ผู้เขียน หัวข้อ: ฟ้าสางทางการขุดเพชร  (อ่าน 1348 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ฟ้าสางทางการขุดเพชร
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:53:18 »
คำปราศรัยผู้มา

เพื่อนสหธรรมิกและท่านสาธุชน ผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย.

อาตมา ขอแสดงความยินดี และขอขอบคุณพร้อมกันไปในตัว ในการมาของท่านทั้งหลาย สู่สถานที่นี้ในลักษณะนี้ ด้วยความหวังดี. สำหรับอาตมาปีนี้ ประจวบเหมาะไม่ค่อยสบาย; คุณหมอทั้งหลาย ขอร้องว่าอย่างทำอะไร ให้นอนนิ่งๆ ตลอดวันตลอดคืน ติดต่อกันไปสัก ๒ เดือน ก็อาจจะหายจากโรคที่เป็นอยู่นี้ได้ แต่แล้วอาตมาก็ต้องขออภัย ดื้อหมอมาพบกับท่านทั้งหลาย ก็เห็นอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร, ที่ดื้อมานี่หมอก็เกรงใจ อาตมาก็เลยดื้อได้ เดี๋ยวนี้ ความดันโลหิต ๒๐๐ กับ ๑๐๐ เรียกว่า เกือบไม่มีแรงจะพูด, แต่ด้วยความขอบคุณในท่านทั้งหลาย ก็อุตส่าห์มาพูดจนได้.

ในฐานะที่เป็นพุทธทาส

ยิ่งกว่านั้นก็คือว่า อาตมาเป็นพุทธทาส ดังนั้น จึงต้องทำสนองพระพุทธประสงค์ทุกอย่าง, ก็เลยขอบอกให้ทราบว่า พระพุทธองค์นั้น ทรงทำหน้าที่ของพระองค์ อย่างที่เรียกว่า จนวินาทีสุดท้าย คือ นิพพาน. บางคนก็ทราบเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว ว่ากำลังจะปรินิพพานอยู่หยกๆ แล้ว ก็ยังมีปริพาชกในลัทธิอื่นเข้ามาขอเฝ้าเพื่อศึกษาธรรมะ. พระสงฆ์ทั้งหลายก็ไล่ออกไปว่า อย่ามากวนๆ พระพุทธองค์ทรงป่วยหนักแล้ว. พระพุทธเจ้าทรงได้ยินเสียงไล่คนนั้นให้ออกไป ท่านตรัสว่า อย่าไล่ๆ แล้วก็เรียกให้เข้ามา. เขาได้ทูลถามปัญหาได้ศึกษาธรรมะในโอกาสอันสั้นนั้น จนบรรลุธรรมวิเศษ, อีกไม่กี่นาทีต่อมา ก็มีการปรินิพพาน. ขอให้นึกถึงข้อนี้กันบ้าง ว่าพระพุทธองค์ทรงทำหน้าที่ของท่านจนวินาทีสุดท้ายเช่นนี้, อาตมาเป็นทาสของพระพุทธองค์ ก็ต้องถือเป็นหลักปฏิบัติตาม, ถ้ามันจะเป็นอะไรก็ขอให้มันเป็นไป เพื่อจะได้ทำหน้าที่จนวินาทีสุดท้ายด้วยเหมือนกัน. นี่ขอให้ทราบข้อเท็จจริงว่าเดี๋ยวนี้อยู่ในสภาพที่หมอห้ามพูด ก็ยังไม่ฟัง จะมาพูดให้จนได้.

เพชรในพระพุทธศาสนา

อาตมา ขอเรียกธรรมะที่กล่าวในวันนี้ว่า "ของขวัญในวันล้ออายุปี ๒๕๒๘". ของขวัญที่กล่าวนี้คือเสรีภาพอันสูงสุด ในการที่จะรับและนับถือธรรมะประจำชีวิตของตน. ขอให้ทุกคนได้รับของขวัญอันนี้คือมีเสรีภาพในการที่จะรับถือธรรมะ มาเป็นที่พึ่งของตน. เสรีภาพเช่นนี้ของเรียกว่า "เพชรในพระพุทธศาสนา", และขอมอบให้ทั้งสิ่งที่เป็นเครื่องมือสำหรับขุดเพชร กล่าวคือ เสรีภาพในการพิจารณา เลือกเฟ้นข้อผิดถูก ในการที่จะรับถือพระพุทธศาสนา นั่นเอง ดังที่จะได้กล่าวต่อไปตามลำดับ.

 


ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ฟ้าสางทางการขุดเพชร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 03:55:54 »
พระบาลีกาลามสูตร

เสรีภาพในการรับถือพระพุทธศาสนานั้น คือ หลักพระบาลีกาลามสูตร ที่ตรัสไว้อย่างเป็นการประทานเสรีภาพสูงสุด เป็นประชาธิปไตยสูงสุด, และก็เคยพูดเรื่องนี้มาหลายครั้งหลายหนแล้ว โดยใจความก็มีว่า พวกชาวกาลามะได้ทูลถามพระองค์ว่า มีเจ้าลัทธิมาสอนลัทธิหลายๆ อย่างต่างกัน จนไม่รู้ว่าจะรับถืออย่างไรแล้ว จะทำอย่างไรดี. พระพุทธองค์ได้ตรัสเรื่องที่เรียกว่า กาลามสูตร มี ๑๐ หัวข้อด้วยกัน.

ใน ๑๐ หัวข้อนั้น, ๓ หัวข้อแรก เกี่ยวกับการได้ยินได้ฟัง หรือการศึกษา :

ข้อที่ ๑ ว่า มา อนุสฺสเวน แปลว่า อย่ารับถือเอาด้วยเหตุว่า ฟังบอกตามๆ กันมา. ข้อที่ ๒ ว่า มา ปรมฺปราย แปลว่า อย่ารับถือเอาด้วยเหตุว่าทำตามสืบๆ กันมาอย่างปรัมปรา. ข้อที่ ๓ ว่า มา อิติกิราย แปลว่า อย่ารับถือเอา เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่กำลังเล่าลืออยู่อย่างกระฉ่อน.

ข้อที่ ๔ เกี่ยวกับตำราหรือปิฏก ตรัสว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน แปลว่า อย่ารับถือเอา ด้วยเหตุว่ามีที่อ้างในปิฏก. คำว่าปิฏกในที่นี้ ก็คือสิ่งที่เราเรียกกันว่าตำรา. สำหรับพระพุทธศาสนา ก็คือบันทึกคำสอนที่เขียนไว้ในใบลาน เอามารวมกันไว้เป็นชุดๆ เรียกว่า ไตรปิฏก.

ทีนี้อีก ๔ ข้อ เกี่ยวกับการคำนวณ หรือการใช้เหตุผลในการคำนวณ.

ข้อที่ ๕ ตรัสว่า มา ตกฺกเหตุ แปลว่า อย่ารับถือเอา ด้วยการใคร่ครวญตามวิธีที่เรียกว่า ตรรกะ. ซึ่งปัจจุบันนี้ เรียกว่า Logic. แม้ว่าคำสอนของผู้ใดถูกต้องตามวิธีใคร่ครวญของ Logic ก็อย่าเพิ่งถือเอา เพราะว่า ตรรกะก็ยังผิดได้ ในเมื่อเหตุผลหรือวิธีใช้เหตุผลมันผิด.

ข้อที่ ๖ ตรัสว่า มา นยเหตุ แปลว่า อย่ารับถือเอาโดยเหตุว่า มันสมเหตุผลทางนยะ. สิ่งที่เรียกว่า นยะในครั้งพุทธกาล ก็คือสิ่งที่เรียกกันในบัดนี้ว่า Philosophy อย่างของฝรั่ง ซึ่งเรามาเรียกกันในภาษาไทยว่า ปรัชญา อันเป็นการเรียกผิดชื่อ เพราะปรัชญามิใช่ Philosophy เป็นเพียงทรรศนะหนึ่งๆ ไม่ถึงขีดปรัชญา; แต่เมื่อเรียกกันแล้วก็เรียกกันไป ขอแต่อย่าเอาวิธีคิดนึกอย่าง Philosophy มาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับถือเอาหลักธรรมะมาปฏิบัติก็แล้วกัน.

ข้อที่ ๗ ตรัสว่า มา อาการปริวิตกฺเกน แปลว่า อย่ารับถือเอาด้วยการตรึกตามอาการ คือตามความคุ้นเคยด้วยการคิดตามสบายใจ ที่เรียกกันในสมัยนี้ว่า Common sense. มีคนหลายพวกสมัยนี้ นิยมใช้  Common sense, แต่ในพุทธศาสนาใช้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสห้ามไว้โดยข้อนี้

ข้อที่ ๘ ตรัสว่า มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา แปลว่า อย่ารับถือเอา เพราะว่ามันทนได้ต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิของตนเอง. ตัวเองมีทิฏฐิอย่างไร ถ้าเขามาสอนด้วยคำสอน ชนิดที่เข้ากันได้กับทิฏฐิของตัวเอง ก็อย่าเพิ่งถือเอา เพราะว่าทิฏฐิของตัวเอง มันก็ผิดได้.

ทีนี้ อีก ๒ ข้อ เกี่ยวกับบุคคลผู้พูดหรือผู้แสดงลัทธินั้นๆ.

ข้อที่ ๙ ตรัสว่า มา ภพฺพรูปตาย แปลว่า อย่ารับถือเอาเพราะเหตุว่า ผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ คือ ผู้พูดมีคำพูด มีลักษณะท่าทางที่น่าเชื่อ.

ข้อที่ ๑๐ หรือข้อสุดท้ายตรัสว่า มา สมโณโน ครูติ แปลว่า อย่ารับถือเอา เพราะสมณะผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา. ข้อนี้เป็นเสรีภาพเหลือประมาณ ไม่มีในศาสนาใดๆ.

ขอให้จำไว้ว่า คำสอนทั้ง ๑๐ ข้อนี้แหละ เรียกว่า เสรีภาพในการรับถือธรรมะมาเป็นที่พึ่งของตน, ดังนั้น อาตมาจะขอกล่าวเน้นและขยายความทบทวนอีกทีหนึ่ง เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ขอให้ตั้งใจฟังให้ดี.

ข้อที่ ๑ อย่ารับถือเอามาเป็นหลักปฏิบัติเพราะเหตุว่าฟังบอกตามๆ กันมา. ข้อที่ ๒ อย่ารับถือเอามาเป็นหลักปฏิบัติ เพราะเหตุว่าเป็นการปฏิบัติที่ได้ทำตามๆ กันมาอย่างปรัมปรา แบบเถรส่องบาตร. ข้อที่ ๓ ว่า อย่ารับถือเอามาปฏิบัติ เพราะเหตุว่าเป็นเรื่องที่เล่าลือกันอยู่กระฉ่อนไป เหมือนครั้งหนึ่งเล่าลือกันเรื่องคนเกิดปีมะ มะเมียมะแมอะไรก็ตาม จะต้องปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้ มิฉะนั้น มัจจุราชจะเอาตัวไป นี่แหละคือข้อที่ สิ่งเล่าเลือนั้น ไม่จำเป็นจะต้องถือเอา. รวม ๓ ข้อนี้ เกี่ยวกับการฟังจากภายนอก เป็นหลักที่จะต้องสังวรไว้.

ข้อที่ ๔ ว่า อย่ารับถือเอาด้วยเหตุผลเพียงว่า มีที่อ้างอยู่ในปิฎก. ข้อนี้จะได้กล่าวให้มากที่สุดในการบรรยายต่อไปข้างหน้า เพราะว่าเป็นเรื่องสำคัญ คือเราในบัจจุบัน งมงายต่อสิ่งที่เรียกว่า ปิฎก หรือ พระไตรปิฎกกันมากเกินไป ทำให้เป็นที่เยาะเย้ยได้ว่า เป็นทาสของพระไตรปิฎกกันเสียทุกตัวอักษร อย่างขัดต่อคำสั่งสอนข้อนี้ของพระพุทธองค์.

ข้อที่ ๕ อย่าถือเอาโดยอาศัยหลัก Logic เพราะเหตุเพียงมันเข้ากันได้กับเหตุผลทาง Logic. ข้อที่ ๖ อย่าถือเอาโดยอาศัยหลัก Philosophy เพราะมันเพียงแต่เข้ากันได้กับหลักเหตุผลทาง Philosophy. ข้อที่ ๗ อย่าถือเอาโดยใช้ Common sense คือตริตรึกไปตามอาการของความรู้สึกที่แวดล้อมอยู่. ข้อที่ ๘ อย่าถือเอาเพราะมันทนได้ต่อความคิดเห็นของตนเอง ซึ่งที่แท้อาจจะผิดทั้งหมดก็ได้.

ทีนี้ ก็มาถึงข้อที่ ๙ อย่ารับถือเอาเพราะเหตุว่า ผู้พูด มีคำพูด มีลักษณะท่าทาง หรือมีเครดิตใดๆ ซึ่งน่าเชื่อหรือควรเชื่อ. ข้อสุดท้ายคือข้อที่ ๑๐ อย่ารับถือเอาเพราะเหตุว่า พระสมณะผู้พูดนั้น เป็น "ครูของข้าพเจ้า" สำหรับข้อนี้ ขอให้คิดดูอย่างยิ่งว่า ไม่เชื่อแม้แต่สมณะผู้เป็นครูของตนเอง, ต้องหยั่งดูด้วย ยถาภูตสัมมัปปัญญา ว่าข้อที่พูดนั้นปฏิบัติตามแล้วอาจจะดับทุกข์ได้ แล้วก็ลองปฏิบัติดูก่อน. พระพุทธเจ้าทรงประทานเสรีภาพสูงสุดเกี่ยวกับพระองค์เองก็เป็นสมณะ และคนทั้งหลายก็นับถือว่าเป็นบรมครู, แม้กระนั้น ก็อย่าเชื่อทันที ด้วยเหตุผลเพียงว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา. อาตมาขอท้าทายให้ค้นหาคำสั่งสอนชนิดนี้ ว่ามีในศาสนาไหนบ้าง. มันไม่มีในศาสนาไหนเลย มันมีแต่การผูกขาดให้เชื่อโดยส่วนเดียว ไปเสียทั้งหมด.

ทรงเปิดโอกาสให้ใคร่ครวญดู

ทั้งหมดนี้ ขอให้ทำความเข้าใจให้ดีๆ อย่าได้ตกเป็นทาสของความงมงาย ๑๐ ประการนั้น, แต่ขอบอกว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ห้ามไม่ให้เกี่ยวข้องกับสิ่งทั้ง ๑๐ ประการนั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น สำหรับนำมาใคร่ครวญได้ตามสมควร : จะฟังเขาพูดก็ได้ จะฟังเสียงเล่าลือก็ได้ แต่ยังไม่เชื่อ เอามาใคร่ครวญดูว่า มันจะดับทุกข์ได้หรือไม่, ถ้ามีวี่แววว่า จะดับทุกข์ได้ ก็ลองปฏิบัติดูได้ แล้วจึงค่อยเชื่อ.

ข้อที่ ๔ ซึ่งเป็นข้อร้ายแรงที่สุด สำหรับการศึกษาสมัยนี้ คือ ไม่ให้เชื่อเพราะเพียงแต่มีที่อ้างในปิฎก. ท่านใช้คำว่า ปิฎก. คำนี้ในภาษาไทยแปลกันว่าตำรา คือข้อความที่ได้เขียนลงเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว, ถ้ายังไม่ได้เขียน ก็ยังไม่เรียกว่า ปิฎก แต่อย่าลืมว่า คำว่า ปิฎกๆ นี้ ใช้กับตำราของชาวบ้านก็ได้ และใช้กับตำราของทางศาสนาก็ได้ รวมทั้งพระไตรปิฎก ที่ได้เกิดขึ้นในยุคหลัง เมื่อได้เขียนหรือจารึกลงเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว, ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในคำว่า ปิฎก. เหตุผลที่ห้ามไม่ให้เชื่อเพราะมีที่อ้างในปิฎกนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกันมากอย่างยืดยาว จะไว้พูดกันทีหลัง.

ข้อที่ ๕ ที่ไม่ให้เชื่อโดยเหตุผลทางตรรกะนั้น เพราะว่าเรื่องตรรกะนี้ เด็กๆ ก็ทำได้. เหตุผลที่เด็กๆ เขาใช้กันนั้น ก็เป็นตรรกะได้เหมือนกัน ใช้กันจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ ถึงกับมีหลักวางไว้เป็นศาสตร์ศาสตร์หนึ่งไปแล้วก็ตาม ก็อย่าได้ถือเป็นหลักตายตัว ว่าถ้ามันถูกต้องตามหลักแห่งตรรกะนั้นแล้ว มันจะดับทุกข์ได้ไปเสียทั้งหมด มันยังดับทุกข์ไม่ได้ก็มี, ดังนั้น การที่จะอ้างหลักทางตรรกะ หรือ ทางนยะซึ่งเป็นข้อที่ ๖ แล้วเอามาเชื่อถือนั้น มันก็ไม่ถูก มันจะกลายเป็นทาสของตรรกะ เป็นทาสของนยะ เหมือนที่กำลังเป็นกันอยู่มากสมัยนี้ ซึ่งอะไรๆ ก็อ้าง Logic บ้าง อะไรๆ ก็อ้าง Philosophy บ้าง มันก็จะเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้นมากเกินไป ไม่เป็นอิสระ.

แต่ว่า จะเอาวิธีตรรกะมาใช้กันบ้างก็ได้ ถ้ามีความรู้ เรากล้าท้าทายว่า ถ้าใครมีความรู้เรื่องตรรกวีธี คือการคิดอย่างตรรกะนั้น จะเอามาจับกับหลักธรรมะในพระพุทธศาสนานี้ดูก็ได้ : เราท้าทาย เราจะพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า มันไม่ได้ถูกต้องอยู่ที่บทสรุป ของตรรกะหรือ Logic ถ้าเรามีเวลาจะทำ และอยากจะทำ เราก็ลองทำดูได้; ถ้าเชื่อตามพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ไม่ต้องลองให้เสียเวลา.

ทีนี้ ข้อ ๗ การตรึกตามอาการ  หรือ Common sense นั้น ใครมีก็ใช้ได้ แต่อย่าเพิ่งทึกทักเอาว่ามันเป็นอย่างนั้น มันต้องมาทำให้เป็นเรื่องดับทุกข์ได้ โดยวิธีของสติปัญญาสูงสุด ที่เรียกว่า ยถาภูตสัมมัปปัญญา คือปัญญาเห็นตามที่เป็นจริงโดยชอบ ของตน.

สำหรับข้อ ๘ ที่ว่า ตัวมีทิฏฐิอย่างไร มีความเชื่ออย่างไร พออะไรมีมาเข้ากันได้ หรือพิสูจน์ได้ด้วยทิฏฐิหรือความเชื่อของตัว แล้วก็ถือเอา, อย่างนี้มันไม่ถูก; แต่ว่าจะลองเอาทิฏฐิหรือความเชื่อของตนไปวัดดูจับดูก็ทำได้.

สำหรับข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคลนั้น จะลองทดสอบดูก็ได้ ว่ามันมีอะไรน่าเชื่อน่าฟัง ก็ฟังได้ ไม่ห้าม เพียงแต่ว่า อย่าเพิ่งเชื่อหรือรับเอาทันที แม้ข้อที่ว่า สมณะผู้พูดเป็นครูของตน ท่านพูดท่านสอนอะไรก็ฟังได้ แต่ยังไม่รับเอาทันที. พระสารีบุตรมีคุณธรรมข้อนี้ และยืนยันต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า, ก็ทรงอนุโมทนา. ข้อนี้เป็นสิ่งสูงสุดที่พระพุทธเจ้าทรงประทานเสรีภาพแก่สาวกของพระองค์.

ความมีเสรีภาพตามหลัก ๑๐ ประการนี้ อาตมานำมากล่าวในวันนี้ ในฐานะเป็นของขวัญล้ออายุปีนี้ เรียกว่า เสรีภาพในการที่จะรับ หรือจะถือ หรือจะมี หรือจะปฏิบัติธรรม เป็นเครื่องประจำชีวิต. ถ้าเวลาที่แล้วมาท่านทั้งหลายยังไม่มี หรือยังไม่ได้ถือ, ต่อไปนี้ก็ขอร้องให้ถือในฐานะเป็นของขวัญ ที่อาตมารับมอบมาจากพระพุทธเจ้า เราอาศัยสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง แล้วก็ใช้วิพากษ์วิจารณ์ต่อธรรมะ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้ ทั้งหมดทั้งสิ้น ก็จะได้พบของจริงตามพระพุทธประสงค์ ที่จะให้เราได้รับสิ่งเหล่านี้. แม้สิ่งที่เรียกกันว่า พระไตรปิฎก ก็ขอให้ใช้หลัก ๑๐ ประการนี้กับพระไตรปิฎก แล้วเราก็ได้เนื้อแท้ของพระไตรปิฎก.

 


ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ฟ้าสางทางการขุดเพชร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 04:01:31 »
เพชรในพระไตรปิฏก 
ทีนี้ ก็ชวนให้นึกถึงสิ่งที่เรียกว่า "เพชร" เพชรในพระไตรปิฏกนั้นมีอยู่ คือสิ่งที่จะดับทุกข์ได้ ในฐานะเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา มีอยู่อย่างสมควรที่จะเรียกว่าเพชร แล้วแถมยังมีเครื่องมือสำหรับขุดเพชรในพระไตรปิฏก นั่นเอง, มีหีบ มีลัง มีกล่อง มีผอบที่จะใส่เพชร ล้วนมีอยู่ในพระไตรปิฏก แม้กระทั่ง กระสอบ หรือ กระดาษ หรือเชือกถัก ที่จะห่อหุ้มหีบหรือกล่องเหล่านั้น. ขอให้รู้จักพระไตรปิฏกในลักษณะอย่างนี้ว่า มีเพชรอยู่ในพระไตรปิฏก, มีเครื่องมือขุดอย่างครบถ้วน, มีภาชนะสำหรับจะใส่และหุ้มห่อ อยู่อย่างครบถ้วน. เห็นไหม ว่าในพระไตรปิฏกนี้ ส่วนไหนเป็นอะไร อย่างไร เท่าไร เพียงไร; จะได้ถือเอาอย่างถูกต้อง ตรงตามที่ควรจะถือเอา. มิฉะนั้นกลัวว่า จะไปถือเอาผืนกระสอบห่อชั้นนอกไม่เข้าถึงแม้แต่หีบที่ใส่เพชรไว้ แถมยังไม่มีเครื่องมือขุดหาเพชร แล้วจะหาเพชรได้ที่ไหน, ฉะนั้น จึงขอร้องว่าให้สนใจเรื่องนี้ให้มาก อย่าพึ่งเข้าใจไปว่า เป็นเรื่องหยาบคาย รุนแรง จ้วงจาบพระไตรปิฏก แม้แต่ประการใดเลย.

หัวใจของพุทธศาสนา

ทีนี้ เราจะพูดกันถึงข้อที่ว่า พระไตรปิฏกนั้นมีค่าอย่างไร ส่วนไหนมีค่าเท่าไร?

คนงมงายบางคนมักจะพูดว่า เหมือนกันทั้งหมดเลย รวมทั้งหีบทั้งลังทั้งกล่อง กระทั่งกระสอบห่อชั้นนอก เป็นหัวใจพุทธศาสนาไปหมด อย่างนี้มันไม่ถูก: มันต้องเอาเฉพาะที่เป็นเพชร ที่ดับทุกข์ได้ ว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา. แต่สิ่งที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนานั้น อาจจะหยิบออกมาได้หลายชนิด หลายอย่าง หรือหลายรูปแบบ: เรื่องอริยสัจก็ดี คาถาพระอัสสชิก็ดี ปฏิจจสมุปบาทก็ดี ตถตาหรือสุญญตาก็ดี ล้วนแต่เรียกได้ว่า หัวใจของพุทธศาสนา ทั้งนั้น, แต่ว่า มันเป็นหัวใจในแง่ของปริยัติบ้าง หัวใจในแง่ของการปฏิบัติบ้าง หัวใจในแง่ของปฏิเวธบ้าง. ทีนี้อะไรเล่า ที่จะเป็นหัวใจทีเดียวได้หมดทั้งของปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ? นั่นคือพระพุทธภาษิตที่ได้ตรัสไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย แปลว่า "สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น (ว่าเป็นตนหรือของตน)". สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย นั่นแหละ เป็นตัวเพชรเม็ดเดียวในพระไตรปิฏก หรือในพุทธศาสนา, แต่ขยายออกไปเป็นรูปจำลองรูปอื่นๆ หลายอย่าง.

มีคำตรัสไว้ที่ถือเป็นหลักได้ว่า ผู้ใดได้ยินได้ฟังคำว่า "สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" ผู้นั้นชื่อว่า ได้ยินได้ฟังทั้งหมด ในพุทธศาสนา, ผู้ใดได้ปฏิบัติเพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่น ผู้นั้นชื่อว่า ได้ปฏิบัติทั้งหมดในพุทธศาสนา, ผู้ใดได้รับผลของการปฏิบัติ ในความไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว ผู้นั้น ชื่อว่า ได้รับผลทั้งหมดที่พึงได้รับจากพุทธศาสนา, ดังนั้น ธรรมะข้อนี้ จึงเป็นหัวใจของพุทธศาสนา ทั้งในแง่ของปริยัติ ทั้งในแง่ของปฏิบัติ และทั้งในแง่ของปฏิเวธ.

ขอให้ท่านทั้งหลายได้รับเอาเพชรในพุทธศาสนา ที่เป็นชั้นหัวใจคือพระธรรมที่เป็นคำสรุปหลักในพุทธศาสนาทั้งหมด การที่พูดว่า มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เป็นการสมมติกันเองทีหลัง. ถ้าจะว่ากันให้ถึงที่สุดแล้ว เพชรนั้นมีเม็ดเดียวเท่านั้นแหละ แต่มันกระจายเรื่องราวออกไปได้มาก เป็นเรื่องลักษณะ อาการ คุณค่าและอะไรๆ ของเพชรเม็ดนั้น จนกระทั่งถึงวิธีขุดเพชรอย่างไร กี่สิบกี่ร้อยวิธีก็นำมากล่าวไว้หมด.

ความเป็นมาของพระไตรปิฏก

ทีนี้ จะพูดกันถึงพระอาจารย์ชั้นหลัง : พระอาจารย์ชั้นหลังต่อๆ มา จะเป็นชั้นไหนค่อยว่ากันทีหลัง, ท่านได้ยัดเอาหีบสำหรับใส่เพชร เข้าไปในพระไตรปิฏกด้วย, ชั้นหลังต่อมาอีก ได้เอากระดาษห่อหีบชั้นนอก ยัดเข้าไปด้วย ได้แก่ข้อความที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อ ที่เป็นเรื่องปาฏิหาริย์ เรื่องเทวดา สวรรค์วิมาน ภูตผีปีศาจ เป็นอันมาก. มีผู้กล่าวให้เชื่อกันว่า พระไตรปิฎกมีมาตั้งแต่สมัยครั้งแรกที่ยังไม่ได้เป็นปิฎก: ในการทำสังคายนาครั้งแรกที่สุดนั้นน ยังไม่มีพระไตรปิฎก เพราะยังไม่ได้จารึกเป็นอักษรลงในสิ่งใด ยังเรียกปิฎกไม่ได้, จึงยังไม่มี. ยิ่งกว่านั้น เกิดมีคำกล่าวในอรรถกถาธรรมบท ที่กล่าวไว้ให้คนชั้นหลังเข้าใจว่ามี ในลักษณะที่เรียกว่า มุสาด้วยความหวังดี ก็ได้, แต่จะไม่เรียกอย่างนั้น เพราะท่านทำไปด้วยเจตนาดี อย่างบริสุทธิ์ใจ ข้อความนั้นกล่าวว่า มีคนบวชใหม่ทูลถามพระพุทธเจ้า ว่าบวชแล้วจะให้ทำอะไร? พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธุระมีอยู่ ๒ อย่าง คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ. ถามว่าคันถธุระเป็นอย่างไร? เขาเขียนให้พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า คันถธุระคือการเรียนปิฎกทั้งสาม หรือปิฎกใดปิฎกหนึ่ง; ซึ่งเป็นทำนองว่า มีพระไตรปิฎกมาแล้ว ตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนมายุอยู่ ถ้ายอมให้พูดตรงๆ ก็จะพูดว่า : เป็นการหลับตามุสาโดยบริสุทธิ์ใจ อย่างเป็นเรื่องเป็นราว.

ก็พระไตรปิฎกนั้นจะมีไม่ได้ในครั้งที่พระพุทธองค์ยังทรงมีชีวิตอยู่ และยังไม่จำเป็นที่จะต้องทำเป็นปิฎกดอก มีแต่เรื่องธรรมวินัยที่สอนไว้อย่างไร ก็จำสืบต่อกันมาด้วยปาก พอปรินิพพานลงไป สิ่งแรกที่กระทำคือ สิ่งที่เรียกกันว่า สังคายนาเป็นการประชุมกันด้วยเรื่องที่ตรัสไว้ทั้งหมด สอบถามจากผู้ที่ยืนยันว่าได้ฟังมาเช่นนั้นๆ ครั้นสอบถามได้ความแน่นอนหรือถูกต้องแล้ว เป็นที่ยอมรับในที่ประชุมแล้ว ก็สวดข้อความนั้นพร้อมๆ กันเป็นการสังคายนา เสร็จแล้วจัดเรื่องที่ถือว่าถูกต้องแล้ว เข้าเป็นพวกๆ เรื่องยาวๆ พวกหนึ่ง เรื่องขนาดกลางพวกหนึ่ง เรื่องขนาดสั้นพวกหนึ่ง และพวกที่จัดไว้เป็นหมวดตามจำนวนเลขมากน้อย นั้นอีกพวกหนึ่ง เป็น ๔ จำพวก แล้วก็ยังมีอีกพวกหนึ่งในลักษณะเป็นพวกสำรอง คือจัดไว้สำหรับเรื่องเบ็ดเตล็ด เพื่อการเติมเข้าหรือชักออกได้ตามพอใจนี้เรียกว่า พวกเบ็ดเตล็ด. พวกเบ็ดเตล็ดหรือพวกที่ ๕ นี้ ปรากฏว่าไม่ค่อยตรงกันในบรรดาประเทศที่มีพระไตรปิฎก มีมากน้อยกว่ากัน จนในครั้งหลังสุดนี้ มีการหยิบยืมมาเพิ่มเติมแก่กัน ในระหว่างประเทศที่มีพระไตรปิฎก, จีงมีครบเหมือนกันหมด.

ครั้งแรกทีเดียว มีพระธรรมคำสั่งสอน แบ่งเป็น ๔ พวก คือ ๔ นิกาย หรือ ๔ อาคม ข้อนี้มีเค้าเงื่อนที่เห็นได้ ทั้งฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายานที่กล่าวถึงเถรวาท, ต่อมาจึงได้มีนิกายหรืออาคมที่ ๕ เข้ามาดังที่กล่าวแล้ว. มหายานก็ยังคงยึดถือว่า เถรวาทมีหลัก ๔ อาคมอยู่.

สำหรับพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทเรานั้น การทำสังคายนาครั้งหลังๆ เป็นโอกาสให้เพิ่มเติมเรื่องต่างๆ เข้าไปได้ จนเป็น ๓ ปิฎกใหญ่ หรือ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ตามที่ยอมรับกันในยุคหลังๆ สำหรับในครั้งพุทธกาลนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะมีเป็นปิฎก ๓ ปิฎก. ที่เป็นไปได้ ก็จะเป็นเพียงพวกเดียว อย่างที่ทรงใช้คำตรัสอยู่บ่อยๆ ว่า "สุตตันตะทั้งหลาย" ตัวอย่างเช่น คำว่า สุญฺญตปฺปฏิสํยุตฺตา สุตฺตนฺตา เป็นต้น, หมายถึงหมวดหมู่แห่งสูตรต่างๆ ที่มุ่งแสดงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพวกๆ ไป. พวกฝรั่งนักศึกษาที่คงแก่เรียน ทั้งในทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษาศาสตร์ ทางธรรมะ ได้ใช้คำที่คิดขึ้นมาคำหนึ่ง ว่า OLD SUTTA ซึ่งหมายถึงข้อความ ที่เป็นสูตรเก่า หรือ สูตรครั้งแรกๆ คือเป็นตัวบันทึกในครั้งแรก ของพุทธศาสนา. คำคำนี้ เขาไม่ใช้เรียกกับวินัยหรืออภิธรรมนั้น เขาถือว่าเป็นของใหม่มาก. ในลักษณะเช่นนี้หมายความว่า วินัยก็ดี อภิธรรมก็ดี มีอยู่ในพวกเบ็ดเตล็ด รวมอยู่ในขุททกนิกาย ดังที่กล่าวปรากฏอยู่ในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา. คำว่า "อภิธรรมปิฎก" ไม่มีในปกรณ์ชั้นบาลีที่เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้า เพิ่งมีมาในชั้นหลังรุ่นอรรถกถา เพราะร้อยกรองขึ้นเมื่อหลายร้อยปีล่วงมา จากพุทธปรินิพพาน, แต่เชื่อมเนื้อความให้กลายเป็นว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปตรัสในเทวโลก เมื่อยังทรงพระชนมายุอยู่ จนทำให้คนชั้นหลังเข้าใจไปว่า มีมาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาล. ถ้าเอาหลักกาลามสูตร ที่กล่าวแล้วข้างต้นมาจับดู ก็จะหงายหลังกระจัดกระจายกระเด็นไปหมด เหลืออยู่แต่ คำว่า "ธรรมวินัย" ดังที่ตรัสไว้ในมหาปเทสสี่ แห่งมหาปรินิพพานสูตร เพื่อใช้เป็นหลักตัดสินในเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา ว่ากรณีนั้นมีความถูกต้องอย่างไร คือ บาลีที่ว่า "สุตฺเต โอสาเรตพฺพํ" และ "วินเยสนฺทสฺเสตพฺพํ". สรุปความว่า ในครั้งแรก มีแต