แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - เว็บมาสเตอร์...

หน้า: [1]
1


...อาจาริยะบูชาไหว้ครูบูรพาจารย์...

หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม...
...ในวันเสาร์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๕
เป็นวันที่ทางวัดบางพระ ได้กำหนดมา
ว่าเป็นวันไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่อเปิ่น
ในฐานะศิษย์ที่เคยได้รับความเมตตาจาก
พระเดชพระคุณหลวงพ่อเปิ่น จึงขอแสดง
ความเคารพบูชาครูบูรพาจารย์ไว้ ณ ที่นี้...
๐ สิบนิ้วประนมน้อม
ดวงจิตพร้อมอภิวา
ระลึกคุณบูรพา
ขอบูชาซึ่งคุณครู
สืบสายตำนานศาสตร์
ขอประกาศและเชิดชู
ศึกษาและเรียนรู้
สืบจากครูบูรพา
สักเสกแลเลยันต์
สารพันวิทยา
ได้รับความเมตตา
ถ่ายทอดมาจากอาจารย์
โดดเด่นเรื่องสักเสก
ยกเป็นเอกแห่งตำนาน
เสื่อเผ่นเด่นตระการ
คนกล่าวขานและร่ำลือ
เวียนรอบในราศี
ถึงเดือนสี่ที่เชื่อถือ
สำคัญวันนั้นคือ
ประกาศชื่อบูชาครู
ไหว้ครู"หลวงปู่เปิ่น"
ประกาศเชิญให้รับรู้
บวงสรวงบูชาครู
เชิญมาอยู่คุ้มครองกาย
รอยมันและลายหมึก
ที่จารึกมีความหมาย
ป้องกันอันตราย
สิ่งชั่วร้ายไม่แผ้วพาน
สิ่งดีให้มีมา
คนเมตตารักสงสาร
สำเร็จเรื่องการงาน
ได้พบพานสิ่งดีดี
เลขยันต์อักขระ
เราควรจะรู้วิธี
รักษายันต์ตรานี้
ก็ต้องมีคุณธรรม
ถือศีลและถือสัตย์
ข้อบัญญัติควรกระทำ
สิ่งที่ครูชี้นำ
จงจดจำและทำตาม
เชื่อมั่นและศรัทธา
ภาวนาทุกโมงยาม
อย่าผิดในข้อห้าม
พยายามเป็นคนดี
ยันต์นั้นจะเข้มขลัง
มีพลังด้วยสิ่งนี้
นั่นคือคุณความดี
ศรัทธามีในอาจารย์
ไหว้ครูบูชาครู
เพื่อเรียนรู้และสืบสาน
ของดีแต่โบราณ
สืบตำนานวิทยา
พ่อแก่แลฤๅษี
พระคัมภีร์แห่งคาถา
สืบทอดตลอดมา
ควรรักษาให้สืบไป...
...กตัญญูบูชาครูบาอาจารย์
ผู้มีพระคุณทั้งหลาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕...

2


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐...

...เหตุการณ์ในอนาคตนั้น เรามิอาจ
จะกำหนดได้ตามที่ใจเราปรารถนา
ไปทุกอย่างต้องปล่อยให้มันเป็นไปตาม
เหตุและปัจจัย อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด
เตรียมใจไว้สำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่ว่าจะมีผลในทางบวกหรือทางลบ
เรายอมรับกับมันได้
...หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ
ครูบาอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า
" เสียอะไรเสียได้แต่อย่าให้ใจเสีย "
ถ้าใจเสียเมื่อไหร่ก็จบกัน อยากที่
จะแก้ไขเพราะใจมันไม่สู้แล้ว
แต่ถ้าเราตั้งใจมั่นไม่หวั่นไหว
เมื่อภัยมามีสติและสัมปชัญญะ
เราย่อมมีโอกาสที่จะหาหนทาง
แก้ไขได้
...เรียกว่า " สูญเสียแต่ไม่เสียศูนย์ "
เราจึงต้องฝึกจิตให้นิ่ง ให้สงบ
มีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกาย
และจิต โดยการเจริญสติ เจริญ
ภาวนาให้เห็นถึงพระไตรลักษณ์
คือความไม่เที่ยงแท้ ความทุกข์
ความเข้าไปยึดถือไม่ได้ของ
ธรรมชาติทั้งหลาย ที่เราเข้าไป
ควบคุมมันไม่ได้ตลอดเวลา
ทำให้เกิดธรรมสังเวชในกองทุกข์
...เมื่อจิตเรารู้ เราเห็น เราเข้าใจ
เราทำได้ ใจเราก็ไม่ไปยึดติด
ในสิ่งเหล่านั้น เมื่อจิตไม่เข้าไป
ยึดติด ยึดถือ มันก็ไม่เป็นทุกข์
เมื่อไม่มีความทุกข์ จิตย่อม
หลุดพ้น ไม่กลับมาอีก เพราะว่า
ออกจากกองทุกข์เสียแล้ว คือถึง
พระนิพพาน....

..ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕...

3


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๑๐...

...ใคร่ครวญทบทวนสรุปเรื่องราว
ที่ผ่านมา มีหลากหลายบทบาท
และลีลาที่ได้ดำเนินไปในทุกศาสตร์
ทุกศิลป์ที่ได้ร่ำเรียนฝึกฝนมา
จนเกิดความกระจ่างแก่ใจ
สิ้นความสงสัยในเรื่องพลังจิต
ที่ทำให้เป็นอิทธิปาฏิหาริย์
คงจะถึงกาลที่จะต้องละวาง
จากพิธีกรรมเข้าสู่การปฏิบัติ
สติปัฏฐาน ๔ อย่างจริงจัง
เพราะวันเวลาของชีวิตนั้น
ยังอีกไม่ยาวไกล จึงต้องตั้งใจ
เร่งความเพียรให้มากขึ้น
...เคยมีผู้ปรารถนาดีที่อยากจะให้
เรามีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
มาติดต่อให้ไปออกในสื่อต่างๆเพื่อ
เผยแพร่ธรรมะทั้งงานเขียนและการ
บรรยายธรรม แต่ก็ได้ปฏิเสธเขาไป
เพราะว่าเราพึงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่
...งานเขียนทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นจาก
สภาวจิต จากความคิดในขณะนั้น
เพียงเพื่อต้องการจะบันทึกไว้เพื่อ
เตือนใจตนและแบ่งปันแก่ผู้คน
ที่สนใจในธรรมทั้งหลาย ยังอยาก
จะอยู่อย่างเรียบง่าย เป็นสมณะไร้นาม
ตามปกติที่เป็น
...เพราะการเปิดตัวต่อสาธารณะชน
นั้น มันมีทั้งผลดีและผลเสีย ย่อมมี
ทั้งคนชอบและคนชัง กลายเป็นบุคคล
สาธารณะ ที่ต้องพร้อมจะรับฟังคำ
ติชมทั้งหลาย ชีวิตส่วนตัวนั้นก็จะ
หายไป เพราะสังคมจะเข้ามาบังคับ
ให้วิถีชีวิตนั้นเปลี่ยนไปตามกระแส
ความต้องการของสังคม
...ความเป็นตัวตนที่แท้จริงจะหายไป
เพราะกระแสสังคมแห่งโลกธรรมจะเข้า
มามีบทบาทในการกำหนดชีวิตเรา
จึงยินดีและพอใจที่จะเป็นอยู่อย่างนี้
อย่างที่เคยเป็นมา อยู่กับสภาวะแห่ง
ความเป็นจริงในสิ่งที่เราเป็นอยู่
คืออยู่กับปัจจุบันธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕...

4


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙...

...ทุกคนนั้นต่างใฝ่ฝันปรารถนาซึ่งสิ่งที่ดี
อยากจะให้มี อยากจะให้เกิดแก่ตนเอง
แต่ที่มันไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้นั้น
ก็เพราะว่าเครื่องรับอันคือจิตของเรานั้น
มันยังไม่มีความพร้อม ที่จะน้อมรับซึ่ง
กุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อเครื่องรับนั้นยังไม่
สะอาดดีพอ กุศลทั้งหลายก็ไม่อาจที่จะตั้ง
อยู่ได้หรือเกิดขึ้นได้ เราจึงจำเป็นที่จะต้อง
ปรับใจ อันเป็นเครื่องรับซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ทั้งหลาย ให้มันสะอาด ให้มันดีเสียก่อน
เพื่อรองรับสิ่งที่ดีทั้งหลาย ให้มาเกิดขึ้นและ
ตั้งอยู่ในจิตใจของเรา...
...ทุกชีวิต ก้าวไป ในบทบาท
ตามโอกาส จังหวะ ของชีวิต
ล้วนแต่กรรม นำพา มาลิขิต
จะถูกผิด ล้วนแต่กรรม นั้นนำไป

...ไม่ใช่โชค ชะตา ฟ้าลิขิต
กรรมนิมิต นำมา ซึ่งสิ่งใหม่
จะสุขทุกข์ นั้นเกิด ขึ้นที่ใจ
ทำสิ่งใด โปรดคิด ใช้จิตตรอง

...เมื่อใจทุกข์ จงมอง ประคองจิต
ดูความคิด ดูจิต ที่เศร้าหมอง
เพ่งพินิจ ใคร่ครวญ และตริตรอง
จงเฝ้ามอง ให้เห็น ความเป็นจริง

...สรรพสิ่ง ล้วนตั้ง อยู่บนหลัก
พระไตรลักษณ์ คือหลัก สรรพสิ่ง
พระไตรลักษณ์ เป็นหลัก แห่งความจริง
สรรพสิ่ง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน

...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เป็นคำสอน
อนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน
ทุกข์ราญรอน เพราะใจ ไปยึดมัน

...ไม่ยอมลด ยอมละ ซึ่งความอยาก
ต้องการมาก ยึดติด ไม่แปรผัน
ไม่อยากสูญ ไม่อยากเสีย พรากจากกัน
ทุกสิ่งนั้น ล้วนเป็น อนัตตา

...นี้เป็นกฎ ธรรมชาติ พระไตรลักษณ์
นี้คือหลัก ของพุทธะ ศาสนา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ใช้ปัญญา มองให้เห็น ความเป็นจริง

...เข้าใจโลก ก็เห็นธรรม เมื่อนำคิด
ทำให้จิต นั้นสงบ และหยุดนิ่ง
จะได้รู้ ได้เห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง ว่ามันเป็น เช่นนั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๐ มีนาคม ๒๕๖๕...

5


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙...

...การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปนั้น
เป็นเรื่องธรรมดาของโลก ในทาง
พระพุทธศาสนาเรียกว่ากฎ
พระไตรลักษณ์คือความไม่เที่ยง
ความเป็นทุกข์ ความเป็นสิ่งสมมุติ
ทั้งหลาย ยึดถือไม่ได้ อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา เป็นธรรมดาของ
สรรพสิ่งในโลกนี้...

...โลกและธรรม ทิศทางที่ต่างกัน...
๐ โลกธรรม นำมา ซึ่งสะสม
ค่านิยม สังคม ในยุคใหม่
เพื่อโอ้อวด แข่งขัน กันเรื่อยไป
ต่างกอบโกย กำไร ไม่ระวัง
๐ ทั้งลาภยศ สรรเสริญ เพลินในสุข
ทำให้ทุกข์ ตามมา ในภายหลัง
เมื่อเสื่อมยศ เสื่อมลาภ ให้ล้มพัง
มีคนชัง ไม่สรรเสริญ ไม่เยินยอ
๐ กินกามเกียรติ กอบโกย เพราะโหยหา
ให้ได้มา ในสิ่ง ที่ร้องขอ
เพราะความที่ อยากได้ ไม่รู้พอ
จึงเกิดก่อ ความทุกข์ ไม่สุขใจ
๐ ความสำเร็จ ของชีวิต ที่คิดหา
คือทรัพย์สิน เงินตรา นั้นหาไม่
ความสำเร็จ ของชีวิต อยู่ที่ใจ
บอกว่าพอ เมื่อไหร่ ก็ใช่เลย
๐ เมื่อมุ่งหวัง มาเป็น สมณะ
เพื่อลดละ ทุกสิ่ง ไม่นิ่งเฉย
ทั้งอัตตา ตัวตน ที่คุ้นเคย
กิเลสเอย ตัณหาเอย เร่งละวาง
๐ อยู่กันแบบ พอเพียง ก็เพียงพอ
การร้องขอ เกินไป ออกให้ห่าง
เดินตามธรรม มีธรรม เป็นแนวทาง
ตามแบบอย่าง พระอาจารย์ ท่านทำมา
๐ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง
ท่านได้สร้าง แบบไว้ ให้ศึกษา
ตามหลักธรรม ขององค์ พระสัมมา
ใช้ปัญญา ใช้สติ หมั่นตริตรอง
๐ ธรรมวินัย ศึกษา ปฏิบัติ
ให้เคร่งครัด ทำตัว ไม่มัวหมอง
มรรคองค์แปด เส้นทางธรรม ตามครรลอง
เพื่อปกป้อง สืบทอด ธรรมวินัย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๐ มีนาคม ๒๕๖๕...

6


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘...

....กาลเวลานั้นย่อมหมุนเวียน
และเปลี่ยนไป ไม่มีเวลาที่จะสิ้นสุด
และหยุดนิ่งสรรพสิ่งย่อมเคลื่อนไหว
โลกนั้นแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา
ไม่เคยหยุดนิ่ง กระแสแห่งโลกนั้น
จึงไม่มีวันที่จะสิ้นสุดและหยุดอยู่
...แต่จิตของมนุษย์นั้นย่อมมีวัน
ที่จะสิ้นสุดและหยุดนิ่ง ถ้าได้รู้
และได้เห็นความเป็นจริงของชีวิต
จิตวิญญาน สิ้นสุดด้วยการที่รู้จักพอ
โดยไม่ร้องขอและแสวงหาอีกต่อไป...

...มากมาย หลายเรื่องราว
ซึ่งข่าวคราว ที่ส่งมา
ร้อยเรื่อง ร้อยปัญหา
ทำให้คิด และติดตาม

...ทางโลก และทางธรรม
จิตน้อมนำ มิมองข้าม
เฝ้าดู อยู่ทุกยาม
เฝ้าดูจิต ที่คิดไป

...ผัสสะ มากระทบ
และมันจบ ลงที่ใจ
บางครั้ง จิตหวั่นไหว
ต่อผัสสะ ที่มีมา

...คล้อยตาม กระแสโลก
จึงทุกข์โศก กับปัญหา
เพราะจิต มีอัตตา
ชี้ถูกผิด ด้วยจิตตน

...พลั้งเผลอ ใช่พลั้งพลาด
มีโอกาส จะฝึกฝน
เผลอไป ให้รู้ตน
เตือนสติ ให้กลับมา

...วางจิต อยู่ในกาย
ไม่เสาะส่าย ออกไปหา
ดูจิต ดูกายา
ไม่ส่งจิต ออกนอกกาย

...จิตที่ ส่งออกนั้น
รู้ให้ทัน อย่าให้หาย
เป็นเหตุ สมุทัย
ทำให้ทุกข์ นั้นเกิดมา

...จิตรู้ จิตเห็นจิต
เห็นความคิด รู้ปัญหา
สิ่งนั้น คือมรรคา
ที่จะดับ ทุกข์นั้นไป

...ผลจาก การเห็นจิต
ดับสนิท สิ้นสงสัย
สว่าง ขึ้นในใจ
เป็นนิโรธ ที่ดับลง

...วางจิต ไว้ในกาย
อย่างมั่นหมาย มิไหลหลง
ตั้งจิต ให้มั่นคง
โดยเอาธรรม มานำทาง

...นำทาง สร้างชีวิต
และนำจิต สู่สว่าง
เดินใน ทางสายกลาง
ตามมรรคแปด ควบคุมตน

...ชีวิต อิสระ
ไร้พันธะ เพราะหลุดพ้น
หลุดออก จากวังวน
ในวัฏฏะ ที่เป็นมา

...เข้าสู่ กระแสธรรม
บุญหนุนนำ ให้ล้ำค่า
ก่อเกิด ซึ่งปัญญา
ตาสว่าง เพราะทางธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๙ มีนาคม ๒๕๖๕...

7


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘...

...เตือนย้ำอีกครั้งสำหรับพี่น้องชาวไทย...

...กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘...

...รณรงค์ให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง...

...ยกธรรมกล่าวอ้าง ให้เป็นแบบอย่าง
อักษรวิธี กาพย์กลอนโคลงฉันท์ สิ่งนั้นควรมี
เพราะเป็นของดี มาแต่โบราณ

...การใช้ภาษา สืบทอดกันมา ครูบาอาจารย์
เขียนให้ถูกต้อง สอดคล้องกับงาน
เพื่อจะสืบสาน ภาษาของไทย

...อย่าได้มักง่าย เพราะว่าความหมาย
มันจะเปลี่ยนไป คิดก่อนจะเขียน จงเพียรแก้ไข
ภาษาที่ใช้ ตามหลักตำรา

...คำพูดคำเขียน จงเพียรใส่ใจ ไว้เสริมปัญญา
ภาษาวิบัติ อย่าหัดมาใช้ ไม่ใช่ของไทย
มันไม่งดงาม

...เตือนจิตเตือนใจ รักษากันไว้ อย่าได้มองข้าม
ภาษาของชาติ ประกาศชื่อนาม อย่าให้เขาหยาม
ภาษาของเรา

...ภาษาที่ใช้ คือภาษาไทย อย่าอายใครเขา
สดสวยงดงาม ติดตามตัวเรา อย่าให้ใครเขา
ติฉินนินทา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๙ มีนาคม ๒๕๖๕...

8


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗...

...มีหลายคนมาบ่นระบายให้ฟังอยู่เสมอ
ว่า“ ทำดีไม่ได้ดี ทำดีแล้วไม่มีคนยอมรับ ”
หรือทำความดี แล้วมีคนมานินทาให้ร้าย
จึงทำให้ไม่อยากจะทำความดีอีกต่อไป
น้อยอกน้อยใจในเสียงสะท้อนที่ตอบกลับมา
จึงได้มาบ่นระบายให้พระฟัง
...ทุกชีวิตย่อมมีความผิดพลาดมากบ้าง
น้อยบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนคนที่
ยังไม่หมดกิเลส สติยังไม่สมบูรณ์เต็มพร้อม
ในทุกขณะจิต ความคิดและการกระทำย่อม
อาจจะมีพลั้งเผลอ ไปตามแรงกิเลสตัณหา
และอุปาทาน แต่เมื่อใดที่มีสติระลึกรู้แล้ว
ควรห้ามจิตห้ามใจไม่กระทำในสิ่งนั้นต่อ
ความรู้สึกส่วนลึกใต้จิตสำนึกของทุกคนนั้น
ต่างก็อยากจะเป็นคนดีของสังคม
...แต่บางครั้งการมีทัศนคติต่อสังคมในแง่ร้าย
ของเขานั้น ทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไปในทางไม่ดี
โดยมีพฤติกรรมทางกายที่เรียกว่า การประชด
สังคม อ้างว่าสังคมไม่ให้โอกาสเขา ทั้งที่ความ
จริงแล้ว สังคมเปิดโอกาสให้เขาอยู่ตลอดเวลา
แต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นตัวพิสูจน์เพื่อให้สังคม
ยอมรับและเชื่อมั่นในพฤติกรรม
...เพราะความใจร้อนที่อยากจะได้ผลตอบรับ
โดยเร็วไว จึงทำให้คิดว่าสังคมไม่ให้โอกาสเขา
ไม่ยอมรับในความดีที่เขาได้ทำ ซึ่งความสำเร็จ
ทุกอย่างนั้นต้องอาศัยความอดทน จังหวะเวลา
โอกาสบุคคลและสถานที่มาเป็นเหตุปัจจัย
ให้เกิดความสำเร็จ ความยอมรับของสังคม
การกระทำที่เสมอต้นเสมอปลาย ในสิ่งที่ดี
ทั้งหลายนั้น จะเป็นสิ่งพิสูจน์ให้สังคมเขายอมรับ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๘ มีนาคม ๒๕๖๕...

9


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗...

... "อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลก
จนเกินไป คืออย่าไปยินดี ยินร้าย
กับคำสรรเสริญและคำนินทา
ความสุขหรือความทุกข์ และลาภยศ
ทั้งหลาย อย่าไปหวั่นไหวกับมัน
เพราะว่าความหวั่นไหวนั้น มันจะทำ
ให้เราขาดความเชื่อมั่นและศรัทธา
ในตนเอง เรียกว่าเป็นคนไม่แน่นอน
ทำอะไรไม่แน่นอน จิตนั้นย่อมทุรน
ทุรายหวั่นไหวไปกับโลกธรรม นำมา
ซึ่งความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจ
ให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไร
ใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข"...

๐ น้อมเอาธรรม คำสอน แต่ก่อนกาล
พระอาจารย์ ท่านสอน แต่ก่อนเก่า
ให้ดูกาย ดูจิต ความคิดเรา
ดูแล้วเอา มาเป็น เส้นแนวทาง
๐ " ทุกข์เท่านั้น เกิดมา พาหลงใหล
สมุทัย ที่เกิด ทุกสิ่งอย่าง
นิโรธธรรม นำไป ให้ถูกทาง
มรรคนั้นสร้าง ทางสัจจะ สู่พระธรรม
๐ เป็นของจริง สัจจะ อริยะ
องค์พุทธะ เลิศล้น ชนดื่มด่ำ
บอกโลกรู้ ดูให้เป็น จึงเห็นธรรม
เพื่อจะนำ ชีวิต ไม่ผิดทาง "
๐ คือบทกลอน สอนใจ ชวนให้คิด
ชี้ถูกผิด นำมา เป็นแบบอย่าง
ปฏิบัติ ให้ตรง ไม่หลงทาง
คือแบบอย่าง ของครูบา พระอาจารย์
๐ สอนให้คิด สอนให้ทำ และนำชี้
รู้ชั่วดี มีความคิด จิตอาจหาญ
ทำให้ดี ทำให้ชอบ ประกอบการ
การทำงาน ทั้งทางโลก และทางธรรม
๐ ไม่มีใคร รู้ซึ้ง เท่าหนึ่งจิต
เห็นสิ่งผิด ทางชั่ว ไม่ถลำ
มุ่งทางดี ทางชอบ ประกอบกรรม
สิ่งที่ทำ นำสุข เพื่อทุกคน
๐ เอาพระธรรม นำทาง สร้างชีวิต
นำความคิด นำจิต สู่กุศล
เพื่อให้เกิด ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ตน
เพื่อฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา
๐ เพราะส่งจิต ไปนอกกาย ทำให้ทุกข์
คิดว่าสุข ทำไป ตามตัณหา
เพราะโลภหลง รักใคร่ ในกามา
จึงนำพา ให้เวียนว่าย ในวังวน
๐ เมื่อรู้ธรรม จงเอาธรรม นำชีวิต
เปลี่ยนความคิด หยุดวุ่นวาย ไม่สับสน
ประกอบกรรม ทำความดี หน้าที่ตน
สร้างกุศล ผลบุญ เป็นทุนรอน
๐ ชีวิตนี้ ไม่นาน ก็แตกดับ
ต้องลาลับ เหลือเพียง อนุสรณ์
วันเวลา ผ่านไป พึงสังวร
จงมองย้อน ทบทวน ใคร่ครวญดู...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๘ มีนาคม ๒๕๖๕...

10


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๖...

...บนเส้นทางแห่งโยธากัมมัฏฐาน...
...โยธากัมมัฏฐานคือการทำงานอย่าง
มีสติและสัมปชัญญะ เป็นการเจริญ
ซึ่งอิริยาบถบรรพ ในสติปัฏฐาน ๔
มีความระลึกรู้ แยกแยะผิดชอบชั่วดี
มีการคิดพิจารณาในทุกขณะของ
การเคลื่อนไหว เป็นไปเพื่อประโยชน์
ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม...

...ทุกชีวิต ก้าวไป ในบทบาท
ตามโอกาส จังหวะ ของชีวิต
ล้วนแต่กรรม นำพา มาลิขิต
จะถูกผิด ล้วนแต่กรรม นั้นนำไป

...ไม่ใช่โชค ชะตา ฟ้าลิขิต
กรรมนิมิต นำมา ซึ่งสิ่งใหม่
จะสุขทุกข์ นั้นเกิด ขึ้นที่ใจ
ทำสิ่งใด โปรดคิด ใช้จิตตรอง

...เมื่อใจทุกข์ จงมอง ประคองจิต
ดูความคิด ดูจิต ที่เศร้าหมอง
เพ่งพินิจ ใคร่ครวญ และตริตรอง
จงเฝ้ามอง ให้เห็น ความเป็นจริง

...สรรพสิ่ง ล้วนตั้ง อยู่บนหลัก
พระไตรลักษณ์ คือหลัก สรรพสิ่ง
พระไตรลักษณ์ เป็นหลัก แห่งความจริง
สรรพสิ่ง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน

...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เป็นคำสอน
อนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน
ทุกข์ราญรอน เพราะใจ ไปยึดมัน

...ไม่ยอมลด ยอมละ ซึ่งความอยาก
ต้องการมาก ยึดติด ไม่แปรผัน
ไม่อยากสูญ ไม่อยากเสีย พรากจากกัน
ทุกสิ่งนั้น ล้วนเป็น อนัตตา

...นี้เป็นกฎ ธรรมชาติ พระไตรลักษณ์
นี้คือหลัก ของพุทธะ ศาสนา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ใช้ปัญญา มองให้เห็น ความเป็นจริง

...เข้าใจโลก ก็เห็นธรรม เมื่อนำคิด
ทำให้จิต นั้นสงบ และหยุดนิ่ง
จะได้รู้ ได้เห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง ว่ามันเป็น เช่นนั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๗ มีนาคม ๒๕๖๕...

11


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖...

...ในส่วนลึกของจิตของทุกคนนั้น
ล้วนแต่อยากจะเป็นคนดี อยากจะ
ทำความดี แต่ส่วนใหญ่ได้แต่คิด
แต่ไม่กล้าที่จะทำ เพราะว่าขาด
ความมั่นใจและความศรัทธาในตนเอง
จึงต้องให้มองย้อนกลับไป ว่าในชีวิต
ที่ผ่านมานั้น มีอะไรบ้างที่เราได้ทำ
ลงไปและสิ่งนั้นมันเป็นความภาคภูมิใจ
ของเรา เมื่อเราคิดถึงสิ่งนั้นครั้งใด
ทำให้ใจเรามีความสุขและมีความ
ภาคภูมิใจ สิ่งที่คิดนั้นคือการปลุก
ศรัทธาให้กับตัวเรา...

...ห้วงหนึ่งแห่งกาลเวลา...

...เก็บมา ใคร่ครวญ ขบคิด
ตั้งจิต สนใจ ใฝ่หา
เรียนรู้ กับโลก มายา
ค้นหา ให้เห็น ตัวตน

...ค้นหา ให้เห็น พื้นฐาน
คือการ เรียนรู้ เบื้องต้น
รู้จิต รู้ใจ ของคน
เริ่มต้น ที่ตัว ของเรา

...รู้กาย รู้จิต ของตัว
รู้ทั่ว รู้พร้อม ไม่เขลา
ตามดู รู้เห็น จิตเรา
ขัดเกลา ฝึกจิต คิดดี

...เมื่อไหร่ ที่เห็น จิตเรา
ก็เข้า ใจซึ่ง จิตนี้
จิตเรา จิตเขา ที่มี
จิตนี้ ก็คล้าย คลึงกัน

...ล้วนมี กิเลส ตัณหา
อัตตา ตัวตน ทั้งนั้น
ตามดู ตามรู้ ให้ทัน
จิตนั้น เคลื่อนไหว ไปมา

...เคลื่อนตาม สิ่งที่ กระทบ
เมื่อพบ เจอกับ ปัญหา
ผัสสะ ที่ผ่าน เข้ามา
ทางตา ทางลิ้น กายใจ

...จิตนั้น เข้าไป รับรู้
ติดอยู่ จึงให้ หวั่นไหว
ปรุงแตก คล้อยตาม มันไป
หวั่นไหว เพราะจิต คิดตาม

...หยุดคิด หยุดจิต ที่ปรุง
เรื่องยุ่ง ก็จะ ก้าวข้าม
วางสิ่ง รู้เห็น ไม่ตาม
เห็นความ สงบ พบจริง

...สยบ ซึ่งความ เคลื่อนไหว
ทำใจ ของเรา ให้นิ่ง
รู้เห็น ตามที่ เป็นจริง
ทุกสิ่ง สมมุติ ขึ้นมา

...เข้าใจ ในพระ ไตรลักษณ์
รู้หลัก ต้นเหตุ ปัญหา
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ จากลา
อัตตา ก็จะ ลดลง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๗ มีนาคม ๒๕๖๕...

12


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕...

...“ ทำความเพียรมากเกินไปจิตใจก็ฟุ้งซ่าน
ทำความเพียรอ่อนไปก็กลายเป็นเกียจคร้าน ”
“ อจฺจารทฺธํ วิริยํ อุทฺธจฺจาย สํวตฺตติ
อติลีนํ วิริยํ โกสชฺชายํ สํวตฺตติ ”...
...พุทธสุภาษิต โสณสูตร ๒๒/๓๘๗...
๐ เชื่อมั่น และศรัทธา
น้อมนำมา ซึ่งพลัง
สู่สิ่ง ที่คาดหวัง
สร้างด้วยจิต ความคิดตน
๐ ตั้งจิต คิดให้ดี
ในสิ่งที่ มีเหตุผล
ความดี มีทุกคน
ที่ได้สร้าง และทำมา
๐ ความดี มีในจิต
จงค้นคิด จิตค้นหา
เสริมสร้าง ความศรัทธา
ในความดี สิ่งที่ทำ
๐ ย้ำเตือน และย้ำคิด
ปลุกปลอบจิต กุศลกรรม
ความดี ที่เคยทำ
เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ
๐ จิตดี ส่งกายเด่น
มันเฉกเช่น เครื่องกลไก
ขับเคลื่อน จากภายใน
ให้จิตนี้ มีพลัง
๐ ปลุกกาย และปลุกจิต
ปลุกชีวิต สู่ความหวัง
สร้างเสริม เติมพลัง
ให้ชีวิต เมื่อคิดทำ
๐ ความดี คือกุศล
นั้นส่งผล อย่างเลิศล้ำ
มันเป็น กุศลกรรม
ปลุกชีวิต จิตศรัทธา
๐ เริ่มต้น จากความคิด
จงฝึกจิต คิดค้นหา
สิ่งที่ ได้ทำมา
และเรานั้น ภาคภูมิใจ
๐ เมื่อใจ ระลึกถึง
สิ่งที่ซึ่ง ได้ทำไว้
มีความ ประทับใจ
และจดจำ มิลืมเลือน
๐ เพลิดเพลิน ขณะคิด
ทำให้จิต นั้นขับเคลื่อน
ฝึกทำ เพื่อย้ำเตือน
ปลุกให้จิต มีพลัง
๐ จิตดี ส่งกายเด่น
สิ่งที่เห็น เป็นความหวัง
เมื่อใจ มีพลัง
ทุกสิ่งอย่าง ก็สบาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๖ มีนาคม ๒๕๖๕...

13


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๕...

...ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลา
ที่ผ่านไปนั้น เราได้อะไรจากวันเวลา
และคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่
เพื่อไม่ให้เราหลงไปกับวัยและเวลา
ของชีวิตที่เหลืออยู่และจะได้รีบเร่ง
สร้างคุณค่าให้แก่ชีวิต แม้จะเพียง
น้อยนิด ก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ทำอะไรเลย
ไม่ได้มุ่งหวังว่าต้องเป็นชาตินี้หรือ
ชาติหน้า เพียงแต่ตั้งใจไว้ว่าทำ
ต่อไปเรื่อยๆ ถึงเมื่อไหร่ก็ไปเมื่อนั้น
จะไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเอง
ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเกร็ง เพราะเรา
เคร่งจนเกินไป ซึ่งมันจะทำให้เครียด
เป็นการเบียดเบียนตนเอง ไม่รีบ ไม่เร่ง
อยู่กับกุศลจิต คิดและทำในสิ่งที่ดี
ชีวิตนี้ก็เพียงพอแล้ว...

...ใคร่ครวญทบทวนธรรมเป็นคำกวี...
...อยู่กับโลก ด้วยธรรม นำความคิด
ปรับชีวิต เข้ากับธรรม นำเหตุผล
มีสติ ระลึกทั่ว ทั้งตัวตน
วิญญูชน คือคนที่ ต้องมีธรรม
...พึงพอใจ ในสิ่ง ที่ตนมี
ความพอดี พอเพียง มาหนุนค้ำ
ไม่ปล่อยใจ ให้ความโลภ เข้าครอบงำ
สิ่งที่ทำ สิ่งที่ได้ ใจเพียงพอ
...ทำหน้าที่ ของตน ให้เต็มที่
อย่าให้มี จิตใจ ที่ย่อท้อ
อย่าเพียงหวัง โชคชะตา ตั้งตารอ
เพียงแต่ขอ แต่ไม่ทำ กรรมของคน
...เพียงหวังพึ่ง เทวดา และอาจารย์
อยากให้ท่าน มาช่วย อำนวยผล
นั่งงอมือ งอเท้า ไม่ดิ้นรน
รอกุศล จากครูบา และอาจารย์
...ความสำเร็จ จะเกิดได้ ต้องหมายมั่น
ต้องช่วยกัน ทำกิจ คิดประสาน
ทั้งภายนอก และภายใน ให้ทันการ
ผลของงาน นั้นจึงออก น่าพอใจ
....ตนเองนั้น ต้องช่วย ตนเองก่อน
บุญจะย้อน กลับมา หาเราใหม่
บารมี ครูอาจารย์ ท่านให้ไป
ส่งผลให้ ได้พบ ประสพดี
...ประสพสุข สำเร็จ เพราะเสร็จกิจ
นำชีวิต ก้าวไป ได้ถูกที่
ทั้งทางโลก และทางธรรม นำชีวี
ก็จะมี แต่ความสุข ไม่ทุกข์เอย....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๖ มีนาคม ๒๕๖๕...

14


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔...

...ถ้าอยากให้สิ่งที่ดีๆเกิดขึ้นกับตัวเรา
เราก็ต้องมาทำเครื่องรับของเราให้มันดี
คือมาปรับจิตปรับใจของเราให้มันดี
คือทำจิตทำใจให้เป็นบุญกุศลเสียก่อน
เมื่อกายและใจของเรานั้นอยู่กับบุญ
กุศลแล้ว สิ่งที่ดีย่อมบังเกิดขึ้นแก่เรา
เพราะใจเรานั้นเป็นสื่อที่จะดึงดูด
สิ่งที่ดีให้มาสู่กายและจิตของเรา
ในทางตรงข้ามกัน ถ้าจิตใจของเรา
ไม่ดีเป็นอกุศลจิต มันก็จะดูดเอา
สิ่งที่ไม่ดีสิ่งที่เป็นอกุศลนั้น เข้ามา
สู่ตัวเราเพราะคลื่นที่เราส่งออกไปนั้น
มันไม่ดีและเครื่องรับของเรามันไม่ดี
มันจึงรับเอาคลื่นที่ไม่ดี ทุกอย่างจึง
เริ่มที่จิตของเรา คิดดี พูดดี ทำดี

แล้วสิ่งที่ดีก็จะเกิดขึ้นแก่เรา...
...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๕ มีนาคม ๒๕๖๕...

15


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที ๔...

...บทบาทและหน้าที่ของชีวิต...
...ความสำเสร็จของชีวิต
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง
เป็นตัวชี้วัดความรวยหรือความจน
แต่มันอยู่ที่ความสุขความพอใจ
ในสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็นว่าใครนั้น
จะมีมากน้อยกว่ากันเพียงใด
ความสำเร็จนั้นเกิดได้เมื่อใจนั้นพอ...
...แต่สิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต
คือการรู้จักใช้ชีวิตให้อยู่กับความพอดี
ต้องใช้ให้น้อยกว่ารายรับที่ได้มา
ชีวิตนี้จึงจะมีเหลือมากกว่าขาด
คนที่จนนั้นจะยิ่งจนเพราะทำตัวรวย
คนที่รวยนั้นยิ่งรวยเพราะทำตัวจน.....
...ดำเนินชีวิตให้เป็นปกติในความพอดี
รู้จักบทบาทและทำตามหน้าที่ของตน
อย่าได้สับสนในบทบาทของชีวิต
พึงพอใจในสิ่งที่มีและในสิ่งที่เป็น
มีความเพียรพยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ดำเนินชีวิตไปตามทำนองคลองธรรม
แล้วความสำเร็จนั้นจะเกิดกับคุณเอง...

...ดอกบัวบาน งามเด่น เป็นสง่า
เสียงนกกา ขับขาน กังวานใส
วันเวลา แห่งชีวิต ล่วงเลยไป
เช้าวันใหม่ ตื่นขึ้นมา รับอรุณ
...อรุณรุ่ง เรืองรอง แสงทองส่อง
นั่งเหม่อมอง พาใจ ให้อบอุ่น
ธรรมชาติ สรรค์สร้าง อย่างสมดุลย์
ธรรมชาติ มีคุณ เกินบรรยาย
...สายลมพัด โชยมา จากชายเขา
ลมแผ่วเบา พัดมา เมื่อยามสาย
สายลมเย็น พัดผ่าน ให้สบาย
ลมต้องกาย สบายใจ ไร้กังวล
...นั่งทบทวน ชีวิต ที่ผ่านมา
มองหาค่า ควรคู่ ซึ่งเหตุผล
นับเป็นบุญ ที่ได้เกิด มาเป็นคน
เป็นกุศล ได้สร้าง เส้นทางดี
...ชีวิตนี้ ไม่ยืนยาว อย่างที่คิด
ควรจะใช้ ชีวิต ให้ถูกที่
ทำชีวิต ให้พอเพียง และพอดี
ทุกอย่างมี เหตุและผล ค้นให้เจอ
...ช่วงเวลา ของชีวิต ที่เหลืออยู่
ควรเรียนรู้ สร้างสรรค์ อยู่เสมอ
อย่าประมาท ปล่อยใจ ให้พลั้งเผลอ
สิ่งที่เจอ ควรคิด พิจารณา
...ทุกสิ่งอย่าง อยู่ใน พระไตรลักษณ์
ไปตามหลัก ที่ได้เห็น และศึกษา
มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วจากลา
อนิจจา ทุกขัง อนัตตา
...อย่าประมาท ในวัย ที่เหลืออยู่
เร่งกอบกู้ ให้ชีวิต มีเนื้อหา
อย่ามัวรอ โอกาส และเวลา
วันข้างหน้า อาจไม่มี ให้ได้เจอ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๕ มีนาคม ๒๕๖๕...

16


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๓...

...มองย้อนกลับไป หลายปีที่ผ่านไป
เราได้เห็นอะไรมากมาย ได้จดบันทึกไว้
และเมื่อเราได้นำบันทึกเก่าๆกลับมาอ่าน
ได้เห็นถึงพัฒนาการของจิต ความรู้สึก
นึกคิดที่แปรเปลี่ยนไป ซึ่งเกิดจากการ
สั่งสมอบรมจิตอย่างต่อเนื่องไม่ทิ้งธุระ
ไม่ละศรัทธา พิจารณาอยู่เนืองนิจ จิตจึง
ได้พัฒนา ความเจริญก้าวหน้านั้น
ต้องประกอบด้วยปัจจัย ๔ ที่เรียกว่า
อิทธิบาท ๔ อันประกอบด้วย...
๑.ฉันทะ ความยินดีพึงพอใจในสิ่ง
ที่กระทำ(ทำในสิ่งที่ชอบและสิ่งที่ใช่)
๒.วิริยะ ความเพียรพยายามทำใน
สิ่งนั้น (คือสิ่งที่ชอบและสิ่งที่ใช่)
๓.จิตตะ ไม่ละความเพียรพยายาม
ทำอยู่สม่ำเสมอไป(ในสิ่งที่ชอบและ
สิ่งที่ใช่)
๔.วิมังสา พิจารณา ใคร่ครวญ ทบทวน
ในสิ่งที่ทำ ว่ามันเป็นเช่นไร (ในสิ่งที่ชอบ
และสิ่งที่ใช่) แล้วเราจะเห็นความแปร
เปลี่ยนไปทั้งในความเสื่อมและความ
เจริญ ด้วยองค์แห่งอิทธิบาท ๔ ซึ่งถ้า
มีความพอดีก็จะนำไปสู่ความเจริญ
แต่ถ้าตัวใดขาดหรือตัวใดเกิน จนเกิด
ความไม่พอดี ก็จะไม่มีการพัฒนา
ก้าวหน้าเจริญขึ้นได้ และเมื่อไหร่ที่
ความเจริญในธรรมนั้นไม่ก้าวหน้า
ให้กลับมาพิจารณาที่ " อิทธิบาท ๔ "
เพราะคำนี้แปลว่าทางสู่ความสำเร็จ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๔ มีนาคม ๒๕๖๕...

17


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๓...

...บทบาทและหน้าที่ของชีวิต...
...ความสำเสร็จของชีวิต
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง
เป็นตัวชี้วัดความรวยหรือความจน
แต่มันอยู่ที่ความสุขความพอใจ
ในสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็นว่าใครนั้น
จะมีมากน้อยกว่ากันเพียงใด
ความสำเร็จนั้นเกิดได้เมื่อใจนั้นพอ...
...แต่สิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต
คือการรู้จักใช้ชีวิตให้อยู่กับความพอดี
ต้องใช้ให้น้อยกว่ารายรับที่ได้มา
ชีวิตนี้จึงจะมีเหลือมากกว่าขาด
คนที่จนนั้นจะยิ่งจนเพราะทำตัวรวย
คนที่รวยนั้นยิ่งรวยเพราะทำตัวจน.....
...ดำเนินชีวิตให้เป็นปกติในความพอดี
รู้จักบทบาทและทำตามหน้าที่ของตน
อย่าได้สับสนในบทบาทของชีวิต
พึงพอใจในสิ่งที่มีและในสิ่งที่เป็น
มีความเพียรพยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ดำเนินชีวิตไปตามทำนองคลองธรรม
แล้วความสำเร็จนั้นจะเกิดกับคุณเอง...

...ดอกบัวบาน งามเด่น เป็นสง่า
เสียงนกกา ขับขาน กังวานใส
วันเวลา แห่งชีวิต ล่วงเลยไป
เช้าวันใหม่ ตื่นขึ้นมา รับอรุณ
...อรุณรุ่ง เรืองรอง แสงทองส่อง
นั่งเหม่อมอง พาใจ ให้อบอุ่น
ธรรมชาติ สรรค์สร้าง อย่างสมดุลย์
ธรรมชาติ มีคุณ เกินบรรยาย
...สายลมพัด โชยมา จากชายเขา
ลมแผ่วเบา พัดมา เมื่อยามสาย
สายลมเย็น พัดผ่าน ให้สบาย
ลมต้องกาย สบายใจ ไร้กังวล
...นั่งทบทวน ชีวิต ที่ผ่านมา
มองหาค่า ควรคู่ ซึ่งเหตุผล
นับเป็นบุญ ที่ได้เกิด มาเป็นคน
เป็นกุศล ได้สร้าง เส้นทางดี
...ชีวิตนี้ ไม่ยืนยาว อย่างที่คิด
ควรจะใช้ ชีวิต ให้ถูกที่
ทำชีวิต ให้พอเพียง และพอดี
ทุกอย่างมี เหตุและผล ค้นให้เจอ
...ช่วงเวลา ของชีวิต ที่เหลืออยู่
ควรเรียนรู้ สร้างสรรค์ อยู่เสมอ
อย่าประมาท ปล่อยใจ ให้พลั้งเผลอ
สิ่งที่เจอ ควรคิด พิจารณา
...ทุกสิ่งอย่าง อยู่ใน พระไตรลักษณ์
ไปตามหลัก ที่ได้เห็น และศึกษา
มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วจากลา
อนิจจา ทุกขัง อนัตตา
...อย่าประมาท ในวัย ที่เหลืออยู่
เร่งกอบกู้ ให้ชีวิต มีเนื้อหา
อย่ามัวรอ โอกาส และเวลา
วันข้างหน้า อาจไม่มี ให้ได้เจอ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๔ มีนาคม ๒๕๖๕...

18


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๒...

...บนวิถีแห่งเส้นทางสายธรรม
อุปสรรคปัญหา คือบททดสอบ
ของผู้ปฏิบัติธรรม ว่าจะข้ามผ่าน
เพื่อไปสู่สภาวะที่สูงยิ่งขึ้นไป
...ดั่งคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ มารไม่มี
บารมีไม่เกิด “ ในยามที่ชีวิตนั้น
ต้องเผชิญกับอุปสรรคหรือในสภาวะ
ที่คับขัน มันคือบทพิสูจน์ขวัญและ
กำลังใจของคนผู้นั้น ว่าเข้มแข็ง
มั่นคงสักเพียงใด จะก้าวพ้นผ่าน
ไปได้หรือไม่
...ชีวิตนั้นมันต้องเจอกับของจริง
ไม่ใช่สิ่งที่จินตนาการไป อุปสรรค
ปัญหาทั้งหลายคือบททดสอบขวัญ
และกำลังใจของผู้ปฏิบัติธรรม...

...ห้วงหนึ่งแห่งกาลเวลา...

...เก็บมา ใคร่ครวญ ขบคิด
ตั้งจิต สนใจ ใฝ่หา
เรียนรู้ กับโลก มายา
ค้นหา ให้เห็น ตัวตน

...ค้นหา ให้เห็น พื้นฐาน
คือการ เรียนรู้ เบื้องต้น
รู้จิต รู้ใจ ของคน
เริ่มต้น ที่ตัว ของเรา

...รู้กาย รู้จิต ของตัว
รู้ทั่ว รู้พร้อม ไม่เขลา
ตามดู รู้เห็น จิตเรา
ขัดเกลา ฝึกจิต คิดดี

...เมื่อไหร่ ที่เห็น จิตเรา
ก็เข้า ใจซึ่ง จิตนี้
จิตเรา จิตเขา ที่มี
จิตนี้ ก็คล้าย คลึงกัน

...ล้วนมี กิเลส ตัณหา
อัตตา ตัวตน ทั้งนั้น
ตามดู ตามรู้ ให้ทัน
จิตนั้น เคลื่อนไหว ไปมา

...เคลื่อนตาม สิ่งที่ กระทบ
เมื่อพบ เจอกับ ปัญหา
ผัสสะ ที่ผ่าน เข้ามา
ทางตา ทางลิ้น กายใจ

...จิตนั้น เข้าไป รับรู้
ติดอยู่ จึงให้ หวั่นไหว
ปรุงแตก คล้อยตาม มันไป
หวั่นไหว เพราะจิต คิดตาม

...หยุดคิด หยุดจิต ที่ปรุง
เรื่องยุ่ง ก็จะ ก้าวข้าม
วางสิ่ง รู้เห็น ไม่ตาม
เห็นความ สงบ พบจริง

...สยบ ซึ่งความ เคลื่อนไหว
ทำใจ ของเรา ให้นิ่ง
รู้เห็น ตามที่ เป็นจริง
ทุกสิ่ง สมมุติ ขึ้นมา

...เข้าใจ ในพระ ไตรลักษณ์
รู้หลัก ต้นเหตุ ปัญหา
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ จากลา
อัตตา ก็จะ ลดลง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓ มีนาคม ๒๕๖๕...

19


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล ปฐมบท...

...ธรรมะทั้งหลายเป็นเรื่องใกล้ตัว
และทุกท่านก็ได้ปฏิบัติอยู่ในกิจวัตร
ประจำวันอยู่แล้ว เพราะว่าการ
ปฏิบัติธรรมนั้น คือการทำหน้าที่
ของตนให้สมบูรณ์ ตามหลักของ
มรรคองค์ ๘ มีสติระลึกรู้อยู่ในสิ่ง
ที่คิดและกิจที่ทำ มีองค์แห่งคุณธรรม
คือความละอายและเกรงกลัวต่อ
บาปกรรมคุ้มครองจิตอยู่ ก็ได้ชื่อว่า
ผู้นั้นกำลังปฏิบัติธรรมอยู่...

...บนเส้นทาง ของชีวิต ที่ผิดพลาด
เพราะประมาท มัวเมา และลุ่มหลง
สิ่งไม่ดี ทั้งหลาย ให้มึนงง
มันจึงส่ง ผลมา หาร่างกาย

...เพราะมัวเมา เหล้ายา สารพัด
จิตอ่อนหัด ไม่รู้เห็น ในความหมาย
ว่าที่ทำ นั้นเป็นภัย ต่อร่างกาย
เกือบจะสาย ก่อนที่จิต คิดได้ทัน

...คิดว่าเป็น ทางสุข กลับทุกข์หนัก
ไม่รู้จัก ความดีชั่ว เพราะโมหัน
หลงในกิน กามเกียรติ ทุกคืนวัน
สารพัน สารพัด ที่จัดมา

...ไม่รู้จัก บาปบุญ คุณและโทษ
ถือประโยชน์ ส่วนตน เป็นเนื้อหา
ทำอย่างไร ให้ได้มี และได้มา
สนองตอบ ตัณหา ของตัวตน

...จนวันหนึ่ง ได้รู้ซึ้ง ถึงทางจิต
มีความคิด และเข้าใจ ในเหตุผล
จึงถอนตัว ออกห่าง ทางมืดมน
ไปสู่หน ทางใหม่ ไม่กลับมา

...ละทางโลก สู่ทางธรรม น้อมนำจิต
เปลี่ยนความคิด มุมมอง และเนื้อหา
เข้าสู่การ ลดละ ซึ่งอัตตา
ใช้ปัญญา มองสิ่งเห็น ให้เป็นธรรม

...ทุกอย่างนั้น เกิดจาก จิตสำนึก
ความรู้สึก ส่วนใน ไม่ใฝ่ต่ำ
กระตุ้นเตือน ความคิด และชี้นำ
คิดแล้วทำ ตามจิต ที่คิดดี

...ความคิดนั้น เป็นเพียง นามธรรม
จึงต้องนำ มาทำ ให้เต็มที่
รูปธรรม ทำให้เห็น และให้มี
ทำให้ดี ตามที่จิต นั้นคิดมา....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒ มีนาคม ๒๕๖๕...

20


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒...

...การปฏิบัติธรรม เป็นการกระทำที่
เริ่มจากจิต จากความคิด แล้วแสดง
ออกมาซึ่งทางกาย การปฏิบัติธรรมนั้น
มิใช่เป็นไปเพื่อความโอ้อวด เพื่อให้
ผู้อื่นเขายกย่องสรรเสริญชื่นชม
แต่เป็นการอบรมกายและจิตของเรา
โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่
มีความระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อม
ในกายในจิตในความคิดและการกระทำ
เพิ่มพูนคุณธรรมให้แก่จิต ปรับเปลี่ยน
ความคิดเพื่อให้จิตเป็นบุญกุศล
ไม่เอาแต่ความคิดตนมาเป็นใหญ่
เปิดจิตเปิดใจ ให้เปิดกว้าง พิจารณา
ทุกอย่างโดยเหตุและผล ไม่เห็นแก่
ประโยชน์ตนจนเกินไป รู้จักการให้
และการแบ่งปัน สิ่งที่กล่าวมานั้นคือ
การปฏิบัติธรรม...
๐ มีคำถาม มากมาย ให้ขบคิด
ถามเรื่องจิต เรื่องกาย เพราะอยากรู้
จงบอกว่า ถ้าสงสัย ให้ทำดู
แล้วจะรู้ กายจิต คิดอย่างไร
๐ อจินไตย คิดไป ก็ปวดหัว
มาดูตัว ดูจิต แล้วคิดใหม่
ดูให้รู้ ดูให้เห็น เป็นอย่างไร
ให้รู้ใจ รู้กาย รู้จิตตัว
๐ จิตส่งออก สมุทัย ให้เกิดทุกข์
จิตเป็นสุข เพราะรู้พร้อม น้อมไปทั่ว
มีสติ ระลึกรู้ อยู่กับตัว
รู้ดีชั่ว สิ่งที่จิต ควรคิดทำ
๐ อันกายนี้ อยู่ไม่นาน ก็ต้องดับ
เหมือนอาทิตย์ ลาลับ ในยามค่ำ
ต้องเวียนว่าย ตายเกิด อยู่ประจำ
สิ่งที่นำ ติดตัวไป ใช่เงินทอง
๐ สิ่งที่ตาม ติดไป ในดวงจิต
คือนิมิต แห่งกรรม นำสนอง
ถ้าจิตดี ก็มีสุข อยู่คุ้มครอง
จิตเศร้าหมอง ก็ต้องทุกข์ ไม่สุขใจ
๐ รู้อะไร ก็ไม่สู้ เท่ารู้จิต
รู้ถูกผิด ดีและชั่ว แล้วแก้ไข
เจริญจิต ภาวนา พาสุขใจ
ทำจิตไร้ อกุศล เป็นต้นทุน
๐ คือต้นทุน ชีวิต นิมิตหมาย
เมื่อยามตาย ความดี มีเกื้อหนุน
มีกรรมดี คือกุศล เป็นผลบุญ
ช่วยค้ำจุน ส่งจิต นิมิตดี
๐ อย่าสงสัย ในสิ่ง ไร้สาระ
ควรลดละ ความคิด ชนิดนี้
ความสงสัย คือนิวรณ์ ถอนความดี
จิตไม่มี สมาธิ เพราะนิวรณ์
๐ เมื่อสงสัย ก็ต้องทำ นำพิสูจน์
อย่าเพียงพูด เพียงคิด จิตสังหรณ์
ต้องลองทำ ศึกษา ตามขั้นตอน
เพื่อจะถอน ความสงสัย ให้มันคลาย
๐ ไม่มีใคร รู้ซึ้ง เท่าหนึ่งจิต
สิ่งที่คิด จิตใจ ในเป้าหมาย
คิดอะไร ก็ให้รู้ อยู่กับกาย
ไม่วุ่นวาย ควบคุมจิต ให้คิดดี
๐ คิดให้ดี คิดให้เห็น เช่นที่คิด
ไม่เป็นพิษ เป็นภัย ในทุกที่
ควบคุมจิต ให้คิด แต่สิ่งดี
ทำอย่างนี้ แล้วจิต จะสบาย
๐ สบายใจ คือสบาย ทั้งกายจิต
นั่นคือกิจ ที่ทำ ตามเป้าหมาย
เพราะคิดดี มีสติ อยู่กับกาย
ไม่วุ่นวาย เพราะจิต นั้นคิดดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓ มีนาคม ๒๕๖๕...

21


...รำพึงธรรมตามรายทาง ปฐมบท...

...การปฏิบัติธรรม เป็นการกระทำที่
เริ่มจากจิต จากความคิด แล้วแสดง
ออกมาซึ่งทางกาย การปฏิบัติธรรมนั้น
มิใช่เป็นไปเพื่อความโอ้อวด เพื่อให้
ผู้อื่นเขายกย่องสรรเสริญชื่นชม
แต่เป็นการอบรมกายและจิตของเรา
โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่
มีความระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อม
ในกายในจิตในความคิดและการกระทำ
เพิ่มพูนคุณธรรมให้แก่จิต ปรับเปลี่ยน
ความคิดเพื่อให้จิตเป็นบุญกุศล
ไม่เอาแต่ความคิดตนมาเป็นใหญ่
เปิดจิตเปิดใจ ให้เปิดกว้าง พิจารณา
ทุกอย่างโดยเหตุและผล ไม่เห็นแก่
ประโยชน์ตนจนเกินไป รู้จักการให้
และการแบ่งปัน สิ่งที่กล่าวมานั้นคือ
การปฏิบัติธรรม...
๐ มีคำถาม มากมาย ให้ขบคิด
ถามเรื่องจิต เรื่องกาย เพราะอยากรู้
จงบอกว่า ถ้าสงสัย ให้ทำดู
แล้วจะรู้ กายจิต คิดอย่างไร
๐ อจินไตย คิดไป ก็ปวดหัว
มาดูตัว ดูจิต แล้วคิดใหม่
ดูให้รู้ ดูให้เห็น เป็นอย่างไร
ให้รู้ใจ รู้กาย รู้จิตตัว
๐ จิตส่งออก สมุทัย ให้เกิดทุกข์
จิตเป็นสุข เพราะรู้พร้อม น้อมไปทั่ว
มีสติ ระลึกรู้ อยู่กับตัว
รู้ดีชั่ว สิ่งที่จิต ควรคิดทำ
๐ อันกายนี้ อยู่ไม่นาน ก็ต้องดับ
เหมือนอาทิตย์ ลาลับ ในยามค่ำ
ต้องเวียนว่าย ตายเกิด อยู่ประจำ
สิ่งที่นำ ติดตัวไป ใช่เงินทอง
๐ สิ่งที่ตาม ติดไป ในดวงจิต
คือนิมิต แห่งกรรม นำสนอง
ถ้าจิตดี ก็มีสุข อยู่คุ้มครอง
จิตเศร้าหมอง ก็ต้องทุกข์ ไม่สุขใจ
๐ รู้อะไร ก็ไม่สู้ เท่ารู้จิต
รู้ถูกผิด ดีและชั่ว แล้วแก้ไข
เจริญจิต ภาวนา พาสุขใจ
ทำจิตไร้ อกุศล เป็นต้นทุน
๐ คือต้นทุน ชีวิต นิมิตหมาย
เมื่อยามตาย ความดี มีเกื้อหนุน
มีกรรมดี คือกุศล เป็นผลบุญ
ช่วยค้ำจุน ส่งจิต นิมิตดี
๐ อย่าสงสัย ในสิ่ง ไร้สาระ
ควรลดละ ความคิด ชนิดนี้
ความสงสัย คือนิวรณ์ ถอนความดี
จิตไม่มี สมาธิ เพราะนิวรณ์
๐ เมื่อสงสัย ก็ต้องทำ นำพิสูจน์
อย่าเพียงพูด เพียงคิด จิตสังหรณ์
ต้องลองทำ ศึกษา ตามขั้นตอน
เพื่อจะถอน ความสงสัย ให้มันคลาย
๐ ไม่มีใคร รู้ซึ้ง เท่าหนึ่งจิต
สิ่งที่คิด จิตใจ ในเป้าหมาย
คิดอะไร ก็ให้รู้ อยู่กับกาย
ไม่วุ่นวาย ควบคุมจิต ให้คิดดี
๐ คิดให้ดี คิดให้เห็น เช่นที่คิด
ไม่เป็นพิษ เป็นภัย ในทุกที่
ควบคุมจิต ให้คิด แต่สิ่งดี
ทำอย่างนี้ แล้วจิต จะสบาย
๐ สบายใจ คือสบาย ทั้งกายจิต
นั่นคือกิจ ที่ทำ ตามเป้าหมาย
เพราะคิดดี มีสติ อยู่กับกาย
ไม่วุ่นวาย เพราะจิต นั้นคิดดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒ มีนาคม ๒๕๖๕...

22


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๐๐...

...นรกหรือสวรรค์ นั้นเป็นสิ่งที่
ยังไม่เห็นในวันนี้ แต่สิ่งที่เห็นและ
เป็นอยู่คือความสุขและความทุกข์
ทั้งหลาย ที่เราสัมผัสได้ในปัจจุบัน
ทำอย่างไรที่เราจะอยู่กับมันให้ได้
และต้องอยู่เหนือมัน ทำอย่างไร
ให้ใจของเรานั้น จะไม่สับสนและ
วุ่นวาย นั้นคือสิ่งที่เราต้องทำ
ในวันนี้ เป็นสิ่งที่เห็นและสัมผัสได้
ถ้าคุณคิดที่จะทำ...

...ลำนำคำกวีชี้บาปบุญ...
..."สวรรค์ อยู่ในอก
และนรก อยู่ในใจ "
เราทำ สิ่งใดไว้
รู้แก่ใจ ของเราเอง
...ดีชั่ว ตัวกำหนด
จะละลด ควรรีบเร่ง
ความชั่ว จงกลัวเกรง
อย่าอวดเบ่ง เพราะถือดี
...บาปกรรม อันน้อยนิด
จะตามติด ไปทุกที่
ส่งผล ทางไม่ดี
ให้เรามี ความทุกข์ใจ
...ความดี ควรรีบทำ
เพื่อจะนำ จิตสดใส
ความดี ที่ทำไป
ส่งผลให้ ได้เจริญ
...เมื่อใจ ไม่คิดชั่ว
และทำตัว น่าสรรเสริญ
พาใจ ให้เพลิดเพลิน
จิตเจริญ ในทางธรรม
...มองโลก ในแง่ดี
ก็จะมี ความสุขล้ำ
ความชั่ว ไม่ครอบงำ
ก็จะทำ แต่สิ่งดี
...สิ่งดี เริ่มที่จิต
อยู่ที่คิด ไม่ผิดที่
คิดดี และทำดี
เพียงเท่านี้ ดีก็มา
...ใจดี ก็มีสุข
เพราะว่าทุกข์ ไม่มาหา
ใจสุข ภาวนา
เกิดปัญญา เห็นความจริง
...ความจริง ของชีวิต
เห็นเมื่อจิต นั้นอยู่นิ่ง
มองเห็น สรรพสิ่ง
เห็นความจริง คือเห็นธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑ มีนาคม ๒๕๖๕...

23


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๙...

...ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ล้วนแล้วมีที่มา
และมีที่ไป มีเหตุและปัจจัยในการเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ แล้วดับไป มีการเสื่อมสลายไป
ตามกาลเวลา มิอาจจะตั้งอยู่ได้นาน
ตลอดไป
...บุคคลจึงควรทำใจให้รับกับสภาพ
ที่จะแปรเปลี่ยนไปทั้งหลายนั้นให้ได้
อย่าไปยึดติดมากเกินไปกับภาพ
แห่งอดีตทั้งหลายที่ได้จดจำมา
เพราะกาลเวลานั้นได้ผ่านเลยไป
สิ่งทั้งหลายย่อมแปรเปลี่ยนตาม
ซึ่งเราไม่อาจห้ามไม่ให้มันเปลี่ยน
แปลงไปไม่ได้ เพราะทุกสรรพสิ่ง
ในโลกนี้ย่อมเป็นไปตามกฎของ
พระไตรลักษณ์ คือความไม่เทียงแท้
ที่นำมาให้เกิดความทุกข์ทั้งหลาย
เพราะไม่อาจจะเข้ายึดถือให้มัน
คงสภาพอยู่เช่นเดิมตลอดไปได้
ทุกอย่างย่อมจะเปลี่ยนแปลงไป
ไม่มากไม่น้อยตามระยะเวลา
...บุคคลจึงควรฝึกทำใจให้รับได้กับ
สภาพที่จะเกิดขึ้นได้ต่อการสูญเสีย
การพลัดพราก การจากไปและการ
เสื่อมสลายที่จะมาถึง ซึ่งวันหนึ่งนั้น
ย่อมจะต้องเกิดขึ้นกับเราและเมื่อเรา
ทำใจยอมรับได้กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้น
เมื่อถึงวันที่สิ่งนั้นมาถึง ใจของเรานั้น
ย่อมจะทุกข์น้อยลง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

24


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๘...

...สมัยที่เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆอยากมี
ฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์จึงฝึกจิตเชิงพลังงาน
ทำให้จิตนั้นหยาบกระด้าง อวดดี
มีทิฏฐิมานะแรงกล้า ใช้จิตในทางที่ผิด
ลบหลู่ครูบาอาจารย์หลงติดอยู่กับ
อิทธิปาฏิหาริย์ ชื่นชมอยู่กับสิ่งนั้น
คนอื่นๆก็พลอยชื่นชม ก่อเกิดลาภ
สักการะและชื่อเสียง หลงทางไปสู่
ความเสื่อมในธรรม จนวันหนึ่งได้คิด
พิจารณา ถึงจุดหมายปลายทางของ
การเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา
ว่าที่สุดแล้วเรานั้นปรารถนาสิ่งใด
สิ่งที่ผ่านมานั้นใช่หรือไม่ จึงได้เข้าใจ
ว่าเรานั้นยังไม่ได้ขวนขวายเพื่อ
ความสิ้นไปแห่งกิเลสตัณหา
เพราะจุดหมายปลายทางของ
พระพุทธศาสนานั้นคือ วิมุตติ
ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง
ไม่ใช่เรื่องฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์
ซึ่งมันเป็นเพียผลพลอยได้ของการ
เจริญสมาธิ เป็นเพียงบาทฐานไปสู่
ปัญญาและไปสู่วิมุตติความหลุดพ้น
ต่อไป แต่สิ่งเหล่านั้นถ้ารู้จักนำมาใช้
ก็จะมีประโยชน์มากมายในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนา เพราะจะเป็นเครื่องมือ
ที่ใช้กับผู้ที่ยังกระด้าง อวดดี
ยังมีทิฏฐิมานะที่แรงกล้าให้เกิดความ
เลื่อมใสศรัทธา ได้เข้ามาใกล้ชิดธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

25



...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๗...

...เมื่อยังไม่ถึงกาลเวลาที่เหมาะสม
จิตย่อมเข้าไม่ถึงธรรม
จึงยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้
อดทนรอให้เขามีความพร้อม
จึงกล่าวธรรม...

...ตราบใดที่ยังมีหนทางไป
ใจย่อมไม่นึกถึงพระธรรม
แต่เมื่อคุณชอกช้ำ
พระธรรมคือที่พึ่งสำหรับคุณ....

...กาลเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไป
ไม่มีเวลาที่จะสิ้นสุด
แต่จิตของมนุษย์
สิ้นสุดได้ ถ้ารู้จักพอ...

...ชีวิตคือการเดินทาง
ทุกย่างก้าวที่เราเดินผ่าน
คือตำนานของชีวิต
ที่เราลิขิตขึ้นมาเอง
ไม่ใช่โชคชะตา ไม่ใช่ฟ้าลิขิต
ไม่ใช่นิมิตแห่งสรวงสวรรค์
ไม่ใช่เทพหรือพรหมนั้นบันดาล
แต่สิ่งที่ชีวิตต้องประสพพบพาน
ล้วนแล้วเกิดมาจากกรรม...

...เมื่อใจเรายอมรับ
ในอุปสรรคและปัญหาที่เข้ามา
มันก็ไม่อาจทำให้เราทุกข์
หรือเมื่อในยามที่เราสุขสมหวัง
ก็ไม่อาจทำให้เราหลงระเริง
เพราะเราเข้าใจในชีวิต
ที่ถูกลิขิตบนเส้นทางพระไตรลักษณ์
เดินอยู่บนหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สิ่งที่นำมาและติดตัวไปได้
สิ่งนั้นไซร้คือกรรมที่ทำมา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

26


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๖...

...การทำงานทุกอย่างนั้นต้องมี
แผนงาน มีแบบแผนและโครงสร้าง
ที่เราต้องวางไว้ล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่าน
มานั้นเกิดจากการคิดและวิเคราะห์หาความเหมาะสมกับเวลา โอกาส
สถานที่ บุคคล เอามาเป็นเหตุ
และผลของการกำหนดแผนงาน
วางใจให้เป็นกลาง มองทุกอย่าง
โดยความเป็นจริง ไม่เอาความคิด
ของตนเองมาเป็นบรรทัดฐานใน
การคิดและวิเคราะห์ เพื่อให้เกิด
ความเหมาะสมกับเหตุและปัจจัย
ที่มีและเป็นอยู่ คิดงานจากพื้นฐาน
ที่มีอยู่ " คือคิดได้และทำได้ด้วย "
ไม่ใช่คิดไปแบบจินตนาการคือการ
ที่คิดได้แต่ทำไม่ได้ เพราะขาดซึ่ง
เหตุและปัจจัย มันเป็นเพียงความคิด
ความฝันที่เลื่อนลอย ไม่สามารถทำ
ให้เป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ แต่ถ้าเรา
คิดงานจากเหตุและปัจจัยที่มีอยู่
สิ่งที่เราคิดนั้นสามารถที่จะทำให้เป็น
รูปธรรมได้ขึ้นมาทันที เพราะคิดจาก
สิ่งที่มีและที่เป็น ไม่ได้ไปคอยเหตุ
และปัจจัยในอนาคตที่ยังไม่มีและยัง
ไม่มา สิ่งที่คิดจึงสามารถที่จะทำได้
สิ่งที่สำคัญในการคิดก็คือการรู้จัก
กำลังของตนเอง รู้ประมาณในกำลัง
ความรู้ความสามารถและโอกาส
ที่ตนมี ไม่ทำในสิ่งที่เกินกำลังของ
ตนเอง เพราะการทำงานที่เกินกำลัง
ของตนเองนั้นอาจนำมาซึ่งความ
ทุกข์กายและทุกข์ใจ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

27


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๕...

...บริหารกาย บริหารจิต จัดตารางชีวิต
ก้าวไปบนสายทางแห่งโลกและธรรม
ซึ่งต้องเป็นไปโดยพร้อมกัน ตราบใดที่
ยังไม่บรรลุซึ่งโลกุตรธรรม...

...ชีวิตมันเป็นเช่นนั้นเอง...

๐ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
หมุนสลับ กันไป ทุกแห่งหน
เพราะว่ายัง เวียนว่าย ในวังวน
ยังไม่พ้น จากวัฏฏะ สังขารา

๐ เก่าดับไป สิ่งใหม่ ก็แทนที่
เป็นอย่างนี้ มานาน กันหนักหนา
เพราะโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มายา
จึงเวียนว่าย กันมา ไม่หมดกรรม

๐ เมื่อมีเกิด ก็ย่อม จะมีดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ให้น่าขำ
เพราะกิเลส ตัณหา ชักพานำ
ก่อเกิดกรรม เวียนว่าย ในสายธาร

๐ คือสายธาร ของมนุษย์ ไม่หลุดพ้น
จึงเวียนวน เกิดดับ กับสังขาร
ไม่สิ้นสุด เวียนว่าย มานมนาน
คือสังขาร วัฏฏะ ที่หมุนวน

๐ แต่แนวทาง พุทธะ นั้นละได้
โดยฝึกใจ ให้ชอบ ประกอบผล
ละกิเลส ตัณหา และตัวตน
ก็หลุดพ้น จากกรรม ที่ทำมา

๐ ไม่ต้องกลับ มาเกิด ประเสริฐสุด
ก็เพราะหลุด จากกิเลส และตัณหา
เพราะเห็นทุกข์ เห็นภัย ในมายา
ละอัตตา ละมานะ ละตัวตน

๐ ไม่ก่อกรรม ทำบาป ที่หยาบช้า
ปรารถนา อยู่กับ บุญกุศล
เพิ่มกำลัง บารมี ให้แก่ตน
และฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา

๐ มีสติ อยู่กับตัว รู้ทั่วพร้อม
แล้วก็น้อม ตั้งจิต ปรารถนา
ดูความคิด ดูกาย ที่เป็นมา
ให้ปัญญา เห็นทุกข์ และเข้าใจ

๐ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นธรรม เพราะทำจิต
เปลี่ยนความคิด ตั้งจิต กับสิ่งใหม่
อยู่กับธรรม มีธรรม ประจำใจ
ก้าวเดินไป ตามทางธรรม พระสัมมา

๐ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
เอาเป็นเหตุ ฝึกฝน และค้นหา
เพื่อให้เกิด สมาธิ และปัญญา
จะนำพา ชีวิต พ้นวังวน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

28


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๔...

...การฝึกจิตนั้นต้องกระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีเวลาหยุดพัก เพราะการเจริญสติ
นั้นต้องทำในทุกโอกาส เพื่อให้สติ
นั้นมีกำลังเพิ่มยิ่งๆขึ้น เพื่อให้เห็น
การเกิดดับของสรรพสิ่งและละวาง
อารมณ์ที่เป็นอกุศลจิตที่เกิดขึ้น
ให้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งนั้นต้อง
อาศัยกำลังของสติสัมปชัญญะ
และองค์แห่งคุณธรรมเป็นตัวเข้าไป
จัดระบบความคิดทั้งหลายของจิต
โดยต้องมีสมาธิคือจิตที่สงบนิ่ง
เป็นบาทฐานแห่งการพิจารณา ทุกเวลา
ที่ผ่านไปนั้น จึงเป็นการปฏิบัติธรรม...
...บริหารกาย บริหารจิต จัดตารางชีวิต
ก้าวไปบนสายทางแห่งโลกและธรรม
ซึ่งต้องเป็นไปโดยพร้อมกัน ตราบใดที่
ยังไม่บรรลุซึ่งโลกุตรธรรม...

...ชีวิตมันเป็นเช่นนั้นเอง...

๐ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
หมุนสลับ กันไป ทุกแห่งหน
เพราะว่ายัง เวียนว่าย ในวังวน
ยังไม่พ้น จากวัฏฏะ สังขารา

๐ เก่าดับไป สิ่งใหม่ ก็แทนที่
เป็นอย่างนี้ มานาน กันหนักหนา
เพราะโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มายา
จึงเวียนว่าย กันมา ไม่หมดกรรม

๐ เมื่อมีเกิด ก็ย่อม จะมีดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ให้น่าขำ
เพราะกิเลส ตัณหา ชักพานำ
ก่อเกิดกรรม เวียนว่าย ในสายธาร

๐ คือสายธาร ของมนุษย์ ไม่หลุดพ้น
จึงเวียนวน เกิดดับ กับสังขาร
ไม่สิ้นสุด เวียนว่าย มานมนาน
คือสังขาร วัฏฏะ ที่หมุนวน

๐ แต่แนวทาง พุทธะ นั้นละได้
โดยฝึกใจ ให้ชอบ ประกอบผล
ละกิเลส ตัณหา และตัวตน
ก็หลุดพ้น จากกรรม ที่ทำมา

๐ ไม่ต้องกลับ มาเกิด ประเสริฐสุด
ก็เพราะหลุด จากกิเลส และตัณหา
เพราะเห็นทุกข์ เห็นภัย ในมายา
ละอัตตา ละมานะ ละตัวตน

๐ ไม่ก่อกรรม ทำบาป ที่หยาบช้า
ปรารถนา อยู่กับ บุญกุศล
เพิ่มกำลัง บารมี ให้แก่ตน
และฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา

๐ มีสติ อยู่กับตัว รู้ทั่วพร้อม
แล้วก็น้อม ตั้งจิต ปรารถนา
ดูความคิด ดูกาย ที่เป็นมา
ให้ปัญญา เห็นทุกข์ และเข้าใจ

๐ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นธรรม เพราะทำจิต
เปลี่ยนความคิด ตั้งจิต กับสิ่งใหม่
อยู่กับธรรม มีธรรม ประจำใจ
ก้าวเดินไป ตามทางธรรม พระสัมมา

๐ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
เอาเป็นเหตุ ฝึกฝน และค้นหา
เพื่อให้เกิด สมาธิ และปัญญา
จะนำพา ชีวิต พ้นวังวน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

29


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๓...

...คือกระแสธรรมแห่งกาลเวลา...
...เรียนรู้ทางโลกมามากมาย
แต่ล้วนแล้วเป็นไปเพื่อความ
อยากมี ความอยากได้และความ
อยากเป็น ส่งจิตออกจากตัวเอง
ตลอดเวลา แสวงหาสิ่งนอกกาย
เป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนกิเลส
ตัณหาอัตตาและมานะ เรียนไปๆ
กิเลสก็ยิ่งหนา มิได้เบาบางลง
...เรียนรู้ทางธรรม เป็นไปเพื่อ
ความลดละซึ่งความโลภ โกรธ
หลง ละกิเลส ตัณหาและอุปาทาน
ให้มันเบาบางลง เป็นการศึกษา
จากภายนอกเข้ามาสู่ภายในจิต
ในกายของเรา น้อมจิตเข้าสู่ตัวเรา
เรียนรู้ให้รู้จักตัวเราเอง
...ทุกคืนก่อนที่จะหลับไปนั้นจะ
ทบทวนใคร่ครวญ พิจารณาถึง
สิ่งที่ผ่านมาในแต่ละวัน เริ่มจาก
ตั้งแต่ตื่นนอนมาจนกระทั้งจะ
นอนใหม่ ว่าเรานั้นได้ทำอะไร
มาบ้าง อารมณ์ความรู้สึกเป็น
อย่างไร เวลาที่ผ่านไปใจเรา
เป็นกุศลหรืออกุศล อะไรเป็น
เหตุเป็นปัจจัยให้จิตแปรเปลี่ยน
ไปทั้งในทางกุศลและอกุศล
ให้คะแนนความประพฤติแต่ละวัน
ที่ผ่านมา เพื่อให้เห็นความก้าวหน้า
หรือว่าความเสื่อมของตัวเรา
เพื่อรักษาไว้ซึ่งความเพียรของเรา
...ความเพียรทั้ง ๔ ประการอันได้แก่...
๑.เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น
ในจิตของเรา เรียกว่า"สังวรปธาน"
๒.เพียรพยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
ในจิตของเรา เรียกว่า"ปหานปธาน"
๓.เพียรพยายามทำให้กุศลเกิดขึ้น
ในความคิดในจิตของเรา เรียกว่า
"ภาวนาปธาน"
๔.เพียรพยายามรักษากุศลที่
เกิดขึ้นแล้วในความคิดในจิต
ของเราไม่ให้เสื่อมไป เรียกว่า
"อนุรักขนาปธาน"
...เป็นความเพียรในมรรคองค์แปด
ที่เรียกว่า"สัมมาวายาโม" คือความ
เพียรชอบ สิ่งนี้เราได้ทำแล้วและ
จะกระทำต่อไป เพื่อให้ทรงไว้ซึ่ง
ความเจริญในธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

30


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๒...

...การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น
เราต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
ต่อชุมชนและคนรอบกาย
เพื่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ก่อนที่เราจะร้องขอจากเขานั้น
เราต้องแบ่งปันและให้เขาก่อน
จงเป็นผู้ให้แล้วท่านจะรับการ
ให้ตอบแทน เป็นคำสอนของ
ครูบาอาจารย์ การมีน้ำใจต่อ
หมู่คณะนั้น จะทำให้ท่านได้รับ
ความเกรงใจ
...สรุปลงได้ในหลักธรรมเรื่อง
"พรหมวิหาร " ซึ่งแปลว่าเป็นธรรม
อันเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
ธรรมอันเป็นหลักประจำใจ
ของผู้ใหญ่ ธรรมที่ผู้ใหญ่
ควรประพฤติ พรหมวิหารนั้น
เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในใจ
เป็นธรรมที่กระตุ้นให้เกิด
การกระทำ เช่น สงเคราะห์
ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ซึ่งมี
อยู่ ๔ ประการอันได้แก่...
๑.เมตตา คือความรัก ความปรารถนาดี
ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข
๒.กรุณา คือ ความหวั่นไหว ความ
สงสารเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์
คิดจะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์
๓.มุทิตา คือ ความพลอยยินดี
ความดีใจด้วย ที่ผู้อื่นมีความสุข
ได้รับความสำเร็จ
๔.อุเบกขา คือความวางใจ
เป็นกลาง ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
เมื่อผู้อื่นได้รับความวิบัติ
...ธรรมในหมวดพรหมวิหารนี้ จึงเป็น
สิ่งที่ผู้ใหญ่หรือผู้นำต้องกระทำ ต้องมี
เพื่อให้เกิดความพอดี เสมอกันของ
ผู้ร่วมงาน เป็นธรรมที่จะประสานใจ
ทำให้เกิดความรักใคร่สามัคคีของ
หมู่คณะ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

31


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๑...

...การที่เราจะคิดพิจารณาก่อนที่จะกล่าว
วาจาได้นั้น มันต้องผ่านการฝึกสติการระลึกรู้
การรู้ตัวทั่วพร้อมมาก่อน ให้สติมีกำลังพอ
ที่จะยับยั้งความเคยชินที่เคยกระทำมา
ดั่งคำโบราณที่กล่าวเป็นคำกลอนสอน
สืบต่อกันมาว่า " อันอ้อยตาล หวานลิ้น
ยังสิ้นซาก แต่ลมปาก หวานหู ไม่รู้หาย "
การกล่าวปิยะวาจาจึงเป็นสิ่งที่สมควร
กระทำให้สม่ำเสมอ เมื่อเราอยู่กับผู้คน
ในสังคมที่หลากหลาย...
...กวีธรรม " รอยธรรมและรอยทาง "...
๐ รอยทาง และรอยธรรม
รอยลำนำ คำกวี
รอยทาง นั้นบ่งชี้
ว่าทางนี้ คือทางธรรม
๐ แนวทาง มีมากมาย
ที่จะให้ เรานั้นทำ
เรียนรู้ และจดจำ
แล้วน้อมนำ มาทำตาม
๐ ก้าวพ้น ออกจากทุกข์
ได้พบสุข ทุกโมงยาม
ทางธรรม นั้นงดงาม
ก้าวเดินตาม เส้นทางธรรม
๐ ทางธรรม นำชีวิต
ไม่พลาดผิด จิตใฝ่ต่ำ
กิเลส ไม่ครอบงำ
เพราะมีธรรม นั้นนำทาง
๐ นำทาง สว่างจิต
นำชีวิต ให้ออกห่าง
จากชั่ว คือละวาง
ทำทุกอย่าง ในทางดี
๐ ทางดี คือกุศล
จะเพิ่มผล บารมี
เอาธรรม มานำชี้
สร้างความดี ไว้แก่ตน
๐ ความดี ของชีวิต
เป็นนิมิต แห่งกุศล
ความดี คือมงคล
ติดตามตน ทุกภพไป
๐ ชีวิต ที่ผ่านมา
สร้างคุณค่า แล้วหรือไร
ชีวิต ก่อนสิ้นไป
จงสร้างไว้ ซึ่งความดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

32


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๐...

..." บัณฑิตควรตั้งตนไว้
ในคุณธรรมก่อน แล้วจึง
ค่อยสอนผู้อื่นภายหลัง
ตนจึงจะไม่มัวหมอง "
... อตฺตานเมว ปฐมํ
ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย
น กิลิสฺเสยฺย ปญฺฑิโต ...
...วันเวลาที่ผ่านไปสำหรับวันๆหนึ่ง
มีสติระลึกรู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตที่ล่วง
ไปแล้วนั้น ผุดขึ้นมาบ้างในบางคราว
ส่วนอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ก็มีบ้างที่ยัง
คิดกังวล แต่ก็ไม่ทำให้ถึงกับทุกข์
...มีสติอยู่กับปัจจุบันธรรมมากกว่า
หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ลมหายใจ
มันสั้นก็รู้ ลมหายใจยาวมันก็รู้ หายใจ
โปร่งโล่งเบาสบายก็รู้ อยู่กับลมหายใจ
เพียงเท่านั้นก็เพียงพอต่อการปฏิบัติ
สติและปัญญาจะแก่กล้าขึ้นมาเอง
ถ้าเราได้กระทำและฝึกฝนอยู่อย่าง
สม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้งธุระ
...เมื่อเราอยู่กับธรรม ธรรมนั้นก็อยู่
กับเรา เมื่อเรารักษาธรรม ธรรมนั้น
จะรักษาเรา ธรรมะคือตัวเรา ตัวเรา
คือธรรมะ เพราะธรรมะนั้นคือธรรมชาติ
ที่เป็นจริงของสรรพสิ่งในโลกนี้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

33


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๙...

...วันเวลาที่ผ่านไปสำหรับวันๆหนึ่ง
มีสติระลึกรู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตที่ล่วง
ไปแล้วนั้น ผุดขึ้นมาบ้างในบางคราว
ส่วนอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ก็มีบ้างที่ยัง
คิดกังวล แต่ก็ไม่ทำให้ถึงกับทุกข์
...มีสติอยู่กับปัจจุบันธรรมมากกว่า
หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ลมหายใจ
มันสั้นก็รู้ ลมหายใจยาวมันก็รู้ หายใจ
โปร่งโล่งเบาสบายก็รู้ อยู่กับลมหายใจ
เพียงเท่านั้นก็เพียงพอต่อการปฏิบัติ
สติและปัญญาจะแก่กล้าขึ้นมาเอง
ถ้าเราได้กระทำและฝึกฝนอยู่อย่าง
สม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้งธุระ
...เมื่อเราอยู่กับธรรม ธรรมนั้นก็อยู่
กับเรา เมื่อเรารักษาธรรม ธรรมนั้น
จะรักษาเรา ธรรมะคือตัวเรา ตัวเรา
คือธรรมะ เพราะธรรมะนั้นคือธรรมชาติ
ที่เป็นจริงของสรรพสิ่งในโลกนี้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

34


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๘...

“ ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ ปเรสํ วาปิ กญฺจนํ
มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ นตฺถิ เมติ น โสจติ ”
..ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น
ผู้นั้น เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา
จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้...
(ขุ.สุ. ๒๕/๕๑๙, ขุ.มหา. ๒๙/๕๓๔)
...ในการศึกษาธรรมะและประพฤติ
ปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องมีวิจารณญาณ
อย่าเชื่อทันทีที่ได้ยิน ได้ฟังมา
อย่าได้ศรัทธาเพราะยึดติดใน
ตัวบุคคล จงเอาเหตุและผลมาเป็น
ที่ตั้ง แห่งการคิดและพิจารณาธรรม
ว่าควรจะเชื่อหรือจะปฏิเสธ ในสิ่งที่
ได้อ่าน ได้ยินหรือได้ฟัง ดั่งที่เคย
กล่าวไว้ว่า “ ถ้าเชื่อในทันที จะนำ
ไปสู่ความงมงาย ถ้าปฏิเสธทันที
จะทำให้เสียโอกาส ขาดประโยชน์
ควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบครอบ
และทดลองปฏิบัติ พิสูจน์ ฝึกฝน
ที่ใจตน ให้เกิดความกระจ่างชัด
ขึ้นด้วยใจตน ตามเหตุและผลแล้ว
จึงควรเชื่อหรือปฏิเสธในสิ่งที่ได้
อ่าน ได้ยิน ได้ฟังมา
...ความศรัทธาที่มาจากอิทธิปาฏิหาริย์
มักจะนำไปสู่ความงมงายได้ง่าย
เพราะจะทำให้ขาดการพิจารณา
ในเหตุและผล อย่าให้ความศรัทธา
ในตัวบุคคล มาบดบังเหตุและผล
สภาวธรรมที่แท้จริง ในสิ่งที่เป็น
ปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ซึ่งจะทำให้
เกิดปัญญามีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึง
สภาวธรรมที่แท้จริงนั้นได้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

35


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๗...

...การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น
เราต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
ต่อชุมชนและคนรอบกาย
เพื่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ก่อนที่เราจะร้องขอจากเขานั้น
เราต้องแบ่งปันและให้เขาก่อน
จงเป็นผู้ให้แล้วท่านจะรับการ
ให้ตอบแทน เป็นคำสอนของ
ครูบาอาจารย์ การมีน้ำใจต่อ
หมู่คณะนั้น จะทำให้ท่านได้รับ
ความเกรงใจ
...สรุปลงได้ในหลักธรรมเรื่อง
"พรหมวิหาร " ซึ่งแปลว่าเป็นธรรม
อันเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
ธรรมอันเป็นหลักประจำใจ
ของผู้ใหญ่ ธรรมที่ผู้ใหญ่
ควรประพฤติ พรหมวิหารนั้น
เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในใจ
เป็นธรรมที่กระตุ้นให้เกิด
การกระทำ เช่น สงเคราะห์
ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ซึ่งมี
อยู่ ๔ ประการอันได้แก่...
๑.เมตตา คือความรัก ความปรารถนาดี
ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข
๒.กรุณา คือ ความหวั่นไหว ความ
สงสารเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์
คิดจะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์
๓.มุทิตา คือ ความพลอยยินดี
ความดีใจด้วย ที่ผู้อื่นมีความสุข
ได้รับความสำเร็จ
๔.อุเบกขา คือความวางใจ
เป็นกลาง ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
เมื่อผู้อื่นได้รับความวิบัติ
...ธรรมในหมวดพรหมวิหารนี้ จึงเป็น
สิ่งที่ผู้ใหญ่หรือผู้นำต้องกระทำ ต้องมี
เพื่อให้เกิดความพอดี เสมอกันของ
ผู้ร่วมงาน เป็นธรรมที่จะประสานใจ
ทำให้เกิดความรักใคร่สามัคคีของ
หมู่คณะ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

36


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๖...

...มนุษย์ทุกคนต้องดำเนินไปตามวิถีทาง
ของตน ตามเหตุและผลที่ตนตั้งไว้ มีเหตุ
และปัจจัยที่แตกต่างกัน ก้าวเดินไปตาม
วิถีแห่งกรรม เกิดจากความคิดและสิ่ง
ที่ทำจากอดีตและปัจจุบันเป็นแรงส่ง
ให้เป็นไป ทุกชีวิตนั้นเลือกที่มาไม่ได้
แต่สามารถที่จะกำหนดที่ไปในอนาคต
ของตนนั้นได้ ด้วยการสร้างเหตุและปัจจัย
ในวันนี้ เพื่อเป็นตัวชี้หนทางในอนาคต
กำหนดได้ด้วยการกระทำของเราในวันนี้
เพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีแห่งกรรมที่ทำมา
ในอดีตของตนได้ คือการสร้างเหตุและ
ปัจจัยตัวใหม่ให้มีกำลังมากกว่าที่เคย
สั่งสมมา โดยใช้กาลเวลาในการกระทำ
เปลี่ยนแปลงความคิด เปลี่ยนแปลง
ซึ่งพฤติกรรม สร้างความเคยชินให้กับ
ชีวิต ด้วยวิธีการคิดแบบใหม่ ทำความรู้
ความเข้าใจในวิถีแห่งโลกและธรรม
ที่เป็นของคู่กันให้เข้าใจ
...โลกและธรรมต้องก้าวไปพร้อมกัน
ด้วยความเหมาะสม ความลงตัว พอเหมาะ
และพอควร ไม่เคร่งจนเกินไปในทางธรรม
จนกลายเป็นการทอดทิ้งธุระในทางโลก
ไม่ทำหน้าที่ของตนเองให้สมบูรณ์และ
ไม่หย่อนเกินไปในทางธรรม จนกลาย
เป็นการไร้ซึ่งคุณธรรม หาความพอเหมาะ
พอดีในการทำหน้าที่ของตน อยู่บนเหตุ
และผลของความพอดีและพอเพียง เลี้ยง
ชีวิตโดยชอบ ประกอบกรรมในสิ่งที่เป็น
กุศล สร้างสิ่งที่เป็นมงคลให้แก่ชีวิต
โดยการคิดและทำ ในสิ่งที่ไม่เป็นภัยต่อ
ชีวิตและไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น และไม่ฝ่าฝืน
ศีลธรรมกฎหมายที่ดีงามของบ้านเมือง
ทำในเรื่องที่ชอบ อันประกอบเป็นบุญกุศล
เพื่อสร้างมงคลให้แก่ชีวิต ปรับเปลี่ยน
ความคิดปรับเปลี่ยนจิตให้เป็นกุศล
เป็นการเริ่มต้นใหม่ที่ดีงาม
...การสร้างเหตุและปัจจัยที่ดีในวันนี้
เป็นการชี้หนทางในอนาคตของตน
เป็นเหตุและผลที่จะส่งผลในอนาคต
เป็นการกำหนดอนาคตหนทางที่จะไป
โลกและธรรมนั้นต้องเดินคู่กันไป เพื่อให้
โลกนี้มีคุณธรรม โดยการเริ่มกระทำที่
จิตใจของเราเป็นเริ่มแรก จัดระเบียบ
ให้แก่ชีวิตของตนเองเสียก่อน ก่อนที่จะ
ไปเรียกร้องจัดระเบียบให้แก่สังคม
เริ่มต้นที่ความคิด เริ่มที่จิตของเราเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

37


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๕...

....เป็นธรรมดาของทุกชีวิตในโลกนี้
ที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคปัญหา
เพราะว่าทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่
หวังไว้เสมอ ดั่งคำที่กล่าวว่า...
"เส้นทางของชีวิตมิได้โรยด้วย
กลีบของดอกกุหลาบเสมอไป"
แต่ทำอย่างไร เราจึงจะเข้าใจและ
เข้าไปแก้ไขอุปสรรคปัญหานั้นได้
..." ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุ
และดับไปที่เหตุ " เราจึงต้องฝึก
ขบวนการคิดเพื่อเข้าไปหาเหตุ
โดยเริ่มจากการฝึกใจให้นิ่งเสียก่อน
" นิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว "
ซึ่งจะทำให้ใจนิ่งได้นั้น มันต้องมี
สมาธิและการที่จะมีสมาธิได้นั้น
มันต้องมีสติ เราจึงต้องฝึกให้มี
สติเสียก่อน ก่อนที่จะทำจิตให้สงบ......
....อุปสรรคและปัญหานั้นมีอยู่และ
เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าไปแก้ไข
แต่เราต้องทำใจของเราให้อยู่
เหนือปัญหาให้ได้เสียก่อน
เรียกว่าวางปัญหานั้นไว้เสียก่อน
มันจะทำให้เราผ่อนคลาย และไม่
เป็นการกดดันตัวเราเอง เพราะถ้า
เราไม่วางปัญหานั้นไว้เสียก่อน
จิตของเราเข้าไปยึดติดยึดถือ
มันจะทำให้เราเครียดหนักอกหนักใจ
สมองเราไม่ปลอดโปร่งทำให้เกิด
ความเครียด และเมื่อเรามีความเครียด
มันจะทำให้ความคิดของเรานั้นคับแคบ
การคิดการมองปัญหาไม่เปิดกว้าง
มันจึงไม่เห็นหนทางที่จะแก้ปัญหานั้นได้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

38


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๔...

...ยอมรับความจริงว่าในบางครั้งนั้น
สภาพร่างกายและจิตใจเหนื่อยล้า
จากการเดินทาง จากการทำงาน
และอุปสรรคปัญหาที่ผ่านเข้ามา
แต่ถ้าถามว่าเคยท้อแท้บ้างไหม
ตอบได้เลยว่าไม่เคยที่จะท้อแท้
ถ้ามันหนัก ก็ถอยมาพัก ตั้งหลักใหม่
มองย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์
ที่ได้ผ่านมา เพื่อสรุปหาแนวทาง
ที่จะก้าวย่างกลับไปเดินใหม่
สร้างเติมเสริมขวัญและกำลังใจ
ปลุกศรัทธาให้เพิ่มขึ้นมาใหม่
แล้วก้าวเดินไป อย่างมั่นใจและมั่นคง...
..." ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็น
แล้วก็ปล่อย " คือการสอนธรรมะแบบ
ไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้สาระ สอนแบบที่
ไม่ให้เขารู้ว่าเรากำลังสอนธรรมะแก่เขา
เพราะการพูดอย่างเดียวนั้นมันจะได้ผล
น้อยมาก ถ้าเราไม่ได้ทำอย่างที่เราพูด
" ทำให้ดูดีกว่าพูด " เพราะจะเป็นการ
พิสูจน์ในสิ่งที่พูดนั้นว่าทำได้หรือไม่
บางครั้งเราคิดดีเกินไป พูดดีเกินไป
แต่ไม่สามารถที่จะทำได้ ในสิ่งที่คิด
และสิ่งที่พูด เพราะว่าเหตุและปัจจัย
ยังไม่พร้อม จงคิดและพูดในสิ่งที่
สามารถจะทำได้ทันที ในสิ่งที่เหตุ
และปัจจัยมีพร้อม แล้วสิ่งที่เราคิด
และเราพูดก็จะกลายเป็นความจริง
เป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่จับต้องได้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม...
...๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

39


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๓...

...ปัญหาที่มักจะเจอในการประพฤติ
ปฏิบัติธรรม ก็คือความคาดหวังผลของ
การปฏิบัติโดยเร็วไว เพราะผู้ปฏิบัติ
ส่วนมากนั้น มักจะทำกันลัดขั้นตอน
เพราะความใจร้อน อยากจะเห็นผล
โดยเร็วไว การปฏิบัติจึงไม่เป็นไป
ตามขั้นตอน ตามหลักไตรสิกขาคือ
ศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนใหญ่จะไปเน้น
ที่สติเพื่อให้เกิดสมาธิโดยเร็วไว้
มักจะข้ามเรื่องศีลไป ซึ่งสิ่งนั้นคือ
อันตรายของนักปฏิบัติ เพราะศีลนั้น
คือบาทฐานของความเป็นสัมมาสติ
....เจตนาของการรักษาศีลนั้นก็เพื่อการ
เจริญสติ มีการสำรวมอินทรีย์ บุคคลผู้ที่
จะรักษาศีลได้นั้น ต้องมีสติอยู่กับกาย
และจิต ดูความคิด ดูการกระทำ ไม่ก้าว
ล่วงล้ำข้อห้ามทั้งหลาย มีความละอาย
และเกรงกลัวต่อการประพฤติผิดทั้งใน
ที่ลับและในที่แจ้ง
...การกระทำอย่างนั้นก่อให้เกิดคุณธรรม
ประจำจิต คือการมีหิริและโอตตัปปะ
สิ่งที่ได้จากการรักษาศีลก็คือการมีสติ
และการมีคุณธรรม เมื่อเข้าสู่การภาวนา
เพื่อให้เกิดสมาธิ สติที่ใช้ในการภาวนานั้น
คือสัมมาสติ
...สมาธิที่เกิดขึ้นจึงเป็นสัมมาสมาธิ
เพราะเกิดจากสติที่เป็นสัมมา ปัญหา
ของการเจริญภาวนาที่ไม่ได้ผ่านการ
รักษาศีลนั้น ก็คือการก่อให้เกิดอัตตา
มานะ การยกตัว ถือตัวถือตน สำคัญตน
ว่าเราดีกว่าผู้อื่น เก่งกว่าผู้อื่น วิเศษกว่า
ผู้อื่น หลงตัวเอง สบประมาทลบหลู่
ครูบาอาจารย์ยกตนขึ้นเทียบท่าน
เป็นผู้ว่ายากสอนยาก ก่อให้เกิดอกุศล
ทางกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม
ต่อครูบาอาจารย์และเพื่อนนักปฏิบัติ
เพราะขาดซึ่งคุณธรรม

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

40


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๒...

...การเข้าอยู่ปริวาสกรรมนั้นเป็นหนึ่งใน
กิจวัตร ๑๐ ประการของพระภิกษุสงฆ์
เพื่อการดำรงไว้ซึ่งการประพฤติปฏิบัติ
ตามพระธรรมวินัย ในการออกจากครุ
อาบัติ ทั้งที่รู้ก็ดีและไม่รู้ก็ดี เป็นการอยู่
ชดใช้ในครุอาบัตินั้น
...เป็นการลดมานะ ละทิฏฐิของพระภิกษุ
ผู้เข้าอยู่ปริวาสกรรม เพราะจะถูกลดชั้น
ให้ต่ำกว่าพระปกติ แม้ท่านจะบวชได้
เพียงวันเดียวก็ตาม ต้องอยู่ในข้อวัตร
ปฏิบัติที่พระปกติกำหนดให้ทำ เป็นผู้
ว่าง่าย ไม่มากคำต่อพระปกติผู้ควบคุม
สังฆกรรม
...ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ของศีลนั้น
เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน ถ้าเราได้ปฏิบัติ
ตามธรรมตามวินัย ไม่บกพร่องแล้ว
มันจะมีปีติหล่อเลี้ยงกายและจิตให้มี
พละกำลัง มีความโปร่ง โล่งเบา สบาย
มีความเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

41


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๑...

...ธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า
เป็นเครื่องกระทำให้เป็นสมณะ
๑.พึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจัก
ประกอบด้วย หิริ ความละอาย
ต่อความชั่ว โอตตัปปะ ความเกรง
กลัวต่อความชั่ว
๒.พึงศึกษาว่า เราจักมีกายสมาจาร
คือความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์
ที่ตื้น ที่เปิดเผย ไม่เป็นช่อง ประกอบ
ด้วยความสำรวมทั้งจะไม่ยกตนข่มท่าน ด้วยข้อนั้น
๓.พึงศึกษาว่า เราจักมี วจีสมาจาร
คือประพฤติทางวาจา ได้แก่คำพูด
ที่บริสุทธิ์
๔.พึงศึกษาว่า เราจักมี มโนสมาจาร
คือความประพฤติทางใจคือความคิด
อันบริสุทธิ์
๕.พึงศึกษาว่า เราจักมี อาชีวะ คือความเลี้ยงชีพบริสุทธิ์
๖.พึงศึกษาว่า เราจักมีอินทรีย์สังวร ความสำรวมอินทรีย์ คือสำรวม ตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๗.พึงศึกษาว่า เราจักมีความรู้
ประมาณในการบริโภคอาหาร
๘.พึงศึกษาว่า เราจักประกอบ
ธรรมของผู้ที่ตื่นอยู่ คือไม่เห็นแก่
การหลับนอนมากนัก
๙.พึงศึกษาว่า เราจักประกอบสติ
คือความระลึกได้ และสัมปชัญญะ
คือความรู้ตัวทั่วพร้อมในอิริยาบถใหญ่
อิริยาบถน้อยทั้งหลาย
๑๐.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติคอย
ชำระจิตของตนออกจากนิวรณ์
คือกิเลสเป็นเครื่องกั้นจิตทั้งหลาย
๑๑.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติทำ
สมาธิ คือความรวมจิต เข้ามา
ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ซึ่งเป็น
อารมณ์ของสมาธิ จนถึงสมาธิขั้นสูง
๑๒.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติอบรม
จิตให้เกิดปัญญาญาณ คือปัญญา
หยั่งรู้เข้าถึงสัจจะ คือความจริง
ขึ้นไปโดยลำดับ...
...นี่คือธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัส
สอนแก่พระภิกษุทั้งหลาย ว่าเป็น
เครื่องกระทำให้เป็นสมณะ ซึ่งควร
หมั่นคิดและพิจารณากาย วาจา
จิตของเราอยู่เสมอ เพื่อความ
เป็นสมณะในพระพุทธศาสนา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

42


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๐...

...การเป็นผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จัก
ครอบงำประกาย ไม่ควรโอ้อวดตัว
โชว์อวดให้เขารู้ว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
เพราะการปฏิบัติธรรมนั้นมิใช่การแสดง
มิใช่เป็นไปเพื่อการโอ้อวด
ประกวดกัน
เพื่อให้เขากล่าวสรรเสริญยกย่อง
แต่เป็นไปเพื่อความสงบ สะอาด สว่าง
ละวางจากทิฐิมานะและอัตตา
และเพื่อความจางคลาย
ของกิเลส
ตัณหา อุปาทาน
...ซึ่งการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องเกิดจาก
ความคิดและจิตที่เป็นกุศล การเริ่มต้นที่
ถูกต้องและดีงาม ความเจริญในธรรม
จึงบังเกิด เพราะคำว่า ภาวนา
นั้นคือการกระทำให้ดีขึ้น พัฒนาขึ้น
สิ่งที่เรียกว่าพัฒนาขึ้นดีขึ้น นั้นก็คือ
ความดี คือสิ่งที่เป็นกุศลธรรมทั้งหลาย...
๐ เจริญสุข เจริญธรรม ในยามเช้า ๐
.....จะสุขใดไหนเท่าสุขในธรรม.....
๐ เจริญจิต เจริญใจ ปฏิบัติ
เพื่อขจัด ซึ่งกิเลส และตัณหา
เพื่อเสริมสร้าง จิตใจ ให้ศรัทธา
ภาวนา ให้สงบ พบที่ใจ
๐ จงดูกาย ดูจิต พร้อมดูธรรม
ดูแล้วนำ มาคิด วินิจฉัย
ดูให้เห็น ในสิ่ง ที่เป็นไป
ให้เข้าใจ สิ่งที่เห็น ความเป็นมา
๐ มองหาเหตุ ปัจจัย มองให้เห็น
สิ่งที่เป็น บ่อเกิด ของปัญหา
ใช้ความคิด ใช้สติ ใช้ปัญญา
จงมองหา มองให้เห็น ความเป็นจริง
๐ ชีวิตนี้ ย่อมมี อุปสรรค
เป็นตามหลัก เปลี่ยนไป ในทุกสิ่ง
อนิจจา ไม่เที่ยง คือความจริง
สรรพสิ่ง ย่อมผันแปร ไม่แน่นอน
๐ เมื่อมีได้ ก็ย่อม จะมีเสีย
เมื่ออ่อนเพลีย ควรตั้งหลัก หยุดพักผ่อน
ให้จิตใจ เข้มแข็ง และแน่นอน
แล้วค่อยย้อน มาแก้ไข ให้ทันการ
๐ การกดดัน ตนเอง เกรงจะเสีย
กายอ่อนเพลีย และจิตใจ ไม่อาจหาญ
ทำสิ่งใด ไม่สำเร็จ เสร็จตามกาล
สิ่งที่ผ่าน ไม่เห็นชัด เพราะอัตตา
๐ ทุกปัญหา ย่อมมีทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ยอมละ ซึ่งตัณหา
ความอยากมี อยากได้ ที่เป็นมา
คือตัณหา ความโลภ เข้าครอบงำ
๐ เมื่อไม่ยอม เสียสละ ก็ละอยาก
ต้องลำบาก ทำชีวิต ให้ตกต่ำ
ก่อให้เกิด จองเวร และสร้างกรรม
บุญไมทำ แต่กรรมผิด ติดตามตน
๐ เพราะตัณหา อัตตา และมานะ
ที่ไม่ละ ไม่วาง จึงให้ผล
ต้องกลุ้มใจ ไร้สุข ต้องทุกข์ทน
นั้นคือผล ของกรรม ที่ทำมา
๐ ความพอดี พอเพียง เลี้ยงชีวิต
รู้ถูกผิด ในกิเลส และตัณหา
รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ด้วยปัญญา
จะนำพา ชีวิต จิตเจริญ
๐ เจริญธรรม ล้ำเลิศ ประเสริฐนัก
มีคนรัก คนชม และสรรเสริญ
เจริญธรรม นำใจ ให้เพลิดเพลิน
สุขใดเกิน สุขในธรรม องค์สัมมา
๐ สุขทางโลก นั้นไม่นาน ก็จางหาย
พอสุขคลาย จิตก็ทุกข์ มีปัญหา
สุขในธรรม นั้นดำรง ทรงเรื่อยมา
ก็เพราะว่า ใจนั้น มันเพียงพอ......

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

43


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๙...

...สัจธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่สิ่งที่เพ้อฝันหรือ
จินตนาการเหมือนที่ผ่านมา เมื่อก่อนนั้น
เราเรียกร้องแสวงหาเพื่อสนองตอบความ
ต้องการของเรา เราไปเรียกร้องให้ผู้อื่น
ปฏิบัติ เพื่อสนองตอบความต้องการ
ของตัวเรา เราอยู่ในโลกแห่งความฝัน
ในโลกแห่งจินตนาการ โดยคิดว่าสิ่งนั้น
คือสัจธรรม แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป เราได้รู้
เราได้เข้าใจในโลกใบนี้ ในวิถีของสัตว์โลก
ที่แตกต่างกัน จึงทิ้งความฝันมาสู่ความจริง
ของชีวิต พยายามปลีกตัวออกจากกระแส
ของโลกธรรม ๘ เข้าสู่กระแสธรรมเพื่อไป
ให้ถึงซึ่งความสงบสุขที่บริสุทธิ์ ไร้ซึ่งกิเลส
ตัณหาและอุปาทาน
...เดินไปบนเส้นทางธรรม พยายามที่จะ
ดำเนินชีวิตไปตามพระธรรมเดินตามคำ
สั่งสอนของพระพุทธองค์ ทำเท่าที่จะทำได้
ตามสติปัญญาและบุญกุศลของเรา
ไม่ใช่เป็นการเห็นแก่ตัว แต่เราต้อง
เอาตัวให้รอดเสียก่อน ก่อนที่เราจะ
ไปช่วยผู้อื่น ก่อนที่จะไปสอน ไปแนะนำ
ผู้อื่น เรานั้นต้องรู้ ต้องเข้าใจและทำได้
ให้รู้จริง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด
ในการแนะนำสั่งสอนเขา เราจึงต้อง
ฝึกหัดปฏิบัติที่ตัวเรา เพื่อให้เกิดความ
กระจ่างชัดในสภาวธรรมทั้งหลาย
ทำความรู้ความเข้าใจของเรานั้น
ให้ถูกต้องสอดคล้องในหลักธรรม
ก่อนจะนำไปเผยแผ่แก่คนทั้งหลาย......
...ขอบคุณบุญเก่าที่ให้เราได้มาสู่
เส้นทางสายธรรม ขอบคุณกุศลกรรม
ที่ได้ทำมาแล้วในชาตินี้....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม...
...๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

44


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๘...

... สรรพสิ่งล้วนเคลื่อนไหวไปตาม
กฎแห่งธรรมชาติ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่
แล้วดับไป ซึ่งเงื่อนไขของกาลเวลานั้น
อาจจะแตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย
ของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จนบางครั้ง
เราแทบจะไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง
ของความเสื่อมสลายที่กำลังเกิดขึ้น
อยู่ทุกขณะ จึงเข้าไปยึดติดและยึดถือ
ในสิ่ง เหล่านั้น อยากจะให้มันเป็นไป
ตามที่ใจของเรานั้นปรารถนาให้เป็น
...ซึ่งถ้าสิ่งเหล่านั้นตอบสนองความ
ต้องการของเราได้ เราก็จะยินดีและ
เพลิดเพลินไปกับมัน แต่ถ้าสิ่งนั้น
ไม่เป็นไปตามที่ใจของเราปรารถนา
และต้องการแล้ว ก็จะเกิดความขุ่นใจ
ความคับแค้นใจ ความทุกข์ทั้งหลาย
ก็จะเกิดขึ้นในจิต เพราะว่าเราไปยึดติด
ในความต้องการของเราเกินไป ไม่เข้าใจ
และยอมรับในความเป็นจริงของสิ่ง
ทั้งหลายทั้งปวง ที่มันต้องดำเนินไป
ตามกฎแห่งธรรมชาติทั้งหลาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

45


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๗...

...ธรรมทั้งหลายนั้นไม่มีใครเป็น
เจ้าของ เป็นของที่อยู่คู่กับธรรมชาติ
คู่โลกกันมา เพียงแต่การใช้ภาษา
ในการสื่อนั้น อาจจะแตกต่างกัน
ในสำนวนและลีลา แต่เนื้อหาและ
ความหมายต่างก็ไปในทิศทางเดียวกัน
คือการสร้างสรรค์ให้โลกนี้สงบและร่มเย็น
ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกิเลสทั้งหลาย
เป็นไปเพื่อความจางคลายในทิฏฐิมานะ
อัตตา ตัณหาและอุปาทาน ธรรมนั้นจึง
ไม่ควรมีการสงวนลิขสิทธิ์ยึดถือมาเป็น
ของผู้ใดแต่ผู้เดียว ทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่
กับความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึกของ
แต่ละคน ที่จะแสวงหาผลประโยชน์
จากธรรมนั้น
...ชีวิตในแต่ละวัน ต้องพบปะและสื่อสาร
กันกับผู้คนมากมาย แม้นจะหลบหลีก
มาอยู่ในที่ ห่างไกลจากชุมชนแล้วก็ตาม
ก็ยังมีคนพยายามที่จะไปมาหาสู่ ขึ้นมา
เยี่ยมเยือนพบปะพูดคุย ที่อยู่ห่างไกล
ก็ใช้การสื่อสารสมัยใหม่ในยุคไอที
เพื่อที่จะได้คุยกัน โลกและธรรมนั้น
จึงต้องดำเนินไปคู่กัน
...จึงเอาปัจจุบันธรรมมาพิจารณาเป็น
อารมณ์กรรมฐาน พิจารณาสิ่งทั้งหลาย
ที่ได้เห็นให้เป็นธรรมะ พิจารณาให้เห็น
ถึงคุณและโทษ ประโยชน์และมิใช่
ประโยชน์ในสิ่งนั้น พิจารณาลงไปใน
อริยสัจ ๔ให้เห็นปัญหา ให้เห็นที่มา
เห็นที่ดับและทางไปอันได้แก่ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค โดยใช้หลักของ
พระไตรลักษณ์มาเป็นพื้นฐาน เห็นความ
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณา
ให้เห็นและเข้าใจจนเกิดความเบื่อหน่าย
จางคลาย ในทิฏฐิมานะ อัตตา ตัณหา
และอุปาทาน เห็นการเกิดดับของ
โลกธรรมทั้ง ๘ จนจิตจางคลายไม่เข้าไป
ยึดถือในสิ่งนั้น วางจิตเป็นกลางและมอง
ทุกอย่างเป็นธรรมะ แล้วจะเกิดการลดละ
ด้วยสภาวะจิตที่เข้าถึงธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

46


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๖...

...ในความเรียบง่าย ไร้รูปแบบนั้น
ต้องไม่เป็นภัยต่อชีวิตตนเอง
ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืน
พระธรรมวินัยและกฎระเบียบของสังคม
เป็นไปตามความเหมาะสมของจังหวะ
เวลา โอกาส สถานที่ บุคคล อยู่บน
พิ้นฐานของเหตุและผล ปัจจัยองค์
ประกอบทั้งหลาย
...เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศล
เป็นมงคลแก่ชีวิต จากสิ่งที่คิดและกิจ
ที่ทำ นั้นคือความ “ เรียบง่าย ไร้รูปแบบ
แต่ไม่ไร้สาระ “ เป็นกิจที่สมณะนั้นควรคิด
ควรทำในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนา
ทางจิต ไปสู่ความสงบเพื่อความจาง
คลายของอัตตา กิเลส ตัณหาและ
อุปทานทั้งหลาย เพื่อความเป็นผู้
ที่เลี้ยงง่าย ไม่สร้างความลำบากใจ
ความอึดอัดและความกดดันให้แก่
บุคคลรอบข้าง ให้ทุกอย่างเป็นไป
ตามสามัญลักษณะของธรรมชาติ
ที่มันควรจะเป็น โดยมีธรรมวินัย
เป็นกฎกติกาของชีวิตและเป็นกิจ
ที่ต้องกระทำ
...อย่าได้ไปตั้งกฎกติกาใหม่ขึ้นมา
เพื่อสนองตอบตัณหาของตนเอง
ไม่ควรตัด ไม่ควรเติม เพิ่มในสิ่งที่
พระพุทธองค์นั้น ทรงตรัสไว้ชอบแล้ว
ตรัสไว้ดีแล้ว เพราะสิ่งที่ไปตัดออก
หรือเพิ่มเข้ามาใหม่นั้น มันมาจาก
ตัณหา ความอยากความต้องการ
ของเราเองทั้งนั้น ที่อยากจะให้มัน
เป็นไปตามที่ใจของเรานั้นปรารถนา
และต้องการ มันจึงเป็นการสร้างรูปแบบ
ขึ้นมาเพื่อสนองตอบตัณหาของตัวเราเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

47


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๕...

...ทบทวนถึงอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่สมัย
เป็นฆราวาส นับแต่ก้าวเท้าออกจาก
บ้าน มาใช้ชีวิตในโลกกว้าง มีเพียง
เพื่อนร่วมทางที่ช่วยประคับประคอง
กันมา สี่สิบกว่าปีกับชีวิตที่มีแต่คำว่า
เพื่อนร่วมทาง
...มันจึงเป็นสิ่งที่ผูกพันกันมายาวนาน
เป็นสิ่งเดียวที่ยังละ ยังทิ้งไปไม่ได้
ภาษาธรรมเรียกว่า " คณะปลิโพธ "
คือความกังวลใจในหมู่คณะที่เคย
อยู่ร่วมกันมา มีความใกล้ชิดสนิท
สนมคุ้นเคยกันมา
...พยายามจัดวางแนวทางของชีวิต
ให้แก่คนใกล้ชิดคนคุ้นเคย เพื่อละ
ซึ่งปลิโพธ ในยามที่จะต้องปลีกตัว
ปลีกวิเวก สู่เส้นทางของสายธรรม
อย่างเต็มตัว เพื่อไปสู่จุดหมายที่
ปรารถนาตั้งใจไว้ นั้นคือบทสุด
ท้ายของการเดินทาง...
...รำพันคำกวี...
... (ผูกพัน...เชื่อมั่น...ศรัทธา)...
๐ ถนน...ร้อยพันสาย
สู่จุดหมาย...แห่งเดียวกัน
ร้อยใจ...สายสัมพันธ์
เพราะเชื่อมั่น...และศรัทธา
๐ หลายหลาก...แนวความคิด
ต่างมีจิต...แสวงหา
เดินผ่าน...กาลเวลา
ได้พึ่งพา...เลยผูกพัน
๐ ร้อยเรียง...เคียงคู่เดิน
พร้อมเชื้อเชิญ...เดินร่วมกัน
สายใย...สายสัมพันธ์
ความผูกพัน...เกิดจากใจ
๐ ร่วมทุกข์...และร่วมสุข
อยู่ร่วมยุค...ร่วมสมัย
ร่วมกาย...และร่วมใจ
แม้นห่างไกล...คิดถึงกัน
๐ ติดตาม...ถามข่าวคราว
ถึงเรื่องราว...เพื่อแบ่งปัน
สุขทุกข์...ที่มีนั้น
พร้อมฝ่าฟัน...ร่วมกายใจ
๐ เพื่อนทุกข์...เราทุกข์ด้วย
อยากจะช่วย...เข้าแก้ไข
เรื่องร้าย...ให้คลายไป
อยากจะให้...เพื่อนผ่อนคลาย
๐ ศรัทธา...และเชื่อมั่น
ร้อยใจกัน...มิตรสหาย
ศรัทธา...อย่าได้คลาย
อย่าลืมสาย...ใยสัมพันธ์
๐ ถนน...ร้อยพันสาย
มีจุดหมาย...ที่ปลายฝัน
พันคืน...หรือหมื่นวัน
ความผูกพัน...มิลืมเลือน.......

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...แด่มิตรสหายร่วมยุคสมัย...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

48


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๔...

...ในการสนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะหรือ
สภาวธรรมในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายนั้น
สิ่งที่พึงจะสังวรก็คือการแสดงความ
คิดเห็นนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของความ
เหมาะสม พอดีพอเหมาะและพอควร
มากเกินไปมันจะกลายเป็นความฟุ้งซ่าน
ไร้สาระน่าเบื่อหน่ายต่อผู้รับ ทำให้ความ
คิดเห็นต่อๆไป กลายเป็นสิ่งที่ถูกปฏิเสธ
ไม่ได้รับความสนใจ ทั้งที่อาจจะเป็น
ความคิดเห็นที่ดีๆ
...สิ่งนั้นคือเรื่องของกาลเทศะ การรู้จัก
จังหวะ เวลา โอกาส สถานที่และบุคคล
ที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ในการ
แสดงความคิดเห็นและการสนทนากับผู้อื่น...
... เป็นคำพูดที่ได้กล่าวแก่ผู้มาปฏิบัติธรรม
อยู่เสมอ ถึงเรื่องที่ควรระวังในการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น การพูดคุยเพื่อนำไปสู่ความรู้
ความเข้าใจและการตอบรับของผู้ฟัง.....
...รอยทาง รอยธรรม...
๐ รอยทาง นั้นสร้าง รอยธรรม
รอยย่ำ นั้นคือ รอยทาง
รอยธรรม นั้นคือ แบบอย่าง
แนวทาง ที่ได้ ก้าวนำ
๐ เรียบเรียง นำมา บอกเล่า
ให้เข้า ใจใน หลักธรรม
ออกจาก โลกที่ มืดดำ
น้อมนำ สู่เส้น ทางดี
๐ หลายหลาก มากมาย มุมมอง
สนอง ตอบใน ทุกที่
แนวทาง ตัวอย่าง วิธี
นั้นมี ให้เรา เดินตาม
๐ เดินตาม เส้นทาง สายธรรม
ชี้นำ ให้เรา ก้าวข้าม
หุบเหว วัฏฏะ ขวากหนาม
เดินตาม สายธรรม กรรมดี
๐ กรรมดี นั้นจะ ส่งผล
มงคล เสริมค่า ราศี
จิตดี ส่งให้ กายดี
จะมี ความสุข ที่ใจ
๐ สุขใจ เพราะไร้ ซึ่งทุกข์
พบสุข พบความ สดใส
ชีวิต ก้าวเดิน ต่อไป
เพราะได้ เดินตาม ทางธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

49


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๓...

...การพูดหรือการแสดงออกทางกายนั้น
บางครั้งทำให้เรารู้ถึงความรู้สึกนึกคิด
และอารมณ์ของเขา เพราะคำพูด สีหน้า
แววตา มันสื่อถึงความรู้สึกภายในของเขา
ซึ่งถ้าเราเป็นผู้ฟังหรือคู่สนทนา ควรที่จะ
สังเกตในอาการเหล่านั้น เพราะการพูด
นั้นมันสื่อให้รู้ถึงภูมิปัญญาของผู้พูด
ว่ารู้จริงหรือไม่ หรือว่าได้แต่พูดโดย
ไม่รู้จริง แต่คนที่นิ่ง ไม่พูด ไม่แสดง
ออกนั้น เราจะอ่านความรู้สึกนึกคิด
เขายาก เพราะเขาไม่ยอมเผยตัวตน
ที่แท้จริงออกมา
...เหมือนดั่งคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า
" น้ำนิ่งไหลลึก " เราไม่รู้ว่าเขาคิด
อย่างไร เหมือนกับสายน้ำที่ลึกและ
กว้างใหญ่ ผืนน้ำด้านบนคล้ายดั่ง
สงบนิ่ง แต่เบื้องล่างกระแสน้ำนั้น
ไหลเชี่ยวและแรง ฉะนั้นอย่าได้รีบ
ตัดสินโดยสายตาที่มองเห็น จงคิด
และพิจารณาให้ถ้วนถี่ รอบคอบ
เสียก่อน จึงตัดสินว่ามันเป็นอย่างไร
...คนเรานั้นอย่ารีบด่วนสรุปว่าเขา
เป็นอย่างไร โดยเพียงคำพูดหรือ
การกระทำที่เราเพิ่งจะเห็น เพิ่งจะรู้
หรือพึ่งจะได้ยิน ต้องศึกษากันไปก่อน
ให้คุ้นเคยกัน แล้วจึงจะสรุปว่าเขา
เป็นอย่างไร
...ซึ่งจะขอยกคำคมมากล่าวอ้างเพื่อ
ให้เป็นแบบอย่างในการคิดและพิจารณา
ว่าเขาเป็นอย่างไร ก่อนที่จะตัดสินใจ
ในตัวบุคคลเหล่านั้น ซึ่งมีดั่งนี้
...จะรู้ว่าใครมีศีลหรือไม่
ต้องอยู่ร่วมกันนานๆ
...จะรู้ว่าใครมือสะอาดหรือไม่
ต้องดูที่การทำงาน
...จะรู้ว่าใครมีปัญญาหรือไม่
ต้องดูที่การสนทนา
...จะรู้ว่าใครมีกำลังใจเข้มแข็งหรือไม่
ต้องดูที่คราวคับขัน...
...ทุกสิ่งอย่างนั้น กาลเวลาจะเป็นตัว
พิสูจน์ในตัวบุคคลและผลของงาน....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๓๑ มกราคม ๒๕๖๕...

50


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๒...

...การพูดหรือการแสดงออกทางกายนั้น
บางครั้งทำให้เรารู้ถึงความรู้สึกนึกคิด
และอารมณ์ของเขา เพราะคำพูด สีหน้า
แววตา มันสื่อถึงความรู้สึกภายในของเขา
ซึ่งถ้าเราเป็นผู้ฟังหรือคู่สนทนา ควรที่จะ
สังเกตในอาการเหล่านั้น เพราะการพูด
นั้นมันสื่อให้รู้ถึงภูมิปัญญาของผู้พูด
ว่ารู้จริงหรือไม่ หรือว่าได้แต่พูดโดย
ไม่รู้จริง แต่คนที่นิ่ง ไม่พูด ไม่แสดง
ออกนั้น เราจะอ่านความรู้สึกนึกคิด
เขายาก เพราะเขาไม่ยอมเผยตัวตน
ที่แท้จริงออกมา
...เหมือนดั่งคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า
" น้ำนิ่งไหลลึก " เราไม่รู้ว่าเขาคิด
อย่างไร เหมือนกับสายน้ำที่ลึกและ
กว้างใหญ่ ผืนน้ำด้านบนคล้ายดั่ง
สงบนิ่ง แต่เบื้องล่างกระแสน้ำนั้น
ไหลเชี่ยวและแรง ฉะนั้นอย่าได้รีบ
ตัดสินโดยสายตาที่มองเห็น จงคิด
และพิจารณาให้ถ้วนถี่ รอบคอบ
เสียก่อน จึงตัดสินว่ามันเป็นอย่างไร
...คนเรานั้นอย่ารีบด่วนสรุปว่าเขา
เป็นอย่างไร โดยเพียงคำพูดหรือ
การกระทำที่เราเพิ่งจะเห็น เพิ่งจะรู้
หรือพึ่งจะได้ยิน ต้องศึกษากันไปก่อน
ให้คุ้นเคยกัน แล้วจึงจะสรุปว่าเขา
เป็นอย่างไร
...ซึ่งจะขอยกคำคมมากล่าวอ้างเพื่อ
ให้เป็นแบบอย่างในการคิดและพิจารณา
ว่าเขาเป็นอย่างไร ก่อนที่จะตัดสินใจ
ในตัวบุคคลเหล่านั้น ซึ่งมีดั่งนี้
...จะรู้ว่าใครมีศีลหรือไม่
ต้องอยู่ร่วมกันนานๆ
...จะรู้ว่าใครมือสะอาดหรือไม่
ต้องดูที่การทำงาน
...จะรู้ว่าใครมีปัญญาหรือไม่
ต้องดูที่การสนทนา
...จะรู้ว่าใครมีกำลังใจเข้มแข็งหรือไม่
ต้องดูที่คราวคับขัน...
...ทุกสิ่งอย่างนั้น กาลเวลาจะเป็นตัว
พิสูจน์ในตัวบุคคลและผลของงาน....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๓๐ มกราคม ๒๕๖๕...

51


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๑...

...การเจริญภาวนานั้นเป็นเครื่องชำระจิตใจ
ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ที่กระทำไปนั้น
มีความหมาย เพื่อที่จะกำจัดกิเลสภายใน
ใจของเรา ไม่ใช่ทำไปเพื่อสนองตัณหา
ให้ก่อเกิดมานะอัตตา แต่เป็นไปเพื่อความ
ลดละแห่งกิเลสตัณหา ด้วยการพิจารณา
ดูกาย ดูจิต ดูความคิดของตัวเราเอง
ดูตัวเราว่ามีปัญญาพิจารณาธรรมเป็นไหม
และจะทำอย่างไร เพื่อให้เกิดความเจริญ
ในธรรมเพิ่มขึ้น
...พิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญา ละอัตตา
ค้นหาความจริงในกายในจิตของเรา ยอมรับใน
ความเป็นจริงในสิ่งที่เรามีและเราเป็น มองให้
เห็นความเสื่อมทั้งหลายอันได้แก่กิเลส ตัณหา
อัตตา มานะที่มีอยู่ในจิตของเรา ซึ่งเราจำเป็น
ที่จะต้องรู้และต้องเห็นเสียก่อน จึงจะเข้าไป
ลดละมันได้ เพราะว่าไม่มีใครที่จะรู้จักตัวเรา
เท่ากับตัวของเราเอง ขอเพียงเราให้เวลาแก่
ชีวิตจิตวิญญาณของตัวเราเองให้มากกว่า
ที่เป็นอยู่ แล้วเราจะรู้จักตัวเราเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๙ มกราคม ๒๕๖๕...

52


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๐...

...กาลเวลานั้นย่อมหมุนเวียนและเปลี่ยนไป
ไม่มีเวลาที่จะสิ้นสุดและหยุดนิ่งสรรพสิ่ง
ย่อมเคลื่อนไหว โลกนั้นแปรเปลี่ยนไป
อยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่ง กระแส
แห่งโลกนั้นจึงไม่มีวันที่จะสิ้นสุดและ
หยุดอยู่ แต่จิตของมนุษย์นั้นย่อมมีวัน
ที่จะสิ้นสุดและหยุดนิ่ง ถ้าได้รู้และได้
เห็นถึงความเป็นจริงของชีวิตจิตวิญญาณ
ตนเอง สิ้นสุดได้ด้วยการที่รู้จักพอ
โดยไม่ร้องขอและแสวงหาอีกต่อไป
...ความสำเร็จของชีวิตนั้นคือรางวัลของชีวิต
ซึ่งมิได้วางไว้ในจุดเริ่มต้นของการเดินทาง
การทำงานทุกสิ่งอย่างย่อมมีอุปสรรคและ
ปัญหา เหมือนกับคำที่กล่าวว่า “เส้นทางนั้น
มิได้โรยด้วยกลีบดอกกุหลาบเสมอไป
ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจ การเดินทาง
ของชีวิตนั้นยังไม่จบ ไม่มีคำว่าล้มเหลว
ในชีวิต เพราะสิ่งที่ผ่านมานั้นมันล้วนเป็น
บทเรียนของชีวิตที่จะพัฒนาจิตของเรา
ให้ก้าวเดินต่อไป....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๘ มกราคม ๒๕๖๕...

53


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๙...

...งานเลี้ยงย่อมมีการเลิกลา...
....พบเจอกันแล้วก็ต้องจากลา
ทุกคนต่างมีภารกิจและหน้าที่
ที่ต้องกระทำ ทุกคนมีวิถีชีวิต
ที่ลิขิตขึ้นมาด้วยตนเองทั้งนั้น
การได้มาพบกันนั้นมิใช่เรื่องบังเอิญ
มันมีเหตุและปัจจัยที่เคยทำร่วมกันมา
จึงต้องมาพบเจอและร่วมงานกัน
...ขอบคุณมิตรสหายทั้งสายโลก
และสายธรรม ที่ให้การสนับสนุน
มาแต่ต้นจนจบ ทั้งที่เป็นแรงกาย
แรงใจรวมทั้งสิ่งของและกำลังทรัพย์
จนทำให้วัตถุประสงค์นั้นสำเร็จ
ตามเป้าหมายที่คาดการไว้
...ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ
ที่ได้ร่วมกันมา นำพาไปสู่ความ
สำเร็จ ความสำเร็จนำมาซึ่งชื่อเสียง
เกียรติยศของหมู่คณะและองค์กร
จงเก็บความรู้สึกที่ดีๆไว้ในความ
ทรงจำ ศรัทธาจงตั้งมั่นอย่าหวั่นไหว
เชื่อมั่นในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ
แล้วจะนำมาซึ่งความสุขใจ
มีความเจริญในทางโลกและ
ทางธรรมโดยทั่วกัน
...ใช้เวลาว่างจากภารกิจนั้นมา
สรุปเหตุการณ์ที่ผ่านมาในแต่ละ
ช่วงเวลา พิจารณาในทุกอย่าง
แล้วมาเทียบเคียงกับหลักธรรม
นำมาประยุกต์เพื่อให้สอดคล้อง
กับชีวิตในความเป็นจริง พยายาม
มองทุกสิ่งให้เป็นเรื่องหลักธรรม
เพื่อควบคุมอารมณ์ของตนเอง
ไม่ให้คล้อยตามกระแสโลกจนเกินไป
พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ เรียนรู้อยู่กับ
ความพอเพียงแล้วก็จะพบกับความ
เพียงพอของชีวิต...
... แด่น้ำใจของมิตรสหายที่ให้มา...

...ปรารถนาดี-งด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๗ มกราคม ๒๕๖๕...

54


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๘...

...ธรรมทั้งหลายนั้นไม่มีใครเป็น
เจ้าของ เป็นของที่อยู่คู่กับธรรมชาติ
คู่โลกกันมา เพียงแต่การใช้ภาษา
ในการสื่อนั้น อาจจะแตกต่างกัน
ในสำนวนและลีลา แต่เนื้อหาและ
ความหมายต่างก็ไปในทิศทางเดียวกัน
คือการสร้างสรรค์ให้โลกนี้สงบและร่มเย็น
ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกิเลสทั้งหลาย
เป็นไปเพื่อความจางคลายในทิฏฐิมานะ
อัตตา ตัณหาและอุปาทาน ธรรมนั้นจึง
ไม่ควรมีการสงวนลิขสิทธิ์ยึดถือมาเป็น
ของผู้ใดแต่ผู้เดียว ทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่
กับความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึกของ
แต่ละคน ที่จะแสวงหาผลประโยชน์
จากธรรมนั้น
...ชีวิตในแต่ละวัน ต้องพบปะและสื่อสาร
กันกับผู้คนมากมาย แม้นจะหลบหลีก
มาอยู่ในที่ ห่างไกลจากชุมชนแล้วก็ตาม
ก็ยังมีคนพยายามที่จะไปมาหาสู่ ขึ้นมา
เยี่ยมเยือนพบปะพูดคุย ที่อยู่ห่างไกล
ก็ใช้การสื่อสารสมัยใหม่ในยุคไอที
เพื่อที่จะได้คุยกัน โลกและธรรมนั้น
จึงต้องดำเนินไปคู่กัน
...จึงเอาปัจจุบันธรรมมาพิจารณาเป็น
อารมณ์กรรมฐาน พิจารณาสิ่งทั้งหลาย
ที่ได้เห็นให้เป็นธรรมะ พิจารณาให้เห็น
ถึงคุณและโทษ ประโยชน์และมิใช่
ประโยชน์ในสิ่งนั้น พิจารณาลงไปใน
อริยสัจ ๔ให้เห็นปัญหา ให้เห็นที่มา
เห็นที่ดับและทางไปอันได้แก่ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค โดยใช้หลักของ
พระไตรลักษณ์มาเป็นพื้นฐาน เห็นความ
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณา
ให้เห็นและเข้าใจจนเกิดความเบื่อหน่าย
จางคลาย ในทิฏฐิมานะ อัตตา ตัณหา
และอุปาทาน เห็นการเกิดดับของ
โลกธรรมทั้ง ๘ จนจิตจางคลายไม่เข้าไป
ยึดถือในสิ่งนั้น วางจิตเป็นกลางและมอง
ทุกอย่างเป็นธรรมะ แล้วจะเกิดการลดละ
ด้วยสภาวะจิตที่เข้าถึงธรรม...

...วันเวลาผ่านไปไม่เคยหยุดนิ่ง
สรรพสิ่งเสื่อมทรามตามสมัย
เมื่อศีลธรรมไม่กลับมาโลกบรรลัย
เพราะจิตใจเสื่อมทรามตามเวลา
...แม้นสายลมสายน้ำจะเปลี่ยนทิศ
แต่ดวงจิตนั้นควรจะรักษา
ให้มั่นคงดำรงค์ซึ่งศรัทธา
แล้วศีลธรรมจะกลับมาสู่จิตใจ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๖ มกราคม ๒๕๖๕...

55


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๗...

...กว่าจะถึงวันนี้ของชีวิต...
...ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติสายวัดป่าจาก
สายของหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง
...เสริมปัญญาศึกษาหาความรู้ทาง
วิชาการจากหลวงพ่อพุทธทาสแห่ง
สวนโมกขพลาราม
...เรียนรู้เรื่องสมาธิและการใช้จิตสมถะ
ในเชิงพลังงานจากหลวงพ่อเปิ่น
วัดบางพระ
...ได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อจำเนียร
เมื่อครั้งอยู่วัดถ้ำเสือฯเรื่องการพริ้วไหว
ใช้จิตให้เป็น
...หลวงพ่อจำเนียรท่านเมตตาต่อลูกศิษย์
ที่เป็นพระ ท่านจะแนะนำให้ลูกศิษย์นั้นไป
ศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่างๆ
ท่านได้แนะนำชี้ทางให้
...ไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงพ่อชา
...ไปศึกษาหาความรู้กับหลวงพ่อพุทธทาส
...ไปศึกษาสรรพศาสตร์กับหลวงพ่อเปิ่น
...แล้วกลับมาฝึกฝนตนเองที่วัดถ้ำเสือ
...ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ
หลวงพ่อจำเนียรครบทั้ง 4 สำนัก จึงทำให้
มีหลายหลากบทบาทและลีลาในความ
เป็นสมณะ
...ระลึกและสำนึกในความเมตตาของ
ครูบาอาจารย์และบุญคุณของสถานที่
ที่เคยได้พักอาศัย " กตัญญู บูชาครู "...

...ร้อยเรียงเรื่องราวตามรายทาง...
๐ จะร้อยเรียง เรื่องราว และข่าวสาร
ประสบการณ์ ผ่านตา มาให้เห็น
สอนให้จำ ทำให้ดู อยู่ให้เป็น
ไม่ยากเย็น เกินกว่า พยายาม
๐ มองหมู่เมฆ เคลื่อนคล้อย ลอยบนฟ้า
แล้วแต่ลม นำพา ไม่ไถ่ถาม
ไม่มีสิทธิ์ ร้องขอ หรือต่อความ
เจ้าลอยตาม แรงลม ที่พัดพา
๐ จากกลุ่มน้อย ลอยมา พาประสาน
จึงเกิดการ รวมตัว บนท้องฟ้า
เป็นก้อนใหญ่ เคลื่อนไหว อยู่ไปมา
อีกไม่ช้า ก็จะกลาย เป็นสายฝน
๐ แล้วร่วงหล่น ลงมา สู่เบื้องล่าง
ทุกสิ่งอย่าง ล้วนมี ซึ่งเหตุผล
มีที่มา ที่ไป ใช่วกวน
ไม่เหมือนคน ที่ใจ ไม่แน่นอน
๐ ใจคนนั้น ผันแปร แล้วแต่จิต
เปลี่ยนความคิด จิตใจ ให้ยอกย้อน
ไม่มีความ เที่ยงแท้ และแน่นอน
จิตปลิ้นปล้อน กลับกลอก หลอกเหมือนลิง
๐ เพราะกิเลส ตัณหา พาให้คิด
แปรเปลี่ยนจิต ไปกับ ทุกทุกสิ่ง
ไม่ยอมรับ ความเห็น ที่เป็นจริง
จิตไม่นิ่ง เพราะขาดธรรม จะนำทาง
๐ จิตที่มี คุณธรรม นำความคิด
รู้ถูกผิด ดีชั่ว ทุกสิ่งอย่าง
รูจักการ ปล่อยปละ และละวาง
ธรรมจะสร้าง จิตสงบ พบความจริง
๐ มีสติ และสัม-ปชัญญะ
จิตก็จะ พบความ สงบนิ่ง
ได้รู้โลก รู้ธรรม ที่เป็นจริง
จิตจะนิ่ง สงบ เมื่อพบธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๕ มกราคม ๒๕๖๕...

56


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๖...

...ในยามดึกสงัดของราตรีหนึ่ง
นั่งมองจันทร์ที่ริมหน้าต่าง
ดูลมหายใจเข้าออกของตนเอง
ภายนอกเคลื่อนไหวภายในสงบนิ่ง
เสียงหรีดหริ่งเรไรดังแว่วมาแผ่วเบา
คล้ายเสียงดนตรีแห่งรัตติกาล
พระจันทร์เสี้ยวของคืนขึ้นหกค่ำ
หมู่ดาวที่พราวแสงบนท้องฟ้า
ธรรมชาติจัดสรรมาได้อย่างลงตัว.....
...ราตรีภายใต้แสงจันทร์เสี้ยว
ผู้คนมากมายแต่คล้ายกับโดดเดี่ยว
นั่งเขียนบทกวีที่ริมหน้าต่างยามค่ำคืน
บอกเล่าเรื่องราวแห่งประสบการณ์
จิตร่าเริงเบิกบานอยู่ในธรรม
ใต้แสงเดือนแสงดาวที่ส่องลงมา
กับเวลาที่กำลังจะผ่านไป
ค้นพบสิ่งแปลกใหม่ขึ้นมาในจิต
เมื่อได้ใคร่ครวญคิดพิจารณา....
...วันเวลาของชีวิตที่กำลังดำเนินไป
ได้พบเห็นและเข้าใจในหลายสิ่ง
เห็นความจริงที่เป็นสัจธรรมของชีวิต
เรียนรู้สิ่งถูกผิดนั้นมามากมาย
จนมาถึงบทสุดท้ายของชีวิต
เมื่อหันมาศึกษาและค้นหาตนเอง
ดูกาย ดูจิต ดูความคิด ดูการกระทำ
น้อมนำเข้ามาสู่ตัวของเราเอง
คือบทเรียนสุดท้ายที่ต้องศึกษาและปฏิบัติ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๔ มกราคม ๒๕๖๕...

57


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๕...

...การปลดเปลื้องภาระทั้งหลายใกล้
จะสิ้นสุดลงในไม่ช้านี้ พยายามเร่งบริหาร
จัดการให้ทุกอย่างที่วางแผนไว้ให้ลงตัว
ให้ทุกอย่างเดินต่อไปได้ด้วยตัวของมันเอง
รอวันเวลาที่จะกลับคืนสู่สามัญ เพื่อเดินไป
ตามเส้นทางที่มุ่งหวังและตั้งใจ กลับไปสู่
ธรรมชาติแห่งธรรมอย่างแท้จริง...
...ธรรมชาติแห่งธรรม...
...สรรพสิ่งไม่หยุดนิ่งเคลื่อนไหว
แปรเปลี่ยนไปตามจังหวะและฤดูกาล
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ไม่นานก็ดับสะลายไป
สิ่งใหม่ก็เคลื่อนไหวเกิดข้นแทนที่
เป็นอย่างนี้ต่อเนื่องสืบต่อเรื่อยมา
จนไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
เพราะว่าจิตใจนั้นหลงใหลเผลอสติ
ลืมกายลืมจิตไม่ได้คิดพิจารณา
จึงไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปทุกขณะ...
...ธรรมะเป็นเรื่องของการกระทำ
ไม่ใช่คำสอนที่อยู่ในคัมภีร์หรือใบลาน
ไม่ใช่การอ่านให้จำได้แล้วเอาไปอวดรู้
ธรรมะทั้งหลายอยู่ที่กายและที่จิต
อยู่ในทุกความคิดและทุกอย่างที่ทำ
เพราะว่าธรรมะนั้นคือธรรมชาติของจิต
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะเวลาและโอกาส
สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลาย...
...ดูหนังดูละครแล้วจงย้อนมาดูกาย
ให้ใจนั้นมาอยู่กับเนื้อกับตัว
ไม่หลงเมามัวไปตามกิเลสและตัณหา
มีสติสัมปชัญญะระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อม
น้อมเข้ามาระลึกรู้ถึงกายและจิตของตัวเอง
ดูกาย ดูจิต ให้รู้ความคิด ให้รู้การกระทำ
มีคุณธรรมคือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป
คุ้มครองจิตในการที่จะคิดและในการที่จะกระทำ
ทำได้อย่างนั้นแล้วท่านจะพบกับความสุขในชีวิต...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๓ มกราคม ๒๕๖๕...

58


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๔...

...อยู่กับปัจจุบันธรรม ด้วยการเจริญสติ
และสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ไม่หนีปัญหา
ด้วยการหลบเข้าอารมณ์สมาธิ ใช้สติและ
ปัญญาพิจารณาหาเหตุ หาปัจจัยของอารมณ์
ทั้งหลายที่เกิดขึ้น แล้วเข้าไปดับที่เหตุ
โดยการพิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นภัย เห็นโทษ
เห็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ของอารมณ์
ทั้งหลายเหล่านั้น จนเกิดความกลัวความ
ละอายต่ออกุศลจิตทั้งหลาย เกิดธรรมสังเวช
ขึ้นในจิต เพื่อให้จิตถอดถอนจากการยึดถือ
จนเกิดความเบื่อหน่ายจางคลาย เกิดการ
ปล่อยวาง เมื่อจิตไม่เข้าไปเกี่ยวข้องยึดถือแล้ว
มันก็ดับเหตุไปได้ครั้งหนึ่ง ซึ่งเราจะต้องพยายาม
ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนเกิดเป็นความเคยชิน
ความชำนาญ ในการคิดพิจารณา รู้เท่าทันอารมณ์
ทั้งหลายที่เกิดขึ้น และดับอารมณ์เหล่านั้นให้ได้
รวดเร็วขึ้น จนเป็นวสี เป็นอุปนิสัย แล้วเราจึง
จะปลอดภัยจากกระแสโลก
...การฝึกจิตนั้นต้องกระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีเวลาหยุดพัก เพราะการเจริญสตินั้นต้องทำ
ในทุกโอกาส เพื่อให้สตินั้นมีกำลังเพิ่มยิ่งๆขึ้น
เพื่อให้เห็นการเกิดดับของสรรพสิ่ง และละวาง
อารมณ์ที่เป็นอกุศลจิตให้รวดเร็ว ซึ่งสิ่งนั้นต้อง
อาศัยกำลังของสติสัมปชัญญะและองค์แห่ง
คุณธรรมเป็นตัวเข้าไปจัดระบบความคิดทั้งหลาย
ของจิต โดยมีสมาธิคือจิตที่สงบนิ่ง เป็นบาทฐาน
แห่งการพิจารณา ทุกเวลาที่ผ่านไปนั้น จึงเป็น
การปฏิบัติธรรม.....
...แด่วันหนึ่งที่ผ่านมาและวันเวลาที่เหลืออยู่...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม...
...๒๒ มกราคม ๒๕๖๕...

59


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๓...

...ปรารภธรรมในยามก่อนรุ่งอรุณ...
...วันเวลาที่ผ่านไปทุกขณะจิตนั้น
มันเป็นการสั่งสมประสบการณ์ของชีวิต
สอนให้เรานั้นได้คิดได้พิจารณาเพิ่มขึ้น
ขอให้เรานั้นมั่นคงในจุดยืนของการ
ดำเนินชีวิตที่คิดจะสร้างจะทำก่อกรรมดี
สร้างมงคลให้กับชีวิต เพื่อจะได้พัฒนา
ทางจิตให้เจริญก้าวหน้าในทางธรรม
การเจริญสตินั้นจึงเป็นงานที่ต้อง
กระทำอยู่ตลอดเวลา
...กาลเวลานั้นย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไป
ไม่มีเวลาที่จะสิ้นสุดและหยุดนิ่งสรรพสิ่ง
ย่อมเคลื่อนไหว โลกนั้นแปรเปลี่ยนไป
อยู่ตลอดเวลาไม่เคยหยุดนิ่ง กระแส
แห่งโลกนั้นจึงไม่มีวันที่จะสิ้นสุดและ
หยุดอยู่ แต่จิตของมนุษย์นั้นย่อมมีวัน
ที่จะสิ้นสุดและหยุดนิ่ง ถ้าได้รู้และ
ได้เห็นความเป็นจริงของชีวิตจิตวิญญาน
สิ้นสุดด้วยการที่รู้จักพอโดยไม่ร้องขอ
และแสวงหาอีกต่อไป
...ความสำเร็จของชีวิตนั้นคือรางวัล
ของชีวิต ซึ่งมิได้วางไว้ในจุดเริ่มต้น
ของการเดินทาง การทำงานทุกอย่าง
ย่อมมีอุปสรรคและปัญหา
...เหมือนกับคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า
เส้นทางนั้นมิได้โรยด้วยดอกกุหลาบ
ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจ การเดินทาง
ของชีวิตนั้นยังไม่จบ ไม่มีคำว่าล้มเหลว
ในชีวิตเพราะสิ่งที่ผ่านมานั้นคือบทเรียน
บทเรียนของชีวิตที่จะพัฒนาจิตของเรา
ให้ก้าวเดินต่อไป....

... ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต ...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๑ มกราคม ๒๕๖๕...

60


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๒...

...คือสายลมที่พัดผ่านกาลเวลา...
...วันเวลาของชีวิตที่ผ่านไปใน
แต่ละวันนั้น ใช้ชีวิตตามปกติวิสัย
ที่เคยเป็นมา เหมือนกับว่าไม่ได้
ทำอะไร ภายนอกนั้นเคลื่อนไหว
ไปตามปกติ พบปะพูดคุยสนทนา
แลกเปลี่ยนกับผู้มาเยี่ยมเยือนทั้งหลาย
เมื่อเขาลากลับไปทุกอย่างก็คืน
สู่ความเป็นปกติ
...เพราะการปฏิบัตินั้นเป็นการทำที่จิต
ไม่ใช่ที่กาย การมีสติและสัมปชัญญะ
ระลึกรู้อยู่ภายใน มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
ในสิ่งที่คิดและกิจที่กำลังกระทำอยู่
ไม่ใช่การสร้างรูปแบบภายนอกขึ้นมา
เพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
มันไม่ใช่การแสดงออกทางกาย
...แต่เป้าหมายของการปฏิบัติธรรม
นั้นคือการพัฒนาที่จิต เปลี่ยนแปลง
ความคิด พัฒนาจิตให้มีคุณธรรมสูงขึ้น
น้อมนำจิตนั้นเข้าสู่ความเป็นกุศล ฝึกฝน
จนให้เกิดความชำนาญ ในกระบวนการ
แห่งความคิดจิตสำนึกทั้งหลาย ด้วยการ
มีสติและสัมปชัญญะที่เป็นกุศล ควบคุม
ตนในสิ่งที่กำลังคิดและกิจที่กำลังทำ
ไม่ให้อกุศลกรรมเกิดขึ้นมาได้ในขณะนั้น
...เพราะการเจริญวิปัสสนานั้นดูจาก
ภายนอกแล้ว เหมือนกับว่าไม่ได้ทำ
อะไรเลย เพราะเป็นการกระทำที่จิต
มันไม่มีรูปแบบภายนอกทางกายที่
ตายตัว ว่าต้องมีท่าทางอย่างนั้นอย่างนี้
จึงจะเป็นการปฏิบัติวิปัสสนา มันอยู่ที่จิต
คือการมีสติและสัมปชัญญะ ควบคุมที่จิต ควบคุมความคิดและการกระทำ มันเป็น
การทำภายใน รู้ได้เฉพาะตนเท่านั้นเอง
ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ กำลังคิดอะไรอยู่
และสิ่งที่คิดและที่ทำนั้นเรามีเจตนาอย่างไร เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศลหรือไม่
" ไม่มีใครรู้ซึ้ง เท่าหนึ่งจิต "ในสิ่งที่กำลัง
คิดและกำลังกระทำเท่าตัวของเราเอง
ถ้าเรามีสติและสัมปชัญญะที่สมบูรณ์อยู่
ทุกขณะจิต ทุกเวลาของชีวิตที่ผ่านไป
นั้นคือการได้ปฏิบัติเข้าหากุศลธรรม
น้อมนำชีวิตไปสู่ทิศทางที่ดี จึงเป็นสิ่งที่
ควรคิดและกิจที่ควรทำ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๐ มกราคม ๒๕๖๕...

61


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๑...

...มนุษย์ทุกคนมีความคิด
ถูกหรือผิดต่างรู้อยู่แก่ใจ
แต่ที่ยังกระทำลงไปในสิ่งผิด
เป็นเพราะขาดจิตสำนึกแห่งคุณธรรม
ที่จะหักห้ามมิให้กระทำผิด
จิตสำนึกต้องผ่านการฝึกฝน
ฝึกนึกฝึกคิดปรับจิตให้เป็นกุศล
ฝึกพูดในสิ่งที่เป็นมงคลแก่ตนและผู้อื่น
ฝึกกระทำในสิ่งที่คิดและพูดที่เป็นความดี
เพียรกระทำอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ
จนเกิดเป็นความเคยชินและติดเป็นนิสัย
...จิตสำนึกแห่งคุณธรรม
คือความรู้สึกละอายและเกรงกลัวต่อบาป
และเมื่อเราไม่กล้าทำบาปเราจะทำความดี
คนทำความดีจิตใจจะอ่อนโยนมีเมตตา
รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ
ละความเห็นแก่ตัวลงไปได้ตามสภาวะ
...การปฏิบัติธรรม สิ่งที่ได้มาคือคุณธรรม
ภูมิธรรมและภูมิปัญญา เรามิได้ฉลาดขึ้น
แต่เราได้เห็นความโง่ของตัวเองมากขึ้น
เห็นในสิ่งที่เรายังไมรู้และเห็นในสิ่งที่
เรายังหลงติดอยู่
...เรามิได้เก่งกล้า แต่เราได้เห็นความ
อ่อนแอและความขี้ขลาดหวาดกลัวที่
ซุกซ่อนอยู่เราทำกล้าเพราะว่าเรากลัว
เพราะกลัวจึงกล้า
...อย่าเชื่อทันทีมันจะทำให้งมงาย
อย่าปฏิเสธทันทีมันจะเสียประโยชน์
พิจารนาไตร่ตรองทดลองทำพิสูจน์ดู
แล้วจึงตัดสินใจ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๙ มกราคม ๒๕๖๕...

62


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๐...

...ชีวิต..จิต..วิญญาณ
ต่างต้องการดิ้นรนแสวงหา
เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข
แม้นเพียงน้อยนิดก็ยินดี
ทำให้มีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป
...มนุษย์
เสพสุขอยู่กับความฝัน
จินตนาการไปกับคืนวัน
สร้างฝันเพื่อปลอบใจตนเอง
บางครั้งก็สุขสมหวัง
บางครั้งพลาดพลั้งฝันสลาย
สลับสับเปลี่ยนกันไป
ไม่มีอะไรจริงแท้และแน่นอน
...ฝันไปเถิดเจ้าจงฝัน
ฝันให้ไกล ไปให้ถึงซึ่งความฝัน
อย่าท้อแท้เลิกร้างเสียกลางคัน
จงสานฝันนั้นให้เห็นความเป็นจริง
...เพื่อเป็นรางวัลแก่ชีวิต จิต วิญญาณ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๘ มกราคม ๒๕๖๕...

63


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๙...
...ปรารภธรรมและคำกวีในยามก่อนรุ่งอรุณ...

...สายลมยังเปลี่ยนทิศ จิตคนก็เปลี่ยน
แปลง เมื่อมีเรื่องของผลประโยชน์มา
แอบแฝง เจตนาที่เคยบริสุทธิ์ก็หายไป
เพราะใจนั้นไม่มั่นคงในพระสัทธรรม
ปล่อยให้ความโลภเข้าครอบงำ ก่อเกิด
ซึ่งอกุศลกรรม อกุศลจิต ลืมหมู่มิตรและ
ครูบาอาจารย์...

๐ สายลม พัดพา ความหนาว
เรื่องราว ของเช้า วันใหม่
ยอดสน ต้องลม แกว่งไกว
เอนไป ตามสาย ลมแรง
๐ หมู่เมฆ บนฟ้า กระจาย
ลับหาย เมื่อยาม ต้องแสง
ฟ้าใส อากาศ เปลี่ยนแปลง
แสดง ถึงกาล เวลา
๐ เปลี่ยนแปลง ไปตาม วิถี
ที่มี มานาน หนักหนา
คู่โลก คู่กาล นานมา
ดินฟ้า อากาศ ฤดู
๐ โลกนี้ มันเป็น เช่นนั้น
แปรผัน ตามที่ เป็นอยู่
เอาโลก นั้นมา เป็นครู
เรียนรู้ กับโลก ด้วยธรรม
๐ ฝึกฝน ปรับกาย ปรับจิต
เพื่อคิด ให้พบ สุขล้ำ
น้อมกาย น้อมจิต น้อมนำ
เอาธรรม มาเป็น อารมณ์
๐ เรียนรู้ ฝึกทำ กรรมฐาน
ตามกาล เพื่อความ เหมาะสม
ทางโลก ทางธรรม กลืนกลม
ผสม ให้เป็น หนึ่งเดียว
๐ เอาธรรม นำทาง สร้างสรรค์
ร่วมกัน เข้ามา เกาะเกี่ยว
รวมกาย รวมจิต กลมเกลียว
กายเดียว จิตเดียว รู้ทัน
๐ ตามดู ตามรู้ กายจิต
พินิจ ด้วยจิต สร้างสรรค์
ดูกาย ดูใจ ทุกวัน
ให้ทัน กับความ เปลี่ยนแปลง
๐ ทุกอย่าง มีเกิด และดับ
สลับ ไปทุก หนแห่ง
ทำไป ตามที่ มีแรง
แสดง ให้เห็น เป็นจริง
๐ ความจริง คือพระ ไตรลักษณ์
คือหลัก ของทุก สรรพสิ่ง
คือโลก แห่งความ เป็นจริง
จิตนิ่ง สงบ พบธรรม.....

... ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๗ มกราคม ๒๕๖๕...

64


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๘...

๐ ธรรมทาน ๐
...ธรรมทานนี้เลิศกว่าทานทั้งหลาย...
...การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคล
ผู้เงี่ยหูลงรับฟัง นี้เลิศกว่าการพูด
ถ้อยคำอันเป็นที่รัก
...การชักชวนผู้ไม่ศรัทธา ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
...ชักชวนผู้ละเมิดศีล ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยศีล
...ชักชวนผู้ไม่อยากให้ ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยการปันให้
...ชักชวนผู้มีปัญญาทราม ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย
...จากพระไตรปิฎก ภาษาไทยฉบับหลวง
เล่มที่ ๒๓ “ พลสูตร “ ข้อที่๒๐๙...
...สภาวธรรมเป็นของเฉพาะตน
รู้ได้ด้วยการปฏิบัติ เหมือนดั่งคำ
โบราณท่านกล่าวว่า" สิบปากว่า
ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น ไม่เท่า
มือคลำ สิบมือคลำ ไม่เท่าทำเอง "
...การเข้าใจในสภาวธรรมเกิดขึ้น
ในจิต มิใช่คิดไปเอง แยกอารมณ์
ความรู้สึกออกจากกัน มีสติตั้งมั่น
ไม่เสื่อมคลาย ทำความเข้าใจใน
สภาวะจิต ว่าความคิดนั้นเกิด
จากสิ่งใด สัญญา อุปาทาน ผัสสะ
แล้วจะพบสภาวธรรมที่แท้จริง
...พฤติกรรมภายนอกไม่สามารถ
บ่งบอกสภาวะภายในได้เสมอไป
สภาวะจิต สภาวธรรมนั้นอยู่ภายใน
เป็นของที่รู้ได้เฉพาะตน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๖ มกราคม ๒๕๖๕...

65


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๗...

...การปลดเปลื้องภาระทั้งหลายใกล้
จะสิ้นสุดลงในไม่ช้านี้ พยายามเร่งบริหาร
จัดการให้ทุกอย่างที่วางแผนไว้ให้ลงตัว
ให้ทุกอย่างเดินต่อไปได้ด้วยตัวของมันเอง
รอวันเวลาที่จะกลับคืนสู่สามัญ เพื่อเดินไป
ตามเส้นทางที่มุ่งหวังและตั้งใจ กลับไปสู่
ธรรมชาติแห่งธรรมอย่างแท้จริง...
...ธรรมชาติแห่งธรรม...
...สรรพสิ่งไม่หยุดนิ่งเคลื่อนไหว
แปรเปลี่ยนไปตามจังหวะและฤดูกาล
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ไม่นานก็ดับสะลายไป
สิ่งใหม่ก็เคลื่อนไหวเกิดข้นแทนที่
เป็นอย่างนี้ต่อเนื่องสืบต่อเรื่อยมา
จนไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
เพราะว่าจิตใจนั้นหลงใหลเผลอสติ
ลืมกายลืมจิตไม่ได้คิดพิจารณา
จึงไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปทุกขณะ...
...ธรรมะเป็นเรื่องของการกระทำ
ไม่ใช่คำสอนที่อยู่ในคัมภีร์หรือใบลาน
ไม่ใช่การอ่านให้จำได้แล้วเอาไปอวดรู้
ธรรมะทั้งหลายอยู่ที่กายและที่จิต
อยู่ในทุกความคิดและทุกอย่างที่ทำ
เพราะว่าธรรมะนั้นคือธรรมชาติของจิต
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะเวลาและโอกาส
สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลาย...
...ดูหนังดูละครแล้วจงย้อนมาดูกาย
ให้ใจนั้นมาอยู่กับเนื้อกับตัว
ไม่หลงเมามัวไปตามกิเลสและตัณหา
มีสติสัมปชัญญะระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อม
น้อมเข้ามาระลึกรู้ถึงกายและจิตของตัวเอง
ดูกาย ดูจิต ให้รู้ความคิด ให้รู้การกระทำ
มีคุณธรรมคือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป
คุ้มครองจิตในการที่จะคิดและในการที่จะกระทำ
ทำได้อย่างนั้นแล้วท่านจะพบกับความสุขในชีวิต...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๕ มกราคม ๒๕๖๕...

66


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๖...

...เมื่อจิตของเราอยู่กับปัจจุบันธรรม
ทุกอย่างรอบกายที่ได้พบเห็นก็จะเป็น
ธรรมะไปหมด โศลกธรรมต่างๆก็จะ
เกิดขึ้นแก่จิต ซึ่งเรียกว่า" อุทานธรรม "
เพราะจิตกำลังพิจารณาอยู่กับปัจจุบันธรรม
ทำให้อกุศลจิตไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
ก็เพราะใจของเรานั้นเป็นกุศล ความเป็น
มงคลก็ย่อมมีแก่เรา ผู้รักษาธรรม...

... ปีเก่าหรือปีใหม่ ทำอะไรแล้วหรือยัง..?

๐ ไม่มีคำ อวยพร ที่อ่อนหวาน
เนื่องในกาล เวลา ที่มาถึง
มีแต่เพียง ข้อคิด ให้คำนึง
สิ่งที่พึง ครวญคิด พิจารณา

๐ เคยทบทวน นึกคิด กันบ้างไหม
มีอะไร เป็นแก่นแท้ และเนื้อหา
จากอดีต ของกาล ที่ผ่านมา
สร้างคุณค่า ให้ชีวิต แล้วหรือยัง

๐ วันเวลา ผ่านไป คือสมมุติ
ที่ไม่หยุด อย่าได้ ไปมุ่งหวัง
กำหนดนับ บอกยาม ตามกำลัง
ไม่ให้พลั้ง ให้พลาด คาดคะเน

๐ทุกขณะ ของจิต ที่ตื่นอยู่
ระลึกรู้ กายใจ ไม่หันเห
สติมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่ซวนเซ
ไม่โลเล ตั้งใจ ทำให้จริง

๐ ทำในสิง ที่ชอบ ประกอบกิจ
ไม่เป็นพิษ เป็นภัย ในทุกสิ่ง
เอาหลักธรรม นำทาง ใช้อ้างอิง
ให้จิตนิ่ง ระลึกรู้ อยู่ทั่วกาย

๐ มีสติ มีธรรม นำชีวิต
รู้ถูกผิด รู้เห็น ในความหมาย
เพราะหนทาง แห่งความดี มีมากมาย
จงขวนขวาย ประกอบกรรม ทำความดี

๐ ให้ชีวิต ของเรานี้ นั้นมีค่า
คุ้มราคา ที่ได้เกิด บนโลกนี้
การได้เกิด เป็นมนุษย์ สุดจะดี
เพราะว่ามี เวลา จะสร้างบุญ

๐ อย่าให้วัน นั้นผ่านไป โดยไร้ค่า
เพียรเสาะหา ความดี มาเกื้อหนุน
สร้างความดี สะสมไว้ ให้เป็นทุน
บุญเกื้อหนุน จะส่งให้ ได้ไปดี....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๔ มกราคม ๒๕๖๕...

67


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๕...

...เรื่องของพระนั้นต้องปฏิบัติ
ตามหลักของพระธรรมวินัย
พวกฆราวาสที่ไม่เข้าใจเรื่อง
ของศาสนา อย่าเอาความคิด
ของตนเองมาตัดสิน มันจะเป็น
บาปเป็นกรรมต่อเองและครอบครัว
เพราะจะกลายเป็นผู้ร่วมทำลาย
พระพุทธศาสนาให้เสื่อมลง...

...กวีธรรมจากรอยทางที่ย่างผ่าน...
๐ สายลม พัดพา ความหนาว
เรื่องราว ของเช้า วันใหม่
ยอดสน ต้องลม แกว่งไกว
เอนไป ตามสาย ลมแรง
๐ หมู่เมฆ บนฟ้า กระจาย
ลับหาย เมื่อยาม ต้องแสง
ฟ้าใส อากาศ เปลี่ยนแปลง
แสดง ถึงกาล เวลา
๐ เปลี่ยนแปลง ไปตาม วิถี
ที่มี มานาน หนักหนา
คู่โลก คู่กาล นานมา
ดินฟ้า อากาศ ฤดู
๐ โลกนี้ มันเป็น เช่นนั้น
แปรผัน ตามที่ เป็นอยู่
เอาโลก นั้นมา เป็นครู
เรียนรู้ กับโลก ด้วยธรรม
๐ ฝึกฝน ปรับกาย ปรับจิต
เพื่อคิด ให้พบ สุขล้ำ
น้อมกาย น้อมจิต น้อมนำ
เอาธรรม มาเป็น อารมณ์
๐ เรียนรู้ ฝึกทำ กรรมฐาน
ตามกาล เพื่อความ เหมาะสม
ทางโลก ทางธรรม กลืนกลม
ผสม ให้เป็น หนึ่งเดียว
๐ เอาธรรม นำทาง สร้างสรรค์
ร่วมกัน เข้ามา เกาะเกี่ยว
รวมกาย รวมจิต กลมเกลียว
กายเดียว จิตเดียว รู้ทัน
๐ ตามดู ตามรู้ กายจิต
พินิจ ด้วยจิต สร้างสรรค์
ดูกาย ดูใจ ทุกวัน
ให้ทัน กับความ เปลี่ยนแปลง
๐ ทุกอย่าง มีเกิด และดับ
สลับ ไปทุก หนแห่ง
ทำไป ตามที่ มีแรง
แสดง ให้เห็น เป็นจริง
๐ ความจริง คือพระ ไตรลักษณ์
คือหลัก ของทุก สรรพสิ่ง
คือโลก แห่งความ เป็นจริง
จิตนิ่ง สงบ พบธรรม.....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๓ มกราคม ๒๕๖๕...

68


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๔...

...พุทธพจน์ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐาน
ให้เกิดสมาธิคือความสงบใจ สมาธิที่
มีศีลเป็นเบื้องต้น เป็นสมาธิที่มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่
อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนัง
มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย
มีหลังคาป้องกันลมแดดและฝน
ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียก
แดดออกก็ไม่ร้อน
...ฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิดีก็ฉันนั้น
ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวาย
เมื่อลมแดดและฝน กล่าวคือโลกธรรม
แผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามา
ครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ย่อมก่อ
ให้เกิดปัญญา ในการฟาดฟันย่ำยี
และเชือดเฉือนกิเลสอาสาวะต่างๆ
ให้เบาบางและหมดสิ้นไป
เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตรา
อันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียน
ก็ปานกัน "
...นั้นคืออานิสงส์แห่งการฝึกสติ
โดยการรักษาศีล มีศีลเป็นพื้นฐาน
ในการเจริญจิตภาวนา ตามหลัก
ของพระพุทธศาสนาในไตรสิกขา ๓....
...ทบทวนกวีธรรมในยามเช้า...
๐ ยามเย็น น้อมจิต คิดธรรม
น้อมนำ ธรรมมา ใคร่ครวญ
ฝึกจิต ให้คิด ทบทวน
สิ่งควร ที่จะ จดจำ
๐ เตรียมกาย เตรียมจิต คิดทำ
น้อมนำ ทำด้วย สติ
ทำจิต ให้เป็น สมาธิ
ดำริ คือคิด ก่อนทำ
๐ มองงาน ให้แตก แยกงาน
อย่าผ่าน พินิจ คิดซ้ำ
มองงาน มองด้วย หลักธรรม
เพลี่ยงพล้ำ ไม่เกิด แก่เรา
๐ รู้เห็น เข้าใจ ปัญหา
ปัญญา ทำให้ ไม่เขลา
ทำกาย ทำจิต โปร่งเบา
รู้เท่า รู้ทัน อารมณ์
๐ ชีวิต คือการ ทำงาน
ต้องผ่าน ซึ่งการ สะสม
เรียนรู้ สู่โลก สังคม
เหมาะสม กับวัน เวลา
๐ รู้โลก รู้ธรรม นำจิต
พินิจ และหมั่น ศึกษา
เจริญ สติ ภาวนา
ปัญญา เกิดได้ จากธรรม....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๒ มกราคม ๒๕๖๕...

69


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๓...

...การปฏิบัติธรรมนั้นหลายท่าน
ได้กระทำไปโดยไม่รู้ตัวว่ากำลัง
ปฏิบัติธรรมอยู่ ในชีวิตประจำวัน
เพราะว่าการปฏิบัติธรรมคือการ
เจริญสติ การเจริญสัมปชัญญะ
ในสภาวะแห่งปัจจุบันธรรม
ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะถุกปลูกฝัง
ให้ติดยึดในรูปแบบ ว่าการปฏิบัติ
นั้นมันเป็นเรื่องที่ทำได้ยากต้องมี
เวลาว่าง ต้องไปวัดรับศีล ถือศีล
นุ่งขาวห่มขาว ต้องไหว้พระสวดมนต์
ต้องนั่งสมาธิ ต้องเดินจงกรม
ต้องฟังธรรม จึงจะเป็นการปฏิบัติธรรม
ทำให้เกิดข้อจำกัดในการปฏิบัติ
เพราะว่าไปติดยึดในรูปแบบ
ในพยัญชนะในตัวอักษร ไม่ได้สนใจ
ในเนื้อหาอรรถธรรมว่ามันเป็นมา
อย่างไร มันจึงเป็นการสอนอย่าง
“ เถรส่องบาตร “ คือการทำตามๆ
กันมาโดยไม่รู้เนื้อหาและเจตนา
ที่เขาทำ ว่ามันมีที่มาอย่างไร
ว่าทำไมเขาจึงทำแบบนั้น ซึ่งเป็น
การกระทำโดยขาดปัญญา ขาดการ
พิจารณา วิเคราะห์ ใคร่ครวญและ
ตริตรอง ไม่ได้มองให้เห็นซึ่งที่มา
และที่ไป เหตุและปัจจัยของสิ่ง
เหล่านั้น มันจึงเป็นการกระทำ
ที่งมงาย เพราะไร้ซึ่งการคิด
พิจารณา ขาดปัญญาในการกระทำ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๑ มกราคม ๒๕๖๕...

70


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๒...

...“ จงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย แต่อย่าได้
มักง่ายในการใช้ชีวิต ” ชีวิตที่เรียบง่าย
นั้นเป็นไปโดยหลักแห่งความพอเพียง
ในการเลี้ยงชีวิต ยังคงทำกิจตามบทบาท
และหน้าที่ของตน มีความอดทน ขยันขันแข็ง
มีระเบียบวินัยของชีวิต เพียงแต่จิตนั้นไม่
ทะเยอทะยานอยาก ฟุ้งเฟ้อไปมากกว่า
กำลังของตนเองที่มีอยู่ ทำให้ชีวิตนั้นมี
ความสงบสุข ไม่ทุกข์กับการดิ้นรนเพื่อ
สนองตอบตัณหาความอยากของตนเอง
...ส่วนการมักง่ายในการใช้ชีวิต นั้นเกิดมา
จากจิตที่เกียจคร้านทอดทิ้งธุระที่ตนนั้นพึง
กระทำ ไม่ยอมทำตามบทบาทและหน้าที่
ของตน ไม่มีความขยันและอดทน เป็นคน
ไม่มีระเบียบวินัยของชีวิต ไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็น
เพราะไม่มีวิจารณญาณ ต้องการเพียงตอบ
สนองตัณหาความอยากของตนเอง ขาดซึ่ง
จิตสำนึกต่อส่วนรวม ทำแต่ในสิ่งเป็นประโยชน์
แก่ตนเพียงอย่างเดียว ถ้าตนไม่ได้รับผลประโยชน์
ตอบแทน จะไม่ลงมือกระทำ ไม่สนใจสังคม
รอบข้างว่าจะมีผลกระทบอย่างไร จิตใจมัก
จะคับแคบเห็นแก่ตัว
...คนที่ขี้เกียจมักง่ายนั้น มักจะอ้างว่าตน
เป็นผู้ปล่อยวาง ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
เพราะเขาไม่อยากขวนขวายทำกิจของตน
ที่ต้องพึงกระทำ ดั่งคำครูบาอาจารย์ได้
กล่าวสอนไว้ให้พิจารณา...
...จงอยู่อย่างเรียบง่าย แต่อย่าอยู่อย่างมักง่าย
...จงพยายามปล่อยวาง แต่อย่าได้ทอดทิ้งธุระ
...จงพูดแต่สิ่งที่ดี แต่อย่าดีแต่พูด จงลงมือทำด้วย
...จงอยู่อย่างไร้รูปแบบ แต่อย่าไร้ซึ่งระเบียบวินัย
...เมื่อมีระเบียบวินัยต่อชีวิต กฎกติกาก็ไม่ต้องกำหนด
...ความเจริญในธรรมทั้งหลาย เกิดได้ด้วยกุศลจิต

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๐ มกราคม ๒๕๖๕...

71


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๑...

...ชีวิตที่ดำเนินมานั้น ได้สร้างสรรค์
สิ่งที่ดีงามต่อสังคม ตามวิถีโลกและ
วิถีธรรม ไม่ได้ทำเพื่อสนองตัณหา
ของตนเอง แต่เป็นไปด้วยจิตสำนึก
แห่งคุณธรรม ทำไปตามกำลังเท่าที่
จะทำได้ สิ่งที่ได้รับนั้นหรือคือความ
ปีติสุขใจ จากสิ่งที่คิดและกิจที่ได้ทำ
...ไม่ได้หวังจะดังเด่นจึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละซึ่งมานะและอัตตา
ท่องไปบนโลกกว้างบนเส้นทางแสวงหา
ก้าวผ่านกาลเวลาพิสูจน์ค่าคำว่าคน...
...ใบไม้
ยามเจ้าอยู่บนกิ่งใบ
เจ้านั้นช่วยสร้างสีสัน
และมีประโยชน์อนันต์
ต่อพืชพรรณและธรรมชาติ
ถึงคราวที่เจ้าร่วงหล่น
เจ้ายังมีผลประโยชน์ต่อพื้นดิน
ย่อยสะลายเป็นปุ๋ยให้พืชได้ดูดกิน
เจ้าไม่เคยสิ้นประโยชน์เลย...ใบไม้เอย
...คนเอย
วันเวลาที่ผ่านไป
เจ้าได้สร้างประโยชน์อะไรแล้วรึยัง
เพื่อให้คนข้างหลังได้ภาคภูมิใจ
เจ้าได้สร้างทำประโยชน์อะไร
ให้กับตนเองและสังคมรอบข้าง
ให้เขาทั้งหลายได้ชื่นชมยินดี
หลังจากเจ้านั้นได้ตายไปแล้ว
หรือให้เจ้าได้ภาคภูมิใจก่อนตาย
...คนเอย
อย่าให้ชีวิตไร้ค่ากว่าใบไม้
อย่าให้เวลาที่ผ่านไปนั้นเปล่าประโยชน์
สร้างแต่สิ่งที่เป็นโทษอันก่อให้เกิดบาปกรรม
เจ้าควรที่จะคิดและควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล
ให้เป็นมงคลแก่ชีวิตให้เป็นนิมิตที่ดีแกตนเอง
จงใคร่ครวญทบทวนในสิ่งที่เจ้านั้นได้ผ่านมา
อย่าให้ชีวิตของเจ้านั้นไร้ค่ากว่าใบไม้...คนเอย

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๙ มกราคม ๒๕๖๕...

72


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๐...

...บุคคลใดมีนิสัย ขี้เกียจ มักง่าย
ไร้ความคิดสร้างสรรค์ บุคคลผู้นั้น
ยากที่จะพบกับความสำเร็จในชีวิต...
...การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น เราต้องมี
มนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชนและคน
รอบกาย พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ก่อนที่เราจะร้องขอจากเขานั้น
เราต้องแบ่งปันและให้เขาก่อน
จงเป็นผู้ให้แล้วท่านจะรับการ
ให้ตอบแทน เป็นคำสอนของ
ครูบาอาจารย์
...การมีน้ำใจต่อหมู่คณะนั้นจะทำให้
ท่านได้รับความเกรงใจ สรุปลงได้ใน
หลักธรรมเรื่อง “ พรหมวิหาร ” ซึ่ง
แปลว่าเป็นธรรมอันเป็นเครื่องอยู่
ของพรหม ธรรมอันเป็นหลักประจำใจ
ของผู้ใหญ่ ธรรมที่ผู้ใหญ่ควรประพฤติ
พรหมวิหารนั้นเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในใจ
เป็นธรรมที่กระตุ้นให้เกิดการกระทำ
เช่น สงเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น...

...ความร่วมมือร่วมใจ นำไปสู่ความสำเร็จ...

๐ วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
มีหลายสิ่ง ที่ทำ ตามสมัย
ให้เข้ากับ เหตุการณ์ ที่เป็นไป
และทรงไว้ ซึ่งธรรม แห่งสัมมา
๐ มรรคองค์แปด คือทาง ที่วางไว้
ก้าวเดินไป ตามทาง เพื่อค้นหา
ให้รู้จัก ตัวตน คืออัตตา
รู้จักว่า ตัวกู และของกู
๐ รู้อะไร ไม่รู้เท่า เข้าใจจิต
รู้ความคิด น้อมธรรม นำมาสู่
ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เอาเป็นครู
สอนให้รู้ สอนให้ทำ ในกรรมดี
๐ ประสานใจ ประสานชน คนรุ่นใหม่
ให้ร่วมมือ ร่วมใจ ในทุกที่
ให้เกิดความ รักใคร่ สามัคคี
สอนให้มี น้ำใจ ช่วยเหลือกัน
๐ ต้องเลือกธรรม นำมาใช้ ให้เหมาะสม
กับสังคม ที่อาศัย ให้สร้างสรรค์
ให้มีความ เอื้อเฟื้อ และแบ่งปัน
ให้ร่วมกัน ทำความดี เพื่อสังคม
๐ เพราะร่วมมือ ร่วมใจ จึงสำเร็จ
งานจึงเสร็จ ทำไป ได้เหมาะสม
จึงทำให้ มีคนชอบ และชื่นชม
เพราะสังคม เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกัน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๘ มกราคม ๒๕๖๕...

73


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๙...

...ในความเคลื่อนไหว ขอให้ใจสงบนิ่ง...
...ชีวิตคนเรานั้น มันไม่ได้สลับซับซ้อน
อะไรมากมาย มันเป็นชีวิตที่เรียบง่าย
ถ้ารู้จักความพอดีและพอเพียง ยินดีใน
สิ่งควรเป็นและควรได้ เข้าใจในบทบาท
หน้าที่ของตนเองและเคารพในบทบาท
และหน้าทีของผู้อื่น
...แต่สิ่งที่ทำให้ชีวิตนั้นสับสนวุ่นวาย
ก็คือตัวกิเลสตัณหา ความทะยานอยาก
ที่ไม่รู้จักพอ ทำให้เกิดการก้าวก่ายใน
บทบาทหน้าที่ของผู้อื่น ก้าวล่วงไปใน
สิ่งที่ควรมีและควรเป็นของตนเอง ล้ำไป
ในสิ่งที่ผู้อื่นนั้นควรจะได้รับ ชีวิตนั้นจึง
สับสนและวุ่นวาย เพื่อให้ได้มาซึ่งความ
สมปรารถนาของตนเอง หลงติดอยู่ใน
สิ่งสมมุติทั้งหลาย เวียนว่ายอยู่ในวังวน
ของกิเลสตัณหาไม่มีวันสิ้นสุด ชีวิตไป
ยึดถือและยึดติดในสิ่งที่สมมุติขึ้นมา
ทั้งหลาย
...สังคมมนุษย์จึงสับสนวุ่นวายไม่มี
ที่สิ้นสุด เพราะว่ามนุษย์นั้น ไม่รู้จัก
คำว่าพอประมาณในการใช้ชีวิต
โลกนี้มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...
...สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง
คือความจริง ที่เห็น และเป็นอยู่
ใช้สติ ใคร่ครวญ ทบทวนดู
ก็จะรู้ และเข้าใจ ในหลักธรรม
...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เหมือนเช้า-ค่ำ
มีสีขาว ก็ย่อมมี ทั้งสีดำ
เพื่อเตือนย้ำ ความแตกต่าง สองอย่างกัน
...และเมื่อเรา วางใจ ไม่ยึดถือ
สิ่งนั้นคือ ของเรา เข้าถือมั่น
เมื่อใจว่าง ก็วางได้ โดยเร็วพลัน
สิ่งสำคัญ คือใจ เป็นประธาน
... เริ่มที่ใจ ที่จิต ต้องคิดก่อน
โดยการย้อน มองสิ่ง ที่พ้นผ่าน
เอาเป็นครู เรียนรู้ ประสพการ
นั้นคืองาน ของจิต ที่คิดทำ
...การทำดี ต้องเริ่มที่ การฝึกคิด
ฝึกทำจิต คิดดี หลายทีซ้ำ
คิดอะไร ก็ให้ดี มาชี้นำ
คือฝึกทำ ฝึกจิต ให้คิดเป็น
...คิดเพื่อหา เหตุผล ต้นความคิด
ต้องฝึกจิต ให้รู้ ดูให้เห็น
ทำประจำ จากเช้า จนถึงเย็น
ไม่ว่างเว้น ฝึกทำ จนชำนาญ
...ให้ใจเรา นั้นอยู่ กับกุศล
เป็นมงคล ชีวิต จิตอาจหาญ
ทำสิ่งใด ก็รู้เท่า ทันเหตุการณ์
นี่คืองาน ฝึกสติ ให้รู้ทัน
... ระลึกรู้ ให้เห็น ความเป็นอยู่
โดยตามดู ความคิด จิตเรานั้น
แยกถูกผิด ชั่วดี ออกจากกัน
ให้ใจนั้น มีสติ อยู่คุ้มครอง

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๗ มกราคม ๒๕๖๕...

74


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๘...

...ท่ามกลางความหนาวเย็นของค่ำคืน
รู้สึกตัวตื่นขึ้นมารับลมหนาวที่พัดผ่าน
นั่งจิบกาแฟร้อนๆเพื่อผ่อนคลาย
มองดูความเคลื่อนไหวที่มากมาย
ลมหนาวพัดมาต้องกายให้หนาวสั่น
กายนั้นหวั่นไหว แต่ใจนั้นนิ่งสงบ
ทบทวน ใคร่ครวญ พิจารณา อยู่กับธรรม...
...ยามอุษาฟ้าสว่างที่วัดลาดเค้า...
...คือแสงธรรม แสงทอง ที่ส่องมา
เปิดม่านฟ้า ที่มืดมิด ให้สดใส
ปลุกพลัง แรงกาย และแรงใจ
เช้าวันใหม่ ชีวิตใหม่ ต้องก้าวเดิน
...นิ่งสงบ เหมือนหลัก ที่ปักไว้
นิ่งสงบ ภายใน ไม่เก้อเขิน
เจริญสุข เจริญธรรม จิตเพลิดเพลิน
เพราะก้าวเดิน ตามมรรค องค์สัมมา
...ฟ้ากับน้ำ ยามเช้า ช่วยปลุกจิต
ปลุกชีวิต ให้เร่งรีบ แสวงหา
ให้รู้จัก ตัวตน คืออัตตา
ทั้งกิเลส ตัณหา ที่มันมี
...ดูกายใจ กายจิต คิดวิเคราะห์
ดูให้เหมาะ ให้เห็น ในสิ่งนี้
เดินตามทาง ตามมรรค ทุกวิธี
ทำให้มี ทำให้เห็น ความเป็นจริง
...สรรพสิ่ง ล้วนแล้ว เกิดและดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ในทุกสิ่ง
ตามหลักธรรม นำสร้าง และอ้างอิง
เมื่อจิตนิ่ง ใจสงบ ก็พบธรรม
...ธรรมทั้งหลาย อยู่ที่กาย และที่จิต
เพ่งพินิจ มองให้เห็น ความลึกล้ำ
ไปตามแรง แห่งกุศล ผลของกรรม
สิ่งที่ทำ นั้นเริ่ม จากตัวเรา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๖ มกราคม ๒๕๖๕...

75


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๗...

...ในความเคลื่อนไหว ขอให้ใจสงบนิ่ง...
...ชีวิตคนเรานั้น มันไม่ได้สลับซับซ้อน
อะไรมากมาย มันเป็นชีวิตที่เรียบง่าย
ถ้ารู้จักความพอดีและพอเพียง ยินดีใน
สิ่งควรเป็นและควรได้ เข้าใจในบทบาท
หน้าที่ของตนเองและเคารพในบทบาท
และหน้าทีของผู้อื่น
...แต่สิ่งที่ทำให้ชีวิตนั้นสับสนวุ่นวาย
ก็คือตัวกิเลสตัณหา ความทะยานอยาก
ที่ไม่รู้จักพอ ทำให้เกิดการก้าวก่ายใน
บทบาทหน้าที่ของผู้อื่น ก้าวล่วงไปใน
สิ่งที่ควรมีและควรเป็นของตนเอง ล้ำไป
ในสิ่งที่ผู้อื่นนั้นควรจะได้รับ ชีวิตนั้นจึง
สับสนและวุ่นวาย เพื่อให้ได้มาซึ่งความ
สมปรารถนาของตนเอง หลงติดอยู่ใน
สิ่งสมมุติทั้งหลาย เวียนว่ายอยู่ในวังวน
ของกิเลสตัณหาไม่มีวันสิ้นสุด ชีวิตไป
ยึดถือและยึดติดในสิ่งที่สมมุติขึ้นมา
ทั้งหลาย
...สังคมมนุษย์จึงสับสนวุ่นวายไม่มี
ที่สิ้นสุด เพราะว่ามนุษย์นั้น ไม่รู้จัก
คำว่าพอประมาณในการใช้ชีวิต
โลกนี้มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...
...สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง
คือความจริง ที่เห็น และเป็นอยู่
ใช้สติ ใคร่ครวญ ทบทวนดู
ก็จะรู้ และเข้าใจ ในหลักธรรม
...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เหมือนเช้า-ค่ำ
มีสีขาว ก็ย่อมมี ทั้งสีดำ
เพื่อเตือนย้ำ ความแตกต่าง สองอย่างกัน
...และเมื่อเรา วางใจ ไม่ยึดถือ
สิ่งนั้นคือ ของเรา เข้าถือมั่น
เมื่อใจว่าง ก็วางได้ โดยเร็วพลัน
สิ่งสำคัญ คือใจ เป็นประธาน
... เริ่มที่ใจ ที่จิต ต้องคิดก่อน
โดยการย้อน มองสิ่ง ที่พ้นผ่าน
เอาเป็นครู เรียนรู้ ประสพการ
นั้นคืองาน ของจิต ที่คิดทำ
...การทำดี ต้องเริ่มที่ การฝึกคิด
ฝึกทำจิต คิดดี หลายทีซ้ำ
คิดอะไร ก็ให้ดี มาชี้นำ
คือฝึกทำ ฝึกจิต ให้คิดเป็น
...คิดเพื่อหา เหตุผล ต้นความคิด
ต้องฝึกจิต ให้รู้ ดูให้เห็น
ทำประจำ จากเช้า จนถึงเย็น
ไม่ว่างเว้น ฝึกทำ จนชำนาญ
...ให้ใจเรา นั้นอยู่ กับกุศล
เป็นมงคล ชีวิต จิตอาจหาญ
ทำสิ่งใด ก็รู้เท่า ทันเหตุการณ์
นี่คืองาน ฝึกสติ ให้รู้ทัน
... ระลึกรู้ ให้เห็น ความเป็นอยู่
โดยตามดู ความคิด จิตเรานั้น
แยกถูกผิด ชั่วดี ออกจากกัน
ให้ใจนั้น มีสติ อยู่คุ้มครอง
...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...

...๕ มกราคม ๒๕๖๕...

76


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๖...

...ธรรมทั้งหลายนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ
เป็นของที่อยู่คู่กับธรรมชาติ คู่โลกกันมา
เพียงแต่การใช้ภาษาในการสื่อนั้น อาจจะ
แตกต่างกันในสำนวนและลีลา แต่เนื้อหา
และความหมายต่างก็ไปในทิศทางเดียวกัน
คือการสร้างสรรค์ให้โลกนี้สงบและร่มเย็น
ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกิเลสทั้งหลาย
เป็นไปเพื่อความจางคลายในทิฏฐิมานะ
อัตตา ตัณหาและอุปาทาน ธรรมนั้นจึง
ไม่ควรมีการสงวนลิขสิทธิ์ยึดถือมาเป็น
ของผู้ใดแต่ผู้เดียว ทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่
กับความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึกของ
แต่ละคน ที่จะแสวงหาผลประโยชน์
จากธรรมนั้น
...ชีวิตในแต่ละวัน ต้องพบปะและสื่อสาร
กันกับผู้คนมากมาย แม้นจะหลบหลีก
มาอยู่ในที่ ห่างไกลจากชุมชนแล้วก็ตาม
ก็ยังมีคนพยายามที่จะไปมาหาสู่ ขึ้นมา
เยี่ยมเยือนพบปะพูดคุย ที่อยู่ห่างไกล
ก็ใช้การสื่อสารสมัยใหม่ในยุคไอที
เพื่อที่จะได้คุยกัน โลกและธรรมนั้น
จึงต้องดำเนินไปคู่กัน
...จึงเอาปัจจุบันธรรมมาพิจารณาเป็น
อารมณ์กรรมฐาน พิจารณาสิ่งทั้งหลาย
ที่ได้เห็นให้เป็นธรรมะ พิจารณาให้เห็น
ถึงคุณและโทษ ประโยชน์และมิใช่
ประโยชน์ในสิ่งนั้น พิจารณาลงไปใน
อริยสัจ ๔ให้เห็นปัญหา ให้เห็นที่มา
เห็นที่ดับและทางไปอันได้แก่ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค โดยใช้หลักของ
พระไตรลักษณ์มาเป็นพื้นฐาน เห็นความ
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณา
ให้เห็นและเข้าใจจนเกิดความเบื่อหน่าย
จางคลาย ในทิฏฐิมานะ อัตตา ตัณหา
และอุปาทาน เห็นการเกิดดับของ
โลกธรรมทั้ง ๘ จนจิตจางคลายไม่เข้าไป
ยึดถือในสิ่งนั้น วางจิตเป็นกลางและมอง
ทุกอย่างเป็นธรรมะ แล้วจะเกิดการลดละ
ด้วยสภาวะจิตที่เข้าถึงธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๔ มกราคม ๒๕๖๕...

77


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๕...

...บอกให้จำ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น
สอนให้เป็น แล้วก็ปล่อย สอนให้
เป็นคนดี เป็นพระที่ดี เพื่อจะได้
ไม่เป็นภาระของสังคม แต่เมื่อขาด
จิตสำนึกแห่งการใฝ่ดี ก็ต้องปล่อยไป
ตามกรรมของสัตว์โลก เพราะเราทำ
หน้าที่ของเรานั้นสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว
ไม่ได้เก็บเอาอกุศลกรรมของผู้อื่น
มาเศร้าหมอง เพราะตัวผู้ประกอบ
อกุศลกรรมเองนั้น ยังไม่รู้สำนึก
ยังยินดีเพลิดเพลินในอกุศลกรรม
ที่ตนทำ...

...สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง
คือความจริง สัจจะ ในวันนี้
และปัญหา หลายหลาก ที่มากมี
คือสิ่งที่ ต้องคิด พิจารณา...
...ทุกอย่างนั้น ล้วนเกิด จากต้นเหตุ
ควรสังเกต วิเคราะห์ หมั่นศึกษา
ทุกอย่างนั้น มีเหตุ ให้เกิดมา
จงมองหา ให้เห็น ความเป็นจริง...
...เมื่อรู้เห็น และเข้าใจ ในที่เกิด
จิตบรรเจิด ย่อมเข้าใจ สรรพสิ่ง
เห็นเหตุผล และปัจจัย ใช้อ้างอิง
เพราะทุกสิ่ง ล้วนเกิดดับ ธรรมดา...
...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ตามเนื้อหา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ธรรมดา มันเป็น เช่นนั้นเอง...
...เมื่อจิตรู้ และเข้าใจ ในสิ่งนี้
ก็ไม่มี อะไร ไปข่มเหง
เกิดละอาย ในสิ่งชั่ว และกลัวเกรง
จิตก็เก่ง มีสติ ใช้ตริตรอง...
...เมื่อมองโลก มองธรรม นำมาคิด
ชำระจิต ชำระใจ ไม่เศร้าหมอง
ดำเนินจิต ก้าวไป ในครรลอง
เพียรเฝ้ามอง กายจิต คิดถึงธรรม...
...มีสติ ระลึกรู้ อยู่ทั่วพร้อม
จิตก็น้อม พาใจ ไม่ใฝ่ต่ำ
จิตก็เดิน ไปใน โลกและธรรม
เพราะน้อมนำ ธรรมะ มานำทาง..
...เดินตามธรรม นำทาง สว่างจิต
นำชีวิต ก้าวไป ใจสว่าง
รู้จักลด รู้จักละ รู้จักวาง
ไม่หลงทาง เพราะมี ธรรมนั้นนำไป...

...สุภาษิตจีนบทหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
“เดินทางร้องลี้ ดีกว่าอ่านหนังสือ
หมื่นเล่ม “ จากประสบการณ์ที่ผ่าน
มาทั้งในทางโลกและในทางธรรม
ช่วงหนึ่งของชีวิตแห่งการเดินทาง
ได้ประสพพบเห็นอะไรมามากมาย
เก็บบันทึกไว้ในความทรงจำ น้อมนำ
มาพิจารณามองหาที่มาและที่ไป
ของมัน ทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุ
และมีปัจจัยเป็นตัวประกอบ ค้นหา
ให้เห็นซึ่งที่มา ว่าเป็นมาอย่างไร
ก่อนที่เราจะได้รู้และได้เห็น ว่ามัน
ดำเนินไปเช่นไรและจะจบลงที่จุดไหน
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปนั้น
เป็นเรื่องธรรมดาของโลก ในทาง
พระพุทธศาสนาเรียกว่าเป็นกฎ
พระไตรลักษณ์ คือความไม่เที่ยง
ความเป็นทุกข์ ความเป็นสิ่งสมมุติ
ทั้งหลาย ยึดถือไม่ได้ อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา เป็นธรรมดาของสรรพสิ่ง
ในโลกนี้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓ มกราคม ๒๕๖๕...

78


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๔...

...เตือนตนด้วยพุทธสุภาษิต
ในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ...
" ภิกษุทั้งหลาย! เราประพฤติพรหมจรรย์นี้
มิใช่เพื่อหลอกลวงคน เพื่อให้คนบ่นถึง
เพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียง
เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ เพื่อให้คนทั้งหลายรู้จักเรา
ก็หามิได้ แต่ที่จริงแล้ว
เพื่อความสังวรระวัง เพื่อละกิเลส
เพื่อคลายกิเลส และเพื่อดับกิเลสเท่านั้น "
" นยิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
ชนกุหนตฺถํ น ชนลปนตฺถํ
น ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ
น อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสตฺถํ
น อิติ มํ ชโน ชานาตูติ
อถโข อิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
สํวรตฺถํ ปหานตฺถํ วิราคตฺถํ นิโรธตฺถนุติ "
...พุทธสุภาษิต พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙...
...ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา เพื่อนสหธรรมิก
และญาติโยมได้โทรศัพท์มาอวยพรปีใหม่
และสอบถามสารทุกข์สุกดิบด้วยความ
ห่วงใย ขอบคุณทุกกำลังใจและความ
หวังดีของบรรดาท่านทั้งหลาย
... " ไม่ว่าอะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด
แล้วแต่บุญแต่กรรมที่ทำมา " ตั้งสติ
อยู่ในความไม่ประมาท ไม่หวั่นไหว
ต่อภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นทุกสิ่ง
ทุกอย่าง เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ
มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ไม่เที่ยงแท้
และแน่นอน อะไรจะเกิด ก็ให้มันเกิด
ขอเพียงเรามีสติและสัมปชัญญะตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหว ทุกอย่างก็จะผ่านไปด้วยดี
ทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ที่สุดดีที่สุด
เท่าที่เราจะทำได้ ผลจะเป็นอย่างไร
เป็นเรื่องของวิบากกรรม เมื่อใจเรายอมรับ
ในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ไม่ตื่นตกใจ ใจเราก็ไม่
หวั่นไหว ใจเราก็ไม่เป็นทุกข์ ทุกสิ่ง
ทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแล้วไปตามกฎ
ของพรไตรลักษณ์คือความเป็น อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา...
...วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ในทุกหน
แม้นแต่จิต และใจ ภายในตน
ยังดิ้นรน ไขว่คว้า หาทางไป
...ภายนอกนั้น อาจจะดู ว่าสงบ
แต่ค้นพบ ว่าจิตนั้น ยังหวั่นไหว
กระแสโลก ที่กระทบ จบที่ใจ
จิตหวั่นไหว เพราะว่าใจ ไม่มั่นคง
...จึงตามดู ตามรู้ ดูที่จิต
ดูความคิด ของจิต เมื่อมันหลง
ดูให้เห็น ความเป็นอยู่ แล้วก็ปลง
จิตมั่นคง เมื่อมีธรรม นั้นนำทาง
...ความเคยชิน ที่สะสม มานมนาน
เพราะว่าผ่าน หลายเรื่องราว ในโลกกว้าง
การจะลด การจะเลิก การจะวาง
ทุกสิ่งอย่าง ด้วยสิ่งใหม่ ไปทดแทน
...นั้นคือการ ละลาย พฤติกรรม
ที่เคยทำ จนเกาะกุม เป็นปึกแผ่น
จึงต้องสร้าง สิ่งใหม่ ไปทดแทน
แม้นจะแสน ยากนัก จักต้องทำ
...ทุกอย่างนั้น มีแนวทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ของเรา จะหนุนค้ำ
ยอมแก้ไข ในสิ่ง ที่เคยทำ
พฤติกรรม เก่าเก่า ยอมละวาง
...ยอมลดละ อัตตา และมานะ
ยอมลดละ ทำใจ ให้เปิดกว้าง
โลกทัศน์ ชีวทัศน์ ต้องจัดวาง
เปลี่ยนทุกอย่าง ที่เคยทำ กรรมไม่ดี
...ไม่มีคำ ว่าสาย หากเริ่มต้น
ความหลุดพ้น มีได้ ในทุกที่
เริ่มจากใจ จากจิต คิดให้ดี
ต้องเริ่มที่ ใจของเรา เท่านั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒ มกราคม ๒๕๖๕...

79


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๓...

...ใกล้จะสิ้นไปอีกปีแล้ว วันเวลาผ่านไป
ตามปกติ ไม่เคยหยุดนิ่ง สรรพสิ่ง
แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เป็นไป
ตามกฎพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ผ่านมาแล้วจากไป สิ่งที่เหลือ
ไว้นั้นคือความทรงจำ ประทับใจบ้าง
ขัดข้องขุ่นใจบ้าง ตามกิเลสตัณหา
และอารมณ์ของแต่ละคน แต่ละท่าน
และมุมมองที่แตกต่างกัน
..." มันเป็นเช่นนั้นเอง " ปีเก่าหรือ
ปีใหม่ล้วนแล้วแต่เป็นสมมุติบัญญัติ
ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่า เวลานั้น
ผ่านไปเท่าไหร่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญ
นั้นคือ ทุกวันทุกเวลาทุกขณะและ
ทุกโอกาส เราได้ทำหน้าที่ของเรา
ให้ถึงพร้อมสมบูรณ์แล้วหรือยัง
...ทบทวนใคร่ครวญพิจารณาว่าวัน
เวลาที่ผ่านไปนั้น เราได้สร้างสรรค์
สิ่งที่ดีให้แก่ชีวิตของเราแล้วรึยัง
สมบูรณ์แล้วหรือยัง ลองชั่งดูระหว่าง
บุญและบาปที่เราได้กระทำมาแล้วนั้น
ที่เราพอจะระลึกได้ว่าอย่างไหน
จะมีกำลังมากกว่ากัน
...ลองคิดสมมุติดูว่า ถ้าเราไม่มีโอกาส
ที่จะได้ลืมตาตื่นและหายใจในวันพรุ่งนี้
เราจะไปอยู่ที่ไหน เราจะเป็นอย่างไร
กรรมที่เราได้เคยกระทำมา จะเป็นตัว
ส่งผลให้จิตของเราไป กรรมที่เป็น
กุศลย่อมส่งผลไปสู่สุขคติคือไปใน
ทิศทางที่ดี กรรมที่เป็นอกุศลย่อม
ส่งผลไปสู่ทุคติคือทิศทางที่ไม่ดี
...วันสิ้นปีจึงเป็นวันที่เราควรทบทวน
สรุปการกระทำของเราที่ผ่านมาว่า
อะไรคือความเจริญก้าวหน้า อะไรคือ
ความเสื่อมถอย จงเอาอดีตที่ผ่านมา
เป็นบทเรียนของชีวิต คิดและพิจารณา
เพื่อกำหนดอนาคตในภายภาคหน้า
ของชีวิตเรา ว่าจะเดินไปในทิศทางใด
และอย่างไร...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔...

80


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๒...

...บางครั้งในการบรรยายธรรมนั้น
เราต้องละทิ้งรูปแบบในพยัญชนะ
มาเน้นในเรื่องความหมายความเข้าใจ
ให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความรู้ความ
เข้าใจในธรรมะทั้งหลาย เพื่อให้ฟัง
แบบสบายๆ ไม่เกร็งไม่เคร่งและไม่เครียด
ในการสนทนาธรรม จึงเป็นที่มาของ
คำว่า " ไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้สาระ " คือ
การถ่ายทอดธรรมะเพื่อให้ง่ายแก่
การเข้าใจโดยไม่ยึดติดในรูปแบบ
ซึ่งทุกอย่างต้องใช้การคิดและการ
พิจารณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ทบทวน
อยู่ตลอดเวลา ปรับเข้าหาหลักธรรมะ
เพื่อความเหมาะสม มองทุกสิ่งทุกอย่าง
รอบกายให้เป็นธรรมะ ใช้หลักแห่ง
ความเป็นจริงตามหลักของธรรมชาติ
โดยการลดละซึ่งอัตตาและคติ
ไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาใช้
ในการคิดและวิเคราะห์ แล้วเราจะ
เข้าถึงสภาวะแห่งธรรมะที่แท้จริง...

๐ จากถิ่นฐาน นานมา สู่ป่ากว้าง
ไปตามทาง ที่ใจ นั้นใฝ่หา
ออกเผชิญ ต่อโลก แห่งมายา
แสวงหา แนวทาง เพื่อสร้างธรรม
๐ ผ่านร้อยภู ร้อยป่า ร้อยนาคร
ผ่านขั้นตอน ทดสอบ เพื่อตอกย้ำ
ผ่านเรื่องราว มากมาย ที่ได้ทำ
ผ่านชอกช้ำ และสำเร็จ เสร็จในงาน
๐ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง
ในการสร้าง การสอน เพื่อสืบสาน
ได้เรียนรู้ มากมาย จากอาจารย์
สิ่งที่ท่าน สอนสั่ง ยังฝังใจ
๐ "เมือเสียหนึ่ง อย่าให้ถึง ต้องเสียสอง
เมื่อเสียของ เสียแล้ว จงหาใหม่
เสียอะไร เสียได้ อย่าเสียใจ
เมื่อเสียแล้ว เสียไป ใจอย่าเสีย"
๐ คือคำสอน คำสั่ง ที่ฝังจิต
นำมาคิด ยามจิต นั้นละเหี่ย
ปลุกกายใจ ยามที่ เราอ่อนเพลีย
ไม่ให้เสีย กำลังใจ ในการงาน
๐ มารไม่มี บารมี นั้นไม่เกิด
คือการเปิด โลกทัศน์ ที่อาจหาญ
ชีวิตนี้ อุทิศ แก่การงาน
เพื่อสืบสาน สายธรรม นั้นสืบไป
๐ ในวันนี้ ได้กลับ คืนสู่ถิ่น
สู่แดนดิน ถิ่นที่ เคยอาศัย
มาเพื่อปลุก ศรัทธา ทั้งกายใจ
เพื่อวันใหม่ ข้างหน้า ที่มาเยือน
๐ หยุดทบทวน ใคร่ครวญ สิ่งที่ผ่าน
ทั้งหมู่มิตร บริวาร และผองเพื่อน
ทุกเหตุการณ์ ผ่านมา นั้นช่วยเตือน
มิลืมเลือน มิตรภาพ และไมตรี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๔...

81


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๑...

..." ภิกษุทั้งหลาย!เราประพฤติพรหมจรรย์นี้
มิใช่เพื่อหลอกลวงคน เพื่อให้คนบ่นถึง
เพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียง
เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ เพื่อให้คนทั้งหลาย
รู้จักเรา ก็หามิได้ แต่ที่แท้จริงแล้ว
เราประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อความ
สังวรระวัง เพื่อละกิเลส เพื่อคลายกิเลส
และเพื่อดับกิเลสเท่านั้น "
" นยิทํ ภิกขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
ชนกุหนตฺถํ น ชนลปนตฺถํ
น ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ
น อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสตฺถํ
น อิติ มํ ชโน ชานาตูติ
อถโข อิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
สํวรตฺถํ ปหานตฺถํ วิราคตฺถํ นิโรธตฺถนฺติ "...
...พุทธสุภาษิต พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙...
...วันเวลาของชีวิตและกิจที่กระทำ...
...ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง
เป็นแนวทาง วางไว้ ให้ศึกษา
ตามสติ กำลัง และเวลา
ผลออกมา อย่างไร อย่าไปแคร์
...ทำหน้าที่ ของตน ให้ถูกต้อง
เปลี่ยนมุมมอง ความคิด จิตเผื่อแผ่
รักษาจิต รักษาใจ คอยดูแล
และหมั่นแก้ สิ่งผิด ไม่คิดทำ
...มีสติ ระลึกรู้ อยู่ทั่วพร้อม
และไม่น้อม นำจิต คิดใฝ่ต่ำ
สิ่งไม่ดี ทั้งหลาย อย่าไปทำ
อย่าถลำ ในทางชั่ว ด้วยมัวเมา
...จงมีความ ละอายใจ ในสิ่งผิด
ไม่ควรคิด ปรุงแต่ง อย่างโง่เขลา
ทำร่างกาย จิตใจ ให้โล่งเบา
จงเก็บเอา แต่สิ่งดี ที่มีคุณ
...จงภูมิใจ ในสิ่งดี ที่ได้สร้าง
บนหนทาง ผ่านมา ได้เกื้อหนุน
จงมีใจ เมตตา เกื้อการุณ
จงสร้างบุญ สิ่งกุศล บนหนทาง
...ทำชีวิต วันนี้ ให้มีค่า
วันข้างหน้า อาจไม่มี ที่จะสร้าง
ชีวิตนี้ อาจไม่ยาว อย่างที่วาง
จงรีบสร้าง รีบทำ กรรมที่ดี
...สร้างคุณค่า ราคา ให้ชีวิต
นั่นคือกิจ ที่ต้องทำ ในวันนี้
บุญกุศล คือหนทาง สร้างความดี
ชีวิตนี้ คุณมี แล้วหรือยัง
...จงทบทวน ชีวิต ที่ผ่านมา
สร้างคุณค่า อะไร ไว้เบื้องหลัง
สิ่งเหล่านี้ คุณนั้นมี แล้วหรือยัง
มองกลับหลัง ดูว่าตรง หรือหลงทาง....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๔...

82


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๐...

...รำพึงธรรมเรื่องโยธากัมมัฏฐาน...
...การทำงานทุกอย่างนั้นเป็นการ
ปฏิบัติธรรมไปในตัว เพราะว่าการ
ปฏิบัติธรรมนั้นคือการเจริญกุศลจิต
โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุม
คุ้มครองอยู่ทุกขณะจิต มีความระลึกรู้
และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา
ทั้งในการคิดและการกระทำ ซึ่งคน
ทุกคนนั้นล้วนแล้วแต่มีความคิด
มีสติ และสัมปชัญญะ
...แต่สิ่งที่ขาดไปนั้นก็คือกุศลจิต
ซึ่งเป็นคุณธรรมคุ้มครองจิต ไม่ให้คิด
ไปในทางที่ผิด รู้จักหักห้ามจิตไม่ให้คิด
และทำในสิ่งที่เป็นอกุศล รู้จักวางตน
อยู่ในสัมมาทิฏฐิ
...ซึ่งสิ่งที่ขาดหายไปนั้นเกิดจากพื้นฐาน
ของคุณธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละคน
ดั่งคำที่ว่า“ บุคคลแตกต่างด้วยธาตุและ
อินทรีย์ บารมีที่สร้างสมกันมา “
...การเจริญกุศลจิต เจริญสติภาวนา
ก็เพื่อเพิ่มพูนกำลังของบุญกุศล ให้รู้จัก
กายและใจของตน เพื่อให้เห็นคุณ
เห็นโทษเห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
ของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งภายนอกและ
ภายใน ทั้งทางกายและทางจิตของเรา
เพื่อเพิ่มคุณธรรมความละอายและ
เกรงกลัวต่อบาปให้มากขึ้นแก่จิต
ของเรา เพื่อที่จะเข้าไปยับยั้งและ
ข่ม ความต้องการในโลกธรรม
ทั้งหลายอันได้แก่ ลาภ ยศ
สรรเสริญ สุขและความเสื่อม
ในโลกธรรมทั้งหลายอันได้แก่
เสื่อมลาภ เสื่อมยศ คำนินทา
และความทุกข์ ให้รู้จักความ
พอเหมาะพอดีในสิ่งที่ควรจะได้
ไม่หวั่นไหวกับโลกธรรมทั้งแปด
...การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นไปเพื่อความลด
ละ เลิก ในกิเลส ตัณหา อัตตา อุปาทาน
ทั้งหลาย เพื่อความจางคลายของกิเลส
ทั้งหลาย สิ่งนั้นคือเป้าหมายของการ
ปฏิบัติธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๔...

83


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๙...

...ย้ำเตือนตนเองอยู่เสมอ ให้ระลึกถึง
ธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า
เป็นเครื่องกระทำให้เป็นสมณะ
๑.พึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจักประกอบ
ด้วย หิริ ความละลายต่อความชั่ว
โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว
๒.พึงศึกษาว่า เราจักมีกายสมาจาร
คือความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์
ที่ตื้น ที่เปิดเผย ไม่เป็นช่อง ประกอบ
ด้วยความสำรวม ทั้งจะไม่ยกตนข่มท่าน
ด้วยข้อนั้น
๓.พึงศึกษาว่า เราจักมี วจีสมาจาร คือ
ประพฤติทางวาจา ได้แก่คำพูดที่บริสุทธิ์
๔.พึงศึกษาว่า เราจักมี มโนสมาจาร
คือความประพฤติทางใจ คือความคิด
อันบริสุทธิ์
๕.พึงศึกษาว่า เราจักมี อาชีวะ คือความ
เลี้ยงชีพบริสุทธิ์
๖.พึงศึกษาว่า เราจักมีอินทรีย์สังวร
ความสำรวมอินทรีย์ คือสำรวม ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ
๗.พึงศึกษาว่า เราจักมีความรู้ประมาณ
ในการบริโภคอาหาร
๘.พึงศึกษาว่า เราจักประกอบธรรม
ของผู้ที่ตื่นอยู่ คือไม่เห็นแก่การ
หลับนอนมากนัก
๙.พึงศึกษาว่า เราจักประกอบสติ
คือความระลึกได้และสัมปชัญญะ
คือความรู้ตัวทั่วพร้อมในอิริยาบถใหญ่
อิริยาบถน้อยทั้งหลาย
๑๐.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติคอยชำระ
จิตของตนออกจากนิวรณ์ คือกิเลส
เป็นเครื่องกั้นจิตทั้งหลาย
๑๑.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติทำสมาธิ
คือความรวมจิต เข้ามาตั้งมั่นอยู่ใน
อารมณ์เดียว ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมาธิ
จนถึงสมาธิขั้นสูง
๑๒.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติอบรมจิต
ให้เกิดปัญญาญาณ คือปัญญาหยั่งรู้
เข้าถึงสัจจะ คือความจริงขึ้นไปโดยลำดับ
...นี่คือธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัส
สอนแก่พระภิกษุทั้งหลาย ว่าเป็น
เครื่องกระทำให้เป็นสมณะ ซึ่งควร
หมั่นคิดและพิจารณากาย วาจา จิต
ของเราอยู่เสมอ เพื่อความเป็นสมณะ
ในพระพุทธศาสนา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๔...

84


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๘...

...ไม่ใช่ภาระที่เราต้องแบกรับ
ไม่ใช่หน้าที่ที่เราต้องรับผิดชอบ
แต่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและ
กิจที่เรานั้นควรกระทำในขณะนั้น
ทำไปตามบทบาทที่ตนนั้นพึงมี
ทำให้สมบูรณ์เต็มที่ตามสติกำลัง
ความรู้ความสามารถของเรา
เมื่อเราคิดว่ามันไม่ใช่ภาระที่
ต้องแบกรับ มันไม่ใช่ข้อบังคับ
ตามหน้าที่ เราก็จะมีความรู้สึกที่
โปร่ง โล่ง เบา ความเครียดอันเกิด
จากความกังวลใจ ก็จะลดน้อย
ถอยลงที่ละนิดสุขภาพจิตของเรา
ก็จะดีขึ้น " เพียงคุณเปลี่ยนความคิด
ชีวิตคุณก็จะเปลี่ยนไป สิ่งใหม่ๆย่อม
เกิดขึ้นแก่คุณ "
...การดำเนินชีวิตนั้นทุกอย่างเป็นไป
เหมือนเดิมตามปกติที่เคยเป็นมา
แต่ว่าความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึกนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ทำหน้าที่
ของตนไปตามบทบาทที่พึงมีตามจังหวะ
เวลา โอกาส สถานที่และบุคคล เป็นไป
เพื่อความเหมาะสม ให้เกิดความพอดี
และพอเพียงในสิ่งที่ต้องคิดและกิจ
ที่ต้องทำ
...เมื่อเราคิดได้และทำได้อย่างนั้น
ความกดดันทั้งหลายก็จะหายไป
กำลังใจก็ย่อมจะกลับมา ความเชื่อมั่น
และศรัทธาในตนเองก็จะเพิ่มขึ้น
เมื่อเรานั้นได้ทำหน้าที่และบทบาท
ของเรานั้นสมบูรณ์แล้ว ซึ่งผลมันจะ
ออกมาอย่างไร มันเป็นเรื่องของ
เหตุและปัจจัยที่เป็นไปในขณะนั้น
สิ่งที่สำคัญจงถามตนเองว่า...
เราทำหน้าที่ของเราสมบูรณ์
ดีแล้วหรือยัง....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๔...

85


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๗...

...ธรรมชาติของชีวิตนั้นไม่ได้สับสน
วุ่นวายหรือลึกลับสลับซับซ้อนอย่าง
ที่คิด มันเกิดจากจิตของเราที่คล้อย
ตามโลกธรรม ๘ อันได้แก่ สุข-ทุกข์
มีลาภ-เสื่อมลาภ มียศ-เสื่อมยศ
สรรเสริญ-นินทา
...การแสวงหาเพื่อให้ได้มาและการ
กลัวว่าจะสูญเสียไป การยึดถือมั่นหมาย
ในความเป็นตัวกูและของกู จึงทำให้
ชีวิตนั้นแปรเปลี่ยนไปตามกระแสโลก
มีความทุกข์โศกเมื่อไม่ได้ตามที่ใจ
นั้นปรารถนา คิดว่ามันเป็นปัญหา
เป็นอุปสรรคของชีวิต
...แต่ถ้าจิตนั้นเข้าใจและทำได้ในความ
พอดีและพอเพียง ชีวิตมันก็จะเรียบง่าย
ไม่สับสนและวุ่นวาย อยู่อย่างพอเพียง
เพราะว่าใจนั้นเพียงพอ...

๐ วันเวลา ผ่านไป ไม่หวนกลับ
เกิดแล้วดับ สลับกัน นั้นเสมอ
มีเรื่องราว มากมาย ให้เจอะเจอ
อย่าพลั้งเผลอ มีสติ แล้วตริตรอง
๐ ดีหรือชั่ว นั้นรู้ อยู่แก่จิต
ถูกหรือผิด จำไว้ ในสมอง
ให้ถูกต้อง ตามธรรม ตามครรลอง
อะไรถูก อะไรต้อง จงตรองดู
๐ มีสติ อยู่กับกาย เฝ้าดูจิต
ควรพินิจ ศึกษา หาความรู้
มีตัวอย่าง มากมาย ให้เป็นครู
ให้เรารู้ กายจิต คิดก่อนทำ
๐ จะไม่พลาด ไม่พลั้ง เพราะยั้งคิด
ไม่เผลอจิต ปล่อยใจ ให้ถลำ
ให้โมหะ อัตตา เข้าครอบงำ
ประกอบกรรม ทำบาป ที่หยาบคาย
๐ มีสติ เตือนตน จึงพ้นผิด
มีความคิด คุณธรรม นำจุดหมาย
มีศรัทธา แต่ไม่เชื่อ อย่างงมงาย
มีจุดหมาย จุดยืน ที่แน่นอน
๐ ยึดถือหลัก พรหมวิหาร ประการสี่
มีเมตตา ไมตรี ไม่หลอกหลอน
กรุณา ปราณี ตามขั้นตอน
มุทิตา โอนอ่อน เมื่อทำดี
๐ อุเบกขา นั้นมา เป็นสุดท้าย
ไม่คาดหมาย ทำไป ตามหน้าที่
ไม่หวังสิ่ง ตอบแทน เมื่อทำดี
อุเบกขา เมื่อหน้าที่ เราสมบูรณ์
๐ พรหมวิหาร คือฐาน แห่งพุทธะ
ในทสะ บารมี มิเสื่อมสูญ
ยิ่งให้มาก ยิ่งได้มา ทวีคูณ
จะเพิ่มพูน บุญกุศล ให้ตนเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๔...

86


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๖...

...การคิดและพิจารณาธรรมนั้น
จะรู้ว่าสิ่งที่เรารู้และเข้าใจนั้น
ถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องใช้การ
สงเคราะห์เข้าหาหลักธรรม
ทุกหมวดหมู่ในธรรมที่คิดว่ารู้
และเข้าใจ เพราะธรรมทั้งหลายนั้น
จะไม่มีการขัดแย้งกัน ธรรมนั้น
จะสงเคราะห์และอนุเคราะห์ซึ่งกัน
และกันในทุกหมวดหมู่ และเมื่อได้
ลองเทียบดูแล้วเกิดความขัดแย้งกัน
ให้หันกลับมาพิจารณาที่ความคิด
ของเราว่ามีความคิดเห็นคลาดเคลื่อน
จากความจริงในจุดไหน มีอะไรเป็น
เหตุและปัจจัยที่ทำให้เรามีความคิดเห็น
เป็นอย่างนั้น อย่าไปวิจารณ์ธรรม
ตีความหมายขยายความในหัวข้อธรรม
เพื่อให้รองรับความคิดเห็นของเรา
จงกลับมาดูที่ความคิดเห็นของเรา
อย่าได้เข้าไปปรับเปลี่ยนหลักธรรม
...หลักธรรมนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับ
ธรรมชาติอยู่ก่อนแล้ว แต่ความคิดเห็น
ของเรานั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่
ซึ่งอาจจะเป็นความรู้และความเข้าใจ
ที่เกิดจากทิฏฐิอัตตา อย่าไปปรับ
หลักธรรมเข้าหาความคิดเห็นของเรา
เพื่อให้รองรับความคิดเห็นของเรา
จงปรับความคิดของเราเข้าหาหลักธรรม
ความรู้ความเห็นทั้งหลายที่สงเคราะห์
เข้าได้กับทุกหมวดหมู่ของหลักธรรม
นั้นคือความคิดเห็นที่ถูกต้องตามหลัก
แห่งธรรม ที่จะนำไปสู่ความรู้และเข้าใจ
ในธรรมที่ยิ่งขึ้นไปในข้อธรรมทั้งหลาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๔...

87


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๕...

...ใช้เวลาพิจารณาทำความรู้ความ
เข้าใจในทุกสรรพสิ่งและในความ
เป็นจริงของชีวิต คิดทุกอย่างเข้าหา
หลักธรรม ให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่ประสพพบเห็น มันเป็นเช่นนั้นเอง
...เมื่อเข้าใจในเหตุและปัจจัย เห็นที่
มาและที่ไป ทุกอย่างก็จบ เพราะมันมี
คำตอบอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ต้อง
ไปสงสัย ไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไป
ค้นหา เพราะว่า ตถตา มันเป็นเช่นนั้น
ของมันเอง...

...สิ่งที่รู้ สิ่งที่เห็น สิ่งที่เข้าใจ
อาจไม่เป็นอย่างที่ใจเราคิด...

...ที่เห็น และเข้าใจ
อาจไม่ใช่ สิ่งที่คิด
เห็นถูก หรือเห็นผิด
ใครตัดสิน ในปัญหา
...ความรู้ ความเข้าใจ
ที่มันได้ เกิดขึ้นมา
โดยธรรม หรืออัตตา
หรือรู้เห็น ตามเป็นจริง
...ความรู้ และเข้าใจ
ที่มีใน สรรพสิ่ง
รู้จริง และเห็นจริง
เกิดจากเหตุ และปัจจัย
...สิ่งรู้ และสิ่งเห็น
สิ่งที่เป็น เกิดขึ้นใหม่
ถูกผิด เป็นอย่างไร
พิสูจน์ได้ โดยหลักธรรม
...ปรับจิต เข้าหาหลัก
โดยรู้จัก จดและจำ
ปรับใจ เข้าหาธรรม
ในการคิด และวิจารณ์
...สงเคราะห์ อนุเคราะห์
ให้มันเหมาะ กับเหตุการณ์
ธรรมะ จะประสาน
ไปในทิศ ทางเดียวกัน
...เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
คล้อยตามไป สมานฉันท์
ไม่มี ขัดแย้งกัน
นั้นคือธรรม ที่ถูกทาง
...ปรับจิต เข้าหาธรรม
แล้วน้อมนำ ทุกสิ่งอย่าง
เทียบดู ในแนวทาง
จะรู้เห็น เป็นอย่างไร
...ธรรมะ ทุกหมวดหมู่
สงเคราะห์ดู ให้เข้าใจ
รู้เห็น เป็นเช่นไร
อนุเคราะห์ สงเคราะห์กัน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔...

88


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๔...

...มีหลายคนหลายท่านให้คำแนะนำ
ว่าทำไมไม่รวบรวมบทความและบท
กวีธรรมที่ได้เขียนไว้ พิมพ์ออกเป็น
หนังสือ ออกจำหน่ายเพื่อเป็นการ
หาทุน สำหรับกิจกรรมทางศาสนา
และกิจกรรมเพื่อสังคม ก็ขอน้อมรับ
ในความปรารถนาดีของทุกๆท่าน
ที่ให้คำแนะนำมา ซึ่งได้อธิบายถึง
ที่มาที่ไปของการเขียนบทความ
บทกวีธรรม ที่ได้กระทำมาแล้วนั้น
ว่าเป็นเพียงการบันทึกสภาวธรรม
ของแต่ละช่วงเวลาและช่วงอารมณ์
เป็นเพียงแง่คิดมุมมองของความ
เป็นปัจเจก ซึ่งไม่กล้ารับรองและ
ยืนยันว่าความคิดเห็นนั้น เป็นสิ่ง
ที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ชัดเจนแท้จริง
เป็นเพียงการนำเสนอแง่คิดมุมมอง
ของการปฏิบัติที่ผ่านมา เพื่อให้ได้
คิดพิจารณากัน มันจึงเป็นได้เพียง
สายลมที่พัดผ่านกาลเวลา ผ่านมา
แล้วก็จากไป ไร้ซึ่งหลักฐานที่เป็น
ตัวตน
...ดังที่เคยกล่าวไว้เสมอว่าการเขียน
บทความ บทกวีธรรมหรือการบันทึก
ธรรมนั้น ไม่ได้มุ่งหวังจะสอนผู้ใด
แต่ที่ได้ทำลงไปนั้น เพื่อเป็นการ
ทบทวนธรรม ย้ำเตือนและสอน
ตัวเอง ส่วนที่มีผู้เข้ามาอ่าน มาทำ
ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติตามนั้น
เป็นผลพลอยได้ เพราะจุดมุ่งหมาย
ของการเขียนบันทึกไว้นั้น เพียงเพื่อ
เตือนตนสอนตน เพราะก่อนที่เรา
จะไปสอนคนอื่นได้นั้น เราต้องรู้
และเข้าใจ ทำได้และเคยทำมาแล้ว
ไม่ใช่ท่องตำราให้จำได้แล้วไป
กล่าวธรรม เพราะการทำเช่นนั้น
มันเหมือนกับนกแก้วนกขุนทอง
จำได้พูดได้ แต่ไม่รู้ความหมาย
และเนื้อหา พระพุทธเจ้าตรัสว่า
เป็นเพียงใบลานเปล่า
...ทุกครั้งที่เขียนบันทึกหรือการ
บรรยายธรรมก็เพื่อเป็นการเตือนย้ำ
และสอนตัวเองทุกครั้ง ไม่ได้หวัง
ว่าคนฟังนั้นจะต้องรู้ จะต้องเข้าใจ
และนำไปปฏิบัติตามหรือไม่ เพราะว่า
ถ้าเรานั้นไปหวังและตั้งใจให้ผู้ฟัง
เข้าใจและปฏิบัติตามนั้น มันเป็นการ
กระทำเพื่อสนองตัณหาคือความ
อยากมี อยากเป็น อยากเห็น อยากได้
และเมื่อมันไม่เป็นไปตามที่ใจของเรา
ปรารถนา มันก็จะพาให้ใจเป็นทุกข์
เพราะตัณหานั้นไม่ได้รับการสนองตอบ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๔...

89


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๓...

...วิถีทาง วิถีธรรม แห่งสมณะไร้นาม...
...การปฏิบัติธรรมนั้น เป็นการกระทำ
เฉพาะตน ไม่ได้หวังผลที่จะโอ้อวดใคร
มิได้เป็นไปเพื่อหวังในโลกธรรม ๘
อันได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
แต่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์และความ
สุขในธรรมรู้ธรรม เห็นธรรม เข้าใจธรรม
แต่ยังไม่ได้ทำ ยังไม่เรียกว่าผู้ปฏิบัติธรรม
เป็นได้เพียงผู้ชื่นชมในธรรม หรือผู้วิจารณ์
ธรรมเท่านั้นเอง หาใช่ผู้ปฏิบัติธรรมไม่
เพราะยังมิได้ทรงไว้ในธรรม....
...ปณิธานในการปฏิบัติธรรม...
๐ ใช่หวังจะดังเด่น
จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ
ซึ่งมานะและอัตตา
๐ เร่ร่อนและรอนแรม
ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา
ผ่านร้อยป่าและภูดอย
๐ ลาภยศและสรรเสริญ
ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย
จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
๐ เป็นเพียงสมณะ
ไร้พันธะสิ่งครอบงำ
คิดชอบประกอบกรรม
เดินตามธรรมโพธิญาณ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๔...

90


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๒...

...เมื่อน้ำนั้นนิ่งใส ก็จะเห็นสิ่งที่อยู่
ภายในนั้นชัดเจน แต่ถ้าน้ำนั้นยัง
กระเพื่อมอยู่ก็เห็นได้ไม่ชัดเจน
เปรียบกับจิตที่เป็นหนึ่ง หยุดนิ่ง
ย่อมรู้หมด มีอะไรรู้หมด เห็นหมด
เห็นกายเห็นจิตของตนเองได้แล้ว
ก็ย่อมจะรู้และเข้าใจในกายและจิต
ของผู้อื่นเช่นกัน ...
๐ น้อมธรรม นำมา พินิจ
ทำจิต ของเรา ให้ว่าง
เอาธรรม มาเป็น แนวทาง
เพื่อสร้าง ผลงาน กวี
๐ ธรรมะ เกิดขึ้น ในจิต
ลิขิต ตามธรรม นำชี้
เรียบเรียง อักษร วลี
ตามที่ รู้เห็น เข้าใจ
๐ น้อมจิต พินิจ ในธรรม
ดื่มด่ำ ธรรมะ ลื่นไหล
โศลก แห่งธรรม นำไป
รู้ได้ ด้วยธรรม นำพา
๐ ความจำ ใต้จิต สำนึก
ส่วนลึก ถูกปลุก ขึ้นมา
ก่อเกิด กำลัง ศรัทธา
ที่มา ของบท กวี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔...

91


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๑...

...การสร้างเหตุและปัจจัยที่ดีในวันนี้
เป็นการชี้หนทางในอนาคตของตน
เป็นเหตุและผลที่จะส่งผลในอนาคต
เป็นการกำหนดอนาคตหนทางที่จะไป
โลกและธรรมนั้นต้องเดินคู่กันไป
เพื่อให้โลกนี้มีคุณธรรม โดยการเริ่ม
กระทำที่จิตใจของเราเป็นเริ่มแรก
จัดระเบียบให้แก่ชีวิตของตนเอง
เสียก่อน ก่อนที่จะไปเรียกร้อง
จัดระเบียบให้แก่สังคมส่วนรวม
เริ่มต้นที่ความคิด เริ่มที่จิตของเราเอง...

๐ เวลา ผ่านไป ไม่หยุด
มนุษย์ ดิ้นรน ขวนขวาย
ตั้งแต่ เกิดมา จนตาย
มุ่งหมาย หาสุข ใส่ตัว
๐ หลงเพลิน ไปตาม กระแส
ผันแปร จนน่า เวียนหัว
เพราะความ หน้ามืด ตามัว
ลืมตัว ลืมตน ลืมตาย
๐ ติดอยู่ กับกิน กามเกียรติ
จนเครียด เพราะความ มุ่งหมาย
อยากให้ อยู่สุข สบาย
จึงกลาย เป็นสร้าง บาปกรรม
๐ ชีวิต จึงไม่ สงบ
ไม่พบ กับสิ่ง ค่าล้ำ
ชีวิต อยู่ห่าง ทางธรรม
เคราะห์กรรม จึงมา เยี่ยมเยือน
๐ ชีวิต จึงมี แต่ทุกข์
ไร้สุข เหมือนไม่ มีเพื่อน
ไร้คน จะมา ปลอบเตือน
เสมือน โดดเดี่ยว เดียวดาย
๐ สังคม นับวัน เสื่อมทราม
หลงตาม จนลืม ความหมาย
วัตถุ เพิ่มขึ้น มากมาย
ที่หาย คือคุณ ความดี
๐ ศีลธรรม กำลัง หดหาย
จางคลาย ไปทุก ถิ่นที่
แก่งแย่ง แข่งขัน ชิงดี
ไม่มี น้ำใจ ให้กัน
๐ สังคม แห่งภาพ มายา
ให้ค่า วัตถุ เท่านั้น
ใครมี ทรัพย์มาก กว่ากัน
ผู้นั้น ได้รับ คำเชิญ
๐ คนดี มีศีล มีธรรม
ไม่นำ มากล่าว สรรเสริญ
คนดี ไม่มี ที่เดิน
ถูกเมิน ว่าโง่ งมงาย
๐ คนดี ถูกเขา เอาเปรียบ
หยามเหยียบ ไร้ซึ่ง ความหมาย
สังคม นับวัน กลับกลาย
มากมาย ด้วยเล่ห์ ลมลวง
๐ ศีลธรรม หากไม่ กลับมา
โลกา นี้น่า เป็นห่วง
เพราะว่า มนุษย์ ทั้งปวง
หลอกลวง คดโกง ฆ่ากัน
๐ ทุกคน จะเห็น แก่ตัว
เมามัว แก่งแย่ง แข่งขัน
ไม่มี น้ำใจ ให้กัน
โลกนั้น คงดับ ลับลง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๔...

92


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๐...

...การสร้างเหตุและปัจจัยที่ดีในวันนี้
เป็นการชี้หนทางในอนาคตของตน
เป็นเหตุและผลที่จะส่งผลในอนาคต
เป็นการกำหนดอนาคตหนทางที่จะไป
โลกและธรรมนั้นต้องเดินคู่กันไป
เพื่อให้โลกนี้มีคุณธรรม โดยการเริ่ม
กระทำที่จิตใจของเราเป็นเริ่มแรก
จัดระเบียบให้แก่ชีวิตของตนเอง
เสียก่อน ก่อนที่จะไปเรียกร้อง
จัดระเบียบให้แก่สังคมส่วนรวม
เริ่มต้นที่ความคิด เริ่มที่จิตของเราเอง...

๐ เวลา ผ่านไป ไม่หยุด
มนุษย์ ดิ้นรน ขวนขวาย
ตั้งแต่ เกิดมา จนตาย
มุ่งหมาย หาสุข ใส่ตัว
๐ หลงเพลิน ไปตาม กระแส
ผันแปร จนน่า เวียนหัว
เพราะความ หน้ามืด ตามัว
ลืมตัว ลืมตน ลืมตาย
๐ ติดอยู่ กับกิน กามเกียรติ
จนเครียด เพราะความ มุ่งหมาย
อยากให้ อยู่สุข สบาย
จึงกลาย เป็นสร้าง บาปกรรม
๐ ชีวิต จึงไม่ สงบ
ไม่พบ กับสิ่ง ค่าล้ำ
ชีวิต อยู่ห่าง ทางธรรม
เคราะห์กรรม จึงมา เยี่ยมเยือน
๐ ชีวิต จึงมี แต่ทุกข์
ไร้สุข เหมือนไม่ มีเพื่อน
ไร้คน จะมา ปลอบเตือน
เสมือน โดดเดี่ยว เดียวดาย
๐ สังคม นับวัน เสื่อมทราม
หลงตาม จนลืม ความหมาย
วัตถุ เพิ่มขึ้น มากมาย
ที่หาย คือคุณ ความดี
๐ ศีลธรรม กำลัง หดหาย
จางคลาย ไปทุก ถิ่นที่
แก่งแย่ง แข่งขัน ชิงดี
ไม่มี น้ำใจ ให้กัน
๐ สังคม แห่งภาพ มายา
ให้ค่า วัตถุ เท่านั้น
ใครมี ทรัพย์มาก กว่ากัน
ผู้นั้น ได้รับ คำเชิญ
๐ คนดี มีศีล มีธรรม
ไม่นำ มากล่าว สรรเสริญ
คนดี ไม่มี ที่เดิน
ถูกเมิน ว่าโง่ งมงาย
๐ คนดี ถูกเขา เอาเปรียบ
หยามเหยียบ ไร้ซึ่ง ความหมาย
สังคม นับวัน กลับกลาย
มากมาย ด้วยเล่ห์ ลมลวง
๐ ศีลธรรม หากไม่ กลับมา
โลกา นี้น่า เป็นห่วง
เพราะว่า มนุษย์ ทั้งปวง
หลอกลวง คดโกง ฆ่ากัน
๐ ทุกคน จะเห็น แก่ตัว
เมามัว แก่งแย่ง แข่งขัน
ไม่มี น้ำใจ ให้กัน
โลกนั้น คงดับ ลับลง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม....
...๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔...

93


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๙...

...อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
เพียงน้อยนิด ถ้าจิตขาด การพิจารณา
เผลอสติเข้าไปปรุงแต่งคล้อยตาม
อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น มันเหมือนกับ
การไปเพิ่มกำลังให้มัน เพลิดเพลิน
ไปกับการปรุงแต่งเหล่านั้นที่เป็น
อกุศลจิต มันก็ก่อให้เกิดการสร้างภพ
สร้างชาติใหม่ขึ้นมา ไม่รู้จักจบสิ้น
เพราะการปรุงแต่งทำให้มีทำให้เป็นนั้น
...เราจึงควรมีสติรู้เท่าทันอารมณ์
ที่เกิดขึ้นทั้งหลาย พิจารณาแยกแยะ
ออกให้ได้ ถึงความเป็นกุศลจิตและ
ความเป็นอกุศลจิต เห็นคุณ เห็นโทษ
เห็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ของ
อารมณ์เหล่านั้น ตามดูตามรู้ให้ทัน
ในความคิดที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ด้วยการ
เจริญสติพิจารณา ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔...

94


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๘...

...ชีวิตแต่ละวันที่ผ่านไปเหมือนไม่ได้
ปฏิบัติธรรม เพราะใช้ชีวิตและทำงาน
ตามปกติ ไม่ได้นั่งสมาธิหรือเดินจงกรม
จนมีพระและโยมมาถามว่า...
...ท่านเอาเวลาไหนไปปฏิบัติธรรม..?
ซึ่งได้ตอบเขาเหล่านั้นไปว่า "เอาเวลา
ที่มีสติไปปฏิบัติธรรม เมื่อเรามีสติ
และสัมปชัญญะอยู่กับกาย อยู่กับจิต
อยู่กับความคิด อยู่กับการกระทำ
นั้นแหละคือการปฏิบัติธรรม
...เหมือนดั่งคำของหลวงพ่อพุทธทาส
ที่ท่านกล่าวไว้ว่าการทำงานคือการ
ปฏิบัติธรรม เพราะว่าการมีสติและสัมปชัญญะ คุ้มครองกายและจิต
มีการระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อม
อยู่ตลอดเวลา มีความละอาย
และเกรงกลัวต่อบาปคอยควบคุม
ความคิดและการกระทำ รู้เท่าทัน
ในปัจจุบันธรรม...
๐ วันเวลา ผ่านไป ให้ครวญคิด
ความพลาดผิด ประมาท และพลาดพลั้ง
ขาดสติ ไม่สำรวม ไม่ระวัง
ไม่ยับยั้ง ชั่งใจ ในสิ่งควร
๐ คิดว่าเรื่อง เล็กน้อย จึงปล่อยทิ้ง
แท้ที่จริง สิ่งนั้น มันมีส่วน
เพราะขาดการ ไตร่ตรอง และใคร่ครวญ
ทุกสิ่งล้วน เป็นเหตุ และปัจจัย
๐ กิเลสนั้น มันเกิด ขึ้นที่จิต
จงพินิจ ตรวจดู แล้วแก้ไข
เพ่งให้รู้ ดูให้เห็น ความเป็นไป
ว่าสิ่งไหน เกิดก่อน ให้ถอนวาง
๐ เพราะหลักธรรม แท้จริง อยู่ที่จิต
ควรพินิจ ดูจิต อย่าทิ้งห่าง
ให้รู้จัก ตัวตน ให้ถูกทาง
แล้วละวาง อัตตา เข้าหาธรรม
๐ จงยินดี ในเพศ สมณะ
สภาวะ ของตน ทุกเช้าค่ำ
ก้าวเดินไป ในกรอบ ที่ชอบธรรม
กุศลนำ ทางสุข ให้ทุกคน
๐ ไม่กังวล ยึดถือ คือวิหาร
ธรรมประสาน นำมา ซึ่งเหตุผล
เพราะยึดถือ ยึดติด จิตกังวล
จึงสับสน วุ่นวาย ไม่ละวาง
๐ คิดเท่าไหร่ เท่าไหร่ ก็ไม่รู้
จึงต้องดู ความคิด ด้วยจิตว่าง
เมื่อหยุดคิด จึงจะรู้ สู่เส้นทาง
ก่อนละวาง ต้องรู้ ดูให้จริง
๐ คือหลักธรรม คำสอน แต่ก่อนเก่า
นำมาเล่า ขยาย เป็นหลายสิ่ง
เพื่อบอกเล่า เรื่องราว แห่งความจริง
สรรพสิ่ง คือธรรม ที่นำทาง...
..............................
...คติธรรมหลวงปู่ดุลย์ อตุโล...

" กิเลสทั้งหมดเกิดรวมที่จิต ให้เพ่งมอง
ดูที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน "

" หลักธรรมที่แท้จริงนั้นคือจิต ให้กำหนด
ดูจิต ให้เข้าใจจิตตนเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจ
จิตตนเองได้ลึกซึ้งแล้ว นั้นแหละได้แล้ว
ซึ่งหลักธรรม "

" การไม่กังวล การไม่ยึดติด นั่นแหละคือ
วิหารธรรมของนักปฏิบัติ "

" ภิกษุเรา ถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะ
ของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น
ถ้าตนอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น
ภาวะอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป
หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั้นคือ
ภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น
ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข "

" คิดเท่าไหร่ๆก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิด
จึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิด "

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๔...

95


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๗...

...หลายหลากเรื่องราวที่ได้รับรู้
เก็บเพียงสิ่งที่เป็นสาระบันทึกไว้
ในความทรงจำ สิ่งที่คิดและกิจที่ทำ
ไม่เคยไร้ซึ่งสาระ ผลงานที่ผ่านมา
และกาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ...
๐ ยกบทกลอน ก่อนเก่า มาเล่าอ้าง
เป็นแบบอย่าง ให้คิด และศึกษา
คนโบราณ รุ่นเก่า ท่านเขียนมา
มีคุณค่า ควรคิด ให้เข้าใจ
..." วัดจะยืนยง คงอยู่ คู่กับบ้าน
ก็ด้วยการ พัฒนา หาหยุดไม่
วัดโรยร้าง เพราะห่าง ความร่วมใจ
เชิญชวนไป ช่วยวัด พัฒนา
...วัดจะร้าง โรยรา ถ้าถูกร้าง
จะอ้างว้าง ร้างโรย ให้โหยหา
เกิดทุกข์ภัย ไร้ศีล สิ้นเมตตา
ทั้งโลกา พากันทุกข์ ไม่สุขเลย
...วัดไม่ร้าง ช่วยกันสร้าง อย่าร้างวัด
ช่วยเร่งรัด พัฒนา อย่าอยู่เฉย
คอยสอดส่อง ดูแล อย่าละเลย
อย่าวางเฉย ช่วยวัด พัฒนา
...วัดจะดี มิใช่ดี ที่โบสถ์สวย
หรือร่ำรวย ด้วยทรัพย์ แสวงหา
วัดจะดี เพราะพระเณร มีศรัทธา
ภาวนา รักษาศีล เคร่งวินัย
...วัดจะดี มีหลักฐาน ชาวบ้านช่วย
บ้านจะสวย ก็เพราะวัด ดัดนิสัย
บ้านกับวัด ผลักกันช่วย จึงอวยชัย
หากขัดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง "....
๐ คือบทกลอน สอนใจ ให้ครวญคิด
ให้พินิจ เอามา เป็นแบบอย่าง
ช่วยให้วัด พัฒนา อย่าลาร้าง
ช่วยกันสร้าง ช่วยกันทำ นำสิ่งดี
๐ ความร่วมมือ ร่วมแรง และร่วมใจ
จะทำให้ สำเร็จ เสร็จทุกที่
ชุมชนใด มีความรัก สามัคคี
ก็จะมี ชื่อเสียง ขจรไกล
๐ ต้องช่วยกัน ประสาน บ้านและวัด
อย่าให้ขัด จงช่วย กันแก้ไข
โลกและธรรม บ้านกับวัด คู่กันไป
จงร่วมใจ ร่วมทำ ในกรรมดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔...

96


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๖...

...การเดินทางของชีวิตนั้น มันเป็น
เรื่องของกรรมเก่าในอดีตชาติและ
กรรมใหม่ในชาตินี้ที่เราได้กระทำมา
ดั่งที่ได้กล่าวไว้เสมอว่า...
...ไม่ใช่โชคชะตาหรือว่าฟ้าลิขิต
ไม่ใช่นิมิตของสวรรค์หรือพรหมนั้น
ท่านบันดาล แต่สิ่งที่ชีวิตต้องพบพาน
นั้นล้วนเกิดมาจากกรรม...
...กรรมที่เป็นกุศลก็จะส่งผลไปสู่
สิ่งที่ดีงาม ส่วนกรรมที่เป็นอกุศล
ย่อมส่งผลให้ตกต่ำ เมื่อเรายอมรับ
ในเรื่องกฎแห่งกรรม มีความละอาย
และเกรงกลัวต่อบาป เราก็จะไม่สร้าง
กรรมที่เป็นอกุศล ชีวิตก็ย่อมจะพ้น
จากอบายภูมิ....

...ในบางครั้ง ท้อแท้ และเบื่อหน่าย
ความวุ่นวาย ที่ได้ ไปพบเห็น
ความอยากมี อยากได้ และอยากเป็น
สิ่งที่เห็น ล้วนเป็น สิ่งมายา
...อยากจะหลบ ให้ไกล ไปให้พ้น
เบื่อผู้คน เบื่อกิเลส เบื่อปัญหา
และเบื่อความ วุ่นวาย ที่ตามมา
นิพพิทา เบื่อหน่าย ในรูปนาม
...แต่เมื่อมี สติ ระลึกรู้
และตามดู ตามเห็น ไม่มองข้าม
ดูอารมณ์ แล้วพินิจ เฝ้าติดตาม
เห็นรูปนาม เกิดดับ ธรรมดา
...เห็นถึงความ ไม่เที่ยง ของทุกสิ่ง
เห็นความจริง ว่ามันเป็น เช่นนั้นหนา
พระไตรลักษณ์ คือหลัก แห่งธรรมา
เกิดขึ้นมา ตั้งอยู แล้วดับไป
...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
มันเป็นมา ทุกยุค ทุกสมัย
และก็ยัง สืบต่อ อยู่เรื่อยไป
ต้องฝึกใจ ให้ยอมรับ กับความจริง
...โจทย์คือทุกข์ ให้เรา ได้ศึกษา
ถึงที่มา และที่ไป ในทุกสิ่ง
ค้นหาเหตุ ที่เป็นไป ในความจริง
เห็นในสิ่ง ที่เป็นเหตุ ให้เกิดมา
...เห็นที่เกิด แล้วเข้าใจ ในทุกขัง
อนิจจัง ความไม่เที่ยง คือปัญหา
ไม่สามารถ บังคับได้ อนัตตา
รู้ที่มา เห็นที่ดับ สลับกัน
...เห็นซึ่งทุกข์ สมุทัย และนิโรธ
เห็นทุกข์โทษ เห็นภัย ในสิ่งนั้น
เห็นมรรคา ทางไป ให้แก่มัน
จิตก็พลัน สงบ พบความจริง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔...

97


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๕...

...ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ล้วนมีที่มาและ
มีที่ไป มีเหตุและปัจจัยในการเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ แล้วดับไป มีการเสื่อมสลาย
ไปตามกาลเวลา มิอาจจะตั้งอยู่ได้
นานตลอดไป บุคคลจึงควรทำใจ
ให้รับกับสภาพที่จะแปรเปลี่ยนไป
ทั้งหลายนั้นให้ได้ อย่าไปยึดติดกับ
สิ่งเหล่านั้นจนมากเกินไปกับภาพ
แห่งอดีตทั้งหลายที่ได้จดจำมา
เพราะกาลเวลานั้นได้ผ่านเลยไป
สิ่งทั้งหลายย่อมแปรเปลี่ยนตาม
ซึ่งเราไม่อาจห้ามไม่ให้มันเปลี่ยน
แปลงไปไม่ได้
...เพราะทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ย่อม
เป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์
คือความไม่เทียงแท้ ที่นำมาให้เกิด
ความทุกข์ทั้งหลาย เพราะไม่อาจจะ
เข้าไปยึดถือให้มันคงสภาพอยู่เช่นเดิม
ตลอดไปได้ เพราะทุกอย่างย่อมจะ
เปลี่ยนแปลงไป ไม่มากไม่น้อยตาม
ระยะเวลา...

...กาพย์ยานี ๑๑ กระทู้ธรรม...
...รวี..........ที่เคยร้อน
มาเย็นอ่อนเพราะแสงธรรม
...สัจจะ......ยังคงนำ
ในความคิดมิเปลี่ยนแปลง
...ผู้ที่.........เคยรู้จัก
ย่อมตระหนักในความแรง
...ลดละ......เมื่อพบแสง
ความสว่างในทางธรรม
...อัตตา......คือทิฏฐิ
ที่ดำริให้ตกต่ำ
...ความชั่ว...เข้าครอบงำ
เพราะตัณหานั้นพาไป
...ความเลว...ที่พลาดผิด
เกิดจากจิตที่หลงใหล
...ทั้งหลาย...เกิดจากใจ
ไม่มีธรรมมานำทาง
...ขอบคุณ...ศาสนา
ที่นำพาแสงสว่าง
...ธรรมะ......สอนละวาง
ออกจากห้วงแห่งวังวน
...ช่วยเตือน..จิตสำนึก
ความรู้สึกและเหตุผล
...สติ..........รู้ทั่วตน
ก้าวเดินไปในสายธรรม...
...รวีสัจจะผู้ที่ลดละอัตตา
ความชั่วความเลวทั้งหลาย...
...ขอบคุณธรรมะช่วยเตือนสติ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๔...

98


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๔...

...ธรรมทั้งหลายเป็นสัจธรรม แต่ที่ไม่เที่ยง
และไม่ใช่ตัวตน คือการปรับใช้ที่ต้องแปร
เปลี่ยนไป เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุและ
ปัจจัยที่เห็นและเป็นอยู่ ซึ่งถ้าเราไม่รู้จัก
ปรับใช้ให้เหมาะสมมันก็จะกลายเป็น
" สีลัพตปรามาส " คือการยึดถือในข้อวัตร
ที่เคร่งครัดสุดโต่งจนเกินไป กลายเป็นการ
ยึดถือเพราะอัตตา ซึ่งจะนำมา ซึ่งมานะทิฏฐิ
คือการถือตัวถือตนในโอกาสต่อไป
...พุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาของเหตุและผล
ซึ่งจะพิสูจน์ได้ด้วยการกระทำ ไม่ใช่ศาสนา
ที่เป็นเรื่องของศรัทธา ที่สอนให้เชื่อแต่เพียง
อย่างเดียว ซึ่งมีพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรง
แสดงไว้แก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม
คือ " กาลามสูตร " อันเป็นหลักแห่งความเชื่อ
ไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย โดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณา
ให้เห็นจริง ถึงคุณถึงโทษ มีประโยชน์หรือไม่มี
ประโยชน์ ดีหรือไม่ดีก่อนเชื่อ...
...มีหลายหลาก มากมาย หลายความคิด
เพราะต่างจิต ต่างใจ ในทุกที่
เมื่อหลายคน หลายเรื่อง จึงได้มี
ความพอดี พอประมาณ สานสัมพันธ์
...ต้องรู้เขา รู้เรา เอาทุกอย่าง
เป็นแนวทาง มาคิด จิตสร้างสรรค์
ให้สังคม อยู่ด้วย และช่วยกัน
ไม่แบ่งชั้น แบ่งกลุ่ม ให้กลุ้มใจ
...ปริสัญ ญุตา มาเป็นหลัก
คือรู้จัก ชุมชน เริ่มต้นใหม่
รู้บุคคล รู้จักที่ ว่าอย่างไร
ให้เข้าใจ บุคคล ในสังคม
... รู้นิสัย รู้ใจ รู้ความคิด
และรู้จิต รู้ใจ ให้เหมาะสม
ทำในสิ่ง ที่เขาชอบ และชื่นชม
ประสานสม สังคม เป็นหนึ่งเดียว
...ให้เกิดความ ร่วมแรง และร่วมใจ
ให้ทุกคน นั้นได้ มีส่วนเกี่ยว
ให้เกิดความ รักใคร่ และกลมเกลียว
อย่าโดดเดี่ยว เพราะถือตัว และถือตน
...เอาหลักธรรม นำมา ประกอบใช้
และให้ใจ ใฝ่ธรรม ไปทุกหน
ระลึกรู้ ตั้งใจ ไม่กังวล
คือฝึกฝน เอาธรรม มานำทาง
...ธรรมนั้นอยู่ คู่โลก มานานแล้ว
เอาเป็นแนว ให้เห็น เป็นแบบอย่าง
เพื่อฝึกจิต ฝึกใจ ให้ละวาง
ฝึกให้ว่าง จากอัตตา และตัวตน
...รู้จักโลก รู้จักธรรม นำมาใช้
ให้เป็นไป โดยชอบ ในกุศล
รู้จักโลก รู้จักธรรม แล้วทำตน
ให้หลุดพ้น จากโลก ที่วุ่นวาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๔...

99


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๓...

..." ชีวิตคือการทำงาน การทำงาน
คือส่วนหนึ่งของชีวิต " ชีวิตต้อง
ดำเนินไปตามกระแสของกรรม
ทุกคนเกิดมาต่างมีภาระหน้าที่
และบทบาทที่แตกต่างกัน ตามที่
กรรมเก่าได้จัดสรรมา เป็นไปตาม
เหตุและปัจจัย ซึ่งที่มานั้นเราไม่
สามารถที่จะแก้ไขได้ เพราะมันเป็น
เรื่องของอดีตที่ผ่านมาแล้ว
...แต่เรื่องราวในอนาคตนั้น เราสามารถ
ที่จะกำหนดได้ โดยการสร้างเหตุ
และปัจจัยในวันนี้ ดำเนินชีวิตไปตาม
บทบาทและหน้าที่ของเราที่มีให้
สมบูรณ์ ทำในสิ่งที่ไม่เป็นภัยต่อชีวิต
ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนศีลธรรม
กฎหมายและประเพณีที่ดีงาม
เดินตามอริยมรรคอันมีองค์๘
ตามสถานะและสภาวะของเรา
...การทำงานทุกอย่างนั้นคือการ
ปฏิบัติธรรม ถ้าเรามีสติและสัมปชัญญะ
ในการทำงาน " ทำงานทุกชนิดด้วย
จิตว่าง " คือคำกล่าวสอนของหลวงพ่อ
พุทธทาส ความว่างนั้นคือว่างจาก
อกุศลจิต ว่างจากอัตตา " ความเป็น
ตัวกูของกู " ดำเนินชีวิตทำงานไป
ตามมรรคองค์๘ ความเป็นสัมมา
ทั้งหลาย ชีวิตนั้นจึงไม่เคยว่าง
จากการทำงาน ทั้งทางกายและทางจิต
...ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจอยู่
ชีวิตนั้นไม่เคยว่างจากการงาน
" เป็นความว่างจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
แต่ไม่เคยว่างจากภารกิจและหน้าที่
ที่ต้องกระทำ ไม่เคยว่างจากการ
เจริญสติ แต่ว่างจากอกุศลจิตทั้งหลาย "...

๐ โลกยังกว้าง ทางยังไกล ให้เรียนรู้ ๐
...ออกรอนแรม ท่องไป ในโลกกว้าง
เห็นหลายอย่าง มากมาย ในโลกนี้
ทั้งที่เป็น ความชั่ว และสิ่งดี
ทุกอย่างมี ให้พบเห็น เป็นธรรมดา
...ทุกอย่างล้วน มีคุณ และมีโทษ
มีประโยชน์ ถ้าพินิจ และศึกษา
มองให้เห็น ที่ไป และที่มา
จะรู้ว่า ทุกสิ่งนี้ ล้วนมีคุณ
...อย่ารีบด่วน ตัดสินใจ ปฏิเสธ
ควรหาเหตุ วิเคราะห์ มาเกื้อหนุน
เอาเหตุผล มาพินิจ คิดเป็นทุน
ลองคิดหมุน กลับไป และกลับมา
...รู้ทั้งนอก ทั้งใน กายใจจิต
หมั่นพินิจ วิเคราะห์ และศึกษา
เสริมสร้างภูมิ ต้านทาน ทางปัญญา
ภาวนา เพิ่มสติ ใช้ตริตรอง
...อย่ารีบเชื่อ ทันที ที่ได้เห็น
มันจะเป็น งมงาย ไร้สมอง
ควรฝึกหัด ทบทวน และทดลอง
อย่าไปมอง ด้านเดียว มันไม่ดี
...ปฏิเสธ ทันที เสียโอกาส
อาจจะพลาด โอกาสไป ในทุกที่
เชื่อทันที ก็จะไม่ ส่งผลดี
ควรจะมี การวิเคราะห์ ใช้ปัญญา
...ควรฝึกหัด ตั้งโจทย์ เพื่อฝึกคิด
ควรตั้งจิต เป็นกลาง เมื่อศึกษา
มองหลายด้าน ให้เห็น ด้วยปัญญา
จงมองหา มองให้เห็น ความเป็นจริง
...ในปัญหา ทุกอย่าง มีทางออก
ถ้ารู้นอก รู้ใน และใจนิ่ง
เมื่อจิตว่าง ก็จะเห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง ล้วนเป็น เช่นนั้นเอง....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๔...

100


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๒...

...การดำเนินชีวิตในสังคมมนุษย์
อันกว้างใหญ่นั้น ย่อมจะมีความ
สัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อกัน
เพราะมนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม
เกี่ยวเนื่องกันตามบทบาทและ
หน้าที่ของแต่ละคนแต่ละสังคม
มีความสัมพันธ์กันตามสายโลหิต
เครือญาติ หน้าที่การงาน การศึกษา
ภาษาและท้องถิ่นที่อาศัย ซึ่งทำให้
คนเราต้องรู้จัก ต้องพบปะกัน
มีความสัมพันธ์กันในแต่ละสถานะ
เป็นเครือญาติพี่น้องกัน หรือเป็น
ครูบาอาจารย์และศิษย์ เป็นเจ้านาย
กับลูกน้อง เป็นผู้ปกครองและ
ผู้อยู่ใต้อำนาจการปกครอง
เป็นพวกพ้องเป็นเพื่อน หรือเป็น
คนรู้จักกัน มีความสัมพันธ์กัน
ในสังคม สมาคม ชมรมต่างๆ
และคำๆหนึ่ง ซึ่งเรามักจะได้ยิน
อยู่เสมอก็คือคำว่า"เป็นเพื่อนกัน"
ซึ่งคำว่าเพื่อนนั้นมีความหมายที่
ยิ่งใหญ่ เพราะหมายถึงกัลยาณมิตร
คือผู้ที่คิดและหวังดีต่อเรา จึงเหมาะ
ที่จะเรียกว่าเป็นเพื่อน เพราะถ้ามิใช่
" กัลยาณมิตร " แล้ว คงเป็นได้เพียง
" คนรู้จักกัน " หรือ " คนคุ้นเคยกัน "
เป็นได้เพียงเท่านั้น
...เราคงจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า
" มีอะไรให้ผมรับใช้ บอกได้เลย "
หรือ " มีปัญหาอะไรบอกผมได้ "
จากคนที่รู้จักกันอยู่เสมอ ซึ่งมักจะ
เป็นคำพูดในธรรมเนียมปฏิบัติตาม
มารยาทของคนที่พึ่งจะรู้จักกัน
แต่ในความเป็นจริงนั้น เมื่อในยาม
ที่มีปัญหาเกิดขึ้นมาจริงๆแล้ว
มีน้อยมากที่จะพึ่งพาอาศัยได้
ในยามที่เราล้มเหลว ผิดพลาด
หมดอำนาจวาสนาบารมี ไม่มีสมบัติ
ทรัพย์สินฐานะทางสังคมแล้ว
ไม่มีผลประโยชน์ต่อเขาแล้ว
คำพูดที่เขาได้เคยกล่าวไว้ก็
ลืมหายไป ดั่งคำโบราณที่กล่าว
ไว้ว่า....
"เมื่อมั่งมี มิตรมากมาย มุ่งหมายมอง
เมื่อมัวหมอง มิตรมอง เหมือนหมูหมา
เมื่อมอดม้วย มิตรเมิน ไม่มองมา
แม้นมวลมิตร หมูหมา ไม่มามอง"
...แต่ในวิกฤตนั้นย่อมมีโอกาส ในยาม
ที่เรายากไร้หมดอำนาจวาสนาบารมี
มีความผิดพลาดและล้มเหลว เป็นช่วง
เวลาแห่งการพิสูจน์มิตรแท้ พิสูจน์
คำว่าเพื่อน ว่าจะมีใครบ้างที่ยังยืน
เคียงข้างไม่ทอดทิ้งเรา คอยช่วยเหลือ
และปลอบขวัญให้กำลังใจเรา จะมีใคร
สักกี่คนที่ยังเหลืออยู่และเหมาะสม
กับคำว่า " เพื่อน "...

...ทุกอย่างเริ่มต้นที่จิต....
...เรียงร้อย ถ้อยคำ นำกล่าว
เรื่องราว ชีวิต เขียนไว้
เหตุการณ์ ที่ได้ ผ่านไป
แก้ไข ให้ได้ ใจความ
... ใคร่ครวญ ทบทวน นึกคิด
ถูกผิด อย่าได้ มองข้าม
เฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าตาม
ทุกยาม สติ ต้องมี
... สติ ระลึก นึกรู้
ตามอยู่ กับกาย ใจนี้
สติ ที่ฝึก มาดี
บ่งชี้ ในสิ่ง ที่ทำ
... หิระ และโอต-ตัปปะ
ธรรมะ มีค่า เลิศล้ำ
เป็นสิ่ง ที่ควร กระทำ
ตอกย้ำ ถึงความ เป็นคน
... ยอมรับ ในสิ่ง พลาดผิด
ค้นคิด หาซึ่ง เหตุผล
อย่าคิด เข้าข้าง ฝ่ายตน
ฝึกค้น เป็นกลาง วางใจ
...วางใจ นั้นให้ เป็นกลาง
ทุกอย่าง นั้นควร คิดใหม่
ปรับเปลี่ยน ความคิด ภายใน
เปลี่ยนใจ มองโลก แง่ดี
...อย่าโทษ ผู้อื่น ว่าผิด
มองจิต มองกาย เรานี้
ยอมรับ ในสิ่ง ที่มี
ชั่วดี อยู่ที่ เราทำ
...ทุกอย่าง ล้วนเกิด จากจิต
อย่าให้ ความคิด ใฝ่ต่ำ
กิเลส ตัณหา ครอบงำ
จะนำ ไปสู่ อบาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๔...

101


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๑...

..." ดูก่อน สุภัทธะ ในธรรมวินัยนี้
ถ้ายังมีมรรค อันประกอบด้วย
องค์ ๘ อยู่ตราบใด แม้พระโสดาบัน
พระสกิทาคามี พระอนาคามีและ
พระอรหันต์ก็ยังมีอยู่ตราบนั้น
ถ้าภิกษุทั้งหลายพากันประพฤติ
ปฏิบัติอยู่โดยชอบ โลกนี้ก็ไม่ว่าง
จากพระอรหันต์ "...

...การปฏิบัติธรรมนั้นคือการทำหน้าที่
ของตนเองให้ดีที่สุด ให้สมบูรณ์ที่สุด
โดยมีสติและสัมปชัญญะที่เป็น
สัมมาทิฏฐิคุ้มครองอยู่ มีการระลึกรู้
และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ทุกขณะจิต
พยายามน้อมจิตให้เป็นกุศลธรรม
เป็นไปทั้งเพื่อประโยชน์ตนและ
ประโยชน์ท่าน การทำงานนั้นจึงเป็น
การปฏิบัติธรรม คือทำให้เหมาะสมกับ
สถานะและสภาวะของตน ตามบทบาท
และหน้าที่ ที่ตนนั้นมีอยู่
...ปัญหาของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
ที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ การไม่รู้จักบทบาท
และหน้าที่ของตนเอง สิ่งที่ตนเองนั้น
ควรกระทำ มันจึงทำให้บกพร่องใน
บทบาทและหน้าที่ของตน เรียกว่า
ธรรมนั้นไม่สัปปายะ คือเลือกธรรมมา
ปฏิบัติไม่เหมาะสมกับตน เป็นฆราวาส
ผู้ครองเรือน แต่อยากจะปฏิบัติให้
เหมือนพระ ทำให้บทบาทและหน้าที่
ของการเป็นสามี ภรรยานั้นบกพร่องไป
หรือทำให้หน้าที่การงานนั้นเสียหายไป
...ธรรมะที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัส
สอนไว้นั้น มีหลายขั้นหลายตอน
ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
เพื่อให้สอดคล้องกันทั้งในทางโลก
และในทางธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกัน
โดยสันติสุข ตามกำลังของแต่ละคน
ที่สะสมอบรมมา " ธรรมะนั้นมีมากมาย
ประดุจใบประดู่ลายทั้งราวป่า แต่ตถาคต
มีเวลาที่จะเอามาชี้นำ เพียงกำมือเดียว "
คือความเป็น " อนัตตา " ของธรรม
ทั้งหลายทั้งปวง แปรเปลี่ยนไปเพื่อ
ความเหมาะสม ตามจังหวะ เวลา
โอกาส สถานที่ บุคคล เป็นไปตาม
เหตุและปัจจัยในขณะนั้น อย่างเช่น
ไตรสิกขา ๓ สำหรับประชาชนคนทั่วไป
อันได้แก่ ทาน ศีล ภาวนาหรือ
ฆราวาสธรรม ๔ ธรรมะสำหรับ
ฆราวาสผู้ครองเรือน อันได้แก่ สัจจะ
ทมะ ขันติ จาคะ ซึ่งมีให้ศึกษามา
ในพระไตรปิฎก
...ฉะนั้นการเลือกเฟ้นธรรม ที่จะนำมา
ปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาวะสถานะ
ของตนนั้น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะ
ทำให้ท่านผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
ไม่หลงประเด็น" ไม่เป็นภัยต่อชีวิต
ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนศีลธรรม
อันดีงาม เป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วย
กุศล เป็นมงคลต่อชีวิตและสังคม "
นั่นคือสิ่งที่ควรจะศึกษาและนำมา
ปฏิบัติ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะ
และสถานะของตน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๙ ธันวาคม ๒๕๖๔...

102


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๐...

...ธรรมทั้งหลายเป็นสัจธรรม แต่ที่ไม่เที่ยง
และไม่ใช่ตัวตน คือการปรับใช้ที่ต้องแปร
เปลี่ยนไป เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุและ
ปัจจัยที่เห็นและเป็นอยู่ ซึ่งถ้าเราไม่รู้จัก
ปรับใช้ให้เหมาะสมมันก็จะกลายเป็น
" สีลัพตปรามาส " คือการยึดถือในข้อวัตร
ที่เคร่งครัดสุดโต่งจนเกินไป กลายเป็นการ
ยึดถือเพราะอัตตา ซึ่งจะนำมา ซึ่งมานะทิฏฐิ
คือการถือตัวถือตนในโอกาสต่อไป
...พุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาของเหตุและผล
ซึ่งจะพิสูจน์ได้ด้วยการกระทำ ไม่ใช่ศาสนา
ที่เป็นเรื่องของศรัทธา ที่สอนให้เชื่อแต่เพียง
อย่างเดียว ซึ่งมีพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรง
แสดงไว้แก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม
คือ " กาลามสูตร " อันเป็นหลักแห่งความเชื่อ
ไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย โดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณา
ให้เห็นจริง ถึงคุณถึงโทษ มีประโยชน์หรือไม่มี
ประโยชน์ ดีหรือไม่ดีก่อนเชื่อ...
...มีหลายหลาก มากมาย หลายความคิด
เพราะต่างจิต ต่างใจ ในทุกที่
เมื่อหลายคน หลายเรื่อง จึงได้มี
ความพอดี พอประมาณ สานสัมพันธ์
...ต้องรู้เขา รู้เรา เอาทุกอย่าง
เป็นแนวทาง มาคิด จิตสร้างสรรค์
ให้สังคม อยู่ด้วย และช่วยกัน
ไม่แบ่งชั้น แบ่งกลุ่ม ให้กลุ้มใจ
...ปริสัญ ญุตา มาเป็นหลัก
คือรู้จัก ชุมชน เริ่มต้นใหม่
รู้บุคคล รู้จักที่ ว่าอย่างไร
ให้เข้าใจ บุคคล ในสังคม
... รู้นิสัย รู้ใจ รู้ความคิด
และรู้จิต รู้ใจ ให้เหมาะสม
ทำในสิ่ง ที่เขาชอบ และชื่นชม
ประสานสม สังคม เป็นหนึ่งเดียว
...ให้เกิดความ ร่วมแรง และร่วมใจ
ให้ทุกคน นั้นได้ มีส่วนเกี่ยว
ให้เกิดความ รักใคร่ และกลมเกลียว
อย่าโดดเดี่ยว เพราะถือตัว และถือตน
...เอาหลักธรรม นำมา ประกอบใช้
และให้ใจ ใฝ่ธรรม ไปทุกหน
ระลึกรู้ ตั้งใจ ไม่กังวล
คือฝึกฝน เอาธรรม มานำทาง
...ธรรมนั้นอยู่ คู่โลก มานานแล้ว
เอาเป็นแนว ให้เห็น เป็นแบบอย่าง
เพื่อฝึกจิต ฝึกใจ ให้ละวาง
ฝึกให้ว่าง จากอัตตา และตัวตน
...รู้จักโลก รู้จักธรรม นำมาใช้
ให้เป็นไป โดยชอบ ในกุศล
รู้จักโลก รู้จักธรรม แล้วทำตน
ให้หลุดพ้น จากโลก ที่วุ่นวาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม....
...๘ ธันวาคม ๒๕๖๔...

103


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๙...

...ในแต่ละวันที่ผ่านพ้นไปนั้น
จะทบทวนใคร่ครวญพิจารณา
ย้อนกลับไป เริ่มจากตั้งแต่
ตื่นนอนมาจนกระทั้งจะนอนใหม่
ว่าเราได้ทำอะไรมาบ้าง อารมณ์
ความรู้สึกเป็นอย่างไร เวลาที่
ผ่านไปใจเราเป็นกุศลหรืออกุศล
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิต
แปรเปลี่ยนไปทั้งในทางกุศล
และอกุศล ให้คะแนนความ
ประพฤติในแต่ละวันที่ผ่านมา
เพื่อให้เห็นความก้าวหน้าหรือว่า
ความเสื่อมของตัวเรา เพื่อรักษา
ไว้ซึ่งความเพียรของเรา
ความเพียรทั้ง ๔ ประการอันได้แก่...
๑.เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นใน
จิตของเรา เรียกว่า"สังวรปธาน"
๒.เพียรพยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
ในจิตของเรา เรียกว่า"ปหานปธาน"
๓.เพียรพยายามทำให้กุศลเกิดขึ้น
ในความคิดในจิตของเรา เรียกว่า
"ภาวนาปธาน"
๔.เพียรพยายามรักษากุศลที่เกิดขึ้น
แล้วในความคิดในจิตของเราไม่ให้
เสื่อมไป เรียกว่า"อนุรักขนาปธาน"
....เป็นความเพียรในมรรคองค์แปด
ที่เรียกว่า"สัมมาวายาโม" คือความ
เพียรชอบ สิ่งนี้เราได้ทำแล้วและจะ
กระทำต่อไป เพื่อให้ทรงไว้ซึ่งความ
เจริญในธรรม....
...แด่ความเคลื่อนไหวที่ทำให้ได้คิด
และได้พิจารณาในธรรม...
...กายพร้อมจิตพร้อม แล้วน้อมเข้าสู่ธรรม...
๐ จงดูกาย ดูจิต พร้อมดูธรรม
ดูแล้วนำ มาคิด วินิจฉัย
ดูให้เห็น ในสิ่ง ที่เป็นไป
ให้เข้าใจ ในสิ่ง ที่เป็นมา
๐ มองหาเหตุ ปัจจัย มองให้เห็น
สิ่งที่เป็น บ่อเกิด ของปัญหา
ใช้ความคิด ใช้สติ ใช้ปัญญา
จงมองหา มองให้เห็น ความเป็นจริง
๐ ชีวิตนี้ ย่อมมี อุปสรรค
เป็นตามหลัก เปลี่ยนไป ในทุกสิ่ง
อนิจจา ไม่เที่ยง คือความจริง
สรรพสิ่ง ย่อมผันแปร ไม่แน่นอน
๐ เมื่อมีได้ ก็ย่อม จะมีเสีย
เมื่ออ่อนเพลีย ควรตั้งหลัก หยุดพักผ่อน
ให้จิตใจ เข้มแข็ง และแน่นอน
แล้วค่อยย้อน มาแก้ไข ทำให้จริง
๐ การกดดัน ตนเอง เกรงจะเสีย
กายอ่อนเพลีย และใจ ที่ไม่นิ่ง
จะทำให้ ไม่เห็น ความเป็นจริง
มองทุกสิ่ง ไม่ชัด เพราะอัตตา
๐ ทุกปัญหา มีทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ยอมละ ซึ่งตัณหา
ความอยากมี อยากได้ เพราะโลภา
คือตัณหา ความโลภ เข้าครอบงำ
๐ เมื่อไม่ยอม เสียสละ ก็ละยาก
ต้องลำบาก ทำชีวิต ให้ตกต่ำ
ก่อให้เกิด จองเวร และจองกรรม
บุญไม่ทำ กรรมจึงเกิด ขึ้นแก่ตน
๐ เพราะตัณหา อัตตา และมานะ
ที่ไม่ละ ไม่วาง จึงให้ผล
ต้องกลุ้มใจ ไร้สุข ต้องทุกข์ทน
นั้นคือผล ของกรรม ที่ทำมา
๐ " ความพอดี พอเพียง เลี้ยงชีวิต
รู้ถูกผิด ในกิเลส และตัณหา
รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ด้วยปัญญา
จะนำพา ชีวิต ให้รุ่งเรือง "...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๗ ธันวาคม ๒๕๖๔...

104


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๘...

...บุคคลส่วนใหญ่ไปติดยึดในรูปแบบ
จนเกินไป จึงทำให้คิดว่าการปฏิบัติธรรม
นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ต้องมีเวลาว่าง
ต้องไม่มีภาระอะไร ต้องไปอยู่วัดถือศีล
นุ่งขาวห่มขาวต้องไปไหว้พระสวดมนต์
เดินจงกรมนั่งสมาธิ จึงจะเป็นการ
ปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นการเข้าใจที่
คลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้องไปทั้งหมด
เพราะว่าไปจดจำเอาสิ่งที่ได้รับรู้และ
สิ่งได้เห็นมา โดยไม่ได้พิจารณาและ
ศึกษาว่าการปฏิบัติธรรมนั้นทำได้
อย่างไรบ้าง...

...คนเหมือนกัน แต่ต่างกัน ที่ความคิด
เพราะว่าจิต พื้นฐาน นั้นแตกต่าง
และมีจุด เริ่มต้น คนละทาง
เกิดช่องว่าง ระหว่างจิต คิดต่างกัน
...ในความเห็น นั้นอาจ จะแตกต่าง
แต่มีทาง ที่จะร่วม สมานฉันท์
แสวงหา ซึ่งจุดร่วม มารวมกัน
จุดต่างนั้น สงวนไว้ ไม่ล้ำกัน
...ควรอ่อนน้อม ถ่อมตน ให้คนรัก
ควรรู้จัก การผูกจิต คิดสร้างสรรค์
ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมแบ่งปัน
สิ่งเหล่านั้น จะผูกมิตร และจิตใจ
...คนโบราณ กล่าวไว้ ให้น่าคิด
คนจะงาม งามที่จิต จึงสดใส
คนจะรวย ก็รวยที่ มีน้ำใจ
คนจะแก่ ใช่แก่วัย มีปัญญา
...สิ่งเหล่านั้น เราท่าน ต่างก็รู้
พบเห็นอยู่ แต่ไม่คิด ถึงเนื้อหา
เพียงผ่านหู ผ่านใจ และผ่านตา
ไม่นำมา พินิจ และคิดตาม
...คนมากมาย ที่รู้ธรรม และเห็นธรรม
แต่ไม่นำ ปฏิบัติ เพราะมองข้าม
เพียงแต่รู้ เพียงแต่เห็น แต่ไม่ตาม
เกิดคำถาม ว่าทำไม ไม่เจริญ
...ไม่เจริญ ในธรรม เพราะจำได้
รู้กันไป แต่ไม่ทำ ก็เคอะเขิน
รู้ท่วมหัว แต่ทำตัว ไม่เจริญ
เพราะรู้เกิน และรู้มาก จึงยากนาน
...รู้อะไร ก็ไม่สู้ เท่ารู้จิต
รู้ความคิด ทั้งดีชั่ว รู้แก่นสาร
รู้จังหวะ รู้เวลา รู้เหตุการณ์
รู้ด้วยญาณ นิมิต จิตถึงธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๖ ธันวาคม ๒๕๖๔...

105


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๗...

...“ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น
มันอยู่ที่ทุกคนจะคิดและทำหรือไม่
อย่าได้น้อยใจและโทษวาสนาบารมี
กล่าวโทษว่าตัวเรานั้นไม่ดีไม่มีอำนาจ
วาสนา เพราะว่าการกระทำอย่างนั้น
เท่ากับการสาปแช่งตัวเอง ขาดความ
ศรัทธาเชื่อมั่นในการกระทำของตนเอง
ซึ่งมันจะทำให้ มีแต่ความเสื่อมถอย
ไม่มีความเจริญรุ่งเรื่องขึ้นไปได้เลย ”...
... "ความเบื่อกับความอยากเป็นของคู่กัน"
เมื่อความอยากเกิดขึ้น จิตก็ดิ้นรนขวนขวาย
หาเหตุและปัจจัยมาสนองตอบความอยาก
ถ้าสนองตอบตัณหาความอยากได้ จิตก็ยินดี
ถ้าไม่ได้ตามที่ปรารถนา จิตมันก็เกิดปฏิฆะ
และเมื่อเสพในความอยากนั้นจนเต็มที่แล้ว
จิตมันก็จะเบื่อในอารมณ์นั้น ความอยากใน
สิ่งอื่นก็เข้ามาแทนที่มันเป็นเช่นนี้เรื่อยมา
คือ อยากๆเบื่อๆแล้วก็เบื่อๆอยากๆ ตาม
กำลังกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของ
อารมณ์ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้
ชีวิตของเราก็จะไม่มีความสุข เพราะเราต้อง
ดิ้นรนขวนขวาย สร้างเหตุหาปัจจัยมาเพื่อ
สนองตอบตัณหาไม่สิ้นสุด...
....โลกและธรรม นำชี้ บทชีวิต
ก่อเกิดกิจ เกื้อหนุน เป็นบุญค้ำ
สิ่งที่คิด สิ่งที่เห็น นั้นเป็นธรรม
เป็นประจำ ในชีวิต คิดใคร่ครวญ
....เพราะธรรมะ นั้นคือ ธรรมชาติ
ตามโอกาส และจังหวะ ตามสัดส่วน
สิ่งที่ทำ สิ่งที่คิด กิจที่ควร
ทุกสิ่งล้วน คือธรรม ตามความจริง
....ธรรมะนั้น อยู่ใกล้ ในชีวิต
ถ้าหากจิต ของเรา นั้นหยุดนิ่ง
ก็จะรู้ และเห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง ล้วนคือธรรม ที่นำพา
....คือความจริง ทั้งหลาย ในโลกนี้
สิ่งที่มี สิ่งที่เห็น ได้ศึกษา
คือความจริง ใช่สิ่งหลอก โลกมายา
หลักธัมมา ธรรมชาติ ที่เป็นไป
....มันคือกฎ ของโลก ที่เป็นอยู่
มันเป็นคู่ กันมา ทุกสมัย
โลกและธรรม คู่กัน นั้นเรื่อยไป
เกิดจากใจ จากจิต ที่คิดจริง
....เมื่อใจรับ ความเป็นจริง สิ่งทั้งหลาย
พบความหมาย ในชีวิต สรรพสิ่ง
ก็จะเห็น โลกธรรม ตามความจริง
สรรพสิ่ง มันก็เป็น เช่นนั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต..
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๕ ธันวาคม ๒๕๖๔...

106


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๖...

...โพชฌงค์ ๗ (องค์ปัญญาตรัสรู้)
อันประกอบด้วย..
๑.สติ...การระลึกรู้
๒.ธัมมวิจยะ...การเลือกเฟ้นธรรม
๓.วิริยะ...ความเพียรพยายาม
๔.ปิติ...ความเอิบอิ่ม
๕.ปัสสัทธิ...ความสงบอิ่มใจ
๖.สมาธิ...ความตั้งใจมั่น
๗.อุเบกขา...วางเฉยอย่างมีสติกำกับ
....สติ....
๐ สติระลึกรู้ การตั้งอยู่ของกายใจ
สิ่งที่ได้ทำไป จงครวญใคร่ระลึกตาม
ถูกผิดคิดรอบคอบ สิ่งใดชอบจึงทำการ
เตือนตนตลอดกาล ให้ชำนาญอย่าหลงลืม...
....ธัมมวิจยะ....
๐ ธัมมวิจยะ เลือกธรรมะให้เหมาะสม
อย่าตามค่านิยม ของสังคมที่เห่อกัน
เหมาะสมกับจริต และดวงจิตศรัทธามั่น
ก้าวหน้าทุกคืนวัน ธรรมะนั้นเหมาะกับเรา...
....วิริยะ....
๐ ความเพียรวิริยะ ไม่ปล่อยปละศรัทธามั่น
ทำอยู่ทุกคืนวัน ศรัทธามั่นเร่งความเพียร
เพียรชอบประกอบกิจ อย่าให้จิตนั้นผิดเพี้ยน
ศึกษาและเล่าเรียน ให้แนบเนียนเพียรใฝ่ดี...
.....ปีติ.....
๐ เมื่อจิตนั้นสงบ ก็จะพบกับปิติ
เกิดจากสมาธิ และดำริกุศลธรรม
เอิบอิ่มในอารมณ์ ได้ชื่นชมบุญหนุนนำ
สดชื่นในทางธรรม กุศลกรรมนำทางดี...
.....ปัสสัทธิ....
๐ ผ่านพ้นจากปิติ ปัสสัทธิย่อมตามมา
อิ่มใจสุขอุรา มีธัมมาคุ้มครองใจ
อิ่มใจในความสุข ไม่มีทุกข์จิตแจ่มใส
นิ่งอยู่ ณ ภายใน เอิบอิ่มใจในธัมมา...
.....สมาธิ.....
๐ เอิบอิ่มแล้วสงบ ก็จะพบสมาธิ
จิตนั้นหยุดดำริ มีสติคุ้มกายา
ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว สงบในจิตวิญญา
สติเป็นสัมมา จะนำพาไม่ผิดทาง...
....อุเบกขา....
๐ จิตมีอุเบกขา หยุดไขว้คว้าแล้ววางเฉย
สติไม่ละเลย เพราะวางเฉยด้วยปัญญา
วางเฉยละปรุงแต่ง จิตไม่แกว่งแสวงหา
รู้เห็นด้วยปัญญา องค์ธัมมาสัมโพชฌงค์...
...แด่การพิจารณาโพชฌงค์ ๗ องค์ปัญญาตรัสรู้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๔ ธันวาคม ๒๕๖๔...

107


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๕...

...โศลกธรรมนำสู่บทกวี...
...เมื่อน้ำนั้นนิ่งใส ก็จะเห็นสิ่งที่
อยู่ภายในนั้นชัดเจน
แต่ถ้าน้ำนั้นยังกระเพื่อมอยู่
ก็เห็นได้ไม่ชัดเจน
เปรียบกับจิตที่สงบนิ่งเป็นหนึ่ง
หยุดนิ่งย่อมรู้หมด มีอะไรรู้หมด
เห็นกายเห็นจิตของตนเองได้แล้ว
ก็ย่อมจะรู้และเข้าใจในกาย
และจิตของผู้อื่นเช่นกัน ...
๐ น้อมธรรม นำมา พินิจ
ทำจิต ของเรา ให้ว่าง
เอาธรรม มาเป็น แนวทาง
เพื่อสร้าง ผลงาน กวี
๐ ธรรมะ เกิดขึ้น ในจิต
ลิขิต ตามธรรม นำชี้
เรียบเรียง อักษร วลี
ตามที่ รู้เห็น เข้าใจ
๐ น้อมจิต พินิจ ในธรรม
ดื่มด่ำ ธรรมะ ลื่นไหล
โศลก แห่งธรรม นำไป
รู้ได้ ด้วยธรรม นำพา
๐ ความจำ ใต้จิต สำนึก
ส่วนลึก ถูกปลุก ขึ้นมา
ก่อเกิด กำลัง ศรัทธา
ที่มา ของบท กวี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๓ ธันวาคม ๒๕๖๔...

108


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๔...

...ในการที่จะเผยแผ่ธรรมะนั้น
เราต้องศึกษาทำความเข้าใจกับ
ชุมชนที่เราอยู่อาศัยและชุมชนที่
เราจะไป อย่าได้เข้าไปทำลายลบล้าง
ความเชื่อหรือประเพณีที่เขาเคยมี
เคยกระทำมาในทันทีอย่างที่สุภาษิต
โบราณที่ท่านว่า..." อย่าหักด้ามพร้า
ด้วยหัวเข่า "เพราะเราจะได้รับ
การต่อต้านและความรู้สึกที่เป็น
อคติจากชุมชนนั้นๆ
...เราต้องสร้างความคุ้นเคย ความศรัทธาให้เขาเชื่อถือและยอมรับ
ในตัวเราเสียก่อน พยายามสอดแทรกธรรมะเข้าไปโดยที่เขาไม่รู้ตัว
ว่ากำลังถูกสอน ซึ่งต้องใช้ความ
อดทนและความพยายามในการ
กระทำเป็นอย่างสูง...
...ถนนแห่งชีวิต...
...ถนน...
คือเส้นทางที่นำไปสู่จุดหมาย
มีอยู่มากมายหลายเส้นทาง
ให้คุณเลือกใช้ในการเดินทาง
มันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือก
ว่าคุณจะใช้เส้นทางไหนในการเดินทาง
เพราะทุกอย่างนั้นมันขึ้นอยู่กับใจคุณ
...ถนน...
แต่ละสายนั้นแตกต่างกัน
ตรงบ้างโค้งบ้างกว้างบ้างแคบบ้าง
สภาพสองข้างทางนั้นแตกต่างกัน
อยู่ที่เรานั้นจะเก็บเกี่ยวเรื่องราว
นำมาบอกเล่าเป็นตำนานของการเดินทาง
ทุกก้าวย่างอย่าให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
...ถนน....
คือเส้นทางแห่งชีวิต
ที่คุณลิขิตชีวิตให้ก้าวเดิน
ซึ่งคุณนั้นสามารถจะเลือกเดินได้
อย่าให้ผู้อื่นมากำหนดอนาคตของคุณ
อย่าเอาชีวิตไปผูกติดกับความคิดของผู้อื่น
จงมีความศรัทธาและเชื่อมั่นในตัวของคุณเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒ ธันวาคม ๒๕๖๔...

109


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๓...

...หลวงพ่อพุทธทาสท่านกล่าวไว้ว่า
ชีวิตคือการทำงาน เพราะการทำงาน
อย่างมีสตินั้นคือการปฏิบัติธรรม
น้อมนำเอาคำสอนนั้นมาปฏิบัติ
ในชีวิตประจำวัน ดำเนินชีวิตด้วย
การทำงานทั้งทางภายนอกและ
ภายใน ควบคุมกายใจด้วยสติ
และสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา
พิจารณาให้เห็นความเป็นจริง
ของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ทำใจให้
ยอมรับกับสภาพแห่งความเป็นจริง
ในสิ่งเหล่านั้น เมื่อใจรับได้เพราะรู้
และเข้าใจในความเป็นไปของ
สิ่งเหล่านั้น เห็นที่มาที่ไปเห็นเหตุ
และปัจจัยของสิ่งทั้งหลายที่กำลัง
เกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อละวางมันได้
ความทุกข์เพราะความกังวลทั้งหลาย
ก็หายไปสิ้นไป
...อดีตคือความทรงจำที่ผ่านมา
ปัจจุบันคือความเป็นจริงสิ่งที่
กำลังตั้งอยู่ อนาคตคือความฝัน
และจินตนาการเป็นสิ่งที่ยัง
ไม่เกิดขึ้น คือคำพูดและโวหาร
ในเชิงกวีที่ได้กล่าวกันมาแต่โบราณ
แต่ในความเป็นจริงในชีวิตนั้น
...จงทำจิตให้หยุดคิดสงบนิ่ง
แล้วขจัดความคิดอกุศลสิ่งที่
เป็นขยะของอารมณ์ออกไป
คงเหลือไว้แต่สิ่งที่เป็นกุศล
สิ่งที่ดีมีสาระและมีประโยชน์
สิ่งที่ไม่เป็นทุกข์ เป็นภัยและ
เป็นโทษต่อกุศลทั้งหลาย เพื่อให้
มีความเจริญในกุศลธรรมเพิ่มพูน
ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑ ธันวาคม ๒๕๖๔...

110


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๒...

...ก่อนที่จะให้บุคคลอื่นมาศรัทธา
ในตัวของเรานั้น จงมองย้อนกลับ
มาที่ตัวของเรา ว่าตัวของเรานั้น
มีอะไรที่จะให้บุคคลอื่นเขาศรัทธา
แล้วหรือไม่และเรานั้นศรัทธาในตัว
ของเราแล้วหรือยัง มีอะไรบ้างที่เรา
ได้สร้างไว้กระทำไว้ ให้เป็นอนุสรณ์
เตือนใจ ให้คนรุ่นหลังระลึกถึงคุณงาม
ความดีในสิ่งที่เรานั้นได้ทำไว้และ
สังคมทั่วไปยอมรับศรัทธาในสิ่งนั้น
ไม่ใช่การคิดเข้าข้างตนเองว่าสิ่งที่
เราได้ทำไปนั้นมันมีคุณค่า แต่สังคม
ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ตัดสินในสิ่งนั้น...
...ในส่วนลึกของจิตของทุกคนนั้น
ล้วนแต่อยากจะเป็นคนดี อยากจะทำ
ความดี แต่คนส่วนใหญ่ได้แต่คิด
แต่ไม่กล้าที่จะทำ เพราะว่าขาด
ความมั่นใจและความศรัทธาใน
ตนเอง จึงต้องให้มองย้อนกลับไป
ว่าในชีวิตที่ผ่านมานั้น มีอะไรบ้าง
ที่เราได้ทำลงไปและสิ่งนั้นมันเป็น
ความภาคภูมิใจของเรา เมื่อเราได้
คิดถึงสิ่งนั้นครั้งใดทำให้ใจเรามี
ความสุขและมีความภาคภูมิใจ
สิ่งที่คิดนั้นคือการปลุกศรัทธา
ความเชื่อมั่นให้กับตัวเรา...

...เพียงแสงเทียนที่ส่องทาง...

๐ เป็นเพียงเทียน แท่งหนึ่ง ซึ่งส่องแสง
ไม่คิดแข่ง เทียบเคียง พระอาทิตย์
แสงสว่าง เพียงรำไร อยู่น้อยนิด
แด่มวลมิตร ระหว่างทาง ที่ย่างเดิน

๐ เพราะศรัทธา เชื่อมั่น จึงฟันฝ่า
มอบให้มา จากใจ ไม่ห่างเหิน
กวีธรรม นำใจ ให้เพลิดเพลิน
ขอชวนเชิญ มาร่วมสร้าง เส้นทางธรรม

๐ หนึ่งแรงเทียน แสงนั้น อาจจะน้อย
แต่ถ้าร้อย แรงเทียน มีค่าล้ำ
มาร่วมจิต ร่วมคิด และร่วมทำ
กุศลกรรม ให้ชีวิต มีทิศทาง

๐ ความร่วมมือ ร่วมแรง และร่วมใจ
จะทำให้ โลกมี แสงสว่าง
ลบความมืด ความคิด ที่ผิดทาง
เป็นแบบอย่าง ให้เห็น เป็นของจริง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

111


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๑...

๐ ธรรมจากหลวงพ่อชาแห่งวัดหนองป่าพง ๐
" เราเคยเรียนธรรมะในกระดาษ
รู้ธรรมะตามกระดาษ สอบความรู้
ในกระดาษและท่านก็รับรองความรู้
ด้วยกระดาษ ซึ่งเราเคยผ่านมาแล้ว
เมื่อเรามาปฏิบัติก็จะทราบได้เอง
ว่า ธรรมะที่เกิดจากสัญญา (เรียน
จำได้) กับธรรมะที่เกิดจากการภาวนา
มันต่างกันมากอยู่ มันมีความหมาย
ละเอียดต่างกัน...
...มันเหมือนกับคนหนึ่งมีรูปม้า
หลายๆแผ่น อีกคนหนึ่งมีม้าอยู่
ตัวเดียว ถึงคราวออกเดินทาง
คนที่มีม้าตัวเดียวยังดีกว่าคนที่
มีรูปม้าหลายแผ่น เพราะอันหนึ่ง
มันใช้ได้ อันหนึ่งใช้ไม่ได้ เรื่องนี้
ผู้มาประพฤติปฏิบัติย่อมรู้เองได้
ไม่ใช่เรื่องบอกกัน "...

...กวีธรรมชี้ทางสร้างกุศล...
...เป็นไปตาม วิถี แห่งชีวิต
นั้นคือกิจ ที่ทำ ตามวิถี
ตามจังหวะ โอกาส ที่พึงมี
ทำหน้าที่ ของเรา ให้สมบูรณ์
...ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง
เป็นแนวทาง วางไว้ ไม่เสื่อมสูญ
ตามสติ กำลัง ให้เพิ่มพูน
เพื่อเกื้อกูล ธรรมวินัย ใจศรัทธา
...ทำหน้าที่ ของตน ให้ถูกต้อง
เปลี่ยนมุมมอง ความคิด จิตค้นหา
รักษาจิต รักษาใจ ใช้ปัญญา
หมั่นศึกษา ธรรมวินัย ใจใฝ่ธรรม
...มีสติ ระลึกรู้ อยู่ทั่วพร้อม
และไม่น้อม นำจิต คิดใฝ่ต่ำ
สิ่งไม่ดี ทั้งหลาย อย่าไปทำ
อย่าถลำ ในทางชั่ว ด้วยมัวเมา
...จงมีความ ละอายใจ ในสิ่งผิด
ไม่ควรคิด ปรุงแต่ง อย่างโง่เขลา
ทำร่างกาย จิตใจ ให้โล่งเบา
จงเก็บเอา แต่สิ่งดี ที่มีคุณ
...จงภูมิใจ ในสิ่งดี ที่ได้สร้าง
บนหนทาง ผ่านมา ได้เกื้อหนุน
จงมีใจ เมตตา เกื้อการุญ
จงสร้างบุญ สิ่งกุศล บนหนทาง
...ทำชีวิต วันนี้ ให้มีค่า
วันข้างหน้า อาจไม่มี ที่จะสร้าง
ชีวิตนี้ อาจไม่ยาว อย่างที่วาง
จงรีบสร้าง รีบทำ กรรมที่ดี
...สร้างคุณค่า ราคา ให้ชีวิต
นั่นคือกิจ ที่ต้องทำ ในวันนี้
บุญกุศล คือหนทาง สร้างความดี
ชีวิตนี้ คุณมี แล้วหรือยัง
...จงทบทวน ชีวิต ที่ผ่านมา
สร้างคุณค่า อะไร ไว้เบื้องหลัง
สิ่งเหล่านี้ คุณนั้นมี แล้วหรือยัง
มองกลับหลัง ดูว่าตรง หรือหลงทาง
...ทำหน้าที่ ของตน ให้ถูกต้อง
ไม่บกพร่อง ธรรมวินัย ใจสรรค์สร้าง
ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นแนวทาง
ทุกสิ่งอย่าง เริ่มที่จิต จงคิดทำ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

112


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๐...

...เมื่อไหร่ที่เราคิดว่า การปฏิบัติธรรมนั้น
ทำให้เราฉลาดขึ้น ทำให้เราบริสุทธิ์ขึ้น
ขณะนั้นเรากำลังหลงทาง หลงตัวเอง
เพราะมันกำลังก่อเกิดอัตตา มานะทิฐิ
การถือตัวถือตน โดยเราไม่รู้ตัวขึ้นมา
ทุกขณะ นานวันไปมันจะมีมากขึ้น
ยากที่จะแก้ไขได้...
...คนโง่เขลา
จะร่อนเร่ไปแห่งใด
จะดิ้นรนไปถึงไหน
จะแสวงหาสิ่งใด
จะทะยายอยากไปทำไม
...คนโง่เขลา
หลงพอใจกับการเดินทาง
แสวงหาหนทางในโลกีย์สุข
หลงติดกับทุกข์แห่งภาพมายา
...ฉันคือคนโง่เขลา
ที่ผ่านมานั้นฉันหลงทาง
พ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหา
ใจนั้นอ่อนแอและอ่อนไหว
ฉันจึงได้เป็นอยู่เช่นนี้
...ฉันคือคนโง่เขลา
เป็นคนโง่เขลาที่ดื้อรั้น
เป็นคนโง่ที่อวดฉลาด
จึงสูญเสียโอกาสอันดีไป
...แต่คงจะไม่สาย
ที่จะปรับปรุงแก้ไข
พรุ่งนี้ ฉันคงจะเห็นความโง่เขลา
ในจิตใจของฉันเพิ่มขึ้น...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

113


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙...

...“ จงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย แต่อย่าได้
มักง่ายในการใช้ชีวิต ” ชีวิตที่เรียบง่าย
นั้นเป็นไปโดยหลักแห่งความพอเพียง
ในการเลี้ยงชีวิต ยังคงทำกิจตามบทบาท
และหน้าที่ของตน มีความอดทน ขยัน
ขันแข็ง มีระเบียบวินัยของชีวิต
เพียงแต่จิตนั้นไม่ทะเยอทะยานอยาก
ฟุ้งเฟ้อไปมากกว่ากำลังของตนเอง
ที่มีอยู่ ทำให้ชีวิตนั้นมีความสงบสุข
ไม่ทุกข์กับการดิ้นรนเพื่อสนองตอบ
ตัณหาความอยากของตนเอง
...ส่วนการมักง่ายในการใช้ชีวิตนั้น
เกิดมาจากจิตที่เกียจคร้านทอดทิ้ง
ธุระที่ตนนั้นพึงกระทำ ไม่ยอมทำตาม
บทบาทและหน้าที่ของตน ไม่มีความ
ขยันและอดทน เป็นคนไม่มีระเบียบ
วินัยของชีวิต ไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็น
เพราะไม่มีวิจารณญาณ ต้องการเพียง
ตอบสนองตัณหาความอยากของ
ตนเอง ขาดซึ่งจิตสำนึกต่อส่วนรวม
ทำแต่ในสิ่งเป็นประโยชน์แก่ตน
เพียงอย่างเดียว ถ้าตนไม่ได้รับ
ผลประโยชน์ตอบแทน จะไม่ลงมือ
กระทำ ไม่สนใจสังคมรอบข้างว่า
จะมีผลกระทบอย่างไร จิตใจมักจะ
คับแคบเห็นแก่ตัว
...คนที่ขี้เกียจมักง่ายนั้น มักจะอ้างว่า
ตนเป็นผู้ปล่อยวาง ใช้ชีวิตอย่าง
เรียบง่าย เพราะเขาไม่อยากขวนขวาย
ทำกิจของตนที่ต้องพึงกระทำ ดั่งคำ
ครูบาอาจารย์ได้กล่าวสอนไว้ให้
พิจารณา...
...จงอยู่อย่างเรียบง่าย แต่อย่าอยู่
อย่างมักง่าย
...จงพยายามปล่อยวาง แต่อย่าได้
ทอดทิ้งธุระ
...จงพูดแต่สิ่งที่ดี แต่อย่าดีแต่พูด
จงลงมือทำด้วย
...จงอยู่อย่างไร้รูปแบบ แต่อย่าไร้ซึ่ง
ระเบียบวินัย
...เมื่อมีระเบียบวินัยต่อชีวิต กฎกติกา
ก็ไม่ต้องกำหนด
...ความเจริญในธรรมทั้งหลาย เกิดได้ด้วย
กุศลจิต

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

114


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘...

...เมื่อไหร่ที่เราคิดว่า การปฏิบัติธรรมนั้น
ทำให้เราฉลาดขึ้น ทำให้เราบริสุทธิ์ขึ้น
ขณะนั้นเรากำลังหลงทาง หลงตัวเอง
เพราะมันกำลังก่อเกิดอัตตา มานะทิฐิ
การถือตัวถือตน โดยเราไม่รู้ตัวขึ้นมาทุกขณะ
นานวันไปมันจะมีมากขึ้น ยากที่จะแก้ไขได้...
...คนโง่เขลา
จะร่อนเร่ไปแห่งใด
จะดิ้นรนไปถึงไหน
จะแสวงหาสิ่งใด
จะทะยายอยากไปทำไม
...คนโง่เขลา
หลงพอใจกับการเดินทาง
แสวงหาหนทางในโลกีย์สุข
หลงติดกับทุกข์แห่งภาพมายา
...ฉันคือคนโง่เขลา
ที่ผ่านมานั้นฉันหลงทาง
พ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหา
ใจนั้นอ่อนแอและอ่อนไหว
ฉันจึงได้เป็นอยู่เช่นนี้
...ฉันคือคนโง่เขลา
เป็นคนโง่เขลาที่ดื้อรั้น
เป็นคนโง่ที่อวดฉลาด
จึงสูญเสียโอกาสอันดีไป
...แต่คงจะไม่สาย
ที่จะปรับปรุงแก้ไข
พรุ่งนี้ ฉันคงจะเห็นความโง่เขลา
ในจิตใจของฉันเพิ่มขึ้น...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
......๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

115


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖...

...“ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น
มันอยู่ที่ทุกคนจะคิดและทำหรือไม่
อย่าได้น้อยใจและโทษวาสนาบารมี
กล่าวโทษว่าตัวเรานั้นไม่ดีไม่มีอำนาจ
วาสนา เพราะว่าการกระทำอย่างนั้น
เท่ากับการสาปแช่งตัวเอง ขาดความ
ศรัทธาเชื่อมั่นในการกระทำของตนเอง
ซึ่งมันจะทำให้ มีแต่ความเสื่อมถอย
ไม่มีความเจริญรุ่งเรื่องขึ้นไปได้เลย ”...
... "ความเบื่อกับความอยากเป็นของคู่กัน"
เมื่อความอยากเกิดขึ้น จิตก็ดิ้นรนขวนขวาย
หาเหตุและปัจจัยมาสนองตอบความอยาก
ถ้าสนองตอบตัณหาความอยากได้ จิตก็ยินดี
ถ้าไม่ได้ตามที่ปรารถนา จิตมันก็เกิดปฏิฆะ
และเมื่อเสพในความอยากนั้นจนเต็มที่แล้ว
จิตมันก็จะเบื่อในอารมณ์นั้น ความอยากใน
สิ่งอื่นก็เข้ามาแทนที่มันเป็นเช่นนี้เรื่อยมา
คือ อยากๆเบื่อๆแล้วก็เบื่อๆอยากๆ ตาม
กำลังกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของ
อารมณ์ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้
ชีวิตของเราก็จะไม่มีความสุข เพราะเราต้อง
ดิ้นรนขวนขวาย สร้างเหตุหาปัจจัยมาเพื่อ
สนองตอบตัณหาไม่สิ้นสุด...
....โลกและธรรม นำชี้ บทชีวิต
ก่อเกิดกิจ เกื้อหนุน เป็นบุญค้ำ
สิ่งที่คิด สิ่งที่เห็น นั้นเป็นธรรม
เป็นประจำ ในชีวิต คิดใคร่ครวญ
....เพราะธรรมะ นั้นคือ ธรรมชาติ
ตามโอกาส และจังหวะ ตามสัดส่วน
สิ่งที่ทำ สิ่งที่คิด กิจที่ควร
ทุกสิ่งล้วน คือธรรม ตามความจริง
....ธรรมะนั้น อยู่ใกล้ ในชีวิต
ถ้าหากจิต ของเรา นั้นหยุดนิ่ง
ก็จะรู้ และเห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง ล้วนคือธรรม ที่นำพา
....คือความจริง ทั้งหลาย ในโลกนี้
สิ่งที่มี สิ่งที่เห็น ได้ศึกษา
คือความจริง ใช่สิ่งหลอก โลกมายา
หลักธัมมา ธรรมชาติ ที่เป็นไป
....มันคือกฎ ของโลก ที่เป็นอยู่
มันเป็นคู่ กันมา ทุกสมัย
โลกและธรรม คู่กัน นั้นเรื่อยไป
เกิดจากใจ จากจิต ที่คิดจริง
....เมื่อใจรับ ความเป็นจริง สิ่งทั้งหลาย
พบความหมาย ในชีวิต สรรพสิ่ง
ก็จะเห็น โลกธรรม ตามความจริง
สรรพสิ่ง มันก็เป็น เช่นนั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต..
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

116


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕...

...ถ้ามีศรัทธาความเชื่อมั่น
ในความดีแล้ว จะทำให้
ไม่ลำบากใจที่จะกระทำ
ในสิ่งที่เป็นบุญกุศล เพราะว่า
ใจของเรานั้นมีความพร้อมที่
จะกระทำ ทุกอย่างเริ่มที่ใจ...
...เมื่อใจของเราสงบลงได้แล้ว
เราจะเห็นถึงสิ่งที่เป็นกุศลและ
อกุศลทั้งหลาย แยกบุญแยกบาป
ได้อย่างชัดเจนและมีกำลัง
ที่จะข่มซึ่งอกุศลทั้งหลาย ไม่ให้
กำเริบเสริบสานมีกำลังมากขึ้นไป...
...ธรรมะนั้นมีอยู่ทุกที่และทุกเวลา
เกิดขึ้นอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาย่อมน้อม
เข้ามาสู่ตนเอง คือน้อมเข้ามา
พิจารณาในตัวเอง เมื่อพิจารณา
มากเข้าก็จะถึงซึ่งความเป็นปัจจัตตัง
คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน ต้องทำเอง
แล้วจะเห็นเองและรู้เองในสิ่งที่ทำ...
...ลมหนาว พัดโชยผ่าน
ฤดูกาล นั้นเปลี่ยนแปลง
แตกต่าง ทุกหนแห่ง
ฤาฟ้าแกล้ง ให้เป็นไป
...ไอหมอก แผ่กระจาย
ลอยเป็นสาย ปกคลุมไพร
ท้องฟ้า ไม่แจ่มใส
มองออกไป ดูพรางตา
...กายหนาว สั่นสะท้าน
แต่ใจนั้น ไม่นำพา
เจริญ ภาวนา
ทุกเวลา ที่รู้ตัว
...ดูกาย และดูจิต
ดูความคิด ดูไปทั่ว
รู้กาย และรู้ตัว
ไม่เมามัว ตามอารมณ์
...รู้ทัน การเกิดดับ
ทุกสิ่งสรรพ ตามเหมาะสม
ให้เกิด ความกลืนกลม
ให้เหมาะสม กับเหตุการณ์
...ศึกษา ปริยัติ
ปฏิบัติ กรรมฐาน
ปฏิเวธ คือผลงาน
เกิดจากการ ภาวนา
...ศีลนั้น คือสติ
สมาธิ ขั้นต่อมา
ก่อเกิด ซึ่งปัญญา
ไตรสิกขา ที่ต้องทำ
...นั้นคือ กิจวัตร
ปฏิบัติ อยู่ประจำ
ศึกษา ในข้อธรรม
แล้วน้อมนำ กระทำตาม
....เดินตาม เส้นทางธรรม
ไม่ล่วงล้ำ สิ่งเลวทราม
ศีลนั้น ทำให้งาม
เดินก้าวตาม ครูอาจารย์
... แบบอย่าง ในทางพุทธ
บริสุทธิ์ ควรเล่าขาน
แบบอย่าง มีมานาน
ครูอาจารย์ ท่านทำมา
... เรียนรู้ ดูแบบอย่าง
เป็นแนวทาง ให้ศึกษา
สืบต่อ กันเรื่อยมา
ศาสนา พุทธของเรา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

117


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔...

....ชีวิตเป็นของน้อยนิด ทุกขณะจิต
กำลังเดินไปสู่ความตาย จึงต้องฝึก
วางจิตก่อนตาย ฝึกปล่อยวางธาตุขันธ์
ก่อนตาย ไม่ไปโวยวายตกใจ กลัวกับ
ธาตุขันธ์ที่มันเสื่อมไป ธาตุมันจะแตก
จะดับ ก็เป็นเรื่องของธาตุ มันเป็นเรื่อง
ของธรรมชาติที่ต้องเป็นไป แต่ใจเรานั้น
ไม่ได้ดับ ยังรับรู้และเห็นความเสื่อมของ
ธาตุนั้นอยู่ ที่เราไปโวยวายตกใจกลัวนั้น
ก็เพราะว่าเราเข้าไปยึดถือ มันจึงเป็น
อุปาทานขันธ์ ซึ่งถ้าเราละวางอุปาทานเสียได้
ไม่เข้าไปยึดถือจนเกินไป ใจเราก็จะสงบ
และไม่เป็นทุกข์กับความเสื่อมไปของธาตุ
ทั้งหลายนั้น เพราะทุกอย่างในโลกนี้
มันเป็นเช่นนั้นเอง คืออยู่ภายใต้กฎของ
พระไตรลักษณ์ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่
และการดับไปนั้น มันเป็นเรื่องของ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...
...จัดเก็บกุฏิที่พัก แยกหนังสือ สมุดบันทึก
เอกสารให้เป็นหมวดหมู่ พบสมุดบันทึกของ
ปีพ.ศ.๒๕๓๗ ที่เขียนไว้ในช่วงออกเดินธุดงค์
จากภาคใต้ไปภาคเหนือ เลยเปิดอ่านบทกวี
ที่เขียนไว้ในสมัยนั้น เอามาแบ่งปันให้อ่านกัน...
..๓ มี.ค.๒๕๓๗ วันพฤหัสบดี...
...นกขมิ้นเหลืองอ่อน
บินจรร่อนเร่ไปทั่วทุกถิ่น
ไม่อาทรกิ่งคอนเคยหากิน
ท่องไปทั่วถิ่นลำเนาไพร
หัวใจเจ้านั้นอิสระ
ไร้พันธะผูกมัดมารัดไว้
ไร้ซึ่งความห่วงหาและอาลัย
เจ้าบินไปตามจินตนาการ
...ค่ำไหนเกาะคอนนอนที่นั้น
รุ่งแจ้งเจ้าพลันบินลับหาย
ทิ้งคอนเคยนอนพักพิงกาย
ไร้ซึ่งจุดหมายการเดินทาง
ทั่งผืนพฤกษ์ไพรนั้นคือถิ่น
โผบินจากลาเมื่อฟ้าสาง
ไม่เคยยึดติดเจ้าปล่อยวาง
หัวใจเจ้าช่างมีเสรี
...อยากเป็นเหมือนนกที่โผบิน
ทิ้งถิ่นอาศัยไปทุกที่
ท่องไปตามใจที่เสรี
ฉันนี้คือวจีพเนจร...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

118


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓...

...แต่ละวันที่ผ่านไปนั้น มีเรื่องราว
มากมายที่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิต
ที่ทำให้เราคิดและต้องทำ มีผัสสะ
สิ่งกระทบมากมาย ให้เรานั้นได้รับรู้
เราจึงควรจะจดจำเพียงสิ่งที่
มีประโยชน์และเป็นสาระ ส่วนสิ่ง
ที่เป็นขยะทางความคิด ลบมันไป
ไม่จดจำ ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ
ทบทวนสิ่งผ่านเข้ามา ว่าสิ่งไหน
เป็นสาระ สิ่งไหนไม่เป็นสาระ
พิจารณาให้เห็นคุณ เห็นโทษ
เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
ของเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามา
พิจารณาเข้าสู่ความเป็นกุศล
และอกุศล มีสติเตือนตนให้อยู่
ในความไม่ประมาท ไม่ปรุงแต่ง
ในอกุศล ประคองจิตของตน
ให้อยู่ในกุศลธรรม น้อมนำจิต
เข้าสู่ความสงบนิ่ง มองทุกสรรพสิ่ง
ให้เป็นธรรมะ แล้วจะพบสัจธรรม
ของธรรมชาติทั้งหลายในกาย
และจิตของเรา...

๐ สายธาร แห่งศรัทธา
น้อมนำมา สรรพสิ่ง
สัจจะ คือของจริง
แห่งพุทธะ พระสัมมา
๐ เอาธรรม มานำกล่าว
บอกเรื่องราว ที่ค้นหา
บอกผ่าน กาลเวลา
ตามโอกาส ที่พึงมี
๐ สายธาร แห่งสายธรรม
เสนอนำ สู่ความดี
เส้นทาง ที่บ่งชี้
สู่สันติ สงบเย็น
๐ ทบทวน ใคร่ครวญคิด
เพ่งพินิจ เมื่อพบเห็น
สิ่งที่ ควรจะเป็น
ความเหมาะสม และพอเพียง
๐ วางจิต ให้เป็นกลาง
มองทุกอย่าง ไม่ลำเอียง
สิ่งชั่ว ควรหลีกเลี่ยง
ยับยั้งจิต ไม่คิดทำ
๐ เตือนตน ด้วยสติ
สมาธิ ช่วยชี้นำ
ก่อเกิด กุศลกรรม
ด้วยสติ และปัญญา
๐ รู้ควร และรู้ชอบ
อยู่ในกรอบ แห่งสัมมา
สร้างเสริม พัฒนา
กุศลกรรม ทำสิ่งดี
๐ สิ่งดี ของชีวิต
เป็นนิมิต จะนำชี้
ปลายทาง ของชีวี
สุคติ คือที่ไป...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

119


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒...

...การเจริญจิตภาวนานั้น เราสามารถ
ที่จะทำได้ในทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน
นั่ง นอน เพราะเป็นเรื่องของการมีสติ
คือการทำที่จิต แต่ในอิริยาบถต่างๆนั้น
จะมีผลต่างกัน เช่นการเจริญสติภาวนา
ในท่านอนนั้น ทำได้ง่ายเข้าสมาธิได้เร็ว
แต่จะไม่ตั้งอยู่นาน เพราะนิวรณ์เข้ามา
รบกวนคือนิวรณ์ตัวถีนะมิทธะ อาการ
ง่วงเหงาหาวนอน สมาธิจะกล้าแต่สติ
จะมีกำลังน้อย มันจะทำให้เผลอหลับไป
ส่วนในอิริยาบถยืนนั้น จะทำได้ยากกว่า
การนั่ง เพราะต้องทรงร่างกายให้ตรง
เพื่อไม่ให้ล้มและในอิริยาบถเดินนั้น
ทำได้ยากที่สุด แต่ถ้าเข้าสมาธิได้แล้ว
จะตั้งได้อยู่นาน ทรงได้อยู่นาน เพราะว่า
มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จึงต้อง
ใช้กำลังของสติเป็นอย่างมาก ในการ
จดจ่ออยู่กับองค์ภาวนาอยู่ตลอดเวลา
...การรักษาศีลนั้นคือการเจริญสติ
เพราะผู้ที่รักษาศีลนั้นต้องมีสติอยู่
กับกายและจิต ในการที่จะคิด จะพูด
และจะทำ เรียกว่าต้องสำรวมอินทรีย์
อยู่ทุกขณะจิต เพื่อไม่ให้ล่วงละเมิด
ข้อห้ามของศีลที่รักษา ศีลจึงคือที่มา
ของสติพละและสิ่งที่ได้มาควบคู่กับสติ
ในการรักษาศีล ก็คือองค์แห่งคุณธรรม
" หิริและโอตตัปปะ " สิ่งนั้นก็คือความ
ละอายและเกรงกลัวต่อบาป
...การที่เราไม่กล้าที่จะล่วงละเมิด
ข้อห้ามของศีลนั้น เพราะเรามีความ
ละอายและเกรงกลัวต่อบาปเป็นตัว
กระตุ้นเตือนเพื่อให้เกิดจิตสำนึก
ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ดั่งคำพุทธพจน์
ที่ทรงตรัสไว้ว่า..
."ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐาน
เป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่ง
แผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่ง
สิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้
เป็นต้นว่า พฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขร
และสัตว์จตุบาท ทวิบาทนานาชนิด
บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบาย
มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่
ปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อย ปราศจาก
เรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน " ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

120


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม ปฐมบท...

....ทรัพย์สมบัติใดๆในโลกนี้ที่มีอยู่
ก็ไม่สู้ธรรมะสมบัติได้ ถ้าเรามีทรัพย์
คือธรรมะประดับใจของเราแล้ว
ย่อมเป็นผู้เจริญรุ่งเรืองขึ้นไปแน่นอน
....พระคุณต้องทดแทน ความแค้นต้อง
อโหสิกรรม “ อะเวรัง อะสะปัตตัง ”
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พวกเราเป็นผู้
ไม่มีเวร ไม่จองเวร เป็นผู้อโหสิกรรม...
...ในความเคลื่อนไหว ขอให้ใจสงบนิ่ง...
...สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง
คือความจริง ที่เห็น และเป็นอยู่
ใช้สติ ใคร่ครวญ ทบทวนดู
ก็จะรู้ และเข้าใจ ในหลักธรรม
...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เหมือนเช้า-ค่ำ
มีสีขาว ก็ย่อมมี ทั้งสีดำ
เพื่อเตือนย้ำ ความแตกต่าง สองอย่างกัน
...และเมื่อเรา วางใจ ไม่ยึดถือ
สิ่งนั้นคือ ของเรา เข้าถือมั่น
เมื่อใจว่าง ก็วางได้ โดยเร็วพลัน
สิ่งสำคัญ คือใจ เป็นประธาน
... เริ่มที่ใจ ที่จิต ต้องคิดก่อน
โดยการย้อน มองสิ่ง ที่พ้นผ่าน
เอาเป็นครู เรียนรู้ ประสพการ
นั่นคืองาน ของจิต ที่คิดทำ
...การทำดี ต้องเริ่มที่ การฝึกคิด
ฝึกทำจิต คิดดี หลายทีซ้ำ
คิดอะไร ก็ให้ดี มาชี้นำ
คือฝึกทำ ฝึกจิต ให้คิดเป็น
...คิดเพื่อหา เหตุผล ต้นความคิด
ต้องฝึกจิต ให้รู้ ดูให้เห็น
ทำประจำ จากเช้า จนถึงเย็น
ไม่ว่างเว้น ฝึกทำ จนชำนาญ
...ให้ใจเรา นั้นอยู่ กับกุศล
เป็นมงคล ชีวิต จิตอาจหาญ
ทำสิ่งใด ก็รู้เท่า ทันเหตุการณ์
นี่คืองาน ฝึกสติ ให้รู้ทัน
... ระลึกรู้ ให้เห็น ความเป็นอยู่
โดยตามดู ความคิด จิตเรานั้น
แยกถูกผิด ชั่วดี ออกจากกัน
ให้ใจนั้น มีสติ อยู่คุ้มครอง

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

121


กำหนดวันไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔

ตรงกับ วัน เสาร์ ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๓๙ น.

ขอเชิญศิษยานุศิษย์ ผู้ที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใส และผู้ที่มีความสนใจในพิธีกรรมโบราณ เข้าร่วมพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่อเปิ่นในครั้งนี้โดยทั่วกัน

Wai Kru Luang Phor Pern 27 February 2021

123
คิดค่าเรียนหรือป่าวครับ
เรียนตามวีดีโอยูทูปที่โพสต์ได้เลยครับ...

124
ไปสักได้ที่ไหนบ้างครับแบบยนี้สนใจมากครับ
ลองเดินดูตามกุฏิสักต่าง ๆ ของวัดบางพระครับ...

125
ลงแล้วครับ...  :001:

126


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๓๓...

...การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น เราจะต้องมี
มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ต่อชุมชนและคนรอบกาย
เพื่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ก่อนที่เราจะ
ร้องขอจากเขานั้น เราต้องแบ่งปันและให้
เขาก่อน จงเป็นผู้ให้แล้วท่านจะรับการให้
ตอบแทน เป็นคำสอนของครูบาอาจารย์
การมีน้ำใจต่อหมู่คณะนั้น จะทำให้ท่าน
ได้รับความเกรงใจ
...สรุปลงได้ในหลักธรรมเรื่อง "พรหมวิหาร "
ซึ่งแปลว่าเป็นธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
ธรรมอันเป็นหลักประจำใจของผู้ใหญ่ ธรรมที่
ผู้ใหญ่ควรประพฤติ พรหมวิหารนั้น เป็นธรรม
ที่เกิดขึ้นในใจ เป็นธรรมที่กระตุ้นให้เกิดการ
กระทำ เช่น สงเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการอันได้แก่...
๑.เมตตา คือความรัก ความปรารถนาดี
ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข
๒.กรุณา คือ ความหวั่นไหว ความสงสาร
เมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ คิดจะช่วยเหลือผู้อื่น
ให้พ้นจากทุกข์
๓.มุทิตา คือ ความพลอยยินดี ความดีใจด้วย
ที่ผู้อื่นมีความสุข ได้รับความสำเร็จ
๔.อุเบกขา คือความวางใจเป็นกลาง ไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นได้รับความวิบัติ
...ธรรมในหมวดพรหมวิหารนี้จึงเป็นสิ่งที่
ผู้ใหญ่หรือผู้นำต้องกระทำต้องมี เพื่อให้
เกิดความพอดี เสมอกันของผู้ร่วมงาน
เป็นธรรมที่จะประสานใจ ทำให้เกิดความ
รักใคร่สามัคคีของหมู่คณะ..
...บนสายทางแห่งโลกและธรรม...
...โลกธรรม นำไป ให้เกิดทุกข์
คิดว่าสุข หลงใหล ในสรรเสริญ
เพราะลาภยศ พาใจ ให้เพลิดเพลิน
จึงหลงเดิน ตามโลก ใจโศกตรม
...กินกามเกียรติ เบียดเสียด เข้าแข่งขัน
ทุกวี่วัน ดิ้นรนกัน อย่างขื่นขม
เมื่อไม่มี หรือขาดไป ให้โศกตรม
เพราะไม่สม ที่หวัง ดั่งต้องการ
...แต่ความสุข ในทางธรรม นั้นล้ำเลิศ
เพราะสุขเกิด จากกุศล ผลไพศาล
และสุขนั้น เคียงคู่ คงอยู่นาน
มีพื้นฐาน จากความดี ที่มั่นคง
...อย่าหลงเพลิน เดินตาม กระแสโลก
จะทุกข์โศก เศร้าใจ เพราะไปหลง
สุขทางโลก นั้นมัน ไม่มั่นคง
ไม่ยืนยง เหมือนทางธรรม ที่ค้ำจุน
...เป็นชาวพุทธ อย่าเป็นพุทธ เพียงในบัตร
จงฝึกหัด ศึกษาธรรม เพื่อนำหนุน
ละบาปกรรม หันมา หาทางบุญ
เป็นต้นทุน คุ้มครองใจ เมื่อภัยมา
...เป็นชาวพุทธ ควรมีธรรม ประจำจิต
นำชีวิต หลุดพ้น บ่วงตัณหา
หมั่นทำทาน รักษาศีล ภาวนา
ให้สมค่า ชาวพุทธ บุตรพระองค์...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

127


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๓๒...

...บอกกับตนเองเสมอว่า อย่าให้วันเวลา
ของชีวิตผ่านไปโดยไร้ค่า เสียเวลาโดยเปล่า
ประโยชน์ และเป็นโทษต่อชีวิตของเราเลย
ทุกสิ่งทุกอย่างเรากำหนดขึ้นมาได้ด้วยตัว
ของเราเอง คือการกระทำที่เรียกว่ากรรม
ของเราในวันนี้
...ซึ่งพรุ่งนี้ก็จะกลายเป็นอดีตไปแล้ว ยอมรับ
ในความเป็นจริงของสรรพสิ่งที่เผชิญอยู่ รู้ตน
รู้ประมาณ รู้กาลเวลา ว่าเราควรจะปรารถนา
ได้ในสิ่งใด เพียงใดที่เราคิดว่ามันไม่สำเร็จ
ไม่สมปรารถนา ก็เพราะว่าเราไม่ได้สร้างเหตุ
และปัจจัย อาจจะเป็นการมุ่งหวังที่มากเกินไป
เกินประมาณกับเหตุและปัจจัยที่เราได้กระทำไว้
ในอดีตที่ผ่านมา
...แต่ถ้าเรารู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้โอกาส
และได้ทำหน้าที่สร้างเหตุและปัจจัยให้
สมบูรณ์ในวันนี้ สิ่งที่เรามุ่งหวังตั้งใจไว้
คงจะไม่ไกลเกินปรารถนา
..."อย่ามัวหลงติดอยู่กับความคิด ซึ่งเป็นเพียง
จินตนาการ เป็นเพียงนามธรรมที่จับต้องมิได้
จงเอาความคิดนั้นมาแปรเปลี่ยนเป็นการกระทำ
ทำให้เป็นรูปธรรมที่จับต้องและเห็นได้"
อย่าได้กระทำเพียงน้อยนิดแล้วคิดหวังผล
ที่ยิ่งใหญ่ เพราะจะเป็นค้ากำไรเกินควร
และมันจะสำเร็จได้ยาก ต้องใช้เวลาในการ
สะสมสั่งสมกำลังของเหตุและปัจจัยอีกยาวนาน
...ทุกวันของชีวิต เมื่อคิดดีและทำดี ก็เป็นวัน
ที่เป็นมงคลต่อชีวิตของเรา ไม่มีคำอวยพร
อันใด ที่จะประเสริฐล้ำเลิศไปยิ่งกว่าการที่
เราได้สร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้แก่ชีวิตของเรา
เพราะคำพรนั้น คือคำชี้แนะแนวทางที่เป็น
กุศลให้เราประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะให้ชีวิต
ของเราจะได้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ไปใน
ทำนองคลองธรรมอันประกอบด้วยกุศล
เป็นที่ตั้ง ซึ่งจะทำให้สมหวังดั่งที่ใจของ
ท่านปรารถนาตั้งไว้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

128


..เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๓๑...

...การสร้างเหตุและปัจจัยที่ดีในวันนี้
เป็นการชี้หนทางในอนาคตของตน
เป็นเหตุและผลที่จะส่งผลในอนาคต
เป็นการกำหนดอนาคตหนทางที่จะไป
...โลกและธรรมนั้นต้องเดินคู่กันไป
เพื่อให้โลกนี้มีคุณธรรม โดยการเริ่ม
กระทำที่จิตใจของเราเป็นเริ่มแรก
จัดระเบียบให้แก่ชีวิตของตนเอง
เสียก่อน ก่อนที่จะไปเรียกร้อง
จัดระเบียบให้แก่สังคมส่วนรวม
เริ่มต้นที่ความคิด เริ่มที่จิตของเราเอง...

...วัฏฏะสงสาร การเวียนว่ายในวังวน...

๐ ทุกชีวิต ในโลกนี้ ที่ได้เห็น
มันก็เป็น เช่นนั้น กันทุกหน
ล้วนเกิดแก่ เจ็บตาย ในวังวน
หนี้ไม่พ้น ล้วนพบ ประสพกัน

๐ อนิจจา ชีวิต คิดว่าเที่ยง
จิตลำเอียง เพราะใจ นั้นใฝ่หา
ประกอบด้วย กิเลส และอัตตา
จึงนำพา ชีวิต ให้ผิดทาง

๐ เพราะไปหลง ยึดติด ในโลกธรรม
จึงก่อกรรม ทำเวร ไม่เว้นว่าง
อยากจะมี อยากจะได้ ในทุกทาง
จึงออกห่าง ทางธรรม กรรมของคน

๐ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
หมุนสลับ กันไป ทุกแห่งหน
เพราะว่ายัง เวียนว่าย ในวังวน
ยังไม่พ้น จากวัฏฏะ สังขารา

๐ เก่าดับไป สิ่งใหม่ ก็แทนที่
เป็นอย่างนี้ มานาน กันหนักหนา
เพราะโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มายา
จึงเวียนว่าย กันมา ไม่หมดกรรม

๐ เมื่อมีเกิด ก็ย่อม จะมีดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ให้น่าขำ
เพราะกิเลส ตัณหา ชักพานำ
ก่อเกิดกรรม เวียนว่าย ในสายธาร

๐ คือสายธาร ของมนุษย์ ไม่หลุดพ้น
จึงเวียนวน เกิดดับ กับสังขาร
ไม่สิ้นสุด เวียนว่าย มายาวนาน
คือสังสาร วัฏฏะ ที่หมุนวน

๐ แต่แนวทาง พุทธะ นั้นละได้
โดยฝึกใจ ให้ชอบ ประกอบผล
ละกิเลส ตัณหา และตัวตน
ก็หลุดพ้น จากกรรม ที่ทำมา

๐ ไม่ต้องกลับ มาเกิด ประเสริฐสุด
ก็เพราะหลุด จากกิเลส และตัณหา
เพราะเห็นทุกข์ เห็นภัย ในมายา
ละอัตตา ละมานะ ละตัวตน

๐ ไม่ก่อกรรม ทำบาป ที่หยาบช้า
ปรารถนา อยู่กับ บุญกุศล
เพิ่มกำลัง บารมี ให้แก่ตน
และฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา

๐ มีสติ อยู่กับตัว รู้ทั่วพร้อม
แล้วก็น้อม ตั้งจิต ปรารถนา
ดูความคิด ดูกาย ที่เป็นมา
เกิดปัญญา เห็นทุกข์ และเข้าใจ

๐ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นธรรม เพราะทำจิต
เปลี่ยนความคิด ตั้งจิต กับสิ่งใหม่
อยู่กับธรรม มีธรรม ประจำใจ
ก้าวเดินไป ตามทางธรรม พระสัมมา

๐ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท
เอาเป็นเหตุ ฝึกฝน และค้นหา
เพื่อให้เกิด สมาธิ และปัญญา
จะนำพา ชีวิต ไม่ผิดทาง

๐ บุญกุศล เร่งทำ ในวันนี้
ตอนที่มี ชีวิต ควรคิดสร้าง
จงรู้จัก การปล่อยปละ และละวาง
ตามแนวทาง แห่งพุทธะ จะได้ดี

๐ มีความสุข ความเจริญ ในชีวิต
ก็เพราะจิต ของเรา เพียงเท่านี้
เมื่อรู้พอ ความดิ้นรน ก็ไม่มี
เพียงเท่านี้ ใจก็สุข ทุกข์ไม่มี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

129


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๓๐...

...พยายามสงเคราะห์โลกและธรรม
ให้ก้าวเดินไปพร้อมกัน เลือกเฟ้น
ธรรมที่เหมาะสม กับ จังหวะ เวลา
โอกาส สถานที่และตัวบุคคล
นำมาสงเคราะห์และเกื้อกูลซึ่งกัน
และกัน ตามเหตุและปัจจัยที่มี
ดั่งที่เคยกล่าวไว้เสมอว่า “ บางครั้งนั้น
ไม่ต้องคิดให้ดีที่สุด แต่คิดให้ใช้ได้
ทำได้ทันทีก็เพียงพอแล้ว “ ...
...เพราะบางครั้งความคิดที่ดีนั้น ไม่อาจ
จะนำมาทำให้เป็นรูปธรรม สิ่งที่จับต้อง
และเห็นได้ เพราะเหตุปัจจัยนั้นมันยัง
ไม่เพียงพอ แต่ความคิดที่ใช้ได้ซึ่งอาจ
จะไม่ดีจนเกินไป นั้นสามารถที่จะทำ
ให้เป็นรูปธรรมได้ในทันที เพราะว่ามี
เหตุและปัจจัยสมบูรณ์อยู่แล้วในขณะนั้น
...หลักการคิดทั้งหลายก็คือการคิดจาก
สิ่งที่มีและที่เป็นอยู่ ไม่คาดหวังเหตุ
ปัจจัยในอนาคตมาเป็นตัวกำหนด
ซึ่งความคิดและการกระทำทั้งหลาย
ทุกอย่างจึงเดินไปได้ด้วยตัวของมันเอง
ไปตามเหตุและปัจจัย จังหวะ เวลา
โอกาส สถานที่และตัวบุคคล ที่มีที่เป็น
ในขณะนั้น เป็นตัวกำหนดทิศทางของ
ตัวมันเอง....
...แด่การพิจารณาฝึกฝนหาเหตุและผล
ของสรรพสิ่งรอบกาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

130


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๙...

...ชีวิตคือการเดินทางของจิตวิญญาณ
ที่ต้องผ่านบททดสอบมามากมาย
กว่าจะถึงจุดหมายปลายทางของชีวิต
เรียนรู้ความถูกผิดและดีชั่วอยู่ตลอดเวลา
แสวงหาซึ่งความสำเร็จของชีวิตที่คิดไว้
แตกต่างกันไปตามความปรารถนาของแต่ละคน
...รางวัลของชีวิตนั้น มิได้วางไว้ที่จุดเริ่มต้น
และหนทางนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ย่อมมีอุปสรรคขวากหนามอยู่บนเส้นทาง
ทุกอย่างที่พานพบล้วนเป็นประสบการณ์ของชีวิต
ความพลาดผิดพลาดพลั้งจึงไม่ใช่ความล้มเหลว
แต่มันเป็นบทเรียนของชีวิตที่สอนให้เราเรียนรู้
...ชีวิตที่เหลืออยู่ เรียนรู้จากสิ่งที่ผ่านมา
เพื่อที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าแสวงหาในสิ่งที่ดี
ให้แก่ชีวิต ไม่ให้พลาดผิดอย่างที่เคยผ่านมา
เพราะว่าเราได้เรียนรู้และมีบทเรียนมาแล้ว
ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ การเดินทาง
ของชีวิตนั้นยังไม่สิ้นสุด....


๐ ค่ำลง ฟ้ามืดแล้ว
เสียงเจื้อยแจ้ว หริ่งเรไร
กังวาน ก้องพงไพร
บรรเลงกล่อม ในราตรี

๐ พร่างพราว ดาวบนดิน
เห็นจนชิน ในถิ่นที่
คือไฟ จากแสงสี
ของบ้านเรือน ที่เรียงราย

๐ มองฟ้า ที่มืดมิด
ชวนให้คิด ได้มากมาย
คิดถึง จุดมุ่งหมาย
ที่ตั้งไว้ และเฝ้ารอ

๐ มองกาย แล้วมองจิต
มองแล้วคิด พินิจต่อ
ทำใจ ให้รู้พอ
การลดละ ตัวอัตตา

๐ มานะ และทิฐิ
มีสติ รู้ปัญหา
ใช้ธรรม นำปัญญา
สติมั่น ปัญญามี

๐ รู้กาย และรู้จิต
รู้ความคิด ให้ถ้วนถี่
รู้ชอบ และชั่วดี
รู้ในกิจ ควรกระทำ

๐ มองสิ่ง ที่พบเห็น
มองให้เป็น กุศลกรรม
มองเห็น ให้เป็นธรรม
เพื่อนำสู่ หนทางดี

๐ ก่อนพูด ควรจะคิด
จะไม่ผิด กล่าววจี
พูดแต่ สิ่งที่ดี
วจีกรรม เป็นสัมมา

๐ สัมมา วาจานั้น
สื่อสารกัน ด้วยภาษา
กล่าวดี มีเมตตา
เอื้ออารี ไมตรีกัน

๐ เพ่งโทษ ผู้อื่นเขา
เพิ่มโทษเรา อย่างมหันต์
อย่าติ ทำลายกัน
สร้างสรรค์มิตร ด้วยปัญญา

๐ เป็นผู้ รู้สติ
มีดำริ เป็นสัมมา
ตามแนว แห่งมรรคา
องค์แปดนั้น ท่านว่าดี

๐ สายกลาง ของชีวิต
ชี้ถูกผิด อย่างถ้วนถี่
มรรคแปด สายกลางนี้
เจริญสุข เจริญธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

131


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๘...

...การปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ได้ทำให้
เราฉลาดขึ้นกว่าคนอื่น แต่ทำให้
เราได้เห็นความโง่ ความหลงผิด
ในอดีตของเราที่ผ่านมา ยิ่งปฏิบัติ
ก็ทำให้เราได้เห็น ในสิ่งที่เรายังไม่รู้
ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ซึ่งที่ผ่านมานั้น
เราคิดว่าเรารู้ถูกต้องและเข้าใจ
หมดแล้ว ซึ่งมันไม่ใช่อย่างนั้นเลย
เรายังไม่รู้จริง เรายังไม่เข้าใจใน
ความจริงอย่างที่เราเคยคิด ยังมี
อีกมากมายที่เรายังไม่รู้และไม่เข้าใจ...

...จงเตรียมกาย เตรียมจิต เพื่อคิดทำ
แล้วน้อมนำ ทำด้วย มีสติ
ทำจิตนั้น ให้เป็น สมาธิ
ฝึกดำริ คือคิด ก่อนจะทำ

...จงมองงาน ให้แตก แล้วแยกงาน
อย่าข้ามผ่าน พินิจ จงคิดซ้ำ
วางแผนงาน มองด้วย หลักของธรรม
ความเพลี่ยงพล้ำ ไม่เกิด แก่ตัวเรา

...ให้รู้เห็น เข้าใจ ในปัญหา
ใช้ปัญญา ทำให้ ไม่โง่เขลา
จงทำกาย ทำจิต ให้โปร่งเบา
ให้รู้เท่า รู้ทัน ในอารมณ์

...ชีวิตนั้น เกิดมา เพื่อทำงาน
มันต้องผ่าน ซึ่งการ ที่สั่งสม
ได้เรียนรู้ สู่โลก และสังคม
ให้เหมาะสม กับกาล วันเวลา

...เมื่อรู้โลก รู้ธรรม มานำจิต
เพ่งพินิจ มุ่งมั่น การศึกษา
จงเจริญ สติ ภาวนา
ให้ปัญญา เกิดได้ จากสายธรรม

...จงเอาธรรม นำทาง สร้างชีวิต
เพื่อยกจิต ไม่ให้ ไปใฝ่ต่ำ
ประกอบการ งานดี กุศลกรรม
เดินตามธรรม สายทาง สร้างความดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

132


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๗...

....ความเป็นสมณะนั้นมีกฎเกณฑ์
กติกาของความเป็นสมณะคุ้มครองอยู่
โดยธรรมและวินัยไม่ผิดข้อวัตรตาม
พุทธบัญญัติและไม่เป็นไปให้ชาวโลก
เขาติเตียนได้
...มันจึงมิใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ใจนั้นสงบ
ท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมที่กำลัง
ดำเนินไป จึงต้องมีการปรับใหม่ ปรับกาย
ปรับจิต ปรับความคิด ปรับการกระทำ
และเร่งความเพียร เพิ่มกำลังของสติและ
สัมปชัญญะให้มีกำลังมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับ
กับผัสสะสิ่งกระทบที่สามารถจะเกิดขึ้นได้
ทุกเวลาและโอกาส...

...วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง เกิดดับ แล้วลับหาย
ผ่านเรื่องราว หลายหลาก และมากมาย
บทสุดท้าย งานเลี้ยง ย่อมเลิกรา

...ชีวิตเรา มีทั้งเศร้า และทั้งสุข
บางครั้งทุกข์ เพราะใจ นั้นใฝ่หา
หลงผิดไป ในกิเลส และอัตตา
เพราะตัณหา ความอยาก ที่มากมาย

...เมื่อพบทุกข์ ควรหันมา เข้าหาธรรม
เพื่อจะนำ จิตสู้ สู่ความหมาย
เพื่อวางจิต วางใจ ให้ผ่อนคลาย
จิตสบาย กายสุข ก็เห็นทาง

...เมื่อจิตโปร่ง โล่งเบา เอาจิตรู้
จงตามดู จิตนั้น อย่าให้ห่าง
เมื่อเห็นกาย เห็นจิต ก็เห็นทาง
เมื่อจิตว่าง ก็เห็นธรรม กำหนดไป

...รู้อะไร ไม่สู้ รู้กายจิต
รู้ความคิด ของตน ตั้งต้นใหม่
ย้อนมาดู กายจิต มาดูใจ
ทำอะไร คิดอะไร ให้รู้ทัน

...มีสติ ระลึกรู้ อยู่ทั่วพร้อม
แล้วก็น้อม นำจิต คิดสร้างสรรค์
อยู่กับธรรม ให้จิตรู้ ปัจจุบัน
เมื่อรู้ทัน ก็ไม่หลง มั่นคงไป

...จงศรัทธา ในความดี ที่มีอยู่
หมั่นเรียนรู้ พัฒนา หาสิ่งใหม่
เพื่อให้ธรรม ก้าวหน้า ยิ่งขึ้นไป
แล้วจะได้ พบสุข ไม่ทุกข์ทน

...สุขในธรรม ล้ำค่า หาใดเปรียบ
ไม่อาจเทียบ กับสุข ในทุกหน
เป็นความสุข ที่รู้ได้ เฉพาะตน
ต้องฝึกฝน ภาวนา หาให้เจอ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
เวลา ๑๗:๓๐ น. ...

133


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๖...

...ธรรมะนั้นเป็นเรื่องของการกระทำ
ไม่ใช่คำสอนที่อยู่ในคัมภีร์หรือใบลาน
ไม่ใช่การอ่านให้จำได้แล้วเอาไปอวดรู้
ธรรมะทั้งหลายอยู่ที่กายและที่จิต
อยู่ในทุกความคิดและทุกอย่างที่ทำ
เพราะว่าธรรมะนั้นคือธรรมชาติของจิต
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะ เวลาและ
โอกาส สอดคล้องกับความเป็นจริง
ของธรรมชาติทั้งหลาย...

...ฟ้ามืด มืดไม่นาน
เมื่อพ้นผ่าน กาลเวลา
หน้ามืด เมาตัณหา
ยากจะแก้ แก่เกินกาล

...มัวเมา ในชีวิต
เพราะหลงผิด ไร้แก่นสาร
ลาภยศ อยู่ไม่นาน
ก็ต้องพราก จากกันไป

...คุณงาม และความดี
ในชีวี ที่สร้างไว้
คือทรัพย์ อยู่ภายใน
ติดตามตัว ตลอดกาล

...เวลา ของชีวิต
เหลือน้อยนิด อีกไม่นาน
คืนกลับ สู่สายธาร
ธรรมชาติ ที่สร้างมา

...คุณค่า ของชีวิต
จงพินิจ และเสาะหา
อย่าให้ กาลเวลา
มันกลืนกิน จนสิ้นไป

...เร่งสร้าง คุณประโยชน์
อย่าสร้างโทษ ขึ้นมาใหม่
ความดี เกิดที่ใจ
นำความสุข มาสู่ตน

...ฟ้ามืด ตะวันลับ
การเกิดดับ มีทุกหน
เวียนว่าย ในวังวน
ของวัฏฏะ ตลอดมา

...เมื่อจิต คิดหลุดพ้น
จงตั้งต้น ภาวนา
ลดละ ซึ่งอัตตา
กิเลสร้าย ให้หายไป

...ตัณหา อุปาทาน
มีมานาน ต้องแก้ไข
ละวาง ได้เมื่อไร
ใจก็สุข สงบเย็น...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
เวลา ๑๗:๑๐ น. ...

134


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๕...

...ใช้เวลาส่วนใหญ่ในตอนกลางวันนั้น
จะใช้ไปในการคิดพิจารณา สงเคราะห์
ให้คำแนะนำในการทำงาน บริหารคน
บริหารงาน ประสานให้ทุกอย่างดำเนิน
ไปได้ด้วยดี ไม่มีปัญหาและอุปสรรค์
โดยใช้หลักการคิด วิเคราะห์และ
วางแผนการทำงานไว้ล่วงหน้า
มองงานทุกอย่างให้ละเอียดให้ชัดแจ้ง
ในองค์ประกอบของงาน ว่ามีกระบวนการ
ในการกระทำเป็นอย่างไร ใช้วัสดุอุปกรณ์
อะไรบ้าง ต้องใช้แรงงานมากน้อย
ขนาดไหน ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้
มีอะไรบ้าง ซึ่งเราต้องคิดและวางแผน
ไว้ล่วงหน้าให้คำแนะนำ ก่อนที่เขา
เหล่านั้นจะลงมือทำงานทุกครั้ง
คิดที่ละเรื่อง ที่ละอย่าง ให้มันจบ
เป็นเรื่องๆไป แล้วบันทึกไว้ในส่วน
ของความจำ คือมองภาพกว้างๆ
แล้วมาแยกแยะออกเป็นอย่างๆ
เป็นเรื่องๆไป โดยให้ความสำคัญ
ที่เหตุและปัจจัย ว่าอะไรควรทำก่อน
และทำที่หลัง ทำในสิ่งที่คิดและ
ทำได้ในทันที เพราะมีเหตุและปัจจัย
ที่พร้อม เวลา โอกาส สภาพดินฟ้า
อากาศและความพร้อมของบุคคลากร
ทุกอย่างต้องเป็นไปตามเหตุและปัจจัย
ซึ่งเราได้วางแผนงานไว้และมีแนวทาง
ของการแก้ไข้ไว้ล่วงหน้า ถ้าเกิดมี
อุปสรรค์และปัญหาขึ้นมา ทุกสิ่ง
ทุกอย่างเกิดจากการฝึกคิด ฝึกพิจารณา
โดยการมีสติสัมปชัญญะและสมาธิ
เป็นพื้นฐาน คือการทำจิตให้นิ่ง
แล้วจะมองเห็นทุกสิ่งอย่างละเอียด
และชัดเจน ทุกอย่างสามารถที่จะ
ฝึกฝนกันได้ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด
ขอเพียงเราเริ่มต้นและลงมือทำ....
...แด่การพิจารณาฝึกฝนหาเหตุ
และผลของสรรพสิ่งรอบกาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
....รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม....
...๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๓๐ น. ...

135


...เมื่อจิตระบึกถึงธรรม บทที่ ๒๔...

๐ บางครั้งเหนื่อยล้ากับการแรมรอน
ของชีวิต จนเคยคิดที่จะหยุด
ซึ่งลมหายใจ อยากจะจากไป
โดยไม่ต้องหวนกลับมา บอกลาซึ่ง
การเกิดแก่และเจ็บตาย แต่ยังทำไม่ได้
เพราะบุญกุศลไม่เพียงพอ จึงต้องมี
ชีวิตอยู่ต่อไปในโลกที่แสนจะวุ่นวาย
ฝึกทำใจให้ยอมรับกับความจริงสิ่ง
เหล่านั้นให้ได้
๐ สิ่งทั้งหลายมันก็เป็นเช่นนั้นเอง
มันเป็นเรื่องของกิเลสตัณหาอุปาทาน
ความทะยานอยาก ที่มีมากน้อย
แตกต่างกันไปในทุกผู้คนบนโลกใบนี้
เพราะความไม่พอดีและพอเพียง
ของจิตที่คิดกันไป ทำให้ธรรมชาติ
ทั้งหลายนั้นต้องเปลี่ยนแปลงไปตาม
แรงของกิเลสและตัณหาของมนุษย์
ทั้งหลาย ธรรมชาตินั้นจึงเอาคืน
เมื่อเราไปฝืนกฎของธรรมชาติ
๐ อนาถ สลด สังเวช เป็นเหตุแห่ง
ความเบื่อหน่าย ทำให้จิตนั้นจางคลาย
จากกิเลสตัณหาและอัตตา เข้าใจใน
ปัญหาที่เกิดขึ้นในจิตและความคิด
ของตน แม้แต่ความอยากจะหลุดพ้น
มันก็คือตัวตัณหา เมื่อจิตนั้นได้คิด
และพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
เห็นที่มาและที่ไป เหตุและปัจจัย
ที่ทำให้มันเกิด เมื่อเห็นจิตรู้ใจ
ก็ให้เห็นธรรมว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๖:๐๐ น. ...

136


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๓...

...ไม่เคยยึดติดอยู่กับผลงานหรือสถานที่
เพียงทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์แล้วจากไป
ทิ้งไว้และเก็บไปเพียงความทรงจำที่ดีงาม
ผ่านมาแล้วก็จากไป อาจจะหวนมาใหม่
เมื่อถึงกาลเวลา ชีวิตที่ผ่านมาจึงคล้าย
กับสายลมที่พัดผ่านกาลเวลา
...มาเพื่อเติมเต็มในสิ่งที่ได้ขาดหายไป
นั้นคือความมั่นใจในตนเองของผู้คนที่
เขา ขาดความเชื่อมั่น ซึ่งทุกคนนั้น
มีพลังความสามารถอยู่ในตัวเอง
กันทุกคน เพียงแต่บางครั้งนำมา
ใช้ไม่เป็น จึงต้องหาที่พึ่งทางใจ
พึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคล ครูบา
อาจารย์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจและ
สร้างขวัญกำลังใจให้แก่ตนและ
สิ่งที่จะเสริมศรัทธา ความเชื่อมั่น
ให้แก่เขาได้นั้น มันต้องเป็นสิ่งที่
จับต้องได้และเห็นได้ด้วยตาเนื้อ
เขาจึงจะเชื่อและศรัทธา
...ทำให้ในบางครั้งจึงจำเป็นต้อง
ใช้พิธีกรรมและวัตถุมงคลเป็นตัวนำ
เอามาใช้เป็นอุบายธรรม ในการสร้าง
ขวัญและกำลังใจให้แก่เขา เพราะการ
ให้ธรรมะล้วนๆนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่
สามารถเห็นผลได้ในทันที่ มันยังเป็น
เพียงรูปธรรม ต้องนำไปปฏิบัติให้เป็น
รูปธรรมเสียก่อน จึงจะเห็นผลและ
บุคคลนั้นต้องมีพื้นฐานในทางธรรม
มาก่อนด้วย จึงจะเข้าใจและง่ายต่อการ
แสดงธรรม วัตถุมงคลและพิธีกรรม
จึงเป็นเบื้องต้นที่จะทำให้คนนั้นสนใจ
ศรัทธาและเข้าหา
...จึงเป็นสิ่งที่ทิ้งไม่ได้จำเป็นต้องมี
และต้องทำ แต่ต้องไม่เข้าไปยึดติด
จนกลายเป็นความงมงาย เพราะมันยัง
ไม่ใช่ที่สุดของการปฏิบัติธรรม สิ่งนั้น
เป็นเพียงกุศโลบายธรรม ที่ใช้ในการ
รักษาโรคอุปาทานให้แก่ผู้ที่ยังหลง
ติดอยู่เพราะต้องการสร้างขวัญและ
กำลังใจให้แก่ญาติโยม สร้างความ
เชื่อมั่นศรัทธาในตัวของเขาเองและ
ศรัทธาในบุญกุศลให้แก่เขา เพราะว่า
ศรัทธานั้นคือบ่อเกิดแห่งความสำเร็จ
ในทุกสิ่ง แม้แต่ มรรคผล นิพพาน
ก็ต้องส่งผ่านด้วยพลังแห่งศรัทธา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๘:๐๐ น. ...

137


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๒...

...การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นการกระทำ
เพื่อมุ่งหวังซึ่งบุญกุศล เพื่อความเป็น
มงคลของชีวิต ซึ่งต้องดูที่ดำริเจตนา
ในการปฏิบัติ ว่าผู้ปฏิบัตินั้นปรารถนา
อะไรจากการปฏิบัติธรรมนั้นและสิ่งที่
ตั้งใจปรารถนานั้น เป็นไปโดยชอบ
ประกอบด้วยกุศลหรือไม่ หรือเป็นไป
เพื่ออกุศล คือความอยากดี อยากเด่น
อยากดัง มุ่งหวังคำสรรเสริญเยินยอ
หรือลาภสักการะ ประโยชน์ส่วนตน
ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำความรู้ความ
เข้าใจในเจตนาของตนเองเสียก่อน
เพื่อให้ไม่หลงทาง เพราะว่าถ้าผิด
แต่เริ่มต้น ผลต่อไปมันก็จะออกมา
ผิดทาง...
...การปฏิบัติธรรมนั้นท่านให้เป็นไป
ตามลำดับ เพื่อปรับธาตุ ปรับอินทรีย์
ให้มีความพร้อม โดยเริ่มจากการ
ให้ทานก่อน เพื่อปรับจิตใจให้มีความ
อ่อนโยน มีความเมตตา โอบอ้อมอารี
มีความเสียสละ ละความเห็นแก่ตัว
ลงเสียก่อน ควบคู่กับการรักษาศีล
เพราะการรักษาศีลนั้นคือการเจริญสติ
ควบคุมกายและจิตไม่ให้ผิดในข้อวัตร
ปฏิบัติ มีสติควบคุมอยู่เพื่อให้ไม่ผิดศีล
สิ่งที่ได้จากการรักษาศีล คือสติและ
องค์แห่งคุณธรรม คือความละอาย
และเกรงกลัวต่อบาป เพราะว่าเรามี
คุณธรรมข้อนี้ เราจึงไม่ล่วงละเมิด
ผิดศีลทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๒๐:๑๕ น. ...

138


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๑...

...สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ " มันก็เป็น
เช่นนั้นเอง " ตามที่พระพุทธองค์ทรง
พยากรณ์ไว้ว่า " จิตใจคนจะเสื่อมไป
จากคุณธรรมตามกาลและเวลา จนสิ้นสุด
พระศาสนา เมื่อครบ ๕,๐๐๐ ปี "
เพราะโลกนี้เปลี่ยนแปลงไปตามกฎของ
พระไตรลักษณ์ แต่ขอเพียงความเสื่อม
จากคุณธรรมนั้น อย่าเกิดจากเราเป็นผู้
กระทำก็เพียงพอแล้ว...

... วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง แปรเปลี่ยน ตามสมัย
ช่วงชีวิต นั้นอาจ ไม่ยาวไกล
สร้างอะไร ให้ชีวิต คิดรึยัง

...ชีวิตอย่า ไร้ค่า กว่าใบไม้
จงก้าวเดิน ต่อไป อย่าสิ้นหวัง
อย่าท้อแท้ ให้หัวใจ ไร้พลัง
ลืมความหลัง ที่พลั้งพลาด ให้ขาดไป

...อย่าไปโทษ โชคชะตา ว่าฟ้าแกล้ง
อย่าเสแสร้ง กลบเกลื่อน จงแก้ไข
ที่ผ่านมา นั้นผิดพลาด จากเหตุใด
อย่าโทษใคร มองที่เรา เจ้าของงาน

...เมื่อยอมรับ ความจริง สิ่งที่เกิด
ไม่ละเมิด ศีลธรรม ที่พร่ำขาน
ก็จะเห็น ที่มา ของเหตุการณ์
สิ่งที่ผ่าน มานั้น มันเป็นกรรม

...จงปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เร่งแก้ไข
ชีวิตใหม่ จะได้ ไม่ตกต่ำ
เดินคู่ไป ในทางโลก และทางธรรม
สติย้ำ เตือนจิต อย่าผิดทาง

... จงพอใจ ในสิ่ง ที่เป็นอยู่
จงเรียนรู้ ในสิ่ง จะเสริมสร้าง
ให้เจริญ ก้าวหน้า ดั่งที่วาง
ตามแบบอย่าง ชีวิต ที่คิดครอง

...คุณ...คิดดี แล้วหรือ ที่กระทำ
มา...ถลำ ทำชั่ว ให้มัวหมอง
ทำ...สิ่งใด โปรดคิด ใช้จิตตรอง
อะไร...ถูก อะไรต้อง จงตรองดู...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๓๐ น. ...

139


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๐...

..."อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลก
จนเกินไป คืออย่าไปยินดี ยินร้าย
กับคำสรรเสริญและคำนินทา ความสุข
หรือความทุกข์ และลาภยศทั้งหลาย
อย่าไปหวั่นไหวกับมัน เพราะว่า
ความหวั่นไหวนั้น มันจะทำให้เรา
ขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง
เรียกว่าเป็นคนไม่แน่นอน ทำอะไร
ไม่แน่นอน จิตนั้นย่อมทุรนทุราย
หวั่นไหวไปกับโลกธรรม นำมาซึ่ง
ความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจ
ให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไร
ใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข "...

...รำพึงธรรมคำกวีหลังทำวัตรเช้า...
...ตามดู ตามรู้ ในจิต
พินิจ ใคร่ครวญ ศึกษา
หาเหตุ ของความ เป็นมา
มองหา ให้เห็น ความจริง
...จิตนั้น มีการ เกิดดับ
สลับ ไปมา ไม่นิ่ง
จิตนั้น ก็คล้าย กับลิง
กลอกกลิ้ง หวั่นไหว ไปมา
...จึงต้อง หมั่นฝึก สติ
ดำริ เข้าไป ค้นหา
เหตุผล ที่ไป ที่มา
ปัญหา นั้นคือ อะไร
...รู้เหตุ ปัจจัย ที่เกิด
ล้ำเลิศ กว่ารู้ สิ่งไหน
รู้กาย รู้จิต รู้ใจ
รู้ใน รู้นอก ครบครัน
...มองหา ซึ่งเหตุ และผล
ตัวตน ภายใน เรานั้น
ตามดู กิเลส ให้ทัน
สิ่งนั้น คือกิจ ควรทำ
...กิเลส นั้นมี มากมาย
สองฝ่าย คือสูง และต่ำ
ปรุงแต่ง ตามบุญ และกรรม
ชี้นำ ไปใน เส้นทาง
...รู้เท่า รู้ทัน ความคิด
ทำจิต ทำใจ ให้ว่าง
เดินใน เส้นทาง สายกลาง
ทุกอย่าง มีธรรม นำพา
...ดำเนิน ตามแนว แห่งมรรค
ตามหลัก มรรคแปด ศึกษา
ความชอบ ธรรมที่ มีมา
รักษา กายใจ ในธรรม
...ธรรมะ นั้นคือ ที่พึ่ง
ลึกซึ้ง ประเสริฐ เลิศล้ำ
ธรรมะ นำทาง สร้างธรรม
สุขล้ำ มีธรรม คุ้มครอง
...รักษา นำพา กายจิต
ชีวิต จะไม่ เศร้าหมอง
เดินไป ตามมรรค ครรลอง
คุ้มครอง กายใจ ในธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
เวลา ๐๖:๐๐ น. ...

140


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๙...

...บอกกล่าวกับผู้คนที่ได้สนทนาธรรมกัน
อยู่บ่อยครั้งว่า เรื่องราวเหตุการณ์ของ
แต่ละคนที่ได้ผ่านมานั้น มันเกิดจากกรรม
ที่ได้ทำมาจากอดีตชาติก็ดี ปัจจุบันชาตินี้
ก็ดี ทุกอย่างนั้นมีเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิด
...ทุกย่างก้าวที่เราเดินผ่าน
นั้นคือตำนานของชีวิต
ที่เราได้ลิขิตขึ้นมาเอง
ไม่ใช่โชคชะตาหรือฟ้าลิขิต
ไม่ใช่นิมิตของสรวงสวรรค์
ไม่ใช่พระพรหมนั้นมาบันดาล
แต่สิ่งที่ชีวิตต้องพบพาน
นั้นล้วนแต่เกิดจากกรรม
ที่เคยกระทำผูกพันกันมา
จึงต้องมาประสพพบเจอ
มีทั้งกรรมที่เป็นอกุศล
อันส่งผลให้พบความทุกข์
หรือว่ากรรมที่เป็นกุศล
อันส่งผลให้ได้รับความสุข
ทุกเรื่องจึงสรุปลงที่กรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
เวลา ๐๕:๑๓ น. ...

141


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรมบทที่ ๑๘...

...อานิสงส์ในการสร้างฐานโบสถ์...
...ส่งผลให้ครอบครัว และการงาน จะเป็นบึกแผ่น ไม่คลอนแคลน ไม่ล้ม เป็นฐานของบุญอันยิ่งใหญ่ ครอบครัว และเครือญาติ จะมีความอบอุ่น รักใคร่ปรองดองกัน ไม่ว่าจะเกิดชาติใด ก็จะเป็นคนมีหลักฐานมั่นคง ไม่เป็นคนหลักลอย ชีวิตมีหลัก ทำสิ่งใดก็สัมฤทธิ์ผล จะมีฐานรองรับทรัพย์เพิ่มพูนมหาศาล เหมือนดั่ง ฐานโบสถ์ ที่รองรับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ฐานบุญของเรามีความมั่นคง สมบูรณ์ที่สุด แก้กรรมให้กับผู้ที่ ครอบครัวแตกแยก มีชีวิตหลักลอย เปลี่ยนงานบ่อย ย้ายบ้านบ่อย ไม่มีหลักในชีวิต ผู้ที่รู้สึกเคว้งคว้าง คลอนแคลนในชีวิต...

...ร้อยเรียงกวีธรรม
ร้อยลำนำตามรายทาง
เพื่อให้เป็นแบบอย่าง
แด่ผู้คนที่สนใจ

...หลายหลากมากเรื่องราว
นำมากล่าวเล่ากันไป
ชี้แจงแถลงไข
บอกทางสุขให้ทุกคน

...เน้นย้ำเรื่องสติ
ให้ดำริด้วยกุศล
เพื่อความเป็นมงคล
ต่อชีวิตและครอบครัว

...ให้มีคุณธรรม
ไม่ถลำทำความชั่ว
ละอายและเกรงกลัว
ต่อบาปกรรมที่เข้ามา

...มีจิตเกื้อการุณย์
คอยเกื้อหนุนมีเมตตา
มีจิตคิดอาสา
สร้างประโยชน์ต่อสังคม

...ผ่อนคลายด้วยภาพถ่าย
ที่มากมายได้สะสม
เพลิดเพลินในอารมณ์
ชวนให้คิดและติดตาม

...แฝงด้วยสาระธรรม
ที่ชี้นำอย่ามองข้าม
วัดวาและอาราม
นำเสนอเป็นประจำ

...ขอบคุณที่ตามติด
ไมตรีจิตจะหนุนนำ
ก่อเกิดกุศลกรรม
ร่วมกันสร้างซึ่งทางดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๔:๑๙น. ...

142


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๗...

...ในความเคลื่อนไหว ขอให้ใจสงบนิ่ง...
...ชีวิตคนเรานั้น มันไม่ได้สลับซับซ้อน
อะไรมากมาย มันเป็นชีวิตที่เรียบง่าย
ถ้ารู้จักความพอดีและพอเพียง ยินดีใน
สิ่งควรเป็นและควรได้ เข้าใจในบทบาท
หน้าที่ของตนเองและเคารพในบทบาท
และหน้าทีของผู้อื่น
...แต่สิ่งที่ทำให้ชีวิตนั้นสับสนวุ่นวาย
ก็คือตัวกิเลสตัณหา ความทะยานอยาก
ที่ไม่รู้จักพอ ทำให้เกิดการก้าวก่ายใน
บทบาทหน้าที่ของผู้อื่น ก้าวล่วงไป
ในสิ่งที่ควรมีและควรเป็นของตนเอง
ล้ำไปในสิ่งที่ผู้อื่นนั้นควรจะได้รับ
...ชีวิตนั้นจึงสับสนและวุ่นวาย เพื่อให้
ได้มาซึ่งความสมปรารถนาของตนเอง
หลงติดอยู่ในสิ่งสมมุติทั้งหลาย
เวียนว่ายอยู่ในวังวนของกิเลสตัณหา
ไม่มีวันสิ้นสุด ชีวิตไปยึดถือและยึดติด
ในสิ่งที่สมมุติขึ้นมาทั้งหลาย
...สังคมมนุษย์จึงสับสนวุ่นวาย
ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะว่ามนุษย์นั้น
ไม่รู้จักคำว่าพอประมาณในการ
ใช้ชีวิต โลกนี้มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...

...สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง
คือความจริง ที่เห็น และเป็นอยู่
ใช้สติ ใคร่ครวญ ทบทวนดู
ก็จะรู้ และเข้าใจ ในหลักธรรม
...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เหมือนเช้า-ค่ำ
มีสีขาว ก็ย่อมมี ทั้งสีดำ
เพื่อเตือนย้ำ ความแตกต่าง สองอย่างกัน
...และเมื่อเรา วางใจ ไม่ยึดถือ
สิ่งนั้นคือ ของเรา เข้าถือมั่น
เมื่อใจว่าง ก็วางได้ โดยเร็วพลัน
สิ่งสำคัญ คือใจ เป็นประธาน
... เริ่มที่ใจ ที่จิต ต้องคิดก่อน
โดยการย้อน มองสิ่ง ที่พ้นผ่าน
เอาเป็นครู เรียนรู้ ประสพการ
นั้นคืองาน ของจิต ที่คิดทำ
...การทำดี ต้องเริ่มที่ การฝึกคิด
ฝึกทำจิต คิดดี หลายทีซ้ำ
คิดอะไร ก็ให้ดี มาชี้นำ
คือฝึกทำ ฝึกจิต ให้คิดเป็น
...คิดเพื่อหา เหตุผล ต้นความคิด
ต้องฝึกจิต ให้รู้ ดูให้เห็น
ทำประจำ จากเช้า จนถึงเย็น
ไม่ว่างเว้น ฝึกทำ จนชำนาญ
...ให้ใจเรา นั้นอยู่ กับกุศล
เป็นมงคล ชีวิต จิตอาจหาญ
ทำสิ่งใด ก็รู้เท่า ทันเหตุการณ์
นี้คืองาน ฝึกสติ ให้รู้ทัน
... ระลึกรู้ ให้เห็น ความเป็นอยู่
โดยตามดู ความคิด จิตเรานั้น
แยกถูกผิด ชั่วดี ออกจากกัน
ให้ใจนั้น มีสติ อยู่คุ้มครอง

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๒๐ น. ...

143


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๖...

...ความเจริญในธรรมนั้น เหมือนกับต้นไม้
คือต้องค่อยเป็นค่อยไปตามกาลเวลาและ
ลำดับชั้น เหมือนเราปลูกต้นไม้ เราอยาก
จะให้ต้นไม้มันโตไวๆ ให้ดอกออกผลโดยเร็ว
แต่มันเป็นไปไม่ได้ ต้นไม้มันต้องเจริญเติบโต
ไปตามระยะเวลาและอายุของมัน
...การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน มันต้องผ่านกาล
เวลาการสั่งสม เพิ่มพูนกำลังไปตามลำดับชั้น
การปฏิบัตินั้นจึงจะเป็นไปด้วยดี และมีความ
เจริญในธรรมที่มั่นคง ถูกต้องตามหลักของ
พระพุทธศาสนา ตามที่องค์พระศาสดา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสอนไว้...

...มิตรภาพตามรายทางที่ย่างผ่าน...
...รายทางที่ย่างผ่าน
มายาวนานและเรื่อยไป
ด้วยตัวและหัวใจ
ตามวิถีนักเดินทาง
...ภูผาและป่าไม้
ก้าวผ่านไปเพื่อสรรค์สร้าง
ศรัทธาไม่เคยจาง
จิตตั้งมั่นในทางธรรม
...ทางธรรมนำชีวิต
ชำระจิตที่มืดดำ
ออกห่างจากบาปกรรม
ระลึกชอบบำเพ็ญบุญ
...บุญกรรมนำชีวิต
มีหมู่มิตรคอยเกื้อหนุน
เมตตาและการุน
ช่วยเหลือกันตลอดมา
...ฝากไว้แด่มวลมิตร
ผู้มีจิตแสวงหา
ฝากผ่านกาลเวลา
ฝากหมู่เมฆและสายลม
...ปลอบใจมวลหมู่มิตร
ผู้มีจิตที่โศกตรม
ลบล้างความขื่นขม
ให้มีสุขสวัสดี
...ทุกข์โศกและโรคร้าย
ให้จางคลายไปทุกที่
ขอให้สิ่งที่ดี
จงบังเกิดแด่ทุกคน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๓:๓๑ น. ...

144


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๕...

“ อนนฺโท พลโท โหติ
วตฺถโท โหติ วณฺณโท
ยานโท สุขโท โหติ
ทีปโท โหติ จกฺขุโท “
...ผู้ให้ข้าวปลาอาหาร
ชื่อว่าให้กำลัง
ผู้ให้เสื้อผ้าอาภรณ์
ชื่อว่าให้ผิวพรรณ
ผู้ให้ยานความสะดวกในการ
เดินทาง ชื่อว่าให้ความสุข
ผู้ให้ประทีปโคมไฟแสงสว่าง
ชื่อว่าให้ดวงตา...

...ฝึกวางใจให้มันมั่งคง ไม่กังวล
ไม่สนใจใคร ทำให้เหมือนกับอยู่
คนเดียว ภายนอกเคลื่อนไหว
ภายในทำใจให้สงบ พิจารณาร่างกาย
พิจารณาดูจิต มันฟุ้งซ่านไปไหน
ก็ให้รู้จักมัน รู้เท่าทันกับกิเลส
สู้กับกิเลสที่เกิดขึ้นในใจเรา เอาชนะ
มันให้ได้ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
สำหรับวันๆหนึ่ง
...ให้รู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตล่วงไปแล้ว
ไม่ไปคิดถึง อนาคตที่ยังมาไม่ถึง
ก็อย่าไปคิดกังวล จิตอยู่กับปัจจุบันธรรม
หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ลมหายใจ
มันสั้นก็รู้ ลมหายใจยาวมันก็รู้ หายใจ
โปร่งโล่งเบาสบายก็รู้ อยู่กับลมหายใจ
เพียงเท่านั้น ก็เพียงพอ ต่อการปฏิบัติธรรม
สติและปัญญาจะแก่กล้าขึ้นมาเอง
ถ้าเราได้กระทำและฝึกฝนอยู่อย่าง
สม่ำเสมอ
...เมื่อใจเราอยู่กับธรรม ธรรมนั้นก็อยู่
กับเรา เมื่อเรารักษาธรรม ธรรมนั้นจะ
รักษาเรา ธรรมะคือตัวเรา ตัวเราคือ
ธรรมะ เพราะธรรมะนั้นคือธรรมชาติ
ที่เป็นจริงของสรรพสิ่งในโลกนี้...

๐ ยกข้อธรรม นำมา สาธยาย
สื่อความหมาย แห่งธรรม นำวิถี
ให้ใคร่ครวญ ทวนทบ พบสิ่งดี
บทกวี ชี้ทาง ห่างอบาย
๐ ทุกถ้อยคำ เน้นย้ำ เรื่องสติ
สมาธิ ตั้งมั่น มีจุดหมาย
มีสติ คุ้มครอง รองรับกาย
เดินตามสาย เส้นทาง อย่างมั่นคง
๐ ดำรงตน อยู่ใน ศีลธรรม
ไม่ก่อกรรม ทำชั่ว ด้วยมัวหลง
ซึ่งกิเลส ตัณหา พาพะวง
ให้ต่ำลง สู่อบาย ตายทั้งเป็น
๐ ยกจิตสู่ กุศล เป็นผลดี
ฝึกให้มี หิริ ระลึกเห็น
โอตตัปปะ คุ้มครอง ให้ร่มเย็น
มองให้เห็น ดีชั่ว กลัวบาปกรรม
๐ ปลุกสำนึก ความคิด จิตมนุษย์
เป็นชาวพุทธ ไม่ควร จะใฝ่ต่ำ
จงอย่าให้ กิเลส มาครอบงำ
ศึกษาธรรม นำทาง สว่างใจ
๐ รู้จักความ พอดี เป็นที่ตั้ง
ควรระวัง ความโลภ อย่าหลงใหล
ให้อยู่ดี มีสุข ไม่ทุกข์ใจ
อย่าอยากได้ เกินไป ให้ทุกข์ทน
๐ เมื่อมีน้อย ใช้น้อย คอยประหยัด
เราควรจัด บริหาร ให้เกิดผล
อย่าใช้เกิน กำลัง ระวังตน
เกิดเป็นคน ควรรู้การ ประมาณตน...

...ฝากไว้เป็นข้อคิดเพื่อเตือนจิตสะกิดใจ...

...ด้วยความปรารถนาดี...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๑:๕๔ น. ...

145


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๔...

...ชีวิตคือการเดินทางของจิตวิญญาณ
ที่ต้องผ่านบททดสอบมามากมาย
กว่าจะถึงจุดหมายปลายทางของชีวิต
เรียนรู้ความถูกผิดและดีชั่วอยู่ตลอดเวลา
แสวงหาซึ่งความสำเร็จของชีวิตที่คิดไว้
แตกต่างกันไปตามความปรารถนา
ของแต่ละคน
...รางวัลของชีวิตมิได้วางไว้ที่จุดเริ่มต้น
และหนทางนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ย่อมมีอุปสรรคขวากหนามอยู่บนเส้นทาง
ทุกอย่างที่พานพบล้วนเป็นประสบการณ์
ของชีวิต ความพลาดผิดพลาดพลั้ง
จึงไม่ใช่ความล้มเหลว แต่มันเป็น
บทเรียนของชีวิตที่สอนให้เราเรียนรู้
...ชีวิตที่เหลืออยู่เรียนรู้จากสิ่งที่ผ่านมา
เพื่อที่จะก้าวเดินไปข้างหน้า
แสวงหาในสิ่งทีดีให้แก่ชีวิต
ไม่ให้พลาดผิดอย่างที่เคยผ่านมา
เพราะว่าเราได้เรียนรู้และมีบทเรียน
มาแล้ว ตราบใดที่ชีวิตนั้นยังมีลมหายใจ
การเดินทางของชีวิตก็ยังไม่สิ้นสุด....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
เวลา ๒๐:๓๐ น. ...

146


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรมบทที่ ๑๓...

...บอกกล่าวแก่พระที่อยู่ร่วมด้วย
เสมอว่า เสน่ห์ของวัดป่านั้นคือ
ความสะอาดและความมีระเบียบ
วินัย ไม่ใช่อยู่ที่สิ่งก่อสร้างที่
วิจิตรอลังการ ยามเช้าปัดกวาด
วิหารลานธรรม เพื่อให้คนได้
เจริญตา ยามเย็นกวาดสถานที่
ให้เทวดาได้ชื่นชมและเป็นการ
ปฏิบัติธรรมไปในตัว เพราะใน
ขณะที่เรากวาดใบไม้อยู่นั้น
เราเจริญสติสัมปชัญญะไปด้วย
จิตก็พิจารณาเข้าหาหลักธรรม...

...ร่วงหล่น บนทางเท้า
ทุกค่ำเช้า เฝ้าปัดกวาด
รักษา ความสะอาด
กิจวัตร ในทุกวัน

...ใบไม้ เจ้าร่วงหล่น
ตามกาลกล เป็นเช่นนั้น
ร่วงหล่น ทุกคืนวัน
แปรเปลี่ยนไป ตามเวลา

...ร่วงหล่น ลงสู่พื้น
ร่วงลงคืน พสุธา
ตามกาล และเวลา
มีเกิดดับ สลับไป

...ใบไม้ ให้ร่มเงา
เมื่อยามเจ้า เขียวสดใส
ไม่นาน ก็จากไป
สลับเปลี่ยน มาทดแทน

...ร่วงหล่น ลงสู่พื้น
เจ้ากลับคืน สู่ดินแดน
มิเคย จะหวงแหน
ทดแทนคุณ ต่อแผ่นดิน

...เปื่อยเน่า ย่อยสลาย
มีความหมาย ไปทั้งสิ้น
พันธุ์ไม้ ได้ดูดกิน
ตอบแทนคุณ พงพนา

...ใบไม้ แม้นน้อยนิด
แต่ชีวิต ไม่ไร้ค่า
ตั้งแต่ กำเนิดมา
คุณค่ามาก นับอนันต์

...คนเรา นั้นควรคิด
ถึงชีวิต ที่เป็นนั้น
ผ่านคืน และผ่านวัน
เจ้าเคยสร้าง ประโยชน์ใด

...ชีวิต อย่าไร้ค่า
อย่าน้อยกว่า เจ้าใบไม้
รีบสร้าง หนทางไป
เพื่อชีวิต ที่มั่นคง

...มั่นคง ดำรงอยู่
และเป็นผู้ ไม่โลภหลง
ความดี นี้ยืนยง
จะส่งเสริม ซึ่งศรัทธา

...ชีวิต ที่เหลืออยู่
จงเรียนรู้ และศึกษา
เสริมสร้าง ทางปัญญา
เพื่อก่อเกิด คุณธรรม

...คุณธรรม นำชีวิต
คุ้มครองจิต และชี้นำ
ก่อเกิด กุศลกรรม
ให้พบสุข สงบเย็น...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๓:๕๕ น. ...

147


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๒...

..." กำหนดเป้าหมายของตนให้แน่ชัดแล้ว
พึงขวนขวายแน่วในจุดหมายของตน "
" อตฺตทตฺถมภิญฺญาย สทตฺถปสุโต สิยา "
พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๓๑...
...จะใช้เวลาช่วงกลางคืนหลังเสร็จ
จากทำวัตรเย็นแล้ว เขียนบทความ
บทกวีธรรมและจะโพสต์ประมาณ
ตีสามกว่าๆก่อนทำวัตรเช้าหรือหลัง
ทำวัตรเช้า ก่อนออกรับบิณฑบาต
เพราะกลางวันนั้นมีภารกิจที่ต้องทำ
คืองานโยธากัมมัฏฐานตลอดทั้งวัน...

...ดอกหญ้าเมื่อฟ้าหลังฝน...

๐ เมื่อสายฝน พ้นผ่าน ม่านฟ้าเปิด
ก่อกำเนิด เกิดการ ซึ่งงานใหม่
เหล่าพืชพันธุ์ งอกงาม เจริญวัย
กล้าต้นใหม่ งอกงาม ตามเวลา
๐ มวลไม้ดอก งอกงาม ตามฤดู
แมลงภู่ โบยบิน ดมพฤกษา
เสียงไก่เถื่อน ขับขาน กังวานมา
สกุณา ร่ำร้อง ดังก้องไพร
๐ สรรพสิ่ง รอบกาย ล้วนเป็นมิตร
เพราะว่าจิต เรานั้น ไม่หวั่นไหว
มีสติ ตามดู รู้ที่ใจ
นอกเคลื่อนไหว ในสงบ เมื่อพบธรรม
๐ มีแสงทอง แสงธรรม นำชีวิต
ประคองจิต มิให้ ใจใฝ่ต่ำ
มีสติ เตือนจิต ก่อนคิดทำ
กุศลกรรม ทำให้ ใจใฝ่ดี
๐ เหมือนดอกหญ้า กลางป่า ยามหน้าฝน
ที่ทุกคน มองไร้ค่า เมินหน้าหนี
มองไม่เห็น ประโยชน์ ที่พึงมี
ไร้ส่วนดี ไร้ค่า สายตาคน
๐ ไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้ ในสาระ
มีธรรมะ คุ้มครองใจ ในทุกหน
ตามดูกาย ดูจิต ความคิดตน
เพียรฝึกฝน กายจิต ให้คิดดี
๐ เอาทางธรรม มานำใช้ ในทางโลก
คลายทุกข์โศก ในใจ ของน้องพี่
ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นสิ่งดี
และคอยชี้ ช่องทาง สว่างใจ
๐ สว่างใจ สบายกาย สว่างจิต
เพียงแต่เปลี่ยน ความคิด ฝึกจิตใหม่
เปลี่ยนความคิด ชีวิต ก็เปลี่ยนไป
เส้นทางใหม่ ของชีวิต ลิขิตเอง....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๔๐ น. ...

148


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๑...

...ในยามดึกสงัดที่ผู้คนหลับใหล
นั่งมองลมหายใจที่ไหลเข้าออก
ใคร่ครวญทบทวนพิจารณาธรรม
เอาจิตคุมกายให้มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
ใช้จิตถามจิต คิดจนให้เห็นเหตุที่เกิด
ผัสสะ อายตนะ ธรรมารมณ์ ที่ทำให้เกิด
เมื่อรู้เห็นเข้าใจ จิตก็คลายความกังขา
เห็นการเกิดมา การตั้งอยู่และการดับไป
ถอนจิตออกได้จากการยึดถือที่เกิดขึ้น
กายโปร่งโล่งเบาสบายเมื่อจิตคลาย
จากการยึดถือ ลมหายใจเข้าสู่สภาวะ
สงบเย็นเป็นปกติ อุทานธรรมเกิดขึ้น
ในจิตเมื่อเข้าสู่ความว่าง ทุกสิ่งอย่าง
รอบกายล้วนคือครูผู้สอนธรรม
เมื่อได้น้อมนำมาพิจารณาโดย
ปราศจากอัตตาทุกสิ่งที่ผ่านมา
ตถตา มันเป็นเช่นนั้นเอง...

...เมื่อรู้เขา รู้เรา เข้าใจหมด
ก็กำหนด แนวทาง ที่วางไว้
ว่าจะให้ มันเป็น อย่างเช่นไร
กำหนดได้ ถ้าเข้าใจ ในบุคคล

...บทกวี ของหลวงพ่อ พุทธทาส
ผู้เป็นปราชญ์ กล่าวไว้ ให้น่าสน
เกี่ยวกับความ เป็นอยู่ ของผู้คน
ทุกแห่งหน ควรตรอง และมองดู

..." เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนดี ที่มีอยู่
เป็นประโยชน์ แก่โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย "

...นี่คือบท กวี ที่กล่าวสอน
เป็นบทกลอน ให้คิด อย่านิ่งเฉย
การมองคน ไม่ควร จะละเลย
จงคุ้นเคย มองคน ที่ผลงาน

...องค์รพี บิดา แห่งกฎหมาย
ท่านกล่าวไว้ เป็นกลอน สอนลูกหลาน
เรื่องกินเหล้า เมายา มาเนิ่นนาน
ให้รู้การ รู้ค่า คำว่าคน

..." เอ็งกินเหล้า เมายา ไม่ว่าดอก
แต่อย่าออก นอกทาง ให้เสียผล
เอ็งอย่ากิน สินบาท คาบสินบน
เรามันชน ชั้นปัญญา ตุลาการ "

...อยู่กับโลก ด้วยธรรม นำความคิด
อยู่กับมิตร เอาวาจา มาประสาน
อยู่คนเดียว ระวังจิต คิดเกินการ
จนฟุ้งซ่าน สับสน จนทุกข์ใจ

...อยู่อย่างไร ก็ให้ มีสติ
และดำริ ให้จิต นั้นผ่องใส
อย่าวุ่นวาย ตามโลก ที่เปลี่ยนไป
จงดูกาย ดูใจ ให้รู้ทัน

...โลกเคลื่อนไหว อย่าหวั่นไหว ไปตามโลก
จะทุกข์โศก เพราะโลก นั้นแปรผัน
กระแสโลก เปลี่ยนไป ทุกคืนวัน
แต่เรานั้น หยุดได้ โดยใช้ธรรม

...กระแสธรรม นำมา ซึ่งความสุข
ก้าวพ้นทุกข์ พาใจ ไม่ตกต่ำ
ทำกุศล ให้ถึงพร้อม แล้วน้อมนำ
เดินตามธรรม ขององค์ พระสัมมาฯ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๓:๕๙ น. ...

149


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๐...

.....ถ้าจิตใจเศร้าโศกไม่เบิกบาน
ร่าเริงแล้ว ความเป็นมงคลทั้งหลาย
ก็จะหายไปหมด แต่ถ้าจิตใจ
ไม่เศร้าโศก มีแต่ความร่าเริง
แจ่มใสเกษมสำราญ ความเป็น
มงคลทั้งหลายก็จะปรากฏขึ้น
เหมือนดั่งคำที่ว่า " จิตดี กายเด่น
จิตด้อย กายดับ " เมื่อจิตใจ
เป็นกุศลความเป็นมงคลทั้งหลาย
ก็จะเกิดขึ้น...

...จะสุขใด ไหนเท่า สุขในธรรม...

๐ เจริญจิต เจริญใจ ปฏิบัติ
เพื่อขจัด ซึ่งกิเลส และตัณหา
เพื่อเสริมสร้าง จิตใจ ให้ศรัทธา
ภาวนา ให้สงบ พบที่ใจ
๐ จงดูกาย ดูจิต พร้อมดูธรรม
ดูแล้วนำ มาคิด วินิจฉัย
ดูให้เห็น ในสิ่ง ที่เป็นไป
ให้เข้าใจ สิ่งที่เห็น ความเป็นมา
๐ มองหาเหตุ ปัจจัย มองให้เห็น
สิ่งที่เป็น บ่อเกิด ของปัญหา
ใช้ความคิด ใช้สติ ใช้ปัญญา
จงมองหา มองให้เห็น ความเป็นจริง
๐ ชีวิตนี้ ย่อมมี อุปสรรค
เป็นตามหลัก เปลี่ยนไป ในทุกสิ่ง
อนิจจา ไม่เที่ยง คือความจริง
สรรพสิ่ง ย่อมผันแปร ไม่แน่นอน
๐ เมื่อมีได้ ก็ย่อม จะมีเสีย
เมื่ออ่อนเพลีย ควรตั้งหลัก หยุดพักผ่อน
ให้จิตใจ เข้มแข็ง และแน่นอน
แล้วค่อยย้อน มาแก้ไข ให้ทันการ
๐ การกดดัน ตนเอง เกรงจะเสีย
กายอ่อนเพลีย และจิตใจ ไม่อาจหาญ
ทำสิ่งใด ไม่สำเร็จ เสร็จตามกาล
สิ่งที่ผ่าน ไม่เห็นชัด เพราะอัตตา
๐ ทุกปัญหา ย่อมมีทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ยอมละ ซึ่งตัณหา
ความอยากมี อยากได้ ที่เป็นมา
คือตัณหา ความโลภ ที่ครอบงำ
๐ เมื่อไม่ยอม เสียสละ ก็ละยาก
ต้องลำบาก ทำชีวิต ให้ตกต่ำ
ก่อให้เกิด การจองเวร และสร้างกรรม
บุญไม่ทำ แต่กรรมผิด ติดตามตน
๐ เพราะตัณหา อัตตา และมานะ
ที่ไม่ละ ไม่วาง จึงให้ผล
ต้องกลุ้มใจ ไร้สุข ต้องทุกข์ทน
นั้นคือผล ของกรรม ที่ทำมา
๐ ความพอดี พอเพียง เลี้ยงชีวิต
รู้ถูกผิด ในกิเลส และตัณหา
รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ด้วยปัญญา
จะนำพา ชีวิต จิตเจริญ
๐ เจริญธรรม ล้ำเลิศ ประเสริฐนัก
มีคนรัก คนชม และสรรเสริญ
เจริญธรรม นำใจ ให้เพลิดเพลิน
สุขใดเกิน สุขในธรรม องค์สัมมา
๐ สุขทางโลก นั้นไม่นาน ก็จางหาย
พอสุขคลาย จิตก็ทุกข์ มีปัญหา
สุขในธรรม นั้นดำรง ทรงเรื่อยมา
ก็เพราะว่า ใจนั้น มันเพียงพอ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๒๘ น. ...

150


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๙...

...ความเป็นผู้รู้ประมาณในกาลเวลา...
...การแสดงความคิดเห็นนั้น ต้องอยู่บน
พื้นฐานของความเหมาะสม พอดีพอเหมาะ
และพอควร มากเกินไปมันจะกลายเป็น
ความฟุ้งซ่าน ไร้สาระ น่าเบื่อหน่ายต่อผู้รับ
ทำให้ความคิดเห็นต่อๆไปกลายเป็นสิ่งที่
ถูกปฏิเสธ ไม่ได้รับความสนใจ ทั้งที่อาจจะ
เป็นความคิดเห็นที่ดีๆ
...สิ่งนั้นคือเรื่องของกาลเทศะ การรู้จัก
จังหวะ เวลา โอกาส สถานที่และบุคคล
ที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ในการ
แสดงความคิดเห็นและการสนทนากับผู้อื่น
...เป็นคำพูดที่ได้กล่าวแก่ผู้มาปฏิบัติธรรม
อยู่เสมอ ถึงเรื่องที่ควรระวังในการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น พูดคุย เพื่อนำไปสู่ความรู้
และความเข้าใจและการตอบรับของผู้ฟัง.....
...กว่าจะถึง วันนี้ ของชีวิต
เคยพลาดผิด มากมาย มาหลายครั้ง
หลงเพลินไป ด้วยใจ ไม่ระวัง
จึงพลาดพลั้ง สร้างกรรม ทำบาปมา
...เดินเข้าสู่ วังวน ของคนบาป
จิตนั้นหยาบ มัวเมา ในตัณหา
ได้ก่อกรรม ทำเวร หลายครั้งครา
ก็เพราะว่า ไร้ศีลธรรม ประจำใจ
...จนมาถึง วันหนึ่ง ของชีวิต
จึงได้คิด เปลี่ยนแปลง และแก้ไข
ได้ระลึก ถึงกรรม ที่ทำไป
จึงเปลี่ยนใจ เปลี่ยนจิต คิดเปลี่ยนแปลง
...มุ่งเข้าสู่ ทางธรรม นำชีวิต
ปรับความคิด มืดดำ ทำให้แจ้ง
ลดซึ่งความ ก้าวร้าว และรุนแรง
เพราะมีแสง แห่งธรรม นั้นนำทาง
...ได้ศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติ
และฝึกหัด ภาวนา มาหลายอย่าง
บทสุดท้าย ก็คือ การปล่อยวาง
ให้จิตว่าง จากกิเลส ก็เพียงพอ
...ตถตา มันเป็น อยู่เช่นนั้น
วุ่นวายกัน ไปทำไม มากมายหนอ
บทสุดท้าย ของชีวิต จิตรู้พอ
จิตไม่ก่อ ปัญหา เพราะว่าวาง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๓:๔๐ น. ...

151


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๘...

...เรียนรู้เรื่องทางโลกมามากมาย
ล้วนแล้วเป็นไปเพื่อความมี ความได้
และความอยากส่งจิตออกจากตัวเอง
ตลอดเวลา แสวงหาสิ่งนอกกาย
เป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนกิเลสตัณหา
และอัตตาเรียนไปๆกิเลสก็ยิ่งหนา
มิได้เบาบางลง
...เรียนรู้สู่เส้นทางสายธรรมเป็นไป
เพื่อความลดละซึ่งความโลภ โกรธ
หลงละกิเลส ตัณหาและอุปาทาน
ให้มันเบาบางลงเป็นการศึกษา
เข้ามาสู่ภายในจิตในกายของเรา
น้อมจิตเข้าสู่ตัวเรา เรียนรู้ให้รู้จัก
ตัวของเราเอง
...พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าว
สอนไว้ว่า"จิตที่ส่งออก เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออก เป็นทุกข์
จิต เห็น จิต เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ "...
๐ ทุกข์...เท่านั้น เกิดมา พาหลงใหล
สมุทัย...ที่กำเนิด เกิดทุกอย่าง
นิโรธ...ธรรม นำไป ให้ถูกทาง
มรรค...สรรค์สร้าง สัจจะ สู่พระธรรม
๐ เป็นของจริง จากสัจจะ อริยะ
องค์พุทธะ เลิศล้น ชนดื่มด่ำ
บอกโลกรู้ ดูให้เป็น จึงเห็นธรรม
เพื่อจะนำ หนึ่งชีวิต ไม่ผิดทาง...
...แด่ธรรมะของพระพุทธองค์...
...ศรัทธาในธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
..รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๗:๓๐ น. ...

152


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๗...

...หลังจากได้เวลาพักจากงาน
โยธากัมมัฏฐาน นั่งพักให้เหงื่อแห้ง
ก่อนที่จะสรงน้ำเตรียมตัวทำวัตรเย็น
ก็เลยค้นหาบทกวีเก่าๆที่เคยเขียนไว้
มาเกลาใหม่ เป็นการผ่อนคลาย
ไปในตัว...

.....กวีธรรมส่องนำทาง.....

...กวีธรรม นำทาง สร้างชีวิต
กวีธรรม นำจิต นิมิตใหม่
กวีธรรม ส่องนำ กายและใจ
กวีธรรม ทำให้ ใจร่มเย็น

...กวีธรรม ทำให้ ใจนึกคิด
กวีธรรม นำจิต ความคิดเห็น
กวีธรรม สอนจิต ให้คิดเป็น
กวีธรรม ที่ได้เห็น นั้นส่องทาง

...กวีธรรม นำเรื่องราว มาเล่าสู่
กวีธรรม บอกให้รู้ ถึงแบบอย่าง
กวีธรรม นั้นเตือนใจ ให้ละวาง
กวีธรรม คือแบบอย่าง เส้นทางธรรม

...กวีธรรม นั้นกลั่น มาจากจิต
กวีธรรม คือนิมิต ที่ลึกล้ำ
กวีธรรม ส่องทาง ล้างมืดดำ
กวีธรรม ชี้นำ ให้ก้าวเดิน

...กวีธรรม น้อมนำ ให้นึกคิด
กวีธรรม เหมือนมิตร ไม่เก้อเขิน
กวีธรรม ทำให้ ใจเพลิดเพลิน
กวีธรรม ดำเนิน อยู่เรื่อยไป

...กวีธรรม นั้นอยู่ คู่กับโลก
กวีธรรม อำนวยโชค สุขสดใส
กวีธรรม ดั่งแสงทอง ผ่องอำไพ
กวีธรรม ทำให้ ใจถึงธรรม

...กวีธรรม ล้ำเลิศ ประเสริฐนัก
กวีธรรม คือที่พัก ผู้บอบช้ำ
กวีธรรม ปลอบใจ ผู้มีกรรม
กวีธรรม ชี้นำ ผู้ทุกข์ทน

...กวีธรรม ชี้ทาง สว่างจิต
กวีธรรม ช่วยชีวิต ให้หลุดพ้น
กวีธรรม มอบให้ แด่ทุกคน
กวีธรรม สร้างกุศล ธรรมทาน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๗:๔๓ น. ...

153


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๖...

..."ความเบื่อกับความอยากเป็นของ
คู่กัน" เมื่อความอยากเกิดขึ้นจิตก็
ดิ้นรนขวนขวาย หาเหตุและปัจจัย
มาสนองตอบซึ่งความอยากเหล่านั้น
ถ้าสนองตอบตัณหาความอยากได้
จิตก็ยินดี ถ้าไม่ได้ตามที่ปรารถนา
จิตมันก็เกิดปฏิฆะ ขุ่นมัว เศร้าหมอง
และเมื่อเสพในความอยากนั้นจน
เต็มที่แล้ว จิตมันก็จะเบื่อในอารมณ์นั้น
ความอยากในสิ่งอื่นก็เข้ามาแทนที่
มันเป็นเช่นนี้เรื่อยมาคือ"อยากๆเบื่อๆ
แล้วก็เบื่อๆอยากๆ" ตามกิเลสตัณหา
ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของอารมณ์
ถ้าเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้
ชีวิตของเราก็จะไม่มีความสุขสงบ
เพราะเราต้องดิ้นรนขวนขวายหาปัจจัย
มาสนองตอบตัณหาไม่สิ้นสุด...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๓:๕๔ น. ...

154


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๕...

...บางครั้งความคุ้นเคยและความ
เคยชิน มันอาจจะนำไปสู่ความ
หย่อนยาน จนกลายเป็นความขี้เกียจ
มักง่าย ถ้าเราไม่หมั่นตรวจสอบ
ควบคุมจิตของเรา ไม่มีความ
รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ ข้อวัตร
ปฏิบัติ มันก็จะนำไปสู่ความ
เสื่อมถอยจิตคล้อยตามไปใน
กระแสโลก ออกห่างจากกระแส
แห่งธรรม แต่ถ้าเรามีความมั่นคง
มีศรัทธาที่หนักแน่น ตามดู ตามรู้
ตามเห็นจิตนั้นอยู่เสมอ ไม่พลั้งเผลอ
ขาดสติและองค์แห่งคุณธรรมแล้ว
ความเสื่อมย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เรา
ความเจริญในธรรมทั้งหลาย ก็จะ
บังเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ปฏิบัติเช่นนั้น
สิ่งสำคัญมันอยู่ที่จิตสำนึกแห่ง
การใฝ่ดี ว่าเรานั้นมีแล้วหรือยัง
และเราได้ทำในสิ่งนั้นแล้วหรือยัง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๓๗ น. ...

155


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๔...

...ที่ผ่านมานั้นเดินทางขึ้นเหนือ
ล่องใต้ไปอีสานอยู่ตลอด ทั้งที่
เป็นเรื่องงานทางพระพุทธศาสนา
และงานด้านจิตอาสาเพื่อสังคม
ทุกสิ่งอย่างที่ได้กระทำไปนั้น
เป็นการฝึกฝนให้แก่คนรุ่นใหม่
เป็นการสร้างพื้นฐานด้านความคิด
เป็นการสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวม
รู้จักการเสียสละประโยชน์ส่วนตน
เพื่อคนอื่น รู้จักการใช้ชีวิตและการ
ทำงานรวมหมู่กับคนหมู่มาก
...มันคือการสอนธรรมแด่ผู้ร่วม
กิจกรรม สอนประสบการณ์ชีวิต
คือการเปิดซึ่งโลกทัศน์และชีวทัศน์
เป็นการสั่งสมซึ่งประสบการณ์ชีวิต
ซึ่งต้องก้าวเดินไปพร้อมกัน ทั้งทาง
โลกและทางธรรม...

๐ เบื่อเบื่อ อยากอยาก หลายครั้ง
ครั้งยัง ฝึกฝน ใหม่ใหม่
หลบหลีก อยู่ตาม พงไพร
หวั่นไหว ต่อโลก มายา

๐ ไม่ว่า จะอยู่ ที่ไหน
ไม่ไร้ วุ่นวาย ปัญหา
เพราะต้อง พบปะ พึ่งพา
ศรัทธา หาเลี้ยง ชีพตน

๐ มีคน ก็มี ปัญหา
เพราะว่า หลบหลีก ไม่พ้น
จึงต้อง ฝึกความ อดทน
ฝึกจน ให้เกิด ชำนาญ

๐ ตามดู ตามรู้ ตามเห็น
ให้เป็น อารมณ์ กรรมฐาน
รู้กาย รู้จิต เหตุการณ์
คิดอ่าน อารมณ์ ปัจจุบัน

๐ รู้ตัว รู้ทั่ว รู้พร้อม
นำน้อม ความคิด สร้างสรรค์
ตามดู รู้จิต ให้ทัน
สิ่งนั้น วิปัส-สนา

๐ ถอนจิต จากความ สงบ
เมื่อพบ กับตัว ปัญหา
แก้ไข โดยใช้ ปัญญา
มองหา ให้เห็น เป็นจริง

๐ มองหา ให้เห็น คุณโทษ
ประโยชน์ หรือไม่ ในสิ่ง
รู้เห็น ตามความ เป็นจริง
จิตนิ่ง ก็มอง เห็นธรรม

๐ เห็นการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่
และรู้ การดับ ลึกล้ำ
ชั่วดี ก่อเกิด บุญกรรม
น้อมนำ สู่จิต คิดตาม

๐ เคลื่อนไหว แต่ไม่ หวั่นไหว
ถ้าใจ มั่นใน ข้อห้าม
เฝ้าดู จิตอยู่ ทุกยาม
เดินตาม ธรรมะ ชี้นำ

...เคลื่อนไหว วุ่นวาย สับสน
เหตุผล ปัญหา ตอกย้ำ
มนุษย์ เป็นไป ตามกรรม
ใครทำ ต้องรับ กรรมไป....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๘:๓๒ น. ...

156


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๓...

...ในการเขียนบทกวีธรรมนั้น
บางครั้งเราต้องใช้อารมณ์ศิลปิน
เพื่อที่จะสร้างคำหรือภาษาที่สวยงาม
ซึ่งต้องเวลาและอารมณ์ เป็นหลัก
ในการประพันธ์บทกวี เมื่อได้พักกาย
พักจิต ทำชีวิตให้สบาย ทั้งภายนอก
และภายใน ใจก็พร้อมที่จะทำงาน...
....การผ่อนคลายทางจิต โดยการ
ปลดปล่อยความรู้สึกและความคิด
ไปสู่ท้องฟ้า มองหมู่เมฆที่เคลื่อน
ไปมาตามกระแสลม มองหมู่ดาว
บนฟ้าในยามราตรีร้อยเรียงเรื่องราว
มาเล่าเป็นบทกวี เป็นการพักผ่อน
ที่มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม...

...เมื่อฝนซาฟ้าใสใจเป็นสุข...

๐ จะร้อยเรียง เรื่องราว และข่าวสาร
ประสบการณ์ ผ่านตา มาให้เห็น
สอนให้จำ ทำให้ดู อยู่ให้เป็น
ไม่ยากเย็น เกินกว่า พยายาม
๐ มองหมู่เมฆ เคลื่อนคล้อย ลอยบนฟ้า
แล้วแต่ลม นำพา ไม่ไถ่ถาม
ไม่มีสิทธิ์ ร้องขอ หรือต่อความ
เจ้าลอยตาม แรงลม ที่พัดพา
๐ จากกลุ่มน้อย ลอยมา พาประสาน
จึงเกิดการ รวมตัว บนท้องฟ้า
เป็นก้อนใหญ่ เคลื่อนไหว อยู่ไปมา
อีกไม่ช้า ก็จะกลาย เป็นสายฝน
๐ แล้วร่วงหล่น ลงมา สู่เบื้องล่าง
ทุกสิ่งอย่าง ล้วนมี ซึ่งเหตุผล
มีที่มา ที่ไป ใช่วกวน
ไม่เหมือนคน ที่ใจ ไม่แน่นอน
๐ ใจคนนั้น ผันแปร แล้วแต่จิต
เปลี่ยนความคิด จิตใจ ให้ยอกย้อน
ไม่มีความ เที่ยงแท้ และแน่นอน
จิตปลิ้นปล้อน กลับกลอก หลอกเหมือนลิง
๐ เพราะกิเลส ตัณหา พาให้คิด
แปรเปลี่ยนจิต ไปกับ ทุกทุกสิ่ง
ไม่ยอมรับ ความเห็น ที่เป็นจริง
จิตไม่นิ่ง เพราะขาดธรรม จะนำทาง
๐ จิตที่มี คุณธรรม นำความคิด
รู้ถูกผิด ดีชั่ว ทุกสิ่งอย่าง
รู้จักการ ปล่อยปละ และละวาง
ธรรมจะสร้าง จิตสงบ พบความจริง
๐ มีสติ และสัม-ปชัญญะ
จิตก็จะ พบความ สงบนิ่ง
ได้รู้โลก รู้ธรรม ที่เป็นจริง
จิตจะนิ่ง และสงบ เมื่อพบธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๗:๔๕ น. ...

157


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒...

...เวลาจะช้าหรือจะเร็วนั้น มันขึ้นอยู่
กับความรู้สึกของเรากับสถานการณ์
ที่เป็นอยู่ ถ้าเรารู้สึกยินดีกับสิ่งที่
กำลังเป็นและเพลิดเพลินกับสิ่งนั้น
เราจะรู้สึกว่าเวลานั้นมันแสนสั้น
เพราะว่าใจของเรานั้นผูกพันธุ์ยึดถือ
อยู่กับสิ่งนั้น ไม่อยากจะให้มันผ่าน
พ้นไป ในทางกลับกัน ถ้าในเวลานั้น
เรารู้สึกไม่พอใจไม่ยินดีกับสิ่งที่
กำลังมีและกำลังเป็น อยากจะให้
มันผ่านไปจบสิ้นไปโดยเร็ว เราก็จะ
รู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้าเหลือเกิน
เพราะใจของเราไม่ชอบและปฏิเสธ
ในสิ่งที่กำลังเป็นไป มันจึงรู้สึกว่า
เวลานั้นผ่านไปช้ามาก เวลาใน
แต่ละช่วงนั้นมันมีระยะที่เท่ากัน
อยู่เสมอ ไม่มีช้าหรือเร็ว มันเป็นไป
ตามปกติวิสัยที่เราสมมุติขึ้นมา
แต่ที่ทำให้รู้สึกว่าช้าหรือเร็วนั้น
มันขึ้นอยู่ที่ใจของเรา...

...รำพึงธรรมกับกาลเวลาที่ผ่านพ้นไป...

...วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ในทุกหน
แม้นแต่จิต และใจ ภายในตน
ยังดิ้นรน ไขว่คว้า หาทางไป
...ภายนอกนั้น อาจจะดู ว่าสงบ
แต่ค้นพบ ว่าจิตนั้น ยังหวั่นไหว
กระแสโลก ที่กระทบ จบที่ใจ
จิตหวั่นไหว เพราะว่าใจ ไม่มั่นคง
...จึงตามดู ตามรู้ ดูที่จิต
ดูความคิด ของจิต เมื่อมันหลง
ดูให้เห็น ความเป็นอยู่ แล้วก็ปลง
จิตมั่นคง เมื่อมีธรรม นั้นนำทาง
...ความเคยชิน ที่สะสม มานมนาน
เพราะว่าผ่าน หลายเรื่องราว ในโลกกว้าง
การจะลด การจะเลิก การจะวาง
จึงต้องสร้าง ความชินใหม่ ไปทดแทน
...นั้นคือการ ละลาย พฤติกรรม
ที่เคยทำ จนเกาะกุม เป็นปึกแผ่น
จึงต้องสร้าง สิ่งใหม่ ไปทดแทน
แม้นจะแสน ยากนัก จักต้องทำ
...ทุกอย่างนั้น มีแนวทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ของเรา จะหนุนค้ำ
ยอมแก้ไข ในสิ่ง ที่เคยทำ
พฤติกรรม เก่าเก่า ยอมละวาง
...ยอมลดละ อัตตา และมานะ
ยอมลดละ ทำใจ ให้เปิดกว้าง
โลกทัศน์ ชีวทัศน์ ต้องจัดวาง
เปลี่ยนทุกอย่าง ที่เคยทำ กรรมไม่ดี
...ไม่มีคำ ว่าสาย หากเริ่มต้น
ความหลุดพ้น มีได้ ในทุกที่
เริ่มจากใจ จากจิต คิดให้ดี
ต้องเริ่มที่ ใจของเรา เท่านั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๖:๕๒ น. ...

158


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม ปฐมบท...

...การที่จะได้รับความเชื่อถือศรัทธา
จากญาติโยมได้นั้น มันต้องทำให้ดู
อยู่ให้เขาเห็น วางตัวให้เป็น จึงจะได้
รับความเชื่อถือ ความร่วมมือ ศรัทธา
จากญาติโยม
...ได้กล่าวเตือนลูกศิษย์อยู่เสมอว่า
ถ้าไปเป็นเจ้าสำนักหรือสมภารที่ใด
จงอย่าไปทะเลาะกับคนข้างวัดหรือ
ข้างสำนัก จงหาวิธีการสร้างศรัทธา
ให้เขามาเป็นมิตรให้ได้ แล้วท่านจะ
อยู่สบาย คล้ายมีเกราะกำแพงคุ้มกัน
สิ่งนั้นผู้เป็นเจ้าสำนักหรือสมภารต้อง
กระทำให้ได้
...อย่าให้ความสำคัญกับญาติโยมที่
อยู่ไกล จนลืมคนใกล้วัด ต้องปฏิบัติ
ตัวให้เสมอกัน เพราะคนใกล้วัดนั้น
เขาคือกำลังหลักของเรา อยู่ใกล้ชิด
กับเราตลอดเวลา
...การที่จะทำให้เขาศรัทธาได้นั้น
มันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การที่จะรักษา
ศรัทธานั้นให้ยืนยงตลอดไป เป็นเรื่อง
ที่ยากขึ้นไปกว่า " ทำของที่ไม่มีนั้น
ให้มันมีขึ้นมา รักษาของที่มีอยู่แล้ว
ไม่ให้สูญหายไป " นั้นคือสิ่งที่ต้อง
คิดและกิจที่ต้องทำ...

...พรสวรรค์ นั้นมี แต่กำเนิด
เพราะว่าเกิด จากบุญ ที่สะสม
เพราะจิตนั้น ได้ผ่าน การอบรม
และสั่งสม สืบต่อ ปัจจุบัน

...พรสวรรค์ อาจหายไป ถ้าไม่ต่อ
มัวแต่รอ วาสนา เฝ้าแต่ฝัน
ไม่สานต่อ ทำเพิ่ม เติมเต็มมัน
พรสวรรค์ ก็หมด หดหายไป

...พรสวรรค์ นั้นแพ้ พรแสวง
เสาะหาแหล่ง เรียนรู้ สู่สิ่งใหม่
พัฒนา ตนเอง ขึ้นเรื่อยไป
เพื่อจะได้ ฝึกฝน จนชำนาญ

...ทุกสิ่งอย่าง มันยาก ตอนเริ่มต้น
เพราะทุกคน เพียงแต่คิด จิตไม่หาญ
เมื่อไม่ทำ ก็ไม่รู้ ไม่สู้งาน
ปล่อยให้ผ่าน เปล่าไป ไม่ได้ทำ

...การฝึกฝน เริ่มต้น ตรงที่จิต
ต้องฝึกคิด ปลุกจิต ไม่คิดต่ำ
คิดให้ดี คิดให้ชอบ แล้วกระทำ
โดยการนำ ทำความคิด ให้เป็นจริง

...ความคิดนั้น เป็นเพียง นามธรรม
ต้องน้อมนำ ทำไป ในทุกสิ่ง
ทำให้ดู ทำให้เห็น ให้เป็นจริง
อย่าเฉยนิ่ง ทำทุกสิ่ง เพื่อทางธรรม
...เอาธรรมนั้น มานำทาง สร้างชีวิต

เพื่อนำจิต ออกจาก สิ่งตกต่ำ
ลดและละ ความชั่ว ที่ครอบงำ
เดินตามธรรม ตามทาง สร้างความดี

...สร้างความดี ฝากไว้ ให้คนคิด
เป็นนิมิต ฝากไว้ ในทุกที่
เกิดเป็นคน ควรสร้าง เส้นทางดี
ชีวิตนี้ ที่เกิดมา ค่าคู่ควร.....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๓๔ น. ...

159
ขอบคุณครับ... :054:

160


...กตัญญูบูชาครู พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ)...
...วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคมที่จะถึงนี้
เป็นงานไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่อ
เปิ่น ฐิตคุโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดบางพระ
ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ เคยได้รับความ
เมตตาจากท่านในหลายด้าน จนทำให้
สามารถมายืนอยู่ ณ จุดนี้ได้ ก็เพราะได้
บารมีของครูบาอาจารย์ท่านส่งเสริม
ลูกศิษย์นี้ไม่เคยลืมพระคุณของท่าน
ด้วยใจเคารพศรัทธา ขอแสดงความ
กตัญญูบูชาครู ด้วยตัวอักษรไว้ ณ ที่นี้...

๐๐๐ ฐิตคุณาศิรวาท ๐๐๐

(...กลอน ๙ ด้น...)

๐ นบนิ้วน้อม มือประนม ก้มลงกราบ
รำลึกภาพ พระอุดม- ประชานาถ
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ เกียรติประกาศ
สีหนาท เกียรติก้องไกล มานานปี

๐ เป็นที่พึ่ง ของผู้คน ทุกค่ำเช้า
เทพเจ้า แห่งลุ่มน้ำ นครชัยศรี
ตลอดอายุ ที่ผ่านมา เนิ่นนานปี
หลวงพ่อมี ความเมตตา สาธุชน

๐ หลวงพ่อเปิ่น พระอุดม- ประชานาถ
เกียรติประกาศ คนแซ่ซ้อง ทุกแห่งหน
ขอกุศล ผลบุญนั้น บันดาลดล
ประสิทธิ์ผล ซึ่งสมบัติ พิพัฒน์ชัย

๐ หลวงพ่ออยู่ เป็นมิ่งเกล้า ของเหล่าศิษย์
ชุบชีวิต เมตตาธรรม นำมาให้
บารมี ช่วยปกป้อง จากผองภัย
น้อมกายใจ ไหว้บูชา ครูอาจารย์...

...กตัญญูบูชาครู เสาร์ที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม...
... ร้อยกรองบูชาครู...

161


...ระลึกถึงบุญคุณครูบูรพาจารย์ ใกล้ถึงงานไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น...
๐ ตั้งแต่อ่อน นอนแผ่ ในแบเบาะ
ก็ถูกเพาะ อบรม และสั่งสอน
ด้วยความรัก เมตตา เอื้ออาทร
จากมารดร สอนสั่ง อย่างตั้งใจ
๐ สอนให้รู้ จักคำ สื่อภาษา
ด้วยวาจา ปลอบโยน อันอ่อนไหว
ด้วยความรัก เมตตา และห่วงใย
สอนตั้งไข่ สอนเดิน เจริญการ
๐ อันมารดา เป็นครู ผู้เริ่มต้น
ผู้ฝึกฝน อบรม ประสมสาน
สอนให้พูด ให้ทำ จนชำนาญ
ปฐมการ ก่อเกิด ซึ่งปัญญา
๐ พออายุ ถึงเกณฑ์ ที่กำหนด
ไปตามกฎ ระเบียบ การศึกษา
เรียนจากครู อาจารย์ งานวิชา
ตามโอกาส วาสนา ปัญญามี
๐ พอเติบใหญ่ เรียนรู้ จากรอบข้าง
เรียนทุกอย่าง เรื่อยไป ในวิถี
สรรพสิทธิ์ วิชา บรรดามี
เรียนรู้ที่ ถูกต้อง ตามแนวทาง
๐ เป็นครูพัก ลักจำ ก็ทำอยู่
หรือเรียนรู้ ในศาสตร์ ทุกสิ่งอย่าง
ทุกสิ่งล้วน มีครู ผู้ชี้ทาง
ที่ได้สร้าง ได้ทำ ได้นำมา
๐ ศิษย์มีครู ก็เหมือนงู ที่มีพิษ
แม้น้อยนิด ก็มีฤทธิ์ ตามเนื้อหา
เกิดจากความ เคารพ และศรัทธา
เชื่อมั่นมา ในครู ผู้ชี้นำ
๐ กตัญญู บูชา คารวะ
คือธรรมะ คำครู ผู้หนุนค้ำ
ระลึกถึง คุณของครู อยู่ประจำ
เมื่อกระทำ การกิจ คิดถึงครู
๐ ถึงรอบปี มีโอกาส อย่าพลาดผิด
มารวมจิต รวมใจ ให้มั่นอยู่
ตั้งพิธี พลีกรรม ตามคำครู
ทำให้ดู ให้เด่น ให้เป็นงาน
๐ งานไหว้ครู บูรพา อาจารย์นั้น
มาร่วมกัน ตั้งจิต อธิษฐาน
ระลึกถึง พระคุณครู บูรพาจารย์
อธิษฐาน พระคุณครู อยู่คุ้มครอง
๐ สิ่งใดที่ ผิดพลาด ประมาทคิด
ขมาจิต ขมากาย คลายเศร้าหมอง
ขอน้อมกาย น้อมจิต ศิษย์รับรอง
ตอบสนอง พระคุณครู อยู่ไม่คลาย
๐ ขอพระคุณ ของครู จงอยู่ค้ำ
อยู่ประจำ กับศิษย์ นิมิตหมาย
ระลึกคุณ ของครู ด้วยใจกาย
ศิษย์ทั้งหลาย ระลึก สำนึกคุณ...
...กตัญญู บูชา คารวะ ต่อครูบูรพาจารย์...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
         ๒๔ ก.พ.๒๕๖๓

162


...อาจาริยะบูชาไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ...

...ไม่ใช่เพียงแค่ระลึกนึกถึง
แต่ควรนำคำสั่งสอนของท่าน
มาปฏิบัติใช้ ไม่ละเมิด ไม่ก้าวล่วง
ข้อห้ามที่ครูบาอาจารย์ชี้แนะไว้
นี้จึงจะได้ชื่อว่า " อาจาริยบูชา
หรือการบูชาพระคุณครู "
อย่างแท้จริง...

...พิธีไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น
วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๓
เวลา ๐๙.๓๙ น. ณ มณฑลพิธี
วัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า
อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม...

๐ สิบนิ้วประนมน้อม
ดวงจิตพร้อมอภิวา
ระลึกคุณบูรพา
ขอบูชาซึ่งคุณครู
...สืบสายตำนานศาสตร์
ขอประกาศและเชิดชู
ศึกษาและเรียนรู้
สืบจากครูบูรพา
...สักเสกแลเลขยันต์
สารพันวิทยา
ได้รับความเมตตา
ถ่ายทอดมาจากอาจารย์
...โดดเด่นเรื่องสักเสก
ยกเป็นเอกแห่งตำนาน
เสือเผ่นเด่นตระการ
คนกล่าวขานและร่ำลือ
...เวียนรอบในราศี
ถึงเดือนสี่ที่เชื่อถือ
สำคัญวันนั้นคือ
ประกาศชื่อบูชาครู
...ไหว้ครู"หลวงปู่เปิ่น"
ประกาศเชิญให้รับรู้
บวงสรวงบูชาครู
เชิญมาอยู่คุ้มครองกาย
...รอยมันและลายหมึก
ที่จารึกมีความหมาย
ป้องกันอันตราย
สิ่งชั่วร้ายไม่แผ้วพาน
...สิ่งดีให้มีมา
คนเมตตารักสงสาร
สำเร็จเรื่องการงาน
ได้พบพานสิ่งดีดี
...เลขยันต์อักขระ
เราควรจะรู้วิธี
รักษายันต์ตรานี้
ก็ต้องมีคุณธรรม
...ถือศีลและถือสัตย์
ข้อบัญญัติควรกระทำ
สิ่งที่ครูชี้นำ
จงจดจำและทำตาม
...เชื่อมั่นและศรัทธา
ภาวนาทุกโมงยาม
อย่าผิดในข้อห้าม
พยายามเป็นคนดี
...ยันต์นั้นจะเข้มขลัง
มีพลังด้วยสิ่งนี้
นั้นคือคุณความดี
ศรัทธามีในอาจารย์
...ไหว้ครูบูชาครู
เพื่อเรียนรู้และสืบสาน
ของดีแต่โบราณ
สืบตำนานวิทยา
...พ่อแก่แลฤาษี
พระคัมภีร์แห่งคาถา
สืบทอดตลอดมา
ควรรักษาให้สืบไป.....

...ระลึกถึงด้วยความเคารพศรัทธาต่อครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณทั้งหลาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
       ๒๒ ก.พ.๒๕๖๓

163
หลักๆ มีจอดสองที่ครับ...
ลานจอดฝั่งตรงข้ามวัดกับลานจอดหลังวัดครับ...
มีป้ายนำทางไปทั้งสองที่อย่างชัดเจนครับ...  :001:

165
ท่าน.สิบทัศน์ครับ​ ขนาดเสื้อพิเศษ​ อก56นิ้ว​ สามารถสั่งที่​ Pre-Order ได้หรือไม่ครับ
ขอบคุณครับ​  :054:
แจ้งหลวงพี่เก่งได้เลยครับ...
โทร 0860701045

167
สวัสดีปีใหม่ค่ะ

สวัสดีปีใหม่ครับ...
อยู่เย็นเป็นสุขตลอดปีตลอดกาลนะครับ...

168
แล้วเสื้อ  รุ่น 11  ออกแบบมายัง
กำลังออกแบบครับผม... ^^
ขออภัยกระทู้หาย ขออภัยตอบช้า
เนื่องจากอัพเดทระบบใหม่ครับ...

169
:090: เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ.๒๕๖๓ :090:
:114: ขออวยพรให้ท่านและครอบครัว จงประสบแต่ความสุขความเจริญ :114:
:090: มีสุขภาพแข็งแรง และประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจไว้ทุกประการเทอญ :090:
 :114: :090: :090: :090: :114:

170
สวัสดี  ปีใหม่ ครับ สุขภาพแข็งแรง ร่ำรวยมีเงินทอง ทุกคนครับ
สวัสดีปีใหม่เช่นกันครับ...
อยู่เย็นเป็นสุขครับ...

171
ทดสอบ

ทดสอบแก้ไข

172
สวัสดีครับ...
วัดบางพระไม่ปิดกั้นครับ
สามารถเข้าพิธีไหว้ครูครอบเศียรตามสำนักที่ไปสักได้ได้เลยครับ  :001:

173
ลงได้ครับ...
ทางวัดไม่มีกฎห้ามว่าถ้าลงนะมาจากที่อื่นแล้วจะมาลงที่วัดบางพระไม่ได้
หรือลงจากวัดบางพระแล้วจะไปลงที่อื่นไม่ได้
สรุปคือมาลงได้ครับผม...  :001:

174
เสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระรุ่น ๗


เสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระรุ่น ๗ ออกแบบโดยคุณต้น (...ปราณจิต...)

ทางทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระได้จัดทำเพื่อเพื่อนสมาชิกได้ใส่ร่วมพิธีไหว้ครู

ปีนี้เป็นปีที่ ๗ ขณะนี้ทางทีมงานได้เริ่มดำเนินการจัดทำเสื้อที่ระลึกรุ่นที่ ๗ แล้ว

และในปีนี้จะไม่มีการเปิดจองเสื้อผ่านหน้าเว็บบอร์ดเหมือนปีที่ผ่านมา

เนื่องจากทีมงานแต่ละท่านติดภาระกิจไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง

จึงปรึกษากันว่า เปิดให้บูชาที่วัดบางพระเพียงอย่างเดียวเท่านั้น


ราคา 350 บาท

*** บูชาได้ประมาณ ๑ อาทิตย์ก่อนวันงานไหว้ครู

*** สำหรับจำนวนการผลิตเสื้อในปีนี้ ทางทีมงานจะดูจากสถิติการสั่งจองเสื้อย้อนหลัง ๔ ปี

ขนาดเสื้อชาย
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
40" - S
42" - M
44" - L
46" - XL
48" - XXL
52" - XXXL

ขนาดเสื้อหญิง
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
30" - SS
32" - S
34" - M
36" - L
38" - XL
40" - XXL

*** สำหรับท่านหญิงหรือชายที่มีขนาดเหนือมาตรฐาน กรุณาแจ้งทางทีมงาน เราจะดูแลท่านเป็นกรณีพิเศษ

จึงแจ้งมาเพื่อทราบ...

ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ
 :001:

175
แนะนำวิธีโพสต์รูปลงบอร์ดลิ้งค์ด้านล่างเลยครับ...  :001:

http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=2148

176
สวัสดีครับ...

ขออนุญาตปิดกระทู้นี้นะครับ... เนื่องจากมีพี่น้องผองเพื่อนเข้ามาตอบเยอะมาก...

ทำให้เข้ากระทู้นี้ได้ช้า เลยเปิดกระทู้เเนะนำตัวใหม่ตามลิ้งค์ด้านล่างครับ...

www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=30818

ขอบคุณครับ...

177
รายงานตัวครับ...

ผมนายนรินทร์ สุวรรณโชติ (เว็บมาสเตอร์...)

ยินดีที่ได้รู้จักกับทุกท่านครับ...

พบเห็นที่ไหนทักทายได้ครับ...  :001:

178
สวัสดีครับ...

เปิดกระทู้รายงานตัวใหม่เนื่องจากกระทู้เดิม http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=7011

มีพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ เข้ามารายงานตัวมาตอบกันมากมาย อาจทำให้เข้ากระทู้ได้ช้ากว่าจะได้ตอบต้องรอนาน...

พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ เข้ามาก็รายงานได้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกใหม่หรือเก่า เข้ามาได้ครับ

จะได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกันยิ่งขึ้นครับ...



179
ลืมบอกไป....
มีการอัพเดท name server ใหม่
อาจทำให้บางพื้นที่เข้าใช้งานไม่ได้
รอ 24-48 ชม. ครับ...

ขออภัยในความไม่สะดวกครับ
ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ

 :001: :001: :001:

180
สวัสดีครับ...
ก่อนอื่นขอภัยที่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้าว่าจะมีการอัพเดท Host และ Script ครับ...  :054:
เนื่องจากเป็นเหตุเร่งด่วนและความปลอดภัยของเว็บบอร์ดจึงต้องรีบแก้ไข

การอัพเดท Host
Host เดิมที่ใช้งานมีพื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอต่ออนาคตอันใกล้นี้ (เต็มไม่พ้นสงกรานต์ 57 แน่ๆ)
หลังจากอัพเดทแล้วตอนนี้มีพื้นที่จัดเก็บไปยันชั่วลูกชั่วหลานเลย...  :002:
ส่วน Bandwidth ก่อนการอัพเดท Host เราเผากันวันละอย่างน้อย 15 G
ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งมีผลทำให้เข้าเว็บบอร์ดไม่ได้
ตอนนี้เชิญเผากันตามสบายขอรับ...  :002:

พบปัญหาในการใช้งานรบกวนช่วยแจ้งให้ทราบด้วยครับ...

ขอบคุณครับ...  :054:
ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ

186
สวยครับ...
มีเผื่อผมบ้างไหมคร๊าบ...  :075:

187
สวัสดีครับ...
ฟังได้เป็นปกตินะครับ ทดสอบโดยผ่าน Browser ทั้งสาม
Internet Explorer ฟังได้ปกติ
Google Chrome ฟังได้ปกติ
Mozilla Firefox ฟังได้ปกติ

อาจจะต้องติดตั้งปลั๊กอิน Windows Media Player ของแต่ละ Browser เพิ่มเติมตามกระทู้ตอบของ mongza ครับ

 :001:


188
สักดอกได้ไหม...  :075: แล้วแต่จะกรุณา...  :002:

189
ลองทำตามกระทู้นี้ดูนะครับ...
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=2148

เว็บมาสเตอร์...  :001:

190

ลองดูวิธีการโพสต์รูปลงบอร์ดได้ทีกระทู้นี้ครับ...

http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=2148

 :093:

191
สวัสดีเพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านครับ...

พอดีมีเวลาว่างนิดหน่อย เลยแก้บอร์ดให้ใส่ Social Media จำพวก

Facebook, MySpace, Twitter, Google+, Youtube, DeviantArt, Pinterest ในข้อมูลส่วนตัว(Profile)

เข้าไปใส่ใน --> ข้อมมูลส่วนตัว --> ปรับแต่งข้อมูลในฟอรั่ม


ผลที่ได้...


ลองใส่กันดูนะครับ...

เว็บมาสเตอร์...  :001:

192
บทความ บทกวี / คิดจะเป็นผู้ให้...
« เมื่อ: 01 พ.ค. 2556, 08:43:19 »
คิดจะเป็นผู้ให้ อย่าลืมใส่ใจกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ

คิดถึงวันที่เรายังไม่รู้ เราก็เป็นผู้ถาม เพื่อที่จะให้รู้

เมื่อเขาถามในสิ่งที่เขาไม่รู้ เราก็ตอบแต่ในส่วนที่เรารู้

คนโง่คือคนโง่ คนไม่รู้คือคนไม่รู้ คนไม่รู้ใช่ว่าเขาจะเป็นคนโง่

คนไม่รู้เมื่อศึกษาแล้ว เขาอาจจะรู้และเข้าใจยิ่งกว่าคนที่เคยรู้ก็ได้

อย่ารำคาญใจ หรือหงุดหงิดใจ กับคำถามที่เรารู้สึกว่ามัน ซ้ำๆ ซากๆ บ่อยๆ

บนผืนโลกนี้มีความรู้อีกมามาย ในสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้แท้จริงเราอาจจะไม่รู้เลยก็ได้

สิ่งที่เขาไม่รู้ เราก็มองว่าเขาโง่ ดูถูก เหยียดหยาม แท้จริงเราก็อาจจะโง่กับสิ่งที่เขารู้อยู่ก็ได้

เอาใจเขามาใส่ใจเรา มองด้วยความเมตตา ปรารถนาให้เพื่อนมนุษย์ทุกคน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

*** ไม่มีลิขสิทธิ์ในผลงานที่ข้าพเจ้าได้สรรค์สร้าง เชิญท่านนำไปสร้างสรรค์อย่าได้เกรงใจ ***


ปล. เขียนไว้นานหลายปีแล้ววววว...

เว็บมาสเตอร์...  :001:

193

ได้มีโอกาสไปกราบหลวงพ่อ พระครูนิวิฐสาธุวัตร (หลวงพ่อทองล่ำ) เจ้าอาวาสวัดเจ้าอาม

หลวงพ่อท่านใจดีมากๆ มอบพระสมเด็จเนื้อเกสร สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ให้กระผมไว้บูชา ๑ องค์

เลยเอามาให้เพื่อนสมาชิกได้รับชมกันครับ...





เว็บมาสเตอร์...  :001:

194
๑. ห้ามซื้อขายแลกเปลี่ยนเด็ดขาด
๒. ห้ามล่อเป้าไปในทางซื้อขาย
๓. ห้ามบอกราคาห้ามถามราคา

เดี๋ยวจะตามมาเรื่อยๆ

ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ...
 :001:

195

                ต้นปี พ.ศ.๒๕๔๕ ได้เริ่มก่อตั้งเว็บไซต์วัดบางพระอย่างเป็นทางการ จุดประสงค์ของการจัดทำเว็บไซต์แห่งนี้ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ รวบรวมข้อมูลของวัดบางพระ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บอกประวัติความเป็นมาของ พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น) ซึ่งเป็นพระที่เราท่านทั้งหลายให้ความเคารพศรัทธายิ่ง พูดถึงเรื่องราวการสักยันต์ที่หลวงพ่อได้สักให้กับศิษย์และถ่ายทอดวิชาการสักให้กับศิษย์ทั้งหลาย เป็นแหล่งชุมชนของคนเข้มขลัง พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ฯลฯ

                ตลอดระยะเวลากว่า ๑๑ ปีที่ผ่านมา คณะผู้จัดทำได้มีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการใช้งานให้สนองตอบต่อความต้องการ และความพึงพอใจของเพื่อนสมาชิกอย่างต่อเนื่องเสมอมาจนถึงปัจจุบัน

                กฎ กติกา มารยาท ในการใช้งานกระดานสนทนาวัดบางพระ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในปัจจุบัน ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยกฎกติกามารยาทการใช้งานนี้ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงร่วมกันของสังคมเพื่อนสมาชิก ที่เข้ามาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ อันจะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศสังคมแห่งมิตรไมตรี และเป็นการป้องกันเหตุอันไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดมีขึ้นจากการใช้งานที่ขัดต่อมารยาทที่ดีงามด้วยอีกประการหนึ่ง

                เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ทางทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ ได้มีมติร่วมกันว่าสมควรที่จะจำกัดการโพสต์ภาพ โดยห้ามโพสต์ภาพวัตถุมงคลที่ไม่ใช่ของทางวัดบางพระโดยเด็ดขาด ( http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=27056 )  เหตุเพราะมีเพื่อนสมาชิกบางท่านตั้งกระทู้โพสต์ภาพวัตถุมงคลที่ส่อเจตนาไปในทางซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือเพื่อหวังผลประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง ซึ่งผิดกฎกติกาการใช้งานกระดานสนทนาวัดบางพระข้อ ๙ ที่ระบุไว้ว่า “ห้ามตั้งกระทู้ที่มีเนื้อหา ไปในทางโฆษณาบอกประกาศ เพื่อส่อเจตนาในทางซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนใดๆ ทั้งสิ้น (ปรับปรุง: ๓๑ ก.ค. ๕๒)” ตรงนี้เองจึงทำให้ผู้ที่มีเจตนาในการโพสต์ภาพวัตถุมงคลอย่างบริสุทธิ์ใจพลอยได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พื้นที่แหล่งการเรียนรู้บนกระดานสนทนาวัดบางพระจึงถูกจำกัดไปด้วยตามลำดับ

                ทางทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบดังกล่าว จึงมีมติร่วมกันให้เปิดบอร์ดรูปภาพและวีดีโอแยกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ เป็นบอร์ดที่ไว้ใช้สำหรับโพสต์รูปภาพและวีดีโอสายวัดบางพระ และอีกส่วนหนึ่งเป็นบอร์ดที่ใช้สำหรับโพสต์รูปภาพและวีดีโอสายอื่นๆ (ทั้งนี้เนื้อหาในการตั้งกระทู้ และเนื้อหาในการโพสต์รูปภาพหรือวีดีโอก็จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามกฎกติกามารยาทการใช้งานกระดานสนทนาวัดบางพระอย่างเคร่งครัดเช่นเดิม หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษตั้งแต่การตักเตือน, การแบนกำหนดระยะเวลา, การแบนถาวร และหรือดำเนินคดีตามกฎหมาย ตามแต่ความผิดและดุลพินิจการพิจารณาของทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์ที่ถือเป็นที่สุด) โดยจะเริ่มเปิดใช้บอร์ด “รูปภาพและวีดีโอสายอื่นๆ” ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
                ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ...
                 :001:

196
ลองทำตามกระทู้นี้ดูครับ...
www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=2148

197
แอบปลื้มแอบถ่ายหลังเพื่อนร่วมสมาชิก

หลังของท่านใดหน้อ...

โปรดแสดงตนโดยการหันหน้ามา...

เดี๋ยวมีแจกของดี...



 :001:

198
แนะนำลองทำตามกระทู้นี้ครับ...
www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=2148

199
โดยรวมผมชอบครับเป็นโทนเย็น รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ค่อยๆ ปรับให้ลงตัวไม่ต้องรีบร้อน
ขอบคุณมากครับ...
ใช่ครับ ค่อยๆ ปรับแต่งให้ลงตัว...

200


เห็นต่างนะครับสำหรับ Theme นี้ เนื่องจากเฉดสีค่อนข้างมาทาง Dark Gray ความหมายคือ ออกโทนอึมครึม อ่ะครับ


มีความเห็นคล้ายพี่ Tiger Number NINE หน้าแรกค่อนข้างทึบครับ
ตัว content พื้นเป็นสีขาว สีค่อนข้างต่างจาก side ด้านข้าง
เวลามองเหมือนสายตาเราเพ่งมากขึ้นครับ
น้อมรับเพื่อปรับแก้ครับ...
ขอบคุณครับ...

201


เห็นต่างนะครับสำหรับ Theme นี้ เนื่องจากเฉดสีค่อนข้างมาทาง Dark Gray ความหมายคือ ออกโทนอึมครึม อ่ะครับ


ขอบคุณครับ... น้อมรับคำติชมครับ...

202
ขอโทษนะครับ ชื่อหลวงปู่ ออกเสียงว่าอะไรหรอครับ ฐิตคุโณ (ถิต-คุ-โน) หรือว่า (ถิต-ตะ-คุ-โน) ขออภัยด้วยครับคือว่าตอนผมก่อนออกจากบ้านผมจะท่องทุกครั้งอะครับกลัวออกเสียงผิดไม่ค่อยสบายใจอ่ะครับ  :075:

ฐิตคุโณ อ่านออกเสียง ถิ ตะ คุ โน
แปลว่าความหมายว่า ผู้มีคุณความดีตั้งมั่นไว้แล้ว


203
หลังจากที่ใช้ธีม fatherday เกือบห้าปี

วันนี้สลัดความขี้เกียจทำธีมใหม่เย็นสบายๆตา(หรือเปล่าไม่รู้) รับหน้าร้อน...

ขอบคุณรูปจากคุณ "โคมแก้ว" ครับ...


209
เก็บภาพบรรยากาศมาให้ชมกันนิดหน่อยครับ...

๑.


๒.


๓.


๔.


๕.


 :001:

211
อยากทราบว่าถ้าสั่งแล้วต้องโอนเลยหรือป่าวครับ
ใช่ครับ...
ต้องดูก่อนว่าจะเอาขนาดไหน กี่ตัว ได้เเล้วก็โอนเงินตามจำนวนที่สั่ง
แล้วก็มากรอกแบบฟอร์มที่จัดเตรียมไว้ให้ครับ

212
หมายความว่า ผมก็สั่งจองกับหลวงพี่เก่งและชำระเงินกับหลวงพี่เก่งได้เลยใช่หรือเปล่าครับ ไม่ถนัดเรื่องโอนกับธนาคารครับ

ได้เลยครับ...

213
รายชื่อสมาชิกที่สั่งจองเสื้อ

หากมีรายชื่อสมาชิกที่ตกหล่น จำนวนที่สั่ง ขนาดเสื้อ เพศ ที่ไม่ถูกต้องกรุณาแจ้ง

1.   โองการยันนะรังสี            M   ชาย 2 ตัว               
1.   โองการยันนะรังสี            L   ชาย 7 ตัว
1.   โองการยันนะรังสี            XL   ชาย 3 ตัว
1.   โองการยันนะรังสี            XXL   ชาย 2 ตัว
1.   โองการยันนะรังสี            XXXL   ชาย 1 ตัว
1.   โองการยันนะรังสี            XXXXL   ชาย 1 ตัว
1.   โองการยันนะรังสี            M   หญิง 2 ตัว
1.   โองการยันนะรังสี            L   หญิง 2 ตัว
1.   โองการยันนะรังสี            XL   หญิง 1 ตัว

2.   naklop1911  หรือ  นักรบอาทมาต        L      ชาย     1  ตัว

3.   seata                   M      ชาย     1  ตัว
3.   seata                    L      หญิง    1  ตัว

4.   c@kan                     L      หญิง    1  ตัว

5.   aehjomthong               XL       ชาย   1  ตัว
5.   aehjomthong                 L       หญิง   1  ตัว

6.   first_android            XXXL    ชาย   1  ตัว

7.   สิงห์ดำ                     L      ชาย   2  ตัว

8.   salawit_sangsanit               M   ชาย   1  ตัว

9.   bm rongmuang                  M   ชาย   1  ตัว

10.   pradit.nsi                     M   หญิง   1  ตัว
10.   pradit.nsi                      L   ชาย   3  ตัว

11.   win3543                        L      ชาย     1  ตัว

12.   จิ๋ววัดตะกล่ำ                  M   ชาย   1  ตัว

13.   Ome                     L      ชาย     1  ตัว
13.   Ome                     S      หญิง     1  ตัว

14.   WanGer                  XL   ชาย   2   ตัว

15.   goatherd47               M   ชาย   1   ตัว
15.   goatherd47               XXL   ชาย   2   ตัว

16.   SIC (diasberm)               S   ชาย   1   ตัว
16.   SIC (diasberm)               M   ชาย   1   ตัว
16.   SIC (diasberm)               L   ชาย   1   ตัว

17.   goatherd47               M   ชาย   1   ตัว
17.   goatherd47               XXL   ชาย   2   ตัว

18.   panomsak                  
18.   panomsak                  L   ชาย   1   ตัว
18.   panomsak                  XXXL   ชาย   1   ตัว
18.   panomsak                  L   หญิง   1   ตัว
18.   panomsak                  XL   หญิง   1   ตัว

19.   Platoo                  L   ชาย   1   ตัว
19.   Platoo                  XL   ชาย   1   ตัว

20.   yokee                  XXL   ชาย   1   ตัว

21.   putzaja11                  S   ชาย   1   ตัว

22.   VUDH                  L   ชาย   1   ตัว

23.   Boonsom                  L   ชาย   1   ตัว
23.   Boonsom                  XL   ชาย   1   ตัว

24.   baboon                  M   ชาย   2   ตัว
24.   baboon                  L   ชาย   1   ตัว

25.   Chotipat                  XL   ชาย   1   ตัว

26.   bangphralism               XL   ชาย   2   ตัว
26.   bangphralism               XXXL   ชาย   2   ตัว
26.   bangphralism               L   หญิง   1   ตัว

27.   waterman43               M   ชาย   2   ตัว
27.   waterman43               M   หญิง   1   ตัว

28.   hhpwut                  L   ชาย   1   ตัว

29.   zuza2009                  S   ชาย   1   ตัว
29.   zuza2009                  L   ชาย   1   ตัว
29.   zuza2009                  XL   ชาย   1   ตัว

30.   cotton8088               XL   ชาย   1   ตัว
30.   cotton8088               SS   หญิง   1   ตัว

31.   montree123  ( คนเมืองเหนือ )      M   ชาย   2   ตัว
31.   montree123  ( คนเมืองเหนือ )      M   หญิง   1   ตัว

32.   hs7koy                  XL   ชาย   1   ตัว

33.   kenchiro                  L   ชาย   1   ตัว
33.   kenchiro                  XL   ชาย   1   ตัว

34.   ICELAND                  S   ชาย   1   ตัว
34.   ICELAND                  M   ชาย   1   ตัว
34.   ICELAND                  L   ชาย   1   ตัว
34.   ICELAND                  M   หญิง   2   ตัว

35.   aimz                     XL   หญิง   1   ตัว

36.   nannaphat                  M   ชาย   4   ตัว
36.   nannaphat                  M   หญิง   1   ตัว
36.   nannaphat                  XL   หญิง   1   ตัว

37.   เสือเดือนแปด               M   ชาย   1   ตัว

38.   chairut3579               L   ชาย   1   ตัว

39.   karnpong                  M   ชาย   1   ตัว
39.   karnpong                  L   ชาย   1   ตัว
39.   karnpong                  L   หญิง   1   ตัว

40.   เจตต์                     L   ชาย   3   ตัว
40.   เจตต์                     XL   ชาย   1   ตัว
40.   เจตต์                     XXXL   ชาย   1   ตัว
40.   เจตต์                     M   หญิง   1   ตัว

41.   Kochasri                  XL   ชาย   1   ตัว

42.   navegeter                  L   ชาย   1   ตัว

43.   derbyrock                  M   ชาย   1   ตัว

44.   phongsakorn               XL   ชาย   1   ตัว

45.   Ramintra_40               L   ชาย   1   ตัว
45.   Ramintra_40               XL   ชาย   1   ตัว

46.   pis_41                  S   ชาย   1   ตัว

47.   ชาญ                     XL   ชาย   1   ตัว

48.   trirat                     L   ชาย   1   ตัว

49.   piseth                  M   ชาย   1   ตัว
49.   piseth                  XL   ชาย   1   ตัว

50.   ton_tech                  M   ชาย   1   ตัว
50.   ton_tech                  XL   ชาย   1   ตัว

51.   minivet27                  M   ชาย   1   ตัว

52.   pigkolo                  XL   ชาย   2   ตัว

53.   Paisun                  XXL   ชาย   1   ตัว

54.   yokee                  XL   หญิง   1   ตัว

55.   tong_lomsak               L   ชาย   1   ตัว

56.   nutwat                  M   ชาย   1   ตัว

57.   koyza                  S   ชาย   1   ตัว
57.   koyza                  M   ชาย   2   ตัว
57.   koyza                  M   หญิง   1   ตัว
57.   koyza                  L   หญิง   1   ตัว

58.   NONGEAR44               M   ชาย   1   ตัว

59.   migky                  XL   ชาย   1   ตัว

60.   piseth                  L   ชาย   1   ตัว

61.   ปราณจิต                  S   ชาย   1   ตัว
61.   ปราณจิต                  M   ชาย   1   ตัว
61.   ปราณจิต                  L   ชาย   1   ตัว

62.   yung                     XL   ชาย   1   ตัว
62.   yung                     XXL   ชาย   1   ตัว
62.   yung                     XL   หญิง   1   ตัว

63.   kongkawat@hotmail.com         XL   ชาย   1   ตัว
63.   kongkawat@hotmail.com         XXL   ชาย   1   ตัว

64.   ืี้ืีnuhome8                  L   ชาย   1   ตัว
64.   ืี้ืีnuhome8                  XXXL   ชาย   1   ตัว

65.   ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)            M   ชาย   1   ตัว

66.   suansena                  L   ชาย   1   ตัว
66.   suansena                  M   ชาย   1   ตัว

67.   tum72                  L   ชาย   1   ตัว

68.   Murfs                  M   ชาย   1   ตัว
68.   Murfs                  L   ชาย   3   ตัว
68.   Murfs                  XXL   ชาย   1   ตัว

69.   surasit_dia@hotmail.com         M   ชาย   1   ตัว
69.   surasit_dia@hotmail.com         XL   ชาย   4   ตัว

70.   BertH1999               56 นิ้ว ชาย   1     ตัว

71.   jookku                  S   ชาย   1   ตัว

72.   virin                     XXL   ชาย   1   ตัว

73.   eakpinklao                  XL   ชาย   2   ตัว
73.   eakpinklao                  XL   หญิง   1   ตัว

74.   sumit-o                  XXL   หญิง   1   ตัว

75.   nimitr                  L   ชาย   1   ตัว

76.   nannaphat                  M   ชาย   1   ตัว
76.   nannaphat                  L   ชาย   1   ตัว

77.   เอบางแค                   M   หญิง   1   ตัว
77.   เอบางแค                  XXL   ชาย   2   ตัว
77.   เอบางแค                  XXXL   ชาย   4   ตัว

78.   somboon matkeaw            M   ชาย   1   ตัว
78.   somboon matkeaw            L   ชาย   1   ตัว
78.   somboon matkeaw            XL   หญิง   1   ตัว

79.   suksit                  L   ชาย   1   ตัว

80.   OleNing                  M   ชาย   2   ตัว
80.   OleNing                  L   ชาย   1   ตัว
80.   OleNing                  XL   ชาย   2   ตัว
80.   OleNing                  XXL   ชาย   1   ตัว
80.   OleNing                  L   หญิง   1   ตัว
80.   OleNing                  XL   หญิง   1   ตัว

81.   konrukgun                  S   ชาย   1   ตัว
81.   konrukgun                  XL   ชาย   1   ตัว

82.   phongsak_ng               M   ชาย   1   ตัว
82.   phongsak_ng               M   หญิง   1   ตัว

83.   piyachon43150               L   ชาย   2   ตัว

84.   taweessu                  M   ชาย   1   ตัว

85.   CHARATORN               L   ชาย   1   ตัว

86.   paipai                  XL   ชาย   1   ตัว
86.   paipai                  XXL   หญิง   1   ตัว

87.   porntep                  L   ชาย   1   ตัว
87.   porntep                  XL   ชาย   2   ตัว

88.   prathomsak               XXXL   ชาย   1   ตัว

89.   singhanart                  L   ชาย   1   ตัว
89.   singhanart                  XL   ชาย   4   ตัว

90.   oliver                     M   ชาย   1   ตัว
90.   oliver                     L   ชาย   1   ตัว
90.   oliver                     S   หญิง   1   ตัว

91.   phun                     L   ชาย   1   ตัว

92.   truram                  L   ชาย   1   ตัว
92.   truram                  L   หญิง   1   ตัว

93. ตามพรลิงค์                  M   ชาย   1   ตัว



























214
[shake]ปิดการสั่งจองแล้วครับ

ปิดการสั่งจองแล้วครับ

ปิดการสั่งจองแล้วครับ
[/shake]








สวัสดีเพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านครับ

เปิดจองเสื้อที่ระลึกของ เว็บไซต์วัดบางพระ รุ่นที่ 5 อย่างเป็นทางการ

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึง วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
(และให้โอนเงินก่อนเวลา 24.00 น. ของวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556)



เสื้อจะเป็นสีเขียวขี้ม้า ปกเสื้อและขอบแขนเป็นสีออกส้มๆ ออกแบบโดยคุณต้น (...ปราณจิต...)
หลังจากตัดเย็บเสร็จแล้วจะนำไปขอบารมีจากหลวงพ่อเปิ่นและขอความเมตตาจากหลวงพ่อสำอางค์ เจ้าอาวาสปลุกเสก
เพื่อความเป็นศิริมงคลกับสมาชิกทุกๆ ท่านด้วยครับ  

เสื้อชาย
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
40" - S
42" - M
44" - L
46" - XL
48" - XXL
52" - XXXL

เสื้อหญิง
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
30" - SS
32" - S
34" - M
36" - L
38" - XL
40" - XXL

*** สำหรับท่านหญิงหรือชายที่มีขนาดเหนือมาตรฐาน กรุณาแจ้งขนาดรอบอกด้วย เราจะดูแลท่านเป็นกรณีพิเศษ


ราคา 350 บาท ราคาเดียว ทั้งแบบจัดส่งและรับเองที่วัด


การสั่งจอง : มี 2 ช่องทาง
1. ผ่านกระดานสนทนา โดยการโอนเงินตามจำนวนที่จองแล้วมากรอกแบบฟอร์มด้านล่าง
2. ที่สำนักงานวัดบางพระ (ติดต่อหลวงพี่เก่ง)

การโอนเงิน :
ธนาคารXXXXXXX
ชื่อบัญชี เว็บบอร์ดวัดบางพระ
บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 7152642XXX


**เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ กรุณาโอนมีเศษสตางค์ด้วยครับ เช่น 350.24



กำหนดการโอนเงิน :
ภายในวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
=== ถ้าไม่โอน จะไม่ทำเสื้อให้นะครับ ===


กำหนดการจัดทำเสื้อ :
ไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังจากปิดจองแล้ว ฉะนั้นจะเสร็จเรียบร้อยก่อนไหว้ครูแน่นอน

การรับเสื้อ :
มีสองทางเลือก คือ
1. จัดส่งตามที่อยู่ที่ระบุไว้  ทางไปรษณีย์
กรุณาแจ้ง ชื่อ นามสกุล (เบอร์โทร) ที่อยู่ให้ชัดเจนที่สุด รวมถึง ถนน, หมู่ , ตรอก, ซอย, รหัสไปรษณีย์  ในแบบฟอร์มด้านล่าง

2. รับเองที่สำนักงานวัดบางพระ
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 15 มี.ค. 2556 เป็นต้นไป




ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ  :001:




215
สวัสดีครับเพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านครับ...

วันนี้เว็บเกิด Overload ระบบดับนิ่งเลยตั้งแต่เวลา ๑๑ โมงกว่าๆ

คุณ โองการยันนะรังสี แจ้งให้ทราบประมาณสามทุ่มครึ่ง

เลยรีบแจ้งไปที่โฮส ทางโฮสแจ้งมาว่าเกิด Overload โฮสเลยดับไปเฉยๆ

สงสัยจะถึงคราที่จะต้องวาง VPS แล้วละมั้ง...


223
เมื่อคืนหลวงพ่อพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่ออาง) เจ้าอาวาสวัดบางพระ

เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม พระอธิการเกษม เขมจาโร (หลวงปู่อั๊บ) วัดท้องไทร อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

ผมมีโอกาสได้ไปร่วมงานสวดพระอภิธรรมด้วย เก็บภาพมาฝากครับ




























225
สวัสดีครับ...

ห่างหายจากการอัพเกรดนานพอสมควร

วันนี้มีลูกฮึดเลยอัพเกรดจากเวอร์ชั่น 1.1.11 เป็น 1.1.16

ใช้เวลานานพอสมควรตั้งแต่เก้าโมงเช้ากว่าๆ จนถึงเกือบสี่โมงเย็น (แอบทำในเวลาเรียน)  :004:

เนื่องจากซอสโค้ดบางไฟล์มีไม่ตรงกัน (ปวดหัวนิดหน่อย) :075:

และต้องค่อยๆ อัพเกรดขึ้นไปทีละเวอร์ชั่น 1.1.11 เป็น 1.1.12 เป็น 1.1.13 ... จนถึงเวอร์ชั่นปัจจุบัน

หลังจากปล้ำกันอยู่นานก็ผ่านไปได้ด้วยดี ทดสอบแล้วไม่พบข้อผิดพลาดอย่างไร

แต่ทว่าหากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ร่วมสมาชิก เข้าใช้งานแล้วเกิดข้อผิดพลาดอะไร

กรุณาแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบด้วย เพื่อที่จะได้ดำเนินการแก้ไขต่อไปครับ


ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ  :001:

226
ลองใช้งานดูสองสามวัน "สมาชิกวัยเก๋ารสดังเดิม" ไม่ค่อยถนัดในการใช้งาน :075:

ตอนนี้ก็เลยเอาการแนบไฟล์รูปแบบเดิมกลับมาให้เลือกใช้ด้วย

เท่ากับว่ามีระบบแนบไฟล์รูปสองแบบ ให้เลือกใช้ตามถนัดครับ...  :073:

แล้วเพื่มการแนบไฟล์รูปจากหนึ่งเป็นสามต่อกระทู้สำหรับระบบแนบไฟล์แบบใหม่  :015:

ทีมงานผู้ดูแลขอรับ... :001:

227
ทดสอบครับ.....


ปล. แต่ของใหม่นี่มันใส่ได้แค่ ภาพเดียวเอง หล่ะครับ...

แต่ของเก่าใส่รูปได้เรื่อยๆ....


จริงๆได้หลายรูปต่อกระทู้เพียงแต่ลองเปิดแค่หนึ่งรูปต่อกระทู้ดูก่อนครับ

228
สวัสดีครับ...

เปลี่ยนระบบแนบรูปให้ง่ายเพียงแค่คลิก Browse... ค้นหารูปที่ต้องการ

แล้วก็คลิกตั้งกระทู้ได้เลย  :002:

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

229

ขอบคุณพี่ปลัดสำหรับข่าวความเคลื่อนไหวจากวัดท้องไทรครับ...

230
เสื้อทุกรุ่นทุกตัวผ่านการอธิฐานจิตจากพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอาง) เจ้าอาวาสวัดบางพระครับ...  :001:

231
ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ...

232
อนุโมทนาสาธุ...

233
ขอบคุณพี่แจ๊ว แผงพระวัดบางพระที่มอบให้ครับ...








234

พอดีผิดพลาดทางเทคนิคที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในขณะนั้น

กราบขออภัยลูกศิษย์ทุกๆท่านอย่างสุดซึ้งครับ  :054:

235
ขอแสดงความเสียใจกับการจากไปของคุณพ่อด้วยครับ...

ไม่ได้ไปไหว้ครูไม่ได้ไม่ได้จองเสื้อ ไม่ได้หมายความว่าไม่มีบุญ

จะอยู่ที่ไหนก็สร้างบุญกุศลได้

ระลึกถึงครูอาจารย์ ระลึกถึงบุญกุศล ก็เป็นบุญแล้วครับ

236
สมาชิกที่สั่งจองเสื้อร่วมตอบแบบสอบถามลุ้นรับของรางวัล


237
สำหรับท่านที่สั่งจองไว้ ก่อนไหว้ครูได้รับเสื้อแน่นอน  :027:









 :001:

238
รายชื่อสมาชิกที่สั่งจองเสื้อ

หากมีรายชื่อสมาชิกที่ตกหล่น จำนวนที่สั่ง ขนาดเสื้อ เพศ ที่ไม่ถูกต้องกรุณาแจ้งเพื่อแก้ไขก่อน 24.00 น. ของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555


1   knife420   L   1

2   SIC   S   1
2   SIC   L   1
2   SIC   XL   1

3   seata   M   1

4   seaghost   L   1

5   โยคี / yokee   XXL   1

6   base64   M   1

7   cotton8088   XL   1
7   cotton8088   SS (W)   1

8   chaidet076   XXL   1

9   pockderng      L   1

10   gangdevil24   XL   2
10   gangdevil24   XXXL      1

11   touw      XXL   2
11   touw      L(W)   1

12   THATK28   L   1

13   be_ning   L   1

14   hilo   L   1
14   hilo   XL   (W)   1

15   นู๋มู๋   XL   2
15   นู๋มู๋   S(W)   2

16   nimitr   L   1

17   aoomza   M   1

18   waterman43   M   2
18   waterman43   M   (W)   1

19   bm rongmuang   L   1
19   bm rongmuang   XL   (W)   1   
19   bm rongmuang   XXL   (W)   1

20   Weera   L   2

21   channel903   M   1
21   channel903   L   1

22   noppanut      L   1

23   phop      M   1

24   nutwat   M   1

25   ome      L   1

26   first_android   XXL   1

27   navigator3189   XXL   1
27   navigator3189   M(W)   1   

28   isosquare      XL   1

29   songpol.me   M   1

30   tung      M   2
30   tung      M(W)   2

31   goatherd47   XXL   1

32   ICELAND   M   1   
32   ICELAND   L   2
34   ICELAND   M(W)   1

33   PYT      XL   1

34   tum72   L   1

35   sw_meng      M   1

36   VUDH   L   1

37   danny-383   M   1

38   สิงห์ดำ   L   2

39   nffil      XL   1

40   minivet27      M   1

41   john_4682   M   1   
41   john_4682   S   1

42   ป๊อก999      XXL   3

43   aehjomthong   XL   1

44   ชินฺนปญฺชร   M   1

45   จิ๋ววัดตะกล่ำ   M   1 XXL   1

46   Dekwatnai      L1
46   Dekwatnai      M(W)   1

47   เจตต์      XL   1

48   Vunvay3000   L   2

49   Doe07   M   1

50   Jakkrit   M   1

51   P.namo   L   1

52   name-a-   XXXL   2

53   ธนคม หอมหวล   M   1

54   Tor_sakyanthai      L   1

55   sompob   L   1
55   sompob   M(W)   1

56   เจตต์ (สั่งเพิ่ม)   L   2   
56   เจตต์      XL   1   
56   เจตต์      XXXL   1   
56   เจตต์   M(W)   1

57   toomeras      M   1   
57   toomeras      L   2

58   น้อย   M   1   
58   น้อย   L   1

59   konrukgun      S   1   
59   konrukgun      M   1

60   b_jutaporn   M   1   
60   b_jutapornL   1   
60   b_jutaporn   XXL   1
60   b_jutaporn   L(W)   1   
60   b_jutaporn   XL(W)   1
60   b_jutaporn   XXL(W)   1

61   kla   M   1

62   nutwat   M   1

63   CHARATORN   L   2

64   baboon   L   1   
64   baboon   M   1

65   murfs   M   1   
65   murfs   L   2   
65   murfs   XL   1

66   tong_lomsak   L   1

67   โองการยันนะรังสี   XXXL      1
67   โองการยันนะรังสี   XXL      5
67   โองการยันนะรังสี   XL      7
67   โองการยันนะรังสี   L      5
67   โองการยันนะรังสี   M      5
67   โองการยันนะรังสี   L(W)      2
67   โองการยันนะรังสี   M(W)   1

68   สิบทัศน์   M   2
68   สิบทัศน์   L(W)   1
68   สิบทัศน์   M(W)   6
68   สิบทัศน์   XL(W)   3

69   Indyoss    M   1

70   paisarn   M   1

71   pigkolo   S   1
71   pigkolo   M   1
71   pigkolo   XL   2

72   migky   XL   1

73   Time329   XL   1

74   A7X_TUM   L   1
74   A7X_TUM   XXL   1

75   zuza2009   XL   1

76   c@kan   L(W)   1

77   leanghaha   S   1

78   tomedee   M   1

79   pracha1   S   1
79   pracha1   M   2
79   pracha1   L   1

80   rewat   M   2
80   rewat   XXL   1

81   panny   S   1

82   sumit-o   M   4
82   sumit-o   L   2
82   sumit-o   S   1
82   sumit-o   XXL(W)   1

83   aof_cyclesun   L   1
   
84   Champ14Za   L   1

85   atipat   L   1

86   ton_tech   M   1   
86   ton_tech   XL   1

87   NONGEAR44   M   1

88   nannaphat      M   2   
88   nannaphat      L   2
88   nannaphat      M(W)   1   

89   jobto   M   1
89   jobto   L   1
89   jobto   XL   1
89   jobto   XXL   1
89   jobto   L(W)   2   
89   jobto   XL(W)   1

90   Chotipat   XL   1

91   creedmakers   XL   1
91   creedmakers   M(W)   1

92   por935   M   1

93   tondon   XL   1
93   tondon   XXL   1
93   tondon   M(W)1

94   navegeter   L   1
94   navegeter   XL   1

95   ack01   M   1
95   ack01   L   1
95   ack01   S(W)   1

96   Ittiza      M   1
96   Ittiza      XL   2

97   จิ๋ววัดตะกลำ   XXL   1

98   hhpwut   M   1

99   Buffybuffalo   M(W)   1

100   ชาญ   XXL   1

101   dennitirat   L   1

102   Ronaldo   XL   3
102   Ronaldo   L   5
102   Ronaldo   XXL(W)   2
102   Ronaldo   M(W)   3

103   jear2522   XXL   1

104   Punching   M   1
104   Punching   S(W)   1

105   โคมแก้ว   L   5
105   โคมแก้ว   XL   4
105   โคมแก้ว   XXL   2

106   phongsak_ng   M   2

107   Narak   M   1
107   Narak   L   1

108   derbyrock   L   1

109   Z-Plus   L   1
109   Z-Plus   M   1

110   gtr99   M   1

111   Monthon   L   1

112   gongjone01   L   1
112   gongjone01   M(W)   1

113   BB.BumBim   L   2

114   Darknile   S   1
114   Darknile   SW   2

115   mawin_14      L   1
115   mawin_14      S(W)   1

116   artcokes   S   1

117   chaithong   M   1

118   final.insp   L   1

119   winyoo   XXL   1

120   meesabay.s   XL   1
120   meesabay.s   XXL   1
120   meesabay.s   M(W)   1

121   WARLORD88   L   1

122   kongkrokkrak   L   1
122   kongkrokkrak   XL   1

123   somboon matkeaw   M   2
123   somboon matkeaw   L   1

124   Oliver   L   2
124   Oliver   S(W)   1

125   napasinhiphop   M   1

126   Kasarong   L   2
126   Kasarong XXL   1
126   Kasarong   S(W)   1

127   amphon   L   1

128   Urawan   M   3   
128   Urawan   L   1
128   Urawan   MW   1
128   Urawan   XL(W)   1

129   Lokness   M   1

130   jvitoon    XL   1

131   aggie_kmit'l   M   1
131   aggie_kmit'l   MW   1

132   eakpinklao      XL   2
132   eakpinklao      L   1
132   eakpinklao      M   1

133   Toyy      XXXL   1

134   EboLa   L   2
134   EboLa   XL   1

135   หนึ่ง   XXXL(W)   1   

136   sombat anunta   L   1
136   sombat anunta   XXL   3

137   suansena   M   1
137   suansena   L   1

138   pronpoj    S   1

139   คุณจิรัญธนา   XL   2
139   คุณจิรัญธนา   XXL   2
139   คุณจิรัญธนา   ขนาดพิเศษ รอบอก 80 นิ้ว   1

140   berth1999    XXXXL   1  (limited edition)





239
ปิดสั่งจองเสื้อแล้วนะครับ

ส่วนท่านที่ยังไม่ได้โอน ให้ดำเนินการก่อน วันที่ 9 /2/55 เวลา 24.00 น.

สวัสดีเพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านครับ

เปิดจองเสื้อที่ระลึกของ เว็บไซต์วัดบางพระ รุ่นที่ 4 อย่างเป็นทางการ

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึง วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555

(และให้โอนเงินก่อนเวลา24.00น.ของวันที่ 9 กุมภาพันธ์)



เสื้อจะเป็นสีเทาอ่อน ปกเสื้อและขอบแขนเป็นสีเทาเข้ม ออกแบบโดยคุณต้น (...ปราณจิต...)
หลังจากตัดเย็บเสร็จแล้วจะนำไปขอบารมีจากหลวงพ่อเปิ่นและขอความเมตตาจากหลวงพ่อสำอางค์ เจ้าอาวาสปลุกเสก
เพื่อความเป็นศิริมงคลกับสมาชิกทุกๆ ท่านด้วยครับ  

เสื้อชาย
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
40" - S
42" - M
44" - L
46" - XL
48" - XXL
52" - XXXL

เสื้อหญิง
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
30" - SS
32" - S
34" - M
36" - L
38" - XL
40" - XXL

*** สำหรับท่านหญิงหรือชายที่มีขนาดเหนือมาตรฐาน กรุณาแจ้งขนาดรอบอกด้วย เราจะดูแลท่านเป็นกรณีพิเศษ


ราคา 300 บาท ราคาดังกล่าวรวมค่าจัดส่งแล้ว ครับ


การสั่งจอง : มี 2 ช่องทาง
1. ผ่านกระดานสนทนา โดยการโอนเงินตามจำนวนที่จองแล้วมากรอกแบบฟอร์มด้านล่าง
2. ที่สำนักงานวัดบางพระ (ติดต่อหลวงพี่เก่ง)

การโอนเงิน :
ธนาคารกสิกรไทย
ชื่อบัญชี อานนท์
บัญชีออมทรัพย์เลขที่ .........


**เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ กรุณาโอนมีเศษสตางค์ด้วยครับ เช่น 300.24

**หลังจากโอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้งคุณนนท์ (โองการยันนะรังสี) ที่
    หรือส่งหลักฐานการโอนไปที่ ........live.com

กำหนดการโอนเงิน :
ภายในวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555
=== ถ้าไม่โอน จะไม่ทำเสื้อให้นะครับ ===


กำหนดการจัดทำเสื้อ :
ไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังจากปิดจองแล้ว ฉะนั้นจะเสร็จเรียบร้อยก่อนไหว้ครูแน่นอน

การรับเสื้อ :
มีสองทางเลือก คือ
1. จัดส่งตามที่อยู่ที่ระบุไว้  ทางไปรษณีย์
กรุณาแจ้ง ชื่อ นามสกุล (เบอร์โทร) ที่อยู่ให้ชัดเจนที่สุด รวมถึง ถนน, หมู่ , ตรอก, ซอย, รหัสไปรษณีย์  ในแบบฟอร์มด้านล่าง

2. รับเองที่สำนักงานวัดบางพระ
ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 มี.ค. เป็นต้นไป


เกิดปัญหาหรือติดขัดประการใดติดต่อโดยตรงที่คุณนนท์ (โองการยันนะรังสี) ทาง
pm : http://www.bp.or.th/webboard/index.php?action=pm;sa=send;u=3
อีเมล์ : ..............live.com
โทร : 089 ..................

ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ  :001:



<iframe src="https://docs.google.com/a/bp.or.th/spreadsheet/embeddedform?formkey=dHNHOGFzZG43QS1neHE1ajlVcmYyNVE6MQ" width="760" height="1600" frameborder="0" marginheight="0" marginwidth="0">กำลังโหลด...</iframe>

241
เปลี่ยนวิธีการโพสต์วีดีโอ youtube ให้ง่ายขึ้นโดยใช้ลิ้งค์ของวีดีโอเลย ไม่ต้องยุ่งยากตัดเอาเฉพาะ id

นำลิ้งค์วีดีโอที่อัพเองหรือที่หาได้มาวาวางระหว่าโค้ด