ผู้เขียน หัวข้อ: การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆ  (อ่าน 9682 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
สมาธิมีอยู่2อย่างคือ สัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ
แบ่งออกเป็น2ลักษณะคือ สมาธิในระบบของพระพุทธศาสนาและสมาธินอกระบบพระพุทธศาสนา
สมาธิในระบบพระพุทธศาสนาเป็นไปเพื่อเป็นพื้นฐานสู่การลดละเลิกซึ่ง อัตตา ตัณหา และอุปาทาน
สมาธินอกระบบพระพุทธศาสนานั้นเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนของกิเลส อัตตา ตัณหาและอุปาทาน
สัมมาสมาธิเกิดจากดำริที่เป็นกุศลเกิดจากกุศลจิตคือความคิดชอบในกรอบของพระพุทธศาสนาปรารถนาซึ่งสิ่งดีงาม
มิจฉาสมาธิเกิดจากความคิดจิตที่เป็นอกุศล ปรารถนาให้ได้มาซึ่งประโยชน์ของตนแต่ส่วนเดียวโดยเกี่ยวข้องอยู่ในโลกธรรม8
           ฉะนั้นเมื่อเราคิดจะฝึกสมาธิ เราควรถามตัวเราว่าเราปรารถนาสิ่งใด ฝึกเพื่ออะไร เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศลหรือไม่
ทำความรู้ความเข้าใจในความคิดเสียก่อน  ว่าความคิดจิตปรารถนาของเราเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต เพื่อจะได้ไม่ปฏิบัติผิดทาง
และเมื่อเรารู้ในความคิด จิตดำริของเราแล้ว ลำดับต่อไปคือการค้นหาแนวทางการปฏิบัติ ให้เหมาะสมกับจริตของตัวเรา โดยการค้นคว้าหาข้อมูลจากตำรา หรือผู้รู้ ครูบาอาจารย์ที่ท่านได้ผ่านการปฏิบัติมาแล้ว
  ข้อความจำ   ก็คือสมาธิคือความสงบของจิต สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นเดินไปในองค์ฌานเป็นสมถะกรรมฐาน มีวิตกวิจาร ปิติ สุข
                  และเอตัคตาเป็นอารมณ์ โดยมีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองอยู่
                  ส่วนวิปัสสนานั้น เป็นการรุ้เห็นการเกิดดับของสรรพสิ่ง จิตไม่หยุดนิ่งพิจารนาตาม อารมณ์อยู่ในองค์ญาน16
                  เราจึงจำเป็นต้องรู้ว่าสิ่งที่เราปฏิบัติ เป็นสมถะหรือวิปัสสนา เพื่อจะได้ไม่หลงในอารมณ์ ไม่สับสนในสภาวะธรรม
ปัญหาที่พบบ่อยในการปฏิบัติก็คือ จิตไม่สงบ สมาธิไม่เกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่เราตั้งใจมากจน
เกินไป ทำให้เกิดการกดจิต กดดันตัวเอง ทำให้เกิดความตึงเครียด เป็นเหตุให้เลือดลมในกายไม่ปกติ ขาดสมดุลย์ขึ้นในกาย
ทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน เกิดรำคาญ ไม่อยากที่จะปฏิบัติ ศรัทธาถอย การแก้ปัญหาให้ปรับกายปรับจิดปรับความคิดปรับการกระทำเสียใหม่ ทำจิตทำกายให้โปร่งโล่งเบาสบายๆ ค่อยๆกระทำไปเพื่อปรับกายปรับจิตให้มีกำลังมากยิ่งขึ้น อย่าใจร้อนหวังผลสำเร็จ
อย่างรวดเร็วในการปฏิบัติ ทุกอย่างเกิดจากการสะสมและสั่งสม(นักกีฬากว่าจะสร้างสถิติขึ้นมาได้ ต้องใช้เวลาฝึกซ้อมมายาวนาน)
          จึงขอฝากไว้เป็นข้อคิดสำหรับนักฝึกจิตทั้งหลาย ซึ่งพอจะใช้เป็นแนวทางได้บ้างไม่มากก็น้อย
                                    เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
                                             รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
                                              วจีพเนจร-คนรอนแรม
                               16 มีนาคม 2552 เวลา 11.49น. ณ ริมฝั่งโขง
        

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ส.ค. 2552, 10:35:29 โดย RaveeSajja »
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสสบายๆ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 16 มี.ค. 2552, 11:59:39 »
สาธุ อนุโมทนาด้วยครับ  การปฎิบัติเป็นแก่นของศาสนา แนวทางทางปฎิบัติที่แนะนำดีมากครับ  :016:  :016:

ทุกอย่างสำเร็จมาจากใจ คาถา การสวดมนต์ หรืออธิษฐานใจ ถ้าใจมีกำลังก็สำเร็จได้ง่าย

ถ้ามุ่งลด ละ กิเลส ยิ่งน่าอนุโมทนา   :054: :054:

ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสสบายๆ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 16 มี.ค. 2552, 12:15:54 »
เข้าถึงจริงๆ

ออฟไลน์ N!c

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 582
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสสบายๆ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 16 มี.ค. 2552, 12:54:10 »
อนุโมทนาครับ...ขอเพิ่มเติมนะครับ  ก่อนที่สมาธิจะเกิดนั้นจะต้อองพบกับนิวรณ์5 เมื่อเอาชนะนิวรณ์ได้จะเกิดสมาธิเมื่อเกิดสมาธิแล้วก็เกิดปัญญา
 
เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้นมีวิธีแก้ดังนี้คือ

1.) กามฉันทะ แก้ได้หลายวิธีตามลักษณะของกามฉันทะที่เกิดขึ้น ดังนี้

    *
      พิจารณาถึงความจริงที่ว่ากามคุณทั้งหลายนั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก คือให้ความสุขในช่วงที่ได้มาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเหยื่อล่อให้ติด ครั้นเมื่อติดในสิ่งนั้น ๆ แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะตามมา ถ้ายิ่งถูกใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งนำความทุกข์มาให้มากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากการแสวงหาเพื่อให้ได้มากยิ่งขึ้น ทุกข์จากการพยายามรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ ทุกข์จากความหวงแหน ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป และเมื่อต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป ก็จะยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทั้งหลายล้วนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

    *
      พิจารณาถึงความที่สิ่งทั้งหลายมีความแปรปรวนไปตลอดเวลา สิ่งที่ให้ความสุขในวันนี้ ก็อาจจะนำความทุกข์มาให้ได้ในวันข้างหน้า เช่น คนที่ทำดีกับเราในวันนี้ ต่อไปถ้าเขาเบื่อ หรือไม่พอใจอะไรเราขึ้นมา เขาก็อาจจะร้ายกับเราอย่างมากก็ได้

    *
      พิจารณาถึงความเป็นอสุภะ คือเป็นของไม่สวยไม่งาม เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ร่างกายที่เห็นว่าสวยงามในตอนนี้ จะคงสภาพอยู่ได้นานสักเท่าใด พอแก่ตัวขึ้นก็ย่อมจะหย่อนยาน เหี่ยวย่นไม่น่าดู ถึงแม้ในตอนนี้เอง ก็เต็มไปด้วยของสกปรกไปทั้งตัว ตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า (ไม่เชื่อก็ลองไม่อาบน้ำดูสักวันสองวันก็จะรู้เอง) ลองพิจารณาดูเถิด ว่ามีส่วนไหนที่ไม่ต้องคอยทำความสะอาดบ้าง และถ้าถึงเวลาที่กลายสภาพเป็นเพียงซากศพแล้วจะขนาดไหน

    *
      พิจารณาถึงคุณของการออกจากกาม หรือประโยชน์ของสมาธิ เช่น

          o เป็นความสุขที่ประณีต ละเอียดอ่อน เบาสบายไม่หนักอึ้งเหมือนกาม คนที่ได้สัมผัสกับความสุขจากสมาธิสักครั้ง ก็จะรู้ได้เองว่าเหนือกว่าความสุขจากกามมากเพียงใด
          o
            เป็นความสุขที่ไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก เพราะเกิดจากความสงบภายใน จึงไม่ต้องมีการแย่งชิง ไม่ต้องยื้อแย่งแข่งขัน ไม่ต้องกลัวถูกลักขโมย
          o
            เป็นความสุขที่ไม่ต้องมีวัตถุใดๆ มาเป็นเครื่องล่อ จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

2.) พยาปาทะ มีวิธีแก้ดังนี้

    *
      มองโลกในแง่ดีให้เห็นว่าคนที่ทำให้เราไม่พอใจนั้น เขาคงไม่ได้ตั้งใจหรอก เขาคงทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจผิด หรือถูกเหตุการณ์บังคับ ถ้าเขารู้หรือเลือกได้เขาคงไม่ทำอย่างนั้น

    *
      คิดถึงหลักความจริงที่ว่า คนเราเมื่ออยู่ใกล้กัน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกใจคนอื่น ได้เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว เพราะคงไม่มีใครสามารถทำให้ถูกใจคนอื่นได้ตลอดเวลา แม้ตัวเราเองก็ยังเคยทำให้คนอื่นไม่พอใจเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อคนอื่นทำไม่ถูกใจเราบ้าง ก็ย่อมจะเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรจะถือโทษโกรธกันให้เป็นทุกข์กันไปเปล่าๆ

    *
      พิจารณาถึงคุณของการให้อภัย ว่าอภัยทานนั้นเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นการทำบุญโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย

    *
      คิดเสียว่าเป็นการฝึกจิตของตัวเราเองให้เข้มแข็งขึ้น โดยการพยายามเอาชนะใจตนเอง เอาชนะความโกรธ และขอบคุณผู้ที่ทำให้เราโกรธที่ให้โอกาสในการฝึกจิตแก่เรา ให้เราได้สร้างและเพิ่มพูนขันติบารมี

    *
      คิดถึงเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน ใครสร้างกรรมอันใดไว้ ย่อมต้องรับผลกรรมนั้นๆ สืบไป การที่เราเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีในครั้งนี้ ก็คงเป็นเพราะกรรมเก่าที่เราได้ทำเอาไว้ สำหรับคนที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้นั้น เขาก็จะได้รับผลกรรมนั้นเองในวันข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    *
      ให้ความรู้สึกสงสารผู้ที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้ ว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย เพราะเมื่อเขาทำแล้ว ต่อไปเมื่อกรรมนั้นส่งผล เขาก็จะต้องเป็นทุกข์ทรมานเพราะกรรมนั้น

    *
      พิจารณาโทษของความโกรธ ว่าคนที่โกรธก็เหมือนกับจุดไฟเผาตัวเอง ทำให้ต้องเป็นทุกข์เร่าร้อน หน้าตาก็ไม่น่าดู แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย เพราะฉะนั้นก็มีแต่คนโง่ กับคนบ้าเท่านั้นที่ผูกโกรธเอาไว้

    *
      แผ่เมตตาให้กับคนที่เราโกรธ ถ้าทำได้นอกจากจะดับทุกข์จากความโกรธได้แล้ว ยังทำให้มีความสุขจากการแผ่เมตตานั้นอีกด้วย และยังจะเป็นการพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไปด้วย

3.) ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอยนั้นแก้โดย

    *
      พิจารณาถึงโทษของกามและคุณของสมาธิ เพื่อทำให้เกิดความเพียร ในการปฏิบัติให้พ้นจากโทษของกามเหล่านั้น

    *
      คบหากับคนที่มีความเพียร ฝักใฝ่ยินดีในการทำสมาธิ

    *
      หลีกเว้นจากคนที่ไม่ชอบทำสมาธิ หรือคนที่เบื่อหน่ายในสมาธิ

ส่วนมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอนนั้น มีวิธีแก้หลายวิธี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระโมคคัลลานะ สรุปได้เป็นขั้นๆ ดังนี้

    *
      ในขณะที่เพ่งจิตในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ เพื่อทำสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม แล้วเกิดความง่วงขึ้นมา ให้เพ่งสิ่งนั้นให้มาก หรือให้หนักแน่นขึ้นไปอีก ก็จะทำให้หายง่วงได้

    *
      ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ตรึกตรอง พิจารณาธรรมที่ได้อ่าน หรือได้ฟัง ได้เรียนมาแล้ว โดยนึกในใจ

    *
      ถ้ายังไม่หายง่วงให้สาธยายธรรมที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว คือให้พูดออกเสียงด้วย

    *
      ถ้ายังไม่หายง่วงให้ยอนช่องหูทั้งสองข้าง (เอานิ้วไชเข้าไปในรูหู) เอามือลูบตัว

    *
      ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ (คือให้มองไปทางโน้นทีทางนี้ที บิดคอไปมา)

    *
      ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ทำในใจถึงอาโลกสัญญา (นึกถึงแสงสว่าง) ตั้งความสำคัญในกลางวัน ว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด (คือให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า กลางคืนนั้นสว่างราวกับเป็นกลางวัน)

    *
      ถ้ายังไม่หายง่วง ให้เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก (ควรเดินเร็วๆ ให้หายง่วง)

    *
      ถ้ายังไม่หายง่วงอีก ให้สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า (เหมือนพระพุทธรูปนอน) มีสติสัมปชัญญะ โดยบอกกับตัวเองว่า ทันทีที่รู้สึกตัวตื่นแล้ว จะรีบลุกขึ้นทันที ด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

4.) อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต แก้โดย

    *
      ใช้เทคนิคกลั้นลมหายใจ (เทคนิคนี้นอกจากจะใช้แก้ความฟุ้งซ่านได้แล้ว ยังใช้ในการแก้ความง่วงได้อีกด้วย) โดยการทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

          o
            เริ่มจากการหายใจเข้าออกให้ลึกที่สุด โดยทำเหมือนถอนหายใจแรงๆ สัก 3 รอบ
          o
            จากนั้นทำสิ่งต่อไปนี้พร้อมกันคือ
                +
                  ใช้ลิ้นดุนเพดานปากอย่างแรง
                +
                  หลับตาปี๋
                +
                  เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และกล้ามเนื้อทั่วร่างกายให้มากที่สุด
                +
                  กลั้นลมหายใจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับทำสมาธิ โดยกำหนดจิตไว้ที่การกลั้นลมหายใจนั้น

    *
      เพิ่มความหนักแน่น หรือความถี่ของสิ่งที่ใช้ยึดจิตขึ้นไปอีก เพื่อให้สามารถประคองจิตได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือลดโอกาสในการฟุ้งให้น้อยลง เช่น

          o
            ถ้าตอนแรกใช้กำหนดลมหายใจเข้า/ออก โดยบริกรรมว่าพุทธ/โธ หรือ เข้า/ออก ซ้ำไปซ้ำมา ก็เปลี่ยนเป็นนับลมหายใจแทน โดยหายใจเข้านับ 1 ออกนับ 1 เข้า-2 ออก-2 ... จนถึง เข้า-10 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่ การนับนี้ให้ลากเสียง(ในใจ) ให้ยาวตั้งแต่เริ่มหายใจเข้าหรือออก จนกระทั่งสุดลมหายใจ เพื่อให้จิตเกาะติดกับเสียงนั้นไปตลอด
          o
            ถ้ายังไม่หายก็เปลี่ยนเป็น เข้า-1 ออก-2 เข้า-3 ออก-4 ...... เข้า-9 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่
          o
            ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นรอบแรกนับจาก 1จนถึง 10 (เหมือนครั้งที่แล้ว) รอบที่สองนับจาก 1 - 9 ลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลือนับ 1 - 5 แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 1 - 6 ...... จนถึง 1 - 10 แล้วลดลงใหม่จนเหลือ 1 - 5 แล้วเพิ่มขึ้นจนถึง 1 - 10 กลับไปกลับมาเรื่อยๆ เพื่อให้ต้องเพิ่มความตั้งใจขึ้นอีก
       
           *ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นนับเลขอย่างเร็ว คือขณะหายใจเข้าแต่ละครั้งก็นับเลข 1,2,3,... อย่างรวดเร็วจนกว่าจะสุดลมหายใจ พอเริ่มหายใจออกก็เริ่มนับ 1,2,3,... ใหม่จนสุดลมหายใจเช่นกัน ทั้งนี้ไม่ต้องไปกำหนดว่าตอนหายใจเข้า/ออกแต่ละครั้งจะต้องนับได้ถึงเลขอะไร เช่น หายใจเข้าครั้งแรกอาจจะนับได้ถึง 12 พอหายใจออกอาจจะได้แค่ 10 หายใจเข้าครั้งต่อไปอาจจะได้แค่ 9 ก็ได้

*** ในการหายใจนั้นที่สำคัญคือให้หายใจให้เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด อย่าไปบังคับลมหายใจให้ยาวหรือสั้น บางขณะอาจหายใจยาว บางขณะอาจสั้นก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน เรามีหน้าที่เพียงแค่สังเกตดูเท่านั้น

***ทำใจให้สบาย อย่ามุ่งมั่นมากเกินไปจนเครียด จะทำให้ฟุ้งซ่านหนักขึ้น ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ แล้วจะดีขึ้นเอง อย่าหวัง อย่ากำหนดกฎเกณฑ์ว่าวันนี้จะต้องได้อย่างนั้นอย่างนี้ ปล่อยวางให้มากที่สุด ทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน คือเพียงแค่สังเกตว่าตอนนี้เป็นอย่างไรก็พอแล้ว อย่าคิดบังคับให้สมาธิเกิด ยิ่งบีบแน่นมันจะยิ่งทะลักออกมา ยิ่งฟุ้งไปกันใหญ่
ถ้านับเลขผิดให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่ แล้วดูว่าวันนี้จะนับได้มากที่สุดถึงแค่ไหน

***เมื่อนับถี่ที่สุดถึงขั้นไหนแล้วเอาจิตให้อยู่ได้ก็หยุดอยู่แค่ขั้นนั้น พอฝึกจิตได้นิ่งพอสมควรแล้ว ก็ลองลดการนับไปใช้ขั้นที่เบาลงเรื่อยๆ จิตจะได้ประณีตขึ้นเรื่อยๆ

***ส่วนกุกกุจจะคือความรำคาญใจ นั้นแก้ได้โดย

      พยายามปล่อยวางในสิ่งนั้นๆ โดยคิดว่าอดีตก็ผ่านไปแล้ว คิดมากไปก็เท่านั้น อนาคตก็ยังมาไม่ถึง เรามาทำปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า ตอนนี้เป็นเวลาทำกรรมฐาน เพราะฉะนั้นอย่างอื่นพักไว้ก่อน ยังไม่ถึงเวลาคิดเรื่องเหล่านั้น

      ถ้าแก้ไม่หายจริงๆ ก็ไปจัดการเรื่องเหล่านั้นให้เรียบร้อย แล้วถึงกลับมาทำกรรมฐานใหม่ก็ได้

5.) วิจิกิจฉา แก้ได้โดย

      พยายามศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุด
   
      ถ้ายังไม่แน่ใจก็คิดว่าเราจะลองทางนี้ดูก่อน ถ้าถูกก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าผิดเราก็จะได้รู้ว่าผิด จะได้หายสงสัย แล้วจะได้พิจารณาหาทางอื่นที่ถูกได้ ยังไงก็ดีกว่ามัวแต่สงสัยอยู่ แล้วไม่ได้ลองทำอะไรเลย ซึ่งจะทำให้ต้องสงสัยตลอดไป

ออฟไลน์ AKOUY2009

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 10
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสสบายๆ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 30 พ.ค. 2552, 09:52:20 »
หายไปนานเลยนะครับ...เมื่อไหร่จะมีตอนต่อไปครับผม....รอผลงานของท่านอยู่ครับ....

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสสบายๆ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 30 พ.ค. 2552, 12:45:02 »
หายไปนานเลยนะครับ...เมื่อไหร่จะมีตอนต่อไปครับผม....รอผลงานของท่านอยู่ครับ....
ลองseachค้นหาดูน่ะครับ มีหลายภาคแล้วน่ะครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
ตอบ: การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 06 ส.ค. 2552, 10:43:34 »
ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเริ่มจากพื้นฐาน...การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน...เราอย่าได้ข้ามขั้นตอน...
อย่าใจร้อนในการปฏิบัติ...ควรฝึกหัดและพัฒนาไปเรื่อยๆ...ทำให้จริงอย่าทอดทิ้งธุระ..
รางวัลของความสำเร็จมิได้วางไว้ที่จุดเริ่มต้น....

ออฟไลน์ นอมอท้อผิด

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 157
  • เพศ: ชาย
  • ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    • MSN Messenger - pan-lop@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 06 ส.ค. 2552, 12:07:49 »
เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเลยครับ

พระอาจารย์

^^

 :114: :114: :114:

ออฟไลน์ Akekaluck

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 46
    • AOL Instant Messenger - เอก+เมืองราษ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 30 มี.ค. 2554, 10:49:26 »
ขอขอบพระคุณมากครับ ที่แนะนำสิ่งดี ๆ
เอก เมืองราษฯ

ออฟไลน์ iambkk

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 56
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 30 มี.ค. 2554, 08:34:21 »
สาธุครับพลวงพ่อ