แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - เผ่าพงษ์พระกฤษณะ

หน้า: [1]
1
พุทธศาสนิกชนร่วมเดินทางจาริกแสวงบุญ ณ ประเทศอินเดีย - เนปาล 10 วัน   15 พ.ย. 24 พ.ย. 2554 (จำนวน 39 ท่าน)
นมัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 ประสูติ-ตรัสรู้-ปฐมเทศนา-ปรินิพพาน ดั่งพุทธวาจาพระพุทธเจ้า
ที่ตรัสกับพระอานนท์ว่า ดูก่อนพระอานนท์ ชนเหล่าใดเที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ 4 สถานที่เหล่านั้นแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จักไปถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ชำนาญการในดินแดนพุทธภูมิเป็นผู้บรรยายพุทธประวัติ นำสวดมนต์ ปฏิบัติสมาธิภาวนา เพื่อบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดการเดินทาง

พุทธคยา     สถานที่แห่งการตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
สารนาถ      ป่าอิสิปัตนมฤคทายวัน สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนากับปัญจวคีย์
พาราณสี      ล่องแม่น้ำคงคา แม่น้ำแห่งการชำระบาป
กุสินารา       สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันปรินิพพาน
สาวัตถี         เมืองที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาอยู่นานที่สุด


Not a valid youtube URL

2
ณ เวลาปัจจุบัน หลังของเผ่าพงษ์พระกฤษณะ
 






3
ขออนุญาตินำเอารูปเก่าๆ เมื่อตอนนงานวิสาขบูชา ณ ประเทศมาเลเซีย มาโพส ในพื้นที่แห่งนี้หน่อยนะครับ
:017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017:

วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ทางวัดบุญญาราม รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ได้จัดงานเวียนเทียนเนื่องในวันวิสาขบูชา ซึ่งตลอดเวลาของพิธีมีฝนตกพรำๆ อยู่ตลอด ซึ่งได้นำภาพกิจกรรมตั้งแต่ตอนเช้า ในงานนี้มีการบวชพระและชีพราหมณ์ เพื่อเข้าร่วมในกิจกรรมนี้ด้วย ตอนกลางวันจึงได้เก็บภาพกิจกรรมของพระและชีพราหมณ์ มาฝากกันด้วย

ขออภัยที่ต้องลงลายน้ำในภาพขนาดนี้เพราะคนที่นี่ แย่กว่าที่เมืองไทยเรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญาจ้องแต่จะเอาอย่างเดียวมีบางคนเล่นเอาฮาร์ดดิสก์มาให้เราก๊อปรูปให้เลย ซึ่งเหมือนกับเป็นการดูถูกคุณค่างานที่เราถ่ายเลย ถึงผมจะถ่ายภาพไม่สวย ไม่เด่น แต่ความภาคภูมิใจในการถ่ายภาพ ผมมีเต็มเปี่ยม จึงทำให้ต้องลงลายน้ำซะหนังเลย จะเลือกรูปใหม่ เวลาก็มีน้อยก็เลยเลือกรูปที่ลงลายน้ำเสร็จแล้วมาลง ต้องขอ อภัยท่านผู้ชมไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ











4
การนำเสนอในครั้งนี้กระผมขออนุญาติ แบ่งย่อยกระทู้ให้สั้นลง เพื่อความสะดวกในการเปิดดูของสมาชิกที่ความเร็วอินเตอร์เน็ตไม่สูง โดยสามารถเข้าไปดูกระทู้ที่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้ได้ดังต่อไปนี้

ปีนัง ครั้งหนึ่ง เคยเป็นเกาะหมากของไทย


ปีนัง ครั้งหนึ่ง เคยเป็นเกาะหมากของไทย แต่วันนี้ไม่ใช่ ทำให้ความศิวิไลซ์เลิศหรูอลังการ#2


:017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017:


ขึ้นมาอีกนีดมีห้องโถงใหญ่ให้ได้ถ่ายรูปและพักผ่อนจากอาการลิ้นห้อยได้เป็นอย่างดี ก็เลยหยุดอยู่แถวนี้นานหน่อย






5
การนำเสนอในครั้งนี้กระผมขออนุญาติ แบ่งย่อยกระทู้ให้สั้นลง เพื่อความสะดวกในการเปิดดูของสมาชิกที่ความเร็วอินเตอร์เน็ตไม่สูง โดยสามารถเข้าไปดูกระทู้ที่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้ได้ดังต่อไปนี้


ปีนัง ครั้งหนึ่ง เคยเป็นเกาะหมากของไทย


ปีนัง ครั้งหนึ่ง เคยเป็นเกาะหมากของไทย แต่วันนี้ไม่ใช่ ทำให้ความศิวิไลซ์เลิศหรูอลังการ#3


:017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017:


ต่อไปก็มาถึงวัดไทย บน เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซียกันบ้าง ซึ่งอยุ่คนละฝั่งถนนกับวัดพม่า บน เกาะปีนัง

ซึ่งวัดไทยนี้มีชื่อว่า วัดไชยมังคลาราม มีพระนอนองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ภายในวัด

บริเวณด้านนอก






6
การนำเสนอในครั้งนี้กระผมขออนุญาติ แบ่งย่อยกระทู้ให้สั้นลง เพื่อความสะดวกในการเปิดดูของสมาชิกที่ความเร็วอินเตอร์เน็ตไม่สูง โดยสามารถเข้าไปดูกระทู้ที่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้ได้ดังต่อไปนี้


ปีนัง ครั้งหนึ่ง เคยเป็นเกาะหมากของไทย แต่วันนี้ไม่ใช่ ทำให้ความศิวิไลซ์เลิศหรูอลังการ#2


ปีนัง ครั้งหนึ่ง เคยเป็นเกาะหมากของไทย แต่วันนี้ไม่ใช่ ทำให้ความศิวิไลซ์เลิศหรูอลังการ#3


:017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017: :017:


เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาได้ไปร่วมงาน 2001 International Maha Samghika Dama ณ เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในการเดินทางต้องผ่านสะพานเพื่อข้ามไปยังเกาะปีนัง


อ้างถึง
สะพานปีนัง ( Penang Bridge ) ที่ยาวสุดลูกหูลูกตา เฉพาะตัวสะพานที่อยู่เหนือพ​้นน้ำยาว 8.5 กม. และหากนับจากฐานทั้งสองฝั่ง​หรือทางลาดจะมีความยาว 13.5 กม. ปัจจุบันสะพานปีนังอยู่ในอั​นดับ 3 ของโลก โดยมีสะพานข้ามอ่าว หังโจว ( Hangzhou )ของประเทศจีนยาวเป็นอันดับ​ 1 มีความยาวสะพานในส่วนที่เหน​ือน้ำ 36 กม. เชื่อมเมือง เซี่ยงไฮ้ (Shanghai) กับ เมืองท่าเจ้อเจียง (Zhejiang) คาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินสิ​้นปี 2550 นี้ ก่อนถึงงานโอลิมปิคในอีก 2 ปีข้างหน้า หรือ ค.ศ 2008 ที่จีนเป็นเจ้าภาพ สะพานปีนังใช้เวลาข้ามประมา​ณ 15 นาที ตามความเร็วที่กำหนดราว 70 กม./ชม ในความรู้สึกขณะนั่งรถข้ามส​ะพาน ต้องบอกว่ายิ่งใหญ่ทีเดียว เป็นผลงานในสมัยของรัฐบาล ดร.มหาเธย์ โมหะหมัด เช่นเดียวกับตึกแฝด หรือ ตึกปิโตรนัส ( Petronas) กลางกรุงกัวลาลัมเปอร์


ในการเดินทางข้ามสะพาน ก็ได้บันทึกภาพได้เล็กๆ น้อยๆ เพราะว่ารถทัวร์ที่นำคณะไปไม่ได้จอดให้บันทึกภาำพ ก็เลย ถ่ายมันขณะที่รถวิ่งนั่นแหละ ภาพที่ได้ก็ออกมาประมาณนี้ครับผม









7
อ้างถึง
วัดบุญญาราม เขตปาดังเซรา เป็นที่ตั้งของโรงเรียนภาษาไทย ซึ่งเปิดการเรียนสอนมานานกว่า ๖๐ ปี โดย พระเทพมงคลญาณ อดีพเจ้าอาวาสดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยทำหน้าที่ในการสอนภาษาไทยแก่คนไทยมาเลย์ทั้งหลายที่มีอยู่จำนวนมากใน ละแวกวัดนี้ รวมทั้งการอบรมสั่งสอนให้รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และความรู้ความเข้าใจในหลักพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง  วัดบุญญาราม นี้จึงถือเป็นศูนย์กลางของคนไทยมาเลย์ในรัฐเกดะห์ที่พวกเราคนไทยในเมืองไทย ควรจะสนับสนุนในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ถวายเครื่องอัฏบริขารต่างๆ รวมจนถึงหนังสือภาษาไทย ทั้งที่เป็นตำราเรียน และหนังสืออ่านประกอบอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยมาเลย์มีความต้องการมากที่สุด เพื่อให้ลูกหลานคนไทยที่นั่นมีหนังสืออ่านเขียน ไม่ลืมภาษาไทยของบรรพบุรุษ เป็นความปรารถนาของหลวงพ่อก่อนที่ท่านจะมรณภาพ






8
พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลสุดยอดพระเกจิอริยสงฆ์ ๔ ภาคของประเทศไทย(รุ่นแซยิด๘๘) ณ ศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 โดยมี

พระเทพสุธี วัดไตรธรรมาราม เจ้าคณะภาค 16 เป็นประธานพิธีฝ่างสงฆ์
พระสุธรรมาธิบดี วัดธรรมบูชา เป็นประธานจุดเทียนชัย
พระครูพิเศษเขมาจาร(หลวงพ่อท้วม) วัดศรีสุวรรณ เป็นประธานดับเทียนชัย

วัตถุมงคลที่เข้าพิธีพุทธาภิเษกสุดยอดพระเกจิอริยสงฆ์ ๔ ภาคของประเทศไทย รุ่นแซยิด๘๘ ณ ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี วันที่ 21 เมษายน 2554




9
เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 เป็นวันที่เสร็จสิ้นปริวาสกรรม ประจำปี วัดทุ่งเซียด
แต่การสัญจรเพื่อเข้าตัวเมือง ยังไม่สามารถเดินทางในเส้นทางหลักได้

ระหว่างทางที่ผ่านไปได้เจอกับภาพ สะพานขาด ขาดกันจริงๆ







10
ภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์

เนื่องจากรูปภาพมาก จึงขอแยกกระทู้ เพื่อความสะดวกในการเปิดดูของ สมาชิกทุกท่าน เพราะความเร็วอินเตอร์เนตไม่เท่ากันถ้าหากโพสภาพมากไปในกระทู้เดียว อาจจะทำให้คนที่ความเร็วเน็ตไม่สูง จะมีปัญหาในการรับชมได้ จึงขอแยกกระทู้ ตามความเหมาะสมครับ


สภาพเสาไฟฟ้า


เสนาสนะ ต่างๆ ในวัดทุ่งเซียด



กุฏิพระครูปลัดพิสูจน์ศักดิ์ อภิปุณฺโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดทุ่งเซียด

11
เป็นภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเดือน 4 (เมษายน) ซึ่งคนเฒ่าคนแก่ได้พูดกันว่าตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยเจอเหตุน้ำท่วมที่รุนแรงขนาดนี้มาก่อน

นี่คือที่มั่นสุดท้ายของภิกษุต้องเผชิญชตากรรมน้ำท่วมด้วยกัน อาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนี้ประมาณ 10 รูป/คน ด้วยกัน

ก่อนหน้า ถ่ายเมื่อวันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2554



หลังจาก ถ่ายเมื่อวันที่ 03 เมษายน พ.ศ. 2554

ด้านใน


ด้านนอก

12
เมื่อตอนเช้าวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2554 ระดับน้ำได้เพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก ซึ่งในตอนเช้ามืดก็คิดว่าระดับน้ำเพิ่มขึ่้นมากแล้วแต่ยิ่งเวลาผ่านไป ระดับน้ำยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เรียกว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำเป็นนาทีกันเลยทีเดียว
ซึ่งในวันนี้มีปัญหาให้ต้องแก้ไขตั้งแต่ตอนตี 4 ของวันเนื่องจากห้องเก็บของที่เป็นคลังเสบียงของวัด น้ำได้แวะเข้าไปเยี่ยม ทำให้ต้องย้ายที่เก็บเป็นการด่วนที่สุด มิฉะนั้น จะไม่คลังเสบียงหลงเหลือไว้ในวันต่อๆ ไป

ซึ่งในวันนี้สถานที่ปักกลดของพระบางรูปโดนน้ำท่วมแทบจะไม่ได้นอนในตอนกลางคืน และการเดินทางสัญจรภายในวัด ณ ตอนนั้นต้องใช้เรือเป็นยานพาหนะโดยส่วนใหญ่ของวัด

ซึ่งความวุ่นวายในตอนเช้าของวันนี้คือการย้ายที่ปักกลดของพระที่เข้าอยู่ปริวาส และการย้ายสัมภาระของพระที่เป็นพระอาจารย์กรรม โดยบางรูปบางท่านก็ติดเกาะ ต้องใช้เรือในการขนย้ายสัมภาระ เกิดความโกลาหลวุ่ยวายหลังจากฉันภัตตาหารเช้าซึ่ง จะนำเสนอให้ได้ชมกันดังต่อไปนี้

 

 

 

 


13
สำหรับเหตุการณ์ปริวาสกรรมในท่ามกลาง ก็ยังมีฝนฟ้าคะนอง กระหน่ำอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่มีวี่แวว ว่าจะหยุด

สำหรับเหตุการณ์สำคัญในช่วงนี้ คือต้นยางพาราหักโค่นลงมาทำให้สายไฟฟ้าขาดทำให้พระที่มาอยู่ปริวาสกรรมนั้นต้องทำวัตร สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ท่ามกลางแสงเทียนตลอด 2 วันเต็มๆ (29-30 มีนาคม พ.ศ. 2554)

 

 

 


14
งานเข้าอยู่ปริวาสกรรมระหว่างวันที่ ๒๖ มีนาคม ถึง ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔ ณ.วัดทุ่งเซียด หมู่ที่ ๑ ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

แต่สถานที่ ที่เตรียมไว้สำหรับจัดงานปริวาสกรรมในครั้งนี้เจอพิษฝนฟ้าคะนอง ทำให้น้ำท่วมสถานที่จัดงานปริวาสในครั้งนี้ทั้งหมดเป็นเหตุให้ต้องย้ายสถานที่จัดมา ปักกลดกันที่ในลานวัด

ซึ่งถึงแม้จะมีการย้ายมาปักกลดกันที่ลานวัด ฝนฟ้าก็ยังคงคะนองไม่ได้หยุดหย่อน ทำให้ทางวัดต้องย้ายสถานที่ทำวัตร สวดมนต์ และ ปฏิบัติธรรม ทำให้พระเจ้าหน้าที่ต้องเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ และ ระบบไฟฟ้า ทั้งหมดมาไว้ภายในอาคาร

มาดูสถานที่จัดงานปริวาสกรรมประจำปี 2554 ณ วัดทุ่งเซียด ในเบื้องต้นกันก่อน







เป็นกุฏิที่พระอาจารย์เมสันต์(อ.โด่ง) เคยพักเมื่อปี 2553

15
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554 พระอาจารย์โด่งได้เปิดเข็ม สัก ให้กับลูกศิษย์ ณ วัดทุ่งเซียด 

จึงได้เก็บภาพบรรยากาศ มาฝากพี่น้องชาวเว็บวัดบางพระกัน ครับ

 

 

 

 


16
ในระหว่างวันที่ 26 มีนาคม ถึง วันที่ 4 เมษายน 2554 พระอาจารย์เมสันต์ คมฺภีโร(อ.โด่ง) ได้มาเป็นประธานอาจารย์กรรม ในงานเข้าอยู่ปริวาสกรรม ณ วัดทุ่งเซียด หมู่ที่ 1 ตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เนื่องจากช่วงนี้จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจอพายุฤดูร้อนทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองอย่างต่อเนื่อง ทำให้พระอาจารย์โด่งได้รับผลกระทบไปด้วย เนื่องจากโน๊คบุ๊คของท่านพระอาจารย์ เจอละอองฝน และ ความชื้นทำให้ เปิดเครื่องไม่ติด ณ เวลา นี้ จึงฝากบอก สมาชิกชาวเว็บวัดบางพระทุกท่าน ว่าถ้าตอนนี้พระอาจารย์โด่งหายไปไม่ได้เข้ามาตอบกระทู้ สาเหตเพราะ เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านพระอาจารย์ ได้รับผลกระทบ จากละอองฝนและความชื้นทำให้เปิดเครื่องไม่ติดครับ

พระอาจารย์โด่ง ฝากแจ้งข่าวเพื่อทราบครับผม

17
ขออนุญาตินอกเรื่องหน่อยนะครับ

เป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นวันนี้(6 กุมภาพันธ์ 2554)เวลาประมาณ 15 นาฬิกา สภาพก็อย่างที่เห็นครับ

รถคันนี้เป็นรถคันที่กระผมใช้ในการเดินทางไปเรียนทุกวัน แต่ ณ วันนี้มันมีสภาพเช่นนี้แล้วครับ







เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่า ก่อนจะเป็นแบบนี้ก็ขับรถไปบนถนนโดยปกติสุข พอมาถึงที่เกิดเหตุออกจากทางโค้งมามองไปข้างหน้าก็มี มอเตอร์ไซด์(เรียกว่าเป็นแก๊งก็ได้เพราะวิ่งมา 4 คัน) วิ่งสวนทางมาคร่อมเข้ามาในเลนของรถที่ผมนั่งมา สวนมาแบบเต็มถนนเลย ซึ่งคนขับรกก็ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วถ้าจะชนมอเตอร์ไซด์ก็ตายหมู่แน่ อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 4 ศพแน่นอน  ทำให้คนขับรถคันที่ผมนั่งมาเลือกหักหลบ พอหักหลยปุ๊ป ก็จีวอนบิน ทันทีครับ  บินไปได้ประมาณ 3-4 ตลบเห็นจะได้ครับ จากนั้นก็ไปกระแทกเข้ากับต้นยางพาราอย่างจัง รถก็กระเด้งตะแคงอย่างภาพที่เห็นนี่แหละครับ

ปล. คนที่อยู่ในรถทุกคนยังหายใจดีอยู่คับ ไม่มีรอยถลอก หรือ ฟกช้ำแต่อย่างใด ส่วนผมก็ยังถ่ายภาพได้แต่ไม่ได้เอากล้องไป มีแต่ โทรศัพท์มือถือ ภาพที่ได้ออกมาจึงเป็นเช่นนี้ ทนดูกันหน่อยนะครับ

18
"หลวงตาบัว"ละสังขารแล้วเวลา03.53น.สิริมายุรวม 98 ปี ทีมแพทย์แถลงอีกครั้งเช้านี้


ภาพประกอบจาก : คมชัดลึก

รายงานข่าวจากวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ว่าเมื่อเวลา 03.53 น. หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน" แห่งวัดป่าเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ละสังขาร แล้ว สิริอายุรวม 98 ปี ซึ่งคณะแพทย์เตรียมแถลงอย่างเป็นทางการอีกครั้งเช้านี้

สำหรับ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน" แห่งวัดป่าเกสรศีลคุณ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี นั้น นาม บัว โลหิตดี ชาติภูมิ ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี  เกิดเมื่อ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน๙ ปีฉลู ณ บ้านตาด อำเภอหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี บิดา นายทองดี โลหิตดี    มารดา นางแพงศรี โลหิตดี พี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน  สถานภาพ

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน   สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ  วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวงคู่ครอง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆ ตลอดมา ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้ ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น วันบวช ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ วัดโยธานิมิตร อุดรธานี     

พระอุปัชฌาย์ ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ โดยมีท่านพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายานามว่า "ญาณสมฺปนฺโน" แปลว่า "ถึงพร้อมแล้วด้วยการหยั่งรู้"   เคารพพระวินัย ด้วยเดิมมีนิสัยจริงจัง จึงบวชเพื่อเอาบุญกุศลจริง ๆ และตั้งใจรักษาสิกขาบทวินัยน้อยใหญ่ ่อย่างเคร่งครัด ในพรรษาแรกท่านได้ตั้งสัจอธิษฐานว่า ในการทำวัตรเช้า-เย็นรวมและการบิณฑบาต จะไม่ให้มีวันใดขาดเลย และท่านก็ทำได้ตามที่ตั้งคำสัตย์ไว้  เรียนปริยัติ เมื่อได้เรียนหนังสือทางธรรม ตั้งแต่นวโกวาท พุทธประวัติ ประวัติพระสาวกอรหันต์ ที่ท่านมาจากสกุลต่างๆตั้งแต่พระราชา เศรษฐี พ่อค้า จนถึงประชาชน

หลังจากฟังพระพุทธโอวาทแล้วต่างก็เข้าบำเพ็ญเพียร ในป่าเขาอย่างจริงจัง เดี๋ยวองค์นั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในป่า เดี๋ยวองค์นี้สำเร็จในเขา ในเงื้อมผาในที่สงบสงัด ท่านก็เกิดความเชื่อเลื่อมใสขึ้นมา อยากจะเป็นพระอรหันต์ พ้นจากทุกข์ทั้งปวงในชาตินี้อย่างพระสาวกท่านบ้าง สงสัย ช่วงเรียนปริยัติอยู่นี้ มีความลังเลสงสัยในใจว่า หากท่านดำเนินและปฏิบัติตามพระสาวกเหล่านั้นจะบรรลุถึงจุดที่พระสาวกท่านบรรลุหรือไม่ และบัดนี้จะยังมีมรรคผลนิพพานอยู่ เหมือนในครั้งพุทธกาลหรือไม่  ตั้งสัจจะ ด้วยความมุ่งมั่นอยากเป็นพระอรหันต์บ้าง ท่านจึงตั้งสัจจะไว้ว่า จะขอเรียนบาลีให้จบแค่เปรียญ ๓ ประโยคเท่านั้น ส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชั้นก็ไม่เป็นไร จากนั้นจะออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียว จะไม่ยอมศึกษาและสอบประโยคต่อไปเป็นอันขาด  เรียนจบ ท่านสอบได้ทั้งนักธรรมเอก และเปรียญ ๓ ประโยคในปีที่ท่านบวชได้ ๗ พรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ และสถานที่แห่งนี้เอง เป็นที่แรกที่ท่านได้มีโอกาสพบเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ต่อมา ได้กลายเป็นพระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดในชีวิตของท่าน ออกปฏิบัติ เมื่อเรียนจบมหาเปรียญแล้ว แม้จะมีพระมหาเถระในกรุงเทพฯ สนับสนุนให้ท่านเรียนต่อในชั้นสูง ๆ ขึ้นไปก็ตาม แต่ด้วยท่านเป็นคนรักคำสัตย์ยิ่งกว่าชีวิต ดังนั้นเมื่อมีโอกาส ท่านจึงเข้ากราบลาพระผู้ใหญ่ และออกปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจัง โดยมุ่งหน้าไปทางป่าเขาแถบจังหวัดนครราชสีมา แล้วเข้าจำพรรษาที่ อำเภอจักราช นับเป็นพรรษาที่ ๘ ของการบวช พากเพียร ท่านเร่งความเพียรตลอดทั้งพรรษา ไม่ทำการงานอื่นใดทั้งนั้น มีแต่ทำสมาธิภาวนา-เดินจงกรมอย่างเดียวทั้งวันทั้งคืน จนจิตได้รับความสงบจากสมาธิธรรม  มุ่งมั่น แม้พระเถระผู้ใหญ่ท่านอุตส่าห์เมตตาตามมาสั่งให้กลับเข้าเรียนบาลีต่อที่กรุงเทพฯอีก แต่ด้วยความมุ่งมั่นและตัดสินใจเด็ดขาดแล้ว ที่จะพ้นทุกข์ให้ได้ภายในชาตินี้ ท่านจึงหาโอกาสปลีกตัวออกปฏิบัติได้อีกวาระหนึ่ง   จิตเสื่อม

จากนั้นท่านกลับไปบ้านเกิดของท่าน เพื่อทำกลดไว้ใช้ในการออกวิเวกตามป่าเขาจิตที่เคยสงบร่มเย็น จึงกลับเริ่มเสื่อมลง ๆ เพราะเหตุที่ทำกลดคันนี้นี่เอง  เสาะหา..อาจารย์ เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ เดินทางไปขออยู่ศึกษากับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เหตุการณ์บังเอิญกุฏิที่พักเพิ่งจะว่างลงพอดี ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเมตตารับไว้ และเทศน์สอนตรงกับปัญหาที่เก็บความสงสัยฝังใจมานานให้คลี่คลายไปได้ว่า ดินฟ้าอากาศแร่ธาตุต่างๆ เขาเป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่ใจ หากกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่ใจแล้ว จะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรม ทั้งกิเลสในใจ

ขณะเดียวกันจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับ  ปริยัติ..ไม่เพียงพอ จากนั้นท่านพระอาจารย์มั่นเมตตาแนะต่อว่า ธรรมที่เรียนมาถึงขั้นมหาเปรียญมากน้อยเพียงใด ยังไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้ได้ แต่กลับจะเป็นอุปสรรคต่อการภาวนา เพราะอดจะเป็นกังวล และนำธรรมที่เรียนมานั้น มาเทียบเคียงไม่ได้ในขณะที่ทำใจให้สงบ และยังจะกลายเป็นสัญญาอารมณ์ คาดคะเนไปที่อื่น จนกลายเป็นคนไม่มีหลักได้ ดังนั้น เพื่อให้สะดวกในเวลาทำความสงบหรือจะใช้ปัญญาคิดค้น ให้ยกธรรมที่เรียนมานั้นขึ้นบูชาไว้ก่อน ต่อเมื่อถึงกาลอันสมควร ธรรมที่เรียนมาทั้งหมด จะวิ่งเข้ามา ประสานกันกับด้านปฏิบัติ และกลมกลืนกันได้อย่างสนิท       

การศึกษาและปฏิบัติ ท่านได้ศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จนกระทั่งหลวงปู่มั่นมรณภาพเป็นระยะเวลา ๘ ปี และถึงที่สุดแห่งธรรมที่วัดดอยธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร

ประวัติศาสตร์ช่วยชาติ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นวันเปิดโครงการช่วยชาติ โดยมีเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เสด็จไปเป็นประธานเปิดที่สวนแสงธรรม  หลวงตาพูดว่า "(เวลานี้) น่าจะเป็นประวัติศาสตร์ก็ได้ในเมืองไทยของเรา ที่ว่าพระเป็นผู้นำนี่ไม่เคยมีนะ เริ่มมีหลวงตาบัวคนเดียวนี้แหละออกประกาศตนทีเดียว โดยไม่มีใครชักชวน ไม่มีโครบอกเล่า ด้วยอำนาจแห่งความเมตตาชักชวนเอง ดูสภาพของเมืองไทยแล้วพี่น้องชาวไทยทั้งหลายต่างคนต่างมีความทุกข์ร้อนทุกหย่อมหญ้ากันไปโดยลำดับลำดาไม่ว่าสถานที่ใด ก็ทนใจอยู่ไม่ได้ จึงต้องออกความคิด ความเห็นในแง่ต่าง ๆ ที่จะนำชาติไทยของเราให้เป็นไปด้วยความแคล้วคลาด ปลอดภัย หาทางใดก็ไม่เจอ ตามความสามารถความคิดอ่านของตัวเอง หาแล้วหาเล่า หาไม่เจอ สุดท้ายก็เลยต้องเอาหลวงตาบัวเป็นตัวประกัน นำพี่น้องทั้งหลายเพื่อจะบริจาคทรัพย์ที่มีอยู่ของตนเข้าช่วยชาติของเราด้วยความบริสุทธิ์ใจ นี้แหละเริ่มต้นเหตุเป็นอย่างนี้จึงได้ออกประกาศตน"

แหล่งที่มาของข้อมูล : คมชัดลึก

19

20
ดูภาพ...กระทู้ที่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้
    -  คอลเลคชั่นอาจารย์เมสันต์(อ.โด่ง) และสหายธรรม เข้าปริวาส ณ วัดสาวชะโงก
    -  ปีใหม่...ไปเที่ยววัดโสธร & วัดห้วยมงคล
    -  สถานที่เก็บอัฐิหลวงพ่อขิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
    -  ศาสนสถานแบบไทย-จีน อยู่ด้วยกัน ในแบบของคน แปดริ้ว
    -  บันทึกการเดินทาง เข้าปริวาสกรรม จากสถานีรถไปสุราษฎร์ธานี ถึง ฉะเชิงเทรา ภาค๒

--------------------------------------------------------------------------------------
เป็นบันทึกการเดินทาง จากสถานีรถไปสุราษฎร์ธานี ถึง วัดสาวชโงก อ.บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื่องจากระไฟช้ากว่ากำหนดการ ในตั๋วไปประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า จึงออกตระเวณบันทึกภาพไปรอบๆ สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี

เริ่มออกเดินทางวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553


21
สำหรับผมมองเห็นวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของอุบาสก อุบาสิกา ชาวแปดริ่ว(ฉะเชิงเทรา) มีการศรัทธาในพุทธศาสนาอยู่ 2 แบบด้วยกันคือแบบไทย(พุทธศาสนาเถรวาท = วัด) และแบบจีน(พุทธศาสนามหายาน = โรงเจ) ซึ่งเท่าที่ได้เห็นมา ในวัดโสธรวรารามวรวิหาร มีโรงเจอยู่ภายในวัด เรียกได้ว่ามาที่เดียว ได้ไหว้ พระทั้ง 2 ส่วน  เพราะคนในพื้นที่โดยส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายจีน

จึงได้นำภาพ ของโรงเจภายในวัโสธรวรารามวรวิหาร มาให้ได้ชมกันคับ




22
อ้างถึง
คำว่า  "ปลัดขิก"  แท้จริงก็คือ  รูปศิวลึงค์  นั่นเอง  หรือที่บางคนบอกว่าเป็นรูปของอวัยวะเพศชายก็ไม่ผิด  ปลัดขิกของเกจิคณาจารย์ในเมืองไทยที่ได้รับความนิยมนั้นมีอยู่หลายสำนัก  แต่ที่ขึ้นชื่อมากคือ  หลวงพ่อเหลือ  วัดสาวชะโงก  อ.บางคล้า  จ.ฉะเชิงเทรา  และหลวงพ่ออี๋  วัดสัตหีบ  ชลบุรี

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 10 พฤษภาคม 2552

เมื่อส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมา ผมได้ไปเข้าปริวาสที่วัดสาวชะโงก จึงได้บันทึกภาพสถานที่เก็บอัฐิของหลวงพ่อขิก และ หลวงพ่อเหลือมา จึงนำภาพมาแบ่งปันกันดูครับ


23
เมื่อช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา

หลังจากอยู่ปริวาสิกรรม ที่วัดสาวชะโงก เสร็จแล้วก็ได้มีโอกาสแวะไปสักการะ หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร

ก็เลยบันทึกภาพติดไม้ติดมือมาฝากกันครับ









24
ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ที่ผ่านมี ได้มีโอกาส อยู่ปริวาสกรรม ณ วัดสาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา

ในที่นี้มีอาจารย์เมสันต์(อ.โด่ง) ร่วมอยู่ปริวาสกรรมด้วย จึงได้บันทึกภาพของท่านตามจังหวะ และโอกาส ที่พอจะเอื้ออำนวย(ตากล้องก็เป็นลูกกรรมจึงทำให้ไม่สะดวกในการบันทึกภาพ)

ก็เลยนำภาพของท่านอาจารย์และสหายธรรม มาแบ่งปันให้พี่น้องชาวบางพระได้รับชมกันคับ



ถ้าภาพถ่ายออกมาไม่สวยก็ขออภัยด้วยนะ ครับ ... พยายามเต็มที่แล้วครับได้แต่นี้แล้วจริงๆ ครับ

25
นาน ๆ มาที ขอโพสรูปที่นอกเหนือไปจากหัวข้อหน่อยนะครับ
อ้างถึง
เมื่อวันวันที่ (3 ธันวาคม 53)  เวลา 15.05 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ไปทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และทรงเปิดอาคาร ม.ว.ก. 48 พรรษา ณ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในงานนี้ทำให้ตัวข้าพเจ้าได้ร่วมเดินทางไปกับคณะของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี วัดพัฒนาราม ระหว่างวันที่ 1-4 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา และก็ได้เก็บภาพบรรยากาศระหว่างการเดินทางมาเล็กๆ น้อยๆ จึงขออนุญาติพื้นที่แห่งนี้ในการ นำรูปภาพมาลงไว้ ณ ที่นี้ด้วย  หวังว่าสมาชิกทุกท่านคงให้โอกาสกระผมแสดงผลงานภาพถ่ายในครั้งนี้ด้วยนะครับ


กำหนดการเดินทางคือนัดพร้อมกัน ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี วัดพัฒนาราม(พระอารามหลวง) เวลา 18.00 น. และกำหนดการที่รถจะออกเดินทางเวลาประมาณ 18.30 น. โดยมีรถทัวร์(จำนวน 3 คัน) เป็นยานพาหนะ สำหรับการเดินทางในครั้งนี้ (จองรถทัวร์ 2 ชั้นไม่ว่างตกลงกันว่าเอาชั้นครึ่ง แต่พอเอาเข้าจริง ไหงเป็นชั้นเดียวอ่ะ)


26
เมื่อวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2553 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 12 งานทอดกฐิน ณ วัดทุ่งเซียด หมู่ที่ 1 ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นกฐินสามัคคี

ซึ่งมีภาพบรรยากาศในวันทอดกฐินดังต่อไปนี้


27
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลาตะวันบ่าย

ท่านชินวรณ์  บุญเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะ ร่วมกันซับน้ำตา ผู้ประสบภัยธรรมชาติ ด้วยการมอบถุงยังชีพให้ประชาชน

ณ โรงเรียนบ้านไทรงาม หมู่ที่ 7 ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

 

 

 

 

 


28
เช้าวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ก่อนไปเรียนเห็นฝนไม่ตกก็เลยจับกล้อง มาถ่าย(ป้องกันเชื่อราเกาะเลนส์)
สมดังเจตนารมย์ อุโบสถกลางน้ำ(เป็นไปดังเจตนารมย์ที่ตั้งเอาไว้)

สมดังเจตนารมย์ อุโบสถกลางน้ำ(เป็นไปดังเจตนารมย์ที่ตั้งเอาไว้)

สมดังเจตนารมย์ อุโบสถกลางน้ำ(เป็นไปดังเจตนารมย์ที่ตั้งเอาไว้)

29
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา เวลา ประมาณ 13.00 น ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้อุโบสถวัดจันทร์ประดิษฐาราม(วัดบางเดือน) ซึ่งได้รับความเสียหายไปค่อนข้างมาก พอดีวันนีั(1 กันยายน พ.ศ. 2553) ได้ผ่านไปทำธุระในระแวกนั้น จึงได้บันทึกภาพความเสียหาย มาให้สมาชิกได้ชมกัน ครับ เห็นแล้วเกิดความหดหู่ใจจังเลยครับ อายุ อุโบสถก็น่าจะเกิด 90 ปี แล้วและยังเป็นสถานที่บวชของพระมหาเถระผู้ใหญ่ของจังหวัดสุราษฎร์ธาน หลาย ๆ ท่านด้วยกัน มาชมภาพกันเลยดีกว่า ครับ







30
ชื่อโบราณสถาน วัดน้ำรอบ

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา สถานที่ตั้ง หมู่ที่ ๑ ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รายละเอียดโบราณสถาน วัดน้ำรอบ ตั้งอยู่หมู่ ๑ ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน เดิมเป็นวัดเก่าแก่มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีตำนานเล่า ประวัติน้ำรอบว่าสร้างพร้อมกับวัดเขาพระอานนท์ อำเภอพุนพิน และวัดถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม เคยเป็นวัดหลวง มาก่อนแต่ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ ราวปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงวิจารธาวุธ กรมพระกลาโหม เป็นแม่กองเดินสำรวจรังวัดหัวเมืองปักษ์ใต้ จะยกพระพุทธศาสนาขึ้น หลวงวิจารธาวุธเป็นแม่กองสืบถามเถ้าแก่ ผู้ใหญ่บ้าน ให้รู้ว่าสมเด็จพระมหากษัตริย์แต่ก่อนสืบมาทรงพระราชศรัทธาอุทิศถวายที่ใดเป็นวัด ปู่ย่าตายายได้บอกเล่าต่อๆ กันมาว่าเดิมชื่อวัดหัววังน้ำรอบ มีราชาคณะพระครู หาได้ขึ้นแก่ราชาคณะวัดหัวเมืองไชยาไม่ แต่ขึ้นแก่ราชาคณะเมืองนครศรีธรรมราช พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระพุทธรูปหล่อทรงเครื่องให้แก่วัดน้ำรอบ ๒ องค์ คือ พระพุทธรูปเงินสูง ๒ ศอก หล่อหนักห้าช่าง และพระโมคลาหล่อสูง ๒ ศอก กับพระมณฑปสองยอด ทรงกัลปนาที่ดินแก่วัด พร้อมถวายข้าพระ ๕๐๐ องค์ (ข้อมูลจากหนังสือบุด วัดน้ำรอบ) โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่

        ๑) อุโบสถ สร้างด้วยไม้ตำเสา เป็นอาคารทรงไทยหลังคาจั่วมีช่อฟ้าใบระกาและปีกนกรองรับ ๒ ชั้น ส่วนของหลังคามีลักษณะแอ่นโค้งคล้ายท้องสำเภา ผนังโบสถ์เป็นผนังเตี้ยๆ ก่ออิฐฉาบปูนตำ อิฐก่อขึ้นจากพื้นไม่มีฐานบัวรองรับเหมือนโบสถ์ทั่วไป สัดส่วนความสูงระหว่างหลังคากับผนังโบสถ์ประมาณ ๑;๑ ทำให้สันนิษฐานว่าของเดิมอาจเป็นไม้ทั้งหลัง เป็นพระอุโบสถที่ไม่มีหน้าต่าง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีประตูที่ผนังด้านสกัด (ผนังด้านที่มีหน้าบันหรือจั่วหลังคา) ข้างละ ๑ ประตู ช่องรับแสงคือช่องว่างระหว่างหน้าบันกับผนังโบสถ์ ซึ่งเปิดโล่ง ที่ผนังทุกด้านเจาะเป็นช่องมีลายปูนปั้นประดับ ผนังด้านสกัดมีปูนปั้นรูปเทวดา ส่วนผนังด้านข้างมีปูนปั้นเป็นรูปลายดอกไม้สี่กลีบหน้าบันอุโบสถแกะสลักไม้ หน้าบันด้านทิศตะวันออกแกะเป็นรูปลายพันธ์พฤกษา ตอนล่างแกะเป็นรูปหน้าอสูร คายก้านใบพันธุ์พฤกษา ที่เสารองรับหน้าบันแกะสลักไม้เป็นลายก้านต่อดอก รับบัวหัวเสาที่แกะเป็นบัวแวง หน้าบันทิศตะวันตกแกะเป็นรูปลายพันธ์พฤกษา มีรูปบุคคลคล้ายเทวดา หรือยักษ์ แสดงอาการเคลื่อนไหวเหาะเหินอยู่ในลายพันธุ์พฤกษา ตรงกลางหน้าบันแกะเป็นรูปอสูร ส่วนของหลังคาบริเวณเชิงชาย แกะสลักเป็นรูปดอกไม้สี่กลีบ ดอกพุดตาน ดอกไม้ลายกระหนกไทย แต่ละด้านสลักลวดลายต่างๆ ไม่เหมือนกัน ลักษณะเป็นศิลปกรรมท้องถิ่นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ราวรัชกาลที่ ๓ ด้านหน้าพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถมีศิลาจารึกหินชนวนตั้งอยู่ ๑ แผ่น เป็นจารรึกอักษรไทย ภาษาไทย กล่าวถึงการสถาปนาวัด (ดูเรื่องโบราณวัตถุ)

        ๒) เจดีย์ราย อยู่ทางด้านหน้าอุโบสถ ทางทิศตะวันออก มีเจดีย์ก่ออิฐ ๒ องค์ องค์ซ้ายมือ เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ สิบสองขนาดเล็ก ประกอบด้วยฐานเขียง ๑ ชั้น รองรับฐานสิงห์และองค์ระฆัง ปล้องไฉน และปลียอด หักหายไป องค์ขวามือ เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ประกอบด้วยฐานเขียง ๑ ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานสิงห์ ที่ท้องไม้คาดลูกแก้วอกไก่รองรับองค์ระฆัง ส่วนยอดเป็นบัวถลา ถัดขึ้นไปเป็นปล้องไฉน ปลียอด และเม็ดน้ำค้าง ศิลปสมัยอยุธยาตอนปลาย

        ๓) พระโมคลา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน ปางประทานอภัย ฉลองพระองค์แบบกษัตริย์ ตกแต่งลวด ลายไทยประดับกระจกสี เป็นสมบัติของวัดตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

        ๔) ศิลาจารึก ทำจากหินชนวน ขนาดกว้าง ๕๓ เซนติเมตร ยาว ๑๑๑ เซนติเมตร หนา ๔.๕ เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย ใน พ.ศ. ๒๓๗๑


ข้อมูล สนง.วัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถนนดอนนก อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๘๔๐๐๐

อ้างถึง
ขออนุญาติและขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : พ่อขุนทะเลพระเครื่อง
-----------------------------------------------------------
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2553 พระภิกษุ-สามเณรที่จำพรรษา ณ วัดทุ่งเซียด หมู่ที่ 1 ตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ไปทำสามีจิกรรมหลวงพ่อกระจ่าง วัดน้ำรอบ ภาพบรรยากาศ ดังต่อไปนี้


เนื่องจากพระครูอนุภาสวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดน้ำรอบ ได้นิมนต์พระไปฉันภัตตาหารเพลที่วัดน้ำรอบด้วยจึงมีโอกาสได้เก็บภาพบรรยากาศรอบ ๆ วัดน้ำรอบก่อนจุถึงเวลาฉันภัตตาหารเพล










31
สามีจิกรรมธรรมเนียมสงฆ์สร้างความสามัคคี
    การทำสามีจิกรรมเป็นธรรมเนียมของสงฆ์อย่างหนึ่งที่ภิกษุสามเณรพึงทำความชอบต่อกันเพื่อความสามัคคีกัน  อยู่ร่วมกันโดยสงบสุข  การทำความชอบนี้เรียกว่าสามีจิกรรมหมายถึงการขอขมาโทษกัน  ให้อภัยกัน  ทุกโอกาส  ไม่ว่าจะมีโทษขัดข้องหมองใจกันหรือไม่ก็ตาม  ถึงโอกาสที่ควรทำสามีจิกรรมกันแล้ว  ทุกรูปไม่พึงละโอกาสเสีย  จึงได้ชื่อว่าเป็นภิกษุสามเณรที่ดี  ปฏิบัติชอบตามระบอบพระธรรมวินัย  โอกาสควรทำสามีจิกรรมนั้น มีดังนี้
๑.ในวันเข้าพรรษา  ทั้งภิกษุสามเณรที่อยู่ร่วมวัดเดียวกันควรทำสามีจิกรรมต่อกันเรียงตัวตั้งแต่ผู้มีอาวุโสมากที่สุดถึงสามเณรรูปสุดท้ายในวัด  ไม่ควรเว้น  เพื่อความสามัคคี
๒.ในระยะเข้าพรรษา  เริ่มแต่วันเข้าพรรษาและหลังวันเข้าพรรษา  ระยะเวลาประมาณ ๗ วัน  ควรทำสามีจิกรรมต่อท่านที่ตนเคารพนับถือ  ซึ่งอยู่ต่างวัด
๓.ในโอกาสจะจากกันไปอยู่วัดอื่นหรือถิ่นอื่น  นิยมทำต่อท่านผู้มีอาวุโสกว่าตนในวัดและต่อท่านที่เคารพนับถือทั่วไป 

     ทั้ง ๓ กรณีนี้  เป็นการทำสามีจิกรรม  แบบขอขมาโทษ  นอกจากนี้ยังมีสามีจิกรรมแบบถวายสักการะเป็นการแสดงมุทิตาจิตอีกแบบหนึ่ง  นิยมทำต่อท่านที่ตนเคารพนับถือในโอกาสที่ท่านผู้นั้นได้รับอิสริยศักดิ์หรือได้รับยกย่องในฐานันดรศักดิ์  เป็นการแสดงจิตใจที่พลอยยินดีให้ปรากฏ
ระเบียบพิธี
ด้วยความมุ่งหมายและเหตุผลของการทำสามีจิกรรมดังกล่าวข้างต้นนี้จึงเกิดระเบียบพิธีทำสามีจิกรรมขึ้น  โดยนิยมกันเป็นแบบๆ ดังนี้
๑.สามีจิกรรมแบบขอขมาโทษ  นอกโรงอุโบสถหรือนอกวัด
     ก) จัดเครื่องสักการะ  คือ  ดอกไม้  ธูป  เทียน  ใส่พานหรือภาชนะที่สมควร  ธูปเทียนที่นิยมกันใช้ธูปเทียนที่มัดรวมกันเป็นแพธูปเทียนนั้น  หรือจะใช้ดอกไม้  ธูปเทียนเป็นเล่มๆ หรือ  เป็นดอกๆ ก็ได้  สุดแต่จะจัดได้
     ข) ครองผ้าเรียบร้อยตามนิยมของวัดที่สังกัด  ถ้าเป็นภิกษุพาดสังฆาฏิด้วย
     ค) ถือพานดอกไม้ธูปเทียน  ประคองสองมือเข้าไปหาท่านที่ตนจะขอขมา  คุกเข่าลงตรงหน้าระยะห่างกันประมาณศอกเศษ  วางพานทางซ้ายมือของตน  กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์  ๓  ครั้ง  แล้วยกพานขึ้นประคองสองมือแค่อก  กล่าวคำขอขมาตามแบบนิยม
     ฆ) เมื่อท่านที่ตนขอขมากล่าวคำให้อภัยโทษแล้ว  พึงรับคำตามแบบนิยม  ต่อนี้  ถ้าท่านที่ตนขอขมาให้พรต่อท้าย  พึงสงบใจรับพรท่านจนจบ  และรับด้วยคำว่า  “สาธุ  ภนฺเต”  ถ้าไม่มีให้พรต่อหรือให้พรและรับพรเสร็จแล้ว  พึงน้อมพานสักการะนั้นเข้าไปประเคน  และกราบอีก  ๓  ครั้ง  เป็นเสร็จพิธีขอขมา
๒.  สามีจิกรรมแบบถวายสักการะ
     ก) จัดเตรียมเครื่องสักการะอย่างเดียวกับแบบขอขมา  แต่ในกรณีนี้อาจเพิ่มเติมของใช้หรือสิ่งอื่นใดที่ควรแก่สมณบริโภคด้วยก็ได้
     ข) ในแบบนี้  การทำไม่นิยมว่าผู้ที่ตนทำจะต้องแก่อาวุโสกว่าตนเหมือนในแบบขอขมาแม้ผู้นั้นอ่อนอาวุโสกว่า  ก็ทำได้
     ค) ครองผ้าเรียบร้อยดังกล่าวในเรื่องขอขมาถือเครื่องสักการะเข้าไปหาท่านที่ตนจะทำแล้วประเคนทันที  ถ้าตนอ่อนอาวุโสกว่าพึงกราบ  ๓  ครั้ง  ถ้าแก่กว่าไม่ต้องกราบ  เพียงแต่รับไหว้โดยนั่งพับเพียบประนมมือในเมื่อผู้อ่อนกว่ากราบ  เท่านี้เป็นอันเสร็จพิธี
     การทำสามีจิกรรม เป็นธรรมเนียมของสงฆ์ที่พึงทำต่อกันเพื่อความสามัคคี อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข หมายถึงการขอขมาโทษ ให้อภัย การแสดงความเคารพของพระสงฆ์ในระหว่างพระผู้ใหญ่กับพระผู้น้อย เช่นระหว่างพระอุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริก หรือระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง เป็นต้น

-----------------------------------
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2553 พระภิกษุ-สามเณรที่จำพรรษา ณ วัดทุ่งเซียด หมู่ที่ 1 ตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ไปทำสามีจิกรรมพระมหาเถระของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. พระเทพสุธี เจ้าคณะภาค 16 เจ้าอาวาสวัดไตรธรรมาราม
2. พระเทพพิพัฒนาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดสุราษฏร์ธานี เจ้าอาวาสวัดท่าไทร
3. พระอุดมธรรมปรีชา รองเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดพระโยค


พระเทพสุธี เจ้าคณะภาค 16 เจ้าอาวาสวัดไตรธรรมาราม


พระเทพพิพัฒนาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดสุราษฏร์ธานี เจ้าอาวาสวัดท่าไทร


พระอุดมธรรมปรีชา รองเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดพระโยค

32
เป็นภาพเหตุการณ์ งานบวช ณ วัดแห่งหนึ่งใจจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตอนทำพิธีแห่นาค ได้มีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายพร้อมด้วยอาวุธครบมือทั้งระเบิดแบบขว้าง ระเบิดแบบยิ่ง และเครื่องยิงระเบิดพร้อม

ด้วยความที่ชอบถ่ายภาพก็เลย เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสมรภูมิแห่งนั้น ก็เลยได้ภาพเหล่านี้มา...





สำหรับเครื่องนี้เป็นเครื่องยิงระเบิด ทำให้เกิดเสียงดังเป็นระบบอัตโนมัติ จะทำงานยิงแบบไล่เสียง ทีละกระบอก โดยใช้แก๊ส

33
เนื่องในวาระดิถีเข้าปีเสือ จึงเดินทางไปบุกถ้ำเสือ(วัด) และได้เก็บภาพเล็กๆ น้อยๆ มาให้ได้ชมกัน

ภาพถ่ายไม่ค่อยสวยแต่อยากนำเสนอในสิ่งทีได้ไปพบเห็นมาก็แล้วกันนะครับ

ส่วนเรื่องภาพสวย ๆ เด็กเรือคงต้องฝีกอีกนานแสนนานกว่าจะ ถ่ายได้สวยงาม

อย่าได้เสียเวลา อีกต่อไปเลย มาชมสิ่งที่ เด็กเรือฯ อยากนำเสนอกันดีกว่าคับ


ซุ้มประตูทางเข้าวัด


ซุ้มประตูทางเข้าวัด


ป้ายรายละเอียดวัดถ้ำเสือ


ถ่ายจากหน้าวัด


อ้างถึง
กระทู้ที่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้ เท่าที่ลองค้นหาคร่าวๆ ก็มีดังต่อไปนี้(เอาที่สำคัญๆ)

หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฎโฐ วัดถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่ :: http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,12755.0.html

รอยพระพุทธบาท วัดถ้ำเสือจังหวัดกระบี่  : http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,15477.0.html

เรื่องเล่า...ของหลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ...เรื่อง...คนธรรพ์  : http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,15476.0.html

ท่องแดนธรรม"วัดถ้ำเสือ" ไหว้พระ-ชมหุบเขาคีรีวงศ์  : http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,14736.0.html

35
อากาศไม่เป็นใจท้องฟ้า มีเมฆ ขาว และครึ้มฟ้า ครึ้มฝน แต่ไหนๆ ก็ไปแล้ว ก็ถ่ายมาอย่าให้เสียเที่ยว แต่ภาพที่ถ่ายออกมา ท้องฟ้าจะออกมาแนวขาว ๆ ไม่รู้นะแก้ยังไง รบกวนโปรช่วยแนะนำให้หน่อยนะครับ เผื่อโอกาศหน้าต้องเจอสภาพอากาศแบบนี้อีกจะได้ถ่ายได้ดีกว่านี้อ่ะ ครับ


สถานที่ตั้ง       
ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๗ ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๘๑ ไร่ ๑ งาน  ๘๔ ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรสาขาที่ ๘ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จดทะเบียนไว้แล้วเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๒๗



ประวัติความเป็นมา
วัดเวียงสระ   เชื่อกันว่า   เป็นวัดสร้างใหม่หลังจากการสร้างเมืองเวียงสระ   เดิมเป็นวัดร้าง  ตั้งติดกับคูเมืองเวียงสระโบราณ ภายในวัดมีสระน้ำวิหารอุโบสถ  และกุฏิสงฆ์  ในสระน้ำ เมืองเวียงสระ เป็นเมืองที่มี ชื่อเสียงและมีความสำคัญทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ -๑๖ มีอาณาจักรแห่งหนึ่งมีอำนาจและมีอิทธิพลมากครอบคลุมจากชุมพรไปถึงชวา  เรียกอาณาจักรนี้ว่าอาณจักรศรีวิชัย  ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองไชยา   รวมทั้งเมืองเวียงสระด้วย   แต่นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าศูนย์กลางของการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา แต่ก็ยังไม่ยุติจนกระทั่งบัดนี้ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่   ๑๑   -   ๑๒  ได้มีพราหมณ์  ๒  คนพร้อมด้วยอาจารย์อีก  ๒  ท่าน  กับ สมัครพรรคพวกอีกประมาณ ๓๐,๐๐๐  คน ได้ล่องเรือลงมาทางใต้ ได้ขึ้นบกที่เมืองตะโกลา (เมืองตะกั่วป่า ปัจจุบัน) และล่องลงมาตามลำน้ำตะกั่วป่า มาตั้งเมืองที่บ้านน้ำรอบบริเวณ ริมคลองพุมดวง ได้ตั้งชื่อเมืองว่า ระวะตี (บางท่านว่า  ชื่อ  ทวาราวดี)  เนื่องจากเกิดไข้ห่าระบาดจึงอยู่ได้ไม่นาน ก็ได้อพยพมาตั้งเมืองที่ เมือง เวียงสระ ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำ และได้ขุดคูเป็นปราการรอบเมือง เพื่อให้น้ำเข้ามาได้เมืองเวียงสระสมัยนั้นเจริญมาก  มีการติดต่อค้าขายกับชาวจีนทางเรือ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ กรมศิลปากร ได้ขุดพบเหรียญตราและของใช้ของจีนสมัยราชวงศ์เหม็ง และสมันนั้นตามประวัติ กล่าวว่าอาณาจักรศรีวิชัย กำลังเจริญรุ่งเรืองที่สุด     จึงน่าสันนิษฐานได้ว่าเมืองเวียงสระ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.siamsouth.com/suratthani/surat036.php





36
เนื่องจากกระทู้ที่เปิดไปตอนแรกมีรูปภาพเยอะมากแล้วเกรงว่าจะทำให้เสียเวลาในการเปิดกระทู้ในแต่ละครั้ง จึงมาเปิดกระทู้ใหม่เพื่อลดอัตราการทำงานของอินเตอร์เน็ตในการอ่านรูปภาพ

ลิงค์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้มีดังนี้
ภาพบรรยากาศ งานปริวาสกรรม วัดทุ่งเซียด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ๒๐-๒๙ เม.ย. ๕๓ : http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,16514.0.html
ภาพบรรยากาศงานปริวาสกรรมวัดทุ่งเซียด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี๒๕๕๓ ชุดที่ ๒ : http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,16883.new.html


วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๓











37
เนื่องจากกระทู้แรกที่เปิดไปมีรูปภาพเยอะมากแล้วเกรงว่าจะทำให้เสียเวลาในการเปิดกระทู้ในแต่ละครั้ง จึงมาเปิดกระทู้ใหม่เพื่อลดอัตราการทำงานของอินเตอร์เน็ตในการอ่านรูปภาพ

ลิงค์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้มีดังนี้
ภาพบรรยากาศ งานปริวาสกรรม วัดทุ่งเซียด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ๒๐-๒๙ เม.ย. ๕๓ : http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,16514.0.html

วันที่ ๒๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๓









38
ลิงค์ข้อมูลที่เกี่ยวของกับกระทู้นี้
ไปเยือน วัดบ้านสวน สถานที่ทำพิธีปลุกเสก กิน เหนียวดำน้ำมันงา ตำหรับเขาอ้อ : http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,16878.html

ไปเยือน วัดเขาอ้อ สำนักตักศิลาแดนสยาม : http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,16877.html




พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของสำนักวัดเขาอ้อ

ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของสำนักวัดเขาอ้อที่สำคัญถือเป็นหลัก นิยมใช้ประกอบพิธีกรรมให้สานุศิษย์และประชาชนที่ศรัทธาโดยทั่วไปมี 4 พิธี คือ พิธีเสกว่านให้กิน พิธีหุงข้าวเหนียวดำ พิธีเสกน้ำมันงานดิบ และพิธีแช่ว่าน

นอกจากนี้ก็ยังมีพิธีอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น พิธีสอนให้ชักยันต์ด้วยดินสอดำ และการสร้างพระเครื่องรางของขลัง วิชาดูฤกษ์ยาม ตำรารักษาโรคภัยไข้เจ็บจากสมุนไพร และการรักษาด้วยคาถาอาคม เพื่อประโยชน์ของการศึกษาทางด้านความเชื่อทางไสยศาสตร์ จึงขอนำเอาพิธีกรรมที่กล่าวแล้วข้างต้น มาอธิบายไว้ในที่นี้พอสังเขป



พิธีหุงข้าวเหนียวดำ

นิยมทำพร้อมกับพิธีเสกน้ำมันงาดิบ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "กินเหนียวกินมัน" แต่ละปีจะประกอบพิธีกิน 2 ครั้ง คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
      
พิธีหุงข้าวเหนียวดำ หมายถึง การนำเครื่องยาสมุนไพร หรือว่านชนิดต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 108 ชนิด มาผสมกันแล้วต้มเอาน้ำยามาใช้หุงข้าวเหนียวดำ ซึ่งข้าวเหนียวดำที่นำมาหุงนั้นเป็นข้าวเหนียวที่เรียกกันว่า “ข้าวเหนียวดำหมอ”  คือมีลักษณะเมล็ดดำสนิท โต และแข็งกว่าเหนียวดำทั่วไป
การประกอบพิธีนิยมทำกันภายในอุโบสถมากกว่าสถานที่อื่นๆ ในสมัยก่อนนิยมทำกันในถ้ำฉัตรทันต์ หม้อและไม้ฟืนทุกอัน จะต้องลงอักขระเลขยันต์กำกับด้วยเสมอ พระอาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะเริ่มปลุกเสก ตั้งแต่จุดไฟ จนกระทั่งข้าวเหนียวในหม้อสุก แล้วนำข้าวเหนียวที่สุกแล้วไปประกอบพิธีปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งจนเสร็จพิธี
      
พิธีกินข้าวเหนียวดำ จะทำพิธีกันภายในอุโบสถ ก่อนกินถ้าสานุศิษย์คนใดไม่บริสุทธิ์ต้องทำพิธีสะเดาะ หรือเรียกว่า "พิธีการเกิดใหม่" หรือ "พิธีบริสุทธิ์ตัว" เพื่อให้ตัวเองบริสุทธิ์จากสิ่งไม่ดีชั่วร้ายทั้งปวง  เมื่อถึงเวลาฤกษ์กินข้าวเหนียวดำ สานุศิษย์จะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นนุ่งด้วยผ้าขาวม้าโจงกระเบนไม่ใส่เสื้อ แล้วเข้าไปกราบพระอาจารย์ผู้ประกอบพิธี 3 ครั้ง เสร็จแล้วพระอาจารย์จะให้นั่งชันเข่าบนหนังเสือ เท้าทั้ง 2 เหยียบบนเหล็กกล้าหรือเหล็กเพชร ปิดศรีษะด้วยหนังหมี มือทั้ง 2 วางบนหลังเท้าของตัวเอง พระอาจารย์ใช้มือซ้ายกดมือทั้ง 2 ไว้ พร้อมกับภาวนาพระคาถา ส่วนมือขวาปั้นข้าวเหนียวดำเป็นก้อนป้อนให้ศิษย์ครั้งละ 1 ก้อน แล้วปล่อยมือศิษย์ที่กดไว้บนเหลังเท้า มือทั้ง 2 ของศิษย์จะลูบขึ้นไปตั้งแต่หลังเท้าจนทั่วตัวจดใบหน้า การลูบขึ้นนี้เรียกว่า "การปลุก" เสร็จแล้วลูบลง เอามือทั้ง 2 ไปวางไว้บนหลังเท้าทั้ง 2 เช่นเดิม โดยกะประมาณว่ากินข้าวเหนียวก้อนแรกหมดพอดี สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินอาจกลืนลำบาก เนื่องจากว่าข้าวเหนียวมีรสขมมาก บางคนป้อนก้อนแรกถึงกับอาเจียนออกมาก็มี แต่ถ้ากลืนก้อนแรกจนหมดได้ ก้อนต่อไปจะไม่มีปัญหา พระอาจารย์จะป้อนจนครบ 3 ก้อน ในแต่ละครั้งจะลูบขั้นลูบลง เช่นเดียวกับครั้งแรก แต่ครั้งที่ 3 นั้นเมื่อศิษย์กินข้าวเหนียวหมดแล้ว พระอาจารย์จะใช้มือซ้ายกดมือทั้ง 2 ไว้ที่เดิมหัวแม่มือขวาสะกดสะดือศิษย์ ทำทักษิณาวัตร 3 รอบ พร้อมกับภาวนาพระคาถาไปด้วย เป็นการผูกอาคม
สำหรับคุณค่าของการกินข้าวเหนียวดำ สานุศิษย์ของสำนักเขาอ้อ เชื่อกันว่าใครกินได้ถึง 3 ครั้ง จะทำให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี เป็นมหานิยม และยังเป็นยาแก้โรคปวดหลังปวดเอวได้เป็นอย่างดี



          
** พิธีกรรมที่กระทำนั้นจึงเป็นกระบวนการในวิธีและวิถีที่จักกระทำให้บุคคลเข้าถึงธรรม เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงอาคม ก็จักเข้าถึงธรรม เมื่อเข้าถึงธรรม จักพบและเป็นอยู่อย่างยอดยิ่ง


ขอขอบพระคุณ
- หนังสือ "วัดดอนศาลา" โดย คุณธีระทัศน์ ยิ่งดำนุ่น และ คุณจำเริญ เขมานุวงศ์
- หนังสือ "ที่ระลึกงานฉลองสัญญาบัตร พัดยศ พระครูอดุลธรรมกิตติ์ เจ้าอาวาสวัดเข้าอ้อ" โดย คุณสมคิด คงขาว และ คุณศิริพงศ์ ยูงทอง 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536



39

วัดบ้านสวนตั้งอยู่ที่เลขที่ ๑๖๖ หมู่ที่ ๖ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ทำเลที่ตั้งเป็นเนินสูงเล็กน้อย น้ำท่วมไม่ถึงตั้งอยู่ในเขตชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นพอสมควร ทิศเหนือจดถนนสายบ้านสวนซึ่งเป็นซอย ทิศใต้จดที่ดิน นายดิษ เดชสง นายคล้าย แต้มช่วย และที่ดินนายเยื้อน ชูยกทิศตะวันออกจดถนนสายบ้านสวน-บ่อนห้วยหมาก ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง ทิศตะวันตกจดที่ดินนายแสง รองเหลือ นายเล็ก ขุนสังข์ นายชม อินทรสมบัติ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๘ ไร่ ๓ งาน ๓๘ ตารางวา ตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๕๐๔ มีธรณีสงฆ์รวม ๕ แปลง เนื้อที่ ๒๕ ไร่ ๓ งาน ๗๓ ตารางวา โดยหนังสือ น.ส. ๓ เลขที่ ๑๘๘๗ ส.ค. ๑ (พระมหาพรหม ขนฺติโก) เป็นเจ้าอาวาส

ความเป็นมาของวัดบ้านสวน (เหนือ) ตามหลักฐานในหนังสือทำเนียบวัดซึ่งพระครูพินิตฯ เรียบเรียง จากทำเนียบวัดจังหวัดพัทลุงของพระครูอริยสังวรณ์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดพัทลุง (มหานิกาย) กล่าวไว้ว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๗๐ ตรงกับสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานกันว่า พระปรมาจารย์ผู้เฒ่าวัดเขาอ้อ พร้อมด้วยพุทธบริษัท เป็นผู้จัดสร้างขึ้น เชื่อกันว่า วัดบ้านสวนมีความสัมพันธ์อยู่ในเครือสายวัดเขาอ้อ โดยที่วัดเขาอ้อสร้างขึ้นก่อน ในราว จ.ศ. ๓๐๑ (พ.ศ. ๒๔๘๒) ต่อมาในระยะหลังเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อเห็นว่า ในละแวกใกล้ ๆ มีชาวบ้านผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่มากมาย จึงตั้งวัดดอนศาลาขึ้นเป็นวัดที่ ๒ และเข้าใจว่าต่อมาก็ได้สร้างวัดบ้านสวนเป็นวัดที่สาม ในระยะแรก ๆ สันนิษฐานกันว่าเจ้าอาวาสคงสืบเชื้อสายมาจากวัดเข้าอ้อ เป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากในสมัยปัจจุบันพระครูสิทธิยาภิรัต (หลวงพ่อเอียด) อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาเป็นศิษย์สำนักวัดเขาอ้อ พระครูสิทธิยาภิรัต วัดดอนศาลา สุดท้ายพระครูอดุลธรรมกิตติ์ (พระใบฎีกากลั่น อคฺคธมุโม) เจ้าอาวาสวัดเขาอ้อเป็นศิษย์พระครูพิพัฒน์สิริธร วัดบ้านสวน ทำให้เข้าใจว่า ทั้ง ๓ วัดนี้มีความสัมพันธ์กันเรื่อยมาตามกาลสมัย

วัดบ้านสวนนี้ ครั้งหนึ่งชาวบ้านเรียกขานกันว่า วัดกุลหอม หรือ วัดพิกุลหอม ดังคำกลอนสนุก ๆ ว่า
วัดกุลหอมจอมควนบ้านสวนนี้ ยังมีโจรดีดีสามสี่คน อยู่ตำบลมะกอกเหนือเหลือที่จัด ลักหนุนวัดเห็นง่ายไม่ขัดสน
แต่เนื่องจากที่นี้เป็นควนบ้านสวนชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากมาว่า วัดบ้านสวน หลายปีผ่านมา วัดบ้านสวน เกิดขึ้นอีกวัดหนึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ทางราชการจึงตั้งชื่อ เพื่อไม่ให้ไขว้เขวเกี่ยวกับสองวัดนี้โดยให้วัดบ้านสวน ตำบลควนมะพร้าว ชื่อว่า วัดบ้านสวนใต้ วัดบ้านสวนตำบลมะกอกเหนือ ชื่อว่า วัดบ้านสวนเหนือ

40

วัดเขาอ้อแต่เดิมเป็นสำนักเขาอ้อซึ่งเป็นสำนักทิศาปาโมกข์แบบเดียวกันกับในประเทศ
อินเดีย สำนักเขาอ้อก่อตั้งขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๘๐๐ ผู้ก่อตั้งคือพรหมณาจารย์หรือพราหมณ์ผู้ทรงเวทย์ที่เดินทางมาจากประเทศอินเดีย เป็นยุคที่นามเรียก ดราวิเลียนยาตรา
คือยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์เริ่มเคลื่อนไหวออกจากประเทศอินเดียเพื่อจะขยายฐานศรัทธาข
องศาสนาพราหมณ์ อันเป็นผลเนื่องจากศาสนาพุทธที่กำลังมาแรงในประเทศอินเดีย
ทำให้ศาสนสถานของพราหมณ์หลายแห่งต้องกลายมาเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ เช่นวัดต่างๆในเขตเมืองนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี เพชรบุรี และจังหวัดพัทลุงก็เช่นกัน


ศาสนาพุทธได้เริ่มมาตั้งมั่นในเมืองนครศรีธรรมราชราวปี พ.ศ. ๘๐๐ ตามหลักฐานระบุว่าศาสนาพราหมณ์เดินทางมาก่อน ก็แสดงว่าสำนักเขาอ้อย่อมที่จะมีการก่อตั้งขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๘๐๐ อย่างแน่นอนเพราะสำนักนักเขาอ้อศาสนาพราหมณ์เป็นผู้ก่อตั้ง

มีบันทึกชื่อสำนักเขาอ้อในหนังสือโบราณเล่มหนึ่งที่อยู่ในห้องสมุดของ
มหาวิทยาลัยพาราณสีในประเทศอินเดีย ค้นพบโดย เวทย์ วรวิทย์
อดีตมหาเปรียญผู้ผ่านการศึกษาเกี่ยวกับประวัติพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง
ในบันทึกมีใจความว่าแต่เดิมสำนักเขาอ้อเป็นสำนักทิศาปาโมกข์
คือเป็นที่บำเพ็ญพรตของพราหมณ์ผู้ทรงวิทยาคุณทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เชื่
อพระวงศ์ หรือวรรณะกษัตริย์ และลูกหลานผู้นำ
เพราะพราหมณ์เป็นชนชั้นรักสงบมีธาตุแห่งความประนีประนอมสูง
มีความคิดกว้างไกล เป็นชนชั้นนักการศึกษาชนชั้นแรกของโลก


โดยนอกจากจะมีวิชาเกี่ยวกับการปกครองตามตำราธรรมศาสตร์แล้ว ยังมีเรื่องพิธีกรรม ฤกษ์ยาม การจัดทัพตามตำราพิชัยสงครามตลอดไปถึงไสยเวทย์ และการแพทย์


การสืบทอดวิชาในสำนักเขาอ้อได้ดำเนินมาจนกระทั่งถึงพราหมณ์รุ่นสุดท้าย
ท่านได้เล็งเห็นถึงสถานการณ์ว่าไม่สามารถที่จะต้านกระแสศรัทธา
ของศาสนาพุทธได้แน่แล้วจึงคิดหลอมสำนักเขาอ้อเข้า
กับศาสนาพุทธและกลัวว่าจะไม่มีผู้ใดรับสืบทอดวิชา และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ต่อซึ่งพราหมณ์ผู้บรรลุพระเวทย์หลายท่านได้ฝังร่างไว้ที่นี้จะถูกปล่อยให้รกร้าง
ประกอบกับขณะนั้นอิทธิพลทางพระพุทธศาสนา
ได้แผ่เข้ามาถึงตัวจังหวัดพัทลุงแล้ว จึงได้ตัดสินใจนิมนต์พระรูปหนึ่ง
มาจากวัดน้ำเลี้ยว วัดน้ำเลี้ยวปัจจุบันเป็นวัดร้างหมดสภาพ
ความเป็นวัดแล้ว มีนามว่า
พระอาจารย์ทอง ให้มาอยู่ในถ้ำแทนและมอบคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของ
บูรพาจารย์พราหมณ์พร้อมถ่ายทอดวิชาให้และมอบสำนักให้
กลายเป็นที่พักสงฆ์จึงกลายมาเป็น "วัดเขาอ้อ"

แม้ว่าสำนักเขาอ้อจะกลายมาเป็นสำนักสงฆ์แล้ว แต่ก็ยังคงสืบทอดหน้าที่
เป็นสำนักเผยแพร่ความรู้ให้แก่เยาวชนต่อมาอีกหลายร้อยปี
แต่ว่าเมื่ออยู่ในความปกครองของพระภิกษุ บรรดาศิษย์ที่เข้าเรียนในสำนักนี้
มีหลายชนชั้นไม่เหมือนกับสมัยพราหมณ์ปกครองอยู่เปิดโอกาสให้แก่เชื่อพระวงศ์
หรือวรรณะกษัตริย์ และลูกหลานผู้นำเท่านั้น
ต่อมาในปี ๒๒๘๔ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระพุทธรูปหล่อสำริด ๑องค์ และหล่อด้วยเงิน ๑องค์
แก่วัดเขาอ้อสร้างโดยเชื้อพระวงศ์ที่เคยมาศึกษาวิทยาการที่สำนักเขาอ้อมีนามว่า
เจ้าอิ่ม กับ เจ้าฟ้ามะเดื่อ ในสมัยพระมหาอินทราชท่าน
ได้ทำการบูรณะพระพระพุทธรูปในถ้ำ ๑๐องค์ แทนพระบารมี ๑๐ทัดของพระพุทธองค์
สร้างอุโบสถขึ้น ๑หลัง สร้างพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธไสยาสน์ ๑องค์
พร้อมด้วยมณฑปไว้บนเขาอ้อ และสร้างเจดีย์ไว้บนเขาอ้อ ๓องค์
แล้วท่านก็ไปจากวัดเสีย ต่อมาปะขาวขุนแก้วเสนาและขุนศรีสมบัติพร้อมกับชาวบ้านใกล้เคียง
ไปนิมนต์พระมาหาคงให้มาอยู่ต่อที่วัด ต่อมาก็มีเจ้าอาวาสปกครองวัดเขาอ้อ
ต่อกันมาหลายสิบรูปล้วนแต่มีความเชี่ยวชาญทางไสยเวทย์มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคใต



วัดเขาอ้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ๙๓๑๕๐


ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.109wat.com/bk01.php?id=314

41
วันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๓


ก่อน ถึงวันปริวาสกรรม วันนี้ก็ได้นำเอาภาพบรรยากาศสถานที่ เข้าปริวาสมาให้ชมกันก่อนครับ นับถึงวันนี้ก็มีพระเดินทางมาถึงแล้วประมาณ 20 กว่ารุปแล้วครับ และได้จัดหาที่พักปักกลด กางเตนท์กันบ้างแล้วครับผม ก็มาชมภาพบรรยากาศกันเลยนะครับ


ป้ายชื่อ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี แห่งที่๖

ลานธรรม สำหรับพระปริวาสิกะ พระมานัตตะใช้ในการทำวัตร สวดมนต์ และปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสนา กัมมัฏฐาน

สถานที่สำหรับปกตตาจารย์

43


วัดทุ่งเซียด ตั้งอยู่เลขที่ 41 บ้านทุ่งเซียด ถนนพุนพิน – พระแสง หมู่ที่ 1 ตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 30 ไร่ ส.ค. 1 เลขที่ 169 อาณาเขต ทิศเหนือจดคลองเซียด ทิศใต้จดทางสาธารณะ ทิศตะวันออกจดพรุน้ำ ทิศตะวันตกจดทางสาธารณะ

อาคารเสนาสนะ
  • ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 8.50 เมตร ยาว 15.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • ศาลาการเปรียญ กว้าง 24 เมตร ยาว 32 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2538 เป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว
  • กุฎิสงฆ์ จำนวน 13 หลัง เป็นอาคารไม้ 10 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง และตึก 1 หลัง
  • ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 14 เมตร ยาว 29 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515
  • ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง
  • นอกจากนี้มี ฌาปนสถาน หอระฆัง โรงครัว เรือนเก็บพัสดุ และเรือนรับรอง
       
ปูชนียะวัตถุ
  • มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 85 นิ้ว สูง 109 นิ้ว
  • พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 81 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2543

วัดทุ่งเซียด ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2410 เดิมเคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน แต่เมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกแล้วก็เก็บเอาของมีค่าไปพร้อมทั้งเผาวัดทำให้ไม่มีหลักฐานอะไรเหลืออยู่ คงเหลือแต่ซากอิฐปรักหักพัง เช่น เสาหงส์ เป็นต้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2512 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 29 เมตร ยาว 39 เมตร


การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม คือ
  • รูปที่ 1  พระเซียด   พ.ศ. 2410 – 2425
  • รูปที่ 2  พระรวย   พ.ศ. 2427 – 2436
  • รูปที่ 3  พระพัฒน์   พ.ศ. 2437 – 2438
  • รูปที่ 4  พระสน   พ.ศ. 2439 – 2441
  • รูปที่ 5  พระแดง   พ.ศ. 2442 – 2473
  • รูปที่ 6  พระเกษม   พ.ศ. 2474 – 2483
  • รูปที่ 7  พระแดง   พ.ศ. 2484 – 2493
  • รูปที่ 8  พระบุญ   พ.ศ. 2497 – 2503
  • รูปที่ 9  พระดำ   พ.ศ. 2504 – 2512
  • รูปที่ 10 พระครูสมุห์ติ้ง   สจจวาโร  พ.ศ. 2513 – 2525
  • รูปที่ 11 พระครูสังฆรักษ์  ประสงค์  พ.ศ. 2526 – 2531
  • รูปที่ 12 พระครูสารโสตถิคุณ  พ.ศ. 2532 – ปัจจุบัน

การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2532 โรงเรียนผู้ใหญ่วัด เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2540

สอบถามรายละเอียดเพิ่งเติมได้ที่

หน้า: [1]