ผู้เขียน หัวข้อ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๒๓ กค. ๕๔...  (อ่าน 887 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๒๓ กค. ๕๔...
ตถตาอาศรม เขาเรดาร์ บ้านบึง ชลบุรี
อาทิตย์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔
              จากประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านมา ไม่ว่าบู๊ บุ๋น หรือบันเทิง
ได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสมาหมดแล้วทุกวงการ ทำให้โลกทัศน์ ชีวทัศน์
และวิศัยทัศน์ของเรานั้นเปิดกว้าง รับรู้ในข้อมูลได้ทุกอย่างและทุกเรื่อง
จึงได้นำเอาประสบการณ์ที่มีมาสงเคราะห์ อนุเคราะห์ช่วยเหลื่อผู้อื่น
โดยสอดแทรกหลักธรรมการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถี
ลงไป การมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จิตอาสาและความเหมาะสมพอดีและ
พอเพียงในการหาเลี้ยงชีวิต ในการประกอบธุรกิจและในชีวิตครอบครัว
ทุกอย่างนั้นจะดำเนินไปได้ด้วยดี ก็ต้องมีการปรับเข้าหากันของทุกฝ่าย
เพื่อให้ทุกคนได้รับผลประโยชน์จากสิ่งนั้นตามความเหมาะสมของแต่ละ
บุคคล คือการรู้จักประมาณตน ประมาณกำลัง และตั้งอยู่ในความพอดี
สิ่งเหล่านี้คือแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตที่เป็นพื้นฐานนำเข้าสู่เส้นทาง
ธรรมในอนาคตข้างหน้าต่อไป...
             ทุกอย่างนั้นต้องขึ้นอยู่กับสภาพความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
ส่งเสริมในสิ่งที่เขาชอบ อันประกอบด้วยกุศล  ซึ่งมันจะได้ผลกว่าการที่ไป
บังคับ ยัดเยียดให้เขาปฏิบัติตามความต้องการของเรา ส่งเสริมให้เขาทำ
ในสิ่งที่เขาชอบ ในสิ่งที่ใช่ตัวตนของเขา แล้วเขาจะมีความสุขมีความเพลิดเพลิน
ที่ได้กระทำในสิ่งนั้นและผลงานนั้นมันก็จะออกมาดี เพราะว่ามีใจให้แก่สิ่งที่ได้ทำ
เวลาแห่งการกระทำผิด เวลาแห่งจิตที่จะคิดอกุศล มันก็จะน้อยลงสั้นลงไปทุกขณะ
เพราะว่าจิตมีความเพลิดเพลินอยู่กับสิ่งที่ทำ จนลืมคิดถึงสิ่งอื่น ความเป็นสมาธิโดย
ธรรมชาติก็จะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นั้น เพราะว่าสมาธินั้นคือจิตที่จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เป็นเวลานาน เป็นพื้นฐานที่จะยกจิตเข้าสู่การเจริญภาวนานั้นได้ง่าย หากรู้จักจะปรับใช้
โดยการเพิ่มกำลังของสติและองค์แห่งคุณธรรมเข้าไป ให้มีสติระลึกรู้ ละอายและเกรงกลัว
ต่อบาปกรรมอันเป็นอกุศลทั้งหลาย....
            เป็นการปฏิบัติธรรมที่ได้กระทำไปโดยไม่รู้ตัวว่าได้ปฏิบัติอยู่ ในวิถีชีวิตประจำวัน
เพราะว่าการปฏิบัติธรรมคือการเจริญสติ เจริญสัมปชัญญะ ในสภาวะแห่งปัจจุบันธรรม
คนส่วนใหญ่มักจะถุกปลูกฝังให้ติดยึดในรูปแบบ ว่าการปฏิบัตินั้นมันเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
ต้องมีเวลาว่าง ต้องไปวัดรับศีล ถือศีล นุ่งขาวห่มขาว ต้องไหว้พระสวดมนต์ ต้องนั่งสมาธิ
ต้องเดินจงกรม ต้องฟังธรรม จึงจะเป็นการปฏิบัติธรรม ทำให้เกิดข้อจำกัดในการปฏิบัติ
เพราะว่าไปติดยึดในรูปแบบ ในพยัญชนะในตัวอักษร ไม่ได้สนใจในเนื้อหาอรรถธรรม
ว่ามันเป็นมาอย่างไร มันจึงเป็นการสอนอย่าง “ เถรส่องบาตร “ คือทำตามๆกันมาโดย
ไม่รู้เนื้อหาและเจตนาที่เขาทำ ว่ามันมีที่มาอย่างไร ทำไมเขาจึงทำแบบนั้น ซึ่งเป็นการ
กระทำโดยขาดปัญญา ขาดการพิจารณา วิเคราะห์ ใคร่ครวญและตริตรอง ไม่ได้มอง
ให้เห็นซึ่งที่มาและที่ไป เหตุและปัจจัยของสิ่งเหล่านั้น มันจึงเป็นการกระทำที่งมงาย
เพราะไร้ซึ่งการคิดพิจารณา ขาดปัญญาในการกระทำ.....
              เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
                  รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๒๐ น. ณ ตถตาอาศรม บ้านบึง ชลบุรี
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๒๓ กค. ๕๔...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 24 ก.ค. 2554, 02:53:39 »
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:
อ้างถึง
ความเป็นสมาธิโดย
ธรรมชาติก็จะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นั้น เพราะว่าสมาธินั้นคือจิตที่จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เป็นเวลานาน เป็นพื้นฐานที่จะยกจิตเข้าสู่การเจริญภาวนานั้นได้ง่าย หากรู้จักจะปรับใช้
โดยการเพิ่มกำลังของสติและองค์แห่งคุณธรรมเข้าไป ให้มีสติระลึกรู้ ละอายและเกรงกลัว
ต่อบาปกรรมอันเป็นอกุศลทั้งหลาย....

เหมือนดั่งนักกีฬาที่ฝึกฝนมาดีและเคารพกฏกติกา :015:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ก.ค. 2554, 02:53:58 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ