราะว่า เคยอยู่ในระหว่างสงคราม ขณะนั้นอยู่กรุงเทพฯ แสงไฟฟ้าก็ใช้อะไรไม่ได้ ต้องใช้ตะเกียง ตะเกียงน้ำมันก๊าดไม่มีจะใช้ น้ำมันโซล่าก็หาไม่ได้ ต้องใช้น้ำมันหมู หรือน้ำมันมะพร้าวมาทำตะเกียง ของทุก อย่าง ของกินของใช้ต้องปันส่วน เพราะหาไม่ได้ จะได้ก็ของจากญี่ปุ่น เวลานั้นของเรามีน้อย เวลานี้โรงงานมีมาก แต่ก็ไม่ แน่นัก เพราะระเบิดจากอากาศก็ดีจรวดก็ดี หรือว่าระเบิดจากภาคพื้นดินก็ดี อาจจะเกิดกับโรงงานต่างๆ ในประเทศไทยได้ ถ้าสงครามเขา เกิดขึ้น

        หากว่าท่านจะถามว่า ทำไมสงครามเกิดขึ้นที่ตะวันออกกลางแล้วจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทย ทำไมไทยจึงต้องหวาด ระแวง ความจริงไม่ได้พูดให้ระแวง พูดให้ทราบ ตามความจริง หรือ ตามความรู้สึก นึกคิด ถ้าเรื่องนี้ผิด ก็ต้องขออภัยด้วย เพราะว่าเป็นการคาดคะเน มากกว่าอย่างอื่น คิดว่าถ้าสงครามเกิดขึ้น ระหว่างสงครามศาสนา ก็จงอย่าลืมว่า ศาสนาที่อยู่ ระหว่างสงคราม ก็มีอยู่ในประเทศไทยทั้ง ๒ ศาสนา ถ้าเขารบกัน แต่เพียงภายนอกก็ดี แต่บังเอิญ คนที่นับถือศาสนานั้นๆ ทั้ง ๒ ศาสนาเกิดทะเลาะ วิวาท รบราฆ่าฟันกันในเขตของเรา เขตของเราก็ต้องยับเยิบไป เหมือนกับสนามหญ้ากับสุนัข ๒ ฝ่ายกัดกัน สนามหญ้าก็แหลก ถ้าบังเอิญเขารบกัน ก็ไม่เป็นไร ดีไม่ดีเขาจะชวนเรารบ เราจะรบหรือไม่รบ เขาก็จะรบหรือ ว่าเราไม่รบ เขาก็ไม่รบ แต่เขายึด เรายอมให้เขายึดไหม ในส่วนต่างๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศไทย

        สำหรับความนึกคิด ในเวลานี้ ไม่ใช่หมอดูนะ ไม่ใช่พยากรณ์ ตามหลักวิทยาศาสตร์ หรือหลักอะไรทั้งหมด เป็นแต่การคาดคะเนว่า เหตุการณ์จะต้องเกิดขึ้น อาการต่าง ๆ ที่ปรากฏในปัจจุบันจะฟูขึ้น เพราะรับการสนับสนุนเรื่องการเงิน กำลังอาวุธจากที่อื่น จากนั้นเหล่าทหารตำรวจของเรา ก็ต้องเคลื่อนกำลังเข้าไปรักษาเขต ทีนี้เขตต่อเขต เขตยันเขต เขตที่เขาก่อขึ้นเป็นเขตในประเทศไทย และเขตต่อไปข้างหน้า ก็เป็นเขตที่เขาพวกเดียวกัน อะไรมันจะเกิดขึ้นบ้าง ลองวาดภาพกันดู ถ้ามันเกิดจริงๆ ตามเขาว่านะ อันนี้ไม่ได้รับรองว่า มันจะเกิดจริงหรือไม่

        ถ้าเกิดจริงส่วนประเทศไทย ทุกจุดทุกภาค ก็มีบุคคลที่ถือ ศาสนาตรงกันข้าม กับพระพุทธศาสนา ก็มีกำลังสูงขึ้น ที่เขาโต้กันที่เชียงใหม่ อภิปรายก่อนหน้าที่จะพูดนี้ไม่ถึงเดือน เขาโต้กันถึงหลักสูตรการศึกษาว่า

        หลักสูตรพระพุทธศาสนา ถูกลดลงไป หลักสูตรศาสนาอื่น เข้ามาแทน อย่างนี้ก็ต้องมีอาการ น่าคิดว่า เขาวางแผนล่วงหน้าไว้ไกลมาก หรือว่าเป็นการวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อน โดยเฉพาะระยะใกล้ก็ได้

        ก็เป็นอันว่า ในเมื่อสงครามใหญ่เกิดขึ้น ทางด้านตะวันออกกลาง ทีนี้ เศษสงครามมันก็อาจจะเข้ามาถึงประเทศไทย ต่อไปก็เป็นการเดาอีก ขอเดานะ ไม่ได้พูดตรงๆ จะหาว่าดูผิดก็ไม่ได้ เดามันผิดได้ ขอเดาว่า ถ้าสงครามเกิดขึ้นอย่างนั้นจริงๆ แต่ความจริงเวลานี้ ยังไม่มีใครจะให้เกิด เวลาที่พูดนี่นะ วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๓ แต่กว่าหนังสือนี่จะออกถึงเดือนมีนาคม ถ้าสงครามเกิดก็เกิดแล้ว ไม่เกิดก็ไม่เกิด ในระหว่างนี้ต่างคนต่างมองต่างคนต่างพูด แสดงเรื่องการเมือง เอาเหตุผลต่างๆ มาหักล้างกัน ก็ไม่แน่นักว่ามันจะเกิด ก็อยากจะบนบานศาลกล่าวว่ามันไม่เกิดนั่นแหละเป็นการดี แต่ทว่าพระดำรัสของ องค์สมเด็จพระชินสีห์ ไม่เคยผิด แต่ว่าท่านไม่ได้บอก พ.ศ.

        เป็นอันว่าประเทศไทยก็จะถูกหาง หรือท้ายฝน ละอองฝนจากสงคราม ก็เป็นอันว่าเราถูกละอองฝน ดินแดนเราก็จะไม่เสีย แต่ว่าชีวิตคนอาจจะเสียไปบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่น่าห่วง ก็คือ ของกินของใช้ ราคามันจะแพงมาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราต้องใช้น้ำมัน โรงงานต่างๆ ต้องใช้น้ำมัน ในเมื่อสงครามเกิดขึ้น ในเขตของบ่อน้ำมัน เราจะมีโอกาสซื้อน้ำมันได้หรือเปล่าก็ยังไม่แน่

        ท่านดามุส ท่านบอกว่า อำนาจของฝ่ายน้ำมัน มีอำนาจมาก สามารถเอาอาวุธ ใส่ในท้องปลา ไปยิงที่ไหนก็ได้ นั่นหมายถึง เรือดำน้ำ ถ้าเราส่งเรือไปซื้อของในเขตใดเขตหนึ่ง ซึ่งเป็นเขตของศัตรูของเขาเรือดำน้ำของเขา ก็อาจจะยิงเรือพาณิชย์ ของเราก็ได้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ คนที่พบระหว่างสงคราม จะมีความรู้สึก หนาวๆ ร้อนๆ แต่ว่า ขอยืนยัน บรรดาท่าน พุทธบริษัทว่า สิ่งที่เราไม่ต้องกลัวอย่างหนึ่งคือ เขาประกาศบอกว่า การสงครามนี้เขาจะใช้อาวุธเคมีบ้าง จะใช้นิวเคลียร์บ้าง จะใช้นิวตรอนบ้าง อาวุธทั้งหลายเหล่านี้ น่ากลัวจริงๆ แต่สำหรับความรูสึกของผู้พูด ไม่มีความรู้สึกกลัวเลย  เพราะว่าพระพุทธเจ้ามีความศักดิ์สิทธิ์ ของๆ ท่าน ทุกชิ้นที่ผลิตออกมา ท่านบอกว่า กันรังสีต่างๆ ได้หมด รังสีต่างๆ จะไม่สามารถกระทบกาย หรือทรัพย์สินบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีของของท่านได้ ที่ท่านทำให้นะ

        ก็เป็นอันว่า ท่านยืนยันมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๑ และท่านทำทุกครั้ง ท่านก็ยืนยันทุกครั้งว่า เกี่ยวกับรังสีต่างๆ ไม่ต้องกลัวเลย รังสีจะไม่เข้าใกล้บุคคลที่มีของที่ท่านทำให้ของนั้นอยู่ไหน ก็หาเอาเองก็แล้วกัน ของนั้นจะขอบอกเป็นนัยๆ เอาตรงๆ เลย ก็ได้คือ พุทธานุสสติ นั่นคือนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ และก็ภาวนาไว้ว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหาย ใจออกนึกถึง โธ ก่อนจะออกจากบ้าน ตื่นขึ้นมาใหม่ๆ บูชาพระก่อน ภาวนาว่า พุทโธ ก่อนอธิษฐานขอความปลอดภัยก่อน จะไปก็เสกน้ำลาย ด้วยกำลังของพุทโธสัก ๓ ครั้ง แล้วก็เดินออกจากบ้านไป หรืออยู่บ้านก็ได้ ภัยอันตรายจะไม่มีแก่ท่าน หรือว่าถ้าทำอย่างนั้น ยังไม่เกิดความมั่นใจ ก็เอาของที่องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงทำไว้ติดกับร่างกาย แต่ต้องอาราธนาทุกวัน ว่า นะโม ตัสสะฯ 3 ครั้ง แล้วก็ว่า พุทโธ เหมือนกัน และก็อธิษฐานให้ปลอดภัย อย่างนี้จะปลอดภัยจากรังสีต่างๆ แม้แต่สะเก็ดระเบิด หรือว่ากระสุนปืนของข้าศึก ก็จะไม่มีอันตรายกับท่าน ถ้าท่านทั้งหลายมี พุทธานุสสติ เป็นกำลังใจ

        ทีนี้เรามาคุยกันต่อไปนี่มันเรื่องคุยนะ ถ้าบังเอิญเวลานี้มีอิรักตั้งท่ายัน อิรักปรากฏว่า ประกาศว่ามีคน ๑๘ ล้าน แต่ทว่า อิรัก อิรักอิหร่านนี่รบกันมาประมาณ ๘ ปี พออเมริกาส่งกำลังเข้ามาในอ่าวเปอร์เซีย อิรักอิหร่านดีกันฉิบ พื้นที่ของอิหร่านที่อิรัก ยึดได้ ก็พันตารางไมล์ก็ตาม คืนให้หมดปล่อยเชลยให้หมด เวลานี้ศัตรูกับศัตรู อิรักกับอิหร่านเป็นมิตรกัน อิหร่านก็เข้ากับอิรัก ไม่เห็นด้วยที่อเมริกา จะเอาวัฒนธรรมของเธอ มาใช้ในตะวันออกกลาง เขาถือว่า ผิดกฏของพระศาสนานี่ป็นอันว่า อิรักก็มีเพื่อน เข้าอีกหนึ่งประเทศ คือ อิหร่าน อิหร่านนี่ก็ไม่ใช่เล่นเหมือนกัน หนักเหมือนกัน แล้วต่อมาอย่าลืมว่า สายเลือด ที่ร่วมกันมา เขาอาจจะไม่ทิ้งกันนั่นคือศาสนา คนที่นับถือศาสนาร่วมกัน อาจจะร่วมมือกันภายหลัง อย่างนี้สงครามใหญ่จะ เกิดขึ้น ซึ่งตรงกับคำพยากรณ์ของพระท่าน

        ในปีที่ญวนแตกอเมริกาหนีกลับบ้าน ปีนั้นก็ถามพระท่านว่า หลังจากนี้จะมีอะไรบ้าง สงครามใหญ่จะเกิดขึ้นไหม ท่านบอกว่า คำว่าสงครามโลก ยังไม่เกิด คำว่าสงครามโลกนั่นหมายถึงว่า ทั้งโลกแบ่งกันเป็น ๒ พวก ร่วมกันทั้งหมด แล้วก็ตีกันในระหว่างฝ่ายต่อฝ่าย คือตีกันรบกันอย่างนี้เรียกว่า สงครามโลก  แต่สงครามครั้งที่จะเกิดทางด้านตะวันออกกลาง ท่านบอกตรงว่า จะเกิดที่ด้านตะวันออกกลาง เขายังไม่เรียกว่าสงครามโลก เขาเรียกว่าสงครามใหญ่ สงครามใหญ่คราวนี้จะ มีความร้ายแรงไม่น้อย ร้ายแรงกว่าสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ว่าท่านก็ไม่ได้บอกอย่างดามุสว่า ถึงแม้อเมริกาอาจจะถูกนิวเคลียร์ ท่านไม่ได้บอกไว้ คือไม่ได้ถาม

        รวมความว่าคำพยากรณ์ของท่านที่พยากรณ์ว่าจะเกิดที่ตะวันออกกลางก็ตรงแล้ว เวลานี้ตะวันออกกลางจะมีสงคราม อย่างน้อยที่สุดก็เป็นสงครามเศรษฐกิจ เริ่มบีบรัดกันขึ้นมาการถูกบีบนี่ บรรดาท่านผู้ฟังและท่านผู้อ่าน สมัยเยอรมันก็ดี ญี่ปุ่นก็ดี อิตาลีก็ดี ที่ต้องประกาศเป็นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็เพราะว่า การถูกบีบคั้นจากโลกตะวันตกหรือหลายๆ ประเทศ ที่เรียกกัน ว่า สันนิบาตชาติ ในเวลานั้นทั้ง ๓ ประเทศ ลาออกจากสันนิบาตชาติ สันนิบาตชาติ ต่างคนต่างบีบคั้นต่างๆ หาทางกลั่นแกล้ง ถ้าไม่รบก็อดตายมีความจำเป็นต้องรบ หมายถึงว่า ยอมเสี่ยง ยอมเสี่ยงการเสียอิรภาพ การเสียประเทศจะต้อง เป็นเมืองขึ้นเขากับความตาย ทีนี้การรบความตายมันก็เกิด แต่เกิดเฉพาะบุคคลบางกลุ่มที่เป็นทหาร และบุคคลที่อยู่ใกล้จุดยุทธศาสตร์ที่ถูกระเบิด คนนอกนั้นจะไม่ตาย ถ้าไม่รบ ความอดเกิดขึ้น มันจะตายทั้งประเทศ เขาต้องตัดสินใจรบ เรื่อง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีฉันใด เวลานี้อิรักกับอิหร่าน กำลังจับมือกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนามุสลิมเขาเป็นศาสนาที่มีความรักกันมาก

        อย่างตอนใต้ประเทศไทย คราวนั้นฟังข่าวจากทางโทรทัศน์ จากท่านพันเอกณรงค์ กิตติขจร ท่านบอกว่า ใครล่ะ พันเอกกัดดาฟี มั้ง ถ้าพูดชื่อผิด ขออภัยด้วย ท่านเคยไปเจรจากัน บอกว่า อย่ามายุ่งกับประเทศไทยเลย แต่เขาบอกว่า รัฐบาลไม่ได้ยุ่งด้วย แต่ที่ยุ่งนั้นเป็นเรื่องของศาสนา ที่จะให้มีการแบ่งแยกประเทศไทย ออกเป็นของมุสลิมส่วนหนึ่ง ของไทยส่วนหนึ่ง เขาหวัง ๔ จังหวัด แต่ความจริงถ้าเขายึด ๔ จังหวัดได้ เขาจะเอาอีก ๘ จังหวัด ถ้า ๘ จังหวัดได้ เขาจะเอาอีก ๑๖ จังหวัด ผลที่สุดเขาต้องการยึดทั้งหมดทั้งประเทศไทย ความพอใจของคนไม่มีฉันใด บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ถ้าสงครามเกิดขึ้น ถ้าเราจำเป็น ต้องเสียดินแดน เรื่องเสียเฉพาะน่ะ ไม่มีแน่นอน มันต้องเสียกันเรื่อยไป เวลานี้เรา ก็ไม่มีพอที่จะเสียแล้ว แต่ที่พูดนี่ ก็ไม่ได้หมายความว่า สงครามจะเกิดจริง สมมติว่า ถ้ามันจะเกิดทีนี้เรื่องของศาสนา ก็จะเกิดขึ้นที่พูดนี่ไม่ได้ยุให้คน ๒ ศาสนาทะเลาะกันนะ เป็นแต่เพียงว่าท่านณรงค์ท่านบอกว่า ท่านไปพูดกับประธานาธิบดีของเขา ประธานาธิบดีของเขาก็บอกว่า รัฐบาลไม่ได้ยุ่งเป็นเรื่องของศาสนา ทีนี้ศาสนาจะเอาเงินมาจากไหน ก็ทราบไม่ได้เหมือนกัน

        รวมความว่า หันมาคุยกันในประเทศไทย ถ้าสงครามเกิดขึ้นจริงๆ เราจะเป็นอย่างไร ประการแรก เรายังพูดถึงศาสนาก่อน ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ เราจะหนักเรื่อง น้ำมัน นิดหน่อย แต่ว่าน้ำมันในประเทศไทย ถ้าเร่งรัดจริงๆ จะเหลือใช้ เพราะอะไร เพราะว่าน้ำมันในประเทศไทยนี่มีมาก  การเจาะ บรรดาท่านผู้อ่านและท่านผู้ฟัง ที่พูดนี่ก็ขอเดา คิดว่าท่านที่เจาะเขาคงจะเจาะไม่ถึงเพดานจริงๆ ของน้ำมัน รวมความว่า ถังน้ำมันถังใหญ่จริงๆ น่ะ เราจะพูดตามความเป็นจริงแล้ว ประเทศจีน เขาก็มีน้ำมันเขาอยู่สูงกว่าเรา ประเทศพม่าก็มีน้ำมัน อินโดนีเซียก็มีน้ำมัน แล้วก็ไทยล่ะอยู่กลางทำไมจะไม่มีน้ำมัน

        ทีนี้เวลานี้การเจาะน้ำมัน การดูดน้ำมันเขาว่าได้น้อย แต่ความรู้สึกของผู้พูด หรือตามข่าวหนังสือพิมพ์ เขาบอกว่าความจริงประมาณน้ำมันที่ได้ มันมากกว่าข่าวที่เขาแจ้งมา ข้อนี้จะเท็จจริงประการใดก็ไม่ทราบ สุดแล้วแต่หนังสือพิมพ์ แต่เขาบอกว่าเขาแจ้งได้น้อย ก็ยังมีอีกหลายหลุมที่เขาเจาะพบแล้ว เขาบอกว่าไม่พอกับเชิงพาณิชย์ จึงไม่ยอมดูดขึ้นมา นี่ก็เป็นลีลาของพ่อค้าเป็นของธรรมดา ถ้ากำไรน้อยเขาจะไม่เอา หรือจะมาพูดกันอีกทีหนึ่ง

        เวลานี้ทราบว่า คนไทยศึกษาเรื่องวิชาการเจาะน้ำมันมาได้ดีแล้ว มีความชำนาญพอแล้ว แล้วก็กำลังจะเจาะก่อน หนังสือจะออกคงจะเจาะแล้วละมั้ง เจาะก๊าซที่สงขลาใกล้ๆ กับบ่อเดิม จะเอาก๊าซมารวมกัน เข้ากับท่อเดียวกัน ขึ้นมาใช้จะได้มีปริมาณสูง ถ้าบังเอิญท่าน หรือนายทุนท่านใดท่านหนึ่ง ในพื้นที่ ที่ไม่มีสัญญาประมูลกับบริษัทต่างๆ แต่น้ำมันมีมาก   ปริมาณของประเทศไทยนี่ ถ้าจะลองเจาะอย่างต่างประเทศเขา เอาที่ใดที่หนึ่งก็ได้สักที่หนึ่ง ที่พูดนี่เป็นการสมมติกันนะ จะเชื่อหรือไม่สมควรเชื่อ

        เพราะความรู้สึกว่ามีอยู่ว่าการเจาะที่แล้วมา เขาเจาะกันยังไม่ถึงฝาผนังหรือเพดาน ของถังน้ำมัน ซึ่งมันเป็น ถังใหญ่คลุมจักรวาล มันเป็นทะเลอีกชั้นหนึ่งต่างหาก คือเป็นทะเลน้ำมันจริงๆ ประเทศไทยตั้งอยู่เหนือทะเล น้ำมันจีน ก็เช่นเดียวกันแล้วก็พม่าก็เหมือนกัน อินโดนีเซียก็เหมือนกัน มาเลเซียก็เหมือนกัน บรูไนก็เหมือนกัน มันเป็นถังถังเดียวกัน ถ้าบังเอิญ เราจะเจาะอย่างอังกฤษ ที่เขาบอกว่า อังกฤษเจาะที่ทะเลเหนือ เจาะลง ไปลึกลงไปใต้ดินถึง ๖  กิโลเมตร ก็ได้น้ำมันขึ้นมาเพียงพอ

        แต่ประเทศไทยเราสำรวจแล้วว่า ที่ใดที่หนึ่งมีน้ำมันพอที่จะเจาะได้ ก็ลองเจาะสัก ๖ กิโลเมตร จะมีผลเป็นประการใดเรื่อง นี้ก็ลองถามท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง ท่านมีความชำนาญในด้านนี้มาก ก็เรียกว่าดร.สรรพศาสตร์ ท่านดร.สรรพศาสตร์ ท่านบอกว่า ถ้าเจาะลงไปถึง ๖ กิโลเมตร ในถังน้ำมันที่มีพื้นแผ่นดินหนา หมายความว่า หลังถังน่ะลึกลงไป เจาะลงไปแค่ ๓ กิโลเมตร จะถึงผิวถังน้ำมัน หรือหลังคาน้ำมัน ถ้าเจาะถึง ๖ กิโลเมตร ไอ้ท่อที่เจาะลงไปนั้น จะจมไปในตัวถังน้ำมัน บ่อน้ำมันจริงๆ ครึ่งกิโลเมตร ถ้าเจาะในที่ตื้น ที่บางจุดอยู่ไม่ไกลกรุงเทพนัก ในที่นี้ถ้าเจาะถึง ๖ กิโลเมตร ท่อจะจมลงไปในเขตของน้ำมัน ประมาณ ๖ กิโลเมตร ถามว่า ดร.สรรพศาสตร์ ถ้าเราจะดูดใช้อย่างปัจจุบันนี่ ถ้าทำอย่างนั้นจะใช้ได้สักกี่ปี ท่านบอกว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เอา ๓๐ เท่าของปัจจุบันใช้ไป ๕,๐๐๐ ปี น้ำมันยังไม่หมด ปริมาณยังไม่ลด

        นี่แหละบรรดาท่านผู้อ่านและท่านผู้ฟัง ถ้าบังเอิญท่านดร.สรรพศาสตร์ ท่านพยากรณ์ตามความรู้ของท่าน ถ้าตรงตามนี้ประเทศไทยเราก็ไม่จน อย่างอื่นจะไม่มีก็ไม่เป็นไร ไฟของเรามีน้ำมันเราก็ถูก อุตสาหกรรมของเราลงทุนถูก เพราะน้ำมันถูก เราจะขายต่างชาติได้ดี ระยะนั้นประเทศไทยเราจะรวย

        เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เราคุยกันมาวันนี้ก็ป่วย แต่เกรงว่าเล่มที่ ๑๘ นี่จะไม่ครบ ทำไปแล้ว บ้างตามสมควร แต่ไม่แน่ใจ ว่าจะครบหรือไม่ครบ ก็ลุกขึ้นมาทำหันไปดูเวลาเหลือเวลาประมาณนาทีเศษ ก็ขอเตือนบรรดาญาติโยม พุทธบริษัท ซึ่งเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ว่า จงอย่าหวั่นไหว ต่อสงคราม ขอยืนยันว่า ถึงแม้ว่าสงครามจะเกิด ก็จริงแหล่แต่ทว่าเราจะไม่ตายเพราะสงครามโลก เราจะไม่อดตายเพราะสงครามโลก และนักเกษตรศาสตร์ก็ดี นักเกษตรศาสตร์นี่จะมีโชคดีมากคือจะรวย ข้าวจะแพง พวกที่เลี้ยงสัตว์ก็ดี ราคาจะแพง จะรวยทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าไม่มีความประมาท บรรดาท่านพุทธบริษัท ประเทศไทยจะมีแต่ความอุดมสมบูรณ์


120
คัดลอกจาก http://www.buddhaamulet.com/gaji/nerng_don.asp

ประวัติ

หลวงพ่อเงิน เป็นบุตรคนที่ ๔ ของโยมบิดาชื่อพรหม ซึ่งเป็นแพทย์โบราณ ส่วนมารดานั้นชื่อกรอง ได้อุบัติขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ พ.ศ. ๒๔๓๓ ณ ที่บ้านตำบลโคกยายหอม จังหวัดนครปฐม พออายุได้ประมาณ ๑๓ ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณร บางท่านว่าท่านไปศึกษาและอยู่กับพระอธิการชุ่ม วัดท่ามะเดื่อซึ่งเกี่ยวข้องเป็นญาติทางฝ่ายบิดา ครั้นเมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทที่วัดดอนยายหอม โดยมีพระปลัดฮวย เป็นพระอุปัชฌาย์ ตั้งฉายาหลังบวชให้ว่า "...จนทสุวณโณ..." หลวงพ่อเงินตั้งแต่ท่านบวชขยันท่องมนต์ทั้ง ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน ตลอดจรพระปาฏิโมกข์ท่านก็ว่าได้

อาจารย์พุทธาคมของท่านที่สำคัญ คือ พ่อพรหม บิดาของท่าน นอกจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมกับพระอธิการชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ ต่อมาในราวปี พ.ศ. ๒๔๕๙ พระปลัดฮวย วัดดอนยายหอม ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นรองเจ้าอาวาส ครั้นพระปลัดฮวยมรณภาพแล้ว หลวงพ่อเงินจึงได้เป็นสมภารปกครองวัดเรื่อยมา อนึ่งหลวงพ่อเงินท่านเป็นพระที่ปฏิบัติเคร่งในพระธรรมวินัย มีชาวบ้านเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านได้พัฒนาวัดดอนยายหอม และสนับสนุนในการสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน สุขศาลา การประปา ไฟฟ้า ฯลฯ กระทั่งชาวนครปฐมสดุดียกย่อง ท่านว่าเป็นผู้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ดอนยายหอม อย่างแท้จริง

หลวงพ่อเงิน หรือ พระราชธรรมมาภรณ์ ในอดีตที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ และไกลนครปฐม ต่างพากันสดุดีและขนานนามท่านว่า "...เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม..." ดังยกอุทาหรณ์คุณงามความดีบางอย่าง มาสนับสนุนคำกล่าวข้างต้นคือ

หลวงพ่อเป็นผู้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ดอนยายหอม

หลวงพ่อเป็นที่รักเคารพอย่างสูงส่งของชาวตำบลดอนยายหอม

หลวงพ่อท่านช่วยปกป้องคุ้มครองภัย และช่วยให้ชาวดอนยายหอมพ้น จากความหายนะ หรือภัยร้ายจากโจรที่เข้ามาทำลายทรัพย์สิน ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ขณะที่ข้างในนากำลังสุกและชาวบ้านได้เก็บเกี่ยวอย่างชุลมุน เสือหยด เสือพาน เสือเซียน และเสือฟุ้งทั้ง ๔ คนจากถิ่นอื่นได้ร่วมใจกันบุกปล้นชาวบ้านตำบลดอนยายหอมกว่า ๒๐ ครอบครัว เรื่องนี้ได้รู้ถึงหลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม ท่านได้กำชับชาวตำบลดอนยายหอมว่า "...พวกโจรพวกนี้ได้ใจจะกลับมาปล้นใหม่อีกใน ๖-๗ วันข้างหน้า..." พวกชาวบ้านเมื่อได้ยินหลวงพ่อกล่าวเช่นนั้นจึงเตรียม ปืน ผา หน้าไม้ และรวมกำลังสามัคคีเพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น พอถึงวันที่ ๗ ตามคำบอกเล่าของหลวงพ่อเงิน ปรากฏว่าพวกโจรได้หวนกลับมาทำการปล้นอีกจริงๆ และครั้งนี้พวกโจรเสียท่า ถูกชาวบ้านดอนยายหอมจับ และรุมซ้อมโจรเสียสะบักสะบอม จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ชื่อเสียงของหลวงพ่อเงินยิ่งขจรขจายไปทั่วทิศ

กิตติคุณหลวงพ่อเงินยังมีอีกมากมายหลายสิบเรื่อง ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถีง

ปัจจุบันวัตถุมงคลเหรียญหลวงพ่อเงินรุ่นแรก ได้รับความนิยมทั่วเมือง นครปฐม และกรุงเทพฯ

ที่มา... หนังสือของ คุณ สามารถ คงสัตย์


121
ชื่อและนามสกุลนี้เป็นที่รู้จักกันดีของคนในวงการพระเครื่องตลอดเวลาที่ผ่านมาท่านมักจะได้รับเชิญให้ไปเป็นประธานจัดสร้างวัตถุมงคลหลายครั้ง รวมทั้งได้ช่วยวัดสร้างพระมาจนนับไม่ถ้วน โดยได้พูดไว้อย่างน่าคิดว่า "เพื่อต้องการจะช่วยวัดสร้างเสนาสนะหรือ บูรณะปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ภายในวัดนั่นเอง โดยไม่ได้หวังผลประโยชน์ใดๆงานบางแห่งคณะกรรมการที่สร้างพระแล้วมีผลประโยชน์แอบแฝง ไม่โปร่งใส มีพุทธพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้อง หากทราบก็จะถอยออกมาทันที" ส่วนเหตุผลที่ได้รับเชิญให้เป็นประธาน คณะกรรมการ รวมทั้งนั่งปลุกเสกวัตถุมงคลนั้น ดร.ไมตรี บอกว่า น่าจะมาจากหลายฝ่ายได้ยินกิตติศัพท์มาว่า เป็นคนหนึ่งที่ได้ศึกษา วิชาไสยศาสตร์มาจาก พระอาจารย์นำ ชินวโร (นำ แก้วจันทร์) วัดดอนศาลาอ.ควนขนุนจ.พัทลุงโดยบิดาของท่านก็เป็นอาจารย์ที่เก่งกล้าทางไสยศาสตร์ทำให้พระอาจารย์นำมีโอกาสศึกษาวิชาทางไสยศาสตร์เบื้องต้นตั้งแต่เป็นเด็ก
นอกจากนี้แล้วพ่อยังได้บอกให้พระอาจารย์นำ นำไปฝากให้ศึกษา วิชาเวทมนตร์คาถากับ พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น มาถึงวันนี้ก็ไม่กลัววิชาไสยศาสตร์นี้จะสูญหายไปไหน เพราะได้ถ่ายทอดไว้ให้กับลูกชายทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าได้เป็นประธานสร้างพระเครื่องที่ไหน ก็จะต้องใช้คาถาประจำใน ระหว่างประกอบพิธีดังกล่าวด้วย แต่ถ้าถามว่าเป็น คาถาอะไรนั้น ดร.ไมตรี สามารถบอกได้ แต่เพียงว่าเป็น คาถาที่ปลุกเสกให้วัตถุมงคล มีความเข้มขลัง มีบางคนถามเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ว่ามีจริงไหม ดร.ไมตรี ยืนยันว่า มีจริงเพราะมีประสบการณ์มากับตัวเอง จะให้อธิบายให้ฟังก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถบอกเล่า ให้ทุกคนได้เข้าใจอย่างถ่องแท้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ในความรู้สึกตลอดมาอยากจะบอกว่า พุทธคุณในองค์พระเครื่องต่างๆ มีจริง โดยจะเกิดกับคนที่แขวนพระที่มีความศรัทธาและจิตก็ต้องเป็นหนึ่งเดียว สำหรับความหมายของคำว่า "เอกัคตา" นั้น ดร.ไมตรี อธิบายให้ฟังว่า เอกัคตา คือ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว หรือเอกัคตาจิต หรือ "จิตรวม" หรือ "ได้ฌาน" เป็นขกณิกะสมาธิ พอลุกออกจากการนั่งสมาธิไม่ทันไร สมาธิก็หมดตามไปด้วย หมดเวทนา หรือทุตยฌาน ขณะนั้นถือว่าจิตใจก็ไม่ได้มีอารมณ์อื่นใดอีกเลย หมายความว่าไม่ได้คำนึงถึง รูป เสียง กลิ่น รส หรือการสัมผัสถูกต้องแต่ประการใดทั้งสิ้น แน่วแน่เอาแต่อารมณ์ที่เพ่งอย่างเดียวเท่านั้น จึงได้ชื่อว่า เอกัคตาจะสามารถเผาหรือข่มกามฉันทนิวรณ์ได้ วิชาเหล่านี้หากใครนำเอาไปทำเล่นไม่จริงจังก็จะไม่ดีต่อตัวเอง ทำอะไรก็จะมีแต่ความทุกข์เรื่อยไป
"วิชาไสยศาสตร์นี้ใครรับแล้วต้องมีสัจจะ ต้องทำจริงๆ ใครผิดสัจจะต่อครูบาอาจารย์ ทำอะไรก็จะผิดหมด เรื่องแบบนี้หากเราไปพูดให้ใครฟัง บางคนเชื่อก็แล้วไป แต่บางคนเขาไม่เชื่อในสิ่งที่เราพูด เขาจะหาว่าเราบ้าก็ได้ หรืออาจถูกมองว่าเราเป็นคนงมงายไปเลยก็มี ตรงนี้จึงอยากให้มองเป็นเรื่องของ ความเชื่อส่วนบุคคลจะดีกว่า ใครที่เคยแขวนพระเครื่องแล้วมีประสบการณ์ตรงนี้เขาจะเข้าใจได้ และรู้อยู่แก่ใจว่าเขาไปเจออะไรบ้าง ชีวิต หน้าที่การงานเขาดีขึ้นไหม เราจะเห็นว่าคนที่แคล้วคลาดจากการรอดตาย ทางอุบัติเหตุมากมายก็มีทางเป็นไปได้ว่าเกิดจากพุทธคุณของพระนั่นเอง" นี่คือความเชื่อเกี่ยวกับพุทธคุณจากพระเครื่องของ ดร.ไมตรี
ดร.ไมตรี กล่าวว่า การแขวนพระ ก็เพื่อให้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจมากกว่า เมื่อแขวนแล้วมีความศรัทธา พลังปาฏิหาริย์ก็จะเกิดขึ้นมาเอง
นอกจากเป็นคนเชื่อในเรื่องของปาฏิหาริย์แล้ว ดร.ไมตรี ยังในกฎแห่งกรรม ใครทำดีก็ย่อมได้ดี ใครทำชั่วก็ย่อมได้ชั่ว แล้วยังเชื่อว่าชาตินี้มีจริง ชาติหน้าก็ต้องมีจริง ซึ่งผลของ การกระทำจะเกิดให้เห็นได้ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เช่นเดียวกับคนเราที่เกิดมาได้ก็ด้วยกรรม ตัวเราก็คือกรรม เกิดมาก็ต้องมาชดใช้กรรม และคนเราก็จากไปด้วยกรรม ส่วนคนที่จะมีกรรมดีหรือกรรมชั่วก็เลือกกันเอาเอง ตรงนี้ไม่มีใครบังคับได้ เมื่อมีชีวิตอยู่เราจะสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วเท่านั้นเอง
"ชาติหน้าใครเกิดในภพภูมิที่ดีก็ต้องสร้างบุญกุศลไว้ให้มาก เพื่อจะได้เกิดในภพที่เป็นมนุษย์ แต่ถ้าใครไม่ทำบุญก็ต้องไปเกิดในภพที่เป็นอมนุษย์ ประกอบด้วยกิเลสตัณหา คนเราจะไปในภพภูมิที่ดีได้ก็อยู่ ที่การปฏิบัติจริงๆ ศีล ๕ ต้องครบ และต้องมีหิริโอตตัปปะ ละอายต่อบาป แล้วยังต้องมี พรหมวิหาร ๔ เป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มนุษย์เรามีแค่นี้ก็เป็นมนุษย์ที่ประเสริฐแล้ว" ดร.ไมตรี กล่าวทิ้งท้าย


122
พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม ฐานุสฺสโก)
วัดดอนยายหอม
ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ชื่อเดิม :
  แช่ม อินทนชิตจุ้ย
 
ชาตะ
 วันพุธที่ ๖ มีนาคม ๒๔๔๙ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเมีย ที่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายเนียม และนางอ่ำ อินทนชิตจุ้ย
 
อุปสมบท :
 ที่อุโบสถวัดดอนยายหอม ในวันศุกร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ โดยมีพระครูอุตตรการบดี (สุข) วัดห้วยจรเข้ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูทักษิณานุกิจ (เงิน) วัดดอนยายหอม เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระครูวินัยธร (ใย) วัดบางช้างใต้ เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "ฐานุสฺสโก"
 
การศึกษา :
 ในด้านพระปริยัติธรรม หลวงพ่อแช่ม สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ จากนั้นได้หันมาศึกษาด้านการปฎิบัติ โดยได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และพระเวทวิทยาคมต่างๆจากหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อรุ่ง วัดดอนยายหอม หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม และพระครูอุตตรการบดี (สุข) วัดห้วยจรเข้
 
สมณศักดิ์ :   
 - ปี พ.ศ. ๒๕๐๖   เป็นพระครูฐานานุกรมของพระราชธรรมาภรณ์ (เงิน) ในตำแหน่งพระครูปลัดแช่ม
 
 
 - ปี พ.ศ. ๒๕๑๒   เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนา ที่ พระครูเกษมธรรมานันท์
 
 
 - ปี พ.ศ. ๒๕๑๖   เป็นพระอุปัชฌาย์
 
 
 - ปี พ.ศ. ๒๕๒๐   เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม
 
 
 - ปี พ.ศ. ๒๕๒๔   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอก วิปัสสนา พัดพุฒตาลขาว ในราชทินนามเดิม
 
ผลงานด้านการพัฒนา :
 สมัยที่หลวงพ่อเงินยังมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อแช่มเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง สำคัญของหลวงพ่อเงินในการพัฒนาสร้างสรรค์สาธารณประโยชน์ต่างๆ มากมาย เมื่อหลวงพ่อเงินมรณภาพไปในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ หลวงพ่อแช่ม ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของหลวงพ่อเงินต่อไป
 
 
 ๑. การบูรณปฎิสังขรณ์เสนาสนะ กุฎิสงฆ์ และถาวรวัตถุต่างๆในวัดดอนยายหอม
 
 
 ๒. เป็นประธานอุปถัมภ์ในการสร้างวัดตะแบกโพรงสามัคคีธรรมที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
 
 
 ๓. สร้างโรงเรียนหลวงพ่อแช่มอุปถัมภ์ (ฉิมเกตุ อ่อนอุทิศ) ที่ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
 
 
 ๔. สร้างตึกคนไข้ ๔ ชั้น ที่โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
 
 
 ๕. จัดหาทุนสร้างหอประชุมอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
 
ชื่อเสียงกิตติคุณ :
 เชื่อกันว่าหลวงพ่อแช่มสำเร็จเตโชกสิณตั้งแต่พรรษายังน้อย บางคนเชื่อว่าท่านสำเร็จฌานอภิญญามีพลังจิตเข้มขลัง ปรากฏการณ์ที่ทำให้ชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ก็คือ สามารถอธิษฐานจิตปลุกเสกจนน้ำมนต์เทไม่ออก วัตถุมงคลต่างๆที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสก มีพุทธคุณครบเครื่องทุกๆด้าน แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือ เมตตามหานิยม ปัจจุบันวัตถุมงคลชุดสำคัญๆของท่านเริ่มเป็นที่นิยมและสะสมกันมากขึ้น นอกจากพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆแล้ว น้ำพระพุทธมนต์ แป้งเจิม มงคลสวมคอ การผูกหุ่นพยนต์ และสาริกาลิ้นทอง เป็นวิชาเฉพาะตัวที่หลวงพ่อทำได้ขลังยิ่งนัก
 
มรณภาพ :
 วันพฤหัสบดีที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ รวมสิริมายุได้ ๘๗ ปี พรรษา ๖๗
 

123
พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร)

วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ

โดย ไตรภาคี

คัดลอกจาก http://www.soonphra.com/geji/poo/index.html

ประวัติ วัดอินทรวิหาร
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

เดิมชื่อ วัดอินทาราม หรือ วัดบางขุนพรหมนอก ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นคนสร้าง แต่มีเรื่องเล่ากันว่า เจ้าอินทร์ หรือ อินทะวงศ์ มีศักดิ์เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียวเมืองเวียงจันทร์ เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ธิดาของเจ้าอินทะ คนหนึ่งมีนามว่า เจ้าทองสุก กับเจ้าน้อยเขียว ได้เป็นพระสนมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ในสมัยนั้น เมืองเวียงจันทร์ยังเป็นเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระราชทานที่ดิน แถบที่ตั้งวัดอินทรฯ ในปัจจุบัน ให้เป็นที่อยู่ของชาวเวียงจันทร์ เจ้าอินทร์ได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณพระอรัญญิก ซึ่งมีเชื้อสายชาวเวียงจันทร์ มาปกครองวัด

มูลเหตุการเปลี่ยนชื่อ
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระองค์เจ้าอินทร์ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถส่วนการเปลี่ยนชื่อเพราะเนื่องจากชื่อวัด ไปตรงกับวัดอินทาราม (ใต้) ฝั่งธนบุรี จึงได้เปลี่ยนเป็น วัดอินทราวิหาร เพื่อไม่ให้ซ้ำกัน ในสมัยรัชกาลที่ ๖

พระพุทธรูปที่สำคัญ ของวัดอินทรวิหาร
๑. พระประธาน ในพระอุโบสถ

๒. พระศรีสุคต อังคีรสศากยมุนี

๓. พระศรีอริยเมตไตรย์ หรือ หลวงพ่อโต

ความสัมพันธ์ของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กับหลวงปู่ภู
พระศรีอริยเมตไตรย์เป็นพระพุทธยืนอุ้มบาตร สูงใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้เริ่มต้นสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และหลวงปู่ภู เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ

ปกติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านมักจะสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่โต สมกับชื่อเพื่อเป็นพุทธบูชา (อุเทสิกเจดีย์) ไว้เป็นที่สักการะบูชา และปริศนาธรรมควบคู่ไปด้วยตามประวัติท่านสร้างไว้หลายแห่งเช่น

๑. ที่วัดสะตือ จังหวัดอยุธยา ได้สร้างพระนอน มีความหมายว่า ท่านได้เกิดที่นั่น ต้องนอนแบเบาะก่อน

๒. ที่วัดเกศไชโย สร้างพระพุทธรูปปางนั่งหมายถึงท่านหัดนั่ง ณ ที่นั้น

๓. ที่วัดอินทรวิหาร สร้างพระศรีอริยเมตไตรย์ (พระยืนอุ้มบาตร) หมายถึงท่านหัดยืน ณ ที่นั้น

ในขณะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ดำเนินงานก่อสร้างหลวงพ่อโต ท่านก็ได้หลวงปู่ภู เป็นกำลังสำคัญ เพราะท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างพระโต ไปได้เพียงครึ่งองค์ก็สิ้นชีพตักษัยเสียก่อน ตามหลักฐานขณะนั้นหลวงปู่ภูอายุได้ ๔๓ ปี พรรษาที่ ๒๓ นับว่าชราภาพมากแล้ว

ความสัมพันธ์ของเจ้าประคุณสมเด็จโตกับวัดอินทรวิหาร
เมื่อเยาว์วัยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ (โต) ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในสมัยนั้นตามหลักฐาน ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) มีความใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จดี ได้เคยกล่าวกับพระยาทิพโกษาฯ ว่าถ้าอยากรู้ประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ก็ไปดูภาพฝาผนังโบสถ์ที่วัดอินทรฯ ได้

นอกจากนี้ในสมัยที่หลวงปู่ภูยังมีชีวิตอยู่ท่านได้สั่งกำชับ และสอนลูกศิษย์ทุกคนห้ามมิให้ขึ้นไปบนพระโต เนื่องจากเจ้าประคุณสมเด็จได้บรรจุของดีไว้ภายในฐาน ถ้าใครขึ้นไปจะเป็นอัปมงคลแก่ตัวเอง ส่วนของดีนั้นเข้าใจว่าอาจจะเป็นพระเครื่องสมเด็จก็ได้ แต่ก็ไม่มีใครกล้าซักถามหลวงปู่ว่า ภายในบรรจุอะไรไว้ เพราะตลอดระยะเวลา ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ดำเนินงานก่อสร้างหลวงพ่อโตและบรรจุของศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ได้รู้เห็นโดยตลอด ถ้าของที่บรรจุไว้ไม่ใช่ของสูงท่านคงไม่กำชับลูกศิษย์ลูกหาของท่านเป็นแน่

เอาละครับตอนนี้ข้าพเจ้าขอนำท่านผู้อ่านได้มารู้จักกับชีวประวัติของพระครูธรรมานุกูล
พระครูธรรมานุกูล นามเดิมชื่อว่า ภู เกิดที่หมู่บ้านตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ ตรงกับปีขาลโดยบิดามีนามว่า นายคง โยมมารดามีนามว่า นางอยู่ พออายุได้ ๙ขวบ บิดามารดาได้พาไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าคอย ได้ศึกษาเล่าเรียกอักขระสมัย (ภาษาขอม) และหนังสือไทย กับท่านอาจารย์ วัดท่าแคจนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ พัทธสีมา วัดท่าคอย โดยมี พระอาจารย์อ้น วัดท่าคอย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มา วัดน้ำหัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามทางพระว่า "จนฺทสโร"

เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ สำนักวัดท่าแคชั่วระยะหนึ่งก็ได้ออกเดินธุดงค์ จากจังหวัดตากมาพร้อมกับพระพี่ชาย คือ หลวงปู่ใหญ่

สำหรับวัดท่าแค ในสมัยที่หลวงปู่ภูจำพรรษาอยู่ นั้นยังเป็นวัดเล็กๆ เข้าใจว่าโบสถ์ยังไม่ได้สร้างท่านจึงได้มาอุปสมบท ที่วัดท่าคอยแล้วกลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมอีก ปัจจุบันวัดท่าแคนี้ตั้งอยู่ตรงเชิงสะพานกิตติขจรฝั่งตัวจังหวัดตากตำบล เชียงเงิน อำเภอเมือง ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชนะสงคราม

ในสมัยที่หลวงปู่ภูเดิมธุดงค์มากรุงเทพฯ ครั้งแรก ท่านได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาปักกลดอยู่ ณ บริเวณที่ตั้งวังบางขุนพรหม (ธนาคารแห่งประเทศไทย) สมัยนั้นพื้นที่บริเวณนั้นยังเป็นป่ารกร้างว่างเปล่าและเปลี่ยวมาก มีแต่ต้นรังต้นตาลที่ขึ้นระเกะระกะไปหมด นอกจากนี้ยังมีทางเกวียนทางเท้าเป็นช่องเล็กๆ พอเดินไปได้เท่านั้น ท่านได้มาปักกลดอยู่บริเวณชายแม่น้ำเจ้าพระยา พอตกกลางคืนได้นิมิตฝันไปว่า ได้มีคนนำเอาตราแผ่นดินมามอบถวายให้ท่าน ๓ ดวง เมื่อท่านตื่นขึ้นมาก็ได้พิจารณาถึงนิมิตนั้นพอจะทราบว่า ท่านเองจะมีอายุยืนยาวถึง ๑๐๓ ปีเศษ

การเดินธุดงค์ของหลวงปู่นับตั้งแต่เดินทางออกมาจากวัดท่าแคเข้าจำพรรษาที่วัดในกรุงเทพฯ สันนิษฐานจากคำบอกเล่าของท่านที่ได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศฯ ได้ช่วยชีวิตรักษาคนป่วย เป็นอหิวาตกโรคไว้ ๖ คนซึ่งยุคนั้นถือว่าอหิวาตกโรคร้ายแรงมาก ยังไม่มียาจะรักษาถ้าใครเป็นมีหวังตายลูกเดียว และในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งเป็นปีที่อหิวาตกโรคระบาดหนัก จนเป็นที่กล่าวขวัญเรียกกันจนติดปากว่า "ปีระกาห่าใหญ่"

ต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดจักรวรรดิ์ราชาวาสและได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ตามลำดับ

กาลต่อมาได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทาราม ซึ่งในสมัยนั้นยังใช้ชื่อวัดบางขุนพรหมนอก ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ส่วนสมณศักดิ์ที่หลวงปู่ได้รับไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้รับตำแหน่งในปีใด เข้าใจว่าได้รับก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพราะตามหลักฐาน ศิลาจารึกเกี่ยวกับการสร้าง พระศรีอริยเมตไตรย์ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า

ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ ท่านพระครูธรรมานุกูล (ภู) ผู้ชราภาพอายุ ๙๑ ปี พรรษาที่ ๗๐ ได้ยกเป็นกิตติมศักดิ์อยู่ในวัดอินทรวิหาร ท่านจึงได้มอบฉันทะ ให้พระครูสังฆบริบาล ปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ

ท่านได้มรณภาพลงเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ ปีระกา เวลา ๐๑.๑๕ น. รวมสิริอายุได้ ๑๐๔ ปี ๘๓ พรรษา นับว่าท่านได้ยกเป็นพระครูกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จนถึงวันมรณภาพเป็นเวลา ๑๓ ปี

จากบันทึก จริยาวัตร ของหลวงปู่ภู
จริยาวัตรซึ่งลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายที่ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้ท่าน จนถึงบั้นปลายชีวิตได้บันทึกเรื่องราวของหลวงปู่ภูไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางธุดงค์ และการสร้างอิทธิวัตถุมงคลต่างๆ ของท่านไว้สมบูรณ์ที่สุด ผมจะขอนำมากล่าวไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติแด่ท่าน ณ ที่นี้

การถือธุดงค์เป็นกิจวัตร

สมัยที่หลวงปู่ยังแข็งแรงดี ท่านจะถือธุดงค์วัตรมาโดยตลอด พอออกพรรษา ท่านจะออกรุกขมูลมิได้ขาดท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังเสมอว่า ได้ร่วมเดินธุดงค์ไปกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นบางครั้งบางคราวบางทีท่านออกธุดงค์ก็มีพระภิกษุติดตามด้วยท่านได้เล่าให้ฟังว่า ถึงเรื่องแปลกๆที่ด้ออกรุกขมูลไปตามป่าเขามากมายหลายเรื่องซึ่งล้วนแล้วแต่ตื่นเต้นน่าอ่านมาก

ผจญจระเข้

ในสมัยที่เดินธุดงค์ มีอยู่คราวหนึ่ง ท่านได้ปักกลดพักอยู่ใกล้บึงใหญ่แห่งหนึ่ง ใกล้บริเวณนั้นมีหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชาวบ้านปลูกอาศัยอยู่ ๒-๓ หลัง ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้เที่ยงวัน อากาศร้อนอบอ้าว ท่านจึงได้ผลัดผ้า-อาบ และลงสรงน้ำในบึงใหญ่ พอดีชาวบ้านแถบนั้นเห็นเข้า จึงได้ร้องตะโกนบอกท่านว่า "หลวงตาอย่าลงไป มีจระเข้ดุ" แต่ท่านมิได้สนใจ ในคำร้องเตือนของชาวบ้าน ท่านกลับเดินลงสรงน้ำในบึงอย่างสบายใจ ในขณะที่กำลังสรงน้ำอยู่นั้น ท่านได้แลเห็นพรายน้ำเป็นฟองขึ้นเบื้องหน้ามากมายผิดปกติ เมื่อได้เพ็งแลไปจึงได้เห็นหัวจระเข้โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ห่างจากตัวท่านประมาณ ๓ วา พร้อมกันนั้นเจ้าจระเข้ยักษ์ มันหันหัวมุ่งตรงรี่มาหาท่านแต่ท่านก็มิได้แสดงกิริยาหวาดวิตกแต่ประการใดไม่ กลับยืนสงบตั้งจิตอธิษฐานเจริญภาวนาจนจระเข้ว่ายมาถึงตัวท่าน พร้อมกับเอาปากมาดุนที่สีข้างของท่านทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ข้างละ ๓ ครั้ง แล้วก็ว่ายออกไป มิได้ทำร้ายท่าน

เรื่องนี้เป็นที่น่าอัศจรรย์ต่อชาวบ้านที่ยืนดูอยู่บนฝั่ง เมื่อท่านขึ้นจากน้ำชาวบ้านต่างบอกสมัครพรรคพวก เข้าไปกราบนมัสการด้วยความเลื่อมใสศรัทธายิ่งนักและได้ขอของดีจากท่านคือ ตะกรุด ท่านได้บอกกับลูกศิษย์ว่าในขณะที่เผชิญกับจระเข้ ท่านได้เจริญภาวนา อรหัง เท่านั้น

เสือเลียศีรษะ

ท่านได้เล่าให้ฟัง คราวที่เดินธุดงค์รอนแรมไปในป่าใหญ่เพียงองค์เดียวในขณะที่เดินอยู่กลางป่า ขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายมากแล้ว พร้อมกับร่างกายเหนื่อยล้า อ่อนเพลียมาก เพราะท่านออกเดินทางตั้งแต่เช้ายังมิได้หยุดพักเลย พอเห็นต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ริมทางเกวียนร่มรื่นดี จึงได้หยุดพักอยู่โคนต้นไม้นั้น บังเอิญเกิดเคลิ้มหลับไป ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ปักกลดเพราะคิดว่าจะนั่งพักสักครู่พอหายเหนื่อยก็จะเดินทางต่อไปในขณะที่กำลังหลับเพลินอยู่นั้น ก็มาสดุ้งตื่นอีกครั้ง เมื่อรู้สึกว่ามีอะไรมาเลียอยู่บนศีรษะของท่าน ท่านจึงได้ผงกศีรษะขึ้นพร้อมกับหันหลังไปดู ก็เห็นเสือลายพาดกลอนขนาดใหญ่ยาวประมาณ ๘ ศอก ยืนผงาดอยู่แต่มิได้ทำร้ายประกานใด พอเจ้าเสือลายพาดกลอน มันรู้ว่าสิ่งที่มันเลียอยู่นั้นรู้สึกตัวตื่นขึ้น มันกลับเดินเลยไปเสียมิได้ทำร้าย ท่านได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังพร้อมกับหัวเราะ หึ หึ ว่า ตอนเสือมันเดินผ่านไป ได้ยินเสียงข้อเท้าของมันดังเผาะๆ ในเวลาเดิน

ผจญงูยักษ์

เนื่องจากการเดินธุดงค์ของท่าน ออกจะแปลกสักหน่อย ตรงที่ไม่ค่อยเลือกเวลา เพราะว่าส่วนมากพระภิกษุองค์อื่นๆ มักจะเดินกันตอนกลางวัน ก่อนตะวันตกดินถึงจะหาสถานที่ปักกลด ส่วนหลวงปู่ภู ท่านมิได้เดินเฉพาะกลางวันเท่านั้น ตอนกลางคืนท่านก็ออกเดินด้วยเพราะท่านเชื่อมั่นในตัวเอง อีกทั้งวิชาอาคมที่ได้ร่ำเรียนมา ท่านก็ถือว่า สามารถคุ้มกายท่านได้

มีอยู่คราวหนึ่ง ท่านได้ออกเดินธุดงค์ในเวลากลางคืน โดยอาศัยแสงจันทร์ เป็นเครื่องส่องนำทาง แต่ก็ไม่สว่างมากนัก พอจะมองเห็นบ้างทั้งนี้ เพื่อจะมุ่งหน้าไปถึงหมู่บ้านตอนเช้า เพื่อรับบิณฑบาต การเดินทางกลางป่าดงดิบรกรุงรังไปด้วยแมกไม้นานาชนิด อีกทั้งเถาวัลย์ระแกะระกะเต็มไปหมด แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อท่านนัก

ในขณะที่ท่านกำลังเดินผ่านสถานที่แห่งหนึ่ง ก็ได้ยินเสียงซู่ๆ และเสียงใบไม้ดังกรอบแกลบคล้ายเสียงสัตว์เลื้อยคลานผ่านท่านก็หยุดเดิน เพื่อดูให้แน่ว่าเป็นเสียงอะไร พอท่านหยุดเดินเจ้างูยักษ์ก็โผล่หัวออกมาจากดงไม้ ตัวโตเท่าโคนขาและตรงเข้ารัดลำตัวของท่านโดยรอบ ท่านตั้งสติยืนตรงพร้อมกับเอากลดยันไว้มิได้ล้มลง เจ้างูยักษ์ยันพยายามจะฉกกัดใบหน้าของท่าน แต่ท่านได้สติ ยืนนิ่งทำสมาธิจิตเจริญภาวนาอยู่ครู่หนึ่ง เจ้างูใหญ่ตัวนั้นมันก็คลายจากการรัดร่างของท่านแล้วเลื้อยเข้าป่ารกไป มิได้ทำอันตรายแก่ท่าน

อธิษฐานบาตรลอยทวนน้ำ

สำเร็จสุดยอดต้องใช้เวลา ปฏิบัติวิชาละ ๑๐ ปี จะเสกน้ำมนต์ให้เดือดได้ ต้องเรียนถึง ๑๑ ปี เต็มฉะนั้นการศึกษาวิชาอาคมของท่าน กว่าจะสำเร็จจะต้องใช้เวลาถึง ๗๑ ปีเต็ม

กิจวัตรประจำวัน

ตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่ภูมีชีวิตอยู่ ท่านมิได้ใช้เวลาให้ว่างเปล่า ทุกเวลาของท่านมีค่ามาก มุ่งหน้าปฏิบัติมีพุทธภูมิเป็นที่ตั้ง การร่ำเรียนวิชาอาคมมา ก็เพียงเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่กำลังทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บนับว่าท่านมีเมตตาธรรมสูงส่ง

การที่ท่านมุ่งมั่นเรียนวิชา ดูเมฆ หรือเรียกกันว่า วิชาเมฆฉาย ในพจนานุกรม หมายความว่า "การอธิษฐาน" โดยบริกรรมด้วยมนต์คาถาจนเงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอวกาศ แล้วพิจารณาดู คนเจ็บนั้นเป็นอะไร

ส่วนวิชากสิณนั้นหมายถึง อารมณ์ที่กำหนดธาตุทั้งสี่ มีปฐวี อาโป เตโช วาโย อัน มีวรรณ ๔ คือ นีล ปีต โลหิต โอกทาต อากาศแสงสว่าง ก็คือ อาโลกกสิณ

ซึ่งวิชาทั้งสอง ที่ท่านได้เพียรพยายามศึกษาเมื่อมุ่งช่วยเหลือมวลมนุษย์ ที่ประสบเคราะห์กรรมเป็นต้น

การบำเพ็ญปฏิบัติของท่านจะเริ่มขึ้นหลังจากท่านได้ฉันจังหันแล้ว คือเวลา ๗.๐๐ น. ตรง ตลอดชีวิตท่านฉันเพียงมื้อเดียว(ถือเอกา)มาโดยตลอด ผลไม้ที่ขาดไม่ได้ คือ กล้วยน้ำว้าท่านบอกว่าเป็นโสมเมืองไทย

ท่านออกบิณฑบาตทุกวัน ซึ่งถือเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติทั้งๆ ที่ท่านไม่จำเป็นจะต้องออกก็ได้ เพราะเจ้าฟ้าสมเด็จกรมพระนครสวรรค์พินิจ ได้จัดอาหารมาถวายทุกวันแต่ท่านก็ได้บอกว่า การออกบิณฑบาตโปรดสัตว์เป็นกิจของสงฆ์

เมื่อท่านฉันจังหันเสร็จแล้ว ก็จะครองผ้าลงโบสถ์และลั่นดานประตู เพื่อมิให้ผู้ใดเข้าไปรบกวนท่าน จะเจริญพุทธมนต์ถึง ๑๔ ผูก วันละ ๗ เที่ยวแล้วจึงนุ่งวิปัสสนากรรมฐานต่อไปจนถึงเที่ยวทุกๆวัน ท่านเคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ขณะที่นั่งกรรมฐานอยู่พอได้เวลาเที่ยง ทางการจะยิงปืนใหญ่ (เพื่อบอกเวลาว่าเที่ยงแล้ว)ในขณะที่ยิงปืนใหญ่ กูหงายหลังทุกทีพอท่านพักได้ชั่วครู่ก็จะบำเพ็ญเจริญภาวนาต่อไปจนถึงตีหนึ่ง จึงจะจำวัด

ถึงแม้ตอนท่านชราภาพ ท่านก็มิได้ขาดจากการลงทำวัตร เว้นแต่ท่านอาพาธหนักจนลุกไม่ไหวท่านก็เจริญวิปัสสนา โดยการนอนภาวนา ซึ่งในพระธรรมวินัยได้กล่าวไว้ เรื่องวิปัสสนากรรมฐานการปฏิบัติด้วยอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ปฏิบัติได้ เป็นต้น

ท่านเคยเปิดก้นให้ลูกศิษย์ดู พร้อมกับถามลักษณะก้นของกูเป็นอย่างไร ลูกศิษย์ก็ตอบว่าก้นหลวงปู่ด้านเหมือนกับก้นของลิง หรือเสน ท่านจึงได้บอกว่า "ปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ได้ดี แล้วจะดีเมื่อไหร่ คนที่เป็นอาจารย์เขา "จริง" อย่างเดียวไม่พอต้อง "จัง" ด้วยคือต้องทั้งจริงและจังควบคู่กันไป (ต้องรู้แจ้งแทงตลอด)

หยั่งรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
ในคราวที่ทางการได้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ แล้วเสร็จทางการได้จัดงานเฉลิมฉลองได้มีข่าวลือกันหนาหูว่า จะมีการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบบประชาธิปไตยและจะมีการนองเลือด ข่าวนี้ได้ลือกันแพร่สะพัดมาเป็นเวลาแรมเดือน ก่อนที่จะกำหนดงานจนผู้คนแตกตื่นเกรงกลัวกันมาก พอมีงานเฉลิมฉลองสะพานบางคนก็ไม่กล้าออกจากบ้านไปเที่ยง ทางการก็ได้สั่งเตรียมพร้อม เพื่อรับสถานการณ์

ในขณะนั้นศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่ในใจก็อยากจะไปเที่ยวดูงาน เพราะมีมหรสพการแสดงหลายอย่างแต่ก็ไม่กล้าไป จนกระทั่งเวลา ๖ โมงเย็นจึงได้อาบน้ำอาบท่าเสร็จแล้วก็คลานเข้าไปหาหลวงปู่ นั่งพัดให้ท่านจนหลวงปู่รู้สึกหนาว จึงได้ดุศิษย์ผู้นั้นว่า "หยุด กูไม่ร้อน ต่อไปพวกมึงซิจะร้อน" แต่ศิษย์ผู้นั้นหาได้ฟังไม่ กลับพัดอยู่ต่อไปท่านจึงได้หันมาดุเอาอีก "เอ๊ะอ้ายนี้แปลก วันนี้ทางการบ้านเมืองเขามีงานมีการที่สะพานพุทธฯ มีโขนมีลิเกกันทำไมมึงเป็นหนุ่มเป็นแน่นไม่ไปเที่ยวกันละวะ ดันทุรังนั่งพัดอยู่ได้ กูบอกไม่ร้อน แต่พวกมึงจะร้อนไปดูงานเถอะไป"

ศิษย์ผู้นั้นก็ตอบว่า "ผมไม่ไปละครับผมกลัวเขาลือกันว่าจะมีเรื่อง" เมื่อท่านได้ฟังแล้วก็หัวเราะ พร้อมกับพูดขึ้นว่า "ไป ไป๊ ไปดูงานให้สบายเถอะ ไม่ต้องกลัวและไม่ต้องห่วงกู มึงนับถือกูไหมล่ะ ถ้านับถือกู มึงต้องรีบไปได้แล้ว กูว่าเรื่องที่ว่าไม่มี" ศิษย์ผู้นั้นจึงได้กราบลาท่านออกไป เที่ยวงานฉลองสะพานพุทธฯ

หลังจากที่ศิษย์ผู้นั้นได้ไปเที่ยวงานกลับตอนตีหนึ่งเศษ ท่านยังไม่จำวัดจึงได้เข้ากราบท่าน ท่านก็สอบถามว่า มีการยิงกันตามข่าวลือหรือไม่ ศิษย์ได้เรียนท่านว่า ไม่มีครับ ท่านจึงได้พูดต่อไปว่า "อ้ายคนเดี๋ยวนี้มันพูดกันไปจริง" แล้วท่านก็หยุดนิ่งสักครู่จึงได้พูดต่อไปอีกว่า "เดือน ๗ แรม ๖ ค่ำ เวลาย่ำรุ่งเถอะมึงเอย ตูมเบ้อเร่อทีเดียว" ศิษย์คนนั้นก็สอบถามท่านอีกจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น หรือหลวงปู่ ท่านก็เพียงบอกว่า "มึงคอยดูไป มึงคอยดูไป"

คำกล่าวของหลวงปู่นั้น ต่อมาปรากฏว่า เป็นความจริงตามที่ท่านได้กล่าวไว้ คือได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เกิดการต่อสู้กันที่วังบางขุนพรหม ในเวลาย่ำรุ่งและยังมีการต่อสู้อีกหลายแห่ง ตรงกับที่ท่านได้พยากรณ์ไว้ว่าเดือน ๗ แรม ๖ ค่ำเวลาย่ำรุ่ง

พอรุ่งเช้าลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งรับราชการอยู่ในกองทัพเรือ แต่งตัวเข้าไปรายงานตัว แต่ก็ไม่สามารถจะเข้าไปทำงานได้ จึงกลับมาหาหลวงพ่อเข้าไปกราบนมัสการท่าน ท่านกลับลุกขึ้นไปหยิบจีวรคลุมศีรษะโผล่หน้าออกมา ให้เห็นเพียงนิดเดียว แล้วพูดขึ้นว่า "กูว่าแล้วนะปะไร" พอพูดจบท่านก็หัวเราะ สักครู่หนึ่งน้ำตาท่านได้ไหลซึมออกมาจากเบ้าตา (เข้าใจว่าคงจะสงสารกรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งถูกจับเป็นตัวประกัน ในพระที่นั่งอนันตสมาคม) ท่านนั่งอยู่สักครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า "เออกูได้ทางแล้ว กูได้ทางแล้ว"

บอกใบ้ม้าแข่ง
พูดถึงเรื่องม้าแข่ง ซึ่งผู้คนติดกันชนิดถอดตัวไม่ขึ้น ในสมัยนั้นมีศิษย์ของหลวงปู่ก็ติดม้ากันงอมแงม พอจะถึงวันแข่ง ก็ได้นัดหมายเพื่อนมานั่งปรนนิบัติหลวงปู่ ขณะนั้นเป็นเวลาตอนกลางคืน ซึ่งหลวงปู่กำลังอารมณ์ดีอยู่ ท่านได้พูดขึ้นลอยๆ ว่า "อ้ายคนสมัยนี้ก่อนเวลาตายเขาเอาใส่โกศทอง เขาไม่ได้ใช้หีบไม้ เขาไม่เสียดายเขาใส่โกศทองจริงๆ นะมึงนะ โกศทองจริงนะมึงนะ" ท่านได้พูดซ้ำซากอยู่หลายครั้งหลายหน ศิษย์ที่นั่งอยู่ด้วยก็รู้ว่าท่านบอกใบ้ให้เพราะทุกคนรู้ว่าท่านมีญาณสูงสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้

พอวันรุ่งขึ้นศิษย์ทั้งสองจึงได้ชวนกันเข้าสนามม้า จ้องดูว่าม้าตัวไหนสีเหลือง ในขณะนั้นได้มีจ๊อกกี้ของคอกพระปฎิพัทธภูบาล ใส่เสื้อสีเหลือง อยู่เพียงคนเดียวจึงได้ทุ่มซื้อแต่ก็ผิดหวังเพราะไม่เข้าหลักชัย พอเที่ยวที่สองก็แทงอีก แต่ไม่เข้าสักตัวเล่นเอาทั้งสองต่างเหงื่อกาฬแตก เพราะหมดเงินและนึกในใจที่หลวงปู่บอกใบ้มาผิดหมด พอเที่ยวที่ ๗ ม้าคอกนี้ก็เข้าแข่งอีก เป็นม้าเทศ แต่ข่าวว่าม้าตัวนี้เจ็บป่วยอีกทั้งตามประวัติไม่เคยชนะเลย พอม้าตัวนี้ลงสนามจึงไม่มีใครสนใจ แม้แต่ศิษย์ทั้งสองก็ไม่สนใจเช่นกัน แม้แต่ชื่อของม้าตัวนั้นก็ไม่สนใจ จนเสร็จสิ้นการแข่งขันม้าตัวนั้นก็ชนะแบบขาดลอย แต่มีชาวจีน ๒ คนที่นั่งอยู่ข้างๆ แทงไว้คนละใบ ถูกวิน ศิษย์ทั้งสองจึงได้ขอดูชื่อม้าตัวนั้น ก็ตกใจ เพราะมันชื่อ "โกลเด็นเอิร์น" ซึ่งแปลว่า "โกศทอง" ตรงกับที่หลวงปู่กล่าวไว้

หลวงปู่ต้องย้ายไปอยู่หลายวัด หวย ก.ข. หวยจับยี่กี เป็นเหตุ

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทางการได้อนุญาตให้ประชาชนเล่นหวย กันโดยชอบด้วยกฎหมาย ชาวบ้านต่างมุ่งหน้าเข้าหาพระเกจิอาจารย์ เพื่อขอหวยหวังเสี่ยงโชคตอนนั้นใครๆ ต่างเล่าลือกันว่าหลวงปู่ภูให้หวยแม่น ใครๆ ก็มุ่งหน้ามาขอหวยจากท่าน จนท่านเกิดความรำคาญ ที่ไม่ค่อยได้ปฏิบัติบำเพ็ญธรรมท่านจึงได้หลบไปจำพรรษาที่วัดโมลีฯ วัดสระเกศฯ วัดม่วงแค วัดสามปลื้มฯ บ้าง

ในคราวที่ท่านหลบมาจำพรรษาอยู่ วัดโมลีโลกฯ (ท้ายตลาด) ได้มีชายคนหนึ่งมาขอหวยท่านได้ปฏิเสธชายคนนั้นว่า "ไม่มี" แล้วท่านก็นั่งเจริญภาวนาต่อไป มิได้สนใจชายคนนั้น แต่ชายคนนั้นก็มิได้ละความพยายามนั่งเฝ้ารออยู่ตรงนั้น พอนานเข้าก็พูดขึ้นว่า "หลวงพ่อครับ ผมขอไอ้ที่แน่ๆ สักตัวครับ"

ถึงจะพูดอย่างไรท่านยังคงนิ่งเจริญภาวนาไปเรื่อยๆ ชายคนนั้นก็พูดซ้ำซาก จนท่านรำคาญหรือเกิดขัดใจอะไรไม่ทราบได้ ท่านได้ลุกขึ้นพร้อมกับเตะชายคนนั้น ตกลงไปจากหอไตรพร้อมกับพูดว่า "นี่แนะ ไอ้ที่แน่" ถึงชายคนนั้นจะถูกเตะตกหอไตร แต่ก็มิได้รับอันตรายและคิดเอาเองว่าหลวงปู่ใบ้หวยให้ จึงได้ตีกิริยาอาการของท่านว่าหมายถึง ต.เรือจ้าง ชายคนนั้นรีบกลับไปแทง วันนั้นหวยออก "ต.เรือจ้าง" นับว่าอัศจรรย์มาก

หยั่งรู้อนาคตและอดีต
ในสมัยนั้นข้าราชการส่วนมากนิยมตั้งคอกม้า มีข้าราชการชั้นโท ผู้หนึ่งก็ตั้งคอกม้าขึ้นได้เดินทางมากับเพื่อนเพื่อมาหาหลวงปู่ คิดว่าจะสอบถามท่านถึงการดำเนินงานจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ในขณะที่ทั้งสองเข้าไปกราบหลวงปู่ ยังไม่ทันได้บอกอะไร หลวงปู่กับพูดขึ้นก่อนว่า "ฉิบหายจ๊ะไม่ได้การดอก" แล้วท่านก็นิ่งเงียบ ชายทั้งสองจึงขอให้ท่านลงกะหม่อมให้แล้วกราบลาท่านออกมา ต่อมาอีกไม่นานคอกม้าของชายคนนั้นทุกครั้งที่ลงแข่งจะแพ้ทุก จนต้องเลิกกิจการไป เป็นจริงตามคำทำนายของท่านทุกประการ

มีเมตตาธรรมสูง

ได้มีลูกศิษย์ใกล้ชิดของท่านได้บันทึกคุณธรรมท่านไว้ ดังที่ข้าพเจ้าจะขอนำมาลงไว้ ณ ที่นี้ด้วย

"ก่อนข้าฯ เป็นศิษย์ได้ถวายตัวเป็นลูกรับใช้ปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจนอวสาน ข้าฯ ได้เห็นองค์ท่านช่วยทุกข์แก่สัตว์มนุษย์ทุกรูปวัยไม่แบ่งชั้นวรรณะ เสมอต้นหมดแม้จะเป็นเจ้า หรือขุนนางชั้นสายสะพายทองก็ตาม ตลอดจนยาจนเข็ญใจข้าฯ จึงปลาบปลื้มในองค์ท่านมิรู้หาย ตราบเท่าทุกวันนี้"

เรื่องการรักษาโรค ท่านเชี่ยวชาญมาก แต่ละวันจะมีผู้คนที่เจ็บไข้ไปหาท่าน ให้ช่วยรักษาปัดเป่าจนหายเช่น การรักษาฝีท่านจะถามว่า "จะเอาแตกหรือจะเอายุบ" แล้วท่านจึงรักษาให้ตามประสงค์ แต่ก็เป็นที่อัศจรรย์มากถ้าใครบอกว่าเอาแตกพอท่านรักษาเสร็จ คนไข้พอเดินยังไม่พ้นวัด ฝีจะแตกทันที

มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านป่วยจนไข้ขึ้นสูง เพราะไม่ได้ถ่ายมาหลายวัน หมอที่เป็นศิษย์บอกว่าจะต้องรักษาด้วยการสวนทวาร เพื่อให้ถ่ายจะได้ลดไข้ แต่ท่านก็ไม่ยอมให้สวน กลับบอกให้ลูกศิษย์ให้ไปหามะตูมมาหนึ่งลูก พร้อมกับผ่ามะตูม ท่านจึงตักมะตูมฉันไป ๓ ช้อน ส่วนที่เหลือให้ลูกศิษย์กิน พอเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ท่านก็ลุกไปถ่ายอุจจาระไข้จึงลดลง พอลูกศิษย์เห็นดังนั้นก็เกิดวิตกเพราะตนกินมะตูมผลนั้นไปมากกว่าหลวงปู่ แต่ปรากฏว่าศิษย์ผู้นั้นกับท้องผูกไปสามวัน ท่านได้พูดกับลูกศิษย์ว่า "ของทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกำหนดจังหวะและเวลา"

ทดสอบหมอ

มีอยู่คราวหนึ่ง ขณะนั้นท่านอารมณ์ดี จึงได้พูดกับศิษย์ว่า "เขาว่ามึงเป็นหมอหรือ" ศิษย์คนนั้นเป็นนายแพทย์ได้ตอบท่านว่า "พอมีความรู้"ท่านก็ถามต่อไปว่า "มึงตรวจลมกูได้ไหม" ศิษย์ก็ตอบว่า "ได้" ท่านจึงนอนลงพิงหมอนขวานแล้วบอกให้ศิษย์ตรวจลม หมอคนนั้นได้เอามือจับชีพจรด้ายซ้ายแต่ไม่พบ เพื่อจับเหนือสะดือก็ไม่พบจนเวลาล่วงไปประมาณ ๒๐ นาที ก็ยังตรวจไม่พบ ท่านจึงสะบัดมือพร้อมกับพูดว่า "ยังไง มึงตรวจลมกูได้ไหม" ศิษย์ก็ตอบว่าตรวจไม่พบ ท่านจึงบอกว่า

"ยังงั้นมึงก็หมอลากข้าง นี่แหละเขาเรียกว่าลมกองละเอียด เขาทำให้เดินตามผิวหนังเท่านั้น มันยากหรือง่ายวะ"

หลวงปู่ภูมีเมตตาสูง

แม้แต่สัตว์ทุกชนิดยังไม่เกรงกลัว แต่ละตัวเชื่องมาก ในสมัยท่านมีชีวิตอยู่ จะมีอีกาบินมาเกาะต้นพิกุล ตอนเช้าพอท่านฉันจังหันเสร็จ มันก็จะบินมาเกาที่หน้าต่างกุฏิท่านจะปั้นข้าวสุกเสกแล้วยื่นให้มันกิน พอมันคาบข้าวสุกปั้นก้อนนั้น ท่านจะเอามือตบหัวมันเบาๆ แล้วมันก็จะบินออกไป เป็นเช่นนั้นอยู่ประจำ

ที่กุฏิของท่านจะมีไก่วัดมาอยู่บริเวณหน้ากุฏิท่านจำนวนมาก วันหนึ่งขณะที่ท่านเดินมาหน้ากุฏิ ยืนดูลูกไก่ที่เพิ่งออกจากไข่ใหม่ๆ ท่านให้ศิษย์เอาข้าวสารมา ๑ กำมือ พร้อมกับโปรยให้ลูกไก่กิน และยืนดูอยู่สักครู่แล้วจึงออกเดินพร้อมกับพูดว่า "กูไปละนะ กุ๊กๆ" ลูกไก่กลับวิ่งตามท่าน เมื่อท่านเห็นดังนั้นจึงพูดว่า "เจ้ามาตามกูทำไมไปอยู่กับแม่มึง" ลูกไก่ถึงได้วิ่งกลับไปอยู่กับแม่ไก่



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

124
ไม่ทราบพวกพี่รู้จักหรือเปล่า ถ้ารู้กรุณาช่วยบวกด้วย เห็นว่าได้อยากมาก

125
 พระประวัติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

 "องค์บิดาแห่งกองทัพเรือ"

 

กำลังรบทางเรือของไทย   มีกำเนิดมาควบคู่กับ การสร้างอาณาจักรไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย  แต่ในอดีตไม่ได้มี การแบ่งแยกเป็น กองทัพบก หรือกองทัพเรือ ดังเช่นปัจจุบัน  เมื่อยาตราทัพไป ทางบก เพื่อทำสงครามก็เรียกว่า " ทัพบก "    หากเมื่อยาตราทัพ ไปทางเรือ ก็เรียกว่า   " ทัพเรือ " ในอดีต และปัจจุบันทหารเรือ ได้ยกย่อง พล.ร.อ. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็น " องค์บิดาแห่งกองทัพเรือ " ซึ่งนับเป็น การเทิดทูน พระเกียรติคุณ อย่างสูงสุด เนื่องจากพระองค์ ได้ทรงนำความ เจริญรุ่งเรือง มาสู่กองทัพเรือ และ ประเทศชาติ โดยทรงวางรากฐาน การบริหารงานของกองทัพเรือ  ระเบียบวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ภายในกองทัพเรือ  จนทำให้ทัพเรือไทย มีความทันสมัย มีมาตรฐาน และ เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับ อารยะประเทศ มาจวบจนทุกวันนี้ พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงมี พระนามเดิมว่า " พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ " เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ใน พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2423 เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (  วร  บุนนาค  ) ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง

 

 พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพร เขตรอุดมศักดิ์ เป็นเจ้านายพระองค์แรก ที่สำเร็จการศึกษา วิชาการทหารเรือ  จากประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงมีจุดประสงค์ อันแรงกล้าที่จะฝึก ให้ทหารเรือไทย เดินเรือทะเลได้อย่างชาวต่างประเทศ และ สามารถทำการรบ ทางเรือได้เนื่องจากในอดีต ประเทศไทย ได้ว่าจ้างชาวต่างชาติ มาเป็นผู้บังคับการเรือ มาโดยตลอด แม้แต่ในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จประพาสฯ ยุโรปครั้งแรก ก็ยังได้ว่าจ้าง " กัปตันคัมมิ่ง" และคณะนายทหาร เรืออังกฤษ เป็นผู้เดินเรือ ภายหลังจากที่พล.ร.อ. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สำเร็จการศึกษา และเข้ารับราชการ ทหารเรือแล้ว พระองค์ได้แก้ไข ปรับปรุงระเบียบการ  ในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ และริเริ่มการใช้ ระบบการปกครองบังคับบัญชา ตามระเบียบ การปกครองในเรือรบ คือการแบ่งให้นักเรียนชั้นสูง บังคับบัญชารองลงมา นอกจากนี้ยังทรงจัดเพิ่ม วิชาสำคัญสำหรับชาวเรือขึ้นเพื่อให้สำเร็จการศึกษา สามารถเดินเรือ ทางไกลในทะเลน้ำลึกได้คือ วิชา ดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต พีชคณิต ฯลฯ

 

 ในปี 2462 พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ โดยนำเรือหลวงพระร่วงจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร นับเป็นครั้งแรกที่นายทหารเรือไทย เดินเรือได้ไกลข้ามทวีป ที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวเเรงที่สำคัญ

ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเห็นความสำคัญ และโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชวังเดิม ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ เมื่อ วันที่  20  พ.ย. 2449 ทำให้กิจการทหารเรือมี รากฐานมั่นคงนับตั้งแต่บัดนั้น

และกองทัพเรือจึงยึดถือ วันดังกล่าวของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ" จากการที่พระองค์ ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ ที่เล็งเห็นการไกล พระองค์ได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานที่ดินบริเวณอำเภอสัตหีบ เพื่อสร้างเป็นฐานทัพเรือ

เนื่องจากทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า อ่าวสัตหีบเป็นอ่าว ที่มีขนาดใหญ่ น้ำลึกเหมาะแก่การฝึกซ้อม ยิงตอร์ปิโดได้และเกาะน้อยใหญ่ ที่รายล้อมรอบสามารถบังคับคลื่นลมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเรือภายนอกเมื่อแล่นผ่าน

พื้นที่ดังกล่าว จะไม่สามารถมองเห็นฐานทัพได้เลย นอกจากพระองค์ ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์แล้ว ด้านการแพทย์พระองค์

ทรงศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง และเสด็จไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ให้กับประชาชนด้วยพระองค์เอง ไม่ว่าเป็นคนไทยหรือคนจีน จนกระทั่งชาวจีนย่านสำเพ็ง มีความทราบซึ้ง ในพระกรุณาธิคุณ  และได้เรียกพระองค์ท่านว่า "เตี่ย" ซึ่งหมายถึงพ่อ

ทำให้ในเวลาต่อมาทหารเรือได้เรียกพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" สำหรับในหมู่คนไข้ชาวไทย ที่พระองค์รักษานั้น มักจะเรียกขานนามพระองค์ว่า "หมอพร"

 

พล.อ.ร.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงประชวร และสิ้นพระชนม์ ในขณะที่ประทับอยู่ที่หาดทรายรี ปากน้ำเมืองชุมพร เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2466 เวลา 11.40 น. ยังความโศกเศร้ามาสู่บรรดาทหารเรือยิ่งนัก

 

 

บันทึกของเสด็จใน

กรมหลวงชุมพร เขตรอุดมศักดิ์

 

เจอบันทึกนี้ให้เอาคำต่อไปนี้ของกูไปประกาศให้คนรู้ว่า

"กูกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักด์"

ผู้เป็นโอรสของพระปิยมหาราช ขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า

แผ่นดินสยามนี้ บรรพบุรุษ ได้เอาเลือดเอาเนื้อเอาชีวิตแลกไว้

ไอ้อีมันผู้ใด คิดชั่วร้ายทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ฤา กระทำการทุจริต ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม

จงหยุดการกระทำนั้นเสียโดยเร็ว

ก่อนที่ที่กูจะสั่งทหารผลาญสิ้นทั้งโคตรให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยาม

อันเป็นที่รักของกู

ตราบใดที่คำว่า "อาภากร"

ยังยืนหยัดอยู่ในโลก กูจะรักษาผืนแผ่นดินสยามของกู

ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา

มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น

แผ่นดินใดที่ให้ซุกหัวนอน ให้ความร่มเย็นเป็นสุข

มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น

 

จากหนังสืออนุสรณ์พระนคร '39

 

   แม้นว่าพระองค์จะสิ้นพระชนม์มาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม

แต่พระราชกรณียกิจและคุณงามความดีของพระองค์

ที่ทรงมีต่อประเทศชาตินั้น  ยังคงจารึกไว้ในความทรงจำ

ของปวงชนชาวไทยอยู่อย่างมิลืมเลือน

ความเลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยที่มีต่อพระองค์นั้น

จะเห็นได้จากอนุสาวรีย์และศาลของพระองค์ที่มีมากมาย

ทั่วประเทศกว่า  120  แห่ง

126
หลวงพ่อจง พุทธสโร

วัดหน้าต่างนอก

**************************************

คัดลอกมาจาก http://www.konmeungbua.com/teacher/teacher_jong/Lungpo_jong2.html

ชาติกำเนิด

หลวงพ่อจง พุทฺธสโร ท่านได้ถือกำเนิดที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในต้นสมัยรัชกาลที่ 5 ของราชวงศ์จักรี ท่านเกิดในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2415

นามเดิมของท่านชื่อว่า "จง" ในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล เลยยังไม่มีนานสกุลพ่วงท้ายชื่อ เป็นบุตรชายคนโตของ "นายยอด" และ "นางขลิบ" ที่มีอาชีพเป็นชาวนา หลวงพ่อจงท่านมีน้องร่วมอุทรเดียวกันอีก 2 คน คือ "นายนิล" หรือ "พระอธิการนิล" และ "นางปลิก"

ชีวิตในวัยเยาว์ของหลวงพ่อจงท่านอยู่ในฐานะเฉกเช่นผู้อาภัพอับโชค อุดมไปด้วยทุกขโรคา มากกว่าความสุขร่าเริงสดใสเหมือนกับเด็กในวัยเดียวกันทั่วไป

หลวงพ่อจงท่านถูกโรคพยาธิเบียดเบียนมาตั้งแต่เล็ก จึงทำให้มีรูปร่างค่อนข้างจะผอมโซ ไม่แข็งแรง หน้าตาซีดเซียว แถมยังมีอุปนิสัยค่อนข้างขี้อาย เซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้น ชอบเก็บตัวอยู่ตามลำพังคนเดียว ไม่ค่อยพูดคุยกับใคร ถามมาคำก็ตอบกลับไปคำ และซ้ำร้ายไปกว่านั้นได้กลายเป็นที่น่าเวทนาสำหรับผู้พบเห็นและรู้จักมักคุ้นก็คือหลวงพ่อจงในวัยเยาว์ท่านมีอาการหูอื้อจนเกือบหนวกรับฟังเสียงต่าง ๆ ไม่ค่อยชัดเจน นัยน์ตาก็ฝ้าฟางมองอะไรแทบไม่เห็น

แต่ด้านของจิตใจท่านกลับเพียรใฝ่หารสพระธรรม ชอบทำบุญตักบาตรในวันธรรมสวนะอยู่เป็นเนืองนิจ โดยให้บิดามารดาหรือญาติพี่น้องพอไปยังวัดหน้าต่างใน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
จวบจนกระทั่งอายุของหลวงพ่อจงอายุได้ 12 ปี บิดามารดาของท่านเห็นถึงอุปนิสัยของท่านว่ามีความชอบวัด ติดวัด จึงนำเข้าบรรพชาเป็นสามเณรซะเลย ณ วัดหน้าต่างใน และก็ช่างเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะปรากฏว่าเมื่อท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่รุมเร้ามานานแรมปี ไม่ว่าจะเป็นโรคพยาธิ ที่ทำให้เกิดอาการผอมโซ เซื่องซึม หูอื้อ นัยน์ตาฝ้าฟาง ก็ได้หายไปจนหมดสิ้น ท่านกลับกลายเป็นผู้ที่มีสุขภาพพลานามัยดีมาก และท่านก็มีความสุขในสมณเพศนั้น ดุจดั่งเป็นนิมิตหมายให้รู้ว่า หลวงพ่อจงจะต้องครองเพศอยู่ใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ไปจนชีวิตจะหาไม่

ในปี พ.ศ. 2435 เมื่ออายุครบบวช โยมบิดามารดาจึงได้จัดพิธีอุปสมบทให้ ณ พัทธสีมาวัดหน้าต่างใน โดยมี หลวงพ่อสุ่น เจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อินทร์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โพธิ วัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พุทฺธสโรภิกขุ"

และหลวงพ่อจงก็ได้พนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดหน้าต่างใน ศึกษาพระปริยัติธรรมและธรรมสิกขา พร้อมด้วยฝึกฝนในอักษรสมัยทั้งขอมและไทย จากพระอาจารย์เจ้าอาวาสจนมีความรู้ปราดเปรื่องชำนาญ จนใคร ๆ ก็อดสงสัยมิได้ว่า เอ๊ะ ทำไมหลวงพ่อจง มิยังงมโข่งหรืออุ้ยอ้ายอับปัญญาดุจดั่งที่มีบุคลิกอันอ่อนแอ ส่อสำแดงว่าน่าจะเป็นไปในทางทึบ หรือ อับ

หลวงพ่อจง พลิกความเข้าใจของโยมและวงศ์ญาติให้เป็นการกลับตาลปัตรไปไกลกว่านั้น โดยนอกจากศึกษารู้แจ้งในพระธรรมและภาษาหนังสือจนแตกฉานแล้ว มิช้ามินาน ยังสามารถรับการถ่ายทอดวิทยาการในแขนงว่าด้วยคุณเวทย์วิทยาคมขลัง จากพระอาจารย์โพธิ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ซึ่งท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสไพศาลในยุคนั้น มาได้ขนาดว่าหมดสิ้นพุงความรู้ของพระอาจารย์ และก็มิได้หยุดยั้งแค่นั้น หลวงพ่อจงยังได้พากเพียรแสวงหาความรู้ไม่ขาด รู้ว่าที่ไหนมีพระอาจารย์ดี มีผู้เคารพนับถือมาก ในวิชาหรือเจนบจนในวิทยาการหนึ่งวิทยาการใด ท่านเป็นเสาะแสวงหาหนทางนำตนไปนมัสการน้อมยอมเป็นสานุศิษย์ ศึกษาวิชาอย่างไม่มีท้อถอยไม่มีกลัวความลำบาก ในการต้องบุกป่าฝ่าหนามข้ามทุ่งไกล ๆ ซึ่งสมัยนั้นไปไหนต้องใช้พาหนะเท้าย่ำกันเป็นหลัก

ต่อมาจึงได้ไปศึกษาเรียนวิชาปฏิบัติกรรมฐานจากพระอาจารย์หลวงพ่อปั้น เกจิอาจารย์ของวัดพิกุล ซึ่งท่านมีชื่อเสียงกิตติศัพท์โด่งดังมากจนสมญาว่า เป็นพระมหาเถระฝ่ายอรัญญาวาสีผู้ยิ่งใหญ่รูปหนึ่งหมั่นศึกษาและพากเพียรด้วยอิทธิบาทอันแก่กล้าช้านาน

จนในที่สุด "ทั่ง" ถูกฝนลงเป็นเข็มสำเร็จ กาลต่อมา หลวงพ่อจงจึงได้รับขนานนามเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเจริญกรรมฐาน ประเภท อสุภปฏิกูล โดยที่ท่านมีบุคลิกภาพเปี่ยมพร้อมสมบูรณ์ สำหรับการปฏิบัติเจริญภาวนา เหมาะสมกับสภาวะนั้นได้ ด้วยปราศจากอารมณ์หวาดหวั่น หวาดไหว เป็นต้น เปี่ยมพร้อมด้วย มีองค์คุณอันเหมาะสมที่เรียกว่า สัปปายะ (สี่) และมี องค์คุณอันเป็นที่ตั้งของความเพียร (ห้า) ที่เรียกว่า ปธานิยังคะ

เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมสิกขา และปฏิบัติพระปริยัติธรรมศึกษาพระเวทย์และวิชาการคุณเวทย์วิทยาคม ซึ่งมีความสนใจเป็นพิเศษ เพราะนอกจากมีนิสัยส่วนตัวพอใจแล้ว ยังมีเหตุแวดล้อมจากความรู้สึกชมชื่นและศรัทธาของชาวบ้านชาวเมืองสมัยยุคนั้นให้ความนิยมต่อศาสตร์แขนงนี้ ดังจะเห็นจากมีผู้ถวายความเคารพศรัทธาต่อความเป็นพหูสูต ความยิ่งยงเกรียงไกรในอำนาจฤทธิ์มนต์ขลังของท่านพระครูโพธิ ท่านเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ซึ่งครั้งกระนั้นเป็นต้นสังกัดของหลวงพ่อจงจนล่วงผ่านวันเดือนไปหลายรอบปีนักษัตร ตราบจนพระอาจารย์โพธิได้ถึงมรณภาพไปเพราะโรคภัยเบียดเบียนตามอายุขัยของผู้ชราภาพ ประกอบด้วยหลวงพ่อจง เป็นผู้ขึ้นชื่ออยู่ในความรับรู้ของผู้ใกล้ชิด ทั้งใกล้ไกลตลอดมวลหมู่ผู้สนใจเฝ้าสังเกตว่า ได้รับการถ่ายทอดวิทยาการทางเวทย์วิทยาคมมาจากพระอาจารย์โพธิได้อย่างเต็มภาคภูมิ วุฒิที่พระอาจารย์โพธิมีอยู่ แต่นั้นมาบรรดาชาวบ้านก็ให้ความศรัทธาเชื่อมั่นต่อหลวงพ่อจงอย่างท่วมท้น ทำให้ท่านต้องรับภาระหนักในการทำพิธีรดน้ำมนต์ ใช้เวทย์วิทยาคมกระทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ให้ฤกษ์งามยามดี บำบัดเหตุมิดีกาลีร้ายนานาประการ ตามแต่จะมีผู้มาอาราธนานิมนต์ให้โปรดจึงกระทำให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นเงาตามตัว



ในขบวนการใช้อุบายอันแยบคาย อบรมบ่มจิตให้ได้รับความสงบจนบังเกิดเป็นสมาธิและฌาน (สมถะกัมมัฏฐาน หรือเรียกว่าสมถะกรรมฐาน) กับอาการบอรมจนให้ดวงจิตบังเกิดปัญญาที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน (กัมมัฏฐาน) หลวงพ่อจงพอใจชอบใช้ฝึกจิตในแนวทางเรียกว่า อสุภะ

อสุภะ ตามความหมายก็คือ หมายความถึง สิ่งอันเป็นซากของวัตถุหรือซากร่างปราศจากชีวิต อันไร้ความน่าดู ปราศจากความสวยงามตรงข้ามกลับน่ารังเกียจ น่าเบื่อหน่าย และน่าขยะแขยงสะอิดสะเอียน หลวงพ่อจงพอใจใช้วิธีการ เพ่งอสุภะ เป็นแนวทางอบรมบ่มจิต ก็เพราะได้ความคิดว่า มันเป็นการช่วยให้ตนสามารถมองเห็นชัดด้วยตา และบังเกิดความรู้สึกในใจให้คิดสังเวชอย่างซาบซึ้งถึงความจริงในข้อที่ว่าตนและสรรพสัตว์ เมื่อต้องมีอันต้องตายไปแล้วก็ต้องมีสภาพน่าอเนจอนาถไม่น่าดู ไม่น่ารัก แต่น่าชัง น่ารังเกียจ ทุเรศ อุจาดตา ดังนี้ด้วยกันทั้งนั้นและเป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น ซึ่งจากข้อคิดนี้ จะทำให้ดวงจิตแห้งแล้งหดหู่ ปราศจากความร่านยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ปราศจากความหลงงมงาย คิดว่าร่างกายเป็นสิ่งสวยงาม จะได้เป็นเครื่องบรรเทาอัสมิมานะ คือ ความสำคัญผิด เพ้อเห็นไปว่าร่างกายนั้นมันเป็นตัวตนของเขาของเราจริงแท้ ซึ่งความจริงมันมิใช่ ความจริงมันเป็นเพียง อัตตะปราศจากตัวตน เป็นที่รวมอยู่ของธาตุทั้งห้าชั่วครั้งคราว โดยสภาวะปรุงแต่งแวดล้อม ครั้นถึงกาลเวลาก็แตกดับล่วงลับสลายไป ไม่เป็นเขาไม่เป็นเรา ดังนั้น หลงและโลภในรูปรส กลิ่น เสียง

หลวงพ่อจงชอบเพ่งมอง อสุภะ คือ รูปเน่าเปื่อยของศพที่มีผู้เอามามอบให้ และท่านเก็บไว้ในห้องที่จัดไว้พิเศษโดยเฉพาะอย่างซ่อนเร้น มิให้ประเจิดประเจ้อต่อการรู้เห็นของผู้อื่น ท่านจะใช้เวลายามปลอดและสงัดจากผู้คนเข้าไปในห้องพิเศษพร้อมด้วยดวงเทียนที่มีแสงสว่างเพียงมองเห็น ท่านจะนั่งเฝ้าเพ่งมองดูรูปศพคนตาย ไม่เลือกว่าจะเป็นศพขึ้นอืดจนเป็นน้ำเหลืองหยด มีกลิ่นเหม็น หรือเป็นซากศพแห้งเหี่ยวจนหน้าตาน่าเกลียดเพียงใด ท่านก็จะเฝ้าจ้องมองเพ่งดูอย่างจริงจัง เพ่งมองให้เป็นภาพติดตา จนจำขึ้นใจว่า ศพนั้นท่าทางรูปร่างเป็นอย่างนั้น แห้งเหี่ยวเป็นรอยย่นผิดหน้าตามนุษย์ธรรมดายังงั้นยังงี้ หรือมีน้ำเหลืองหยดเพราะอาการเน่าเปื่อยตรงนั้นตรงนี้ พร้อมกันนั้นก็กระทำจิตใจให้บังเกิดอารมณ์สังเวช ว่ารูปกายที่เกิดมาแล้วก็ต้องถึงวาระมีอันเป็นไปให้เจ็บป่วย ถูกทำร้ายหรือยังเกิดอุบัติเหตุเป็นภัยอันตรายถึงตาย ตายแล้วก็มีอาการน่าอเนจอนาถต่าง ๆ นานา เป็นเช่นนี้เสมอไป ร่างกายหนอ... ชีวิตหนอ... ต่างล้วนเป็นภาพน่าอนาถ น่าสังเวช น่าชิงชัง น่าเบื่อด้วยกันทั้งนั้น

เมื่อมีผู้สงสัยถามว่า ทำดังนี้และปลงอารมณ์ได้ดังนี้แล้ว จะบังเกิดประโยชน์อะไร หลวงพ่อจงให้คำตอบว่าได้ประโยชน์คือ ทำให้ไม่หลงใหลรักตัวตนว่าเป็นตัวตนของเขาของเรา มันเป็นแค่ชีวิตกายเกิดที่ก่อสารรูปขึ้นได้ด้วยสภาวะแวดล้อมของธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ เช้ารวมตัวกัน ความคิดเห็นแก่ตนเอง เอาเปรียบเบียดเบียนผู้อื่น จะหย่อนหายไปจากสันดานโลภโมโทสัน เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งขัดเกลาสันดานจิตใจ ให้ผ่องใสสะอาด หากมนุษย์อันเป็นตัวสมมติของกาย เกิดไม่หลงนึกแยกประเภทของกายเกิด ว่านั่นเป็นเขา นี่เป็นเรา ดังนี้แล้ว การอยู่ร่วมกันในสังคม บ้านเมือง ตลอดทั่วโลก ก็จะมีแต่ความสงบสุข ไม่ต้องมีการดิ้นรนจองล้างจองผลาญย่ำยีต่อกันและกัน

หลวงพ่อจงเป็นผู้มีกำลังหนุนมั่นคงด้วยการใช้แรงอิทธิบาทสี่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เข้าปฏิบัติกระทำในกิจการไม่ว่าสิ่งใดที่สนใจ ตลอดจนการท่องบ่นทบทวนวิทยาคมที่พระอาจารย์โพธิ์ประสิทธิ์ประสาทให้ไม่ย่อท้อ ท่านได้พากเพียรกระทำสม่ำเสมออยู่เป็นนิจ ด้วยความมานะแรงกล้า

ยิ่งนานวันนานคืนล่วงไป ภูมิจิตของท่านก็เพิ่มพลังความชำนาญจนเข้าขั้นนับว่าเป็นผู้ได้ฌานสมาบัติขั้นสูงผู้หนึ่ง


127
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
     
      ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา
     
      เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดาเต็มความสามารถ
     
      ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า ?เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก? คำสั่งของยายนี้คอยสกิดใจอยู่เสมอ
     
      ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ท่านทั้งสองก็อนุมัติตามประสงค์ ท่านได้ศึกษา ในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะขนานนามมคธ ให้ว่า ภูทตฺโต เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ พระอาจารย์เสาร์ กันตศีลเถระ ณ วัดเลียบต่อไป
     
      เมื่อแรกอุปสมบท ท่านพำนักอยู่วัดเลียบ เมืองอุบลเป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมืองอุบลบ้าง เป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร แล้อุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรีบยร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทานธุดงควัตร ต่างๆ
     
      ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง หุบเขาซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับ เจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม แล ถ้ำสิงโตห์ ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้ง ในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย ในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสาน ทำการอบรมสั่งสอน สมถวิปัสสน าแก้สหธรรมิก และอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติมากขึ้น โดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลาย กระจายทั่วภาคอีสาน
     
      ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมา จังหวัดอุบลราชธานี พักจำพรรษาอยู่ที่ วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคระาห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองขอบ อำเภอเมืองสกลนคร (ปัจจุบันคือ อำเภอโคกศรีสุพรรณ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอเมืองพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่าน ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ
     
      ๑.ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนให้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
      ๒.บิณฑบาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต
      ๓.เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัย จึงงด
      ๔.เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลา แม้อาพาธหนักในปัจฉิมสมัย ก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย เมื่อถึงวัยชรา จึงอยู่ในเสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลัง ที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยว แสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ภาเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้
     
      ธรรมโอวาท
     
      คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำ
      ด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ดังนี้
     
      ๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ
      ๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง
     
      เมื่อท่านอธิบาย ตจปัญจกกรรมฐาน จบลง มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า ?แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภาพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่? ดังนี้
     
      เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ถือลัทธิฉันเจ ให้เข้าใจทางถูก และ ละเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้ว ได่กล่าวเป็นคติขึ้นว่า ?เหลือแต่เว้าบ่เห็น บ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทาง สิถืกดงเสือฮ้าย? ดังนี้แล การบำเพ็ญสมาธิ เอาแต่เพียงเป็นบาทของวิปัสสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้ว ส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ให้กำหนดรู้ ถ้าใครกลัวตาย เพราะบทบาททางความเพียร ผู้นั้น จะกลับมาตายอีก หลายภพหลายชาติ ไม่อาจนับได้ ส่วนผู้ใดไม่กลัวตาย ผู้นั้นจะตัดภพชาติให้น้อยลง ถึงกับไม่มีภพชาติเหลืออยู่ และผู้นั้นแล จะเป็นผู้ไม่กลับหลังมาหาทุกข์อีก ธรรมะเรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดแปรปรวนของสังขาร ประกอบด้วยไตรลักษณ์ ปัจฉิมโอวาท ของ พระพุทธเจ้าโดยแท้ๆ ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโดย ยึดหลักธรรมชาติของศีลธรรมทางด้านการปฏิบัติ เพื่อเตือนนักปฏิบัติทั้งหลาย ท่านแสดงเอาแต่ใจความว่า..
     
      การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศล คือ ความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง......
     
      นี้แล คือ ตำสอนทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
      การไม่ทำบาป...ถ้าทางกายไม่ทำ แต่ทางวาจาก็ทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำ แต่ทางใจก็ทำ
      สั่งสมบาปตลอดวัน จนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากหลับ ก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไป จนถึงขณะหลับอีก เป็นทำนองนี้ โดยมิได้สนใจว่า ตัวทำบาป หรือ สั่งสมบาปเลย แม้กระนั้น ยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศีลธรรม และ คอยแต่เอาความบริสุทธิ์ จากความมีศีลธรรม ที่ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมอง ความวุ่นวายในใจตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะ ตนแสวงหาสิ่งนั้น ก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้น จะให้เจออะไรเล่า เพราะเป็นของที่มีอยู่ ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์
     
      ท่านพระอาจารย์มั่น แสดงโอวาทธรรม ให้ปรากฏไว้ เมื่อครั้งท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดสระประทุม (ปัจจุบัน คือ วัดประทุมวนาราม) กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน อาจค้นคว้าหาอ่านได้ไม่ง่ายนัก มีดังนี้
     
      นมตฺถุ สุคตสฺส ปญฺจธฺนกฺขนฺธานิ
     
      ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสุคต บรมศาสดาศากยะมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ และพระ อริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น
     


128
พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนฺทสุวณฺโณ)

พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์

เจ้าอาวาสวัดสวนขันและวัดพระธาตุน้อย



๑. สถานะเดิม

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เดิมชื่อ คล้าย สีนิล เกิดวันที่ 27 มีนาคม 2419 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็ง

ลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก

เมื่ออายุ ๑๕ ปี ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ่อท่านคล้ายได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ

ขาของพ่อท่านคล้ายนั้นเสียข้างหนึ่ง คือ ขาด้านซ้ายขาดตั้งแต่ตาตุ่มลงไป  (เสียตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดนต้นไม้ทับที่บ้านญาติของท่านที่ จ.กระบี่ ขาเป็นหนองเลยต้องตัดทิ้ง โดยท่านใช้มีดปาดตาลตัดเอง) ท่านเลยต้องใส่กระบอกไม้ไผ่แทน

พ่อท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2438 (อายุ 19 ปี) บรรพชาที่วัดจันดี ต.หลักช้าง บรรพชาโดยอาจารย์ พระอธิการจันเจ้าอาวาสวัดจันดี (ทุ่งปอน) และพ่อท่านสามารถท่อง พระปาฏิโมกข์จนได้แม่นยำ

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุทกุกเขปสีมา หรือศาลาน้ำ ได้รับฉายาว่า จนฺทสุวณฺโณ โดยมีพระครูกราย คงคสุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี

๒. การศึกษา

การศึกษาเบื้องต้น พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เริ่มศึกษาเบื้องต้นที่บ้าน โดยบิดาเป็นผู้สอน เรียนวิชาคำนวณ และวิชาอักษรโบราณ จนสามารถอ่านออกเขียนชำนาญ ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม ต่อมาศึกษาต่อในสำนักนายขำ ที่วัดทุ่งปอน บ้านโคกทือ จนจบหลักสูตร ต่อมาได้ไปฝึกหัดเล่นหนังตะลุงกับนายทองสาก ประกอบกับพ่อท่านคล้ายมีหน้าตาดี น้ำเสียงไพเราะ จึงมีคนติดใจการเล่นหนังตะลุงของท่านมากการศึกษาสมัยอุปสมบท เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ศึกษาภาษาบาลี (มูลกัจจายนะ) ณ สำนักวัดหน้าพระบรมธาตุฯ โดยมีพระครูกาแก้ว (ศรี) เป็นอาจารย์ ต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักวัดสามพัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์หนูเจ้าอาวาสเป็นผู้สอน

ผลงานและเกียรติคุณ
สมณศักดิ์

ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในนามสมณศักดิ์เดิม แต่ประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามชื่อเดิมว่า พ่อท่านคล้าย

ตำแหน่ง

- ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ จนมรณภาพ

- เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย ใน พ.ศ.๒๕๐๐ เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว วัดนี้ก็เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว

๓. ผลงานที่สำคัญ

๓.๑. งานด้านศาสนา

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ผลงานสำคัญ ดังเช่น

สร้างวัด พ่อท่านคล้ายเห็นความสำคัญของปูชนียสถาน จึงได้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ วัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๐ ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดินใกล้ตลาดนาบอน จึงสร้างวัดขึ้นเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ว่า วัดพิศิษฐ์อรรถการาม และวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพ่อท่านคล้าย พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้สร้างขึ้นใหม่ และสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุทั้งหมด การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๓

สร้างพระเจดีย์ พ่อท่านคล้ายได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสาร

๓.๒ งานด้านพัฒนาท้องถิ่น

พ่อท่านคล้าย จัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ตลอดชีวิต ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ได้เดินทางไปพัฒนาในที่ต่าง ๆ มากมาย สร้างถนน สะพานมากมาย ด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน ดังเช่น

สร้างถนนเข้าวัดจันดี

ถนนจากตำบลละอายไปพิปูน

ถนนจากวัดสวนขันไปยังสถานีรถไฟคลองจันดี

ถนนจากตำบลละอายไปนาแว

ถนนระหว่างหมู่บ้านในตำบลละอาย

สะพานข้ามคลองคุดด้วนเข้าวัดสวนขัน

สะพานข้ามแม่น้ำตาปีจากตลาดทานพอไปนาแว

สะพานข้ามคลองเสหลา หน้าวัดมะปรางงาม

สะพานข้ามคลองจันดี เป็นต้น

๓.๓ ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์

ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือ ศรัทธาพ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พ่อท่านคล้ายจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน "ขอให้เป็นสุข เป็นสุข" ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย

คนที่ไปนมัสการหวังที่จะได้วัตถุมงคล บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด

มรณภาพ

พ่อท่านคล้ายมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ..ศ. ๒๕๑๓ รวมอายุได้ ๙๖ ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ ๑๐๐ วัน จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน

a8a8a8a8a8a8a8a8a8a

ตามประวัติ พ่อท่านคล้าย ท่านมีความเคารพนับถือ พระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งแม้จะไม่เคยพบเห็นหน้าตากันมาก่อนเลยก็ตาม พระเกจิอาจารย์ท่านนั้นคือ หลวงพ่อเฟื่อง วัดคงคาเลียบ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ตอนที่ หลวงพ่อเฟื่อง มรณภาพ ก็ได้ พ่อท่านคล้าย นี้แหละ เป็นผู้นำอัฐิของ หลวงพ่อเฟื่อง ขึ้นไปบรรจุไว้บน เจดีย์วัดคงคาเลียบ ที่ตั้งตระหง่านสูงเด่นอย่างสวยงามอยู่ริมถนนสายเอเซีย หาดใหญ่-พัทลุง ตราบเท่าทุกวันนี้

129
"

ต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่สามารถนำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ มีต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๙ พระองค์ โดยต้นไม่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ ถึงองค์ที่ ๓ พบในชินกาลมาลีปกรณ์และต้นได้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ ถึงองค์ที่ ๒๙ พบในพุทธวงศ์อันมีความดังต่อไปนี้

๑. พระตัณหังกร
๒. พระเมธังกร
๓. พระสรณังกร
๔. พระที่ปังกร
๕. พระโกณฑ์ญญะ
๖. พระมังคละ
๗. พระสุมนะ
๘. พระเรวตะ
๙. พระโสภิตะ
๑๐. พระอโนมทัสสี
๑๑. พระปทุมะ
๑๒. พระนารทะ
๑๓. พระปทุมุทตระ
๑๔. พระสุเมธะ
๑๕. พระสุชาตะ
๑๖. พระปิยทัสสี
๑๗. พระอัตถทัสสี
๑๘. พระธัมมทัสสี
๑๙. พระสิทธัตถะ
๒๐. พระติสสะ
๒๑. พระปุสสะ
๒๒. พระวิปัสสี
๒๓. พระสิขี
๒๔. พระเวสสภู
๒๕. พระกะกุสันธะ
๒๖. พระโกนาคมนะ
 ไม้สัตตปัณณะ (ตีนเป็ดขาว)
ไม้กิงสุกะ (ทองกวาว)
ไม้ปาตลี (แคฝอย)
ไม้ปิปผลิ (เลียบ)
ไม้สาลกัลยาณี (ขานาง)
ไม้นาคะ (กากะทิง)
ไม้นาคะ (กากะทิง)
ไม้นาคะ (กากะทิง)
ไม้นาคะ (กากะทิง)
ไม้อัชชุนะ (รกฟ้าขาว)
ไม้มหาโสณะ (อ้อยช้าง, คำมอก)
ไม้มหาโสณะ (อ้อยช้าง,คำมอก)
ไม้สลฬะ (สน)
ไม้มหานิมพะ (สะเดาป่า)
ไม้มหาเวฬุ (ไผ่ใหญ่)
ไม้กกุธะ (กุ่ม)
ไม้จัมปกะ (จำปาป่า)
ไม้พิมพชาละ หรือกุรวกะ (มะพลับ,ซ้องแมว)
ไม้กัณณิการะ (กรรณิการ์)
ไม้อสนะ (ประดู่ลาย)
ไม้อาลมกะ (มะขามป้อม)
ไม้ปาตลิ (แคฝอย)
ไม้ปุณฑริกะ (มะม่วงป่า)
ไม้มหาสาละ (สาละใหญ่)
ไม้มหาสิริสะ (ซึกใหญ่)
ไม้อุทุมพระ (มะเดื่อ)
 
๒๗. พระกัสสปะ  ไม้นิโครธ (ไทร,กร่าง)
๒๘. พระโคตมะ คือ พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย  ไม้อัสสตถะ (พระศรีมหาโพธิ) 
๒๙. พระเมตไตรย คือ พระพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า ไม้นาคะ (กากะทิง) 

130
"มหาบุรุษ ลักษณะ ๓๒ ประการ"

ผู้ที่มีมหาบุรุษลักษณะ เป็นคำที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้ ลักษณะของมหาบุรุษมี ๓๒ ประการ คือ

๑. มีพระบาทราบเสมอกัน (พระบาท = เท้า)
๒. ลายพื้นพระบาทเป็นจักร (จักร = รูปลอยล้อรถ คือธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุลล้อนำไป สู่ที่หมาย)
๓. มีส้นพระบาทยาย (ถ้าแบ่ง ๔ ส่วน พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) (พระชงฆ์ = แข้ง)
๔. มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย)(นิ้วพระหัตถ์ = นิ้วมือ)
๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน (อัฐิ = กระดูก ดำเนิน = เดิน)
๘. พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุ (พระชานุ = เข่า)
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (พระคุยหะ = อวัยวะที่ลับ)
๑๑. มีฉวีวรรณดุจสีทอง (ฉวีวรรณ =สีผิวกาย)
๑๒. พระฉวีละเอียด (พระฉวี = ผิว)
๑๓. มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้น ๆ (พระโลมา = ขน)
๑๔. เส้นพระโลมาดำสนิทเวียนเป็นทักขิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน (ทักขิณาวัฏ = วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา)
๑๕. พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม
๑๖. มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ , พระอังสาทั้ง ๒, กับลำพระศอ) (พระมังสะ = เนื้อ , ชิ้นเนื้อ พระอังสา = บ่า,ไหล่ พระศอ = คอ)
๑๗. มีส่วนพระสรีระกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ (สรีระ = ร่างกาย)
๑๘. พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน (พระปฤษฎางค์ = ส่วนหลัง,ข้างหลัง)
๑๙. ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุลปริมณฑลแห่งต้นไทร(พระกายสูงเท่ากับว่าของพระองค์)(วา = เท่ากับ ๔ ศอก ประมาณ 2 เมตร)
๒๐. มีลำพระศอกกลมงามเสมอตลอด
๒๑. มีเส้นประสาทสำหรับรสพระกระยาหารอันดี
๒๒.มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)(พระหนุ = คาง)
๒๓.มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) (พระทนต์ = ฟัน)
๒๔.มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
๒๕.พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง
๒๖.เขี้ยวพระทนต์ทั้ง 4 ขาวงามบริสุทธ์
๒๗.พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฏใต้)(พระชิวหา = ลิ้น พระนลาฎ = หน้าผาก)
๒๘.พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก
๒๙.พระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
๓๐.ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
๓๑.มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักขิณาวัฏ (อุณาโลม = ขนระหว่างคิ้ว)
๓๒.มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (พระเศียร = ศีรษะ)
 
 

131
บทสนทนาต่อไปนี้ เป็นการสนทนาระหว่าง ติช นัท ฮันห์ พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานิกายเซน กับบาทหลวง แดน เบอริแกน นักบวชในพระคริสตศาสนานิกายเยซูอิต ทั้งสองต่างเป็นผู้ที่ได้ต่อสู้และเรียกร้องเพื่อสันติภาพ ความสงบของมวลมนุษย์ โดยยึดหลักทางศาสนธรรมเป็นเกณฑ์ การสนทนาได้กระทำขึ้น ณ สำนักงาน Vietnamese Peace Buddhist Delegation บทสนทนาดังกล่าวเป็นบทหนึ่งในบรรดาหลาย ๆ บทที่รวบรวมตีพิมพ์ในหนังสือ The Raft is not the shore

.... .... .... ....

นัท ฮันห์ : ผมคิดว่า การได้มองลึกลงในดวงตาของศาสดาที่แท้พระองค์หนึ่ง มีค่าเสียยิ่งกว่าการศึกษาคัมภีร์ และคำสั่งสอนของพระองค์ตั้งร้อยปี ในตัวของพระองค์ ท่านได้รับแบบอย่างแห่งการตรัสรู้ และแบบอย่างของชีวิตโดยตรง ในขณะที่จากสิ่งอื่น ท่านจะได้รับก็เพียงแต่เงา ซึ่งอาจจะช่วยอะไรท่านได้บ้างเหมือนกัน แต่ไม่ใช่โดยตรงดังที่พระพุทธตรัสว่า "คำสอนของตถาคต เป็นเพียงพ่วงแพ อันช่วยนำเธอข้ามไปสู่อีกฝั่งหนึ่ง หาใช่ความจริงสูงสุดไม่ เธอไม่ควรหลงบูชาอยู่"

เบอร์ริแกน : เออ, ท่านจะมองลงลึกในดวงตาของพระเยซู หรือพระพุทธเจ้าด้วยวิธีการอย่างไร?

นัท ฮันห์ : วิธีการอย่างไร? ไม่มีคำว่าวิธีการหรอก มันคงเหมือนกับถามว่าผมมองดูท่านด้วยวิธีการอย่างไร? ผมมองดูกิ่งไม้ด้วยวิธีการอย่างไร ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ "วิธีการมอง" แต่อยู่ที่ตัวบุคคลผู้ทำการมอง เพราะถ้าหากท่านเอาของสิ่งหนึ่งมาวางไว้ต่อหน้าผู้คน และก็มีคนมากมายพากันมาดูของสิ่งเดียวกันนี้ คนเหล่านั้นกลับเห็นไปคนละอย่าง มันมิได้ขึ้นอยู่แต่เพียงวัตถุที่ท่านนำมาแสดง แต่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและแก่นสารของบุคลผู้มองด้วย ดังนั้นเมื่อท่านได้สัมผัสความจริงโดยตรง ท่านย่อมมีโอกาสมากในการเจาะทะลุถึงตัวความจริง มากกว่าเมื่อท่านมีเพียงภาพปรากฏของความจริงเท่านั้น นั่นเป็นผังเมืองหาใช่ตัวเมืองจริง ๆ ไม่ นั่นเป็นร่มไม้ หาใช่ต้นไม้ไม่ นั่นเป็นคำสอนหาใช่องค์ศาสดาหรือตัวชีวิตไม่ ผู้ที่มีโอกาสมองเห็นลึกลงไปในดวงตาของพระพุทธเจ้าและพระเยซู แต่ไม่สามารถแลเห็นพระพุทธเจ้าหรือพระเยซูนั้น ผมคิดว่าเป็นความสิ้นหวังเลยทีเดียว

เรามีเรื่องราวในวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ที่กล่าวถึงผู้คนที่พากันหลั่งไหลมาจากแดนไกล ด้วยความหวังว่า พวกเขาจักได้เห็นพระพุทธเจ้า แต่พวกเขากลับไม่สามารถเห็นพระองค์ ทั้งนี้เนื่องมาจากวิธีการที่พวกเขารับและสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ที่พวกเขาได้ประสบในระหว่างทางนั่นเองเป็นเหตุ คนพวกนี้เมื่อพบหญิงผู้ต้องการความช่วยเหลือ แต่เขากลับลนลานที่จะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้ผมจึงกล่าวว่า การที่ท่านจะสามารถเห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับตัวท่านเองมากทีเดียว

เบอร์ริแกน : น่าตระหนกใจว่า จะมีทัศนะทำนองนี้มากมายสักเพียงใด ในระหว่างวิถีการดำรงชีวิตวัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ทำให้หวนระลึกถึงเหตุการณ์อันระทึกใจในวันพิพากษา ซึ่งกล่าวไว้ในตอนท้ายแห่งพระคัมภีร์ของมัดธายเมื่อองค์พระเยซูตรัสว่า "ขอลาขาด" ต่อคนพวกหนึ่ง เพราะคนพวกนี้ไม่นำข้าวน้ำมาถวายพระองค์ ไม่นำเสื้อผ้ามาถวายพระองค์ และไม่มาเยี่ยมเยียนพระองค์ในคุก คนเหล่านั้นจึงพากันท้วงว่า "ข้าพเจ้าได้กระทำผิดต่อพระองค์เช่นนี้ตั้งแต่เมื่อไร" และพระองค์จึงตรัสว่า "เจ้าได้กระทำผิดต่อพี่น้องผู้ยากจนของเรา ช่างเลวทรามเหลือเกิน ขอลาขาดกันที"

นั่นยังเป็นคำถามอันลึกซึ้งสำหรับผมอยู่ดีว่า ท่านประสบกับดวงตาของพระเยซูและของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร? บางทีอาจเป็นคำถามของคนไม่ประสีประสา ผมยังคิดว่า หากผู้ใดสามารถหายใจเอาความวิเวกของพระเยซูไว้ในชีวิตได้แล้ว อะไรบางอย่างจะอุบัติขึ้น พระองค์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของพระองค์อยู่กับความวิเวก หากเพียงแต่ผู้ใดสามารถเดินทางไปสู่ทะเลทรายพร้อมกับพระองค์ หรืออยู่ในคุกร่วมกับพระองค์ ในระหว่างสัปดาห์อันศักดิ์สิทธิ์ หรือเข้าถึงความเงียบของพระองค์คราวที่อยู่ต่อหน้าของพิเลตและเฮโรด พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะตอบคำถามของคนทั้งสอง ซึ่งที่แท้ก็เป็นการตอบในลักษณะหนึ่งนั่นเอง สำหรับผมแล้วดูเหมือนว่าเหตุการณ์นั้นเป็นการประจันหน้ากันอย่างลึกซึ้ง เป็นชั่วขณะซึ่งเลยพ้นไปจากความจำเป็นที่ต้องเจรจาโต้ตอบกันยืดยาว ผมมักระลึกถึงความหมายของพระดังเช่นตัวท่าน หรือท่านเมอร์ตัน หรือพระหนุ่ม ๆ ซึ่งเราได้ยินกิตติศัพท์เกี่ยวกับมรณกรรมของท่านเหล่านั้นอยู่เป็นประจำ ท่านเหล่านี้แหละเป็นบุคคลผู้ได้ประสบกับดวงตาของพระเยซูหรือของพระพุทธเจ้า โดยอาศัยผ่านความรู้ซึ้งถึงความเงียบสงบในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

นัท ฮันห์ : เมื่อผมกล่าวถึงการมองลึกลงในดวงตาของพระพุทธเจ้านั้น ผมนึกถึงพระพุทธเจ้าในฐานะมนุษย์ผู้หนึ่ง ซึ่งแวดล้อมด้วยบรรยากาศพิเศษ ผมตั้งข้อสังเกตว่า มหาบุรุษทั้งหลายย่อมนำเอาบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์มาพร้อมกับพระองค์ด้วย และเมื่อเราแสวงหาพระองค์ เราย่อมรู้สึกถึงสันติสุข ความรักและความกล้าหาญ

อาจเป็นไปได้ว่า เพียงแต่การปรากฏกายของพระองค์ก็สามารถอธิบายสิ่งนี้ได้ มีภาษิตจีนกล่าวว่า เมื่อคนดีมาจุติ น้ำในแม่น้ำและเหล่าพืชพรรณต้นไม้บนภูเขาในละแวกนั้น ย่อมกลับกลายใสสะอาดขึ้น และเขียวขจีขึ้น นี่เป็นวิธีการที่ชาวจีนพูดถึงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำเนิดขึ้นในเวลาเดียวกับประสูติกาลของผู้มีบุญ

ในพระพุทธศาสนา เราพูดถึง "กรรม" ในฐานะเป็นผล หรือเป็นเหตุ เหตุแห่งกรรมคือตัวผู้กระทำ และผลแห่งกรรมคือสิ่งที่ท่านได้รับอันเป็นผลรวมที่เกิดจาก การกระทำ ความคิด และความเป็นอยู่ทั้งหมดของท่าน ดังนั้นกรรมผลาก็คือผลแห่งกรรมนั่นเอง กรรมผลาประกอบขึ้นด้วยสองส่วน : ส่วนแรกถึงตัวท่านเอง และส่วนที่สองคือสิ่งที่แวดล้อมตัวท่านอยู่ เมื่อท่านมาอยู่ร่วมกับเราสักหนึ่งชั่วโมง ท่านก็นำสิ่งแวดล้อมที่ว่านี้มาด้วย เป็นรัศมีอย่างหนึ่งซึ่งแผ่ออกมาจากตัวท่านเอง เหมือนกับเวลาที่ท่านนำเทียนไขเข้ามาในห้องนี้ แท่งเทียนอยู่ ณ ที่นั้น พร้อมกับแสงสว่างจากเทียนซึ่งท่านนำเข้ามาด้วย

เมื่อเมธีผู้หนึ่งอยู่ ณ ที่นั้น และเราได้นั่งใกล้ท่าน เราจะรู้สึกโปร่งเบา รู้สึกถึงความสงบ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมผมจึงกล่าวว่า หากท่านได้นั่งใกล้พระเยซู และมองดูดวงตาของท่าน แต่ยังไม่อาจแลเห็นพระองค์จึงนับว่าเป็นความสิ้นหวัง เพราะในกรณีเช่นนี้ ท่านมีโอกาสมากที่จะเห็นพระองค์ ยิ่งกว่าเมื่อท่านอ่านจากคำสอนของพระองค์เสียอีก แน่นอน หากพระองค์มิได้อยู่ ณ ที่นั้น คำสอนของพระองค์ก็เป็นสิ่งดีที่สุดรองลงมา

เมื่อผมได้อ่านหรือถือพระคัมภีร์ ไม่ว่าจะเป็นของพุทธหรือคริสต์ก็ตาม ผมพยายามระลึกอยู่เสมอถึงความจริงที่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าหรือพระเยซูตรัสอะไรออกมา พระองค์ย่อมตรัสสิ่งนั้นกับคนบางคนหรือกับคนบางเหล่า ผมควรเข้าใจถึงสถานการณ์ในขณะที่พระองค์กำลังตรัสอยู่นั้นด้วย เพื่อที่จะเข้าถึงพระองค์ยิ่งไปกว่าเพียงแต่รับเอาคำสอนของพระองค์มาเป็นคำพูดเฉย ๆ ถ้าหากผมมีเรื่องหนึ่งที่เล่าให้ผู้ใหญ่ฟัง ผมย่อมสามารถเล่าเรื่องนั้นให้เด็กฟังได้ด้วยเช่นกัน แต่ผมจะต้องเล่าเรื่องนั้นให้เด็กฟังในลักษณะที่ต่างออกไป ทั้งนี้มิใช่เพราะผมต้องการทำเช่นนั้น แต่เพราะผมกำลังอยู่ต่อหน้าเด็ก ๆ ต่างหาก ดังนั้นเรื่องของผมจึงเป็นไปในลักษณะหนึ่งโดยปริยาย ผมเชื่อว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสหรือสั่งที่พระเยซูตรัสนั้น ยังไม่สำคัญเทียบเท่ากับ "วิธีการ" ที่พระพุทธเจ้าหรือพระเยซูตรัสสิ่งนั้นออกมา หากท่านสามารถจับเคล็ดอันนี้ได้ ท่านก็จะเข้าไปใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าหรือพระเยซูได้ แต่หากท่านพยายามจะวิเคราะห์ความหมายอันลึกซึ้งของคำต่าง ๆ โดยไม่รู้ถึงลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ผมคิดว่าท่านจะพลาดอย่างง่ายดายมาก ไม่เพียงแต่พลาดประเด็นเท่านั้น แต่พลาดเรื่องของมนุษย์ไปเลยทีเดียว ผมคิดว่านักเทววิทยามีแนวโน้มที่จะลืมการเข้าถึงด้วยวิธีการนี้ด้วยซ้ำ



132
คัดลอกจาก พุทธทาส.คอม - buddhadasa.com

คัดจากหนังสือ พุทธสาสนา ปีที่ ๖๗ เล่ม ๒ พุทธศักราช ๒๕๔๒

๑. กำเนิดแห่งชีวิต ?
 ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของ พ่อค้าที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้อง สองคน เป็นชาย ชื่อ ยี่เก้ย และ เป็นหญิง ชื่อ กิมซ้อย

บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลัก คือ การค้าขาย ของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีน นิยมทำกันทั่วไป แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของความสามารถทางด้านกวี และ ทางด้านช่างไม้ ซึ่งเป็นงาน อดิเรก ที่รักยิ่ง ของบิดา

ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือ ความสนใจ ในการศึกษาธรรมะ อย่างลึกซึ้ง อุปนิสัย ที่เน้น เรื่อง ความประหยัด เรื่องละเอียดละออ ในการใช้จ่าย และการทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด และต้องทำให้ดีกว่าครูเสมอ ท่านได้เรียนหนังสือเพียงแค่ชั้น ม.๓ แล้วต้องออกมาค้าขาย แทนบิดา ซึ่งเสียชีวิต

ครั้น อายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระ ตาม คตินิยม ของชายไทย ที่วัด โพธาราม ไชยา ได้รับ ฉายา ว่า " อินทปัญโญ" แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียน ตามประเพณีเพียง ๓ เดือน แต่ ความสนใจ ความซาบซึ้ง ความรู้สึก เป็นสุข และสนุก ในการศึกษา และเทศน์ แสดงธรรม ทำให้ท่าน ไม่อยากสึก เล่ากันว่า เจ้าคณะอำเภอ เคยถามท่าน ขณะที่เป็น พระเงื่อม ว่า มีความคิดเห็น อย่างไร ในการใช้ชีวิต ท่านตอบว่า "ผมคิดว่า จะใช้ชีวิต ให้เป็น ประโยชน์ แก่ เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด" ?"..แต่ถ้า ยี่เก้ย จะบวช ผมก็ต้องสึก ออกไป อยู่บ้าน ค้าขาย" ท่านเจ้าคณะอำเภอ ก็เลยไปคุยกับโยมแม่ของท่านว่า ท่านควรจะ อยู่เป็นพระ ต่อไป ส่วนยี่เก้ย น้อยชาย ของท่าน นั้น ไม่ต้องบวช ก็ได้ เพราะมีชีวิต เหมือน พระอยู่แล้ว คือ เป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่ ก็ เรียบง่าย ตัดผมสั้นเกรียนตลอดเวลา นายยี่เก้ย ก็เลย ไม่ได้บวช ให้พี่ชาย บวช แทน มาตลอด

นาย ยี่เก้ย ต่อมา ก็คือ "ท่านธรรมทาส" ฆราวาสผู้เป็นกำลังหลัก ของ คณะธรรมทาน ในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ของสวนโมกขพลาราม

๒. อุดมคติแห่งชีวิต
พระเงื่อม ได้เดินทาง มาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้นักธรรมเอก แล้วเรียนภาษาบาลี จนสอบได้ เปรียญ ๓ ประโยค ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม ๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคนรักการศึกษา ค้นคว้า จากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้า ออกไปจากตำรา ถึงเรื่อง การปฏิรูป พระพุทธศาสนา ในประเทศศรีลังกา อินเดียและ การเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ในโลก ตะวันตก ทำให้ท่าน รู้สึกขัดแย้ง กับ วิธีการสอนธรรมะ ที่ยึดถือ รูปแบบ ตามระเบียบ แบบแผน มากเกินไป ความย่อหย่อน ในพระวินัยของสงฆ์ ตลอดจน ความเชื่อที่ผิดๆ ของ พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้น คลาดเคลื่อน ไปมากจากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ

ท่านจึงตัดสินใจ หันหลังให้กับการศึกษาของสงฆ์ เวลานั้น กลับไชยา เพื่อศึกษา และทดลองปฏิบัติ ตามแนวทาง ที่ท่านเชื่อมั่น โดยร่วมกับนายธรรมทาส และ คณะธรรมทาน จัดตั้งสถานปฏิบัติธรรม "สวนโมกขพลาราม" ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จากนั้น ท่านได้ศึกษา และปฏิบัติธรรมะ อย่างเข้มข้น จนเชื่อมั่นว่าท่านมาไม่ผิดทางแน่ และได้ประกาศ ใช้ชื่อนาม "พุทธทาส "เพื่อแสดงว่า ให้เห็นถึง อุดมคติสูงสุด ในชีวิตของท่าน

 ?

จากบันทึกของท่าน เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ เขียนไว้ว่า "...ชีวิตของข้าพเจ้า สละทุกอย่างๆ มุ่งหมายต่อความสุขนี้ และประกาศ เผยแพร่ความสุขนี้ เท่านั้น ไม่มีอะไรดีกว่านี้ในบรรดามีอยู่ใน พุทธศาสนา..."

๓. ปณิธานแห่งชีวิต
อุดมคติ ที่หยั่งรากลึกลงแล้วนี้ ทำให้ท่านสนใจใฝ่หาความรู้ทางธรรมะ ตลอดเวลา ไม่เฉพาะแต่ พระพุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาท หรือ หินยาน แต่ครอบคลุม ไปถึงพระพุทธศาสนา แบบ มหายาน และ ศาสนาอื่น เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้น จากความรอบรู้ ที่กว้างขวาง และลึกซึ้ง นี้เอง ทำให้ท่านสามารถประยุกต์ วิธีการสอน และปฏิบัติธรรมะ ได้อย่างหลากหลาย ให้คนได้เลือกปฏิบัติ ให้สอดคล้อง กับพื้นความรู้ และอุปนิสัยของตนได้ โดยไม่จำกัด ชนชั้น เชื้อชาติและศาสนา เพราะท่านเชื่อว่า มนุษย์ ทุกคน ก็คือ เพื่อน ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันหมด ทั้งสิ้น และหัวใจ ของทุกศาสนา ก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการ ให้คนพ้นจากความทุกข์ ท่านจึง ได้ตั้ง ปณิธานในชีวิตไว้ ๓ ข้อ คือ

๑. ให้พุทธศาสนิกชน หรือ ศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม เข้าถึง ความหมายอันลึกซึ้ง ที่สุดแห่งศาสนาของตน
๒. ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
๓. ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม

แม้ในความพยายามที่จะทำตามปณิธานนี้ จะทำให้ บางคนไม่เข้าใจท่าน ไม่ชอบท่าน ด่าว่าท่าน หาว่า ท่านจ้วงจาบ พระพุทธศาสนา เป็นเดียรถีย์ เป็นคอมมิวนิสต์ หรือ รับจ้าง คนคริสต์ มาทำลายล้าง พระพุทธศาสนา ก็ตาม แต่ท่านกลับรับฟัง คำวิจารณ์ เหล่านี้ด้วยใจเป็นกลาง ถือเป็นการแลกเปลี่ยนทางความคิด ในเรื่อง เนื้อหา และ หลักการ มากกว่า ที่จะก่อความ ขัดแย้ง ส่วนตัว เพราะท่านมีหลัก ในการทำงานว่า " พุทธบุตร ทุกคน ไม่มี กังวล ในการ รักษา ชื่อเสียง มีกังวล แต่การ ทำความบริสุทธิ์ เท่านั้น เมื่อได้ทำความ บริสุทธิ์ มองเห็นชัดเจนใจอยู่แล้วว่า นี่มันบริสุทธิ์ เป็นธรรมแท้ ใครจะชอบ หรือ ไม่ชอบก็ตาม เราต้องทำด้วยความ พยายาม อย่างสุดชีวิต จะมีชื่อเสียง หรือไม่นั้น อย่า นึกถึง เลยเป็นอันขาด จะกลายเป็น เศร้าหมอง และ หลอกลวง ไปไม่มาก ก็น้อย"

ในที่สุด ท่านก็ได้รับการยอมรับ จากวงการ คณะสงฆ์ไทย วงการศึกษา ของไทย และวงการศึกษาธรรมะของโลก ได้รับการยอมรับให้เป็นเสนาบดีแห่งกองทัพธรรมในยุคหลัง กึ่งพุทธกาล เยี่ยงพระมหากัสสป ในครั้งพุทธกาล

สมณศักดิ์ที่ท่านได้รับ
๑.เป็นพระครูอินทปัญญาจารย์ พ.ศ. ๒๔๘๙
๒. เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระอริยนันทมุนี พ.ศ. ๒๔๙๓
๓. เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชชัยกวี พ.ศ. ๒๕๐๐
๔. เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวิสุทธิเมธี พ.ศ. ๒๕๑๔
๕.เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมโกศาจารย์ พ.ศ. ๒๕๒๐

แม้ท่านจะมีชื่อ สมณศักดิ์ ตามลำดับ หลายชื่อ แต่ท่านจะใช้ ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น ต้องติดต่อ ทางราชการ เท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องอื่นแล้ว ท่านจะใช้ ชื่อว่า "พุทธทาส อินทปัญโญ" เสมอ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อม ถ่อมตัว ของท่าน ประการหนึ่ง ชื่อ พุทธทาสนี้ เป็นที่มาแห่งอุดมคติ ของท่านนั่นเอง


133
หลวงพ่อแพ เขมังกโร เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีนามเดิมว่า "แพ ใจมั่นคง"  เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ตรงกับ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ณ บ้านสวนกล้วย เลขที่ ๙๓/๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อ นายเทียน ใจมั่นคง มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง

เมื่ออายุได้ ๘ เดือน มารดาผู้ให้กำเนิดได้ถึงแก่กรรม ดังนั้น นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ สามี ภรรยา ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้ขอเด็กชายน้อยๆ ที่มีอายุเพียง ๘ เดือน จากนายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าโดยรับอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม

เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี บิดามารดาบุญธรรม ได้นำเด็กชายแพไปฝากอยู่วัด กับสำนักอาจารย์ป้อม เพื่อที่จะศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม คือ การเรียนภาษาไทยภาษาขอม

นอกจากนั้น ยังได้เรียนหนังสือ มูลบทบรรพกิจ ทางธรรมก็มีพระมาลัยสูตร และยังได้หัดอ่านพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี บิดามารดาบุญธรรมได้ส่งไปศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์ อาจารย์ สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ การศึกษาในกรุงเทพฯขั้นแรกได้เริ่มเรียนหนังสือโบราณท่องสนธิ เรียนมูลกัจจายนสูตร เป็นเวลา ๑ ปี ต่อมา ก็ไปเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ

เมื่อศึกษาหาความรู้จนอายุได้ ๑๖ ปี ก็กลับบ้านเกิด เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๓ ณ วัดพิกุลทอง ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระอธิการพันจันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นเมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร

ในปีพ.ศ.๒๔๖๘ นายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าก็ได้ถึงแก่กรรม

โดยความมุมานะพยายาม โดยอาศัยแสงสว่างจากเทียนไขหรือตะเกียง โดยส่วนมากเพราะสาเหตุนี้ นัยน์ตา อันเป็นส่วนสำคัญของสังขาร ก็เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ทุกครั้งที่ตรากตรำอ่านหนังสือมากเกินไปในที่สุด นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้แนะนำ ไม่ให้อ่านหนังสืออีกต่อไป มิฉะนั้น นัยน์ตาอาจพิการได้ ดังนั้นภายหลังจากสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยคแล้ว การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมก็ต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจใฝ่การศึกษา พระภิกษุแพ เขมังกะโร จึงได้ศึกษา และปฏิบัติสมถกัมมัฎฐาน วิปัสสนากัมมัฎฐานในสำนักของพระครูภาวนา วัดเชตุพน จนชำนาญ และดำเนินการสั่งสอนให้แก่ประชาชนทั่วไป

สามเณรเปรียญแพ ขำวิบูลย์ได้ทำการอุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ในวันขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันพุธที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๙ ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมีพระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า "เขมังกะโร" (แปลว่า ผู้ทำความเกษม) ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แพ เขมังกะโร หรือมหาแพ ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดชนะสงคราม เพื่อตั้งใจศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ให้ได้ในระดับสูงที่สุด เพื่อที่จะได้นำความรู้ ความสามารถที่ได้ฝักใฝ่ศึกษาเล่าเรียนนั้น นำไปสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่า และประโยชน์ต่อชุมชนและพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ พระภิกษุแพ เขมังกะโร พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ อ่านหนังสือตำราเรียนอยู่เสมอ

ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ อาจารย์หยด พวงมสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขาบท ทำให้ตำแหน่งว่างลง ชาวบ้านพิกุลทอง และชาวบ้านจำปาทอง จึงนิมนต์ให้พระภิกษุแพมารับเป็นเจ้าอาวาสในเดือน เมษายน พ.ศ.๒๔๗๔ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุเพียง ๒๖ ปี ต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงค์ตำแหน่ง ตามหน้าที่การงานต่างๆ ดังนี้

พ.ศ.๒๔๘๒ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลถอนสมอ

พ.ศ.๒๔๘๓ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น พระอุปัชฌายะ

พ.ศ.๒๔๘๔ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอท่าช้าง

พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดสมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ทำกิจปริยัติธรรมวินัยที่พระคณุศรีพรหมโสภิต

พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ

พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสุนทรธรรมภาณี

พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระสิงหคณาจารย์

พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ

วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ในวาระครบ ๖๐ พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระราชาคณะ ชั้นเทพที่พระเทพสิงหบุราจารย์

พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙ ใน วโรกาสเสด็จครองราชย์ครบ ๕๐ ปี เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมมุนี

นับตั้งแต่พระภิกษุแพ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ได้บำเพ็ญประโยชน์ภายในวัด และสาธารณประโยชน์ทั่วไป พอสรุปได้ดังนี้ ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอประชุมกุฎิสงฆ์ หอไตร หอฉัน ศาลาวิปัสสนา โรงฟังธรรม ฌาปนสถาน ศาลาเอนกประสงค์ เขื่อนหน้าวัด ฯลฯ ดำเนินการก่อสร้างสารธรณประโยชน์ เพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่ประชาชนทั่วไป พอสรุปได้ดังนี้

1. เป็นประธานในการก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอท่าช้าง

2. เป็นประธานในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอท่าช้าง

3. เป็นประธานในการก่อสร้างสถานีตำรวจอำเภอท่าช้าง

4. เป็นประธานในการก่อสร้างสถานีอนามัยตำบลพิกุลทอง

5. เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดพิกุลทอง

6. เป็นประธานในการหาทุนสมทบในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอ อินทร์บุรีและสะพานข้ามแม่น้ำน้อย อำเภอท่าช้าง

ดำเนินการก่อสร้างสาธารณประโยชน์ ให้กับโรงพยาบาลสิงห์บุรี

พ.ศ. ๒๕๒๘ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ ๘๐ ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง ๔ ชั้น มูลค่า ๑๑,๑๐๐,๐๐๐ บาท (สิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน) สามารถให้บริการผู้ป่วยได้ ๘๙ เตียง พร้อมทั้งจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้เป็นค่ายาและเวชภัณฑ์ สำหรับพระภิกษุสามเณรที่อาพาธในโรงพยาบาลสิงห์บุรี เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)

พ.ศ. ๒๕๓๒ ก่อสร้างอาคารเอ็กซเรย์ (อาคารหลวงพ่อแพ ๘๖ ปี) เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก สูง ๒ ชั้น มูลค่า ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) ก่อสร้างแล้วเสร็จ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ พ.ศ. ๒๕๓๕

พ.ศ.๒๕๓๔ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ ๙๐ ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๖ ชั้น มูลค่า ๓๕,๐๙๕,๕๕๕ บาท (สามสิบห้าล้านเก้าหมื่นห้าพันห้าร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน) อาคารหลังนี้ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๔ เวลา ๐๙.๐๙ น. และเปิดให้บริการ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๗ โดยชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๕ เป็นหอผู้ป่วยสามัญ ชั้นที่ ๖ เป็นหอผู้ป่วยพิเศษ จำนวน๑๕ ห้อง และทางโรงพยาบาลสิงห์บุรีได้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารหลวงพ่อแพ ๙๐ ปี เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๓๘

พ.ศ. ๒๕๓๘ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๙ ชั้น มูลค่า ๑๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาทถ้วน) ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ อาคารหลังนี้มีพื้นที่ใช้สอย ๑๑,๔๓๐ ตารางเมตร โดย ชั้นที่ ๑ - ๒ เป็นแผนกบริการผู้ป่วยนอก ชั้นที่ ๓ - ๔ เป็นฝ่ายอำนวยการ ชั้นที่ ๕ - ๙ เป็นห้องผู้ป่วย จำนวน ๖๐ ห้อง ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

พระธรรมมุนี ปัจจุบันมีอายุได้ 95 ปี พรรษา 74 ตลอดชีวิตของหลวงพ่อได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ และได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือตกทุกข์ได้ยากตลอดมาหลวงพ่อแพ เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของประชาชนทั่วไปได้แผ่บารมีช่วยเหลือกิจการต่างๆ

นอกจากด้านศาสนาแล้วยังช่วยเหลือด้านการศึกษาและสาธารณสุขด้วยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมายโดยเฉพาะ

ในส่วนของโรงพยาบาลสิงห์บุรีได้รับความอนุเคราะห์จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อแพดังจะเห็นได้จากการก่อสร้าง

อาคารหลวงพ่อแพ 80 ปี ,อาคารหลวงพ่อแพ 86 ปี (อาคารเอ็กซเรย์) ,อาคารหลวงพ่อแพ 90 ปี ที่เด่นเป็นสง่า และดูสวยงามภายในโรงพยาบาสิงห์บุรี และปัจจุบันกับอาคารหลวงพ่อแพเขมังกโร ที่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีก็ด้วยเพราะบุญบารมีของหลวงพ่อแพ ที่ท่านมอบต่อสาธุชนด้วยเมตตาธรรม


134
วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง

 

เรียบเรียงจาก http://members.tripod.com/~sidelook/gods/gods1.htm และ http://www.osomchit.com/Resume/PuTim.html

 

หลวงปู่ทิม นามเดิมชื่อทิม นามสกุลงามศรี เกิดที่บ้านหัวทุ่งตาบุตร หมู่ที่ ๒ ตำบลละหารไร่ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันเป็นชายทั้ง ๓ คน ท่านเป็นคนที่ ๒ เกิดเมื่อ ปีมะแม วันศุกร์ เดือน ๗ ตรงกับวันที่ ๑๖ เดือน มิถุนายน ๒๔๒๒ เป็นบุตรของนายแจ้ นางอินทร์ งามศรี

หลวงปู่ทิมเป็นหลานของหลวงปู่สังข์ โดยมารดาของท่านเป็นน้องสาวหลวงปู่สังข์ หลวงปู่สังข์นี้เป็นพระปรมาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคมอย่างยิ่งในสมัยนั้น หลวงปู่สังข์องค์นี้เป็นผู้ก่อตั้งวัดละหารไร่ขึ้น เป็นพระที่เรืองวิทยาอาคมมาก น้ำลายที่ท่านถมถ้าถูกพื้น ๆ จะแตก เมื่อทางจังหวัดทราบถึงความเก่งกล้าในวิทยาอาคมของท่าน จึงนิมนต์มาอยู่ที่วัดเก๋งจีน และได้สร้างพระเนื้อตะกั่ววัดเก๋งจีนขึ้น ก่อนที่จะไปอยู่วัดเก๋งจีนนั้น หลวงปู่สังข์ได้ทิ้งตำราและวิทยาการต่าง ๆ ไว้ที่วัดละหารไร่ทั้งหมด เพราะท่านไม่หวงแหนในวิชาของท่านแต่อย่างใด ท่านกล่าวว่า "ใครมีปัญญาก็ค้นคว้าเอาเอง" บรรดาตำราและวิทยาการต่าง ๆ หลวงปู่สังข์ได้ทิ้งไว้ที่วัดละหารไร่นี้เองที่หลวงปู่ทิมก็ได้ใช้ศึกษาในเวลาต่อมา

 เมื่อท่านพระครูภาวนาภิรัติหรือหลวงพ่อทิม มีอายุเจริญวัยได้ ๑๗ ปี นายแจ้ผู้เป็นบิดาได้ส่งเสียและนำตัวของหลวงปู่ทิมไปฝากไว้กับท่านพ่อสิงห์ ที่วัดได้เล่าเรียนหนังสือกับท่านพ่อสิงห์พระอาจารย์เป็นเวลาประมาณ ๑ ปี และมีความสามารถเรียนรู้จนเข้าใจเขียนได้อ่านออกดีแล้ว นายแจ้ผู้เป็นบิดาของท่านจึงได้ไปกราบนมัสการท่านพ่อสิงห์ขอตัวหลวงปู่ทิมให้กลับมาอยู่ที่บ้านเช่นเดิมเพราะไม่มีคนช่วย หลวงปู่ทิมจึงได้ลาสิกขาออกมาช่วยพ่อแม่ทำงานและหาเลี้ยงพ่อแม่ตามวิสัยลูกที่ดี ผู้มีความกตัญญูกตเวที รู้จักปฏิบัติพ่อแม่มาด้วยดีตลอด

ในวัยหนุ่มของหลวงปู่ทิมนั้น ท่านเป็นคนคะนองเอาการอยู่ โดยท่านจะเป็นคนไปหาอาหารมาเลี้ยงครอบครัวด้วยการยิงนกตกปลาและออกเที่ยวล่าสัตว์ใหญ่ เพื่อนำไปขาย ซึ่งท่านทำไปด้วยความคึกคะนองประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวของท่าน

จนเมื่อท่านอายุได้ ๑๙ ปี ท่านจึงถูกคัดเลือกเป็นทหารและได้เข้าประจำการที่กรุงเทพฯ เป็นเวลาถึง ๔ ปีเศษ จึงได้รับการปลดปล่อยกลับมาอยู่ที่บ้านตามเดิม และเมื่อกลับมาอยู่บ้านได้ไม่นาน บิดาของท่านจึงได้จัดการอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุ

อุปสมบท

หลวงปู่ทิมอุปสมบท เมื่อวันที่ ๗ เดือนมิถุนายน ๒๔๔๙ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะแม โดยมีพระคุณเจ้าท่านพระครูขาว วัดทับมาเป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์เกตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สิงห์ (พระอาจารย์ของท่าน ในขณะที่ท่านได้ศึกษาครั้งแรก) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พัทธสีมา วัดละหารไร่ ได้ฉายาว่า อิสริโก เมื่อท่านบวชเป็นพระภิกษุแล้วท่านก็มาอยู่ที่วัดกับพระอาจารย์สิงห์ได้ ๑ พรรษา ขณะที่ท่านอยู่กับพระอาจารย์สิงห์นั้น ท่านได้ค้นคว้าและศึกษาตำราของหลวงปู่สังข์ทีท่านได้ทิ้งไว้ให้ตามตู้พระไตรปิฎกอย่างตั้งใจ เพราะท่านมีความสนใจในทางปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

หลวงปู่ทิม อิสริโก นับว่าเป็นพระอาจารย์ที่แปลกกว่าพระอื่น ๆ ในรุ่นเดียวกัน คือ ท่านต้องการฝึกฝนตนเองด้วยการออกไปหาประสบการณ์ด้วยการออกเดินธุดงค์ ซึ่งพระในรุ่นเดียวกันไม่มีใครคิดที่จะออกไปแสวงหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพรอย่างท่าน เพราะต้องการศึกษาในทางพระปริยัติธรรมเท่านั้น

เมื่ออยู่ครบพรรษาแล้วท่านก็ได้ขออนุญาตและมนัสการกราบลาอาจารย์ออกธุดงค์ไปหลายจังหวัดเป็นเวลา 3 ปี จากนั้นท่านก็มาพิจารณาว่า ท่านก็ได้ใช้เวลานานพอสมควรแล้ว จึงควรเดินทางกลับมาพักเสียที เมื่อคิดดังนั้น ท่านก็เดินทางกลับมาจังหวัดชลบุรีและท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนามะตูมเป็นเวลา 2 พรรษา ระหว่างนั้นท่านก็ได้เที่ยวร่ำเรียนวิชากับเกจิอาจารย์หลายอาจารย์ด้วยกันรวมทั้งฆราวาส โยมเริ่ม โยมรอด และโยมสาย นอกจากนั้นยังศึกษาตำราซึ่งตกทอดมาจากหลวงปู่สังข์เฒ่า เจ้าอาวาสวัดเก๋งจีนซึ่งเป็นลุงแท้ๆ ของหลวงปู่ทิม เป็นเวลา 2 ปี เศษ และต่อมาท่านจึงกลับมาอยู่ที่วัดละหารไร่หรือ (วัดไร่วารี) ตามเดิมและท่านได้เรียนทางวิปัสสนากรรมฐานกับอาจารย์และอื่น ๆ อีกหลายอาจารย์ด้วยกัน

วัดละหารไร่ เดิมชื่อวัดไร่วารี เพราะมีน้ำอยู่ล้อมรอบ และเป็นที่กันดารมาก ถ้าใครได้หลงเข้าไป เป็นได้หลงป่าไปเลย ซึ่งแม้แต่หลวงปู่เองท่านยังต้องบุกป่าฝ่าดงเข้าไปอยู่ ในสมัยนั้นทางรถก็ยังไม่มี จะมีก็แต่ทางเดินแคบ ๆ เท่านั้น หลวงปู่ท่านจึงต้องพัฒนากันใหญ่ ด้วยความร่วมมือจากญาติโยมในท้องถิ่นนั้น คือได้มีชาวบ้านศรัทธาท่านมากถึงกับบวชเพื่อติดตามปรนนิบัติท่านถึง ๓ คน คือ นายทัต นายเปี่ยม และ นายแหยม ซึ่งทั้ง ๓ คนนี้มีความสนใจในวิชาทางศาสนาเป็นอย่างมาก

เมื่อหลวงปู่ทิมมาอยู่วัดละหารไร่แล้ว ต่อมาคณะสงฆ์ได้มอบหมายให้ท่านเป็น พระอธิการทิม อิสริโก เจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะ บูรณะซ่อมแซมกุฏิ และอื่น ๆ อีกหลายอย่างพร้อมด้วยญาติโยมทั้งหลายก็มีความเลื่อมใสต่อท่านมาก เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งในธรรมะและวินัยเป็นที่น่าเคารพมาก ต่อมาท่านจึงชักชวนบ้านและญาติโยมทั้งหลายได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น 1 หลัง ประมาณ 1 ปีเศษ ก็แล้วเสร็จและผูกพัทธสีมาเรียบร้อยในระยะเวลาเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น และในปี พ.ศ. ๒๔๘๓  หลวงพ่อทิมได้จัดให้มีการเปิดโรงเรียนขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อสอนกุลบุตรกุลธิดาของประชาชน โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่สอน ต่อมาชาวบ้านเห็นดีด้วยกับการศึกษาจึงร่วมมือกับหลวงพ่อสร้างอาคารเรียนขึ้น ๑ หลัง ตามแบบ ป.๑ ข. โดยใช้เวลาการก่อสร้างเพียง 8 เดือนก็แล้วเสร็จเรียบร้อย ซึ่งปัจจุบันอาคารหลังนี้ชำรุดทรุดโทรมและรื้อถอนไปไม่ได้ใช้แล้ว  ต่อมาท่านก็ชักชวนชาวบ้านช่วยกันพัฒนาก่อสร้างสะพานข้ามคลองอีกหลายแห่ง สร้างหอฉันและศาลาการเปรียญสำเร็จ ด้วยเงินกว่า ๔ ล้านกว่า งานของท่านก็ได้บรรลุถึงความสำเร็จโดยเรียบร้อยทุกประการ

ด้วยผลงานดังกล่าว ในปี ๒๔๗๘ ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน ต่อมาในปี ๒๔๙๗ ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร และในปี ๒๕๐๗ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูภาวนาภิรัติ

ในครั้งแรกท่านไม่ใยดีกับยศตำแหน่งที่ทางการคณะสงฆ์ได้มอบให้ และถูกทางคณะสงฆ์เร่งรัดให้ท่านเดินทางไปรับพัดยศที่จังหวัด ซึ่งท่านก็ไม่ไปรับ จนกระทั่งชาวบ้านรู้ข่าว จำต้องพร้อมในกันจัดขบวนแห่ไปรับพัดยศและตราตั้งมาถวายให้กับท่านถึงวัด ท่านจึงต้องจำยอมรับอย่างเสียมิได้ โดยมีนายสาย แก้วสว่าง ในฐานะเป็นไวยาวัจกรและศิษย์ผู้ใกล้ชิด เป็นผู้นำคณะชาวบ้านไปรับพัดยศมาถวาย

หลวงปู่เป็นพระที่น่าเคารพและบูชาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในพระธรรมและวินัยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพระมักน้อย สันโดษ ไม่ยินดียินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส ท่านฉันเช้าประมาณ ๗ โมงเช้าและน้ำชาก็เวลา ๔ โมงเย็น ถ้าเลยเวลาหลวงปู่ไม่ยอมฉันแม้แต่น้ำชา ท่านฉันข้าวมื้อเดียวมาประมาณ ๔๗ ปี และ เนื้อ หมู เป็ด ไก่ หรืออาหารคาวทุกชนิด ท่านไม่ยอมฉัน มา ๔๗ ปีแล้ว แม้แต่น้ำปลาก็ไม่ฉัน อาหารที่ท่านฉันเป็น ผัก ถั่ว หรือเส้นแกงร้อน น้ำพริกกับเกลือป่นอย่างนี้อยู่เป็นนิจตลอดมา

 
 หน้ากุฏิที่ท่านใช้รับแขกสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่
 
 

มรณภาพ

ท่านได้มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อเวลา ๒๓.๐๐ น. ของวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ณ หน้าหอสวดมนต์ วัดละหารไร่ หลังจากที่ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา เป็นเวลา ๒๓ วัน คณะศิษย์ได้จัดพิธีศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดละหารไร่ หลังจากทำบุญ ๑๐๐ วัน อุทิศส่วนกุศลให้กับหลวงปู่ทิมแล้ว ได้เก็บศพไว้ที่ศาลา ภาวนาภิรัต ศาลาการเปรียญ วัดละหารไร่ จนกระทั่งได้ทำการพระราชทานเพลิงศพท่านไปเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๖

 

ประวัติความเป็นมา วัดละหารไร่

หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

คัดลอกจาก http://ezthailand.com/Prakruang/PutimAll.html

วัดละหารไร่นี้ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๕๔ เกิดขึ้นโดยหลวงพ่อสังฆ์เฒ่า รองเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ในสมัยนั้น เห็นว่าพื้นที่ทางฝั่งตรงด้านตรงข้ามทางด้านเหนือของวัดละหารใหญ่ มีทำเลดีเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผัก จึงได้เกณฑ์พวกลูกศิษย์ช่วยกันหักร้างถางพงใช้เป็นที่ปลูกพืชผักไว้ขบฉันกินเป็นอาหาร ในฤดูแล้ง ในขั้นแรกได้ทำการสร้างที่พักร่มเงาเอาไว้ เมื่อถึงเลวเข้าพรรษาก็จำพรรษาที่วัดละหารใหญ่ ต่อมามีผู้คนได้ไปทำไร่ในแถบใกล้ ๆ ที่นั้นมากขึ้น และเห็นว่ามีพระสงฆ์อยู่ เมื่อถึงวันพระก็จัดทำภัตตาหารไปถวายเป็นประจำ และต่อ ๆ มาได้มีพระภิกษุไปอยู่เพิ่มมากขึ้น ๆ จึงได้ก่อสร้างกุฎิวิหารขึ้น พระสงฆ์ก็จำพรรษาที่นั่นได้ แล้วตั้งชื่อว่าวัดละหารไร่ ตั้งแต่นั้นมา โดยมีหลวงพ่อสังฆ์เฒ่า ไปเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก   

 ด้วยเหตุว่า   การค้นคว้าหาประวัตินั้นลำบากมาก เพราะเป็นเวลาเกือบ ๒๐๐ ปีมาแล้ว จึงได้อาศัยการเล่าสืบต่อกันมาและหลักฐานบางประการที่พอจะสันนิษฐานได้เป็นเรื่องประกอบในขณะที่ก่อตั้งวัดละหารไร่แล้วนั้น หลวงพ่อสังฆ์เฒ่าก็เป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ จึงสันนิษฐานว่าเมื่อวัดละหารไร่มีภิกษุที่อาวุโสอยู่บ้างแล้ว หลวงพ่อสังฆ์เฒ่าจึงมอบให้ปกครองกันเอง ซึ่งต่อมาทราบว่าเป็นหลวงพ่อแดงเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ องค์ต่อมาจากหลวงพ่อสังฆ์เฒ่า ส่วนตัวท่านกลังไปเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่ตามเดิม ต่อจากคุณพ่อเฒ่าจันทร์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่ในสมัยนั้น เหตุการณ์ต่อจากนั้นไม่มีใครทราบโดยละเอียด แต่มีหนังสือบางเล่มอ้างว่า หลังจากหลวงพ่อแดงแล้ว หลวงพ่อองค์ต่อ ๆ มาคือ หลวงพ่อเกิด หลวงพ่อสิงห์ หลวงพ่อจ๋วม เป็นลำดับ หลังจากหลวงพ่อจ๋วมลาสิกขาไปแล้ว ทำให้วัดละหารไร่ไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่เลย

135
จากหนังสือ ?งานของแผ่นดิน?
ของนายประมวล รุจนเสรี อธิบดีกรมการปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๐ ? ๒๕๔๒

นอกจากประเทศไทย ได้มีปรากฏการณ์หลายๆ อย่างเกิดขึ้นมากมาย ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนก่อนสภาพบ้านเมืองของเรายังมีพฤติการณ์ที่น่าปริวิตกอีกมาก เช่น
- บุตรหลาน ไม่มีความเคารพยำเกรงในบิดามารดาของตนเองของคู่ครอง ทอดทิ้งไม่ดูแลเลี้ยงพ่อแม่ ผู้ใหญ่
- ผู้ปกครองประเทศ ไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม คนดีมีฝีมือไม่ได้รับการยกย่อง สนับสนุนให้ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ คนซื่อสัตย์ เฉลียวฉลาด เฉียบแหลม ไม่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ทางบริหารทางตุลาการ แต่ตรงกันข้ามคนไร้ฝีมือได้รับการยกย่องให้มีหน้าที่การงานสูงใหญ่ กิจการบ้านเมืองเกิดความเสียหาย คนดีมีฝีมือพากันทอดธุระ ปล่อยให้ผู้ที่มีฝีมืออ่อนบริหารบ้านเมืองตามยถากรรม
- นักปกครองผู้โง่เขลา ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ตั้งคนไร้ศีลธรรมเข้ามาทำงานเกี่ยวกับคดี บุคคลนั้นก็จะรับสินบนจากคู่กรณีทั้ง ๒ ฝ่าย


- ตระกูลที่เคยมียศศักดิ์ หรือตระกูลผู้ดีจะตกต่ำ ผู้คนเลวๆ จะได้รับยกย่องเป็นใหญ่เป็นโต มีอำนาจวาสนาในแผ่นดิน
- ผู้หญิงจะประพฤติตัวเลวทราม สำส่อน กินเหล้าเมายา เที่ยวเตร่เอาแต่แต่งตัว ใครมีเงินทองของล่อใจ ก็ไปกับคนนั้น
- บ้านเมืองจะร่วงโรย ไม่มีความอุดมสมบูรณ์
- ผู้ปกครองบ้านเมืองจะไร้คุณธรรม มีแต่อคติในใจ ไม่ปฏิบัติราชการโดยชอบธรรม มุ่งกอบโกยแต่ผลประโยชน์ เห็นแก่เงินเป็นที่สุด มิได้มีน้ำใจเห็นแก่ทุกข์ยากของราษฎรทั้งจะหยาบช้า ทารุณ กดขี่ ขูดรีดเอาแต่ราษฎรทุกวิถีทาง
- ผู้ปกครองบ้านเมือง จะไม่อยู่ในธรรม ผู้คนพลเมืองทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ชาวไร่ ชาวนา แม้พระสงฆ์องค์เจ้า ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เทวดาอารักษ์ทุกหมู่เหล่าพลอยไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อบ้านเมืองปราศจากผู้ตั้งอยู่ในธรรม ลมฟ้าอากาศ ก็เกิดวิปริตแปรปรวน เกิดพายุร้ายแรง ฝนไม่ตกทั่วทุกถิ่น แผ่นดินเดียวกัน บางถิ่นน้ำท่วม บางถิ่นแห้งแล้งบางถิ่นน้ำขาดแคลน
- พระศาสนาจะเสื่อมลง ภิกษุอลัชชีมีมาก อลัชชีเหล่านั้นแสดงธรรมเพราะหวังวัตถุปัจจัย ผู้คนก็เลื่อมใสฟังเทศน์เฉพาะแต่ชอบคำสำเนียงไพเราะ ถวายปัจจัยผู้เทศน์คราวละมากๆ พระภิกษุก็จะเทศน์เอาใจโยมเพื่อหวังปัจจัย
- คนดีตกต่ำ ไม่ได้รับการยกย่อง คนเลวได้เป็นใหญ่เป็นโต ได้รับการยอมรับนับถือ มีคนเอาอย่างการประพฤติปฏิบัติของคนเลว แม้แต่ในฝ่ายพระศาสนา พระสงฆ์ที่ประพฤติเลวทราม ทุศีลอลัชชี ก็ยังได้รับการยกย่อง
- สังคมเสื่อมทรามลงไปเรื่อยๆ ผู้คนเกิดตัณหาราคะจัด และประพฤติตนไปตามอำนาจกิเลส ผู้ชายตกอยู่ในอำนาจของภรรยาซึ่งเป็นสาวรุ่น
- สภาพการณ์ที่ยกมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ เป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยและสภาพการณ์เหล่านี้ มีปรากฏกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่๒๗ เอกนิบาตชาดก ขุทกนิกาย ชื่อ ?มหาสุบินชาดก? เล่าเรื่องความฝัน ๑๖ประการ ของพระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งกรุงสาวัตถี ที่ทรงพระสุบินนิมิต ๑๖ เรื่องและพระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาในอนาคตกาลและเหตุการณ์นั้นๆ ก็ได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ในประเทศไทยที่เป็นเมืองพระพุทธศาสนาที่สมบูรณ์แห่งเดียวในโลก เพื่อท่านผู้อ่านจะได้นำพุทธพยากรณ์นี้มาพิจารณาไตร่ตรองถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในแผ่นดินไทย และหาทางแก้ไข พุทธพยากรณ์นี้เป็นคำกลอน ดังนี้

ปางองค์ชินวงศ์พระจอมไตร
อันอาศัยสาวัตถีบุรีสถาน
ภิกษุสงฆ์สองหมื่นเป็นบริวาร
พระสำราญอยู่ในเขตพระเชตุพน
กรุงกษัตริย์ปัตถเวนไปทูลถาม
ด้วยข้อความนิมิตคิดฉงน
อภิวาทเบื้องบาทพระยุคล
แล้วทูลถามแต่ต้นไปจนปลาย
สมเด็จพระชินสีห์โมลีโลก
จึงดับโศกกรุงกษัตริย์ให้เสื่อมหาย
แย้มพระโอษฐ์โชติช่วงวิเชียรพราย
สว่างฉายพระเขี้ยวแก้วแวววาว
สว่างวับจับพระคันธกุฎี
พระรัศมีช่วงเป็นเกลียวสีเขียวขาว
อีกนิลแนมแซมหงส์เป็นวงวาว
ทั้งแดงขาวเหลืองเบญจรงค์พราย
ข่มขี่รัศมีพระสุริยง
จากโอษฐ์องค์งามลออเป็นช่อฉาย
เผยพุทธบรรหารประทานทาย
อันตรายมิได้มีแก่บพิตร
จะได้แก่ศาสนาตถาคต
โดยกำหนดสองพันเศษสังเกตจิต
ราษฎรจะร้อนใจดังไฟพิษ
จะวิปริตทุกอย่างต่างต่างเป็น

136
หลวงพ่อเงิน
วัดหิรัญญาราม (วัดวังตะโก) บางคลาน จ.พิจิตร
 

                  คัดลอกจาก http://www.tumnan.com/father_nerng/history.html

หลวงพ่อเงิน ท่านเกิดเมื่อ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๓ ตรงกับวันศุกร์ เดือน ๑๐ ปีฉลู บิดาชื่อ อู๋ มารดาชื่อ ฟัก ท่านเกิดที่บ้านบางคลาน อำเภอโพธิ์ทะเล จังหวัดพิจิตร บิดาเป็นชาวบางคลาน มารดาเป็นชาวบ้านแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี (แสนตอ) จังหวัดกำแพงเพชร

ตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ ได้ไปอยู่กับลุง ชื่อนายช่วง ที่กรุงเทพฯ และได้เข้าเรียนที่ บ้านตองปุ (วัดชนะสงคราม) จังหวัดพระนคร เมื่ออายุได้ ๑๒ (พ.ศ. 2365) ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรได้ศึกษาธรรมวินัย เวทย์วิทยาการต่างๆ จนแตกฉาน พออายุใกล้อุปสมบทท่านได้สึกจากสามเณรและหลังจาก ได้อุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) ได้ร่ำเรียนวิปัสสนาอยู่ ๓ พรรษา แล้วมาอยู่วัดคงคาราม (วัดบางคลานใต้) ได้ ๑ พรรษา ขณะนั้นหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ให้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ท่านเป็นพระเรืองวิชา ชอบเล่นแร่ แปลธาตุ แต่หลวงพ่อเงินท่านเคร่ง ธรรมวินัย ชอบความสงบ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านวังตะโก ลึกเข้าไปทางลำน้ำเก่า

กล่าวกันว่า....เดิมที่ท่านจากวัดคงคารามไปแล้ว ก็มาปลูกกุฏิด้วยไม่ไผ่มุงหลังคาด้วยแฝกอยู่องค์เดียว และพร้อมกันนั้นได้นำกิ่งโพธิ์มาปักไว้ที่ริมตลิ่ง (หน้าพระอุโบสถ) แล้วอธิษฐานว่าถ้าท้องถิ่นนี้จะเจริญรุ่งเรืองเป็นอารามต่อไป ก็ขอให้โพธิ์ต้นนี้งอกงามแผ่กิ่งก้านสาขาเป็นนิมิตดีต่อไปด้วย และเหตุการณ์ก็เป็นจริงดังอธิษฐานไว้ ซึ่งต่อมาพื้นที่แถบนั้นก็ได้ปรากฏเป็น "วัดวังตะโก" เกิดขึ้น พระอารามแห่งนี้ "หลวงพ่อเงิน" ได้เป็นผู้สร้างไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2377 ต่อมาวัดวังตะโก หรือวัดหิรัญญารามก็เจริญอย่างรวดเร็ว มีผู้คนเคารพนับถือและถวายตัวเป็นศิษย์ ขอมาฟังธรรม ขอเครื่องรางของขลัง และขอให้หลวงพ่อช่วยรักษาโรคให้ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์และสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนา

"หลวงพ่อเงิน" นับเป็นพระเกจิอาจารย์ ผู้เลื่องชื่อ ด้านไสยเวทเยี่ยมยอดที่สุดของเมืองพิจิตร จนเมื่อมาอยู่วัดวังตะโดและได้พัฒนาวัดจนรุ่งเรือง เป็นที่รู้จักกันไปทั่วว่า

หลวงพ่อเงินสามารถรู้ผู้มาเยือนด้วยญาณวิเศษได้อย่างมหัศจรรย์ และยังเป็นหมอเชี่ยวชาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ชาวบ้านได้อย่างชะงัดอีกด้วย เคยมีผู้ไปลองดีกับท่าน ท่านก็แอ่นอกให้ยิง แต่กระสุนไม่ยอมออกจากลำกล้อง ความศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงอัจฉริยะของ "หลวงพ่อเงิน" บางคลาน นับว่าร่ำลือกันไปไกลมาก จนถึงขนาดเสด็จในกรม "กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์" ก็ยังเสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ด้วย

 ผลงานที่สำคัญ

๑. ด้านการก่อสร้าง หลวงพ่อมักเป็นธุระในเรื่องการสร้างถาวรวัตถุ ท่านเป็นนักก่อสร้าง ท่านควบคุมการก่อสร้างด้วยตนเอง ท่านรวบรวมปัจจัยได้จากการสร้างวัตถุมงคล เงินบริจาค สิ่งที่ท่านชอบสร้างอีกอย่างหนึ่งนอกจากโบสถ์ วิหาร ศาลา ก็คือ ศาลาพักร้อนเพื่อคนสัญจรไปมา

๒. ด้านการรักษาโรคด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อเงิน เป็นหมอแผนโบราณ ทางด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยยาสมุนไพรหรือบางครั้งก็ใช้น้ำมนต์ ซึ่งก็ให้ผลในด้านกำลังใจ ปัจจุบันยังมีตำรายาและสมุดข่อย ของท่านที่เก็บรักษาไว้ที่วัดบางคลาน

๓. เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนา เป็นศิษย์รุ่นเดียวกันกับหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านได้ แนะนำให้กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้มาเรียนวิชาทางวิปัสสนากับหลวงพ่อ รวมทั้งสมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก็เสด็จมาประทับที่วัดวังตะโก อยู่หลายวัน เพื่อเรียนทางด้านวิปัสสนา

๔. พระเครื่องหรือพระพิมพ์ หลวงพ่อไม่นิยมสร้างพระเครื่อง เพราะท่านบอกว่า คงกระพันชาตรีเป็นเรื่องเจ็บตัว พระเครื่องรุ่นที่ หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่จึงมีน้อย และมีพระคุณานุภาพทรงคุณทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม พระเครื่องรุ่นที่ท่านจัดสร้างมี

- หลวงพ่อเงินชนิดกลม (ลอยองค์ มี ๒ ชนิด คือ พิมพ์ขี้ตาและพิมพ์นิยม)

- หลวงพ่อเงินชนิดแบนหรือสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

- หลวงพ่อเงินชนิดสามเหลี่ยมหน้าจั่วไข่ปลา

- พระเจ้าห้าพระองค์

ท่านมีโรคประจำตัว คือโรคริดสีดวงทวาร ท่านรักษาตัวเองบางครั้งก็หาย บางครั้ง ก็กลับเป็นอีก ท่านเคยกล่าวว่า "คนอื่นร้อยพันรักษาให้หาย แต่ผงเข้าตาตัวเองกลับรักษาไม่ได้" ท่านมรณภาพ เมื่อวันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะแม ตรงกับ พ.ศ.๒๔๖๒ อายุได้ ๑๐๙ ปี


137
หลวงพ่อดิ่ง (หลวงปู่เอี่ยม)

วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา



คัดลอกจาก http://www.buddhaamulet.com/gaji/ding.asp

ประวัติ

หลวงพ่อดิ่ง อุบัติขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ มีนาคม ๒๔๒๐ ที่ตำบลบางวัว เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทและซาบซึ้งในรสของพระธรรม ภายหลังรับสมณศักดิ์เป็นพระครูพิบูลย์คณารักษ์ และได้มรณภาพ วันธรรมสวนะ ขณะที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมสวดปาติโมกข์ ตรงกับวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๙๕ สิริอายุได้ ๗๕ ปี พรรษาที่ ๕๕

บรรดาเหรียญพระคณาจารย์ของจังหวัดต่างๆ นั้น บางจังหวัดสนนราคา เหรียญพระคณาจารย์ยุคเก่าค่อนข้างสูง ถ้าจะจัดลำดับความสำคัญ โดยถือเกณฑ์เฉลี่ยของเหรียญพระคณาจารย์ยุคเก่า เป็นดัชนีในการจัดจะพบว่า ในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเหรียญดัง อีกทั้งสนนราคาเหรียญค่อนข้างสูง อยู่หลายเหรียญ สำหรับที่เด่น และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในยุทธจักรวงการเหรียญพระคณาจารย์คือ

เหรียญหลวงพ่อโสทร รุ่นปี พ.ศ. ๒๔๖๐

เหรียญหลวงคง วัดซำป่างาม

เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดอุสภาราม

ทั้ง ๓ เหรียญพระคณาจารย์ดังกล่าว คือ เหรียญยอดนิยมของ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ คณะศิษย์ มรรคทายกวัดและท่านที่เคารพเลื่อมใส หลวงพ่อดิ่ง ได้จัดงานพิธีทำบุญอายุ ๖๐ ปี ถวายหลวงพ่อดิ่งในงานพิธีนี้ หลวงพ่อดิ่ง ท่านได้ปลุกเสกวัตถุมงคลประเภทเหรียญแจกศิษย์มีด้วยกัน ๓ แบบ คือ

เหรียญพระพุทธรูปจำลองพระประธานอุโบสถ

เหรียญรูปไข่ขนาดเล็ก เป็นเนื้อเงินลงยา มีจำนวนน้อย

เหรียญรูปไข่ใหญ่ ทองแดง มีจำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ เหรียญ

ที่มา... หนังสือของ คุณ สามารถ คงสัตย์



วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา



คัดลอกจาก http://www.buddhaamulet.com/gaji/ding.asp

ประวัติ

หลวงพ่อดิ่ง อุบัติขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ มีนาคม ๒๔๒๐ ที่ตำบลบางวัว เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทและซาบซึ้งในรสของพระธรรม ภายหลังรับสมณศักดิ์เป็นพระครูพิบูลย์คณารักษ์ และได้มรณภาพ วันธรรมสวนะ ขณะที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมสวดปาติโมกข์ ตรงกับวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๙๕ สิริอายุได้ ๗๕ ปี พรรษาที่ ๕๕

บรรดาเหรียญพระคณาจารย์ของจังหวัดต่างๆ นั้น บางจังหวัดสนนราคา เหรียญพระคณาจารย์ยุคเก่าค่อนข้างสูง ถ้าจะจัดลำดับความสำคัญ โดยถือเกณฑ์เฉลี่ยของเหรียญพระคณาจารย์ยุคเก่า เป็นดัชนีในการจัดจะพบว่า ในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเหรียญดัง อีกทั้งสนนราคาเหรียญค่อนข้างสูง อยู่หลายเหรียญ สำหรับที่เด่น และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในยุทธจักรวงการเหรียญพระคณาจารย์คือ

เหรียญหลวงพ่อโสทร รุ่นปี พ.ศ. ๒๔๖๐

เหรียญหลวงคง วัดซำป่างาม

เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดอุสภาราม

ทั้ง ๓ เหรียญพระคณาจารย์ดังกล่าว คือ เหรียญยอดนิยมของ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ คณะศิษย์ มรรคทายกวัดและท่านที่เคารพเลื่อมใส หลวงพ่อดิ่ง ได้จัดงานพิธีทำบุญอายุ ๖๐ ปี ถวายหลวงพ่อดิ่งในงานพิธีนี้ หลวงพ่อดิ่ง ท่านได้ปลุกเสกวัตถุมงคลประเภทเหรียญแจกศิษย์มีด้วยกัน ๓ แบบ คือ

เหรียญพระพุทธรูปจำลองพระประธานอุโบสถ

เหรียญรูปไข่ขนาดเล็ก เป็นเนื้อเงินลงยา มีจำนวนน้อย

เหรียญรูปไข่ใหญ่ ทองแดง มีจำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ เหรียญ

ที่มา... หนังสือของ คุณ สามารถ คงสัตย์


138
ประวัติหลวงปู่เพิ่ม

คัดลอกจาก http://www.osomchit.com/Resume/PuPerm.html

ประวัติโดยย่อ

ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ จุลศักราช 1248 ตรงกับวันที่ 28 มกราคม 2429 ณ ตำบลไทยวาส หมู่ที่ 3 อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม บิดาชื่อเกิด มารดาชื่อวรรณ นามสกุล พงษ์อัมพร

บรรพชา

ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 8 ปี สืบต่อมาจนถึงอายุครบบวช

อุปสมบท

อุปสมบทเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2450 อายุ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ครั้งพระองค์ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ (ผัน) วัดสรรเพชญ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ท่านศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา

สมณศักดิ์

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2481 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดกลางบางแก้ววันที่ 4 ธันวาคม 2482 ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ในเขตอำเภอนครชัยศรีวันที่ 8 เมษายน 2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรีวันที่ 1 มีนาคม 2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูราชทินนามว่า "พระครูพุทธวิถีนายก"วันที่ 5 ธันวาคม 2495 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอก ในราชทินนามเดิมวันที่ 5 ธันวาคม 2503 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมีราชทินนามว่า "พระพุทธวิถีนายก" ปี พ.ศ. 2520 เนื่องจากความชราภาพมากทางคณะสงฆ์จึงยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์

มรณภาพ

ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2526 เวลาใกล้รุ่ง (04.50 น) รวมอายุ 97 ปี 76 พรรษา


139
หลวงพ่อพรหม
วัดช่องแค จังหวัดนครสวรรค์

คัดลอกจาก http://www.osomchit.com/Resume/Prom.html

ประวัติโดยย่อ

ท่านเกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2427 ตรงกับปีระกา ณ หมู่บ้านโก่งธนู บ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดอยุธยา บิดาชื่อนายหมี มารดาชื่อนางลอมหรือล้อม นามสกุล โกสะลัง อาชีพทำนา

อุปสมบท

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2447 ได้รับฉายานามว่า "ถาวโร" ณ วัดปากคลองยาง ตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช อยุธยา เมื่ออุปสมบทได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดเขียนลาย จังหวัดอยุธยาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนกระทั่งปี พ.ศ. 2457 (10 พรรษา) ออกเดินธุดงค์ถึงภูเขาช่องแค เกิดฝนตกหนักชาวบ้านเชิญท่านหลบพักฝนที่ถ้ำแห่งนั้นขณะพักอยู่คืนแรกได้นิมิตวิญญาณศักดิ์สิทธ์แนะแนวทางปฎิบัติธรรมชั้นสูงให้ท่าน ภายหลังท่านเดินทางกลับจังหวัดอยุธยาก็ขายที่นา ซึ่งเป็นมรดกตกทอดของท่าน แล้วนำมาเงินมาซื้อที่ดินวัดช่องแค โดยปลูกต้นตาลเป็นหลักเขต สร้างกุฏิสงฆ์และหอสวดมนต์ แล้วท่านจำพรรษาเป็นเวลายาวนานถึง 60 ปี (วัดช่องแค)

มรณภาพ

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2518 สิริอายุ 90 ปี 71 พรรษา หลังจากมรณภาพแล้วศพไม่เน่าเปื่อย ยังพิเศษกว่านั้นคือเส้นผม เล็บ หนวดเคราของหลวงพ่องอกยาว เป็นเรื่องมหัศจรรย์


140
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
     
      ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา
     
      เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดาเต็มความสามารถ
     
      ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า ?เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก? คำสั่งของยายนี้คอยสกิดใจอยู่เสมอ
     
      ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ท่านทั้งสองก็อนุมัติตามประสงค์ ท่านได้ศึกษา ในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะขนานนามมคธ ให้ว่า ภูทตฺโต เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ พระอาจารย์เสาร์ กันตศีลเถระ ณ วัดเลียบต่อไป
     
      เมื่อแรกอุปสมบท ท่านพำนักอยู่วัดเลียบ เมืองอุบลเป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมืองอุบลบ้าง เป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร แล้อุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรีบยร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทานธุดงควัตร ต่างๆ
     
      ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง หุบเขาซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับ เจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม แล ถ้ำสิงโตห์ ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้ง ในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย ในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสาน ทำการอบรมสั่งสอน สมถวิปัสสน าแก้สหธรรมิก และอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติมากขึ้น โดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลาย กระจายทั่วภาคอีสาน
     
      ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมา จังหวัดอุบลราชธานี พักจำพรรษาอยู่ที่ วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคระาห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองขอบ อำเภอเมืองสกลนคร (ปัจจุบันคือ อำเภอโคกศรีสุพรรณ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอเมืองพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่าน ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ
     
      ๑.ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนให้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
      ๒.บิณฑบาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต
      ๓.เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัย จึงงด
      ๔.เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลา แม้อาพาธหนักในปัจฉิมสมัย ก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย เมื่อถึงวัยชรา จึงอยู่ในเสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลัง ที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยว แสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ภาเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้
     
      ธรรมโอวาท
     
      คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำ
      ด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ดังนี้
     
      ๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ
      ๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง
     
      เมื่อท่านอธิบาย ตจปัญจกกรรมฐาน จบลง มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า ?แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภาพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่? ดังนี้
     
      เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ถือลัทธิฉันเจ ให้เข้าใจทางถูก และ ละเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้ว ได่กล่าวเป็นคติขึ้นว่า ?เหลือแต่เว้าบ่เห็น บ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทาง สิถืกดงเสือฮ้าย? ดังนี้แล การบำเพ็ญสมาธิ เอาแต่เพียงเป็นบาทของวิปัสสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้ว ส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ให้กำหนดรู้ ถ้าใครกลัวตาย เพราะบทบาททางความเพียร ผู้นั้น จะกลับมาตายอีก หลายภพหลายชาติ ไม่อาจนับได้ ส่วนผู้ใดไม่กลัวตาย ผู้นั้นจะตัดภพชาติให้น้อยลง ถึงกับไม่มีภพชาติเหลืออยู่ และผู้นั้นแล จะเป็นผู้ไม่กลับหลังมาหาทุกข์อีก ธรรมะเรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดแปรปรวนของสังขาร ประกอบด้วยไตรลักษณ์ ปัจฉิมโอวาท ของ พระพุทธเจ้าโดยแท้ๆ ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโดย ยึดหลักธรรมชาติของศีลธรรมทางด้านการปฏิบัติ เพื่อเตือนนักปฏิบัติทั้งหลาย ท่านแสดงเอาแต่ใจความว่า..
     
      การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศล คือ ความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง......
     
      นี้แล คือ ตำสอนทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
      การไม่ทำบาป...ถ้าทางกายไม่ทำ แต่ทางวาจาก็ทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำ แต่ทางใจก็ทำ
      สั่งสมบาปตลอดวัน จนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากหลับ ก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไป จนถึงขณะหลับอีก เป็นทำนองนี้ โดยมิได้สนใจว่า ตัวทำบาป หรือ สั่งสมบาปเลย แม้กระนั้น ยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศีลธรรม และ คอยแต่เอาความบริสุทธิ์ จากความมีศีลธรรม ที่ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมอง ความวุ่นวายในใจตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะ ตนแสวงหาสิ่งนั้น ก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้น จะให้เจออะไรเล่า เพราะเป็นของที่มีอยู่ ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์
     
      ท่านพระอาจารย์มั่น แสดงโอวาทธรรม ให้ปรากฏไว้ เมื่อครั้งท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดสระประทุม (ปัจจุบัน คือ วัดประทุมวนาราม) กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน อาจค้นคว้าหาอ่านได้ไม่ง่ายนัก มีดังนี้
     
      นมตฺถุ สุคตสฺส ปญฺจธฺนกฺขนฺธานิ
     
      ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสุคต บรมศาสดาศากยะมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ และพระ อริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

141
เกจิอาจารย์ภาคเหนือ / หลวงพ่อคง
« เมื่อ: 01 เม.ย. 2550, 02:58:09 »
คัดลอกจาก http://www.buddhaamulet.com/gaji/bangkaporm.asp

ประวัติ

หลวงพ่อคง ท่านเกิดวันอาทิตย์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๓ เมษายน ๒๔๐๘ ณ ตำบลบางสำโรง อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อ "...เกตุ จันทร์ประเสริฐ..." โยมมารดาชื่อ "...ทองอยู่..." พออายุได้ ๑๒ ปี บิดามารดาให้บวชเณร เพื่อเล่าเรียนศึกษา ระหว่างเป็นสามเณรสนใจในวิชาเมตตามหานิยม พอใกล้บวชพระได้สึกจากสมเณร และได้ทดลองวิชาเมตตามหานิยมดูว่าจะขลังจริงหรือไม่ โดยเสกสีผึ้งละลายน้ำไปให้หญิงผู้หนึ่งซึ่งอยู่ทางใต้น้ำ ปรากฏว่า เย็นวันนั้น หญิงสาวหอบผ้าหอบผ่อนมาหาท่านถึงบ้าน และร้องไห้จะขออยู่ด้วยให้ได้ ทำให้วุ่นวายชี้แจ้งกันเป็นการใหญ่

ต่อมาท่านก็อุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนาสืบมาได้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับเกียรติยกย่องว่า ท่านทำวัตถุมงคลทุกอย่างได้ขลัง และศักดิ์สิทธิมีอิทธิฤทธิ์อันมหัศจรรย์เป็นที่ขนานนามยกย่องกัน ทั่วลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

หลวงพ่อคง มรณภาพวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๖ สิริอายุ ๗๘ ปี พรรษาที่ ๕๘

เมื่อครั้งอาจารย์เภา ศกุนตะสุต ปรมาจารย์เหรียญผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ยังมีชีวิตอยู่ กระผมเคยสนทนาเรียนถามท่านว่า "...หลวงปู่ศุขวัดมะขามเฒ่า หลวงปู่เฒ่าวัดหนัง หลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ อาจารย์เภาจะเลือกพระเถระองค์ใดว่าท่านเด่นดังมากที่สุด..." อาจารย์เภาตอบว่า "...ฉันขอเลือกหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม เพราะว่าท่านเป็นหลวงพ่อของฉัน ถึงจะยิงกันฉันก็ไม่กลัว..." จากหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่า อาจารย์เภา ศกุนตะสุต ท่านมีความเชื่อมั่น และเคารพหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม อยู่เหนือพระเถระองค์อื่นๆ ทั้งหมด นี้เป็นประสบการณ์จากการสนทนากับปรมาจารย์เหรียญ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าทรงคุณวุฒิทางด้านนี้อย่างแท้จริง

ที่มา... หนังสือของ คุณ สามารถ คงสัตย์


142
พระอาจารย์ทองเฒ่า หรือ พ่อท่านทอง ชาวบ้านนิยมเรียกว่า " พ่อท่านเขาอ้อ " เป็นเจ้าอาวาสเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน เชื่อกันว่าเป็นอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมทางไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ จนเป็นที่เคารพนับถือยำเกรงของคนทั่วไป ตรงศีรษะของท่านมีเส้นผมสีขาวกระจุกหนึ่ง เล่ากันว่าไม่สามารถโกนหรือตัดให้ขาดได้

ในสมัยของ พระอาจารย์ทองเฒ่า สานุศิษย์ของท่านนิยมทำพิธีแช่ว่านยา กินเหนียว กินมัน กันมาก ราวสมัยรัชกาลที่ 5 พระอาจารย์ทองเฒ่า ได้รับแต่งตั้งดำรงสมณะศักดิ์เป็น "พระครูสังฆาพิจารณ์ฉัตรทันต์บรรพต เป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ และเป็นพระอุปัชฌาด้วย ท่านได้ปรับปรุงวัดให้มีความเจริญขึ้นเป็นอันมาก พระอาจารย์ทองเฒ่า มรณะภาพ เมื่อ พ.ศ.2470 รวมอายุได้ 78 ปี

วัดเขาอ้อ เป็นแหล่งวิทยาคมทางไสยศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณ พระเกจิอาจารย์ผู้สืบต่อวิชาทางไสยศาสตร์ ต่างก็เป็นที่พึ่งที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป เช่น พระอาจารย์ทองเฒ่า พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา พระครูพิพัฒน์สิริธร (อาจารย์คง) วัดบ้านสวน พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ และ ที่เป็นฆราวาสที่คนทั่วไปรู้จักกันดีได้แก่ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นต้น



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

143
http://www.geocities.com/spn_lib/Social_person1.htm

หลวงพ่อปานเป็นชาวบางบ่อ ท่านเกิดที่ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2368 บิดามีเชื้อจีน มารดาเป็นคนไทยชื่อ ตาล อาชีพทำป่าจาก ครอบครัวของท่านอยู่ที่หมู่บ้านโคกเศรษฐี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3

เมื่อตอนเป็นเด็ก บิดามารดาได้นำไปฝากไว้กับท่านเจ้าคุณศรีสากยะบุตร เจ้าอาวาสวัดอรุณ ราชวราราม (วัดแจ้ง) เพื่อให้เรียนหนังสือไทย ต่อมาไม่นานเจ้าคุณได้ให้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดอรุณราชวรารามนั่นเอง ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดบางเหี้ยนอก ปัจจุบัน เรียกว่าวัดมงคลโคธาวาส โดยมีพระที่เป็นสหายสนิทตามมาด้วยองค์หนึ่งชื่อ หลวงพ่อเรือน หลังออกพรรษาท่านและพระเรือนเริ่มออกธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆ (ป่าเขา) พรรษาต่อๆ มาเริ่มมากขึ้นจนกระทั่งออกธุดงค์ครั้งละเป็นร้อยรูป

ต่อมาท่านได้ไปเรียนวิปัสสนากับพระอาจารย์ที่วัดสมถะ จังหวัดชลบุรี ด้วยหลวงพ่อปาน เป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติธรรมวันัยเคร่งครัด กิจของสงฆ์หลวงพ่อปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน อีกประการหนึ่งคือนำ พระสงฆ์ออกบิณฑบาตทุก ๆ เช้า นอกจากเจ็บป่วยไป ไม่แล้วท่านปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน อีกประการหนึ่ง คือนำพระสงฆ์สวดมนต์เช้าเย็นที่หอสวดมนต์เป็นประจำทุกวัน และสวดมนต์เป็นคัมภรี์หรือผูกเป็นเล่มเป็นวัน ๆ ไป กระทั่งสวดปฏิโมกข์ เหตุดังนี้ในสมัยนั้น พระลูกวัดของท่านจึงสวดมนต์เก่งมาก

ด้านสาธารณประโยชน์ หลวงพ่อเป็นผู้นำในการสร้างถนนจากคลองด่านไปบางเพรียง ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสไปวัดสว่างอารมณ์ ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสจรดคลองนางหงษ์ ถนนแต่ละสายปัจจุบันได้พัฒนาเป็นถนนถาวรและใช้สัญจร ไปมาจนถึงทุกวันนี้

ด้านความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของหลวงพ่อนั้น เป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป เป็นพระอาจารย์ ที่มีญาณแก่กล้าชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องลางของขลัง ของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากและสืบ เสาะหากันจนทุกวันนี้ ท่านคร่ำเคร่งทางวิปัสสนามากและ ธุดงค์อยู่เสมอ ด้วยคุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อที่ได้ประกอบขึ้นไว้ แต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ราษฎรในตำบลใกล้เคียง กระทั่งต่างอำเภอและต่างจังหวัดพากันเคารพนับถือและรำลึก ถึงหลวงพ่ออย่างไม่ เสื่อมคลาย

ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ"

ท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 4 ทุ่ม 45 นาที

เมื่อท่านถึงมรณภาพไปแล้วจึงร่วมกันประกอบพิธีนมัสการรูปหล่อของท่าน รูปหล่อดั้งเดิมของท่าน ปัจจุบัน อยู่ที่มณฑปวัดมงคลโคธาวาส อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ


144
พระเดชพระคุณ เจ้าคุณพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวณฺโณ มหาเถระ) ท่านเป็นชาวบ้านในคลองบางน้อย ต.บางพรหม อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๐ เป็นบุตรของ นายลอย และ นางทับ รัตนคอน มีพี่น้องด้วยกันเพียงสองคน คือตัวท่านเองกับน้องชายของท่าน ชื่อนายเฉื่อย ซึ่งได้ถึงแก่กรรมก่อนหลวงปู่นานแล้ว

เมื่อท่านอายุได้ ๑๓ ขวบ บิดามารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว วัดเกาะแก้ว ซึ่งเป็นญาติกันก็ได้นำท่านมาฝากเรียนหนังสือกับพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดูฉิมพลีในเวลานั้น

เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ท่านบรรพชาได้เพียงคืนเดียวพระอธิการก็ได้มรณภาพ นาย คล้าย และ นางพันธ์ ผู้เป็นพี่ชายและพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข ได้รับหน้าที่อุปการะสามเณรโต๊ะ จนกระทั่งได้ทำการอุปสมบท เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ณ วัดประดู่ฉิมพลี เมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ น. โดยมี หลวงพ่อแสง วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อผ่อง วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงพ่อเชย วัดกำแพงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาตามพระพุทธศาสนาว่า ?อินทสุวณโณ?

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วนาย คล้ายและนางพันธ์ ได้ถวายตัวเป็นโยมอุปัฏฐากหลวงปู่ตลอดมา

เมื่อตอนที่พระอธิการสุขได้มรณภาพลง พระอธิการคำ ซึ่งเป็นบุตรของนาย คล้ายและนางพันธ์ ก็ได้รับภาระหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส วัดประดู่ฉิมพลี สืบต่อพระอธิการสุข

ครั้นต่อมา พระอธิการคำได้ลาสิกขา หลวงปู่โต๊ะ จึงรับภาระหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส วัดประดู่ฉิมพลี สืบต่อมาเมื่อท่านอายุได้ ๒๖ ปี จนถึงวันมรณภาพของท่าน เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๔ เวลา ๙.๕๕ น. สิริชนมายุ ๙๔ ปี รวมเวลาในการครองตำแหน่งเจ้าอาวาสจนท่านมรณภาพนี้ถึง ๖๘ ปี

ปัจจุบัน ท่านพระครูวิโรจน์ กิตติคุณ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา

ตำแหน่งในทางคณะสงฆ์

หลวงปู่ท่านบริหารงานวัดด้วยความเที่ยงธรรมสม่ำเสมอประกอบด้วย เมตตาธรรมอนุเคราะห์ให้ได้รับความร่มเย็นทั่วหน้าทางคณะสงฆ์จึงได้พร้อมใจ ถวายสมณะศักดิ์ให้แก่ท่านเป็นลำดับ ดังนี้

พ.ศ. 2455     เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี

เป็นพระใบฏีกาฐานานุกรมของพระอุดรคณารักษ์ วัดพระเชตุพนฯ 

พ.ศ. 2457     เป็นพระครูสังฆวิชิต ฐานานุกรมของ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ

พ.ศ. 2463     เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูวิริยกิตติ

พ.ศ. 2497     เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม

พ.ศ. 2499     เป็นเจ้าคณะตำบลวัดท่าพระ

พ.ศ. 2506     เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม

พ.ศ. 2511     เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม

พ.ศ. 2516    เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระสังวรวิมลเถร"

พ.ศ. 2521     เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชสังวราภิมณฑ์"

หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาต่อพระภิกษุสามเณรที่ท่านปกครอง รวมทั้งชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงวัดและบุคคลอื่น ๆ โดยทั่วไป

ท่านได้บำเพ็ญตนอยู่ในสมณะเพศด้วยความอุตสาหะ พากเพียร ในกิจวัตรของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดตลอดมา จึงเป็นที่รัก และเคารพศรัทธาเลื่อมใสเป็นที่เชื่อถือของทุก ๆ คนที่รู้จักท่าน

ในระหว่างที่หลวงปู่ได้บวชอยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลีนั้น หลวงปู่ได้ศึกษาเพิ่มเติมที่วัดโพธิ์ท่าเตียน จนกระทั่งทางวัดประดู่ฉิมพลี ได้มาอาราธนาท่านเป็นเจ้าอาวาส โดยทางวัดได้จัดพิธีแห่อย่างใหญ่โตมโหฬารด้วย

หลวงปู่โต๊ะท่านได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางปริยัติธรรม และ ทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็กวัด มีพระอาจารย์เก่งกล้าสามารถที่ไหนท่านก็จะขอเรียนวิชาด้วยเสมอ

ท่านได้เรียนวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับพระอาจารย์พรหม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลีนั่นเอง

เมื่อพระอาจารย์พรหมได้มรณภาพ หลวงปู่โต๊ะก็ได้ไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมต่อจาก พระอาจารย์รุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร ซึ่งหลวงปู่โต๊ะท่านมีความชื่นชม และเคารพนับถือในความเก่งกล้าสามารถของหลวงพ่อรุ่ง เป็นอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ หลวงปู่โต๊ะ ยังได้ไปเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ก่อนหน้าที่หลวงพ่อเนียมจะมรณภาพในอีก ๒ - ๓ ปีต่อมา จึงนับได้ว่า หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นผู้มีวิชาอาคม เวทมนต์คาถา แก่กล้ามากผู้หนึ่ง ซึ่งความเชี่ยวชาญในหลายสาขา ก็ว่าได้

เมื่อครั้งที่หลวงปู่โต๊ะ เริ่มได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกใหม่ๆ นั้น ท่านได้เล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า เวลาที่ท่านจับสายสิญจน์ในพิธี ท่านจะรู้ได้ทันทีว่า ในพิธีนั้น มีพระอาจารย์องค์ไหนเก่ง หลังจากนั้นหลวงปู่โต๊ะก็จะติดตามไปขอเรียนวิชา และศึกษาเพิ่มเติมจากพระอาจารย์องค์นั้น

ในช่วงที่หลวงปู่อายุไม่ถึง ๘๐ ปี นั้น ท่านเป็นพระที่ค่อนข้างจะเข้าหาพบลำบากมาก เนื่องจากหลวงปู่ไม่ชอบความอึกทึกครึกโครม เพราะหลวงปู่เป็นพระฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เรียกว่า "พระป่า" ท่านจึงชอบที่จะเก็บตัวอยู่อย่างเงียบๆภายในกุฏิ

ผู้คนเริ่มรู้จักหลวงปู่โต๊ะจริงๆ ตอนที่ท่านมีอายุ ๗๗ - ๗๘ ปี ในช่วงนั้นท่านได้รับกิจนิมนต์ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกบ่อยมาก เวลาที่ท่านไปถึงในงานพิธีฯท่านจะตรงเข้าไปกราบพระประธานก่อนเสมอ แล้วท่านจะขึ้นนั่งปรกทันที เมื่อช่วงพัก หลวงปู่มักจะถามว่า ?มีพระเปลี่ยนฉันหรือเปล่าจ๊ะ? ถ้าญาติโยมตอบว่า ?นิมนต์หลวงปู่ตามสบาย? หลวงปู่ก็จะขึ้นนั่งปรกต่อ และจะนั่งต่อไปจนเสร็จพิธี ท่านจะปฏิบัติเช่นนี้ต่อเนื่องกันเสมอมาทุกพิธี จนเป็นที่รู้กันในบรรดาพระคณาจารย์และถวายเกียรติให้หลวงปู่เป็นประธานในพิธีนั่งปรกบริกรรมเสมอ เวลาท่านนั่งปรกแต่ละพิธี จะใช้เวลา ๓ ถึง ๔ ชั่วโมง บางทีไปนั่ง ๓ ถึง ๔ วัดในวันเดียวกันก็มี พอเข้าพิธีก็จะนั่งหลับตานิ่งไม่ขยับเขยื้อน หรือเปลี่ยนอิริยาบถใดๆ ทั้งสิ้น ท่านจะนั่งตัวตรง หลังไม่ติดพนักธรรมาสน์ เดินลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ

ประวัติการสร้างพระเครื่องของพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ)

เกี่ยวกับประวัติในการสร้างพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะนั้น พระเครื่องชุดแรกสุดของท่าน จะมีทั้งหมด ๑๓ พิมพ์ด้วยกัน เช่น พระสมเด็จสามชั้น พิมพ์ขาโต๊ะ, พระสมเด็จพิมพ์เจ็ดชั้น และ พระสมเด็จสามชั้นพิมพ์หูบายศรี เป็นต้น

พระเครื่องทั้ง ๑๓ พิมพ์นี้ หลวงปู่โต๊ะได้ลงมือสร้างด้วยความตั่งใจ และปรารถนาจะให้ขลังเป็นพิเศษ โดยพยายามเสาะหาวัตถุดันเป็นมงคลและอาถรรพ์เวทย์ต่างๆ ที่มีความขลังความศักดิ์สิทธิ์มาทำ และกดพิมพ์ด้วยมือของท่านเองเป็นส่วนใหญ่ เพราะหลวงปู่ได้ผู้ช่วยทำงานซึ่งเป็นอาสาสมัคร อันประกอบด้วยพระเณร และฆราวาสมาจากวัดพลับ บางกอกใหญ่ คอยแนะนำส่วนผสมและวิธีการสร้างพระเครื่องต่างๆ

ผงพุทธคุณที่หลวงปู่ได้เสาะหามาผสมในการสร้างพระเครื่องชุดแรกนี้ มีผงวิเศษที่จัดเป็นแม่เชื้อของผงทั้งหมดโดยในยุคที่หลวงปู่ออกธุดงค์บ่อยๆ นั้น หลวงปู่ได้เคยไปธุดงค์ด้วยกันกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และหลวงพ่ออีกองค์หนึ่งซึ่งจำชื่อและความเป็นมาไม่ชัดเจน

เมื่อท่านได้กลับมาที่วัดประดู่ฉิมพลีแล้ว ท่านทั้งสามก็ได้ทบทวนวิชาที่ได้เล่าเรียนกันมา ก็ได้ผลลัพธ์ออกมาคล้ายกัน ต่างจึงตกลงที่จะเขียนสูตรผงนั้น โดยใช้ดินสอพองมาละลายน้ำมนต์แล้วปั้นเป็นแท่งเหมือนกับชอล์ก แล้วเอาใบตำลึงมาตำ คั้นน้ำมาทาแท่งดินสอพองเวลาจับจะได้ไม่ติดมือ จากนั้นก็จะลงมือเขียนตามอักขระเลขยันต์ จากปถมัง ตรีสิงเห อิทธิเจ และมหาราช ว่าไปจนครบสูตร จะเว้นไม่ได้ หากขาดไปวันหนึ่งก็ต้องเอาผงที่เขียนไว้แล้วมารวมกัน แล้วเขียนขึ้นมาใหม่ทำทุกวันต่อเนื่องกันไปจนครบสูตร

เมื่อเขียนเสร็จได้เท่าไร ต่างองค์ต่างก็จะแบ่งขึ้นมาเป็นสามกอง โดยต่างองค์ก็จะมอบให้แก่กันองค์ละกอง แล้วจึงเอาผงทั้งหมดมาผสมรวมกัน ผงที่สร้างขึ้นมานี้ ก็จะเป็นสีขาวเรื่อๆ เล็กน้อย นวลละเอียด มีพุทธคุณทางเมตตา และทางด้านอื่นๆ อีกสูงมาก ผงวิเศษที่สร้างขึ้นมานี้ก็คือ ผงวิเศษหรือที่ลูกศิษย์ของท่านได้เรียกกันว่าเป็นผง อิทธิเจ

ส่วนผสมผงทั้งหมดที่ได้มานั้น มีของวัดพลับมากที่สุดซึ่งเป็นพระวัดพลับที่ชำรุด และแตกหักจากคราวกรุแตก นอกจากนี้ ยังได้มวลสารสำคัญคือผงจากพระสมเด็จ วัดระฆังฯ ธนบุรีจำนวนเล็กน้อย ซึ่งเป็นของฆราวาสบ้านอยู่ใกล้กับวัดระฆังฯ

วิธีการแช่พระเครื่องในตุ่มน้ำมนต์ของหลวงปู่โต๊ะ

ด้วยความประสงค์ที่จะให้พระเครื่องของท่านมีความขลัง และดูน่าบูชา ท่านจะเอาพระเครื่องเหล่านี้ไปแช่น้ำมนต์ในตุ่มมังกร ซึ่งตั้งอยู่ในโบสถ์ และปลุกเสกตลอดพรรษา

วิธีการแช่พระเครื่องในตุ่มน้ำมนต์ของหลวงปู่โต๊ะนั้น ลูกศิษย์หลวงปู่ท่านหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า ตุ่มมังกรที่ใช้ใส่น้ำมนต์นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายใบมีขนาดแตกต่างกัน เล็กบ้างใหญ่บ้าง บางตุ่มก็จะมีดิน มีทรายปะปนอยู่ด้วย และในระหว่างนั้น ถ้าหากว่ามีใครเอาพวงมาลัยดอกไม้สดมาถวายแด่หลวงปู ท่านก็จะเอาพวงมาวัยนั้น ใส่ลงไปในตุ่มมังกรน้ำมนต์นั้นด้วย เป็นการหมักเอาดอกไม้สดปนอยู่ในน้ำมนต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สีสันขององค์พระแตกต่างกันออกไป

หลวงปู่จะตั้งจิตอธิษฐาน ปลุกเสกภาวนา พระเครื่องที่แช่น้ำมนต์ในตุ่มมังกร ไปเรื่อยๆ ตลอดพรรษา เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ก็จะเอาพระเครื่องที่แช่ในน้ำมนต์จนได้ที่แล้วนั้น ออกมาแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหา และผู้ที่ไปหาท่านในตอนนั้น ถ้าหากพระเครื่องแช่ไว้นานกว่านั้น พระจะติดกันเป็นก้อน

คราบต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนองค์พระจึงไม่เหมือนกัน บางตุ่มที่ใส่น้ำมนต์ใหม่ๆ น้ำยังใสอยู่ องค์พระที่แช่ไว้ คราบจะออกขาวเล็กน้อย ถ้าหากเป็นตุ่มเก่า ที่แช่น้ำมนต์มาก่อนนานเป็นพรรษา คราบน้ำมนต์ก็จะตกตะกอนมีคราบจับเกาะเป็นปื้น มีสีน้ำตาลหรือสีสนิมชัดขึ้น เรื่องของคราบน้ำมนต์ที่เกาะบนองค์พระ จึงมีความแตกต่างกันไป

ในการกดพิมพ์สร้างพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะนั้น ท่านจะกดพิมพ์ไปเรื่อยๆ เมื่อมีเวลาว่าง หลวงปู่จะทำด้วยความเพลิดเพลิน สบายใจ และทำด้วยใจรักยิ่ง หลวงปู่จะกดพิมพ์พระสลับกันไปทั้ง ๑๓ พิมพ์ โดยไม่ได้เจาะจงว่า จะทำพิมพ์นั้นจำนวนเท่านี้ พิมพ์นี้จำนวนเท่านั้น และพระทั้งหมด ๑๓ พิมพ์ ทำไว้จำนวนเท่าไร หลวงปู่ก็ไม่ได้กำหนดไว้เป็นหลักฐาน ท่านเพียงแต่บอกว่า ได้ลงมือสร้างพระมาตั้งแต่ตอนที่ท่านอายุได้ ๓๐ ปีเศษๆ

หลวงปู่ยังบอกด้วยว่า มีพระเณร และฆราวาสจากวัดพลับมาช่วยเห็นกำลังสำคัญในการสร้างพระเครื่องรุ่นแรกนี้ ตั้งแต่เริ่มต้น รวมทั้งการแกะบล็อกแม่พิมพ์พระเครื่องชุดแรกนี้ด้วย

มีลูกศิษย์เคยถามหลวงปู่ว่าบล็อกแม่พิมพ์พระ ๑๓ พิมพ์นี้ ใครเป็นผู้แกะแบบพิมพ์ หลวงปู่บอกว่า ตัวท่านเองก็จำไม่ได้แน่นอน เพราะเป็นเวลาผ่านมานานแล้ว ท่านจำได้แต่เพียงว่า บล็อกแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ พิมพ์ขาโต๊ะ นั้น ท่านได้มาจากฆราวาสผู้หนึ่ง ซึ่งฆราวาสผู้นี้ได้ไปพบบล็อกแม่พิมพ์อันนี้เข้าโดยบังเอิญ ที่บนขื่อหรือบนเพดานของหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอัมรินทราราม บางกอกน้อย ธนบุรี

หลังจากที่หลวงปู่โต๊ะ ได้ใช้บล็อกแม่พิมพ์อันนี้ กดพิมพ์พระสมเด็จขาโต๊ะได้จำนวนหนึ่ง ไม่นานนัก (ไม่กี่ร้อยองค์) หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ได้มาขอยืมบล็อกแม่พิมพ์นี้ไปจากหลวงปู่โต๊ะ ต่อมาบล็อกแม่พิมพ์อันนี้ก็ได้หายไป นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายออย่างยิ่ง

หลวงปู่จะทำพระเครื่องชุดแรกนี้ ร่วมกับอาสาสมัครจากวัดพลับ จนหลวงปู่มีความชำนาญ และเข้าใจวิธีการสร้างพระทุกอย่างทุกขั้นตอนได้ดีแล้ว หลังจากนั้นหลวงปู่จะกดพิมพ์พระด้วยมือของท่านเองมาโดยตลอด และได้พิมพ์สร้างพระเครื่องชุดแรกนี้มาเรื่อยๆ ทั้ง ๑๓ พิมพ์ สลับกันไป สร้างไปแจกไป ไม่หวงแหนเลย ใครมาหาท่านในช่วงนั้น ท่านก็จะแจกพระเครื่องให้เสมอ

จวบจนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๐ กว่า ในวันหนึ่ง หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปฉันเพลที่ตลาดพลู ไปพบกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

หลวงสด ได้ถามหลวงปู่โต๊ะว่า ผงพุทธคุณที่ได้สร้างกันขึ้นมานั้น ได้เอาไปทำอะไรบ้าง หลวงปู่ตอบว่า ได้เอาไปสร้างพระเครื่องแล้ว และก็ได้แจกจ่ายพระเครื่องนั้นให้กับลูกศิษย์ตลอดเวลาที่ผ่านมา

หลวงพ่อสด จึงได้บอกกับหลวงปู่โต๊ะว่า อย่านำผงไปสร้างพระแจกหมดเสียก่อน ให้รอท่านด้วย ท่านจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม จะได้ขอผงมาสร้างพระแจกบ้าง

หลังจากนั้นมา หลวงปู่โต๊ะ จึงได้เพลามือในการแจกพระเครื่องรุ่นแรก ๑๓ พิมพ์ของท่าน พร้อมกับแบ่ง ผงพุทธคุณ จำนวนหนึ่ง ให้กับหลวงพ่อสด เพื่อเอาไปสร้างพระผงของขวัญ จนเป็นที่โด่งดังในเวลาต่อมา

ในตอนนั้น ถ้าหากหลวงปู่โต๊ะไม่ได้รับการบอกกล่าวจากหลวงพ่อสดหลวงปู่ก็คงจะแจกพระเครื่องของท่านไปจนหมด ไม่เหลือมาให้ได้แจกกับศิษย์รุ่นหลังๆ ยังมีโอกาสได้รับพระจากมือของหลงวงปู่โดยตรงอีกจำนวนมากมายหลายท่านด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม พระเครื่องรุ่นแรกนี้ หลวงปู่ก็ได้แจกไปจนหมดสิ้นแล้วมิได้เหลือให้แจกกันอีก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นต้นมา

นอกจากพระเครื่องขุดแรก ๑๓ พิมพ์นี้แล้ว หลวงปู่ยังได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ พระกลีบบัวเนื้อเมฆพัด, พระสมเด็จพิมพ์ห้าชั้น, พระสมเด็จพิมพ์คะแนน และพระสมเด็จเนื้อผงผสมชานหมากก่อนปี ๒๕๐๐ อีกด้วย

หลังจากปี ๒๕๐๐ ไปแล้ว หากมีการสร้างพระเครื่องของหลวงปู่ ทั้งของวัดหรือนอกวัดก็ตาม ลูกศิษย์และฆราวาสที่มีความเคารพนับถือ และศรัทธาในตัวหลวงปู่ จะเป็นผู้ขออนุญาตจากหลวงปู่ แล้วจัดทำและสร้างมาถวายให้ทั้งนั้น แต่หลวงปู่ท่านก็ตั้งใจปลุกเสกให้อย่างเต็มที่ ดังเราจะเห็นได้จากความนิยมของวงการพระเครื่อง ที่ได้ให้ความสนใจในพระปิดตาจัมโบ้, พระปิดตารุ่นปลดหนี้, พระปิดตาจัมโบ้รุ่นสอง และพิมพ์อื่นๆ อีกหลายพิมพ์ด้วยกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระเครื่องรุ่นหลังๆ นี้พระปิดตาเกือบทุกพิมพ์ต่างก็ได้รับความนิยมอย่างสูง ทั้งราคาเช่าหาก็จัดว่าไม่แพงจนเกินไป แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า พระปิดตาทุกๆ พิมพ์นั้น ทางวัดได้จำหน่ายไปหมดสิ้นแล้ว จะเหลือก็แต่จำนวนเพียงเล็กน้อยที่ท่านพระครูวิโรจน์กิตติคุณ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ท่านได้เก็บรักษาเอาไว้เพื่อตอบแทนสมนาคุณ แก่ผู้ที่มาร่วมเป็นกรรมการบำเพ็ญกุศล เป็นเจ้าภาพคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่โต๊ะ วันที่ ๕ มีนาคมของทุกปีเท่านั้น

สำหรับท่านที่ยังไม่เคยไปกราบไหว้หลวงปู่โต๊ะ ผู้เขียนก็อยากจะขอแนะนำให้ท่านลองแวะไปนมัสการดูสักครั้ง ท่านจะได้มีโอกาสสักการะ บูชารูปหล่อของหลวงปู่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองหล่อไว้ และจะได้กราบไหว้หุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่โต๊ะเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านเองด้วย

 (บทความนี้ได้คัดลอกมาจากหนังสือที่จัดทำโดย คุณ ประสิทธิ์ ปริชาน จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้)


145
ประวัติ

หลวงพ่อเงิน เป็นบุตรคนที่ ๔ ของโยมบิดาชื่อพรหม ซึ่งเป็นแพทย์โบราณ ส่วนมารดานั้นชื่อกรอง ได้อุบัติขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ พ.ศ. ๒๔๓๓ ณ ที่บ้านตำบลโคกยายหอม จังหวัดนครปฐม พออายุได้ประมาณ ๑๓ ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณร บางท่านว่าท่านไปศึกษาและอยู่กับพระอธิการชุ่ม วัดท่ามะเดื่อซึ่งเกี่ยวข้องเป็นญาติทางฝ่ายบิดา ครั้นเมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทที่วัดดอนยายหอม โดยมีพระปลัดฮวย เป็นพระอุปัชฌาย์ ตั้งฉายาหลังบวชให้ว่า "...จนทสุวณโณ..." หลวงพ่อเงินตั้งแต่ท่านบวชขยันท่องมนต์ทั้ง ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน ตลอดจรพระปาฏิโมกข์ท่านก็ว่าได้

อาจารย์พุทธาคมของท่านที่สำคัญ คือ พ่อพรหม บิดาของท่าน นอกจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมกับพระอธิการชุ่ม วัดท่ามะเดื่อ ต่อมาในราวปี พ.ศ. ๒๔๕๙ พระปลัดฮวย วัดดอนยายหอม ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นรองเจ้าอาวาส ครั้นพระปลัดฮวยมรณภาพแล้ว หลวงพ่อเงินจึงได้เป็นสมภารปกครองวัดเรื่อยมา อนึ่งหลวงพ่อเงินท่านเป็นพระที่ปฏิบัติเคร่งในพระธรรมวินัย มีชาวบ้านเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านได้พัฒนาวัดดอนยายหอม และสนับสนุนในการสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน สุขศาลา การประปา ไฟฟ้า ฯลฯ กระทั่งชาวนครปฐมสดุดียกย่อง ท่านว่าเป็นผู้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ดอนยายหอม อย่างแท้จริง

หลวงพ่อเงิน หรือ พระราชธรรมมาภรณ์ ในอดีตที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ และไกลนครปฐม ต่างพากันสดุดีและขนานนามท่านว่า "...เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม..." ดังยกอุทาหรณ์คุณงามความดีบางอย่าง มาสนับสนุนคำกล่าวข้างต้นคือ

หลวงพ่อเป็นผู้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ดอนยายหอม

หลวงพ่อเป็นที่รักเคารพอย่างสูงส่งของชาวตำบลดอนยายหอม

หลวงพ่อท่านช่วยปกป้องคุ้มครองภัย และช่วยให้ชาวดอนยายหอมพ้น จากความหายนะ หรือภัยร้ายจากโจรที่เข้ามาทำลายทรัพย์สิน ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ขณะที่ข้างในนากำลังสุกและชาวบ้านได้เก็บเกี่ยวอย่างชุลมุน เสือหยด เสือพาน เสือเซียน และเสือฟุ้งทั้ง ๔ คนจากถิ่นอื่นได้ร่วมใจกันบุกปล้นชาวบ้านตำบลดอนยายหอมกว่า ๒๐ ครอบครัว เรื่องนี้ได้รู้ถึงหลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม ท่านได้กำชับชาวตำบลดอนยายหอมว่า "...พวกโจรพวกนี้ได้ใจจะกลับมาปล้นใหม่อีกใน ๖-๗ วันข้างหน้า..." พวกชาวบ้านเมื่อได้ยินหลวงพ่อกล่าวเช่นนั้นจึงเตรียม ปืน ผา หน้าไม้ และรวมกำลังสามัคคีเพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น พอถึงวันที่ ๗ ตามคำบอกเล่าของหลวงพ่อเงิน ปรากฏว่าพวกโจรได้หวนกลับมาทำการปล้นอีกจริงๆ และครั้งนี้พวกโจรเสียท่า ถูกชาวบ้านดอนยายหอมจับ และรุมซ้อมโจรเสียสะบักสะบอม จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ชื่อเสียงของหลวงพ่อเงินยิ่งขจรขจายไปทั่วทิศ

กิตติคุณหลวงพ่อเงินยังมีอีกมากมายหลายสิบเรื่อง ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถีง

ปัจจุบันวัตถุมงคลเหรียญหลวงพ่อเงินรุ่นแรก ได้รับความนิยมทั่วเมือง นครปฐม และกรุงเทพฯ

ที่มา... หนังสือของ คุณ สามารถ คงสัตย์


146
หลวงพ่อ คูณ ปริสุทฺโธ
วัดบ้านไร่ ตำบล กุดพิมาน อำเภอ ด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา...


ประวัติ

หลวงพ่อคูณ ถือกำเนิดที่บ้านไร่ ม.6 ต.กุดพิมาน อ.อ่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ  บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชือ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (บางตำราว่าวันที่ ๔ ตุลาคม) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน เป็นบุตรชายคนหัวปี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน คือ

๑ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
๒ นายคำมั่ง แจ้งแสงใส
๓ นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์

มารดาคือ นางทองขาว เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี ๓ นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า...

เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขอำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป

และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกว่างให้แก่นางด้วย

"ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง"

การศึกษา

เนื่องด้วยบุรพกรรมและสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน บิดามารดาของหลวงพ่อคูณ ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ลูกทั้ง ๓ คน ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณกับน้อง ๆ จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่หลวงพ่อคูณอยู่ในวัยเยาว์ ๖-๗ ขวบ ได้เข้าเรียนหนังสือ กับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่ สถานการศึกษาแห่งเดียวในหมู่บ้าน มิได้มีโรงเรียนทำการสอนเช่นในสมัยปัจจุบัน นอกจากเรียนภาษาไทยและขอมแล้ว พระอาจารย์ทั้ง ๓ ยังมีเมตตาอบรมสั่งสอนวิชา คาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย นับว่าหลวงพ่อคูณรู้วิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วัย

อุปสมบท

หลวงพ่อคูณอุปสมบท เมื่ออายุได้ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๘๗ (หนังสือบางแห่งว่า ปี ๒๔๘๖) ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก โดยพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ คือพระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ หลวงพ่อคูณได้รับฉายาว่า ปริสุทโธ

หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์

ต.สำนักตะคร้อ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา  (บางตำรากล่าวว่าเมื่อบรรพชาแล้วได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อคง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดถนนหักใหญ่ก่อน แล้ว หลวงพ่อคงจึงนำไปฝากกับหลวงพ่อแดง)

หลวงพ่อแดง เป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและลูกศิษย์เป็นอย่างมาก

หลวงพ่อคูณตั้งใจร่ำเรียนพระธรรมวินัย ตามรอยพระพุทธองค์ ที่ตรัสไว้ว่า...

" เทว เม ภิกขเว วิชชา ภาคิยา"

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ

๑ สมถะ ความสงบระงับแห่งจิตที่ปราศจากกิเลสอาสวะทั้งปวง

๒ วิปัสสนา ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมเบื้องสูงอันสุขุมลุ่มลึก ในทางพุทธศาสนาและจงเดินตามหนทางนั้นเถิด...

หลวงพ่อคูณ ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็น ลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้ เป็นเพื่อนกันต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ

หลวงพ่อคง พุทธฺสโร เป็นพระอาจารย์ผู้ทรงคุณทั้งทางธรรม และทางไสยเวทย์ และได้อบรมสั่งสอนให้กับหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ด้วยความรักใคร่มิได้ปิดบังอำพราง โดยการให้การศึกษาพระธรรมควบคู่กับการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน น้นเรื่องการมี "สติ" ระลึกรู้ พิจารณาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบและให้เกิดความรู้เท่าทัน ในอารมณ์นั้น เช่น เมื่อเกิดอารมณ์ "หลง" ท่านให้พิจารณาว่า...

"อนิจจัง ไม่เที่ยง
ทุกขัง เป็นความทุกข์
อนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นนาม จึงมิใช่ของเราและของเขา?

และท่านจึงให้แนวทางพิจารณา 5 ประการ คือ

พิจารณาว่า ความเกิดเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเกิดนี้ได้
พิจารณาว่า ความแก่เป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความแก่นี้ได้
พิจารณาว่า ความเจ็บเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเจ็บนี้ได้
พิจารณาว่า ความตายเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความตายนี้ได้
พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นเรื่องธรรมดา เรามีกรรมเป็นของตนเอง เรากระทำความดี จักได้ดี เรากระทำความชั่ว จักได้ชั่ว"

ส่วนพระกัมฏฐานนั้น หลวงพ่อคงได้สอนให้ใช้หมวดอนุสติ โดยดึงเอาวิธีกำหนด ?ความตาย? เป็นอารมณ์ เรียกว่า ?มรณัสสติ? เพื่อให้ เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงในในอารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ประมาทในความโลภ ความโกรธ และความหลง กำหนดลมหายใจเข้าออกทำจิตให้เกิด สัมมาสมาธิ เรียกว่า ?อานาปานสติ?

เวลาล่วงเลยนานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป แรก ๆ หลวงพ่อคูณก็ธุดงค์ จาริกอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกออกไปไกล ๆ กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศเขมร มุ่งเข้าสู่ป่าลึก เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้น จากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง

สู่มาตุภูมิ

หลังจากที่พิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางจากประเทศเขมรสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตด้านจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่ จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุทาง พระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างอุโบสถ พ.ศ.๒๔๙๖ โดยชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้น ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จแล้ว ต้องเผชิญกับการขนย้ายที่ยากลำบาก โดยอาศัยโคเทียมเกวียนบ้าง ใช้แรงงานคนลากจูง บนทางที่แสนทุรกันดาร เนื่องจากถนนทางเกวียนนั้นเป็นดินทรายเสียส่วนใหญ่ เมื่อต้องรับน้ำหนักมากก็มักทำให้ล้อเกวียนจมลงในทราย การชักจูงไม้แต่ละเที่ยวจึงต้องใช้เวลาถึง 3-4 วัน

แต่กระนั้นหลวงพ่อก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างพระอุโบสถจนสำเร็จ (ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน) นอกจากสร้างพระอุโบสถแล้ว หลวงพ่อยังสร้างโรงเรียน กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ รวมทั้งขุดสระน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ยังความสะดวกสบาย และความเจริญในบ้านไร่ยิ่งนัก แม้ปัจจุบันจะไม่ได้เห็นสิ่งดังกล่าว เนื่องจากหลวงพ่อได้เปลี่ยนสิ่งก่อสร้างดังกล่าวทั้งหมด มาเป็นปูนเป็นอิฐให้สวยงามและทนทานยิ่งขึ้น

นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่อุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย นอกเหนือจากนั้น หลวงพ่อยังได้สร้างโรงพยาบาล โรงเรียน ตลอดจนบริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ

สร้างวัตถุมงคล

หลวงพ่อคูณสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่บวชแล้ว ๗ พรรษา โดยเริ่มทำวัตถุมงคล ซึ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ.๒๔๙๓

?ใครขอ กูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจน? เป็นคำกล่าวของท่าน เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ เมื่อมีผู้ถามว่า หลวงพ่อแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือ

?กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม?.?

?ถ้ามีใจอยู่กับ ?พุทโธ? ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง? ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก?

การปลุกเสกวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อคูณจะใช้คาถาไม่กีบท

หัวใจพระคาถามีว่า

มะอะอุ
นะมะพะธะ
นโมพุทธายะ
พุทโธ และยานะ

แต่ในการปลุกเสก หลวงพ่อคูณจะใช้วิธี อนุโลมปฏิโลม (การต่อตามและย้อนลำดับ) เรียกว่า คาบพระคาถา

เมื่อนำหัวใจธาตุ ๔ คือ นะมะพะธะ มาใช้ หลวงพ่อคูณจะภาวนาด้วยจิตอันเป็นหนึ่ง(สมาธิ) ให้อักขระทั้ง ๔ นี้ เป็น ๑๖ อักขระ ดังนี้

นะ มะ พะ ธะ
มะ พะ ธะ นะ
พะ ธะ นะ มะ
ธะ นะ มะ พะ

ระยะเวลาการปลุกเสกของท่านใช้เวลาไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับอารมณ์จิต ท่านเคยปรารภว่าเมื่อจะปลุกเสกวัตถุใด ใจต้องเป็นสมาธิ เมื่อใจมีสมาธิ ปลุกเสกสิ่งใดก็ขลัง ระยะเวลาหนึ่งนาทีก็ดีแล้ว แต่หากใจไม่เกิดสมาธิ ปลุกเสกทั้งคืนทั้งวันก็ไม่มีผล อย่างนี้สู้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า

ท่านั่งยอง

หลวงพ่อให้เหตุผลว่า เป็นท่าที่สบายที่สุด อีกทั้งเป็นลักษณะของคนเตรียมพร้อมที่ลุกเดินไปไหนมาไหนได้ทันที จะหยิบจับอะไรก็ง่ายและสะดวกในการทำงาน

การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ

หลวงพ่อคูณได้จัดสร้างโรงพยาบาลถึง 3 หลัง ตลอดจนโรงเรียน และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ยังได้บริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ ทุกๆวัน แต่ละเดือนเป็นจำนวนหลายแสนบาท

"หลวงพ่อเป็นคนยากจนมาโดยกำเนิด จึงอยากคิดช่วยเหลือคนอื่น การนำเงินออกไปช่วยคนอื่น ก็จะมีคนบริจาคเรื่อยๆ ถ้าเก็บไว้จะทำให้ตนตาบอด ใจก็บอดอีกด้วย จึงอยากช่วยคนอื่นอยู่เรื่อยไป วันใดไม่มีคนมาขอเงิน ก็ไม่ค่อยสบายใจ?

ข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติ

หลวงพ่อคูณสั่งว่า เมื่อมีพระเครื่องของหลวงพ่อคูณติดตัว ให้ภาวนา "พุทโธ" ทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ ละเว้นถ้อยคำด่าทอ ค่าพ่อแม่ตน และพ่อแม่บุคคลอื่น และอย่าผิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น ให้สวยมนต์ก่อนเข้านอนทุกคืน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และหวงพ่อคูณย้ำว่า "ถ้ามีใจอยู่กับ พุทโธ ให้เป็นกลาง ๆ ไม่สอดส่ายไปที่ไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง...ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใด ๆ ในโลก"

คาถาที่หลวงพ่อคูณใช้บริกรรมเวลานั่งสมาธิ

เวลาหายใจเข้า ให้บริกรรมว่า ตาย

เวลาหายใจออก ให้บริกรรมว่า แน่

เป็นตายแน่... ตายแน่... ตายแน่ไปเรื่อย ๆ จะรู้สึกสบาย จิตสงบ


147
นามเดิม :- ศุข นามสกุล เกษเวช (ต่อมาลูกหลานได้ใช้ เกษเวชสุริยา ก็มี)

เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีวอก พ.ศ. ๒๓๙๐ ที่บ้านมะขามเฒ่า ( เรียกกันในสมัยนั้น ปัจจุบันเรียก บ้านปากคลอง ) ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

โยมบิดา - มารดา :- ชื่อ นายน่วม และนางทองดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลมะขามเฒ่า

มีบุตรและธิดา ด้วยกัน ๙ คน

๑. หลวงปู่ศุข

๒. นางอ่ำ

๓. นายรุ่ง

๔. นางไข่

๕. นายสิน

๖ .นายมี

๗. นางขำ

๘. นายพลอย

๙ .หลวงพ่อปลื้ม

ปัจจุบันยังมีลูกหลานของท่านอยู่ที่บ้านใต้วัดมะขามเฒ่าอีกหลายคน หรือแม้แต่ร้านค้าขายภายในบริเวณวัดเองก็ยังมี

หลวงปู่นั้น ท่านมีลุงคนหนึ่งชื่อ แฟง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางเขน จังหวัดพระนคร ( ในสมัยนั้น ) มีอาชีพ ทำสวน ไม่มีบุตรหรือธิดา จึงได้มาขอหลานจากโยมบิดามารดาหลวงปู่ศุขไปเลี้ยง โยมท่านก็อนุญาตให้เลือกเอา ลุงแฟงก็เลือกเอาคนโต หรือ เรียกว่าคนหัวปี คือ หลวงปูศุข เข้าใจว่าขณะนั้นอายุประมาณ ๑๐ ขวบ เมื่อหลวงปู่ศุขไปอยู่กับลุงแฟง เจริญเติบโตที่ตำบลบางเขน

เมื่อหลวงปู่ฯ อยู่ในวัยฉกรรจ์ ท่านได้เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ทำมาหากินค้าขายเล็กๆ น้อยๆ โดยยึดลำคลองบางเขน ซึ่งมีปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้จังหวัดนนทบุรีลงมา ปัจจุบันอยู่ข้างทางเข้าวัดทางหลวง เป็นที่ทำมาหากิน

คลองบางเขนนี้ทอดขึ้นไปเชื่อมกับคลองรังสิต เมื่อก่อนนี้เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญและกว้างขวางเป็นอย่างมาก เมื่อการคมนาคมทางบกเจริญขึ้น การสัญจรทางน้ำก็หมดความสำคัญลง ปัจจุบันคงจะตื้นเขินไปแล้วก็ได้ เพราะขาดการทะนุบำรุงเท่าที่ควร

หลวงปู่ฯ ท่านทำมาหากินอยู่ในคลองบางเขนอยู่ระยะหนึ่ง จนอายุได้ ๑๘ ปี ได้ภรรยาชื่อ นางสมบูรณ์ และเกิดบุตรชายคนหนึ่งชื่อ สอน เกศเวชสุริยา

หลวงปู่ฯ ท่านครองเพศฆราวาสอยู่ไม่นาน พออายุท่านครบ ๒๒ ปี ท่านได้ลาไปอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขนหรือปัจจุบันชื่อว่า วัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง ส่วนวัดโพธิ์ทองบน อยู่ตอนเหนือของปากคลองบางเขน ตอนบนบริเวณจังหวัดปทุมธานี

อุปสมบท :-

การอุปสมบทของหลวงปู่ศุขนั้น ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ที่วัดโพธิ์บางเขน ( ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโพธิ์ทองล่าง ) โดยมี พระครูเชย จนฺทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็น พระอุปัชฌาย์ พระถายมเป็นพระคู่สวด การอุปสมบทนี้มีลุงแฟงเป็นผู้อุปการะทั้งสิ้น ส่วนโยมบิดามารดาไม่ได้มาร่วมพิธีด้วย เพราะการเดินทางสมัยนั้นลำบากมาก จากชัยนาทถึงกรุงเทพฯ ก็กินเวลาอย่างน้อย ๒ ถึง ๓ วัน จึงจะถึง

พระอุปัชฌาย์ของท่านชื่อ หลวงพ่อเชย จันทสิริ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ฝ่ายรามัญที่ถือเคร่งในวัตรปฏิบัติและพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงพ่อเชยท่านยังเป็นอาจารย์ทางฝ่ายวิปัสสนาธุระมีความรู้และความชำนาญรู้แจ้งแทงตลอด อีกทั้งทางด้านวิทยาคมก็แก่กล้าเป็นยิ่งนัก หลวงปู่ฯ ท่านได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้จากอุปัชฌาย์ของท่านมาพร้อมกับอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่างเหมือนกัน

เมื่อได้อุปสมบทแล้วอยู่กับพระอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์หาที่สงบฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชาอาคมต่าง ๆ จากสำนักที่มีชื่อเสี่ยงโด่งดังในสมัยนั้นจนชำนาญดีแล้ว จึงกราบลาอาจารย์กลับบ้านเกิดของท่าน โดยมาพักอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งข้างหมู่บ้านของท่าน ชื่อวัดอู่ทอง ปัจจุบันนี้เรียกว่า วัดปากคลอง ชาวบ้านแถวนั้นมีความศรัทธาเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั้น เพื่อที่ว่าจะได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ ดังนั้นท่านจึงได้อยู่ ณ ที่นั้นมาจนท่านมรณภาพ ในระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น ได้เริ่มพัฒนาในท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรืองด้วยจากวัดร้างที่ไม่มีอะไรเลย จนถึง พุทธาวาส ธรรมาวาส และสังฆาวาส เป็นวัดที่สมบูรณ์แบบจนถึงทุกวันนี้ ยังมีพระอุโบสถและมณฑป ปรากฏให้เห็นอยู่ ส่วนการอบรมสั่งสอนนั้นท่านได้แนะแนวการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ให้เห็นคุณและโทษของผลการปฏิบัติตนในทางที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร จนประชาชนแถวนั้นมีความประพฤติดีมีศีลธรรมเป็นส่วนมาก

หลวงปู่ฯ ท่านเพลินอยู่ในธรรมเสียหลายปี จนกระทั่งมารดาท่านที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ได้ชราภาพลงตามอายุขัย และความเจ็บไข้มาเยือนอยู่บ่อยครั้ง ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยในบิดามารดาของท่านจึงได้เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม และได้อยู่จำพรรษาปีแรกๆ ที่วัดอู่ทองปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่โบราณที่อยู่ลึกเข้าไปในคลองมะขามเฒ่า หรือบริเวณต้นแม่น้ำท่าจีนในปัจจุบัน แต่ทว่าสภาพของวัดอู่ทองขณะนั้นได้เกิดการชำรุดทรุดโทรมลงตามสภาพ เกินกว่าที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้กลับคืนมาสู่สภาพที่ดีได้ต่อไป ท่านจึงได้ขยับขยายออกมาที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และได้สร้างกุฏิขึ้นครั้งแรกหนึ่งหลังพอเป็นที่อยู่อาศัยไปพลางก่อน

สืบต่อมามารดาของหลวงปู่ๆ ได้ถึงแก่กรรมและได้จัดการฌาปนกิจศพ และในงานนี้เอง หลวงปู่ฯ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลในรูปพระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มรัศมีออกแจกเป็นของที่ระลึกเป็นครั้งแรก เมื่อผู้ที่ได้รับแจกพระเครื่องจากท่านไปได้ปรากฏอภินิหารทางอยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกันเขี้ยวงา คือสุนัขกันไม่เข้า ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่บังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะบ้านนอกอย่างในชนบทสมัยก่อนนั้นไม่ค่อยจะมีรั้วรอบขอบชิดเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็ได้อาศัยสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นยามเฝ้าบ้าน ฉะนั้นการที่จะแวะเวียนไปบ้านหนึ่งบ้านใดนั้นจะต้องระวังเรื่องสุนัขลอบกัดให้ดี มิฉะนั้นท่านจะถูกสุนัขกัดเอาง่ายๆ พระของหลวงปู่ฯ จึงมีชื่อเรื่องสุนัขกันไม่เข้า เป็นปฐมเหตุก่อน จึงบังเกิดความนิยมไปขอท่านมาแขวนคอบุตรหลานเพื่อกันเขี้ยวงาและภยันตรายต่างๆ สมัยก่อนพระวัดปากคลอง เนื้อตะกั่ว จะมีแขวนอยู่ในคอเด็กในท้องถิ่นเกือบจะทุกคน แล้วถ้าจะไปขอพรหลวงปู่ศุข ท่านมักจะถามว่า ?เอ็งมีลูกกี่คน?? ท่านจะให้ครบทุกคน

กิตติศัพท์ในความขลังประสิทธิในพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของท่านจึงค่อยๆ เผยแพร่จากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง ในเวลาไม่ช้าไม่นาน คุณวิเศษของท่านจึงค่อยๆ โด่งดังขจรขจายไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก การขนส่งสินค้า ตลอดจาการทำมาค้าขาย จะขึ้นล่องจะต้องอาศัยสายน้ำเจ้าพระยาเพียงแห่งเดี่ยวเท่านั้น เพราะในสมัยนั้นถนนหนทางทางบกยังทุรกันดาร พอตกเพลาพลบค่ำพ่อค้าแม่ขายเรือเล็กเรือใหญ่จะมาอาศัยนอนค้างแรมที่แพหน้าวัดของท่าน เพื่ออาศัยบารมีของท่านช่วยป้องกันขโมยขโจรที่จะมาประทุษร้ายต่อเลือดเนื้อชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าจะเปรียบไปแล้วหน้าวัดของท่านจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นชุมทางที่สำคัญนี่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยเสริมส่งให้เกียรติคุณของท่านแผ่ขยายไปทั่วทุกภาคของประเทศ ชื่อเสียงของท่านจึงเป็นที่รู้จักกันดี ?หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า?

เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯฝากตัวเป็นศิษย์ :-

อนึ่ง มีผู้กล่าวว่าท่านมีวิชาอาคมเวทย์มนต์เก่งมาก สามารถเสกใบไม้ให้เป็นตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย เสกก้านกล้วยให้เป็นงูได้ และเรื่องอภินิหารของขลัง คงกระพันชาตรี มีอีกมากมาย อาจจะเป็นด้วย บุญกุศลของหลวงปู่ศุข กับ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวี ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นพระองค์ที่ ๒๘ และเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ได้สร้างสมกันมาแต่ชาติปางก่อน ดลบันดาลให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งทรงศรัทธาเลื่อมใสในทางมหาพุทธาคมอยู่แล้วได้เสด็จประพาสไปในภาคเหนือ จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่ศุขและพระองค์ท่านได้พบกัน และเป็นที่ต้องอัธยาศัยซึ่งกันและกัน จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ? อาจารย์ เพื่อจักได้ศึกษาทางมหาพุทธาคม และปรากฏว่า พระองค์เป็นศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถได้ศึกษาแตกฉานจนกระทั่งหลวงพ่อเองก็หมดความรู้ จึงได้ให้เสด็จในกรมฯ ไปศึกษาเคล็ดวิชากับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตรต่อ ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วนั้นและได้วาดภาพพุทธประวัติด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ที่อุโบสถด้านในหน้าอุโบสถ ซึ่งปรากฏจนทุกวันนี้ หลวงปู่ศุข ท่านมีเมตตามากจึงมีศิษย์เป็นอันมากที่มาเรียนวิชาเหล่านี้ ท่านได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูวิมลคุณากร และเป็นเจ้าคณะแขวง ( ปัจจุบันเรียกว่าเจ้าคณะอำเภอ ) เป็นองค์แรกของอำเภอวัดสิงห์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อใด

เมื่อหลวงปู่ศุข ท่านมีลูกศิษย์อย่างเสด็จในกรมฯ จึงเป็นกำลังสำคัญให้ท่านสามารถที่สร้างวัดปากคลองมะขามเฒ่าให้เสร็จสมบูรณ์ ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาที่คงเหลือเป็นประจักษ์พยานในปัจจุบันนี้ก็คือ ภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนสีน้ำที่ทางกรมศิลป์ยกย่องว่าเสด็จในกรมฯ ทรงฝีมือในการเขียนภาพเป็นอย่างมาก และทรงสอดแทรกอารมณ์ขันในภาพพระพุทธเจ้าชนะมาร ในกระแสน้ำที่พระแม่ธรณีบีบมวยผมทำให้เกิดอุทกธาราหลากไหลพัดพาเอาทัพพระยามารไปนั้น พระองค์ท่านเขียนเป็นภาพลิงใส่นาฬิกาและหนีบขวดวิสกี้กำลังเดินตุปัดตุเป๋ไปเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฤาษีปัญจวัคคีเมื่อเห็นเจ้าชายสิทธัตถะเลิกทรมานการหันมากินอาหาร ก็นึกว่าพระองค์คงจะถ้อถอยละความเพียรแล้ว จึงพากันผละหนีพระองค์ไปนั้น เสด็จในกรมฯ ท่านเขียนใบหน้าของฤาษีปัญจวัคคี โดยสอดอารมณ์ที่ยิ้มเยาะเย้ยหยันอย่างไม่อะไรไยดีต่อพระองค์ เน้นความรู้สึกได้เด่นชัดมาก

ฝีมือของเสด็จในกรมฯ อีกชิ้นหนึ่งก็คือภาพเขียนสีน้ำมันเป็นรูปหลวงปู่ศุขยืนเต็มตัวและถือไม้เท้า ภาพนี้เขียนขึ้นในขณะที่หลวงปู่มีอายุมากแล้วจึงต้องเดินสามขา

ศิลปวัตถุในพุทธศาสนาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า นอกจากพระอุโบสถแล้วยังมีมณฑปจตุรมุขประดิษฐ์บานรอยพระพุทธบาท ประตูทั้ง ๔ บานนั้นแกะด้วยไม้สัก แกะลวดลายลึกถึงสามชั้น เคยมีคนสมคบกันเอาบานประตูมณฑปจตุรมุขออกขาย เอาลงมากรุงเทพฯ เตรียมใส่เรือกระแชงในคลองมหานาคเพื่อออกต่างประเทศ ด้วยดวงวิญญาณในหลวงปู่ศุขท่านผูกพันอยู่กับศาสนาวัตถุที่ท่านสร้างเอาไว้ในบวรพุทธศาสนา ท่านจึงเข้าประทับทรงจากหิ้งบูชาจังหวัดนครสวรรค์ รับเอาท่านแม่ทัพที่นครสวรรค์ (ขออภัยผู้เขียนจำชื่อท่านไม่ได้) และมารับเอาท่านนายอำเภอประจำจังหวัดชัยนาทในขณะนั้น คือ คุณสุธี โอบอ้อม แล้วนั่งรถเข้ากรุงเทพฯ ร่างทรงหลวงปู่ฯ ได้พาคณะลดเลี้ยวเข้าครอกเข้าซอยจนมาถึงเรือกระแชงที่บรรทุกบานประตูมณฑปเตรียมขนออกนอกได้อย่างทันท่วงที ยึดเอาบานประตูทั้ง ๔ บาน คืนกลับไป ขณะนั้นยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดป่าพานิชวนาราม อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท และยังไม่ได้ส่งคืนวัดปากคลองมะขามเฒ่า เพราะเหตุอะไรนั้น ชาวจังหวัดชัยนาทเขาทราบกันดี

ปัจจุบันชาวจังหวัดชัยนาทผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ได้ร่วมกันสร้างรูปหุ่นขี้ผึ้งไว้ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพื่อจะได้ทำการสักการบูชาโดยทั่วกัน กรมทหารเรือเห็นความสำคัญ จึงได้ทำการบูรณะซ่อมแซมมณฑป เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทำให้ประชาชนทั้งใกล้และไกลต่างจังหวัด หลั่งไหลมาสักการะบูชาทุก ๆ วันมิได้ขาด วัดปากคลองมะขามเฒ่า จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาทต่อไป

เรื่องทรงเจ้าเข้าผีนี้ จะไม่เชื่อก็ไม่ได้ แต่ที่ทรงจริงๆ นั้นมันมีน้อย อย่างในกรณีดวงวิญญาณหลวงปู่ศุขประทับทรงแล้วซอกแซกลงมาจากนครสวรรค์ถึงกรุงเทพฯ เกือบ ๓๐๐ กม. แล้วยังพาคณะเข้าครอกตรอกซอยจนถึงเรือกระแชงที่จอดลอยลำอยู่ในคลองมหานาคนั้นมันเป็นการเดินทางที่สลับวับซ้อนและวกวนน่าดู แต่ร่างทรงก็พาคณะไปจนพบและยึดบานประตูกลับคืนมาได้นั้น มันเป็นเหตุการณ์อันมหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง และบานประตูมณฑปทั้ง ๔ บานดังกล่าวแล้วนั้น ทั้งเสด็จในกรมฯ และหลวงปู่ศุขได้ช่วยกันสร้างเป็นชิ้นสุดท้าย ระบุปี พ.ศ. ๒๔๖๕ อยู่ที่ซุ้มหน้ามณฑปอีกด้วย

ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์นอกจากจะถูกอัธยาศัยกันเป็นยิ่งนัก จักเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอแล้ว ถ้าเสด็จในกรมฯ ติดราชการงานเมือง หลวงปู่ก็จะลงมาหา โดยเสด็จในกรมฯ ได้สร้างกุฏิอาจารย์ไว้กลางสระที่วังนางเลิ้ง ซึ่งเต็มไปด้วยดอกบัววิคตอเรีย มีใบกลมใหญ่ขนาดถาด และรู้สึกว่ากลางใบจะมีหนามคมด้วย อันนี้ได้รับคำบอกเล่าจากลุงผล ท่าแร่ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ติดสอยห้อยตามหลวงปู่ฯ มาแต่เล็ก ท่านเป็นชาวอุตรดิตถ์หรือพิษณุโลกจำได้ไม่ถนัดนัก หลวงปู่ศุขท่านขอพ่อแม่มาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่ฯ ท่านก็เลยลงหลักปักฐานได้ภริยาอยู่ที่ตำบลท่าแร่ อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาท เลยเรียกกันติดปากว่า ลุงผล ท่าแร่

แต่อย่างไรก็ตาม ภายในกำหนด ๑ ปี หลวงปู่ศุขท่านจะต้องลงมากรุงเทพฯ ๑ ครั้งเป็นอย่างน้อย เพราะเสด็จในกรมท่านจะกระทำพิธีไหว้ครูราวๆ เดือนเมษายน งานจะจัดเป็น ๓ วัน วันแรกไหว้ครูกระบี่กระบอง วันที่สองไหว้ครูหมอยาแผนโบราณ และวันที่สามจะไหว้ครูทางวิทยายุทธ์พุทธาคมและไสยศาสตร์ จัดเป็นงานใหญ่มีมหรสพสมโภชทุกคืนกับมีการแจกพระเครื่องรางของขลังจากหลวงปู่ศุขอีกด้วย แต่ในระยะหลังๆ หลวงปู่ศุขท่านมีอายุมากแล้วสุขภาพไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าใดนัก ท่านจึงไม่ค่อยจะได้ลงมา

จากการที่ผู้เขียนได้เคยศึกษาตำราอักขระเลขยันต์จากอาจารย์ท่านมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาท ผู้สืบสายมาจากท่านใบฎีกายัง วัดหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาท ซึ่งเป็นฐานาในหลวงปู่ศุข และเป็นลูกศิษย์เอกของหลวงปู่ศุขรูปหนึ่ง ตำราอักขระเลขยันต์ซึ่งคุณหมอสำนวน ปาลวัฒน์วิไชย แห่งโรงพยาบาลประจำจังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านได้ใช้เวลาค้นคว้าและรวบรวมพระเครื่องในหลวงปู่ศุข ตลอดจนประวัติและเรื่องราวของท่านตลอดมาเป็นเวลาหลายสิบปี ได้นำออกมาตีพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือรวมเล่มขนาดหนานั้น ได้ตีพิมพ์ตำราอักขระเลขยันต์ของหลวงปู่ศุขที่สอนให้กับลูกศิษย์ของท่างลงไปด้วย และบางตอนบางหน้ายังเป็นลายมือของหลวงปู่อีกด้วย นับว่าเป็นการเปิดหูเปิดตาสำหรับผู้ที่สนใจจริงๆ แต่ทว่าในตำราอักขระเลขยันต์ของท่านนั้นเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานทั่วๆ ไป ซึ่งมีอยู่ในตำรามหาพุทธาคมที่เราได้ร่ำเรียนกันอยู่ในปัจจุบันนี้ อย่างเช่นการเรียนสูตรสนธ์จากคัมภีร์รัตนมาลา ในพระอิติปิโส ๕๖ พระคาถาห้องพระพุทธคุณ ลงเป็นยันต์เกราะเพชรหรือตาข่ายเพชร ยันต์พระไตรสรณาคมน์ตลอดจนคัมภีร์นะ ๑๐๘ และ นะพินธุ หรือ นะปฐมกัลป์ หรือ นะโมพุทธายะใหญ่ และยันต์ประจำตัวของท่านที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำก็คือ ตัวพุทธมวันโลก ที่ท่านใช้จารลงที่หลังพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของท่าน นอกจากนั้นยังลงด้วยยันต์สามลง มะ อะ อุ ที่ขมวดยันต์ลงหลังรูปถ่ายของท่าน เรียกว่า ยันต์เพชรหลีกน้อย นอกจากนั้นท่านจะนิยมหนุนหรือล้อมด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ นะ มะ พะ ทะ

อนึ่งการที่ท่านทำพระเครื่องรางของขลังได้ประสิทธิมีฤทธิ์มีเดชทั้งๆ ที่ใช้อักษรเลขยันต์พื้นๆ นั้น เป็นเพราะอำนาจจิตที่ท่านได้ฝึกฝนมานั้นกล้าแกร่งยิ่งนัก โดยเฉพาะกสิณธาตุทั้ง ๔ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอิทธิฤทธิ์ทางใจเลยทีเดียว สำหรับการสำเร็จวิชาชั้นสูงเรียกว่า มายาการ คือความเชื่อถือ และการปฏิบัติ ที่มุ่งหมายให้เกิดผล ด้วยการใช้พลัง หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ของขลัง พิธีกรรม หรือหลีกลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เช่น ท่านเสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย ตลอดจน การผูกหุ่นพยนต์ด้วยฟางข้าว เสกคนให้เป็นจระเข้ เป็นต้น มันเป็นมายาการชั้นสูง คือการบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ แท้ที่จริงแล้วใบมะขามก็คงเป็นใบมะขาม หัวปลีก็คงเป็นหัวปลี และหุ่นฟางก็คงเป็นหุ่นฟางเหมือนเดิม เว้นแต่ด้วยอำนาจจิตของท่านทำให้เราเห็นไปเอง

จากหนังสือ ?พระกฐินพระราชทาน สมาคมศิษย์อนงคาราม ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เรื่องพระใบมะขาม? ท่านผู้เขียนอดีตเป็นพระมหา มีหน้าที่ไปอุปัฏฐากหลวงปู่ศุข ขณะที่อาราธนาท่านมาปลุกเสกพระชัยวัฒน์ และพระปรกใบมะขาม (พ.ศ. ๒๔๕๙) ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

?เมื่อข้าพเจ้าไปอุปัฏฐากหลวงพ่อแล้ว มีชาวบ้านชาววัดมาขอให้หลวงพ่อลงกระหม่อมบ้าง ลงตะกรุดพิสมรบ้าง โดยยื่นแผ่นเงิน ทอง นาก ให้ลงคาถา บางคนขอเมตตา บางคนขอการค้าขาย หลวงพ่อให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ลง

ข้าพเจ้าถามว่าการค้าขาย จะให้ลงว่ากระไร?

หลวงพ่อบอกว่า ?นะชาลิติ?

บางคนขอเมตตา ข้าพเจ้าถามว่า จะให้ลงว่ากระไร?

หลวงพ่อพูดติดตลกว่า ?เมตยายไม่เอาหรือ เอาแต่เมตตาเท่านั้นหรือ??

คนขอจึงบอกขอเมตตาอย่างเดียว ข้าพเจ้าถามว่า จะให้ลงว่ากระไร?

ท่านบอกว่า ?นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู?

ข้าพเจ้าจึงบอกว่า ?หลวงพ่อครับ ผมไม่มีความขลัง ลงไปก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร?

หลวงพ่อบอกว่า ?มันอยู่ที่ผมเสกเป่านะคุณมหา?

ข้อนี้ยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะระหว่างนั่นข้าพเจ้าให้หลวงพ่อลงกระหม่อม แล้วท่านเสกเป่าไปที่ศีรษะตั้งหลายครั้ง เมื่อท่านเป่าที่กระหม่อมที่ไร ข้าพเจ้าขนลุกชันทั่วทั้งตัวทุกครั้ง ทั้งที่ข้าพเจ้าฝืนใจไม่ให้ขนลุกก็ลุกซู่ทุกครั้งที่ท่านเป่า ข้อนี้เป็นมหัศจรรย์จริงๆ ข้าพเจ้าคิดว่าจะเป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว ไปสอบถามภิกษุอุปัฏฐากรูปอื่นๆ ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน ข้อนี้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ?ท่านสำเร็จสมถะภาวนาแน่ๆ?

อนึ่ง ท่านเป็นพระที่น่าเคารพนับถือ สำรวมในศีลเป็นอย่างดี ไม่ใคร่พูดจา นั่งสงบอารมณ์เฉยๆ ไม่ถามอะไร ท่านก็ไม่ตอบไม่พูด บางอย่างข้าพเจ้าถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ตอบเลี่ยงไปทางอื่น เช่น ?เขาว่าหลวงพ่อเสกใบไม้เป็นต่อ และเสกผ้าเช็ดหน้าเป็นกระต่ายได้ และแสดงให้กรมหลวงชุมพรฯ เห็นจนยอมเป็นศิษย์?

หลวงพ่อตอบข้าพเจ้าว่า ?ลวงโลก? แล้วท่านก็นิ่งไม่ตอบว่าอะไรอีก

หลวงพ่อพูดต่อไปว่า ?เวลานี้กรมหลวงชุมพรฯ ไปต่างประเทศ (เข้าใจว่าไปรับเรือพระร่วง) ถ้าอยู่ก็ต้องมาหาท่าน และปรนนิบัติท่านจนท่านกลับวัด และว่ากรมหลวงชุมพรฯนี้ตกทะเลไม่ตาย แม้จะมีสัตว์ร้ายก็ไม่ทำอันตรายได้?

หลวงพ่ออยู่ที่กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) พุทธสรมหาเถรเป็นเวลาสิบวันเศษ ได้ทราบว่าสมเด็จเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่ออีกด้วย

มรณภาพ :-

ท่านมรณภาพเมื่อ เดือน ๑ ปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖ ไม่ปรากฏวันที่ที่แน่นอน คำนวณอายุได้ ๗๖ ปี วันสวดพระพุทธมนต์ทำศพอยู่ ๗ วัน ๗ คืน จึงประชุมเพลิง

อนึ่ง การที่เราคนรุ่นหลังจักเขียนเรื่องราวและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ศุข ซึ่งท่านมรณภาพล่วงไปแล้วกว่าครึ่งศตวรรษให้ได้ใกล้เคียงกับความจริงนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ อาศัยหลักฐานทางเอกสารที่หลงเหลืออยู่บ้าง จากการไต่ถามบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านซึ่งส่วนมากจักล้มหายตายจากกันไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การที่ท่านได้รับรู้จากการเขียนของ ?ท่านมหา? ซึ่งเคยอุปัฏฐากหลวงปู่ ดังกล่าวแล้วนั้นคงจักทำให้ท่านมองเห็นสภาพของหลวงปู่ศุข ได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด


148
ความนำ

คำปรารภและอนุมานสันนิษฐานว่าประวัติเรื่องความเป็นไปของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ครั้งในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพฯ นั้น มีความเป็นมาประการใด เพราะเจ้าพระคุณองค์นี้ เป็นที่ฤๅชาปรากฏ เกียรติศักดิ์เกียรติคุณเกียรติยศ ขจรขจายไปหลายทิศหลายแคว มหาชนพากันสรรเสริญออกเซ็งแซร่กึกก้องสาธุการ บางคนก็บ่นร่ำรำพรรณ ประสานขานประกาศกรุ่นกล่าวถึงบุญคุณสมบัติ จริยสมบัติของท่านเป็นนิตยกาลนานมา ทุกทิวาราตรีมิรู้มีความจืดจาง

อนึ่ง พระพุทธรูปของท่านที่สร้างไว้ในวัดเกตุไชโย ใหญ่ก็ใหญ่ โตก็โต วัดหน้าตักกว้างถึงแปดวาเศษนิ้ว เป็นพระก่อที่สูงลิ่ว เป็นพระนั่งที่ศักดิ์สิทธิ์ ดูรุ่งเรืองกระเดื่องฤทธิ์มหิศรเดชานุภาพ พระองค์นี้เป็นที่ทราบทั่วกันตลอดประเทศแล้วว่า เป็นพระที่มีคุณพิเศษสามารถอาจจะดลบันดาลดับระงับทุกข์ภัยไข้ป่วยช่วยป้องกันอันตรายได้ จึงดลอกดลใจให้ประชาชนคนเป็นอันมาก หากมาอภิวิวันทนาการ สักการบูชาพลีกรรม บรรณาการเส้นสรวงบวงบล บางคนมาเผดียงเสี่ยงสัตย์อธิษฐาน ก็อาจสำเร็จสมปณิธานที่มุ่งมาตร์ปรารถนา จึงเป็นเหตุให้มีสวะนะเจตนาแก่มหาชนจำนวนมากว่าร้อยคน คิดใคร่รู้ประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆษิตาราม บ้างก็คืบเที่ยวสืบถามความเป็นไปแต่หลังๆ แต่คราครั้งดั้งเดิมเริ่มแรก ต้นสกุลวงศ์เทือกเถาเหล่ากอ พงษ์พันธุ์ พวกพ้อง พื้นภูมิฐาน บ้านช่อง ข้องแขว แควจังหวัด เป็นบัญญัติของสมเด็จนั้นเป็นประการใด

นานมาแล้วจะถามใครๆ ไม่ได้ความ หามีใครตอบตรงคำถามให้ถ่องแท้ จึงได้พากันตรงแร่เข้ามาหา นายพร้อม สุดดีพงศ์ อ้อนวอนให้รีบลงมากรุงเทพฯ ให้ช่วยเข้าสู่เสพย์ษมาคม ถามเงื่อนเค้าเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงนายพร้อม สุดดีพงศ์ ตลาดไชโย เมืองอ่างทอง จึงได้รีบล่องลงมาสู่หา ท่านพระมหาสว่าง วัดสระเกษ นมัสการแล้วยกเหตุขึ้นไต่ถาม ตามเนื้อความที่ชนหมู่มากอยากจะรู้ จะดูจะฟังเรื่องราวแต่คราวครั้งต้นเดิมวงษ์สกุล ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นเป็นฉันใด ขอพระคุณได้สำแดงให้แจ้งด้วย

ที่นั้นมหาสว่าง ฟังนายพร้อมเผดียงถาม จึงพากันข้ามฟากไปวัดระฆัง ขึ้นยังกุฏิเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช้าง) อันเป็นผู้เฒ่าสูงอายุศม์ ๘๘ ปี ในบัดนี้ยังมีองค์อยู่ ทั้งเป็นผู้ใกล้ชิด ทั้งเป็นศิษย์ทันรู้เห็น ทั้งเคยเป็นพระครูถานาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง เคยอยู่ตั้งแต่เล็กๆ เมื่อเป็นเด็กเป็นชั้นเหลน

นายพร้อมจึงประเคนสักการะ ถวายเจ้าคุณพระธรรมถาวรแล้วจึงได้ไถ่ถามตามเนื้อความที่ประสงค์

ฝ่ายเจ้าคุณพระธรรมถาวร ท่านจึงได้อนุสรณ์คำนึงนึกไปถึงเรื่องความ แต่หนหลัง ท่านได้นั่งเล่าให้ฟังหลายสิบเรื่อง ล้วนแต่เป็นเรื่องที่น่าควรคิดพิศวงมาก ลงท้ายท่านบอกว่า อันญาติวงศ์พงษ์พันธ์ ภูมิฐานบ้านเดิมนั้น เจ้าของท่านได้ให้ช่างเขียนเขียนไว้ที่ผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร บ้านบางขุนพรหม พระนคร ล้วนแต่เป็นเค้าเงื่อนตามที่สมเด็จเจ้าโตได้ผ่านพบทั้งนั้น ท่านเจ้าของบอกใบ้สำคัญด้วยกิริยาของรูปภาพ ขอจงไปทราบเอาที่โบสถ์วัดอินทรวิหารนั้นเถิด

ครั้น ม.ล. พระมหาสว่าง เสนีวงศ์ กับนายพร้อม สุดดีพงศ์ ฟังพระธรรมถาวรบอกเล่าและแนะนำจำจดมาทุกประการแล้วจึงนมัสการลาเจ้าคุณพระธรรมถาวรกลับข้ามฟากจากวัดระฆัง รุ่งขึ้นวันที่ ๑๖ กรกฎาคา พ.ศ. ๒๔๗๓ จึงขึ้นไปหารท่านพระครูสังฆรักษ์เจ้าอธิการ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม แล้วขออนุญาตดูภาพเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตามคำแนะนำของเจ้าคุณพระธรรมถาวรวัดระฆังบอกให้ดูทุกประการ

ส่วนท่านพระครูสังฆรักษ์ เจ้าอธิการก็มีความเต็มใจ ท่านนำพาลงไปในโบสถ์พร้อมกันแล้ว เปิดหน้าต่างประตูให้ดูได้ตามปรารถนา

นายพร้อมจึงดูรูปภาพ ช่วยกันพินิจพิจารณา ตั้งแต่ฉากที่ ๑ จนถึงฉากที่ ๑๒ นายพร้อมออกจะเต็มตรอง เห็นว่ายากลำบากที่จะขบปัญหาในภาพต่างๆ ให้เห็นความกระจ่างแจ่มแจ้งได้ นายพร้อมชักจะงันงอท้อน้ำใจไม่ใคร่จะจดลงทำยืนงงเป็นงันงันไป

ม.ล.พระมหาสว่าง รู้ในอัธยาศัยของนายพร้อมว่าแปลรูปภาพไม่ออก บอกเป็นเนื้อความเล่าแก่ใครไม่ได้ นายพร้อมอึดอัดตันใจสุดคาดคะเนทำท่าจะรวนเรสละละการจดจำ ม.ล.พระมหาสว่างจึงแนะนำให้นายพร้อมอุตสาห์จดทำเอาไปทั้งหมดทุกตัวภาพ ไม่เป็นไร คงจะได้ทราบสิ้นทุกอย่าง คงไม่เหลวคว้างเหลือปัญญานัก ฉันจะช่วยดุ่มเดาดักให้เด่นเด็ดจงได้ ฉันจะคิดค้นรัชสมัยและพระบรมราชประวัติและราชพงศาวดาร เทียบนิยาย นิทานตำนานต่างๆ ตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าสืบกันมา เรื่องนี้คงสมมาตร์ปรารถนาอย่าวิตก ฉันจะเรียบเรียงและสาธกยกเหตุผลให้เป็นเบื้องต้นและเบื้องปลายให้สมความมุ่งหมายใคร่รู้ ในเรื่องประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์

แต่ข้อสำคัญเกรงว่าจะช้ากินเวลาหลายสิบวัน เปรียบเช่นกับช่างไม้ทำช่อฟ้า จำต้องนานเวลาเปลืองหน้าไม้ ช่างต้องบั่นทอนผ่อนไปจนถึงแงงอนกนก ของที่ต้องการเปรียบเทียบเท่าที่ตำนานของสมเด็จนี้ กว่าจะเรียงความถูกตามที่ร่างข้อต่อตัดถ้อยคำที่เขินขัด ก็ต้องขุดคัดตัดทอนทิ้ง หรือความขาดไม่พาดพิงพูดไม่ถูกแท้ ก็ตกแต้มแถมแก้แปลให้สอดคล้องต้องกับความจริง สืบหาสิ่งที่เป็นหลักมาพักพิงไม่ให้ผิด สืบผสมให้กรมติดเป็นเนื้อเดียว ไม่พลำพลาด ถึงจะเปลืองกระดาษเปลืองเวลา ฉันไม่ว่าไม่เสียดาย หมายจะเสาะค้นขวนขวายหาเรื่องมาประกอบให้ จะได้สมคิดติดใจมหาชน จะได้ทราบเรื่องเบื้องตนและเบื้องปลาย โดยประวัติปริยายทุกประการ

นายพร้อม สุดดีพงศ์ ได้ฟังคำบริหารอาษาของ ม.ล. พระมหาสว่างรับแข็งแรง จึงเข้มขมัดจัดแจงจดเพียรเขียนคัดบอกเป็นตัวหนังสือมาพร้อม ทุกด้านภาพในฝาผนังทั้ง ๑๒ ฉาก แล้วก็ละพากันกลับมายังวัดสระเกษ ต่อแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ศกนี้มา พระมหาสว่างก็ตั้งหน้าตรวจตราเสาะสืบหาและไต่ถาม ได้เนื้อความนำจดลงคนพงศาวดาร รัชกาลราชประวัติบั่นทอนตัดให้รัดกุม ไม่เดาสุ่มมีเหตุพอความไม่ต่อใช้วิจารณ์ เป็นพยานอ้างตัวเองไปตามเพลงของเรื่องราวที่สืบสาวเรียงเขียนลงเอาที่ตรงต่อประโยชน์ ไม่อุโฆษป่าวร้องใคร ไม่หมิ่นให้ธรเณนทร์ โดยความเห็นจึงกล้าเล่า ดังจะกล่าวให้ฟังดังนี้

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านให้ช่างเขียน เขียนเรื่องของท่านไว้ในฝาผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม ดังนี้ เขียนเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองว่างว่างไม่มีคน มีแต่ขุนนางขี่ม้าออก เขียนวัดบางลำพูบนผนังติดกับเมืองกำแพงเพชร เขียนบางขุนพรหม เขียนรูปเด็กอ่อนนอนหงายแบเบาะอยู่มุมโบสถ์วัดบางลำพู เขียนรูปนางงุดกกลูก เขียนรูปตาผลว่าพระผล เขียนรูปอาจารย์แก้ววัดบางลำพูกำลังกวาดลานวัด เขียนรูปนายทอง นางเพ็ชร นั่งยองยอง ยกมือทั้งสองไหว้พระอาจารย์แก้ว เขียนรูปพระอาจารย์แก้วกำลังพูดกับตาผลบนกุฏิ เขียนรูปเรือเหนือจอดที่ท่าบางขุนพรหม จึงต้องขอโอกาสแก่ท่านผู้อ่านผู้ฟัง ด้วยข้าพเจ้าตรวจดูภาพทราบได้ตามพิจารณาและคาดคะเนสันนิษฐาน แปลจากรูปภาพบนนั้นคงได้ใจความตามเหตุผลต้นปลายของสมเด็จพระพุฒาจารย์ )โต) วัดระฆัง ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

แต่ครั้งเดิมเริ่มแรก ต้นวงศ์สกุลของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) องค์นี้ ตั้ง คฤหสถานภูมิสำเนา สืบวงศ์พงศ์เผ่าพืชพันธุ์พวกพ้อง เป็นพี่เป็นน้องต่อแนวเนื่องกันมาแต่ครั้งบุราณนานมา ณ แถบแถวที่ใกล้ใต้เมืองกำแพงเพชร เป็นชนชาวกำแพงเพชรมาช้านาน ครั้นถึงปีระกา สัปตศก จุลศักราช ๑๑๒๗ ปี (พ.ศ. ๒๓๐๒) จึงพระเจ้าแผ่นดินอังวะภุกามประเทศ ยกพลพยุหประเวสน์สู่พระราชอาณาเขตร์ประเทศยามนี้กองทัพพม่ามาราวี ตีหัวเมืองเอกโทตรีจัตวา ไล่รุกเข้ามาทุกทิศทุกทาง ทั้งบกทั้งเรือทั้งปากใต้ฝ่ายเมืองเหนือและทางตะวันตก เว้นไว้แต่ทิศตะวันออก หัวเมืองชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นโท ต่อรบต้านทานพม่าไม่ไหว ก็ต้องล่าร้างหลบหนี้ ซ่อนเร้นเอาตัวรอด ราษฎรก็พากันทอดทิ้งภูมิสถานบ้านเรือน เหลี่ยมลี้หนีหายพลัดพรากกระจายไป คนละทิศคนละทางห่างห่างวันกัน ในปีระกาศกนั้นจำเพาะพระยาตาก (สิน) เจ้าเมืองกำแพงเพชรกี้หาได้อยู่ดูแลรักษาเมืองไม่ มีราชการเข้าไปรับสัญญาบัตร เลื่อนที่เป็นพระยาวชิรปราการ แล้วยังมิได้กลับมา พอทราบข่าวศึกพม่า เสนาบดีให้รอรับพม่าอยู่ในกรุงนั้น ครั้นทัพหน้าพม่ารุกเข้ามาถึงกรุง พระยาวชิรปราการก็ต้องกุมพลรบพุ่ง ต้านทานรบรับทัพพม่า พม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยานั้นไว้ กองทัพพม่ามาล้อมกรุงเก่าคราวนั้นเกือบสามปี

ครั้นถึงปีกุนนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ (พ.ศ. ๒๓๑๐) ถึง ณ วันอังคารเดือนห้า แรมเก้าค่ำ เวลาบ่าย ๓ โมงเย็น พม่าจึงนำปืนใหญ่เข้าระดมยิงพระมหานคร พระมหานครก็แตก เสียแก่พม่าในวันอังคาร เดือนห้า ขึ้นเก้าค่ำ ปีกุนศกนั้น

ฝ่ายพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้ถือพล ๕๐๐๐ ช่วยป้องกันพระมหานคร ครั้นเห็นว่าชาตากรุงขาด ไม่สามารถจะต่อสู้พม่าได้ ก็พาพล ๕๐๐๐ นั้น ฝ่าฟันหนีออกไปทางทิศตะวันออก ข้ามไปทางพเนียดคล้องช้าง เดินทางไปเข้าเขตเมืองนครนายก แล้วข้ามฟากไปแย่งเอาเมืองจันทบุรี ตีได้แล้วก็เข้าตั้งมั่นบำรุงพลพาหนะละเลียงเสบียงอาหาร สรรพศาสตราวุธยุทธภัณฑ์ไว้พร้อมมูลบริบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็ตั้งตัวเป็นเจ้า ชาวเมืองเรียกว่าพระเจ้าตาก ตั้งอยู่เมืองจันทบุรีก๊กหนึ่งในคราวนั้น

ครั้นถึงปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๓๐ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๑) พระเจ้าตาก (สิน) ได้ยกพลโยธิแสนยากรเป็นกองทัพ เข้าบุกบั่นรบทัพพม่าตั้งแต่เมืองปาใต้ฝ่ายตะวันตกวกเข้าตีกองทัพพม่ามาถึงกรุงเก่า กองทัพพม่าสู้มิได้ก็แตกฉานล่าถอยขึ้นไปทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ แล้วก็เข้าชิงเอากรุงเก่าคืนจากเงื้อมมือพม่าข้าศึกได้แล้ว ลอยขบวนลงมาตั้งราชธานีที่เมืองธนบุรี ตำบลที่วัดมะกอกนอก เหนือคลองบางกอกใหญ่ ใต้คลองคูวัดระฆังโฆษิตาราม ทรงขนานนามเมืองว่ากรุงธนบุรี พระนามาภิธัยว่า พระเจ้ากรุงธนบุรี แต่ปีชวดศกนั้นมา

จึงหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ออกไปตั้งคฤหสถานบ้านเรือนครอบครองทรัพย์สมบัติอยู่ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ได้เข้ามาพร้อมด้วยเอกะและน้องแลบุตรทั้ง ๔ เข้ามารับราชการในพระเจ้ากรุงธนบุรีๆ ได้ตั้งให้หลวงยกกระบัตรเป็นที่พระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ถือศักดินา ๑๖ๆๆ ไร่ จึงตั้งคฤหสถานบ้านเรือนอยู่เหนือพระราชวังหลวง ใต้วัดบางหว้าใหญ่ (คือวัดระฆังในบัดนี้) ในปีชวดศกนั้นเอง พระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชทานเกียรติยศเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ ยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าพิมายมีชัยชำนะกลับลงมา ทรงพระกรุณาเลื่อนขึ้นเป็นที่พระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ทรงศักดินา ๓๐๐๐ ไร่ ครั้นถึงปีขาลโทศก ๑๑๓๒ ปี (พ.ศ.๒๓๑๓) พระเจ้ากรุงธนบุรีรับสั่งให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ ถืออาญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพยกกองทัพไปปราบเจ้าพระฝาง เมืองสวางคบุรี ตีกองทัพเจ้าพระฝางแตก จับตัวเจ้าพระฝางได้ พร้อมทั้งช้างพังเผือกกับลูกดำ จับตัวพรรคพวกและช้างลงมาถวาย ส่วนพระยาอภัยรณฤทธิ์รั้งหลังเพื่อจัดการบ้านเมืองฝ่ายเหนือป่าวร้องให้อาณาประชาราษฎรที่แตกฉานซ่านเซ็น ให้รวมเข้ามาเป็นหมวดหมู่ตั้งอยู่ดังเก่า ตามภูมิลำเนาเดิมของตน ที่ขัดขวางยากจนก็แจกจ่ายให้ปันพอเป็นกำลังสำหรับตั้งตัวต่อไปภายหน้า เมื่อขณะนี้เองชาวเมืองเหนือจึงได้พากันนิยมสวามิภักดีต่อท่านพระยาอภัยรณฤทธิ์ รักใคร่สนิทแต่คราวนั้นเป็นต้นเป็นเดิมมา เมื่อกองทัพกลับแล้ว พวกราษฎรเมืองเหนือบางครัว จึงได้พากันมาอยู่ในกรุงเก่าบ้าง เมืองอ่างทองบ้าง เมืองปทุมบ้าง เมืองนนทบุรีบ้าง เมืองพระประแดงบ้าง ในกรุงธนบุรีบ้าง ในบางขุนพรหมบ้าง ต่างจับจองจำนองที่ดินซื้อหา ตามกำลังและวาสนาของตนๆ เป็นต้นเหตุ ที่มีผู้คนคับขันขึ้นทั้งในกรุงและหัวเมืองแน่นหนาขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นลำดับมา

ส่วนพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงเลื่อนที่ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ขึ้นเป็นพระยายมราชเสนาบดีที่จตุสดมภ์ กรมพระนครบาล ทรงศักดินา ๑๐๐๐๐ ไร่ พรรษายุกาลได้ ๓๔ ปี ในปลายปีขาลศกนั้นเอง พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเลื่อนที่เจ้าพระยายมราชขึ้นเป็นเจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก อรรคมหาเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ทรงศักดินา ๑๐๐๐๐ ไร่

ครั้นถึงปีเถาะตรีศก จุลศักราช ๑๑๓๓ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๔) พระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพถืออาชญาสิทธิ์ต่างพระองค์ ยกกองทัพใหญ่ออกไปปราบปรามเมืองเขมรกัมพูชาประเทศก็มีชัยชนะเรียบร้อยกลับมา ได้รับพระราชทานรางวัลพิเศษ

ครั้นถึงปีมะเมีย ฉศก จุลศักราช ๑๑๓๖ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๗) มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ ยกกองทัพใหญ่ขึ้นไปล้อมเมืองเชียงใหม่ที่พม่ารักษาอยู่นั้น พม่าซึ่งรักษาเมืองเชียงใหม่ ได้ความอดอยากยากแค้นเข้า ก็พากันละทิ้งเมืองเชียงใหม่เสียแล้วหนีไปสิ้น ก็ได้เมืองเชียงใหม่โดยสะดวกง่ายดาย ในปลายปีมะเมีย ฉศกนั้นเอง อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าอายุ ๗๒ ปี เป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ในพระเจ้ามังระกรุงอังวะ ครั้งนั้นพระเจ้าอังวะมีพระโองการรับสั่งให้อะแซหวุ่นกี้ถืออาญาสิทธิ์ยกทัพใหญ่ เดินกองทัพเข้ามาถึงด่านเมืองตาก แล้วให้พม่าล่ามถามนายด่านว่า พระยาเสืออยู่รักษาเมืองหรือไม่ นายด่านตอบว่าพระยาเสือไม่อยู่ยังไม่กลับ

อะแซหวุ่นกี้จึงหยุดกองทัพหน้าไว้นอกด่าน แล้วประกาศว่าให้เจ้าเมืองเขากลับมารักษาเมืองเสียก่อน จึงจะยกเข้าตีด่าน เลยเข้าตีเมืองพิษณุโลกทีเดียว (เขียนตามพงศาวดารพม่า)

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงทราบข่าวข้าศึก จึงกรีฑาทัพหลวงขึ้นไปรักษาเมืองพระพิษณุโลกไว้ แล้วให้หากองทัพกลับจากเมืองเชียงใหม่ ครั้นเจ้าพระยาสุรสีห์ทราบว่ากองทัพมาอยู่ปลายด่านเมืองตาก และทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกรีฑาทัพหลวงขึ้นมาประทับอยู่เพื่อป้องกันรักษาเมืองพิษณุโลกด้วย จึงรีบยกกองทัพกลับ ครั้นถึงเมืองพิษณุโลกแล้วเข้าเฝ้าถวายบังคม เจ้าพระยาจักรีอยู่จัดการเมืองเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว ได้เลยตั้งข้าหลวงไปพูดจาปลอบโยนชี้แจงแนะนำเจ้าเมืองแพร่ เจ้าเมืองน่าน เจ้าเมืองลำปาง เจ้าเมืองลำพูน เป็นต้นเหล่านี้ ยอมสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ขอพึ่งพระบารมีโพธิสมภารเป็นข้าขอบขัณฑสีมาสืบไปตลอดกาลนาน เจ้าพระยาจักรีจึงได้เลิกทัพพาเจ้าลาวและพระยาลาวทั้งปวง ลงมาถึงเมืองพิษณุโลก เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลพร้อมกัน ณ เมืองพิษณุโลกนั้น

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระโสมนัสนัก จึงพระราชทานฐานันดรศักดิ์จ้าวลาว พระยาลาวทั้งปวงนั้น ให้กลับขึ้นไปรักษาเมืองดังเก่า แล้วจึงพระราชทานรางวัลเป็นอันมากแก่เจ้าพระยาสุรสีห์นั้นได้ออกไปรักษาด่านหน้าเมืองตากโดยแข็งแรงกวดขันมั่นคงทุกประการ

ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพใหญ่พม่า ทราบว่าเจ้าพระยาเสือกลับมาแล้ว ออกมารักษาด่านอยู่ จึงสั่งให้มังเรยางู แม่ทัพพม่าเข้าตีด่าน ฝ่ายทหารรักษาด่านต้านทานทหารพม่าไม่ไหวก็ร่นเข้ามา กองทัพพม่าก็ตีรุกเข้าไปแล้วตั้งค่ายมั่นลงภายในด่านถึง ๓๐ ค่าย

ฝ่ายเจ้าพระยาจีกรีทราบว่า กองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์เสียด่านร่นเข้ามา จึงกราบบังคมทูลรับอาสาช่วยเจ้าพระยาสุรสีห์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระโองการรับสั่งว่า "ข้าก็อยากเห็นความคิดสติปัญญาของเจ้าและฝีมือของเจ้าว่าจะเข้มแข็งสักเพียงใด ข้าจะขอดูด้วย จงรีบออกไปช่วยสุรสีห์เถิด"

เจ้าพระยาจักรีกราบถวายบังคมลา ออกมาจัดขบวนทัพพร้อมสรรพ์ แล้วยกออกไปถึงค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ แล้วจึงเจรจาว่า "เจ้าถึงแม้ว่าจะเป็นขุนนางผู้ใหญ่ก็จริงอยู่ แต่เจ้าเป็นขุนนางบ้านนอก อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่านั้น เขาเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่อยู่ในเมืองหลวงพม่า ทั้งเขากอรปด้วยความคิด สติปัญญาเยี่ยมยิ่งอยู่ ความรู้ก็พอตัว พี่จะรบเอง" ต่อแต่นั้นมา เจ้าพระยาจักรีก็จัดทัพออกรุกรับรบพุ่งกับกองทัพอะแซหวุ่นกี้เป็นหลายครั้ง ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ล่วงวันและเวลาช้านานมา จนถึงเดือนห้าเดือนหก ปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๘) เป็นปีที่ ๘ ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี

ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่า ก็คิดขยาดระอิดระอา ทั้งทางเมืองพม่าก็ชักจะวุ่นวายขึ้น ทั้งเสบียงอาหารก็บกพร่องจวนเจียนไม่พอจ่าย จึงคิดเพทุบายถามว่า "ใครผู้ใดออกมาเป็นแม่ทัพใหญ่บัญชาการ" ทหารไทยบอกไปว่า เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ อะแซหวุ่นกี้จึงประกาศหย่าทัพ ขอดูตัวแม่ทัพไทย

เวลานั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จทอดพระเนตรอยู่ในค่ายนั้นด้วย ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นกิริยาท่าทางสุภาพองอาจ และท่วงทีรูปโฉมของเจ้าพระยาจักรีเมื่อออกยืนทัพรับอะแซหวุ่นกี้คราวนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระเกษมสันต์โสมนัสปราโมทย์ถึงกับออกพระโอษฐรับสั่งชมว่า "งามเป็นเจ้าพระยากษัตริย์ศึกเจียวหนอ" แต่นั้นมานามอันนี้ จึงเป็นนามที่แม่ทัพนายกองแลทหารทั้งปวง พากันนิยมเรียกว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึกแต่คราวนั้นมา ในกองทัพพม่าก็พลอยเรียกว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึก ตลอดไปจนถึงทางราชการฝ่ายพม่า ก็ได้จดหมายเหตุลงพงศาวดารไว้ว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพฝ่ายไทย ได้รบกับอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่าที่เมืองพระพิษณุโลก เมื่อปีมะเส็งถึงปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ ปี ครั้นเมื่อทอดพระเนตรแลทรงชมเชยแล้ว ก็ยาตรากระบวนออกยืนม้าหน้าพลเสนา ณ สนามกลางหน้าค่ายทั้งสองฝ่าย

ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ ก็จัดกระบวนแต่งตัวเต็มที่อย่างจอมโยธา ออกยืนอยู่หน้ากระบวน ณ กลางสนาม หน้าค่ายทั้งสองฝ่ายเช่นเดียวกัน (ตอนดูตัวนี้ความพิสดารมีแจ้งอยู่ในพระราชพงศาวดาร) ครั้นอะแซหวุ่นกี้ ได้เห็นเจรจาชมเชย พูดจาประเปรยตามชั้นเชิงพิชัยสงคราม แล้วก็นัดรบต่อไป แต่อะแซหวุ่นกี้คิดจะล่าทัพถอยกลับกรุงอังวะเป็นอย่างมากกว่าจะคิดแข็งใจรบเอาเมืองพิษณุโลก แต่แตกแล้วก็ร่นถอยล่าไปออกทางด่านพระเจดีย์ ๓ องค์ทำกิริยาท่าทางเหมือนจะไปชิงเอาเมืองกำแพงเพชร ทำให้ฝ่ายไทยต้องแบงออกเป็นหลายกองติดตามพม่า ก้าวสกัดหน้าตีวกหลังตามเชิงกลยุทธ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็เสด็จกลับเข้ากรุงธนบุรี ป้องกันพระราชธานีต่อไป

149
คัดลอกจาก http://www.watpaknam.org/history_sod.htm

             ชาติภูมิ

            นามเดิม สด นามสกุล มีแก้วน้อย ฉายา จนฺทสโร ชาตะ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี บิดาชื่อนายเงิน มารดาชื่อนางสุดใจ อาชีพทำการค้าข้าว มีพี่น้อง ๕ คน

          การศึกษา

            เริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุผู้เป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง แล้วมาอยู่ ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ ปรากฏว่าเป็นผู้สามารถเรียน อ่านภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าข้าว ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง

          เนกขัม

            เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี เกิดความเบื่อหน่ายในเพศแห่งฆราวาสวิสัย แต่ไม่อาจปลีกตัวออกไปได้ โดยมีความห่วงใย ฐานะและความเป็นอยู่ของมารดาและพี่น้อง ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอเราอย่าได้ตายไปก่อน ขอให้ได้บวช เสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาลิกขา ขอบวชไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ แล้วได้ขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์เพื่อให้มารดาและพี่น้องเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต

          อุปสมบท

            เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ต้นเดือน ๘ ท่านมีอายุได้ ๒๒ ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโร โดยมี

            พระอาจารดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์

            พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พระกรรมวาจาจารย์

            พระอาจารย์ โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

            เมืออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้อง ๑ พรรษา ปวารณาพรรษาแล้วได้ยายมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ได้เอาใจการศึกษาเป็นอย่างดี โดยกลางคืนเรียนที่วัดพระเชตุพนฯ กลางวันได้ไปเรียนในสำนักเรียน วัดอรุณราชวราราม วัดมหาธาตุฯ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดจักรวรรติราชาวาส ตามแต่โอกาสจะอำนวยจนมีความแตกฉานในภาษาบาลี และคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นอย่างดี เมื่อได้ศึกษาคันถธุระจนเป็นที่พอใจแล้ว ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระวิปัสสนาจารย์เหล่านี้คือ

พระมงคลทิพยมุนี วัดจักวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร

พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

พระอาจารย์โหน่ง อินฺสุวณฺโณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

พระอาจารย์เนียม วัดน้อย จังหวัดสุพรรณบุรี

พระสังวรานุวงษ์ วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร

พระครูญาณวิรัติ (โป๊ะ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ กรุงเทพมหานคร

พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

            เมื่อได้ศึกษาภาวนาวิธีจนมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งจากพระอาจารย์ทั้งจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ มีวิสุทธิมรรคเป็นต้น ได้แสวงหาที่หลีกเร้นมีความวิเวก เป็นสัปปายะต่อการปฏิบัติธรรมดังนั้น ในพรรษาที่ ๑๑ จึงได้กราบลาเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ เพื่อไปจำพรรษา ณ วัดโบสถ์บน ตำบลคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

          บำเพ็ญเพียร

            วันเพ็ญกลางเดือน ๑๐ ได้เข้าไปในพระอุโบสถตั้งแต่เวลาเย็นได้ตั้งสัจจอธิษฐานว่า

            " ถ้าเรานั่งลงไปครั้งนี้ ไม่เห็นธรรมพี่พระพุทธเจ้าต้องการ เป็นอันไม่ลุกจากที่นี้จนหมดชีวิต"

            เมื่อตั้งจิตมั่นคงแน่วแน่แล้วได้ระลึกถึงพุทธคุณเป็นที่พึ่งว่า ขอพระองค์ได้ทรงกรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้า ทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้อย่างน้อยที่สุดที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมของพระองค์แล้วเป็นโทษแก่พระศาสนาของพระองค์ ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานเลย ถ้าเป็นคุณแก่พระศาสนาของพระองค์แล้วโปรดพระราชทานแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอรับเป็นทนายศาสนาในศาสนาของพระองค์จนตลอดชีวิต

            ได้เริ่มบำเพ็ญเพียรแต่ก็มีมารผจญคือ มดที่ไต่ไปมาก่อความรำคาญต่อการบำเพ็ญกิจภาวนาจึงเอานำมันก๊าดและปลายนิ้วขีดดวงรอบล้อมตัว พอทำได้ครึ่งหนึ่งเกิดความละอายใจว่า ชีวิตเรายังสละได้จะกลัวอะไรกับมด แล้วเลิกอุบายป้องกัน บำเพ็ญกิจภาวนาเรื่อยไป ได้เริ่มเห็นฝังของจริงของพระพุทธเจ้า (คือธรรมกายโคตรภู)ในระหว่างมัชฌิมยามกับปัจฉิมยามติดต่อกัน ท่านได้รำพึงว่า ธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัยของความ ตรึก นึก คิด ถ้ายัง ตรึก นึก คิด อยู่ก็เข้าไม่ถึง ที่จะเข้าให้ถึง ต้องทำให้รู้ตรึก รู้นึก รู้คิด นั้นหยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วเกิด ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย นี้เป็นของจริง หัวต่อมีอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนก็ไม่มี ไม่เป็นเด็ดขาด

            รำพึงอย่างนี้สักครู่ใหญ่เกรงว่า ความมี ความเป็นนั้น จะเลือนไปเสียจึงเข้าที่ (ดำรงสมาธิมั่น) ต่อไปจนปัจฉิมยามในขณะดำรงสมาธิมั่นอยู่อย่างนั่น เห็นวัดบางปลา ปรากฏขึ้นในนิมิต จึงเกิดญาณทัสนนะขึ้นว่า ธรรมที่รู้ว่าได้ยากนั้น ในวัดบางปลานี้ จะต้องมีผู้รู้เห็นได้อย่างแน่นอน ออกพรรษาแล้วได้ไปสอนที่วัดบางปลา ๔ เดือน มีพระทำเป็น (ได้ธรรมกาย) ๔ รูป คฤหัสถ์ ๔ คน นี้เป็นที่มาแห่ง "ธรรมกาย" คำว่า ธรรมกาย นี้ มีพระบาลีรับรองว่า " ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐ เอตํ ธมฺมกาโยติวจนํ ดูกรวาเสฏฐะธรรมกายนี้เป็นชื่อของตถาคต" และมีพระบาลีปรากฏในอัคคัญสูตร ปาฏิกวรรคทีฆนิกาย พระสุตตันตปิฎก รับรองว่า ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ ดูกรทวาชะ เพราะว่าธรรมกายนั้นเป็นชื่อของตถาคต"

          สนองพระบัญชา

            พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยฉันทานุมัติของคณะสงฆ์ ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺตเถร) เป็นประธาน ทั้งนี้โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุในวัด ซึ่งขณะนั้นอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมกึ่งวัดร้าง

            ในเบื้องต้น ท่านได้ประชุมพระภิกษุ สามเณร ทั้งหมดในวัดแล้วให้โอวาทว่า " เจ้าคณะอำเภอส่งมาเพื่อให้รักษาวัด และปกครอง ตักเตือนว่ากล่าวผู้อยู่อาศัย โดยพระธรรมวินัย อันจะให้วัดเจริญได้ต้องอาศัยความพร้อมเพรียงและเห็นอกเห็นใจกัน จึงจะทำความเจริญได้ ถิ่นนี้ไม่คุ้นเคยกับใครเลย มาอยู่นี้เท่ากับถูกปล่อยโดยไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปพึ่งใครเพราะต่างไม่รู้จักกัน แต่มั่นใจว่า ธรรมที่พวกเราปฏิบัติตรงต่อพระพุทธโอวาท จะประกาศความราบรื่นและรุ่งเรืองให้แก่ผู้มีความประพฤติเป็นสัมมาปฏิบัติ ธรรมวินัยเหล่านั้น จะกำจัดอธรรมให้สูญสิ้นไป พวกเราบวชกันมาคนละมากๆ ปี ปฏิบัติธรรมเข้าขั้นไหน มีพระปาฏิโมกข์เรียบร้อยอย่างไร ทุกคนทราบความจริงของตนได้ ถ้าเป็นไปตามแนวพระธรรมวินัยก็น่าสรรเสริญ ถ้าผิดพระธรรมวินัย น่าเศร้าใจ เพราะตนเองก็ติเตียนตนเองได้เคยพบมาบ้าง แม้บวชมาตั้งนานนับเป็นสิบๆ ปีก็ไม่มีภูมิจะสอนผู้อื่นจะเป็นที่พึ่งของศาสนาก็ไม่ได้ ได้แต่อาศัยศาสนาอย่างเดียว ไม่ทำประโยชน์ให้เกิดแก่ตนเองและแก่ท่าน ซ้ำร้ายยังทำให้พระศาสนาเศร้าหมองอีกด้วย บวชอยู่อย่างนี้ก็เหมือนตัวเสฉวน จะได้ประโยชน์อะไรในการบวช ในการอยู่วัด ฉันมาอยู่วัดปากน้ำจะพยายามตั้งใจประพฤติให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย พวกพระเก่าๆ จะร่วมกันก็ได้ หรือจะไม่ร่วมด้วยก็ได้แล้วแต่อัธยาศัย ฉันจะไม่รบกวนด้วยอาการใดๆ เพราะถือว่า ทุกคนรู้สึกผิดชอบด้วยตนเองดีแล้ว ถ้าไม่ร่วมใจก็อย่าได้ขัดขวาง ฉันก็จะไม่ขัดขวางผู้ไม่ร่วมมือเหมือนกัน ต่างคนต่างอยู่ แต่ต้องช่วยกันรักษาระเบียบของวัด คนจะเข้าจะออกต้องบอกให้รู้ ที่มาแล้วไม่เกี่ยวข้อง เพราะยังไม่อยู่ในหน้าที่ จะพยายามรักษาเมื่ออยู่ในหน้าที่"

            หลวงพ่อได้เริ่มปรับปรุงวัดปากน้ำ จากวัดที่มีสภาพกึ่งวัดร้างมาเป็นวัดที่เป็นที่เจริญศรัทธาของประชาชนโดยลำดับ ทั้งในด้านการปฏิบัติธรรม ในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม ในด้านการก่อสร้างปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุในวัด ในด้านการอุปถัมภ์ด้วยอาหารบิณฑบาต ซึ่งนับว่าเป็นสัปปายะอย่างต่อผู้ใคร่ศึกษาและสัมมาปฏิบัติโดยทั่วไป

          จริยาวัตร

            นำพระภิกษุ สามเณร ลงทำวัตร สวดมนต์ในพระอุโบสถทุกวัน ทั้งเช้าและเย็นพร้อมทั้งได้ให้โอวาทสั่งสอนด้วย วันพระ และวันอาทิตย์ ลงแสดงธรรม - ฟังธรรม ในพระอุโบสถเป็นนิจ บำเพ็ญกิจภาวนาในสถานที่ซึ่งจัดไว้เป็นการเฉพาะ เป็นกิจวัตรประจำวัตร และจัดพระภิกษุ สามเณร แม่ชีผู้ได้ธรรมกาย ผลัดเปลี่ยนวาระทำกิจภาวนา สถานที่บำเพ็ญภาวนานี้ห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปโดดเด็ดขาด ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๔.๐๐ น. ลงสั่งสอนการนั่งสมาธิภาวนาแก่พระภิกษุ สามเณร แม่ชี และประชาชนทั่วไป พระภาวนาโกศลเถระ (ธีระ ธมฺมธโร ป.ธ.๔) เป็นผู้ดำเนินการแทนท่าน เมื่อพระภาวนาโกศลเถระ มรณภาพลง พระภาวนาโกศลเถระ (วีระ คณุตฺตโม) เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระต่อมา อนึ่ง เฉพาะเวลาเย็นทุกวันได้มอบหมายให้แม่ชีญาณี ศิริโวหาร เป็นผู้สอนภาวนา ที่ศาลาการเปรียญ ไม่นิยมออกนอกวัด นอกจากมีกิจจำเป็นจริงๆ และได้ปฏิญญาว่า จะไม่ไปค้างแรมที่ไหนไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นห่วงการบำเพ็ญกิจภาวนา

          ด้านการศึกษา

            หลวงพ่อ ถือว่า การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ และต้องมาก่อนเรื่องอื่น การสร้างคนเป็นงานยิ่งใหญ่ เมื่อสร้างคนได้แล้ว สิ่งอื่นๆ ตามมาเอง คนที่ไร้การศึกษาเป็นคนที่รกชาติ ดังนั้น จึงจัดสร้างโรงเรียนราษฎร์ขึ้นในวัดเพื่อการศึกษาของเยาวชน ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนไปอยู่วัดขุนจันทร์ อีกทั้งได้ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ โดยสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมภาวนานุสนธิ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๙๓ โดยมี ฯพณฯ ท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเป็นผู้วางศิลาฤกษ์

          การสร้างสาธารณูปการ

            ถึงแม้ว่า การสร้างคนเป็นงานหลัก กระนั้น ก็มิได้ละเลยงานก่อสร้างปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุเลยทีเดียว จึงได้จัดสร้าง กุฏิ ๒ แถว ๒ ชั้น ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน โรงเรียนพระปริยัติธรรมภาวนานุสนธิ์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  ๓ ชั้น พร้อมอุปกรณ์ การศึกษาครบชุด ศาลาโรงฉัน พอเหมาะแก่ พระภิกษุ สามเณร ๕๐๐ รูป ฉันภัตตาหารเช้า - เพล กุฏิมงคลจันทสร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กุฏิบวรเทพมุนี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น เสนาสนะหลังเล็กๆ ซึ่งเป็นสัปปายะ ต่อผู้ใคร่ศึกษาและปฏิบัติธรรม ทั้งนี้ อยู่ในความควบคุมดูแลของพระครูปลัดณรงค์ ฐิตญาโณ ป.ธ.๔

          การอุปถัมภ์อาหารบิณฑบาต

            อาหารสัปปายะ เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการศึกษาและการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อมองเห็นการขาดแคลนอาหารบิณฑบาตของพระภิกษุ สามเณร ซึ่งมีอยู่เป็นประจำจึงคิดแก้ไข ด้วยการเลี้งพระภิกษุ สามเณรทั้งวัด ทั้งเวลาเช้า และเพล โดยท่านรับภาระเองทั้งสิ้น ท่านปรารภว่า "กินคนเดียวกินไม่พอกิน กินหลายคนกินไม่หมด" จึงจัดตั้งโรงครัวขึ้นเพื่ออุปการะพระภิกษุ สามเณร และผู้ปฏิบัติธรรม โดยเริ่มดำเนินการเลี้ยงพระมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ จนถึงปัจจุบัน โดยมีอุบาสิกาท้วม หุตานุกรม เป็นหัวหน้าโรงครัวในยุคแรกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นต้นมา แม่ชีธัญญาณี สุดเกษ ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าโรงครัวสืบต่อมา

          การปกครอง

            หลวงพ่อได้แบ่งการปกครองออกเป็นส่วนๆ โดยมอบให้ ท่านหลวงพ่อ เป็นผู้ปกครองดูแลพระภิกษุ พระครูปัญญาภิรัติ (ถวิล ธมฺมาภิรโต) ปกครองดูแลเด็กวัด พระครูพิพัฒนธรรมคณี (ธนิต อุปคุตฺโต) ปกครองสามเณร อุบาสิกาไข่ ชัยพานิช อุบาสิกท้วม หุตานุกรม ปกครองดูแลแม่ชี

          ความกตัญญูกตเวที

            หลวงพ่อเป็นผู้หนักในกตัญญูกตเวทิตาธรรม ท่านได้รับโยมมารดาผู้ชรามาอยู่วัดวัดปากน้ำด้วย โดยสร้างที่อยู่อาศัยและอุปถัมภ์ด้วยเครื่องเลี้ยงชีวิตเป็นอย่างดี แม้คนอื่นก็เหมือนกัน ท่านย่อมอนุเคราะห์ตามฐานะ ในสมัยที่ท่านเรียนหนังสือ ท่านได้รับความอุปถัมภ์เรื่องอาหารบิณฑบาตจากอุบาสิกานวม ซึ่งเป็นแม่ค้าขายข้าวแกงเป็นประจำทุกวัน ต่อมาแม่ค้าผู้นี้ทุพพลภาพลงเพราะชราขาดผู้อุปการะ ท่านได้รับตัวมาอยู่วัดปากน้ำ ได้อุปการะทุกวิถีทาง เมื่อสิ้นชีวิตก็ได้จัดการฌาปนกิจศพให้ โดยท่านกล่าวว่า เมื่อเราอดอยาก อุบสิกานวมได้อุปการะเรา ครั้นอุบาสิกนวมยากจนลง เราได้ช่วยอุปถัมภ์ ที่สุดต่อทีสุดมาพบกัน จึงเป็นกุศลอันยากที่จะหาได้ง่ายๆ

          สมณะศักดิ์

พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นพระสมุห์ ฐานานุกรมในพระศากยยุตติวงศ์

พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูสมณธรรมสมาทาน

พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระภาวนาโกศลเถร

พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ

พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช  ที่ พระมงคลราชมุนี

พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ  ที่ พระมงคลเทพมุนี

          คำปรารภ

            พ.ศ. ๒๔๙๘ หลวงพ่อได้ประชุมบรรดาศิษยานุศิษย์ แล้วได้ปรารภว่าอีก ๕ ปี ท่านจะไม่อยู่แล้วขอฝากวัดด้วย จงควบคุมดูแลให้เป็นไป ทั้งการศึกษาพระปริยัติ การบำเพ็ญกิจภาวนา การก่อสร้างปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุในวัด

          อาพาธ

            หลังจากที่ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ที่ พระมงคลเทพมุนีแล้ว เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้นมา ได้อาพาธเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง ท่านปรารภว่า เจ็บคราวนี้ไม่หายไม่มียารักษา เพราะยาที่มีอยู่ไม่ถึงโรค กรรมบังไว้เป็นเรื่องแก้ไขไม่ได้ ท่านมิได้แสดงอาการหวาดหวั่นท้อแท้แต่ประการใด คงมุ่งแต่ทำกิจภาวนาและควบคุมการบำเพ็ญกิจภาวนาของพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ด้วยตัวท่านเอง กิจภาวนานี้เป็นงานที่หลวงพ่อห่วงมาก และได้สั่งสอนว่างานที่เคยทำไว้อย่างไร อย่าได้ทิ้ง จงพยายามทำต่อไปและจงเลี้ยงพระภิกษุ สามเณร ดังที่เคยทำมา

          มรณภาพ

            หลวงพ่อมรณภาพ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒ เวลา ๑๕.๐๕ น. ตรงกับวันอังคาร แรม ๑๑ ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๓๒๐ ณ ตึกมงคลจันทสร วัดปากน้ำ แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร สิริอายุ ๗๕ ปี พรรษา ๕๓รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตตํ น ชีรติ

          คติธรรม

เห็นใดฤามาตรแม้น                        ธรรมกาย

จำสนิทนิมิตหมาย                        มั่นแท้

คิดทำเถิดหญิง-ชาย                        ชูช่วย ตนแฮ

รู้ยิ่งเบญจขันธ์แท้                        แต่ล้วนอจิรัง

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย                        รอดตน

ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล                        ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล                        ใดอื่น

เชิญท่านถือเอาแก้ว                        ก่องหล้าเรืองสกล

ด้วยความหมั่น มั่นใจ ไม่ประมาท

รักษาอาตม์ ข่มใจ ไว้เป็นศรี

ผู้ฉลาด อาจตั้งหลัก พำนักดี

อันห้วงน้ำไม่มี มารังควาน

เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำ จะเกิดมาทำไม

อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หลอกมันก็ลวง ทำให้จิตมันเป็นห่วงเป็นใย

เลิกอยากลาหยอก รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป

เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า "นิพพาน" ก็ได้

ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก

ไม่หยุดไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี่แหละเป็นตัวสำเร็จ

ผลไม้ดกนกชุม น้ำเย็นปลาชอบอาศัย


150
เกจิอาจารย์ภาคเหนือ / หลวงพ่อปาน
« เมื่อ: 01 เม.ย. 2550, 02:16:39 »
วัดบางนมโคนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ บางท่านก็ว่ามีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดินชื่อวัดนมโค ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2310 ในคราวที่ควันแห่งศึกสงครามกำลังรุมล้อมกรุงศรีอยุธยา พม่าข้าศึกได้มาตั้งค่ายหนึ่งขึ้นที่ตำบลสีกุก ห่างจากวัดบางนมโค ซึ่งย่านวัดบางนมโคนี้มีการเลี้ยงวัวมากกว่าที่อื่นพม่า ก็ได้ถือโอกาสมากวาดต้อนเอา วัว ควาย จากย่านบางนมโคไปเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพ

ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า บ้านเมืองระส่ำระสาย วัดบางนมโคจึงทรุดโทรมไปบ้างตามกาลเวลา ต่อมาก็ได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ก็ยังมีการเลี้ยงโคกันอยู่อีกมากมาย ชาวบ้านจึงเรียกติดปากว่า วัดบางนมโคอาณาเขตของวัดบางนมโค

วัดบางนมโคมีเนื้อที่ทั้งหมด 24 ไร่ 21 วา 3 งาน ทิศตะวันออกจดที่ดินเลขที่ 163 ทางสาธารณะประโยชน์ทิศตะวันตกจดที่มีการครอบครองแม่น้ำปลายนา ทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 134 มีการครอบครองแม่น้ำเก่าปลายนา ทิศใต้จดที่ดินเลขที่ 162, 163, 165 ทางสาธารณะประโยชน์

ลำดับเจ้าอาวาสวัดบางนมโค
เจ้าอาวาสวัดบางนมโค จะมีกี่รูปไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เริ่มจะมีการบันทึกเป็นหลักฐานก็ตั้งแต่

1. เจ้าอธิการคล้าย

2. พระอธิการเย็น สุนทรวงษ์ มรณภาพ ปี พ.ศ. 2478

3. ท่านพระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน) โสนันโท รับตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 มีโอกาสได้เป็นเจ้าอาวาสได้เพียง 2 ปี ก็มรณภาพลงเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2480

4. พระอธิการเล็ก เกสโร

5. พระอธิการเจิม เกสโร

6. พระมหาวีระ ถาวโร (ฤาษีลิงดำ)

7. พระอาจารย์อำไพ อุปเสโน

8. พระครูวิหารกิจจานุยุต (อุไร กิตติสาร) ได้รับการอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน

ในเมื่อไหนๆ จะคุยกันถึงเรื่องพระเครื่องหลวงพ่อปานแล้ว เราก็จะคุยกันนานๆ แบบถึงกึ๋นพอสมควรไปเลย เผื่อท่านที่กำลังที่จะศึกษา หรือหาพระหลวงพ่อป่านไว้ใช้ซักองค์ ท่านจะได้นำความรู้เล็กๆ น้อยๆ ของผมนำไปประกอบการพิจารณาการเล่นได้บ้างไม่มากก็น้อย

เมื่อพูดถึงพระเครื่องหลวงพ่อปานแล้ว นับได้ว่าจากอดีตไม่เคยมีพระคณาจารย์รูปใดสร้างพระเครื่องพิมพ์ที่แปลก! ผมขออนุญาตใช้คำว่า "แปลก"ครับ ท่านผู้อ่าน จะแปลกยังไง เราจะค่อยๆ ว่ากันไปเรื่อยๆ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

ประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

ชาติภูมิของหลวงพ่อป่าน ท่านได้ถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ 16กรกฎาคม 2418 โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ โดยอาชีพทางครองครัว คือ ทำนา

สาเหตุที่โยมบิดาขนานนามท่านว่า "ปาน" เนื่องจากท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวคือปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนนิ้วถึงปลายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

หลวงพ่อปานในวัยเด็ก
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

พระมหาวีระ ถาวโร หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปานว่า

"...ท่าน (หลวงพ่อปาน) บอกว่า สมัยท่านเป็นเด็กอายุสัก 3-4 ขวบ ท่านวิ่งเล่นใต้ถุนบ้าน หลวงพ่อปานท่านเป็นคนบางนมโค และเป็นคนตำบลนั้น ไม่ใช่คนที่อื่น เป็นคนที่มีฐานะค่อนข้างจะมั่งคั่งอยู่สักหน่อย สมัยนั้นเขามีทาสกันที่บ้านท่านก็มีทาส ท่านบอกว่า ท่านวิ่งเล่นอยู่ใต้ถุนบ้านย่าของท่าน ก็ปรากฏว่าย่าของท่านกำลังป่วยหนัก ใกล้จะตาย เวลานั้นก็เห็นจะเป็นเวลาบ่ายสัก 2-3 โมงกว่า ท่านว่าอย่างนั้นโดยประมาณ

คนทุกคนเขามาเยี่ยมย่า พ่อแม่ของท่านก็ไป เมื่อคนทุกคนขึ้นไปแล้วท่านบอก เห็นร้องดังๆ บอก แม่แม่ อรหันนะ อรหัน ภาวนาไว้ อรหัน พระอรหัน จะช่วยแม่ ก็ร้องกันเสียงดังๆ ท่านอยู่ใต้ถุน ท่านยืนฟังเขาว่าอรหันกันทำไม พอท่านสงสัยก็ย่องขึ้นไปที่หน้าบันไดชานเรือนพอท่านขึ้นไปแล้วก็ปรากฏว่า ผู้อยู่เขาเอาปากกรอกไปที่ข้างหูของคุณย่าท่าน บอกแม่ แม่อรหันนะ อรหัน แต่ว่าพอผู้ใหญ่เขามองเห็นท่านเข้าไป เขาก็ไล่ท่านไปเขาจะหาว่า ไอ้เจ้าเด็กมันรุ่มร่าม ท่านก็เลยไปเล่นใต้ถุนบ้านอื่น พอมาถึงตอนเย็นเวลากินข้าว ท่านแม่ก็ป่าวหมู่เทวฤทธิ์คือ เรียกลูกกินข้าว

เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้วท่านแม่ก็จัดกับข้าวมาวางกลาง สำหรับตัวท่านเองเป็นเด็ก เขาเอาข้าวใส่จานมาให้แล้วเอาแกงเผ็ด ท่านบอกว่า ไอ้แกงฉู่ฉี่แห้ง ท่านชอบ เขาใส่มาให้เรียกว่า ไม่ต้องหยิบกับข้าว กินแบบประเภทข้าวราดแกง

เวลาที่ท่านกินเข้าไปแล้วมานั่งนึกว่า กับข้าวมันอร่อยถูกใจ ก็เกิดความชุ่มชื่น พอจิตมันนึกขึ้นได้ว่าเอาบอกอรหัง อรหัง นึกถึงคำว่า อรหัง ขึ้นมาได้ ท่านก็เลยปลื้มใจอย่างไรชอบกล เลยเปล่งวาจาออกมาดังๆ ว่า อรหัง อรหัง ว่า 2- 3 คำ

ท่านแม่ที่มองตาแป๋วลุกพรวดจับชามข้าวที่ท่านถืออยู่วางไว้ จับตัวท่านวางปังออกไปนอกชาน แล้วร้องตะโกนสุดเสียง "เอ้า มึงจะตายโหง ตายห่าก็ตายคนเดียว มันจะมาว่าอรหังที่นี่ได้รึ? คำว่า อรหัง พุทโธ นี่คนเขาจะตายเท่านั้นแหละเขาว่ากัน นี่ดันมาว่า อรหังที่นี่ ทำเป็นลางร้ายให้คนอื่นเขาพลอยตายด้วย"

ท่านแปลกใจคิดว่า นี่เราว่าดีๆ นี่แม่ดุเสียงเขียวปัด นี่มันเรื่องอะไรกันในเมื่อถูกแม่ดุอย่างนั้น จะขืนว่าอีกก็เกรงไม้เรียว ก็เลยไม่ว่า

พอท่านพูดถึงตอนนี้แล้ว ท่านก็หัวเราะบอกว่า "คุณแม่ฉันน่ะโง่นะ ไม่ได้ฉลาดหรอก อีตอนใหม่นั้น ตอนฉันมาบวชได้แล้ว อรหันหรือพุทโธนี้ ถ้าใครภาวนาไว้ เป็นวาจาที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด ถ้าใครภาวนาคำนี้ได้ตกนรกไม่ได้...แต่ว่าแม่ของฉันนี่ท่านไม่รู้ ก็เป็นโทษเพราะไม่ได้รับการศึกษา แต่ว่าไม่เป็นหรอก ตอนหลังที่ฉันบวชแล้วนี่นะ ฉันกลับใจแม่ของฉันได้ ฉันแนะนำให้ท่านทราบแล้ว เวลาท่านตายท่านก็ยึดพุทโธ อรหันเป็นอารมณ์ แต่ไม่ได้ยึดเวลาตาย ฉันให้ท่านว่าทุกวัน....

สมัยก่อน เมื่อลูกชายมีอายุครบบวช ก็จะทำการอุปสมบท ทางบิดามารดาจะต้องส่งบุตรของตนไปอยู่วัดเพื่อรับการอบรม และท่านขานนาคเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน เป็นอย่างน้อยท่านเองมีความสงสัยในใจว่า เหตุไฉนสตรีเพศจึงดึงดูดบุรุษเพศมากมายนัก ทำให้หลงใหลใฝ่ฝัน ตัวท่านเองก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงมาก่อน จึงคิดว่าจะหาวิธีลองของจริงดูว่าเป็นอย่างไรถ้าดีจริงบวชครบพรรษาจะสึกออกมา ถ้าไม่เป็นจริงตามวิสัยโลกก็จะไม่สึก

ที่บ้านของท่านมีคนรับใช้อยู่คนหนึ่ง เรียกกันว่า ทาส ชื่อว่า พี่เขียว อายุประมาณ 25 ปี ตอนกลางวันอยู่ด้วยกันสองคน ท่านเกิดสงสัยเนื้อผู้หญิงขึ้นมา บอกว่าตั้งแต่เกิดมานอกจากเนื้อแม่กับเนื้อพี่แล้ว ไม่เคยจับเนื้อใคร ท่านคิดว่าเนื้อผู้หญิงมันดียังไงผู้ชายถึงได้อยากกันนัก บางทีถึงกับฆ่ากันเลย ก็สงสัยว่าจะบวชแล้วนี่ ถ้ามันดีจริงแล้วก็จะสึก ถ้าไม่ดีก็จะไม่สึกละ

เมื่อคนว่างก็เข้าไปหาพี่เขียว พี่เขียวแกอยู่ในครัวทาส แต่ว่าท่านเรียกพี่ในฐานะที่เขาแก่กว่าตัว ยกมือไหว้บอกว่า "พี่เขียว ขออภัยเถอะ ฉันขอจับเนื้อพี่เขียวดูหน่อยได้ไหมว่า เนื้อผู้หญิงน่ะมันดียังไง เขาถึงชอบกันนัก"

พี่เขียวก็แสนดี อนุญาต ท่านก็เลือกจับเนื้อกล้าม เขาเรียกว่า กล้ามเนื้อที่หน้าอก ผู้หญิงนี้มีกล้ามเนื้อพิเศษอยู่ที่กล้ามเนื้อ 2 กล้ามที่หน้าอก แต่ไม่ได้จับมาหรอก จับตรงนั้น แต่ก็ไม่ได้ลวนลามไปถึงไหน จับๆ แล้วก็มาจับน่อง เอ๊! มันคล้ายกัน บอกพี่เขียวว่านี่มันคล้ายกันนี่ พี่เขียวแกก็บอกว่าเป็นอย่างนั้นมันก็คล้ายกัน แล้วท่านก็ถามพี่เขียวว่า ทำไมผู้ชายเขาถึงชอบเนื้อผู้หญิงนัก ดันไปถามผู้หญิงได้ นี่ว่ากันอย่างเราๆนะ แล้วเขาจะตอบอย่างไร เขาก็บอกไม่รู้เหมือนกัน แล้วท่านก็ยกมือไหว้ขอขมาพี่เขียวบอกว่า "ขอโทษ ที่ขอจับเนื้อนี่ไม่ได้ดูถูกดูหมิ่น อยากจะพิสูจน์เท่านั้นว่ามันดีอย่างไร" เมื่อท่านหมดความสงสัยในใจแล้วก็ตกลงใจว่าจะบวช คราวนี้จะไม่ขอสึกหาลาเพศ ก็สมจริงกังที่ท่านตั้งใจทุกประการ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

สู่ร่มกาสาวพัสตร์
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

หลังจากที่โยมมารดาบิดาได้นำท่านมาฝากไว้กับหลวงปู่คล้าย ให้ฝึกหัดขานนาคให้คล่องแคล่วแล้ว ท่านก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2438 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม โดยมี

หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า "โสนันโท"

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

หลวงพ่อปานเรียนวิชา
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้วหลวงพ่อปานท่านก็ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์คือ หลวงพ่อสุ่น ด้วยความสนใจใคร่ศึกษา เพราะว่าในสมัยนั้นหลวงพ่อสุ่นท่านเป็นพระที่แก่กล้าทางคาถาอาคมและรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อตามไปเล่าเรียนเป็นศิษย์แล้ว หลวงพ่อสุ่นเห็นลักษณะของหลวงพ่อป่านว่ามีลักษณะดี จะได้เป็นครูบาอาจารย์ต่อไปภายภาคหน้า จึงได้ให้สติหลวงพ่อปานเบื้องต้นในหน่ายกิเลสว่า

1. อย่าอยากรวย อยากมีลาภได้ ทรัพย์มาแล้วดีใจ ตั้งหน้าสะสมทรัพย์

2. เป็นอย่างต้นแล้ว เมื่อทรัพย์หมดก็เป็นเหตุให้เสียใจ

3. อยากมียศฐาบรรดาศักดิ์ ได้ยศมาแล้วปลื้มใจ

4. เมื่อหมดยศไปแล้วก็เสียใจ

5. ได้รับคำสรรเสริญแล้วยินดี

6. มีความสุขความเพลิดเพลินในกามารมณ์

8. เมื่อมีความทุกข์ก็หวั่นไหวท้อแท้ใจ

จากเพศฆราวาสมาสู่เพศบรรพชิตแล้วอย่าหวังรวย ถ้ารวยแล้วไม่ใช่พระ พระต้องรวยด้วยบุญญาบารมี เงินที่ได้มาอย่าติด จงทำสาธารณประโยชน์เสียให้สิ้น เหลือกินเหลือใช้แต่พอเลี้ยงอาตมาอย่าหวังในยศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่รับยศไม่ได้แล้ว ก็อย่าเมายศฐาบรรดาศักดิ์ มันเป็นเครื่องถ่วงกิเลส ยศลาภสรรเสริญ ความสุขในกามารมณ์ มันเป็นตัวกิเลส มันเป็นโลกธรรม ต้องตัดออกให้หมด ถ้าพอใจในสี่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่พระ จะพาให้สู่ห้วงนรก จ้องระลึกอยู่เสมอว่า เราบวชเพื่อนิพพาน อย่างที่กล่าวในตอนขออุปสมบทครั้งแรกว่า "นิพพานัสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวังคะ เหตะวา" อันหมายความว่า เราขอรับผ้ากาสาวพัตร์เพื่อให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สั่งให้ท่องสวดมนต์ตลอดจนคาถาธาตุทั้งสี่ คือ นะ มะ พะ ทะ ให้ว่า ถอยหลังแล้วเป่าให้กุญแจหลุด ถ้าเจ้าเป่าหลุดแล้วบอกพ่อ จะให้วิชาต่างๆ ให้หมดไม่ปิดบัง

นี่คือการฝึกสมาธิจิตที่หลวงพ่อสุ่นสอนหลวงพ่อปานทางอ้อม คือถ้าจิตไม่มีสมาธิแล้วอย่าหวังเลยว่า ด้วยคาถาเพียงสี่ตัวจะดีกว่าลูกกุญแจได้ หลวงพ่อป่านท่านก็มีความอดทน หมั่นฝึกเป่ากุญแจนานเป็นเดือน เป่าเท่าไหร่ก็ไม่หลุด มาหลุดเอาตอนที่ท่านทำใจสบายเป็นสมาธิ นึกถึงคาถาเป่ากุญแจได้ จึงลุกขึ้นมาเป่ากุญแจ

คราวนี้กุญแจหลุดหมด ทดลองกับลูกอื่นๆ ก็หลุด เพิ่มกุญแจขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 40 ดอก แขวนไว้บนราว ก็หลุดหมด แล้วจึงทดลองให้หลวงพ่อสุ่นดูจนพอใจ

หลังจากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สอนวิปัสสนาให้แก่หลวงพ่อปาน ตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงที่สุด ด้วยความเมตตา หลวงพ่อ ปานในตอนท้ายว่า เมื่อมีฤทธิ์แล้วอย่าแสดงให้คนอื่นเขาเห็นเป็นการอวดดี จะเป็นโทษตามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้

จบจากวิปัสสนาแล้วหลวงพ่อสุ่นยังได้ถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณให้ ซึ่งหลวงพ่อปานก็ได้อาศัยใช้ช่วยชีวิตผู้ได้รับทุกข์ทรมานให้หายมามากต่อมาก จนท่านได้ชื่อว่าเป็น "พระหมอ"

หลวงพ่อสุ่นสอนว่า "การเป็นหมอนั้น บังคับไม่ได้ให้คนตายไม่ได้หมอเป็นเพียงช่วยระงับทุกข์เวทนาเท่านั้น"

จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็ถ่ายทอดกสิณต่างๆ ให้หลวงพ่อปานจนกระทั่งสิ้นความรู้

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

องค์อาจารย์ของหลวงพ่อปาน
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

การเรียนวิชาของหลวงพ่อปานนั้น พอจะรวบรวมได้ดังนี้

เรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิชาแพทย์ จากหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ

เรียนวิชาปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ดกับพระอาจารย์จีน ด้วยเหตุที่หลวงพ่อสุ่นท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงแนะนำให้มาเรียนปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน

จากปากคำของชาวบ้านแถบวัดเจ้าเจ็ด และผู้ที่เคยไปเรียนกับพระอาจารย์จีนได้ให้ปากคำตรงกันว่า พระอาจารย์จีนเป็นคนโมโหร้าย เวลาโมโหแล้วยั้งไม่อยู่ ปากว่ามือถึง

ดังนั้น เวลาสอนใคร ถ้าลูกศิษย์ทำไม่ถูกต้องตามใจที่สอนไปแล้ว กลัวว่าจะไปทำร้ายลูกศิษย์เข้า ท่านจึงได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นสำหรับขังตัวท่านเองเวลาสอนหนังสือ โดยให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้

เวลาสอนหนังสือลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียนหรือตอบคำถามไม่ถูกต้องทำให้อาจารย์จีน ท่านก็จะโมโหโกรธาเอามือจับลูกกรงเหล็กเขย่าจนลูกศิษย์ที่เรียนตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอท่านคลายโทสะลงแล้ว ท่านก็กลายเป็นพระอาจารย์จีนรูปเดิม

หลวงพ่อปานท่านมีความมานะพยายามเป็นที่ตั้ง ท่านต้องพายเรือมาเรียนหนังสือที่วัดเจ้าเจ็ดทุกวัน เวลาพายเรือไปเรียนท่านก็จะท่องพระปาฏิโมกข์ และบนเรียนที่อาจารย์สอนจนขึ้นใจ พอเวลาเรียน อาจารย์ถามอะไรก็ตอบได้ถูกต้อง เป็นที่พอใจแก่อาจารย์ยิ่ง

ในที่สุดพระอาจารย์จีนก็สิ้นความรู้ที่จะสอนให้ท่านท่านจึงหยุดเรียนและเตรียมตัว สำหรับที่จะหาสำนักเรียนใหม่ หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกันต์ตามคำบอกเล่าของพระภิกษุเลี่ยมว่า หลวงพ่อปานได้เรียนรู้วิชามาหลายอย่างเคยพิมพ์คาถาออกแจกด้วย

เมื่อเห็นว่าพระอาจารย์จีนไม่มีความรู้ที่จะสอนได้อีกต่อไป ท่านจึงคิดเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นแหล่งรวมวิชาต่างๆ ท่านจึงได้ไปเรียนให้โยมมารดาของท่านได้รับทราบว่า จะขอลาไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เพราะว่าที่นี่หาอาจารย์สอนไม่ได้อีกแล้ว

โยมมารดาท่านเป็นห่วงว่าท่านเป็นบุตรคนเล็กที่มีอยู่ นอกนั้นออกเรือนไปหมดแล้ว อีกทั้งไม่ญาติโยมทางกรุงเทพฯ จึงขอร้องไม่ให้ไป ท่านจึงลากลับวัดด้วยความเด็ดเดี่ยว ท่านตัดสินใจนำจีวรแพรที่โยมมารดาถวายไว้นำไปขายได้เงินแปดสิบบาท แล้วตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯ โดยไม่บอกให้โยมมารดารู้ จะให้รู้ก็กลัวจากลงเรือไปแล้ว จึงเข้าไปกราบนมัสการ หลวงปู่คล้าย(เจ้าอาวาสวัดบางนมโคสมัยนั้น)ว่าจะไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ หลวงปู่คล้าย จึงแนะนำให้ไปเรียนกับ พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ โดยมอบเงินช่วยเหลือไปอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นทุนในการศึกษาเล่าเรียน

ตลอดเวลาท่านจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์เจิ่น ท่านได้พยายามหาความรู้เพิ่มเติม ในด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม ซึ่งต่อมาเมื่อท่านกลับมาวัดบางนมโค ปรากฏว่าท่านเป็นพระธรรมกถึกที่เทศนาได้เพราะจับใจ และดึงดูดศรัทธายิ่งนัก

นอกจากวัดสระเกศแล้ว ท่านยังได้มาเรียนเพิ่มเติมที่วัดสังเวช และที่อื่น จนมีความรู้ทางด้านแพทย์แผนโบราณแตกฉานอีกด้วย

จากข้อความในหนังสือ อนุสรณ์ครบ 101 ปี หลวงพ่อปาน เขียนไว้ว่า

"หลวงพ่อปานเคยเล่าให้ฟังว่าระหว่างอยู่ที่วัดสระเกศนั้น อัดคัตมากบิณฑบาตบางครั้งก็พอฉัน บางครั้งก็ไม่พอ ได้แต่ข้าวเปล่าๆ จ้องเด็ดยอดกระถินมาจิ้มน้ำปลา น้ำพริก ฉันแทบทุกวัน แต่ท่านก็อดทน ด้วยรับการอบรมเป็นปฐมมาจากพระอุปัชฌาย์คือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ ท่านว่าอยู่กรุงเทพฯ 3 ปี ได้ฉันกระยาสารทเพียงครั้งเดียว โดยนางเฟือง คนกรุงเทพฯ นำมาถวาย ได้รับนิมนต์ไปบังสุกุลครั้งหนึ่งได้ปัจจัยมาหนึ่งสลึง เจ้าหน้าที่สังฆการีก็มาเก็บเอาไปเสียเลยไม่ได้ใช้เงินที่ติดตัวไป ท่านก็ใช้จ่ายไปในการศึกษาจนเกือบหมด ท่านเหลือไว้หนึ่งบาท เอาไว้ใช้เมื่อมีความจำเป็นสุดยอดเท่านั้น

ด้วยความอดทนของท่าน ในปีสุดท้ายที่ท่านจะกลับวัดบางนมโคนั้นเอง คืนหนึ่งท่านได้ยินเสียงคนเคาะหน้ากุฏิ ท่านเปิดออกไปก็เจอเทวดามาบอกหวยแล้วเขียนให้ดู แล้วย้ำว่าจำได้ไหม ท่านก็ตอบว่าจำได้

ท่านนอนคิดจนนอนไม่หลับ พอรุ่งเช้าแทนที่ท่านจะแทงหวย ท่านกลับเห็นว่า นั่นไม่ใช่กิจของสงฆ์ตามที่หลวงพ่อสุ่นได้อบรมไว้ ท่านก็ไม่แทง ปรากฏว่าวันนั้นหวยออกตรงตามที่เทวดาบอกถ้าท่านแทงหวย ก็คงจะรวยหลาย

ท่านอาจารย์แจง ฆราวาสชาวสวรรคโลก จากบันทึกของท่านฤาษีลิงดำว่า ท่านอาจารย์แจง เป็นฆราวาสสวรรคโลก ได้เดินทางล่องลงมาทางใต้ ถึงวัดบางนมโค มาเลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงพ่อปาน จึงได้สอนให้รู้ถึงวิธีการปลุกเสกพระ และวิธีสร้างพระตามตำรา ซึ่งเป็นของพระร่วงเจ้าได้รับการสืบทอดมาจากอาจารย์ซึ่งเขียนไว้ว่า

"ข้าพเจ้าได้รักษาตำราของพระอาจารย์ไว้แล้วก็ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทุกอย่าง วิชาต่างๆ มีผลดีทุกประการ ถ้าบุคคลใดได้พบแล้วจะนำไปใช้ให้บูชาพระอาจารย์ของท่านแต่มิได้ระบุว่าเป็นใคร"

ท่านอาจารย์แจงได้นิมนต์หลวงพ่อปานไปในโบสถ์ตามลำพัง เพื่อถ่ายทอดวิชา ซึ่งนอกจากวิชาการปลุกเสกพระ และทำพระแล้ว ยังได้ มหายันต์ เกราะเพชร ซึ่งท่านก็ได้ใช้ยันต์เกราะเพชรนี้สงเคราะห์ผู้คนได้มากมาย

หลวงพ่อเนียมวัดน้อย อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จากหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน บันทึกโดยท่านฤาษีลิงดำเขียนไว้ว่า "หลวงพ่อปานนิยมพระกัมมัฏฐาน หมายความว่า สิ่งที่ท่านต้องการที่สุด และปรารถนาที่สุดคือ พระกัมมัฏฐาน เรื่องพระกัมมัฏฐานนี้เป็นชีวิตจิตใจของหลวงพ่อปานจริงๆ ท่านเทิดทูนพระกัมมัฏฐานมาก ทั้งๆ ที่ทรงสมาบัติอยู่แล้ว ความอิ่ม ความเบื่อ ความพอใจในพระกัมมัฏฐานของท่านก็ไม่มี ท่านก็มีการทุรนทุราย ปรารถนาจะเรียนพระกัมมัฏฐานให้มันดีกว่านั้น

สมัยนั้นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นพิเศษในสมัยนั้นนะ สายอื่นฉันไม่ทราบก็มีหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี สมัยนั้นเรือยนต์มันก็ไม่มี ถ้าจะไปก็ต้องไปเรือแจว ถ้าไปเรือ แต่ทว่าทางเดินสะดวกกว่าเดินลัดทุ่งลัดนาลัดป่าไป ป่าก็เป็นป่าพงส่วนใหญ่ ท่านก็ใช้วิธีธุดงค์

สมัยนั้นวิธีธุดงค์เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เรียนกว่า ใกล้ค่ำที่ไหนปักกลดที่นั่น ชาวบ้านเขาเลี้ยงตอนเช้า ฉันอิ่มแล้วก็ไปกัน พระธุดงค์ฉันเวลาเดียว

ท่านบอกว่า เวลาที่ถึงวัดน้อยเขาร่ำลือกันว่า หลวงพ่อเนียมนี่เก่งมาก ท่านก็เข้าไปหาหลวงพ่อเนียม เข้าไปหานะไม่รู้จักหลวงพ่อเนียมหรอก ความจริงท่านก็คิดว่าหลวงพ่อเนียมท่านจะเป็นเหมือนหลวงพ่อองค์อื่นๆ ที่ท่านมีชื่อเสียงมาก นุ่งสบง จีวร เป็นปริมณฑล แล้วก็มักจะนั่งเฉยๆ ดีไม่ดีหลับตาปี๋ ก็หลับขยิบๆ เรียกว่าหลับไม่สนิทล่ะ คือ แกล้งหลับตาทำเคร่ง

ที่นี้เวลาหลวงพ่อปานไปหาหลวงพ่อเนียม ก็ไปโดนดีเข้า เข้าไปแล้วเจอะหลวงพ่อเนียมที่ไหน ความจริงหลวงพ่อเนียมก็เดินคว้างๆ อยู่กลางวัดนั่นแหละ มีผ้าอาบน้ำ 1 ผืน ที่ชาวบ้านเขาเรียกว่า ผ้าอาบน้ำฝน สีเหลือง ผ้าอีกผืนแบบเดียวกันคล้องคอเดินไปรอบวัด

หลวงพ่อปานก็บอกว่า เมื่อท่านเห็นนะ ก็ไม่รู้หลวงพ่อเนียนเห็นพระแก่ๆ ผอมๆ นุ่งผ้าลอยชายผืนหนึ่งเข้าไปถึงก็กราบๆ

หลวงพ่อปานบอกว่า "เกล้ากระผมมาจากเมืองกรุงเก่าขอรับกระผมจะมานมัสการหลวงพ่อ ขอเรียนพระกัมมัฏฐาน" หลวงพ่อเนียมก็ทำท่าเป็นโมโห บอกว่า ไม่มีวิชาอะไรจะสอนพร้อมทั้งกล่าวขับไล่ไสส่งออกจากวัด หลวงพ่อปานก็นั่งทนฟังอยู่ ในที่สุดเห็นท่าจะไม่ได้เรื่องก็เลี้ยวหาพระในวัด ไปขออาศัยนอน แล้วก็ถามว่า พระองค์นั้นน่ะชื่ออะไร พระท่านก็บอกว่า องค์นี้แหละชื่อ หลวงพ่อเนียมล่ะ

พอวันรุ่งขึ้น หลวงพ่อปานก็เข้าไปหา ก็ถูกด่าว่าอีกอย่างหนัก ท่านยืนยันจะเรียนให้ได้ หลวงพ่อเนียมเลยสั่งว่า 2 ทุ่ม ให้นุ่งสบงจีวรคาดสังฆาฎิไปหาในกุฏิ

พอตอนกลางคืน หลวงพ่อปานเข้าไปหาท่าน ปรากฏว่ารูปร่างท่านผิดไปมาก ผิวดำ ผอมเกร็งแบบเก่า ไม่มีทางนุ่งสบงจีวรพาดสังฆาฏิเหลืองอร่ามผิวกายสมบูรณ์ร่างกายก็สมบูรณ์หน้าตาอิ่มเอิบ รัศมีกายผ่องใส่ สวยบอกไม่ถูก

หลวงพ่อปานตรงเข้าไปกราบ 3 ครั้งแล้วก็นั่งมอง ท่านก็นั่งมองยิ้มๆ แล้วท่านก็ถามว่า "แปลกใจรึคุณ" หลวงพ่อป่านก็ยกมือนมัสบอกว่า "แปลกใจขอรับหลวงพ่อรูปร่างไม่เหมือนตอนกลางวัน" ท่านก็บอกว่า "รูปร่างน่ะคุณมันเป็นอนัตตา หาความเที่ยงแท้ไม่ได้ มันจะอ้วนเราก็ห้ามไม่ได้มันไม่มีอะไรห้ามได้เลยที่คุณ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนอนิจจัง เห็นไหม ไปเจอตัวอนิจจังเข้าแล้วซิ"

หลวงพ่อปานบอกว่า ตอนนี้ล่ะเริ่มสอนกัมมัฏฐาน อธิบายไพเราะจับใจฟังง่ายจริงๆ พูดได้ซึ้งใจทุกอย่าง เวลาท่านพูดคล้ายๆ ว่าจะบรรลุพระอรหันตผลไปพร้อมๆ ท่าน ท่านสอนได้ดีมาก พอสอนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็บอกให้ไปพักที่กุฏิอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับกุฏิของท่าน แล้วเวลาทำกัมมัฏฐานกลางคืน หลวงพ่อปานวางอารมณ์ผิดท่านจะร้องบอกไปทันที บอก "คุณปานเอ๊ย คุณปาน นั่นคุณวางอารมณ์ผิดแล้วตั้งอารมณ์เสียใหม่มันถึงจะใช้ได้"

นี่หลวงพ่อปานบอกว่า ท่านมีเจโตปริยญาณแจ่มใสมาก ท่านเรียนพระกัมมัฏฐานอยู่กับหลวงพ่อเนียม 3เดือน แล้วจึงกลับก่อนหลวงพ่อปานจะกลับ หลวงพ่อเนียมก็บอกว่า

"ถ้าข้าตายนะ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เขาแทนข้าได้ ถ้ามีอะไรสงสัยก็ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน"

หลวงพ่อปานได้เรียนคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อช่วงตอนปลายของชีวิต คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ท่านไปเรียนกับ ครูผึ้ง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนั้น ครูผึ้ง เป็นฆราวาส อายุ 99 ปี เพราะได้ข่าวว่าครูผึ้งเป็นคนพิเศษ เวลาขอทานมาขอให้คนละ 1 บาท สมัยนั้นเงิน 1 บาท มีค่ามาก เงิน 100 บาท 200 บาท สามารถสร้างบ้านได้ 2 หลัง มีครัวได้ 1 หลัง เวลาทำบุญแกจะช่วยรายละ 100 บาท ไม่ใช่เงินเล็กน้อย

เมื่อทราบข่าว หลวงพ่อจึงไปขอเรียนกับแก คาถาปัจเจพุทธเจ้านี้เรียกว่า คาถาแก้จน ท่านได้เรียนมาและพิมพ์แจกเป็นทานแก่สาธุชนนำไปปฏิบัติและมีผลดีจบสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

กลับมาตุภูมิ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

หลังจากที่หลวงพ่อปานได้เสร็จสิ้นการเรียนจากกรุงเทพฯ แล้วท่านก็หวนคิดถึงโยมมารดาที่ท่านจากมาถึง3 ปี จึงเดินทางกลับวัดบางนมโค พร้อมกับความรู้ที่ได้รับมา

ท่านได้ระลึกถึงว่า การเล่าเรียนของท่านที่ลำบากมาก จึงอยากจะจัดสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรและบุตรธิดาชาวบางนมโค ให้มีความรู้ จึงนิมนต์พระภิกษุเกี้ยว ที่อยู่สำนักเดียวกับท่านมาด้วย เพื่อจัดสอนหนังสือเมื่อมาถึงแล้วท่านก็นำมากราบนมัสการหลวงปูคล้าย และได้ไปหาโยมมารดาให้ได้ชมบุญ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

จากปากคำของผู้ทราบเคยอยู่ใกล้ชิดกับท่าน และเรื่องเล่าสืบต่อกันมาพอจะอนุมานได้ดังนี้

จากบันทึกของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ บันทึกไว้ว่า "หลวงพ่อปานท่านมีลักษณะของชายชาตรีที่มีผิวพรรณขาวละเอียด ลักษณะสมส่วนเสียงดังกังวานไพเราะมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสชวนให้ศรัทธาปสาทะเป็นอย่างยิ่ง ดวงตาบ่งบอกถึงความเมตตาปรานีในสัตว์โลกทั้งหลาย ต้อนรับผู้คนที่มาหาไม่เลือกเศรษฐี ผู้ดี ไพร่ ใครไปก็ไต่ถาม ว่ากันว่าถ้าหลวงพ่อพูดจากับผู้ใดแล้วนั้น มักจะจับจิตจับใจที่ใจชั่วมั่วเมามาก็กลับตัว แม้แต่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาก็ยังหันมานับถือพระพุทธศาสนา"

ตลอดเวลาท่านจะไม่แสดงทีท่าว่าเหน็ดเหนื่อยหรือทำให้ผู้ที่มาหาเสื่อมศรัทธาเลย วันหนึ่งๆ จะมีคนมาหาท่าน เพื่อขอความช่วยเหลือนับเป็นจำนวนร้อยๆ คน ไหนจะให้รดน้ำมนต์ไหนจะต้องพ่น ไหนจะขอยา ไหนจะมาปรึกษาถึงเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ บางคนก็เรียกว่า หลวงพ่อบางคนเรียกว่าหลวงปู่บ้าง เป็นเราๆท่านๆน่ากลัวจะนั่งไม่ทน เพราะตั้งแต่เพลจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 4 หรือ 5 ทุ่ม นั่นแหละท่านถึงจะพักผ่อน และเป็นอย่างนี้อยู่ประจำทุกวัน จนกระทั่งท่านมรณภาพ

"ท่านไม่ยินดียินร้ายในทางโลกธรรมแต่ประการใด คงปฏิบัติธรรมเหมือนพระแก่ๆ รูปหนึ่งที่ไม่ต้องการยศบรรดาศักดิ์หรือชื่อเสียงดีเด่นแต่อย่างใด ท่านคงหวังแต่ทำหน้าที่ให้ความสุขสบายแก่พระสงฆ์และชาวบ้านทั่วไปตามกำลังความสามารถเท่านั้น

ด้วยความไม่ติดอยู่ในยศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านจึงได้ปฏิเสธตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางนมโค กล่าวคือ เมื่อหลวงปู่คล้ายเจ้าอาวาสวัดบางนมโครูปก่อนมรณภาพลง ทายกทายิกาพระภิกษุสงฆ์ได้พร้อมใจกันอาราธนาท่านขึ้นครองวัดบางนมโคแทน ท่านก็ไม่รับท่านให้เหตุผลว่า ท่านหน่ายเสียแล้วจากกิเลสอันจะมาเป็นเครื่องขวางกั้นทางพระนิพพาน กลับแนะนำท่านสมภารเย็น ซึ่งเวลานั้นเป็นพระลูกวัดธรรมดาขึ้นรับตำแหน่งแทน ส่วนท่านขอเป็นพระลูกวัดต่อไปอย่างเดิม

ด้วยความที่ท่านได้เสริมสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นบางนมโคและสถานที่อื่นๆ มากมาย โดยไม่ได้หวังจะได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์ตอบแทนแม้ว่าจะมีเชื่อพระวงศ์ชั้นสูง จะมาเป็นลูกศิษย์ของท่านอยู่มากมายก็ตาม

ในที่สุดความดีของท่าน ทางฝ่ายบ้านเมืองจึงตอบแทนความเป็นผู้เสียสละของท่านด้วยการมอบถวายสมณศักดิ์ให้แก่ท่านเป็นที่ "พระครูวิหารกิจจานุการ" ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2474 โดยมี

1. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ

2. พระวรวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ

3. หม่อมเจ้าโฆษิต

4. หม่อมเจ้านภากาศ

5. ท้าววรจันทร์

ข้าราชการและบรรดาสานุศิษย์ของท่านได้นำพัดยศพระราชทานมาให้ท่านถึงที่วัด โดยนำไปมอบให้ท่านในพระอุโบสถ ตามพระบรมราชโองการท่านกลางคณะสงฆ์และชาวบ้านต่างแซ่ซ้องสาธุการกันถ้วนหน้า

แต่หลวงพ่อปานเองท่านก็วางเฉยด้วยอุเบกขา และแม้จะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นที่พระครูวิหารกิจจานุการแล้ว ท่านเองก็ยังคงเป็นหลวงพ่อปานรูปเดิม ปฏิบัติกิจวัตรอย่างที่แล้วๆ มา แต่ผู้ที่ยินดีที่สุดกลับเป็นบรรดาศิษยานุศิษย์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

หลวงพ่อปานรักษาโรค
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

ในเรื่องการรักษาโรคช่วยชีวิตคนของหลวงพ่อปาน เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น ผู้คนต่างแห่กันมาที่วัดจนแน่นขนัด จนไม่มีที่รับรองแขกเพียงพอ

วิชาการรักษาโรคและวิชาการบางอย่างที่หลวงพ่อปานสำเร็จและนำมาช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์ เท่าที่เกิดปาฏิหาริย์และได้รับการบันทึกไว้มีมากมาย ตัวอย่างเช่น รักษาโรคด้วยน้ำมนต์ โรคที่ท่านรักษาด้วยน้ำมนต์ เรียกว่าโรคภายใน เช่น บางคนถูกของ ถูกคุณ ถูกเขากระทำมา โรคที่เกิดจากกรรมเวร ถูกผีสิง เป็นต้น บางครั้งก็ต้องแป้งเสกควบคู่ด้วย

ในตอนเพล ขณะที่ท่านพักผ่อนท่านจะทำการเสกน้ำมนต์เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อเวลาอาบจะได้สะดวก และท่านได้ใช้เวลาในการอาบนั้นบริกรรมเสกเป่าเฉพาะรายอีกด้วย

น้ำมนต์ของท่านนี้ศักดิ์สิทธิ์นักและกรรมวิธีในการรักษาโรคด้วยน้ำมนต์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วยระยะ คือ

ช่วงแรก ท่านจะเรียกคนไข้มาหาแล้วถามชื่อเสียงเรียงนาม ถามอาการแล้วยื่นหมากให้คำหนึ่ง คาถาที่ใช้เสกหมากนี้ท่านบอกผู้ใกล้ชิดว่า ใช้ดังนี้จะขลังหรือไม่อยู่ที่จิตของผู้ทำ

"ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วว่า โสทาย นะโม พุทธายะ ลัมอิทังโล นันโทเทติ ยาทาโลเทตีติ"

เมื่อคนไข้ได้รับหมากเสกแล้วให้เคี้ยวให้แหลก บ้วนน้ำหมากทิ้งเสียสามที กลืนลงคอไป ให้คนไข้สังเกตุดูว่าหมากนั้นมีรสอะไร แล้วบอกหลวงพ่อปาน จากนั้นก็จะทำการรักษาตามวิธีของท่าน

หลวงพ่อปานท่านบอกว่า รสหมากนั้นบอกโรคได้ดังนี้

รสเปรี้ยว แสดงว่าต้องเสนียดที่อยู่อาศัย เข้ามาเกี่ยวข้อง คือมีของต้องห้ามอยู่กับบ้าน เช่น มีไม้ไผ่ผูกส่วนต้นสาวนปลายอยู่ในบ้าน มีตออยู่ใต้ถุนบ้าน ที่เรียกว่า ปลูกเรือนคล่อมตอ หรืออย่างอื่น ต้องจัดการเรื่องนี้เสียก่อนแล้วจึงรักษาหาย ส่วนมากแล้วหลวงพ่อปานจะใช้ญาณดูแล้วบอกว่ามีอย่างไหนบ้าง ให้แก้เสียก่อน

รสหวาน แสดงว่าต้องแรงสินบนอย่างใดอย่างหนึ่ง คนไข้หรือคนในบ้านบนไว้ต้องนึกให้ออกว่า ตนเคยบนบานศาลกล่าวอะไรบ้าง ถ้านึกได้ผู้ป่วยไข้จะต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนไปจุดบูชากลางแจ้ง ขอทำการแก้บนให้ถูกต้องในภายหน้าต่อไป

เมื่อกลับมาหาท่าน ท่านจะรดน้ำมนต์ให้ รดแล้วจะต้องให้กินหมากเสกอีกว่า หมดสิ้นหรือยัง ถ้าไม่มีรสหวานก็หมดแล้ว ถ้ายังหวานอยู่ก็ต้องนึกดูก็ต้องแก้บนอีก แล้วจึงรักษาหาย

รสขม แสดงว่าต้องคุณคน คือถูกของที่มีผู้ใช้เดียรัจฉานวิชานำมาไว้ในตัว เช่น ในท้องมีตะปูบ้าง มีเข็มเย็บผ้าบ้าง ไม้กลัดผูกกากบาทบ้าง ด้ายตราสังข์มัดศพ เปลวหมูบ้าง หนังสัตว์บ้าง

ของเหล่านี้จะทำให้คนไข้เจ็บปวดเสียดแทงในร่างกายเป็นที่ทรมานนัก คนไข้ประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นหญิง ที่เป็นชายมีน้อย โดยมากพวกนี้มักจะรับจ้างทำร้ายผู้อื่น หรือไม่ก็ปล่อยไปตามยถากรรม ถูกใครก็เจ็บไป ทำร้ายใครไม่ได้ก็กลับมาเข้าตัวเอง เคยมีแขกผู้หนึ่งถูกของของตัวเอง หลวงพ่อปานท่านแก้ให้แล้วขอสัญญา ให้เลิกอาชีพนี้เสีย

คนไข้ประเภทนี้ หลวงพ่อท่านจะเสกน้ำมนต์พิเศษใส่กระป๋องน้ำ เพื่อให้คนที่แช่เท้าทั้งสองข้างไว้ เพื่อเวลารดน้ำมนต์ ของที่อยู่ในตัวจะได้หลุดออกมาทางเท้าอยู่ในกระป๋องน้ำมนต์

มีอาการยันหมาก มึนงงศีรษะเวียนศีรษะ อย่างนี้หลวงพ่อท่านว่าถูกคุณผี คือมีอาการใช้ผีมาเข้าสิง คนไข้นั้นจะสำแดงอาการกิริยาผิดปกติ ถ้าผียังสิงอยู่ จะไม่ยอมกินหมากเสกหลวงพ่อ ต้องใช้อำนาจจิตบังคับให้กิน ถ้าผีแกล้งออกไปชั่วระยะ คนไข้จะยอมกินหมากแล้วมีอาการยันหมาก ผีประเภทนี้ เป็นผีตายโหง ที่มีผู้มีวิชานำวิญญาณมาใช้ทำอันตรายคนทำให้เสียสติเพ้อคลั่ง เสียคน เป็นต้น

คนไข้ประเภทนี้ หลวงพ่อปานท่านจะทำน้ำมนต์พิเศษจากพระดินเผาของท่านเอง ซึ่งท่านมักจะใส่ในกระเป๋าอังสะของท่านอยู่เสมอ เพื่อทำน้ำมนต์ให้คนไข้อาบ และใช้มีดหมอของท่านกดกลางศีรษะ และรดน้ำมนต์คนไข้นั้นเรื่อยไปจนกว่าผีจะออก ถ้าดิ้นรนก็ต้องมีคนมาช่วยจับและรดน้ำมนต์ในระหว่างที่ท่านกดมีดหมอและบริกรรมอยู่

คนไข้ประเภทนี้เมื่อหายแล้วจะจำอะไรไม่ได้เลย และท่านมักจะให้สายสิญจน์มงคล ไว้คล้องคอกันถูกกระทำซ้ำ อีกทุกรายมีอาการร้อนหูร้อนหน้า แสดงว่าร้ายแรงมาก ถึงขนาดที่ถูกน้ำมันผีพราย ประเภทนี้จะอาการป้ำๆ เป๋อๆ ๆ คุ้มดีคุ้มร้าย ชาวบ้านเรียกว่า ลมเพลมพัด ขาดสติ ปวดศีรษะบ่อยๆ

คนไข้ชนิดนี้ท่านจะให้แช่เท้าในกระป๋องด้วยเหมือนกับที่ถูกคุณคน เมื่อเวลารดน้ำมนต์นั้น น้ำมันพรายจะซึมออกมา เป็นฝ้าน้ำมันลอยอยู่ในน้ำให้เห็น

หลวงพ่อบอกว่า คนไข้ประเภทนี้หายยาก เพราะว่าน้ำมันซึมอยู่ในร่างกาย ต้องมารักษาบ่อยๆ เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ จนกว่าจะหมดน้ำมันพรายและท่านมักจะสั่งห้ามกินน้ำมันสัตว์ เพราะจะไปเพิ่มน้ำมันให้กับน้ำมันพราย

หมากเสกของท่านนี้ ถ้ากินแล้วร้อนลึกเข้าไปในทรวงอก ท่านว่าเป็นโรคฝีในท้อง วัณโรค ประเภทนี้นอกจากรดน้ำมนต์แล้ว ยังต้องกินยาคุณพระควบไปด้วยอีกทางหนึ่ง เป็นการขับถ่ายพิษร้าย ออกจากร่างกาย

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

รักษาโรคด้วยยาพระพุทธคุณ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

นอกจากน้ำมนต์แล้ว ท่านยังมียาคุณพระพุทธคุณให้กินอีกด้วย ยานี้มีสรรพคุณแก้โรคได้ทุกชนิด แล้วแต่ชนิดของโรค คือยานี้เป็นยาอธิษฐานของหลวงพ่อปาน นอกจากจะรักษาโรคแล้ว ยังเป็นยาที่หลวงพ่อปานให้กินเวลาท่านรดน้ำมนต์แก้ถูกกระทำไปแล้ว ยาของท่าน ท่านจะบอกกับผู้ใกล้ชิดว่า ตำรับยานี้เป็นของหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ องค์อุปัชฌาย์ของท่านมอบให้ท่านเป็นทายาทแทนเมื่อหลวงพ่อสุ่นล่วงลับไปแล้ว มี 2 ขนาน (คัดมาจากหนังสืออนุสรณ์ 100 ปี หลวงพ่อปาน)

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

พระคาถา
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

(ว่า "นะโม ฯลฯ " ๓ จบ )

พระคาถาบทนำ ว่าครั้งเดียว

พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ

พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์

ว่า ๓ จบ หรือ ๕ จบ หรือ ๗ จบ หรือ ๙ จบ ก็ได้ แต่ต้องสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผล

" วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม "

คาถามหาพิทักษ์
จิตติ วิตัง นะกรึง คะรัง

ใช้ภาวนาขณะใส่กุญแจ ปิดหีบ ปิดตู้ ปิดประตูหน้าต่างฯ

คาถา มหาลาภ

นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา ระชะตังวา ธะนังวา พึซังวา อัตถังวา ปัตถังวาเอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมึมา นะมามิหัง

ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ

พระคาถา ๓ บทนี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดนำไปใช้จะเกิดโชคลาภมั่งมีเงินทองอย่างมหัศจรรย์


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

151
หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

คัดลอกจาก http://www.manager.co.th

สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ

หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

ทารกอัศจรรย์

เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้นี้มีนายว่า "ปู"  เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา

สามีราโม

เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า "ราโม ธมฺมิโก" แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า  "เจ้าสามีราม"  หรือ "เจ้าสามีราโม" เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง

เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา

เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ

รบด้วยปัญญา

กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์

เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่า

พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย

พระสุบินนิมิต

เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมด

ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทม

รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที

อักษรเจ็ดตัว

ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ "เจ้าสามีราม"  ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า "เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้" ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม

ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า "ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด" ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า "ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด"

ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันที ด้วยอำนาจบุญญาบารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000 ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลย

ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น

พระราชมุนี

สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง ทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีรามให้ครอง 7 วัน แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้ จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าสามีรามเป็น "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์"  ในเวลานั้น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา

โรคห่าเหือดหาย

ต่อจากนั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษ แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า "พระสังฆราชคูรูปาจารย์"  และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า "หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ"

กลับสู่ถิ่นฐาน

ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงอาลัยมาก ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า "สมเด็จอย่าละทิ้งโยม" แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยา

ขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง

สมเด็จเจ้าพะโคะ

ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า "วัดพะโคะ" มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่าพระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ ได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา

เหยียบน้ำทะเลจืด

ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น 3 คด ชาวบ้านเรียกว่า "ไม้เท้า 3 คด" ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็นอย่างมาก สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้

เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป

เมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา "ไม้เท้า 3 คด" พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้

สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา

สังขารธรรม

หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะเที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านลังกา" และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านช้างให้" ดังนี้ ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใด ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไร ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้ วัดกุฎิหลวง วัดสีหยัง วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้

ปัจฉิมภาค

สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญาญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชนและเผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" ตลอดไป



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

152
ธรรมะ / มาสร้างบุญบารมีกันเถอะ
« เมื่อ: 01 มี.ค. 2550, 11:45:04 »
1. นั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ15นาที (หรือเดินจงกรมก็ได้) อานิสงส์---เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส ปล่อยวางได้ง่าย จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง เจ้ากรรมนายเวรและญาติมิตรที่ล่วงลับจะได้บุญกุศล
 
 
 
2. สวดมนต์ด้วยพระคาถาต่างๆอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน อานิสงส์---เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ชีวิตหน้าที่การงาน เจริญก้าวหน้า เงินทองไหลมาเทมา แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง จิตจะเป็นสมาธิได้เร็ว แนะนำพระคาถาพาหุงมหากา,   พระคาถาชินบัญชร, พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นต้น เมื่อสวดเสร็จต้องแผ่เมตตาทุกครั้ง
 
 
 
3. ถวายยารักษาโรคให้วัด, ออกเงินค่ารักษาให้พระตามโรงพยาบาลสงฆ์ อานิสงส์---ก่อให้เกิดสุขภาพร่มเย็นทั้งครอบครัว โรคที่ไม่หายจะทุเลา สุขภาพกายจิตแข็งแรง อายุยืน ทั้งภพนี้และภพหน้า ถ้าป่วยก็จะไม่ขาดแคลนการรักษา
 
 
 
4. ทำบุญตักบาตรทุกเช้า อานิสงส์---ได้ช่วยเหลือศาสนาต่อไปทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ขาดแคลนอาหาร ตายไปไม่หิวโหยอยู่ในภพที่ไม่ขาดแคลน ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์
 
 
 
5. ทำหนังสือหรือสื่อต่างๆเกี่ยวกับธรรมะแจกฟรีแก่ผู้คนเป็นธรรมทาน อานิสงส์---เพราะธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง ผู้ให้ธรรมจึงสว่างไปด้วยลาภ ยศ สุขสรรเสริญ ปัญญา และบุญบารมีอย่างท่วมท้น เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมให้ ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่คาดฝัน
 
 
 
6. สร้างพระถวายวัด อานิสงส์---ผ่อนปรนหนี้กรรมให้บางเบา ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง ครอบครัวเป็นสุข ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนาตลอดไป
 
 
 
7. แบ่งเวลาชีวิตไปบวชชีพรามณ์หรือบวชพระอย่างน้อย9วันขึ้นไป อานิสงส์---ได้ตอบแทนคุณพ่อแม่อย่างเต็มที่ ผ่อนปรนหนี้กรรมอุทิศผลบุญให้ญาติมิตรและเจ้ากรรมนายเวร สร้างปัจจัยไปสู่นิพพานในภพต่อๆไป ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนา จิตเป็นกุศล
 
 
 
8. บริจาคเลือดหรือร่างกาย อานิสงส์---ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพแข็งแรง ช่วยต่ออายุ ต่อไปจะมีผู้คอยช่วยเหลือไม่ให้ตกทุกข์ได้ยาก เทพยดาปกปักรักษา ได้เกิดมามีร่างกายที่งดงามในภพหน้า ส่วนภพนี้ก็จะมีราศีผุดผ่อง
 
 
 
9. ปล่อยปลาที่ซื้อมาจากตลาดรวมทั้งปล่อยสัตว์ไถ่ชีวิตสัตว์ต่างๆ อานิสงส์---ช่วยต่ออายุ ขจัดอุปสรรคในชีวิต ชดใช้หนี้กรรมให้เจ้ากรรมนายเวรที่เคยกินเข้าไป ให้ทำมาค้าขึ้น หน้าที่การงานคล่องตัวไม่ติดขัด ชีวิตที่ผิดหวังจะค่อยๆฟื้นคืนสภาพที่สดใส เป็นอิสระ
 
 
 
10. ให้ทุนการศึกษา, บริจาคหนังสือหรือสื่อการเรียนต่างๆ, อาสาสอนหนังสือ อานิสงส์---ทำให้มีสติปัญญาดี ในภพต่อๆไปจะฉลาดเฉลียวมีปัญญา ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างรอบรู้สติปัญญาสมบูรณ์พร้อม
 
 
 
11. ให้เงินขอทาน, ให้เงินคนที่เดือดร้อน (ไม่ใช่การให้ยืม) อานิสงส์---ทำให้เกิดลาภไม่ขาดสายทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ตกทุกข์ได้ยาก เกิดมาชาติหน้าจะร่ำรวยและไม่มีหนี้สิน ความยากจนในชาตินี้จะทุเลาลง จะได้เงินทองกลับมาอย่างไม่คาดฝัน
 
 
 
12. รักษาศีล 5 หรือศีล 8  อานิสงส์---ไม่ต้องไปเกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรก ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐครบบริบูรณ์ ชีวิตเจริญรุ่งเรือง กรรมเวรจะไม่ถาโถม ภัยอันตรายไม่ย่างกราย เทวดานางฟ้าปกปักรักษา
 
 
 
ทั้ง 12  ข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่างบุญที่ยกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงอานิสงส์ที่ท่านพึงจะได้รับ จงเร่งทำบุญเสียแต่วันนี้ เพราะเมื่อท่านล่วงลับ ท่านไม่สามารถสร้างบุญได้อีกจนกว่าจะได้เกิด หากท่านไม่มีบุญมาหนุนนำ แรงกรรมอาจดึงให้ท่านไปสู่ภพเดรัจฉาน ภพเปรต ภพสัตว์นรกที่ไม่อาจสร้างบุญสร้างกุศลได้ ต่อให้ญาติโยมทำบุญอุทิศให้ก็อาจไม่ได้รับบุญ ดังนั้นท่านจงพึ่งตนเองด้วยการสร้างสมบุญบารมีซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ท่านจะนำติดตัวไปได้ทุกภพทุกชาติเสียแต่วันนี้ด้วยเทอญ **ส่งต่อก็ได้บุญค่ะ การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง**
 

153
ธรรมะ / มงคล ๘ ประการ
« เมื่อ: 01 มี.ค. 2550, 11:40:17 »
มงคล ๘ ประการ

 

มงคล ๘ ประการ หรือที่เรียนกันสั้นๆ ว่า มงคล ๘ เป็นมงคลที่พุทธศาสนิกชนถือว่าเป็นมงคลภายนอก ไม่มีปรากฏในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่ยอมรับประพฤติปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย

มงคล ๘ ประการแบ่งแยกได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล และสิ่งของที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของมงคล

สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ ประการ

๑. ใบเงิน  ๒. ใบทอง  ๓. ใบนาค  ๔. ใบพรหมจรรย์  ๕. หญ้าแพรก ๖. ฝักส้มป่อย  ๗. ผิวมะกรูด ๘. ใบมะตูม

 

เหตุที่ถือว่า ใบไม้และผิวของผลไม้ ๘ อย่างเป็นมงคลเพราะถือว่า                       

ใบเงิน ใบทอง ใบนาค หมายถึง ความมั่งคั่ง

ใบพรหมจรรย์ หมายถึง ความบริสุทธิ์สะอาด

หญ้าแพรก หมายถึง ความเจริญงอกงามรวดเร็ว

ฝักส้มป่อย หมายถึง การล้างโรคภัย

ผิวมะกรูด หมายถึง ทำให้สะอาด

ใบมะตูม หมายถึง เทพพรของพระเป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์ทั้งสาม คือ พระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม

 

 

เหตุที่จะอ้างว่าสิ่งของทั้ง ๘ ถือเป็นสัญลักษณ์ของมงคลในศาสนาพราหมณ์ มีดังนี้

กรอบหน้า พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ อธิบายว่า 

?น. เครื่องประดับหน้าผากเป็นรูปกระจัง?

สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ ประการจะมีปรากฏในหม้อหรือขันเทพมนต์ของพราหมณ์ หรือในหม้อในขันและในบาตรพระพุทธมนต์ที่เกี่ยวกับพิธีทางศาสนาโดยทั่วไป สิ่งของที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของมงคล ๘ ประการ ซึ่งมีประวัติผูกพันกับคติประเพณีของพราหมณ์รามวงศ์นำมาเผยแพร่ ได้แก่

๑.กรอบหน้า ๒. ตะบอง (คทา ) ๓. สังข์ ๔. จักร ๕. ธงชัย (ธงชาย) ๖. ขอช้าง ๗. โคอุสภะ ๘. หม้อน้ำ

สิ่งของที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของมงคล ๘ อย่างนี้ กล่าวกันว่ามีประวัติผูกพันกับคติประเพณีของพราหมณ์รามวงศ์นำมาเผยแพร่ ซึ่งมีชี่อเป็นภาษาบาลีว่า อัฎฐพิธมงคล ซึ่งแปลว่ามงคล ๘ ประการนั่นเอง




เหตุที่ กรอบหน้า เป็นสัญลักษณ์ของมงคล หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงอธิบายว่า ?เครื่องประดับหัวอันเป็นหลักของกาย?  ส่วนคำโบราณของเก่าอธิบายพอเก็บความได้ว่า ?กรอบหน้ามีความสัมพันธ์กับหญ้าแพรกและสายสิญจน์?

กล่าวคือ หญ้าแพรกที่ถือว่าเป็นใบไม้มงคลอย่างหนึ่งนั้นมีกำเนิดมาจากบัลลังก์อาสน์ของพระนารายณ์ซึ่งบรรทมหลับอยู่เหนือ หลังพญานาคที่ขดตัวเป็นวงเป็นแท่นบัลลังก์ เมื่อพระนารายณ์เสด็จลงมาช่วยมนุษย์แล้วก็จะเสด็จกลับไปบรรทม ณ แท่นบัลลังก์พญานาคเป็นเวลานานมากๆ นานมากจนกระทั่งปรากฏว่า หนวดของพญานาคได้เจริญงอกงามและยาวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อยาวมากก็หลุดลอยไปตามกระแสน้ำ บ้างก็มาติดอยู่ตามชายฝั่งทะเล แล้วกลายเป็นหญ้าแพรก ภายหลังมนุษย์รวมเหตุที่มาของหญ้าแพรก เกิดความศรัทธาว่าเป็นมงคล จึงเอามาทำเป็นมงคลบ้าง สายสิญจน์บ้าง ถักทำเป็นครอบหน้าสวมศีรษะบ้าง ซึ่งในเวลาต่อมามงคลและสายสิญจน์ได้ถูกเปลี่ยนจากหญ้าแพรกเป็นด้ายดิบในปัจจุบัน รวมทั้งกรอบหน้าก็ได้เปลี่ยนจากหญ้าแพรกมาเป็นสิ่งอื่นจนถึงเป็นโลหะเช่นในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมงคลสิ่งหนึ่ง




 

ตะบอง หรือคทา หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงอธิบายว่า ?เป็นศาตราวุธอย่างหนึ่งของพระนารายณ์เป็นเจ้า? ตำราโบราณอธิบายเก็บความได้ว่า ?ตะบองเดิมเป็น เทพวราวุธของพระพรหม ทำจากเถาวัลย์บนยอดเขาพระสุเมรุ พระนารายณ์ได้เสด็จไปพบเข้า จึงถอนเอามาด้วยพละกำลังอันแรงกล้า แล้วบิดให้เถาวัลย์นั้นเข้ารวมกันจนเป็นเกลียว แล้วถวายพระพรหมเพื่อทรงใช้เป็นเทพวราวุธคู่พระหัตถ์ ต่อมาพระพรหมถวายแด่พระอิศวร ตะบองนี้มีอานุภาพมากเป็นที่หวั่นเกรงของหมู่ยักษ์และภูตผีปิศาจ? เรื่องตะบองศักดิ์สิทธิ์นี้ได้ถูกจำลองมาทำด้วยใบลานหรือใบตาลเป็นรูปแบนๆ เรียกว่า ?ตะบองเพชร? ตรงปลายทำเป็นหงอน ซึ่งความจริงเป็นรูปพรหมสี่หน้า แต่ทำพอเป็นเลาๆ จึงไม่เห็นชัด ในเวลาโกนจุกเด็กๆ พราหมณ์จะให้เด็กถือตะบองดังกล่าวนี้ไว้เพื่อป้องกันสรรพภัยพิบัติ และช่วยให้เกิดสิริมงคล และในพระราชพิธีตรุษสมัยก่อน ผู้ฟังสวดภาณยักษ์ จะได้รับแจกตะบองเพชร  (ใบลาน) ให้ถือกันด้วย




 

สังข์  ในคำโคลงเป็น ศรีสังข์ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงอธิบายว่า เป็นศาตราวุธของพระนารายณ์เช่นเดียว กับตะบอง ในตำราของเก่าเล่าว่า

?ในปฐมกัลป์ โลกของเรายังว่างเปล่าอยู่ พระอิศวรได้ทรงสร้างสรรพสิ่งต่างๆ ขึ้นมาอีกจนครบถ้วน แล้วก็ทรงพระราชดำริจะสร้างคัมภีร์พระเวทขึ้นไว้คู่กับโลก จึงทรงมีเทวบัญชาให้พระพรหมสร้างขึ้น เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จแล้วก็นำไปถวายพระอิศวรแต่ขณะเสด็จมาเกิดความร้อนพระวรกายและบังเอิญผ่านมหาสมุทร พระพรหมจึงหยุดสรงน้ำ โดยวางพระคัมภีร์ไว้ ณ ริมฝั่งมหาสมุทร ขณะเดียวกัน มีพรหมอีกคู่หนึ่งเป็นคู่อาฆาตกันได้จุติจากพรหมโลกลงมาเกิดเป็นยักษ์หอยสังข์มีชื่อว่า ?สังขอสูร? สิงสถิตอยู่ในแถบมหาสมุทรแห่งนั้น เห็นคัมภีร์พระเวท จึงแอบขโมยเอามากลืนเข้าไปไว้ในท้อง

แล้วลงไปนอนกบดานนิ่งอยู่ใต้ท้องมหาสมุทร พระพรหมเสด็จขึ้นจากน้ำไม่เห็นคัมภีร์พระเวท ตกพระทัยรีบเสด็จไปเฝ้าพระอิศวร กราบทูลให้ทรงทราบ พระอิศวรทรงทราบด้วยพระญาณจึงมีเทวบัญชาให้พระนารายณ์ลงไปปราบและนำคัมภีร์พระเวทคืนมา พระนารายณ์รับโองการแล้ว เสด็จลงไปปราบสังขอสูรโดยอวตารหรือแปลงองค์เป็นปลากรายทอง(มัสยาวตาร)ทรงปราบสังขอสูรได้แล้วแหกอกล้วงเอาพระเวทกลับคืนไปถวายพระอิศวร พระอิศวรจึงสาปว่า ถ้าผู้ใดจะทำการมงคลให้ใช้สังข์เป็นเครื่องหลั่งน้ำมนต์เป็นการประสาทพรจะทำให้เกิดสวัสดิมงคล พวกเป่าสังข์ให้เกิดเสียงดังก็จะเกิดสวัสดิมงคลจนกระทั่งสิ้นเสียงสังข์?

สังข์ หรือ หอยสังข์จึงถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของมงคล เพราะจุติมาจากพรหมโลก เคยเป็นที่เก็บพระเวท และ ต้องพระหัตถ์พระนารายณ์มาแล้ว




 

จักร เป็นเทพวราวุธของพระอิศวรมีรูปเป็นวงกลม อย่างวงล้อและมีแฉกโดยรอบ ๙ แฉก เวียนไปทางขวาเป็น ทักษิณาวัตร ซึ่งหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงอธิบายว่า เป็นศาตราวุธของพระนารายณ์ ตำราเก่าเล่าความเป็นมาและความศักดิ์สิทธิ์ของ ?จักร? ไว้เป็นใจความว่า

?พระอิศวรทรงสร้างเทวดานพเคราะห์ขึ้น ๙ องค์ คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระเสาร์ พระพฤหัสบดี พระราหู พระศุกร์ และพระเกตุ ให้อยู่ในวิมาน ๙ วิมาน มีหน้าที่ตระเวนรอบจักรราศี ซึ่งแบ่งออกเป็น ๑๒ ราศี โดยเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปตามลำดับนับตั้งแต่พระอาทิตย์ไปจนพระเกตุ และเทวดานพเคราะห์นั้นอาจบันดาลให้มนุษย์ประสบผลดีผลชั่วได้ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นจักราวุธของพระอิศวร และถูกจำลองมาเป็นจักรมี ๙ แฉก แยกตามลำดับดาวนพเคราะห์ เช่น แฉกที่ ๑ พระอาทิตย์ แฉกที่ ๒ พระจันทร์ เรียงลำดับไป ดังนั้นผู้ที่ต้องการบำบัดทุกข์ภัยที่เกิดขึ้น จึงประกอบพิธีกรรมบวงสรวงเทวดา และนำจักร ๙ แฉกซึ่งถือว่าเป็นเทพวราวุธของพระอิศวร จัดเป็นสิ่งมงคล แทนเทวดาทั้ง ๙ เข้าร่วมในพิธีกรรม?




 

ธงชัย หรือธงชาย เหตุที่เรียกว่า ?ธงชัย? หมายถึง ธงอันจะนำมาซึ่งชัยชนะ เป็นธงที่นำกองทัพ ส่วนที่เรียกว่า ธงชาย นั้นเพราะรูปลักษณะเป็น ธงสามเหลี่ยม มีชายห้อยลงมาเป็น ๓ ชาย ชายหนึ่งหมายถึงพระอิศวร ชายหนึ่งหมายถึง พระนารายณ์ และอีกชายหนึ่งหมายถึงพระพรหม ธงดังกล่าวนี้เป็นธงนำกองทัพเทวดา ยกออกไปรบยักษ์ และได้ชัยชนะเป็นประจำ ธงชายจึงมาเป็นธงชัย ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของธงชัยไปบ้าง ดังธงชัยประจำกองทัพ กองพัน ธงประจำองค์พระมหากษัตริย์ในการเสด็จพระราชดำเนินขบวนพยุหยาตรา ธงชัย หรือ ธงชาย จึงเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งอันเป็นมงคลประการหนึ่ง




 

ขอช้าง เป็น เทพวราวุธของพระพิฆเณศวร ซึ่งเป็นโอรสของพระอิศวร ขอช้างได้รับความนับถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งมงคลนั้น ตำราเล่าว่า ?ในป่าหิมพานต์ ครั้งหนึ่งเกิดมีช้างพลายเชือกหนึ่งชื่อ เอกทันต์ เป็นช้างที่ดุร้ายมีฤทธิ์มากเที่ยวสร้างความเดือดร้อนให้เทวดาและมนุษย์จนอยู่ไม่เป็นสุข ไม่มีใครปราบได้ พระอิศวรจึงทรงมีบัญชาให้พระนารายณ์ลงมาปราบ ช้างเอกทันต์พยายามหลบหนีเพราะรู้ตัวดีว่าสู้ไม่ได้ พระนารายณ์ตามไปจนพบ และทรงใช้บ่วงบาศคล้องเอาช้างเอกทันต์ไว้ได้ แต่เกิดปัญหาว่าบริเวณที่จับช้างได้นั้น เป็นทุ่งกว้างโล่ง ไม่มีต้นไม้หาที่ผูกช้างไม่ได้ ในที่สุดจึงทรงปักตรีศูลอันเป็นเทพศาตราวุธลงไปในดิน แล้วตรัสสั่งให้เทพศาตราวุธนั้นเป็นต้นไม้ใหญ่ ทันใดนั้นเทพศาตราวุธก็กลายเป็นต้นมะตูมใหญ่ จึงทรงผูกช้างไว้กับต้นมะตูมทรมานจนช้างคลายพยศ แล้วเสด็จขึ้นทรงพร้อมกับหักกิ่งมะตูมอันเป็นหนามมาทำเป็นขอช้าง บังคับนำช้างไปเฝ้าพระอิศวร และต่อมา พระนารายณ์ก็ทรงมอบขอช้างนั้นแก่พระพิฆเณศวร เป็นเทพอาวุธประจำพระองค์ดังกล่าวแล้ว ดังนั้นไม้มะตูมจึงถือว่าเป็นมงคล มักจะนำใบมะตูมใส่ลงไปในน้ำมนต์หรือรดน้ำมนต์แล้วก็เอาใบมะตูมทัดหู ด้วยถือว่าเป็นสิริมงคลเหมือนกับขอช้าง?




 

โคอุสภะ บางแห่งเรียกว่า โคอุสภราช เป็นพาหนะของพระอิศวร ดังนั้นเมื่อจะทำการมงคลใดๆ จึงนิยมเอามูลโคมาเจิมที่หน้าผากเพื่อให้เกิดสิริมงคล แต่เมื่อประเพณีดังกล่าวแพร่มาถึงเมืองไทยได้เปลี่ยนแปลงมูลโคเป็นแป้งกระแจะละลายในน้ำหอมแทน เหตุที่เจิมตรงหน้าผาก ก็เพราะเชื่อว่าที่หน้าผากนั้นเป็นที่อยู่ของสิริประจำตัวมนุษย์ทุกคน หรือบางท่านกล่าวว่าตรงหน้าผากเป็นที่สถิตของดวงตาที่ ๓ ของพระอิศวร จึงเจิมตรงนั้นให้เป็นสิริมงคลหรือเป็นสัญลักษณ์ของมงคลอย่างหนึ่ง




 

หม้อน้ำ ถือกันว่า พระอุมาซึ่งเป็นมเหสีพระอิศวร ทรงเลี้ยงโลกมาด้วยน้ำนมจากพระถันยุคล จึงจำลองมาเป็นหม้อน้ำมนต์ หรือครอบน้ำมนต์ มีน้ำเต็ม บางแห่งเรียกว่าเต้าน้ำมนต์ และใน หม้อน้ำมนต์ หรือครอบน้ำมนต์ แม้บาตรน้ำมนต์ก็มักจะใส่สิ่งอันเป็นมงคล คือ ใบทอง ใบเงิน ใบนาค ใบพรหมจรรย์ ฝักส้มป่อย หญ้าแพรก ผิวมะกรูด และใบมะตูม หรือจะใช้ดอกบัว ลอยแทนก็ได้ จะลอย ๕ ดอก ๓ ดอก หรือดอกเดียวก็ได้ตามขนาดของที่บรรจุน้ำมนต์ การใช้ดอกบัวลอยเป็นอีกคติหนึ่ง คือ สมมุติว่าน้ำนั้นได้มาจากสระโบกขรณี หม้อน้ำมนต์ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งสิ่งอันเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งอย่างหนึ่ง ดังจะเห็นได้ว่าการทำบุญส่วนใหญ่มักจะมีหม้อน้ำมนต์ หรือครอบน้ำมนต์ตั้งอยู่ด้วยเสมอ ไทยเราสมัยโบราณ มักจะมีหม้อใส่น้ำเต็มตั้งไว้หน้าพระในห้องพระเสมอ และนำน้ำนั้นมาล้างหน้า โดยถือว่าเป็นน้ำมนต์เพราะก่อนนอนคนไทยมักจะสวดมนต์ไหว้พระเสมอ

เรื่องมงคล ๘ ประการ เป็นคติความเชื่ออันเกิดจากศาสนาพราหมณ์ แต่ยังเป็นความเชื่อที่พุทธศาสนิกชนนิยมนับถืออยู่ และถือว่าจะบันดาลให้ตนมีความสุข


154
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / คาถา108
« เมื่อ: 01 มี.ค. 2550, 10:47:32 »

เรียกอาคมเข้าร่าง

เอหิคาถังปิยังกาโย ทิศาปาโมกขังจาริยัง เอหิพุทธานุภาเวนะ เอหิธัมมรานุภาเวนะ เอหิสังฆานุภาเวนะ กูจะสูบพระคาถาทั้งปวงขึ้นไว้ในคอ กูจะยอพระคาถาทั้งปวงขึ้นไว้เหนืออก กูจะยกพระคาถาทั้งปวงขึ้นไว้เหนือเกศ พระครูกู เธอจึงให้กูเป็นเอกกว่าคนทั้งหลาย เอหิคลาย ๆ ปิยังมะมะ

พุทธังสรหิโสมาเรสะระ เอหิมาเรมาระ อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ ธัมมัง สรหิโสมาเรสะระ เอหิมาเรมาระ อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ

สังฆังสรหิโสมาเรสะระ เอหิมาเรมาระ อาคัจฉะยะ อาคัจฉาหิ

กะ ขะ คะ ฆะ งะ จะ ฉะ ชะ ฌะ ญะ

ฏะ ฐะ ฑะ ฒะ ณะ ตะ ถะ ธะ ทะ นะ

ปะ ผะ พะ ภะ มะ ยะ ละ ระ อะ สะ หะ ฬะ อัง

ทรง อะ ทรงอา ทรงอิ ทรงอี ทรงอุ ทรงอู ทรงเอ ทรงโอ ทรงเอา ทรงอัง ทรงอะ ทรงนะโมพุทธายะ ทรงอักขระ ๔๑ ตัว โอกาเสติฎฐาหิ ติฏฐติ

ตั้งธาตุ

เอหิ ปฐวี พรหมา เอหิอาโปอินทรา

เอหิ เตโช นารายะ เอหิวาโย อิสรา

นะอิเพชชคง อะระหัง สุคะโต ภควา

โมติ พุทธะสัง อะระหัง สุคะโต ภควา

พุทธปิอิสวาสุ อะระหัง สุคะโต ภะคะวา

ธาโส มะอะอุ อะระหัง สุคะโต ภะคะวา

ยะภะอุอะมะ อะระหัง สุคะโต ภะคะวา


รวมพระคาถาอาคม

บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก (1)

เปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก มีคำกล่าวในหนังสือว่าผู้ใดมีไว้ประจำบ้านเรือน มีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลก ถ้าผู้ใดสวดมนต์ภาวนาทุกค่ำเช้าแล้วผู้นั้นจะไม่ตกอบายภูมิ แม้ว่าได้บูชาไว้กับบ้านเรือนก็ป้องกันอันตรายต่างๆ จะภาวนาคาถาอื่นสัก ๑๐๐ ปี อานิสงส์ก้ไม่เท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่า อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์จะเนรมิตรแผ่นอิฐเป็นทองคำก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนุษย์โลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้ และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้นอีกหลายประการฯ

๑. อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวาฯ อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวาฯ อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวาฯ อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวาฯ อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวาฯ

๒. อะระหันตังสะระณังคัจฉามิ อะระหันตัง สิระสา นะมามิ สัมมาสัมพุทธังสะระณังคัจฉามิ สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ วิชชาจะระณะสัมปันนังสะระณังคัจฉามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ สุคะตังสะระณังคัจฉามิ สุคะตัง สิระสา นะมามิ โลกะวิทังสะระณังคัจฉามิ โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

๓. อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวาฯ อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวาฯ อิติปิโส ภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวาฯ อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวาฯ

๔. อะนุตตะรังสะระณังคัจฉามิ อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ ปุริสะธัมมะสาระถิ สะระณังคัจฉามิ ปุริสะธัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ สัตถาเทวะมุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ สัตถาเทวะมนุสสานัง สิระสา นะมามิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ พุทธัง สิระสา นะมามิ

๕. อิติปิโส ภะคะวา รูปักขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ อิติปิโส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ อิติปิโส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ อิติปิโส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวาฯ

๖. อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวีจักกะวาฬะจาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสาธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะจาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะจาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาธิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะจาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะจาตุมะหาราชิกา ตะวะติงสา ธาตุสัมมาทิยสนะสัมปันนโนฯ

๗. อิติปิโส ภะคะวา ยามา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโส ภะคะวา นิมมานะระติ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโส ภะคะวา รูปะวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ


พระคาถาชินบัญชร







ชะยาสะนากะตา พุทธา
 เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
 
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง
 เย ปิวิงสุ นะราสะภา
 
ตัณหังกะราทะโย พุทธา
 อัฎฐะวีสะติ นายะกา
 
สัพเพ ปะติฎฐิตา มัยหัง
 มัตถะเก เต มุนิสสะรา
 
สีเส ปะติฎฐิโต มัยหัง
 พุทโธ ธัมโม ทะวิโรจะเน
 
สังโฆ ปะติฎฐิโต มัยหัง
 อุเร สัพพะคุณากะโร
 
หะทะเย เม อะนุรุทโธ
 สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
 
โกณฑัญโญ ปิฎฐิภาคัสมิง
 โมคคัลลาโน จะ วามะเก
 
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง
 อาสุง อานันทะราหุโล
 
กัสสะโป จะ มะหานาโม
 อุภาสุง วามะโสตะเก
 
เกสะโต ปิฎฐิภาคัสมิง
 สุริโย วะปะภังกะโร
 
นิสินโน สิรสัมปันโน
 โสภิโต มุนิปุงคะโว
 
กุมาระกัสสะโป เถโร
 มะเหสี จิตตะวาทะโก
 
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง
 ปะติฎฐาสิ คุณากะโร
 
ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ
 อุปาลี นันทะสีวะลี
 
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา
 นะลาเต ตีละกา มะมะ
 
เสสาสีติ มะหาเถรา
 วิชิตา ชินะสาวะกา
 
เอเตสีติ มะหาเถรา
 ชิตะวันโต ชิโนระสา
 
ชะลันตา สีละเตเชนะ
 อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
 
ระตะนัง ปุระโต อาสิ
 ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
 
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ
 วาเม อังคุลิมาละกัง
 
ขันธะโมระ ปะริตตัญจะ
 อาฎานาฎิยะสุตตะกัง
 
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ
 เสสา ปาการะสัณฐิตา
 
ชินา นานาวะระสังยุตตา
 สัตตัปปาการะลังกะตา
 
วาตะปิตตาทิสัญชาตา
 พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
 
อะเสสา วินะยัง ยันตุ
 อะนัตตะชินะเตชะสา
 
วะสะโต เม สิกิจเจนะ
 สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
 
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ
 วิหะรันตัง มะหีตะเล
 
สัทธา ปาเลนตุ มัง สัพเพ
 เต มะหาปุริสาสะภา
 
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
 ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
 
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค
 สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
 
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต
 จะรามิ ชินะปัญชะเรติฯ
 


 

คาถารักแท้
โอมนะโมพุทธายะ พุทธัง สะระติ ธัมมัง สะระติ สังฆัง สะระติ
จิตตังสะมาเรมะมะเอทิ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
(ให้บริกรรมคาถานี้กับลูกอมแล้วอมขณะที่คุยกับคนที่เรารัก จะทำให้เขาคนนั้นเกิดความรักจริงจังขึ้นมา)

คาถาปลุกใจ
ปัจจะมัง สิระสัง ชาตัง นะอดทน นะกาโร โหติสัมภะโว
นะรานะระหิตัง เทวัง นะระเทเวหิจชิงตัง นะรานังกามะปังเกหิ
นะมามิสุคะตังนัง กัณหะ เนหะ
(ใช้ท่องเมื่อต้องเผชิญกับความห่อเหี่ยว หมดกำลังใจ
จะได้ช่วยเพิ่มพลังให้มีกำลังใจและกายต่อสู้กับปัญหาต่างๆ)

คาถาปลุกพระ(ขุนแผน)
ตั้งจิตให้นิ่งก่อนอาราธนา
สุนะโมโล มะยังภันเต นะโมพุทธายะ มะอะอุ อุอะมะ โลโมนะสุ มะอะอุ สุนะโมโล

คาถานะจังงังมหาเมตตา

นะจังงัง สะกดใจคน คาถาบทนี้ต้องจุดธูป 9 ดอกขณะท่องคาถา เเล้วเสกเป่าไส่เครื่องแป้งหอม
นำมาผัดหน้าทาตัวเพื่อไห้เป็นมงคล เพื่อไห้ดลบันดาลด้านเสน่เมตตา ให้คนรักคนหลง
ให้คนนิยมชมชอบในยามเเรกเห็น หรือจะเสกไส่น้ำ ไส่ขนมหวาน ให้คนที่หมายปองดื่มกิน ก็ดีนัก
นะหลง นะไหล
นะจับจิต นะจับใจ
พิสมัยในมหานะ ระจุติ
ปฏิสนธิ บังเกิดเป็นนะ
อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ
ติวัตตัพโพ
เอหิจิตตัง ปิยะมะมะ

คาถามหาละลวย คาถาเก่าแก่

นะมหาละลวย
ท่องคาถานี้ 5 จบเสกเป่าใส่เครื้อ่งดื่ทน้ำหรือขนมหวาน ให้คนที่ถูกเอ่ยชื่อในคาถานี้กิน
คนโบราณเชื่อถือกันนักว่า เมื่อเขาหรือเธอ กลับบ้านเเล้ว ในใจจะมีเเ่ใบหน้าคุณลอยวนเวียนอยู่ตลอดเวลา
ในใจจะโหยหามิเป็นอันอยุ่นิ่งได้ ต้องการหาทางกลับมาพบหน้าคุณอีกครา
นะ ละลวย หันตะวา
โม เมามัว
พุท พาตัว (ชื่อคนที่คุณรัก)มาหาหู
ทา สมสู่
ยะ อยู่ด้วยกันจนตาย
นา สังสิโม สังสิโมนา
สิโมนาสัง โฆนาสังสิ

มหาละลวย(ฉบับขุนแผน)
โอม ละลวย มหาละลวย ชายเห็นชายงวย หญิงเห็นหญิงหลง มึ...งเห็นหน้ากูก็ให้งวยงงหลงใจรัก จะ ภะ กะ สะ
ทั้งฝูงชนมาพะวักพะวงหลงรักใคร่ จะ ภะ กะ สะ กูจะมารำลึกถึง เจ้าไทยก็ลืมสวาทรัก จะภะ กะ สะ
กูจะคิดสาวแท้ๆ ก็มาลืมทั้งแม่ทั้งพ่อ จะ ภะ กะ สะ พะวักภวังค์ให้จิตมันคลุ้มคลั่งตะลึงหลง จะภะ กะ สะ
โอมพระพายเจ้าอ๋ย จงชักนำอีนั่นมา จะภะกะสะ หาละลวยงวยงงจงใจรักกูแห่งกู จะ ภะ กะ สะ
ช้างอยู่ในป่าหลงรักกู กูก็มาลืมลม จะ ภะ กะ สะ ผมอยู่ในหัวก็มาลืมเกล้า จะ ภะ กะ สะ
ข้าวอยู่ในคอก็มาลืมกลืน สะอึกสะอื้นมาหากู จะ ภะ กะ สะ คิดถึงกูทนอยู่มิได้ อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ
อาคัจฉาหิ อาคัจฉายะ

บูชาพระสยามเทวาธิราช

ธูป ๙ ดอก ตั้งนะโม ๓ จบ

พระสยามิน ทะโร วะโร อัตตัง พุทธังสังมิ อิติ อรหัง
วะรังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปิโยเทวา มนุสานัง
ปิโย พรหมานะ นุตตะโม ปินัน ทวิยังนะมามิหัง
ศิริประสุประตินาถ

อธิฐานตามความประสงค์ ของผู้บูชา

"คาถาบูชาฤาษีตาไฟ"
พระฤาษีองค์นี้ก็มี 3 ตา เช่นเดียวกัน ท่านมีอำนาจและมหิทธิฤทธิ์มากมาย
จนกระทั่งไม่มีใครกล้าแหยม ตาที่ 3 ของท่านที่อยู่บนหน้าผาก
เช่นเดียวกับพระอิศวร (ศิวะ) ท่านก็จะหลับสนิทตลอดเวลา
ถ้าหากว่าเผลอเผยอเปลือกตาที่ 3 นั้นออก ลืมขึ้นมาในครั้งใดก็ครั้งนั้นแหละ
สิ่งที่อยู่ตรงหน้าของท่านก็ต้องมอดไหม้กลายเป็นจุลมหาจุลลงไปในที่สุด
ด้วยประกายไฟอันแรงกล้าจากสายตาที่ 3 ของท่าน
แต่ในด้านอุปนิสัยของพระฤาษีตาไฟนี้ ท่านมีนิสัยดุมาก เสียงดัง
แต่ส่วนภายในนั้นสิ ไม่มีใครที่จะใจดีเหมือนกัน
ท่านชอบช่วยเหลือผู้อื่น ชอบเสริมสร้างในด้านทานบารมี พูดกันง่าย ๆ
ก็จะเข้าทำนองที่ว่า ปากร้ายใจดี หากใครประสงค์ที่จะให้ท่านช่วยเหลืออะไร
ก็ควรที่จะใช้ดอกไม้ธูปเทียนเคารพบูชาสักการะต่อท่าน
แล้วจะบนบานอย่างไร ก็จงตั้งใจบอกกับท่านไปตามตรงสิ่งที่ไม่ผิดวิสัย
ไม่เหลือวิสัย ท่านก็อาจที่จะต้องช่วยให้เราสำเร็จผลนั้น ๆ ได้
ด้วยความเอื้ออารีของท่าน จึงได้รับฉายาใหม่ว่า "พระฤาษีเนตรอัคคี


155
บทความ บทกวี / ฮวงจุ้ย
« เมื่อ: 01 มี.ค. 2550, 03:41:45 »
   
 
   

 

การเลือกคอนโดฯ
 

 

 คอนโดรูปตัวแอล
- หากจะเลือกซื้อห้องชุดในคอนโดที่เป็นรูปตัวแอล ควรเลือกห้องที่อยู่ทางด้านฐานของตัวแอลจึง
จะดี แต่ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาคารรูปตัว แอลเป็นลักษณะที่ปราศจาก
พลังงานแห่งโชคลาภ
 

 

 คอนโดรูปตัวยู
- คอนโดที่มีรูปทรงคล้ายตัวยู ก็ถือว่าเป็นลักษณะที่ไม่ให้คุณนัก แต่ถ้าจำเป็นต้องเข้าอยู่อาศัย
ขอให้พยายามเลือกห้องที่อยู่ทางด้านส่วนฐานของตัวยู อย่าเลือกห้องที่อยู่ทางฝั่งปีกทั้งสอง
 

 

 ตึกไร้บารมี
ตึกแถวหรือคอนโดที่ตั้งอยู่โดดๆ กลางพื้นที่ว่างไม่มีตึกอาคารอื่นๆ มาตั้ง อยู่ใกล้เคียงอาจดูดี
เพราะไม่มีตึกอื่นบาบดบังทิศทางลมและทัศนียภาพ
- แต่ความจริงแล้วอาคารสูงในลักษณะดังกล่าวบ่งบอกถึงลักษณะแห่งความไร้อำนาจบารมี
ผู้เข้าอยู่อาศัยจะได้รับพลังแห่งความโดดเดี่ยว ทำสิ่งใดมักมิได้รับความสนับสนุนและร่วมมือ
อย่างที่ควร
 

 

 ความสูงของตึกข้างเคียง
- ถ้ามีคอนโดหรือตึกแถวอยู่แวดล้อม ต้องสังเกตด้วยว่าความสูงของตึก อาคารในบริเวณข้างเคียง
นั้นเป็นอย่างไรบ้าง
- ตึกข้างหลังหากสูงกว่าตึกของเราถือว่าดี เพราะเปรียบเสมือนมีภูเขาสูง ด้านหลังเป็นที่พึ่งพิง
- ตึกทางด้านซ้าย-ขวาที่ขนาบตึกของเราอยู่ ควรมีความสูงเท่ากัน เพื่อเปรียบเสมือนมีผู้คุ้มกัน
เมื่อเข้าอยู่อาศัยแล้ว จะทำสิ่งใดก็ประสพความสำเร็จ ตึกทางซ้ายหากมีความสูงกว่าตึกทางขวา
ก็มิเป็นไร แต่ถ้าตึกขวามือสูงกว่าถือว่าไม่ดี
 

 

 คอนโดหลายอาคาร
- คอนโดมิเนียมบางแห่งเป็นอาคารหลายหลังอยู่ในบริเวณเดียวกันและมีความสูงเท่าๆ กันหมด
การเลือกซื้อห้องชุดขอให้เลือกคอนโดหลังที่อยู่ ตรงกลาง โดยมีอาคารหลังอื่นๆ ขนาบข้างเป็น
บริวาร
- หากไม่สามารถเลือกหลังกลางได้ ให้เลือกหลังใดก็ได้ที่อาคารอื่นๆ ขนาบ ข้างเสมือนบริวาร
ควรหลีกเลี่ยงหลังแรกสุดกับท้ายสุด
 

 

 รูปทรงคอนโด
- ถ้าไม่สามารถหารูปทรงคอนโดที่เหมาะสมกับธาตุกำเนิดได้ก็ขอให้เลือกคอนโดรูปสี่เหลี่ยม
ผืนผ้า ซึ่งเป็นรูปทรงของอาคารสูงทั่วๆ ไป นั้นเอง
- ข้อสำคัญคือ อย่าเลือกคอนโดรูปทรงแปลกๆ แม้ว่าจะดูสวยหรือทันสมัยเพียงใดก็ตามแต่
รูปทรงแปลกๆนั้นล้วนแต่มิใช่ลักษณะที่ให้โชคลาภแต่ อย่างใด
- หลีกเลี่ยงรูปทรงเว้าๆ แหว่งๆ รูปทรง 6 เหลี่ยม 8 เหลี่ยม เหมาะกับ สถานที่ราชการหรือ
โรงแรม ตัวอาคารควรเต็มทุกเหลี่ยมทุกมุม เพื่อให้ เกิดความมั่นคงและสงบสุขในการอยู่อาศัย
 

 

 ห้องเสียเงิน
- หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อหรือเข้าอยู่อาศัยในห้องที่อยู่ในแนวหันหน้าเข้ารับ ลิฟท์หรือบันไดขึ้น-ลง
ห้องในลักษณะนั้นจะส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยมีแต่เรื่อง เสียเงินทอง แม้ว่าจะหาได้มากก็หมดเปลือง
มากตามไปด้วย
 
 
 

 ห้องมั่นคง
- ถ้าเลือกห้องที่อยู่ตำแหน่งกลางตัวอาคารได้จะเป็นมงคลดีในด้านความมั่นคงต่อเรื่องเงินทอง
อาชีพการงานและสภาพความเป็นอยู่ หากแถวหนึ่งมีห้องจำนวน 10 ห้อง ก็ควรเลือกอยู่ห้องที่ 5
และ 6 ถ้ามี 8 ห้องใน 1 แถว ห้องที่ดีคือ ห้องที่4 >และ 5 เป็นต้น
 

 

 ห้องมงคล
- ห้องที่อยู่อาศัยแล้วจะมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งขึ้น คือ ห้องที่หันหน้า ออกไปทางด้านหน้า
อาคาร คือประตูของห้องตั้งอยู่ในแนวทางเดียวกับประตูทางเข้าอาคารนั่นเอง
- ผู้ที่เลือกห้องซึ่งมีประตูหันไปด้านหลังอาคารหรือทางด้านข้างจะไม่ได้รับโชคลาภและความสุข
สงบนักในการอยู่อาศัย เพราะมิได้รับพลังงานที่ดี ซึ่งจะเข้ามาทางด้านหน้า
 

 

 ห้องอับโชค
- หลายท่านชอบเลือกห้องมุมซึ่งดูสงบและเป็นส่วนตัวดี ไม่มีผู้คนเดิน ผ่านหน้าห้องมากมาย
ให้รำคาญใจ แต่ที่แท้แล้วห้องมุมสุดของช่องทาง เดินเป็นห้องที่มิได้ให้โชคลาภใดๆ เลย เข้าอยู่
อาศัยแล้วมีแต่จะพบอุปสรรค และอาภัพโชคร่ำไป (หากมีช่องหน้าต่างใหญ่ๆ อยู่ที่ผนังสุดทางเดินก็พอช่วยบรรเทาอุปสรรคได้ แต ่ก็ยังไม่ดีนัก )
 
การดูฮวงจุ้ยภายในห้องชุด
 
   

 ลักษณะอับโชค
 - ประตูห้องไม่ควรอยู่ตรงกันพอดีกับห้องฝั่งตรงข้าม
 - อย่าเลือกห้องที่อยู่มุมสุดทางเดิน
 - อย่าเลือกห้องที่อยู่ใกล้ช่องทางทิ้งขยะ
 - ประตูห้องหันหน้ารับลิฟท์หรือบันไดถือว่าไม่ดี
 - เปิดประตูเข้าไปไม่ควรเห็นห้องน้ำอยู่ทางหน้าห้อง
 - ห้องครัวหรือเคาน์เตอร์ทำครัว ไม่ควรอยู่ค่อนมาทางด้านหน้าห้อง
 - ประตูห้องน้ำหันชนกับประตูห้องนอนหรือปลายเตียงถือว่าไม่ดี
 - ตำแหน่งที่ตั้งเครื่องเตาและกระทะไม่ควรอยู่ใกล้กับก๊อกน้ำ
 - ห้องนอนไม่มีหน้าต่างไม่ได้
 - อย่าเลือกห้องที่อยู่ฝั่งปีกด้านใดด้านหนึ่งของตัวอาคาร
 - อย่าเลือกห้องที่ยื่นลอยอยู่ในอากาศโดยไม่ได้อยู่บนตัวอาคารที่ก่อสร้างมีฐานยึดอยู่กับพื้นดิน
 - มุมทำครัวไม่ควรอยู่หน้าห้องน้ำ
 - หลีกเลี่ยงห้องที่อยู่ใต้แท๊งก์น้ำขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ชั้นบนของห้องนั้น
 - เปิดประตูห้องเข้าไปไม่ควรเห็นเตียงตั้งโดดเด่นรับตาคน ให้หาม่านหรือตู้มาตั้งบังตาเสีย
 

 ลักษณะส่งเสริมโชคลาภ
 - ประตูห้องหันหน้าออกไปในทิศทางเดียวกับประตูใหญ่เข้าตัวอาคาร
 - ห้องน้ำอยู่ทางส่วนด้านหลังของห้อง
 - เป็นห้องที่อยู่กลางๆ ของแถวเดียวกัน มีห้องบริวารซ้ายขวาขนาบด้วย
 - มีม่านหรือฉากหรือตู้-ชั้น กั้นบริเวณต่างๆ ให้เป็นสัดส่วน ในกรณีที่ เป็นห้องเดียวมิใช่ห้องชุด
 - กั้นส่วนที่เป็นมุมครัวและเตียง อย่าให้มองเห็น ได้ถนัดชัดเจนทุกๆ มุมในห้อง
 - ปลูกต้นไม้ใส่กระถางไว้ที่ระเบียง
 - มีส่วนของหน้าต่างอยู่พอเพียงและสมดุลกับขนาดของห้อง
 - บริเวณหรือมุมทำครัวอยู่ส่วนด้านหลังของห้อง มิใช่ด้านหน้า
 - มองจากหน้าต่างออกไปเห็นวิว ทิวทํสน์ที่ดี มิใช่มองเห็นทุ่งรกร้าง สุสาน วัด หรือโรงพยาบาล
 


 ห้องครัว
 - มุมที่จัดแต่งเป็นมุมทำครัวควรอยู่ด้านหลังของห้อง อย่าจัดวางในส่วน ด้านหน้าห้อง เมื่อเปิด
  ประตูเข้ามาแล้วเห็นมุมครัวเลยถือว่าไม่ดี ทำให้สุขภาพอ่อนแอ เงินทองรั่วไหลได้ง่าย
 - หากไม่สามารถโยกย้ายได้จริงๆ ก็อาจหาฉากหรือชั้นมาตั้งเพื่อกั้นบังตาไว้เป็นการแก้เคล็ด
 - ตั้งวางเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ไว้ชิดผนังด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้เกิดความมั่นคงในฐานะการเงิน
  และอาชีพการงาน อย่าตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ไว้บนโต๊ะที่โล่งว่าง
 - มุมที่จัดวางเตาและกระทะต่างๆ ไม่ควรชิดผนังห้องน้ำ ลักษณะเช่นนั้นจะบั่นทอนสุขภาพ
  และมีผลกระทบต่อเรื่องเงินทองด้วยเช่นกัน
 - ซิงก์ล้างจานอย่าจัดวางให้ชิดกับเตาไฟหรือที่ปรุงอาหารซึ่งเป็นไฟ จะทำให้ทรัพย์สินเงินทอง
  มีปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักสามี-ภรรยาก็จะกระทบกระทั่งกันจนร้าวฉานได้ในที่สุด
 
ขึ้นบน  up                      หน้าแรก ฮวงจุ้ย
 

156
 การเล่นพระเครื่อง ถือว่าเป็นการสะสมสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง สำหรับ
ไว้กราบไหว้บูชาและใช้เป็นเครื่องป้องกันภัยภยันตรายต่างๆ และ
ผู้ที่สนใจถึงขั้นสุดยอดแล้ว ท่านผู้นั้นจะเป็นผู้มีความสันโดษ เป็น
ผู้สุขุมรอบคอบ มีเหตุผล และใช้ความรู้ความมั่นใจ ตัดสินใจด้วย
ความแน่แน่ เป็นผู้ที่เยือกเย็นมองเห็นชีวิตว่าเป็นอย่างไร ไม่เอะอะ
โวยวายเมื่อผิดพลาด

ท่านพึงระลึกไว้เสมอว่า ความรู้นั้นมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มพูนใหม่ๆ
อยู่เสมอแม้แต่พระเครื่องเองก็มีของใหม่ของดี เพิ่มเติมออกมาใหม่เสมอ
ที่จะเป็นนักเลงพระจะต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจ ศึกษาดูจากของจริง อ่านจาก
ตำราต่างๆ ที่มีการรวบรวมอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยท่านได้อย่างมากมาย
การที่ท่านรู้จักของจริงนั้น จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้ว่าในวันหนึ่งข้างหน้า
ท่านจะพบและได้สิ่งนั้นในราคาไม่แพงนัก




บัญญัติ ๑๐ ประการของนักเลงพระ มีดังนี้


๑. ใจเย็น ผู้ที่เล่นพระควรจะเป็นผู้ที่ใจเย็นไม่งกอยากได้ของๆ เขา จนมองไม่เห็นว่าอะไรไม่สมควร การรีบร้อนจนเกินไป บางทีอาจมีการผิดพลาดได้ง่าย การเป็นผู้รู้อะไรไม่ควรนั้นนักเลงพระจะต้องมีอยู่ในใจ


๒. เล่นซื่อ นักเลงพระควรมีคุณธรรมประจำใจ ไม่โกหกเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นจนเกินไป ของแท้ควรบอกว่าแท้ การเอาของเทียมไปหลอกว่าแท้นั้น ไม่กี่วันก็จะต้องมีผู้รู้จนได้ เพราะของจริงนั้นย่อมเป็นของจริงอยู่ตลอดไป


๓. มือถือ นักเลงพระที่ดีจะต้องมีความรู้ ดูเป็นรู้ราคาของนั้นดีเลว มีราคาค่างวดเพียงไร เมื่อเห็นต้องบอกได้ว่าพระนั้นอยู่ในขั้นหรืออยู่ในระดับใด มีความรู้พอไม่เป็นเหยื่อของนักหลอกลวงได้ง่ายๆ


๔. ตรึงราคา จงรู้ว่าของแท้นั้นมีราคาค่างวดอย่างไร ของที่ดีของที่สวย เมื่อจะปล่อยก็จงสืบให้รู้ว่าราคามีอย่างไร และในการบูชาก็จงสู้ให้ถึงราคา จงจำไว้ว่า ของที่สวยของที่แท้และงดงามนั้นราคาจะสูงและนับวันราคาจะสูงขึ้นเรื่อยๆ


๕. ไม่บ้าลม นักเล่นที่ดีจงเล่นด้วยตา เล่นด้วยความมีสติรอบคอบรู้ถึงสภาพความเป็นจริงถึงอายุ สมัยและชั้นของพระ อย่าฟังคนขายเพ้อพกโกหกปั้นน้ำเป็นตัวหลอกลวงยัดเยียดของที่ไม่ถึงให้


๖. อย่านิยมถ้าสงสัย การบูชาพระจงต้องรู้ถึงเนื้อของพระ รู้ถึงสมัยของพระและจะต้องศึกษาดูของเก๊และของที่ทำออกมาใหม่ๆ อยู่เสมอ พระใดที่สงสัยแล้วควรจะตัดใจเสียทันที เพราะเท่าที่เคยผ่านมา พระเก๊นั้นเราจะรู้ทันทีเมื่อแรกเห็น หากเรากลับเปลี่ยนใจมาจับมักจะพลาดเสมอ


๗. คิดหนทางไกลดีกว่าใกล้ การเล่นพระเราเล่นเพื่อความสุขใจ มิใช้เล่นเพื่อเป็นอาชีพ เราเล่นเพื่อรู้จักคุ้นเคยกัน ฉะนั้นบางครั้งก็มีควรจะมีการผ่อนสั้นผ่อนยาวให้กันบ้าง การที่ยอมเสียเปรียบให้กันและกันบ้างเล็กๆ น้อยๆ นั้นควรมีอยู่เสมอ การเล่นนั้นไม่แน่นักว่าใครจะได้เปรียบกัน ตราบใดที่เรายังสนใจอยู่นั้น เราก็ยังมีโอกาสได้ของดีอยู่เสมอ


๘. หัวอ่อนไม่ถือตัว พึ่งระลึกไว้เสมอว่าไม่มีใครรู้จักพระทุกอย่างหมด แต่ผู้ที่เล่นมาก่อน ผู้ที่เคยเดินทางรู้มากก็เห็นมาก ย่อมีภาษีดีกว่า ฉะนั้นเมื่อเราไม่รู้ควรจะปรึกษาหาความรู้จากท่านเหล่านั้น โดยตีตัวเสมอศิษย์ ไม่อวดดีจนเขาเขม่นไม่อยากให้คำแนะนำ


๙. กล้าไม่กลัวถ้าของแท้ ในชีวิตของการเล่นพระ ท่านจะมีโอกาสเสมอที่จะพบของแท้ ของสวย เมื่อท่านพบจงตัดสินใจแลกเปลี่ยน หรือบูชา แม้ว่าราคาจะสูงก็ตาม แต่ของนั้นจะมีราคาสูงยิ่งขึ้นอีกเมื่อเวลาผ่านไป ฉะนั้นจงตัดสินใจกล้าสู้ แล้วท่านจะมีของแท้ไว้ใช้กับตัว


๑๐. ใจแน่วแน่ถ้าจับผิด นักเลงทุกคนมีโอกาสจับผิดอยู่เสมอ เมื่อท่านจับผิดไม่ควรเอะอะโวยวายหรือเสียใจ เพราะของที่ท่านชอบนั้น ก็ยังมีผู้อื่นที่รู้น้อยกว่าท่านชอบอยู่เช่นกัน ไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่งท่านย่อมมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนไป


จากข้อคิดทั้ง ๑๐ ประการข้างต้น คงจะให้แนวความคิดแก่ท่านที่สนใจไม่มากก็น้อย ถ้าเราคิดว่าชีวิตคือการต่อสู้แล้ว การเป็นนักเลงพระเครื่องท่านมีโอกาสได้ต่อสู้อย่างเต็มที่ ท่านจะต้องใช้ความรู้ สติปัญญา ความรอบคอบสุขุม และสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ เก็งใจผู้อื่นถูกต้อง นอกจากนั้นท่านจะต้องมีหลักประจำใจ พึงระลึกไว้ว่า ของดีจะอยู่กับคนดีเท่านั้น แล้วท่านจงปฏิบัติตามแนวทางที่เสนอแนะ หวังว่าท่านคงจะได้ของดีไว้กับตัว

157
บทความ บทกวี / ตายแล้วไปไหน
« เมื่อ: 01 มี.ค. 2550, 03:21:49 »
สิ่งที่คนกลัวเหมือนกันและไม่อยากพบเจอกับตน เพียงแค่นึกถึงก็ให้รู้สึกสะดุ้งตกใจ สิ่งนั้นคือความตาย จริงอยู่อาจมีบางคนที่ไม่กลัวตายก็มี เช่น ถูกโรคภัยเบียดเบียนทนทุกขเวทนาต่อไปไม่ไหวเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตและสังขารก็อยากตาย คนที่กล้าเข้าประจัญบานกับภัยไม่กลัวอันตราย เช่น ผู้ที่เข้าสงครามหรือเล่นเกมท้าความตายต่างๆ ผู้ที่ยึดมั่นในหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและในศาสนาบางศาสนาที่ผู้นับถือเชื่อว่าหากตายเพื่อศาสนาหรือพระเจ้าของเขาแล้วจะได้บุญ หรือผู้ที่กลัวว่าสิ่งที่ตนรักและบูชาจะเป็นอันตรายเหล่านี้ เมื่อมีเหตุสะเทือนใจเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นอาจสละชีวิตได้ ไม่เป็นผู้กลัวตายเลย แต่ถ้าไม่มีเหตุสะเทือนใจมากระตุ้นก็อาจกลัวตายได้เหมือนกัน เป็นอันว่าเกิดเป็นคนจะพ้นจากความหวาดสะดุ้งกลัวต่อความตายเสียทีเดียวไม่ได้ จะกลัวมากกลัวน้อยก็สุดแต่กำลังใจที่เคยฝึกกันมาแตกต่างกัน และเหตุสะเทือนใจมากน้อยเพียงไหน การจะหาผู้ไม่กลัวตายเลยนั้นคงยาก ถ้าคนไม่กลัวตายสำหรับคนขลาดที่ไม่กล้าต่อสู้กับความลำบากเดือดร้อนในชีวิตก็อาจฆ่าตัวตายกันหมด ความกลัวตายดูเหมือนจะไม่เป็นมาแต่กำเนิด ไม่เหมือนอย่างเรื่องหิวข้าวหิวอาหาร ซึ่งพอเกิดมาร้องแว้ก็เริ่มรู้จักกินเป็นแล้ว เด็กที่ยังไม่เดียงสาจะไม่กลัวความตายเลย จะเกิดกลัวก็ต่อเมื่อมีปัญญารู้คิดขึ้นมาบ้างแล้ว สัตว์ชั้นต่ำอาจมองดูเพื่อนที่ตายไปโดยไม่หวาดสะดุ้งกลัว เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ แต่สัตว์ชั้นสูง เช่น ช้าง ม้า เมื่อเห็นความตายมาสู่พวกของตัวก็ตระหนกตกใจกลัวได้ เป็นอันว่าสัตว์ที่รู้คิดบ้างแล้วย่อมรู้สึกกลัวตาย
 
ความตายเป็นของลึกลับสำหรับคนเป็น คนที่เคยอยู่ร่วมกัน เห็นอยู่หลัดๆ เมื่อมาพลัดพรากตายจากไป เราก็อาลัยและใจหาย รู้สึกว่าความคุ้นเคยที่มีอยู่เกี่ยวกับความเป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติ สามี หรือภรรยา ต้องมาขาดสะบั้น ไม่มีวันได้พบกันอีก เมื่อหวนระลึกถึงอดีตที่ผู้ตายได้เคยพูดคุย ได้เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างนั้นอย่างนี้ ต่อไปนี้ไม่มีอีกแล้ว หากผู้ที่ไม่เคยฝึกจิตระลึกถึงความตายมาก่อน จะเกิดโทมนัสเสียใจอย่างมาก เป็นความเศร้าเจือด้วยความอาลัยอาวรณ์คนึงหา โดยไม่รู้ว่าผู้ตายไปอยู่ ณ แห่งหนใด สุขทุกข์อย่างใดไม่ปรากฏ ยิ่งผูกพันใกล้ชิดกับผู้ตายมากเพียงใด ความเศร้าโศกจะมากเพียงนั้น
 
ตายแล้วเกิดหรือไม่
 
ในครั้งพุทธกาลเคยมีคนไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า สัตว์ที่ตายแล้วจะเกิดอีกหรือไม่ พระองค์ไม่ทรงตอบว่าตายแล้วเกิดหรือสูญ เพราะในยุคนั้นความเห็นของคนเกี่ยวกับเรื่องความตายมี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งเห็นว่าตายแล้วเกิด เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ อีกพวกหนึ่งเห็นว่าตายแล้วสูญ เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิหากพระองค์ตรัสอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะไปพ้องกับลัทธิความเชื่อของฝ่ายนั้นๆ ไป แต่พระองค์จะตรัสเป็นกลางๆ ว่า จะเกิดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย หากมีปัจจัยเป็นเหตุให้เกิดก็ต้องเกิด ถ้าหมดเหตุปัจจัยก็ไม่เกิด ส่วนผู้ที่ตายแล้วไม่ต้องเกิดอีก เพราะได้เข้าถึงสภาวะที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดอีก ได้แก่พระอรหันต์จำพวกเดียวเท่านั้น นอกนั้นต้องเกิดใหม่ทั้งหมด ส่วนจะไปเกิดเป็นอะไรค่อยมาว่ากันในตอนท้ายเพราะฉะนั้น หากสมมุติว่ามีใครมาด่าว่าเราว่า ขอให้ตายอย่าได้ผุดได้เกิดเลย ก็จงอย่าโกรธเคืองหรือโต้ตอบเขา ให้คิดว่านั่นคือคำให้พรและให้ยกมือสาธุพร้อมกล่าวว่า ขอให้เป็นจริงเถอะ เพราะผู้ที่ตายแล้วไม่เกิดมีบุคคลจำพวกเดียว คือ พระอรหันต์
 
เหตุแห่งการตาย สาเหตุที่ทำให้ตายมีประเด็นใหญ่ๆ อยู่ ๔ ประการ คือ
 
๑. ตายเพราะสิ้นอายุ (อายุกขยมรณะ) ในสมัยครั้งพุทธกาล อายุขัยของคนในยุคนั้น คือ ๑๐๐ ปี มาปัจจุบันนี้ล่วงมาได้ ๒๕ ศตวรรษ คือ ๒,๕๐๐ กว่าปี อายุจึงลดลงมาอีก ๒๕ ปี ฉะนั้นอายุขัยของคนปัจจุบันนี้จึงมีแค่ ๗๕ ปี วิธีคำนวณคือนับแต่ปีพุทธปรินิพพานมา ๑๐๐ ปี (๑ ศตวรรษ) ลดไป ๑ ปี เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาล่วงไป ๒๕ ศตวรรษ จึงเท่ากับ ๒๕ ปี ใครที่ตายในช่วงอายุ ๗๔ หรือ ๗๕ ปี ถือว่าตายเพราะสิ้นอายุขัย แต่ถ้าใครอยู่เกินไปกว่านั้นจัดว่าเป็นบุญ
 
๒. ตายเพราะสิ้นกรรม (กัมมักขยมรณะ) ผู้ที่จะไปเกิดในภพภูมิใด จะดีเลวหรือประณีตอย่างไร กรรมที่แต่ละคนสร้างเป็นผู้ลิขิตให้เป็นไปอย่างเช่น การจะมีสิทธิ์มาเกิดเป็นมนุษย์อย่างน้อยต้องเคยมีศีล ๕ หรือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการมาก่อน และเมื่อเกิดมาเป็นคนแล้วยังแตกต่างกันด้วยรูปร่าง ผิวพรรณ ฐานะ ตระกูล อุปนิสัย อายุสั้นหรืออายุยืนเป็นต้น เพราะสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ใครทำกรรมอันใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตามต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น การที่ตายเมื่อยังไม่ถึงวัยอันควรเป็นเพราะกรรมฝ่ายกุศลที่ส่งให้เขาเกิดมาเป็นคนนั้นหมดไปเหมือนคำพูดที่ว่า สิ้นบุญหรือหมดบุญนั่นแหละ
 
๓. ตายเพราะสิ้นทั้งอายุและกรรม (อุกบัลขยมรณะ) คนที่มีอายุบางคนร่างกายยังแข็งแรงดีและไม่มีโรคภัยประจำตัว แต่พอถึงคราวตายก็ตายไปเฉยๆ เหมือนว่าหลับแล้วไปเลยไม่ตื่น อย่างนี้ก็เข้าลักษณะนี้ คือหมดทั้งอายุและกรรม
 
๔. ตายเพราะถูกกรรมตัดรอนหรืออุบัติเหตุ (อุปัจเฉทกกรรมขยมรณะ) ปัจจุบันคนที่ตายเพราะเหตุนี้มีมาก มีทั้งตายเดี่ยวและตายหมู่ อันเนื่องจากอุบัติเหตุต่างๆ รวมทั้งโรคภัยที่รักษาไม่หายด้วยเป็นที่น่าเสียดายว่าเขายังไม่ถึงวัยอันควรต้องตาย แต่มาตายไปเสียก่อน เกี่ยวกับเรื่องนี้ในทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงสาเหตุไว้ว่า "บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไปจะเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น หากตายไปยังไม่เข้าถึงอบาย เกิดมาก็จะเป็นคนมีอายุสั้น คนที่เกิดมามีอายุสั้นเพราะผลแห่งปาณาติบาต"
 
ปัจจัยนำให้ไปเกิด ตามที่กล่าวข้างต้นว่า คนที่ตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี แต่ที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะผู้ที่ต้องเกิดอีกว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ในทางพุทธศาสนาได้กล่าวถึงสาเหตุไว้ ๓ ประการ คือ
 
๑. กัมมัง เขตตัง มีกรรม คือการกระทำทางกาย วาจา และใจ เป็นเสมือนเนื้อนาหรือดินไว้เพาะพืชพันธุ์ต่างๆ
 
๒. วิญญาณัง พีชัง มีวิญญาณ คือความรู้สึกนึกคิด เสวยอารมณ์ต่างๆ ที่เรียกว่า จิตหรือใจ เปรียบเสมือนเมล็ดหรือหน่อพืช
 
๓. ตัณหา สิเนหัง กิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น เปรียบเหมือนยางเหนียวที่อยู่ในเมล็ดพืชนั้น
 
การที่เมล็ดพืชจะงอกใหม่ได้ ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งคือ ยางเหนียวที่มีอยู่ในเมล็ดพืชนั้น ได้แก่ ตัณหา หรือกิเลสทั้งหลาย เมื่อมีกิเลสตัณหาจึงสร้างกรรมซึ่งเป็นเสมือนเนื้อนาที่มีธาตุอินทรีย์อุดมสมบูรณ์ให้พืชพันธุ์ต่างๆ งอกงามต่อไป เพราะฉะนั้น การตัดยางเหนียวคือตัณหาออกเสียได้ คือการตัดต้นเหตุของการเกิดได้โดยแท้จริง เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเป็นปฐมพุทธพจน์ หลังจากตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ๆ ว่า "เราเมื่อแสวงหาช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สิ้นสงสาร นับด้วยชาติมิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
 
ดูกรช่างผู้ทำเรือน คือ อัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจะทำเรือน คืออัตภาพของเราอีกไม่ได้ โครงบ้านของท่านทั้งหมด เราทำลายแล้วยอดแห่งเรือนคืออวิชชาเรารื้อแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้วเพราะเราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาทั้งหลายแล้ว"
 
นิมิตปรากฏก่อนตาย
 
ก่อนที่จะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต จิตที่เรียกว่าจุติจิตหรือตายนั้น จะมีอาสันนกรรม คือ กรรมที่ทำในเวลาจวนเจียนใกล้ตายมาปรากฏ ถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็ไปสู่สุคติ ถ้าเป็นอกุศลก็ไปทุคติ ท่านอุปมาอาสันนกรรมเหมือนโค แม้จะทุพพลภาพ แต่อยู่ใกล้ประตูคอก เมื่อเจ้าของโคเปิดประตูคอก โคตัวนั้นก็ออกได้ก่อนตัวอื่น คตินี้คนไทยได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่โบราณว่า เมื่อเห็นปูชนียบุคคลของตนเช่น พ่อ แม่ ป่วยหนัก ท่าจะไม่รอดแน่ ลูกหลานก็จะหาดอกไม้ ธูป เทียน มาใส่ไว้ในซองมือแล้วบอกเตือนสติให้ท่านนึกถึงบุญกุศลคุณความดีที่เคยสร้าง หรือให้ภาวนาว่า อรหังๆ หรือ พุทโธๆ แล้วแต่กรณี แต่ปัจจุบันนี้ คนส่วนมากมักตายในห้องไอซียู ไม่ได้อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ แต่อยู่ท่ามกลางแพทย์และพยาบาล ซึ่งไม่ได้รู้จักมักคุ้นกันมาก่อนและไม่ได้บอกทางสวรรค์ให้ บุคคลเหล่านี้เพียงแต่คอยดูแลช่วยปั๊มหัวใจให้ออกซิเจนหรืออื่นๆ ตามวิธีรักษาของเขา ก็ไม่แน่ใจว่าผู้ที่ตายเช่นนี้จะมีสติระลึกถึงกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลได้หรือไม่ โดยอารมณ์ของคนที่ใกล้จะตายจะมีนิมิตมาปรากฏทางมโนทวาร ๓ อย่าง ดังนี้
 
๑. กรรมารมณ์ เคยทำกรรมอะไรมาเป็นประจำ ทั้งดีหรือไม่ดี จิตก็จะเหนี่ยวนึกเอาสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ หรือจะเรียกว่าอาสันนกรรม คือกรรมที่จวนเจียนใกล้ตายกำลังให้ผลก็ได้ ภาษาพระท่านเรียกวิถีจิตตอนนี้ว่า มรณาสันนชวนะ คือกระแสจิตที่แล่นไปสู่ความตาย
 
๒. กรรมนิมิตตารมณ์ เมื่อจิตไปยึดเกาะกรรมใดมาเป็นอารมณ์แล้วจะเกิดนิมิตหรือภาพเกี่ยวกับกรรมนั้นให้เห็นทางมโนทวารในลำดับต่อมา เช่น เคยฆ่าคน ฆ่าสัตว์หรือทรมานสัตว์ ภาพเหล่านั้นจะมาปรากฏหรืออาจจะเห็นคนหรือสัตว์ที่ถูกฆ่าเหล่านั้นมาทวงเอาชีวิตไป ส่วนกรรมดี เช่นเคยทำบุญ ให้ทาน รักษาศีลหรือฟังธรรม เป็นต้น ภาพเหล่านั้นจะมาปรากฏทำให้จิตแช่มชื่นเบิกบานแจ่มใส
 
๓. คตินิมิตตารมณ์ ลำดับจิตขั้นตอนนี้จะเห็นคติ คือ ภพหรือภูมิที่จะไปเกิดว่าจะไปสู่สุคติหรือทุคติ อาจจะเห็นเป็นรูปวิมาน เป็นนรก เป็นเหว เป็นไฟนรก เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เคยอยู่ใกล้ชิดคนตายจะเคยเห็นอาการของคนใกล้จะตายแตกต่างกัน ตามอารมณ์ที่ปรากฏแก่จิต ผู้จะตายในขณะนั้นๆ บางคนแสดงถึงความทุกข์ทรมาน หวาดกลัว ประหวั่นพรั่นพรึงให้ปรากฏก่อนจิตจะดับ บางคนก็ตายด้วยอาการอันสงบใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
 
อารมณ์ทั้ง ๓ นี้ จะเกิดทางมโนทวาร คือ เฉพาะทางใจของผู้ที่ใกล้จะตายเท่านั้น บุคคลอื่นจะไม่เห็นนิมิตที่ปรากฏทางใจของเขา เช่น ในครั้งพุทธกาล ท่านธรรมิกอุบาสกก่อนจะดับจิตฟังพระสวดมหาสติปัฎฐานสูตรอยู่ นิมิตตารมณ์ที่ปรากฏแก่ท่าน คือ เทวดานำราชรถมารอรับท่านไปสู่วิมานสวรรค์ ท่านเกรงว่าจะรบกวนพิธีที่พระกำลังเจริญพระพุทธมนต์อยู่จึงห้ามเทวดาว่า หยุดก่อนๆ พวกลูกๆ ของท่านเข้าใจว่าพ่อตัวเองคงจะเพ้อ พระยังสวดไม่จบจะให้หยุดทำไม ธรรมิกอุบาสกบอกว่า พ่อไม่ได้เพ้อ แต่เป็นเพราะเทวดาเอาราชรถมารอรับพ่ออยู่ พ่อจึงห้ามไว้รอให้พระสวดจบก่อนแล้วจึงค่อยไปแล้วชี้ให้ลูกดูราชรถที่จอดรออยู่บนอากาศ พวกลูกไม่เห็น ท่านจึงให้ลูกโยนพวงมาลัยไปบนอากาศ พวงมาลัยนั้นไปคล้องที่ปลายงอนราชรถแขวนอยู่บนอากาศอย่างนั้นพวกลูก ๆ จึงเชื่อ
 
เมื่อตายแล้วเกิดทันทีหรือล่องลอยเป็นสัมภเวสีหาที่เกิดอยู่
 
ตามความรู้สึกของคนทั่วไปมักเชื่อว่า คนที่ตายแล้ววิญญาณออกจากร่างและวิญญาณนั้นจะล่องลอยไป เพื่อแสวงหาที่เกิดใหม่ ในระหว่างนี้เรียกว่าเป็นสัมภเวสี ต่อเมื่อเวลาล่วงไปได้ ๗ วัน จึงจะได้เกิด ตามความเชื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าจะว่ากันตามหลักพุทธศาสนาแล้ว ช่องว่างระหว่างจุติจิตกับปฏิสนธิจิตนั้น เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ตามธรรมชาติของวิถีจิตมันเป็นเช่นนั้น จึงเท่ากับว่าคนที่ตายแล้วจะต้องเกิดทันที ส่วนจะเกิดเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับกรรมที่จะเป็นชนกกรรมอยู่ในจุติจิตจะชักนำไปเกิด ส่วนคำว่า สัมภเวสี นั้น แปลว่า ผู้แสวงหาภพ หมายถึง สัตว์ที่รอคอยการปฏิสนธิอันแน่นอน โดยเฉพาะคือ บุคคลและสัตว์ทั่วไป จนถึงพระอนาคามีบุคคลเป็นที่สุด โดยมีคำอธิบายเป็น ๒ นัย ดังนี้
 
๑. หมายเอาคน สัตว์ เทวดา เป็นต้น จนถึงพระอนาคามี ซึ่งท่านเหล่านี้ยังต้องเกิดอีกจะน้อยหรือนานเพียงไหนขึ้นอยู่กับการละกิเลสที่แต่ละคนละได้เพียงไร
 
๒. หมายเอาสัตว์ที่ตายแล้ว ไปเกิดในภูมิใดภูมิหนึ่ง เช่น เป็นสัตว์นรกเสวยวิบากกรรมจนครบแล้ว กำลังรอคอยการเกิดใหม่ เช่น จะไปเกิดเป็นสัตว์ แต่ยังไม่ถึงฤดูที่สัตว์เหล่านั้นผสมพันธุ์ ปฏิสนธิวิญญาณดวงนั้นก็ยังไม่เกิด จนกว่าจะได้ปัจจัยพร้อมมูลจึงได้เกิด
 
ลักษณะกำเนิดของสัตว์
 
ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์โดยทั่วไป เมื่อตายหรือละสังขารจากอัตภาพนั้นๆ แล้ว หากมีปัจจัยที่จะต้องเกิดก็ต้องไปเกิดในภพใดภพหนึ่งในกำเนิดทั้ง ๔ คือ
 
๑. ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น คนหรือสัตว์บางประเภท
 
๒. อัณฑชะ เกิดในไข่ เช่น ไก่ นก เป็ด เป็นต้น
 
๓. สังเสทชะ เกิดในของสกปรก เช่น หนอนบางชนิด
 
๔. โอปปาติกะ เกิดโดยผุดขึ้นเป็นตัวตนเลย เช่น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือ พรหม เป็นต้น
 
ภูมิที่จะไปเกิด
 
คราวนี้มาถึงประเด็นสำคัญของคำถามที่ว่า ตายแล้วไปไหน หากไม่ตอบเล่นสำนวนเหมือนที่พูดกันว่า "ตายแล้วก็ไปวัดนะซี" ก็ต้องขอยกเอาพระพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับการเกิดของสัตว์มาอ้าง ดังนี้ "ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ย่อมเกิดในครรภ์ บางจำพวกทำกรรมลามก ย่อมเกิดในนรก บางจำพวกทำกรรมดีแล้ว ย่อมเกิดในเทวโลก ส่วนผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน" ดังจะขอแยกประเภทของภพภูมิใหญ่ๆ ที่สัตว์จะไปเกิดให้เห็นชัดๆ คือ
 
๑. นรก ไปเกิดเพราะอำนาจของโทสะ
 
๒. เปรตและอสุรกาย ไปเกิดเพราะอำนาจของโลภะ
 
๓. สัตว์เดรัจฉาน ไปเกิดเพราะอำนาจของโมหะ
 
๔. มนุษย์ ไปเกิดเพราะรักษาศีล ๕ และกุศลกรรมบถ ๑๐
 
๕. เทวดา ไปเกิดเพราะมหากุศลจิต ๘ ดวง อันประกอบด้วย หิริ และโอตตัปปะ เป็นต้น เช่น การบริจาคทาน การฟังธรรม หรือการสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ เป็นต้น
 
๖. พรหม ไปเกิดเพราะการเจริญฌาน ในอารมณ์ของกรรมฐาน ๔๐ มีการเพ่งกสิณ เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์
 
การที่จะทราบว่าคนที่ตายจากอัตภาพนี้ไปเกิดในภูมิไหนนั้น จึงขึ้นอยู่กับชนกกรรมในขณะจุติจิต เช่น จิตประกอบด้วยโทสะก็ไปนรก ประกอบด้วยโลภะก็ไปเป็นเปรต อสุรกาย เป็นต้น โดยมีพุทธพจน์รองรับเกี่ยวกับวาระจิตขณะจุติจิตเกิดขึ้นว่า จิตเต สังกิลิฏเฐทุคคติ ปาฏิกังขา เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นที่หวังได้ และจิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคคติ ปาฏิกังขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติภพเป็นที่หวังได้ เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่ก่อนจะตายว่าจิตเศร้าหมองหรือผ่องใส จึงไม่แน่นอนเสมอไปว่า คนที่สร้างกรรมดีมาจะไปสู่สุคติ หรือคนที่สร้างกรรมชั่วจะไปทุคติสถานเดียว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวาระจิตก่อนจะดับเป็นเกณฑ์ว่า เศร้าหมองหรือผ่องใส ถึงกระนั้น คนที่สร้างกรรมดีมามากแม้จะตายด้วยจิตที่เศร้าหมองแล้วไปทุคติ ก็อาจไปเสวยทุกข์ไม่นาน ผลแห่งกรรมดีย่อมให้ผลเป็นสุคติภพในภายหลัง และหลักความจริงอีกอย่างหนึ่งคือว่า เมื่อจิตเคยเสพคุ้นคุณความดีอย่างใดมาตลอดชั่วชีวิตก็อาจเป็นแรงชักนำไปในทางดีหรือปิดกั้นอกุศลอื่นๆ มิให้เกิดขึ้นได้ ส่วนผู้ที่สร้างความชั่วพึงทราบในทางตรงข้าม
 
ทำไมคนตายจึงไม่มาบอกญาติที่อยู่ข้างหลังว่าอยู่ในภพภูมิไหน สุขหรือทุกข์อย่างไร
 
ทุกคนย่อมมีบรรพบุรุษคือ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ หรือแม่ ที่ท่านเสียชีวิตไปแล้ว แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ทำไมท่านเหล่านั้นจึงไม่มาบอกลูกหลานว่า ขณะนี้เป็นอยู่อย่างไร สุขหรือทุกข์เพียงไหน โดยมากไปแล้วไปเลยไม่ย้อนกลับมาบอกลูกหลานหรือบางท่านอาจเคยฝันเห็นญาติคนนั้นคนนี้ว่า ท่านเป็นอยู่อย่างนี้ๆ ได้พูดคุยกันอย่างนี้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่พอจะยืนยันให้เชื่อถืออย่างแน่ชัดว่าเป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่ อาจเป็นเพราะผู้ฝันนั้นมีจิตกระหวัดถึงใครเป็นพิเศษจนฝังลึกในห้วงจิตใต้สำนึก พอหลับแล้วสัญญาคือความจำในจิตใต้สำนึกนั้น จึงแสดงออกมาเป็นความฝัน ในเรื่องนี้พึงเทียบเคียงกับความฝันว่าได้เห็นภาพสถานที่ที่เคยเล่นหรือเคยเห็นเมื่อตอนวัยเด็กว่าได้ไปเดินหรือวิ่งเล่นตรงโน้นตรงนี้ ทั้งๆ ที่ความจริงสถานที่นั้นเป็นภาพเดิมซึ่งไม่มีอยู่แล้ว เปลี่ยนแปลงใหม่หมดไปตามกาลเวลา แล้วทำไมเราจึงฝันเห็นภาพเก่าๆ อยู่
 
อนึ่ง คนที่ตายไปหากเกิดเป็นคนหรือสัตว์เดรัจฉานจะมาบอกญาติที่อยู่ข้างหลังได้อย่างไร เนื่องจากสัญญาขันธ์ คือความจำในอดีตชาติมันดับไปแล้ว จึงทำให้ระลึกไม่ได้ แต่มีข้อยกเว้นสำหรับบางคนที่จำอดีตชาติบางตอนของตนได้ หรือผู้ที่ได้บรรลุบุพเพนิวาสนานุสสติญาณ คือระลึกชาติหนหลังได้ เช่น พระพุทธเจ้า เป็นต้น เมื่อกล่าวถึงคนโดยทั่วไป อย่าว่าแต่ระลึกชาติหนหลังเลย ขอเพียงแค่ให้ระลึกเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของตนที่ผ่านมาเมื่อตอนเช้าของวันนี้ว่า ได้ทำอะไร ได้พูดกับใครว่าอย่างไร พูดไปกี่คำ ได้กินข้าวไปกี่คำ หรือได้เดินไปกี่ก้าว เป็นต้น คงไม่มีใครไปจดจำได้หมดเป็นแน่ เพราะขาดมนสิการ คือความตั้งใจด้วยเหตุที่สติยังมีไม่สมบูรณ์นั่นเอง หากผู้ตายไปเกิดเป็นสัตว์นรกในภูมินี้จะมีแต่ทุกข์ทรมานไม่มีเวลาช่วงว่างให้คิดถึงหรือไปหาใครได้ง่ายๆ แม้แต่ในโลกมนุษย์หากใครถูกจับกุมคุมขัง ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งแม้ผู้ถูกจับนั้นจะอ้อนวอนผู้จับว่าขอให้ปล่อยตัวไปชั่วคราวเพื่อไปเยี่ยมญาติหรือบอกลาญาติก่อนเช่นนี้ คงไม่มีใครอนุญาตให้แน่ หรือถ้าไปเกิดในสุคติภูมิ เช่น เป็นเทวดา ภูมินี้เขาจะอิ่มเอมกับความสุขที่เป็นทิพย์ทุกอย่างเพลิดเพลินอยู่กับความสุขนั้นอย่าว่าแต่เทวดาเลย ลองนึกถึงตัวเราเองเป็นเกณฑ์ก่อนก็ได้ว่า คราใดที่เรากำลังรู้สึกดื่มด่ำกับความสุขอย่างใดอย่างหนึ่งมากเหลือล้น ในขณะนั้นเราจะคิดถึงคนโน้น อยากไปเยี่ยมคนนี้บ้างไหม ท่านเปรียบคนที่ไปเกิดเป็นเทวดาเหมือนบุรุษผู้หนึ่งเดินไปตกบ่ออุจจาระและเปื้อนอุจจาระไปทั้งตัว แล้วมีคนมาช่วยเขาให้ขึ้นจากบ่อนั้นพาไปอาบน้ำชำระล้างร่างกายจนสะอาดดีแล้ว มีเสื้อผ้าใหม่สวยงามราคาแพงให้สวมใส่แล้วพากันแห่แหนให้อยู่บนปราสาทอันสวยงาม มีอาหารอันประณีตให้บริโภค พร้อมมีหญิงสาวสวยหลายนางมาคอยปรนนิบัติพัดวีรับใช้ หากจะถามชายผู้นั้นว่า อยากลงไปแช่อยู่ในบ่ออุจจาระเหมือนเดิมไหม ชายผู้นั้นคงตอบไม่อยากไปเป็นแน่ เพราะเขากำลังเพลิดเพลินอยู่กับความสุข อุปมานี้ฉันใดพวกเทวดาทั้งหลายเขาก็รู้สึกฉันนั้น คือ เทวดาชั้นสูงจะรู้สึกรังเกียจและเหม็นสาปกลิ่นมนุษย์ที่สร้างแต่บาปอกุศลกันเป็นส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าใกล้ ข้อนี้จะเห็นตัวอย่างที่พวกเทวดามาทูลถามปัญหากับพระพุทธเจ้าต้องเป็นเวลาหลังเที่ยงคืนไปแล้วเท่านั้น และจัดเป็นพุทธกิจหนึ่งในพุทธกิจ ๕ คือ แก้ปัญหาเทวดาด้วย ทั้งนี้เพราะเทวดาต้องรอให้มนุษย์หลับกันหมดก่อน ไม่มาพลุกพล่านให้เป็นที่เหม็นสาบของพวกเขานั่นเอง
 
การสื่อสารที่ไม่เข้าใจระหว่างมนุษย์กับอทิสสมานกาย
 
ผู้เกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉานเท่านั้นที่มีกายหยาบ นอกนั้นเป็นกายละเอียดหมด เช่นเปรต อสุรกาย เทวดา หรือพรหม เป็นต้น เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเนื้อ แต่สัมผัสรู้ได้ทางใจ คือปัญญา ฉะนั้นการที่พวกอทิสสมานกายเหล่านั้นจะสื่อสารกับพวกมนุษย์จึงไม่ง่าย เพราะอยู่กันคนละมิติ แต่เขาสามารถสื่อสารให้มนุษย์ได้รู้ในสิ่งที่เขาต้องการเป็น ๓ ลักษณะ คือ ทางรูป ทางเสียง และทางกลิ่น คนโบราณเชื่อว่า สุนัขมันมีประสาทสัมผัสพิเศษที่สามารถรับรู้จิตวิญญาณของ อมนุษย์หรือผีได้ โดยสังเกตจากการเห่าหอนในยามค่ำคืน ดึกสงัด บางทีมันหอนรับกันเป็นช่วงๆ ชวนน่าขนลุก และจำเพาะช่วงเวลาที่มีคนตายในละแวกนั้นด้วย ขอเสนอแนะว่าหากผู้ใดถูกผีหลอกไม่ควรตกใจหรือตื่นเต้นจนขวัญหนีดีฝ่อ ให้คิดว่าผู้ที่มาแสดงอาการต่างๆ หรือผีที่มาหลอกนั้น เขาอาจจะเป็นบรรพบุรุษหรือญาติมิตรของเรา เขากำลังมีความทุกข์เดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือด้วยการทำบุญอุทิศให้เขา จึงมาบอกให้รู้ แต่การสื่อสารมันคนละมิติกัน หากใครประสบเข้าจังๆ คงต้องวิ่งหนีไม่ก็สลบหรือถึงกับช็อกไปเลยก็ได้ ทางที่ดีควรตั้งสติ รวบรวมกำลังใจให้เข้มแข็งไว้แล้วลองสื่อสารไต่ถามกันดูว่าเป็นใครมาจากไหน ต้องการอะไร อาจจะได้ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งน้อยคนนักที่จะได้พบเจอมาเล่าสู่ให้ผู้อื่นได้ฟังบ้าง ถ้าจะว่ากันตามความจริงแล้วเรื่องกลัวผีนี้ จิตของเราเองนั่นแหละสร้างสถานการณ์ขึ้นมาเองว่าผีต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นผีจริงๆ เลยสักครั้งเดียว โดยความกลัวผีนี้เราปลูกฝังกันมาตั้งแต่เด็กแล้ว
 
ความต่างแห่งกาลเวลาระหว่างมนุษยโลกกับเทวโลก
 
มีเรื่องเล่าว่า ในครั้งพุทธกาลมีเทพธิดาตนหนึ่ง ซึ่งเป็นมเหสีของท้าวมาลาภารีเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เช้าวันหนึ่งท้าวมาลาภารีเทพบุตรชวนเหล่ามเหสีออกไปชมสวน ในระหว่างเดินชมสวนอยู่นั้น เทพธิดาตนนั้นต้องการไปเกิดเป็นคน จึงจุติคือตายจากความเป็นเทพธิดาไปเกิดเป็นมนุษย์ในตระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถี พอเติบโตรู้ความ นางระลึกชาติหนหลังได้ว่าเคยเกิดเป็นเทพธิดาตนนั้น จึงปรารถนาที่จะไปเกิดเป็นมเหสีของท้าวมาลาภารีเทพบุตรอีก เวลาทำบุญทุกครั้งก็อธิษฐานจิตว่าขอให้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนั้นอีก นางจึงได้ชื่อว่า ปติปูชิกา แปลว่า หญิงผู้บูชาสามี พอนางอายุได้ ๑๖ ปี จึงแต่งงานและมีลูกหลานหลายคน นางใฝ่ในการสร้างกุศลและอธิษฐานจิตเช่นนั้นอยู่เนืองๆ พออายุได้ ๖๐ ปี นางจึงสิ้นชีพแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สมปรารถนา ระหว่างนั้นเป็นเวลาเที่ยงวันของสวรรค์ชั้นนั้น ท้าวมาลาภารีเทพบุตรยังไม่กลับจากการเดินชมสวนพอเห็นเทพธิดาที่ชื่อ ปติปูชิการนี้เดินไปหา พระองค์จึงถามว่า เมื่อเช้าเธอไปไหนมา นางจึงตอบตามความจริงว่าไปเกิดเป็นมนุษย์ มีอายุได้ ๖๐ ปี ท้าวมาลาภารีเทพบุตรจึงถามต่อไปว่า ตอนนี้มนุษย์เป็นอยู่กันด้วยความไม่ประมาทในชีวิตหรือไม่ นางตอบว่า มนุษย์ทุกวันนี้เป็นอยู่กันด้วยความประมาทมัวเมาเป็นอย่างยิ่ง อายุน้อยก็สำคัญว่าอายุยืน ไม่ใส่ใจในการสร้างกุศล พอท้าวมาลาภารีเทพบุตรได้ทราบข่าวเช่นนี้จึงเกิดความสังเวชสลดในเป็นอย่างมาก จึงชวนกันกลับวิมาน จากเรื่องที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าเพียงครึ่งวันของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เท่ากับเมืองมนุษย์ ๕๐-๖๐ปีทีเดียว และจะขอนำเอาอายุของสวรรค์ ๖ ชั้น ว่าแต่ละชั้นมีอายุเทียบเท่าเมืองมนุษย์เท่าไหร่ ลดหลั่นกันอย่างไรมาให้ทราบ ดังนี้
 
๕๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา ประมาณ ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์
 
๑,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประมาณ ๔ เท่า จาก ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี
 
๒,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นยามา ประมาณ ๔ เท่า จาก ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๑๔๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี
 
๔,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นดุสิต ประมาณ ๔ เท่า จาก ๑๔๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๕๗๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี
 
๘,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทดาสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ประมาณ ๔ เท่า จาก ๕๗๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๒,๓๐๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี
 
๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัสตี ประมาณ ๔ เท่า จาก ๒,๓๐๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ ๙,๒๑๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี
 
เพราะฉะนั้นหากใครมีญาติที่ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมญาติคนนั้นคนนี้จึงไม่มาบอกว่ากำลังเกิดเป็นอะไรอยู่ เพราะผู้ที่กำลังดื่มด่ำกับความสุขไม่คิดถึงใครง่ายๆ หรอก และอีกอย่างหนึ่งอายุของเขายาวนานกว่าเรามาก เพียงเขาไปอยู่แค่ ๑ วัน พวกเราก็คงไม่เหลืออยู่รอให้ใครมาบอกแล้ว บางทีอาจไปเจอกันบนนั้นหรือไม่ก็ไปอยู่เป็นเพื่อนกับพระเทวทัตก็เป็นได้
 
บุญที่ญาติทำอุทิศผู้ตายจะได้รับหรือไม่
 
เมื่อมีบุคคลในครอบครัวตายโดยเฉพาะถ้าผู้นั้นเป็นปูชนียบุคคลของเขา เช่นเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา หรือยาย ย่อมสร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ลูกหลาน ผู้อยู่เบื้องหลังเป็นอย่างมาก โดยญาติของผู้ตายนั้นจะขวนขวายสร้างกุศลอย่างเต็มที่ตามประเพณีนิยมปฏิบัติของท้องถิ่นนั้นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อหวังจะอุทิศส่วนกุศลผลบุญให้กับผู้ตาย แม้จะไม่ทราบว่าผลบุญที่ทำอุทิศให้ไปนั้นผู้ตายจะได้รับหรือเปล่าแต่ญาติก็เต็มใจทำ หากไม่ได้ทำตามประเพณีงานศพให้ผู้ตาย จะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม ญาติจะรู้สึกไม่สบายใจ และต้องหาโอกาสทำบุญให้ในภายหลังจนได้ นี่คือความเชื่อของชาวพุทธไทยโดยทั่วไป และมีคนอีกจำนวนไม่น้อยเหมือนกัน ที่ชอบคิดว่าบุญที่ญาติทำอุทิศให้ผู้ตายไปนั้นจะถึงผู้ตายหรือไม่ และจะทราบได้อย่างไรว่าผู้ตายได้รับแล้ว ปัญหานี้ทำความเข้าใจได้ไม่ยากเลยคือ ต้องคำนึงถึงความจริงอย่างหนึ่งว่า การที่เราจะมอบของอะไรแก่ใครผู้รับต้องอยู่ในฐานะที่จะมารับได้ ไม่ใช่ไปอยู่ในถิ่นกันดารไม่มีโอกาสติดต่อกับบุคคลภายนอกเลยแล้วเราส่งของไปให้เขา เช่นนี้นอกจากผู้รับจะไม่ได้รับสิ่งของแล้ว โอกาสที่ของนั้นจะสูญหายยังมีมากอีกด้วย คราวนี้ย้อนมากล่าวถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หากผู้นั้นไปเกิดเป็นเทวดา เทวดาก็มีอาหารอันเป็นทิพย์ของเขา ไปเกิดเป็นสัตว์นรกเขาก็มีความทุกข์ทรมานหรือบริโภคเลือดเนื้อกันเองเป็นอาหารถ้าไปเกิดเป็นช้าง ม้า วัว ควาย หรือแม้กระทั่งเป็นคน เขาก็มีอาหารของเขาโดยเฉพาะทั้งนั้นรวมความคือ ผลบุญที่ญาติอุทิศส่งไปนั้นไม่ถึงผู้รับ เพราะผู้รับไม่อยู่ในวิสัยที่จะรับได้ แต่ตำราท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่ตายแล้วไปเกิดเป็น ปรทัตตูปชีวีเปรต ประเภทเดียวเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้รับส่วนบุญที่ญาติอุทิศส่งไปให้ เพราะเปรตประเภทนี้ เป็นอยู่ได้เพราะผลบุญที่ผู้อื่นให้นอกนั้นหมดสิทธิ์ เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้อาจทำให้หลายท่านเกิดความท้อแท้หรือหมดกำลังใจในการทำบุญ ประเด็นนี้มีคำอธิบายว่า สมมติว่า เราเตรียมอาหารไว้คอยต้อนรับแขก แต่บังเอิญว่าแขกไม่มาตามนัด อาหารนั้นย่อมตกเป็นของเราผู้เป็นเจ้าของอยู่ดี การทำบุญก็เช่นกัน เมื่ออุทิศให้ใครไปแล้ว แต่ไม่มีใครรับ บุญก็คงอยู่กับผู้ให้นั่นเอง หรือหากมีผู้รับก็ใช่ว่าบุญนั้นจะหมดไปจากผู้ให้ก็หามิได้ ท่านเปรียบเหมือนกับการต่อเทียนจากเล่มหนึ่งไปอีกหลายๆ เล่ม มีแต่เพิ่มแสงสว่างมากขึ้น โดยเทียนเล่มเดิมหาได้มอดแสงดับลงไปไม่ ขอให้ทำความเข้าใจง่ายๆ เกี่ยวกับการให้ส่วนบุญนี้ว่า องค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะมีผู้ให้แล้ว ผู้รับจะต้องได้อนุโมทนาส่วนบุญนั้นเป็นสำคัญจึงจะสำเร็จประโยชน์การให้และการรับส่วนบุญ
 
ทำบุญสูญเปล่าจริงหรือ
 
สิ่งที่ชาวพุทธส่วนใหญ่เชื่อมั่นอยู่อย่างหนึ่งว่าให้ผลเป็นความสุข คือ บุญ ทั้งๆ ที่ไม่เคยพบตัวบุญจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร แต่เพราะเชื่อตามพุทธพจน์ที่ว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากลัวบุญเลย คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" และว่า "บุญ เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า" แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยเหมือนกันที่ยังมีความลังเล สงสัยเกี่ยวกับเรื่องผลของบาปบุญว่าอาจจะไม่มีจริงก็ได้เพราะเห็นคนที่ทำชั่วบางคนกลับได้ดีมีสุข ส่วนคนที่ทำดีมาเกือบชั่วชีวิตยังต้องลำบากอยู่ เลยเกิดความท้อแท้ในการสร้างบุญ ต้องขอทำความเข้าใจว่าอย่ามองเรื่องผลบุญให้เป็นเหมือนกับการซื้อขายสินค้า ที่เมื่อจ่ายเงินไปก็ต้องได้สินค้ามา อย่างที่กล่าวตอนต้นว่า บุญเป็นชื่อของความสุข เป็นนามธรรมไม่ใช่เป็นวัตถุโดยขณะที่ทำบุญหรือสร้างความดีต่างๆ จิตของผู้ทำจะรู้สึกปลอดโปร่ง ปราศจากความเห็นแก่ตัว ไม่มีอกุศลแทรกอยู่ในจิต นี่คือตัวบุญหากทำบุญด้วยกิเลสหรือหวังผลตอบแทน ไม่จัดเป็นบุญแท้ ส่วนบุญที่แท้คือการทำบุญเพื่อบุญหรือทำดีเพื่อความดี มิใช่หวังอะไรอื่น ส่วนการจะได้วัตถุหรือเกียรติอย่างใดอย่างหนึ่งตามมา ภายหลังจากการทำบุญนั้น นั่นคือบริวารของบุญอีกอย่างหนึ่งต้องไม่ลืมในเรื่องของกฎแห่งกรรมที่มันจะให้ผลไปตามลำดับของกรรมหนักหรือเบาด้วย สำหรับกรรมฝ่ายดี ท่านกล่าวว่า หากผู้ใดได้ถวายอาหารแก่พระอรหันต์ผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติใหม่ๆ จะได้เห็นอานิสงส์ตามปรารถนาในปัจจุบันชาตินี้ทีเดียวดังตัวอย่างครั้งพุทธกาลที่ชาวนาผู้หนึ่งถวายอาหารแก่พระอรหันต์ซึ่งเพิ่งออกจากสมาบัติใหม่ๆ แล้วไปไถนา ขี้ไถได้กลายเป็นทองคำมาแล้ว บุญเหมือนของหอม บาปเหมือนของเหม็น โดยมากบาปมักจะให้ผลเร็วกว่าบุญ เพราะทำด้วยจิตที่เป็นอกุศลอย่างแรงกล้า อย่างน้อยก็ให้ผลเป็นความเศร้าหมองของจิตในขณะที่ทำแล้ว เพราะฉะนั้นในทางพุทธศาสนา ท่านจึงกล่าวว่าความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า และมีคำกลอนสอนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
 
อย่าดูหมิ่นบาปกรรมจำนวนน้อย
จักไม่คอยตามต้องสนองผล
แม้ตุ่มน้ำเปิดหงายรับสายชล
ย่อมเต็มล้นด้วยอุทกที่ตกลง
 
อันคนโง่สั่งสมบ่มบาปบ่อย
ทีละน้อยทำไปด้วยใหลหลง
ย่อมเต็มด้วยบาปนั้นเป็นมั่นคง
บาปย่อมส่งสู่นรกตกต่ำพลัน
 
ผลแห่งการกระทำกรรมดีชั่วหรือบุญบาปนั้น มีแน่นอน ไม่สูญหายไปไหน ตัวอย่างที่พอพิสูจน์ได้กับตัวของเราเองเช่น เมื่อย้อนคิดถึงบาปที่เคยทำ จะรู้สึกผิด ไม่สบายใจ จิตเศร้าหมอง แต่ถ้าคิดถึงกุศล คุณความดีที่เคยสร้างขึ้นมาครั้งไร ทำให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส แช่มชื่น โสมนัส สิ่งนี้คือหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ผลแห่งบาปบุญนั้นมีจริงแน่ พระพุทธศาสนาจะเน้นหนักให้ศาสนิกหมั่นสร้างบุญกุศลไว้เนืองๆ เพราะอย่างน้อยจะได้ความอุ่นใจ ๔ ประการ คือ
 
๑. ถ้าโลกหน้าไม่มีอยู่จริง ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริง เป็นฐานะที่เป็นไปได้ว่า หลังจากตายไปแล้ว ตนจะยังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
 
๒. ถ้าโลกหน้าไม่มีอยู่จริง ผลแห่งการทำดีทำชั่วไม่มี ในปัจจุบันเราก็สามารถรักษาตนให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์มีแต่ความสุข
 
๓. ถ้าบาปที่บุคคลทำชื่อว่าเป็นอันทำเมื่อเราไม่ได้คิดบาปหรือทำบาปกับใครๆ ไหนเลยบาปจะมาพ้องพานเราผู้ไม่ได้ทำบาป
 
๔. ถ้าบาปที่คนทำชื่อว่าไม่เป็นบาป เราพิจารณาเห็นความบริสุทธิ์ของตนทั้ง ๒ ทาง คือสบายใจได้ ไม่ว่าผลบาปจะมีหรือไม่ก็ตาม เมื่อเราไม่ทำบาปอะไร ก็ไม่ต้องเดือดร้อนใจ
 
ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง คือบันเทิงทั้งในโลกนี้ และเมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงด้วยเช่นกัน ในโลกนี้ก็บันเทิงว่าเราได้ทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติยอมบันเทิงยิ่งขึ้น
 
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายผู้บำเพ็ญบุญทั้งในโลกนี้และในโลกอื่น
 
สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อยๆ บุญทั้งหลายที่ตนทำเอง บุญนั้นจะเป็นมิตรในภพหน้า
 
การสั่งสมบุญนำสุขมาให้ ญาติและมิตรสหาย ผู้มีใจดีทั้งหลายย่อมยินดีกับบุรุษผู้จากไปเสียนานแล้วกลับมาโดยสวัสดิภาพ แต่ที่ไกลฉันใด แม้บุญทั้งหลายย่อมรับรอง ผู้มีบุญอันทำแล้วไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า เหมือนญาติทั้งหลายรับรอง ญาติอันเป็นที่รักที่กลับมาแล้วฉันนั้น
 
เตรียมตัวก่อนตาย
 
ความตายเป็นธรรมชาติที่ทุกคนไม่สงสัยว่าตัวเองจะตายหรือไม่ เพราะรู้โดยสัญชาตญาณ และมีบุคคลอื่นตายให้เห็นเป็นประจักษ์พยานอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ส่วนใหญ่มักคาดการณ์รู้ว่าสักวันหนึ่งสภาพนี้ต้องมาถึงลำดับตนบ้าง แต่ที่ทุกคนมักไม่ค่อยคิดถึงความตายของตนเองเท่าใดนัก เป็นเพราะความประมาทมัวเมาในชีวิต ในความไม่มีโรคและในความเป็นหนุ่มสาวของตนเป็นสำคัญ จึงทำให้ลืมนึกถึงความตายเช่นนี้ ถือว่าไม่ดีเลยเป็นความประมาทอย่างยิ่ง ใครเล่าที่จะรู้ว่าความตายจะมาถึงตนในวันพรุ่งนี้ คนที่จะเดินทางไกลเขายังต้องเตรียมเสบียงหรืออุปกรณ์ปัจจัยต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทาง แต่การเดินทางของชีวิตไปสู่ปรโลกนั้น สำคัญยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด ไม่มีใครมาช่วยใครได้ นอกจากตนของแต่ละคนที่จะแสวงหาเกาะอันเป็นที่พึ่ง หรือเสบียงเดินทางไปภพเบื้องหน้าเอง สิ่งนั้นคือ บุญ วิธีการสร้างบุญเมื่อกล่าวโดยย่อมี ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา จงอย่าได้ประมาทในกิจ ๓ อย่างนี้ และใคร่ขอเสนอแนะ อุบายวิธีพิจารณา เพื่อให้มีสติระลึกถึงชีวิตและความตายไว้จะได้ไม่ประมาท เพราะไม่แน่ว่าหลับแล้ว จะได้ตื่นหรือเปล่า โดยอย่างน้อยก่อนหลับนอน ให้สวดมนต์ไหว้พระ เจริญพระกรรมฐานแล้วพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณะ ๕ ประการ ดังนี้
 
๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ (ชราธัม โมมหิ ชรัง อนตีโต)
 
๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ (พยาธิธัมโมมหิ พยาธิอนตีโต)
 
๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ (มรณธัมโมมหิ มรณัง อนตีโต)
 
๔. เราจักต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รักที่ชอบใจทั้งสิ้น (ปิเยหิ มนาเปหิ นานาภาโว วินา
ภาโว)
 
๕. เราจักทำกรรมใดๆ ไว้ดีก็ตาม ชั่วก็ตามจักต้องรับผลแห่งกรรมนั้นๆ (กัมมัสสโกมหิ กัม
มทายาโท กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสร โณ ยัง กัมมัง กริสสามิ กลยาณัง วา ปาปกัง
วา ตัสส ทายาโท ภวิสสามิ)
 
อายุของมนุษย์นี้น้อยนัก คนดีไม่พึงดูหมิ่นอายุนั้น พึงรีบประพฤติความดีปานดั่งคนมีศรีษะอันไฟติดทั่วแล้ว เพราะความตายจะไม่มาถึงไม่มี หากผู้ใดได้ตระหนักถึงความจริงแห่งชีวิตหรืออายุตามที่กล่าว จะเกิดความไม่ประมาทแล้วเร่งรีบบำเพ็ญเพียร สร้างเกาะอันเป็นที่พึ่งสำหรับตน เช่นนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตายแล้วไปไหน
 

158
บทความ บทกวี / กฏแห่งกรรม
« เมื่อ: 01 มี.ค. 2550, 03:08:35 »
จูฬกัมมวิภังคสูตร(๑๔/๕๗๙)พระพุทธเจ้าตรัสถึงผลของกรรมดีกรรมชั่ว ๗ คู่ ดังนี้

     ๑. ผลการฆ่าสัตว์ ตายไปจะเข้าถึงอบาย หากไม่เข้าถึงอบายถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็มีอายุสั้น ผลการไม่ฆ่าสัตว์ ตายไปจะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หากไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็มีอายุยืน

     ๒. ผลการเบียดเบียนสัตว์ ... ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็มีโรคมาก ผลการไม่เบียดเบียนสัตว์ ... ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ก็มีโรคน้อย

      ๓. ผลการเป็นคนมักโกรธ ... ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็มีผิวพรรณทราม ผลการเป็นคนไม่มักโกรธ ... ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็มีผิวพรรณงาม

      ๔. ผลการริษยาในลาภสักการะของคนอื่น ... ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็มีศักดิ์ต่ำ ผลการไม่ริษยาในลาภสักการะของคนอื่น ... ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็มีศักดิ์สูง

      ๕. ผลการไม่ให้ทาน ... ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็ยากจน ผลการให้ทาน ... ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ก็ร่ำรวย

      ๖. ผลของความกระด้างเย่อหยิ่ง ไม่ไหว้คนที่ควรไหว้ ... ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็เกิดในตระกูลต่ำ ผลของความไม่กระด้างเย่อหยิ่ง ไหว้คนที่ควรไหว้ ... ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็เกิดในตระกูลสูง

      ๗. ผลการไม่เข้าไปหาผู้รู้ ไม่สนใจถามเรื่องบาป บุญ ดี ชั่ว ... ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็โง่เขลา ผลการเข้าไปหาผู้รู้ สนใจถามเรื่องบาป บุญ ดี ชั่ว ... ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็มีปัญญาดี

      ทักขิณาวิภังคสูตร (๑๔/๗๑๑) พระพุทธเจ้าตรัสถึงผลการให้ทานว่า
     ๑. ให้ทานในสัตว์เดรัจฉานได้ผลร้อยเท่า

     ๒. ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีลได้ผลพันเท่า

     ๓. ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีลได้ผลแสนเท่า

     ๔. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกามได้ผลแสนโกฏิเท่า

     ๕. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้งได้ผล นับประมาณไม่ได้

     ๖. ถ้าให้ทานในพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลยิ่งไม่อาจนับประมาณได้เลย

      สัปปุริสทานสูตร (๒๒/๑๔๘) พระพุทธเจ้าตรัสถึงทาน ๕ ประการ
     ๑. ทานที่ให้ด้วยศรัทธา ทำให้ร่ำรวยและมีรูปงาม

     ๒. ทานที่ให้โดยเคารพ ทำให้ร่ำรวยและมีบุตร ภรรยา บริวาร ที่เชื่อฟัง

     ๓. ทานที่ให้โดยกาลอันควร ทำให้ร่ำรวยตั้งแต่ปฐมวัย

     ๔. ทานที่ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ ทำให้ร่ำรวยและพอใจใช้ของดีๆ

     ๕. ทานที่ให้โดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ทำให้ร่ำรวยและทรัพย์นั้นปลอดภัยจากไฟ น้ำ หรือการแย่งชิงของผู้อื่น

      ทานสูตร (๒๓/๔๙) พระพุทธเจ้าตรัสถึงการให้ทาน ๗ อย่าง
     ๑. การให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

     ๒. การให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

     ๓. การให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้ เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นยามา

     ๔. การให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่สมณะผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต

     ๕. การให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทานเหมือนฤษีครั้งก่อน เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

     ๖. การให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจสุขใจ เมื่อตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

     ๗. การให้ทานเพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เมื่อตายแล้วย่อมเกิด ในพรหมโลก (ชั้นสุทธาวาส) ภายหลังย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง (อรรถกถาอธิบายว่า เขาไม่อาจไปเกิดในพรหมโลกด้วยทาน แต่ด้วยจิตอันประดับด้วยทานนั้น เขาทำฌานและอริยมรรคให้บังเกิด ย่อมเกิดในพรหมโลกด้วยฌาน)

      อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ กล่าวถึงทาน ๔ ประการ คือ
     ๑. ให้ทานด้วยตน ไม่ชักชวนผู้อื่น ย่อมได้โภคสมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ
     ๒. ชักชวนผู้อื่น ไม่ให้ด้วยตน ย่อมได้บริวารสมบัติ ไม่ได้โภคสมบัติ
     ๓. ไม่ให้ด้วยตน ทั้งไม่ชักชวนผู้อื่น ย่อมไม่ได้โภคสมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ
     ๔. ให้ด้วยตน ทั้งชักชวนผู้อื่น ย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติ

      อรรถกถากล่าวว่า ทานที่มีผลมากประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
     ๑. ผู้รับมีศีลมีคุณธรรม
     ๒. ของที่ให้ได้มาอย่างสุจริต มีประโยชน์และสมควรแก่ผู้รับ
     ๓. มีเจตนาบริสุทธิ์ มีจิตใจที่ยินดี แจ่มใส เบิกบาน ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และเมื่อให้แล้ว

      อรรถกถากล่าวว่า ผลแห่งบาปจะมากหรือน้อยขึ้นกับองค์ ๓ คือ
     ๑. ถ้าคน สัตว์ หรือสิ่งของที่ล่วงละเมิด มีความดี ประโยชน์ หรือมูลค่ามาก บาปก็มาก ถ้าความดี ประโยชน์หรือมูลค่าน้อย บาปก็น้อย
     ๒. ถ้าความพยายามมากก็บาปมาก ถ้าความพยายามน้อยก็บาปน้อย
     ๓. ถ้าเหตุจูงใจคือราคะโทสะโมหะมากก็บาปมาก ถ้าราคะโทสะโมหะน้อยก็บาปน้อย

 


159
บทความ บทกวี / World War III
« เมื่อ: 01 มี.ค. 2550, 03:00:52 »

เงินทองจะมีประโยชน์อะไร ถ้าหากว่าเราไม่มีโอกาสได้ใช้มัน ไม่มีที่ให้ใช้ และไม่สามารถออกจากบ้านได้

ฯลฯ

 

Believe half of What you see!

อย่าเชื่อทุกสิ่งที่เห็น ได้ิยิน หรือได้อ่าน!

(ให้เชื่อเพียงครึ่งเดียว เพื่อเป็นข้อมูลเท่านั้น)

พุทธทำนาย หลังกึ่งพุทธกาลไปแล้ว ไม่นานจะเกิดเหตุการณ์ฯ

ศิลาจารึกในเขตมหาวิหาร ในสวนมฤคทายวัน ซึ่งแปลได้ความดังนี้
"ดูกร, อานนท์ พระตถาคตสงสารสรรพสัตว์ เวลานั้นพลโลกเหลือน้อยเต็มที คำพยากรณ์ของพระตถาคตนี้ ยังให้สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ผู้ใดรู้แล้วเชื่อหรือไม่เชื่อ ไม่บอกเล่าให้ผู้อื่นรู้กันต่อๆ ไป นับว่าเป็นกรรมแห่งสัตว์ ต่างสิ้นสุดกันตามเวลา ผู้ใดปรารถนาจะได้เห็นหรือทันพบผู้มีบุญ ให้รักษาศีล 5 หนึ่ง เคารพยำเกรงบิดามารดา รู้จักบุญคุณของท่านมีคุณหนึ่ง ให้เจริญภาวนาในพรหมไตรสภาพหนึ่ง

คาถาว่าดังนี้


พุทธิทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา นะโมสัพพะราชา ขัตติโย อิติ ปาระมิตา ติงสา อิติ สัพพัญญูมาคะตา

อิติ โพธิ มะ นุปปัตโต อิติปิโส จะเต นะโม

(คาถาบารมี 30 ทัศ)


รู้แล้วอย่าประมาท คนประมาทคือคนที่ตายแล้ว ให้ท่องบทภาวนารักษาศีล ย่อมอยู่รอดปลอดภัยจากภยันตรายภัยพิบัติทั้งปวงเทอญ"

เรียน ท่านผู้อ่านที่เคารพ
หากเห็นว่าข้อความต่อไปนี้ไม่เหมาะสมกรุณาลบมันทิ้งไปจากใจของท่านโดยทันที
และหากท่านใดมาอ่านพบข้อความเหล่านี้กรุณาใช้วิจารณญาณในการรับรู้ให้ดี
อย่าเพิ่งเชื่อถือกับข้อความเหล่านี้ และอย่าตื่นตระหนกไปกับข้อความเหล่านี้
เพียงรับรู้ไว้เป็นข้อมูลอันหนึ่งเท่านั้น หรือรับรู้ว่าเป็นนิยายเพ้อเจ้อไร้สาระก็พอ
ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่ !


มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งบอกกับผมว่า ปลายปี พ.ศ.2548 นี้ จะเริ่มเกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ซึ่งจะส่งผลให้มีคนตายจำนวนมหาศาล ส่วนผู้ที่รักษาศีล 5 ขึ้นไปจะรอด และอีก 5 ปีถัดไปน้ำจะท่วมภาคใต้ และจะร้ายแรงมากกว่าซึนามิหลายเท่า ผู้คนที่รอดชีวิตจำต้องเดินทางขึ้นทางเหนือเพื่อให้พ้นภัย โดยระหว่างทางจะพบกับคนนอนตายเกลื่อนกลาดจำนวนมาก

นี่ไม่ได้แช่งนะ!
ใครที่ไม่เคยเข้าวัดก็รีบซะตอนนี้ยังทัน รีบหาของดี วัตถุมงคลติดตัวไว้ แต่ถ้าเป็นคนมีศีลดีอยู่แล้วก็ยิ่งดี และสุดท้ายให้ฝึกนั่งสมาธิ เพราะไม่มีสิ่งใดจะช่วยเราได้นอกจากสมาธิ และผู้ปฏิบัติสมาธิที่ได้อภิญญา เรียกว่าให้อยู่ใกล้คนดีเข้าไว้


และปีหน้า (พ.ศ.2549) พระศรีอารย์ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ที่สวรรค์ชั้นดุสิตในตอนนี้ จะลงมาเกิดเป็นมนุษย์ (ท่านลงมาเกิดคราวนี้ ไม่ใช่จะมาเป็นพระพุทธเจ้่า เพราะยังไม่ถึงวาระนั้น แต่ครั้งนี้ท่านจะมาเกิดเป็นมนุษย์

[comment : ไม่แน่ตอนนี้ท่านอาจจะมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วก็ได้ แต่ยังไม่แสดงตัวเท่านั้น] เพื่อช่วยให้ผู้คนรอดพ้นจากเหตุการณ์อันเหลือที่มนุษย์จะรับมือได้ไหวครั้งนี้

เพื่อช่วยให้พ้นจากภัยสงครามครั้งมหึมาที่จะทำให้มีคนตายมหาศาลที่กำลังจะเกิดขึ้น)


นี่ผมก็ได้เปิดเผยคำพูดของท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง ซึ่งความจริงลูกศิษย์ท่านคนหนึ่งบอกว่า อย่าไปบอกใครนะ เดี๋ยวเขาจะหาว่าเราบ้า

แต่กระผมก็อดที่จะบอกท่านไม่ได้

ผมยอมเป็นคนบ้า ถ้าหากว่าความบ้าของผม มันจะสามารถช่วยชีวิตของคนจำนวนมากได้


หากท่านไม่แน่ใจว่าตัวท่านมีความดีพอที่จะรอดพ้นจากมหาภัยพิบัติครั้งนี้ละก็ ขอให้หาของดีติดตัวไว้เป็นดี หรือถ้าหาของดีไม่ได้จริง ๆ ก็จงทำตัวท่านเองให้เป็นคนดี เพื่อความดีจะได้รักษาตัวของท่านเอง


หากท่านไม่เชื่อ ก็จงอย่าเพิ่งปฏิเสธ เช่น เชื้อโรคที่ตาเปล่าของเรามองไม่เห็น แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามันไม่มี เพราะเรามีเครื่องมือคือกล้องจุลทรรศน์ที่จะส่องเห็นแล้ว ส่วนเรื่องอย่างเช่นสิ่งที่ผมกล่าวไปก่อนหน้า เครื่องมือที่จะเห็นก็มีแล้วคือการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ แต่อยู่ที่ท่านจะใช้เครื่องมือ หรือรู้วิธีใช้เครื่องมือนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่เท่านั้นเอง


ผมเคยอ่านหนังสือที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านเขียนไว้ว่าอีกไม่กี่ร้อยปีจะมีพระมหากษัตริย์ท่านหนึ่งเดินทางจากทางเหนือมาบูรณะวัดท่าซุง ซึ่งตอนที่ท่านบอกให้ และขณะนี้ก็ตาม วัดท่าซุงก็ยังเป็นปกติดี ประเทศไทยก็ยังปกติดี

แสดงว่าหลังจากนี้ไม่นานมันต้องมีเหตุการณ์ที่ทำให้วัดท่าซุงร้าง ซึ่งปัจจุบันวัดท่าซุึงยังมีคนไปทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม อยู่ไม่ขาดสาย แต่จะมีเหตุใดเล่าที่ทำให้เป็นวัดร้างได้ นอกจาก..... (อาจจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ระหว่างชาติอาหรับและอเมริกา ซึ่งเป็นชนวนให้เกิดอภิมหาสงครามครั้งใหญ่ซึ่งส่งผลกระทบถึงประเทศไทย ก็เป็นได้)


ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่ จงหมั่นทำดี เพื่อรักษาชีวิตรอดเทอญ

 

จาก

ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม

5 ก.พ.48

 

------------------------------------------------------

-----------------------------------------------------

เรื่องเล่าสนุก ๆ จากคุณเกษม

ในนิมิต ...บอกมาว่า อีกประมาณ 5 ปี จะเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

(ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2548)

แผ่นดินไทยที่สาบสูญบริเวณที่หายถาวรทั้งแผ่นดินนราธิวาส สตูล พังงา ภูเก็ต หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์
หมู่เกาะ ตะรูเตา หมู่เกาะทะเลตรัง ตราด เกาะช้าง
หมู่เกาะทะเลตราด เกาะสมุย เกาะพงัน อ่างทอง ชะอำบริเวณที่เหลือเพียงบางส่วน แต่จะกลายเป็นเกาะเล็กๆเกาะยะลา เกาะปัตตานี เกาะพัทลุง เกาะสิชล-ขนอม
เกาะหัวหิน เกาะหาดทรายรี-ชุมพรบริเวณที่หายเป็นส่วนใหญ่ จะเหลือเพียงบางส่วนยะลา หาดใหญ่ พัทลุง ตรัง สุราษฎร์ธานี
นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์
เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สมุทรปราการ อุบลราชธานี
แผ่นดินริมแม่น้ำโขงตลอดแนว กาญจนบุรี
ฯลฯประเทศไทยจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่พื้นที่ในส่วนภาคกลางอันเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ
และบริเวณในส่วนของภาคใต้ที่จะถูกแบ่งออกเป็น 2 เกาะใหญ่ๆ
ได้แก่1. บริเวณตั้งแต่ชุมพรฝั่งตะวันตก ท่าแซะ ระนอง
สุราษฎร์ธานีฝั่งตะวันตก บริเวณด้านบนของอำเภอพนม
อ.เทียนชา อ.บ้านนาเดิม นครศรีธรรมราชตอนบน ขนอม2. บริเวณตั้งแต่จังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช
ที่ต่อแดนกับจังหวัดกระบี่ด้านบน ฉวาง ร่อนพิบุลย์ ชะอวด
จังหวัดตรังด้านตะวันออก จังหวัดพัทลุงด้านตะวันตก หาดใหญ่
จังหวัดยะลา ด้านตะวันตกนอกจากนี้ยังมีเกาะเล็ก เกาะน้อยที่เกิดขึ้นมาใหม่อีกหลายเกาะ
ได้แก่เกาะสัต***บ เกาะยะลา เกาะปัตตานี
เกาะพัทลุง เกาะสิชล-ขนอม
เกาะหัวหิน เกาะหาดทรายรี-ชุมพรบริเวณที่จะกลายเป็นพื้นที่ติดกับทะเลดินแดนที่จะมีอาณาเขตติดกับทะเล ได้แก่
สงขลาทางด้านตะวันตก ยะลาทางด้านตะวันออก
หาดใหญ่ กระบี่ตอนบน ด้านที่ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี
และด้านที่ติดกับจังหวัดพังงา
ตอนกลางของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตั้งแต่ อ.พนม อ.เคียงซา จรดเขตจังหวัดกระบี่
ชุมพรด้านใน ท่าแซะ
ตอนล่างของเมืองประจวบคีรีขันธ์
และถนนเพชรเกษมฝั่งตะวันออกตลอดแนว
ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ถนนชลบุรี-ปากท่อ ช่วงสมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
ตัวเมืองแปดริ้ว บ้านค่ายปลวกแดง จ.ระยอง ตัวเมืองจันทรบุรี
และตลาดท่าใหม่วังน้ำเย็น จรด จ.สระแก้ว
เหนือเขื่อนเขาแหลมด้านตะวันตก
กาญจนบุรี ศรีสะเกษ อุบลราชธานี มุกดาหาร สกลนคร
นครพนม เลย หนองคาย อำนาจเจริญ
บ้านร่มเกล้า จังหวัดพิษณุโลก
อุตรดิตถ์ ด้านที่ติดกับประเทศลาว น่าน ด้านตะวันออกตอนล่าง
บ้านสบเมย จ.แม่ฮ่องสอนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะกลายเป็นดินแดนชายฝั่งทะเล !ประเทศไทยเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์
ที่จะได้รับการปกป้อง คุ้มครองรักษาไว้
ซึ่งจะได้รับความบอบช้ำจากมหันตภัยธรรมชาติน้อยที่สุดในโลก
และจะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำซึ่งมีความเจริญเป็นศูนย์กลางของโลกต่อไปเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในต่างประเทศเหตุการณ์ในต่างประเทศเกาะฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ถูกคลื่นยักษ์ที่มาพร้อมกับพายุไซโคลนกระหน่ำ
ทั้งเกาะจะถูกลบหายไปจากแผนที่โลกพิลิปปินส์ ถูกพายุไซโคลนกระแทก
ก่อนเกิดเหตุจะแลเห็นน้ำทะเลเป็นสีดำหม่นหมอง
บรรยากาศหดหู่ เวิ้งว้าง
ไม่นานนักจะเกิดพายุไซโคลนก่อตัวขึ้น
พายุไซโคลนที่รุนแรง ข้างล่างดูด ข้างบนตี กระแทก
จนกระทั่งเกาะทุกเกาะจมหายลงไปในท้องทะเลไอแลนด์เหนือและใต้ อากาศหนาวจัด
อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน
ในขนะเดียวกันจะถูกคลื่นยักษ์ซัดกระหน่ำ
ในขณะที่หนาวจัดนั่นเองฮ่องกงถูกทะเลคลั่ง น้ำทะเลสูง
ชินจุงจะหายถาวร
เกาะสนามบินแห่งใหม่
จะถูกคลื่นตีแตกหายไปในทะเล
ในบริเวณแถบนั้นจะเหลือแต่เพียงเกาะเกาลูน
และประเทศจีนบางส่วนเท่านั้นเกาะมาเก๊า เผชิญพายุฝนอย่างหนัก
รวมทั้งคลื่นยักษ์โหมกระหน่ำ
จนกระทั่งเกาะทรุดเอียง น้ำทะเลขึ้นสูง
ยามรุ่งเช้าหลังจากพายุสงบ
จะเหลือเพียงโบสถ์คริสต์แห่งหนึ่งกับบาทหลวง
ที่กำลังสวดมนต์ภาวนาเพียง 3 รูปเท่านั้นนิวซีแลนด์ถูกพายุโซนร้อนถล่ม
ฝนที่ตกลงมาจะมีเม็ดโตเท่าลูกเห็บ
น้ำท่วมสูงแต่เกาะจะไม่สูญหายถาวรสหรัฐอเมริกาจะถูกพายุที่รุนแรงถล่มอย่างหนักหน่วง
พร้อมทั้งเกิด แผ่นดินไหวฉับพลัน 24 ริกเตอร์
เป็นระยะเวลานานถึง 8 ชั่วโมง
ซี่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกนี้
อเมริกาจะถูกแบ่งออกเป็นสองซีก
กลายเป็นเกาะ 2 เกาะ
นิวยอร์กจะทรุดตัวเหลือเพียงบางส่วน
นอกนั้นจะจมหายลงไปในท้องทะเลจนหมดสิ้นตุรกี แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง 16 ริกเตอร์คิวบา จมหายลงไปใต้ทะเล
( ห่างจากอเมริกา 10 นาที )
เกาะสิงคโปร์ หายไปจากแผนที่โลก
เนื่องจากถูกพายุไซโคลนกระแทกอย่างหนักอินโดนีเซียถูกพายุไซโคลนกระแทก
จนกระทั่งหายไปจากโลก
เหมือนเช่นที่พิลิปปินส์
จะเหลือเพียงเกาะเล็กๆ
ในส่วนที่เคยเป็นยอดเขาของกรุงจากาต้าเท่านั้นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เกิดน้ำท่วมใหญ่
แม่น้ำกลายเป็นทะเล
แผ่นดินซีกตะวันออกจะจมหายไปทั้งหมด
เกาหลีใต้จะจมหายประเทศญี่ปุ่นหายไปจากโลก
ก่อนเกิดเหตุจะมีบรรยากาศเงียบงัน
วังเวง หดหู่เวิ้งว้าง
มนุษย์จะเห็นเหตุการณ์ประหลาด
เมฆสีเทาก้อนใหญ่ 2 ก้อน
ลอยเคลื่อนตัวเข้าหากัน
แล้วชนกันแตกกระจายเป็นฝนเม็ดโตๆ
ใต้ทะเลเกิดคลื่นไซโคลนขยายตัว
พุ่งเข้าหาหมู่เกาะ
จะกระแทกทุกเกาะเหมือนล้อมรั้ว
เกาะทุกเกาะจมหายลงไปในทะเลไต้หวัน เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
ตอนกลางเกาะถูกแบ่งออกเป็นสองซีก
จากนั้นจะโดนคลื่นยักษ์กระหน่ำซ้ำเติม
เกาะทั้งเกาะจะจมหายไปแผ่นดินที่สาบสูญสหรัฐอเมริกา
( แผ่นดินถูกผ่ากลางหายสาบสูญไปหลายรัฐ
กลายเป็นเกาะ 2 เกาะ )
เม็กซิโก ( บางส่วนจะกลายเป็นเกาะ )
แคนาดา ( จะกลายเป็นหมู่เกาะใหญ่ น้อยมากมาย )
ไต้หวัน ญี่ปุ่น กัวเตมาลา เม็กซิโกซิตี้
เบนนิส ฮอนดูลัส เอลสวาดอร์ นิคารากัว
คอสตาริก้า ไหหลำ แผ่นดินจีนด้านตะวันออก
เซี่ยงไฮ้ มาเก๊า พิลิปินส์ ศรีลังกา ฯลฯวิกฤตการณ์เลวร้ายน่าหวาดหวั่นจะบังเกิดขึ้นทั่วโลก
ความหวาดกลัวไม่จำเป็นจะต้องรับรู้ผ่านหน้าจอทีวี
เพราะมนุษย์ทุกคนบนโลก
จะได้รับรู้รสชาติแห่งความกลัวตายทุกคน !!มนุษย์ที่รอดชีวิตไปได้จะเข้าสู่ยุคใหม่จะมีจิตใจที่ดีงาม
และมีอายุขัยที่ยืนยาวจนน่าประหลาดใจ
มีอารยธรรมเจริญก้าวหน้า
โดยที่มิได้สร้างเทคโนโลยี่ที่ก่อปัญหา
ให้กับโลกมากมายเช่นในปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อสื่อสาร
กับเพื่อนมนุษย์จากต่างดาวได้
ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันบางคนก็ไม่เชื่อว่า
สิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงก็ตามประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของโลก
และเป็นประเทศแรกที่มีผู้สร้างยานอวกาศไปท่องจักรวาลได้
เป็นแห่งเดียวของโลก โดยใช้พลังจิตในการขับเคลื่อน
โดยที่ไม่ได้ใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้
ให้เกิดพลังงานที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรธรรมชาติของโลก
ให้เสียหายอย่างเช่นในปัจจุบัน
นอกจากนี้ต่อมไพนีล หรือตาที่ 3 ของมนุษย์
จะถูกฟื้นฟูขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จนสามารถเข้าถึงสภาวะนิพพานได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีตในระยะเวลาไม่นานนัก ( ภายใน 6 ปี )
พระศรีอริยะเมตไตรยจะเปิดเผยพระองค์
เพื่อปลอบประโลมสร้างขวัญกำลังใจให้กับมวลมนุษยชาติ
ที่มีความบอบช้ำทางจิตใจ
ซึ่งในขณะนี้พระองค์ท่านได้เสด็จลงมาบนโลกมนุษย์แล้ว
กำลังเป็นสามเณรในพุทธศาสนา
และพระองค์ได้มาปรากฎที่ประเทศไทยนี่เอง !!รายละเอียดของมหันตภัยที่จะเกิดขึ้นสถานที่แห่งแรกในประเทศไทย
ที่จะได้เผชิญกับลาวาร้อนจากไฟใต้โลก
จะเกิดขึ้นจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดแรกในภาคอีสาน
ตามรอยต่อของจังหวัดที่ติดกันเป็นแนวยาว
เริ่มแรกจะมีลักษณะเป็นแนวแยกของแผ่นดินคดเคี้ยว
ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ธารโลหะร้อนจะไหลลามแผ่ออกไปเป็นบริเวณกว้าง
ข้ามวันข้ามคืนติดต่อกัน
จากนั้นพายุที่รุนแรงจะนำน้ำมาดับไฟ
ก่อให้เกิดนำท่วมและโรคร้ายที่จะระบาดอย่างรุนแรง
จนสุดที่จะเยียวยาได้
โดยเฉพาะอหิวาตกโรคสายพันธุ์ใหม่
ที่มนุษย์เชื่อว่าได้กำจัดมันจนหมดไปจากโลกนี้แล้ว
แต่หารู้ไม่ว่ามันกำลังฟักตัว
และจะมีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าตอนที่ถูกมนุษย์ปราบมันไปตอนนั้นเสียอีก
ซึ่งมันสามารถคร่าชีวิตผู้รับเชื้อได้ในระยะเวลาเพียงวันเดียวเท่านั้น********************************** ท้องฟ้ามืดมิด ฝนจะเริ่มตกหนักทั่วโลกอย่างไม่หยุดยั้ง
น้ำจะเอ่อขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าท่วมแผ่นดินในหลายๆ พื้นที่
พายุไซโคลนจะพัดกระหน่ำ
ซึ่งจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 160 กม./ชม.
พัดผ่านกรุงเทพ ผ่านช่องแม่น้ำเจ้าพระยา
ตึกแห่งหนึ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่อยู่ใกล้กับสะพานกลางเก่ากลางใหม่
ในย่านฝั่งธนบุรีจะพังทลายลงมา
จากการโหมกระหน่ำและความบ้าคลั่งของลมพายุ
มีผู้เสียชีวิตในครั้งนี้มีไม่ต่ำกว่า 600 คนในเวลาหลังจากนั้นไม่นานนัก
ตึกสีขาวที่อยู่ริมแม่น้ำฝั่งตรงข้ามจะพังทลายตามลงมา
ยอดตึกที่พังทลายจะแลเห็นโผล่เหนือน้ำ
ให้เห็นเป็นอนุสรณ์ของคราบน้ำตา
หลังคาบ้านเรือนในบริเวณใกล้เคียงจะปลิวว่อน
เสาไฟฟ้าจะล้มระเนระนาด ด้วยความรุนแรงของลมพายุ****************************** ตึกสูงย่านประตูน้ำ ในกรุงเทพมหานคร
ผนังตึกส่วนหนึ่งจะรูดลงมากองกับพื้น
ด้วยความรุนแรงของลมพายุที่โหมกระหน่ำอย่างรุนแรง
จะสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนในบริเวณใกล้เคียง
อย่างเหลือที่จะคณานับ******************************* เทือกเขาตะนาวศรีในเขตจังหวัดราชบุรี จะพังทลายลงมา
เนื่องจากแผ่นดินไหวที่รุนแรง
ซึ่งจะเปิดเผยให้เห็นถึงภูเขาไฟที่ซุกซ่อนอยู่
หลังจากนั้นไม่นานภูเขาไฟลูกแรกในประเทศไทย
จะระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง
เสียงดังกึกก้องกัมปนาทดังมาถึงกรุงเทพ
ธารลาวาจะไหลลงไปยังฝั่งพม่า
ไม่นานนักระเบิดลูกที่สอง และลูกที่สามก็ตามมา
ลูกที่สี่ จะรุนแรงอย่างถึงที่สุด
ซึ่งจะสร้างความอำมหิตให้กับภาคเหนือและภาคอีสานต่อไป******************************** ณ บ้านกุดฉิม อำเภอหนองเรือ จัดหวัดขอนแก่น
จะเกิดภูเขาไฟแห่งที่สองระเบิดขึ้น มีผู้เสียชีวิตประมาณ 500 คน
เกิดแผ่นดินไหว และมีลาวาร้อนจากภูเขาไฟ
ไหลเคลื่อนตัวทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้า
เกิดขึ้นที่บ้านโพธิ์ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
มีผู้เสียชีวิตร่วมพันคน******************************* เกิดภูเขาไฟระเบิดในจังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างกระทันหัน
จนยากที่ผู้คนในบริเวณนั้นจะตั้งตัวทัน
และจะเกิดปรากฎการณ์ที่แปลกประหลาด
มีจำนวนเด็กและผู้หญิงเสียชีวิตมากกว่าผู้ชายจังหวัดตรัง เกาะทุกเกาะจะจมหายไป
เนื่องจากลมพายุที่รุนแรงและทะเลคลั่ง
ที่กลบกลื่นหมู่เกาะให้หลับลึกไปอย่างรวดเร็วสมุทรปราการ จะจมหายลงไปในท้องทะเลครึ่งเมืองอย่างถาวร
เนื่องมาจากลมพายุที่โหมกระหน่ำ
บวกกับน้ำทะเลหนุนสูง น้ำจะท่วมอย่างรวดเร็ว
และมีสายน้ำเปลี่ยนทิศไหลผ่าเมืองอย่างน่าหวาดกลัว
ผู้ที่รับบาดเจ็บจากหายนะในครั้งนี้
จะถูกนำส่งยังโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
ที่อยู่ใกล้กับห้างสรรพสินค้าชื่อดังย่านสำโรง
ซึ่งโรงพยาบาลแห่งนี้จะเป็นประตูต้นทาง
ของกระแสน้ำที่ไหลเปลี่ยนทิศ
แต่ก็เป็นสถานที่ปลอดภัยที่สุดของเมืองสมุทรปราการเกาะสมุย จะถูกลบหายไปจากแผนที่โลก
เนื่องจากแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
และเกิดพายุรวมทั้งคลื่นยักษ์ซัดกระหน่ำ
จนกระทั่งเกาะทั้งเกาะจมหายลงไปในท้องทะเล
อย่างไม่มีวันหวนกลับคืน****************************
เกิดแผ่นดินไหวที่ตัวเมืองบุรีรัมย์ เสียชีวิตทันที 53 คน
ผู้บาดเจ็บที่เหลือจะเสียชีวิตอย่างมากมาย
ในระหว่างทางไปโรงพยาบาลเกาะปันหยี จังหวัดพังงา เกิดน้ำท่วมสูง
และพายุที่รุนแรงโหมกระหน่ำ
เกาะหายสาบสูญอย่างถาวร ผู้คนเสียชีวิตทั้งเกาะเขื่อนบางลาง จังหวัดนราธิวาส ถูกคลื่นจากทะเลซัดกระหน่ำ
จนกระทั่งเขื่อนแตก น้ำไหลทะลักเข้าท่วมแผ่นดิน
รวมทั้งน้ำทะเลที่ถาโถมเข้าใส่แผ่นดินอย่างบ้าคลั่ง
จนกระทั่งไม่มีนราธิวาส หลงเหลืออยู่ในแผนที่โลกบ้านหาดเล็ก จังหวัดตราด ถูกคลื่นยักษ์ไซโคลนกระหน่ำ
แผ่นดินหายไม่มีเหลือยะลา ถูกทะเลคลั่งโหมกระหน่ำ น้ำทะเลสูง แผ่นดินหาย
เหลือเพียงเกาะเล็กๆ เท่านั้น ที่จะมีชื่อเรียกใหม่ว่า?เกาะยะลา?จังหวัดสงขลาน้ำท่วมสูง เกาะทุกเกาะจมหาย
จะเหลือเพียงหาดใหญ่บางส่วนที่น้ำจะไม่ท่วมถาวร************************* ชลบุรี ชายฝั่งทะเลบางแสน ถูกคลื่นยักษ์ 4-5 เมตร
ซัดกระหน่ำอย่างรุนแรงจนกระทั่งมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งพังพินาศ
แต่น้ำทะเลจะไม่ท่วมถาวรฉะเชิงเทรา น้ำจะท่วมถึงสองฝั่งบางปะกง จนถึงฐานหลวงพ่อโสธรกระบี่จะถูกพายุพัดกระหน่ำ ผืนดินทางด้านตะวันออกจะหายไป
ชาวประมง ประมาณ 180 คนจะถูกกลืนหายไปในท้องทะเลชุมพร จะเผชิญพายุฝนที่รุนแรง คลื่นจัด น้ำท่วมสูง
ศาลกรมหลวงชุมพรจะเหลือไว้เป็นอนุสรณ์ให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์อุทยานภูริน นางย่อง สิมิลัน จังหวัดพังงา ถูกคลื่นยักษ์ซัดหาย******************************** ภูเก็ต ถูกพายุถล่มอย่างบ้าคลั่ง
จะกระทั่งเกาะทั้งเกาะหายไปจากแผนที่โลก
มีผู้เสียชีวิตทันทีประมาณ 40,000 ? 60,000 คน******************************** นครศรีธรรมราชน้ำท่วมใหญ่ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 20,000 คน
พังงา น้ำท่วม แผ่นดินจะถูกกลืนจมหายลงไปในท้องทะเลปัตตานี ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมทั้งจังหวัด
แต่ วัดช้างไห้ ของหลวงปู่ทวด จะปลอดภัย
รูปปั้นหลวงปู่ทวดจะแสดงปาฎิหารย์ ลอยน้ำขวางกระแสน้ำเชี่ยว
น้ำจะแห้ง วัดช้างไห้จะกลายเป็นเกาะกลางน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์จะพังหลาย กระแสน้ำที่เชี่ยวกราด
จะทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้า มีผู้เสียชีวิตทันที่ประมาณ 200 คนเกิดภูเขาไฟระเบิดอย่างกึกก้องกัมปนาถที่จังหวัดอุตรดิตถ์
กาญจนบุรี เขื่อนศรีนครินทร์จะมีปัญหา
น้ำไหลอ้อมเขื่อนท่วมด้านล่างเสียหายบางส่วน
รวมทั้งน้ำท่วมสูงแผ่นดินหายถาวรครึ่งจังหวัด*************************** นครราชสีมา เกิดน้ำท่วมใหญ่เป็นประวัติการณ์
กระแสน้ำจะท่วมสูงจนถึงฐานของอนุเสาวรีย์ย่าโม
****************************** ทุกจังหวัดในประเทศไทยต่างก็ได้รับความบอบช้ำด้วยกันทั้งสิ้น
จะมากน้อยต่างกันไป บริเวณใดที่มีผู้คนมีศีลธรรมอาศัยอยู่
อาจได้รับการปกป้อง บรรเทาภัยพิบัติให้เบาบางลงไปได้บ้างข้อมูลทุกอย่างที่กล่าวมานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้
แต่ระดับความรุนแรงจะไม่เปลี่ยนแปลงแน่นอน
ดังเช่นภูเขาไฟที่กล่าวว่าจะเกิดในสถานที่หลายแห่งนั้น
อาจเกิดระเบิดกึกก้องกัมปนาถรวมกันในสถานที่แห่งเดียว
แต่จะมีความรุนแรงมากกว่าปกติ
กล่าวคือ อาจมีลาวาจะพุ่งสู่ท้องฟ้าสูงเป็นพิเศษ
ถึง 6 กิโลเมตร เป็นต้นเหตุการณ์ต่างๆ ที่กล่าวมานั้น
จะมีอยู่วันหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์รุนแรงที่สุด
คลื่นพลังมหาศาลจากจักรวาลจะกระแทกลงมายังโลก
เป็นพลังงานที่เกิดจากลมพายุสุริยะ
อันเนื่องมาจากจุดดับบนดวงอาทิตย์จุดที่ 11มนุษย์ทุกคนบนโลก จะได้พบกับเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัว
บรรยากาศช่วงแรกๆ จะรู้สึกหดหู่ เวิ้งว้าง ท้องฟ้าจะวังเวงพิกล
หลังจากนั้นไม่นานนักลมจะแรงขึ้น แรงขึ้น เสียงฟ้า เสียงลม
จะแผดเสียงกึกก้องดังที่สุด
ตั้งแต่เกิดมาจะไม่เคยได้ยินเสียงที่ดังขนาดนี้มาก่อนในชีวิต
มันเป็นเสียงของมัจจะราชที่จะพิพากษาโลกในด้านความเป็นมนุษย์
คนชั่วทุกคนจะถูกประหารชีวิต และจะตายอย่างทรมาน
ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำสังคม ผู้นำเศรษฐกิจ ผู้นำลัทธิ ฯลฯ
ส่วนคนดีจะได้รับการยกเว้นเอาไว้
ให้ได้ทำความดีโดยไม่มีอุปสรรคต่อไปเตรียมตัวรับมือภัยธรรมชาติครั้งใหญ่

1. ก่อนการเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ 15 วัน โลกจะเอียงก้มหัวให้ดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้น้ำแข็งจากขั้วโลกเหนือละลาย จะนำไปสู่เป็นคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าสู่แผ่นดิน (ปัจจุบันเกิดขึ้นแล้ว)
2. เกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ เป็นเวลา 49 วัน ในระหว่างเดือน ตุลาคม ? พฤศจิกายน
3. ฝนตกครั้งใหญ่ทั่วโลก (ระยะชำระล้าง) เป็นเวลา 7 วัน ** ระยะเวลาการเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงของโลก จะรวมแล้วมีระยะเวลาทั้งสิ้น 56 วัน**


**

160
ธรรมะ / อานิสงส์
« เมื่อ: 20 ม.ค. 2550, 12:48:04 »
01 อานิสงส์คาถาอุณหิสสวิชัย

ในสมัยหนึ่งพระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่เหนือพระแท่นศิลาอาสน์ภาย
ใต้ต้นปาริกชาติ ณ ดาวดึงสพิภพ ตรัสพระสัทธรรม เทศนา อภิธรรม 7 คัมภีร์ โปรดพุทธมารดา ใน
กาลครั้งหนึ่งนั้นมีเทพบุตรองค์หนึ่ง นามว่าสุปติฏฐิตา ได้เสวยทิพย์สมบัติอยู่ชั้นดาวดึงส์มาช้านาน ก็
อีก 7 วัน จะสิ้นบุญจุติจากดาวดึงส์ ลงไปอุบัติในนรกเสวยทุขเวทนาอยู่ตลอดแสนปี ครั้นสิ้นกรรมใน
นรกนั้นแล้วก็จะไปบังเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน 7 จำพวก เสวย วิบากกรรมอยู่ 500 ชาติ ทุก ๆ จำพวก


ยังมีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อว่า อากาสจารินี ซึ่งเป็นผู้รู้ บุรพกรรมของสุปติฏฐิตาเทพบุตร อาศัยความคุ้นเคย
สนิทสนมกลมเกลียวกันตั้งแต่ครั้งเป็นมนุษย์ เคยได้รักษาอุโบสถศีลด้วยกันในอดีตชาติล่วงมาแล้ว
มองเห็นอกุศลกรรมตามทัน จะสนองผลแก่สหายของตนก็มีจิตปรานีใคร่จะอนุเคราะห์ จึงเข้าไปสู่
สำนักของสุปติฏฐิตาเทพบุตร แล้วก็บอกเหตุที่จะสิ้นอายุภายในอันเร็ว ๆ นี้ ตลอดทั้งที่จะไปเกิดในนรก
ครั้งพ้นจากนรกแล้ว จะต้องไปกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานให้ทราบสิ้นทุกประการ ฝ่ายสุปติฏฐิตาเทพบุตร ได้
ทราบเหตุดังนั้นแล้ว ก็มีความสะดุ้งตกใจกลัว คิดปริวิตก บุพพนิมิต 4 ประการ คือ
ดอกไม้ทิพย์ร่วงโรย ประการหนึ่ง สรีระ ร่างกายมัวหมองไม่ผ่องใส ประการหนึ่ง
ผ้าทิพย์ภูษา เครื่องทรงเศร้าหมองไม่ผ่องใส ประการหนึ่ง ครั้งทรงผ้าสไบเข้าก็ร้อนกระวนกระวายไปประการหนึ่ง
บุพพนิมิตเหล่านี้ก็ปรากฏแก่สุปติฏฐิตาเทพบุตร บุพพนิมิต 4 ประการนี้
ปรากฏแก่เทพบุตรหรือเทพธิดาองค์ใดแล้ว เทพบุตรธิดาองค์นั้น จะต้องจุติจากเทวโลกอย่างแน่นอน


เมื่อ สุปติฏฐิตาเทพบุตร ทราบชัดเจนเช่นนั้นแล้ว ก็ไม่นิ่งนอนใจใคร่จะหาเครื่องป้องกัน จึงเข้าไปสู่
สำนักท้าวอเมรินทราธิราชเจ้า ถวายอภิวาทแล้วกราบทูลเหตุการณ์ให้ทรงทราบ แล้วทูลอ้อนวอนขอ
ชีวิตในสำนักอมรินทร์ โดยอเนกปริยายท้าวเธอตรัสตอบว่า ชื่อว่าความตายนี้เราเห็นผู้ใหญ่ในสรวง
สวรรค์ ก็ไม่อาจห้ามบุพพกรรมอันมีกรรมแรงนี้ได้ เราเห็นอยู่แต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นที่
พึ่งของสัตว์โลกทั่ว 3 ภพ พระองค์เสด็จประทับอยู่ใต้ต้นปาริกชาติ มาเราจะพาเข้าเฝ้ากราบทูล
อาราธนา ให้พระองค์ทรงช่วยเหลือ สุปติฏฐิตาเทพบุตร ถือเครื่องสักการบูชาตามเสด็จท้าว
อมรินทราธิราช เข้าสำนักพระมหามุนีนาถพระศาสดาจารย์แล้ว กราบทูลเหตุการณ์เหล่านั้น ให้พระ
องค์ทรงทราบโดยสิ้นเชิง แล้วพระองค์ทรงแสดงบุพพกรรมของ สุปติฏฐิตาเทพบุตร องค์นี้เกิดเป็น
มนุษย์มีความเห็นผิด เป็นผู้ประมาทตั้งอยู่ในมิจฉาทิฏฐิเป็นพรานฆ่าเนื้อเบื่อปลาเป็นผู้มีใจแข็งกระด้าง
ตบตีบิดามารดาต่อสมณชีพราหมณ์ ไม่ลุกรับนิมนต์ให้อาสนะที่นั่งภิกษุสงฆ์ผู้เข้าไปสู่สำนัก แม้เห็น
แล้วก็ทำเป็นไม่เห็นเสีย ด้วยวิบากผลอกุศลกรรมอันนี้ตามทันเข้า สุปติฏฐิตาเทพบุตรจึงได้ไปเกิดใน
นรกตลอดแสนปี ครั้นพ้นจากนรกขึ้นมาก็จะไปกำเนิดแห่งสัตว์ 7 จำพวก คือเป็นแร้ง เป็นรุ้ง เป็นกา
เป็นเต่า เป็นหนู เป็นสุนัข และเป็นคนหูหนวกตาบอดอย่างละ 500 ชาติ ด้วยอำนาจอกุศลกรรมนั้น
แหละ ขอมหาบพิตรจงทราบด้วยประการฉะนี้


เมื่อท้าวอมรินทร์ทรงทราบแล้ว ก็มีความเมตตาสงสารแก่สุปติฏฐิตาเทพบุตร ยิ่งนัก จึงกราบ
ทูลให้พระองค์ทรงแสดงพระสัจธรรมเทศนาอันจะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลก ช่วยชีวิตเทพบุตรองค์นี้ไว้ไม่
ให้ตายลงภายใน 7 วันนี้ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสเทศนาคาถาอุณหิสสวิชัย มีใจความดังต่อไปนี้

อตฺถิ อุณฺหิสฺสวิชโย ธมฺโม โลเก อนุตฺตโร สพฺพสตฺตหิตตฺถาย ตํ ตฺวํ คณฺหาหิ เทวเต ปริวชฺ
เช ราชทณฺเฑ อมนุสฺเสหิ ปาวเก พยคฺเฆ นาเค วิเสภูเต อกาลเรเณน วา สพฺพสฺมา มรณา มุตฺโต
ฐเปตุวา กาลมาริตํ ตสฺเสว อานุภาเวน โหตุ เทโว สุขี สทาสุทฺธสีลํ สมทาย ธมฺมํ สุจริตํ จเร ตสฺ
เสว อานุภาเวน โหตุ เทโว สุขี สทา ลิกฺขิตตํ ปูชํ ธารณํ วาจนํ ครุ ปเรสํ สุตฺวา ตสฺส อายุปวฑฺฒตี
ติ ฯ

เทวเต ดูกรเทวดาทั้งหลาย พระธรรมนี้ชื่อว่าอุณหิสสวิชัย เป็นยอดแห่งพระธรรมทั้งหลายเป็น
ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งมวล ท่านจงเอาพระธรรมนี้เป็นที่พึ่ง อุตสาห์สวดบ่นสาธยายทุกเช้าค่ำ ย่อมห้าม
เสียซึ่งภัยทั้งปวง อันจะเกิดขึ้นจากผีปิศาจหมู่พยัคฆะงูใหญ่น้อย และพญาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายจะไม่
ตาย ผู้ใดได้เขียนไว้ก็ดี ได้ฟังก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ทุกวันก็ดี จะมีอายุยืน เทวเต ดูกรเทวดา ทั้ง
หลายท่านจงมีความสุขเถิด

อนึ่งบุคคลผู้ใดบูชาแก้วทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้เป็นยาอันอุดม ย่อมคุ้ม
ครองผู้นั้นให้พ้นจากทุกข์ภัยพยาธิทั้งปวง ด้วยอำนาจพระอุณหิสสวิชัยนี้ จะรักษาคุ้มครองให้ชีวิตของ
ท่านเจริญสืบต่อไป ท่านจงรักษาไว้ให้มั่นอย่าให้ขาดเถิด เมื่อจบพระสัทธรรมเทศนาลง เทวดาทั้ง
หลายมีท้าวอมรินทร์เป็นประธานได้ดื่มรสแห่งพระสัทธรรมเป็นอันมาก ฝ่าย สุปติฏฐิตาเทพบุตร มีจิต
น้อมไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนานั้น ได้กลับอัตตภาพใหม่ คือ มีกายอันผ่องใส เป็นเทวบุตร
หนุ่มคืนมาแล้วจะมีอายุยืนตลอดไปถึงพระพุทธพระนามว่า ศรีอริยเมตไตรยลงมาตรัสจึงจะจุติจากเทว
โลกลงมาสู่มนุษย์โลก เป็นพระอรหันตขีณาสวะองค์หนึ่ง ดังนั้นขอพุทธบริษัททั้งหลาย จงสำเนียกไว้
ในใจแล้วประพฤติปฏิบัติในพระคาถา อุณหิสสวิชัย ก็จะสมมโนมัยตามความปรารถนาทุกประการ

161
บทความ บทกวี / กรรม คือ อะไร?
« เมื่อ: 19 ม.ค. 2550, 09:25:11 »
กรรม คือ อะไร?

กรรม แปลว่า กิจการที่คนกระทำ คำว่า ทำ หมายถึง ทั้งทำด้วยกาย อันเรียกว่า กายกรรม ทั้งทำด้วยวาจา อันเรียกว่า วจีกรรม ทั้ง ทำด้วยใจ คือคิด อันเรียกว่า มโนกรรม นั่นคือความหมายของกรรม แต่ว่ากรรม นั้น คือ อะไรกันหละ ?
ลองมาหาคำตอบดีกว่า?

คำว่า "กรรมคืออะไร" จำต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แปลความได้ว่า
"เรากล่าวเจตนา (ความจงใจ) ว่าเป็นกรรม เพราะคนจงใจ คือมีใจมุ่งแล้ว จึงทำทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง"


ฉะนั้น กรรม คือ กิจที่ที่บุคคลจงใจทำหรือทำด้วยเจตนา ถ้าทำด้วยไม่มีเจตนาไม่เรียกว่า กรรม อย่างเช่นไม่มีเจตนาเหยียบมดตาย ไม่เป็นกรรม คือ ปาณาติบาต ต่อเมื่อเจตนาจะเหยียบให้ตายจึงเป็นกรรม คือ ปาณาติบาต
แต่เมื่อจัดอย่างละเอียด สิ่งที่ทำด้วยไม่มีเจตนา ท่านจัดเป็นกรรมชนิดหนึ่ง เรียกว่า กรรมสักว่าทำ เพราะอาจให้โทษได้เหมือนกัน เหมือนอย่างที่กฎหมายถือว่าผิดในฐานประมาท

กรรมเกี่ยวกับคนเราอย่างไร ?
กรรมเกี่ยวกับคนเรา หรือ คนเรานั่นแหละเกี่ยวกับกรรมอยู่ตลอดเวลา เพราะคนเรานั้นตั้งแต่ตื่นนอนขึ้น จนถึงหลับไปใหม่ ก็มีเจตนาทำอะไรต่างๆ พูดอะไรต่างๆ คิดอะไรต่างๆ อยู่เสมอ โดยปกติไม่มีใครหยุดนิ่งอยู่เฉยๆ ได้ ถึงมือไม่ทำ ปากก็พูด ถึงปากไม่พูด ใจก็คิดถึงเรื่องต่างๆ??

การต่างๆ ที่ทำนี้แหละ เรียกว่า กายกรรม
คำต่างๆ ที่พูดนี่แหละ เรียกว่า วจีกรรม
เรื่องต่างๆ ที่คิดนี่แหละ เรียกว่า มโนกรรม

กรรม นั้น ดี หรือ ไม่ดี กรรมจะดีหรือไม่ดี ก็สุดแต่ผลที่เกิดขึ้นจากกรรมนั้น ๆ ถ้าให้เกิดผลเป็นคุณเกื้อกูลแก่ตนเองและผู้อื่น
ก็เป็นกรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม แปลว่า กรรมที่เป็นกิจของคนฉลาด หรือ บุญกรรม กรรมที่เป็นบุญ คือความดีเป็นเครื่องชำระล้างความชั่ว เช่น รักษาศีล ประพฤติธรรมที่คู่กับศีล หรือแม้กิจการที่ดีที่ชอบ ที่เป็นตามที่แสดงมาแล้วที่เป็นสุจริตต่างๆ เช่น การตั้งใจช่วยมารดาบิดาทำการงาน การตั้งใจเรียน
การตั้งใจประพฤติตนให้ดี การช่วยเหลือเกื้อกูลมิตรสหาย การทำสาธารณสงเคราะห์ต่างๆ

ส่วนกรรม ที่ให้เกิดผลเป็นโทษเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อนเป็นกรรมชั่ว ไม่ดี เรียก อกุศลกรรม แปลว่ากรรมที่เป็นกิจของคนไม่ฉลาด บาปกรรม กรรมเป็นบาป เช่น การประพฤติผิดในศีลธรรม ประพฤติทุจริตต่างๆ ที่ตรงกันข้ามกับกุศลกรรม

ตัวอย่างของกรรมดีและกรรมไม่ดี ข้างต้นนั้น กล่าวตามแนวพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกแสดงเป็นแนวทางปฏิบัติไว้ชัดเจน เรียกว่า กรรมบถ แปลว่า ทางของกรรม เรียกสั้นๆว่า ทางกรรม ทรงชี้แจงไว้เพียงพอและเข้าใจง่าย ว่าทางไหนดี ทางไหนไม่ดี คือ

กายกรรม (กรรมทางกาย) นั้น ฆ่าเขา 1 ลักของเขา 1 ประพฤติผิดในทางกาม 1 นั้นเป็นอกุศล ไม่ดี ควรเว้นจากการทำอย่างนั้น และการอนุเคราะห์เกื้อกูลเขา 1 เลี้ยงชีพในทางที่ชอบ 1 สังวรในกาม 1 เป็นกุศล เป็นส่วนดี


วจีกรรม (กรรมทางวาจา) นั้น พูดมุสา 1 พูดส่อเสียดเพื่อให้เขาแตกกัน 1 พูดคำหยาบด้วยใจมีโทสะเพื่อให้เขาเจ็บใจ 1 พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล 1 เป็นอกุศล ไม่ดี ควรเว้นจากการพูดอย่างนั้น และการพูดคำจริง 1 พูดสมัครสมาน 1
พูดคำสุภาพระรื่นหูจับใจ 1 พูดมีหลักฐานถูกต้อง ชอบด้วยกาละเทศะ 1 เป็นกุศล เป็นส่วนดี


มโนกรรม (กรรมทางใจ) นั้น คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขามาเป็นของของตนเอง 1 คิดพยาบาทมุ่งร้ายเขา 1 เห็นผิดจากคลองธรรม
เช่น เห็นว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว 1 เป็นอกุศล ไม่ดี ไม่ควรคิดอย่างนั้น และการคิดเผื่อแผ่ 1
คิดแผ่เมตตาจิตให้เขาอยู่เป็นสุข 1 คิดเห็นชอบตามคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว 1 เป็นกุศลเป็นส่วนดี

คนที่เว้นจากทางกรรมที่เป็นอกุศล และดำเนินไปในทางกรรมที่เป็นกุศล จะเรียกว่า ธรรมจารี แปลว่า ผู้ประพฤติธรรม
สมจารี แปลว่า ผู้ประพฤติเรียบร้อยสม่ำเสมอ ความประพฤติดังนี้เรียกว่า ธรรมจริยา หรือ ธรรมจรรยา
สมจริยา หรือ สมจรรยา สมจริยา ดังนี้แหละคือ หลักสมภาพในพุทธศาสนา สมภาพ คือ ความเสมอกันนั้น อาจทำให้เสมอกันได้ในทางที่อาจทำได้ แต่ไม่อาจทำให้เสมอกันได้ในทางที่ไม่อาจจะทำในทางที่ไม่อาจจะทำนั้น เช่น คนเกิดมามีเพศต่างกัน มีรูปร่างสูงดำต่ำขาวต่างกัน เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ใครจะทำให้เสมอกันได้ เช่น ทำให้สูงต่ำเท่ากันหมด แม้ในคนเดียวกันนิ้วทั้ง 5 ก็ไม่เท่ากัน จะทำให้เท่ากันได้อย่างไร สิ่งที่ไม่อาจจะทำให้เท่ากันได้

ถ้าใครไปพยายามจัดทำเข้าก็เหมือนกับ นิทาน เรื่อง เปรตจัดระเบียบ

เรื่องมีอยู่ว่า มีคนเดินทางหลายคน เข้าไปนอนพักอยู่ในศาลา ซึ่งเป็นที่พักของคนเดินทางหลังหนึ่ง เมื่อพากันนอนหลับแล้ว มีเปรตเจ้าระเบียบตนหนึ่งเข้าไปในศาลา เห็นคนนอนอยู่เป็นแถว จึงเข้าไปตรวจดูทางเท้า ก็เห็นเท้าของคนนอนหลับไม่เสมอกัน จึงดึงเท้าของคนเหล่านั้นลงมาให้เสมอกัน ครั้นตรวจดูเท้าเป็นแถวเสมอกันเรียบร้อยดีแล้ว ก็ไปตรวจดูทางด้านศรีษะ เห็นศรีษะของคนเหล่านั้นไม่อยู่ในแถวเสมอกันอีก จึงดึงศรีษะขึ้นมาเสมอกันเป็นแนวเดียวกันทั้งหมด
แล้วย้อนกลับไปตรวจดูทางเท้าอีก ก็เห็นเหลื่อมล้ำไม่เสมอกันอีกก็ดึงเท้าให้เสมอกันใหม่อีก คนก็ไม่เป็นอันได้หลับได้นอนเป็นสุข เพราะต้องถูกดึงเท้าบ้างดึงศรีษะบ้าง ขึ้นๆ ลงๆ ไม่รู้จักแล้ว ทั้งเปรตเจ้าระเบียบนั้น ก็ไม่สามารถจัดให้เสมอกันได้

การจัดให้เสมอกันในทางที่ไม่อาจจะจัดได้เช่นนี้ เป็นการจัดการที่ไม่สำเร็จ รังแต่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย ไม่สงบสุขอย่างเดียว

ส่วนการจัดการให้เสมอกันในทางที่อาจจัดได้นั้น พระพุทธเจ้าทรงจัดด้วยหลัก สมจริยา นี้ คือ เว้นจากทางกรรมฝ่ายอกุศล แต่ให้ดำเนินในทางกรรมฝ่ายกุศล ตามที่ทรงสั่งสอนไว้

คราวนี้มาพิจารณาดูว่า เมื่อปฏิบัติในสมจริยานั้น เป็นสมภาพอย่างไร สมภาพ แปลว่า ความเสมอกัน คือ ตัวเราเองกับผู้อื่น หรือผู้อื่นกับตัวเราเองเสมอกัน ตัวเราเองรักสุขเกลียดทุกข์ ผู้อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน ตัวเราเองไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นมาก่อกรรมที่ไม่ดีแก่เราทุกๆข้อ พอใจแต่จะให้เขามาประกอบกรรมดีแก่เราทั้งนั้น
ถึงผู้อื่นก็เหมือนกัน เขาก็ไม่ประสงค์ให้เราไปก่อกรรมที่ชั่วร้ายแก่เขา ประสงค์แต่จะให้เราไปประกอบกรรมที่ดีแก่เขาทั้งนั้น

เมื่อทั้งเราทั้งเขาต่างมีความชอบและไม่ชอบเสมอกันอยู่เช่นนี้ ทางที่จะให้เกิดสมภาพได้โดยตรงก็คือ ทั้งสองฝ่ายต่างดำเนินเข้าหาจุดที่เสมอกันนี้ คือ งดเว้นจากกรรมที่ชั่วร้าย

ซึ่งต่างก็ไม่ชอบให้ใครมาทำแก่ตนด้วยกันและดำเนินไปในทางกรรมที่ดี ซึ่งเกื้อกูลกัน ที่ต่างก็ชอบจะให้ใครมาทำแก่ตนด้วยกัน เมื่อประพฤติดังนี้ สมภาพที่ถูกต้องจึงเกิดขึ้น และ เป็นสมภาพคือเป็นความเสมอกันจริงๆ และเมื่อมีสมภาพดังนี้ ภราดรภาพคือ ความเป็นพี่น้องกันหรือเป็นญาติที่คุ้นเคยไว้วางใจกันได้ก็เกิดขึ้น

เสรีภาพ คือ ความมีเสรีอันที่จะไปไหน ๆ ได้ ทำอะไรได้โดยไม่ถูกใครเบียดเบียน และ ก็ไม่เบียดเบียนใครด้วย สมจริยาของพระพุทธเจ้าอันยังให้เกิดสมภาพ ภราดรภาพ เสรีภาพ ดังกล่าวมานี้ เป็นธรรมจรรยา

ความประพฤติธรรมประกอบอยู่ด้วยหลักยุติธรรมและศีลธรรมต่างๆ บริบูรณ์ ถ้ามีปัญหา ประพฤติธรรม คือประพฤติอย่างไร ? ก็ตอบได้ว่า ต้องประพฤติธรรมให้สมจริยาดังกล่าวนั่นเอง และเมื่อเข้าใจความดังนี้แล้ว คำว่า สมจริยา ก็จะแปลว่า ความประพฤติเรียบร้อยสม่ำเสมอก็ได้ ความประพฤติสมควรหรือเหมาะสมก็ได้ ความประพฤติโดยสมภาพก็ได้ เป็นคำแปลที่ถูกต้องกับความหมายทั้งนั้น ดังนี้แหละ เป็นธรรมจริยา

ฉะนั้น หลักธรรมจรรยาของพระพุทธเจ้า ก็เป็นหลักที่เป็น แม่บท ของหลักทั้งหลายแห่งความสุขสงบของชุมนุมชนทั่วไป ถ้าไม่อยู่ในแม่บทนี้แล้วก็จะเกิดความสงบสุขไม่ได้ สมภาพ ภราดรภาพ เสรีภาพ ก็จัดมีขึ้นไม่ได้

จะมีได้ก็เช่น เสรีภาพของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และเป็นผู้ที่จัดทำไปนอกแม่บทก็จะเป็นเหมือนเปรตจัดระเบียบดังกล่าวแล้ว ซึ่งต้องจัดกันไม่รู้จักเสร็จ ทั้งเป็นการก่อภัยก่อเวร ก่อศัตรูและความวุ่นวายเดือดร้อน จัดกันไปจนโลกแตกก็ไม่เสร็จ

กรรมตามที่กล่าวมานี้ ที่ชี้ระบุลงไปว่า กรรมคืออะไร และทำอย่างไรเป็นกรรมดี ทำอย่างไรเป็นกรรมไม่ดี เป็นทางกรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็พอประมวลเป็นหลักใหญ่ๆ ได้เป็น 3 ข้อ คือ

1. พระพุทธศาสนาแสดงว่ามีกรรม ใครทำกรรมดีก็เป็นกุศลกรรมติดตัว ใครทำกรรมชั่วก็เป็นอกุศลกรรมติดตัว

2. พระพุทธศาสนาแสดงว่ามีกรรมวิบาก คือ ผลของกรรม ผลที่ดีเกิดจากกรรมที่ดี ผลที่ชั่วเกิดจากกรรมที่ชั่ว ไม่สับสนกัน เหมือนอย่างผลมะม่วงก็ย่อมเกิดจากต้นมะม่วง ผลขนุนก็ย่อมเกิดจากต้นขนุน หว่านพืชเช่นไรก็ได้ผลเช่นนั้น

3. พระพุทธศาสนาแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง คือ ตัวเราเองทุกๆคน เป็นเจ้าของกรรมที่เราทำ และเป็นเจ้าของผลกรรมนั้นๆ ด้วย เมื่อตัวเราเองทำดีก็มีกรรมดีติดตัว และต้องได้รับผลดี เมื่อตัวเราเองทำไม่ดีก็มีกรรมชั่วติดตัว ต้องได้รับผลชั่วไม่ดี จะปัดกรรมที่ตัวเราเองทำ ให้พ้นตัวออกไป และจะปัดผลของกรรมให้พ้นตัวออกไปด้วย หาได้ไม่ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อกรรมของตนเอง

เมื่อหลักกรรมของพระพุทธศาสนา มีอยู่ดังนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้ทุกๆคน หมั่นนึกคิดอยู่เสมอๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตนเอง เป็นกรรมทายาทคือเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัยเฉพาะ (ตนเป็นคนๆไป) นอกจากนี้ พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและดีต่างๆกัน เป็นต้น


162
บทความ บทกวี / ข้อห้ามทางกาละ
« เมื่อ: 19 ม.ค. 2550, 09:15:04 »
ข้อห้ามทางกาละ


1.ห้ามผิวปากเวลากลางคืนเชื่อว่าจะโดนคุณไสยที่ล่องลอยอยู่

2.ห้ามโพกหัวหรือสวมหมวกในวัดหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เชื่อว่าหัวจะล้าน

3.ห้ามบ้วนน้ำลายลงโถส้วมเชื่อว่าวาจาจะเสื่อม

4.ห้ามนั่งบนขั้นบันไดเพราะผีบ้านผีเรือนไม่ชอบ

5.ห้ามนั่งบนหมอนเชื่อว่าคาถาจะเสื่อม

6.ห้ามเล่าความฝันในขณะทานข้าวเชื่อว่าแม่โพสพท่านไม่ชอบ

7.ห้ามเดินข้ามหนังสือเพราะเชื่อว่าจะเรียนไม่จำ

8.ห้ามนุ่งผ้าเปียกเข้าบ้านเพราะเชื่อว่าผีไม่กลัวและจะทำให้ปวดท้อง

9.ห้ามหญิงมีครรภ์ทำหน้าบึ้งเวลาจะหลับเชื่อกันว่าลูกออกมาจะไม่สวยไม่หล่อ

10.ห้ามดมดอกไม้ที่จะนำไปถวายพระเชื่อกันว่าจมูกจะเป็นไซนัสหรือริดสีดวงจมูก

11.ห้ามหลับเวลาฟังพระเทศเชื่อว่าชาติหน้าจะเกิดเป็นงู

12.ห้ามเอาของคืนเมื่อให้ผู้ใดไปแล้วเชื่อว่าจะเป็นเปรต(นอกจากให้ยืม)

13.ห้ามกวาดขยะกลางคืนเชื่อว่าผีไม่คุ้มและกวาดทรัพย์ออกหมด

14.ห้ามตัดเล็บกลางคืนเชื่อว่าอายุจะสั้น

15.ห้ามลอดไม้ค้ำต้นกล้วยและไม้ค้ำบ้านและห้ามลอดราวผ้าและห้ามลอดใต้แขนคนอื่นเพราะจะทำให้ของเสื่อม

16.อย่าให้ใครข้ามหัวเพราะจะทำให้อาคมเสื่อมและของทุกอย่างเสื่อม

17.ห้ามด่าแม่ผู้อื่นเพราะสาริกาลิ้นทองจะเสื่อม

18.คนสักยันต์ห้ามกินฟักแฟงบวบน้ำเต้าและปลาไม่มีเกล็ดเพราะเชื่อว่าหนังจะไม่เหนียว

19.หากไปในที่สถานที่แปลกๆห้ามทักเมื่อได้ยินเสียงแปลกๆเพราะเชื่อกันว่านั่นคือคุณไสย หรือของไม่ดีหากใครทักจะเข้าตัวทันที

20.ห้ามนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตกเพราะเชื่อว่าวิญญาณจะออกจากร่าง(อีกอย่างหนึ่งเป็นทิศที่หันหัวคนที่ตายไปแล้ว)

21.ห้ามขึ้นบ้านวันเสาร์ เผาศพวันศุกร์ โกนจุกวันอังคาร แต่งงานวันพุธ เพราะเป็นอัปมงคล

 
 

หน้า: [1]