ผู้เขียน หัวข้อ: .....เนกขัมมะ(บารมี).....  (อ่าน 5407 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
.....เนกขัมมะ(บารมี).....
« เมื่อ: 08 พ.ค. 2554, 09:48:49 »
เนกขัมมะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนกขัมมะ แปลว่า การออก, การออกบวช, ความไม่มีกามกิเลส ใช้คำว่า เนกขัม ก็มี
เนกขัมมะ หมายถึงการละเหย้าเรือนออกไปบวชเป็นพระเป็นนักบวช, การละชีวิตทางโลกไปสู่ชีวิตอันบริสุทธิ์ เป็นการปลดเปลื้องตนจากโลกียวิสัยไปบำเพ็ญเพียรเพื่อความปลอดจากราคะและตัณหา ปกติใช้เรียกการออกบวชของนักบวชทุกประเภทและใช้ได้ทั้งชายและหญิง
เนกขัมมะ ในพระพุทธศาสนาจัดเป็นบารมีอย่างหนึ่งเรียกว่า เนกขัมมบารมี คือบารมีที่เกิดจากการออกบวช


ขอบคุณที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B0
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: .....เนกขัมมะ(บารมี).....
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 08 พ.ค. 2554, 09:52:16 »

ถาม....ในการดำรงชีวิตประจำวัน อย่างไรที่เรียกว่าเป็นการเจริญเนกขัมมะ

ตอบ....  คำว่า เนกขัมมะ หมายถึง   การออกจากกาม  ๒  อย่าง   ได้แก่  กิเลสกาม   และ

วัตถุกาม  การออกจากกามมี ๒ อย่าง  คือ ด้วยการบรรพชา ๑  ด้วยข้อปฏิบัติ ๑   การ

ออกบวชของผู้ที่เห็นคุณของเนกขัมมะ     การเว้นกิจของคฤหัสถ์     ถือเพศบรรพชิต   

เป็นผู้ไม่ครองเรือน ไม่แสวงหาทรัพย์ ไม่รับเงินและทอง เป็นต้น  ชื่อว่า ออกจากวัตถุ

กาม  ด้วยการบรรพชา     ข้อปฏิบัติคือ  อุโบสถศีล  สมถภาวนาวิปัสสนาภาวนา  สติ

ปัฏฐาน  เป็นต้น  ชื่อว่า  ออกจากกิเลสกาม  ด้วยข้อปฏิบัติบางนัย  หมายรวมถึงกุศล

ธรรมทุกประเภทเป็นการออกจากกาม (เนกขัมมะ)

     ฉะนั้นเนกขัมมะ  โดยนัยที่ ๒ ในชีวิตประจำวันของคฤหัสถ์  ขณะใด  ที่เป็นไปกับ

กุศลทั้งหลายคือ  การให้ทาน การรักษาศีล การฟังธรรม  การสนทนาธรรม  การเจริญ

สมถะ  การเจริญสติปัฏฐาน เป็นต้น   ชื่อว่าเนกขัมมะ   อีกอย่างหนึ่ง  การค่อย ๆ ออก

จากการสะสมวัตถุกาม ด้วยการรู้จักพอ ในสิ่งที่ตนมีอยู่  ไม่แสวงหา หรือสะสมมากจน

เกินไป    รู้จักยินดีในของที่ตนมีอยู่    ด้วยสันโดษ    ขณะนั้น    ก็เริ่มค่อย ๆ ที่จะออก

เริ่มสะสมเนกขัมมะ  ให้ค่อย ๆ มีกำลังขึ้น

ที่มา
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=3855

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: .....เนกขัมมะ(บารมี).....
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 08 พ.ค. 2554, 09:55:51 »
เนกขัมมะ หมายถึงกุศลทุกประการได้  แต่ถ้าเป็นเนกขัมมบารมีแล้ว  ต้องเป็นธรรมที่ทำให้ถึงฝั่งคือดับกิเลส  กุศลทั่วไปเช่น  การให้ทาน  ก็มีแม้ของบุคคลนอกศาสนานี้แต่ไม่ได้เห็นโทษของกิเลส และวัฏฏะ แต่ก็ให้ ขณะนั้นเป็นกุศล เป็นเนกขัมมะ ( กุศลทุกประการเป็นเนกขัมมะ )    แต่เป็นเนกขัมมบารมีหรือเปล่า    ดังนั้น    เนกขัมมบารมี ต้องประกอบด้วย  ปัญญาที่เห็นโทษของกิเลส  และการเกิดหรือการอยู่ในวัฏฏะ เพราะฉะนั้น  กุศลทุกประการ  เป็นเนกขัมมะ  แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็น    เนกขัมมบารมีครับ  ดังข้อความ  ในพระไตรปิฎกเรื่อง เนกขัมมบารมี

            พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓- หน้าที่ 577

                      จิตเกิดขึ้นเพื่อจะออกจากกามภพ มีการเห็นโทษเป็นอันดับแรก   

            กำหนดด้วยความ   เป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นเนกขัมมบารมี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓- หน้าที่ 578

           เนกขัมมบารมี    มีการออกจากกามและจากความมีโชคเป็นลักษณะ.   

มีการประกาศโทษของกามนั้นเป็นรส.     มีความหันหลังจากโทษนั้นเป็น

ปัจจุปัฏฐาน.   มีความสังเวชเป็นปทัฏฐาน.                                           

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 636

         อนึ่ง    เพราะการเกิดขึ้นแห่งกุศลจิตเป็นไปแล้ว   ด้วยการออกจากกาม

และภพทั้งหลาย   มีการเห็นโทษเป็นเบื้องต้น   กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาด

ในอุบายคือกรุณา  ชื่อว่า  เนกขัมมบารมี.   


ที่มา
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=3855

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: .....เนกขัมมะ(บารมี).....
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 08 พ.ค. 2554, 09:59:36 »
เนกขัมมะ ชื่อว่าทวนกระแสตัณหา

        พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 695

         การบรรพชา   ปฐมฌานพร้อมด้วยอุปจาร   วิปัสสนาปัญญา และนิพพาน

ชื่อว่า เนกขัมมะ  ในคำว่า  ปฏิโสโตติ  โข    ภิกฺขเว    เนกฺขมฺมสฺเสตํ    อธิวจนํ

(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย      คำว่า    ทวนกระแสนี้แล    เป็นชื่อของเนกขัมมะ)   นี้.

กุศลธรรมแม้ทั้งหมด  ก็ชื่อว่า เนกขัมมะ.  สมจริงดังที่พระองค์ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า

                กุศลธรรม  แม้ทั้งหมด  คือ  บรรพชา

        ปฐมฌาน    นิพพาน    และวิปัสสนา   เรา

        ตถาคต  เรียกว่า  เนกขัมมะ.

           ก็ผู้ศึกษาพึงทราบความที่บรรพชาเป็นต้นเหล่านี้           เป็นเช่นกับการ

ทวนกระแส        โดยการทวนต่อกระแสแห่งตัณหา.     เพราะว่า    โดยความไม่

แปลกกันแล้ว    ธรรมวินัย  ชื่อว่า  เนกขัมมะ.  การตั้งใจของเขา ๑ การบรรพชา

ของเขา  ๑  ธรรมวินัย   ๑   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า  ทวนกระแสตัณหา.


ขอบคุณที่มา
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=14635