ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต  (อ่าน 1618 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ธรรมะ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
« เมื่อ: 06 เม.ย. 2550, 02:06:00 »
จะรู้ได้ด้วยการพิจารณา ถ้าไม่พิจารณาก็หาความรู้ไม่ได้เลย ถ้าพิจารณาน้อยก็มีความรู้น้อย ใครพิจารณาได้มากก็มีความรู้มาก"

ธรรมผ่านใจในวันนี้เป็นธรรมะเพียง สองคำที่ผ่านและกระทบใจหมอมานานแล้วตั้งแต่เด็ก เป็นธรรมะของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เมื่อกล่าวถึงท่าน หลายคนคงจะรู้จักในฐานะพระภิกษุผู้ปราบแม่นากพระโขนง บางท่านก็รู้จักท่านในนามของ ผู้สร้างจักรพรรดิพระเครื่องคือสมเด็จวัดระฆัง วัดบางขุนพรหม วัดเกศไชโย ซึ่งไม่สามารถจะหาใครมาเทียบเทียมได้ด้วยบารมีของผู้สร้างคือสมเด็จโต ที่เชื่อว่าเป็นท่านเป็นเชื้อพระวงศ์กษัตริย์ และยังเป็นพระอาจารย์ของในหลวงล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ของเราถึง 2 พระองค์ ท่านเป็นผู้ที่ทำให้พระคาถาชินบัญชร เป็นที่รู้จักทั่วไทย แต่ในความรู้สึกของหมอ ก็อยากให้ทุกคนรู้จักธรรมะที่มีค่าของท่านคือ "พิจารณา มหาพิจารณา" จากประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จากบันทึกพระยาทิพโกษามีดังนี้ครับ

ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช 1232 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลที่ 5 ที่บ้านสมเด็จพระยามหาสุริยวงศ์ ( ช่วง ) มีการประชุมนักปราชญ์ทุกชาติทุกภาษาเพื่อถกปัญหาธรรม สมเด็จเจ้าพระยาได้ให้คนไปอาราธนาท่านมาแสดงธรรมเผยแพร่ความรู้ในทางธรรมของสยามประเทศ เพื่อถกร่วมกับนักปราชญ์จากชาติและศาสนาอื่นๆ พอถึงวันกำหนด นักปราชญ์ทั้งหลายก็ขอให้นักปราชญ์ไทยแสดงธรรมก่อน สมเด็จได้รับอารธนาก่อนท่านแสดงธรรมเพียง สองคำคือ "พิจารณา มหาพิจารณา" ซ้ำๆซากๆอยู่ตลอดเป็นชั่วโมง เมื่อให้ขยายความท่านขยายว่า

"การของโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่ควรกระทำสำหรับข้างหน้าก็ดี กิจควรทำให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันแลข้างหน้าก็ดี เสร็จกิจดีงามได้ด้วยกิจพิจารณาเป็นชั้น พิจารณาเป็นเปราะๆเข้าไปตั้งแต่หยาบๆและกลางๆและชั้นสูงชั้นละเอียด พิจารณาให้ประณีตละเมียด เข้าถึงที่สุดแห่งเรื่องถึงที่สุดแห่งอาการถึงที่สุดแห่งกรณี ให้ถึงที่สุดแห่งวิธี ให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ยืดยาว พิจารณาให้รอบคอบ ทั่วถึงแล้วทุกๆคน จะรู้จักประโยชน์คุณเกื้อกูลตน ตลอดทั้งเมื่อนี้เมื่อหน้า จะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ ก็ต้องอาศัยการพิจารณาเลือกเฟ้นค้นหาของดีของจริงเด่นเห็นชัดประโยชน์แก่คนก็ด้วยการพิจารณาของคนนั่นเอง ถ้าคนใดสติปัญญาน้อยด้อยปัญญา พิจารณาเหตุผลเรื่องราวกิจการงานงานของโลกของธรรมแต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลางก็รู้เพียงชั้นกลาง ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้งในข้อนั้นๆอย่างสูงสุดไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะเห็นผลแก่ตนประจักษ์แท้แก่ตนดังปริยายมาทุกประการ"

ครั้นจบแล้วท่านลงจากบัลลังก์ก็ไม่มีนักปราชญ์ชาติอื่นๆภาษาอื่นมีแขกและฝรั่งเป็นต้น ก็ไม่อาจออกปากขัดคอคัดค้านได้ ได้แต่อัดอั้นกันไปหมด ต่างคนต่างแหยงแม้จะเตรียมข้อความมาก็จริง จะเอาโวหารของศาสดาตนมาแสดงก็ชักจะเก้อ เพราะไม่อาจจะเหนือคำพิจารณามหาพิจารณาของสมเด็จได้เลย ทุกคนเห็นจริงตามบรรยายของการพิจารณา ซึ่งรู้ได้ตามชั้นตามภูมิตามกาลตามบุคคลที่ยิ่งและหย่อนอ่อนและกล้าจะรู้ได้ด้วยการพิจารณา ถ้าไม่พิจารณาก็หาความรู้ไม่ได้เลย ถ้าพิจารณาน้อยก็มีความรู้น้อย ใครพิจารณาได้มากก็มีความรู้มาก จริงของสมเด็จทุกประการวันนั้นจึงเลิกประชุม ปราชญ์ต่างคนต่างลากลับ

ธรรมะล้ำค่าของสมเด็จกินใจอยู่ได้ในตนเอง ไม่ต้องการคำอธิบายใดอีกเพียงแต่ขอให้เรามีสติพิจารณาเหตุการณ์ในแต่ละเรื่องที่เราประสพและหมั่นพิจารณาเนืองๆไม่ประมาท ด้วยความสงบ พิจารณาให้ลึกซึ้งเรื่อยๆ ปัญญาในการแก้ปัญหาก็อยู่ในนั้นนั่นเอง ขอมอบธรรมอันล้ำค่าของสมเด็จไว้ในใจของทุกท่านนะครับ สวัสดีครับ