กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ, กฎแห่งกรรม และ ประสบการณ์วิญญาณ => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ => ข้อความที่เริ่มโดย: pepsi ที่ 04 มิ.ย. 2553, 04:34:56

หัวข้อ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: pepsi ที่ 04 มิ.ย. 2553, 04:34:56
การปฎิบัติ วิปัสสะนากรรมฐาน...
ผมใช้กองกรรมฐาน โดยการเภาวนา พุทธ โธ  พอจิตเริ่งสงบ จะพบกับความว่างเปล่าตลอดเลยครับ
คือแบบว่า นิ่งอยู่อย่างนั้นตลอด มีแต่ความสว่าง  โดยปราศจากลมหายใจ.

พอได้สติ ก็กลับมาเภาวนา พุทธ โธ ใหม่  ก็ดูแล้วเหมือนกับไปเริ่มต้นใหม่. แล้วก็เป็นแบบเดิมอีก.

จึงอยากกราบเรียนถามครับ...ว่าทําไมถึงเป็นแบบนี้.
และทําอย่างไร ให้ผ่านจุดนี้ไปได้.

บอกตรงๆว่าทุกวันนี้เป็นกังวลครับ.  เพราะผมปฎิบัติวันละ 2 เวลาทุกวัน.... คือ 5 ทุ่มถึง ตี 1
และ 6 โมงเช้า-7โมงเช้า.

กราบขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ด้วยครับ.


(http://img696.imageshack.us/img696/2963/118yk3.gif)
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: seka ที่ 04 มิ.ย. 2553, 06:09:11
กังวลเรื่องอะไรเหรอครับ เผื่อพี่ๆที่รู้อาจไขข้องใจให้ท่านได้
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: pepsi ที่ 04 มิ.ย. 2553, 07:36:52
ขอบคุณครับพี่...คือว่าผมคิดว่าผมเดินผิดทางหรือเปล่า
คือเภาวนา พุทธ โธ  หรือต้องเปลี่ยนกองกรรมฐานครับ

บางท่านก็บอกลองเภาวนา สัมมา อรหัง  หรือไม่ก็ ยุบหนอ พองหนอ
ผมทําดูแล้ว จิตออก วอกแวกครับ แบบว่าจิตสั่น

ใจก็อยากจะเปลี่ยนมาเป็นเพ่งกสิณ  แต่ไม่กล้าพอครับ.(แบบว่า เพ่งดูศพ)

พี่พอแนะนํา ได้บ้างหรือเปล่าครับ.
ตอนนี้ตันไปหมดครับ.......เคยไปปรึกษาพระสายวิปัสสะนา  ท่านก็บอกให้ยกความว่างเปล่า เอามาเป็นจริตครับ.
ผมก็ลองเอามาทําดู ก็ไปไม่ได้เหมือนเดิม.....ใจก็อยากจะบวชให้หมดเรื่อง แต่ก็ติดหลายๆอย่าง.

ยังไงก็ขอขอบคุณนะครับ.....
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: รวี สัจจะ... ที่ 21 มิ.ย. 2553, 10:02:46
เจริญพร...
             การปฏิบัตินั้นเดินมาถูกทางแล้ว เพราะตรงกับจริตของเรา แต่ต้องมาทำความเข้าใจเสียใหม่
การทำกรรมฐานโดยการภาวนา" พุทโํธ"ควบคูกับลมหายใจเข้าออกนั้น มันเป็นกรรมฐานที่ซ้อนกันอยู่
คำว่าพุทโธนั้นเป็นคำบริกรรมภาวนาเป็นพุทธานุสสติคือระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ส่วนลมหายใจนั้น
เป็นอานาปานุสสติ เป็นกรรมฐานสองกองที่ปฏิบัติคู่กัน  การบริกรรมภาวนานั้นเมื่อจิตสงบคำบริกรรมก็จะหายไป
(ที่สุดของพุทโธคือไม่มีพุทโธ) เหลือเพียงสภาวะรู้การเข้าออกของลมหายใจ และเมื่อจิตสงบเป็นสมาธิยิ่งขึ้น
จะเกิดการแยกกายแยกจิต จิตจดจ่ออยู่กับสภาวะรู้ ทิ้งลมทิ้งกาย รู้เพียงความนิ่ง สงบ สว่าง ในอารมณ์ของฌาน
ทั้งสี่นั้น สติยังมีอยู่ แต่จิตไม่ปรุ่งแต่ง ถ้าขาดสตินิ่งไป ไม่รู้ไม่เห็นอะไรนั้นภาษานักปฏิบัติเขาเรียกว่าเข้าภวังค์
(ทิ้งดิ่ง) เมื่อจิตสงบเห็นความสว่างและความว่างเปล่าแล้ว ทรงไว้ในอารมณ์นั้นให้นาน(เรียกว่าการเคี่ยวจิต)
ทรงไว้จนพอใจแล้วจึงถอนจิตออกจากอารมณ์สมาธินั้น
         การออกจากอารมณ์สมาธินั้น ต้องออกตามลำดับชั้นขั้นตอน คือค่อยๆถอนจิตกลับมาดูลมหายใจและ
คำบริกรรมภาวนา (เข้าทางไหนต้องออกทางนั้น) เพื่อเรียกสติและสัมปชัญญะให้กลับมาสมบูรณ์ เอาสติระลึกรู้
ไปทั่วกาย  และเมื่อมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์แล้ว ให้พิจารนาทบทวนการปฏิบัติของเราที่ผ่านมา ว่าตั้งแต่เราเริ่มนั่ง
ภาวนามานั้นความรู้สึกอารมณ์ของเรานั้นเป็นอย่างไร สภาวะธรรมนั้นเดินไปอย่างไร ก่อนที่จิตของเราจะนิ่งสงบนั้น
อารมณ์สภาวะธรรมมันเป็นอย่างไร คือต้องทบทวนใคร่ครวญพิจารณาให้เห็นและจำได้ถึงทางเดินของจิตที่จะไปสู่่่
ความงบ ความสว่าง ความว่างเปล่า การทบทวนพิจารณานั้นเรียกว่าวิมังสาในอิทธิบาทสี่ เพื่อให้เกิดความชำนาญ
เป็นวสี คือจำทางเข้าออกของอารมณ์สมาธินั้นได้
       พยายามทรงอารมณ์นั้นไว้ให้มันเต็มที่เต็มกำลัง เข้าออกอารมณ์นั้นจนมีความชำนาญ จำทางเดินของจิต
ที่จะไปสู่อารมณ์นั้นให้ได้ การปฏิบัติธรรมนั้นอย่าไปใจร้อน ต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไป จนมันเต็มที่มีอินทรีย์ที่สมบูรณ์
แล้วจิตมันจะยกขึ้นไปสู่สภาวะธรรมที่สูงยิ่งขึ้นต่อไป เหมือนน้ำที่หยดลงในแก้ว ตราบใดที่น้ำมันยังไม่เต็มแก้ว
มันก็จะไม่ล้น ถึงเราอยากจะให้มันล้น มันก็ล้นไม่ได้ เพราะมันยังไม่เต็ม แต่ถ้ามันเต็มแล้ว มันก็จะล้นไปหาที่อยู่อื่น
ถึงเราไม่อยากจะให้มันไป มันก็ต้องไป ฉันใดฉันนั้น การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ถ้าพละกำลังไม่เต็มที่ บารมีไม่ถึงพร้อม
มันก็ไม่สามารถที่จะยกจิตไปสู่สภาวะธรรมที่สูงยิ่งขึ้นได้ หรือยกขึ้นได้แต่ก็ตั้งอยู่ไว้ทรงไว้ได้ไม่นาน เพราะพื้นฐานอินทรีย์นั้น
ไม่ไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะรองรับสภาวะธรรมนั้น
       หน้าที่ของผู้ปฏิบัติธรรมก็คือทำต่อไป เพิ่มกำลังของสติให้ยิ่งขึ้น ศรัทธาในการประพฤติปฏิบัตินั้นอย่าได้เสื่อมถอย
หน้าที่ของเราคือทำ ผลจะเป็นอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของวิบากกรรม อย่าไปหวังผลในการกระทำว่าจะต้องได้นั่นได้นี่
มีอิทธิฤทธิ์ มีปาฏิหารย์ ได้ฌาน ได้กสิน ได้อภิญญา ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั้นมันเป็นผลพลอยได้และต้องมีของเก่าที่เคยทำไว้
มันจึงจะได้มันจึงจะเป็น การปฏิบัติธรรมคือการทำให้กุศลเพิ่มพูนงอกงามยิ่งขึ้น ละลดอกุศลทั้งหลายลง ทรงไว้ซึ่งกุศลให้เพิ่มพูน
                ขอความสุขความเจริญในธรรมจงบังเกิดแก่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
                           รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: ~@เสน่ห์เอ็ม@~ ที่ 21 มิ.ย. 2553, 10:33:15
กราบมนัสการ กราบขอบ พระคุณพระอาจารย์ ที่เมตตาชี้แนะแนวทางในการสั่งสอนครับ

เป็นความรู้อย่างสูง ขออนุโมธนาสาธุด้วยครับ  :054:
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: yout ที่ 21 มิ.ย. 2553, 12:29:35
ขออนุโมทนาครับหลวงพี่ สาธุ............. :090: :090: :114: :090: :090:..............
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: อภิรัตน์ ที่ 21 มิ.ย. 2553, 01:07:02
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ เป็นความรู้เป็นแนวทางให้ กับผู้แสวงหาแนวทางปฏิบัติ  :054:
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: siksaka ที่ 21 มิ.ย. 2553, 01:29:21
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ
    เป็นความรู้เพิ่มเติมให้กระผมอย่างครับ.......สาธุ  :054:
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์ack01~ ที่ 21 มิ.ย. 2553, 02:42:16
กราบนมัสการครับ ขอบพระคุณที่เมตตาสอนขั้นตอนในการทำสมาธิ
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: derbyrock ที่ 21 มิ.ย. 2553, 09:26:06
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ จขกทคงได้รับความกระจ่างแล้วน่ะครับ
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: pepsi ที่ 14 ก.ย. 2553, 05:14:35
เจริญพร...
             การปฏิบัตินั้นเดินมาถูกทางแล้ว เพราะตรงกับจริตของเรา แต่ต้องมาทำความเข้าใจเสียใหม่
การทำกรรมฐานโดยการภาวนา" พุทโํธ"ควบคูกับลมหายใจเข้าออกนั้น มันเป็นกรรมฐานที่ซ้อนกันอยู่
คำว่าพุทโธนั้นเป็นคำบริกรรมภาวนาเป็นพุทธานุสสติคือระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ส่วนลมหายใจนั้น
เป็นอานาปานุสสติ เป็นกรรมฐานสองกองที่ปฏิบัติคู่กัน  การบริกรรมภาวนานั้นเมื่อจิตสงบคำบริกรรมก็จะหายไป
(ที่สุดของพุทโธคือไม่มีพุทโธ) เหลือเพียงสภาวะรู้การเข้าออกของลมหายใจ และเมื่อจิตสงบเป็นสมาธิยิ่งขึ้น







จะเกิดการแยกกายแยกจิต จิตจดจ่ออยู่กับสภาวะรู้ ทิ้งลมทิ้งกาย รู้เพียงความนิ่ง สงบ สว่าง ในอารมณ์ของฌาน
ทั้งสี่นั้น สติยังมีอยู่ แต่จิตไม่ปรุ่งแต่ง ถ้าขาดสตินิ่งไป ไม่รู้ไม่เห็นอะไรนั้นภาษานักปฏิบัติเขาเรียกว่าเข้าภวังค์
(ทิ้งดิ่ง) เมื่อจิตสงบเห็นความสว่างและความว่างเปล่าแล้ว ทรงไว้ในอารมณ์นั้นให้นาน(เรียกว่าการเคี่ยวจิต)
ทรงไว้จนพอใจแล้วจึงถอนจิตออกจากอารมณ์สมาธินั้น
         การออกจากอารมณ์สมาธินั้น ต้องออกตามลำดับชั้นขั้นตอน คือค่อยๆถอนจิตกลับมาดูลมหายใจและ
คำบริกรรมภาวนา (เข้าทางไหนต้องออกทางนั้น) เพื่อเรียกสติและสัมปชัญญะให้กลับมาสมบูรณ์ เอาสติระลึกรู้
ไปทั่วกาย  และเมื่อมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์แล้ว ให้พิจารนาทบทวนการปฏิบัติของเราที่ผ่านมา ว่าตั้งแต่เราเริ่มนั่ง
ภาวนามานั้นความรู้สึกอารมณ์ของเรานั้นเป็นอย่างไร สภาวะธรรมนั้นเดินไปอย่างไร ก่อนที่จิตของเราจะนิ่งสงบนั้น
อารมณ์สภาวะธรรมมันเป็นอย่างไร คือต้องทบทวนใคร่ครวญพิจารณาให้เห็นและจำได้ถึงทางเดินของจิตที่จะไปสู่่่
ความงบ ความสว่าง ความว่างเปล่า การทบทวนพิจารณานั้นเรียกว่าวิมังสาในอิทธิบาทสี่ เพื่อให้เกิดความชำนาญ
เป็นวสี คือจำทางเข้าออกของอารมณ์สมาธินั้นได้
       พยายามทรงอารมณ์นั้นไว้ให้มันเต็มที่เต็มกำลัง เข้าออกอารมณ์นั้นจนมีความชำนาญ จำทางเดินของจิต
ที่จะไปสู่อารมณ์นั้นให้ได้ การปฏิบัติธรรมนั้นอย่าไปใจร้อน ต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไป จนมันเต็มที่มีอินทรีย์ที่สมบูรณ์
แล้วจิตมันจะยกขึ้นไปสู่สภาวะธรรมที่สูงยิ่งขึ้นต่อไป เหมือนน้ำที่หยดลงในแก้ว ตราบใดที่น้ำมันยังไม่เต็มแก้ว
มันก็จะไม่ล้น ถึงเราอยากจะให้มันล้น มันก็ล้นไม่ได้ เพราะมันยังไม่เต็ม แต่ถ้ามันเต็มแล้ว มันก็จะล้นไปหาที่อยู่อื่น
ถึงเราไม่อยากจะให้มันไป มันก็ต้องไป ฉันใดฉันนั้น การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ถ้าพละกำลังไม่เต็มที่ บารมีไม่ถึงพร้อม
มันก็ไม่สามารถที่จะยกจิตไปสู่สภาวะธรรมที่สูงยิ่งขึ้นได้ หรือยกขึ้นได้แต่ก็ตั้งอยู่ไว้ทรงไว้ได้ไม่นาน เพราะพื้นฐานอินทรีย์นั้น
ไม่ไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะรองรับสภาวะธรรมนั้น
       หน้าที่ของผู้ปฏิบัติธรรมก็คือทำต่อไป เพิ่มกำลังของสติให้ยิ่งขึ้น ศรัทธาในการประพฤติปฏิบัตินั้นอย่าได้เสื่อมถอย
หน้าที่ของเราคือทำ ผลจะเป็นอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของวิบากกรรม อย่าไปหวังผลในการกระทำว่าจะต้องได้นั่นได้นี่
มีอิทธิฤทธิ์ มีปาฏิหารย์ ได้ฌาน ได้กสิน ได้อภิญญา ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั้นมันเป็นผลพลอยได้และต้องมีของเก่าที่เคยทำไว้
มันจึงจะได้มันจึงจะเป็น การปฏิบัติธรรมคือการทำให้กุศลเพิ่มพูนงอกงามยิ่งขึ้น ละลดอกุศลทั้งหลายลง ทรงไว้ซึ่งกุศลให้เพิ่มพูน
                ขอความสุขความเจริญในธรรมจงบังเกิดแก่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
                           รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร





กราบ ขอบพระคุณท่าน ครับ...
ที่ชี้ทางให้  เพราะผมมาคิดว่าผมเดินผิดทาง..
เคยไปปรึกษาพระหลายๆท่าน ก็บอกไปคนละทาง...

มีท่านที่บอกว่าเป็นอาการ ทิ้งดิ่ง...คือมีแต่ความว่างเปล่า ผมเข้าใจแล้วครับท่าน..
กราบนมัสการมา ณ.ที่นี้ด้วยครับ



กระทู้นี้ ผมไม่ได้ตั้งใจขุดนะครับ...พอดีผมหยุดเล่นไปนาน..เพิ่มมาเปิดพบเข้าครับ..
ต้องกราบขอโทษพี่ๆทุกท่านด้วย.
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: นายธรรมะ ที่ 14 ก.ย. 2553, 05:19:42
การนั่งสมาธินั้น ถ้าไม่มีการภาวนา พุท โธ ก็เหมือนกับการ ขับรถไม่มีล้อนั่นแหละครับ การจะเจริญสมาธินั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายครับ ต้องอดทน ต้องทำจิตใจให้สะอาด ถือศีลห้า ละจากกิเลส และการนั่งสมาธินั้น ได้ทั้งฌาน ทั้งได้บุญกุศล ครับ ขอให้เจริญสมาธินะครับ อนุโมทนา ครับ                                                                    
                                                               ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับผมมีความรู้เท่านี้ครับ
หัวข้อ: ตอบ: น้องใหม่ รบกวนถามครับ.
เริ่มหัวข้อโดย: pepsi ที่ 14 ก.ย. 2553, 05:32:23
การนั่งสมาธินั้น ถ้าไม่มีการภาวนา พุท โธ ก็เหมือนกับการ ขับรถไม่มีล้อนั่นแหละครับ การจะเจริญสมาธินั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายครับ ต้องอดทน ต้องทำจิตใจให้สะอาด ถือศีลห้า ละจากกิเลส และการนั่งสมาธินั้น ได้ทั้งฌาน ทั้งได้บุญกุศล ครับ ขอให้เจริญสมาธินะครับ อนุโมทนา ครับ                                                                     
                                                               ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับผมมีความรู้เท่านี้ครับ
ขอบคุณครับท่านพี่...ที่ให้กําลังใจ.