ประวัติวัดศรีโคมคำ พะเยา
วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่เลขที่ 692 ถ.พหลโยธิน หมู่ที่ 1 ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา มีเนื้อที่ 74 ไร่ 8 ตารางวา "วัดศรีโคมคำ"เป็นชื่อทีใช้ ทางราชการแต่ชาวบ้านโดยทั่วไปยังคงเรียกตามชื่อเดิมว่า วัดพระเจ้าตนหลวง หรือวัดทุ่งเอี้ยงเนื่องจาก มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นประธานของวัด ที่มีประวัติความเป็นปรากฎ ตามตำนาน เกี่ยวข้องกับการเสด็จ มาของพระพุทธเจ้ารวมถึงการแสดง พุทธทำนายเกี่ยวกับการสร้างพระเจ้าตนหลวง ในบริเวณที่เป็นหนองเอี้ยง สันนิษฐานว่าวัดศรีโคมคำสร้างราว พ.ศ. 2067 ภายหลังจากที่มีการสร้างพระพุทธรูป ขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบัน เรียกติดปาก กันว่า "พระเจ้าตนหลวง" สำหรับพระเจ้าตนหลวงองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 14x16 เมตร ปัจจุบันประดิษฐานเป็น พระประธานในวิหารหลวง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวปีพ.ศ. 2034 ในสมัยพระยาเมืองยี่ครองเมืองพะเยา (สมัยพระยอดเชียงราย กษัตริย์ลำดับที่ 13 แห่งราชวงค์มังรายของเชียงใหม่ ) ต่อมาในสมัยพระยาอุปราชเจ้าบุรีย์รัตน์ได้ทำการก่อสร้างพระวิหาร ,เสนาสนะต่างๆและลำดับต่อมาก็ได้ตั้งเป็น วัดขึ้นในสมัยของพระยาตู้ ครองเมืองพะเยา
วัดศรีโคมคำ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้งในสมัยหลัง เช่น สมัยเจ้าหลวงอินทะชมพู,เจ้าหลวง ขัติยะ, เจ้าหลวงชัยวงศ์ และสมัยพระเจ้าประเทศอุดร สำหรับในสมัยพระเจ้าประเทศอุดรนั้น บ้านเมืองอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พะเยาเป็นส่วนหนี่งของมณฑลพายัพ ขึ้นอยู่กับจังหวัดเชียงราย สมัยนั้นมีนายคลาย บุษยบรรณเป็นนายอำเภอ พระเจ้าประเทศอุดรและนายคลาย ได้ตระหนักถึงพระวิหารหลวงที่กำลังชำรุดทรุดโทรม ทั้งสองทราบถึงกิติศัพท์ว่า ครูบาศรีวิชัยว่าเป็นพระสงฆ์ที่มีบารมีธรรมสูง ทำการก่อสร้าง และบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ที่แห่งใด ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีศรัทธาประชาชนเลื่อมใสจำนวนมาก จึงได้ปรึกษากับพระครูวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา รวมถึงคหบดีและประชาชนต่างๆ โดยเห็นพ้องกันว่าควรไปอารธนานิมนต์ครูบาศรีวิชัย มาเป็นประธานในการก่อสร้าง พระวิหารหลวงดังกล่าว
ตามบันทึกของพระครูวชิรปัญญา กล่าวว่าท่านได้อารธนานิมนต์ครูบาศรีวิชัยถึง 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ได้ให้เจ้าน้อยกู้เลากู้ เมืองเชียงใหม่ไปนิมนต์ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พุทธศักราช 2465 ครั้งที่ 2 ให้นายสิบเอกอ้าย เมืองพะเยาไปนินนต์ วันที 16 พฤษภาคม 2464 และ ครั้งที่ 3 ให้พระปัญญา วัดบ้านปิน เมืองพะเยาไปนิมนต์เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2464
สำหรับครั้งที่ 1และ2 นั้น ครูบาศรีวิชัยท่านได้มีบันทึก กลับไปถึงพะเยามีใจความว่า ท่านได้ตั้งสัจจะอธิฐานผายเบี้ย "??..ผายครั้งที่หนึ่งเบี้ยมูบตั๊ดต๋า ศาลาเก้าห้อง ผายเบี้ยครั้งที่สองเบี้ยมูบตั๊ดต๋า หม้อนาฮก ผายเบี้ยครั้งที่สาม เบี้ยมูบตั๊ดต๋าหม้ออเวจี๋ บ่อเต้านั้นก็ได้หื้อหมอโหราทำนวายตวายดู ต๋ามคัมภีร์โหรา หมอโหราก็บอกว่า หนตางไป ตุ๊เจ้าหากมี หนตางที่จักมาบ่มีว่าฉะนั้น ในปี๋พุทธศักราช 2464 จักไปตี้วัดพระเจ้าตนหลวงเมืองพยาวบ่ได้เตื้อ กันเถิงปี๋พุทธศักราช 2465 จักไปได้ ท่านสั่งมากับด้วยจองหมูคำ บ้านสบต๋ำ มามีแต่เต้านี้และ???" ส่วนครั้งที่ 3 น้นท่านได้มีบันทึกตอบตกลงโดยมีข้อความว่า "?.ถ้าจักหื้อข้าเจ้า ไปเป๋นเก๊ากึ๊ดก่อสร้างวิหารวัดพระเจ้าตนหลวง นั้นหื้อปากั๋นนั้นปั้นดินกี่ไว้ห้าแสนนึ่งถ้ามีดินกี่ไว้แล้ว กันข้าเจ้าได้ไปแผวแล้วคนเมืองพยาวก็ปา กันมาผ่อข้าเสี้ยงตึงเมืองข้าเจ้าก็จักปาเอาคนตั้งหลายจ้วยกั๋นกึ๊ดสร้าง หื้อเป็นการเสร็จแล้ว???.."
ในขณะนั้นครูบาศรีวิชัยท่านยังคงสร้างงาน อยู่ที่วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน ในบันทึกได้กล่าวว่า ท่านได้มีจดหมาย ติดต่อกับพระครู วชิรปัญญาอีกหลายครั้ง ซึ่งในเนื้อความเป็นเรื่องของการสอบถามถึงรูปแบบของวิหาร ขนาดของวิหาร ,รูปทรงรวมถึงการจัดเตรียมวัสดุก่อสร้าง ต่างๆ จนกระทั่ง วันที่ 25 ธันวาคม 2464 ท่านจึงได้ออกเดิน ทางไปเมือง พะเยาในครั้งนั้นมีผู้ติดตามทั้งที่เป็น ศรัทธาญาติโยมและลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมากมาย การเดินทางนั้นครูบาศรีวิชัยจะ นั่งบนเสลี่ยงโดยมีลูกศิษย์ผลัด เปลี่ยนกันหามซึ่งเป็นขบวนของนักจาริกแสวงบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง ในระหว่างทาง นั้นเมื่อผ่าน หมู่บ้านต่างๆเขาเหล่านั้นจะประดับตกแต่งทำเป็น ปรำพิธีขัดราชวัตรปักต้นกล้วยไว้คอยรับเมื่อแวะพักที่ไหนก็จะมี ผู้มาร่วมทำบุญ กับท่านและบางครั้งก็ม ีการนำเอาลูกหลานมาขอบวชทางด้านเมืองพะเย า
เมื่อทราบข่าวว่า ครูบาศรีวิชัยได้ตัดสินใจเดินทางมาเป็น ประธานแน่นอนแล้ว ประชาชนก็ได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิให้ท่านจำ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของพระวิหาร (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิหาร อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ภายในบรรจุอัฎิธาตุของท่าน) นอกจากนั้นได้เตรียมสร้าง ปางและปั้นอิฐเตรียมไว ้เป็นจำนวนมาก ส่วนประชาชนที่ทราบข่าว ก็ได้หลั่งไหลมาร่วมทำบุญกับท่าน ไม่เว้นแม้กระทั่ง จังหวัดทีห่างไกลออกไป เช่น ลำปาง แพร่น่านและเมื่อถึงพะยาวท่านก็ได้สั่งให้รื้อพระวิหาร หลังเดิมออกไป ใช้เวลา 8 วันจึงสำเร็จ
จนกระทั่งถึงวันพุธที่ 17 มกราคม 2466 ท่านจึงได้ลงมือวางศิลาฤกษ์ โดยมีลูกศิษย์คนสำคัญคือ ครูบาปี๋ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความ ชำนาญทางด้านการก่อสร้าง เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างทั้งหมด การสร้างวิหาร พระเจ้าตนหลวงหลังนี้ถือเป็นงานใหญ่และต้องใช้เงินและกำลังคน เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามก็มีผู้เลื่อมใสศรัทธา มาร่วมสร้างบารมีกับท่านอย่างต่อเนื่อง ใช้เวลาในการสร้างงานเพียงปีเศษก็สำเร็จ ตามบันทึก กล่าวว่าสิ้นเงินทั้งสิ้น 100,963 รูปี มีผู้บริจาคเงินถึง 5 ปี๊บ ใช้ทราย 700 หลา ปูนซีเมนต์ 600 ถัง ทองคำเปลว 272,635 แผ่น
ประกอบไปด้วยช่าง ที่ติดตามมากับครูบาศรีวิชัยมาแต่ลำพูน ,ช่างในพื้นที่เมืองพะเยาและใกล้เคียง ,ช่างชาวจีนที่จ้างเหมา รวมไปถึงแรงงานจากชาวบ้าน สำหรับลักษณะวิหารหลังนี้ เป็นวิหารขนาดใหญ่ที่สร้างครอบพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ มีขนาด 8 ห้องเสาผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงยาวไม่ยกเก็จ ปัจจุบันระดับพื้นภายนอกยกสูงกว่าภายในสาเหตุมา จากการทรุดตัวของพื้นดินในคราวที่มีน้ำท่วมใหญ่ในปี 2516 มีระเบียงมุข ทั้งทางด้านหน้าและด้านหลัง ตัวอาคารวาง ในแนวตะวันออก-ตะวันตก ล้อมรอบด้วยระเบียงคตซึ่ง สร้างในคราวเดียวกัน มีประตูทางเข้าด้านหน้า 3 ประตู และทางด้านข้างอีกข้างละ 1 ประตูโครงสร้างประกอบไปด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ในส่วนของเสาและโครงสร้างหลัก ส่วนบนรูปทรงของ วิหารค่อนข้างใหญ่แต่ก็พยายามทำให้อ่อนช้อยตามแบบวิหารทรงล้านนาเพียงแต่ความงาม ทางด้านสุนทรียภาพแบบ มาตรฐานของวิหารแบบล้านนา ได้หายบ้างเนื่องจากการใช้วัสดุสมัยใหม ่หน้าบันของวิหารหลัง นี้เป็นแบบโครงกรอบหน้าจั่วอิทธิพลภาคกลาง ใช้เทคนิคการสลักไม้ปิดทองร่อง กระจกทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีลักษณะ ฝีมือใกล้เคียงกับที่วัดพระธาตุหริภุญชัย
ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นช่างกลุ่มเดียวกัน ลวดลายที่ใช้ ประกอบไป ด้วยลวดลายเครือเถาสลับกับลวดลาย สัตว์ต่างๆ เช่นลิง นาค และเสือ ซึ่งถือว่าเป็นประติมากรรม ประดับสถาปัตยกรรมที่งดงาม ที่สุดแห่งหนึ่ง ส่วนองค์ประกอบตกแต่งอื่นๆได้แก่ซุ้มประตูหน้าต่างแบบฝรั่ง ลวดลายทองบริเวณประตูหน้าต่าง ซึ่งหากสังเกตให้ดีมักจะมีรูปเสือ และคำจารึกกล่าวถึงครูบาศรีวิชัยประดับอยู่แทบทุกบานนอกเหนือ จากผลงานการสร้างวิหารหลังนี้แล้ว ครูบาศรีวิชัยยังสร้างงานสถาปัตยกรรม อื่นๆในคราวเดียวกันนี้ด้วยได้แก่ พระอุโบสถขนาดเล็กทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวิหาร,วิหารครอบรอยพระพุทธบาททางด้านทิศตะวันออก ตะวันออก เฉียงเหนือของวิหาร,ศาลาบาตรพร้อมด้วย กำแพงล้อมรอบพระวิหารและประติมากรรมรูปเสือบริเวณทางเข้าทิศตะวันออกงานต่างๆ เหล่านี้ยังคงเหลือหลักฐาน ให้เห็นจวบจนถึงปัจจุบัน .
ที่มา http://74.125.153.132/search?q=cache:TqK-12FWP9QJ:contacshop.tripod.com/WHAT_SHREE_kHOMCOME000_HISTRY.htm+%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B3%2B%E0%B8%9E%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th