ผู้เขียน หัวข้อ: พระอนุชาของพระสุพรรณกัลยาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  (อ่าน 5786 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ชนชาวไทย น้อยคนนักที่ไม่รู้จักพระสุพรรณกัลยาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่มี อีกพระองค์ ซึ่งกระผมอยากให้สมาชิกได้ข้อมูล นี้ไปอ่านบ้าง
สมเด็จพระเอกาทศรถ                                                      
          พระบาทสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๓ (สมเด็จพระเอกาทศรถ) หรือ พระนามเดิมว่า พระองค์ขาว เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังจันทน์เมืองพิษณุโลก เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายในสมเด็จพระมหาธรรมราชา กับพระวิสุทธิกษัตรีย์ ทรงเป็นพระอนุชาของพระสุพรรณกัลยาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


  พระนามเต็ม"พระศรีสรรเพชญ์ สมเด็จบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิ สวรรยาราชาธิบดินทร์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตร นาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวสัย สมุทัย ตโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทรา ธาดาธิบดีศรีวิบุลย คุณรุจิตรฤทธิราเมศวรธรรมิกราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิคตา มกุฎเทศมหาพุทธางกูร บรมบพิตร"


ก่อนขึ้นครองราชสมบัติ
หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปีพ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้เสด็จออกร่วมทำการรบคู่กับสมเด็จพระนเรศวร ได้โดยเสด็จในการทำศึกสงครามด้วยทุกครั้งนับแต่นั้นมาจนสิ้นรัชสมัยเสมอเหมือนพระเจ้าแผ่นดินและให้ประทับอยู่ที่พระราชวังจันทร์เกษมในกรุงศรีอยุธยา
หลังขึ้นครองราชสมบัติ
 พระเอกาทศรถ จากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550) รับบทโดย พ.ต.วินธัย สุวารีเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๔๘ พระองค์ก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวร ในปีเดียวกันในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองเป็นปกติสุข เป็นที่เคารพยำเกรงแก่ประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นผลจากการที่สมเด็จพระนเรศวร และพระองค์เองได้ทรงสร้างอานุภาพ ของราชอาณาจักรอยุธยาไว้อย่างยิ่งใหญ่ มีพระราชอาณาเขตแผ่ออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลเกินกว่ายุคใดๆของไทย พระองค์ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาทำศึกมาตลอดการครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวร จึงไม่มีพระราชประสงค์จะแผ่พระราชอาณาเขตออกไปอีก และหันมาเน้นทางการปกครองบ้านเมืองแทน

ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีชาวต่างประเทศอาศัยในกรุงศรีอยุธยาอยู่มากจึงมีการยอมรับชาวต่างชาติเข้ามาเป็นทหาร เรียกว่า ทหารอาสา โดยได้จัดแบ่งออกเป็นพวก ๆ ตามเชื้อชาติ และตามความชำนาญในการรบ เกิดหน่วยทหารอาสาขึ้นหลายหน่วย เช่น กรมอาสาญี่ปุ่น กรมอาสาจาม กรมทหารแม่นปืน (โปรตุเกส) นอกจากนั้นในรัชสมัยของพระองค์ ยังมีชื่อเสียงในด้านความสามารถหล่อปืนใหญ่สำริดที่มีคุณภาพสูง ซึ่งน่าจะได้เรียนรู้มาจากโปรตุเกสและฮอลันดา เมื่อมาผสมผสานกับขีดความสามารถ ในด้านการหล่อโลหะของไทยที่มีการหล่อ ระฆังและพระพุทธรูป ที่มีมาแต่เดิม จึงทำให้การหล่อปืนใหญ่ของไทยในครั้งนั้นเป็นที่ยกย่องชมเชยไปถึงต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากการที่โชกุนของญี่ปุ่น ได้มีหนังสือชมเชยคุณสมบัติของปืนใหญ่ไทยเป็นอันมาก พร้อมกับขอให้ไทยช่วยหล่อปืนใหญ่ให้อีกด้วย (โชกุนของญี่ปุ่นในรัชสมัยของพระองค์คือโชกุนโตกุงาวะ อิเอยาสุ)
การสงคราม
ในสมัยของพระองค์ยังมีการไปตีทัพเมืองอังวะของสมเด็จพระสีหสุธรรมราชา (พระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง) ที่มายึดไทยใหญ่ และทวายมาเป็นของอังวะ
 พระราชโอรสและพระราชธิดา
สมเด็จพระเอกาทศรถมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสี สององค์คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ และมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระสนม อีกสามองค์คือ พระอินทรราชา พระศรีศิลป์ และพระองค์ทอง ไม่ปรากฏว่าทรงมีพระราชธิดา
เสด็จสวรรคต
สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๕๓ ขณะมีพระชนม์พรรษาได้ ๕๓ พรรษา และทรงอยู่ในราชสมบัติได้ห้าปี เนื่องจากตรอมพระทัยที่พระโอรสคือเจ้าฟ้าสุทัศน์เสวยยาพิษปลงพระชนม์ พระราชโอรสองค์รอง คือ สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ จึงได้เสวยราชสมบัติสืบต่อมา
คัดลอกข้อความมาจาก : th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเอกาทศรถ - 306k -
รูปพระเอกาทศรถ จากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550) รับบทโดย พ.ต.วินธัย สุวารี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 เม.ย. 2552, 07:11:55 โดย ชลาพุชะ »

ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
จากอีกเว็บ มีข้อมูลน่าสนใจ แต่ไม่รู้จะแซกยัง จึงขอแยกข้อความเพื่อจะได้ อ่านได้เข้าใจง่ายๆครับ
    ๔๐๐ ปี การสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.๒๑๔๘ - ๒๕๔๘)

สมเด็จพระเอกาทศรถ

         ทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่ชาวพิษณุโลกรู้จัก และกล่าวถึงด้วยความจงรักภักดียิ่ง พระองค์ทรงเคียงคู่กับพระนเรศวรมหาราช ในพระราชพงศาวดาร มักจะกล่าวถึงสองพระองค์ว่า ?พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวสองพระองค์?อยู่เสมอ เมื่อมีการตั้งค่ายทหารทางฝั่งตะวันตกเป็นค่ายใหญ่ ที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๓ เรียกค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการช่วยรบที่ ๓ เรียกค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อันแสดงถึงความมีใจผูกพันจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เป็นอย่างยิ่ง


                  สมเด็จพระเอกาทศรถทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระโอรสองค์น้อยของสมเด็จพระมหาธรรมธิราช และพระวิสุทธิกษัตรี ประสูตรเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๔ ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก ทรงมีพระชันษาอ่อนกว่าสมเด็จพระนเรศวร ๖ ปี ในปี พ.ศ. ๒๑๐๖ พระเจ้าบุเรงนองยกกองทัพมาตีอยุธยาโดยยกมาทางสุโขทัยและเข้าตีเมืองพิษณุโลกได้นั้น ได้นำเอาพระมหาธรรมราชาธิราช พระยาสวรรคโลก พระยาพิชัยเข้าร่วมกองทัพพม่ายกไปตีกรุงศรีอยุธยา และในที่สุดทาง       กรุงศรีอยุธยาต้องยอมแพ้ในสงครามช้างเผือก แต่ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าเล่าว่าเมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชายอมแพ้พระเจ้าบุเรงนองนั้น ได้นำเอาสมเด็จพระนเรศวร และพระสุพรรณกัลยาลงไปกรุงศีอยุธยาพร้อมกับสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชด้วยแล้วจึงให้พระเอกาทศรถพระโอรสองค์น้อยอยู่รักษาเมืองพิษณุโลกและต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ เมื่อพระเจ้าบุเรงนองได้กรุงศรีอยุธยาแล้ว ได้ตั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเป็นผู้ครองกรุงศรีอยุธยา ในครั้งนั้นสมเด็จพระเอกาทศรถได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๑๓๔ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสวรรคต บรรดาข้าราชการทั้งปวง จะยกสมเด็จพระเอกาทศรถขึ้นครองราชสมบัติ แต่พระองค์ไม่ทรงยินยอม อ้างว่าพระเชษฐายังมีชีวิตอยู่ที่เมืองหงสาวดี      พระเอกาทศรถยังคงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชอยู่อย่างเดิม แต่บังคับบัญชาสิทธิขาดราชการแผ่นดินทั่วไป ส่วนในหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดไม่ได้กล่าวถึงตอนพระองค์รักษาเมืองพิษณุโลก กล่าวถึงเฉพาะการขึ้นรักษาการพระนคร                 หลังพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในตำแหน่งพระมหาอุปราช ด้วยเหตุผลเดียวกันว่าที่ไม่กระทำพิธีราชาภิเศกนั้นด้วยพระองค์รักใคร่พระเชษฐายิ่งนักจึงว่าราชการงานกลุ่มทั้งปวงแทนและรักษาราชธานีเขตขัณฑ์ไว้ท่าพระเชษฐาธิราช ซึ่งหนังสือทั้งสองเล่มมีข้อความต่างจากพงศาวดารไทยทั้งปวง และยังเล่าความที่พิศดารต่างไปจากพงศาวดารไทยอีกคือ เรื่องสมเด็จพระนเรศวรหนีจากกรุงหงสาวดีแล้วถูกพม่าตามตีต้องถอยลงมาตั้งมั่นอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี ความรู้ถึงกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระเอกาทศรถจึงยกกองทัพมาช่วยพระเชษฐาถึงสุพรรณบุรี ? ทั้งสองพระองค์ได้โสมนัส ทรงพระยินดียิ่งนักพระเอกาทศรถจึงกราบลงกับพระบาทพระยา พระเชษฐานั้นก็สวมกอดเอาทันใจ ทั้งสององค์ปรีเปรมเกษมศรี ? สมเด็จพระเอกาทศรถทรงอาสาเข้าทำการรบกับพม่า แต่สมเด็จพระเชษฐาทรงตรัสบอกว่าแม่ทัพฝ่ายพม่านั้นมีความสามารถสูงพระองค์จะเข้าต่อกรกับพม่าเอง แล้วให้สมเด็จพระเอกาทศรถนั้นเป็นกองหนุน ครั้งนั้นนับเป็นศึกครั้งแรกที่สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทำการสู้รบและทรงมีชัยไล่ทัพพม่ากลับไปได้


                จากสงครามครั้งนั้นสมเด็จพระเอกาทศรถก็เสด็จเข้าร่วมทำสงครามเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระเชษฐาตลอด ในปี ๒๑๑๔ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก และเสด็จลงมาเยี่ยมพระราชบิดาที่กรุงศรีอยุธยา คราวนั้นพระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมรที่เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อไทย แล้วต่อมาเอาใจออกห่าง ลอบลงเรือสำเภาจะหนีออกทะเลกลับไปยังกัมพูชา สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถจึงทรงเร่งลงเรือเร็วไปตามทันพระยาจีนจันตุที่ปากน้ำเจ้าพระยา พระยาจีนจันตุหันหัวเรือเข้ามาสู้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จออกไปยืนที่หัวเรือทรงพระแสงปืนต่อสู้กับข้าศึกโดยมิยอมหลบ จึงถูกพระยาจีนจันตุ ยิงปืนมาถูกรางพระแสงปืนที่ทรงอยู่แตกกระจายไป สมเด็จพระเอกาทศรถทรงห่วงใยในพระเชษฐายิ่งนัก และด้วยความกล้าหาญได้เร่งเรือทรงของพระองค์ เข้าบังคับเรือของสมเด็จพระนเรศวรไว้ เป็นการเอาพระชนม์ชีพเข้าปกป้องพระเชษฐาครั้งสำคัญ


                 หลังจากการสู้รบกับพระยาจีนจันตุแล้ว สงครามใหญ่ๆ ที่พม่ายกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๑๓๓ ทั้งสองพระองค์เข้าร่วมทำสงครามคู่กันมา และในคราวสงครามยุทธหัตถี ในปี พ.ศ. ๒๑๓๕ สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับมังจาปะโร เจ้าเมืองแปร และทรงสามารถฟันแม่ทัพพม่าสิ้นชีวิตบนคอช้างได้ เช่นเดียวกับพระเชษฐา


                 สมเด็จพระเอกาทศรถ นอกจากจะมีความสามารถความกล้าหาญแล้ว ทรงมีน้ำพระทัยเยือกเย็นสุขุมคัมภีรภาพ จะเห็นได้จากเมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรแต่งตั้งพระรามเดโชชาวเชียงใหม่ ที่รับราชการมีความดีความชอบขึ้นไปครองเมืองเชียงแสน ต่อมาเจ้าเมืองพะเยา เมืองแพร่ เมืองลอ เมืองน่าน เมืองฝาง ซึ่งเคยขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่ ได้หันมาเข้ากับพระรามเดโชไม่ยอมขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่ซ้ำจะรวมกันโจมตีเมืองเงชียงใหม่ จนทำให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ไม่กล้ายกกองทัพไปสมทบกองทัพกรุงศรีอยุธยาไปตีเมืองตองอู เมือยกทัพกลับจากตีเมืองตองอูสมเด็จพระนเรศวรยกทัพลงไปที่เมืองสุพรรณบุรี แล้วตรัสให้สมเด็จพระเอกาทศรถยกกองทัพขึ้นไปว่าเจ้าเมืองทั้งหลายให้ยินยอมอยู่ใต้อำนาจของเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่เมื่อเสด็จขึ้นไปถึงเมืองเถินก็ได้มีพระราชโองการก็ได้มีเจ้าเมืองเหนือมาเฝ้า แต่เจ้าเมืองเชียงใหม่ยงไม่เชื่อมั่นในพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระเอกาทศรถจึงมิได้ลงมาเฝ้าซ้ำยังให้กองทัพซุ่มโจมตีกองทัพพระรามเดโชที่จะยกมาเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถความทราบถึงพระองค์ก็มิได้ทรงพิโรธ เหล่าแม่ทัพนายกองกราบบังคมทูลให้เสด็จกลับไม่ให้ช่วยเหลือเจ้าเมืองเชียงใหม่ต่อไป แต่พระองค์เกรงจะเสียพระเกียรติยศพระเชษฐา ทรงอดกลั้นดำเนินการให้เจ้าเมืองเหนือทั้งหลายยอมอ่อนน้อมต่อเมืองเชียงใหม่


                   เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตั้งทัพหลวงอยู่ที่เมืองราชบุรี สมเด็จพระเอกาทศรถได้แยกทางเสด็จประพาสทางชลมารคถึงเมืองพิษณุโลกในท้องที่ต่างหลายตำบล ในครั้งนั้นเสือตัวใหญ่เข้ามาทำร้ายคนพิษณุโลกพระองค์ได้เสด็จประทับช้างพระที่นั่งบัญชาการปราบเสือได้สำเร็จและได้ทรงโปรดเกล้าทองนพคุณเครื่องราชูปโภคของพระองค์ทำเป็นทองประทาศี จากนั้นได้เสด็จไปปิดทองทาศีพระพุทธชินราชจนเสร็จสมบูรณ์นับว่าพระองค์ทรงมีพระทัยผูกพันกับเมืองพิษณุโลกอันเป็นดินแดนมาตุภูมิของพระองค์เป็นอย่างมาก


                     ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๔๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จยกกองทัพไปตีตองอูของพม่าไปเสด็จรวมพลที่เชียงใหม่ก่อนจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรจึงยกทัพไปเมืองหาง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จไปทางเมืองฝาง แต่พอถึงเมืองหางสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประชวรหนักและเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อทรงทราบข่างก็ทรงเสด็จไปเฝ้าที่เมืองหางทันทีทรงโศการ่ำรักพระบรมเชษฐาเป็นที่โศกสลดแก้แม่ทัพนายกองที่ได้เห็นยิ่งนัก


                     ครั้นเมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถขึ้นครองราชสมบัตินั้นทรงมีพระชนม์ได้ ๔๔ พรรษาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๕๖ ครองราชสมบัติอยู่ ๘ ปี พระราชโอรสของพระองค์คือเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา

คัดลอกข้อมูลจาก  : http://aco.psru.ac.th/400year/praaka.htm

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 เม.ย. 2552, 07:20:36 โดย ชลาพุชะ »

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ nutagul

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 573
    • ดูรายละเอียด
อ่านเพลินเลยครับ ผมชอบมากเรื่องราวประวัติศาสตร์ ขอบคุณเรืองดีๆครับ
อิติสุคโตอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ฐิตคุโณอาจาริโย จะมหาเถโร มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะณัง ภะวัณตุเม

ออฟไลน์ อาริงาโต

  • -
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 321
  • เพศ: หญิง
  • -
    • AOL Instant Messenger - -
    • Yahoo Instant Messenger - -
    • ดูรายละเอียด
    • -
ขอบคุณครับที่นำเสนอความรู้ดีดีให้ได้ชมได้อ่านครับ :054: :054: :054:
“ มา มะ  ปะริภุญชันตุ  จะมหาภูตา  อาคัจฉายะ  อาคัจฉามิ  เอหิมะมะ  มามา ”

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
พระองค์ดำพระองค์ขาว ขอบคุณข้อมูลครับผม  :001:

ออฟไลน์ tum72

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 2246
  • ณ ตลาดพลู
    • ดูรายละเอียด
เคยได้ยินแต่พระองค์คือสมเด็จพระนเรศวร แต่มีพระองค์ขาวด้วย คือพระเอกาทศรถ ขอบคุณพี่ๆ เพิ่งทราบประวัติ คนไทยแท้ๆยังไม่ทราบเลย น่าอายจริงๆเลยเรา
โอม ราศีกูเอ๋ย  จงมาเป็นอาสน์  สีธาวาส  มาเป็นเกียรติ  ศรีชายมาเป็นช่วง
หญิงชายทั้งปวง รักกูมิรู้วาย  ด้วยราศีกูงามคือฟ้า  หน้ากูงามคือพรหม
หญิงเห็นหญิงรัก  ชายเห็นชายทัก  กูอยู่ทุกเมื่อ  ไม่เบื่อแต่สักวัน
โอม หญิงชายทั้งหลายเอ๋ย  มา

ออฟไลน์ น้องลิงน้อย

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1127
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
ดูท่าทางพี่จะถนัดเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทยมากเลยนะค่ะ :015:

ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้ไปทำรายงานอีกแล้วนะเนี่ย :053:

น้องลิงน้อยสนใจประวัติของพระสุพรรณกัลยามากกว่า :017:

เพราะไม่ค่อยมีใครเอ่ยถึงท่านสักเท่าไหร่ :059:

ถ้าว่างก็จัดมาหน่อยนะพี่ศักดา :095: