ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกธรรม...๒๑ ก.ค.๕๒  (อ่าน 933 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
บันทึกธรรม...๒๑ ก.ค.๕๒
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2552, 10:14:11 »
 :059:เจริญสติตั้งแต่ตื่นนอน ทำภาระกิจส่วนตัวเสร็จแล้ว ครองผ้าอุ้มบาตรเดินลงจากกุฏิด้วยความมีสติ เดินภาวนาไปเรื่อย
จนถึงหมู่บ้าน รับบาตรไปพิจารณาธรรมไป มีสติสำรวมอินทรีย์ มองดูเฉพาะข้างหน้า ทอดตาลงในระยะที่พอมองเห็น อยู่กับสติ
ระยะทางไปกลับ 6 กิโลที่เดิน ได้รับรู้สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นมากมาย มีโยมถามว่าทำไมต้องออกไปบิณฑบาตรไกลอย่างนั้น
ก็ได้อธิบายให้โยมฟังว่า ประการแรก...ไปโปรดญาติโยมหมู่บ้านใหม่ที่ไม่เคยมีพระไปรับบิณฑบาตรมาก่อนเลยให้โยมได้ทำบุญ
ประการที่สอง...เพื่อเป็นการออกกำลังในยามเช้า เป็นการบริหารร่างกายไปในตัว  ประการที่สาม เป็นเวลาแห่งการปฏิบัติธรรม
เพราะเดินไปองค์เดียว ไม่มีใครรบกวน ได้ภาวนาและเดินจงกรมไปในตัว...นั้นคือเหตุผลที่ออกไปบิณฑบาตรต่างอำเภอนอกเขต
เวลาแห่งการเจริญสติเจริญภาวนาในภาคเช้าประมาณชั่วโมงครึ่ง ซึ่งเป็นเวลาส่วนตัวอย่างมากๆสำหรับเรา
    เพราะเมื่อกลับถึงวัดมันก็มีภาระกิจมารออยู่แล้ว ญาติโยมมาเจิมรถ มารดน้ำมนต์ มาถวายสังฆทาน สวดมนต์ทำวัตรเช้า ฉันเช้า
ดูแลสั่งงานการก่อสร้าง แจกงานให้พระที่อยู่ร่วมกันไปปฏิบัติการตามหน้าที่ของแต่ละท่าน เราต้องบริหารเรื่องเวลาและภาระกิจให้
ลงตัวภายในหนึ่งวัน  เวลาพักผ่อนก็คือเวลาที่เขียนบันทึกและแต่งบทกวี  กลางวันต้องรับปรึกษาแก่ญาติโยมที่มาปรึกษาในทุกเรื่อง
ชีวิตในหนึ่งวันเราต้องจัดการบริหารเรื่องเวลาให้ลงตัว ให้ได้ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ทั้งงานศาสนาและงานสังคม
    คิดเสมอว่า...การทำงานคือการปฏิบัติธรรม  ทุกอย่างที่ทำลงไปนั้น คือการสร้างบารมี เพื่อให้ใจเรามีปิติ มีกำลังใจ ไม่เบื่อที่จะทำ
สิ่งสำคัญคือเราต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา อย่าคิดว่าเป็นภาระ เป็นปัญหา คิดว่าเป็นหน้าที่ ที่เราต้องกระทำ
เพื่อสงเคราะห์และอนุเคราะห์แก่ผู้คนทั้งหลาย ที่เขามาหวังพึ่งเรา
 :054:แด่ชีวิตในวันหนึ่งซึ่งไม่ไร้คุณค่า อาจจะไร้รูปแบบ แต่ไม่เคยไร้สาระ :054:
             เชื่อมั่น-ศรัทธาในสิ่งที่ทำ-ปรารถนาดีต่อผู้ร่วมเกิดแก่เจ็บตาย
                                  รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๐.๑๔ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๒๑ ก.ค.๕๒
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22 ก.ค. 2552, 10:37:06 »
สิ่งสำคัญคือเราต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา อย่าคิดว่าเป็นภาระ เป็นปัญหา คิดว่าเป็นหน้าที่ ที่เราต้องกระทำ

...กราบนมัสการขอบพระคุณพระอาจารย์ที่เมตตาสอนเรื่องการแบ่งเวลา และการสร้างกำลังใจในการทำงานครับ...

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: บันทึกธรรม...๒๑ ก.ค.๕๒
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 22 ก.ค. 2552, 11:07:23 »
แด่ชีวิตในวันหนึ่งซึ่งไม่ไร้คุณค่า อาจจะไร้รูปแบบ แต่ไม่เคยไร้สาระ
กราบนมัสการพระอาจารย์ ผมได้แนวคิดและการปฎิบัติอย่างมากกับประโยคนี้ครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๒๑ ก.ค.๕๒
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 20 มี.ค. 2554, 11:17:04 »
วิธีทำบารมี 10 ให้เต็ม
 


บารมี นี่เขาแปลตามภาษาบาลีแปลว่า เต็ม แต่เนื้อแท้จริง ๆ ต้องใช้กำลังใจให้เต็ม
ไม่ใช่เอาวัตถุมาเต็ม คือ

(1) ทานบารมี จิตใจท่านพร้อมแล้วหรือยังที่จะให้ทานตามความสามารถ
เพราะการให้ทานนี่เป็นการทำลายโลภะ ความโลภ
(คำว่าทานบารมีเต็ม ก็คือ จิตใจเรามีำกำลังใจเต็มในการให้ทาน มีความรู้สึกอยากให้อยู่ตลอด โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นและธำรงค์พระุพุทธศาสนา เป็นการให้เพื่อลดความตะหนี่ในใจเราเอง…สำหรับวิธีปฏิบัติคือ หากใครใส่บาตรได้ทุกวันก็ถือว่าดีมาก แต่หากไม่สะดวกแนะนำให้ใส่บาตรวิระทะโย คือ นำเงินใส่กระป๋องทุกวัน แล้วค่อยรวบรวมไปทำบุญ)
ส่วนเสริม สำหรับบางท่านที่ไม่มีเงิน อาจใช้อย่างอื่นแทนเช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร หรือ ไม่มีข้าว ไม่มีเงิน แต่ต้องการให้ทานบารมีเต็ม ให้ปลูกพืชผัก แล้วตั้งใจว่า ผัก(เช่นพริก มะเขือ) ต้นนี้ เราจะไม่กิน ออกผลเมื่อไหร่ จะเอาไปถวายพระสงฆ์ทั้งหมด….

(2) ศีลบารมี ศีลของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่องหรือเปล่า
ทุกวันท่านพิจารณาศีลของท่านหรือเปล่าว่าครบถ้วนไหม
(การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ต้องเจริญพรหมวิหาร 4 และกรรมบท 10 ควบคู่ไปด้วย)

(3) เนกขัมมบารมี การถือบวช หรือ การละออกจากกาม การถือบวชในที่นี้ก็หมายถึงว่าเป็นการระงับนิวรณ์ 5 ประการ โดยเฉพาะ
กามฉันทะ เห็นรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย และสัมผัสที่ต้องการการมั่วสุมไปด้วยกามารมณ์เป็นโทษ มันเป็น อนิจจัง ไม่มีการทรงตัว รูปมันสวยไม่จริงสวยนิดหนึ่ง แล้วก็แก่ไปเสื่อมไปทุกวัน เสียงผ่านหูแล้วก็หายไป กลิ่นหอมกระทบจมูกแล้วก็หายไป สัมผัสที่เรานึกว่าดี ความจริงมันเป็นปัจจัยนำโทษมา นี่หมายถึงว่าสัมผัสระหว่างเพศมันนำโทษมาให้ หากต้องการสัมผัสแบบนั้นงานมาก งานมันก็เกิดขึ้นมาก กำลังใจต้องรักษาไว้ซึ่งกันและกัน ต้องเอาใจคนโน้น ต้องเอาใจคนนี้หนักใจมาก

(4) ปัญญาบารมี นี่เราเห็นหรือยังว่าการเกิดเป็นทุกข์ เกิดมาแล้วนี่ภาระต่าง ๆ เต็มไปหมด
ที่พูดไปแล้วนี่มีแต่ความทุกข์ทั้งนั้นหาความสุขไม่ได้ ถ้าเราจะสุขได้จริง ๆ ก็ต้องวางการเกิดคือ
วางขันธ์ 5 นี่เป็น ปัญญาบารมี

(5) วิริยบารมี ได้แก่ความเพียร เรามีความเพียรครบถ้วนแล้วหรือยัง
คือใช้กำลังใจเป็นสำคัญ ไปหักห้ามความชั่วไม่ให้เข้ามายุ่งกับใจ
(6) ขันติบารมี แปลว่า ความอดทน การกระทำความดีที่ฝืนอารมณ์เดิมต้องอดทนเพราะใจมันคอยจะต่ำ มันคบกิเลส ตัณหา อุปาทาน คือ มีความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่เราก็พิจารณาเห็นว่าความรักเป็นโทษ ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นโทษ เราจะฝืนกำลังใจที่มันคบกันมานาน เราก็ต้องใช้ความอดทน ไม่อย่างนั้นเราก็จะทรงตัวอยู่ไม่ได้

(7) สัจจบารมี ความจริงใจ ที่เราตั้งใจจะห้ำหั่นกิเลสทั้ง 3 ประการให้มันสิ้นไป
เราจะไม่ละความพยายามทรงสัจจะเข้าไว้ จะไม่ยอมทิ้งสัจจะคือความจริงใจ
แต่ว่าการรักษาสัจจะต้องให้มันพอดีพอควร อย่าทำเกินพอดี การนั่งกรรมฐานเครียดเกินไป พระพุทธเจ้าไม่ใช้ ใช้อารมณ์ย่อหย่อนเกินไปไม่ใช้ ใช้อารมณ์พอดี ๆ เพื่อรักษาอาการของขันธ์ 5 ให้เป็นปกติ

(8) อธิษฐานบารมี อธิษฐานต้องตั้งใจไว้เลยว่า การปฏิบัติแบบนี้ เราต้องการพระนิพพาน ไม่ใช่สักแต่เพียงว่าทำเป็นแค่อุปนิสัย ถ้าอารมณ์คิดว่าเป็นแค่อุปนิสัยมันขี้เกียจง่าย ตั้งใจไว้เฉพาะว่าชาตินี้ทั้งชาติ อย่างเลวที่สุดเราจะเป็นพระโสดาบันให้ได้

(9) เมตตาบารมี เมตตาบารมีตัวนี้ก็เป็นตัว ตัดโทสะ ความพยาบาท ที่เป็นกิเลสตัวสำคัญ
สำหรับ ปัญญาบารมี นั้นตัดโมหะ

(10) อุเบกขาบารมี ทรงอารมณ์เฉย ในเมื่อกฎของกรรมที่เราทำไว้เป็นอกุศลในชาติก่อนที่เราทำมันมาให้ผล เราก็มีอารมณ์สบาย อะไรมันจะเกิดแก่เราบ้าง เราก็สบายที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ คือร่างกายมันจะแก่เราก็สบาย
เฉย….เรารู้ว่าจะแก่ ถ้ามันจะป่วยใจเราก็สบาย เพราะรู้ว่ามันจะป่วย รักษาตัวเหมือนกัน หายก็หาย
ตายแหล่ก็ช่างมัน ของรักของชอบใจที่จะต้องพลัดพรากจากกัน เรารู้ว่านี่เป็นธรรมดา อารมณ์ใจก็เฉย
สบาย…เพราะรู้ว่าเป็นธรรมดา มันจะจากไปเราก็ห้ามมันไม่ได้ คนที่รักกันกับเราเขาประกาศเป็นศัตรูก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเขากับเรายังมีกิเลสกัน ต่างคนต่างมีกิเลส เขาจะไปมันเป็นเรื่องของเขาเราไม่ตาม ถ้าเขาจะมาเราก็ไม่ปฏิเสธพร้อมยอมรับ ใจสบายเป็น อุเบกขาบารมี ร่างกายมันจะตายจะพังก็ช่าง จัดเป็น อุเบกขาบารมี

กำลังใจรวมความว่าบารมีทั้ง 10 ประการ คือ
(1) จิตพร้อมจะให้ทาน
(2) จิตทรงศีลอยู่เสมอ
(3) เราพร้อมที่จะระงับนิวรณ์ 5 ประการ
(4) เรามีปัญญาที่จะรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎของธรรมดา
มีอารมณ์ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาเป็นปกติ
(5) เรามีความเพียรเพื่อจะทำลายกิเลสให้พินาศไป
(6) เรามีขันติความอดทน ทนต่อการฝืนอารมณ์เพราะอารมณ์มันคอยต่ำ เราจะดึงขึ้นสูง
มันก็จะคอยต่ำต้องทนดึงเข้าไว้
(7) สัจจะ เมื่อตั้งใจจะทำลายกิเลสแล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำลายกิเลสกันเรื่อยไป ไม่ถอยกลับ
(8) อธิษฐานตั้งอารมณ์ไว้ตรงว่าเราจะเข้าไปหาพระนิพพานให้ได้ จะไม่ยอมถอยหลัง
จับจุดไว้จุดเดียวเท่านั้น
(9) เมตตา ประกาศตนเป็นคนมีความรักปรารถนาในการสงเคราะห์คนทั้งหมดและสัตว์ทั้งหมด
ไม่ถือว่าใครเป็นศัตรูร้ายของเรา
(10) อุเบกขา มีความวางเฉย วางเสียได้เมื่อกฎของกรรมจะเข้ามาสนองตน
บารมี 10 นี้ท่านให้ทบทวนทุกวันว่าเรามีครบหรือไม่ ขาดบกพร่องข้อใดบ้าง

http://www.dhammatan.net/2010/07/%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5-10/
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ