ผู้เขียน หัวข้อ: อุทเทสิกเจดีย์  (อ่าน 1812 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
อุทเทสิกเจดีย์
« เมื่อ: 05 ก.ย. 2552, 08:06:54 »

จะกล่าวถึงเกี่ยวกับสัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ "อุทเทสิกเจดีย์" อันเป็นเจดียสถานที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดจนพระ พุทธศาสนา ความหมายของคำว่า "อุทเทสิกะ" ก็คือ "อุทิศ" นั่นเอง

อุทเทสิกเจดีย์ปรากฏในหลายรูปแบบ เช่น พระพุทธรูป พระเครื่อง พุทธบัลลังก์ หรือสิ่งใดก็ตามที่สร้างถวายพระพุทธศาสนาเป็นพุทธบูชา และไม่เข้าประเภท ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ก็สามารถนับเป็นอุทเทสิกเจดีย์ได้ทั้งสิ้น

ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลก่อนที่จะมีการสร้างพระพุทธรูปซึ่งถือเป็นอุทเทสิกเจดีย์นั้น พุทธบริษัทนิยมสร้างเป็นสถูป-เจดีย์ประเภทต่างๆ และมีสัญลักษณ์อันสื่อถึงพระพุทธศาสนา อาทิ ดอกบัว รอยพระพุทธบาท ธรรมจักร กวางหมอบ ฯลฯ

เหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปขึ้นนั้น เกิดจากอิทธิพลของชนชาติกรีก โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งมาซิโดเนีย ขยายอำนาจมาจนถึงอินเดียและได้ทิ้งร่องรอยอารยธรรมของกรีกที่มีคติความเชื่อในรูปเคารพ เมื่อผสมผสานกับอารยธรรมพื้นเมืองที่พุทธศาสนามีบทบาทอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย เรียกว่าแคว้นคันธาราฐ (ปัจจุบันคือประเทศอัฟกานิสถาน) จึงเกิดเป็น "พุทธปฏิมา" หรือ "พระพุทธรูป" ขึ้น
 


พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกจึงมีลักษณะคล้ายชนชาติกรีก พระเกศาหยิกเป็นลอน พระนาสิกโด่ง ต่อมาจึงพัฒนาเป็นพระเมาลี มีพระรัศมีและพระเกศในลักษณะต่างๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนสามารถจำแนกพระพุทธองค์ออกจากพุทธสาวกได้โดยง่าย เรียกว่า "มหาปุริสลักษณะ" หรือลักษณะของมหาบุรุษ อาทิ มีพระเกศขมวดเป็นก้นหอย พระวรกายเปล่งฉัพพรรณรังสี พระ กรรณทั้งสองข้างยาวจรดพระอังสา ปลายพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ปรากฏขนระหว่างคิ้วที่เรียกว่า อุณาโลม หรือกลางพระหัตถ์ปรากฏเป็นรูปธรรมจักร เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้กลายเป็นลักษณะสำคัญในการสร้างพระพุทธรูปสืบต่อมา

ในตำนานทางศาสนาปรากฏเรื่องราวการสร้างรูปจำลองแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นกัน หากแต่แต่งขึ้นภายหลังการสร้างพระพุทธรูปของช่างชาวคันธาราฐแล้ว เรียกว่า "ตำนานพระแก่นจันทน์" มีเนื้อความกล่าวถึงตอนพระพุทธองค์เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ยาวนานถึงหนึ่งพรรษา พระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งกรุงโกศลราช ทรงมีความรำลึกถึงยิ่งนัก จึงตรัสให้นายช่างสร้างพระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้แก่นจันทน์แดง ให้ตรงตามพระพุทธลักษณะ แล้วประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธองค์เคยประทับ สาธุชนต่างก็พากันมาสักการบูชา

ครั้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ ด้วยพระบรมพุทธานุภาพบันดาลให้พระปฏิมาแก่นจันทน์ขยับพระวรกายเลื่อนออกจากพุทธอาสน์ แต่พระพุทธองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นความสมบูรณ์พร้อมแห่งองค์ปฏิมาแก่นจันทน์ จึงยกพระหัตถ์ขึ้นห้ามมิให้พระแก่นจันทน์ลงจากพุทธบัลลังก์ พร้อมทั้งตรัสให้รักษาพระพุทธรูปแก่น จันทน์เอาไว้ให้เป็นต้นแบบแห่งพระพุทธ ลักษณาการของพระองค์ ซึ่งตามตำนานนี้เองเป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปปางห้าม แก่นจันทน์ ในเวลาต่อมา ส่วน "พระเครื่อง" นั้น นับเนื่องเป็นลักษณะของพระพิมพ์ที่ถือเป็น "อุทเทสิกเจดีย์" ประเภทหนึ่ง โดยมีรูปแบบเช่นเดียวกับพระพุทธรูปหากแต่มีขนาดเล็กกว่า

จึงอาจกล่าวได้ว่า ความหมายของ "เจดีย์" ทางพุทธศาสนามิใช่มี "นัย" เพียงสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมที่มียอดแหลมขึ้นไปแต่เพียงอย่างเดียว หากยังกินความหมายครอบคลุมถึงสิ่งต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์และพระพุทธศาสนา เช่น พระธรรม เครื่องอัฏฐบริขาร พระศรีมหาโพธิ หรือต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระศาสนา ซึ่งเรียกว่า พฤกษเจดีย์ ที่อาจจะมิใช่สิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมก็ได้ครับ


ที่มา:ข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ก.ย. 2552, 08:07:53 โดย ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) »

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: อุทเทสิกเจดีย์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 05 ก.ย. 2552, 12:05:40 »
นมัสการค่ะหลวงพี่เก่ง :054:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: อุทเทสิกเจดีย์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 05 ก.ย. 2552, 05:34:30 »
นมัสการ หลวงพี่เก่งครับ ขอบพระคุณสำหรับบทความความรู้ดีๆนะครับ  :054:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: อุทเทสิกเจดีย์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 05 ก.ย. 2552, 08:07:20 »
ขอบพระคุณหลวงพี่เก่ง ที่นำมาบอกเล่าสู่กันให้อ่านชมกันนะครับ ...  :089: