ผู้เขียน หัวข้อ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๒๘ กย. ๕๔ ...  (อ่าน 2864 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๒๘ กย. ๕๔ ...
ตถตาอาศรม เขาเรดาร์ บ้านบึง ชลบุรี
พฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
            ติดตามข่าวสารเรื่องสถานการณ์น้ำท่วมและพายุลูกใหม่ที่จะเข้ามา
ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับโน๊ตบุ๊ค ฟังธรรมบรรยายของครูบาอาจารย์ที่บันทึกไว้
เขียนบทความบทกวี พักสมองด้วยการสนทนากับสมาชิกกลุ่มต่างๆในเฟรชบุ๊ค
ตอนบ่ายลงเขาไปตลาดมาบปู เพื่อซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง มีน้องๆมาช่วยกันทำ
จนถึงเวลาใกล้ค่ำจึงได้หยุดพัก คือภารกิจภายนอกทางกายที่ได้ทำในวันที่ผ่านมา
ส่วนภารกิจภายใน เรื่องของใจนั้น ก็คือการเจริญสติและสัมปชัญญะ พิจารณา
มีสติระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อม เจริญสติปัฏฐาน ๔ คือกาย เวทนา จิต ธรรม
 มีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกายและจิต แต่ยังไม่อาจจะหยุดคิดปรุงแต่ง
ในอกุศลได้ เพราะว่าองค์แห่งคุณธรรมนั้นยังไม่มีกำลังเพียงพอ ที่จะเข้าไปหักห้าม
และข่มใจไม่ให้คิดได้ ทบทวนพิจารณาดูว่ามาจากสาเหตุอะไร ที่ทำให้เรานั้นต้อง
คล้อยตามกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นมานั้น พบว่าสาระสำคัญนั้นเกิดมาจากจิตสำนึก
แห่งคุณธรรมของเรานั้น ยังไม่มีกำลังเพียงพอที่จะต่อสู้กับกิเลสนั้นได้ จึงต้องคล้อยตาม
และเสพในอารมณ์อกุศลเหล่านั้น  ทั้งที่รู้ว่ามันเป็นอกุศลจิต เมื่อรู้เหตุและปัจจัย
จึงได้รู้ว่ามันมีที่มาของปัญหาเหล่านั้น ซึ่งเกิดจากพื้นฐานแห่งการปฏิบัติที่เรา
ได้กระทำมา เพราะว่าเมื่อก่อนนั้นเราไปเน้นเรื่องสติเพื่อให้เกิดสมาธิมากเกินไป
 เรื่องศีลเรื่องวินัยเพียงแต่รู้และเข้าใจ ในตัวอักษรตามตำรา ไม่ได้คิดและพิจารณา
ถึงที่มาและเจตนาของเรื่องศีลขอวัตรและพระวินัย ว่าเป็นไปเพื่อการเจริญสติและ
สัมปชัญญะ โดยมีหิริและโอตตัปปะซึ่งเป็นองค์แห่งคุณธรรมนั้นควบคุมคุ้มครองอยู่
การที่เราจะทรงไว้ซึ่งศีลและวินัยนั้นได้ เราต้องมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะ
ระลึกรู้ในทางกายและทางจิต ในสิ่งที่คิดและในสิ่งที่ทำ และการที่เราไม่ก้าวล่วงล้ำ
พระธรรมพระวินัย ศีลและข้อวัตรทั้งหลายนั้น เพราะเรามีความละอายและเกรงกลัว
ต่อบาปกรรมการล่วงละเมิดทั้งหลาย การรักษาศีลจึงเป็นการเจริญสติสัมปชัญญะ
และเพิ่มกำลังขององค์แห่งคุณธรรมอยูทุกขณะจิต ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในหลักของการปฏิบัติเรื่องไตรสิกขาอันได้แก่"ศีล สมาธิ ปัญญา"
แต่เรากลับทำลัดขั้นตอนเพราะใจร้อน อยากจะเห็นผลสำเร็จโดยเร็วไว จึงไม่ค่อยจะใส่ใจ
ในเรื่องของศีล มาเน้นหนักเรื่องจิตเรื่องสมาธิมากเกินไป จึงทำให้จิตสำนึกแห่งคุณธรรม
นั้นมีกำลังไม่เพียงพอ ที่จะเข้าไปต่อสู้กับกิเลสตัณหาทั้งหลายได้......
          จิตระลึกนึกถึงคำครูบาอาจารย์ที่ท่านได้เคยกล่าวสอนไว้ว่า " รู้ไปหมด แต่อดไม่ได้ "
ซึ่งมันได้เกิดขึ้นแล้วกับตัวของเราเอง ขบวนการทางจิตนั้นมันละเอียดอ่อน ทุกขั้นตอนของ
การปฏิบัติพัฒนาทางจิตนั้น ต้องทำอย่างสม่ำเสมอข้ามและลัดขั้นตอนนั้นไม่ได้เลย
มันทำให้เกิดการสั่งสมอบรมจิต ให้รู้จักคิด รู้จักการพิจารณาเหมือนดั่งคำที่ว่า
" ทุกข์ไม่มา ปัญญาไม่มี บารมีไม่เกิด "  คือเราต้องเรียนรู้เรื่องทุกข์จากทุกข์
เรียนรู้ตัณหาจากตัณหา ทุกข์ละทุกข์ ตัณหาละตัณหา คือต้องเห็นของจริงเสียก่อน
 เมื่อเห็นแล้วต้องทำความเข้าใจในสิ่งนั้นให้ชัดแจ้ง เห็นที่เกิดของสิ่งนั้น  รู้และเข้าใจแล้ว
จึงเข้าไปจัดการกับมัน ซึ่งการที่จะเข้าไปจัดการนั้นขึ้นอยู่กับภูมิธรรมของแต่ละท่าน
ในขณะนั้น ว่ามีกำลังมากน้อยเพียงใด..........
               การปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ใช่แต่เพียงการนึกคิดและจินตนาการ แต่มันเป็นเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นจริงในจิตของเรา ที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปทุกขณะจิต ไม่ใช่อดีตหรือว่าเป็นอนาคต
แต่มันเป็นปัจจุบันธรรมที่เรากำลังสัมผัส เรียนรู้จากของเก่าเพื่อเอามาใช้ในปัจจุบัน
 เพื่อที่จะสร้างสรรค์กำหนดอนาคตที่จะก้าวเดินต่อไป .เพราะเมื่อก่อนนั้นเราไปเน้นเรื่อง
สมาธิเชิงพลังงานมากเกินไป เพื่อจะนำมาสงเคราะห์ ช่วยเหลือญาติโยม มันจึงทำให้เรา
หลงตัวเองเกิดอัตตามานะขึ้นมาโดยที่เราไม่รู้ตัว โดยคิดว่าสมาธิของเราดีแล้ว
จิตของเราดีแล้ว ทุกอย่างก็จะดีตามไปด้วย เพราะอำนาจพลังของสมาธินั้น
มันกดทับกิเลสอยู่ทำให้เราไม่เห็นมัน จนเราคิดว่ากิเลสนั้นมันหมดไปแล้ว
 แต่เมื่อไหร่ที่สมาธินั้นอ่อนกำลังลง กิเลสที่ถูกทับถมไว้ก็จะปรากฏแสดงออกมา
จึงทำให้เรารู้ว่า เรานั้นต้องปฏิบัติพัฒนาจิตของเราให้ยิ่งไปกว่านี้ที่มันเป็นอยู่......
                   เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
                         รวี สัจจะ-สมณะไร่นาม-วจีพเนจร
๒๙ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๐.๔๕ น. ณ ตถตาอาศรม บ้านบึง ชลบุรี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ก.ย. 2554, 12:52:40 โดย รวี สัจจะ... »
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๒๘ กย. ๕๔ ...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 29 ก.ย. 2554, 07:39:50 »
กราบนมัสการครับ..พระอาจารย์ :054: :054:
                                     
รู้ไปหมด..แต่อดไม่ได้..ทุกข์ไม่มา..ปัญญาไม่มี..บารมีไม่เกิด
                   
ขอบพระคุณ ท่านพระอาจารย์ สำหรับคำสอนดีๆ ที่นำมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ
                                                                                                                                                   
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบพระคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ boomee

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 339
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๒๘ กย. ๕๔ ...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 29 ก.ย. 2554, 07:45:59 »
กราบนมัสการครับพระอาจารย์  :054:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ก.ย. 2554, 07:46:12 โดย boomee »
หากตัวท่านไรซึ่งความหวัง  กายท่านจะคงอยู่เพื่อสิ่งใด

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๒๘ กย. ๕๔ ...
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 29 ก.ย. 2554, 10:11:51 »
กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ :054:


อ้างถึง
การปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ใช่แต่เพียงการนึกคิดและจินตนาการ แต่มันเป็นเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นจริงในจิตของเรา ที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปทุกขณะจิต ไม่ใช่อดีตหรือว่าเป็นอนาคต
แต่มันเป็นปัจจุบันธรรมที่เรากำลังสัมผัส เรียนรู้จากของเก่าเพื่อเอามาใช้ในปัจจุบัน.....
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ