ผู้เขียน หัวข้อ: เย ธมฺมา  (อ่าน 1946 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Gearmour

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1204
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • ลานพิศวง
เย ธมฺมา
« เมื่อ: 24 ต.ค. 2551, 12:25:49 »
ด้วยความเคารพครับ
ที่นครปฐม มักจะพบคาถา เย ธมฺมา อยู่ตามจารึกของวัดเก่าๆ เสมอ
ผมได้อ่านบทความ ชิ้นหนึ่งรู้สึกว่ามีคุณค่าจะขอ
นำมาลงไว้ ณ ที่นี้ครับ

คาถา เย ธมฺมา

โดย เกษม ศิริสัมพันธ์
ผู้จัดการออนไลน์ ๖ กันยายน ๒๕๔๗

มักมีข้อโต้แย้งกันอยู่เสมอว่า พระพุทธศาสนา เป็น ศาสนา หรือ religion หรือ เป็นปรัชญา หรือ philosophy หรือเป็นวิถีการครองชีวิตแบบหนึ่ง a way of life

นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาในปัจจุบันของเรา อย่างท่านพุทธทาส และท่านเจ้าคุณพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) จึงเลี่ยงมานิยมใช้คำว่า พุทธธรรม เพื่ออธิบายถึงประมวลคำสอนของพระพุทธองค์

พุทธธรรมนอกจากเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังรวมถึงความเป็นไปในพระชนม์ชีพและพระปฏิปทาของพระพุทธองค์ ซึ่งสะท้อนออกมาให้ปรากฏในพุทธธรรมอีกด้วย

พระพุทธศาสนาเป็นธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ในความงมงาย เพราะศรัทธาในพระพุทธศาสนา ต้องเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล

ในกาลามสูตร พระพุทธองค์ทรงเทศนาสั่งสอนชาวกาลามะ แห่งเกศปุตตนิคม ในแคว้นโกศลว่า อย่าให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ด้วยเหตุต่างๆ ถึง ๑๐ ประการ รวมทั้งอย่าเชื่อเพราะนับถือว่าผู้นั้นเป็นสมณะหรือครูของตน แต่ให้เชื่อต่อเมื่อได้พิจารณาด้วยปัญญาของตนเองแล้วสิ่งใดกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล

หลักธรรมที่สอนให้เชื่อด้วยปัญญาของตนเองนั้น ตรงกับหลักโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักวิธีคิด เป็นการพิจารณาเพื่อเข้าถึงความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย เป็นการตริตรองด้วยตนเอง ให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว แยกแยะได้เองว่าอะไรเป็นกุศลกรรม อะไรเป็นอกุศลกรรม

เหนือสิ่งอื่นใด จะเห็นได้ว่า พระธรรม ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น แต่ละเรื่องแต่ละราว ล้วนประกอบด้วยเหตุและผลสัมพันธ์กันทั้งนั้น

มีคาถาสำคัญบทหนึ่ง ซึ่งบรรยายถึงลักษณะสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลในหลักพุทธธรรมเรียกว่า คาถา "เย ธมฺมา"

ก่อนที่จะได้กล่าวถึงตัวคาถาดังกล่าวพร้อมทั้งความหมายที่สำคัญ ต้องขอเล่าเรื่องประกอบคาถาบทนี้ เป็นเรื่องนำเสียก่อน

มีเรื่องเล่ามาว่า ที่ใกล้กรุงราชคฤห์ มีหมู่บ้านพราหมณ์อยู่ ๒ หมู่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้านทั้งสองได้เป็นมิตรสหายสนิทสนมกันมาช้านาน และต่างก็มีบุตรชาย หัวหน้าพราหมณ์ หมู่บ้านหนึ่ง มีบุตรชายชื่อ อุปติสสะ อีกหมู่บ้านหนึ่งหัวหน้าพราหมณ์ก็มีบุตรชายเหมือนกัน ชื่อ โกลิตะ

อุปติสสะ และ โกลิตะ ได้คบหากันเป็นเพื่อนสนิท เล่าเรียนวิชาทางลัทธิพราหมณ์มาด้วยกัน แต่ก็มีความรู้สึกว่าแนวทางสั่งสอนของสำนักพราหมณ์ต่างๆ นั้น หาใช่ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างแท้จริงไม่

ทั้งสองคนจึงต่างออกแสวงหาศาสดา ที่สอนอมตธรรมคือธรรมที่ไม่ตาย โดยให้คำมั่นสัญญากันว่า เมื่อฝ่ายใดสามารถได้พบศาสดาที่สอนธรรมเช่นนั้นได้ก่อน ก็ต้องกลับมาบอกอีกฝ่ายหนึ่งให้ทราบด้วย จะได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์พร้อมกัน

วันหนึ่ง อุปติสสะมาณพ ได้ไปพบ พระอัสสชิ ซึ่งเป็นภิกษุองค์หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นปฐมสาวกของพระพุทธองค์

ขณะนั้นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์ อุปติสสะเห็นกิริยาสำรวมและสงบของพระอัสสชิ ก็เกิดความสนใจและเลื่อมใส

อุปติสสะจึงเดินตาม พระอัสสชิ จนท่านบิณฑบาตเสร็จ กลับไปฉันเรียบร้อยแล้ว จึงได้ช่อง เข้าไปถามว่า ท่านบวชกับใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน

พระอัสสชิตอบว่า พระศาสดาของท่านคือพระสมณโคดม ซึ่งอยู่ในวงศ์ศากยะ ได้เสด็จทรงผนวชจนตรัสรู้โดยพระองค์เอง

อุปติสสะ จึงถามต่อไปว่า พระสมณโคดม ศาสดาของท่าน สอนธรรมอะไรเป็นสำคัญ ขอให้แสดงธรรมะนั้นให้ฟัง

พระอัสสชิก็กล่าวถ่อมตนว่า ท่านเพิ่งเข้ามาบวช ยังไม่อาจแสดงหลักธรรมได้กว้างขวางมากนัก ได้แต่กล่าวอย่างย่อๆ อุปติสสะ ก็บอกว่าไม่ต้องแสดงหลักธรรมให้ยืดยาวเยิ่นเย้อหรอก เอาแต่แค่ใจความก็พอแล้ว!

พระอัสสชิ จึงกล่าวเป็นคาถาสั้นๆ รวมสี่บาท ความว่า :

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ
เตสํ เหตุํ ตถาคโต พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ และความดับของธรรมเหล่านั้น
เอวํ วาที มหาสมโณ พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้

พระอัสสชิถ่อมตนว่าบวชใหม่ รู้น้อย แต่สามารถสรุปหัวใจของอริยสัจได้ในคาถาเพียงสี่บาทเท่านั้น แสดงว่าพระปัญจวัคคีย์รูปนี้เป็นผู้รู้จริง รู้ลึกถึงแก่นของหลักอริยสัจทีเดียว

ฝ่ายอุปติสสะ ได้ฟังคาถาที่พระอัสสชิกล่าวแล้ว ก็เกิดดวงตาเห็นธรรม มองเห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดา แต่สรรพสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความดับสูญเป็นธรรมดาเช่นกัน

อุปติสสะจึงกลับไปหาเพื่อนที่ชื่อ โกลิตะ ตามที่สัญญากันไว้ บอกเพื่อนว่าได้พบศาสดาผู้ล่วงรู้อมตธรรมแล้ว

มาณพทั้งสองจึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แถมยังพาบริวารของตนมีจำนวน ๒๕๐ คนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วย ทั้งหมดได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าก็ประทานให้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา คืออุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธองค์

มาณพทั้งสอง รวมทั้งบริวาร เมื่อได้อุปสมบทแล้ว และได้บำเพ็ญเพียร ไม่ช้านักก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

พระอุปติสสะ รู้จักในวงการพระพุทธศาสนาว่า พระสารีบุตร คือเรียกขานท่านตามชื่อของมารดา คือเป็นบุตรของนางสารีพราหมณี จึงชื่อว่าสารีบุตร หรือผู้เป็นบุตรของนางสารีนั่นเอง

ส่วนพระโกลิตะ ก็เช่นเดียวกันในทางพระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า พระโมคคัลลานะ ตามชื่อของมารดาท่านเช่นกัน แปลว่าบุตรของนางโมคคัลลีพราหมณี

พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ว่า เป็นอัครสาวก พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางมีปัญญามาก ส่วนพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางมีฤทธิ์มาก

ในสมัยต่อมาเมื่อสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อย่างเช่นพระประธานในพระอุโบสถ หรือในพระวิหาร จึงนิยมสร้างรูปพระอัครสาวกทั้งคู่ ให้ยืนหรือให้นั่งอยู่สองข้างพระประธานด้วยกัน พระอัครสาวกที่สร้างขึ้นนั้นมีสองรูป คือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ แต่ทั้งสองรูปมีร่างเหมือนกัน

การสังเกตว่าพระอัครสาวกเป็นรูปใด ก็ให้สังเกตว่าเบื้องขวาของพระประธาน คือพระสารีบุตรเถระ ส่วนด้านซ้ายของพระประธานคือพระโมคคัลลานะเถระ ต้องสังเกตด้วยว่าเมื่อเราหันหน้ากราบพระประธานนั้น ก็ต้องกลับกัน ด้านซ้ายของตัวเราคือพระสารีบุตร ส่วนด้านขวาของเราคือพระโมคคัลลานะ

ส่วนคาถา เย ธมฺมา ซึ่งพระอัสสชิ กล่าวแก่ อุปติสสะมาณพนั้น เป็นการกล่าวสรุปในหลักธรรมสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา คือ อริยสัจ

อริยสัจมีสี่ประการ ประการแรก ได้แก่ ทุกข์ ซึ่งเป็น ผล ประการที่สอง ได้แก่ สมุทัย ได้แก่ เหตุให้เกิดทุกข์ จึงเป็น เหตุ ที่ทำให้เกิด ผล คือ ทุกข์ ในประการแรก ประการที่สาม คือ นิโรธ คือความดับทุกข์ ซึ่งเป็น ผล ทำให้ทุกข์นั้นดับสิ้นไป และประการที่สี่ซึ่งเป็นประการสุดท้าย คือ มรรค เป็นข้อปฏิบัติให้เกิดความดับทุกข์ นับว่าเป็น เหตุ อีกเหมือนกัน

เมื่อนำหลักอริยสัจสี่ประการนี้ เข้ามาพิจารณาตัวคาถา เย ธมฺมา จะเป็นดังนี้

คาถาบาทที่หนึ่ง มีความว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ก็หมายถึง ทุกข์ ซึ่งป็น ผล อันเกิดจาก เหตุ ดังกล่าว

คาถาบาทที่สอง มีความว่า พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น นี่ก็คือเรื่อง สมุทัย ซึ่ง เหตุ เป็นอริยสัจข้อที่สอง

คาถาบาทสาม มีความว่า และความดับของธรรมเหล่านั้น ก็คือพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่อง นิโรธ และ มรรค ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติอันเป็น ผล นำไปสู่ให้ถึงความดับทุกข์ในที่สุด

ส่วนคาถาบาทสุดท้าย ความว่า พระมหาสมณะมีวาทะไว้อย่างนี้ ก็คือ พระพุทธองค์ได้ ตรัสสั่งสอนไว้เช่นนี้

อันที่จริง คาถา เย ธมฺมา ซึ่งพระอัสสชิกล่าวนี้ มิได้หมายเฉพาะแต่เรื่องอริยสัจสี่เท่านั้น แต่ยังหมายถึงหลักธรรมทั่วไปของพระพุทธศาสนาอีกด้วย

หลักธรรมของพระพุทธศาสนาโดยทั่วไป ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุ กับ ผล ผล ที่ดีต่างๆ ล้วนเกิดจาก เหตุ ที่ดีทั้งนั้น ซึ่งจะเรียกว่า บุญ หรือกุศลกรรมก็ได้ ส่วน ผล ที่ไม่ดีต่างๆ ก็ล้วนเกิดจาก เหตุ ที่ไม่ดี คือบาป หรืออกุศลกรรมนั่นเอง

พระพุทธองค์จึงได้ทรงชี้ให้เห็นว่า เหตุ ที่ดี คือ บุญหรือกุศลกรรมย่อมมี ผล ในทางที่ดี ส่วน เหตุ ที่ไม่ดี คือ บาปหรืออกุศลกรรม ก็ย่อมมี ผล ในทางตรงข้าม

นอกจากนั้นยังตรัสชี้ เหตุคือทำความดี คือทำบุญหรือกุศลกรรม เพื่อให้เกิดผลที่ดีแก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง ในทำนองเดียวกัน เหตุคือทำความไม่ดี คือทำบาปหรืออกุศลกรรม ก็ย่อมนำผล ร้ายมาสู่ชีวิตของผู้ปฏิบัติเองเช่นกัน

พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่ไม่ได้สอน ให้คนหวังความช่วยเหลือเอื้ออำนวยจากพลังภายนอก หรือพลังเหนือธรรมชาติ ในรูปใดๆ ก็ตาม

แต่สอนให้เชื่อมั่นในหลัก "กรรม" คือการกระทำของตนเอง ถ้าทำดี ก็ย่อมได้ผลที่ดี ตรงกันข้าม ถ้าทำชั่วทำเลว ก็ย่อมได้รับผลร้ายหรือผลไม่ดีเอง!

คาถา เย ธมฺมา ซึ่ง พระอัสสชิ กล่าวนั้น จึงเป็นการกล่าวคาถาสรุป รวมยอดของพุทธธรรมเดียว

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงโปรดให้สลักแท่งศิลาจารึกคาถาบทนี้ไว้มากมาย ต่อมามีผู้ขุดค้นพบหลักศิลาจารึกดังกล่าวนี้อยู่ทั่วไปในชมพูทวีป แสดงว่าพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเลื่อมใสในคาถา เย ธมฺมา บทนี้ ว่าเป็นคาถาซึ่งสรุปหัวใจพระพุทธศาสนาไว้อย่างรัดกุมทีเดียว

มีเกร็ดเล่า เมื่อก่อสร้างโรงแรมอินทรา ที่บริเวณประตูน้ำ ผู้ลงทุนได้มาปรึกษาท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ว่าจะสร้างศาลพระพรหมอย่างโรงแรมอื่นเขาบ้างจะดีไหม?

ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้แนะนำว่า ไม่ควรสร้างเทวรูปตามลัทธิพราหมณ์ แต่ควรสร้างเป็นศาลประดิษฐานรูปธรรมจักร ที่ฐานสลัก คาถา เย ธมฺมา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางพุทธศาสนาจะเหมาะสมกว่า! เชื่อว่าศาลที่มีรูปธรรมจักร และจารึกคาถาบทนี้ ก็คงยังตั้งอยู่ที่โรงแรมแห่งนั้น..


คงมีประโยชน์บ้างนะครับ
ขอแสดงความนับถือ
Gearmour



ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เย ธมฺมา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 24 ต.ค. 2551, 09:58:09 »
ขอบคุณมากครับ  ได้ข้อคิดดีทีเดียว พระคาถานี้น่าสนใจอย่างยิ่ง ครับ

ออฟไลน์ MR.saddd

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 89
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เย ธมฺมา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 24 ต.ค. 2551, 06:43:59 »
ขอบคุณครับ

 :054: :054: :054:

ออฟไลน์ Kanya

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 99
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เย ธมฺมา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 27 ธ.ค. 2551, 06:51:30 »
"เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโต เตสัญจะ โย นิโรโธจะ เอวัง วาที มะหาสะมะโณ"

เย ธัมมา เหตุปปะภะวา คาถาบาทที่หนึ่ง มีความว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ก็หมายถึง ทุกข์ ซึ่งป็น ผล อันเกิดจาก เหตุ ดังกล่าว

เตสัง เหตุง ตะถาคะโต คาถาบาทที่สอง มีความว่า พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น นี่ก็คือเรื่อง สมุทัย ซึ่ง เหตุ เป็นอริยสัจข้อที่สอง

เตสัญจะ โย นิโรโธจะ คาถาบาทสาม มีความว่า และความดับของธรรมเหล่านั้น ก็คือพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่อง นิโรธ และ มรรค ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติอันเป็น ผล นำไปสู่ให้ถึงความดับทุกข์ในที่สุด

เอวัง วาที มะหาสะมะโณ  ส่วนคาถาบาทสุดท้าย ความว่า พระมหาสมณะมีวาทะไว้อย่างนี้ ก็คือ พระพุทธองค์ได้ ตรัสสั่งสอนไว้เช่นนี้

ส่วนนี้ช่วยเพิ่มเติมขอรับ กล่าวคือ ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ(คือมีเหตุให้เกิด) พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุเกิดและความดับของธรรมนั้น นี้แหละ

เป็นพระดำรัสโดยปกติของมหาสมณะเจ้า

ออฟไลน์ prathomsak

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 631
  • เพศ: ชาย
  • โอม หนุมานะ
    • MSN Messenger - prathomsak-pong@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • www.hi5.com
    • อีเมล
ตอบ: เย ธมฺมา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 27 ธ.ค. 2551, 05:42:04 »
ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
เวลาของเรามีน้อยนัก หมั่นทำบุญทำกุศลกันเถิด จักเกิดผล

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เย ธมฺมา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 28 ธ.ค. 2551, 11:07:37 »
ขอบคุณครับ