ผู้เขียน หัวข้อ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)  (อ่าน 4767 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า

************************

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เอกบุรุษเมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์สุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เอกบุรุษผู้เลิศ คือ พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า

   ช่วงนี้ใกล้ถึงวาระมหามงคลสำหรับเหล่าพุทธศาสนิกชนอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือ วันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ฉะนั้น วันวิสาขบูชาจึงเป็นวันที่เราควรมาตรึกระลึกนึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์จะได้เกิดความปีติใจว่า เป็นบุญลาภอันประเสริฐที่เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา ได้สั่งสมบุญกุศลที่จะนำตนไปสู่สวรรค์นิพพาน เพราะพุทธบารมีธรรมอันไม่มีประมาณนี่เอง

ความหมายของวันวิสาขบูขา

   คำว่า วิสาขบูขา แปลว่า "การบูชาพระพุทธเจ้า เนื่องในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๗ หรือราวเดือนมิถุนายน วันวิสาขบูชา เป็นวันที่ ๓ เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน ๖ แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ ๓ ประการ ได้แก่
   ๑.วันวิสาขบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
   เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะคลอด พระนางเสด็จแปรพราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อทรงให้กำเนิดพระราชโอรสในตระกูลของพระนาง ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระราชโอรสใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "ผู้มีความสมหวังดังใจปรารถนา"
   เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตาบสผู้มีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า เมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า "พระราชกุมารนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส
   ๒.วันวิสาขบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
   หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี มีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า "พุทธคยา" เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
   สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจ ๔ เป็นความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนได้บรรลุญาณ ๓ คือ ยามต้น:ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ" คือ ทรงระลึกชาติในอดีตได้ ยามสอง:ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ยามสาม:ทรงบรรลุ "อาสวักขยญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วยอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖
   ๓.วันวิสาขบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
   เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี จนมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุวคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ขณะเดียวกันพระองค์ได้เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย แล้วเกิดอาพาธ แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน
   เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน

ประวัติความเป็นมา
วันวิสาขบูชาในประเทศไทย

   ปรากฏหลักฐานว่า วันวิสาขบูชาเริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวันวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกาพระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา เมื่อมีพระสงฆ์มาเผยแผ่ในประเทศไทยจึงนำประเพณีนี้เข้ามาด้วย
   สำหรับการปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศว่า เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพารทั้งฝ่ายใน รวมทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนครด้วยดอกมไ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน แด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

วันวิสาขบูชา
วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ

   เนื่องจากวันวิสาขบูชาล้วนมีเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และในวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุมกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา นอกจากนี้ยังกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดวันหนึ่งขิงสหประชาชาติอีกด้วย เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้นได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้พระมหากรุณาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน
   วิสาขบูชา วันแห่งการสถาปนาพระพุทธศาสนาให้เป็นแสงสว่างส่องนำทางสรรพสัตว์ไปสู่สวรรค์นิพพาน
   วิสาขบูชา วันที่พระพุทธเจ้าทรงมีชัยชนะเหนือหมู่มารและมีชัยชนะที่ไม่มีวันกลับมาแพ้
   วิสาขบูชา วันที่พวกเราเหล่าพุทธบริษัทจะได้ทำทั้งอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาต่อองค์พระบรมศาสดา ด้วยการเข้าวัดฟังธรรม ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ดำเนินตามรอยบาทพระศาสดา และรักษาวันแห่งความมหัศจรรย์นี้ไว้ให้เป็นประเพณีอันดีงามยืนยงคงอยู่เคียงคู่โลกตลอดไป.


****************************************************

จากวารสารอยู่ในบุญ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๐๓ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔
เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ.๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ.๙

    :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พ.ค. 2554, 07:17:06 โดย ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 09 พ.ค. 2554, 07:37:36 »
ขอบพระคุณท่านปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)ลูกพระธรรม :054: ที่ได้นำเสนอเรื่องวันวิสาขะบูชา (เมื่อบ่ายนี้ก็ได้นั่งนึกๆเรื่องนี้เช่นกัน)

สุกรมัททวะ คืออะไร?? ลองอ่าน....
http://www.oknation.net/blog/mylifeandwork/2009/09/01/entry-2
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=137&page=28
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915

ปล.พรุ่งนี้วันพระนะครับ ขึ้น๘ค่ำ เดือน ๖
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 09 พ.ค. 2554, 08:04:36 »
พระพุทธศาสนาถือกำเนิดเกิดขึ้นมาจะครบ ๒,๕๙๙ ปีแล้ว

"ชีวิตนี้คือช่วงต่อลมหายใจของพระพุทธศาสนา"

นำภาพงานฉลองวิสาขบูชาของฮ่องกงมาให้ชมครับ.



ที่มาของภาพ : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔.

*เช่นกันครับท่านทรงกลด - "พรุ่งนี้วันพระ ทำใจให้เข้าถึงพระภายใน"*


ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 09 พ.ค. 2554, 08:45:09 »
อ้างถึง
ยามสาม:ทรงบรรลุ "อาสวักขยญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วยอริยสัจ ๔

ผมอ่านบทขยายความในนี้ไม่ทราบว่าถูกต้องไหม
http://www.oknation.net/blog/buddhabath/2010/09/16/entry-7
ที่บอกว่า....อาสวักขยญาณไม่ใช่ญาณทำกิเลสให้สิ้น และ อาสวักขยญาณควรแปลว่า ญาณทำพรหมจรรย์ให้สิ้นเพราะหยั่งรู้ทันว่ากิเลสสิ้นแล้ว กิจจบแล้ว พรหมจรรย์สิ้นแล้ว ไม่ต้องเจริญอีก ไม่ต้องทำอีก ไม่ต้องฝึกอีกแต่สติและสมาธิก็มีเองได้ เกิดเองได้, ดับเองได้

กับข้อความข้างล่างนี้ ขัดแย้งกันไหม (พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่ม ๙)

http://nkgen.com/427.htm
[๓๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไป(พิจารณา)เพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้  จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พ.ค. 2554, 08:46:35 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 09 พ.ค. 2554, 09:06:10 »
อ้างถึง
ยามสาม:ทรงบรรลุ "อาสวักขยญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วยอริยสัจ ๔

ผมอ่านบทขยายความในนี้ไม่ทราบว่าถูกต้องไหม
http://www.oknation.net/blog/buddhabath/2010/09/16/entry-7
ที่บอกว่า....อาสวักขยญาณไม่ใช่ญาณทำกิเลสให้สิ้น และ อาสวักขยญาณควรแปลว่า ญาณทำพรหมจรรย์ให้สิ้นเพราะหยั่งรู้ทันว่ากิเลสสิ้นแล้ว กิจจบแล้ว พรหมจรรย์สิ้นแล้ว ไม่ต้องเจริญอีก ไม่ต้องทำอีก ไม่ต้องฝึกอีกแต่สติและสมาธิก็มีเองได้ เกิดเองได้, ดับเองได้

กับข้อความข้างล่างนี้ ขัดแย้งกันไหม (พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่ม ๙)

http://nkgen.com/427.htm
[๓๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไป(พิจารณา)เพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้  จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


ขอบคุณครับ
ไม่ขัดครับ :001:

อาสวักขยญาณ ไม่ใช่ญาณที่ทำให้สิ้นกิเลส แต่คือ ญาณที่ทำให้ทรงหยั่งรู้อริยสัจ ๔(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นเพียง"รู้การกำจัดกิเลส"

ซึ่งอาสวักขยญาณนี้เป็นบาทของการบรรลุ"พระสัพพัญญุตญาณ"ครับ :001:

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 09 พ.ค. 2554, 09:10:45 »
ไม่ขัดครับ :001:

อาสวักขยญาณ ไม่ใช่ญาณที่ทำให้สิ้นกิเลส แต่คือ ญาณที่ทำให้ทรงหยั่งรู้อริยสัจ ๔(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นเพียง"รู้การกำจัดกิเลส"

ซึ่งอาสวักขยญาณนี้เป็นบาทของการบรรลุ"พระสัพพัญญุตญาณ"ครับ :001:
ขอบคุณครับที่ให้ความกระจ่าง :054:
มือใหม่ต้องศึกษากันต่อไปยาวๆ :002:

ถามเพิ่มครับ คำว่า พรหมจรรย์สิ้นแล้ว กับ พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
หมายความว่าอะไรครับ ไม่เข้าใจ :010:  :086:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พ.ค. 2554, 09:14:06 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 09 พ.ค. 2554, 09:48:07 »
ไม่ขัดครับ :001:

อาสวักขยญาณ ไม่ใช่ญาณที่ทำให้สิ้นกิเลส แต่คือ ญาณที่ทำให้ทรงหยั่งรู้อริยสัจ ๔(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นเพียง"รู้การกำจัดกิเลส"

ซึ่งอาสวักขยญาณนี้เป็นบาทของการบรรลุ"พระสัพพัญญุตญาณ"ครับ :001:
ขอบคุณครับที่ให้ความกระจ่าง :054:
มือใหม่ต้องศึกษากันต่อไปยาวๆ :002:

ถามเพิ่มครับ คำว่า พรหมจรรย์สิ้นแล้ว กับ พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
หมายความว่าอะไรครับ ไม่เข้าใจ :010:  :086:
///กิจของพรหมจรรย์สิ้นแล้ว,อยู่จบแล้ว///

ผมนึกถึงประโยคนี้ตอนเข้าอุปสมบทนะครับ
"สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ,นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ , อิมัง กาสาวัง คะเหตวา,ปัพพาเชถะ มัง ภันเต , อะนุกัมปัง อุปาทายะ"

คำแปล
"ขอท่านโปรดเอ็นดู รับผ้ากาสาวะ(ย้อมน้ำฝาด) นี้แล้ว จงให้ข้าพเจ้าบรรพชาเถิด ขอรับ เพื่อกระทำให้แจ้งพระนิพพาน เป็นเครื่องสลัดทุกข์ทั้งปวง"

   บวชแล้วต้องประพฤติพรหมจรรย์ และเป้าหมายของการบวชตามที่กล่าวให้สัจจะกับพระอุปัชฌาย์ในท่ามกลางสงฆ์คือ"การทำพระนิพพานให้แจ้ง" ฉะนั้น กิจของพรหมจรรย์ คือ การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อเป้าหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา(พระนิพพาน)
   
   ทบทวนตามปฏิโลม - ในเมื่อสภาวะจิตเข้าสู่พระนิพพานแล้ว กิจที่ต้องทำคือ"ประพฤติพรหมจรรย์"ย่อมจบสิ้นตามไปด้วยครับ :001:  




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พ.ค. 2554, 09:52:40 โดย ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 10 พ.ค. 2554, 07:22:54 »
   บวชแล้วต้องประพฤติพรหมจรรย์ และเป้าหมายของการบวชตามที่กล่าวให้สัจจะกับพระอุปัชฌาย์ในท่ามกลางสงฆ์คือ"การทำพระนิพพานให้แจ้ง" ฉะนั้น กิจของพรหมจรรย์ คือ การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อเป้าหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา(พระนิพพาน)
   
   ทบทวนตามปฏิโลม - ในเมื่อสภาวะจิตเข้าสู่พระนิพพานแล้ว กิจที่ต้องทำคือ"ประพฤติพรหมจรรย์"ย่อมจบสิ้นตามไปด้วยครับ :001: 
ถ้าผมจะเปรียบเทียบกับทางโลก
นิพพาน คือ เป้าหมาย(goal)
กิจของพรหมจรรย์ คือ แผนปฎิบัติการ(action plan)

เมื่อทำปฏิบัติจนบรรลุเป้าหมายแล้ว ก็จบแผนปฏิบัติการได้

ผิดถูกประการใดโปรดอภัย :054:

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 10 พ.ค. 2554, 06:50:57 »
ถามมา ตอบได้ 02; 02;
                                                           
ขอขอบคุณ ท่านปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) และ ท่านทรงกลด กับความรู้หลักธรรมะ ข้าพเจ้าอ่านตามได้ความรู้เยอะเลยครับ
                                                                                                                     
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณมากครับผม) :054: :054:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 พ.ค. 2554, 06:51:20 โดย saken6009 »

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 10 พ.ค. 2554, 11:17:20 »
   บวชแล้วต้องประพฤติพรหมจรรย์ และเป้าหมายของการบวชตามที่กล่าวให้สัจจะกับพระอุปัชฌาย์ในท่ามกลางสงฆ์คือ"การทำพระนิพพานให้แจ้ง" ฉะนั้น กิจของพรหมจรรย์ คือ การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อเป้าหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา(พระนิพพาน)
   
   ทบทวนตามปฏิโลม - ในเมื่อสภาวะจิตเข้าสู่พระนิพพานแล้ว กิจที่ต้องทำคือ"ประพฤติพรหมจรรย์"ย่อมจบสิ้นตามไปด้วยครับ :001: 
ถ้าผมจะเปรียบเทียบกับทางโลก
นิพพาน คือ เป้าหมาย(goal)
กิจของพรหมจรรย์ คือ แผนปฎิบัติการ(action plan)

เมื่อทำปฏิบัติจนบรรลุเป้าหมายแล้ว ก็จบแผนปฏิบัติการได้

ผิดถูกประการใดโปรดอภัย :054:
พรหมจรรย์ เป็นแค่ "ส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการ"(Part of the plans)

หลักใหญ่น่าจะอยู่ที่เอกายนมรรค - มหาสติปัฏฐาน ครับ :001:

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 10 พ.ค. 2554, 11:34:41 »
พรหมจรรย์ เป็นแค่ "ส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการ"(Part of the plans)

หลักใหญ่น่าจะอยู่ที่เอกายนมรรค - มหาสติปัฏฐาน ครับ :001:
ขอบคุณครับ :054: ไม่ง่ายเลยนะ :074:
ต้องศึกษากันไปยาวๆ :075:

ปล..จะถามจนถึงวันวิสาขบูชา แล้วค่อยถามต่ออีกจนเข้าพรรษา :027:

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 11 พ.ค. 2554, 11:24:29 »
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ ดีเยี่ยม ม้วนที่ ๓๒/๒ ครึ่งหลัง ต่อ ๓๓/๑ ( File Tape 28 )
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

๑ เอกายนมรรค ทางปฏิบัติอันเดียว
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต

ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ

ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง

เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

จะแสดงสรุปธรรมะที่บรรยายมาโดยลำดับ

ตามแนวพระสูตรใหญ่ที่ตรัสแสดงสติปัฏฐาน อันได้ชื่อว่ามหาสติปัฏฐานสูตร

อันได้ถือเป็นหลักในการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไป

พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงชี้ทางปฏิบัติอันเดียว อันเรียกโดยชื่อว่าเอกายนมรรค

ทางไปอันเดียว คือทางปฏิบัติอันเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย


เพื่อก้าวล่วงความโศก ความรัญจวนคร่ำครวญใจทั้งหลาย เพื่อดับทุกข์โทมนัสทั้งหลาย

เพื่อบรรลุธรรมะอันถูกชอบที่พึงบรรลุ

เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพานคือความดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งสิ้น

ทางปฏิบัติอันเดียวนี้ก็คือสติปัฏฐานพิจารณากาย สติปัฏฐานพิจารณาเวทนา

สติปัฏฐานพิจารณาจิต สติปัฏฐานพิจารณาธรรมะคือเรื่องในจิต


ขอบคุณที่มา
http://www.mahayana.in.th/tsavok/tape/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 พ.ค. 2554, 11:25:16 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 11 พ.ค. 2554, 10:04:28 »
การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา แบ่งออกเป็น 3 พิธีคือ

                1. พิธีหลวง (พระราชพิธี)
                2. พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
                3. พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)

การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันมาฆบูชา ขอได้โปรดศึกษาลำดับขั้นตอนจากการประกอบพิธีในวันมาฆบูชาข้างต้น มีแต่คำบูชาเท่านั้นที่แตกต่างกัน ขอนำมาแสดงให้เห็นดังนี้
 
พุทธกิจ 5 ประการ
                1. ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ คือเสด็จไปโปรดจริง
เพราะทรงพิจารณาเห็นตอนจวนสว่างแล้วว่าวันนี้มีใครบ้างที่ควรไปโปรดทรงสนทนา
หรือแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดบ้าง ทรงส่งเสริมผู้ปฏิบัติชอบอยู่แล้วให้ปฏิเสธชอบบ้าง เป็นต้น
                2. ตอบบ่าย ทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ
ซึ่งปรากฏว่าไม่ว่าพระองค์จะประทับอยู่ที่ใด ประชาชนทุกหมู่ทุกเหล่าตลอดถึง
ผู้ปกครอง นครแคว้นจะชวนกันมาเฝ้าเพื่อสดับตับพระธรรมเทศนาทุกวันมิได้ขาด
                3. ตอนเย็น ทรงเเสดงโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลที่อยู่ประจำ
ณ สถานที่นั้นบางวันก็มีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก
                4. ตอนเที่ยงคืน ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาเทวดา หมายถึง เทพพวกต่าง ๆ
หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพผู้สงสัยในปัญหาและปัญหาธรรม
                5. ตอนเช้ามืด จนสว่าง
ทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรดได้แล้วเสด็จไปโปรดโดยการ
ไปบิณฑบาตดังกล่าวแล้วในข้อ 1 โดยนัยดังกล่าวมานี้พระพุทธองค์ทรงมีเวลาว่าอยู่เพียงเล็กน้อย
ตอนเช้าหลังเสวยอาหารเช้าแล้วแต่ก็เป็นเวลาที่ต้องทรงต้อนรับอาคันตุกะ ผู้มาเยือนอยู่เนือง ๆ
เสวยน้อย บรรทมน้อย แต่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาก ตลอดเวลา 45 พรรษา
นั้นเองประชาชนชาวโลกระลึกถึงพระคุณของพระองค์ดังกล่าวมาโดยย่อนี้ จึงถือเอาวันประสูติ
ตรัสรู้และปรินิพพานของพระองค์เป็นวันสำคัญ
จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้นในทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา
สำหรับพิธีการต่าง ๆ ก็เหมือนกับที่กล่าวแล้วในวันวิสาขบูชา
ประเพณีวันวิสาขบูชานี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและได้เสื่อมสูญไป
จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ทรงฟื้นฟูประเพณีนี้ขึ้นและปฏิบัติมาจนทุกวันนี้


ผิดถูกประการใดต้องขออภัย :054:

ขอบคุณที่มา
http://www.phutti.net/visaka/sartsana.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 12 พ.ค. 2554, 07:59:15 »


การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๘ พฤษภาคม รวม ๗ วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามศรัทธาตลอดเวลา ๗ วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม ๒,๕๐๐ รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๔ พฤษภาคม รวม ๓ วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ ๒,๕๐๐ รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ ๒๐๐,๐๐๐ คน เป็นเวลา ๓ วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย

ขอบคุณที่มา
http://www.fungdham.com/important-day/visakha.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 พ.ค. 2554, 08:04:30 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 13 พ.ค. 2554, 06:52:08 »
สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาทวันวิสาขบูชา



เนื่องในวันวิสาขบูชา 17 พ.ค.2554 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระโอวาท วันวิสาขบูชา 2554 ใจความว่า
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน    
พระองค์ทรงเป็นพระบรมศาสดาผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระคุณอันประเสริฐ 3 ประการ คือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ต่อทวยเทพ มวลมนุษย์และสรรพสัตว์
เนื่องด้วยพระพุทธศาสนามีคุณูปการอันใหญ่หลวง ซึ่งอำนวยประโยชน์เกื้อกูลความเจริญรุ่งเรืองและความสงบร่มเย็นแก่นานาอารยชนมาตลอดระยะเวลากว่า 2,500 ปี    ฉะนั้นเมื่อวันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2554 มาถึง ควรที่เราทั้งหลายจะได้ทำการบูชาและน้อมรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระธรรมและพระอริยสงฆ์ เพื่อน้อมนำมาเป็นที่พึ่งของตน เป็นแนวทางในการปฎิบัติดำเนินชีวิต เพื่อความสวัสดีและความสงบร่มเย็นแก่เพื่อนรวมโลกสืบไป
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและบุญกุศล อำนวยให้ทุกท่านเจริญด้วยสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคลตลอดไปโดยทั่วกัน

บันทึกโพสใน ธรรมะจากวัดปัญญา, วิสาขบูชา, watpanya
ที่มา
http://watpanya.net/2011/05/12/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 พ.ค. 2554, 06:52:59 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: 13 พ.ค. 2554, 11:11:26 »
พุทธศาสนาได้รับรางวัลศาสนาที่ดีที่สุดในโลก
เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฏาคม คศ.๒๐๐๙

subject : Buddhism won the best religion in the world award 15 Jul 2009, Tribune de Geneve.

 หนังสือพิมพ์"ตรีบูน เดอ เจแนฟ" ได้ลงข่าวเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฏาคม คศ.๒๐๐๙(พศ.๒๕๕๒) ว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ดีที่สุดในโลก

 คณะกรรมการเพื่อความก้าวหน้าทางศาสนาและจิตวิญญาณ(Internation Coalition for the Advancement of Religious and Spirituality(ICARUS) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอแลนด์ ได้ลงมติให้รางวัล"ศาสนาที่ดีที่สุดในโลก" แก่สังคมชาวพุทธ.

ผู้นำศาสนากว่า ๒๐๐ คน จากทุกๆหน่วยงานที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณ ได้ลงมติให้รางวัลนี้ในที่ประชุมโต๊ะกลมแห่งหนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตุว่า ผู้นำศาสนาจำนวนมากได้ลงมติให้แก่พุทธศาสนายิ่งกว่าศาสนาของตนเอง แม้ว่าจะมีชาวพุทธที่เป็นส่วนน้อยในคณะกรรมการนี้

ต่อไปนี้จะเป็นความเห็นจากคณะกรรมการบางท่าน

Johnne Hult ผู้อำนวยฝ่ายค้นคว้าของ ICARUS กล่าวว่า "ไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ชาวพุทธได้รับรางวัลนี้ เพราะว่าชาวพุทธไม่เคยมีสงครามศาสนากับใครๆ ซึ่งเรื่องนี้แตกต่างจากศาสนาอื่นๆ ซึ่งดูเหมือนจะเก็บปืนไว้ในตู้เสื้อผ้า ในกรณีที่พระเจ้าทำผิดขึ้นมา เราไม่เคยเห็นชาวพุทธในกองทัพประชาชนเหล่านี้(ชาวพุทธ)ปฏิบัติธรรมเหมือนกับดังที่เขา(ศาสนาอื่น)สอน ซึ่งเราไม่เคยพบในศาสนาอื่นๆ

สาธุคุณ Ted O Shanghnessy บาทหลวงคาทอลิคผู้หนึ่ง ได้กล่าวที่เมือง Belfast ว่า "ถึงแม้ฉันจะรักและนับถือศาสนาคาทอลิก แต่ก็รู้สึกไม่สบายใจที่เราพร่ำสอนให้คนรักกัน แต่เมื่อถึงคราวที่จะฆ่ามนุษย์ชาติด้วยกัน ก็อ้างว่าเป็นเจตนารมณ์ของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงขอลงมติให้ชาวพุทธ."

พระมุสลิมจากปากีสถานชื่อ Tal Bin Wassad ได้กล่าวผ่านล่ามว่า "แม้ข้าพเจ้าจะเป็นมุสลิมที่เคร่งครัด แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงต้องมีการโกรธแค้นและหลั่งเลือดโดยศาสนา แทนที่จะมีการเจรจาตกลงกันในระดับบุคคลต่อบุคคล"

Bin Wassad ซึ่งเป็นสมาชิกจากปากีสถานของ ICARUS ได้กล่าวต่อไปอีกว่า ความจริงเพื่อนที่ดีของข้าพเจ้าบางคนก็เป็นชาวพุทธ

Robbi Shmuel Wassestein ได้กล่าวที่เจรูซาเล็มว่า"แน่ละ ข้าพเจ้ารักศาสนายิว และคิดว่าเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในโลก แต่ความจริงแล้ว ข้าพเจ้าปฏิบัติวิปัสสนาทุกวันก่อนสวดมนต์ทางศาสนายิวของผม"

อย่างไรก็ดีมีปัญหาอยู่ข้อหนึ่งว่า ICARUS ไม่รู้ว่าจะมอบรางวัลนี้ให้แก่ผู้ใด เพราะชาวพุทธทั้งหมดตอบว่าไม่ต้องการรางวัลนั้น

เมื่อถามว่า ทำไมสังคมชาวพุทธในพม่าจึงไม่ยอมรับรางวัลนี้ พระBhante Ghurata Hanta จากพม่าได้กล่าวว่า "เราขอขอบคุณในรางวัลนี้ แต่เราถือว่ารางวัลนี้เป็นของมนุษย์ชาติทั้งมวล และพระพุทธคุณได้อยู่ในใจของเราชาวพุทธทุกคนแล้ว"

Grochlichen กล่าวต่อไปว่า เราจะพยายามติดต่อกับชาวพุทธต่อไป และจะแจ้งให้ท่านทราบ เมื่อได้พบชาวพุทธซึ่งยินดีรับรางวัลนี้.

ขอบคุณที่มา
http://www.oknation.net/blog/pierra/2009/10/26/entry-1

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: 13 พ.ค. 2554, 09:54:21 »
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจริยะบุคคลที่ได้รับการขนานนามว่าบุรุษผู้ฉลาดที่สุดแห่งศตวรรษ

ใช้คำเรียกพระพุทธศาสนาว่า "ศาสนาแห่งจักรวาล"(เหตุที่ใช้คำนี้เพื่อเลี่ยงประเด็นการโต้แย้งทางทัศนคติทางศาสนา) เคยกล่าวไว้ว่า

"ศาสนาที่แท้จริงต้องไม่สอนให้คนกลัวชีวิต กลัวความตาย และสร้างศรัทธา อย่างคนตาบอด

หากแต่สอนให้ทุ่มเท หาความรู้อย่างมีเหตุผล"

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: 14 พ.ค. 2554, 08:04:46 »
ขอบคุณท่านปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)
==========
เหลืออีก 3 วัน จะถึงวันวิสาขบูชาแล้ว
==========
การประพฤติพรหมจรรย์เป็นมงคล

พรหมจรรย์ คือหลักการประพฤติธรรมอันประเสริฐ ในการสังวรสำรวมเพื่อละคลายความกำหนัด เพื่อดับทุกข์ อันเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ความหมายของพรหมจรรย์มีหลายอย่าง ท่านกล่าวไว้ในที่ต่างๆว่า...

ทาน ก็ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะละคลายความตระหนี่

เบญจศีล ก็ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะไม่ทำให้ศีลขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่างพร้อย

ความเพียร ก็ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะเพียรเพื่อสำรวมระวังบาปอกุศล

อริยมรรค ก็ชื่อว่า พรหมจรรย์ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็น เบื้องต้นของพรหมจรรย์ ส่วนความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์.

การประพฤติพรหมจรรย์ ก็เพื่อจะละอนุสัย คือกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน มีกามราคะ ความขัดเคืองใจ ความเห็นผิด ความลังเลสงสัย ความถือตัว ความใคร่ในภพ และความไม่รู้ในสิ่งที่ตามความเป็นจริง คืออวิชชา เพื่อความดับทุกข์ อันเป็นหนทางหยั่งลงสู่พระนิพพาน

ท่านกล่าวว่า การประพฤติพรหมจรรย์นี้ ไม่สามารถประพฤติให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ ต้องออกจากเรือนบวช เพราะมีเวลาที่จะได้ศึกษาและปฏิบัติ ไม่มีกิจการงานคือกสิกรรม หรือพาณิชย์กรรมใด ส่วนชีวิตฆราวาสนั้นคับแคบ เพราะโอกาสที่จะได้ทำกุศลน้อยมาก เป็นที่รวมแห่งกิเลสดุจกองหยากเยื่อ เพราะฉะนั้น การประพฤติพรหมจรรย์ จึงไม่ใช่การอยู่ครองเรือน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การประพฤติพรหมจรรย์เป็นมงคล.

ตะโป จะ พฺรัหฺมจะริยัญจะ    อริยะสัจจานะทัสสะนัง

นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ     เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

เพียรเผากิเลส ประพฤติพรหมจรรย์     การเห็นอริยสัจ

การกระทำพระนิพพานให้แจ้ง     นี้เป็นมงคลอันอุดม


ขอบคุณที่มา
http://www.oknation.net/blog/pierra/2010/05/04/entry-1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 พ.ค. 2554, 08:09:04 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: 14 พ.ค. 2554, 09:23:09 »
ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรมวินัย

ถาม การศึกษาพระธรรมวินัย เมื่อได้ศึกษาอยู่
เธอรู้สึกตัวดีอยู่หรือไม่ว่า
ได้รับประโยชน์อะไรบ้าง?

ตอบ ฉันรู้สึกตัวได้ดีว่า การศึกษาพระธรรมวินัย ได้ประโยชน์อย่างดี

คือกระทำใจให้สงบ ย่ิอมเป็นสุข

รู้คิดในสิ่งที่ไม่เคยคิด ได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง

สิ่งใดที่เคยสงสัย เคลือบแคลง

ก็รู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ ควรเห็น

และปราศจากความสงสัยเสียได้

และยังเป็นเหตุให้คิดอยู่เนืองๆว่า

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้ได้ทำอะไรอยู่?


ผู้ใดปฏิบัติดี

รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ รอบรู้ธรรมที่ควรรอบรู้

ละธรรมที่ควรละ อบรมธรรมที่ควรอบรม

กระทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง

ผู้นั้นก็ได้นิพพาน


ขอบคุณที่มา
http://www.oknation.net/blog/boy-girl/2011/02/28/entry-1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 พ.ค. 2554, 09:23:37 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: 14 พ.ค. 2554, 09:42:38 »
ช่างบังเอิญ ประจวบเหมาะ กำลังสนใจเรื่องมิลินทปัญหา ก็สามารถเชื่อมโยงไปถึงวันวิสาขบูชาได้............
====================
พุทธพยากรณ์ในวันปรินิพพาน

     เมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับเหล่าพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จไปที่เมืองกุสินารามหานคร ในเวลาที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงบรรทมบนบัลลังก์ หันพระเศียรไปทางทิศอุดร ในระหว่างนางรังทั้งคู่อันมีอยู่ในพระราชอุทยานของพวกมัลลกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารา จึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

     "ภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้รู้ว่า สังขารทั้งปวงมีความสิ้นความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงทำกิจทั้งปวงด้วยความไม่ประมาทเถิด

     ธรรมวินัยอันใด เราบัญญติไว้แล้ว เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ธรรมวินัยนั้นแหละ จะเป็นครูของพวกเธอ

     เมื่อเราปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปจะระลึกถึงถ้อยคำที่ไม่ดีของ สุภัททภิกขุผู้บวชเมื่อแก่ แล้วจะกระทำสังคายนา เพื่อรักษาพระพุทธวจนะไว้มิให้คลาดเคลื่อน (  สังคายนา ครั้งที่ ๑)

     ต่อนั้นไปอีก ๑๐๐ ปี พระยสกากัณฑกบุตร ผู้จะย่ำยีซึ่งถ้อยคำของพวกภิกษุวัชชีบุตรติสสเถระ ผู้จะลบล้างลัทธิของพวกเดียรถีย์ภายนอก จักได้กระทำ  สังคายนาครั้งที่ ๒

     ต่อไปอีกได้ ๒๑๘ ปี พระโมคคลีบุตรติสสเถระ ผู้จะลบล้างลัทธิของพวกเดียรถีย์ภายนอก จักได้กระทำ  สังคายนาครั้งที่ ๓

     ต่อมาภายหลัง พระมหินทเถระจะไปประดิษฐานศาสนาของเรา ลงไว้ที่ตามพปัณณิทวีป (ลังกา)

     ต่อจากเราปรินิพพานไปล่วงได้ ๕๐๐ ปี จักมีพระราชาองค์หนึ่ง ชื่อว่า "มิลินท์" ผู้ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ดีแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาอันละเอียดขึ้น ด้วยอานุภาพปัญญาของตน จะย่ำยีเสียซึ่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยปัญหาอันละเอียด

     จะมีภิกษุองค์หนึ่ง ชื่อว่า "นาคเสน" ไปทำลายถ้อยคำของ มิลินทราชา ทำให้มิลินทราชาเกิดความร่าเริงยินดีด้วยอุปมาเป็นเอนก จะทำศาสนาของเราให้หมดเสี้ยนหนามหลักตอ จะทำศาสนาของเราให้ตั้งอยู่ตลอด ๕๐๐๐ พรรษา" ดังนี้

    เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวไว้ว่า ผู้ใดเกิดในตระกูลในเวลาล่วงได้ ๕๐๐ ปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วนั้น ผู้นั้นจักได้ชื่อว่า "มิลินทราชา" เสวยราชย์อยู่ใน สาคลนคร อันเป็นเมืองอุดม มิลินทราชานั้น จักได้ถามปัญหาต่อพระนาคเสน มีอุปมาเหมือนกับน้ำในแม่น้ำคงคาไหลไปสู่มหาสมุทรสาครฉะนั้น พระองค์เป็นผู้มีถ้อยคำอันวิจิตร ได้เสด็จไปหาพระนาคเสนในเวลาราตรี มีคบเพลิงจุดสว่างไสว แล้วถามปัญหาล้วนแต่ละเอียดลึกซึ้ง ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจไว้ด้วยดี ฟังปัญหาอันละเอียดในคัมภีร์มิลินท์นั้นเถิด จะเกิดประโยชน์สุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน ดังนี้

     พระนครของพระเจ้ามิลินท์ มีคำเล่าลือปรากฏมาว่า "เมืองสาคลนครของชาวโยนก เป็นเมืองที่งดงามด้วยธรรมชาติอันน่ารื่นรมย์ อุทยานอันมีสระน้ำ สวนดอกไม้ผลไม้ ตกแต่งไว้อย่างดี มีหมู่นกมากมายอาศัยอยู่ ป้อมปราการก็แข็งแรง ปราศจากข้าศึกมารบกวน ถนนหนทางภายในพระนครเกลื่อนกล่นไปด้วยช้างม้ารถอันคล่องแคล่ว อีกทั้งหมู่สตรีล้วนมีรูปร่างสวยงาม ต่างเที่ยวสัญจรไปมา ทั้งเป็นที่พักพาอาศัยของ สมณพราหมณ์ พ่อค้าสามัญชนต่าง ๆ
     เมืองสาคลนครนั้น สมบูรณ์ด้วยผ้าแก้วแหวนเงินทอง ยุ้งฉาง ของกินของใช้มีตลาดร้านค้าเป็นที่ไปมาแห่งพ่อค้า ข้างนอกเมืองก็บริบูรณ์ด้วยพืชข้าวกล้า อุปมาเหมือนข้าวกล้าในอุตตรกุรุทวีป หรือไม่ก็เปรียบเหมือนกับ "อารกมัณฑาอุทยาน" อันสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชฉะนั้น"


ขอบคุณที่มา
http://www.dhammathai.org/milin/milin01.php?#1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 พ.ค. 2554, 09:43:12 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: 16 พ.ค. 2554, 12:15:42 »
คำนมัสการพระรัตนตรัยของพระติปิฎกจุฬาภัยเถระ

     พระจริยาอันเป็นประโยชน์แก่โลกทั้งปวง ของพระสัพพัญณูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณธรรมอันใหญ่พระองค์ใดมีอยู่ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้สมเด็จพระบรมครูพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้มีอานุภาพอันเป็นอจินไตย ผู้เป็นนายกอันเลิศของโลก

     สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์พระองค์ใด เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาจรณะ นำหมู่สัตว์ออกจากโลกด้วยธรรมะอันนั้น ซึ่งเป็นธรรมะอันสูงสุด เป็นธรรมะอันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชา

     พระอริยสงฆ์ใดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลคุณเป็นต้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ผล ๔ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์นั้น ผู้เป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลก

     บุญอันใดที่ข้าพเจ้าทำให้เกิดขึ้นด้วยการนอบน้อมพระรัตนตรับอย่างนี้ ด้วยเดชแห่งบุญอันนั้น จงให้อันตรายหายไปจากข้าพเจ้าในที่ทั้งปวง จงให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ปราศจากอันตราย

มิลินทปกรณ์ คือคัมภีร์มิลินท์อันใดที่ประกอบด้วยปุจฉาพยากรณ์มีอยู่ ขอท่านทั้งหลายจงฟังปัญหาทั้งหลายอันละเอียดลึกซึ้ง ที่มีอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหานั้น เพราะการฟังมิลินทปัญหานั้น จักทำให้เกิดประโยชน์สุข


ขอบคุณที่มา
http://www.dhammathai.org/milin/milin01.php?#1

ออฟไลน์ ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1560
  • เพศ: ชาย
  • ไม่สู้ ไม่หนี ทําดีเรื่อยไป
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: 16 พ.ค. 2554, 10:57:50 »
ฉลองพุทธชยันตีแห่งการตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒,๖๐๐ ป

เอาเพลงวันวิสาขบูชามาฝากกันครับ

ครูผู้บริสุทธิ์ ครูผู้หมดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ครูผู้มี"พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ" อย่างประมาณมิได้
บรมครูผู้นั้นคือ "สมเด็จพระพุทธเจ้า"
ขอนอบน้อมกราบกรานพระบรมศาสดา

ออฟไลน์ ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1560
  • เพศ: ชาย
  • ไม่สู้ ไม่หนี ทําดีเรื่อยไป
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: 16 พ.ค. 2554, 11:06:00 »
ประวัติวันวิสาขบูชาในรูปแบบวิดีโอครับ


วันวิสาขบูชา Vesak Day 1 (Sub. 中文 Eng)




วันวิสาขบูชา Vesak Day 2 (Sub. 中文 Eng)




วันวิสาขบูชา Vesak Day 3 (Sub. 中文 Eng)




วันวิสาขบูชา Vesak Day 4 (Sub. 中文 Eng)




วันวิสาขบูชา Vesak Day 5 (Sub. 中文 Eng)




วันวิสาขบูชา Vesak Day 6 (Sub. 中文 Eng)




วันวิสาขบูชา Vesak Day 7 (Sub. 中文 Eng)





วันวิสาขบูชา Vesak Day 8 (Sub. 中文 Eng)



กราบอนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ

สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า(๑๗พ.ค.๕๔)
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: 17 พ.ค. 2554, 04:18:39 »
วันนี้ วันวิสาขบูชา วันพระ(ใหญ่) ชาวพุทธหยุดทำกิจการงาน
ตอนเช้าตักบาตร ตอนสายเข้าวัดฟังธรรม ถวายเพลพระ ทำปฏิบัติบูชา ตอนเย็นค่ำเวียนเทียน รำลึกถึงคุณพระรัตนไตร :054:
==========================
ปฏิบัติบูชา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปฏิบัติบูชา แปลว่า บูชาด้วยการปฏิบัติ เป็นคู่กับ อามิสบูชา คือบูชาด้วยสิ่งของ
ปฏิบัติบูชา หมายถึงการบูชาด้วยการปฏิบัติตามแบบที่ท่านทำ ปฏิบัติตามคำที่ท่านสอน ได้แก่ท่านปฏิบัติมาอย่างไรก็ปฏิบัติตาม ท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร ก็ทำตามด้วยความเต็มใจ ด้วยการประพฤติดีปฏิบัติชอบ กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ เช่นปฏิบัติตามคำสั่งสอน คำเตือน คำแนะนำของพระพุทธเจ้า ของบิดามารดา ของครูอาจารย์ เป็นต้น
ปฏิบัติบูชา เป็นการบูชาอย่างหนึ่งใน 2 อย่าง แต่ปฏิบัติบูชาเป้นการบูชาที่สำคัญยิ่ง ยอดเยี่ยมกว่าอามิสบูชา :015:

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 พ.ค. 2554, 04:19:28 โดย ทรงกลด »