ผู้เขียน หัวข้อ: อะไรเป็นข้อแตกต่างกันระหว่างคฤหัสถ์ทุศีลกับสมณะทุศีล (ทุสสีลปัญหา)  (อ่าน 1855 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
อะไรเป็นข้อแตกต่างกันระหว่างคฤหัสถ์ทุศีลกับสมณะทุศีล
(ทุสสีลปัญหา)


พระเจ้ามิลินท์ - พระคุณเจ้านาคเสน อะไรเป็นความแปลกกัน, อะไรเป็นข้อแตกต่างระหว่างคฤหัสถ์ทุศีลกับสมณะทุศีล บุคคลทั้งสองนี้ มีคติเสมอเหมือนกันหรือ ทานที่ให้แก่บุคคลทั้ง ๒ มีวิบากเสมอเหมือนกันหรือ หรือว่ายังมีอะไรที่เป็นข้อแตกต่างกันอยู่อีก?

พระนาคเสน - ขอถวายพระพร มหาบพิตร สมณะทุศีลยังมีคุณธรรมยิ่งกว่าคุณธรรมของคฤหัสถ์ผู้ทุศีลโดยพิเศษอยู่ ๑๐ ประการเหล่านี้ และยังชำระทักขิณาทานให้หมดจดยิ่งๆขึ้นไป เพราะเหตุ ๑๐ ประการ คือ...

สมณะทุศีลในพระศาสนานี้...

- ยังเป็นผู้มีความเคารพในพระพุทธเจ้า

- ยังเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม

- ยังเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์

- ยังเป็นผู้มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี

- ยังพยายามในอุเทศ (การเรียนพระบาลี) และปริปุจฉา (การเรียนอรรถกถา)

- ยังเป็นผู้มากด้วยการสดับตรับฟัง

- ขอถวายพระพร ผู้เป็นสมณะแม้ว่าศีลขาด เป็นคนทุศีล เมื่อไปท่ามกลางบริษัทแล้ว ก็ยังรักษาอากัปกิริยาไว้ได้ รักษาความประพฤติทางกายไว้ได้ ความประพฤติทางวาจาไว้ได้ เพราะกลัวการติเตียน

- ยังมีจิตบ่ายหน้าตรงต่อความเพียร

- ยังเป็นผู้เข้าถึงสมัญญาว่า "ภิกษุ"

- ขอถวายพระพร สมณะทุศีล แม้เมื่อจะทำกรรมชั่ว ก็ย่อมประพฤติอย่างปิดบัง ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า หญิงมีสามีย่อมประพฤติชั่วช้าเฉพาะแต่ในที่ลับเท่านั้น ฉันใด, สมณะทุศีล แม้เมื่อจะทำกรรมชั่ว ก็ย่อมประพฤติอย่างปิดบัง ฉันนั้นเหมือนกันแล.


ขอบคุณที่มา
http://www.oknation.net/blog/pierra/2010/02/25/entry-1
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
2.

ขอถวายพระพร สมณะทุศีลยังมีคุณธรรมยิ่งกว่าคฤหัสถ์ผู้ทุศีลโดยพิเศษอยู่ ๑๐ ประการเหล่านี้แล..

ยังชำระทักขิณาทานให้หมดจดยิ่งๆขึ้นไปได้ เพราะเหตุ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง?


- ย่อมชำระทักขิณาทานให้หมดจดได้ แม้เพราะความที่ทรงเสื้อเกราะ(ผ้ากาสาวพัสตร์) อันหาโทษมิได้

- ย่อมชำระทักขิณาทานให้หมดจดได้ แม้เพราะการได้ทรงเพศคนหัวโล้น ผู้มีสมัญญาว่า ฤาษี (ภิกษุ)

- ย่อมชำระทักขิณาทานให้หมดจดได้ แม้เพราะความที่เข้าถึงความเป็นตัวแทนสงฆ์ที่เขานิมนต์

- ย่อมชำระทักขิณาทานให้หมดจดได้ แม้เพราะความเป็นผู้เข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ

- ย่อมชำระทักขิณาทานให้หมดจดได้ แม้เพราะความเป็นผู้อยู่อาศัยในบ้านพักอาศัย คือความเพียร

- ย่อมชำระทักขิณาทานให้หมดจดได้ แม้เพราะมีการแสวงหาทรัพย์ คือพระศาสนาของพระชินวรพุทธเจ้า

- ย่อมชำระทักขิณาทานให้หมดจดได้ แม้เพราะมีการแสดงธรรมที่ยอดเยี่ยม

- ย่อมชำระทักขิณาทานให้หมดจดได้ แม้เพราะความที่มีพระธรรมเป็นประทีปส่องคติที่ไปเบื้องหน้า

- ย่อมชำระทักขิณาทานให้หมดจดได้ แม้เพราะความที่มีความเห็นตรงแน่นอนว่า "พระพุทธเจ้าทรงเป็นยอดบุคคล"

- ย่อมชำระทักขิณาทานให้หมดจดได้ แม้เพราะความที่การสมาทานอุโบสถ

ขอถวายพระพร สมณะทุศีลยังชำระทักขิณาทานให้หมดจดยิ่งๆขึ้นไปได้ เพราะเหตุ ๑๐ ประการเหล่านี้แล.

ขอถวายพระพร เป็นความจริงว่า สมณะทุศีลแม้ว่าแสนวิบัติ ก็ยังชำระทักขิณาทานของทายก(ผู้ให้ทาน)ทั้งหลายให้หมดจดได้. ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า น้ำ แม้ว่าแสนจะขุ่นข้น ก็ยังใช้กำจัดโคลนตม เหงื่อไคล ขี้ฝุ่นได้ ฉันใด สมณะทุศีล แม้ว่าแสนวิบัติ ก็ยังชำระทักขิณาทานของทายกทั้งหลายให้หมดจดได้ ฉันนั้น


ขอบคุณที่มา
http://www.oknation.net/blog/pierra/2010/02/25/entry-1

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
3......จบ

อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า น้ำร้อนแม้ว่าแสนจะ(ร้อนจน)เดือดก็ย่อมทำไฟกองใหญ่ที่กำลังลุกโพลงให้ดับได้ ฉันใด สมณะทุศีล แม้ว่าแสนวิบัติ ก็ยังชำระทักขิณาทานของทายกทั้งหลายให้หมดจดได้ ฉันนั้น

หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่าโภชนาหาร แม้ว่าหารสชาติมิได้ ก็ยังใช้กำจัดความหิว ความอ่อนเพลียได้ ฉันใด, สมณะทุศีล แม้ว่าแสนวิบัติ ก็ยังชำระทักขิณาทานของทายกทั้งหลายให้หมดจดได้ ฉันนั้น

ขอถวายพระพร พระตถาคตผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเหล่าเทพ ทรงภาษิตข้อความนี้ไว้ในทักขิณาวิภังคพยาการณ์(ทักขิณาวิภังคสูตร)ในปกรณ์มัชฌิมนิกายอันประเสริฐว่า..

โย  สีลวา  ทุสฺสีเลสุ  ททาติ  ทานํ,

ธมฺเมน  ลทฺธํ  สุปสนฺนจิตฺโต

อภิสทฺทหํ  กมฺมผลํ  อุฬารํ,

สา  ทกฺขิณา  ทายกโต  วิสุชฺฌติ.

บุคคลใดเป็นผู้มีศีล มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อมั่นอยู่

ให้ทานที่ได้มาโดยธรรม ในบุคคลผู้ทุศีลทั้งหลาย

บุคคลนั้นย่อมได้รับผลของกรรมมากมาย

ทักขิณานั้น ชื่อว่า หมดจดโดยทางทายก(ผู้ให้ทาน)

พระเจ้ามิลินท์ - น่าอัศจรรย์จริง พระคุณเจ้านาคเสน น่าแปลกจริง ข้าพเจ้าได้ถามปัญหาถึงเพียงนั้นแล้ว ท่านก็ได้เปิดเผยถึงปัญหานั้น ทำให้มีรสชาติอร่อย เป็นอมตะให้น่าฟังด้วยอุปมา ด้วยเหตุผลทั้งหลายมากมาย, ข้าแต่พระคุณเจ้า เปรียบเหมือนว่า พ่อครัวหรือลูกมือของพ่อครัว ได้เนื้อถึงเพียงนั้นแล้ว ก็ใช้เครื่องปรุงหลายอย่างต่างๆกัน มาปรุงให้สำเร็จเป็นเครื่องเสวยของพระราชา ฉันใด, พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าได้ถามปัญหาถึงเพียงนั้นแล้ว ท่านก็ได้เปิดเผยปัญหานั้น ทำให้มีรสชาติอร่อย เป็นอมตะ ให้น่าฟังด้วยอุปมา ด้วยเหตุผลทั้งหลายมากมาย ฉันนั้น.

(หนังสือมิลินทปัญหา มูลนิธิปราณี สำเริงราชย์ จัดพิมพ์เผยแพร่)


ขอบคุณที่มา
http://www.oknation.net/blog/pierra/2010/02/25/entry-1

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
เพิ่มเติม
1/2

บุพพกรรมของพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน

กล่าวคือ เมื่อครั้งศาสนาของสมเด็จพระพุทธกัสสปโน้น
มีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าวิชิตาวีเสวยราชอยู่ในสาครนครราชธานี

พระองค์ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยสัคหวัตถุ ๔สร้างมหาวิหารลงไว้แม่น้ำคงคา ถวายพระเถระทั้งหลายที่ทรงคุณธรรมต่าง ๆ กันมีทรงพระไตรปิฎก เป็นต้นทั้งบำรุงด้วยปัจจัย ๔

เมื่อพระองค์ทรงสิ้นแล้วก็ได้ขึ้นไปบังเกิดเป็น พระอินทร์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานิสงส์นั้นและมหาวิหารที่ท้าวเธอทรงสร้างไว้ ถึงพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ดีก็มีพระภิกษุอาศัยอยู่เป็นอันมาก

ในพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นพระภิกษุทั้งหลายผู้สมบูญด้วยข้อวัตรเป็นอันดี เช้าขึ้นก็ถือเอาไม้กวาดด้ามยาวแล้วนึกถึงพระพุทธคุณ แล้วจึงพากันกวาดบริเวณพระเจดีย์กวาดเอาหยากเยื่อไปรวมเป็นกองไว้

มีพระภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลองค์หนึ่งเรียกสามเณรองค์หนึ่งว่า

"จงมานี้...สามเณร ? จงหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งเสีย"

สามเณรนั้นก็เฉยอยู่ เหมือนไม่ได้ยินพระภิกษุองค์นั้นเรียกสามเณรนั้นถึง ๓ ครั้งเห็นสามเณรนั่งนิ่งเฉยอยู่เหมือนไม้ได้ยินก็คิดว่า สามเณรองค์นี้หัวดื้อจึงไปตีด้วยด้ามไม้กวาด สามเณรก็ร้องไห้ด้วยความเจ็บปวดแล้วหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งด้วยความกลัว

เมื่อหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งนั้นได้ปรารถนาว่า
“ ด้วยผลบุญที่เราได้หอบหยากเยื่อมาทิ้งนี่หากเรายังไม่ถึงนิพพานเพียงใดเราจะเกิดในภพใด ๆ ก็ตาม ขอให้เรามีเดชเหมือนกับดวงอาทิตย์เที่ยงวันฉะนั้นเถิด"

สามเณรตั้งความปรารถนาดังนี้แล้วก็เดินไปอาบน้ำที่แม่น้ำคงคา ดำผุดดำว่ายเล่นตามสบายใจ

เมื่อสบายใจแล้วก็ได้เห็นละลอกคลื่นในแม่น้ำนี้มากมายนักหนาก็ยินดีปรีดาจะใคร่มีปัญญาเฉลียวฉลาดไม่รู้สุดรู้สิ้น ดุจลูกคลื่นในแม่น้ำนั้นและได้คิดว่าอาจารย์ได้ใช้ให้เราหอบเอาหยากเยื่อมาทิ้งนี้ ไม่ใช่เป็นกรรมของเราทั้งไม่ใช่เป็นกรรมของอาจารย์แต่เป็นการอนุเคราะห์เราให้ได้บุญเท่านั้น

ครั้นคิดดังนั้นแล้ว จึงปรารถนาขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า
“ข้าพเจ้ายังไม่ถึงนิพพานตราบใดไม่ว่าข้าพเจ้าจะไปเกิดในชาติใด ๆ ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาไม่รู้สิ้นสุดเหมือนกับลูกคลึ่นในแม่น้ำคงคานี้เถิด”

ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์นั้นเมื่อเอาไม้กวาดไปเก็บไว้ที่โรงเก็บไม้กวาดแล้ว ก็ลงที่ท่าน้ำคงคาเพื่อจะอาบน้ำก็ได้ยินเสียงสามเณรตั้งความปรารถนา จึงคิดว่า
ความปรารถนาของสามเณรนี้เป็นความปรารถนาใหญ่ จะสำเร็จได้เพราะอาศัยพระพุทธคุณ

คิดดังนี้แล้วจึงหัวเราะขึ้นด้วยความดีใจว่า สามเณรนี้ถึงเป็นผู้ที่เราใช้ก็ยังปรารถนาอย่างนี้ความปรารถนาของสามเณรนี้ จักสำเร็จเป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้ว จึงตั้งความปรารถนาว่า
“ข้าพเจ้ายังไม่สำเร็จนิพพานตราบใดขอให้ข้าเจ้ามีปัญญาหาที่สุดมิได้เหมือนกับฝั่งแม่น้ำคงคานี้ ให้เป็นผู้สามารถแก้ไขปัญหาปฎิภาณทั้งปวงที่สามเณรนี้ไต่ถามได้สิ้น
ให้สามารถชี้แจงเหตุผลต้นปลายได้เหมือนกับบุรุษที่ม้วนกลุ่มด้ายสางด้ายอันยุ่งให้รู้ได้ว่า ข้างต้นข้างปลายฉะนั้นด้วยอำนาจบุญที่ข้าพเจ้าได้กวาดวัด และใช้สามเณรให้นำหยากเยื่อมาเททิ้งนี้เถิด"


คัดลอกมาจาก  http://www.geocities.com/milintapanha/milinindex.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
เพิ่มเติม
2/2   

เมื่อบุคคลทั้งสองนั้นท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเทพยดาและมนุษย์ ก็ล่วงมาถึง ๑ พุทธันดรพระพุทธเจ้าเราทั้งหลายผู้เป็นที่พึ่งของโลกได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า
ความเกิดขึ้นแห่งพระเถระ มีพระโมคคลีบุตรติสสเถระและพระอุปคุตตเถระเป็นต้นจักปรากฎฉันใด ความเกิดขึ้นแห่งบุคคลทั้งสองนั้น ก็จะปรากฎฉันนั้น

เมื่อเราปรินิพพานล่วงไปได้ ๕๐๐ ปีแล้ว บุคคลทั้งสองนั้นจักเกิดขึ้นธรรมวินัยอันใด อันเป็นของสุขุมที่เราแสดงไว้ ธรรมวินัยอันนั้นบุคคลทั้งสองนั้นจักแก้ไขให้หมดฟั่นเฝื่อด้วยการไต่ถามปัญหากัน ดังนี้

ต่อมาสามเณรนั้น ก็ได้มาเกิดเป็น พระเจ้ามิลินท์ ในสาคลนครอันมีในชมพูทวีปพระเจ้ามิลินท์นั้นเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาดมีความคิดดีสามารถรู้เหตุการณ์อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันได้

เป็นผู้ใคร่ครวญในเหตุการณ์ถี่ถ้วนทุกประการ เป็นผู้ได้ศึกษาศาสตร์ต่าง ๆไว้เป็นอันมาก ถึง ๑๘ ศาสตร์ด้วยกัน รวมเป็น ๑๙ กับทั้งพุทธศาสตร์

ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการคือ

๑. รู้จักภาษาสัตว์มีเสียงนกร้อง เป็นต้นว่าร้ายดีประการใดได้สิ้น
๒. รู้จักกำหนิดเขาและไม้ เป็นต้นว่า ชื่อนั้น ๆ
๓. คัมภีร์เลข
๔. คัมภีร์ช่าง
๕. คัมภีร์นิติศาสตร์รู้ที่จะเป็นครูสั่งสอนท้าวพระยาทั้งปวง
๖. คัมภีร์พาณิชยศาสตร์รู้ที่จะเลี้ยงฝูงชนให้เป็นสิริมงคล
๗. พลศาสตร์ รู้นับนักขัตฤกษ์รู้ตำราดวงดาว
๘. คันธัพพศาสตร์ รู้เพลงขับร้องและดนตรี
๙. เวชชศาสตร์รู้คัมภีร์แพทย์
๑๐. ธนูศาสตร์ รู้ศิลปะการยิงธนู
๑๑. ประวัติศาสตร์
๑๒. ดาราศาสตร์ รู้วิธีทำนายดวงชะตาของคน
๑๓. มายาศาสตร์ รู้ว่านี่เป็นแก้วนี่มิใช่แก้ว เป็นต้น
๑๔. เหตุศาสตร์ ผลศาสตร์ รู้จักเหตุรู้จักผลจะบังเกิด
๑๕. ภูมิศาสตร์รู้จักที่จะเลี้ยงโคกระบือรู้จักการที่จะจะหว่านพืชลงในนาไร่ให้เกิดผล
๑๖.ยุทธศาสตร์ รู้คัมภีร์พิชัยสงคราม
๑๗. ลัทธิศาสตร์ รู้คัมภีร์โลกโวหาร
๑๘.ฉันทศาสตร์ รู้จักคัมภีร์ผูกบทกลอนกาพย์โคลง

พระเจ้ามิลินท์นั้นมีถ้อยคำหาผู้ต่อสู้ได้ยาก ปรากฎยิ่งกว่าพวกเดียรถีทั้งปวงไม่มีใครเสมอเหมือนในทางสติปัญญา ทั้งประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ คือ
๑. มีเรียวแรงมาก
๒. มีปัญญามาก
๓. มีพระราชทรัพย์มาก

อยู่มาคราวหนึ่งพระเจ้ามิลินท์ได้เสด็จออกจากพระนครด้วยพลนิกรเป็นอันมากหยุดอยู่นอกพระนครแล้วตรัสแก่พวกอำมาตย์ว่า

"เวลายังเหลืออยู่มากเราจะทำอะไรดีเราจะกลับเข้าเมืองก็ยังวันอยู่สมณพราหมณ์เจ้าหมู่เจ้าคณะคณาจารย์ที่ยืนยันว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ใดหนอ อาจสนทนากันเราได้ อาจตัดความสงสัยของเราได้"

เมื่อตรัสอย่างนี้ พวกโยนกข้าหลวงทั้ง ๕๐๐ ก็กราบทูลขึ้นว่า

"ข้าแต่มหาราชาเจ้า บัณฑิตที่จะพอสนทนากับพระองค์ได้นั้นมีอยู่ คือครูทั้ง๖ อันได้แก่ปรูณกัสสป มักขลิโคลาส นิคัณฐนาฎบุตรสญชัยเวฬฎฐบุตร อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะพระเจ้าข้า ครูทั้ง ๗ นั้นเป็นเจ้าหมู่คณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียงปรากฎ มียศบริวารมีผู้คนนับถือมากขอมหาราชาเจ้าจงเสด็จไปไต่ถามปัญหา ต่อคณาจารย์เหล่านั้นเถิดคณาจารย์เหล่านั้นจะตัดความสงสัยของพระองค์ได้ พระเจ้าข้า

คัดลอกมาจาก  http://www.geocities.com/milintapanha/milinindex.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
มาอ่านตอนต่ออีกครับ น่าสนใจมาก
ที่มาจาก
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=1895.0


เมื่อบุคคลทั้งสองนั้น  ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเทพยาดาและมนุษย์  ก็ล่วงมาถึง 1 พุทธันดร  พระพุทธเจ้าของเราได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า "เมื่อเราปรินิพพานล่วงไปได้ 500 ปีแล้ว   บุคคลทั้งสองนั้นจะเกิดขึ้น   ธรรมวินัยอันใด อันเป็นของสุขุมที่เราได้แสดงไว้ ธรรมวินัยอันนั้น บุคคลทั้งสองนั้น จะแก้ไขให้หมดฟั่นเฟือน ด้วยการไต่ถามปัญหากัน ดังนี้ต่อมาสามเณรนั้น   ก็ได้มาเกิดเป็น พระเจ้ามิลินท์ ในสาคลนคร   เป็นผู้ฉลาด มีความคิดดี   มีถ้อยคำหาผู้ต่อสู้ได้ยาก   ไม่มีใครเสมอเหมือนในทางสติปัญญา   เที่ยวเบียดเบียนพระภิกษุสงฆ์   ด้วยการถามปัญหาตามลัทธิเดียรถีย์   จนพากันหนีไปสู่ป่าหิมพานต์   เมืองสาคลนครจึงเป็นเหมือนว่างจากสมณพราหมณ์อยู่ถึง 12 ปี

   ในคราวนั้นมีพระอรหันต์ 100 โกฏิ อาศัยอยู่ที่ถํ้า ในภูเขาหิมพานต์   ได้ทราบเรื่องดังกล่าว   จึงได้พากันไปอ้อนวอน มหาเสนะเทพบุตร ณ  เกตวิมาน   ให้ไปเกิดในมนุษยโลกเป็นบุตรของพราหมณ์ผู้หนึ่ง   โดยมีชื่อว่า นาคเสนกุมาร

   นาคเสนกุมาร บวชเป็นสามเณรที่ถํ้ารักขิต   ท่ามกลางพระอรหันต์จำนวนมาก พระโรหณะ ผู้เป็นอุปัชฌาย์เห็นปัญญาอันแหลมคม ของสามเณรนาคเสนแล้ว   จึงให้เรียนพระอภิธรรมก่อน    สามเณรนาคเสนเรียนได้อย่างรวดเร็ว   พระอรหันต์ทั้งหลายจึงประชุมกันให้สามเณรนาคเสนบวชเป็นภิกษุ   โดยมีพระโรหณะเป็นพระอุปัชฌายะ

   วันรุ่งขึ้นพระนาคเสนออกบิณฑบาตกับพระอูปัชฌาย์   เดินตามหลังท่านและคิดในใจว่า   "พระอุปัชฌาย์ของเราโง่เขลาจริง ที่ให้เราเรียนพระอภิธรรมก่อนพระพุทธพจน์อื่นๆ"   พระโรหณะทราบความคิดพระนาคเสน   จึงกล่าวว่า  "นาคเสนคิดอย่างนั้นหาควรไม่"    พระนาคเสนจึงได้รู้ว่า   พระอุปัชฌาย์ของตนรู้วารจิต    จึงคิดใหม่ว่า   พระอุปัชฌาย์ของเรามีปัญญาดีแท้    จึงกล่าวขออภัยท่านในการคิดล่วงเกิน

   พระโรหณะกล่าวว่า  "จะอภัยโทษล่วงเกินด้วยเหตุเพียงเท่านี้   หาสมควรไม่   นาคเสนต้องไปทำกิจพระศาสนาอย่างหนึ่งให้สำเร็จ   เราจึงจะอภัยโทษให้  คือ มีพระราชานามว่า มิลินท์ ในสาคลราชธานี   ทรงโปรถถามปัญหาต่างๆ   ให้เธอไปทำพระราชาองค์นั้นให้เลื่อมใสนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว   นั่นคือการอภัยโทษของเรา"

   พระนาคเสนตอบว่า "อย่าว่าแต่เพียงพระเจ้ามิลินท์องค์เดียวเลย   แม้ร้อยแห่งพระเจ้ามิลินท์   ท่านก็สามารถให้เลื่อมใสได้"...........



ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
พุทธศาสนาสมัยพระเจ้ามิลินท์

   พระพุทธศาสนาเจริญเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้ามิลินท์   หรือ  พระเจ้าเมนันเดอร์ (Menander)   ซึ่งเป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกที่ปกครองอินเดียอยู่ระยะหนึ่ง

   ก่อนหน้านี้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทับเข้ารุกรานอินเดีย   แคว้นที่ทรงตีได้แล้วโปรดให้แม่ทัพนายกองของพระองค์ปกครองดูแล   โดยทิ้งกองทหารกรีกไว้บางส่วน    ฝรั่งชาติกรีกเหล่านี้ได้ตั้งตนเป็นอนาจักรอิสระขึ้น   เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สวรรคตแล้ว   

   อาณาจักรที่มีกำลังมากคือ อาณาจักรซีเรีย และ อาณาจักรบากเตรีย  ปัจจุบันคือ เตอรกี และ อัฟกานิสถาน       ซีเรียเป็นสื่อเชื่อมอารยธรรมกรีกกับอินเดียเป็นเวลานานถึง 247 ปี จึงถูกโรมันตีแตก ส่วนบากเตรียเดิมก็อยู่ในอำนาจของซีเรีย   มาสถาปนาเป็นรัฐอิสระได้เมื่อ พ.ศ.287 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช   

   เหตุการทางประวัติศาสตร์ในแถบนี้ของโลกสับสนวุ่นวายด้วยการแย่งชิงอำนาจกันอยู่ประมาณร้อยปีเศษ   จนกระทั่งถึง พ.ศ. 392   พระราชาเชื้อสายกรีกพระองค์หนึ่ง พระนามว่า เมนันเดอร์   หรือที่เรียกในคัมภีร์บาลีว่า พระเจ้ามิลินท์   ได้แผ่อำนาจลงมาถึงตอนเหนือของลุ่มแม่นํ้าคงคา    เดิมทีมิได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา   ได้ทรงขัดขวางการขยายตัวของพระพุทธศาสนาด้วยซํ้าไป   เนื่องจากทรงแตกฉานวิชาไตรเพท (ของพราหมณ์) และศาสนาปรัชญาต่างๆ   รวมทั้งพุทธศาสนาด้วย    จึงประกาศโต้วาทีกับนักบวชในลทธิศาสนาต่างๆในเรื่องศาสนาและปรัชญา    ปรากฏว่าไม่มีใครสู้พระองค์ได้   

   จนกระทั่งคณะสงฆ์เลือกพระเถระผู้สามารถรูปหนึ่งมายังเมืองสาคละ เพื่อสนทนาเรื่องศาสนาและปรัชญากับพระเจ้ามิลินท์   พระเถระผู้นั้นคือพระนาคเสน    พระเจ้ามิลินท์ทรงทราบข่าวนั้นเสด็จไปสนทนาเป็นเชิงปุจฉาวิสัชนา    อภิปรายกันขึ้นเป็นเวลาหลายวัน    ผลปรากฏว่า   พระเจ้ามิลินท์ยอมแพ้พระนาคเสน    ข้อสนทนาระหว่างทั้งสองท่านนี้ ได้รวบรวมไว้เป็นคัมภีร์ เรียกว่า "มิลินทปัญหา"

   
   หมายเหตุ:
   ข้างต้นนี้คือความเป็นมาอย่างคร่าวๆ ของมิลินทปัญหา  ที่ได้ย่อ/คัดลอก มาจากหนังสือ 2 เล่ม คือ:
   1. อธิบายมิลินทปัญหา  โดย วศิน อินทสระ
   2. ธัมมวิโมกข์ฉบับรวมเล่ม มิลินทปัญหา โดย วัฒนไชย
   
   http://buddhiststudy.tripod.com/milin.htm

ที่มา
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=1895.0