ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกธรรม...๒๔ ส.ค.๕๒...รู้ตัว รู้ตน...  (อ่าน 1063 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
แต่ละวันที่ผ่านพ้นไป....
อารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามเหตุและปัจจัยที่ปรุงแต่ง
กุศลจิตบ้าง อกุศลจิตบ้างปะปนกันไปแล้วแต่ปัจจัยที่มากระทบ
ซึ่งส่วนใหญ่เราจะรู้เท่าทันเฉพาะอกุศลจิต เพราะเรากลัวโทษภัยของมัน
ส่วนกุศลจิตนั้นเราไม่ค่อยจะพิจารณาถึงโทษของมัน
เพราะจิตเราไปยินดีเพลิดเพลินหลงในอารมณ์นั้น
ทำให้เกิดความประมาทขาดสติและสัมปชัญญะ
ไม่รู้เท่าทันปัจจุบันธรรม อยู่กับความคิดความฝันและจินตนาการ
ของการสร้างบุญ สร้างบารมี เพลินในความคิดแต่จิตไม่ได้พัฒนา
คือเพียงแต่ได้คิดและสิ่งที่คิดนั้นไม่สามารถทำให้เป็นรูปธรรมได้
เพราะว่าเหตุและปัจจัยยังไม่พร้อม เรายังไม่ได้สร้างเหตุและปัจจัยเลย
แต่เราไปนึกถึงความสำเร็จและประโยชน์ที่จะได้รับในสิ่งนั้น
มันเลยทำให้เราประมาทขาดสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้อยู่กับปัจจุบันธรรม
การปฏิบัติธรรมคือการทำหน้าที่.......
ก่อนที่จะทำหน้าที่นั้น เราต้องรู้จักหน้าที่และขอบเขตของหน้าที่ ลำดับชั้นของหน้าที่เสียก่อน
แล้วจึงลงมือกระทำไปตามหน้าที่ในขอบเขต ตามลำดับไป
ควรรู้ว่าเราจะต้องทำอะไรในขณะนี้ ตามหน้าที่ของเรา
"รู้ตน รู้ตัว รู้ทั่ว รู้พร้อม"คือองค์ประกอบของความเจริญก้าวหน้า การพัฒนาของจิต.....
 :059:ขอบคุณความคิดและจิตวิญญาณในการพิจารณาธรรม :059:
               เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
             รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-กลุ่มยุทธธรรมสัญจร
๒ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๒๑.๔๙ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๒๔ ส.ค.๕๒...รู้ตัว รู้ตน...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 21 มี.ค. 2554, 09:58:01 »
ปัจจุบันธรรม

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว

คัดลอกมาจาก http://loungpu.th.gs/

                เอามรรคที่เกิดขึ้นจากกายจากใจ น้อมเข้ามาหาตนน้อมเข้ามาในกายน้อมเข้ามาในใจ ให้มันรู้แจ้งเห็นจริงในใจนี่แหละ อย่าไปยึดไปถือเอาที่อื่น ถ้ารู้ตามแผนที่ปริยัติธรรมไปยึดไปถือเอาสิ่งต่าง ๆ ไป แผนที่ปริยัติธรรมต่างหาก ต้องน้อมเข้าหากายต้องน้อมเข้าหาใจ ให้มันแจ้งอยู่ในกายนี้ ให้มันแจ้งอยู่ในใจนี่ มันจะหลงมันจะเลวไปอย่างไรก็ตาม พยายามดึงเข้ามาจุดนี้ น้อมเข้ามาหากายนี้น้อมเข้ามาหาใจนี้ เอาใจนี่แหละนำออก ถ้าเอามากบางทีมันก็เขวก็ลืมไป น้อมเข้ามาหากาย น้อมเข้ามาหาใจนี้ มีเท่านี้แหละหลัก ของ มัน
ถ้าออกจากกายใจแล้วมันเขวไปแล้วหลงไปแล้ว น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจแล้วได้หลักใจดี ธรรมะก็คือการรักษากายรักษาใจ น้อมเข้ามาหากายน้อมเข้ามาหาใจนี้แหละศีล ตั้งอยู่ในกายนี่แหละ ตั้งอยู่ในวาจานี่แหละ และตั้งอยู่ในใจนี่แหละ ให้น้อมเข้ามานี้มันจึงรู้ ตั้งหลักได้ ถ้าส่งออกไปจากนี้มันมักหลงไป
เอาอยู่ในกายในใจนี้ น้อมเข้ามาสู่อันนี้ นำหลง นำลืมออกไปเสีย เอาให้เป็นปัจจุบัน เอาจิตเอาใจนี่ละวางถอดถอนออก ทางกายก็น้อมเข้ามาให้รู้แจ้งทางกาย น้อมเข้ามา
หัวใจของตนนี้ให้มันแจ่มแจ้ง ถ้าไปยึดถือเอาอย่างอื่นมันเป็นเพียงสัญญาความจำ น้อมเข้ามารู้แจ้งในใจของตนนี่รู้แจ้งในกายของตนนี่ นอกจากนี้เป็นแต่เพียงอาการของธรรม

ยกขึ้นสู่จิต น้อมเข้ามาหาจิตหาใจนี้ ความโลภ ความหลง ความโกรธ กิเลส ตัณหา มันก็เกิดขึ้นที่นี่แหละ ต้องน้อมเข้ามาสู่จดนี้ ถ้าน้อมเข้าหาจุดอื่นเป็นแผนที่ปริยัติธรรมรู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งแล้วนอกนั้นเป็นแต่อาการ บางทีไปจับไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้มันก็ลืมไป
ทำให้มันแจ้งอยู่ในกายแจ้งอยู่ในใจ มีสติสัมปชัญญะสติสัมโพชฌงค์ สัมมาสติ ก็อันเดียวกันนี่แหละ ให้พิจารณาอยู่อย่างนี้ อาศัยความเพียรความหมั่น
คำว่าสติ ก็รู้ในปัจจุบัน สัมปชัญญะรู้ในปัจจุบันู รู้ในตนรู้ในใจเรานี้แหละ รู้ในปัจจุบัน รู้ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา เหล่านี้ละออกให้หมดละออกจากใจ ละอยู่ตรงนี้แหละ สติถ้าได้กำลังใจแล้วมันก็สว่าง
ตั้งจิตตั้งใจกำหนดเบื้องต้น คือ การกำหนดจิตหรือกำหนดศีล คือกายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์ใจก็บริสุทธิ์กำหนดนำความผิดออกจากกายจากใจของตน
เมื่อกายวาจาใจบริสุทธิ์ สมาธิก็บังเกิดขึ้น รู้แจ่มแจ้งไปหาจิตหาใจ กายนี้ก็รู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจของตนนี้
สติปัฏฐานสี่ สติ มีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว คือ เมื่อสติกำหนดรู้กาย แล้วนอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกันเพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน

อาการทั้ง ๕ คือ อนิจฺจํ ทั้ง ๕ ทุกฺขํทั้ง ๕อนัตตาทั้ง ๕ เป็นไม่ยั่งยืน เราเกิดมาอาศัยเขาชั่วอายุหนึ่ง อนิจฺจํทั้ง ๕ ทุกข์ทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ มันก็สิ้นไปเสื่อมไป เราอาศัยเขาอยู่เพียงอายุหนึ่งเท่านั้น เมื่อรูปขันธ์แตกสลายมันก็หมดเรื่องกัน
การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน สมมุติกันให้ได้ชั้นนั้นบ้างขั้นนี้บ้าง อันนั้นมันเป็นสมมุติแต่ธรรม เช่น รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ มันไม่เที่ยงมันก็เป็นอยู่อย่างนั้น อนิจฺจํ ทั้ง ๕ มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น รูปํ อนิจฺจํ  เวทนา อนิจฺจา สัญญา อนิจฺจา  สังขารา อนิจจา วิญญูาณํ อนิจฺจํ มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น เรามาอาศัยเขา สัญญาเราก็ไหลไปตามเวลา ดิน น้ำ ลม ไฟ สลายจากกันแล้วมันก็ยุติลง
ส่วนจิตเป็นผู้รู้ เมื่อละสมมติ วางสมมติได้แล้ว มันก็เย็นต่อไป กลายเป็นวิมุตติความหลุดพ้นไป เพราะสมมติทั้งหลายวางได้แล้วก็เป็นวิมุตติ
แต่ถ้าเอาเข้าจริง ๆ แล้วมันมักจะหลง ถ้าเราตั้งใจเอาจริง ๆ พวกกิเลสมันก็เอาจริง ๆ กับเราเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยความหมั่นความเพียรไม่ท้อถอย ถ้าละพวกกิเลสตัณหาได้มันก็เย็นสงบสบาย

ถ้าจิตมันปรุงมันแต่งเป็นอดีต อนาคตไป เราก็ต้องเพ่งพิจารณา เพราะอดีตก็เป็นธรรมเมา อนาคตก็เป็นธรรมเมา จิตที่รู้ปัจจุบัน จึงเป็นธรรมโม
อาการทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจฺจํ ให้ยืนอยู่ในปัจจุบันธรรม อดีต อนาคตเป็นธรรมเมา ธรรมโมคือเห็นอยู่ รู้อยู่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นอดีตอนาคต ดับทั้งอดีตอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน คือ ธรรมโม
ให้จิตรู้อยู่ส่วนกลาง คือ สิ่งที่ล่วงไปแล้วเป็นอดีตยังไม่มาถึงเป็นอนาคต ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ส่วนทั้งสองนั้นให้เพ่งพินิจ คือ เราอยู่ปัจจุบันธรรม มันจึงจะถูก เพราะปัจจุบันเป็นธรรมโม นอกจากนั้นเป็นธรรมเมา อดีต อนาคตรู้ปัจจุบัน ละปัจจุบัน เป็นธรรมโม ถ้าไปยึดถืออดีตอนาคตอยู่ เท่ากับไปเก็บไปถือเอาของปลอม ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตน ละเฉพาะตน วางเฉพาะตนหมุนเข้าหากายหาใจนี่แหละ ถ้ามัวเอาอดีตอนาคตมันกลายเป็น แผนที่ ไป

แผนที่ปริยัติธรรมจำมาได้มาก ไปยึดไปถืออย่างนั้นบ้างสิ่งนี่บ้าง ทั้งอดีตอนาคต ยิ่งห่างจากการรู้กายรู้ใจของเรา ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเป็นเชื้อของกิเลสมันอยู่ในแผนที่ใบลาน มันไม่เดือดร้อน ถ้ามันอยู่ในใจมันเดือดร้อน เพราะฉะนั้นถ้ามันเกิดขึ้นในใจให้เอาใจละ เอาใจวาง เข้าใจออก เอาใจถอน ปัจจุบันเป็นอย่าง นี้
ไม่ใช่จำปริยัติได้มาก พูดได้คล่อง เวลาเอาจริง ๆ ไม่รู้จะจับอันไหนเป็นหลัก ปัจจุบันธรรมต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งในกายใจของตน ละวางถอดถอน ในปัจจุบัน มันจึงใช้ได้

ความโลภ ความโกรธมันเกิดขึ้นในใจ น้อมเข้ามาแล้วละให้มันหมด ราคะ กิเลส ตัณหา มันเกิดขึ้นมาละมันเสีย เรื่องของสังขารมันก็ปรุง เกิดขึ้นดับลง เกิดขึ้น ดับลง เอารู้เฉพาะปัจจุบัน อดีตอนาคตวางไปเสีย อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม ข้อนี้ถือให้มั่น ๆ ความปฏิบัติเพ่งความเพียร เร่งเข้า ๆ มันก็ค่อยแจ่มแจ้งไปเอง ถ้าจิตมันเป็นอดีตอนาคต วางเสีย เอาเฉพาะปัจจุบัน การกระทำสำคัญ เวลาทำตั้งใจเข้า ๆ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันมักเกิด เราต้องพิจารณาค้นเข้าหาใจมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จิตมักจะเก็บอดีตอนาคตมาไว้ ทำให้แส่ส่ายไปตามอาการ ให้เอาเฉพาะปัจจุบัน ธมฺโม น้อมเข้ามาให้ได้กำลังทางด้านจิตใจ  ละวางอดีตอนาคต อันเป็นส่วนธรรมเมา เพ่งพินิจเฉพาะ ธรรมโม
รักษากายให้บริสุทธิ์ รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ น้อมเข้าหาใจให้รู้แจ้งใจนี้ กายก็ให้รู้แจ้ง เอาให้รู้แจ้งกายใจ จนละได้วางได้ เพ่งจนเป็นร่างกระดูกทำได้อย่างนี้ก็พอสมควร เอาให้มันรู้แจ้งเฉพาะกายใจนี่ ไม่ต้องเอามาก ถ้าเอามากมันมักไปยึดเป็นอดีตอนาคตไปเสียข้อนี้สำคัญเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับ เกิดขึ้นแล้วมันก็ดับตัวสัญญา
ตั้งหลักไว้ อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม ระลึก ดับ ละ วาง ในปัจจุบันจึงเป็น ธรรมโม เมื่อจิตอยู่ในปัจจุบันธรรม อดีตอนาคต ถ้ามันเกิดมันก็ต้องดับลงไป
ต้องหมั่นต้องพยายามเข้าหาจุดของจริง อดีต อนาคต ปัจจุบัน สามอย่างนี้แหละเป็นทางเดินของจิต ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา มันก็เกิดขึ้นในใจนี้แหละ มันแสดงออกจากใจนี้ ให้น้อมเข้ามา ๆ ถึงอย่างนั้นกิเลสทั้งหลายมันก็ยังทำลายคุณความดีได้เหมือนกันแต่ถ้ามีสติ ความชั่วเหล่านั้นมันก็ดับไป
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๒๔ ส.ค.๕๒...รู้ตัว รู้ตน...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 21 มี.ค. 2554, 10:00:20 »

ปัจจุบันธรรม
โดย ภัทร์ไพบูลย์ เมื่อ 17 ก.ค. 2009, 12:04

รูปธรรมนามธรรมที่ยืนให้พิสูจน์ ซึ่งเรียกได้หลายนัย ตามวิปัสสนาภูมิ ทั้ง 6 ดังแสดงแล้วนั้น ปรากฎอยู่ที่ปัจจุบัน ขณะเมื่ออายตนะภายใน 6 กับอายตนะภายนอก 6 มากระทบกัน ในอดีตกาลที่ล่วงมาแล้ว รูปนาม ดับไปแล้ว พิสูจน์ไม่ได้ ในอนาคตกาลที่ยังไม่มาถึงรูปนามยังไม่เกิดขึ้น พิสูจน์ไม่ได้ จะพิสูจน์ได้แต่รูปนามที่กำลังปรากฎอยุ่ในปัจจุบันกาล ซึ่ง เรียกว่า ปัจจุบันธรรม เท่านั้น ดังจะได้ยกมาแสดงให้เห็นชัดในทวารทั้ง 6 ดังต่อไปนี้ขึ้น

1. ปัจจุบันธรรมทางตา เกิดขึ้นขณะที่ รูป คือ สี มากระทบ แก้วตา การเห็นก็ปรากฎในอดีตกาลเวลาที่ผ่านมาแล้ว เห็นดับไปแล้ว รู้ไม่ได้ ส่วนในอนาคตก็ยังไม่เห็น รู้ไม่ได้ รู้ได้แต่ปัจจุบันของรูปธรรมนามธรรมขณะเห็นเท่านั้น

2. ปัจจุบันธรรมทางหู เกิดขึ้นขณะที่ เสียง มากระทบแก้วหู การได้ยินก็ปรากฎขึ้นในอดีตกาลเวลาที่ล่วงมาแล้วได้ยินดับไปแล้วรู้ไม่ได้ ส่วนอนาคตก็ยังไม่ได้ยิน รู้ไม่ได้ รู้ได้แต่ปัจจุบันของรูปนามธรรมธรรมขณะได้ยินเท่านั้น

3. ปัจจุบันธรรมทางจมูก เกิดขึ้นขณะที่ กลิ่น มากระทบ ประสาท จมูก การรู้กลิ่นก็ปรากฎขึ้น ในอดีตกาลเวลาที่ล่วงไปแล้ว รู้กลิ่นดับไปแล้ว รู้ไม่ได้ ส่วนอนาคตก็ยังไม่ได้รู้รส รู้ไม่ได้ รู้ได้แต่ปัจจุบันของ รูปธรรมนามธรรมขณะรู้กลิ่นเท่านั้น

4. ปัจจุบันธรรมทางลิ้น เกิดขึ้นขณะที่ รส มากระทบประสาทลิ้น การรู้ก็ปรากฎขึ้น ในอดีตกาลเวลาที่ล่วงไปแล้ว รู้รสดับไปแล้ว รู้ไม่ได้ ส่วนอนาคตก็ยังไม่ได้รู้รส รู้ไม่ได้ ได้แต่ปัจจุบันของ รูปธรรมนามธรรมขณะรู้กลิ่นเท่านั้น ขณะได้รูรสเท่านั้น

5. ปัจจุบันธรรมทางกาย เกิดขึ้นขณะที่ เครื่องกระทบ มีเย้น ร้อน อ่อนแข็ง เป็นต้น มากระทบประสาทกาย การรู้สึกสัมผัสก็ปรากฎขึ้น ในอดีตกาลเวลาที่ล่วงไปแล้ว ความรู้สึกทางกายดับไปแล้วพิสูจน์ไม่ได้ ส่วนอนาคตก็ยังไม่ปรากฎความรู้สึก จึงพิสูจน์ไม่ได้จะพิสูจน์ให้ได้ก็แต่ขณะรู้ ทางกาย อันเป็นปัจจุบันของรูปธรรมนามธรรม ที่กำลังปรากฎอยุ่เท่านั้น

6. ปัจจุบันธรรมทางใจ เกิดขึ้นขณะที่นึกคิด หรือขณะที่ใจสั่งให้รูป เดิน ยืน นั่ง นอน คู้ เหยียด เคลื่อนไหว อดีตกาลที่เคยนึก เคยคิดดับไป แล้วพิสูจน์ให้รู้ให้เห็นไม่ได้ จะได้ก็ต่อสัญญาความจำที่เกิดขึ้นขณะนึกคิดถึงเป็น ปัจจุบันเท่านั้น ส่วนในอนาคตที่ยังไม่ได้นึกคิด ก็พิสูจน์ให้รุ้ให้เห้นไม่ได้ รู้ได้แต่ปัจจุบันของรูปธรรมนามธรรมที่ปรากฎอยู่ขณะที่นึก ขณะยืน ขณะก้าว ขณะนั่ง ขณะพูด ขณะคู้ ขณะเยียด ขณะดิ้นไหว เท่านั้น

ปัจจุบันธรรม ยืนไว้ให้วิปัสสนาเป็นผู้พิสูจน์ ยืนไว้ให้วิปัสสนารู้เห้น อันเป็นสภาวนาญาณโดยเฉพาะ ผู้ปรารถนาจะเจริญวิปัสสนาทั้งหลาย จะทิ้ง ปัจจุบันธรรมเสียมิได้ อุปมาเหมือนเรือที่จะนำนายเรือไปสู่เกาะ หรือฝั่ง อันเป็นจุดหมายปลายทางได้นั้น
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=23962