แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - phisorn.b

หน้า: [1]
1
บทความ บทกวี / ธรรมะจากต้นไม้
« เมื่อ: 13 ส.ค. 2551, 12:45:11 »
สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำข้อธรรมะเล็กๆน้อยๆจากต้นไม้ในหลายวัดหลายสำนักปฏิบัติธรรมมาฝากครับ

***   เชิญศึกษาธรรมะจากต้นไม้   เพื่อนำไปสอนสั่งยังลูกหลาน
เป็นคติเตือนใจได้อีกนาน                ถ้าหากท่านสนใจเชิญเข้ามา
ทุกท่านที่เข้ามาในวัดนั้น                 จิตมุ่งมั่นค้นหาสุขอยู่ไหน
ปฏิบัติกรรมฐานนั้นอย่างไร             เป็นสุขใจที่แท้แน่จริงเอย


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ  พิศร ครับ     :090:

2
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

*** เพ่งดูขันธ์ห้าให้              ว่างสูญ
จริงทุกข์หมดต้นทุน               เสื่อมสิ้น
ทำลายเงื่อนเค้ามูล                แห่งกิ - เลสนา
จิตว่างวางเสร็จสิ้น                 ดังแล้วทุกข์เข็ญ


*** วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ      :090:

3
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 07 ส.ค. 2551, 04:13:57 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***   รูปกายได้สลายแล้ว ปัญญาดับแล้ว เวทนาทั้งปวงเย็นแล้ว สังขารทั้งหลายสงลแล้ว วิญญาณถึงความตั้งอยู่ไม่ได้

***  ที่มาจาก...( ขุ . อุทาน  ทัพพสูตรที่ ๑   ๒๕ / ๑๗๗ / ๑๙๑ )   


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

4
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

.
*********  ปฏิบัติธรรม - ปฏิบัติใจ  *********


***  บูชาด้วย   ดอกไม้          และธูปเทียน
กลับวนเวียน พาให้หลง           เข้าดงได้
บูชาด้วย ปฏิบัติธรรม              น่าสนใจ
ย่อมผ่องใส ถึงวิมุติ                 สูงสุดเอย



***  วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ      :090:

5
บทความ บทกวี / ตอบ: กลอนวันแม่
« เมื่อ: 07 ส.ค. 2551, 10:00:41 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


    *  คราลูกหิว แม่หิวกว่า น้ำตาร่วง        แม่เป็นห่วง ดิ้นรนหา เอามาให้
แม้แม่อด หมดข้าวปลา ไม่ว่าไร               แม่สละได้ ลูกอิ่มแปล้ แม่ทนเอา
 
    *ใครไหนเล่า เฝ้าอบรม บ่มนิสัย         แม้เติบใหญ่ ไม่ท้อถอย คอยนั่งเฝ้า
พระคุณเลิศ ลูกโศกศัลย์ ช่วยบรรเทา    ใครไหนเล่า รักมั่นแท้ แม่ฉันเอง...



***   วันนี้ขอหยุกไว้เท่านี้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ       :090:

6
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 05 ส.ค. 2551, 03:24:54 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***   สมัยใด พระอริยสาวกประกอบความเพียรในการเจริญ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ในสมัยนั้นเสียของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนั้นทำสงครามกับมาร   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นเสียงของเทวดาที่เปล่งออกไปในเหล่าเทวดา ฯ

***   ที่มาจาก...( ขุ . อิติ . สัททสูตร  ๒๕ / ๒๖๐ / ๒๖๗ )


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ       :090:

7
บทความ บทกวี / ตอบ: กลอนวันแม่
« เมื่อ: 05 ส.ค. 2551, 09:02:32 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

แม่ป้องริ้น ป้องไร มิให้ผ่าน              แม่สงสาร ห่วงลูกยา กว่าทรัพย์สิน
แม่เห่กล่อม ยามนิทรา เป็นอาจิณ        แม่ไม่ผิน แม่ไม่ผัน ทุกวันมา

* ยามลูกสุข แม่สุขสม อารมณ์ชื่น      ยามลูกขื่น แม่ขม ระทมกว่า
ยามลูกไข้ แม่อดนอน ร้อนอุรา            ยามลูกยา อับโชค แม่โศกใจ



***   วันนี้ขอหยุกไว้เท่านี้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

8
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***  รู้ความจริง สิ่งสมมุติ           ก็สิ้นสุด
อยู่บนดิน ใต้ฟ้า                           เพียงอาศัย
เป็นที่พัก สร้างกุศล                     หาปัจจัย
เพื่อจะได้ พ้นทุกข์                       สุขนิรันดร์



***  วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ      :090:

9
บทความ บทกวี / กลอนวันแม่
« เมื่อ: 04 ส.ค. 2551, 12:25:26 »
สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำคำกลอนพระคุณของแม่...มาลงให้อ่านกันครับ



                         *********   แม่สละเพื่อลูก   **********


 *   แม่สละสวย สละสาว คราอุ้มท้อง         แม่ไม่ร้อง แม่ไม่บ่น แม่ทนได้
แม่เฝ้าถนอม จนครรภ์แก่ แม่เต็มใจ           จะหาใคร เหมือนแม่ แพ้ทุกคน

  *  ครบสิบเดือน เคลื่อนคลอด รอดชีวิต   แม่ใกล้ชิด ลูกน้อย คอยฝึกฝน
แม่ลำบาก อย่างไร ใจแม่ทน                       สายเลือดข้น เต้าแม่กลั่น ปันลูกกิน



***   วันนี้ขอหยุกไว้เท่านี้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ     :090:

10
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 01 ส.ค. 2551, 12:39:30 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***  ? ทางอันนำออกจากกิเลสและพ้นทุกข์ ไม่มีทางอื่น   นอกจากสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕   พละ ๕  โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ( โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ) ?


***   ที่มาจาก...( ขุ . มหานิเทส สุทธัฏฐก .  ๒๙ /๑๑๗ / ๘๒ )



***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:


11
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***   จักจั่น และเรไร                   ในไพรนี้
ทุกสิ่งที่ มองเห็น                          ได้ยินเสียง
มันบอกธรรม แก่ท่าน                   มิลำเอียง
ส่งสำเนียง ไพเราะดัง                   ฟังเถิดฟัง



***  วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ      :090:

12
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 31 ก.ค. 2551, 12:34:44 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ



***   ดูกรอานนท์.....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ( สติปัฏฐาน ๔ )
    
***   ดูกรอานนท์   ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกราะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นที่เป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกราะ มีธรรมเป็นที่นั่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอย่างนี้แล
   
***   ดูกรอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดีในเวลาที่ตถาคตล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกราะ มีตนเป็นที่พึ่ง....ฯลฯ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ( เล่าเรียนเพื่อปฏิบัติ ) ภิกษุเหล่านั้นจะเป็นเลิศ



***    ที่มาจาก...( สัง . มหา . คิลานสูตร  ๑๙ / ๑๙๕ )




***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

13
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


*** ชีวิตนี้ เปรียบด้วย                  แสงเทียน
เกิดดับ กลับวนเวียน                     อย่างนี้
หมุนเวียน ดังล้อเกวียน                ไม่หยุด อยู่นา
ใครเล่า จักช่วยชี้                          หักล้อกงกำ   



***  วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ       :090:

14
สวัสดีครับ

วันนี้ขอเพิ่มให้นิหน่อยนะครับ

ที่ว่า...จิตอยู่กับปัจจุบันนั้นเป็นอย่างไร?

...ก่อนอื่นจิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์เป็นปกติอยู่แล้ว(วิชานนลักขณัง)
ส่วนตัวจิตเองนั้นเป็นปัจจุบันธรรมที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์   ซึ่งสภาวะของอามณ์ที่ถูกจิตรู้นั้นเป็นปัจจุบันอารมณ์ที่ถูกจิตที่เป็นปัจุบันนั่นเองรู้...ตัวจิตที่เรียกว่าตัวรู้ที่รู้อารมณ์  ส่วนตัวถูกรู้คืออารมณ์ที่เป็นบัญญัติอารมณ์ หรือปรมัตถอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันธรรมทั้งที่ไม่มีอยู่จริงหรือมีอยู่จริงก็ตามมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ของจิตในขณะนั้นนั่นเเอง  ดังนั้นผลที่ปรากฏจึงได้ต่างกัน...ตามสภาวะของตัวรู้ที่ได้ความสงบหรือมีปัญญาขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่ถูกจิตที่เป็นกุศลเข้าไปรู้และอารมณ์ในขณะนั้นเป็นปัจจุบันอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ด้วย...ความรู้สึกในที่นั้นของตัวรู้ย่อมเปลี่ยนไปตามสภาวะของอามณ์ดังกล่าว...ทั้งนี้ต้องมาจากอัฌชาสัยและการโยนิโสมนสิการครับ...

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร  ครับ    :090:

15
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ



*********   ปริศนาธรรม    *********

***  ยามสูง สูงกว่าฟ้า               เมฆินทร์
ยามต่ำ ต่ำกว่าดิน                        ต่ำใต้
ยามหนัก หนักกว่าหิน                ไสลเปรียบ ได้ฤา
ยามเบา นุ่นบ่อใกล้                      สิ่งนั้นคืออะไร



***  วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ     :090:

16
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 29 ก.ค. 2551, 12:46:07 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ และคฤหบดีทั้งหลาย เป็นผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานเภสัช บริกขาร แม้เธอทั้งหลายก็จงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พราหมณ์ และคฤหบดีทั้งหลาย จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ( ศีล ) งามในท่ามกลาง ( สมาธิ ) งามในที่สุด ( ปัญญา ) จงประกาศพรหมจรรย์ ( มรรคประกอบด้วยองค์ 8 ) พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นเถิด

***  ที่มาจาก...( ขุ . อิติพหการสูตร  ๒๕ / ๒๙๓ )


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ   :090:

17
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 25 ก.ค. 2551, 10:27:15 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***   ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหวฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตตผลโดยตรง   ( พุทธศาสนาไม่ใช่ลัทธิตรัสรู้ฉับพลัน )

***   ที่มาจาก...( อัง . อัฏฐก ปหาราทสูตร ๒๓  / ๑๗๗ )


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

18
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   อนิจจัง แปรเปลี่ยน                ไม่หยุดอยู่
ทุกขังสู้ ทนได้ยาก                          ขังไม่ไหว
อนัตตา แหลกสลาย                        ทำลายไป
สามอย่างให้ หมั่นพินิจ                    คิดทุกวัน


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ    :090:

19
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2551, 04:28:37 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***   ภิกษุ ย่อมไม่ศึกษาเพราะเหตุแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะปัจจัยแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะการชนะแห่งลาภ ไม่ได้ศึกษาเพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ ไม่หวังได้ลาภ ย่อมเล่าเรียนพระสูตร ย่อมเล่าเรียนพระวินัย ย่อมเล่าเรียนพระอภิธรรม เพื่อประโยชน์ฝึกตนเพื่อสงบตน เพื่อให้ตนปรินิพพานอย่างเดียวเท่านั้น

*** ที่มาจาก...( ขุ . มหา . ปุราเภทสุตตนิเทศ ๒๙ / ๒๔๙ )


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

20
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 21 ก.ค. 2551, 04:24:47 »

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***   ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของภิกษุ ซึ่งเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยที่น้อย ทั้งหาได้ง่ายและไม่มีโทษ ว่าเป็นองค์แห่งความเป็นสมณะ

***   ที่มาจาก...( ขุ . อิติ . จัตตราวิสูตร ๒๕ / ๒๘๙ )

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ     :090:

21

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***  เพียงแต่เรียน เพียงแต่สอน      เพียงแต่สวด
ทำเพื่อสวด ความรู้                            ดูไม่ได้
เรียนรู้แล้วควรที่จะ                            อบรมใจ
เลื่อนขั้นให้ จิตสูง                              มุ่งนิพพาน
 


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ     :090:

22
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***  ตนเตือนตนยังไม่ได้            ไม่รู้ผิด
เพราะเราคิดว่าทำถูก                   ทุกอย่างซ้ำ
ต้องอาศัยคนอื่นด้วย                   ช่วยแนะนำ
ผิดแล้วจำ ไปแก้ไข                      ทำใหม่เอย 
 



***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ      :090:

23
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 14 ก.ค. 2551, 04:29:14 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***   ภิกษุ ผู้มีการงานเป็นที่น่ายินดี ( ผู้อยู่ด้วยธุระกิจ ) ยินดีในการคุย ชอบหลับ และฟุ้งซ่าน ผู้เช่นนี้ไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด

***  ที่มาจาก...( ขุ . อิติ . ปริหานสูตร  ๒๕ / ๒๖๔ )


 
***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ    :090:

24

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

******   คำเตือน    ******


***   เมาตัวลืมตาย เมากาย        ลืมแก่
เมาคู่ครอง ลืมพ่อ                          ลืมแม่
เมาสมบัติ เมาอำนาจ                     ลืมศาสนา
เมาบุญเมาวาสนา                          พามีตน 



***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ    :090:

25
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 11 ก.ค. 2551, 04:21:52 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***   ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจของสมณะที่สมณะควรทำ 3 อย่างนี้ 3 อย่างเป็นไฉน คือการสมาทานอธิศีลสิกขา ๑   การสมาทานจิตตสิกขา ๑ การสมาทานอธิปัญญาสิกขา  ๑ ......เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิศีลสิกขา ในการสมาทานอธิจิตตสิกขา ในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา      
                  
***   ที่มาจาก...  ( อัง . ติก . สมณสูตร ๒๐ / ๑๕๙ )



***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร  ครับ     :090:


26
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***   ตายสิ้นดินกลบหน้า          ทุกราย
ยังอยู่รีบขวนขวาย                      ก่อสร้าง
กุศลมุ่งมั่นบุญหมาย                   เสริมส่ง สุขนา
หลีชั่วกลับบาปบ้าง                    หมั่นน้อมดูต้น



***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ     :090:

27

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***  คุณเอย คุณย่อมรู้                บ้างไหม
คุณเอย  มาจากไหน                     แต่ต้น
คุณเอย นี่จะไป                             สู่ถิ่นใดฤา
ใครเล่าติดตามกัน                         เมื่อม้วยชีวา


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ       :090:

28
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   วันคืนกลืน สัตว์สิ้น          ผ่านวัย
หนุ่มแก่เปลี่ยนแปรไป              รุดหน้า
เจ็บปวดเพราะโรคภัย               ห้ำหัน เสมอมา
ไม่ว่าเราเจ้าข้า                          มอดม้วยทุกร้าย



***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ    :090:

29
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 09 ก.ค. 2551, 04:19:01 »

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากขึ้น   ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว

***   ที่มาจาก...( สัง . มหา . วิราคสูตร  ๑๙ / ๒๒๕ )

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร  ครับ      :090:

30
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 07 ก.ค. 2551, 04:09:56 »

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***    นิพพาน  คือความดับทุกข์ ได้แก่ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปาธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหา ซึ่งเป็นเครื่องร้อยรัด เรียกว่าสัจจะอย่างเดียว

*** ที่มาจาก...( ขุ . มหา . จูฬวิยูหสุตตนิเทส  ๒๙ / ๕๕๑ / ๓๑๑ )


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร  ครับ       :090:

31
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


.......***   คิดถึง ? ความตาย    ***

***   เมื่อนึกถึง ความตาย           สบายนัก
มันหักรักหักหลง                          ในสงสาร
ถึงโลภโกรธ ลดลงได้                   ไม่นาน
จงฆ่ามาร กิเลส                             เมื่อก่อนตาย
 




***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ   :090:   

32
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 04 ก.ค. 2551, 12:49:59 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***    ธรรมเสรีเป็นไฉน สติปัฏฐาน 4 ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ 8 ( คือโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ อันเป็นธรรมเครื่องตรัสรู้ ) นี้ชื่อว่าธรรมเสรี    บุคคลเสรี เป็นไฉน บุคคลใดประกอบด้วยธรรมเสรีนี้ บุคคลนั้น ท่านกล่าวว่าเป็นบุคคลเสรี ( พ้นจากความเป็นทาสของกิเลสตามลำดับขั้น )

***  ที่มาจาก...( ขุ . จูฬ . ขัคควิสาณสุตตนิเทส ๓๐ / ๓๑๕ )

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร  ครับ     :090:

33
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***    เมื่อดวงใจ ใสสะอาด    บริสุทธิ์
เมตตาผุด สร้างกุศล               ผลบุญได้
กอปรด้วยศีล สมาธิ                ปัญญาไว
ปล่อยดวงไปอย่าผูกไว้          ได้ดีเอย


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ      :090:

34

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   จะผูกดวง ต้องผูก       อย่างมีหลัก
ให้รู้จัก ห้ามจิต                     คิดให้เก่ง
เมื่อจิตโกรธโลภหลง            ดงนักเลง
เราอยู่เกรง ผูกดวงได้          อย่าปล่อยไป


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ.. พิศร ครับ     :090:

35
สวัสดีครับ

***  รับทราบครับ....ขอบคุณมากครับ...

*** สวัสดีครับ...พิศร ครับ        :090:

36
สวัสดีครับ

ขอแจ้งปัญหา...ครับ

***   การpostขอความและช่องเปลี่ยนสีที่ผ่านมาดีแล้วครับ...ระยะวันสองวันที่ผ่านมาผิดปรกติครับไม่ทราบว่าทาง webmaster ใช้text อะไรครับ อ่านแล้วข้อความผิดพลาดครับ.. ช่วยกรุณาเปลี่ยนสีพื้นหลังให้เป็นสีขาวเหมือนเดิมด้วยครับด้วย...ขอบคุณครับ...พิศร   ครับ    :090:

37
คาถาอาคม / Re: "รวมโบราณคาถา"
« เมื่อ: 24 มิ.ย. 2551, 01:34:58 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับครับ

คาถาฉิมพะลี

***    ตามพุทธประวัติมีเรื่องอยู่ว่า พระสิวลีเถระ เป็นผู้ที่มักนำมาซึ่งลาภสักการะต่างๆ จนแม้ในขบวนที่พระภิกษุทั้งหลายท่องเที่ยวไป ประกาศศาสนาในที่ใดๆก็ตาม ถ้ามีพระสิวลีเถระไปด้วยแล้ว จะไม่ต้องประสบกับความขาดแคลนเรื่องอาหารเลย

ฉะนั้นโบราณาจารย์ จึงผูกเป็นคาถาไว้ภาวนากัน ซึ่งเชื่อมั่นไปในทางที่จะบังเกิดลาภผล ความสวัสดีมีชัยทุกประการ

***   คนสมัยเก่า(โบราณ)เวลาจะไปไหน ท่านมักเสกขี้ผึ้งทาปาก หรือเสกแป้งผักหน้า โดยเชื่อมั่นว่าจะไปประสบกับธุระกิจที่อำนวยความสวัสดีให้ทุกประการ คาถามีดังนี้

" โอม  ฉิมพะลี  จะ มหาเถโร  สัพพะเสน่หา จะ  ปูชิโต  โสระโห  ปัชยาทิมหิ  สัพพสิทธิ  ภะวันตุเม  สัพพะสิทธิ  ภวันตุเต  นะชาลีติ  นะชาลีติ  นะชาลีติ  สัพพะหูชนา สัพพะลาภา  เอหิ  เอหิ  สัพพะสิทธิ  ภวันตุเม "

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับพิศรครับ     :090:

38
คาถาอาคม / "รวมโบราณคาถา"
« เมื่อ: 18 มิ.ย. 2551, 12:28:24 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับครับ

คาถาฉิมพะลี

*** ตามพุทธประวัติมีเรื่องอยู่ว่า พระสิวลีเถระ เป็นผู้ที่มักนำมาซึ่งลาภสักการะต่างๆ จนแม้ในขบวนที่พระภิกษุทั้งหลายท่องเที่ยวไปเพื่อประกาศศาสนาในที่ใดๆก็ตาม ถ้ามีพระสิวลีเถระไปด้วยแล้ว จะไม่ต้องประสบกับความขาดแคลนเรื่องอาหารเลย   ฉะนั้น จึงผูกเป็นคาถาไว้ภาวนากัน ซึ่งเชื่อมั่นไปในทางที่จะบังเกิดลาภผล ความสวัสดีมีชัยทุกประการ

***คนสมัยเก่า(โบราณ)เวลาจะไปไหน ท่านมักเสกขี้ผึ้งทาปาก หรือเสกแป้งผักหน้าโดยเชื่อมั่นว่าจะไปประสบกับธุระกิจที่อำนวยความสวัสดีให้ทุกประการ  พระคาถามีดังนี้

 " โอม  ฉิมพะลี  จะ มหาเถโร  สัพพะเสน่หา จะ  ปูชิโต  โสระโห  ปัชยาทิมหิ  สัพพสิทธิ  ภะวันตุเม  สัพพะสิทธิ  ภวันตุเต  นะชาลีติ  นะชาลีติ  นะชาลีติ  สัพพะหูชนา สัพพะลาภา  เอหิ  เอหิ  สัพพะสิทธิ  ภวันตุเม "

***   โบราณาจารย์ท่านชาญฉลาด ได้ย่อพระคาถาหัวใจพระฉิมให้จำได้ง่าย คือ "นะชาลีติ " และเป็นที่นิยมใช้กันสืบมา เพราะเป็นพระคาถาหัวใจเพียงสี่ตัวเท่านั้น เพราะสั้นและง่ายเหมาะที่จะใช้ในเวลาคับขันที่จะพูดหรือเจรจาขอความช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี.

***วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับพิศรครับ :090:

39
ธรรมะ / " มหาสติปัฏฐานสูตร แปล "
« เมื่อ: 16 มิ.ย. 2551, 01:22:17 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ...


***? ? ก็ที่เชื่อว่า ? เอกายนะ ?? แปลว่า? ทางสายเดียว

 ก็ด้วยอรรถ ๕ ประการ? ดังนี้

๑. เป็นทางสายเดียว? ปฏิเสธทาง ๒ สาย

๒. เป็นทางที่บุคคลผู้จะไป? ต้องเป็นผู้เดียว? ละความคลุกคลีด้วยหมู่? หลีกออก? มีจิตสงบระงับพึงไป? คือ? พึงปฏิบัติ

๓. เป็นทางที่อาศัยไปจากสังสารวัฏฏ์สู่พระนิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเอก? คือ? ประเสริฐสุด? แห่งบรรดาสัตว์ทั้งหลาย

๔. เป็นทางมีอยู่ในธรรมวินัยเดียวนี้? เท่านั้น

๕. เป็นทางไปสู่ที่ประเสริฐสุด? คือพระนิพพานเท่านั้น


***? ?เหมือนอย่างที่ท้าวสหัมบดีพรหม? กล่าวไว้ ( ใน? สํ? มหาวรรค )? ว่า

เอกายนํ? ชาติขยนฺตทสฺสี
มคฺคํ? ปชานาติ? หิตานุกมฺปิ
เอเตน? มคฺเคน? ตรึสุ? ปุพฺเพ
ตริสฺสเร? เจว? ตรนฺติ? โจฆํ


ซึ่งแปลว่า
   
***? ?พระผู้มีพระภาคเจ้า ? ผู้มีพระทัยใคร่อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย ? เห็นแล้วซึ่งที่สุดคือพระนิพพาน ? อันเป็นที่สิ้นไปแห่งความเกิด? ย่อมทรงทราบมรรค? อันเป็นทางไปสู่ประเสริฐสุด ? คือ พระนิพพาน
***? ? พระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน ? ก็ได้ข้ามแล้วซึ่งโอฆะ? คือ? กิเลส? เป็นดุจห้วงน้ำทั้ง ๔ ด้วยมรรคนี้
***? ? ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคต? ก็จักทรงข้ามด้วยมรรคนี้
***? ?แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลปัจจุบัน? ก็ทรงข้ามด้วยมรรคนี้? ดังนี้

***? ? อรรถ ๕ ประการ? ดังที่ได้ยกจากอรรถกถา? มากล่าวไว้นี้เอง? เป็นความหมายของคำว่า ? เอกายนะ?? อันแปลว่า? ทางสายเดียว


***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ? ?พิศร? ?ครับ? ? ? :090:

40
ธรรมะ / " คัมภีร์ ราชนีติ "
« เมื่อ: 16 มิ.ย. 2551, 01:04:43 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


๔.    อาลสฺสํ  ขรํ  ทปฺปํ      ขรํ  จ  พยาสนํ  สฐํ
       อสนฺตุฏฺฐํ  อสมตฺถํ      ภฏํ  จเช  นราธิโป.


๔. ข้าเฝ้าที่เกียจคร้าน  หัวดื้อ  หยิ่ง  อาจาระหยาบคาย  มักก่อความวินาส  จองหอง 
ไม่สันโดษ  ไม่สามารถ  พระเจ้าอยู่หัวควรทรงละข้าเฝ้าที่มีลักษณะเช่นนี้เสียให้
     ไกล.


๕.   ขรํ  พฺยาสนกํ  ลพฺภํ      อปฺปสตฺถํ  สฐยํ  ตถา
       มกฺขาภูตํ  สกตฺตารํ      นาธิปจฺเจ  นิโยชเย.

 
๕. ข้าเฝ้าที่หยาบคาย  มักก่อความวินาส  มักได้  ไม่ชำนาญในศาสตร์ต่าง ๆ เพียงพอ 
     จองหอง  หลู่คุณคน  ไม่มีสัตย์  พระเจ้าอยู่หัวไม่ควรทรงตั้งข้าเฝ้าเช่นนี้ให้เป็น
     หัวหน้าคน
.


***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ? ?พิศร? ?ครับ? ? ?:090:

41
บทความ บทกวี / " ชวนเตรียมพร้อม "
« เมื่อ: 16 มิ.ย. 2551, 12:52:22 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ



***ดวงอะไร ดูได้                    ในกระดาษ
เขาเขียนวาด ลวดลาย             อะไรนั่น
บอกดวงดี ดวงไม่ดี                  อย่างไรกัน
เขาทำนั้น เพื่อหาเงิน               อย่าเพลินตาม


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ  พิศร ครับ        :090:

42
ธรรมะ / " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 16 มิ.ย. 2551, 12:47:01 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***? ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อลวงประชาชนก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมประชาชนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและความสรรเสริญก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือการอวดอ้างวาทะก็หามิได้ เพื่อความปรารถนาว่าชนจงรู้จักเราด้วยอาการดังนี้ก็หามิได้ โดยที่แท้ตถาคตอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อสังวร เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส

***? ?ที่มาจาก...( อัง . จตุก . พรหมจริยสูตร ๒๑ / ๒๙ )


***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? ?:090:

43
ธรรมะ / " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 13 มิ.ย. 2551, 04:26:04 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครๆจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ที่จะรับรองธรรม 4 ประการได้ ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือไม่มีใครๆ...ที่จะรับรองว่า สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่.....อย่าเจ็บ.....อย่าตาย.....วิบากแห่งกรรมอันลามก.....เศร้าหมองให้เกิดในภพใหม่   มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอย่าพึงเกิด

***? ?ที่มาจาก...(อัง . จตุก . โยธาชีวรรค ๒๑ / ๑๙๙)

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? ? ?:090:

44
บทความ บทกวี / " ชวนเตรียมพร้อม "
« เมื่อ: 13 มิ.ย. 2551, 12:11:20 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

       ***? ?ดูดวง? ---? ?ผูกดวง? ? ***? ?

***? ?จงดูดวง เดือนดารา       นภากาศ
มิสามารถ ส่องให้                 ใจสว่าง
ให้คนอื่น ดูดวงเรา                เข้าขวางทาง
ตัวเราวาง เชื่อเขาได้             ที่ไหนกัน


***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ? พิศร ครับ ? ? ?:090:

45
ธรรมะ / " คติธรรม "
« เมื่อ: 12 มิ.ย. 2551, 12:37:16 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? สารญฺจ? สารโต? ญตฺวา?    อสารญฺจ? อสารโต
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?เต? สารํ? อธิคจฺฉนฺติ      สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา


   ชนเหล่าใด? รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ? และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ?
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ชนเหล่านั้นมีความดำริชอบเป็นโคจร? ย่อมประสบสิ่งเป็นสาระ


 ( พุทธภาษิต? ธรรมบท? ขุททกนิกาย? ยมกวรรค )

***อันสาระจะทำให้    ได้ประโยชน์
ไม่เกิดโทษไม่เกิดทุกข์      แต่สุขแน่
ผิดกันกับอสาระ   ไม่ดีแล
สมควรแท้จะละลด            ให้หมดไป


***มวลมนุษย์น้องพี่    ที่เกิดมา
มิควรข้าพึงรีบหา        สาระไว้
เพื่อจักได้อยู่รอด        และปลอดภัย
ประสบสุขยิ่งใหญ่        จริงจริงแล


***? ?สารธรรม
คือธรรมที่จะให้เกิดประโยชน์และความสุข? ส่วนอสารธรรมเป็นธรรมที่จะนำมาซึ่งโทษและความทุกข์ ? สารธรรมเป็นธรรมที่ดีแต่อสารธรรมเป็นธรรมที่ชั่ว? ? สารธรรมเป็นธรรมที่น่ายินดีในการที่จะกระทำตาม ? แต่อสารธรรมเป็นธรรมที่ควรจะเกรงกลัวและพยายามหลีกหนีเสียให้ห่างไกล

***? ?ธรรมที่ดีหรือความดีนี้? ได้แก่? การกาะทำดี พูดดี และคิดดี? ที่เป็นไปในทวารทั้ง ๓ คื? กาย? วาจา? และใจนี้เอง? การกระทำความดีย่อมไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน? แต่จะทำให้ตนเองและผู้อื่นเป็นสุข ส่วนธรรมที่ชั่วตรงกันข้ามกับความดี? คือทำชั่ว? พูดชั่ว? และคิดชั่ว? ทำให้ตนเองและผู้เดือดร้อน.

***? ?พระอรรถกถาจารย์ได้จำแนกสารธรรมไว้ ๕ อย่าง? คือ? ศีล? สมาธิ? ปัญญา? วิมุต? และวิมุตติ? ญาณ ? ทัสสนะ? และกล่าวถึงพระนิพพานว่าเป็นปรมัตถสาระ ? คือสาระที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ? สาระ ๕ อย่างนี้? เรียกว่า? ธรรมขันธ์ก็ได้
   
ศีล ? เป็นธรรมที่เป็นพื้นฐานของคุณธรรมความดีต่าง ๆ ที่สูงยิ่งกว่าศีล เช่น สมาธิ ? เป็นต้นนั้นต้องอาศัยศีลเป็นเหตุเป็นเครื่องรองรับจึงจะเกิดได้? การรักษาศีลนี้จะต้องให้สมบูรณ์ คือ ให้ครบทุกข้อ ศีล ๕ ก็ครบ ๕ ข้อ ศีล ๘ ก็ครบ ๘ ข้อ? เป็นต้น? และต้องรักษาให้เหมาะสมกับเพศของตน? คือคฤหัสถ์ก็รักษาแบบคฤหัสถ์? เป็นบรรพชิตก็รักษาแบบบรรพชิต? การรักษาศีลนอกจากจะต้องให้สมบูรณ์คือ ? ?มีครบทุกข้อไม่ขาดตกบกพร่องแล้ว? ยังต้องให้บริสุทธิ์? ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกิเลสอีกด้วย? เช่นรักษาศีลแล้วปรารถนาเป็นมนุษย์หรือเทวดา เป็นต้น? ก็ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์? ศีลเมื่อไม่บริสุทธิ์ก็ไม่เป็นเหตุให้เกิดสมาธิ ? แต่ถ้าศีลบริบูรณ์และบริสุทธิ์ดีแล้ว? ก็ย่อมจะเป็นเหตุให้เกิดสมาธิต่อไป

สมาธิ ในที่นี้เป็นสมาธิที่เกิดจากรักษาศีลบริสุทธิ์? ที่เรียกว่า? ศีลวิสุทธิ? ซึ่งได้มาจากการเจริญสติปัฏฐาน เพราะศีลจะบริสุทธิ์ได้นั้นต้องมีอินทรียสังวรศีล ? ซึ่งได้มาจากการปฏิบัติสติปัฏฐานนั่นเอง? แต่การปฏิบัติในขั้นต้นนั้น? นิวรณ์ยังเกิดกลุ้มรุมได้? ใจยังไม่สงบ? ไม่เป็นสมาธิ? ไม่เป็นจิตตวิสุทธิ ได้อย่างมากก็เพียงศีลวิสุทธิ? แต่เมื่อได้ปฏิบัติต่อไปอย่างถูกวิธีดีแล้ว? นิวรณ์ทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้น? ก็ย่อมจะสงบลง? จิตก็เป็นสมาธิเป็นจิตตวิสุทธิ ? และเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาต่อไป

ปัญญา ? หมายถึงวิปัสสนาปัญญา? ได้มาจากการเจริญสติปัฏฐานจนนิวรณ์สงบแล้ว ? ปัญญาประเภทนี้ย่อมรู้จักรูปนามหรือขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ? รู้ทั้งปัจจัตตลักษณะ? ลักษณะประจำตัวของรูปนามนั้น ๆ เช่น? รูปมีลักษณะเสื่อมสลาย? นามลักษณะน้อมสู่อารมณ์หรือจะเรียกว่าวิเสสลักษณะก็ได้? และรู้ลักษณะอีกอย่างหนึ่งคือสามัญลักษณะ ? ลักษณะที่มีเสมอเหมือนกันกับสังขารทั้งปวง? คือ? การเกิดขึ้น? ตั้งอยู่? และดับไป? หรืออนิจจัง? ไม่เที่ยง? ทุกขัง? เป็นทุกข์? และอนัตตา? ไม่ใช่ตน? เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า? ไตรลักษณะ? ลักษณะ ๓ อย่างเมื่อได้เจริญวิปัสสนามาจนเห็นรูปนาม? เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์และเป็นอนัตตาแล้ว ? เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่ายในรูปนาม? และนี่เองที่พระพุทธองค์ทรงแสดงว่าเป็นทางแห่งความบริสุทธิปราศจากกิเลส ปัญญาจึงเป็นเหตุให้ถึงวิมุตความหลุดพ้นจากกิเลสได้
   

***? ?วิมุต ? ในที่นี้หมายถึง? มรรคและผล? เมื่อได้เจริญวิปัสสนาจนมีปัญญาแก่กล้าแล้ว? ก็สามารถประหาณกิเลสได้เด็ดขาด? บรรลุมรรคและผล? ในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้น? ย่อมทำกิจในอริยสัจครบ ๔ ประการ? คือ รู้ทุกขสัจ? ละสมุทัยทำให้แจ้งนิโรธสัจ? และทำมรรคสัจให้เกิดสำหรับผลจิตนั้นแม้ไม่ได้ทำกิจเหมือนกับมรรคจิตแต่ก็มีพระนิพพานเป็นอารมณ์และมีเจตสิกประกอบเหมือนในมรรคจิต? จึงจัดเป็นวิมุตด้วย

***? ?วิมุตติญาณทัสสนะ? เป็นสารธรรมข้อสุดท้าย? คือความรู้มรรค? ผล? นิพพาน ? ที่ตนได้ประสบแล้วนั่นเอง ? และรู้ตลอดถึงกิเลสที่ตนละได้แล้ว ? และกิเลสที่ยังละไม่ได้ด้วย ความรู้ประเภทนี้รู้ในปัจจเวกขณวิถี? จะเกิดมีแก่พระอริยบุคคลทุกท่าน

***? ?สำหรับปรมัตถสาระ ? ไม่ได้อยู่ในสาระ ๕ แต่พระอรรถกถาจารย์ได้นำมากล่าวไว้ เพราะเป็นยอดแห่งสาระทั้ง ๕ คือเป็นผลที่เกิดจากสาระทั้ง ๕ นั่นเอง? พระบรมศาสนดาได้ทรงยกย่องว่าเป็นธรรมที่ประเสริฐที่สุด? เป็นปรมัตถประโยชน์
   
***? ?ผู้มีศรัทธาและปัญญา ? เมื่อมาปฏิบัติตนอยู่ในสารธรรมทั้ง ๕ แล้ว ? ในที่สุดก็จะถึงปรมัตถสาระ? หรือปรมัตถประโยชน์ ? คือพระนิพพานได้โดยแท้.

***? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ? ?พิศร? ?ครับ? ? :090:

46
ธรรมะ / " มหาสติปัฏฐานสูตร แปล "
« เมื่อ: 12 มิ.ย. 2551, 07:34:33 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ...


***? ? ซึ่งถ้าแปลเฉพาะเท่าที่ศัพท์มีอยู่? ก็ว่า ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ? มรรคนี้? เป็นทางสายเดียว? เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย? เพื่อล่วงเสียซึ่งความเศร้าโศก? ร่ำไห้รำพัน? เพื่อดับสนิทซึ่งทุกข์และโทมนัส? เพื่อบรรลุญายะ เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ? ได้แก่สติปัฏฐาน ๔ ?

   แต่ในที่นี้? แปลตามประการที่ว่าแล้ว? ก็แปลได้ว่า

   ดูกร? ภิกษุทั้งหลาย

- มรรคนี้ ? เป็นทางสายเดียว? เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดจากความเศร้าหมองแห่งจิตของสัตว์ทั้งหลาย? มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า? พระปัจเจกพุทธเจ้า? พระอริยสาวกทั้งหลาย? ได้แก่? สติปัฏฐาน ๔

- มรรคนี้ เป็นทางสายเดียว   เพื่อละเสียซึ่งความเศร้าโศกรำพัน ? ได้แก่? สติปัฏฐาน ๔

- มรรคนี้ เป็นทางสายเดียว เพื่อดับสนิทซึ่งทุกข์ทางกาย? และทุกข์ทางใจ? ได้แก่? สติปัฏฐาน ๔

- มรรคนี้ ? เป็นทางสายเดียว เพื่อบรรลุอริยมรรค? ได้แก่? สติปัฏฐาน ๔

- มรรคนี้? เป็นทางสายเดียว  เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง   ได้แก่? สติปัฏฐาน ๔


หรืออย่างบาลี ?
***? ?ในหมวดลมหายใจเข้าออก? ที่ว่า? อิติ? อชฺฌตฺตํ? วา? กาเย? กายา - นุปสฺสี? วิหรติ? ซึ่งแปลเท่าที่ศัพท์มีอยู่? ก็ว่า
   โดยนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้   ภิกษุชื่อว่า  เป็นผู้มีปัญญาตามเห็นกาย  ภายใน  อยู่บ้าง

***   แต่ในที่นี้? ได้แปลไปตามประการที่ว่า? คือ ? แปลว่า
   โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วนี้  ภิกษุชื่อว่า  เป็นผู้มีปัญญาตามเห็นรูปกายในรูปกาย  ภายใน  คือ  ในลมหายใจเข้าออกของตนอยู่บ้าง  ดังนี้เป็นต้น

***? ?เพราะฉะนั้น? ขอให้ท่านผู้สนใจในธรรมปฏิบัติทั้งหลาย  โปรดทราบตามนี้ด้วย

***? ? อนึ่ง? ในสติปัฏฐานสูตรแปลนี้ อาศัยฉบับพะม่า? ที่สังคายนาเป็นครั้งที่ ๖? พร้อมทั้งปกรณ์นิสสยะอื่น ๆ? เป็นต้นฉบับการจะแปล

***? ?โดยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔ นี้? นอกจากมหาสติปัฏฐานสูตรแล้ว? ก็ยังมีปรากฏอยู่ในสูตรอื่น ๆ อีกหลายสูตรทั้ง ๓ ปิฎก? ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม? จนสามารถกล่าวได้ว่า? พระดำรัสที่ตรัสถึงการไปจากการปฏิบัติ? เพื่อบรรลุ? มรรค? ผล? พระนิพพาน นั้น? ไม่พ้นไปจากการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ไปได้เลย? พิจารณาให้ดี ๆ เถิด แม้แต่พระองค์เองยังตรัสยืนยันไว้ว่า? เอกายโน? อยํ? ภิกฺขเว? มคฺโค ? ซึ่งแปลว่า ? มรรคนี้เป็นทางสายเดียว ?? ดังนี้ไว้

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ? ?พิศร? ?ครับ? ?:090:

47
บทความ บทกวี / " ชวนเตรียมพร้อม "
« เมื่อ: 12 มิ.ย. 2551, 06:39:20 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***? ? วัวควายตาย เหลือไว้        เพียงเขาหนัง
ช้างตาย ยังเหลืองา                 เป็นศักดิ์ศรี
คนเราตาย เหลือไว้                  แต่ชั่วดี
บรรดามี  ประดับไว้                ในโลกา


***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ? พิศร ครับ? ? ? ?:090:

48
ธรรมะ / " คติธรรม "
« เมื่อ: 11 มิ.ย. 2551, 12:49:05 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

        จิตฺตํ  คุตฺตํ  สุขาวทํ
จิตที่คุ้มครองแล้ว  นำสุขมาให้


( พุทธภาษิต  จาก  ธรรมบท  ขุททกนิกาย )

***?  อันนานาจิตตังท่านตั้งไว้ 
เพราะดวงใจมีต่าง ๆ อย่างมากหลาย
มีใจดีใจชั่วอยู่มากมาย
จะเลวร้ายหรือดีล้นไม่พ้นใจ

      เมื่อใจดีพาให้ได้ความสุข
ส่วนใจชั่วพาให้ทุกข์ไม่สดใส
ท่านจึงสอนให้คุ้มครองป้องกันใจ
ก็จะได้สุขสมอารมณ์  เอย.

***  จิต
เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์   มีความรู้สึกนึกคิดได้  เป็นธรรมที่ผันแปรกลับกลอกอย่างรวดเร็ว  เดี๋ยวรักเดี๋ยวชัง  เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย   จิตของปุถุชนผู้หนาไปด้วยกิเลสนั้น  มีปกติฝักใฝ่แสวงหาอารมณ์ที่ตนพอใจเสมอ  อยากเห็นรูปที่สวยงาม  ฟังเสียงที่ไพเราะ  ดมกลิ่นที่หอมหวน  รับรสที่อร่อย  และต้องการสัมผัสที่นิ่มนวล เมื่อได้รับอารมณ์ที่ตนประสงค์แล้วก็พอใจติดใจ  แต่ถ้าไม่ได้ตามที่ต้องการก็เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน  หรือได้รับอารมณ์ที่ดีแล้วแต่พาพลัดพรากจากไปเสีย  ก็เกิดความเศร้าโศกเสียใจ   บางคนถึงกับปริเทวนาการร่ำไห้ก็มีอยู่มิใช่น้อย

***   จิตของปุถุชน   มักตกอยู่ในความโลภ  ความโกรธ  และความหลง  อยู่เป็นปกติ มีความคิดซัดส่าย  ฟุ้งซ่านอยู่เป็นประจำ  จะสงบลงบ้างก็เวลาที่ตนหลับสนิทเท่านั้น  แต่จะหลับได้นานสักเท่าใด  ไม่นานนักก็จะต้องตื่นขึ้นมา  และพอลืมตาก็ลืมตัว  ปล่อยให้กิเลสทั้งหลายมีความโลภ  เป็นต้น  เข้าครอบงำสืบต่อไป

***   ฉะนั้น พระบรมศาสดาผู้ทรงมีเมตตากรุณาต่อชาวโลก จึงได้ทรงแนะนำพร่ำสอนให้พวกเราชาวพุทธรู้จักการคุ้มครองป้องกันจิต  มิให้จิตตกไปในฝักใฝ่แห่งความชั่ว   แต่ให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมความดี   ไม่ให้ตกอยู่ในความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ให้มีสติปัญญาคอยคุ้มครองรักษาจิตอยู่เสมอ  ก็จะทำให้ตนพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน  ถึงซึ่งความสงบสุขได้โดยแท้จริง.

***  ( อารมณ์ เป็นธรรมชาติที่ถูกจิตรู้ )    ***


***? ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ? ?พิศร? ?ครับ? ?? ?:090:

49
บทความ บทกวี / " ชวนเตรียมพร้อม "
« เมื่อ: 11 มิ.ย. 2551, 12:24:47 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***? ?คนจนขาดทรัพย์นั้น          หมั่นหา
คนยากด้วยปัญญา                   อย่าคร้าน
คนจนขาด เมตตา                   ตกต่ำ
จนสิ่งอื่น ใดนั้น                      อย่าให้จนใจ


***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ? พิศร ครับ? ? ?:090:

50
ธรรมะ / " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 11 มิ.ย. 2551, 12:18:15 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   ดูกรอานนท์ เพราะสูญจากตน หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูกรอานนท์ ก็สิ่งอะไรที่สูญจากตน หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฯ

***   ดูกรอานนท์ จักษุสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูปก็สูญ.....จักษุวิญญาณ.....จักษุสัมผัส.......สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อุเบกขาเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนาก็สูญ ฯลฯ

***   ดูกรอานนท์ เพราะโลกสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ แม้ด้วยอย่างนี้จึงชื่อว่า ความกังวลอะไร ๆ ว่าสิ่งนี้ของเรา หรือว่าสิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดฯ


***? ที่มาจาก...(ขุ . มหา . อัตตทัณฑสุตตนิเทส? ๒๙ / ๔๗๓ )

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ ? ? :090:

51
ธรรมะ / " มหาสติปัฏฐานสูตร แปล "
« เมื่อ: 10 มิ.ย. 2551, 04:25:37 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ...

***? ?อาจจะมีผู้สงสัยว่า? พระสูตรหนึ่งที่รวมอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับหลวง? ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย? ตลอดจนในหนังสืออื่น ๆ ที่มีการคัดเอาสูตรนี้ไปกล่าวถึง? ก็ไม่น่าจะต้องมีการแปลกันใหม่ในครั้งนี้อีก? จะเป็นการซ้ำซากไปเปล่า ๆ อย่างนี้ก็ได้?

***? ?เพราะฉะนั้น? ในที่นี้ก็ใคร่ขอเรียนชี้แจงท่านผู้ใคร่ธรรมทั้งหลาย? ได้โปรดทราบว่า การแปลมหาสติปัฏฐานสูตร? เหมือนอย่างที่เคยแปลกันมาแล้วนั้น? ท่านประสงค์จะแปลเฉพาะเท่าที่ศัพท์บาลีมีปรากฏอยู่ในพระสูตรเท่านั้น? ยังไม่มีคำอธิบาย? ซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้นรอง? คือ? อรรถกถา? บางท่านศึกษาแล้ว? อาจจะไม่สะดวก? หรือยุ่งยากต่อการทำความเข้าใจ? ต้องได้รับคำอธิบายมากกว่านี้? จึงจะเข้าใจได้? น้อมนำเอาความรู้ไปเป็นหลักปฏิบัติได้?

***? ?เพราะฉะนั้น? เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกต่อการศึกษาของท่านผู้สนใจทั้งหลาย ในการแปลมหาสติปัฏฐานสูตรครั้งนี้ ? จึงได้ผนวกคำพูด? คำอธิบายของอรรถกถา? พร้อมกันไปกับเนื้อหาพระสูตรตามสมควร ? พูดง่าย ๆ ว่า? เป็นการแปลตามนัยอรรถกถา ? ตลอดทั้งเพิ่มเติม? ขยายความ? ด้วยคำของอรรถกถาบ้าง? ตามสมควรนั่นเอง? ซึ่งจะขอยกมาแสดงให้ท่านทั้งหลายได้เห็นพอเป็นตัวอย่างดังนี้

   เช่นบาลีว่า เอวมฺเม? สุตํ ? ถ้าแปลเฉพาะเท่าที่ศัพท์ก็ว่า? ? ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ?? ดังนี้? เท่านั้น

***? ?แต่ในที่นี้? อาศัยคำอธิบายจากอรรถกถาแล้ว? ก็ได้แปลโดยผนวกเอาคำอธิบายของอรรถกถาไว้ว่า ? ? ข้าแต่พระมหากัสสปเถระเจ้าผู้เจริญ? ข้าพเจ้าพระอานนท์ได้สดับตรับฟังมหาสติปัฏฐานสูตร? ต่อเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคมา? ซึ่งมีเนื้อความดังต่อไปนี้ ? ? หรืออย่างบาลีว่า เอกายโน? อยํ? ภิกฺขเว? มคฺโค? สตฺตานํ? วิสุทฺธิยา ? โสกปริเทวานํ ? สมติกฺกมาย? ทุกฺข? โทมนสฺสานํ? อตฺถงฺคมาย , ? ญายสฺส? อธิคมาย ,? นิพฺพานสฺส? สจฺฉิกิริยาย ,? ยทิทํ? จตฺตาโร? สติปฏฺฐานา

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ? ?พิศร? ?ครับ ? ? :090:

52
บทความ บทกวี / " ชวนเตรียมพร้อม "
« เมื่อ: 10 มิ.ย. 2551, 08:38:34 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   คนสัตว์ ทำโหดเหี้ยม? ? ?   ทารุณ
คนผี หลอกลวงหมุน? ? ? ? ? ? ?   ?ต่ำช้า
คนแท้ สร้างแต่คุณ? ? ? ? ? ? ? ? ? ช่วยเพื่อน มนุษย์แฮ
คนเทพ? คุณทั้วหล้า? ? ? ? ? ? ? ? ?ช่วยคุ้มครองคน


***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ? พิศร ครับ? ? :090:

53
ธรรมะ / " คติธรรม "
« เมื่อ: 09 มิ.ย. 2551, 04:27:21 »
สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอ ? " คติธรรม " ? ?บางส่วนจากพระไตรปิฎกครับ

? ? ? ? ***? ? ?? คติธรรม ? ?? ? ***? ?

? ? ? ? ? ? วิริเยน? ทุกขมัจเจติ? ?

บุคคลล่วงทุกข์ได้? ?เพราะความเพียร


( พุทธภาษิต  จากขุททกนิกาย  สุตตนิบาติ )

ความเพียร     ทำให้ตน      พ้นจากทุกข์
ความเพียร     ทำให้สุข      สมประสงค์
ความเพียร     ให้สำเร็จ      เจตน์จำนง
ความเพียร      จะพาส่ง     สู่นิพพพาน 



***   ความเพียรกล่าวโดยทั้วไปมี ๒ อย่างคือ เพียรทำความดี กับเพียรทำความชั่ว
แต่เพียรทำความชั่วจะพาตนให้ประสบกับความทุกข์  ความเดือดร้อน ความเพียรในพุทธภาษิตนี้  มุ่งหมายถึงความเพียรที่ดีเท่านั้น และอาจแบ่งได้เป็น ๓ ระดับดังนี้

***  ความเพียรระดับต้น   คือความเพียรในการประกอบสัมมาอาชีพ เมื่อแสวงหาทรัพย์สมบัติได้แล้ว ก็รู้จักรักษา รู้จักใช้จ่ายให้เหมะสมกับฐานะของตน ก็จะทำให้ตนนั้นพ้นจากความจน  ไม่ต้องเป็นหนี้เป็นสินผู้อื่น ได้รับความสุขจาการมีทรัพย์ได้ตามสมควรในโลกนี้เพียรเพื่อประโยชน์โลกนี้อย่างแท้จริง

***   ความเพียรระดับกลางเป็นความเพียรอีกระดับหนึ่ง  ได้แก่ความเพียรในการหมั่นประกอบกองบุญกุศล มีการบริจากทาน มีการรักษาศีล เป็นต้น ก็จะทำให้ตนพ้นทุกข์ภัยในอบายภูมิ ไม่ต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก ดิรัจฉาน  เปรต และอสุรกาย ที่มีความทุกข์ความเดือดร้อนเป็นอันมาก  แต่บุญกุศลจะพาตนให้ได้เกิดในสุคติ เป็นมนุษย์ หรือเทวดา มีความสุขสบายในโลกหน้าเป็นการเพียรเพื่อประโยชน์โลกหน้าอย่างแท้จริง 

***   ความเพียรระดับสูง หรือความเพียรอย่างสูงนั้น คือความเพียรในการเจริญสติปัฏฐาน ๔  หรือเจริญวิปัสสนากรรมฐาน  คือใช้สติปัญญาให้รู้จัก นามรูป หรือกายกับใจ  ตามความเป็นจริง   โดยรู้ถึงลักษณะเฉพาะตัว ของนามรูปนั้นๆ และลักษณะที่เสมอเหมือนกันกับสังขารโดยทั้วไป ได้แก่ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ที่เรียกว่าสามัญญลักษณะ หรือไตรลักษณ์นั่นเอง ความเพียรประเภทนี้จะสามารถทำลายกิเลสให้หมดสิ้นไป ทำให้ตนพ้นจากทุกข์ทั้งปวง และทำให้ถึงสันติสุข คือพระนิพพานได้อย่างแท้จริง เป็นการเพียรเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งที่แท้จริงที่สุด .

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

54
บทความ บทกวี / " ชวนเตรียมพร้อม "
« เมื่อ: 09 มิ.ย. 2551, 04:20:40 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

            ****? ? ค่าของคน  ?****

***? ?คนเมืองก่อเรื่องร้าย          ดีไฉน
คนป่าหากแต่ใจ                       เอื้อเฟื้อ
คนวัดก่อจัญไร                        ชั่วต่ำ
คนบ้าน ก่อบุญเกื้อ                    เหล่านี้ใครดี


***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ ...สวัสดีครับ? พิศร ครับ? ? ? :090:

55
ธรรมะ / " มหาสติปัฏฐานสูตร แปล "
« เมื่อ: 06 มิ.ย. 2551, 11:11:27 »
สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำ " มหาสติปัฏฐานสูตร แปล " มาลงให้เป็นแนวทางการปฎิบัติที่นำไปสู่สันติสุข ครับ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?? ? ?****? ? มหาสติปัฏฐานสูตร แปล? ? ****

***? ? มหาสติปัฏฐานสูตรนี้ ? มีมาในทีฆนิกายมหาวรรคและมัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์
   
***? ?พระสูตรนี้? ทรงตรัสไว้? ในสมัยที่เสด็จประทับอยู่ ณ แคว้นกุรุ? ในป่าใหญ่? ใกล้นิคมที่มีชื่อว่า ? กัมมาสธัมมะ ? แก่ชาวพุทธบริษัทที่อาศัยอยู่ในแคว้นกุรุนี้? ซึ่งเป็นผู้มีอุตุ ? คือ? อากาศอบอุ่นสบาย? อาหารอุดมสมบูรณ์? สะดวกสบาย? มีความสุขกายสบายใจ? มีสติปัญญาแกล้วกล้าสามารถ ในอันสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาที่สุขุมลุ่มลึก? อย่างพระสูตร? อันมีเนื้อหาสาระ? กล่าวถึงการเจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างบริบูรณ์?

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ? ?พิศร? ?ครับ? ? ? :090:

56
ธรรมะ / พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 06 มิ.ย. 2551, 10:52:02 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?*****    มัชฌิมนิกาย    *****
   
***? ?ในมัชฌิมนกายนี้แบ่งเป็น ๓ เล่ม  คือ   เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ ๑ เล่ม ๑๓  มัชฌิมปัณณาสก์ ๑ เล่ม ๑๔  อุปริปัณณาสก์ ๑  ที่เรียกว่าปัณณาสก์ ๆ นี้  แปลว่าหมวด ๕๐ คือมี ๕๐ สูตร  แต่ในเล่มที่ ๑๔ มี ๕๒ สูตร  เหตุที่ปัณณาสก์ ( หมวด ๕๐ ) นี้   เรียกว่ามูลปัณณาสก์  เพราะเป็นหมวด ๕๐ ข้างต้น? มัชฌิมปันนาสก์  เป็นหมวด ๕๐ กลาง และอุปริปัณณาสก์  เป็นหมวด ๕๐ ตอนท้าย

***? ? ?คำว่ามูลเทียบด้วยโคนไม้   ?มัชฌิมกลางต้น   อุปริยอดไม้   ฉะนั้น  ท่านจึงให้ชื่อปัณณาสก์ทั้ง ๓ ไว้อย่างนั้น? และในปัณณาสก์นั้นแบ่งเป็นตอน ๆ เรียกว่าวรรค โดยมีวรรคละ ๑๐ สูตรโดยมาก   มี ๑๒  สูตรอยู่เพียงวรรคเดียว  คือในเล่ม ๑๔? จึงรวมพระสูตรในมัชฌิมนิกายได้  ๑๕๒ สูตร  ดังมีเนื้อความย่อๆ ดังต่อไปนี้ ครับ


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?? ? ? ? ?เล่มที่ ๑๒ (มูลปัณณาสก์)

                 ในเล่ม ๑๒ แบ่งเป็น ๕ วรรค ๆ ละ ๑๐ สูตร? คือ

๑. มูลปริยายวรรค? มี ๑๐ สูตร? ดังนี้

      
๑. มูลปริยายสูตร? พระพุทธเจ้าทรงแสดงความรู้ในเหตุ ๔ เป็นต้น ของปุถุชนและพระอริยะว่าต่างกัน  ที่รู้แล้วเพลิดเพลินหรือไม่  และตรัสว่าความเพลิดเพลินเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์.
      
๒. สัพพาสวสังวรสูตร ? ทรงแสดงถึงอาสวะทั้งปวงที่ควรละเสียเป็นต้น      

๓. ธัมมทายาทสูตร ? ตรัสให้พวกภิกษุเป็นธรรมทายาทรับมรดกธรรมะของพระองค์  ไม่ให้เป็นอามิสทายาท   คือรับมฤดกอามิส.

๔. ภยเภรวสูตร? ตรัสถึงอกุศลเป็นภัยอันน่ากลัว  ตรัสถึงวิชชา ๓ ประการเป็นต้น
      

๕. อนังคณสูตร   ตรัสถึงกิเลสเครื่องยั่วยวนเพียงดังเนิน  และพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะสนทนากัน  เรื่องการปฏิบัติธรรมะเปรียบด้วยช่างถากไม้.      

๖. อากังเขยยสูตร ? ทรงแสดงว่าถ้าภิกษุหวังผลในพระศาสนาตั้งต้นแต่จะให้เป็นที่รักที่เคารพของเพื่อนพรหมจารี  ก็พึงรักษาศีลให้บริบูรณ์เป็นต้น   
   
๗. วัตถูปมสูตร   ทรงเปรียบจิตที่เศร้าหมองและไม่เศร้าหมองด้วยผ้า  เมื่อจิตเศร้าหมองทุคติเป็นหวังได้  เมื่อจิตไม่เศร้าหมองสุคติเป็นหวังได้.

๘. สัลเลขสูตร ? ทรงแสดงการปฏิบัติขัดเกลาแก่พระมหาจุนทะ

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ? พระสารีบุตรแสดงสัมมาทิฏฐิแก่พวกภิกษุ

๑๐. สติปัฏฐานสูตร ? ทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔. ( สูตรนี้พุทธศาสนิกชนทุกท่านจำเป็นต้องรู้และเข้าใจเป็นอย่างดีจึงจะพ้นทุกข์ )
   


๒. สีหนาทวรรค? มี? ๑๐ สูตร

      
๑. จูฬสีหนาทสูตร
? ทรงแสดงสมณะ ๔ พวกเป็นต้น.
   
๒. มหาสีหนาทสูตร ? ทรงแสดงพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔  พรหมจรรย์ ๔   เป็นต้น

๓. มหาทุกขักขันธสูตร? พวกเดียรถีย์พูดอวดกับพวกภิกษุว่า  บัญญัติธรรมะแสดงสั่งสอนธรรมะเหมือนกับพระพุทธเจ้า  พวกภิกษุเข้าเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลเรื่องนั้น  พระองค์ทรงแสดงเหตุแห่งทุกข์มีกามเป็นต้น
      
๔. จูฬทุกขักขันธสูตร ? ตรัสแก่ท้าวมหานามศากยะถึงเหตุแห่งทุกข์ต่างๆ
      
๕. อนุมานสูตร  พระมหาโมคคัลลานะแสดงแก่ภิกษุถึงเรื่องการพิจรณาธรรมในตน .

๖.เจโตขีลสูตร  ตรัสถึงตะปูที่ตรึงใจสัตว์  ๕  อย่าง.
      
๗. วนปัตถสูตร ? ทรงแสดงถึงผู้อาศัยป่า ว่า  อย่างไรบรรลุธรรมวิเศษ  อย่างไรไม่บรรลุ.

๘. มธุปิณฑิกสูตร? พระองค์ทรงแสดงธรรมย่อ ๆ พระมหากัจจายนะอธิบายต่อไปอย่างพิสดาร.
      
๙.  เทวธาวิตักกสูตร ? ทรงแสดงแยกวิตกออกเป็น ๒ พวก  คือ  กุศล  อกุศล
      
๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร ? ตรัสถึงวิธีหยุดวิตก.


***? ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? :090:

57
ธรรมะ / " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 06 มิ.ย. 2551, 09:49:38 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***    ดูกรพาหิยะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อได้ยินจะเป็นสักว่าได้ยิน ฯลฯ ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อเธอเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อใดเธอได้ยินจักเป็นสักว่าได้ยิน ฯลฯ ในกาลนั้น ธอย่อมไม่มีในกาลใดเธอไม่มี ในกาลนั้น เธอย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่าโลกทั้งสองนี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ? ลำดับนั้น จิตของพาหิยทารุจีริยะกุลบุตร หลุดพ้นแล้วจากอาสาวะทั้งหลาย ฯ

***? ที่มาจาก...( ขุ . อุทาน พาหิยสูตร? ๒๕ / ๗๑ )

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? ?? :090:

58
ธรรมะ / " คัมภีร์ ราชนีติ "
« เมื่อ: 06 มิ.ย. 2551, 09:18:36 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

ราชนีติ? ปาลิ
๑. ราชนีติสตฺถํ  รญฺโญ       ทิฏฺฐธมฺมตฺถสาธนํ
    วุจฺจเต  พุทฺธิวุฑฺฒตฺถํ     ปรรฏฺฐวิมทฺทเน.


ราชนีติ
๑. ข้าพเจ้าจะแสดงราชนีติที่เห็นประโยชน์ทันตา 
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการขยายพระราชอาณาจักร.


๒.   ขตฺติยสฺส  อมจฺจสฺส    วกฺขามิ  คุณลกฺขณํ
   สทาภิโช  มหีปาโล        สมฺมา  ภเฏ  ปริกฺขเย.

 
๒. ข้าพเจ้าจะกล่างคุณสมบัติแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอิสราธิบดี  และอำมาตย์ข้า
      เฝ้า  อันว่าพระมหากษัตริย์ผู้มีพระชาติอันสูงศักดิ์  ควรทรงพิจารณาให้ตระหนัก
      ซึ่งข้าเฝ้าโดยชอบในกาลทุกเมื่อ.


๓.   ชาเนยฺย  ภาสนา  พุทฺธึ      สํวาสา  สีลเมว  จ
   สุจึ  สพฺพาภิหาเรน               อาปทตฺเถ  จ  โปริเส.


๓. พึงทรงทราบคนมีความรู้ด้วยการเจรจา  พึงทรงทราบศีลธรรมจรรยาด้วยการอยู่
      ร่วม  ถึงทรงทราบความสะอาดด้วยการดำเนินในราชกิจทุกอย่าง  พึงทรงทราบ
      ความเป็นลูกผู้ชายในเวลามีอันตราย.


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ    :090:

59
คาถาอาคม / "รวมโบราณคาถา"
« เมื่อ: 05 มิ.ย. 2551, 02:23:37 »
สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำโบราณคาถามาให้ศึกษากันนะครับ

คาถาแก้วสามประการ

พุทธัง กระจาย  ธัมมัง กระจาย  สังฆัง กระจาย
นะ  กระจาย สารพัด กระจาย สวาหะ กระจายนะสวาหะ
โม  กระจาย สารพัด กระจาย สวาหะ กระจายนะสวาหะ
พุท กระจาย สารพัด กระจาย สวาหะ กระจายนะสวาหะ


พระคาถานี้ เรียกว่าแก้วสามประการ ถ้าผู้ใดทำพิสมร ให้ลงใบตาล เมื่อจะทำจงบูชาเทียน ๙ เล่ม
บูชาพระแล้ว  เสกให้ได้ ๑๐๐๐ คาบ สารพัดอาวุธยิงผิดหมด เสกน้ำมัน ๙ คาบ  ปลอดอาวุธทุกอย่าง
ผู้ใดจะฆ่ากัน หรือฆ่าสัตว์ หากจะช่วยมันให้พ้นความตาย ให้อธิฐาน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
แล้วว่าคาถานี้ จะช่วยให้มันรอดพ้นความตาย ยิงเท่าไรไม่ถูกเลย

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ     :090:

60
ธรรมะ / " คัมภีร์ ราชนีติ "
« เมื่อ: 05 มิ.ย. 2551, 02:10:52 »
สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำ" คัมภีร์ ราชนีคิ " ? ?ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณที่ท่านโบราณาจารย์ได้รจนาไว้เมื่อ ปี ๒๔๗๕ มานำเสนอให้เป็นธรรมบรรณาการเพื่อประเทืองปัญญา..ครับ


? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? คัมภีร์ ราชนีติ

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?? ? ราชานีติ
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? รจิตา
อนนฺตญาณพฺราหฺมเณนเจว? คณามิสฺสกพฺราหฺมเณน? จ



? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ราชปเวทนํ

ภู ? มินฺโท? พลวา? ราชา       อตุลฺโยปิ? เตชวา

มิ ? ตภาณี? มิตโภชี         ? ? ?มิตกีฬี? มิสฺสุขี

? ลํ? นิสฺสาย? ธมฺมสฺส       สาสนสฺส? จิรฏฐิตุง

? วตี? หีนธมฺมํ? โส         ? ทยฺยรฏฺฐสฺส? วุฑฺฒิยา

? รตี? สหตี? ธีโร         ? ? ?ทยฺยิกานํ? สมคฺคิยา

ตุ ? มูลํ? โมหตมํ? หนฺตฺวา? ? รตึ? จาโถ? กทาจิ? โข

? วณํ? โลณตํ? โหนฺตํ? ? ? ? สาธุง? รกฺขติ? อตฺตโน

? ทา? โหติ? ครุง? ธูรํ   ? ? ?สุสาเธติ? ตหึ? ตหํ

เต ? เต? โปราณเก? ธมฺเม? ? ?นปฺปหาย? ปสาสติ

? ยตํ? สพฺพทา? ฐาเน   ? ? ?ทยฺยานํ? นนฺทิวฑฺฒโน

?
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?? ? ?? ? ?*********? ?ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ? ?*********
 
***? สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้? ? มีพระกำลัง ? ?มีพระเดชาหาผู้เทียมมิได้, ? ทรงพูดแต่พอดี,? เสวยแต่พอดี, ? ทรงเล่นแต่พอดี, ? เสวยสุขในราชสมบัติก็พอดี,? ทรงอาศัยกำลแห่งพระธรรมเป็นอำนาจเพื่อความมั่นคงแห่งพระศาสนา, ? และทรงละเว้นธรรมเนียมที่ไม่ดี? เพื่อความเจริญแห่งแว่นแคว้นประเทศไทย,? และทรงละเว้นธรรมเนียมที่ไม่ดี? เพื่อความเจริญแห่งแว่นแคว้นประเทศไทย,? ทรงเป็นนักปราชญ์เต็มภูมิธรรม ? ทรงอดกลั้นความยินดียินร้ายได้ ? ตัดความมืดแก่งความงมงายที่พึงกลัวให้หายได้ในกาลบางครั้ง เพื่อความสามัคคีแห่งคนไทยทั้งหลาย? ทรงรักษาความดีของพระองค์ไว้ดุจเกลือรักษาความเค็มที่มีอยู่ตามธรรมชาติ,? คราวใดมีพระธุระหนัก? ก็ทรงทำให้สำเร็จด้วยดีทันกาลในคราวนั้นสมสมัยในที่นั้น ๆ? มิได้ทรงละโบราณราชประเพณี? ประสาสน์ราชกิจ,? จึงทรงชนะในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ? พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้เป็นที่เจริญความยินดีแห่งคนไทยทั้งหลายทั่วถ้วน.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

61
ธรรมะ / พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 05 มิ.ย. 2551, 01:05:41 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๖. ปาสาทิกสูตร ? พระองค์ประทับที่ประสาทในสวนมะม่วงของเจ้าศากยะผู้ชำนาญธนู  ในแคว้นสักกะ? ทรงแสดงธรรมวินัยนี้ว่า  น่าเลื่อมใส  เป็นเหตุให้ตั้งอยู่ได้นาน  ทรงแสดงแก่จุนทะสมณุทเทส ( สามเณร )? ปรารภนิครนถนาฏบุตรตาย  สาวกแตกกัน   เมื่อทรงแสดงอยู่นั้น  พระอุปวาณะผู้นั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องปฤษฎางค์กราบทูลว่า? น่าเลื่อมใสจริงธรรมปริยายนี้  จึงตรัสให้เรียกพระสูตรว่า ? ปาสาทิกสูตร?  สูตรน่าเลื่อมใส.

๗. ลักขณสูตร ? พระองค์ประทับที่พระเชตะวัน  ทรงแสดงมหาปุริสลักษณะ ๓๒  พร้อมทั้งบุพกรรมที่จะให้ได้ลักษณะนั้น ๆ และตรัสว่าผู้มีลักษณะอย่างนี้  ย่อมมีคติเป็น ๒ คือ ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ถ้าออกบวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะในโลก

๘. สิงคาลกสูตร? พระองค์ประทับที่พระเวฬุวัน  เมืองราชคฤห์  ทรงปรารภชายหนุ่มชื่อสิงคาลกะ  ผู้กำลังไหว้ทิศตามคำสั่งของบิดาทุก ๆ วัน   พระองค์ทรงแสดงทิศทั้ง ๖ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล  และธรรมกิเลสเครื่องเศร้าหมองของกรรม  และอบายมุขทางฉิบหายแห่งโภคทรัพย์เป็นต้น?( ดูเนื้อความเพิ่มเติมในหนังสือนวโกวาทตอนคิหิปฏิบัติ).

๙. อาฏานาฏิยสูตร? พระองค์ประทับที่ภูเขาคิชฌกูฏ  แขวงเมืองราชคฤห์  ทรงปรารภพวกยักษ์ที่มาเฝ้าพระองค์  ท้าวเวสสวัณกราบทูลว่า  ยักษ์บางพวกไม่ชอบพระองค์  เพราะทรงสั่งสอนให้รักษาศีล ๕  พวกเขารักษาไม่ได้  จึงจะเบียดเบียนพุทธบริษัท ขอให้พระองค์ทรงถืออาการอารักขาชื่ออาฏานาฏิยะ  เพื่อป้องกันยักษ์เหล่านั้น  แล้วท้าวเวสสวัณก็กล่าวอาฏานาฏิยะที่เรียกว่าภาณยักษ์ถวาย  ภายหลังตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง.

๑๐. สังคีติสูตร ? พระองค์ประทับที่ป่ามะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร  เมืองปาวา พระสารีบุตรปรารภนิครนถนาฏบุตรตายสาวกแตกกัน? จึงกล่าวสังคีติร้อยกรองพระธรรมเป็นหมวด ๆ แก่พวกภิกษุ  เช่นหมวด ๑ เป็นพวกหนึ่ง   เป็นต้น.

๑๑. ทสุตตรสูตร ? พระองค์ประทับที่ริมสระคัคครา  เมืองจัมปา   พระสารีบุตรแสดงธรรมเป็นหมวด ๆ  จนถึงหมวด ๑๐ เป็นอย่างยิ่ง  เหมือนอย่างสังคีติสูตร

***? ?เนื้อความย่อในทีฆนิกาย ๓ เล่ม? ซึ่งมีพระสูตร? ๓๔? สูตร? ?***?

***? ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ ? ? :090:

62
ธรรมะ / " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 05 มิ.ย. 2551, 12:40:56 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลินการเห็น ฯลฯ ผู้ใดยังเพลิดเพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเพลิดเพลินทุกข์  ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นยังไม่พ้นทุกข์

***? ?ที่มาจาก...( สัง . สฬา . อภินันทสูตร ๑๘ / ๑๒ )

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? ? :090:

63
ธรรมะ / " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 05 มิ.ย. 2551, 09:07:05 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***? ?ดูกรมาร.....ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์......ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

***? ?ที่มาจาก...( สัง . สคาถ . วชิราสูตร ๑๕ / ๑๙๐ )

*** ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ?? ?:090:

64
บทความ บทกวี / " ชวนเตรียมพร้อม "
« เมื่อ: 05 มิ.ย. 2551, 08:57:46 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ

               ****? ?อุทานธรรม? ?****

***? ถึงกายแพ้แต่ใจ                 เราไม่แพ้

ใจไม่แก่เจ็บตาย                       ตามกายหนา

กายนี้มันจะเน่า                        เราก็ลา

ไปสวรรค์ชั้นฟ้า                      นิพพานเอย


@-----? ?   ?โดยท่านธัมมวิตักโก ภิกขุ    ? ? ? ------@

***? ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? สวัสดีครับ? พิศร? ?ครับ? ? ?:090:

65
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ

***    บางคนคงเกิดขึ้น                ในครรภ์

คนบาปไปนิรยัน                        หมกไหม้

ใจบุญย่อมไปสวรรค์                   เสวยสุข

ที่หมดอาสวะได้                        ท่านนั้นนิพพาน


***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ  สวัสดีครับ  พิศร   ครับ    :090:

66
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 02 มิ.ย. 2551, 01:54:45 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...


                                เล่มที่ ๑๑ (ปาฏิกวรรค)
 
   ในเล่มนี้ชื่อปาฏิกวรรค  เพราะมีปาฏิกสูตรเป็นสูตรต้น  มีอยู่ ๑๑ สูตร  คือ

๑   ปาฏิกสูตร.

๒.  อุทุมพริกสูตร.

๓.  จักกวัตติสูตร.

๔.  อัคคัญญสูตร.

๕.  สัมปสาทนียสูตร.

๖.  ปาสาทิกสูตร.

๗.  ลักขณสูตร.

๘.  สิงคาลกสูตร.

๙.  อาฏานาฏิยสูตร.

๑๐. สังคีติสูตร.

๑๑. ทสุตตรสูตร.

๑. ปาฏิกสูตร
  พระองค์ประทับที่อนุปิยนิคม  แคว้นมัลละ ทรงแสดงธรรมปรารภอเจลกะชื่อปาฏิกะเป็นต้น   ในพระสูตรนี้แสดงว่า อุเทนเจดีย์ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเมืองไพสาลี  โคตรมกเจดีย์อยู่ทิศใต้  สัตตัมพเจดีย์อยู่ทิศตะวันตก   พหุปุตตกเจดีย์อยู่ทิศเหนือ   ตอนท้ายทรงแสดงสุภโมกข์แก่ภัคควปริพพาชก.

๒. อุทุมพริกสูตร    พระองค์ประทับที่เขาคิชฌกูฏเมืองราชคฤห์  เสด็จไปที่อุทุมพริการามของปริพพาชก   พวกปริพพาชกทูลถามถึงธรรมะในพระพุทธศาสนา  แต่พระองค์ตรัสห้ามเสียว่า  พวกท่านมีทิฏฐิต่างกันเข้าใจยาก  พวกท่านจงถามลัทธิของตนเถิด   พวกนั้นก็ดีใจแล้วถามปัญหาในลัทธิของตน  พระองค์ทรงแก้ได้ และตรัสว่าเป็นเครื่องเศร้าหมอง  แล้วตรัสตบะในพระธรรวินัยว่าไม่เศร้าหมอง.

๓. จักกวัตติสูตร   พระองค์ประทับที่มาตุลนคร  แคว้นมคธ  ทรงแสดงแก่พวกภิกษุให้มีตนเป็นที่พึ่ง  มีธรรมเป็นที่พึ่ง  อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง  บุญย่อมเจริญ   แล้วทรงเล่าเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ  และสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ.

๔. อัคคัญญสูตร  พระองค์ประทับที่ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม   ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองสาวัตถี  ทรงแสดงแก่พวกพราหมณ์ที่ถือว่าพราหมณ์ประเสริฐกว่าวรรณะอื่น  ทรงแสดงว่าจะเป็นวรรณะใดก็ตาม  เมื่อทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว   และเมื่อถึงพระอรหัตตผลแล้ว  ย่อมเป็นผู้ประเสริฐที่สุด.

๕. สัมปสาทนียสูตร  พระองค์ประทับที่ปาวาริกัมพวัน  ใกล้เมืองนาลันทา ทรงปรารภพระสารีบุตรผู้ซึ่งกราบทูลว่ามีความเลื่อมในในพระองค์อย่างที่สุด ไม่มีใครเปรียบปาน   แล้วตรัสถามว่า  ก็พระพุทธเจ้าในอดีตในอนาคตพระอค์ก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน  สารีบุตไม่เลื่อมใสหรือ ?  แต่พระสารีบุตรกราบทูลว่า สำหรับพระองแล้ว  ย่อมนำความเลื่อมใสให้เกิดครบในอายตนะภายในทั้ง ๖   คือตาได้เห็นพระรูปพระโฉมเป็นต้น.

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

67
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 02 มิ.ย. 2551, 01:25:35 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***     ดูกรภิกษุทั้งหลาย นามรูป ( ขันธ์ทั้งหลาย ) ที่โลกพร้อมเทวโลก มารโล พรหมโลก ฯ เล็งเห็นว่า นามรูปนี้เป็นของจริง แต่พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นามรูปนั่นเป็นของเท็จ นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑

***   ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกฯ เล็งเห็นว่านิพพานนี้เป็นของเท็จ แต่พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นิพพานนั้นเป็นของจริง นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๒


 ***    ทึมาจาก...( ขุ . สุตต . ทวยตานุปัสสนาสูตร ๒๕ / ๔๒๘)


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ    :090:

68
ธรรมะ / พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 29 พ.ค. 2551, 08:48:45 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๕. ชนวสภสูตร ? พระองค์ประทับที่บ้านใกล้บึงนาทิกะ   ทรงแสดงเรื่องคติของสัตว์ว่าเป็นไปต่าง ๆ กัน พระองค์ทรงพิจารณาด้วยทิพพโสต   ทรงพบพระเจ้าพิมพิสาร  ซึ่งไปเกิดเป็นชนวสภยักษ์  สหายของท้าวเวสสวัณ   ท้าวเธอได้กราบทูลพระองค์ว่า  จุติจากนั้นแล้วจะมาเกิดเป็นพระราชาในเมืองมนุษย์.
   
๖. มหาโควินทสูตร ? พระองค์ประทับที่ภูเขาคิชฌกูฏ  ทรงแสดงถึงเรื่องปัญจสิขเทพบุตรมาเฝ้าพระองค์ที่ภูเขาคิชฌกูฏ   กราบทูลเรื่องมหาโควินทพราหมณ์กับเจ้าชายเรณูว่า  มีความประพฤติอย่างนั้น ๆ .

๗. มหาสมัยสูตร  พระองค์ประทับที่มหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์   ทรงแสดงถึงเรื่องพวกยักษ์และเทวดามาประชุมกันที่ป่ามหาวัน  เมืองกบิลพัสดุ์.

๘. สักกปัญหสูตร? พระองค์ประทับที่อินทสากลคูหา  ภูเขาเวทียกะ  แสดงถึงเรื่องท้าวสักกเทวราชลงไปเฝ้า  ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองราชคฤห์  แล้วทูลถามปัญหา   พระองค์ทรงพยากรณ์  แล้วท้าวสักกเทวราชก็กล่าว  นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทธสฺส ฯ ขึ้น  ๓  ครั้ง.

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร ? พระองค์ทรงประทับที่นิคมกัมมาสธัมมะแคว้นกุรุ  พระพุทธองค์ทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ อย่างพิสดาร.....( พุทธศาสนิกทุกคนต้องรู้สูตรนี้และต้องปฏิบัติตามสูตรนี้เท่านั้น).

๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร? พระกุมารกัสสปจาริกไปในเสตัพยนครแคว้นโกศล   พระกุมารกัสสปแก้ปัญหาทรมานเจ้าปายาสิผู้มิจฉาทิฏฐิด้วยอุปมาอุปไมยต่าง ๆ  และเจ้าปายาสิก็ยังทำบุญให้ทานโดยกิริยาที่ไม่เคารพ  ละโลกไปเกิดเป็นเทวดามีวิมานอันว่าง  ส่วนอุตตรมาณพ ได้ฟังจากเจ้าปายาสิ  ทำบุญให้ทานด้วยความเคารพไปเกิดเป็นเทวดา  มีวิมานอันเต็มไปด้วยเครื่องบริโภคอันเป็นทิพย์   เรื่องนี้พระควัมปติได้พบ  และนำมาเล่าแก่มนุษย์.   

***? ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? ? :090:

69
ธรรมะ / " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 29 พ.ค. 2551, 07:32:11 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***? ?จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป ( ขันธ์ทั้งหลาย ) เพราะความเลื่อมไปจากปัญญา โลกพร้อมด้วยเทวโลก ย่อมสำคัญกว่านามรูปนี้เป็นของจริง

***? ? ที่มาจาก...( ขุ . อิติ . ปัญญาสูตร ๒๕ / ๒๒๘ )


***? ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? :090:

70
สวัสดีครับ
 
วันนี้มาต่อกันนะครับ


***      เตรียมพร้อมเพื่อจากบ้าน      ฉันใด
 
ธาตุดับจงเตรียมใจ                      เยี่ยงนั้น 

เตรียมสู้ยิ่งขึ้นไป                         ถึงปล่อย  วางนา

ซึ่งโลกทุกข์ประเภทนั้น                 เช่นนั้นพระองค์



***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ  สวัสดีครับ  พิศร   ครับ       :090:

71
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 21 พ.ค. 2551, 07:47:29 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...


                                         เล่มที่ ๑๐ (มหาวรรค)

เนื้อความย่อ ๆ ในเล่ม ๑๐ นี้ ชื่อมหาวรรค  เพราะมีพระสูตรที่มีมหาขึ้นหน้าชื่ออยู่หลายสูตร  ทั้งหมดมี ๑๐ สูตร  คือ


๐๑.  มหาปทานสูตร.

๐๒.  มหานิทานสูตร.

๐๓.  มหาปรินิพพานสูตร.

๐๔.  มหาสุทัสสนสูตร.

๐๕.  ชนวสภสูตร.

๐๖.  มหาโควินทสูตร.

๐๗.  มหาสมัยสูตร.

๐๘. สักกปัญหสูตร.

๐๙. มหาสติปัฏฐานสูตร.

๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร.

๑. มหาปทานสูตร
  พระองค์ประทับที่กเรริกุฎี   ( กเรริเป็นชื่อของไม้กุ่ม  เป็นซ้าอยู่หน้ากุฎีนั้น  ในพระเชตะวันมีกุฎีใหญ่ ๆ อยู่ ๔ หลัง  คือ กเรริกุฎี ๑ โกสัมพีกุฎี ๑  พระคันธกุฎี ๑   สลฬฆระกุฎี๑   ค่าสร้างหลังละแสน  สลฬฆระพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสร้าง  อีกสามหลังอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้าง    กเรริกุฎีสวยงามดังเทพวิมาน...ที่มาจาก...อัฏฐกถาสุมังคลวิลาสินี. ๒ / ๑.ในพระเชตวันทรงแสดงเรื่องพระพุทธเจ้าในอดีตว่ามีพระนามอย่างไรเป็นต้น  และกำหนดจาตุรงคสันนิบาติแห่งพระสาวก  จนถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ที่มีคำสอนปรากฏอยู่ในบัดนี้.

๒. มหานิทานสูตรพระองค์ประทับที่นิคมกัมมาสธัมมะแคว้นกุรุ ทรงแสดงปฏิจจาสมุปบาทและเหตุแห่งธรรมทั้งหลาย.

๓. มหาปรินิพพานสูตร   แสดงเรื่องปรินิพพานของพระองค์ มีเนื้อความชัดเจนอยู่ในหนังสือพระพุทธประวัติเล่ม ๓ ทั้งหมดแล้ว.         

๔.  มหาสุทัสสนสูตร   พระองค์ประทับที่ไม้สาละ  เมืองกุสินารา  ทรงแสดงแก่พระอานนท์  เมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า  เมืองกุสินาราเคยเป็นนครใหญ่  เป็นที่อยู่ของพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า  มหาสุทัสสนะมาแล้ว   และทรงแสดงเรื่องพระเจ้ามหาสุทัสสนะนั้นอย่างพิสดาร  ตอนจบตรัสคาถา   อนิจฺจา  วต  สงฺขารา ฯ.

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

72
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 21 พ.ค. 2551, 07:17:38 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***     ดูกรพราหมณ์ นิพพานก็ตั้งอยู่อย่างนั้นแหละ หนทางนิพพานก็ตั้งอยู่ เราผู้แนะนำก็ตั้งอยู่ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ สาวกทั้งหลายของเรา เราก็ตักเตือนอย่างนี้ พร่ำสอนอย่างนี้ บางพวกบรรลุนิพพานอันมีความสำเร็จส่วนเดียว บางพวกก็ไม่บรรลุ ดูกรพราหมณ์ในเรื่องนี้เราจะทำอย่างไรได้ ดูกรพราหมณ์ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกทาง ใครถามทางแล้วก็บอกให้ บุคคลทั้งหลายปฏิบัติอยู่ด้วยตน พึงพ้นได้เอง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง

 ***   ที่มาจาก...( ขุ . จูฬ . โธตกมาณวกปัญหานิเทส  ๓๐ / ๑๐๕ )


***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

73
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 16 พ.ค. 2551, 12:13:08 »

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   ดูกรภิกษุทั้งหลาย   นามรูป ( ขันธ์ทั้งหลาย ) ที่โลกพร้อมเทวโลก มารโลก พรหมโลก ฯ เล็งเห็นว่า นามรูปนี้เป็นของจริง แต่พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นามรูปนั่นเป็นของเท็จ นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑

***    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นิพพาน ที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกฯ เล็งเห็นว่านิพพานนี้เป็นของเท็จ แต่พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นิพพานนั้นเป็นของจริง นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๒

***  ที่มาจาก...( ขุ . สุตต . ทวยตานุปัสสนาสูตร ๒๕ / ๔๒๘ )

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

74
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 13 พ.ค. 2551, 07:01:56 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๗. ชาลิยสูตร   พระองค์ประทับที่โฆสิตาราม  เมืองโกสัมพี   ทรงแสดงธรรมแก่ปริพพาชกชื่อ  มัณฑิยะกับชาลิยะ  มีเนื้อความคล้ายกับสามัญญผลสูตร.

๘. สีหนาทสูตร   พระองค์ประทับที่ป่าเนื้อ  ใกล้นครอุรุญญา  ทรงแสดงธรรมคล้ายเปล่งสีหนาทแก่อเจลกัสสป  จนอเจลกัสสปเลื่อใส ทูลขอบวช  ภายหลังสำเร็จพระอรหัต.

๙. โปฏฐปาทสูตร   พระองค์ประทับที่พระเชตะวัน  เมืองสาวัตถี  ทรงแสดงธรรมแก่โปฏฐปาทปริพพาชก  ที่มาทูลถามเรื่องโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง  และเรื่องอัตตา  อนัตตา   จนโปฏฐปาทปริพพาชกเลื่อมใสขอบวช.

๑๐. สุภสูตร   พระอานนทเถระแสดงเรื่องบรรพชาเรื่องศีล  เป็นต้น  แก่สุภมาณพที่เมืองสาวัตถี  เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว.

๑๑.  เกวัฏฏสูตร พระองค์ประทับที่ปาวาริกัมพวัน  ใกล้เมืองนาลันทา  ทรงแสดงเรื่องปาฏิหาริย์ ๔ แก่คฤหบดีบุตร  ชื่อเกวัฏฏะ.

๑๒. โลหิจจสูตร   พระองค์ประทับที่สาลวติกาแคล้นโกศล  ทรงปรารภโลหิจจพราหมณ์   ทรงแสดงถึงมิจฉาทิฏฐิ  และศาสดาที่ควรโจทท้วงว่ากล่าว  และศาสดาที่ไม่ควรโจทท้วงว่ากล่าว.

๑๓. เตวิชชสูตร  พระองค์ประทับที่บ้านพราหมณ์เชื่อมนสากตะ ทรงแสดงถึงทางให้ถึงพรหมโลกแก่วาเสฏฐภารทวาชมาณพ.

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

75
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 12 พ.ค. 2551, 04:30:22 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป ( ขันธ์ทั้งหลาย ) เพราะความเลื่อมไปจากปัญญา โลกพร้อมด้วยเทวโลก ย่อมสำคัญกว่านามรูปนี้เป็นของจริง

***   ที่มาจาก...( ขุ . อิติ . ปัญญาสูตร ๒๕ / ๒๒๘)


***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

76
สวัสดีครับ

ขอเสริมครับ...

   ...ตถาคตโพธิศรัทธา...แรกต้องรู้ทุกข์...สุดที่พ้นทุกข์...

มีทางเดียวเท่านั้น...ไม่มีทางอื่น....


***   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

77
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 08 พ.ค. 2551, 07:12:35 »

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๓. อัมพัฏฐสูตร อัมพัฏฐมาณพคนในบ้านของโปกขรสาติชำนาญในไตรเพท  ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากับนายของตน  แสดงอาการไม่นับถือ   ด่าว่าเจ้าศากยราชต่าง ๆ  แต่จำนนด้วยพระปฏิภาณของพระองค์ ๆ จึงทรงแสดงธรรมให้ฟัง   ภายหลังจึงอยากสอบสวนตำรา มหาปุริสลักขณะ ว่า  พระพุทธเจ้านั้นจะมีครบทั้ง ๓๒ หรือไม่  แต่ก็มองไม่เห็นอยู่บางอย่าง  เพราะเป็นอาการลี้ลับ   แต่พระองค์ทรงอธิษฐานให้ชนทั้ง ๒ นั้นเห็น  แล้วเลื่อมใสว่าเป็นพระพุทธเจ้าจริงเพราะมีลักษณะครบทั้ง ๓๒ อย่างบริบูรณ์ตามตำรา.

๔. โสณทัณฑสูตร   พระองค์ประทับที่สรุคัคครา  ใกล้เมืองจัมปา  ทรงถามถึงคุณสมบัติของพราหมณ์  กับโสณทัณฑพราหมณ์ผู้ครองเมืองจัมปาแคว้นอังคะว่า  ผู้จะเป็นราหมณ์จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติกี่อย่าง  โสณทัณฑพราหมณ์กราบทูลว่า  ต้องประกอบด้วยคุณ ๕ อย่าง   พระองค์ทรงถามว่า  ถ้า ๔ อย่าง ๓ อย่าง  ๒ อย่าง  หรืออย่างเดียวจะเป็นได้หรือไม่  โสณทัณฑ์กราบทูลว่า ๔ อย่างเป็นได้ ๓ อย่างเป็นได้ ๒ อย่างก็เป็นได้  แต่อย่างเดียวเป็นเป็นไม่ได้  คืออย่างน้อยต้องมีคุณ ๒ อย่าง  คือ  ศีลกับปัญญา  แล้วพระองค์ทรงแสดงลักษณะของศีลและปัญญา.

๕. กูฏทันตสูตร   พระองค์ประทับใกล้บ้านพราหมณ์  ขานุมัตตคาม  แขวงเมืองมคธ  ทรงปรารภกูฏทันตพราหมณ์   แสดงอาการบูชายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราชว่า  เป็นการบูชายัญแบบไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น  คือการบูชายัญโดยวิธีประพฤติธรรม.

๖. มหาลิสูตร พระองค์ประทับที่ศาลาแบบเรือนยอดในป่ามหาวัน ใกล้เมืองไพศาลี  ทรงแสดงเรื่องสมาธิ  ศีล  ฌาน   และแสดงว่าผู้ละสังโยชน์ได้อย่างไร  จึงเป็นโสดาบันเป็นต้น.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

78
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 08 พ.ค. 2551, 06:53:22 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   ดูกรพราหมณ์ นิพพานก็ตั้งอยู่อย่างนั้นแหละ หนทางนิพพานก็ตั้งอยู่ เราผู้แนะนำก็ตั้งอยู่ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ สาวกทั้งหลายของเรา เราก็ตักเตือนอย่างนี้ พร่ำสอนอย่างนี้ บางพวกบรรลุนิพพานอันมีความสำเร็จส่วนเดียว บางพวกก็ไม่บรรลุ ดูกรพราหมณ์ในเรื่องนี้เราจะทำอย่างไรได้ ดูกรพราหมณ์ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกทาง ใครถามทางแล้วก็บอกให้ บุคคลทั้งหลายปฏิบัติอยู่ด้วยตน พึงพ้นได้เอง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง

***  ที่มาจาก...( ม . อุป . คณกโมคคัลลานสูตร  ๑๔ / ๗๒ )

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ    :090:

79
สวัสดีครับ

วันนี้ขอความรู้เรื่องคาบคาถา และคาบลม ครับ จะมีวิธีการฝึกคาถาไปกับลมกันอย่างไรครับ

กรุณาตอบให้ทราบด้วยครับ..

***    ขอบคุณครับ..สวัสดีครับ...พิศร   ครับ    :090:

80
สวัสดีครับ

วันนี้มีเรื่อง " เมื่อตะกรุดนารายณ์แปลงรูปถูกแกะ "  ครับ

***   วันวานนี้ผมได้นำตะกรุดนารายณ์แปลงรูปไปเลี่ยมplastic ชนิด 3 ชั้น ขอบกลางเป็นplastic สีแดงลายทองดูสวยมากครับ..ดูเหมือนรูปกระเป๋าครับ ...และความอยากรู้ว่าภายในบรรจุอะไรไว้ภายใน...ผมจึงได้ฟังเรื่องเล่าจากเจ้าของร้านเลี่ยมพระเล่าให้ฟังเรื่องตะกรุดนี้...ที่เขาเคยพบมาครับ...

***    โดยเล่าให้ผมฟังครับว่าปลายปีที่แล้วมาได้มีเด็กวัยรุ่นอยากรู้เอามาให้เขาเลี่ยมกรอบplastic ให้...แต่ความอยากรู้ก็ขอยืมคีมจับที่ร้านเลี่ยมพระนั้นละครับจะแกะดูก่อนที่จะให้เลี่ยม...แต่...เจ้าขอร้านบอกว่าอยาแกะเลย...เขาไม่เชื่อและอยากรู้ว่าข้างในมีอะไรกันแน่...แต่ถ้าจะแกะด้วยตัวเอง...ก็กลัวจะเกิดชำรุด..จึงขอให้ช่างเลี่ยมพระช่วยแกะให้ดูสักทีว่ามีอะไรข้างในมีอะไร...เขาคิดว่าคงไม่เป็นอะไร..

***   ช่างเล่าต่อไปว่าตัวเขาเองก็รู้ว่าแกะแล้วจะเสียแต่ตามใจลูกค้า...แต่ใจจริงก็อยากรู้เหมือนกันเพราะได้แต่เป็นคนเลี่ยมและฟังผู้อื่นเล่ามาว่าห้ามแกะ...เพราะเคยแต่เลี่ยมและไม่เคยแกะ...เมื่อเจอเหตุการณ์อย่างนี้ก็เลยตอบตกลง...แต่ไม่รับผิดชอบถ้ามีการเสียหายเกิดขึ้นนะ...เด็กเขาบอกตกลง..แกะให้เขาให้ดูภายในหน่อย..คงไม่เป็นไร....เขาเล่าต่อไปอีกว่าพยายามแกะออกด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างดี..ว่างั้นเถอะ...

***   และในที่สุดก็แกะออกโดยใช้ผ้ารองคีมค่อยๆบิดไม่ให้ผิวปลอกลูกปืนตลอดจนหูบ่วงทั้ง2 อันไม่ให้ชำรุด...ผลปรากฏว่า...เมื่อแกะออกมีแต่ผงฝุ่นสีขาวเหลืออยู่ในปลอกลูกปืนขนาด .22 เท่านั้นไม่มีอะไรนอกจากนั้น....

***   ช่างเขาเล่าต่อว่า...แปลกจริงๆ..เวลาเมื่อยังไม่ได้แกะเวลาเขย่ามีเสียงดัง...เหมือนมีโลหะแผ่นทองแดงหรือวัตถุแข็งๆอยู่ภายใน...แต่เมื่อแกะแล้วปรากฏว่ามีแต่ผงฝุ่นขาวเหลืออยู่เท่านั้น...และในเวลาที่ทำการแกะก็มีผ้ารองอย่างดีกลัวว่าจะมีวัตถุกระเดนออกมา...ผู้แกะก็คิดอยู่ในใจว่าต้องมีวัตถุแข็งๆอยู่ภายในเช่นกัน....

***   เจ้าของตะกรุดก็บอว่าแปลกทั้งๆที่มีช่างเลียมพระรวมทั้งเจ้าของตะกรุดและผู้ที่มารอเลี่ยมอีก 2 คน...รวมเป็น 4 คน...แปลกใจไปตามๆกัน...เป็นไปได้ไง...วันนี้เจอของจริงแล้ว...

***   แล้วช่างก็จับปลอกลูกปืนยัดใส่เข้าหากันใหม่..แล้วเขย่าดูไม่มีเสียงดัง...เหมือนครั้งแรก...และถามเด็กว่าจะเลี่ยมหรือไม่...เจ้าของตะกรุดบอกว่ายังไม่ต้องเลี่ยมก็ได้ครับ...ช่างเลี่ยมพระเล่าต่อไปว่า...ดีนะที่ตกลงกันก่อนเลี่ยมไม่อย่างนั้นเสียค่าไม่รู้แน่..ช่างเล่าว่าประสบการณ์ของเด็กวัยรุ่นนี้ว่า...เพราะความอยากรู้และอยากพิสูจน์ด้วย.ตัวเองเรียนวิทยาศาสตร์มา...จึงต้องเสียค่าประสบการณ์ที่แพงครับ...

***  ผมถามว่าตอนนี้ราคาเช่าหาตะกรุดนารายณ์แปลงรูปของพ่อท่านนองราคาราคาอย่างไร...ช่างเลียมบอกว่าราคาสูงไปไกล...อยู่ที่หลักพันปลายๆ...ผมถามว่าทำไม่ราคาจึงสูง...เขาบอกประสบการณ์แรงครับ....จริงเท็จอยู่กับช่างเลี่ยมเล่านะครับ...ผมรับฟังได้ครับ....

***   ก่อนกลับ...ช่างถามผมว่ามีกี่อันผมบอกว่ามี 2 อัน...วันนี้ผมมาเลี่ยมอันนี้เป็นอันแรก...ช่างถามผมว่าถ้าคราวหน้ามาเลี่ยมอีก...ถ้าไม่เชื่อที่เล่าให้ฟัง...ก็มาให้เขาแกะพิสูจน์ก็ได้...แล้วอย่าลืมเอากล้องมาถ่ายรูปไว้ดูด้วยนะ...ถ้าไม่เชื่อที่เขาเล่า....???  ผมบอกขอบคุณช่างที่แนะนำครับ...

***   ถ้าท่านใดมีประสบการณ์เกียวการแกะตะกรุด..ช่วยเล่าเสริมด้วยครับ....หรือจะวิเคราะห์จากเรื่องที่ผมได้ฟังมากับหูตัวผมเองครับ...กรุณาช่วยแนะนำกันตามสมควร ครับ.

***   สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:   

81
สวัสดีครับ
 
วันนี้มาต่อกันนะครับ


***     กล้าตายอย่างออกสู้        สงคราม

เห็นทุกข์ที่คุกคาม                   บีบคั้น

ทุกข์จริงแต่รูปนาม                  ดอกทุกข์

จงอย่ายึดถือรั้น                       เร่งรู้ธรรมดา



***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ  สวัสดีครับ  พิศร   ครับ    :090:

82
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 02 พ.ค. 2551, 08:01:13 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

                                        เล่มที่ ๙ (สีลขันธวรรค)

   สีลขันธวรรคมี ๑๓ สูตรดังนี้ :--

๑.  พรหมชาลสูตร.

๒.  สามัญญผลสูตร.

๓.  อัมพัฏฐสูตร.

๔.  โสณทัณฑสูตร.

๕.  กูฏทันตสูตร.

๖.  มหาลิสูตร.

๗.  ชาลิยสูตร

๘.  มหาสีหนาทสูตร.

๙.  โปฏฐปาทสูตร.

๑๐. สุภสูตร.

๑๑. เกวัฏฏสูตร.

๑๒. โลหิจจสูตร.

๑๓.  เตวิชชสูตร.

๑. พรหมชาลสูตร  
ตอนต้นของเรื่องแสดงถึงสถานที่  บุคคล    คือเมื่อพระองค์ประทับอยู่ที่ตำหนักหลวง  ระหว่างเมืองราชคฤห์กับนาลันทาต่อกัน  ทรงปรารภสุปปิยะกับพรหมทัตตมาณพ   ผู้เป็นปริพพาชกนักบวชภายนอกพวกหนึ่งกล่าวคำแย้งกัน   อาจารย์สุปปิยะกล่าวติ  พรหมทัตต์กล่าวชมพระรัตนตรัย  พระองค์ตรัสถึงทิฏฐิต่าง ๆ ของสมณพราหมณ์ว่ามีถึง ๖๒ อย่าง  ทิฏฐิเหล่านี้แม้แต่พรหมก็ยังติดข้องอยู่  จึงได้ชื่อว่าพรหมชาละ   แปลว่าข่ายเป็นเครื่องดักพรหม  อีกอย่างหนึ่ง  แปลว่าข่ายอันประเสริฐ   คือทรงแสดงธรรมครอบทุกลัทธิ  ในครั้งนั้น  และตรัสถึงจุลลศีล   มัชฌิมศีล   มหาศีล  เนื้อความพิสดารมักได้ฟังกันในเวลาฟังพระเทศน์แจงแล้วโดยมาก.

๒. สามัญญผลสูตร   ทรงปรารภพระเจ้าอชาตศัตรู  ตรัสถึงผลของความเป็นสมณะ  แก่ท้าวเธอที่สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์จนพระเจ้าอชาติศัตรูทรงเลื่อมใส   ทรงถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะและทรงขอโทษในการที่ปลงพระชนม์พระราชบิดา   พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าพระองค์ทรงรับการขมานั้น และตรัสว่าผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนเสีย  ถึงความสำรวมจะระวังต่อไป  นั่นเป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะดังนี้   และพระองค์ตรัสต่อกับพระอานนท์  เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จกลับแล้วว่า  พระเจ้าอชาตศัตรูถ้าไม่ปลงพระชนม์พระราชบิดาแล้วไซร้ ก็จะได้ธรรมจักษุคือเป็นพระโสดาบัน   เพราะทรงฟังธรรมดังนี้.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

83
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 02 พ.ค. 2551, 07:00:16 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***  ? ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคตมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยทั้งไม่ผุดไม่เกิด   ดังนี้  ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น  เป็นไฉน  ดูกรสีหะ ผู้ใดแลละการนอนในครรภ์ การเกิดภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไป เป็นธรรมดา  เรากล่าวผู้นั้นว่าผู้ไม่ผุดไม่เกิด ฯ ?

***    ที่มาจาก...( อัง . อัฏฐก  สีหสูตร  ๒๓/๑๖๓)

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

84
สวัสดีครับ

วันนี้ขอความรู้ถึงเรื่อง "การปลุกเสกพระเครื่อง" เน้นการนำไปใช้ได้จริง ครับ

***  ขอถามดังนี้ครับ    ***

01.ตัวบุคคลที่ปลุกเสกต้องมีลักษณะและคุณสมบัติอย่างไรครับ...

02.พระคาถาที่ใช้เสก คือคาถาอะไร ขอสัก 1 ตัวอย่างครับ...

03.ลำดับสมาธิที่ใช้นั้นใช้ขั้นไหนกันครับ..ในการปลุกเสกครับ...

04.เวลาในการเสกมากน้อยต่างกันอย่างไร ครับ...

05.การเลือกวันเวลาปลุกเสกสำคัญอย่างไร ครับ...

06.จำนวนบุคคลผู้เข้าร่วมปลุกเสกร่วม..มากน้อยมีผลอย่างไร ครับ...

07.ขอให้แนะนำขั้นตอนที่ถูกต้องจริงๆนะครับ...และสามารถนำไปใช้งานได้จริงๆ ครับ.



***    ขอขอบพระคุณครับ  สวัสดีครับ   พิศร   ครับ     :090:

85
สวัสดีครับ

วันนี้ขอความรู้เรื่องเหรียญ..ลป.เอี่ยมวัดหนัง...ครับผมได้มา 1 เหรียญ ครับ..
เป็นเหรียญเสมาเงิน ด้านหน้ารูป ลป. นั่งสมาธิ...ด้านบนมียันต์ ข้างละตัว ครับ
ด้านขอบเหรียญด้านซ้ายเขียนว่า ปีมะโรง จัตวาศก..ตามด้วยจุดกลม 2 จุด
ด้านขอบเหรียญด้านขวาก่อนเขียนตัวอักษร มีจุดกลม 2 จุดแล้วตามด้วยเขียนว่า วัน ๖ เดือน ๑๑ ตามด้วยจุดกลม 2 จุด
ด้านหลังด้านขอบทางซ้ายลงมามีจุด 4 จุดก่อนมีคำว่า พ.ศ. แล้วตามด้วยจุดอีก 6 จุด
มาทางขอบด้านขวา ขึ้นด้วยจุดอีก 3 จุด แล้วตัวเลขไทยว่า ๒๔๖๗ ตามด้วยจุดอีก 3 จุด ครับ....
ด้านหลังตรงกลางมียันต์.ไม่รู้ว่ายัต์อะไรครับ...บอกไม่ถูก..เป็นยันต์ 4 ลักษณะเหลี่ยม มีตัวอักษรภายในและที่มุมของ4เหลี่ยมมีวงกลมอีกด้านละวงมีอักษรภายใน ตรงกลางยันต์ด้านนอกมียันต์อีกตัวมีหางยาวชี้ขึ้นด้านบน  ครับ
ความหนาของเหรียญประมาณ0.8 ถึ. 1.0 มม.บางมากครับ...
ขอบเหรียญเป็นริ้วๆหยักละเอียดรอบเหรียญเลยครับ..แปลกครับ...อักษรทุตัวลายกนกต่างชัดเจมากครับ...

***    ขอถามครับว่า    ***

01.เหรียญรุ่นนี้ชื่อว่าเหรียญว่าอะไรครับ

02.ยันต์ที่ใช้เป็นยันต์อะไรครับ..ดีทางไหนครับ...

03.ท่านใดเคยใช้..ช่วยกรุณาเล่าประสบการณ์ให้ฟังบ้างครับ...

04.คาถาใช้กำกับเหรียญมีอย่างไรครับ...

05.ราคาเช่าหากันประมาณเท่ากันครับ.


***  ขอความกรุณาตอบกันตามสมควรครับ


***   สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

86
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 30 เม.ย. 2551, 03:40:03 »

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***    นิพพาน คือ ความดับทุกข์  ได้แก่  ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืน อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความออกจากตัณหา ซึ่งเป็นเครื่องร้อยรัด   เรียกว่า สัจจะอย่างเดียว

***    ที่มาจาก...( ขุ . มหา . จูฬวิยูหสุตตนิเทส  ๔๗ / ๔๘๔)

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

87
สวัสดีครับ


วันนี้ขอถามการเลือกพระห้อยคอสักองค์ครับ...เป็นพระเก่าๆ


ถ้าจะเลือกจากปี 2400...กว่าๆมาจนถึง ปี 2499... ควรเลือกพระอะไรกันดีครับ


...จะเป็นพระ...หรือเป็นเหรียญ...ก็ได้ครับ...


...กรุณา...ตอบเป็นวิทยาทานกันตามสมควร..นะครับ...


***   ขอขอบพระคุณครับ...พิศรครับ...สวัสดีครับ     :090:

88
สวัสดีครับ


ขอทราบ...ตัวคาถา เขียนอย่างไรบ้างครับ....


***   ขอขอบคุณครับ..สวัสดีครับ   พิศร   ครับ    :090:

89
สวัสดีครับ

วันนี้ขอความรู้เรื่อง " คนรุ่นใหม่เลือกใช้พระอะไรดี " มาถามครับ

***   ถ้ากระผมจะเลือกพระห้อยคอสัก1 องค์ (เท่านั้น)ในฐานะคนรุ่นใหม่...ควรเลืออย่างไร ชนิดครบเครื่องพุทธคุณครับ

***    จึงขอตั้งหัวข้อถามไว้ดังนี้ครับ   ***


01.เลือกตามวันเดือนปีเกิด..หรือ..

02.เลือกตามความพอใจเนื้ออะไรก็ได้  หรือ...

03.เลือกพระประเทศ..พระภาค..พระจังหวัด..พระอำเภอ...พระตำบล...ฯ  หรือ...

04.เลือกอภินิหาริย์..ประสบการณ์...หรือคุณอะไรของพระสงฆ์..เทพผู้ร้าง..หรือ...

05.เลือกไปตามกระแสนินม...ตามสื่อต่างๆ..หรือ..ได้ยินได้ฟังมา หรือ..

06.ต้องเช่าหาหรือได้มาจากของเก่า(มรดกตกทอด)หรือ..บุญบันดาล  หรือ...

07.เลือกไปตามดวงที่หมอดูบอก...หรือพระที่หมอดูกับพระสงฆ์ร่วมกันสร้างไว้   หรือ

08.เลือกแบบครบเครื่องพุทธคุณ...ครบเครื่องเทพ..พรหมม...ฤาษี...หรือ..

09.เลือกการไม่เช่าแต่ได้แบบไปร่วมทำบุญแล้วได้มา...หรือ..

10.ถ้าเป็นไปได้ท่านผู้รู้ช่วยกรุณาแนะนำ..และประมาณราคาให้ทราบโดยประมาณและตามมคววรครับ.

***   ขอความกรุณาตอบเป็นวิทยาทานกันตามสมคววรครับ


***   ขอขอบคุณครับ...สวัสดีครับ  พิศร   ครับ     :090:

90
สวัสดีครับ

***  วันนี้ขอความรู้การสร้างหลวงปู่ทวดของกรมหลวงชุมพรที่วัดโพธิ์ท่าเตียน..ครับ
ทราบมาเล็กน้อยว่าท่านสร้างเก็บไว้บนหลังคาโบสถ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙....อย่างไรครับ..ที่แน่นอน..เกิดไม่ทันครับ...
ท่านผู้รู้...ช่วยไขข้อข้องใจ...ด้วยครับ...

***   ขอขอบพระคุณครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ     :090:

91
บทความ บทกวี / " ชวนเตรียมพร้อม "
« เมื่อ: 25 เม.ย. 2551, 03:57:01 »
สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำบทกลอนชื่อว่า " ชวนเตรียมพร้อม "

ของท่านเจ้าคุณธรรมวโรดม(อุตตฺโม) วัดราชาธิวาส มาฝากกันครับ


***   ความตายไม่ยกเว้น           ใครใคร

ตายแน่อย่าสงสัย                    อย่าเศร้า

อย่าห่วงสิ่งใดใด                    ทั้งหมด

ประคองจิตอย่าเร่ารัอน            มุ่งให้ตายดี



*** วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ  สวัสดีครับ  พิศร   ครับ      :090:

92
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 25 เม.ย. 2551, 03:31:14 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๑. ทีฆนิกาย

***   หนังสือเล่ม ๙ , ๑๐ , ๑๑ รวม ๓ เล่ม  รวมพระสูตรที่มีเนื้อความยืดยาว  เรียกว่า ทีฆนิกาย   แบ่งออกเป็นหมวดเรียกว่า  วรรค ๆ ละเล่ม   

เล่ม   ๙ ชื่อสีลขันธวรรค

เล่ม ๑๐ ชื่อว่ามหาวรรค 

เล่ม ๑๑ ชื่อว่าปาฏิกวรรค


***    และคำว่าวรรคนั้นมักจะถือเอาชื่อพระสูตรต้นวรรคหรือบุคคลที่เป็นเหตุให้ตรัสพระสูตรนั้น  หรือเนื้อความในพระสูตรต้น  คือพรหมชาลสูตร  อันแสดงเรื่องกองแห่งศีล  เป็นชื่อวรรค 

***   ในเล่ม ๙ อันมีชื่อสีลขันธวรรคนี้มีอยู่ ๑๓ สูตร  บรรจะเนื้อความบางสูตรถึง ๑๐๐ หน้าก็มี
ในบรรดาพระสูตรที่เป็นพุทธภาษิต พรหมชาลสูตรยาวกว่าสูตรอื่น ๆ  ท่านจึงสังคายนาไว้เป็นสูตรต้น
ส่วนสูตรอื่นที่ยาวกว่าพรหมชาลสูตรก็มี  เช่นสังคีติสูตร   แต่เป็นภาษิตของพระสารีบุตร  ท่านจึงไม่จัดขึ้นต้นวรรค

ใน ๑๓ สูตรนั้น  ท่านลำดับไว้ดังนี้.

 ***  วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ       :090:

93
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 25 เม.ย. 2551, 03:13:49 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ว่า ? ถูกละ ถูกละ สารีบุตร  ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพระพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่าจักเจริญอริยมรรค  ประกอบด้วยองค์ 8  จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก  อาศัยวิราคะ  อาศัยนิโรธ น้อมไปในการหลุดพ้น   ด้วยว่าย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ อุปายาส   เพราะเราผู้เป็นกัลยาณมิตร  ดูกรสารีบุตร ข้อว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล ฯ ?

***    ที่มาจาก...( สัง . มหา . กัลยาณมิตรสูตร  ๑๙/ ๙ / ๓)

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

94
สวัสดีครับ

***   ขอความรู้เรื่องคาถาธรณีสารน้อยครับ
ที่มาของคาถา...และการใช้งาน...ประโยชน์ทางไหนครับ

***  ตอบกันตามสมควรครับ

***   ขอขอบพระคุณครับ...สวัสดีครับ   พิศร  ครับ    :090:

95
สวัสดีครับ

***   วันนี้มีปัญหาเพื่อนผู้หญิงฝากถามมาครับ เรื่อง " การเลี้ยงกุมาร"   ครับ...ผมไม่มีความรู้ด้านนี้...ช่วยทีครับ...

***   ขอถามดังนี้ ครับ    ***

01.ที่ไปที่มาของกุมาทอง...คืออะไรครับ..

02.มีข้อดีไม่ดีอย่างไร...มีอันตรายแค่ไหนครับ...

03.เลี้ยงแล้วให้คุณให้โทษอย่างไร...

04.เครื่องลางชนิดนี้หาได้ที่ไหน...ของอาจารย์ไหนดีครับ.....

05.ราคาเช่าหาอย่างไรกันบ้าง...

06.ใช้ให้เฝ้าบ้านได้หรือไม่...ใช้ให้ทำอะไรได้บ้าง...

07.คนไม่มีลูกจะเลี้ยงแทนลูกได้หรือไม่...

08.ให้กินอาหารอะไรกันละครับ...

09.ถ้าคิดจะเลี้ยงแล้วเลิกเลี้ยงจะทำอย่างไร...

10.ถ้าคนเลี้ยงกุมาร 2 คนมาพบกัน..กุมารทะเลาะกันบ้างไหมครับ...สงสัย.

11.ท่านใดมีประสบการณ์..กรุณาเล่าให้ฟังด้วยครับ..

12.มีการแสดงตัวให้เห็นได้หรือไม่  ครับ

13.ต้องมีคาถากำกับในการเลี้ยงหรือไม่หรือไม่...

14.กุมารกลัวหรือแพ้อะไรบ้าง...โดยเฉพาะผู้มีวิชาสามรถเรียกไปใช้ได้หรือไม่อย่างไรครับ.

*** ...ถามแทนเท่าที่นึกได้ครับ... ***

ขอความกรุณาตอบเป็นวิทยาทาน...ตามสมควรครับ  

***   ขอขอบคุณครับ สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

96
สวัสดีครับ

***   วันนี้ขอความรู้เรื่องมุมมองพระโชคลาภ...ขอฟังเรื่องประสบการณ์บ้างครับ..ท่านใดใช้พระเครื่องหรือวัตถุมงคลทางโชคลาภใดบ้าง...เช่นมีการเสี่ยงโชคเป็นต้นกันบ้างครับ...และสัมพันธ์กับบุคคลผู้ใช้วัตถุมงคลอย่างไรบ้างครับ...ขอความกรุณาเล่าสู่กันฟังบ้างครับ...

***   ขอบคุณครับ...สวัสดีครับ พิศร    ครับ     :090:

97
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ตอบ: " มีดหมอ "
« เมื่อ: 24 เม.ย. 2551, 06:54:52 »
สวัสดีครับ

ขอขอบพระคุณสมาชิกทุกท่านที่กรุณาช่วยกันตอบให้ทราบเป็นวิทยาทานครับ..

***   วันนี้ขอความรู้เพิ่มเติมครับ...***

...ขอฟังประสบการณ์การได้ใช้มีดหมอบ้างครับ...... .ท่านใดมีประสบการณ์ในการใช้มีหมอขอความกรุณาเล่าให้ฟังกันบ้างซิครับ..อาทิเช่นไล่ภูตผีปีศาจ..เป็นต้นครับ......ฝากถามผู้หญิงพกพา..และใช้อย่างชายมีไหมครับ...


***   ขอขอบพระคุณครับ...พิศร   ครับ   :090:

98
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / " มีดหมอ "
« เมื่อ: 23 เม.ย. 2551, 04:20:18 »
สวัสดีครับ

วันนี้ขอความรู้เรื่องมีดหมอครับ...

ขอถามเป็นข้อ ๆ ดังนี้ครับ...

01.มีดหมอทำขึ้นเพื่ออะไร...และมีกันกี่ขนาดครับ...

02.คาถาที่ใช้กำกับมีดมีหรือไม่มีอย่างไรครับ...

03.ตัวมีดมีอักขระภาษาอะไร..และมีความหมายอย่างไรบ้างครับ...

04.การใช้งานเวลาไหน..อย่างไร..ประโยชน์อย่างไรครับ...

05.ที่นิมใช้กันเป็นของอาจารย์หรือพระอาจารย์อะไรครับ...

06.ราคาประมาณสักเท่าไรกันครับ...

07.มีการทำปลอมหรือไม่ครับ...

08.มีดหมอมีชื่อเรียกอย่างอื่นไหมครับ...

09.ใช้เป็นอาวุธได้หรือไม่..อย่างไรครับ...

10.พกพาผิดกฏหมายหรือไม่ครับ.    


***   ขอความกรุณาตอบเป็นวิทยาทานกันตามสมควรครับ...

***   ขอขอบพระคุณครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

99
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 23 เม.ย. 2551, 07:10:27 »

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***    พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะ  และความสรรเสริญเป็นอานิสงส์  มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสสงส์   มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสสงส์ มิใช่ปัญญาณทัสสนะเป็นอานิสสงส์   แต่พรหมจรรย์นี้  มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบเป็นประโยชน์ เป็นแก่นเป็นที่สุด  เป็นอานิสสงส์ ( ไม่เกิดอีก )

***   ที่มาจาก...( ม . มู . มหาสาโรปมสูตร  ๑๒ / ๓๕๒ / ๓๐๙ )

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

100
บทความ บทกวี / ตอบ: " ของใคร "
« เมื่อ: 23 เม.ย. 2551, 06:57:05 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***   ปัจฉิมอัตภาพกล้า      ละลาย

อัตตาเปลือกงมงาย          ไป่แท้

บ่มีซึ่งตน                      วายสภาพ

มหาทุกข์ของใครแล้        เมื่อไร้เจ้าของ



***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

101
สวัสดีครับ

***   วันนี้ได้ตะกรุดพระอาจารย์อ๊อดชนิดดอกเล็กมา1 ดอกครับ...ขอถามครับ

01.ดอกเล็กกับดอกใหญ่ปลุกเสกเหมือนกันหรือไม่ครับ...

02.ชนิดดอกเล็กผมเข้าใจว่าใช้กับสุภาพสัตรีและเด็กเท่านั้นหรือครับ...

03.ท่านใดเคยแกะออกดูไหมครับ...ข้างในเป็นยันต์อะไรครับ..

04.ถ้าผู้หญิงและเด็กใช้ดอกใหญ่ได้หรือไม่..ครับ.


***    ขอความกรุณาตอบกันตามสมควรครับ..

***  ขอบพระคุณครับ สวัสดีครับ   พิศร  ครับ      :090:





102
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 09 เม.ย. 2551, 07:24:16 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

- ในหมู่มนุษย์? ชนผู้ที่ถึงฝั่งมีน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้? ย่อมเลาะไปตามฝั่งเท่านั้น


- ก็ชนเหล่าใดแล  ประพฤติตามธรรม  ในธรรม
อันพระสุคตเจ้าตรัสแล้วโดยชอบ
ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้โดยยาก  แล้วจักถึงฝั่ง


- บัณฑิตออกจากอาลัย? อาศัยความไม่มีอาลัย
ละธรรมดำ? แล้วพึงเจริญธรรมขาว
พึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว? จากเครื่องเศร้าหมองจิต


- ชนเหล่าใด? อบรมจิตด้วยดีโดยชอบ? ในองค์แห่งธรรมสามัคคี
ที่เป็นเครื่องตรัสรู้? ชนเหล่าใดไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในการสละคืน
ความถือมั่น? ชนเหล่านั้นเมื่อสละสิ้นแล้วมีความรุ่งเรืองปรินิพพาน
แล้วในโลก


*** ? ที่มาจาก... ( ขุ . คาถาธรรมบท? บัณฑิตวรรค? ๒๕ / ๑๖/๒๒ )

***? ? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ ? :090:

103
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 09 เม.ย. 2551, 07:08:17 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...

๒. พระสุตตันตปิฎก

***    ที่ผ่านมาท่านได้ทราบข้อความย่อ ๆ ในพระวินัยปิฎกผ่านมาแล้ว ๘ เล่ม  จะเห็นได้ว่าพระวินัยอันเป็นระเบียบแบบแผน  ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้โดยพระปรีชาญาณรอบคอบครบถ้วนและไม่ล้าสมัย  เพราะเป็นระเบียบที่ทำภิกษุผู้ประพฤติปฏิบัติตาม  ให้มีศีลาจารวัตรอันงดงามน่าเลื่อมใส 

***  ต่อไปนี้กระผมขอนำข้อความย่อในพระสุตตันตปิฎก   อันงดงามวิจิตรพิสดารไปด้วยธรรมะ  ที่ทำผู้ปฏิบัติให้ได้รับความสงบเยือกเย็น  นำเสนอโดยย่อ ๆ เท่านั้นเพื่อจะทำให้ท่านได้ทราบเรื่องอันเกี่ยวด้วยคำสอนที่แสดงข้อปฏิบัติเป็นชั้น ๆ  มีทั้งให้สำเร็จประโยชน์ พ้นจากอนาคต  แสดงคำสอนที่ควรปฏิบัติทุกสมัย  โดยเฉพาะ สำหรับท่านผู้ที่ทราบแล้วอย่าเพิ่งเบื่อก่อนนะครับ  ควรใช้ปัญญาพิจารณาด้วยตนเองเสียให้เห็นแจ้งว่า  ดีอย่างไรก่อนแล้วจึงเชื่อ  พระสุตตันตปิฎกนั้น  มีอยู่ดังต่อไปนี้

นิกาย   แปลว่าพวกหรือหมวดหมู่ 

ท่านจัดพระสุตตันตปิฎกเป็น ๕ นิกาย  คือ

๑.  ทีฆนิกาย   พวกพระสูตรที่ยืดยาว. ( เล่มที่ ๙,  ๑๐,  ๑๑. )

๒.  มัชฌิมนิกาย   พวกพระสูตรที่ปานกลาง.  ( เล่มที่ ๑๒, ๑๓,  ๑๔. )

๓.  สังยุตตนิกาย   พวกพระสูตรที่ประมวลเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคคลนั้น ๆ สถานที่นั้น ๆ เป็นต้น  ไว้เป็นหมวด ๆ.  ( เล่มที่ ๑๕,  ๑๖,  ๑๗,  ๑๘,  ๑๙. )

๔.  อังคุตตรนิกาย  พวกพระสูตรที่แจกธรรมเป็นข้อ ๆ เช่นพวก ๑ ข้อ  พวก ๒ ข้อ  พวก ๓ ข้อ.  ( เล่มที่ ๒๐, ๒๑,  ๒๒,  ๒๓,  ๒๔. )

๕.  ขุททกนิกาย   พวกที่รวมพระสูตรหรือธรรมะที่ปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ. ( เล่มที่ ๒๕,  ๒๖,  ๒๗,  ๒๘,  ๒๙,  ๓๐,  ๓๑,  ๓๒,  ๓๓. )


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ       :090:


104
สวัสดีครับ

***   ขอขอบพระคุณทุกๆท่านครับที่ให้ความอนุเคราะห์ตอบเป็นวิทยาทานครับ...เพื่อนๆผมสนใจอ่านในweb site  บางพระกันมากครับ...

***   ถ้ากระผมถามมากไป...ต้องขออภัยด้วยครับ...เริ่มสนใจเรื่องพระเครื่องเมื่อเร็วนี้เองครับ..ผิดพลาดอะไรแนะนำได้เลยครับ..

***   ขอถามเพิ่มนะครับ    ***

01.เนื้อผงและเนื้ออัลบาก้ามีทำปลอมไหมครับ...และมีข้อสังเกตุอย่างไรครับ...

02.ที่พุทธมณฑลยังมีรุ่นอื่นๆออกมาอีกไหมครับ...

03.คนทำพระปลอม..ทำไมไม่ทำให้เหมือนเลยครับ...มันเพราะอะไรครับ...( ยุคcomputerแล้ว...จะปลอมทั้งที...)

04.และเป็นบาปเป็นกรรมแค่ไหนกันครับ...

05....และพระที่ผมได้รับมา...มั่นใจได้แค่ไหนครับ..ทั้งๆที่มาก็ดีนี่ครับ...

***    ขอความกรุณาตอบตามสมควรครับ....

***   ขอขอบพระคุณครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

105
สวัสดีครับ

 ***   ขอขอบพระคุณทุกๆท่านครับที่ช่วยกันตอบเพื่อเป็นประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังได้เข้าใจและเป็นแบบในการรักษาของมงคลของบ้านเราให้คงอยู่ยั่งยืนคู่กับคนไทยและประเทศไทยตลอดไปครับ...

***    วันนี้ขอถามเพิ่มครับว่า...***   

01.ตะกรุดที่พระอาจารย์เสกมาแล้วเช่นตะกรุดที่เป็นแผ่นทองแดงเป็นต้น...ถ้าเราคลี่ออกดูภายในแล้วม้วนกลับไปใหม่มีผลอย่างไรบ้างครับ...

02.ในลักษณะเดียวกันตะกรุดลูกปืนถูกถอดออกดูตะกรุดภายในแล้วใส่คืนไปใหม่จะมีผลอย่างไรบ้างครับ..

03.มีบ้างใหม่ครับที่ท่านใดเคยถอดตะกรุดลูกปืนนารายณ์แปลงรูปของท่านอาจารย์นองบ้างครับ...ถ้าเคยเป็นอย่างไรบ้างครับ...มีอะไรอยู่ภายในบ้างครับ..


***   ขอความกรุณาตอบเป็นวิทยาทานตามสมควรครับ...

***    ขอขอบคุณครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ      :090:

106
สวัสดีครับ

ขอถามเพิ่มครับ 2 ข้อครับ

01.การจารตะกรุดในการเสกกับการปั้มมาแล้วเสก..ต่างหรือเหมือนกันครับ...

02.ขนาดของตะกรุดมีทั้งเล็ก...กลาง...และใหญ่ทำพิธีเดียวกันมีคุณสมบัติขลังเหมือนหรือต่างกันครับ..

***   ขอความกรุณาตอบเป็นวิทยาทานตามสมควรครับ...

***   ขอขอบคุณครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ    :090:

107
สวัสดีครับ

***    วันนี้ขอถามเรื่อง " ตระกรุด ๕ เกจิดัง " ครับ ผมได้มาสมัย...จตุคามรามเทพดังๆอยู่ครับ...หลวงปู่ทวด---จตุมรามเทพ
รุ่น มหาปาฏิหาริย์ สามนคร มั่งมีสุข ครับ
..มีตระกรุด ๕ เกจิดัง แถมให้มาด้วยโดยมีอาจารย์ปลุกเสกคือ...หลวงพ่อตัด..หลวงพ่อจำลอง..หลวงพ่อรวย..พระอาจารย์ไพโรจน์..พระอาจารย์อ็อด..หลวงปู่แผ้ว..ร่วมปลุกเสกครับ... ตะกรุดเป็นตะกั่วปั้มยันต์..บางมากเห็นรอยปั้มยันต์ชัดเจนครับ..ยาว ๒.๕ซม.เส้นผ่าศูนย์กลาง๐.๓ ซม.เบามากครับ..

***  ขอถามครับ    ***

01.การปลุกเสกตะกรุดเฉพาะอาจารย์เดียวกับหลายๆอาจารย์ร่วมกันปลุกเสกต่างกันอย่างไรครับ...

02.การเลือกใช้ตะกรุดอาจารย์เดียวหรือหลายอาจารย์ดีครับ...

03.และตะกรุดหลายอาจารย์ร่มกันเสกนั้นคาถากำกับการใช้จะเป็นอย่างไรครับ...

04.ข้อห้ามในการใช้มีหรือไม่ครับ...

05.ตะกรุดชิดเล็กๆนี้ใช้ห้อยคออย่างเดียวเท่านั้นหรือครับ..

***    ขอความกรุณาตอบเป็นวิทยาทานตามสมควรครับ...

***    ขอขอบคุณครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ     :090:

108
สวัสดีครับ

...เรื่องอย่างนี้ครับ...เมื่อวันวานหลานที่มาจาก ตจว.ไปทำบุญที่พุทธมณฑลและเช่าพระ ๒๕ พ.ศ.ว.มาฝาก ๑ ชุด มี ๓ องค์ วันนี้ขอถามความรู้เรื่องพระ ๒๕ พ.ศ.ว.   ....ครับ...ขอความกรุณาตอบเป็นวิทยาทาน...ตามสมควรครับ...

***    ขอถามดังนี้ครับ   ***

01.พระเนื้อผงมีคาถาด้านหลังอ่านว่าอะไรและมีความหมายอย่างไรครับ...

02.พระเนื้อชินมียันต์อะไรแลมีความหมายอย่างไรครับ...

03.เหรียญรูปเสมาเนื้ออัลบาก้ามีภาษาบาลีมีความหมายอย่างไรครับ...

04.พระชุดนี้มีประสบการณ์อย่างไรบ้างครับ...

05.มีข้อห้ามในการใช้อย่างไรครับ...

***   ขอขอบพระคุณครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

109
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 01 เม.ย. 2551, 09:02:01 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   รูปกายได้สลายแล้ว สัญญาดับแล้ว เวทนาทั้งปวงเย็นแล้ว สังขารทั้งหลายสงบแล้ว วิญญาณถึงความตั้งอยู่ไม่ได้

***    ที่มาจาก...( ขุ . อุทานทัพพสูตรที่ ๑  ข้อ  ๑๗๗ )

***    วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ    :090:

110
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 27 มี.ค. 2551, 01:44:11 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***       ? อายุ  ไออุ่น  และวิญญาณ  ย่อมละกายนี้เมื่อใด  เมื่อนั้นกายนี้อันเขา ( อายุ  ไออุ่น  วิญญาณ ) ทอดทิ้งแล้ว ( ย่อมเป็นเหยื่อแห่งสัตว์อื่นย่อมหาเจตนามิได้ นอนทับถมแผ่นดิน เรา (พระตถาคต) บอกแล้ว สาระแก่นสารย่อมไม่มีในเบญจขันธ์ ( รูปนาม ) ภิกษุผู้มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ  มีสติ  พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายนี้ทั้งกลางวันและกลางคืน  พึงประพฤติดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ดังนี้  ?

***  ที่มาจาก...( สัง . ขันธ์ . เผณบิณฑสูตร  ๑๗ / ๑๕๑ )

*** วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

111
สวัสดีครับ

***    วันนี้ได้รับธนบัตรขวัญถุง..ของหลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.อยุธยา ธนบัตรหมายเลข 9999999.จากเพื่อนสมาชิกที่กรุณาอนุเคราะห์ให้มาครับ.....
***   ขอขอบพระคุณมากครับ...
ท้ายจดหมายเขียนมาว่า...ธนบัตรหลวงปู่ทุกฉบับได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกแล้ว กรุณาเก็บไว้ให้ดีจะโชคดีร่ำรวยนะครับ...ขอให้สมพรปากนะครับ...

***   ลักษณะธนบัตรมีขนาดประมาณเท่ากับแบ๊งราคา๑๐๐๐ บาทได้ครับ..สวยงามมากครับ..

ขอถามประกอบความรู้ด้วยครับ

01.ใช้ธนบัตรขวัญถุงใส่ในกระเป๋าสตางค์ได้เลยใช่ไหมครับ...

02.กระเป๋าใส่เงินผมเป็นกระเป๋าหลังของกางเกงครับ..ผิดไหม?...

03.ด้านหน้าและด้านหลังธนบัตรขวัญถุงมียันต์ทั้ง ๒ ด้าน..ยันต์อะไรกันบ้างครับ.

04.ธนบัตรขวัญถุงใช้คุ้มภัยอย่างอื่นด้วยหรือไม่ครับ.


***    ขอขอบคุณครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

112
สวัสดีครับ

***   วันนี้ขอเปิดหัวข้อ " เปิดกะทู้"   ถามครับ.

มาเริ่มกันที่ ปกิณณก กระทู้คือกระทู้ย่อยๆ นะครับ...


01.เคยได้ยินมาว่าพุทธคุณที่พระสงฆ์อธิฐานจิตลงในวัตถุมงคลไม่มีเสื่อมนั้นอย่างไรครับ...

02.วัตุถุมงคลที่เสื่อมเพราะเหตุใครับ...

03.ที่ชื่อว่าวัตถุมงคลนั้น...มีกี่ชนิดกันบ้างครับ.


***   ขอกรุณาตอบตามสมควรครับ....

***   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

113
บทความ บทกวี / ตอบ: " ของใคร "
« เมื่อ: 26 มี.ค. 2551, 06:41:04 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ


***  มัชฌิมอัตตาภาพนั้น      ฝึกตน

บ่อยบ่อยละวางกมล            วุ้นว้า

เริ่มสละเห็นแก่ตน              เจ็บปวดยิ่ง

แต่ละได้เด็จขาดจ้า             แจ่มได้สุขเสมอ


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ    :090:

114
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 25 มี.ค. 2551, 12:50:02 »

สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

เล่มที่ ๕  (มหาวรรค   ภาค ๒)

***   ในเล่มนี้เป็นเล่ม ๒ ของ มหาวรรค มีอยู่ ๖ ขันธกะ  คือ

๑.  จัมมขันธกะ

๒.  เภสัชชขันธกะ

๓.  กฐินขันธกะ

๔.  จีวรขันธกะ

๕.  จัมเปยยขันธกะ

๖.  โกสัมพิกขันธกะ

๑.  จัมมขันธกะ
  แสดงถึงประวัติของพระโสณโกฬิวิสะ  ซึ่งท่านเป็นผู้มีฝ่าเท้าอันบาง  เพราะเป็นสุขุมาลชาติ  จงกรมจนเท้าแตก  พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใช้รองเท้าชั้นเดียวได้   แต่ท่านไม่ยอมสวมเพราะเป็นอนุญาตเฉพาะบุคคล  กราบทูลให้ทรงอนุญาตทั่วไปแล้วท่านจึงยอมสวม  ภายหลังทรงห้ามรองเท้า ๒ ชั้น ๓ ชั้น  และหลายชั้น  และทรงอนุญาตให้ใช้ ๔ ชั้นในปัจจัตประเทศ  แล้วทรงกำหนดเขตมัชฌิมประเทศปัจจันตประเทศ   ทรงห้ามและทรงอนุญาตรองเท้าต่าง ๆ ลักษณะและสีที่ควรไม่ควร  สถานที่ควรสวมและไม่ควรสวมทรงห้ามและทรงอนุญาตในเรื่องยานพาหนะ  และที่นอนที่นั่งสูงใหญ่ควรและไม่ควร.

๒.  เภสัชชขันธกะ   กล่าวถึงเภสัช ๕  และเครื่องยาที่ควรแก่การบำบัดโรคต่างๆ และว่าด้วยอาหารต่าง ๆ และทรงอนุญาตการผ่าตัดยามหาวิกัติ ๔  แสดงถึงอันโตวุตถะ  อันโตปักกะ  สามปักกะ  อุคคหิตทุกกฎ  ว่าถึงอกัปปิยมังสะ  และอุททิสสมังสะ   เรื่องข้าวยาคูและอานิสงส์ของข้าวยาคู  อนุญาตการฉันน้ำอ้อยงบแก่ภิกษุไข้  ถ้าไม่เป็นไข้ต้องละลายน้ำ  แสดงถึงการสร้างเมืองปาตลีบุตร  ว่าถึงกัปปิยภูมิที่เก็บอาหารกล่าวถึงเมณฑกบัญญัติ  เรื่องอนุญาตให้ยินดีปัจจัยที่เป็นกัปปิยะอันเกิดจากรูปิยะ  กล่าวถึงน้ำปานะ ๘  ห้ามภิกษุไม่ให้หุงต้มเอง  และห้ามภิกษุที่เคยเป็นช่างกัลบกไม่ให้มีมีดโกน   ตอนท้ายกล่าวถึงพืชของสงฆ์ที่ปลูกในที่ดินของบุคคล  และพืชของบุคคลที่ปลูกในที่ดินของสงฆ์และว่าด้วยมหาประเทส  ( ข้ออ้าง ) ๔  เพื่อเป็นเครื่องวินิจฉัยของที่ควรและไม่ควร  และว่าด้วยกาลิก ๔

๓.  กฐินขันธกะ   ปรารภเรื่องทรงอนุญาตการกรานกฐิน   วิธีกรานกฐิน  อานิสงส์กฐิน  การเดาะกฐิน  และปลิโพธ   เป็นต้น.

๔.  จีวรขันธกะ   แสดงถึงประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์  และกล่าวถึงพรที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ทูลขอ  และทรงอนุญาตจีวร ๖ อย่าง  และสมมติภิกษุผู้รับจีวร  ผู้เก็บจีวร  ผู้แจกจีวร   และสมมติภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง  และทรงอนุญาตเครื่องย้อม ๖ อย่าง  และอนุญาตจีวรตัดวิธีจีวร  บัญญัติเรื่องอติเรกจีวร  ว่าถึงพรของนางวิสาขา ๘ อย่าง  มีการขอเพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนเป็นต้น ว่าถึงบริขารอื่นเช่นบริกขารโจฬะ  ผ้าเช็ดปาก  และวิธีถือวิสสาสะ ว่าถึงจีวรที่เป็นมรดกของภิกษุผู้มรณภาพ  และการห่มจีวรที่ย้อมด้วยสีอันไม่ควรเป็นต้น .

๕.  จัมเปยยขันธกะ แสดงเรื่องภิกษุกัสสปโคตรอยู่ในกาสีชนบทถูกพระอาคันตุกะลงโทษด้วยอุกเขปนียกรรม  เธอไปทูลพระผู้มีพระภาคที่เมืองจัมปา  ถึงกรรมนั้นว่าเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมอย่างใด  พระองค์แสดงถึงกรรมที่สงฆ์ทำแล้วเป็นธรรมและไม่เป็นธรรมต่างๆ เช่น  อุกเขปนียกรรม  ตัชชะนียกรรม  นียัสสกรรม  ปัพพาชนียกรรม  ปฏิสารณียกรรม ว่าสงฆ์ทำแล้วอย่างไรควรหรือไม่ควร  และแสดงถึงวิธีที่ให้กรรมเหล่านั้นระงับ.

๖.  โกสัมพิกขันธกะ  แสดงถึงเรื่องภิกษุชาวโกสัมพีทะเลาะกันด้วยเรื่องอาบัติเล็กน้อยจนถึงกับแตกแยกกัน  และทรงอนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นที่แตกกันแล้ว  ต่างฝ่ายต่างทำสังฆกรรม  แยกกันในสีมาเดียวกันได้  เมื่อพระองค์ทรงสมานสามัคคีของภิกษุเหล่านั้นไม่ได้  จึงเสด็จไปอยู่ป่า มีช้างปาริเลยยกะคอยอุปัฏฐากบำรุงพระองค์   ออกพรรษาแล้วเสด็จเมืองสาวัตถี  พวกภิกษุที่แตกกันนั้นถูกชาวบ้านลงโทษไม่บำรุงด้วยปัจจัย ๔  มีความลำบากรู้สึกตัวแล้ว  จึงไปขอขมาพระพุทธเจ้า.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:



115
สวัสดีครับ

***  เมื่อวันวานไปทำธุระแถวถนนสุทธิสาร...ผ่านไปรษณีสุทธิสารเช่าเหรียญหลวงปวดทวดรูปไข่เนื้อทองแดงรุ่นปู่ทวดช่วยใต้มา ๑ เหรียญ..จะให้วันเกิดหลานชายครับ....และเลยไปหาร้านที่เลี่ยมพระย่านตลาดแถวๆใกล้ๆร้าน 7 ELEVEN  ห้วยขวาง...ซะเลย...

***...ระหว่างรอการเลี่ยมพระนั้นเองได้คุยกับคุณลุงคนหนึ่งท่าทางเป็นคนทางภาคใต้ดูเป็นคนใจดี...ที่ท่านมาเลี่ยมพระให้หลานสาวของท่านเหมือนกัน...ผมกล่าวสวัสดีท่าน..และถือโอกาสสอบถามพระทางสายหลวงปู่ทวด....และคุยกันเรื่องพระสายใต้ไประหว่างรอการเลี่ยมนั้นหลายเรื่อง..ในฐานะผมเองผู้ใหม่ในวงการครับ..คุยไปๆ...ฯลฯ..มีตอนหนึ่งผมถามเรื่องตะกรุดพระอาจารย์นอง...ท่านกรุณาเปิดระดุมเสื้อหยิบพระของที่ท่านห้อยคอรวมทั้งตะกรุดอีก ๓ ดอกให้ผมดูด้วยใจที่มีเมตตาในลูกในหลานก็ว่าได้.....ในที่สุดท่าน..เมตตาให้เช่า..ตะกรุดนารายณ์แปลงรูปมา ๑ ดอกเพราะท่านมี ๒ ดอก...ในราคา 2300 บาท...

***   ตะกรุด...มีลักษณะเป็นลูกปืนขนาดเล็กไม่ทาบว่าเป็นลูกปืนขนาดใดครับ..ปลายลูกชนกันครับ...วัดความยาวได้ประมาณ 2 ซม.เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 ซม.ครับ...มองดูจาการใช้งานดูเก่าครับ...plastic ที่เลี่ยมมาดูหมองไม่ค่อยจะใส...มีลักษณะน้ำเหงือจะซึมเข้ารอยต่อทำให้ห่วงด้านในมีสนิมทองแดงจับเล็กน้อย....ดูเหมือนจะเป็นการเลี่ยมมาจากวัดก็ว่าได้...สีปลอกลูกปืนเหมือนทองแดงเก่าๆอย่างนั้นแหละครับ...เลี่ยมplastic พร้อมใช้....ท่านบอกรักษาไว้ให้ดีนะ...หายยากไม่มีอีกแล้วนะ...ตองขอโทษด้วยครับที่ร่ายซะยาว..นะครับ..

***    วันนี้ขอถามครับ...

01.อ่านแล้วผมโดน...หลอกไม๊...ครับ...(สมน้ำหน้า...อยากได้)

02.มีการสร้างกันปีไหน..ขอเล่าประวัติย่อๆให้ฟังหน่อย..ครับ

03.ถ้าเป็นของแท้...จะสังเกตุอย่างไร..ครับ..

04.ต้องมีคาถากำกับการใช้หรือไม่ครับ...

05.ท่านใดมีประสบการณ์ช่วยแนะนำด้วยครับ..

06.ข้อห้ามมีหรือไม่ในการใช้ครับ...


***   ตอบตามสมควรก็ได้ครับ...ขอขอบคุณครับ

***   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ    :090:

116
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 21 มี.ค. 2551, 07:00:48 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

เล่มที่  ๔   (มหาวรรค   ภาค ๑)

***    ตั้งแต่ เล่ม ๔ นี้จนถึงเล่ม ๘ แสดงถึงเรื่องสิกขาบท ที่มานอกพระปาฏิโมกข์   อันเป็นขนมธรรมเนียมระเบียบวิธีของพระภิกษุ  จัดเป็นหมวด ๆ เรียกว่า ขันธกะ  และเล่ม ๔ นี้เป็นเล่มที่ ๑ ของมหาวรรคมีอยู่ ๔ ขันธกะ  คือ

            ๑.   มหาขันธกะ.

         ๒.  อุโปสถขันธกะ.

         ๓.  วัสสูปนายิกขันธกะ.

         ๔.  ปวารณาขันธกะ.


๑.  มหาขันธกะ แสดงเรื่องตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงได้อัครสาวก   (เนื้อความปรากฏอยู่ในหนังสือพุทธประวัติเล่ม ๑)   และแสดงถึงวิธีบรรพชาอุปสมบท  บอกอนุศาสน์  ธรรมเนียมศิษย์จะพึงประพฤติในอาจารย์  สัทธิวิหาริกจะพึงประพฤติในอุปัชฌาย์และอาจารย์อุปัชฌาย์พึงประพฤติในศิษย์   ตลอดถึงการบวชอย่างไรสมควร  อย่างไรไม่สมควร  บุคคลเช่นไรควรให้บวช  บุคคลเช่นไรไม่ควรบวช   และวิธีบวชเป็นสามเณร  พร้อมทั้งศีลสามเณร.

๒.  อุโปสถขันธกะ  ว่าด้วยการบัญญัติวันธรรมสวนะ  อนุญาตการสวดพระปาฏิโมกข์  ว่าด้วยสีมาต่าง ๆ ตลอดถึงวิธีสวดถอนสวดผูกสีมา  และทรงอนุญาตให้ภิกษุเรียนปักขคณนา   และว่าด้วยภิกษุที่เป็นนานาสังวาส  และสมานสังวาส  จะควรทำอุโบสถกันอย่างไรเป็นต้น.

๓.  วัสสูปนายิกขันธกะ  ว่าด้วยวันเข้าพรรษา  วิธีอธิฏฐานพรรษา  วิธีทดอธิกมาส   ตลอดถึงเรื่องราวในการจำพรรษาทั้งหมด .

๔.  ปวารณาขันธกะ  ว่าด้วยวิธีออกพรรษา  พร้อมทั้งวิธีปวารณาและวันปวารณา  เป็นต้น.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

117
ธรรมะ / ตอบ: " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 21 มี.ค. 2551, 06:26:28 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***? ?? ดูกรวาเสฏฐะ? และภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี? พราหมณ์ก็ดี? แพศย์ก็ดี? ศูทรก็ดี? สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๗ หมวดนี้แล้ว ( สติปัฏฐาน ? สัมมัปปธาน ? อิทธิบาท ? อินทรีย์ ? พละ ? โพชฌงค์ ? อริยมรรค ๘ ) ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้ทีเดียว ( ฆราวาส ก็ปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรมได้เป็นพระอริยะได้? )

***? ?ที่มาจาก...( ทีฆนิกาย? ปาฏิกวรรค? อัญคัญญสูตร? ๑๑ / ๗๐ / ๘๗ )

***? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? ?:090:

118
บทความ บทกวี / ตอบ: " ของใคร "
« เมื่อ: 20 มี.ค. 2551, 08:51:13 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

***   ปฐมอัตภาพนั้น        เห็นแก่ตน

ทุกข์สุขสลับพันหน         ขณะน้อย
 
อนิจจังแห่งวังวน           มหาโศก

คือบ่มทุกข์ทวิร้อย          ปลักร้ายทุรนเหลิง


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ     :090:

119
สวัสดีครับ

ขอขอบพระคุณครับ...ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นครับ...

เมื่อวันวานได้รับพระสมด็จหลังยันต์จม เสาร์ ๕ ปี ๒๕๑๒...จากเพื่อนเก่าท่านหนึ่ง..เพื่อนบอกว่าได้มาจากวัดโพธินิมิตร กทม.เมื่อปี2520 ผมถามว่ามีคาถากำกับหรือไม่..เพื่อนบอว่ามีและพอจะจำได้...คาถาคือ... พุทโธ อะระหัง สุ สุ สิ โธ พุทโธ ภะคะวาติ   พุทโธ นะโมพุทธายะ...แต่ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร...

***   วันนี้ขอถามหนึ่งคาถานะครับ...และช่วยแปลให้ด้วยครับ...ตามสมควรนะครับ...

01.คาถาผิดหรือไม่ครับ...

02.ช่วยกรุณาแปลให้ด้วยครับ...

03.โดยเฉพาะ สุ สุ สิ โธ แปลเป็นและมาอย่างไรครับ.


***   ขอขอบคุณครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ    :090:


120
ธรรมะ / " สาระจากพระสูตร "
« เมื่อ: 20 มี.ค. 2551, 07:04:46 »
สวัสดีครับ

วันนี้กระผมขอนำเสนอ " สาระจากพระสูตร" ?

ที่มาในพระไตรปิฎกเพื่อการศึกษาและปฏิบัติกันตามสมควรนะครับ

***? ?ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด? ในนิพพานธาตุนั้น? ดวงดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฎ? พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง? ความมืดย่อมไม่มี? ?ก็เมื่อใดพราหมณ์เชื่อว่าเป็นมุนี เพราะรู้ ( สัจจะ ๔ ) แล้วด้วยตน? เมื่อนั้น? พราหมณ์ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป? จากสุขและทุกข์ ฯ

***? ที่มาจาก...( ขุ . อุ . พาหิยสูตร? ๒๕ / ๕๐ / ๗๓ )

***? วันนี้ขอหยุดไว้ก่อน นะครับ...สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? :090:

121
สวัสดีครับ

วันนี้ขอถามเรื่อง..วัตุถุมงคลคุ้มภัย...กระผมต้องเดินทางออกบรรยายธรรมบ่อยครั้ง..ในต่างจังหวัดครับ.

ต้องการถามผู้รู้ช่วยกรุณาแนะนำ...วัตถุมงคลคุ้มภัย..ลดภัยจากอุบัติเหตุมีทางรถยนต์เป็นต้นครับ...

*********         ขอถามว่า...         *********

01.ควรเลือกพระเครื่องชนิดไหน..อย่างไร...ครับ...

02.อย่างเดียวชนิดครอบจักรวาลเลย...มีไหมครับ...

03.เลือกพระทางสายไหน...เก่า..ใหม่อย่างไร..จึงเหมาะ...ครับ...

04.ช่วยบอกด้วยว่าเสาะแสวงหามาคุ้มภัยได้ที่ไหนประมาณราคาเท่าไรด้วยครับ...ถ้ากรุณาบอกหรือแนะนำทาง..E- Mail...ก็ได้..นะครับ....

05.การเลือกต้องเกี่ยวกับวันเดือนปีเกิดของบุคคลผู้ที่ต้องการใช้ด้วยหรือไม่ครับ...


06.การใช้วัตถุมงคลที่เลือกได้แล้ว....จะต้องมีคาถากำกับด้วยหรือไม่ครับ...

07.ท่านใดเคยมีประสบการณ์...กรุณาช่วยเล่าให้กระผมผู้ใหม่ฟังบ้างซิครับ...

08.ก่อนใช้กำลังใช้และหลังเลิกใช้...มีการปฏิบัติต่อวัตถุมงคลอย่างไรบ้าง...ครับ...

09.เมื่อนำวัตถุมงคลมาใช้ต้องประพฤติปฏิบัติตัวอย่างไร..มีข้อห้ามอย่างไรบ้าง? ครับ...

10.สุดท้าย...จะปลูกศรัทธาให้มั่นคงในพุทธคุณอย่างไร..เมื่อเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดถึงได้..เช่นอุบัติเหตุเป็นต้นล่ะครับ.? ?



***? ?ขอความกรุณาช่วยกันตอบตามสมควรครับ...ขอบุญรักษา? ธรรมะคุ้มครองครับ.


***? ?ขอขอบพระคุณครับ? ? สวัสดีครับ? ?พิศร? ?ครับ phisorn.b@comm.nia.go.th? ? :090:

122
สวัสดีครับ

ขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่ให้ความกรุณาตอบเป็นธรรมทานแก่ผมและอนุชนรุ่นหลังๆมากๆครับ

ทุกท่านที่กรุณาตอบ..ตามสมควร...ผมคิดว่าเป็นบุญครับ...เพราะผมเองเข้าใจว่าไม่มีใครรู้หมดไปทุกเรื่องครับ...(ยกเว้นพระพุทธองค์)

ผู้รู้ท่านใดมีความรู้...ช่วยกันเสริมความรู้...ช่วยให้ความเข้าใจกันครับ...ทำให้ webboard...ของเรามีสีสรรมีสาระน่ารู้น่าสนใจมากยิ่งขึ้นครับ...

***   วันนี้ขอแถม..ถามต่ออีกเล็กน้อยครับ...ว่า...

01.คำว่าสวาโหม...แปลว่าอะไรครับ..

02.หัวใจพญาเต่าเรือน เขาเขียนแบบวิ่ง..หมายว่าอย่างไรครับ

03.คาถาที่ใช้ต้องมีวัตถุมงคลประกอบด้วยหรือไม่ครับ.


***   ขอขอบพระคุณครับ...สวัสดีครับ...พิศร    ครับ    :090:

123
สวัสดีครับ

***   ขอถามเรื่องคาถาครับ...เป็นคาถาอะไร...ใช้กับอะไร...แปลและหมายความว่าอย่างไร..ครับ

นาสังสิโมฯ
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพ ยักขา ปะลายันติ พุทธมะอะอุ นะโมพุทธายะ
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระอิตถิโย
พุทธัสสะ มานี มามะ พุทธัสสะ สวาโหมฯ


***    ขอบอบพระคุณครับ....สวัสดีครับ    พิศร   ครับ     :090:

124
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 18 มี.ค. 2551, 08:04:40 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

เล่มที่ ๓   ( ภิกขุณีวิภังค์)

***  ในเล่มนี้กล่าวถึงปาฏิโมกข์ของภิกษุณีมีอยู่  ๓๑๑ สิกขาบท  คือปาราชิก ๘ สิกขาบท  สังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท  นิสสัคคีย์ ๓๐ สิกขาบท  ปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบท  ปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท  เสขิยะ  ๗๕ สิกขาบท  อธิกรณสมถะ ๗ สิกขาบท 

***    แต่ในเล่มนี้แสดงเฉพาะที่ไม่ซ้ำกับของภิกษุเพียง ๑๓๐ สิกขาบท   แยกออกเป็น ๖ กัณฑ์   ในสิกขาบทนั้น ๆ เบื้องต้นแสดงถึงเรื่องภิกษุณีประพฤติเสื่อมเสีย  เป็นเหตุให้ทรงบัญญัติตอนปายแสดงถึงวิธีต่าง ๆ ว่าทำอย่างไรเป็นอาบัติ  อย่างไรไม่เป็นอาบัติ   ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากอาบัติเป็นต้น.   

***  ที่กล่าวมาทั้ง ๓ เล่มนี้ในที่บางแห่งเรียกว่าอุภโตวิภังค์   แปลว่าวิภังค์ทั้ง ๒ คือวิภังค์ของภิกษุและวิภังค์ของภิกษุณี   ในส่วนศีลของภิกษุณีที่ไม่ซ้ำกับของภิกษุเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น เพราะไม่มีภิกษุณีเสียแล้ว.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ       :090:

125
บทความ บทกวี / " ของใคร "
« เมื่อ: 14 มี.ค. 2551, 08:55:31 »
สวัสดีครับ

วันนี้มีกลอนการปฏิบัติธรรมมาฝากครับ ชื่อกลอนว่า  " ของใคร "

***   ชีวิตคือปวดร้าว      ธรรมดา

ยอมรับสภาพ               สาหัสนี้

เจ็บปวดสิ่งใดนา           เป็นเหตุ

ยอมสละเถอะอัตถะถี้      ร่านร้ายเห็นแก่ตัว


***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ     :090:

126
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 14 มี.ค. 2551, 08:36:41 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันครับ

เล่มที่ ๒ (มหาวิภังค์   ภาค๒)

มหาวิภังค์เล่มนี้แบ่งได้ ๔ กัณฑ์  คือ

๑. นิสสัคคียกัณฑ์   มี ๓๐ สิกขาบท.

๒. ปาจิตตียกัณฑ์   มี ๙๒ สิกขาบท.

๓. ปาฏิเทสนียกัณฑ์   มี    ๔ สิกขาบท.

๔. เสขิยกัณฑ์   มี ๗๕ สิกขาบท.


****    ในตอนท้ายมีอธิกรณสมถะ   มีวิธีตัดสินอธิกรณ์อีก ๗ ข้อ   ในตอนต้นของสิกขาบทนั้น ๆ กล่าวถึงนิทานต้นบัญญัติ   ตอนกลางทรงบัญญัติสิกขาบท  ตอนท้ายอธิบายว่าอย่างไรควรอย่างไรไม่ควร   ในเล่มนี้มีสิกขาบท ๒๐๑ สิกขาบท  รวมทั้งอธิกรณสมถะอีก ๗  และรวมทั้งในเล่ม ๑ ด้วย รวมเป็น ๒๒๗ สิกขาบท  เรียกว่าสิกขาบทมาในพระปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นวินัยอันสำคัญของภิกษุ  มีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์สวดทุกกึ่งเดือนที่เรียกว่าทำอุโบสถสังฆกรรม

***    ในมหาวิภังค์ทั้ง ๒ เล่ม  ท่านผู้ใดต้องการเนื้อความในสิกขาบทเหล่านี้  จะหาอ่านทราบจากหนังสือนวโกวาท  ส่วนนิทานต้นบัญญัติมีหนังสือจหน่ายอยู่แล้วในท้องตลาด เนื้อเรื่องในมหาวิภังค์ทั้ง ๒ เล่ม  ก็คือ  สิกขาบทที่มาในพระปาฏิโมกข์.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

127
สวัสดีครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณาตอบให้ความรู้และความเข้าใจครับ

วันนี้...ขอถามเพิ่มนะครับว่า....

01.การใช้ตระกรุดทุกชนิดที่ไม่ทราบที่มา...ต้องประพฤติปฏิบัติตัวอย่างไรครับ...

02.การชื้อขายตระกรุดเป็นความผิดหรือไม่...ถ้าผิด...ผิดมากแค่ไหน...ครับ

03.พระเครื่องและเครื่องรางใช้แทนกันได้หรือไม่หรือต้องใช้ทั้งคู่..ครับ

04.พระพุทธคุณในการบรรจุใส่พระเครื่องกับเครื่องรางเหมือนหรือต่างกัน...ครับ

05.เครื่องรางมีกี่ชนิดครับ..

06.เครื่องรางกับของขลังต่างกันอย่างไร...ครับ

07.อย่างไรเรียกว่าเครื่องราง...อย่างไรเรียกว่าของขลังครับ

ขอความกรุณาตอบให้ทราบด้วยครับ...

***   ขอบคุณครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

128
สวัสดีครับ

วันนี้ขอความรู้เรื่องตะกรุดพระอาจารย์อ๊อดครับ...ท่านผู้รู้กรุณาตอบตามสมควรด้วยครับ

ขอถามดังนี้ครับ

01.มีประวัติความเป็นมาอย่างไร..ในปี พ.ศ. ไหนครับ

02.มีกันกี่รุ่น กี่ขนาดครับ...ควรเลือกรุ่นไหนดีครับ

03.ประสบการณ์ดีทางไหนครับ

04.ต้องการบูชาได้ที่ไหนราคาประมาณเท่าไรครับ

05.มีการทำปลอมเลียนแบบหรือไม่

06.สมาชิกท่านใดมีแบ่งปันกันบ้างครับ...กรุณาด้วยครับ.

***   ขอขอบคุณครับ...สวัสดีครับ....พิศร   ครับ      :090:

129
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 10 มี.ค. 2551, 08:50:10 »
สวัสดีครับ

ต้องขออภัยด้วยครับ...ห่างไปหลายวันครับกระผมติดงานบรรยายธรรมและงานธุดงคกรรมฐานครับ...วันนี้มาต่อกันครับ

๑. พระวินัยปิฎก

ในพระวินัยนี้แบ่งเป็นหมวดใหญ่ ๆ มี ๔ หมวด? คือ

๑. มหาวิภังค์   ๒? เล่ม? ? ? ? คือ? ? เล่มที่ ๑ , ๒.

๒. ภิกขุนีวิภังค์   ๑? ?เล่ม? ? ? ? คือ? ? เล่มที่ ๓.

๓. มหาวรรค      ๒? เล่ม? ? ? ? คือ? ? เล่มที่? ๕ , ๕.

๔. จุลวรรค   ?    ๒? เล่ม? ? ? ? คือ? ? เล่มที่? ๖ , ๗.

๕. ปริวาร      ๑? ?เล่ม? ? ? ? คือ? ? เล่มที่ ๘.

? ?เล่มที่ ๑
(มหาวิภังค์? ?ภาค ๑)

เล่ม ๑? คือ มหาวิภังค์นี้? เริ่มด้วยเหตุที่จะให้ทรงบัญญัติพระวินัย? กล่าวความถึงเวลาเสด็จจำพรรษาในปีที่ทรงบัญญัติพระวินัยด้วย ( อรรถกถาสามนต์? เล่ม ๑ หน้า ๒๔๕? ว่าล่วงมา ๒๐ พรรษา? นับแต่พรรษาที่ได้ตรัสรู้ )

แบ่งออกเป็นกัณฑ์ได้ ๗ กัณฑ์? คือ

กัณฑ์ที่ ๑?    เวรัญชกัณฑ์? ว่าด้วยการเสด็จจำพรรษาในปีที่ทรงบัญญัติสิกขาบท.

กัณฑ์ที่ ๒    ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๑.

กัณฑ์ที่ ๓    ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๒.

กัณฑ์ที่ ๔    ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๔.

กัณฑ์ที่ ๕    ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๕.

กัณฑ์ที่ ๖    ว่าด้วยสังฆาทิเสส? ๑๓.

กัณฑ์ที่ ๗    ว่าด้วยอนิยต ๒ สิกขาบท.


ความสังเขปใน๗กัณฑ์มีดังนี้

***? ? กัณฑ์ที่ ๑ นั้นว่า? พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับจำพรรษาที่ป่าไม้สะเดาเมืองเวรัญชา? ได้ทรงแสดงธรรมให้เวรัญชพราหมณ์เลื่อมใส? แล้วทูลนิมนต์ให้ทรงจำพรรษาที่นั่นพร้อมด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐? ? แต่ครั้นแล้วพราหมณ์ลืมการนิมนต์นั้นเสีย? หาได้อุปัฏฐากบำรุงไม่? ทั้งเวลานั้นเมืองเวรัญชาบังเกิดทุพภิกขภัยข้าวแพงถึงกับชาวเมืองต้องซื้อข้าวตามสลาก ( บัตรปันส่วน )? ไม่สามารถที่จะเฉลี่ยอาหารมาบำรุงพระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์ได้ ? แต่บังเอิญครั้งนั้นพ่อค้าม้ามาจากเมืองต่างเมืองติดค้างฤดูฝนอยู่ ณ ที่นั้น? ภิกษุทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาตที่อื่นไม่ได้? ก็ไปถึงที่พักพ่อค้าม้า? พวกพ่อค้าม้ามีข้าวตากสำหรับเป็นอาหารม้า? ก็เฉลี่ยอาหารนั้นถวายพวกพระภิกษุองค์ละกำมือ พวกภิกษุเมื่อได้อาหารอย่างนั้นแล้ว? ก็นำไปตำละลายน้ำฉัน? พระอานนท์ใช้หินบด ๆ ถวายพระผู้มีพระภาค? เป็นอยู่อย่างนี้จนออกพรรษา? และในระหว่างพรรษา? พระสารีบุตรทูลอาราธนาพระองค์ให้ทรงบัญญัติสิกขาบท? แต่พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามเสียว่ายังไม่ถึงเวลา? เมื่อถึงเวลาแล้วตถาคตรู้เอง? ดังนี้?

***? ? ?ครั้นออกพรรษาแล้วเสด็จไปเพื่อบอกลาพราหมณ์ ๆ รู้สึกตัวว่านิมนต์พระผู้มีพระภาคให้ทรงจำพรรษาแล้วไม่ได้บำรุง ? ก็ทูลขอโทษอ้างว่าเป็นคฤหัสถ์มีภาระกังวลมาก? ไม่ใช่ว่าไม่มีวัตถุจะบำรุง พระองค์ทรงแสดงธรรมให้พราหมณ์ชื่นชมยินดีและได้ถวายอาหารพร้อมด้วยไตรจีวรแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน? พระองค์ทรงอนุโมทนา? แล้วเสด็จไปยังเมืองเวสาลี.

***? ? กัณฑ์ที่ ๒ ถึงกัณฑ์ที่ ๕ ? ตอนต้น ๆ ของกัณฑ์ปรารภต้นเหตุที่เกิดขึ้นไม่งาม? ไม่ควรแก่บรรพชิต? เป็นข้อเสียหายอย่างร้ายแรง? แล้วทรงบัญญัติปาราชิก ๔ สิกขาบท? คือห้ามเสพเมถุน ,? ลักทรัพย์ ,? ฆ่ามนุษย์,? พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน.? ปรับผู้ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ? ตอนท้ายของกัณฑ์อธิบายถึงวิธีวินิจฉัยอาบัติว่า? อย่างไรเป็นอาบัติ? อย่างไรไม่เป็นอาบัติ? เป็นอาบัติหนักหรือเบา? ต้องแล้วแก้ได้หรือแก้ไม่ได้

***? ? กัณฑ์ที่ ๖ ว่าด้วยเหตุ? และทรงบัญญัติสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท? ต้องแล้วต้องอยู่กรรมทรมานตนจึงจะพ้นได้

***? ? กัณฑ์ที่ ๗ ว่าด้วยอนิยต ๒ สิกขาบท? วิธีตัดสินอาบัติเรื่องพระอยู่ในที่ลับตาลับหูกับผู้หญิง.

ในเล่ม ๑ นี้? มีสิกขาบท ๑๙ สิกขาบท.

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ?? :090:

130
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 28 ก.พ. 2551, 11:03:32 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...เชิญครับ...

*********         พระไตรปิฎก(ย่อ)           **********

***    พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า  เมื่อครั้งพุทธกาลเรียกว่าพระพุทธพจน์บ้าง  พระธรรมวินัยบ้าง   จนเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วตอนสังคายนาครั้งที่ ๑ และ ๒  ยังคงเรียกว่าพระธรรมวินัยอยู่   แต่ภายหลังจึงเรียกว่าพระไตรปิฎก  คือจัดออกเป็น ๓ หมวด

***    ส่วนที่เป็นพุทธอาณาเป็นระเบียบแบบแผนสำหรับบรรชิตเรียกว่าพระวินัยปิฎก

***    ส่วนที่แสดงข้อปฏิบัติที่เป็นธรรม  กล่าวถึงสถานที่นั้น ๆ บุคคลนั้น ๆ เป็นต้น  เรียกว่าพระสุตตันตปิฎก

***    ส่วนที่รวบรวมธรรมอันลึกซึ้ง  เรียกว่าพระอภิธรรมปิฎก

 ปิฎกทั้ง ๓ นี้  เมื่อได้จารึกลงเป็นตัวอักษรแล้ว  ลอกคัดต่อ ๆ กันมาถ่ายทอดเป็นอักษรของแต่ละประเทศ  แต่ข้อความก็เป็นภาษาบาลี   พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ของไทยเป็นหนังสือ ๔๕ เล่ม   เพื่อให้เท่ากับจำนวนปีบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ญ๔๕ ปี

***    หนังสือพระไตรปิฎก ๔๕ เล่มนี้   ***

เล่ม ๑ ถึงเล่ม ๘ รวม ๘ เล่ม  เป็นพระวินัยปิฎก

เล่ม ๙ ถึง ๓๓  รวม ๒๕ เล่ม  เป็นพระสุตตันตปิฎก

เล่ม ๓๔ ถึง ๔๕  รวม ๑๒ เล่ม  เป็นพระอภิธรรมปิฎก 

***   ในโอกาสต่อไปกระผมจะนำเสนอข้อความย่อในพระไตรปิฎกต่อไปทั้ง ๔๕เล่มนะครับ...โดยว่ากันอย่างย่อๆทีละเล่มๆ พอเป็นแนวทางการศึกษาและปฏิบัติเท่านั้นนะครับ.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

131
สวัสดีครับ

วันนี้ขอความรู้เรื่องตะกรุดครับ...ผมได้รับตะกรุดมา 2 ดอกครับ...กระผมขอถามดังนี้ครับ

01.ตะกรุดทุกดอกที่ถูกส้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไรเป็นส่วนใหญ่ครับ.

02.กระผมได้รับมา2 ดอก (ไม่ทราบว่าเรียกว่าอัน...หรือดอกกันแน่นครับ)...และไม่ทราบที่มาของผู้สร้างตะกรุดด้วยครับ.

03.ในจำนวนตะกรุด 2 ดอกนั้นกายภาพของตระกุดมีดังนี้.

***  ดอกที่ 1 มีขนาดยาว 3.7 ซม.(ประมาณ1.5 นิ้ว) เส้นผ่าศูนย์ใน0.4 ซม.เส้นผ่าศูนย์นอก0.5 ซม.ความหนาของเชือกถักพันรอบ0.2 ซม.สรุปยาว 3.7 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางทั้งหมด 0.7 ซม.พันแผ่นทองแดงเป็นวง จำนวน 3 รอบแล้วพันเชือกบนแผ่นทองแดงที่ม้วนชั้นแรกพันละเอียดและพันชั้นนอกหยาบนับได้ 18 รอบ...ผู้ให้บอกมาว่าเป็นตะกรุดสายพระป่าทางภาคอิสาน...ผู้ให้ว่าอย่างนั้นจริงเท็จอยู่กับผู้ให้ครับ...

***   ดอกที่ 2 ยาว 2 นิ้ว..เส้นผ่าศูนย์กลางรวมเชือกทักแล้ว0.7 ซม.พันม้วนแผ่นทองแดงเป็นวง จำนวน 5 รอบ(แผ่นทองแดงบางกว่าดอกแรก)พันด้วยเชือกไนลอนสีเขียวบนแผ่นทองแดงที่ม้วนพันแบบละเอียดและพันชั้นเดียวนับได้ 50 รอบ...ผู้ให้บอกไม่รู้ที่มาครับ

04.การใช้ตะกรุดไม่ทราบที่มาของผู้สร้างและระยะเวลาในการสร้าง...มีผลอย่างไร...จะใช้คาดเอวหรือแขวนห้อยคอกันครับ...เรียกว่าไม่รู้แล้วใช้ผิดถูกหรือไม่ครับ.

05.มีบ้างไหมครับที่ท่านใช้ตะกรุดกันแล้วได้ตะกรุดต่อๆกันมาประสบปัญหาอย่างกระผมมีไหมครับ...

06.มีคาถาที่ใชเสกตะกรุดรวมที่ไม่ทราบที่มาและผู้สร้างอย่างไรบ้างครับ.

***    ขอความกรุณาช่วยตอบให้ทราบด้วยครับ...สวัสดีครับ  พิศร   ครับ     :090:

132
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 27 ก.พ. 2551, 07:10:56 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...เชิญครับ...

สัง คือ  สังคณี ( ว่าด้วยธรรมะเป็นหมวด ๆ ) ,

วิ     คือ  วิภังค์   ( ว่าด้วยธรรมะโดยแจกรายละเอียด ) ,

ธา คือ ธาตุกถา ( ว่าด้วยธาตุ ), 

ปุ   คือ  ปุคคลบัญญัติ ( ว่าด้วยบัญญัติต่างๆ มีบุคคล เป็นต้น ) ,

กะ คือ กถาวัตถุ (ว่าด้วยวาทะของผู้ถามและผู้ตอบประเภทละ๕๐๐ ) ,

ยะ คือ ยมก ( ว่าด้วยธรรมะที่เป็นคู่ ๆ ) , 

ปะ คือ  ปัฏฐาน ( ว่าด้วยปัจจัยต่าง ๆ ) 

******    ๕ คำนี้เป็นส่วนพระอภิธรรมปิฎก ครับ.

***   วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ      :090:

133
ธรรมะ / ตอบ: พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 26 ก.พ. 2551, 07:33:03 »
สวัสดีครับ

วันนี้มาต่อกันนะครับ...เชิญครับ...

ที ? ?คือ? ทีฆนิกาย ( หมวดว่าด้วยพระสูตรยาว ),

มะ คือ มัชฌิมนิกาย ( หมวดว่าด้วยพระสูตรขนาดกลาง ) ,?

สัง? คือ? สังยุตตนิกาย ( หมวดว่าด้วยพระสูตรประมวล? คือประมวลเรื่องต่าง ๆ เป็นพวก ๆ ไว้แห่ง

เดียวกัน ),

อัง คือ อังคุตตรนิกาย ( หมวดว่าด้วยพระสูตรอัน ? ยิ่งด้วยองค์?? คือ? จัดธรรมะเป็นหมวด ๑,

๒, ๓ , ๔ เป็นต้น )?

ขุ ? คือ ขุททกนิกาย ( หมวดพระสูตรเบ็ดเตล็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ) .

******? ? ๕ คำนี้เป็นส่วนพระสุตตันตปิฎก ครับ.

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ ? ? ?:090:


134
สวัสดีครับ

วันนี้ขอถามปัญหาคาใจครับ....(จะใช้ในการออกธุดงค์)

กระผมต้องการทราบว่า...

01. มีวัตถุมงคลชนิดใดใช้กันงู.เคี้ยว..งา..ตลอดพวกอาถรรพ์ต่างๆ...ฯลฯ ได้บ้างครับ

02. ถ้าเป็นพระเครื่องคือพระอะไรครับ

03. ถ้าเป็นเครื่องรางของขลังเป็นชนิดไหนครับ

ขอความกรุณาแนะนำให้ทราบที่ให้เช่าและราคาด้วยโดยประมาณก็ได้นะครับ...

***   ถ้าท่านสมาชิกท่านใดมีวัตถุใน 3 ข้อ ดังกล่าวและจะให้ความกรุณาอนุเคราะห์...กรุณาตอบให้ทราบด้วยครับ...

ขอขอบพระคุณมากครับ.


***   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

135
สวัสดีครับ

ขอบพระคุณมากครับ...ขอถามอีกข้อครับ...อย่างชนิดจิ๋วๆ...มีบ้างไหมครับ...ขอความกรุณาตอบให้ทราบด้วยครับ....

ขอบขอบพระคุณครับ...

***   สวัสดีครับ   พิศร   ครับ    :090:

136
สวัสดีครับ

วันนี้ขอถามเรื่องตะกรุดสำหรับผู้หญิงและเด็กครับ

ชนิดขนาดเล็กๆนะครับ...วัดไหนดีครับ...ประมาณราคาเท่าไรครับ..และการใช้งานอย่างไรครับ...

ขอขอบคุณครับ...สวัสดีครับ...พิศร   ครับ     :090:

137
ธรรมะ / พระไตรปิฎกย่อ
« เมื่อ: 25 ก.พ. 2551, 08:51:08 »
สวัสดีครับ

***? วันนี้ขอนำเสนอเรื่องพระไตรปิฎกโดยย่อเท่านั้น...ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องประเทืองปัญญากันตามสมควรสำหรับผู้อ่านครับ

ขอเริ่มกันเลยนะครับ...

? ? ***? ในประเทศไทยเรา? โบราณาจารย์ได้ผูกหัวใจพระไตรปิฎกไว้สำหรับจำง่ายและย่อสั้นที่สุด? ดังนี้

หัวใจวินัยปิฎก ใช้คำย่อว่า? อา , ปา , มะ , จุ ,ปะ.

หัวใจสุตตันปิฎก ใช้คำย่อว่า? ที , มะ , สัง , อัง , ขุ . ?

หัวใจพระอภิธรรมปิฎก ? ใช้คำย่อว่า? สัง , วิ , ธา , ปุ , กะ , ยะ , ปะ .


อักษรย่อ ๑๗ ตัวนี้ ? จบพระไตรปิฎกทีเดียวครับ....

***? ถ้าย่อหัวข้อต่างๆ ในปิฎกนั้น ๆ จะมีดังนี้ครับ

อา คือ อาทิกัมม์? ( ว่าด้วยอาบัติปาราชิกถึงอนิยต ) ,

ปา คือ ปาจิตตีย์ ( ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ เป็นต้นไป ) ,?

มะ คือ? มหาวรรค ( ว่าด้วยวรรคใหญ่ ) ,

จุ ? คือ จุลวรรค? ( ว่าด้วยวรรคน้อย ) ,

ปะ คือ? ปริวาร ? (ว่าด้วยข้อปลีกย่อย ) .

*****? ?๕ คำนี้เป็นส่วนพระวินัยปิฎก ครับ.

***? ?วันนี้ขอหยุดไว้ก่อนนะครับ? ?สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ ? ? :090:


138
สวัสดีครับ

ขอขอบคุณมากครับที่กรุณาตอบให้ทราบครับ

ขอถามเพิ่มเติมครับ ...ในกรณีใช้เป็นยาทำอย่างไร..ถ้าเป็นองค์พระไม่ใช่เม็ดยา..

..ถ้าผมนำไปเลี่ยมพลาสติกแล้ว..จะใข้คุณสมบัติทำเป็นยาทำอย่างไรครับ...

การอาราธนาพระเครื่องต้องว่าคาถาอย่างไร.

..และพระเนื้อผงยาจินดามณี รุ่นห้าเสาร์ อิทธิคุณครบเครื่อง

เมตตามหานิยม รักษาโรคภัยไข้เจ็บ แคล้วคลาด คงกระพัน..ตามที่คุณโยคีกล่าวมา จะกล่าวคาถาอะไรเมื่อนำมาห้อยคอครับ...

***? ?ขอขอบคุณครับ...สวัสดีครับ...พิศร? ?ครับ? ? :090:

139
สวัสดีครับ

***   วันนี้ผมได้รับพระผงจากเพื่อนสนิทที่ชอบพอกัน ๑ องค์ครับเพื่อนบอกว่าได้มาจากพระที่เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเปิ่นครับ

ลักษณะไม่เป็นเม็ดยาครับแต่เป็นพระรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 2.1 ซม. ยาว 3.1 ซม.และหนา0.4 ซม.

ด้านหน้าองค์พระเป็นรูปหลวงพ่อเปิ่นนั่งขัดสมาธิลืมตาบนหลังเสือ ด้านล่างเสือพิมพ์คำว่าหลวงพ่อเปิ่น

ส่วนด้านหลัง..ด้านบนพิมพ์อักษรคำว่าวัดบางพระ ตรงกลางเป็นรูปยันต์ ด้านล่างพิมพ์คำว่า นครปฐม..

เนื้อองค์พระเหมือนรูปเม็ดยาจินดามณีในweb มีกลิ่นหอมเหมือนยาไทยและน้ำหนักองค์พระเบาครับ...ครับ

ขอถามว่ามีคุณสมบัติเหมือนยาจินดามณีหรือไม่ครับและที่วัดบางพระมีรุ่นนี้หรือไม่ครับ...

...พุทธคุณดีทางไหนครับ...ยันต์เป็นยันต์อะไรครับ.

***   สวัสดีครับ...พิศร   ครับ    :090:

140
สวัสดีครับ

ขออนุโมทนาด้วยครับ ที่ให้ความเข้าใจในธรรมครับ

โดยเฉพาะบทความ....

บริหารการจัดสร้างพระเครื่องเชิงพุทธ

โดย สมหวัง วิทยาปัญญานนท์

***  ขอบุญรักษา ธรรมะคุ้มครองครับ  ***

สวัสดีครับ...พิศร   ครับ   :090:

141
สวัสดีครับ

***   ขอขอบคุณครับที่กรุณาตอบให้ทราบครับ...

***   ขอให้ตอบเถอะครับเพื่อถ้าท่านใดตอบผิดไปบ้างกระผมคิดว่าผู้รู้ท่านอื่นๆจะได้มีเมตตาตอบเสริมให้ครับ
ไม่ต้องกลัวผิดครับ...เพราะถ้าผิด...กระผมคิดว่า..ต้องมีผู้รู้ยินดีตอบให้เป็นธรรมทานอยู่แล้วนะครับ... ท่านใดตอบคาถาไหนได้..ขอความกรุณาตอบเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยนะครับ...

***   วันนี้ขอเพิ่ม...คาถาใน ๑๐๘ คาถาต่อไปนะครับ...

4.หัวใจวิปัสสนา คือ วิระสะติ

5.หัวใจธาตุทั้ง ๔ คือ นะมะพะทะ

6.หัวใจศีลพระ คือ พุทธสังมิ

ขอขอบพระคุณครับ...สวัสดีครับ   พิศร   ครับ    :090:

142
สวัสดีครับ

***   กระผมได้ข้อมูลมาจาก ยันต์พระคาถาหัวใจ108 ให้พุธคุณด้านไหน ...อ่านแล้วยังไม่เข้าใจคำย่อ

ขอความกรุณาท่านผู้รู้ทุกๆท่าน ช่วยไขความให้ด้วยครับ...ว่าตัวย่อเหล่านั้นมาจากคำหรือประโยคอะไรกันครับ...ถ้าแปลให้ด้วยยิ่งดีครับ

1.หัวใจพระพุทธเจ้า คือ อิกะวิติ

2.หัวใจพระไตรปิฎก คือ สะระณะมะ

3.หัวใจธรรมบท ( เปรต ) คือ ทุสะนะโส

***   ขอขบพระคุณครับ...สวัสดีครับ...พิศร  ครับ     :090:

143
สวัสดีครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ความเข้าใจครับ... ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มขอเชิญ...ขอบคุณอีครั้งครับ

...สวัสดีครับ....พิศร..ครับ     :090:

144
สวัสดีครับ

***   ก่อนอื่นขอชมครับในweb นี้ดีมากครับ...มีข้อมูลให้ศึกษามากครับ....

***   ขอถามครับ....กระผมอยากได้ความรู้เรื่องเบี้ยแก้ของหลวงพ่อเปิ่นครับ...ไม่ทราบว่าสร้างในปีไหนและมีกี่รุ่นกันครับ...ไม่ทราบว่าใช้กันงูกันเคี้ยวงาได้ด้วยหรือไม่ครับและคาถาประกอบการใช้เบี้ยแก้มีว่าอย่างไรครับ..ปัจจุบันยังมีให้หาเช่าได้ที่ไหนครับ...ราคาเท่าไร...มีการทำปลอมกันหรือไม่ครับ...ขอผู้รู้ช่วยกรุณาตอบให้ทราบด้วยครับ...

สวัสดีครับ...พิศร  ครับ    :090:


หน้า: [1]