ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกธรรม...๖ ก.ย.๕๒  (อ่าน 1752 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
บันทึกธรรม...๖ ก.ย.๕๒
« เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 06:54:22 »
ตื่นเช้าทรงอารมณ์ปิติไว้....
ปฏิบัติตัวแบบสบายๆไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไป
ศรัทธาเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เสริมต่อ รักษาไว้ทันที
ใช้เวลาพักผ่อนด้วยการค้นคว้าตำราธรรมะ
ที่เป็นปริยัติเพื่อทำความเข้าใจในธรรมให้ถูกต้อง
ยกโพชฌงค์ ๗ ขึ้นมาพิจารณาตามลำดับชั้น
ไล่เรียงสภาวะธรรมขององค์โพชฌงค์ ๗
เชื่อมโยงไปสู่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่เป็นสัมปยุตตธรรม
พิจารณาอิทธิบาท ๔ ข้อวิมังสา ทบทวนใคร่ครวญ
การปฏิบัติที่ผ่านมา และสภาวะธรรมต่างๆของกรรมฐานแต่ละกอง
ที่ได้เคยปฏิบัติมาแยกแยะหมวดหมู่ของการปฏิบัติแต่ละอย่างได้ชัดเจน
เกิดสภาวะปิติเอิบอิ่มในธรรม....
การปรุงแต่งในปุญญาภิสังขารบางครั้งก็เป็นทุกข์ได้
เพราะว่าเกินความพอดีทำให้เกิดความฟุ้งซ่านได้
จะทำอะไรก็ตามต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดีและความเหมาะสม
ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เป็นทุกข์เป็นโทษได้
จึงต้องพยายามควบคุมตวามคิคความอยาก
ให้อยู่ในกรอบในกฏเกณฑ์ของความพอดี
ประคับประคองจิตไว้ให้เป็นกุศลจิตตลอดเวลา
ทรงไว้ในอารมณ์ปิติกำหนดสติและสัมปชัญะ
พิจารณาธรรมตามดูตามรู้ตามเห็นในอารมณ์ที่เกิดขึ้น
ทำความรู้ตัวทั่วพร้อม โปร่ง โล่ง เบา สบาย เจริญในธรรรม...
 :054:แด่โพชฌงค์ ๗ องค์ปัญญาตรัสรู้และโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่เป็นสัมปยุตตธรรม :054:
                  ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในธรรม ปรารถนาดีและไมตรีจิต
                         รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-กลุ่มยุทธธรรมสัญจร
๗ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๖.๕๔ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ cho presley

  • ------> I'm Cho Presley
  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 2049
  • เพศ: หญิง
  • สุดท้ายก็กาหลง!
    • MSN Messenger - cho.khalong@hotmail.com
    • AOL Instant Messenger - เมืองเสน่ห์กาหลง
    • Yahoo Instant Messenger - มหาเสน่ห์+เมตตา+มหานิยม
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.khalong.com
ตอบ: บันทึกธรรม...๖ ก.ย.๕๒
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 07:07:10 »
ประคับประคองจิตให้เป็นกุศลตลอดเวลา... หนึ่งในจริยวัตรที่งดงามสำหรับการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน..

ปลื้มปิติ.. หาความสุขอื่นไม่มี! อรุณสวัสดิ์พี่น้อง...ชาวไทย!

cho presley       

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: บันทึกธรรม...๖ ก.ย.๕๒
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 09:09:08 »
จะทำอะไรก็ตามต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดีและความเหมาะสม
ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เป็นทุกข์เป็นโทษได้
จึงต้องพยายามควบคุมความคิคความอยาก
ให้อยู่ในกรอบในกฏเกณฑ์ของความพอดี

กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ความพอดี ดูเหมือนจะทำง่าย แต่ถึงเวลาจริงๆ ความพอดี มักจะเปลี่ยนตำแหน่งไปครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
ตอบ: บันทึกธรรม...๖ ก.ย.๕๒
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 09:15:25 »
จะทำอะไรก็ตามต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดีและความเหมาะสม
ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เป็นทุกข์เป็นโทษได้
จึงต้องพยายามควบคุมความคิคความอยาก
ให้อยู่ในกรอบในกฏเกณฑ์ของความพอดี

กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ความพอดี ดูเหมือนจะทำง่าย แต่ถึงเวลาจริงๆ ความพอดี มักจะเปลี่ยนตำแหน่งไปครับ
รู้ตน รู้จิต รู้ความคิด รู้การกระทำ ก็จะเห็นความพอดีของชีวิต..
หลงกาย หลงจิต ไม่ได้คิด จึงขาดความพอดี...

ออฟไลน์ ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1560
  • เพศ: ชาย
  • ไม่สู้ ไม่หนี ทําดีเรื่อยไป
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๖ ก.ย.๕๒
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 10:40:32 »
กราบนมัสการหลวงอาครับ

ผมชอบคำว่า "พอดีและพอเหมาะสม" มากๆครับ

เวลาคนที่เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ มักจะเข้าใจผิด  เลยชอบพาตนเองปลีกออกจากเพื่อน ครอบครัว  สังคม  และคนรอบข้าง   โดยที่เข้าใจผิดคิดว่าคนปฏิบัติธรรมต้องปลีกวิเวกออกจากผู้อื่น  แต่แท้ที่จริงแล้วถ้าคนที่เข้าใจจริงๆจะทราบว่า  ธรรมะสามารถปฏิบัติได้ทุกที่ ทุกเวลา และเวลาปฏิบัติธรรมก็สามารถอยู่ร่วมกับสังคม คนรอบข้างได้  

ผมเป็นคนหนึ่งเมื่อสิบปีก่อน เคยปฏิบัติธรรมโดยไม่ใช่ความพอดี และความเหมาะสม  เลยทำให้คนรอบข้างรู้สึกแอนตี้และเป็นห่วงครับ  แต่เมื่อได้เห็นคนรอบข้างรู้สึกกับเราแบบนั้น  ก็หันมาพิจารณาหาเหตุ  จึงทราบว่าผมไม่อยู่ในความพอดี และความเหมาะสม   จึงไค่อยๆปรับเปลี่ยนตนเองเสียใหม่ครับ

กราบขอบพระคุณหลวงอาด้วยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ก.ย. 2552, 10:45:30 โดย ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞ »
ครูผู้บริสุทธิ์ ครูผู้หมดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ครูผู้มี"พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ" อย่างประมาณมิได้
บรมครูผู้นั้นคือ "สมเด็จพระพุทธเจ้า"
ขอนอบน้อมกราบกรานพระบรมศาสดา

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๖ ก.ย.๕๒
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 07 ก.ย. 2552, 11:03:28 »
รู้ตน รู้จิต รู้ความคิด รู้การกระทำ ก็จะเห็นความพอดีของชีวิต..
หลงกาย หลงจิต ไม่ได้คิด จึงขาดความพอดี...



...กราบนมัสการขอบพระคุณ พระอาจารย์ที่เมตตาสอนครับ....

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ k911

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 162
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๖ ก.ย.๕๒
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 08 ก.ย. 2552, 02:05:11 »
ขออนุโมทนา..ครับ..ผมชื่นชอบ บทความของท่านเป็นอย่างมากครับ...และอ่านบทความของท่านมาโดยตลอด
..เพราะเวลาที่อ่านแล้ว.. จะอ่านด้วยตาอย่างผิวเผินแล้วไม่ได้ ต้องอ่านและวิเคราะห์ ด้วยจิต ด้วยใจ ที่เป็นกุศลธรรม..ให้ลึกซึ้ง ให้ละเอียด..จะมองธรรมะที่ท่านได้กรุณาถ่ายทอด ออกมาในบทความ 
มีประโยชน์อย่างมากครับ..ไ้ด้ทั้งความรู้  ได้สมาธิ..และยังได้ปัญญา ขัดเกลาจิตใจให้ละเอียดอ่อนขึ้นด้วย  ...
                                                                                ขอบพระคุณครับ.... :114: :114: :015: :015:   

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๖ ก.ย.๕๒
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 21 มี.ค. 2554, 11:30:43 »
โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ

สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง
โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8)

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง
   
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ"

— อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๖ ก.ย.๕๒
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 21 มี.ค. 2554, 11:32:33 »
โพธิปักขิยธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม 37 เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี 37 ประการคือ

สติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5
พละ 5
โพชฌงค์ 7
มรรคมีองค์ 8

โพธิปักขิยธรรม ในบางแห่งตรัสหมายถึงโพชฌงค์ 7[1] เช่น
"ภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรมย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ...ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้."
"ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรม ทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความ ตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน."
ส่วนที่ตรัสถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการโดยตรง เช่น
"ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนืองๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยประการดังนี้[2] ฯ"

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1